หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
Invisible hand
Joined: เสาร์ มี.ค. 27, 2004 12:34 am
369
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - Invisible hand
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: **เปิดจอง** CV@JUBILE บมจ. ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์
จอง 1 ที่ครับ ขอบคุณมากครับ
โดย
Invisible hand
จันทร์ มี.ค. 04, 2019 6:47 pm
0
0
Re: บริษัทที่ดีที่สุดของประเทศไทยที่ยังไม่ได้เข้าตลาด
CRC หรือ Central retail ครับ. ถ้าเข้าตลาด mkt cap อย่างต่ำน่าจะ 2 แสนล้านครับ
โดย
Invisible hand
อาทิตย์ ก.พ. 24, 2013 10:06 pm
0
6
แจ้งข่าว คุณชัยพร อดีต IR โรงพยาบาลไทยนครินท์ เสียชีวิต
ผมเองไม่ได้เจอและคุยกับคุณชัยพรนานมากแล้วเหมือนกัน ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ
โดย
Invisible hand
พุธ มิ.ย. 10, 2009 11:26 am
0
0
ประชุมผู้ถือหุ้นการบินไทย
ลองปรึกษานักกฎหมายเก่งๆ เพื่อหาช่องทางที่ชี้ชัดว่าการแปรรูปการบินไทยเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ที่ราคา IPO 60 บาท นั้นผิดกฎหมายและเป็นการขายสมบัติชาติรึเปล่านะครับ เผื่อกระทรวงการคลังจะซื้อคืนที่ราคา IPO ไงครับ : ) แม้จะไม่มี Nok Air แต่ Thai Airway เป็น low cost airline โดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะค่าจ้างกัปตัน แอร์ ช่างซ่อมบำรุง พนักงาน ground ต่ำกว่าสายการบินเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ มาเลย์ หรือสายการบินในยุโรป เพราะค่าจ้างเป็น dollar นั้นถูกกว่าเนื่องจากเรามีค่าครองชีพต่ำกว่า และบุคลากรที่ไปเป็น Air Hostage ก็เป็นบุคลากรคุณภาพสูงของประเทศ จำนวนมาจบจากคณะดีๆ ของมหาวิทยาลัยดัง แม้คนจบสายคุรุศาสตร์แทนที่จะไปเป็นครูก็มาเป็น Air กันเยอะ พนักงานก็ค่อนข้างเด่นด้านบริการเมื่อเทียบกับสายการบินโดยเฉลี่ย Story บางอย่างจะคล้ายๆ ธุรกิจ รพ. ที่เราดึงบุคลากรที่มีศักยภาพสูงมาเป็นหมอและบุคลากรมี service mind ดังนั้น THAI ควรเป็นสายการบินที่มี cost advantage ตลอดเวลา การที่ THAI ทำได้เพียงเท่าปัจจุบันนี้นับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจครับ
โดย
Invisible hand
พฤหัสฯ. เม.ย. 10, 2008 12:47 pm
0
0
ทำไมนักลงทุน จึงไม่พ่ายแพ้ต่อพนักงานบริษัท นั้นๆ โดยสิ้นเชิง
คำตอบและเหตุผลที่ผมได้มาเวลาคุยกับเพื่อนที่ทำงานบ. จดทะเบียนว่าทำไมไม่ถือหุ้น บ. ตัวเองบ้าง ทั้งๆ ที่เราก็มองว่ามันก็น่าจะดี คำตอบที่ได้ยินบ่อยคือ " รู้เยอะไป " อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ พนักงานมักจะอยู่ติดกับสถานการณ์และเห็นปัญหาต่างๆ แม้จะเป็นปัญหายิบย่อย ทำให้รู้สึกว่าองค์กรตนเองมีปัญหา และมององค์กรตนเองด้อยกว่าองค์กรอื่น นอกจากนี้ มุมมองบางมุม พนักงานจะสวมหมวกคนละใบกับผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้น เช่น พนักงานบางคนไม่ซื้อหุ้นเพราะไม่ชอบที่ผู้บริหารใช้งานตนเองหนัก และมีเป้าหมายยากๆ และ pressure ให้พนักงานให้ปฎิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายนั้นๆ
โดย
Invisible hand
พฤหัสฯ. เม.ย. 10, 2008 11:43 am
0
0
ใครต้องการข้อมูลแบบนี้ไว้ดูบ้าง วัน XD XM XW พร้อมรายละเอียด
เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากจริงๆ ครับ ขอแสดงความนับถือและชื่นชมในน้ำใจพี่ครรชิตอย่างมากเลยครับ
โดย
Invisible hand
พฤหัสฯ. มี.ค. 20, 2008 12:21 am
0
0
-- JPMorgan to buy Bear for $2 a share --
ธุรกิจสถาบันการเงิน มีทุน 1 บาท ก็ระดมเงินฝากหรือออกตราสารเงินกู้อีกประมาณ 9 รวมเป็นเงิน 10 บาท เงิน 10 บาทที่ว่านี้ก็ไปปล่อยกู้ หรือลงทุนตราสารทางการเงินต่างๆ ที่ดอกเบี้ยสูงพอๆ กับการปล่อยกู้ เช่น CDO ถ้าคิดตามหลัก finance ก็คือธุรกิจนี้มี d/e 9 เท่า แต่ที่แปลกคือ บทวิเคราะห์หุ้นไม่เคยบอกไว้เลยว่าหุ้นสถาบันการเงินตัวนั้นตัวนี้มีความเสี่ยงสูงเพราะมี d/e 9-10 เท่า เห็นแต่ไปวิเคราะห์ sector อื่นๆ บางทีเห็น d/e เกิน 2 เท่าก็ว่าเสี่ยงแล้ว ทุน 1 บาทก็คือ Book value ซึ่งสถาบันการเงินส่วนใหญ่ราคาหุ้นจะซื้อขายกันที่ p/bv 2-4 เท่า ดังนั้นจาก book 1 บาท แต่ราคาหุ้นจะเป็น 2-4 บาท พอเงินให้กู้หรือสินทรัพย์บางประเภทมีปัญหา ไม่ต้องมาก คือแค่ 20% ของทั้งหมด เงิน 10 บาทที่ว่านั้นก็จะมีมูลค่าเหลือ 8 บาท ก็เท่ากับว่าสินทรัพย์เหลือ 8 แต่หนี้สินยังเท่าเดิมคือ 9 เท่ากับว่า equity ติดลบ 1 บาท แต่ราคาหุ้นเดิมคือ 2-4 บาท หนี้สิน 9 บาทที่มีนั้น ถ้าเป็นเงินฝากจากประชาชน ก็อันตรายมาก เพราะเมื่อมีข่าวว่าสถาบันการเงินนั้นๆ มีปัญหาแพร่ออกไป ผู้ฝากเงินซึ่งก็คือเจ้าหนี้ก็จะพร้อมกันเข้ามาถอนเงินออกไป แม้จะเป็นการฝากประจำที่ไม่ครบกำหนดก็ตาม นับว่าเป็นหนี้ที่อันตรายมากเพราะเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระแน่นอนและเจ้าหนี้พร้อมเรียกเงินคืนได้ตลอดเวลา ซึ่งต่างจากธุรกิจ real sector ที่สามารถบริหารเงินกู้ด้วยการกู้ธนาคารระยะยาวหรือออกหุ้นกู้ซึ่งมีกำหนดชำระแน่นอน ดังนั้นสถาบันการเงินจึงตกภายใต้ความเสี่ยงหลายๆ อย่าง คือ - ใช้ d/e สูงมาก - สินทรัพย์ที่ไปลงทุนหรือปล่อยกู้เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมมีมูลค่าลดลงอย่างรวดเร็วภายใต้สถานการณ์ต่างๆ - เจ้าหนี้ ( ผู้ฝากเงิน ) เป็นเจ้าหนี้ที่พร้อมจะดึงเงินกู้กลับตลอดเวลา ในขณะที่ถ้าเราไปดู ROE ของสถาบันการเงินต่างๆ ก็พบว่าไม่ได้สูงกว่าหุ้น real sector มากนัก คือประมาณ 15-25% เหมือนกัน แม้ว่าตามหลักแล้ว d/e สูง ROE จะต้องสูงตาม แต่สถาบันการเงินที่ d/e สูงมากกลับได้ roe เท่ากับหุ้นที่มี d/e 0-2 เท่าในธุรกิจอื่นๆ ดังนั้น คำว่าซื้อลงทุน ถือถึงลูกถึงหลาน คงจะใช้ไม่ได้กับการลงทุนในหุ้นสถาบันการเงินไม่ว่าประเทศใดก็ตามครับ
โดย
Invisible hand
อังคาร มี.ค. 18, 2008 4:54 am
0
0
สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่
มันมีข้อความบางส่วนข้างบนซ้ำกันอยู่เลยขอ post ใหม่ครับ ลองนึกๆ เท่าที่จำได้นะครับ ใช้ตัวเลขดัชนีประมาณ 800-1300 จุดช่วงก่อน crisis นะครับเพราะช่วง 1500-1700 จำได้ว่าหุ้นวิ่งแบบไม่มีใครสนใจ p/e กันอยู่แล้ว หุ้นสื่อสาร เป็นหุ้นที่ทุกคนยอมรับว่า p/e ต้องสูงมากเพราะ growth สูง ถ้าเป็น shin advanc ก็ p/e 30-40 เท่า แต่คนที่ลงทุนใน shin advanc ตอนนั้นถึงปัจจุบันก็ยังพอกำไรเพราะธุรกิจมือถือเติบโตได้จริง ส่วนสื่อสารตัวอื่นๆ TT&T ตอนเข้าตลาดก็ประมาณ 150 บาท ( ปัจจุบันยังพาร์เดิมอยู่คือ 10 บาท ) ส่วน TA ก็ 100 กว่าบาทเหมือนกัน เมื่อไม่นานนี้ช่วง dot com boom คือปี 2543 TA หรือ TRUE ปัจจุบันก็เคยขึ้นจาก 10 กว่าบาทเป็น 70 กว่าบาท ปัจจุบันเหลือ 5 บาทกว่า ลงเหมือนแตกพาร์ ส่วน Samart ราคา IPO 80 บาท ราคานอกตลาด 200 กว่า เทรดวันแรกประมาณ 450 ( พาร์ 10 ) ตอนนี้แตกพาร์เหลือ 1 ราคาหุ้นตอนนี้ก็ 8 บาท คนถือตอนนั้นก็ไม่เสียหายเท่าไหร่ ราคาหุ้นกลับมาที่ IPO พอดี ส่วน JAS หรือ Jasmin Inter ราคา trade วันแรก 450 บาท ตอนเข้าตลาดมีโฆษณา TV เป็นฉากการประชุม มีผู้บริหาร ( ซึ่งเข้าใจว่าเป็นนักแสดง ) ประชุมแบบถกกันหน้าตาเคร่งเครียดแล้วประธานก็ทุบโต๊ะแล้วพูดว่า " Project นี้พลาดไม่ได้ เพราะผมหมายถึงชื่อเสียงของประเทศ " แล้วจบท้ายว่า Jasmin สยายปีกเทคโนโลยีสื่อสารไทย ฟังแล้วรู้สึกว่าอีกไปกี่ปีจากนี้ประเทศไทยต้องยิ่งใหญ่ในระดับโลกแน่ๆ เลยครับ สมัยเมื่อ 10 กว่าปีก่อนเค้าว่ากันว่าในปี 2020 แม้บอลไทยจะชนะฝรั่งเศสไม่ได้ก็ตาม แต่ GDP ของเราจะโตแซงฝรั่งเศส ตอนนี้ราคาหุ้น Jas ก็อยู่ 1 บาทกว่า ผมเลยไม่แน่ใจว่า project ที่หมายถึงตอนนั้นประมูลได้หรือเปล่านะครับ หรือเพราะประมูลได้ตอนนี้จึงเป็นเช่น ณ ปัจจุบันนี้ ส่วนหุ้นอสังหาฯ ตอนนั้นจำได้ว่า ในสายตานักลงทุนบ้านเรานั้น b-land หรือ tyong หรือที่เรียกกันว่า ตี๋ย้ง นั้นดูจะดังกว่า LH เสียอีกครับ p/e กลุ่มก็ประมาณ 20-50 เท่าเหมือนกัน story ของ tyong ก็คือรถไฟฟ้า BTS ครับ ถ้าช่วง 2-3 ปีนี้หุ้น EVER ดัง เมื่อก่อนหุ้น RR ก็ดังประมาณนี้เหมือนกันครับ โดย RR เค้าจะขึ้นลงตามหุ้นอีกตัวหนึ่งคือ FCI เพราะผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน จึงเรียกหุ้นคู่นี้กันว่า คู่แฝดอภินิหาร แต่ปัจจุบัน คู่แฝดที่ว่านี้ไม่อยู่แล้ว เข้าใจว่าตัวหนึ่งหายไปก่อน อีกตัวเลยตรอมใจตามไปครับ หุ้นหลายๆ ตัวตอน IPO นั้นเฟื่องขนาดมีงบโฆษณาเข้าตลาด แม้กระทั่งหุ้นอสังหาฯ อย่าง CNTRY หรือ บริษัทคันทรีประเทศไทยก็โฆษณาเป็นเพลงเพราะเชียวคือ ใช้เพลง Sailing เป็นภาพเรือใบล่องโต้คลื่นในทะเล ผมจำได้ว่าหุ้นหลุดจองตั้งแต่วันแรก เลยเพิ่งตีความภายหลังว่าในเพลงที่ร้องว่า I m sailing นั้นมันคือ Im selling. เสียมากกว่า หุ้น CNTRY นั้นหายไปปรับโครงสร้างหนี้อยู่นานก่อนกลับมาในชื่อใหม่ว่า EVER หมายถึง เคย อยู่ในตลาดหุ้นมาก่อนนั่นเอง อสังหาฯ ตอนนั้นนโยบายบัญชีคือ รับรู้รายได้เมื่อจอง คือลูกค้าเอาเงินมาจอง 5 หมื่นบาท ยังไม่ทันสร้างอะไรก็เริ่มรับรู้รายได้กันแล้ว ตอนนั้นหลายๆ บริษัทเปิดจองโครงการใหม่ๆ พอเศรษฐกิจไม่ดีลูกค้าทิ้งเงินจองเงินดาวน์ แต่รับรู้รายได้ไปแล้วเสียเยอะเลย เราจึงเห็นหุ้นอสังหาฯ บางตัวตอนปี 39-40 มีรายได้เป็นเครื่องหมายลบ ดังนั้นที่มาตรฐานทางบัญชีใหม่บอกว่าวิธีรับรู้ตาม % ของงานนั้นไม่ conservative ให้เปลี่ยนเป็นรับรู้เมื่อโอนทั้งหมด ถ้าย้อนไปดูสมัยก่อนแล้วจะตกใจยิ่งกว่าครับ สมัยนั้นอสังหาฯ บูมขนาดที่เจ้าของโครงการเอาเงินไปมัดจำที่ดินจะสร้างตึกแถว สถาปนิกเพิ่งเขียนแบบร่างเสร็จ ก็ขายหมดแล้วครับ พอขายหมดก็อาจจะโดนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงต่อว่าว่ามีของดีแบบนี้ทำไมไม่บอก LPN หรือ PS ที่ว่าขายดีเทน้ำเทท่า เปิดวันแรกจอง 100% ผมว่าจำนวน unit ตอนนั้นต้องสู้โครงการแฟล็ตปลาทองกระรัตไม่ได้ครับ ตอนนั้นเป็นโฆษณาเพลง โดยใช้นักแสดงตลกชื่อดังๆ มาร้องเพลงโฆษณา ดาวน์ก็น้อยผ่อนนิดโอนสิทธิ์โฉนดเอาไปเลยง่ายดาย ย้า ยา ยา หย่า ยา จะไปจะไปใกล้หมด สะดวกมีรถเมล์ผ่าน มีสระว่ายน้ำและมีสวนหย่อมปลาทองมีพร้อมทุกสิ่ง เพลงนี้เด็กอนุบาลยังจำไปร้องกันได้เลยครับ ตอนนี้ผมไม่แน่ใจว่าแฟล็ตปลาทองที่ว่านั้นอยู่ส่วนไหนของประเทศไทยเลยครับ แต่ได้ยินว่าสร้างเสร็จจนได้ครับ ถ้าจะไม่พูดถึงเลยคงไม่ได้คือ หุ้นไฟแนนซ์ เป็นสุดยอดหุ้น blue chip สมัยนั้นไม่ว่าจะเป็น FIN1 DS CMIC NFS p/e ก็ 30-50 เท่าตลอด และคงไม่มีใครที่เล่นหุ้นช่วงนั้นจะไม่เคยมีหุ้น finance เหล่านี้อยู่ในพอร์ต อย่างน้อยต้องมีไม่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนั้นใครที่ท่องหลักการว่า ไม่ขาย ไม่ขาดทุน ขอให้ดูประวัติศาสตร์ดีๆ ด้วยครับ สมัยนั้นหุ้น Fin1 นั้นกลุ่มเค้ามีหลายตัว ถ้าเป็นหลักทรัพย์ก็มี Fin1 S-one FAS ซึ่งถือหุ้นโดย ONE ซึ่งอยู่กลุ่มสิ่งทอ ทำเหมือนเป็น holding company หุ้นกลุ่มนี้ติด top active อยู่เป็นประจำต่อเนื่อง ถ้าไม่ล้มไปก่อนไม่ทราบจะเหมือน Berkshire รึเปล่านะครับ ช่วงซักปี 37-38 ก็เล่นข่าวกันว่า Fin1 จะ takeover ธ. ไทยทนุ แล้วยกระดับเป็นธนาคาร แต่ตอนปี 39 เริ่มมีปัญหา ก็มีข่าวว่า ธ. ไทยทนุ จะไปช่วยเหลือ Fin1 กลับตาลปัตรภายในเวลาอันรวดเร็ว หุ้นธนาคาร ช่วงนั้นเหมือนโดนรัศมีหุ้น finance กลบไปเยอะครับ หุ้นธนาคารที่เหมือนจะ hot สุดคงจะหนีไม่พ้น BBC หรือ ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการครับ ถ้าตอนนี้หุ้นแขกเป็นที่นิยม ตอนนั้นเค้าก็เล่นหุ้นแขกกันเหมือนกันครับ แต่แขกที่ว่านั้นคือ ราเกซ สักเสนา ครับ แต่ใครถือหุ้นแขกก็อย่าตกใจครับมันคงจะต่างกันครับ หุ้นธนาคารเล็กๆ หลายแห่งเช่น BMB LTB นครธน สหธนาคาร ไทยทนุ IFCT ปัจจุบันถูกลดทุนเหลือ 1 สต. ไปรวมกับอะไรต่ออะไรไปเสียหมดแล้วครับ จริงๆ แล้วสัญลักษณ์ของ ธ. กรุงเทพพาณิชยการนั้นคือ สตางค์แดง เค้าเลยเรียกว่าแบงค์สตางค์แดง เหมือนคนคิดสัญญลักษณ์นั้นมี six sense ว่าท้ายสุดแล้วมันจะเหลือ 1 สตางค์จริงๆ ครับ เรื่องเพิ่มทุนของหุ้นในตลาดทำกันเป็นว่าเล่น ตอนนั้นไม่ต้องเพิ่มทุนบวกวอร์แรนท์ให้เมื่อย แค่ประกาศเพิ่มทุนหุ้นก็วิ่งทั้งก่อนและหลังประกาศแล้ว XR เสร็จหุ้นก็วิ่งต่อ ยิ่งอัตราเพิ่มทุน สวย เท่าไหร่หุ้นยิ่งวิ่งแรง คำว่า สวย สมัยนั้นกับสมัยนี้ไม่เหมือนกันแน่นอนครับ สวยสมัยนั้นต้องประมาณ 1: 2 หรือ 1: 3 ผมไม่ได้เขียนสลับนะครับ 1 หุ้นเดิมต่อ 3 หุ้นใหม่ ถ้าขืนเพิ่มแบบเขียมๆ แบบปัจจุบันประเภท 2: 1 หรือ 3: 1 หุ้นไม่วิ่งหรอกครับ ยุคสมัยเปลี่ยนไป คำว่าสวยก็เปลี่ยนไปครับ ผมดูภาพวาด Impressionist ของยุโรปสมัยศตวรรษที่ 18 ผู้หญิงสวยๆ ของเค้าต้องอ้วนๆ หน่อยมีพุง สมัยนี้ต้องผอมบางถ้าไปอยู่ยุคอดีตเค้าคงคิดว่าเป็นโรค ดังนั้นเวลาเปลี่ยน อะไรๆ ก็เปลี่ยน ผู้หญิงคนไหนที่ตัวใหญ่หน่อยก็มองโลกในแง่ดีครับว่าเราเกิดช้าไปแค่ 200 ปีเอง ดังนั้นสมัยนี้ หุ้น p/e เกิน 10 บางตัวว่าค่อนข้างแพง p/e เกิน 20 คือ แพงมาก เกิน 30 แพงอย่างไร้เหตุผล ถ้าเป็นเมื่อปี 253x ผมเห็นหุ้น p/e เกิน 30 อยู่น่าจะเกินครึ่งหนึ่งของตลาดครับ ผมเริ่มแก่แล้วล่ะครับ
โดย
Invisible hand
พฤหัสฯ. มี.ค. 06, 2008 2:56 am
0
0
สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่
ลองนึกๆ เท่าที่จำได้นะครับ ใช้ตัวเลขดัชนีประมาณ 800-1300 จุดช่วงก่อน crisis นะครับเพราะช่วง 1500-1700 จำได้ว่าหุ้นวิ่งแบบไม่มีใครสนใจ p/e กันอยู่แล้ว หุ้นสื่อสาร เป็นหุ้นที่ทุกคนยอมรับว่า p/e ต้องสูงมากเพราะ growth สูง ถ้าเป็น shin advanc ก็ p/e 30-40 เท่า แต่คนที่ลงทุนใน shin advanc ตอนนั้นถึงปัจจุบันก็ยังพอกำไรเพราะธุรกิจมือถือเติบโตได้จริง ส่วนสื่อสารตัวอื่นๆ TT&T ตอนเข้าตลาดก็ประมาณ 150 บาท ( ปัจจุบันยังพาร์เดิมอยู่คือ 10 บาท ) ส่วน TA ก็ 100 กว่าบาทเหมือนกัน เมื่อไม่นานนี้ช่วง dot com boom คือปี 2543 TA หรือ TRUE ปัจจุบันก็เคยขึ้นจาก 10 กว่าบาทเป็น 70 กว่าบาท ปัจจุบันเหลือ 5 บาทกว่า ลงเหมือนแตกพาร์ ส่วน Samart ราคา IPO 80 บาท ราคานอกตลาด 200 กว่า เทรดวันแรกประมาณ 450 ( พาร์ 10 ) ตอนนี้แตกพาร์เหลือ 1 ราคาหุ้นตอนนี้ก็ 8 บาท คนถือตอนนั้นก็ไม่เสียหายเท่าไหร่ ราคาหุ้นกลับมาที่ IPO พอดี ส่วน JAS หรือ Jasmin Inter ราคา trade วันแรก 450 บาท ตอนเข้าตลาดมีโฆษณา TV เป็นฉากการประชุม มีผู้บริหาร ( ซึ่งเข้าใจว่าเป็นนักแสดง ) ประชุมแบบถกกันหน้าตาเคร่งเครียดแล้วประธานก็ทุบโต๊ะแล้วพูดว่า " Project นี้พลาดไม่ได้ เพราะผมหมายถึงชื่อเสียงของประเทศ " แล้วจบท้ายว่า Jasmin สยายปีกเทคโนโลยีสื่อสารไทย ฟังแล้วรู้สึกว่าอีกไปกี่ปีจากนี้ประเทศไทยต้องยิ่งใหญ่ในระดับโลกแน่ๆ เลยครับ สมัยเมื่อ 10 กว่าปีก่อนเค้าว่ากันว่าในปี 2020 แม้บอลไทยจะชนะฝรั่งเศสไม่ได้ก็ตาม แต่ GDP ของเราจะโตแซงฝรั่งเศส ตอนนี้ราคาหุ้น Jas ก็อยู่ 1 บาทกว่า ผมเลยไม่แน่ใจว่า project ที่หมายถึงตอนนั้นประมูลได้หรือเปล่านะครับ หรือเพราะประมูลได้ตอนนี้จึงเป็นเช่น ณ ปัจจุบันนี้ ส่วนหุ้นอสังหาฯ ตอนนั้นจำได้ว่า ในสายตานักลงทุนบ้านเรานั้น b-land หรือ tyong หรือที่เรียกกันว่า ตี๋ย้ง นั้นดูจะดังกว่า LH เสียอีกครับ p/e กลุ่มก็ประมาณ 20-50 เท่าเหมือนกัน story ของ tyong ก็คือรถไฟฟ้า BTS ครับ ถ้าช่วง 2-3 ปีนี้หุ้น EVER ดัง เมื่อก่อนหุ้น RR ก็ดังประมาณนี้เหมือนกันครับ โดย RR เค้าจะขึ้นลงตามหุ้นอีกตัวหนึ่งคือ FCI เพราะผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน จึงเรียกหุ้นคู่นี้กันว่า คู่แฝดอภินิหาร แต่ปัจจุบัน คู่แฝดที่ว่านี้ไม่อยู่แล้ว เข้าใจว่าตัวหนึ่งหายไปก่อน อีกตัวเลยตรอมใจตามไปครับ หุ้นหลายๆ ตัวตอน IPO นั้นเฟื่องขนาดมีงบโฆษณาเข้าตลาด แม้กระทั่งหุ้นอสังหาฯ อย่าง CNTRY หรือ บริษัทคันทรีประเทศไทยก็โฆษณาเป็นเพลงเพราะเชียวคือ ใช้เพลง Sailing เป็นภาพเรือใบล่องโต้คลื่นในทะเล ผมจำได้ว่าหุ้นหลุดจองตั้งแต่วันแรก เลยเพิ่งตีความภายหลังว่าในเพลงที่ร้องว่า I m sailing นั้นมันคือ Im selling. เสียมากกว่า หุ้น CNTRY นั้นหายไปปรับโครงสร้างหนี้อยู่นานก่อนกลับมาในชื่อใหม่ว่า EVER หมายถึง เคย อยู่ในตลาดหุ้นมาก่อนนั่นเอง อสังหาฯ ตอนนั้นนโยบายบัญชีคือ รับรู้รายได้เมื่อจอง คือลูกค้าเอาเงินมาจอง 5 หมื่นบาท ยังไม่ทันสร้างอะไรก็เริ่มรับรู้รายได้กันแล้ว ตอนนั้นหลายๆ บริษัทเปิดจองโครงการใหม่ๆ พอเศรษฐกิจไม่ดีลูกค้าทิ้งเงินจองเงินดาวน์ แต่รับรู้รายได้ไปแล้วเสียเยอะเลย เราจึงเห็นหุ้นอสังหาฯ บางตัวตอนปี 39-40 มีรายได้เป็นเครื่องหมายลบ ดังนั้นที่มาตรฐานทางบัญชีใหม่บอกว่าวิธีรับรู้ตาม % ของงานนั้นไม่ conservative ให้เปลี่ยนเป็นรับรู้เมื่อโอนทั้งหมด ถ้าย้อนไปดูสมัยก่อนแล้วจะตกใจยิ่งกว่าครับ สมัยนั้นอสังหาฯ บูมขนาดที่เจ้าของโครงการเอาเงินไปมัดจำที่ดินจะสร้างตึกแถว สถาปนิกเพิ่งเขียนแบบร่างเสร็จ ก็ขายหมดแล้วครับ พอขายหมดก็อาจจะโดนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงต่อว่าว่ามีของดีแบบนี้ทำไมไม่บอก LPN หรือ PS ที่ว่าขายดีเทน้ำเทท่า เปิดวันแรกจอง 100% ผมว่าจำนวน unit ตอนนั้นต้องสู้โครงการแฟล็ตปลาทองกระรัตไม่ได้ครับ ตอนนั้นเป็นโฆษณาเพลง โดยใช้นักแสดงตลกชื่อดังๆ มาร้องเพลงโฆษณา ดาวน์ก็น้อยผ่อนนิดโอนสิทธิ์โฉนดเอาไปเลยง่ายดาย ย้า ยา ยา หย่า ยา จะไปจะไปใกล้หมด สะดวกมีรถเมล์ผ่าน มีสระว่ายน้ำและมีสวนหย่อมปลาทองมีพร้อมทุกสิ่ง เพลงนี้เด็กอนุบาลยังจำไปร้องกันได้เลยครับ ตอนนี้ผมไม่แน่ใจว่าแฟล็ตปลาทองที่ว่านั้นอยู่ส่วนไหนของประเทศไทยเลยครับ แต่ได้ยินว่าสร้างเสร็จจนได้ครับ ถ้าจะไม่พูดถึงเลยคงไม่ได้คือ หุ้นไฟแนนซ์ เป็นสุดยอดหุ้น blue chip สมัยนั้นไม่ว่าจะเป็น FIN1 DS CMIC NFS p/e ก็ 30-50 เท่าตลอด และคงไม่มีใครที่เล่นหุ้นช่วงนั้นจะไม่เคยมีหุ้น finance เหล่านี้อยู่ในพอร์ต อย่างน้อยต้องมีไม่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนั้นใครที่ท่องหลักการว่า ไม่ขาย ไม่ขาดทุน ขอให้ดูประวัติศาสตร์ดีๆ ด้วยครับ สมัยนั้นหุ้น Fin1 นั้นกลุ่มเค้ามีหลายตัว ถ้าเป็นหลักทรัพย์ก็มี Fin1 S-one FAS ซึ่งถือหุ้นโดย ONE ซึ่งอยู่กลุ่มสิ่งทอ ทำเหมือนเป็น holding company หุ้นกลุ่มนี้ติด top active อยู่เป็นประจำต่อเนื่อง ถ้าไม่ล้มไปก่อนไม่ทราบจะเหมือน Berkshire รึเปล่านะครับ ช่วงซักปี 37-38 ก็เล่นข่าวกันว่า Fin1 จะ takeover ธ. ไทยทนุ แล้วยกระดับเป็นธนาคาร แต่ตอนปี 39 เริ่มมีปัญหา ก็มีข่าวว่า ธ. ไทยทนุ จะไปช่วยเหลือ Fin1 กลับตาลปัตรภายในเวลาอันรวดเร็ว หุ้นธนาคาร ช่วงนั้นเหมือนโดนรัศมีหุ้น finance กลบไปเยอะครับ หุ้นธนาคารที่เหมือนจะ hot สุดคงจะหนีไม่พ้น BBC หรือ ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการครับ ถ้าตอนนี้หุ้นแขกเป็นที่นิยม ตอนนั้นเค้าก็เล่นหุ้นแขกกันเหมือนกันครับ แต่แขกที่ว่านั้นคือ ราเกซ สักเสนา ครับ แต่ใครถือหุ้นแขกก็อย่าตกใจครับมันคงจะต่างกันครับ หุ้นธนาคารเล็กๆ หลายแห่งเช่น BMB LTB นครธน สหธนาคาร ไทยทนุ IFCT ปัจจุบันถูกลดทุนเหลือ 1 สต. ไปรวมกับอะไรต่ออะไรไปเสียหมดแล้วครับ จริงๆ แล้วสัญลักษณ์ของ ธ. กรุงเทพพาณิชยการนั้นคือ สตางค์แดง เค้าเลยเรียกว่าแบงค์สตางค์แดง เหมือนคนคิดสัญญลักษณ์นั้นมี six sense ว่าท้ายสุดแล้วมันจะเหลือ 1 สตางค์จริงๆ ครับ เรื่องเพิ่มทุนของหุ้นในตลาดทำกันเป็นว่าเล่น ตอนนั้นไม่ต้องเพิ่มทุนบวกวอร์แรนท์ให้เมื่อย แค่ประกาศเพิ่มทุนหุ้นก็วิ่งทั้งก่อนและหลังประกาศแล้ว XR เสร็จหุ้นก็วิ่งต่อ ยิ่งอัตราเพิ่มทุน สวย เท่าไหร่หุ้นยิ่งวิ่งแรง คำว่า สวย สมัยนั้นกับสมัยนี้ไม่เหมือนกันแน่นอนครับ สวยสมัยนั้นต้องประมาณ 1: 2 หรือ 1: 3 ผมไม่ได้เขียนสลับนะครับ 1 หุ้นเดิมต่อ 3 หุ้นใหม่ ถ้าขืนเพิ่มแบบเขียมๆ แบบปัจจุบันประเภท 2: 1 หรือ 3: 1 หุ้นไม่วิ่งหรอกครับ ยุคสมัยเปลี่ยนไป คำว่าสวยก็เปลี่ยนไปครับ ผมดูภาพวาด Impressionist ของยุโรปสมัยศตวรรษที่ 18 ผู้หญิงสวยๆ ของเค้าต้องอ้วนๆ หน่อยมีพุง สมัยนี้ต้องผอมบางถ้าไปอยู่ยุคอดีตเค้าคงคิดว่าเป็นโรค ดังนั้นเวลาเปลี่ยน อะไรๆ ก็เปลี่ยน ผู้หญิงคนไหนที่ตัวใหญ่หน่อยก็มองโลกในแง่ดีครับว่าเราเกิดช้าไปแค่ 200 ปีเอง ดังนั้นสมัยนี้ หุ้น p/e เกิน 10 บางตัวว่าค่อนข้างแพง p/e เกิน 20 คือ แพงมาก เกิน 30 แพงอย่างไร้เหตุผล ถ้าเป็นเมื่อปี 253x ผมเห็นหุ้น p/e เกิน 30 อยู่น่าจะเกินครึ่งหนึ่งของตลาดครับ ผมเริ่มแก่แล้วล่ะครับ ส่วน Samart ราคา IPO 80 บาท ราคานอกตลาด 200 กว่า เทรดวันแรกประมาณ 450 ( พาร์ 10 ) ตอนนี้แตกพาร์เหลือ 1 ราคาหุ้นตอนนี้ก็ 8 บาท คนถือตอนนั้นก็ไม่เสียหายเท่าไหร่ ราคาหุ้นกลับมาที่ IPO พอดี ส่วน JAS ราคา trade วันแรก 450 บาท ตอนเข้าตลาดมีโฆษณา TV เป็นฉากการประชุม มีผู้บริหาร ( ซึ่งเข้าใจว่าเป็นนักแสดง ) ประชุมแบบถกกันหน้าตาเคร่งเครียดแล้วประธานก็ทุบโต๊ะแล้วพูดว่า " Project นี้พลาดไม่ได้ เพราะผมหมายถึงชื่อเสียงของประเทศ " ตอนนี้ราคาหุ้นก็อยู่ 1 บาทกว่า ผมเลยไม่แน่ใจว่า project ที่หมายถึงตอนนั้นนี้ประมูลได้หรือเปล่านะครับ ส่วนหุ้นอสังหาฯ ตอนนั้นจำได้ว่า ในสายตานักลงทุนบ้านเรานั้น b-land หรือ tyong หรือที่เรียกกันว่า ตี๋ย้ง นั้นดูจะดังกว่า LH เสียอีกครับ p/e ก็ประมาณ 20-30 เท่าเหมือนกัน ถ้าช่วง 2-3 ปีนี้หุ้น EVER ดัง เมื่อก่อนหุ้น RR ก็ดังประมาณนี้เหมือนกันครับ โดย RR เค้าจะขึ้นลงตามหุ้นอีกตัวหนึ่งคือ FCI เพราะผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน จึงเรียกหุ้นคู่นี้กันว่า คู่แฝดอภินิหาร แต่ปัจจุบัน คู่แฝดที่ว่านี้ไม่อยู่แล้ว เข้าใจว่าตัวหนึ่งหายไปก่อน อีกตัวเลยตรอมใจตามไปครับ หุ้นหลายๆ ตัวตอน IPO นั้นเฟื่องขนาดมีงบโฆษณาเข้าตลาด แม้กระทั่งหุ้นอสังหาฯ อย่าง CNTRY หรือ คันทรีประเทศไทยก็โฆษณาเป็นเพลงเพราะเชียวคือ ใช้เพลง Sailing เป็นภาพเรือใบล่องโต้คลื่นในทะเล ผมจำได้ว่าหุ้นหลุดจองตั้งแต่วันแรก
โดย
Invisible hand
พฤหัสฯ. มี.ค. 06, 2008 2:53 am
0
0
สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่
ผมคิดว่าหุ้นกลุ่มที่ดึง p/e ตลาดให้ต่ำ ก็เป็นหุ้นที่ p/e ควรจะต่ำอยู่แล้วเช่น หุ้นเรือ ปิโตรเคมี โรงกลั่นหรือ commodity ต่างๆ ซึ่งบังเอิญหุ้นกลุ่มนี้มีน้ำหนักสูงในตลาดหุ้นไทย แต่หุ้นที่ p/e ควรจะสูง ที่อยู่ใน set50 ได้แก่หุ้นที่มีรายได้แน่นอน หรือธุรกิจแข็งแกร่ง เช่น mint cpn bec bh bgh mcot bigc cpall LH ก็ p/e เกิน 20 เท่าเกือบทุกตัว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหุ้นแบบเดียวกันในภูมิภาค หุ้นของเราในกลุ่มนี้ก็ไม่ถูกกว่าภูมิภาคเท่าไหร่ ดังนั้นตลาดหุ้นบ้านเราหากใช้ eps ปี 07 ก็จะเห็นว่าหุ้น p/e ต่ำก็เป็นหุ้นที่ไม่อาจจะเรียกว่าถูกเพราะมีเหตุผลที่ p/e ต้องต่ำ ส่วนหุ้นที่มีคุณภาพดีก็มี p/e สูงกันเกือบหมดทุกตัวแล้ว ดังนั้นหุ้นตัวไหนที่จะ perform ในปี 08-09 น่าจะขึ้นกับ growth ว่าจะทำได้ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้กันแค่ไหนครับ
โดย
Invisible hand
อังคาร มี.ค. 04, 2008 2:16 pm
0
0
ตุล แห่ง วงอพาร์ตเมนต์คุณป้า
เพลง " ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ " ของวงอพาร์ตเมนท์คุณป้าไปฟังได้ที่นี้ครับ http://musicstation.kapook.com/newmusicstation/play.php?id=6714 ผมรู้จักเพลงนี้ครั้งแรกใน version ของ ดา เอ็นโดรฟิน กับคาลอรี่ บลา บลา ผมสะดุดเพลงนี้ครั้งแรกที่ทำนอง และสัมผัสคล้องจองซึ้งช่วงหลังๆ เพลงสมัยใหม่หาสัมผัสคล้องจองได้ยาก และความหมายเมื่อฟังไปเรื่อยๆ แล้วรู้สึกว่ามีความหมายที่ลึกซึ้ง ตีความได้หลายแบบทีเดียวครับ เผื่อคุณตุลอาจจะอ่าน web นี้ด้วย ผมขออนุญาตดัดแปลงเพลงซักหน่อยสำหรับเป็นข้อคิดของนักลงทุนรายย่อยหน้าใหม่นะครับ : ) " หากการซื้อหุ้นเหมือนในความฝัน เราซื้อโดยไม่รู้จักมัน Marketing ส่ง research ให้อ่านทุกวัน แต่ฉันไม่เคยต้องการ แต่อยากให้เธอได้ปรับทุกข์กับฉัน หุ้นที่ซื้อมันลงทุกวัน Cut loss ร่ำลาในฉับพลัน ก่อนที่ฉันจะปล่อยมันไปโดยไม่รู้จัก ( พื้นฐาน ) เธอ "
โดย
Invisible hand
พุธ ธ.ค. 05, 2007 6:34 pm
0
0
ผถห.PTTหนาว! ศาลฯพิจารณาคดีแปรรูปนัดแรก30 พ.ย.นี้
ในกรณีนี้ ผมคิดว่าแม้จะตัดสินว่ากระบวนการแปรรูปจะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็อาจจะไม่ส่งผลย้อนหลังให้ต้อง delist PTT ออก เพราะผู้ถือหุ้นรายย่อยของ ปตท. ปัจจุบันไม่ได้มีความผิดหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการแปรรูป ปตท. ดังนั้นอาจจะมองเป็นความผิดในแง่กระบวนการหรือรายบุคคลก็เป็นไปได้ครับ ซึ่งจะไม่กระทบกับตลาดหุ้นในปัจจุบัน แต่ในระยะยาวก็อาจจะทำให้ไม่มีการนำรัฐวิสาหกิจมาจดทะเบียนอีก เรื่องกฎหมายนี้ยากทีเดียวครับและเป็นวิชาที่ผมได้คะแนนไม่ดีเสียด้วย ในเรื่องการผูกขาดระบบส่งน้ำมัน ว่าไปแล้ว EASTW ก็ผูกขาดระบบท่อน้ำประปาในเขตภาคตะวันออกหลายจังหวัดอยู่เหมือนกันครับ เสียดายที่ บมจ. การบินไทย ไม่ได้มีการผูกขาดอะไรในธุรกิจเท่าไหร่นักมิเช่นนั้นอาจจะต้องถูก delist ที่ราคา IPO คือ 60 บาทได้ครับ
โดย
Invisible hand
อาทิตย์ พ.ย. 25, 2007 9:55 pm
0
0
ผถห.PTTหนาว! ศาลฯพิจารณาคดีแปรรูปนัดแรก30 พ.ย.นี้
ถ้ามีคดี แม่ มีลูก 3 คน ขายยาบ้า เกิดขึ้นเมื่อ 6 ปีก่อน ลูกทั้ง 3 คนปัจจุบันได้รับการเลี้ยงดูแลจากแม่เพียงคนเดียว โดยพ่อได้หย่าขาดจากแม่ไปนานแล้ว ดังนั้นถ้าแม่ติดคุก ลูกทั้ง 3 จะต้องไม่มีใครดูแล ในแง่ของศาล คงต้องตัดสินตามกฎหมาย คือ แม่ที่ขายยาบ้าคงต้องติดคุกไป หรือเปล่าครับ?? เพราะยังไงก็ทำผิดกฎหมายในข้อที่ไม่สามารถยกเว้นโทษได้ กรณี ปตท. กับกรณีข้างบนก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียดมากครับคงเปรียบเทียบกันไม่ได้โดยตรง แต่ที่ผมเป็นห่วงก็คือ โดยหลักการแล้ว หน้าที่ของศาล อาจจะ คือการตัดสินโดยยึดความ " ถูก " หรือ " ผิด " กฎหมายเป็นเกณฑ์ ไม่แน่ใจว่าการตัดสินจะต้องนำผลกระทบที่ตามมาเป็นปัจจัยด้วยหรือเปล่านะครับ
โดย
Invisible hand
อาทิตย์ พ.ย. 25, 2007 9:42 pm
0
0
เปิดก้นอีกราย HT !!
ผมเคยติดตามการดำเนินงานของ HT และเคยไปประชุมผู้ถือหุ้นอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อ 3 ปีก่อน และคิดว่าธุรกิจสิ่งทอที่เค้าย้ายฐานไปเวียดนามน่าสนใจทีเดียว แต่ก็น่าแปลกใจว่าหลังจากนั้นทำไมกำไรลดลงอย่างมากแต่ราคาหุ้นกลับขึ้นมาเรื่อยๆ และบริษัทเองก็กล้า delist ที่ราคาแพง ทำให้อาจจะเดาเอาเองได้ว่าหลัง delist แล้วกำไรอาจจะกลับมาดีก็ได้มั้งครับ วาไทย กับ ไทยวา สลับกันนิดเดียวราคาหุ้นคนละเรื่องกันเลยครับ
โดย
Invisible hand
พฤหัสฯ. ก.ย. 13, 2007 12:30 pm
0
0
บทความประกอบงานสัมมนา Thaivi วันที่ 9 มิ.ย. 50 ที่ผ่านมาคร
เมื่อเวลาผ่านไป รบกวนทีมงานช่วยย้ายกระทู้นี้ไปห้องบทความด้วยนะครับ
โดย
Invisible hand
พฤหัสฯ. มิ.ย. 14, 2007 11:22 am
0
0
บทความประกอบงานสัมมนา Thaivi วันที่ 9 มิ.ย. 50 ที่ผ่านมาคร
ทำไมเศรษฐกิจสหรัฐไม่ชะลอตัวเสียที? หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเศรษฐกิจสหรัฐหรือเศรษฐกิจโลกยังไม่ชะลอตัวเสียที ตลาดหุ้นทั่วโลกยังปรับขึ้นได้เรื่อยๆ และแม้แต่ตลาดหุ้นไทยยังได้รับอานิสงฆ์ไปด้วย ผมยังนึกภาพไม่ออกถ้าปีนี้เศรษฐกิจโลกแย่ลงและตลาดหุ้นหลักๆ ของโลกปรับลดลงกัน 10-20% SET ของเราตอนนี้ไม่รู้ว่าจะอยู่ตรงไหนเหมือนกันครับ ดังนั้นในความโชคร้ายของเราก็มีความโชคดีอยู่เหมือนกันครับ เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ว่าทำไมเศรษฐกิจโลกยังไม่หยุดร้อนแรง หรือเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ hard landing เสียที ผมก็นึกถึงหนังสือเรื่อง The next global boom ( bubble ) ( ชื่ออะไรทำนองนี้ ) ที่บอกว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรในวัยแรงงานของสหรัฐจะมีอยู่จนถึงประมาณปี 2010 ซึ่งจะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจยังขยายตัวจากการเพิ่มขึ้นของปัจจัยด้านแรงงาน และหลังจากนั้นประชากรในวัยแรงงานจะค่อยๆ ลดลงและเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ Aging economy เต็มตัว และจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแรงระหว่าง 2010-2020 ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาฯ สหรัฐ ส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการของประชากรวัยแรงงานที่อยู่ในวัย 40-50 ปีที่มีกำลังในการซื้อบ้าน นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ การเพิ่มของอัตราการใช้ internet ของสหรัฐ จะเพิ่มจากประมาณ 50% ของประชากร จนไปถึงจุดอิ่มตัวที่ 90% ในปี 2010 ซึ่งช่วงที่มีการเพิ่มขึ้นของการใช้ internet เศรษฐกิจสหรัฐจะมีการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจอยู่ แต่หลังจากนั้นการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจจะชะลอตัวไป โดยผู้เขียนได้ยกตัวอย่างคล้ายๆ กับในยุค 1910-1929 ที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในระบบการผลิตแบบ line production ขนานใหญ่หลังที่ Ford มีการริเริ่มเข้ามาใช้ในการผลิต model T และช่วงนั้นเศรษฐกิจและตลาดหุ้น boom มาก แต่เมื่อการผลิตแบบ line production ถึงจุดอิ่มตัวในปี 1929 ก็ทำให้ตลาดหุ้นและเศรษฐกิจตกต่ำอย่างแรง ดังนั้นผู้เขียนจึงมองว่าทศวรรษ 1990-2010 คล้ายๆ 1910-1929 โดยกลุ่มที่ผลักดันเศรษฐกิจได้เปลี่ยนจากกลุ่มยานยนต์เป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ IT คือ คอมพิวเตอร์ และซอฟแวร์ โดยผู้เขียนได้ plot กราฟราคาหุ้น General motor กับ Intel เปรียบเทียบระหว่าง 1910-1920 และ 1990-2000 ว่ามี pattern คล้ายกันมาก ผู้เขียนได้เขียนหนังสือเล่มนี้ประมาณต้นๆ 2002-2003 และได้บอกว่า ณ เวลานั้นเป็นช่วงเวลาในการซื้อหุ้นที่ดีที่สุดของศตวรรษ และประมาณปี 2009 เป็นช่วงเวลาขายหุ้นที่ดีที่สุด และช่วง 2010-2020 อาจจะเป็นช่วงหายนะของการลงทุนในตลาดหุ้น ดังนั้น ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับทฤษฎีดังกล่าวจึงเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเริ่มถดถอยประมาณปี 2009-2010 ครับ แต่ไม่ใช่เวลานี้เพราะตอนนี้ประชากรวัยทำงานของสหรัฐยังเพิ่มและเศรษฐกิจยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจากระบบ IT อยู่ ซึ่งสอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยที่ประชากรวัยทำงานยังเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2553 หรือ 2010 และหลังจากนั้นจะเริ่มลดลง ซึ่งหลังปี 2553 เศรษฐกิจจะชะลอตัวแรงและผมคิดว่าหุ้นเพียง 2 กลุ่มเท่านั้นที่ยังน่าสนใจคือ โรงพยาบาลและโรงแรม เนื่องจากเป็นกลุ่มที่จะรองรับผู้สูงอายุในสังคม aging economy จากทั่วโลกครับ แต่ผมยังไม่ปักใจเชื่อว่าหลังปี 2553 เศรษฐกิจจะต้องชะลอตัวแรง เพราะตอนนี้เครื่องยนต์ 1 ใน 5 ของโลกที่เคยหลับใหล ได้กลับถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาอีก นั่นคือเศรษฐกิจจีน ซึ่งผมยังเชื่อว่าอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เศรษฐกิจโลกอาจจะขยายตัวไปได้ในระยะเวลา 10-15 ปีข้างหน้า เนื่องจากแรงงานจีนเป็นแรงงานที่มีคุณภาพสูงและมีจำนวนมาก ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The next global bubble ไม่ได้พูดถึงประเทศจีนเท่าไหร่ทำให้เค้าอาจจะมองข้ามจุดนี้ไป ดังนั้นประเทศจีนอาจจะเป็นไพ่ตายสำหรับเศรษฐกิจโลกในอนาคตครับในความเห็นของผม แต่ก็อย่าหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะต้องดีมากหรือกำไรของบริษัทจะดีมากนักครับ การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนใน 10-20 ปีข้างหน้า หากเกิดขึ้นจริง จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อต่ำทั่วโลก เพราะสินค้าราคาถูกจากจีนจะเข้าไปตีในทุกตลาด ประเทศอื่นๆที่ไม่ใช่จีน จะมีผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีในภาคบริการ ค้าปลีก และธุรกิจโภคภัณฑ์ คือ น้ำมัน แร่ธาตุ รวมทั้งสินค้าที่เป็นอุปโภคบริโภค เช่น บริษัทอย่าง Unilever P&G และจะมีผลตอบแทนที่ย่ำแย่ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยเฉพาะที่ต้องแข่งขันกับจีนครับ ต้องทำ DCF ด้วยหรือไม่ ? หลายคนอาจจะสงสัยว่า VI จำเป็นต้องทำ model การหา valuation ด้วยวิธี DCF หรือไม่ หากถามผมๆ คิดว่าถ้าทำอาจจะทำให้สบายใจและมั่นใจขึ้นได้แต่คิดว่าไม่จำเป็น แต่ก่อนที่ผมจะสรุปว่าไม่จำเป็นผมจึงต้องอธิบายที่มาของการคิด DCF คร่าวๆ ก่อนครับ DCF = กระแสเงินสดในอนาคตเป็นมูลค่าปัจจุบัน ( Present value ) + เงินสด ( หนี้สิน ) สุทธิ การทำมูลค่าในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน คือ การ discount ด้วยอัตราดอกเบี้ย discount rate โดย discount rate Discount rate ถ้า discount rate เท่ากับ 10% เงิน 110 บาทใน 1 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่า 100 บาท ในปัจจุบัน เหตุผลที่เงิน 110 บาทใน 1 ปีข้างหน้ามีมูลค่า 100 บาทในปัจจุบันเนื่องจากหากนำเงิน 100 บาทไปลงทุนโดยได้ผลตอบแทนเท่ากับ 10% เงิน 100 บาทในปัจจุบันจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 110 บาทในอีก 1 ปีข้างหน้า ดังนั้นหากมีใครมาถามเราว่าให้เลือกระหว่างได้เงิน 100 บาทในปีนี้ หรือจะเลือกเงิน 110 บาทในปีหน้า ภายใต้สมมุติฐานว่าเราสามารถนำเงินลงทุนได้ผลตอบแทน 10% เราจะเลือกแบบไหน คำตอบที่หลายคนจะตอบก็คือ เลือก 100 บาทวันนี้ เพราะถ้าเป็นปีหน้าเดี๋ยวคนให้เงินจะเปลี่ยนใจไม่ให้แล้ว แต่คำตอบในเชิงการเงินก็คือ เลือกแบบไหนก็ได้ ค่าเท่ากันครับ ดังนั้นเงิน 100 บาทในปัจจุบัน จะมีมูลค่ามากกว่า 100 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้ามาก หรืออาจจะมีมูลค่ามากกว่าเงิน 200 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้าด้วยซ้ำไปครับหากอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการลงทุนสูงมากพอ หลังจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับการหามูลค่าปัจจุบันหรือ present value แล้ว ตัว discount rate หรือที่ศัพท์ทางการเงินเรียกว่า WACC โดยถ้าหุ้น 2 ตัวมีปัจจัยทุกอย่างเหมือนกันหมด หุ้นตัวที่ใช้ discount rate สูงจะมีมูลค่าแบบ DCF ต่ำกว่า สำหรับ discount rate นั้นขึ้นกับตัวแปรต่างๆ ดังนี้ครับ - อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะใช้อัตราดอกเบี้ย ( yield ) ของพันธบัตรอายุ 10 ปีเป็นตัวอ้างอิง ถ้าดอกเบี้ยสูง discount rate ก็จะสูง - Beta คือ ความผันผวนของราคาหุ้นตัวนั้นๆ เทียบกับความผันผวนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง beta ในทางทฤษฎีการเงินคือเป็นตัววัดความเสี่ยงของหุ้นตัวนั้น โดยตั้งอยู่ในสมมุติฐานว่าหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงจะมี beta สูง คือ จะมีความผันผวนของราคาสูง ซึ่งทฤษฎีนี้ใกล้เคียงความจริงหรือไม่ผมคิดว่าก็มีความใกล้เคียงอยู่บ้าง เช่น หุ้นที่มี beta สูงในตลาดไทย เช่น หุ้นไฟแนนซ์ หุ้นรับเหมาก่อสร้าง หุ้นอสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง ซึ่งล้วนแล้วมีความเสี่ยงทางธุรกิจสูง ส่วนหุ้นที่มี beta ต่ำก็มักจะเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำกว่า หุ้นที่มี beta สูง discount rate ก็จะสูงตามไปด้วยครับ ดังนั้น ถึงตรงนี้เราได้ 2 ประเด็นแล้วครับว่า ถ้าช่วงไหนดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงขึ้น discount rate ที่ใช้คำนวณ DCF ก็จะสูง ทำให้ราคาหุ้นตามวิธี DCF ก็จะต่ำลง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อดอกเบี้ยลดลงและมีแนวโน้มจะปรับตัวลดลงเมื่อมีข่าวว่าดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น หุ้นมักจะมี p/e ต่ำ แต่ในช่วงดอกเบี้ยขาลง หุ้นจะมี p/e สูง ส่วนเรื่อง beta หรือความเสี่ยงนั้น ก็เช่นกันครับ หุ้นที่มีความเสี่ยงหรือ beta สูง ก็จะทำให้ discount rate สูง ราคาหุ้นตามวิธี DCF ก็จะต่ำลง ดังนั้นหุ้นที่มี beta หรือความเสี่ยงสูง ก็ควรจะมี p/e ต่ำกว่าหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ การคิดกระแสเงินสดสุทธิ หรือ Free cash flow มีสูตรดังนี้ครับ Free cash flow = กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคา + การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน + รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์ เงินทุนหมุนเวียน คือ เงินสด ที่ต้องใช้ในการซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการขายสินค้าและบริการ รายการการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเป็น ลบ ก็ต่อเมื่อ มีการ เพิ่มขึ้น ของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ เพราะต้องใช้เงินในการซื้อวัตถุดิบ มีการ เพิ่มขึ้น ของลูกหนี้การค้า แสดงว่ารายได้ 100 บาท เข้ามาเป็นเงินสดไม่ถึง 100 บาท มีการ ลดลง ของเจ้าหนี้การค้า แสดงว่ารายจ่าย 100 บาท ยังไม่ต้องจ่ายทั้งหมด 100 บาทในทันที การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเป็น บวก ก็ต่อเมื่อ มีการ ลดลง ของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ แสดงว่าสินค้าที่ขายออกไปมีมากกว่าที่ซื้อวัตถุดิบเข้ามา มีการ ลดลง ของลูกหนี้การค้า มีการ เพิ่มขึ้น ของเจ้าหนี้การค้า ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในธุรกิจทั่วๆ ไป เมื่อมีการขยายกิจการ คือ มีการผลิตสินค้ามากขึ้น ก็ย่อมจะต้องมีการสั่งวัตถุดิบและมีจำนวนสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นก็ย่อมทำให้ลูกหนี้การค้ามากขึ้น ดังนั้นธุรกิจทั่วๆ ไปเมื่อมีการขยายกิจการจะทำให้การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะติดลบ คือธุรกิจนั้นๆ จะต้องใช้เงินสดในกิจการมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจส่วนใหญ่แม้ยอดขายเพิ่มขึ้นและกำไรเพิ่มขึ้น แต่เงินสดที่เข้ามาในบริษัทมักจะต่ำกว่ากำไร แต่ธุรกิจที่เมื่อขยายสาขาหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นแต่กลับยิ่งมีเงินสดมากขึ้น คือธุรกิจค้าปลีก เพราะมีการขายเป็นเงินสด แต่จ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ค่าสินค้าเป็นเงินเชื่อ ดังนั้นวันที่เปิดสาขาใหม่ ก็จะได้เงินสดมาทันทีแต่เงินสดนั้นจะถูกจ่ายให้กับเจ้าหนี้ในอีก 45-60 วัน ดังนั้นหากมีการคิด DCF ธุรกิจค้าปลีกเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ถ้ากำไรสุทธิต่อปีเท่าๆ กัน ธุรกิจค้าปลีกจะมีกระแสเงินสดสุทธิ หรือ Free cash flow สูงกว่าธุรกิจอื่นๆ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมหุ้นค้าปลีกจึงมี p/e สูงกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ ที่มีการเติบโตของกำไรเท่าๆ กัน ยิ่งธุรกิจใดให้เครดิตลูกหนี้การค้ายิ่งนาน บริษัทนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียนติดลบมากกว่าบริษัทที่ให้เครดิตลูกหนี้สั้นกว่า และบริษัทใดที่ขายสินค้าเป็นเงินสด ก็จะทำให้ใช้เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่ามาก บริษัทใดที่มีการขายสินค้าโดยใช้เวลานาน ก็จะใช้เงินทุนหมุนเวียนมากกว่าบริษัทที่ขายสินค้าในเวลาอันสั้นกว่า และอย่างที่ผมพูดไปในหน้าก่อนๆ คือ ยิ่งขายได้เร็วก็ทำให้ผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูง ดังนั้นสิ่งที่เถ้าแก่คนจีนนิยมทำนานมาแล้วคือ เน้นการขายเร็วๆ มากๆ เอา volume ก็เป็นความคิดที่ถูกต้องตามทฤษฎีการเงิน แม้ว่าอาเฮียเหล่านั้นจะไม่ได้เรียน MBA มาก็ตาม รายจ่ายในการลงทุนในสินทรัพย์ เป็นรายการ ลบ ในการหา Free cash flow ยิ่งมีการลงทุนมากๆ Free cash flow ก็ยิ่งมีโอกาสติดลบมากขึ้น ดังนั้นหุ้นที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการขยายกิจการ ก็จะทำให้ Free cash flow ติดลบมากกว่าหุ้นที่สามารถขยายกิจการโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โดยทั่วไปหุ้นในภาคการผลิต อุตสาหกรรม มักจะต้องใช้เงินลงทุนในการขยายกิจการมากกว่าหุ้นประเภทธุรกิจบริการ เมื่อใช้เงินทุนน้อย กระแสเงินสดก็จะเป็นบวกได้มากกว่า หุ้นภาคบริการมักจะมีมูลค่าแบบ DCF สูงกว่าหุ้นในภาคการผลิตแม้ว่าจะมีกำไรสุทธิในแต่ละปีหรือปัจจัยอื่นๆ ใกล้กัน ดังนั้นหุ้นที่ทำธุรกิจบริการมักจะมี p/e สูงกว่าหุ้นในภาคอุตสาหกรรม หุ้นที่ต้องใช้เงินลงทุนหมุนเวียน ( เงินสด ) จำนวนมากในการเพิ่มยอดขาย มักจะต้องมีการกู้เงินระยะสั้น หรือ Bank O/D จากธนาคารเพื่อมาเป็นเงินทุนหมุนเวียน และยังอยู่ในธุรกิจที่ต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อขยายกำลังการผลิต และยิ่งหุ้นดังกล่าวมีหนี้ในสัดส่วนที่สูงด้วยนั้น หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะมีโอกาสสูงที่จะต้องหาแหล่งเงินทุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่การกู้เงินเพื่อชดเชยกระแสเงินสดที่ติดลบในอนาคต ดังนั้นหุ้นที่มีลักษณะเหล่านี้ร่วมกันจึงมีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนสูง เมื่อหุ้นมีการเพิ่มทุนก็ย่อมทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง ดังนั้นหุ้นที่มีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนมักจะมี p/e ที่ต่ำกว่าหุ้นที่สามารถเติบโตได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุน การเติบโตทางธุรกิจ เนื่องจากการทำ DCF คือการประมาณกระแสเงินสดในอนาคต ดังนั้นหุ้นที่มีการเติบโตในอนาคตสูง ก็จะมีกระแสเงินสดในอนาคตที่เพิ่มขึ้นกว่าปัจจุบันมาก ดังนั้นหุ้นที่มีการเติบโตสูงจึงจะมี DCF สูงกว่าหุ้นที่มีการเติบโตต่ำ ปัจจัยสุดท้ายที่มีผลต่อการคำนวณ DCF ก็คือ มูลค่าเงินสด หรือหนี้สินสุทธิ ซึ่งก็คือ เงินสดสุทธิ = เงินสดในบริษัท - หนี้สินระยะยาว - หนี้สินระยะสั้นที่มีดอกเบี้ย ดังนั้น ถ้าปัจจัยทุกอย่างเหมือนกันหมด หุ้นที่มีเงินสดสุทธิเป็นบวกก็จะมี DCF สูงกว่าหุ้นที่มีหนี้สิน สรุป มูลค่าหุ้นตามแบบ DCF จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญดังนี้ครับ - อัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยต่ำลง มูลค่า DCF จะสูงขึ้น - ความเสี่ยงของธุรกิจ ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูง DCF ก็จะต่ำ - การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ DCF จะต่ำ - การได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้ายาวๆ DCF จะสูง - ขายสินค้าได้เร็ว มีการเก็บสินค้าคงคลังต่ำ DCF จะสูง - ต้องมีการลงทุนจำนวนมากๆ ในการขยายกิจการ เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี DCF จะต่ำ - มีการเติบโตสูง DCF จะสูง - มีหนี้มากๆ DCF จะต่ำ สำหรับ DCF กับ p/e จะมีความสัมพันธ์กัน หากหุ้น 2 ตัวที่ปัจจุบันมีกำไรสุทธิเท่ากัน หุ้นตัวที่มีราคาเป้าหมายโดยวิธี DCF สูงกว่า จะมี p/e ที่เหมาะสมสูงกว่าหุ้นที่มีราคาเป้าหมายโดยวิธี DCF ต่ำกว่า ดังนั้น ด้วยย่อหน้าข้างบน เราสามารถเปลี่ยนคำว่า DCF เป็น p/e ได้เป็น - อัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยต่ำลง p/e ของหุ้น จะสูงขึ้น - ความเสี่ยงของธุรกิจ ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูง p/e ก็จะต่ำ - การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ p/e จะต่ำ - การได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้ายาวๆ p/e จะสูง - ขายสินค้าได้เร็ว มีการเก็บสินค้าคงคลังต่ำ p/e จะสูง - ต้องมีการลงทุนจำนวนมากๆ ในการขยายกิจการ เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี p/e จะต่ำ - มีการเติบโตสูง p/e จะสูง - มีหนี้มากๆ p/e จะต่ำ ดังนั้นเมื่อเราเข้าใจหลักของ DCF แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องทำ model DCF ก็ได้ เพียงแต่เราต้องเข้าใจว่าธุรกิจที่เราต้องการวิเคราะห์นั้นเป็นอย่างไร มีการเติบโตสูงหรือต่ำ มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงหรือไม่ เมื่อต้องการขยายธุรกิจต้องใช้เงินทุนจำนวนมากหรือไม่ มีหนี้มากหรือน้อยเพียงใด วันนี้ก็คงขอจบบทความลงเท่านี้ครับ ขอให้เพื่อนๆ ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงและประสบความสำเร็จกับการลงทุนในแนวทาง VI ครับ ขอบคุณมากครับ Invisible Hand
โดย
Invisible hand
พฤหัสฯ. มิ.ย. 14, 2007 11:20 am
0
5
บทความประกอบงานสัมมนา Thaivi วันที่ 9 มิ.ย. 50 ที่ผ่านมาคร
เอกสารประกอบการสัมมนา Thaivi ประจำปี 2550 เขียนโดย : Invisible Hand เมื่อ 3 มิถุนายน 2550 สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว Thaivi ทุกท่านครับ ทางทีมงาน Thaivi แจ้งว่าอยากให้ผมเขียนบทความซักเรื่องหนึ่งเพื่อประกอบงานสัมมนา Thaivi เนื่องจากผมไม่ได้ไปร่วมงาน Thaivi ในปีนี้ผมจึงขอใช้โอกาสนี้กล่าวคำสวัสดีทักทายเพื่อนๆ ทุกคนผ่านทางบทความนี้นะครับ บทความนี้คงไม่เขียนเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งชัดเจนแต่จะเป็นลักษณะการเล่าเรื่องไปเรื่อยๆ นะครับ เงินลงทุนเพิ่ม / market cap คือ การพิจารณาว่าบริษัทนั้นๆ จะต้องลงทุนเท่าไรถึงจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตหรือความสามารถในการเพิ่มรายได้ บริษัทธุรกิจบางประเภทไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มมากนักก็สามารถเพิ่มกำลังการผลิตหรือรายได้ บริษัทประเภทนี้จะสามารถเติบโตได้เรื่อยๆ โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนหนี้เงินกู้มากนัก จึงทำให้ความเสี่ยงทางการเงินไม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทประเภทนี้ไม่จำเป็นจะต้องเพิ่มทุนในอนาคตเท่าใดนัก ส่วนธุรกิจบางประเภท การเพิ่มกำลังการผลิตและรายได้นั้นต้องใช้เงินลงทุน ดังนั้นเราคงต้องมาดูตัวเลขคร่าวๆ ว่าบริษัทต้องการเพิ่มกำลังการผลิต x% และต้องลงทุนเป็นเงิน x บาท และคิดเป็น x% ของ Market cap เช่น รพ. แห่งหนึ่งแถว ซ. นานา มี Mkt cap 3 หมื่นล้าน แต่ต้องการสร้างตึกเพื่อขยายกำลังการให้บริการประมาณ 50% ใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 2 พันล้าน ซึ่งคิดเป็นเพียง 6% ของ Mkt cap ดังนั้น รพ. แห่งนี้จะใช้เงินประมาณ 6% ของ Mkt cap แต่ได้กำลังการผลิตเพิ่มถึง 50% ดังนั้นกรณีนี้แม้ว่าจะต้องมีการเพิ่มทุนรองรับการขยาย ก็ไม่ต้องเพิ่มทุนมากเพราะสามารถออกหุ้นเพิ่มทุนขายแบบเฉพาะเจาะจงที่ราคาตลาดประมาณ 6% ของจำนวนหุ้นรวมก็ได้แล้ว ส่วนอีก รพ. หนึ่ง แถวงามวงศ์วาน มี Mkt cap 2,000 ล้าน ต้องการสร้าง รพ. แห่งที่ 2 ซึ่งเมื่อสร้างครบทุกเฟสจะมีกำลังการให้บริการเพิ่มถึง 100% แต่ต้องใช้เงินลงทุนอย่างต่ำ 1,500 ล้าน หรือคิดเป็น 75% ของ Mkt cap ถ้าคิดบัญญัติไตรยางค์ ถ้า รพ. นี้ต้องการเพิ่มกำลังการผลิต 50% เหมือน รพ. แห่งแรก จะต้องใช้เงินลงทุน 37.5% ของ Mkt cap ซึ่งเมื่อ รพ. นี้ต้องการขยาย 100% แต่ต้องลงทุนสูงถึง 75% จึงทำให้ต้องมีภาระหนี้ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับขนาดบริษัท จึงทำให้มีความเสี่ยงที่อาจจะต้องเพิ่มทุนในอนาคต หรือบริษัทผลิตแก้วแห่งหนึ่ง มี Mkt cap ประมาณ 1 พันกว่าล้าน การขยายกำลังการผลิตประมาณ 20-25% ต้องใช้เงินลงทุนถึง 1 พันล้านบาท ในกรณีนี้บริษัทนี้จะสามารถขยายกำลังการผลิตได้ช้าเพราะการขยายกำลังการผลิตให้ได้ 100% จะต้องใช้เงินจำนวนมากและน่าจะตามมาด้วยการเพิ่มทุน ดังนั้นหุ้นประเภทนี้ไม่สามารถเป็นหุ้น growth ที่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกับผู้ถือหุ้นในระยะยาวได้ นอกจากเราจะใช้อัตราส่วน เงินลงทุนเพิ่ม / mkt cap แล้วเราอาจจะใช้อัตราส่วน เงินลงทุนเพิ่ม / กำไรสุทธิในแต่ละปีก็ได้เช่นกันครับ กรณี รพ. ที่ซอยนานา นั้นใช้เงินลงทุนเพิ่มเท่ากับกำไรประมาณ 2 ปี แต่บางบริษัทนั้นอาจจะต้องใช้เงินลงทุนเป็น 5-10 เท่าของกำไรแต่ละปี ดังนั้นบริษัทที่ใช้เงินลงทุนในสัดส่วนสูงเพิ่มเมื่อเปรียบเทียบกำไรก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนกับผู้ถือหุ้นต่ำในระยะยาว ดังนั้นจะเห็นว่า รพ. แห่งแรกมี value ที่มากกว่าคือ brand value หรือคุณภาพการบริหารจัดการ จึงทำให้สินทรัพย์ที่ใช้ประกอบธุรกิจคือ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เป็นเพียงสินทรัพย์รอง โดยจะสะท้อนในตัวเลข ROA ที่สูงมาก เพราะตัว A หรือ asset สะท้อนได้เพียงทรัพย์สินที่มีตัวตนเท่านั้น ธุรกิจประเภทแบบนี้มักจะไม่ต้องใช้เงินมากมายนักในการขยายธุรกิจ และ ไม่สามารถใช้ประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี book value ซึ่งสะท้อนเพียงสินทรัพย์ที่จับต้องได้เท่านั้นแต่ไม่สามารถตีมูลค่าสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น brand value หรือคุณภาพการบริหารจัดการได้ หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมมักจะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับ Mkt cap ในการขยายกำลังการผลิต ซึ่งการขยายกำลังการผลิต 50-100% มักจะตามมาด้วยการเพิ่มหนี้สินจำนวนมากเมื่อเทียบกับส่วนของทุน และมักจะตามมาด้วยการเพิ่มทุนซึ่งจะทำให้ผู้ถือหุ้นต้องจ่ายเงินเพิ่มและกำไรต่อหุ้นที่ลดลงหลังการเพิ่มทุน หุ้นธุรกิจแบบเดียวกัน แต่ utilization rate ต่างกัน p/e ควรต่างกันหรือไม่? การประเมินมูลค่าหุ้น 2 ตัวที่มีรายได้และกำไรเท่ากัน นอกเหนือจากประเมินด้วยวิธีทั่วๆ ไป เช่น P/BV P/E แล้ว เราจะต้องดูด้วยว่าหุ้นแต่ละตัวปัจจุบันใช้กำลังการผลิตที่กี่ % ของทั้งหมดแล้ว ถ้าหุ้น 2 ตัวมีกำไรและ Mkt cap เท่ากัน แต่ตัวหนึ่งใช้กำลังการผลิต 50% แต่อีกตัวใช้อยู่ 90% เราคิดว่าหุ้นทั้งสองตัวควรมี Mkt cap เท่ากันหรือไม่ ถ้าเท่ากันอยู่เราควรจะซื้อตัวไหน รพ. แห่งหนึ่งเข้าตลาดหุ้นมาไม่นานมานี้ด้วยการใช้กำลังการผลิตเพียง 30 กว่า% ทั้งในส่วนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ซึ่งหมายความว่า รพ. แห่งนี้สามารถมีรายได้เติบโตได้ต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มในที่ดินและอาคารเป็นเวลาหลายปี ในขณะที่ รพ .อีก 2 แห่งมีกำลังการผลิตเกือบ 100% ซึ่ง รพ. แห่งแรกเลือกขยายด้วยการสร้างสาขาที่ 2 แต่ รพ. อีกแห่งเลือกขยายด้วยการเข้าซื้อ รพ. อื่น ดังนั้น รพ. ที่มีการใช้กำลังการผลิตที่ 30 กว่า % กับ 100% นั้น รพ. ใดควรมี p/e สูงกว่ากัน ? ( ถ้าปัจจัยอื่นๆ ใกล้เคียงกัน ) Net profit margin มากหรือน้อยถึงจะดี? Net profit margin เป็นตัวบอกความต้องการใช้เงินสดหมุนเวียนในการขยายกิจการด้วย เพราะบริษัทที่ Net margin ต่ำๆ ก็แสดงว่าการเพิ่มกำไร 1 บาท จะต้องเพิ่มรายได้จำนวนมากกว่าหุ้นที่มี net margin สูงๆ เมื่อต้องสร้างรายได้เพิ่มมาก ก็หมายความว่าต้องซื้อวัตถุดิบมากขึ้น จะต้องมีลูกหนี้การค้ามากขึ้น ซึ่งหมายถึงว่าบริษัทนั้นๆ จะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนในการเพิ่มยอดขายค่อนข้างสูง และส่งผลให้จำเป็นต้องใช้เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคารหรืออาจจะต้องเพิ่มทุนบางส่วนก็ได้ ในขณะที่ธุรกิจที่ net margin สูงๆ จะใช้เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่าในการเพิ่มกำไร 1 บาท แต่ในกรณีนี้ยกเว้นสำหรับหุ้นค้าปลีกเพราะว่าการเพิ่มยอดขายหมายถึงการเพิ่มเงินสดในบริษัทเนื่องจากเป็นธุรกิจที่รับค่าสินค้าเป็นเงินสดแต่จ่ายเจ้าหนี้การค้าเป็นเครดิตเทอม ธุรกิจที่ใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงในการเพิ่มรายได้ที่เห็นเป็นตัวอย่างเช่น ธุรกิจค้าส่งประเภทซื้อมาขายไปที่ต้องมีลูกหนี้การค้าและมี margin ต่ำๆ หรือธุรกิจซื้อมาขายไปอื่นๆ เช่น พวกค้าส่งอุปกรณ์ IT หากเราไปดูงบบริษัทพวกนี้ จะเห็นได้เลยว่าต้องใช้เงินกู้ระยะสั้นประเภท Bank O/D สูงมาก Net margin สูงๆ อาจจะเป็นหุ้นวัฎจักร การที่หุ้นบริษัทที่เราถือมี Net profit margin สูงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะบางครั้งการที่ Net margin สูงๆ อาจจะเป็นเพราะหุ้นตัวนั้นๆ อยู่ในช่วง peak ของวัฎจักรกำไร เช่น อาจจะเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับวัฎจักรสินค้าโภคภัณฑ์ ( commodity ) หรือวัฎจักรเศรษฐกิจ เมื่อธุรกิจอยู่ในช่วงรุ่งเรือง ยอดขายและ margin มักจะดีเพราะจะมีการใช้กำลังการผลิตในสัดส่วนสูง นอกจากนี้ธุรกิจทุกประเภทที่มีการใช้กำลังการผลิต 100% หรือเกิน 100% จะมี net margin ที่ peak และเมื่อมีการขยายกำลังการผลิตก็จะเริ่มมี net margin ลดลงมา ดังนั้นการซื้อหุ้นที่มี net margin สูงๆ แล้วเป็นหุ้นวัฎจักรขาขึ้นนั้นก็คงพอทราบว่าในระยะยาวจะเกิดอะไรขึ้นหากเราขายหุ้นตัวดังกล่าวไม่ทันนะครับ หรือ Too good to be true หุ้นประเภท net margin สูงๆ อีกประเภทคือพวก Too good to be true คือ ไม่น่าเป็นไปได้ อาจจะเกิดได้ชั่วระยะหนึ่งและเมื่อหุ้นตัวนั้นไม่มี barrier to entry ที่มากพอ การที่ธุรกิจมี net margin สูงๆ จะดึงดูดคู่แข่งเข้ามาในธุรกิจมากขึ้น และเมื่อ supply มากขึ้นก็ทำให้ลูกค้ามีอำนาจต่อรองมากขึ้นท้ายสุดก็จะมีการแข่งขันด้านราคามากขึ้น Net margin ก็จะค่อยๆ ลดลง ยกตัวอย่างเช่น บริษัททำอิฐมวลเบา เคยเข้าตลาดด้วย gross margin ถึง 50% กว่าๆ ซึ่งช่วงนั้นกำไรดีมาก เมื่อธุรกิจดีก็มีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาในธุรกิจหลายราย เมื่อธุรกิจรวมคืออสังหาฯ ชะลอตัวลงและ supply ใหม่เริ่มเข้ามา ตัวบริษัทนี้เองก็ขยายกำลังการผลิตด้วยอีก 3 เท่า ก็เลยทำให้ท้ายสุดปัจจุบันหุ้นทั้ง 3 ตัวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้มีผลประกอบการขาดทุนกันหมดเป็นเวลาติดต่อกันหลายไตรมาสแล้ว ปัจจุบันมูลค่า Mkt cap ของหุ้นที่เป็นผู้นำตลาดของอิฐประเภทนี้ลดลงจากจุดที่เคยสูงสุดถึงประมาณ 90% หรือช่วงที่ตลาดอสังหาฯ ฟื้นใหม่ๆ ในปี 45-46 บริษัทที่เป็นผู้นำตลาดแห่งหนึ่งมี gross margin ถึง 40 กว่า % หรือคิดง่ายๆ คือ ขาย 100 กำไร 40 ต้นทุน 60 ดังนั้นบ้านที่ขาย 10 ล้านนั้นเป็นค่าที่ดิน บ้าน สาธารณูปโภคเพียง 6 ล้านเท่านั้น ที่เหลือคือกำไรก่อนค่าใช้จ่ายในขายและบริหาร กำไรที่สวยหรูกว่า 40 กว่า % ก็ดึงดูดผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาจำนวนมากเพราะธุรกิจนี้มี gross margin 30% ก็พออยู่ได้สบายแล้ว ดังนั้นปัจจุบัน gross margin ของบริษัทอสังหาฯ ส่วนใหญ่ได้ลดลงจากสมัยก่อนที่ 35-45% มาอยู่ที่ 30% ต้นๆ กันหมดแล้วครับ ต้องมี Brand loyalty และ barrier to entry สูง หุ้นที่ net margin สูงๆ แล้วจะสามารถรักษาได้นานก็จะต้องเป็นสินค้าหรือธุรกิจที่มี brand loyalty ที่สามารถตั้งราคาได้สูงกว่าคู่แข่ง และการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ทำได้ยาก ดังนั้นการเลือกหุ้นที่มี net margin สูงๆ จะต้องหาสาเหตุของมันด้วยครับ Asset turnover สำคัญอย่างไร? อีกตัวหนึ่งคือ Asset turnover ก็เป็นเรื่องสำคัญ หลายคนเคยมองข้ามธุรกิจค้าปลีกไปเพราะมองว่ามี net margin ต่ำคือเพียง 4-5% แต่ที่จริงแล้วหุ้นค้าปลีกส่วนใหญ่มีระยะเวลาการขายสินค้าที่สั้นกว่าสินค้าในธุรกิจอื่นมาก เช่น สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค หรือไอที อาจจะมีระยะเวลาการขายเฉลี่ยประมาณ 60 วัน ดังนั้น หากเรามีเงิน 100 บาทแล้วทำธุรกิจค้าปลีก จะใช้เงินนี้ซื้อสินค้าไปขายได้ถึง 6 รอบต่อปี ดังนั้นใน 1 ปีเราจะมีผลตอบแทนของเงินก้อนนี้คือ net margin คูณด้วย จำนวนรอบการขายต่อปี หรือเท่ากับ 4% คูณ 6 รอบ หรือ 24% ต่อปี ดังนั้นผลตอบแทนเมื่อคิดเทียบกับเงินทุนจะสูงถึง 24% ทีเดียว เปรียบเทียบกับบริษัทสร้างบ้านขาย ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการสร้างบ้าน 1 หลัง และได้ net margin 15% ดูผิวเผินเหมือนธุรกิจนี้น่าสนใจกว่าค้าปลีกเพราะมี net margin สูงกว่า แต่เงิน 100 บาทหมุนได้ปีละเพียง 1 รอบ ดังนั้นผลตอบแทนของเงินก้อนนี้คือ 1 * 15 คือ 15% ดังนั้นผลตอบแทนของเงินลงทุนจึงต่ำกว่าหุ้นค้าปลีกเสียอีก ดังนั้นในกรณีของหุ้นอสังหาฯ ก็เช่นกัน เราจะดูเพียง gross หรือ net margin ไม่ได้ครับ จะต้องดูความเร็วในการขายและก่อสร้างด้วย เช่น หุ้น 2 บริษัทมี net margin 15% เท่ากัน บริษัทแรกสร้าง 1 ปีเสร็จแต่อีกบริษัทสร้าง 2 ปีเสร็จ บริษัทแรกย่อมสร้างผลตอบแทนของเงินลงทุนที่ดีกว่า ดังนั้นบริษัทอสังหาฯ ใดที่สร้างเร็ว ขายเร็ว และ net margin พอประมาณ มักจะมีผลตอบแทนให้กับนักลงทุนที่ดีกว่า เปลี่ยนจากบ้านเดี่ยวมาทำคอนโดฯ ดีขึ้นหรือแย่ลง? คำถามคือ การที่บริษัทอสังหาฯ เปลี่ยนจากการสร้างบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ไปทำคอนโดฯ นั้นดีกว่าหรือไม่ คำตอบในแง่การขายนั้นน่าจะขายได้ดีกว่าในสถานการณ์นี้เพราะคนนิยมที่อยู่ติดรถไฟฟ้า แต่ในแง่การก่อสร้าง การสร้างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์จะใช้เวลาประมาณ 1-1.5 ปี แต่การสร้างคอนโดฯ จะใช้เวลา 1 1.5 ปีสำหรับโครงการ low rise และ 1.5- 3 ปีสำหรับโครงการ high rise ดังนั้นการที่บริษัทอสังหาฯ จะเปลี่ยนจากการสร้างบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ มาทำคอนโดฯ high rise จะต้องให้มี margin เพิ่มขึ้นครับเพื่อชดเชยการหมุนสินค้าที่ช้าลง ดังนั้นหากเราไปงาน opp day แล้วผู้บริหารบอกว่า net margin คอนโดฯ high rise เท่ากับที่เคยทำแนวราบ หุ้นตัวนั้นไม่ค่อยน่าสนใจในระยะยาวเท่าไหร่ครับ ซื้อแล้วขายกับซื้อแล้วถือ อะไรดีกว่ากัน? อีกเรื่องที่อยากจะพูดถึงคือ Reinvestment risk ผมขอเปรียบเทียบหุ้น 2 ตัวดังนี้ครับ 1 ) หุ้นตัวแรก น่าจะให้ผลตอบแทนจาก capital gain + เงินปันผล 20% ต่อปี และมีแนวโน้มที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนดังกล่าวได้อย่างน้อย 5 ปีจากนี้ไป 2 ) หุ้นตัวที่ 2 น่าจะให้ผลตอบแทนจาก capital gain + ปันผล 30%-40% ในปีนี้ แต่มีข้อแม้ว่าเมื่อหุ้นขึ้นแล้วต้องขายทำกำไรเนื่องจากกำไรที่เพิ่มขึ้นนี้มีโอกาสที่จะเป็นกำไรที่เกิดขึ้นในปีนี้ส่วนปีหน้ากำไรมีความไม่แน่นอนและมีโอกาสลดลง ไม่ทราบเพื่อนๆ คิดว่าหุ้นตัวไหนน่าซื้อกว่ากันครับ ในความเห็นของผม ผมชอบหุ้นประเภทแรกมากกว่าเพราะว่าผมสามารถถือไปได้เรื่อยๆ โดยหากไม่เจอหุ้นตัวใหม่ที่จะให้ผลตอบแทนระยะยาวสูงกว่า ผมก็ไม่จำเป็นต้องขายหุ้นประเภทแรกนี้ออกมาก็ได้เพราะผลตอบแทนในระยะ 5 ปีที่ 20% ( รวมปันผล ) เป็นผลตอบแทนที่ไม่เลวทีเดียวครับ ในขณะที่การลงทุนในหุ้นประเภทที่ 2 เมื่อขายทำกำไรออกไปแล้ว นักลงทุนหลายคน อาจจะดีใจกับกำไรที่ออกมาเป็นตัวเงิน เพราะ เพื่อนผมบางคนชอบบอกผมว่าเค้าชอบเห็นกำไรที่เป็นตัวเงินมากกว่ากำไรทางบัญชี เวลาหุ้นขึ้นทีไรแล้วร้อนรนอยากขายทุกที และเมื่อเค้าขายหุ้นกำไรไปแล้วก็จะต้องถามผมว่ามีหุ้นตัวไหนอีกรึเปล่า ดังนั้นการซื้อหุ้นประเภทที่ 2 นี้เมื่อขายหุ้นได้กำไรแล้วเราก็ต้องถือเงินสดและต้องพยายามหาหุ้นตัวใหม่ๆ เข้ามาอีก ผมคิดว่าปัญหาการหาหุ้นใหม่ๆ นั้นไม่ค่อยเกิดขึ้นมากนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพราะหุ้นดีๆ ราคาไม่แพงยังมีเยอะ แต่ถ้าตลาดหุ้นเป็นแบบภาวะปัจจุบันที่หุ้นใหม่ๆ ธุรกิจดีราคาไม่แพงเกินไปหายากเต็มที เมื่อเราไม่สามารถหาหุ้นใหม่ๆ ได้เราก็ต้องถือเงินสดที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า หรืออาจจะดันทุรังที่จะลดกฎเกณฑ์ของ VI ลงไปถือหุ้นที่คุณภาพรองลงมาซึ่งอาจจะส่งผลให้เรามีความผิดพลาดในการลงทุนด้วย และเมื่อเราทำกำไรจากหุ้นประเภทที่ 2 มาได้เรื่อยๆ วันหนึ่งพอร์ตการลงทุนของเราจะเริ่มใหญ่ขึ้น ซึ่งหุ้นประเภทที่ 2 บางตัวอาจจะเป็นหุ้นขนาดเล็กและมีความเสี่ยงในการลงทุนมากกว่าประเภทที่ 1 ซึ่งเมื่อพอร์ตเราใหญ่ขึ้น เราจะหาหุ้นประเภทที่ 2 เริ่มยากขึ้นเพราะขนาดที่ใหญ่ขึ้นของพอร์ตจะเป็นอุปสรรคต่อการซื้อและการขาย ซึ่งหากเราโชคร้ายไปซื้อหุ้นที่ผลลัพธ์ผิดคาด เราอาจจะต้องติดหุ้นตัวนั้นเป็นระยะเวลานานได้ครับ ดังนั้นเท่าที่ผมสังเกตผลตอบแทนการลงทุนของนักลงทุนชื่อดังที่มีผลตอบแทนระยะยาวสูงๆ เช่น Buffet หรืออาจารย์ ดร. นิเวศน์ จะเห็นว่าจะประกอบไปด้วยหุ้นประเภทที่ 1 เกือบทั้งหมดครับ ส่วนหุ้นประเภทแบบที่ 2 นั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะลงทุนไม่ได้นะครับ แต่ไม่ควรให้มีหุ้นประเภทนี้ในสัดส่วนมากเกินไปในพอร์ต และเมื่อลงทุนแล้วควรจะติดตามใกล้ชิดเพราะหุ้นประเภทนี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงในพื้นฐานค่อนข้างจะเร็ว
โดย
Invisible hand
พฤหัสฯ. มิ.ย. 14, 2007 11:19 am
0
4
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
ผมเห็นด้วยกับคุณ New Analyst ครับว่าร้านโชห่วยได้รับผลกระทบจาก 7-11 มากกว่า Lotus Makro ฯลฯ เสียอีก และหากเราไปเดิน Makro หรือ Lotus ก็จะเห็นกลุ่มลูกค้าที่มากันสามี ภรรยา หรือพาลูกๆ มาด้วย ที่ซื้อทีนึงประมาณ 2-3 รถเข็นใหญ่และซื้อสินค้าเหมือนๆ กันเป็นแพ็ค แล้วขนขึ้นรถปิคอัพกลับ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้คือกลุ่มร้านโชห่วย คำถามที่ผมตั้งคำถามในใจก็คือ ถ้าผมเป็นเจ้าของร้านโชห่วย ทำไมไม่นั่งรอที่ร้านแล้วให้ยี่ปั๊ว หรือ supplier มาส่งของ ทำไมต้องมา Makro เพื่อซื้อสินค้ากลับไป ซึ่งต้องเหนื่อยยกของขึ้นรถ ลงรถ เจ้าของร้านโชห่วยหลายคนอายุก็ 50 กว่าๆ แล้ว ไม่รู้ว่ากลับบ้านจะเคล็ดขัดยอกบ้างหรือเปล่า เหตุผลที่นึกได้ก็คือ การมาซื้อของที่ Makro คงจะถูกกว่าซื้อจากยี่ปั๊ว ซาปั๊ว หรือไม่ก็สินค้าบางอย่าง supplier ไม่ยอมมาส่ง ดังนั้นข้อสรุปหนึ่งที่ผมได้คือ Hypermarket อย่าง Makro Lotus น่าจะช่วยให้ชีวิตของโชห่วยดีขึ้นส่วนหนึ่งครับ สินค้าที่เดิมโชห่วยขายดี ก็มักจะเป็นสินค้าที่ลูกค้าไม่ได้ตั้งใจซื้อทีละมากๆ บางครั้งซื้อเพราะความสะดวก เช่น บุหรี่ เหล้า น้ำปลา ขนม น้ำอัดลม ซึ่งสินค้ากลุ่มดังกล่าวเป็นสินค้าที่หลายๆ คนเปลี่ยนไปซื้อที่ 7-11 แทน ตอนนี้สินค้าที่ยังทำให้โชห่วยอยู่ได้คือ การขายเหล้าขาว ( ในหลายๆ พื้นที่ ) หรือบุหรี่ แม้ว่า Lotus BigC Makro จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศในหลายๆ ธุรกิจอยู่ แต่หากมองในแง่ผลดี ก็จะพบว่ามีผลดีต่อประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจมาก เพราะเป็นการลดช่องว่างทางราคาระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยอาศัยประสิทธิภาพการจัดการของ Superstore เหล่านี้ โดยเฉพาะในเรื่อง logistic และ supply chain นอกจากนี้ การบีบราคากับ supplier แม้จะดูโหดร้ายแต่ก็มีข้อดีก็คือทำให้ supplier ต่างๆ ต้องไปดำเนินกิจกรรมเพื่อประหยัดต้นทุนการผลิต หรือเป็นการลดกำไรส่วนเกินของ supplier บางราย ซึ่งก็เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจเช่นกัน สิ่งที่อาจจะเป็นตัวพิสูจน์บ้างก็คือ เศรษฐกิจไทยมีเงินเฟ้อที่ไม่สูงนักมาหลายปีแล้ว แม้กระทั่ง 1-2 ปีนี้ที่ราคาน้ำมันขึ้น 30-50% แต่เงินเฟ้อก็ยังอยู่ที่ 5-6% หรือเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการขยายตัวสูงมาเป็น 10 ปีแต่คุมเงินเฟ้ออยู่ตลอด นอกจากความสามารถของ Greenspan แล้ว คงจะต้องขอบคุณ Walmart ด้วย แม้ว่า Walmart จะถูกด่ามากกว่าถูกชมมาตลอด โดยเฉพาะประเด็นที่ถูกด่าเรื่องการปฎิบัติต่อแรงงาน ดังนั้นคำถามก็คือ ที่ประท้วงๆ กันอยู่ ไปประท้วงผิดเป้าหมายหรือเปล่า หรืออีกคำถาม ที่ประท้วงๆ กันอยู่ คือ โชห่วยจริงๆ หรือเปล่าครับ
โดย
Invisible hand
อังคาร ก.ย. 12, 2006 10:31 am
0
0
มีใครบ้างเป็นต้นแบบการลงทุนของคุณจริง บอกหน่อยดิ
ถ้าไม่มีหนังสือ " ตีแตก " ซึ่งมีมุมมองที่ดีมากๆ และเป็นหนังสือที่จุดประกายการลงทุนแบบ VI ให้กับทุกๆ คนรวมทั้งผม ผมคงไม่มีวันนี้เช่นกันครับ ถ้าไม่มีหนังสือ ตีแตก ก็คงไม่มีชื่อ Invisible hand ครับ ผมคงขออนุญาตส่งต่อคำชมไปที่ท่าน ดร. นิเวศน์ อาจารย์ด้าน VI คนแรกของผมครับ
โดย
Invisible hand
จันทร์ พ.ค. 08, 2006 11:35 pm
0
1
ขอบ่นเรื่องหุ้นเยื่อกระดาษสยามหน่อย
ปีนี้ไม่ได้ไปครับ กลัวไปพูดมากๆ ในที่ประชุมหลายๆ ปีอาจจะได้บัตรนวดด้วยฝ่าเท้าฟรีน่ะสิครับ
โดย
Invisible hand
พฤหัสฯ. พ.ค. 04, 2006 12:17 am
0
0
ขอบ่นเรื่องหุ้นเยื่อกระดาษสยามหน่อย
ปีก่อนที่ประชุมผู้ถือหุ้นเค้าแจกองุ่นดำไม่มีเมล็ด 1 กล่อง กับอะไรอีก 2-3 อย่างราคารวมๆ ประมาณ 400-500 บาท นั่นแหละครับปันผล ใครถือ 100 หุ้นก็พอคุ้มครับ แต่ต้องนั่งรถเมล์ไปประชุมนะครับ ขับรถไปคงไม่คุ้มค่าน้ำมันครับ ถ้าจะโวยอย่าโวยในที่ประชุม spp ครับ ไม่มีประโยชน์ ต้องไปโวยในที่ประชุม scc ครับ
โดย
Invisible hand
พุธ พ.ค. 03, 2006 11:30 pm
0
0
เค้าว่า โรงพยาบาล กับประกัน มีดี จริงหรือ?
พอดีมีเพื่อนถามเรื่องนี้ใน greenbull มา เผื่อจะมีประโยชน์นะครับ http://www.bbznet.com/scripts3/view.php?user=greenbull&board=8&id=2674&c=1&order=numtopic Q ทำไมหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลถึงมี PE ข้อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นครับ เท่าที่ทราบ ไม่ใช่เฉพาะในโรงพยาบาลในประเทศไทย หุ้นโรงพยาลในหลายๆ ประเทศก็มี PE สูงเหมือนกัน - ตลาดหุ้นในประเทศใหญ่ๆ จะให้ p/e สูง กับหุ้นที่มีความต่อเนื่องของกำไรและมีศักยภาพในการเติบโตครับ และให้ p/e ต่ำกับหุ้นที่มีความผันผวนของกำไร และวัฎจักร สำหรับประเทศไทยในช่วงก่อนๆ อาจจะติดภาพ p/e ต่ำกว่า 10 คือถูก สูงกว่า 10 มากๆ คือแพง ก็เลยเกิดโศกนาฎกรรมที่มีนักวิเคราะห์จำนวนมากที่แนะนำให้ซื้อหุ้นปิโตรฯ หรือเรือในช่วง peak โดยให้เป้าหมายที่ p/e 10 เท่า นอกจากนี้ กลุ่ม health care ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 และเป็นปัจจัย 4 ที่ชะลอการใช้หรือซื้อไม่ได้ด้วย อย่างบ้านหรือเสื้อผ้ายังชะลอการซื้อได้ แต่อาหารหรือการรักษาโรคคงจะชะลอไม่ได้ ดังนั้นในภาวะเงินเฟ้อ เศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก หุ้น รพ. ก็น่าจะเป็นหุ้นที่ปลอดภัยครับ Q ถ้าเป็นเพราะมี Growth สูงอย่างต่อเนื่อง อะไรเป็นสาเหตุทำให้ Growth สูงครับ ทั้งๆที่ จำนวนเตียง จำนวนห้องตรวจ ในแต่ละปี ก็ไม่น่าจะเพิ่มขึ้นได้มากเท่าไร่ การปรับราคาก็ไม่น่าทำได้มากขึ้นเช่นกัน หรือ จะเป็นเพราะมีผู้ป่วยมาใช้บริการมากขึ้นหรือครับ อะไรทำให้คนเข้าโรงพยาบาลมากขึ้นครับ การเพิ่มของจำนวนประชากรก็ไม่น่าจะมีมากขึ้นเท่าไหร่ Q - เห็นคุณ IH เคยบอกว่าหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล น่าจะดีไปอีกหลายปีข้างหน้า เป็นเพราะอะไรครับ - สังคมทั่วโลกกำลังเข้าสู่ aging economy ในอนาคตครับ คือ ประชากรสูงอายุจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากเทียบกับประชากรทั้งหมด ( อาจจะยกเว้นบางประเทศเช่น แถบแอฟริกา ที่การเกิดยังสูงอยู่ ) อย่างสำหรับประเทศไทย การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือที่เรียกว่า baby boom และเริ่มลดลงหลังมีการรณรงค์เรื่องการวางแผนครอบครัว ดังนั้นประชากรจำนวนมากจะเกิดระหว่าง 2490-2516 ซึ่งหมายความว่าประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจะมีอายุ 33-59 ปี หากมองอีก 10 ปีข้างหน้า ประชากรเหล่านี้จะมีอายุ 43-69 อีก 20 ปีจะมีอายุ 53-79 ดังนั้นเมื่อประชากรมีอายุเพิ่มขึ้นความต้องการในการรักษาพยาบาลก็ต้องเพิ่มขึ้นแน่นอนครับ นอกจากนี้ ลักษณะเศรษฐกิจและสังคมทำให้คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนเมืองมีสุขภาพแย่ลง เพราะความเครียด การกินอาหาร มลภาวะ การใช้สารเคมีในอาหารอย่างขาดความระวัง ทำให้คนป่วยง่ายและบ่อยขึ้น เกิดโรคที่ไม่ใช่โรคจากเชื้อโรคมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน ซึ่งโรคเหล่านี้มักจะเป็นโรคเรื้อรังและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง แต่ยังไงด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทำให้ผู้ป่วยในโรคหนักๆ เดี๋ยวนี้มีอัตราการรอดชีวิตสูงแต่ก็ต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน trend ทั่วโลกอายุเฉลี่ยของประชากรเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจสรุปง่ายๆ ว่าปัจจุบันคนเมืองจะ ป่วยง่ายแต่ตายยาก ครับ ดังนั้นในสังคมที่เป็น aging economy จำนวนแรงงานในระบบจะเริ่มลดลง การเติบโตของ gdp จะลดลง แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่อ gdp จะเพิ่มขึ้น ช่วงนั้นเศรษฐกิจตลาดหุ้นจะไม่ดี แต่หุ้น รพ. น่าจะเป็นเพียงไม่กี่กลุ่มที่มีการเติบโตได้ ส่วนเรื่องการปรับราคาก็สามารถปรับตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ ครับ แต่กลุ่ม รพ. เกือบทั้งหมดจะมีรายได้ต่อรายของผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลจากความซับซ้อนของโรคในปัจจุบันเยอะขึ้นเรื่อยๆ ครับ
โดย
Invisible hand
ศุกร์ เม.ย. 07, 2006 12:32 am
0
0
ฝ่าย IR มีไว้ทำอะไรครับ?
1. ขอบเขตของคำถามที่จะถาม ผมควรถามได้ในระดับใดบ้าง (คงถามเรื่องผลประกอบการล่วงหน้า หรือ การทำ tender ไม่ได้) เช่น ถามว่า ปริมาณขาย กับ ราคาขายได้หรือไม่ เงินเดือนขึ้นหรือไม่ ฯลฯ - ถ้าเป็นข้อมูลในอดีต เช่น ให้อธิบายว่าทำไมยอดขายหรือกำไร หรือ margin ไตรมาสก่อนๆ ถึงเปลี่ยนแปลง อันนี้ถามได้ครับ ภาพรวมอุตสาหกรรม คู่แข่ง ลูกค้า supplier ก็เป็นสิ่งที IR ควรจะทราบ ส่วนแนวโน้มอนาคต ก็คงถามได้คร่าวๆ เช่น แนวโน้มยอดขาย แนวโน้มการแข่งขันจากคู่แข่งหรือการเข้ามาของผู้ประกอบการใหม่ๆ รวมไปถึงแนวโน้มความสามารถทำกำไรหรือ margin ผมเคยเจอบริษัทหนึ่งทำถัง บุคคลที่ทำหน้าที่ IR เค้าเข้มงวดมากกลัวคู่แข่งหรือนักข่าวโทรมาหลอกถามข้อมูล เค้าต้องขอเวลาผม 10 นาที ไป check ว่าผมถือหุ้นหรือเปล่า ดีที่ผมไม่ได้โทรทางไกลมาจากต่างจังหวัด ปรากฎว่าเป็นหุ้นที่ผมเพิ่งซื้อเค้าเลย check ไม่เจอเพราะยังไม่ปิด book เค้าเลยตอบคำถามผมแบบไม่ไว้ใจเลย หุ้นตัวนี้ก็เป็นหุ้นที่ถูกตลอดกาลเลยครับเพราะมี IR เช่นนี้ มีวิธีที่เราจะได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นก็คือ เราควรทำประมาณตัวเลขรายได้หรือกำไรในใจไว้ อาจจะทำอย่างละเอียดเองหรือกระทั่งมั่วๆ เอาก็ได้แต่อย่าให้ห่างไกลความจริงนัก แล้วถาม IR ว่าที่เราทำไว้นั้น conservative ( ต่ำไป ) หรือ agressive ( สูง ) ไป ถ้าเจอ IR ใจดีเค้าจะพอที่จะใบ้เราได้ครับ แต่ตอนก่อนวางสายอย่าไปเล่นมุขว่าเราโทรมาจาก กลต. นะครับอีกฝั่งอาจจะหัวใจวายคาโทรศัพท์ได้ 2 เมื่อบริษัทมีข่าว(ลือหรือจริง) ฝ่าย IR ของบริษัท มีหน้าที่มาแก้ตัว ปกปิด ให้บริษัท หรือ บอกความจริงอย่างนุ่มนวล หรือแล้วแต่บริษัท - ถ้ามีข่าวลือ แม้จะเป็นจริง IR ก็ไม่สามารถยอมรับได้ว่าเป็นจริงแม้ว่าจะทราบแล้วว่าจริง เพราะถือว่าเป็นการให้ข้อมูลก่อนแจ้งตลาดครับ ดังนั้นเป็นหน้าที่ IR ที่จะต้องบอกว่าไม่รู้เรื่องไว้ก่อนครับ ดังนั้นหากใครถือศีล 5 เคร่งครัดอาจจะเป็น IR ลำบากอยู่เหมือนกัน ตอนนี้ สำหรับบางบริษัทที่ผลประกอบการแย่ หุ้นลงเรื่อยๆ หน้าที่หลักๆ ของ IR ก็คือรับสายนักลงทุนแทนผู้บริหารเพื่อตอบคำถามว่าทำไมหุ้นถึงลง และนั่งฟังนักลงทุนบ่นอีกคนละหลายนาที เหมือนเป็นกระโถนรองรับอารมณ์ จนกลายเป็นว่า IR บริษัทเหล่านี้น่าจะย่อจาก Investor Restroom แทนที่จะเป็น Investor relation แล้วล่ะครับ
โดย
Invisible hand
อังคาร มี.ค. 28, 2006 11:13 pm
0
0
บริษัทที่มีสินทรัพย์มากกว่ามูลค่าหุ้นในตลาดมีอะไรบ้างคับ
เราอาจจะต้องไปดูหมายเหตุประกอบงบ หรือ 56-1 ในส่วนของรายการสินทรัพย์ครับ ว่าสินทรัพย์สุทธิที่อยู่ในงบดุลนั้น ตัดค่าเสื่อมมาแล้วจำนวนเท่าไหร่ แล้วลองบวกกลับเข้าไป ก็จะได้ replacement cost ของสินทรัพย์นั้น สินทรัพย์ที่ทำได้อย่างนี้คือหุ้นที่มีสินทรัพย์หลักเป็นอาคารครับ ถ้าเป็นเครื่องจักรไม่ได้ เพราะอาคารนั้นบางทีมีอายุยาวไปเรื่อยๆ คือ 40-50 ปี แต่หลักบัญชีตัด 25-30 ปี บางทีผ่านไป 15 ปีมูลค่าเหลือครึ่งหนึ่งแต่จริงๆ แล้วอาคารที่ใช้ในบางธุรกิจนั้นผ่านไป 15 ปีก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากอาคารที่เพิ่งสร้างใหม่ครับ เช่น ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ( อย่างเซ็นทรัลลาดพร้าวก็ 20 กว่าปีแล้ว ) โรงพยาบาล ปกติเมื่อได้ replacement cost อาจจะต้องบวกมูลค่าเพิ่มไปอีก 30-40% เพื่อสะท้อนมูลค่าการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นด้วย
โดย
Invisible hand
พุธ มี.ค. 15, 2006 10:36 pm
0
0
ไม่ได้ตามมานาน เพิ่งรู้ว่ามี .............. Ticon-W2
" น่าจะสามารถขายสินทรัพย์เข้าโรงงานได้ทุกปี " แก้เป็น " ขายสินทรัพย์เข้ากองทุนอสังหาฯ ได้ทุกปี " ครับ ลองสังเกตสิครับ ticon เป็นหุ้นที่ผู้บริหารรายงานซื้อๆ ขายๆ ตลอดทั้งปี แสดงว่าส่วนใหญ่เค้าไม่ใช้ nominee กัน ไม่เคยสงสัยหรือครับบางบริษัทอยู่ในตลาด 10 กว่าปี ไม่เคยเห็นผู้บริหารซื้อขายหุ้นเลย ไม่น่าแปลกกว่าหรือครับ
โดย
Invisible hand
พุธ มี.ค. 15, 2006 10:29 pm
0
0
ถ้าหุ้นมี PE ต่ำ แต่ PB สูงปี๊ดเลย แปลว่า...
เป็นคำถามที่น่าสนใจครับ ผมลองนึกๆ ดูนะครับ หุ้นประเภท 2 คือหุ้นวัฎจักร จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1 Commodity Cyclical หุ้นประเภทนี้คือพวกที่สินค้าหน้าตาเหมือนกันเลย คือ น้ำมัน ปิโตรเคมี ถ่านหิน เหล็ก เรือ ฯลฯ พวกนี้ยังไงก็ไม่น่าจะมี brand ครับ โอกาสเป็นหุ้นประเภท 1 ด้วยคงไม่มี 2 Economic Cyclical หุ้นพวกนี้เป็นหุ้นวัฎจักร แต่ขึ้นลงตามวัฎจักรเศรษฐกิจเป็นสำคัญ หุ้นพวกนี้ได้แก่ อสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์ ฯลฯ ดังนั้นโอกาสที่เป็นประเภท 1 และ 2 พร้อมกันก็เกิดขึ้นได้หากหุ้นเหล่านี้มี brand ตัวหนึ่งที่ผมนึกออกคือ LH ซึ่งในช่วงเศรษฐกิจดีกลุ่มอสังหาฯ ก็จะมี roe สูง และเศรษฐกิจไม่ดี roe ก็จะต่ำ แต่อย่างไรก็ตามการที LH มี brand ที่เป็นที่นิยมสูงก็จะทำให้ roe หรือ net margin ของ LH จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม Lh ก็เป็นหุ้นที่มีลักษณะ 1 และ 2 ปนกัน คือเป็นวัฎจักรที่มี brand ดังนั้น หุ้น LH หากถือยาวๆ ก็จะเจอกับ cycle ขึ้นลงแรงๆ แต่ในระยะยาวๆ หุ้น LH ก็จะปลอดภัยกว่าหุ้นวัฎจักรโดยทั่วๆ ไปคือแม้ว่าขาลงก็คงจะไม่ทำให้นักลงทุนหมดตัวและเมื่อเป็นขาขึ้นจะกลับมาได้เร็วกว่าครับ
โดย
Invisible hand
อังคาร มี.ค. 14, 2006 11:56 pm
0
0
ถ้าหุ้นมี PE ต่ำ แต่ PB สูงปี๊ดเลย แปลว่า...
แสดงว่าหุ้นตัวนั้นจะต้องมี roe สูงมากครับ ซึ่งหลักๆ มี 2 เหตุผลสำคัญคือ 1 เป็นหุ้นที่มีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนสูง เช่น brand หรือสินทรัพย์ทางปัญญา ซึ่งจะไม่แสดงในงบดุล และบริษัทเหล่านี้มักจะมี profit margin ที่สูง ดังนั้นหุ้นเหล่านี้มักจะมี roe และ p/bv สูง 2 เป็นหุ้นวัฎจักรตอนใกล้ๆ จุดสูงสุดของ cycle ครับ ลักษณะคือ p/e ต่ำมาก ปันผลสูงมาก แต่ p/bv จะสูงมากเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ATC หุ้นเรือ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากครับ หรือเป็นหุ้นที่มีผลการดำเนินงานไม่แน่นอน ประเภทกำไรปีขาดทุนปี ดังนั้นหากเป็นหุ้นตามข้อ 1 ก็ลงทุนได้ครับ แต่ตามข้อ 2 อันตรายครับ
โดย
Invisible hand
ศุกร์ มี.ค. 10, 2006 12:46 pm
0
0
ค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาลประกันสังคม
ในส่วน 30 บาท ผมทราบข้อมูลของรพ. เอกชน นะครับ คือ ทาง รพ. จะได้ต่อหัวครับ ปีก่อนได้ประมาณ 1300 ปลายๆ สำหรับปีงบประมาณ 2549 ได้เพิ่มต่อหัว 18.8% เป็น 1600 กว่าๆ โดยที่ทางรพ. จะต้องบริหารต้นทุนเฉลี่ยต่อคนไข้ 1 คนที่มาใช้บริการไม่ให้เกินนี้ นอกจากนี้ รายได้ต่อครั้ง 30 บาทเป็นของ รพ. ครับ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคนไข้ที่เข้าโครงการ 30 บาท จะเป็นคนไข้ที่มีแนวโน้มการใช้บริการสูง เนื่องจากเกือบทั้งหมดไม่ได้อยู่ในระบบการจ้างงาน มีผู้สูงอายุด้วยมาก ทำให้ รพ. เอกชนหลายแห่งที่เข้าโครงการได้ลาออกจากโครงการไป ก็มี รพ. เอกชนบางแห่งที่ยังพอบริหารต้นทุนให้มีกำไรอยู่ได้บ้าง หรือบาง รพ. ได้เปลี่ยนระบบเหมาจ่ายมาเป็นเฉพาะผู้ป่วยนอก แต่ผู้ป่วยในเบิกกับรัฐตาม case แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ปีนี้น่าจะดีขึ้นมาบ้างเพราะได้งบเพิ่มต่อหัวมา 18.8% ส่วนประกันสังคมนั้น ก็ได้ต่อหัวเช่นกัน ตัวเลขผมจำไม่ได้ แต่ก็ได้ประมาณ 1 พันกว่าๆ ต่อหัว รู้สึกว่าจะต่ำกว่า 1500 บาทต่อหัว ที่จำได้แน่คือต่ำกว่ารายได้ต่อหัวของโครงการ 30 บาท แต่ รพ. ที่เข้าประกันสังคมส่วนใหญ่จะกำไร เพราะด้วยเหตุผลหลักๆ 2 ข้อคือ เหตุผลแรกตามที่คุณ stham บอกไว้คือ คนที่เข้าประกันสังคมอยู่ในวัยแรงงานมีอัตราเจ็บป่วยต่ำกว่าคนที่เข้าโครงการ 30 บาท และข้อสองคือ มีบริษัทเอกชนจำนวนไม่น้อยที่มีประกันสุขภาพให้พนักงาน ทำให้พนักงานเลือกใช้ประกันของบริษัทซึ่งสามารถรักษา รพ. ในเกรดที่ดีกว่า รพ. ที่รับประกันสังคมได้ แต่ยังไงพนักงานคนนั้นๆ ยังต้องเลือก รพ. ในส่วนประกันสังคมอยู่ดี ซึ่งกรณีนี้ รพ. ที่ถูกเลือกจะได้เงินต่อหัวมาฟรีๆ สำหรับปีนี้รายได้ในส่วนประกันสังคมต่อหัวจะเพิ่มขึ้นมาอีกประมาณ 400 บาท คือ ในส่วนทำฟันและทำคลอด ซึ่ง รพ. ที่รับประกันสังคมน่าจะมีกำไรที่เพิ่มขึ้นจากการทำคลอดเพราะอัตราการเกิดค่อนข้างต่ำ อาจจะมีข้อมูลบางส่วนคลาดเคลื่อนบ้างนะครับ หากมีอะไรผิดคงจะต้องรบกวนเพื่อนๆ ที่เป็นคุณหมอช่วยแก้นะครับ ผมเองก็เพิ่งศึกษาเรื่องประกันสุขภาพนี้ได้ไม่นานเท่าไหร่ครับ
โดย
Invisible hand
ศุกร์ มี.ค. 03, 2006 10:20 pm
0
0
หุ้นที่P/E P/B ต่ำ แต่สภาพคล่องต่ำ ควรลงทุนได้ไหมครับ
แล้วเป็นหุ้นที่ dividend สูงด้วยรึเปล่าครับ ปกติหุ้นที p/e ต่ำ และ p/bv ต่ำ แต่ไม่น่าซื้อนั้น มักจะมี dividend yield ต่ำ เพราะธุรกิจนั้นๆ ต้องการเงินทุนเพื่อลงทุนในการรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่นหุ้นอิเลคทรอนิกส์บางตัว หุ้น p/e ต่ำ p/bv อีกเหตุผลที dividend ต่ำเพราะผู้บริหารหรือเจ้าของมักจะชอบนำเงินสดของบริษัทไปทำอะไรไม่ชอบมาพากล เช่น ปล่อยกู้ให้บริษัทในเครือ ลงทุนอะไรแปลกๆ ดังนั้นหาก p/e ต่ำ p/bv ต่ำ และ yield สูง ให้ดูแนวโน้มกำไร 5 ปีย้อนหลัง ถ้าเพิ่มปีละ 10% ขึ้นไปโดยตลอด ผมว่าก็เริ่มน่าสนใจนะครับ แต่ไม่ได้ซื้อทันทีนะครับ แต่น่าสนใจที่จะมาศึกษาเชิงคุณภาพตามที่ woody บอกไว้ครับ
โดย
Invisible hand
พฤหัสฯ. มี.ค. 02, 2006 10:13 pm
0
0
invert yield curve
เรื่อง Invert yield curve ก็มีบทความออกมาไม่นานนี้ เค้าทำสถิติว่าสามารถพยากรณ์การถดถอยทางเศรษฐกิจได้ 7 จาก 10 ครั้ง แต่ครั้งนี้ผมมองว่าที่ Long-term bond yield ไม่ขึ้นมากน่าจะเกิดจากการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในระยะยาวจะต่ำครับ เพราะเหตุผลจากการเข้ามาเป็นประเทศผู้ผลิตของจีน และประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากปีก่อนราคาน้ำมันขึ้น 50% แต่เงินเฟ้อของโลกโดยเฉพาะยังไม่สูงนัก ดังนั้นโอกาสที่น้ำมันจะขึ้นปีละ 50% คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ตลาดน่าจะคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยที่เพิ่มน่าจะเป็นช่วงสั้น และค่อยๆ ลงมาในระยะยาวๆ ดร. ศุภวุฒิทำนายว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะมีปัญหาอย่างน้อยตั้งแต่ปี 2542 แล้วครับด้วยเหตุผลที่ต่างๆ กัน ผมเชื่อว่าแกคงจะถูกเข้าซักวันหนึ่งแน่ๆ ครับ
โดย
Invisible hand
อังคาร ก.พ. 14, 2006 1:51 pm
0
0
ทำยังไงดีถ้าเจอหุ้นที่ OK แล้วแต่มัน . . .
ก่อนอื่นต้องมั่นใจก่อนนะครับว่าหุ้นที่ว่านั้นแพงจริงๆ เพราะหุ้นที่ p/e เกิน 10-12 เท่าก็อาจจะเป็นหุ้นที่ยังไม่แพงเกินไปก็ได้นะครับ
โดย
Invisible hand
จันทร์ ก.พ. 13, 2006 5:01 pm
0
0
bh จากนี้จะเป็นไงคับ
ระยะหลังๆ สินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของธุรกิจที่ผมมองคือ คน และ brand value ดังนั้น asset ที่อยู่ในงบดุลของ BH จะสะท้อนแค่ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์การแพทย์เท่านั้นครับ แต่อย่างไรก็ตามประเด็นที่คุณสุมาอี้ยกมาน่าสนใจ คือถ้า ROI สูงกว่า cost of capital มากๆ ก็มี p/bv สูงได้ โดยปกติแล้วธุรกิจไหนที่ ROI สูงกว่า cost of capital มากๆ หากไม่มี barrier to entry มากพอจะเกิดผู้เล่นรายใหม่อย่างไหลมาเทมา เพราะธุรกิจนั้นๆ ยังให้ excess return อยู่ และการเข้ามาจะหยุดเมื่อเข้าสู่สมดุล คือไม่เกิด excess return และหุ้นในกลุ่มนั้นๆ จะลงหนักมาก เพราะ price จะต้องลงมาใกล้ๆ กับ bv ตัวอย่างธุรกิจที่เพิ่งประสบที่เห็นชัดคือ อิฐมวลเบา และคลื่นวิทยุ แต่ธุรกิจโรงพยาบาลก็ยังไม่มีผู้เล่นรายใหม่เลย เพราะ barrier to entry ค่อนข้างสูง ซึ่ง barrier ตัวหนึ่งที่เห็นชัดคือ brand value ดังนั้น ผมจะแค่ " ระวัง " แต่ไม่ " หลีกเลี่ยง " หุ้นที่ p/bv สูงๆ ครับ
โดย
Invisible hand
จันทร์ ม.ค. 23, 2006 2:41 pm
0
0
สงสัยท่าน ดร. ครับ แบบว่าเพิ่งนึกออก!!!!
Lotus ในหลายจังหวัดสู้ BigC ไม่ได้นะครับ แต่ในกรุงเทพฯ Lotus ดูดีกว่า BigC ดังนั้นหาก Lotus เข้าตลาดหุ้น เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่อยูในกรุงเทพฯ จึงอาจจะให้ premium กับ Lotus มากกว่า แต่หากมองว่าการขยายตัวของ superstore ในอนาคตหากมีการเปลี่ยนกฎหมายผังเมืองจะอยู่ในต่างจังหวัดมากกว่า ผมอาจจะมองว่า BigC มีภาษีกว่านิดๆ ครับ
โดย
Invisible hand
จันทร์ ม.ค. 23, 2006 2:33 pm
0
0
Amata ถ้ากำไร 30% แล้วควรขายดีมั้ยค่ะ
ถือ 3 ปี กำไร 30% หากรวมปันผลก็จะได้ปีละ 15% โดยประมาณ ต้นทุนน่าจะอยู่ประมาณ 13 บาท ถ้าผมจำไม่ผิด amata เคยลงไป 9-10 บาทในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นกำไรปีละ 15% คุ้มกับการถือรอรึยัง หรือคุ้มกับค่าตกใจที่หุ้นลงไป 9 บาทรึยัง ผมยังรู้สึกว่ายังไม่คุ้มเท่าไหร่ครับ เพราะมันสูงกว่าพันธบัตร 10 ปีแค่ประมาณ 10% ดังนั้นหากจะขายหุ้นตัวใดก็ตามที่ถือมา 3 ปี ด้วยเหตุผลว่ากำไร 30% แล้ว ผมยังไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ แต่หากขายเพราะคิดว่ามันแพง ผมจะเห็นด้วยครับ ดังนั้นเราคงจะต้องกลับมาคิดดีกว่าครับว่า amata แพงไปรึยัง การตัดสินใจซื้อขายหุ้นเราอาจจะผิดหรือถูกก็ได้ แต่ขอให้เป็นแบบ right for the right reason หรือแม้กระทั่ง wrong for the right reason ก็ยังดี แต่ถ้าเป็นแบบ right for the wrong reason บ่อยๆ วันนึงถ้าเกิดเจอ wrong for the wrong reason ขึ้นมาติดๆ กันอาจจะขาดทุนเยอะได้ เพราะ right for the wrong reason บ่อยๆ จะทำให้นักลงทุนมั่นใจเกินกว่าความรู้ที่มีอยู่ได้ครับ
โดย
Invisible hand
จันทร์ ม.ค. 23, 2006 2:29 pm
0
1
Intel เตรียมลงทุนในเวียดนาม 650m USD
ครับ อิเลคทรอนิกส์นี่เป็นอุตสาหกรรมที่มี value added ในประเทศต่ำ โดยเฉพาะหากเทียบกับอุตสาหกรรมเกษตร หรือแม้กระทั่งยานยนต์ เพราะส่วนใหญ่ชิ้นส่วน วัตถุดิบก็จะต้องนำเข้ามา value added ในประเทศก็จะได้ค่าแรง ค่าสาธารณูปโภค วัตถุดิบบางส่วน ทีดิน ค่าเช่าโรงงาน ดังนั้นหากไทยจะส่งเสริมคงต้องศึกษา model ของไต้หวันครับ ไม่ทราบว่าจะสายเกินไปรึยัง
โดย
Invisible hand
อาทิตย์ ม.ค. 15, 2006 11:33 pm
0
0
ดุลการค้า, ดุลบัญชีเดินสะพัด และ สภาวะเศรษฐกิจ
ถ้าเปรียบประเทศเหมือนบริษัท อาจจะเปรียบเทียบอย่างหยาบๆ ได้ว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดก็เหมือนงบกำไรขาดทุนหรือถ้าให้ใกล้เคียงมากขึ้นก็เหมือน " กระแสเงินสดจากการดำเนิน - รายจ่ายลงทุน " ครับ ส่วนดุลการชำระเงินก็เหมือน กระแสเงินสดสุทธิครับ ดังนั้น ประเทศไหนขาดดุลบัญชีฯ ก็เหมือนบริษัทที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานและจากการลงทุนรวมกันติดลบ ก็ต้องกู้มาชดเชยหรือต้องเพิ่มทุน ซึ่งหากเปรียบกับประเทศก็เหมือนการกู้เงินจากต่างประเทศหรือต้องอาศัยเงินลงทุนจากต่างประเทศมาชดเชย ดังนั้นประเทศไหนขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง หนี้ต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็เหมือนบริษัทที่กู้หนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ท้ายสุดแบงค์ก็จะไม่ให้กู้เพราะระดับหนี้มันสูงไปครับ แต่สำหรับบางประเทศอาจจะขาดดุลบัญชีช่วงสั้นๆ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะรายจ่ายลงทุนสูง ซึ่งหากเป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตหรือเพิ่มศักยภาพของประเทศ ก็จะทำให้การส่งออกระยะยาวเพิ่มขึ้น ดุลบัญชีฯ จะกลับเป็นบวกได้ แต่หากเป็นเงินลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น อสังหาฯ ที่เกินจำเป็น โครงการสาธารณูปโภคที่ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ก็จะไม่ทำให้รายได้จากต่างประเทศในระยะยาวเพิ่มขึ้น ประเทศที่ทำอย่างหลังก็จะทำให้ดุลบัญชีขาดดุลในระยะยาว ซึ่งเปรียบเทียบกับ 2 บริษัท บริษัทแรกเอาเงินไปพัฒนาคน มาทำ R&D ซื้อเครื่องจักร อีกบริษัทเอามาสร้าง office ใหญ่ ซึ่งรถแพงๆ ให้ผูบริหาร เงินที่จ่ายออกไปของทั้ง 2 บริษัทก็กระทบกระแสเงินสดเท่ากัน แต่ผลในระยะยาวต่างกันครับ
โดย
Invisible hand
อาทิตย์ ม.ค. 15, 2006 11:26 pm
0
0
loxleyมี value ซ่อนอยู่เยอะไหมคับหรือเป็นเรื่องอดีต
เกี่ยวกับ loxley นี้ตอนที่มีเพื่อนๆ ถามมานั้นปี 2003 ครับตอนนั้นหุ้นอยู่ที่ 12-13 บาท พาร์ 10 หรือ 1.2-1.3 บาทตอนนี้ครับ ดังนั้น ณ ราคานั้นผมมองว่า loxley ค่อนข้าง undervalue ครับ โดยเฉพาะ value ที่ซ่อนใน Aspac oil ที่ทำน้ำมันเครื่อง Castol แต่ตอนนี้ ณ ราคา 3 บาทกว่า ประกอบกับธุรกิจหลักเริ่มกลับมาขาดทุน และ Aspac oil มีกำไรลดลงจากราคาน้ำมันที่เป็นวัตถุดิบแพงขึ้น ผมคิดว่า loxley คงไม่น่าสนใจเท่าเมื่อก่อนครับ ตอน loxley ลงไป 2 บาท เมื่อปลายปีก่อน เคยเหลือบไปดูเหมือนกันครับ แต่ช่วงหลังผมไม่ค่อยชอบลงทุน style asset play เท่าไหร่ และหุ้นยังขาดทุนอยู่ แต่ตอนนี้ก็ขึ้นมา 60-70% กว่าแล้วล่ะครับ
โดย
Invisible hand
อาทิตย์ ม.ค. 15, 2006 11:16 pm
0
0
อยากทราบว่าหุ้นตัวไหนที่เป็นหุ้นวัฏจักรและอยู่ในช่วงขาลงบ้าง
ธุรกิจค้าปลีกน่าจะรักษา margin ได้ครับ เพราะลูกค้ามีแต่รายเล็ก จำนวนมากราย จึงไม่มีอำนาจต่อรอง ดังนั้น ค้าปลีกจะสามารถผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้ลูกค้าได้เต็มๆ ส่วนกำไรที่เพิ่มขึ้นคงมีบ้าง เป็นผลพลอยได้ แต่คงไม่ถึงกับมากนัก เป็นผลจากการที่ margin เป็น % เท่าเดิม แต่ margin เป็นตัวเงินเพิ่ม เช่น ปกติ net margin 4% เดิม ขาย 100 กำไร 4 บาท หากต้นทุนสินค้าเพิ่ม 10% ขาย 110 กำไร 4% เท่าเดิม แต่กำไรเป็นตัวเงินจะเป็น 4.4 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นครับ
โดย
Invisible hand
อาทิตย์ ม.ค. 08, 2006 12:14 am
0
0
มีบริษัทไหนทำ service apartment ผมว่าน่าจะดีกว่ากลุ่ม hotel
ปกติแล้วผลตอบแทนก็คงต้องขึ้นกับว่าใช้เงินทุนจากไหนครับ ถ้าใช้เงินตัวเองทั้งหมด ผลตอบแทนก็ควรจะมากกว่าการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำทีสุด คือ ต้องมากกว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ปัจจุบันคือ 6% กว่าๆ เนื่องจากการลงทุนอื่นๆ มีความเสี่ยง ผลตอบแทนที่คาดหวังคงจะต้องบวก risk premium ด้วยตามความเสี่ยงของประเภทอสังหาฯ ให้เช่า ถ้าใช้เงินกู้เป็นส่วนใหญ่ ผลตอบแทนจะต้องสูงกว่า MLR ระยะยาวครับ ตอนนี้ MLR 6-7% อนาคตอาจจะขึ้นไปอีก ดังนั้นผลตอบแทนคงต้องเผื่อการขึ้นของดอกเบี้ยไว้พอสมควร หากคิดแบบคร่าวๆ ถ้าเป็น office อพาร์ตเมนต์ ถ้าไม่ได้ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่าย 12% ขึ้นไปก็ไม่น่าทำครับ ถ้าจะทำศูนย์การค้า ควรจะได้มากกว่า 20% ครับเพราะเสี่ยงสูงกว่า แต่โรงไฟฟ้า IPP อย่าง RATCH ให้ IRR ประมาณ 19% ครับ ซึ่งเป็นสัญญาที่แทบจะไม่มีความเสี่ยงเลย Banpu เยี่ยมมากครับที่ซื้อ RATCH แถวๆ 14-15 บาท
โดย
Invisible hand
เสาร์ ม.ค. 07, 2006 11:49 pm
0
0
มีบริษัทไหนทำ service apartment ผมว่าน่าจะดีกว่ากลุ่ม hotel
หากพูดในเชิงทฤษฎี จะเรียงลำดับความเสี่ยงและผลตอบแทนของอสังหาฯ ให้เช่า จากน้อยไปมากได้ดังนี้ครับ ความเสี่ยงของโครงการอสังหาให้เช่า : น้อยไปมาก - อาคารสำนักงาน อพาร์ตเมนต์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โรงแรม และค้าปลีก ผลตอบแทนของโครงการอสังหาให้เช่า : น้อยไปมาก - อาคารสำนักงาน อพาร์ตเมนต์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โรงแรม และค้าปลีก ดังนั้น service apartment จะเข้าข่าย ความเสี่ยงปานกลาง ผลตอบแทนปานกลางครับ เหตุผลที่อาคารสำนักงานเสี่ยงน้อยสุดเพราะโอกาสที่จะมีอาคารสำนักงานร้างหรือไม่มีคนเช่าค่อนข้างน้อย หรือถ้ามีคนเช่าเพียง 60-70% ก็พออยู่ได้และไม่ทำให้คนเช่าย้ายออก และความแตกต่างระหว่างอาคารสำนักงานแต่ละแห่งมีน้อย เพราะสร้างไม่ยากนักไม่ต้องการการออกแบบที่สวยงามแตกต่างนัก มีเพียงแค่ทำเลที่ต่างกัน ดังนั้นคนที่ทำสำนักงานแล้วเจ๊งหายาก แต่ที่ทำแล้วกำไรมากๆ ก็ไม่มี ส่วนค้าปลีกจะเสี่ยงมากสุด เพราะถ้าไม่สำเร็จก็จะกลายเป็นศูนย์ร้าง เพราะศูนย์การค้าจะไม่มีที่จะมีอัตราการเช่า 50-60% มีแต่ 100% กับ 0% เพราะเมื่อไหร่มีพื้นที่ว่าง 40-50% ศูนย์นั้นจะหมดเสน่ห์และจะทำให้ผู้เช่าที่เหลืออยู่ไม่ได้ ยกตัวอย่างที่เคยกับหลายๆ ศูนย์ เช่น นิวเวิลด์ รัตนาธิเบศร์ อิมพีเรียล ลาดพร้าว ( ก่อนเป็น BigC ) แต่ถ้าค้าปลีกใดประสบความสำเร็จจะมีผลตอบแทนสูงกว่าอสังหาฯให้เช่าอื่นๆ มาก ยกตัวอย่าง ราคาค่าเช่า office grade A ตอนนี้ประมาณ 600-700 บาทต่อ ตร. ม. ต่อเดือน แต่ค่าเช่าเฉลี่ยของเซ็นทรัล ลาดพร้าวประมาณ 1,800 บาทต่อ ตร.ม. ต่อเดือนครับ
โดย
Invisible hand
เสาร์ ม.ค. 07, 2006 12:08 am
0
0
โอ้ป๋าแดง เริ่มปีมาก็เริ่มขายของปีต่อไปแล้ว
ตอนแรกคิดว่าเค้าจะ hedging กำไรให้ผู้ถือหุ้น คิดไปคิดมา สงสัยจะ hedging โบนัสให้ตัวเองมากกว่า
โดย
Invisible hand
ศุกร์ ม.ค. 06, 2006 11:07 am
0
0
เรื่องการลงทุนในกองทุนอสังหาครับ
nav ที่ลดและที่เพิ่มของ prop fund แต่ละกองมีเหตุผลดังนี้ครับ สมมุติว่า prop fund แต่ละกองจะแบ่งมูลค่า asset เป็น 2 ส่วน คือ 1 ที่ดิน 2 อาคารและส่วนตกแต่งอาคาร prop fund ที่เป็น leasehold คือ ไปเช่าที่ดินเค้ามา ก็มีมูลค่าที่ดินใน nav เช่นกัน แต่เป็นมูลค่าสิทธิการเช่า ซึ่งมีการประเมินเป็นมูลค่าเช่นกัน แต่จะต่ำกว่าราคาที่ดินแปลงนั้นๆ จริงๆ ยกตัวอย่าง prop fund ที่เป็น freehold ( เป็นเจ้าของที่ดินเอง ) nav 10 บาท จะมีมูลค่าที่เป็นที่ดิน 5 และ อาคาร 5 บาท prop fund ที่เป็น leasehold อาจจะมีมูลค่าสิทธิการเช่า 4 บาท และอาคาร 6 บาท หรืออาจจะเป็น 3 กับ 7 เมื่อเวลาผ่านไป หากมีการประเมิน nav ใหม่ แน่นอนครับ ในส่วนมูลค่าที่เป็น " อาคาร " มักจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นหากคิด nav แบบ replacement cost เพราะค่าก่อสร้างเพิ่มตามเงินเฟ้อ หรือกระทั่ง discounted cash flow เพราะค่าเช่าเพิ่ม แต่กรณี prop fund ที่เป็น leasehold เนื่องจากมีอายุสัญญาเช่าที่แน่นอนเช่น คงเหลือ 25-30 ปี ดังนั้นการบันทึก nav จะต้องมีการตัดจ่ายมูลค่าที่ลดลงของสิทธิการเช่า เพราะอายุสัญญาเช่าที่เหลือ 15 ปีย่อมมีมูลค่าน้อยกว่าสัญญาเช่าที่มีอายุ 30 ปี ตัวอาคารก็เช่นกัน อาคารที่มีอายุสัญญาเช่าคงเหลือน้อยก็ย่อมมีมูลค่าต่ำกว่าอาคารที่มีอายุสัญญาเช่าคงเหลือมาก ยิ่งเวลาผ่านไป อายุคงเหลือของสัญญาเช่าจะลดลงซึ่งก็จะทำให้ มูลค่าของสินทรัพย์ลดลง ดังนั้นมูลค่า nav ของ prop fund ที่เป็น leasehold จะลดลงเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการต่อสัญญาเช่าที่ดินอีกครั้ง ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง เว้นเสียว่าเจ้าของที่ดินกับเจ้าของเดิมของ asset เดิมที่ขายเข้า prop fund เป็นรายเดียวกัน สำหรับ prop fund ที่เป็น freehold จะมีมูลค่า nav ที่เพิ่มขึ้นเกือบตลอดหากทำเลที่ตั้งและคุณภาพสินทรัพย์นั้นๆ ยังดีอยู่ เพราะมูลค่าที่ดินและอาคารจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเหตุผลข้างต้น ดังนั้น yield ของ prop fund ที่เป็น leasehold จะต้องสูงกว่า freehold มากๆ เพราะ prop fund ที่เป็น leasehold ทางทฤษฎีถือว่าไม่มีมูลค่าซาก หรือ terminal value ครับ ดังนั้น ปันผลของ prop fund ที่เป็น lease hold จะต้องรวมกันสูงกว่าเงินต้นที่เราลงทุนไปค่อนข้างมากครับ ในขณะที่เมืองไทย คนออก prop fund ได้ปฎิบัติเสมือนว่า leasehold กับ freehold เหมือนกัน คือให้ yield ใกล้กัน และมี prop fund ที่เป็น leasehold บางกองฯ ให้ yield ต่ำกว่า freehold เสียอีก และคนซื้อ prop fund ช่วงแรกๆ ก็ไม่เข้าใจความต่างกันของ leasehold และ freehold มากนักครับ เรื่อง leasehold กับ freehold นี่ต่างชาติเค้าสนใจเป็นประเด็นหลักกว่า yield อีกครับ และเป็นเหตุผลว่าทำไมกองทุนที่เป็น office ของ QH ที่เป็น leasehold ขายไม่หมด ด้วยเหตุผลเรื่อง leasehold ที่ว่าทำให้มี prop fund บางกองที่ได้ออกมาใน 2-3 ปีที่ผ่านมาต้องมีการ adjust NAV ลงอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้ผู้ถือหน่วยต้องผิดหวังครับ งานนี้ถือว่าเป็น win-loss-loss ครับ คนที่ loss คือผู้ถือหน่วยที่ขาดทุน บลจ. ที่ออกกองทุนที่เสียชื่อเพราะไม่ศึกษาเรื่อง prop fund ให้ดีก่อน คนที่ win คือเจ้าของ asset เดิมที่ขายสินทรัพย์ได้ราคาครับ นี่เป็นความรู้เรื่อง prop fund บางส่วนที่ไม่มีใครอยากเขียนลงหนังสือพิมพ์ครับ
โดย
Invisible hand
พุธ ม.ค. 04, 2006 10:09 pm
0
0
อยากทราบว่าหุ้นตัวไหนที่เป็นหุ้นวัฏจักรและอยู่ในช่วงขาลงบ้าง
หุ้นวัฎจักรมี 2 ประเภทครับ 1 Economic cyclical พวกนี้จะขึ้นลงตามวัฎจักรเศรษฐกิจ เช่น รถยนต์ อสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง ไฟแนนซ์ ฯลฯ 2 Commodity cyclical เช่น ปิโตรฯ น้ำมัน เรือ แร่ธาตุ ฯลฯ พวกนี้จะขึ้นกับเศรษฐกิจด้วยจะมีผลต่อ demand แต่ก็จะขึ้นกับด้าน supply ด้วย หุ้นวัฎุจักรที่เป็น economic cyclical จะวิเคราะห์ง่ายกว่า commodity ครับ เพราะ commodity จะต้องวิเคราะห์ให้ถูกทั้ง supply และ demand สำหรับมือใหม่ผมแนะนำให้เลี่ยงหุ้นวัฎจักรประเภท commodity ไปก่อนครับ เพราะถ้ามือใหม่มาเล่นหุ้นวัฎจักรเลยก็คงเหมือนเราหัดว่ายน้ำด้วยท่าผีเสื้อเป็นท่าแรก เกรงว่ากว่าจะเป็นอาจจะจมน้ำตายเสียก่อนครับ
โดย
Invisible hand
เสาร์ ธ.ค. 31, 2005 1:34 am
0
1
ถนนวงแหวนด้านใต้ และ รายได้ของ becl
วงแหวนใต้ + วงแหวนอุตสาหกรรม จะลดจำนวนรถบรรทุกที่จะวิ่งข้ามสะพานแขวน และรถบรรทุกที่จะวิ่งในทางด่วนขั้นที่ 1 ครับ ซึ่งน่าจะทำให้การจราจรบนทางด่วนติดน้อยลง ดังนั้นจำนวนรถที่ขึ้นทางด่วนน้อยลงก็อาจจะถูกชดเชยโดยลูกค้าอีกกลุ่มที่มาขึ้นทางด่วนเพราะรู้สึกว่ามันติดน้อยลงได้บ้างครับ โดยรวมกับระบบเศรษฐกิจ การเปิดใช้ของวงแหวนอุตสาหกรรมและวงแหวนใต้ จะทำให้รถติดบนทางด่วนน้อยลงครับและน่าจะส่งผลดีกับ logistic ของประเทศด้วยครับ โดยเฉพาะวงแหวนอุตสาหกรรมครับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งครับ
โดย
Invisible hand
อังคาร ธ.ค. 27, 2005 12:42 am
0
0
เพื่อนๆ ที่นี่ เอาหุ้นจองกันรึเปล่าครับ?
ทฤษฎีนี้ใช้ได้กับนักลงทุนที่ไม่ใช่รายใหญ่หรือ trade บ่อยมากๆ นะครับ 1 ถ้าตลาดไม่เลวร้ายนัก ปกติแล้วหุ้นที่น่าจอง เรามักจะไม่ได้หรอกครับ ถ้าได้ก็ไม่กี่ร้อยหรือพันหุ้น 2 ถ้าตลาดไม่เลวร้ายนัก ร้อยวันพันปีไม่เคยได้หุ้นจอง แต่มาร์ฯ โทรมาบอกว่าเราจะได้หุ้นจอง.... ในจำนวนมากกว่าที่เคยได้ในตัวอื่นๆ ตัวนั้นหลุดจอง 95% ครับ และควรถามมาร์ฯ กลับด้วยว่าทีตัวนั้น ( ตัวที่ดีๆ และเกินจองแต่เราไม่ได้เลย ) ทำไมพี่ไม่ได้เท่านี้บ้างล่ะ? 3 ถ้าตลาดไม่เลวร้ายนัก มาร์ฯ โทรบอกว่าเราจะสามารถจองซื้อหุ้น .... ได้มากเท่าที่ต้องการ หุ้นตัวนั้นหลุดจอง 99% ครับ และควรจะตำหนิมาร์ฯ คนนั้นอย่างพองามด้วยครับ 4 ถ้าตลาดเลวร้ายมาก ถ้าเราได้หุ้นจอง หุ้นตัวนั้นอาจจะเป็นหุ้นที่ดีก็ได้ครับ เพียงแต่คนไม่เอา เพราะผมเชื่อว่าหากตลาดเลวร้าย พวกหุ้นที่ไม่ดีจริงส่วนมากจะเลื่อนครับ ( มีตัวนึงเลื่อนมาจะ 3 ปีแล้วครับกลุ่มบันเทิง ) พวกที่ฝืนเข้าตลาดแสดงว่าน่าจะดีใช้ได้และมีความต้องการใช้เงินจริงๆ ถ้าเจอหุ้นแบบนี้ในตลาดแบบนี้ ให้บอกมาร์ว่าจะซื้อมากที่สุดเท่าที่เราจ่ายไหว และถ้าลูกค้าไม่เอาให้มาบอกด้วยจะใช้สิทธิซื้อแทน มีข้อคิดหนึ่งผมเคยอ่านใน presentation ของ บล. Trinity ใช้ได้เลยครับว่าให้ระวังหุ้น IPO ที่บอกว่า " มีส่วนลดจากราคาตามพื้นฐาน " เพราะส่วนใหญ่ลดไม่จริง เหมือนเวลาเดินห้างแล้วเห็นเสื้อบางยี่ห้อติดป้ายลด 50% เกือบทั้งปี ราคาลด 50% นั่นแหละครับคือราคาที่เค้าต้องการจะขายเรา
โดย
Invisible hand
อังคาร ธ.ค. 27, 2005 12:31 am
0
0
AAA VS พันธบัตรรัฐบาล
หุ้นกู้ที่ได้ credit ดีมากๆ เช่น aaa หรือ aa จะทำให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรรัฐบาลไม่มากนัก ผมมองว่าตัดใจซื้อพันธบัตรรัฐบาลไปเลยดีกว่า หรือไม่งั้นก็ไปซื้อหุ้นกู้เอกชนที่มี credit ต่ำมาหน่อย เพราะผมเคยเห็นหลายครั้งแล้วที่ประเภทเกรด aaa หรือ aa แล้วท้ายสุด default หรือกลายเป็น junk เฉยเลย และบางครั้งแทบไม่ได้ถูก downgrade ล่วงหน้า ดังนั้นบางครั้ง rating พวกนี้มักจะบอกปัจจุบัน อดีต แต่บอกอนาคตน้อยมาก ดูชื่อพวก Standard & ( make you ) Poor หรือ ( make you ) Moody หลายครั้งอาจจะไม่ได้ช่วยเราเท่าที่เราคาดหวังครับ การลงทุนใน corporate bond ที่ rating ดีมากๆ ก็คล้ายๆ กับการที่มีคนเอารถใหม่ที่เพิ่งใช้มา 6 เดือนมาขายเรา อาจจะลดราคาให้ 15-20% จากป้ายแดง ผมว่าบางทีซื้อไปอาจจะไม่คุ้มนะ ถ้าเจอรถที่ชนแรงๆ มา สู้จ่ายแพงอีกนิดซื้อป้ายแดงเลยดีกว่า ถ้าให้คุ้มผมคิดว่าซื้อรถขับซัก 4-5 ปีแล้วราคา 30-50% จากป้ายแดงดีกว่า ค่อยคุ้มความเสี่ยงหน่อยครับ
โดย
Invisible hand
พุธ ธ.ค. 14, 2005 1:47 am
0
0
อยากทราบว่า เมื่อคอนโดเก่ามากๆ...
หลังขายแล้วก็คงจะต้องขึ้นอยู่กับนิติบุคคลของ condo นั้นๆ จะบริหารยังไงครับ ดังนั้นเรื่องสร้างใหม่ใหม่คงจะทำไม่ได้แน่ครับเพราะถือว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ขาย อันนี้ผมเดาเอานะครับเพราะไม่ทราบเรื่องกฏหมายมากนัก ผมมองว่าส่วนใหญ่นิติบุคคลคงจะพยายามรักษาสภาพให้ดูน่าอยู่มากที่สุดไปเรื่อยๆ ท้ายสุดถ้าไม่ไหว ผมคิดว่าคงจะต้องปล่อยไปก่อนตามยถากรรม แล้ว condo ก็จะมี grade ที่ตกลงเรื่อยๆ คนที่รับสภาพไม่ได้ก็จะขายเปลี่ยนมือให้กับคนที่รับสภาพได้ซึ่งต้องการจ่ายค่าเช่าที่ถูกลง ท้ายสุดเมื่อโครงสร้างมันเสื่อมสภาพจริงๆ ( 30-50 ปีขึ้นไป ถ้าสร้างไม่แย่นัก ) ก็คงพิจารณาทุบทิ้ง แล้วดูว่าจะเอาที่นั้นไปทำอะไรต่อ ถ้าจะขายทั้งแปลงอาจจะจะเอาเงินมาแบ่งตามสัดส่วนตารางเมตรที่ถือครอง หรือวิธีอื่นๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม หรืออาจจะมีการสร้างใหม่โดยให้สิทธิเจ้าของเดิมซื้อก่อนโดยจ่ายเฉพาะส่วนที่เป็นค่าอาคารที่ทำใหม่ ส่วนที่เจ้าของเดิมที่สละสิทธิก็จะขายให้ผู้ซื้อรายใหม่ที่จะจ่ายค่าทีดินและอาคาร ซึ่งค่าที่ดินก็จะนำมาให้เจ้าของที่ดินเดิม ผมไม่แน่ใจว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบ้างยังนะครับ เพราะ condo รุ่นแรกๆ ยังไม่เก่าขนาด 50 ปี แต่ก็เคยเห็นข่าวเรื่องที่มีการทุบแฟลตของรัฐเพื่อสร้างใหม่ แต่เหตุผลเข้าใจว่าไม่ใช่ว่าโครงสร้างพัง แต่น่าจะต้องการสร้างใหม่เพื่อให้มีการใช้สอยพื้นที่มากขึ้น หรืออาคารเก่าเริ่มดูโทรมลง
โดย
Invisible hand
พุธ ธ.ค. 14, 2005 1:32 am
0
0
ตึกแถว
คุณสุมาอี้ครับ ถ้าหมดสัญญาเซ้งแล้ว ตึกและที่ดินจะกลับไปอยู่กับคนที่ให้เราเซ้งครับ ส่วนหากเราเปิดกิจการจะทำต่อได้มั้ยก็คงขึ้นอยู่กับว่าเราจะเจรจาขอซื้อต่อหรือขอเช่าจากเค้าได้รึเปล่า หากคู่สัญญาเป็นวัด หรือหน่วยงานรัฐ กึ่งรัฐ อาจจะไม่โดนโขกมากมั้งครับ แต่ถ้าเป็นเถ้าแก่ ก็คงจะต้องอิงตาม market price หลังหมดสัญญา ผมอ่านที่ผมเขียนคราวก่อนแล้วเผื่อว่าจะสับสนเพราะผมอ่านอีกทียังงงที่ตัวเองเขียน ที่บอกว่ามูลค่าตึกแถวจะสูงขึ้นเรื่อยๆ นี่หมายถึงมูลค่าของตึกในแง่เจ้าของตึก ( ผู้ให้เซ้ง ) ครับ ส่วนคนที่เซ้งไปมูลค่าในแง่ที่ตนเองถือครองจะลดลงเรื่อยๆ ครับ
โดย
Invisible hand
พุธ ธ.ค. 14, 2005 1:11 am
0
0
ทนไม่ไหว ถ้าไม่เอ่ยถึง POWER
เห็นผู้บริหารให้สัมภาษณ์ว่าที่เปลี่ยนชื่อเพราะ PP เป็นภาษาอังกฤษไม่งามเพราะแปลว่าปัสสาวะ และแปลเป็นอีกภาษารู้สึกว่าภาษาจีนหรืออะไร แปลว่า ลง หุ้นตัวนี้ถือเป็น classic case เพราะมีการขายกันก่อนเข้าตลาดที่ราคาสูง และแนวทางการขายคล้ายๆ กับโฆษณาขาย " เย็นเตร็กซ์ " ว่าเป็นเจ้าของเดียวกับ " โทนาฟ "
โดย
Invisible hand
พุธ ธ.ค. 07, 2005 1:33 pm
0
0
ทำไม tfi ไม่กำไรเมื่อเทียบกับaj ptlละคับ
รถยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน ผลิตปีเดียวกัน เติมน้ำมันเหมือนกัน เวลาเราเห็นบนทางด่วน ก็จะวิ่งเร็วไม่เท่ากัน บางคันวิ่งช้า บางคันวิ่งเร็ว บางคันวิ่งไปชนคันอื่น ขึ้นกับคนขับครับ
โดย
Invisible hand
ศุกร์ ธ.ค. 02, 2005 10:13 pm
0
0
229 โพสต์
of 5
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
Invisible hand
ระดับ:
สมาชิกกิตติมศักดิ์
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
เสาร์ มี.ค. 27, 2004 12:34 am
ใช้งานล่าสุด:
พฤหัสฯ. ก.ค. 27, 2023 12:00 am
โพสต์ทั้งหมด:
358 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.02% จากโพสทั้งหมด / 0.05 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว