หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
genie
Joined: อังคาร ก.พ. 04, 2003 12:55 pm
1474
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - genie
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
ประกันความเสี่ยง อัตราแลกเปลี่ยน
ดูค่าเงินบาทโดยเปรียบเทียบกับดอลล่าห์อย่างเดียวคงไม่เพียงพอครับ น่าจะลองดูที่ค่าเงินบาทเปรียบเทียบกับเงินในภูมิภาคว่าแข็งขึ้นหรืออ่อนค่าลง เพราะบางทีที่เราเห็นเงินบาทแข็งค่า อาจจะเป็นว่าเงินดอลอ่อนค่ามากกว่า แต่อย่างไรก็ดี สำหรับ 3 ปี มันยาวนานเกินไปครับ เพราะถ้าจะคาดการณ์ค่าเงิน คุณต้องวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ ดอกเบี้ย อัตราเงินออม การเมือง ฯลฯ ของประเทศนั้นๆ แต่ก็ยังคาดการยากอยู่ดีครับ
โดย
genie
จันทร์ มี.ค. 19, 2007 1:04 am
0
0
เรียนถามที่แม่ทัพหู และ ท่านอื่นๆเรื่องค่าเงินบาท
ค่าเงินที่เหมาะสม(ผมจะไม่ระบุว่าบาทนะครับ) อาจไม่จำเป็นที่จะต้องตามกลไกตลาดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของประเทศนั้นๆ ส่วนในเรื่องข้อดีของระบบลอยตัวคุณสุมาอี้อธิบายไปส่วนหนึ่งแล้ว ผมเสริมให้อีกนิดหนึ่งละกันครับ การที่ใช้ระบบค่าเงินลอยตัวทำให้ไม่เกิน Crisis นั้นก็เพราะในระบบลอยตัวค่าเงินที่แสดงจะเป็นค่าเงินที่สะท้อนอุปสงค์/อุปทานของตลาดแท้จริงหรือที่ชอบเรียกกันว่าราคาแท้จริง ซึ่งหัวใจมันอยู่ตรงที่ มันไม่มีต้นทุนในการแทรกแซงค่าเงิน คิดให้ง่ายเหมือนตอนแทรกแซงราคาน้ำมันนั่นแหละครับ การจะแทรกแซงหรือบิดเบือนราคาใดๆย่อมต้องมีต้นทุนเสมอ เหมือนกองทุนน้ำมันที่มาจากภาษี เช่นเดียวกันการแทรกแซงค่าเงินก็ต้องเอาทุนมาจากเงินทุนสำรองคงคลังระหว่างประเทศ ถ้าคุยแบบชาวหุ้นก็เอากำไรสะสมมาใช้จ่ายนั่นแหละครับ :wink:
โดย
genie
อาทิตย์ มี.ค. 11, 2007 5:21 am
0
0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
โพสข้างบนตัดคำว่าสองออกนะครับ พิมพ์เกิน :lol:
โดย
genie
อาทิตย์ มี.ค. 11, 2007 5:08 am
0
0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
ถามคุณเจย์โชว์ ผมมีคำถามใคร่ถามคุณสองว่าทำไมคุณคิดว่าไม่ควรเอาเศรษฐศาสตร์มาดูแลเรื่องเศรษฐกิจ แล้วถ้าไม่ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ใช้หลักอะไรครับ รัฐศาสตร์? นิติศาสตร์? ศิลปศาสตร์? หรือควรใช้หลักไหนที่คุณเห็นว่าสมควรกว่าครับ
โดย
genie
อาทิตย์ มี.ค. 11, 2007 5:07 am
0
0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
ทุนนิยม ระบบตลาดเสรี มองผิวเผินก็ดีครับ แต่ จุดอ่อนสำคัญในตัวมันที่ลืมไม่ได้ คือ เงื่อนไขที่สำคัญที่ทำให้ระบบทุนนิยมมีประสิทธิภาพคือตลาดต้องมีประสิทธิภาพ และสมมติฐานข้อที่หนึ่งของตลาดทีมีประสิทธิภาพคือ ทุกคนมีพื้นฐานเท่าเทียมกัน นี่คือปัญหา ทุกคนมีพื้นฐานที่เท่าเทียมกันหรือ? เจ้ตุ๋ยเจ้าของร้านชำปากซอยมีพื้นฐานเท่า7-11หรือ? สหกรณ์โคนมไทยมีพื้นฐานทัดเทียมโคนมออสเตรเลียหรือ? นักลงทุนรายย่อยมีข้อมูลเท่าเทียมนักลงทุนรายใหญ่หรือ? เพราะเหตุที่พื้นฐานไม่เท่า และตลาดไม่มีประสิทะภาพมิใช่หรือ รัฐจึงต้องแทรกแซง การต่อต้าน FTA ไม่ใช่การต่อต้านการแซกแทรงของรัฐหรือ เพราะกำแพงภาษีก็ถูกกำหนดโดยรัฐ การต่อต้าน Superstore ก็ไม่ใช่การต่อต้านระบบตลาดเสรีหรือ นี่คือเหตุที่ว่าทำไมต้องแยกให้ออกว่า ปัญหาอะไรเป็น Sys ปัญหาอะไรเป็น Non-sys ตราบใดที่ไม่เข้าใจถึงพื้นฐานแห่งปัญหา ไม่ได้มีการแยกปัญหา Non-sys ออกจาก Sys มันก็เหมือนปลาว่ายวนในอ่างไม่รู้จบ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้บอกว่าระบบตลาดเสรีมันไม่ดี แต่มันมีจุดอ่อนถึงได้มีความจำเป็นในการต้องแทรกแซงโดยรัฐต่างหาก ซึ่งทั้งนี้เราไม่ควรบอกว่าการแทรกแซงไม่ดี แต่ควรพิจารณาว่าการแทรกแซงในแต่ละนโยบาย นโยบายใดมีประสิทธิภาพ นโยบายใดด้อยประสิทธิภาพต่างหาก ที่น่าถกน่าวิจารณ์มากกว่า
โดย
genie
อาทิตย์ มี.ค. 11, 2007 12:31 am
0
0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
คือจริงๆแล้ว มันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องตำราไหนช่วยได้ช่วยไม่ได้ เพราะปัญหาที่เกิดมันมีส่วนประกอบทั้ง Systematric error (ความผิดพลาดเชิงระบบ) กับ Non-systemetric error (ความผิดพลาดอันไม่ได้มาจากระบบ) ซึ่งตำรามีหน้าที่แก้ไข Systematric error ครับ ไม่ใช่เอาไปแก้ Non-systemetric error แล้วทำไมตำราแก้ Non-sys ไม่ได้ ก็เพราะลักษณะของ Non-sys เป็น event problem คือเป็นปัญหาที่เกิดแบบสุ่ม อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงขั้วการเมือง การก่อปฏิวัติ ฯลฯ ปัญหาแบบนี้ไม่ใช่ปัญหาเชิงระบบ การแก้ไขต้องเป็นเคสบายเคสไป ไม่สามารถกางตำราไหนได้หรอกครับ แต่ทั้งนี้มิใช่ตำราทำอะไรไม่ได้ เพราะหน้าที่ของตำราคือการแก้ปัญหาเชิงระบบ เพราะปัญหาเชิงระบบเป็นปัญหาพื้นฐานและหากเกิดก็จะเกิดอย่างต่อเนื่องและคงอยู่ในลักษณะนั้น เช่น คุณเอาลิฟท์มาแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายคนระหว่างชั้นอาคาร หรือ กระบวนการการลงทุนแนวVIที่นำมาใช้เป็น แนวทาง ในการลงทุน เป็นต้น อย่างที่บอกแหละครับ ตำรามีหน้าที่บอกแนวทาง บอกกระบวนการ แต่อย่าคาดหวังให้มันสามารถแก้ปัญหานอกระบบเลยครับเพราะไม่ใช่หน้าที่มัน :wink:
โดย
genie
ศุกร์ มี.ค. 09, 2007 10:45 am
0
0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
สำหรับปัญหากับดักสภาพคล่องคือ การที่ประชาชนขาดความมั่นใจทางเศรษฐกิจมาก จนมีความต้องการถือเงินไม่จำกัด (ง่ายๆครับถือเงินสดไว้อย่างเดียวเลย ไม่ยอมใช้จ่าย(ยกเว้นเพื่อการดำรงชีพ)แม้จะเก็บเงินลงไหฝังดิน และไม่ได้ดอกเบี้ยก็ทำ) ซึ่งสถานการณ์ ในลักษณะเช่นนี้ ในทฤษฎีของเคนส์รัฐบาลจะไม่สามารถใช้นโยบายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือการปรับดอกเบี้ยไม่ได้ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ (เช่นลดดอกเบี้ยลงแล้วแต่ก็ไม่ได้กระตุ้นการลงทุนให้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ด้านบริโภคก็ยังคงไม่กล้าใช้จ่าย) ซึ่งตามทฤษฎีของเคนส์ นโยบายที่ใช้ได้ในกรณีนี้คือนโยบายการคลัง ซึ่งมีสองส่วนคือ ด้านภาษี การการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งทั้งนี้การใช้จ่ายภาครัฐจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรงตามโพสที่แล้วที่ได้โพสไป :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 11:43 am
0
0
ประเทศไทย จะติดกับดักสภาพคล่องไหมครับ
อันนี้ผมเห็นไม่เหมือนคุณสุมาอี้นะครับ จริงๆแล้วการใช้จ่ายภาครัฐมันไม่เหมือนการให้เงินชดเชยการว่างงานครับ แต่ทั้งนี้เราต้องพิจารณาด้วยว่าการใช้จ่ายภาครัฐดังกล่าวส่งผลต่อธุรกิจอื่นๆต่อเนื่องหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างถนน ส่งผลให้เกิดการจ้างแรงงานในการสร้าง ทำให้ผู้ผลิตยางมะตอยสามารถจำหน่ายสินค้าออกมาได้และเกิดการผลิต(ในกรณีที่ไม่มีสินค้าคงค้าง) เหมืองหิน ซีเมนต์ วิศวกร รถบดถนน ฯลฯ นอกจากนี้ยังส่งผลประโยชน์ทางอ้อมสู่ชุมชน เช่น การเดินทางสะดวกขึ้น ส่งผลให้การขนส่งมากเที่ยวขึ้นหรือใช้เวลาสั้นลง(reduce cost) เมื่อถนนตัดผ่านการคมนาคมดีขึ้น ส่งผลให้วัฏจักรทางเศรษฐกิจต่างๆเรื่อมหมุนต่อไปเรื่อยๆ นี่คือผลลัพธ์จากการที่รัฐใช้จ่ายด้านสาธรณูปโภคครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. มี.ค. 08, 2007 11:33 am
0
0
การส่งเสริมการส่งออกตอนนี้ดีจริงหรือ
หลายท่านในที่นี้อาจจะลืมไปนะครับว่า ในเรื่องการส่งออกมันมีองค์ประกอบทั้ง ดุลการค้า และ ดุลบริการ ซึ่งดุลบริการ เช่น การท่องเที่ยว การศึกษา ก็ถูกบันทึกใน net export เช่นเดียวกัน ไหนๆคุณสุมาอี้รื้อข้อมูลก็ลองแยกดูดุลบริการออกจากดุลการค้าดูหน่อยสิครับ
โดย
genie
เสาร์ มี.ค. 03, 2007 2:18 am
0
0
งบการเงินครับจำเป็นมากมั้ยครับ สำหรับการลงทุนแบบ VI
การมองงบการเงินถ้าจะดูให้ง่ายขึ้นควรจะเข้าใจเหตุผลของบแต่ละแบบด้วยจะวิเศษมาก งบกำไร/ขาดทุน เป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งการที่เราจะดูว่าบริษัทนี้รายได้ดีแค่ไหน บริหารค่าใช้จ่ายประหยัดหรือไม่ ก็ใช้งบชุดนี้แหละครับ ถ้าเปรียบกับรถก็คือ แรงม้า แรงบิด อัตราการบริโภคน้ำมัน เป็นต้น งบดุล เป็นตัวที่แสดงถึงการใช้ทรัพยากรของบริษัท อันเป็นตัวสะท้อนถึงสภาพคล่องและความเสี่ยงของบริษัท ดังนั้นหากจะพิจารณาว่าบรษัทนี้บริหารเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน โครงสร้างของบริษัทเป็นอย่างไรก็ดูตัวนี้ครับ ซึ่งเป็นเสมือน ตัวถัง เชสซี ระบบช่วงล่าง ระบบส่งกำลัง ระบบเบรค เป็นต้น งบกระแสเงินสด เป็นตัวแสดงถึงการเคลื่อนไหวของเม็ดเงินในบริษัท เป็นตัวบ่งบอกสภาพคล่องที่แท้จริงของบริษัทว่าเป็นอย่างไร มีคอขวดตรงไหน เช่นกันถ้าเปรียบกับรถก็คือ หัวฉีด การจุดระเบิด น้ำมันเครื่อง ระบบหล่อเย็นต่างๆ เป็นต้น ส่วนสิ่งที่ไม่ได้เป็นงบการเงินเช่น ฟอร์ม56-1 เป็นตัวบ่งบอกถึงทิศทาง ค่านิยม และวิธีการปฏิบัติการของบริษัท ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือ ล้อ เพลา และ พวงมาลัยดีๆนี่เอง เห็นภาพมากขึ้นไหมครับ :wink:
โดย
genie
พุธ ม.ค. 25, 2006 12:20 am
0
0
เงินต้น และ ดอกเบี้ย
เสริมให้ครับ โดยเงินต้นที่จะต้องคืนที่อยู่ใน cash flow statement นั้นจะระบุเป็นรายการว่า "เงินกู้ครบกำหนดชำระ" ประมาณนี้ครับ :wink:
โดย
genie
พุธ ม.ค. 25, 2006 12:02 am
0
0
"หุ้นสังกะสี" จะซํารอย "หุ้นเรือ" หรือเป
ผมว่าหุ้นสังกะสีน่าจะระวังๆหน่อยดีกว่าครับ ลองดูตารางนี้ดูซิครับ http://www.bot.or.th/bothomepage/databank/EconData/EconFinance/tab67.asp เราจะเห็นว่าดัชนีการผลิตเหล็กชุบสังกะสีลดลงเรื่อยๆ แต่ดัชนีโลหะสังกะสีกับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มันส่งนัยแปลกๆนะครับ เหล็กชุบสังกะสีเป็นDemand Sideของสังกะสีมีการผลิตลดลงต่อเนื่อง แต่Supply Sideกลับวิ่งสวนทาง อย่างงี้เดี๋ยวไม่ล้นตลาดหรือ บังเอิญไม่มีข้อมูลเชิงลึกยังไงขอไอเดียด้วยครับ
โดย
genie
ศุกร์ ม.ค. 20, 2006 7:37 pm
0
0
ราคาทองแดง และโลหะต่างๆในตลาดโลก หาจากweb ไหน
http://www.nymex.com/index.aspx
โดย
genie
พุธ ม.ค. 18, 2006 11:03 pm
0
0
บททดสอบ Kaynesian's Economics
มาดูpresentationของสภาพัฒน์ฯดีกว่าว่าดีร้ายยังไงเศรษฐกิจไทยปีที่ผ่านมา http://www.nesdb.go.th/econSocial/macro/nad/1_qgdp/data3_05/ppt.pdf
โดย
genie
พุธ ม.ค. 18, 2006 10:57 pm
0
0
บททดสอบ Kaynesian's Economics
ถ้าดูจากแผนภูมิ ผมว่าเมืองไทยยังไม่ได้เลยร้ายขนาดนั้นนะ 1.อัตราการใช้กำลังการผลิต ซึ่งเป็นตัวสะท้อนภาคการผลิตของเอกชน อยู่ที่ราวๆ 70% ซึ่งขยายตัวจากปีก่อนประมาณ 5% และระดับที่ไม่เกิน 80%และไม่ต่ำกว่า60% ถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือ ไม่ เกิน หรือ ขาด เกินไป ระดับอัตราการบริโภคก็ยังคงอยู่ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ตัวเลขที่น่ากังวลกลับเป็นอัตราการลงทุนที่ขยายตัวแบบถดถอย ซึ่งอาจเป็นการสะท้อนการชะลอการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนของสภาพการณ์และความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงในปีนี้ สำหรับเงินเฟ้อปีนี้ถือได้ว่าเพิ่มขึ้นสูงเลยทีเดียว คงต้องรอตัวเลขสรุปทั้งปีว่าอยู่ที่เท่าไหร่ แต่ยังดีที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ(ซึ่งสัมพันธ์กันกับอัตราการใช้กำลังการผลิต) อัตราการฝากเงินที่เพิ่มสูงขึ้น(ซึ่งสัมพันธ์กันกับอัตราการบริโภคที่ทรงตัวเช่นกัน) :wink:
โดย
genie
พุธ ม.ค. 18, 2006 10:49 pm
0
0
บททดสอบ Kaynesian's Economics
http://www.bot.or.th/BOTHomepage/DataBank/Econcond/pressrel/monthly/12-30-2005-Th-i-1/12_pic_Nov05.pdf อันนี้เป็นแผนภูมิประกอบการอธิบายสภาพเศรษฐกิจไทย ณ ปัจจุบัน(2548)
โดย
genie
พุธ ม.ค. 18, 2006 10:24 pm
0
0
บททดสอบ Kaynesian's Economics
เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนพฤศจิกายน 2548 เครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนพฤศจิกายน 2548 โดยรวมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะเครื่องชี้อุปสงค์ ในประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาคต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยการส่งออกขยายตัวสูงกว่าเดือนก่อน และการนำเข้าชะลอตัวลง ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรขยายตัวสูงต่อเนื่อง จากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ ส่วนผลผลิตพืชผลหลัก เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้ บางส่วนเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกยังขยายตัวในเกณฑ์ดี สำหรับในภาคบริการปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยด้านฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ และแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเริ่มอ่อนตัวลง รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน ปี 2548 มีดังนี้ 1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2548 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน การชะลอตัวดังกล่าวเนื่องจากการผลิตในบางหมวดอุตสาหกรรมลดลงจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และหมวดผลิตภัณฑ์เคมีที่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ขณะที่บางหมวดอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวลง เช่น หมวดยาสูบได้รับผลกระทบจากมาตรการห้ามแสดงบุหรี่ ณ จุดขาย หมวดวัสดุ ก่อสร้าง หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กชะลอตัวตามภาคการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม สินค้าหลายหมวดยังขยายตัว ในเกณฑ์ดีตามอุปสงค์จากต่างประเทศ เช่น หมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในวัฏจักรขาขึ้น หมวดอาหารโดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นมากตามความต้องการจากต่างประเทศ หมวดสิ่งทอขยายตัวดีตามการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป หมวด ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งโดยเฉพาะรถยนต์พาณิชย์ที่อุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศยังขยายตัวดี สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 70.3 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 72.3 ในเดือนก่อน 2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากการลดลง ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม _ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัว เนื่องจากมีรถยนต์รุ่นใหม่เปิดตัวในตลาด ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามการลดลงของการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สอดคล้องกับภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลง ตามแนวโน้มพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ในประเทศ เช่นเดียวกับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรชะลอตัวลงตามมูลค่านำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ 3. ภาคการคลังเดือนพฤศจิกายน 2548 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 111.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 2.3 ชะลอลงตามรายได้ภาษีที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 แม้ภาษีจัดเก็บจากฐานรายได้ยังขยายตัวดี แต่ภาษี จากฐานการบริโภคและฐานการค้าระหว่างประเทศจัดเก็บได้ลดลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานในระยะเดียวกันปีก่อนอยู่ในระดับสูง และการชะลอตัวของการใช้จ่ายในประเทศ ประกอบกับการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันและภาษีศุลกากร ขณะที่รายได้ ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 4.9 สำหรับดุลเงินสดรัฐบาลในเดือนนี้ขาดดุล 27.8 พันล้านบาท 4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 201 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับการขาดดุล 372 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 13.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.7 ในเดือนก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวม 9,678 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าออกสำคัญที่ขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในหมวด อุตสาหกรรม เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณี คอมพิวเตอร์ และแผงวงจรรวมและชิ้นส่วน รวมทั้งยานพาหนะและชิ้นส่วน สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 13.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนจากฐานที่สูง มูลค่าการนำเข้ารวม 9,879 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้านำเข้าที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ และสินค้าวัตถุดิบ เช่น ผลิตภัณฑ์โลหะและพลาสติก ในขณะที่การนำเข้าสินค้าทุน (รวมการนำเข้าเครื่องบิน 1 ลำ) ชะลอลงจากเดือนก่อน ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 643 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 440 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายรับจากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนและการลดลงของเงินส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทข้ามชาติ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 441 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 1,315 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2548 อยู่ที่ระดับ 50.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. 5. อัตรเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2548 พิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 ชะลอจาก เดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 โดยเป็นผลจากการลดลงของราคาสินค้าหมวดพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งราคาในหมวดพลังงาน ที่ลดลงได้แก่ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ โดยราคาน้ำมันเบนซิน 95 และเบนซิน 91 ปรับลดลง 3 ครั้งในเดือนนี้รวม 1.30 บาท และราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลง 3 ครั้งเช่นกันรวม 1.10 บาท ขณะที่ราคาหมวดอาหารสดปรับสูงขึ้นเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม นอกจากนี้ ราคาสินค้าสำคัญที่ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าได้แก่ ค่าโดยสารสาธารณะ ราคาในหมวดยานพาหนะ และหมวดแอลกอฮอล์จากการขึ้น ภาษีสรรพสามิตสุราตั้งแต่เดือนกันยายน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เท่ากับเดือนก่อน ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 8.8 ตามราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ชะลงลงเนื่องจากต้นทุนที่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก 6. ภาวะการเงิน เดือนพฤศจิกายน 2548 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 7.8 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน และเพิ่มขึ้น 85.0 พันล้านบาทจากเดือนตุลาคม อย่างไรก็ดี เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่และ การโอนสินทรัพย์หนี้สินระหว่างบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์บางแห่งตามนโยบาย One Presence ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมาแล้ว เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.6 เร่งขึ้นจากอัตราการขยายตัวในช่วงต้นปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นมีส่วนช่วยจูงใจผู้ฝากเงิน สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (รวมการถือครองหลักทรัพย์ของภาคเอกชน) ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา สินเชื่อในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าในช่วงปลายปี 2547 สอดคล้องกับการชะลอตัวของกิจกรรมในประเทศ ฐานเงิน ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากต้นปี ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากฐานสูงในเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเปิดศูนย์จัดการธนบัตร ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 7.2 4.8 และ 5.2 ตามลำดับ เร่งตัวขึ้นจากเดือนตุลาคมเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งเป็นผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ใหม่และนโยบาย One Presence อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนพฤศจิกายน 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร ระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.69 และ 3.68 ต่อปี ตามลำดับ สูงขึ้นจาก เดือนก่อนตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 7. ค่าเงินบาทในเดือนพฤศจิกายนเฉลี่ยอยู่ที่ 41.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ย 40.91 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนตุลาคม เนื่องจากขณะนั้นความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์ สรอ. ดีขึ้นจากการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของสหรัฐฯ ที่สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐฯปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed funds rate อีกร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 4.00 ต่อปี ระหว่างวันที่ 1-24 ธันวาคม 2548 ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 3 ของไทย ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับความเชื่อมั่น ในเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนเพราะตลาดคาดว่าวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐฯ ใกล้จะสิ้นสุดแล้ว
โดย
genie
พุธ ม.ค. 18, 2006 10:20 pm
0
0
อะไรทำให้ กิตติรัตน์ ลาออก ถ้าเอาช้างเข้าไม่ได้
ผมว่าเอาเรื่องช้างมาเข้าตลาดได้ไม่ได้มาเป็นเหตุในการลาออก มันก็คงพูดไม่ได้ทั้งหมดว่าสมควรหรือไม่สมควรเพราะขึ้นกับมุมมอง แต่เรื่องจับคนปั่นหุ้นหรือโกงหุ้นไม่ได้ จำเลยที่1ไม่ใช่คุณโต้ง เพราะหน้าที่หลักเป็นของ กลต. ไม่ใช่ ตลท. เพราะหน้าที่หลักของ ผจก.ตลท.คือทำให้ตลาดมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นหรือมีผู้เข้ามาลงทุนมากขึ้น ดังนั้นการบอกว่าคุณโต้งน่าจะลาออกถ้าจับคนปั่นหุ้นไม่ได้ไม่น่าจะเป็นจุดที่วิจารณ์เพราะถ้าจะวิจารณ์เรื่องนี้ต้องเป็น คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล กรรมการและเลขานุการ กลต.ครับ :wink:
โดย
genie
พุธ ม.ค. 18, 2006 7:46 pm
0
0
อยากให้คุณมนตรี จัดอบรมวิเคราะห์งบการเงินอีก
เฮียรับพี่เลี้ยงช่วยเหลือไหมครับ :lol:
โดย
genie
พุธ ธ.ค. 28, 2005 1:53 am
0
0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
นอกจากอ่านงบแล้วอ่าน 56-1 ด้วยนะครับ จะได้รู้ว่าธุรกิจเขาทำอะไร :wink:
โดย
genie
อาทิตย์ ธ.ค. 25, 2005 12:00 am
0
0
ซื้อหุ้นอะไรดีที่สุดครับ
ดีที่สุด? มีด้วยหรือ? หาธุรกิจที่คุณสามารถเข้าใจมันได้ รู้ว่าที่มาของรายได้มายังไง ลูกค้าเป็นใคร กำไรดีแค่ไหน ถ้าหุ้นตัวนั้นคุณสามารถตอบประเด็นพวกนี้ได้หุ้นนั้นดีที่สุดสำหรับคุณครับ AMINO?
โดย
genie
ศุกร์ ธ.ค. 16, 2005 10:01 pm
0
0
อยากเรียนการวิเคราะห์งบการเงินหาเรียนได้ที่ไหน
เอาอย่างนี้สิครับ ซื้อหนังสือมาอ่านก่อน ไม่เข้าใจประเด็นไหนโพสมาถาม เดี๋ยวจะช่วยตอบครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 15, 2005 11:40 am
0
0
ทุนจดทะเบียน กับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
ตกลงเป็น25%ใช่ไหมครับคุณsanchaiw อันนี้ผมไม่แน่ใจ สำหรับเรื่องราคาหน้าตั๋วไอ้ที่ชำระไม่เต็มโดยมาก(หรือทั้งหมด) จะเป็นหุ้นของพวกถือหุ้นก่อนเข้าตลาด หรือกรรมการก่อตั้งนั่นแหละครับ สำหรับพวกหุ้นที่ผ่านIPOในทางปฏิบัติจะชำระเต็มเสมอ(เพราะไม่รู้จะไปตามค่าหุ้นค้างชำระได้อย่างไร) ดังนั้นในส่วนที่ยังไม่ได้ชำระจะเป็นตัวหุ้นส่วนที่ไม่ได้เข้าตลาด แตไอ้ที่เป็นหุ้นเพิ่มทุน(หุ้นที่เข้าตลาด)ก็จะเป็นห้นที่ชำระเต็มมูลค่าครับ ดังนั้นในการคิดหุ้นที่ชำระแล้วต้องแบ่งออกเป็นสองกอง กองแรกคือหุ้นก่อตั้งซึ่งอาจจะชำระเต็มหรือไม่เต็มก็ได้ กับหุ้นเพิ่มทุนซึ่มโดยปกติจะชำระเต็มมูลค่าแล้ว ถ้าจะเขียนเป็นสมการก็คือ หุ้นที่ชำระแล้ว= (หุ้นก่อตั้ง x ราคาที่ชำระ) + (หุ้นเพิ่มทุน x ราคาหน้าตั๋ว) ประมาณนี้นะครับ :wink: หมายเหตุ หากอยากเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นลองdownloadหนังสือชี้ชวนมาดูนะครับ ในบทแรกเขาจะเขียนจำนวนหุ้นเดิมกับ จำนวนหุ้นที่จะเพิ่มทุนเอาไว้ครับ :wink:
โดย
genie
พุธ ธ.ค. 14, 2005 4:45 pm
0
0
Thaivi.com อายุจะสามขวบแล้วนะ
โอ้โห ผมเองยังไม่เชื่อเลยว่ารอดมาได้ถึงขนาดนี้ จำได้เมื่อก่อนเคยมีขนาด Hit แค่ 12 ครั้งต่อวัน โอ้ว.....พระเจ้าจ้อด......Thaiviทำได้............ :cheers: :cheers: :cheers:
โดย
genie
พุธ ธ.ค. 14, 2005 1:07 pm
0
0
เรื่องเทนเดอร์ครับ
ตามหลักการน่ะมันไม่จำเป็นหรอกที่จะต้องทำเทนเดอร์ที่ราคาสูงที่สุด แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ขายมักต้องการขาย ณ ราคาที่สูงที่สุด ดังนั้นถ้าไม่ใช้ราคาที่สูงสุดก็มีความเป็นไปได้สูงที่เจ้าของเดิมจะไม่ยอมขายออกมา :wink:
โดย
genie
อังคาร ธ.ค. 13, 2005 4:17 pm
0
0
ทุนจดทะเบียน กับ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
OK ขอแตกคำถามก่อนนะ 1.มีกฎหรือไม่ในการกำหนดทุนชำระแล้ว ตอบ: อันนี้ขอให้เช็คอีกที ถ้าจำไม่ผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะจดทะเบียนบริษัทจะต้องมีทุนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของทุนจดทะเบียน แต่ยังไงขอให้ไปเช็คในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกทีนะครับ 2.ทุนจดทะเบียนสูงๆมีประโยชน์อะไร ตอบ: ใช้ในกรณีรับงานครับ คือผู้จ้างจะประเมินความเสี่ยงของผู้รับจ้างว่าทิ้งงานหรือไม่ ส่วนนึงจะพิจารณาจากตรงนี้ครับ เพราะการจดในรูปบริษัทจะถูกจำกัดการรับผิดชอบหนี้ตามทุนจดทะเบียน ดังนั้นสมมุติคุณเป็นผู้ว่าจ้าง จะจ้างงานระดับ 100ล้าน แต่บริษัทมีทุนจดทะเบียนแค่แสนเดียวและมีกำไรสะสมอีกไม่กี่หมื่น ไอ้อย่างงี้ถ้าผู้รับจ้างทิ้งงานผู้ว่าจ้างก็ฟ้องได้แต่ตามทุนที่มี เกินกว่านั้นก็หนี้สูญไงครับ 3.ปกติใช้อันไหนอ้างอิง ตอบ: ใช้ทั้งสองอันนั่นแหล่ะครับ โดยที่ชำระแล้วเนี่ยทุนที่ชำระมาจะอยู่ในทรัพย์สินบริษัท(ใส่ทุนเข้ามาเงินสดเพิ่มขึ้น) แต่ถ้ายังไม่ชำระก็หมายความว่าเงินบางส่วนยังไม่ได้ลงมาในบริษัท ถ้าการดำเนินการเป็นปกติอยู่ก็ไม่เป็นผลอะไร แต่ถ้ามีการฟ้องร้องเรียกชำระหนี้ ผู้ถือหุ้นจะต้องชำระหนี้ตามส่วนที่ยังไม่ได้มีการชำระทุน ยกตัวอย่างเช่น ราคาหน้าตั๋ว 10 บาท แต่คุณชำระแล้ว 4 บาท ถ้ามีการเรียกหนี้ คุณต้องควักอีกหกบาทออกมาชำระด้วย แต่สำหรับหุ้นที่จดทะเบียนคุณไม่ต้องไปกังวลเรื่องใครจะมาตามหนี้เพิ่มเติมหากหุ้นคุณเจ้ง เพราะราคาที่คุณจ่ายในการซื้อหุ้นนั้นเป็นการซื้อเต็มราคาหน้าตั๋ว หรือที่บอกว่าพาร์10บาทหรือ1บาทนั่นแหละครับ พอตอบประเด็นข้อสงสัยไหมครับ :wink:
โดย
genie
อังคาร ธ.ค. 13, 2005 4:11 pm
0
0
อยากทราบว่าหุ้นตัวไหนที่เป็นหุ้นวัฏจักรและอยู่ในช่วงขาลงบ้าง
http://www.bot.or.th/BOTHomepage/DataBank/EconData/EconFinance/tab69.asp เอ้า...... น้องจัดให้ตามขอ :welcome:
โดย
genie
ศุกร์ ธ.ค. 09, 2005 9:32 pm
0
0
อยากทราบว่าระบบการ auto match มันมีหลักการอย่างไงครับ
เอ้าไปดูตรงนี้ซะ http://www.set.or.th/th/operation/operation.html :wink:
โดย
genie
ศุกร์ ธ.ค. 09, 2005 4:58 pm
0
0
Capital Expenditures คืออะไรบ้างครับ
พี่CKครับ อันที่พี่บอกมันเป็น ค่าเสื่อมไม่ใช่หรือครับ คือผมจะแปลตามตัวเลยนะครับ Capital=เงินทุน Expenditure=ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนั้นCapital Expenditure ควรจะเป็นเงินทุนที่ถูกตั้งไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ส่วนเรื่องค่าเสื่อมหรือทรัพย์สินน่าจะเป็นเงินลงทุนในทรัพย์สินซึ่งเป็นการInvestmentมากกว่าไม่น่าจะใช่Expenseditureครับ อีกอย่างเวลาคิดคำนวณ Free Cash Flow= กำไรสุทธิ-ส่วนเพิ่มของการลงทุน-Cap.Exp.+ค่าเสื่อม ดังนั้นถ้าว่ากันตามสูตรคิดคำนวณแล้ว การเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนกับค่าเสื่อมน่าจะเป็นคนละตัวกับCap.Exp.ครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2005 4:57 pm
0
0
งบการเงินครับจำเป็นมากมั้ยครับ สำหรับการลงทุนแบบ VI
งบการเงินสำคัญแค่ไหนคงต้องบอกว่า เหมือนคุณขับรถนั่นแหละครับ งบการเงินก็เหมือน Km/Hr, R/min, Temperature, Oil Tank, ลมยาง, ระดับน้ำมันเครื่อง เป็นต้น เวลาคุณขับรถคุณดูพวกนี้ไหมครับ ถ้าคุณดู เวลาคุณจะลงทุนก็ต้องดูเช่นกันครับ แต่ก็ไม่ใช่สักแต่ว่าดู เพราคุณต้องรู้สมรรถนะของรถคันนั้นเสียก่อนว่า แรงม้าเท่าไหร่ DOHCหรือOHC แรงบิดเท่าไหร่ ขับเคลื่อนแบบไหน ซึ่งถ้าเป็นหุ้นก็คือลักษณะของธุรกิจนั่นแหละครับ ดังนั้นเวลาดูต้องดู"ทั้งสองอย่าง"ประกอบกันครับ อย่าบ้าดูแต่Ratioอย่างเดียว เข้ารกเข้าป่าแน่ครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2005 4:20 pm
0
0
Capital Expenditures คืออะไรบ้างครับ
อันที่คุณลูกอิสานตอบคือ กระแสเงินสดจากการลงทุนครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2005 4:14 pm
0
0
Capital Expenditures คืออะไรบ้างครับ
ขอโทษครับ คุณลูกอิสานตอบไม่ถูกครับ Capital Expenditureถ้ามองให้เป็นรูปธรรมหน่อยก็คือเงินที่เราต้องสำรองเอาไว้เพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานได้ หรือเงินที่จมจากการดำเนินงานของบริษัท นั่นก็คือ ส่วนต่างระหว่าง AccPay.-Acc.Rec.-Inv. ครับ นั่นก็คือCash Cycle ที่จมนั่นเองครับ ดังนั้นธุรกิจที่ซื้อขายเงินสดค่าCap.Exp.จะติดลบ นั่นคือไม่มีเงินจมนั่นเองครับ แต่ถ้าเป็นพวกธุรกิจการผลิตพวกนี้มีมีค่าตัวนี้เป็นบวกครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2005 4:12 pm
0
0
อัตราส่วนทางการเงินในรายงานประจำปีของบริษัท
ถามว่าใช้ได้ไหม ต้องบอกว่าใช้ได้ครับ แต่คุณต้องอ่านform56-1ประกอบด้วยเพื่อให้เข้าใจลักษณะธุรกิจ เพราะถ้าคุณเอาแต่ไปอ่านratioโดยไม่ดูลักษณะธุรกิจว่ามันสอดคล้องกันหรือไม่ อันนี้คุณอาจ"เป็นแมงเม่า"เอาได้ง่ายๆคืออาจถูกงบหลอกเอาได้ เพราะratioของแต่ละธุรกิจมันไม่เหมือนกัน อย่ายึดว่ามากว่า1ดีน้อยกว่า1ไม่ดี อันนี้หลงเข้าพงเข้าป่ามาเยอะแล้วครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2005 4:04 pm
0
0
ส่วนเกิน(ต่ำกว่า)ทุนบอกอะไรเราได้บ้างครับ
ส่วนเกินทุนคืออย่างนี้ครับ ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่าราคาหน้าตั๋วหรือราคาพาร์เสียก่อน คือหุ้นจะมีราคาพาร์ถูกไหมครับ ไม่ว่าจะเป็น 10บาท 5บาท 1บาท ส่วนไอ้ส่วนเกินทุนก็มาจากตรงนี้แหละครับ สมมุติหุ้นราคาพาร์อยู่ที่ 10 บาท แต่ขายIPOที่ 15บาท นั่นหมายความว่าส่วนเกินทุนมีค่าเท่ากับ 5บาทต่อหุ้น แล้วเอา 5บาทไปคูณกับจำนวนหุ้นจะได้ ส่วนเกินผู้ถือหุ้นครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2005 4:00 pm
0
0
ขอความช่วยเหลือจากพี่ๆๆหน่อยครับ
แนะนำให้ไปดูที่เว็บ www.set.or.th ครับ ตรงความรู้ด้านการลงทุน ตรงนั้นเขาจะอธิบายพวกนี้ไว้ละเอียดครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2005 3:57 pm
0
0
อยากทราบว่าหุ้นตัวไหนที่เป็นหุ้นวัฏจักรและอยู่ในช่วงขาลงบ้าง
ข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับหุ้นกลุ่มวัฏจักรน่าจะไปดูที่แบงค์ชาติครับ www.bot.or.th ไปดูอัตราการใช้กำลังการผลิต ถ้ามีแนวโน้มอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง อันนั้นก็สัญญานละครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2005 3:55 pm
0
0
ช่วยแนะนำแหล่งข้อมูลหน่อยครับ
ข้อมูลเศรษฐกิจโลกดูได้จาก www.imf.org ครับ แต่ถ้าเป็นข้อมูลเฉพาะเจาะจงคงต้องระบุหัวเรื่องที่ชัดเจนกว่านี้ครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2005 3:53 pm
0
0
มือใหม่ ขอถาม
ก่อนดูงบควรจะดูลักษณะของธุรกิจก่อนครับ จะได้เข้าใจว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวมีโครงสร้างการใช้ทรัพย์สินอย่างไร จะทำให้การอ่านงบเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ เพราะค่าทางRatioต่างๆเป็นเพียงค่าสุดท้าย แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างแท้จริงว่าดีหรือไม่ดีครับ เหมือนเวลาเติมลมยางรถยนต์นั่นแหละครับ 30ปอนด์ก็สำหรับรถเก๋งทั่วไป แต่ถ้าเป็นรถกระบะหรือคุณขับออกทางไกลก็ควรเติมให้แข็งกว่านั้น ดังนั้นก่อนอ่านงบไปอ่านลักษณะธุรกิจก่อนครับ หาได้จากการไปdownload form56-1ที่ www.sec.or.th ครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2005 3:51 pm
0
0
Identifiable asset คืออะไรครับ
Identifiable Assets แปลตามตัวก็คือทรัพย์สินที่สามารถระบุตัวตนได้ชัดเจน นั่นก็คือทรัพย์สินที่ปรากฎอยู่บนงบดุลทั้งหมดนั่นแหละครับ คือ ID-Assets ส่วน Non-Identifiable Assets ก็คือทรัพย์สินที่ไม่สามารถระบุออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น แบรนด์เนม สัมปทาน(เช่น น้ำมันที่อยู่ใต้ดินที่ ปตท.ได้รับสัมปทานมา) ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น ครับ :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2005 3:46 pm
0
0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
ผมไม่ปฏิเสธครับว่าGDPมีความสัมพันธ์กับความสุขของประชาชน เหมือนฐานะทางการเงินก็มีความสัมพันธ์ต่อความสุขของปัจเจกชนเช่นกัน แต่ถึงแม้มีความสัมพันธ์มันมีความสัมพันธ์ขนาดไหนครับ อธิบายความสุขได้แค่ไหนครับ 90% 80% 70%.........10%.....(ผมว่ามันไม่ถึง10%ด้วยซ้ำ) นี่คือสิ่งที่ผมพูดถึงครับ เพราะอย่างที่คุณดดดได้กล่าวไปแล้ว แม้GDPจะมีความสัมพันธ์กับความสุขของประชาชนแต่มันอธิบายได้น้อยมากครับ ถ้าคนที่เรียนวิชาสถิติน่าจะเข้าใจความหมายนี้ดี(ผมหมายถึงค่า R^2ครับ) เพราะมันเป็นเรื่องของความมั่งคั่งของประเทศ ดังนั้นถ้าเราจะพิจารณาว่า"รัฐ"ได้ให้ความสำคัญของประชาชนแค่ไหนเราไม่ควรพิจารณาแค่GDPหรือแม้แต่ไม่ควรใช้GDPเป็นตัวแปรในการวิเคราะห์ด้วยซ้ำเพราะมันอธิบายได้น้อย อีกทั้งในการที่รัฐให้ความสำคัญในเรื่องของGDPก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเดี๋ยวนี้เขามีGPP(ผลผลิตมวลรวมรายจังหวัด)ด้วยนะครับ ลองไปดูที่เว็บสภาพัฒน์สิครับ แต่รู้สึกว่ากำลังอยู่ในช่วงพัฒนา ซึ่งตัวนี้แหละครับจะตอบโจทย์คุณดดดว่าความมั่งคั่งของประเทศได้ถูกกระจายออกไปตามภูมิภาคหรือไม่ นอกจากนี้จะมีเรื่องภาษีพัฒนาท้องถิ่นอีก ที่จะเป็นตัวชี้ถึงความสามารถในการบริหารท้องถิ่นอีกต่างหาก เครื่องมือมีให้เลือกเล่นเยอะครับ อย่ามองแค่ตัวเดียวเดี๋ยวจะงง :) :wink:
โดย
genie
พฤหัสฯ. พ.ย. 24, 2005 10:47 am
0
0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โถคุณCWไม่ต้องงงหรอกครับ ผมเองต้องเรียนเป็นปีกว่าจะเข้าใจ ยิ่งตอนเรียนตรีนะซ้ำแล้วซ้ำอีก บอกตรงๆเศรษฐศาสตร์มันไม่ใช่เรื่องง่ายครับ เพราะคุณต้องแม่นในเรื่องของตรรกศาสตร์แบบตกผลึก ไม่งั้นคุณวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์คุณจะปวดกระบาลตาย :lovl:
โดย
genie
พุธ พ.ย. 23, 2005 6:17 pm
0
0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
ตอบประเด็นของคุณดดดครับ คือประเด็นเรื่องGDPเอาง่ายๆแบบเห็นภาพเลยนะครับ GDP เป็นการสะท้อนภาพของความมั่งคั่งของประเทศ เหมือนภาพของคนรวยคนมีตังค์ประมาณนั้น แต่ผมคงต้องถามว่า คนรวยมีตังค์มาก มีความสุขจริงหรือ คือตัวเลขGDPมันก็ไม่ต่างกับตัวเลขในบัญชี ไม่สามารถบอกได้ว่าคนๆนั้นมีความสุขหรือไม่ ดังนั้นผมถึงบอกว่าGDPไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสุขของประเทศยังไงละครับ แต่สิ่งที่จะบอกได้เบื้องต้น(ย้ำนะครับเบื้องต้น) ก็คือเรื่องต่างๆอย่างที่กล่าวไปแล้ว เครื่องมือพวกนี้ต่างหากที่จะชี้วัดความสุข เหมือนจะวัดความสุขของครอบครัว เราดูที่ตัวเลขในบัญชีหรือครับ? ซึ่งหลายๆท่านก็ทราบดีว่าเงินซื้อความสุข(ที่แท้จริง)ไม่ได้ ดังนั้นถ้าจะวัดต้องดูปัจจัยอื่น เช่น ปริมาณการที่พ่อแม่ลูกกอดกัน ปริมาณการกินข้าวพร้อมกัน หรือ จำนวนชั่วโมงที่พูดคุยกัน เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือที่ผมบอกข้างต้นน่าจะวัดระดับความสุขของครอบครัวได้มากกว่าตัวเลขในบัญชีหรือไม่ครับ หนึ่งในประเด็นสำคัญสำหรับการวิเคราะห์คือ การใช้เครื่องมือที่ถูกต้องครับ ตอบประเด็นของคุณดดดไหมครับ :) :wink:
โดย
genie
พุธ พ.ย. 23, 2005 6:14 pm
0
0
จะเลือกอันไหนดีกว่ากันครับ
เลือกอันที่เราเข้าใจครับ
โดย
genie
พุธ พ.ย. 23, 2005 6:02 pm
0
0
ทำไมงบดุล ประจำไตรมาส บางบริษัทฯ เขาไปเปรียบกับงวดสิ้นปี
ถ้าเป็นงบดุลอันนี้ไม่มีปัญหาครับ เพราะงบดุลจะบอกเราเรื่องการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งไม่มีseasonal effect ดังนั้นจะเทียบแบบQ/Qหรือเทียบกับperiodที่ผ่านมาก็ไม่มีปัญหาครับ เพียงแต่วิเคราะห์ต่างกันนิดหน่อยเท่านั้นเอง แต่กับงบกำไรขาดทุนอันนี้ไม่ได้นะครับ เพราะ1.มีseasonal effect และ2.งบกำไรขาดทุนสิ้นปีเป็นงบสะสมจากทั้ง4ไตรมาสดังนั้นจะเทียบปีกับไตรมาสไม่ได้ครับ :wink:
โดย
genie
พุธ พ.ย. 23, 2005 1:09 pm
0
0
ดุลการค้า เดือน ต.ค. ติดลบอีกละ
แนะนำให้ไปดูข้อมูลที่กระทรวงพาณิชย์ครับ http://www.moc.go.th จะเห็นข้อมูลครับ :wink:
โดย
genie
พุธ พ.ย. 23, 2005 1:05 pm
0
0
พี่มนครับ หนี้ระยะยาว ในงบกระแสเงินสด
ที่บอกว่าไม่เท่ากันนี่ยังไงและตรงไหนครับ เวลาตรวจงบCF ให้ดูบรรทัดสุดท้ายเป็นหลัก ถ้ามันเท่ากับส่วนต่างเงินสดปีนี้กับปีที่แล้วอันนี้ถูกต้องครับ :wink:
โดย
genie
พุธ พ.ย. 23, 2005 1:03 pm
0
0
ปริมาณน้ำปีหน้าคงไม่มีปัญหาแล้วมั้งครับ
ผมดีใจนะครับที่เห็นกราฟ(พูดจากใจจริง :D ) ตอนแรกเห็นหัวข้อยังกลัวเลยว่าจะบอกว่าสถานการณ์น้ำดีขึ้นเพราะเห็นฝนตกเยอะ แต่นี่มีกราฟและหลักฐานประกอบสมกับเป็นชาวVI ดีเยี่ยมเลยครับคุณba_2l :D
โดย
genie
พุธ พ.ย. 23, 2005 1:01 pm
0
0
สินค้าคงเหลือ ในงบกระแสเงินสด ไม่ได้มาจากงบดุลหรือครับ
การอ่านงบกระแสเงินสด วัตถุประสงค์คือเราต้องการทราบการเคลื่อนไหวของเม็ดเงินในบริษัท เหมือนวัดความดันไงครับว่าความดันสูงหรือต่ำไปรึเปล่า คือถ้าในกรณีCFเป็นบวกอันนี้ไม่ค่อนซีเรียสมาก แต่ถ้าเป็นลบนี่สิเราต้องดูว่ามันเป็นลบเพราะอะไร เราปล่อยเชื่อมากเกินไปหรือเปล่า แล้วที่สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพราะอะไร กักตุน?หรือขายไม่ออก? อันนี้ต้อนดูประเภทของธุรกิจประกอบด้วย หรือแม้แต่พิจารณาการลงทุนว่าขยายงานเกินไปหรือไม่ หรือดูว่าบริษัทนี้บริหารทางการเงินยังไง ระดมทุนอยู่เรื่อยๆ หรือกู้เก่งชิบ อะไรประมาณนี้ พอได้ประเด็นไหมcham_my :wink:
โดย
genie
พุธ พ.ย. 23, 2005 12:56 pm
0
0
สินค้าคงเหลือ ในงบกระแสเงินสด ไม่ได้มาจากงบดุลหรือครับ
จริงๆแล้วเวลาทำBusiness Planงบกระแสเงินสดจะช่วยได้มากครับ เหมือนตอนจะจบปีสุดท้ายโดยส่วนใหญ่เพื่อนกลุ่มอื่นๆจะทำออกมางบดุลปีหลังๆไม่บาลานซ์เพราะไม่ได้ทำงบกระแสเงินสด ดังนั้นใครที่เรียนBBAอยู่เวลาทำBusiness planถ้าทำแล้วงบดุลไม่บาลานซ์ ให้สงสัยงบกระแสเงินสดเป็นอันดับแรกครับ :wink:
โดย
genie
พุธ พ.ย. 23, 2005 12:51 pm
0
0
สินค้าคงเหลือ ในงบกระแสเงินสด ไม่ได้มาจากงบดุลหรือครับ
คุณCWผมอยู่26/135ครับ คุณCWอยู่บ้านเลขที่ไหนครับ เผื่อจะไปให้เลี้ยงข้าว :lol: :lol: :lol:
โดย
genie
พุธ พ.ย. 23, 2005 12:47 pm
0
0
1152 โพสต์
of 24
ต่อไป
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
genie
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
อังคาร ก.พ. 04, 2003 12:55 pm
ใช้งานล่าสุด:
-
โพสต์ทั้งหมด:
1474 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.08% จากโพสทั้งหมด / 0.18 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว