หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
picatos
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Joined: เสาร์ มี.ค. 27, 2004 12:20 pm
3353
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - picatos
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
<<ส่งท้าย>> ในตอนแรก ผมไม่คิดว่าผมจะจบกระทู้ลงที่ตรงนี้ ยังมีองค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ ที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ นักลงทุนอีก อย่างไรก็ตาม ผมพบถึงความผิดพลาดในการสื่อสารของผมอย่างรุนแรง ที่ทำให้เพื่อนที่ผมรักและปรารถนาดีมาโดยตลอด อย่างหมอเค ต้องรู้สึกแย่มากขนาดนี้ โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เคยมองหมอเคในแง่ร้าย มีคราวหนึ่งน้องนักลงทุนคนหนึ่งที่ผมได้เจอโดยบังเอิญ ได้ยกประเด็นที่เค้าสงสัยถึงพฤติกรรมและการกระทำของหมอเคมาสอบถามผม ผมก็ปกป้องหมอเค บอกว่าเท่าที่ผมรู้จักหมอเค หมอเคเป็นแค่คนที่นิสัยดี เข้ากับคนเก่ง และกล้าที่จะเข้าหาคน กล้าที่จะคุยกับคน ผมเชียร์หุ้นอะไรหมอเคไป หมอเคก็ไม่เคยจะไปซื้อตามผมเลยสักครั้ง แต่คนภายนอกมองเข้ามา เห็นเค้าสนิทกับคนไปทั่ว ก็ดันไปมองเค้าในแง่ร้าย ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว เวลาที่ผมอยู่ร่วมกับหมอเค เราคุยอะไรไร้สาระ ที่ไม่เกี่ยวกับหุ้นเสียมากกว่า มันคือการคบหากันที่ความสัมพันธ์ล้วนๆ ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ผมมั่นใจว่าผมไม่เคยคิดถึงหมอเคในแง่ร้าย และผมมั่นใจว่าที่ผมเขียนข้อความลงไปเมื่อต้นปีที่แล้ว ผมไม่มีเจตนาร้ายอย่างที่หมอเคเข้าใจ ผมเป็นคนรักษาศีลเรื่องมุสาวาทฯ มาโดยตลอด ชีวิตของผม การโกหกครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่ออยู่ช่วงมัธยมต้น ซึ่งพอผมไม่เห็นประโยชน์ของการโกหก ผมจึงเลือกเส้นทางที่จะพูดกระทบกระทั่งคนอื่นแทนที่จะยอมโกหก ข้อความที่เขียนเมื่อต้นปีที่แล้ว จึงเป็นปัญหาในการสื่อสารของผม ที่ผมต้องกลับมาพิจารณาตัวเอง และจำเป็นต้องพัฒนาทักษะในการสื่อสาร ที่คำพูดและข้อความต่างๆ ที่ออกมาจากผม ควรที่จะมีความร่มเย็น มีความปลอดภัย ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ทำร้ายคนอื่น ผมเสียใจมากๆ ที่คำพูดของผมได้ไปทำร้ายคนที่ผมรักและปรารถนาดีด้วย มีคนอื่นอีกจำนวนมากทั้งรู้ตัวและไม่รู้ ที่ผมได้ไปพูดไม่ดี เสียดแทง และทำให้เค้าต้องรู้สึกแย่ ผมมีนิสัยและสันดานที่ไม่ดีในการพูดกระทบกระทั่งกับคนอื่น ผมไม่อาจยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้นอีก โดยไม่พยายามแก้ไข ด้วยเหตุนี้เองในหัวของผมตอนนี้ ความมุ่งมั่นของตัวเองในตอนนี้ จึงไปอยู่ที่ความพยายามที่จะเรียนรู้ ฝึกฝน ขัดเกลา วิธีการสื่อสารของตัวเองให้ดีขึ้นกว่านี้ ก่อนที่จะกลับมาเขียน มาสื่อสารอะไรอีกครั้ง ผมควรที่จะสื่อสารโดยเข้าใจบริบทของผู้ถามให้มากกว่านี้ อธิบายสิ่งที่เป็นประเด็นล่อแหลมให้ดีกว่านี้ เลือกใช้คำพูดให้ดีกว่านี้ มีความร่มเย็นและปลอดภัยให้มากกว่านี้ มีความคึกคะนองและขาดสติให้น้อยกว่านี้ ผมคงจะหยุดการโพสต์ทุกสิ่งทุกอย่างลงใน ThaiVI เอาไว้ก่อนที่ตรงนี้ จนกว่าผมจะมั่นใจได้ว่า ข้อความของผม จะไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ทำร้ายคนอื่น เพราะ สำหรับผมแล้ว การละบาป มีความสำคัญมากกว่า การสั่งสมบุญ ผมขอให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายนี้ไปให้ได้ เพราะ ทุกครั้งหลังวิกฤตก็คือโอกาส ท้องฟ้าหลังพายุผ่านจะสดใสและสวยงามเสมอ ถ้าวันนี้เหนื่อยหนักจะพักบ้างก็ไม่เป็นไรหรอก เพราะ เงินและการลงทุนไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิต ที่มันควรจะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้น ไม่ใช่ทำให้ชีวิตของเราแย่ลง ถ้าสู้คนอื่นเค้าหา Alpha ไม่ได้แต่ยังมีศรัทธาในโลกในหลักการลงทุนจะลงทุนใน Index ก็ไม่ผิดอะไร แต่ถ้ารู้ชัดแล้ว่าการลงทุนทำให้เราเป็นทุกข์มากกว่า ไม่เสียใจที่จะเลิกลงทุน เพราะ การลงทุนไม่ใช่อะไรที่เหมาะกับทุกคน จะเลิกลงทุน แล้วไปทำสิ่งที่มีคุณค่าความหมายกว่าการลงทุนก็ไปทำเถอะ ทำชีวิตให้มีความหมายในแบบที่ตัวเองภาคภูมิในกับตัวเองในวันที่เราจากโลกนี้ไป ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกๆ คนที่อดทนอ่านมาถึงจุดนี้ ข้อความของนักลงทุนตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่ออกไปเผชิญโลกอันกว้างใหญ่ภายนอก ที่หวังว่าเป็นประโยชน์อยู่บ้างกับใครสักคน
โดย
picatos
พฤหัสฯ. ม.ค. 05, 2023 5:33 am
1
37
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
4. Valuation คือ ข้อได้เปรียบ สมัยอยู่ไทย อ่านบทวิเคราะห์ของนักลงทุน รู้สึกว่า ทำไมเค้าถึงทำ Valuation แบบนี้นะ ดูแล้วไม่ค่อยสมเหตุสมผลเลย พอไปลงทุนในสหรัฐฯ แรกๆ เราก็ตะลึงพึงเพลิดกับองค์ความรู้ ความลึกของเค้า แต่พอมาถึง Valuation ก็รู้สึก งงๆ อยู่เหมือนเดิม ว่าทำไมถึง Valuation แบบนี้น้า...า ได้มาเรียน Valuation กับอ. Damodaran ถึงได้บางอ้อว่า นักวิเคราะห์ นักลงทุนโดยส่วนใหญ่ Valuation กันได้มั่วมาก ชอบใช้ Mulitple แบบไม่มีที่มาที่ไป และถึงแม้จะเป็น DCF ก็ชอบเอา Multiple ไปใส่ตรง Terminal Value ซึ่งเป็นบ่อเกิดของ Valuation ที่เราก็ไม่ควรไปเสียเวลาเชื่อเวลาเราอ่านบทวิเคราะห์ การทำ Valuation แบบจริงๆ จังๆ แบบมีที่มาที่ไปแบบที่เราเข้าใจ ไปหยิบ ไปดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ ก่อนใส่เข้าไปในโมเดล จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเค้าทำกัน และมันก็เป็นข้อได้เปรียบของผม ที่ทำสิ่งที่คนปกติอื่นๆ เค้าไม่ทำกัน ผมพยายามที่จะ Up Level ไปให้สุด โดยลงทุนจ่ายเงินเป็นรายเดือน ซื้อข้อมูลจาก Data Provider เพื่อเอามาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเพื่อจะได้ใส่ค่าบางอย่างลงไปในโมเดลด้วยความเข้าใจที่มาที่ไปด้วยตัวเอง และจ่ายเงินซื้อโปรแกรมมาทำ Monte Carlo Simulation แบบที่ อาจารย์สอน ผมคิดว่า ผมอยู่ในพื้นที่ๆ น่าจะมีข้อได้เปรียบระดับหนึ่ง ถ้าผมทำสิ่งที่คนอื่นไม่ทำกัน ผมเชื่อว่ามันคงจะทำให้ผมมีมุมมอง และเห็นโอกาสบางอย่างที่คนอื่นไม่เห็น อ. Damodaran บอกว่า DCF ที่ถูกต้องจริงๆ คนทำกันได้น้อยมาก และคนที่เข้าใจมันจริงๆ ก็มีน้อยมาก ผมคิดว่ามันเป็นพื้นที่ๆ ถ้าเราใส่ความพยายามลงไป น่าจะสร้างข้อได้เปรียบบางอย่างที่เอาไปใช้ในการลงทุนระยะยาว ในโลกใบนี้ที่ตัดสินผลด้วยการลงทุนระยะสั้น ------------------------------------------------------------ 5. พุทธศาสนา เป็นข้อได้เปรียบของผม ผมมีความเชื่อและศรัทธาว่าพุทธธรรมทำให้ผมมองโลกได้ตามความเป็นจริงได้มากขึ้น แก่นของพุทธฯ คือ เรื่องสุขและเรื่องทุกข์ ตลอดจนเหตุของสุขและเหตุของทุกข์ หลายๆ ครั้งชีวิตของเราก็หลงทาง มึนงง กับสิ่งที่เกิดขึ้น พุทธธรรม ทำให้ผมกลับเข้าสู่จุดอ้างอิง ที่จะกลับเข้ามาถามตัวเองได้ถูกว่าตอนนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ และเรากำลังเดินไปทางไหน ถ้าเราเข้าถึงความจริงว่า การลงทุนเป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิต มันไม่ใช่สิ่งที่จะไปบ้าบอ จะเป็นจะตาย จะไปยึดมั่นถือมั่นอะไรให้มาก ผมรักหุ้น แต่ผมไม่ได้หลงหุ้น ผมศรัทธาในวิธีการ Valuation แบบที่ อ. Damodaran สอน แต่ผมก็ไม่ได้เป็นสาวกที่บ้าคลั่ง ที่พร้อมจะทำทุกอย่างที่อาจารย์สั่ง เพราะ สุดท้ายแล้วทุกอย่างมันก็เป็นแค่ของชั่วคราว ที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้นคราวหนึ่งๆ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทุกข์จากหุ้นตก ก็เป็นแค่สภาพจิตหนึ่งๆ ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นอย่างหนึ่ง ที่ผมยังละไม่ได้ ที่วันหนึ่งความทุกข์นี้ก็เปลี่ยนไป ดับไป ณ สิ้นวัน คนที่เรารัก คนในครอบครัว ยังคงสำคัญกว่าเรื่องหุ้นเสมอ ถ้อยคำ ความรัก ความปรารถนา ที่มีต่อคนรอบตัว ยังคงมีความสำคัญมากกว่าเงินที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง สติ สมาธิ และความสงบยังเป็นสิ่งที่เราเข้าถึงได้เสมอ เพียงแค่เราวางเรื่องหนักๆ อย่างเรื่องหุ้นลง โลกก็พร้อมที่จะสงบ สดใส ยิ้มให้กับเราแล้ว พุทธธรรม เมื่อทำให้เราพ้นจากความบีบคั้นจากทุกข์ได้ มันก็จะทำให้เราสามารถมองเห็นความบ้าคลั่ง ไม่สมเหตุสมผล อันเกิดจากการพ้นธุกรรมที่สืบทอดมาจากกระบวนการวิวัฒนาการได้มากขึ้น และทำให้เราพ้นจากแรงบีบคั้นตามสัญชาตญาณ มันทำให้ผมทนอะไรบางอย่างที่คนปกติทนไม่ได้ มันทำให้ผมสามารถมองบวกได้ในยามที่คนอื่นมองลบ มันทำให้ผมสามารถสงบใจได้ในยามที่คนอื่นร้อนใจ มันทำให้ผมมั่นใจว่าถึงแม้ผมจะเจ๊งหุ้นหมดตัว ผมก็ยังมีความสุขกับชีวิตได้ เพราะ ผมรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่มีคุณค่าและความหมายกับผมจริงๆ ผมมั่นใจว่าผมสามารถนอนตายตาหลับ โดยไม่คิดถึงเงินที่เสียไปแม้แต่บาทเดียวถ้าผมเกิดเล่นหุ้นพลาดจนหมดตัว
โดย
picatos
พฤหัสฯ. ม.ค. 05, 2023 4:57 am
0
16
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
สำหรับเพื่อนๆ ที่ไปลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ เพื่อนๆ อาจจะรู้สึกว่า เราจะไปเทียบอะไรกับเค้า เราก็สู้เค้าไม่ได้สักอย่าง ภาษาเราก็ไม่ได้ องค์ความรู้เราก็ไม่ได้ ความขยันเราก็ไม่ได้ ทีมงานเราก็สู้ไม่ได้ ข้อมูลเราก็ไม่ได้ เม็ดเงินเราก็ไม่ได้ แหล่งข้อมูลหรือสังคมนักลงทุนเราก็ไม่มี อาจารย์หรือคนที่จะขอคำปรึกษาเราก็ไม่มี "เราจะเอาอะไรไปสู้เขา" "เราคงจะไม่มี Edge (ข้อได้เปรียบในการแข่งขัน) แหละ" ผมบอกได้เลยครับว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีข้อดี มีข้อเสีย คุณเป็นคนตัวเล็ก คุณก็ต้องสู้แบบคนตัวเล็ก คนเป็นคนเชื่องช้า คุณก็ต้องสู้แบบคนเชื่องช้า ทุกอย่างอยู่ที่ใจจริงๆ เลยครับ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ ถ้าใจคุณสู้ คุณบอกว่าตัวเองสู้ได้ แล้วก็พยายามศึกษาหาข้อดีของตัวเองมาพัฒนา ระมัดระวังจุดอ่อนข้อเสียของคุณ มีหลักการ และศรัทธาที่ถูกต้อง มีความขยัน หมั่นเพียร ที่จะทำไปเรื่อยๆ สุดท้ายคุณก็จะชนะตลาดได้เอง ข้อได้เปรียบของนักลงทุนไทย ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ 1. นักลงทุนของสหรัฐฯ เป็นคนที่เกิดในประเทศที่มี 4 ฤดู ต้องต่อสู้กับอากาศหนาว เพื่อเอาตัวรอดในหน้าหนาว จึงต้องมีการวางแผนเตรียมเสบียง และปรับตัวตามฤดูกาล เกมการแข่งขันในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จึงเป็นเกมส์ที่เร็ว และใช้ข้อมูลเยอะ สภาพแวดล้อมเป็นแบบนี้ ข้อมูลเป็นแบบนี้ก็จะ Take Action แบบหนึ่ง แล้วก็จะวางแผนข้ามช๊อต ไป 2-3 ขั้น มี Playbook ละเอียด ที่จะหาทางเอาชนะคนอื่น ชอบวัดผลงานกันเป็นรายปี รายไตรมาส Warren Buffet ถึงต้องปลีกตัวออกจาก Wall Street กลับบ้านไปอยู่ที่ Omaha เพื่อไม่ปล่อยให้กระแสของเกมส์ บีบให้เค้าเล่นเกมที่เค้าเล่นไม่ถัด การนั่งอ่านรายงานประจำปีอย่างสงบในบ้าน โดยไม่ไปเล่นเกมที่เค้าไม่ถนัด ทำสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ทำ ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ผลตอบแทนที่ทำได้เหนือกว่าตลาดอย่างยาวนาน ดังนั้นสำหรับนักลงทุนไทย ผมคิดว่าเราอย่าไปใช้ Playbook เดียวกับคนเก่งๆ ที่ต่างประเทศ เพราะ ถ้าตลาดมีแต่คนเก่ง เราต้องใช้วิธีการที่แตกต่าง ข้อได้เปรียบของนักลงทุนไทยอย่างแรกที่ผมเห็น คือ เราอยู่ในประเทศที่มี 1 ฤดู คือ ร้อนอย่างเดียว ไม่มีเย็นเลย มันทำให้เรานิ่งเฉย อดทน ไม่ทำอะไรได้มากกว่านักลงทุนสหรัฐฯ ซึ่งเหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะลงทุนในระยะยาว ข่าวหุ้นต่างประเทศ เราก็ฟังก็อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะ ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ของเรา การที่เราหาหุ้นดีๆ ที่จะถือในระยะยาว แล้วอุดหู ปล่อยให้เวลาผ่านไปอย่างเปล่าเปลือง เป็นขีดความสามารถขั้นเทพ ที่ฝรั่งไม่สามารถเลียนแบบเราได้แน่ๆ ถ้าเรายังทนใช้รถเมล์คันหนึ่งมาได้ 30 ปีได้ การจะลงทุนถือหุ้นสัก 10 ปี คงจะไม่ได้ยากอะไรมาก ดังนั้นอย่ามองว่าความไม่รู้ ไม่ทันเกมคนอื่นเป็นข้อเสีย มันอาจจะเป็นข้อได้เปรียบของเราก็ได้ ------------------------------------------------ 2. ในการลงทุน รู้เยอะ รู้เร็ว ไม่ได้หมายความว่าจะทำได้ถูก ยิ่งถ้าคุณศึกษาหุ้นที่กิจการไซส์ใหญ่ๆ Product Line เยอะๆ Operate ในหลายๆ ประเทศ ข้อมูลมันเยอะแยะมาก อย่าง Amazon มีพนักงานอยู่ 1.6 ล้านคน มากพอๆ กับประเทศบาเรน ที่อันดับที่ 152 จาก 235 ประเทศ ระดับของ Complexity ของกิจการ คือ คุณศึกษาเท่าไหร่ก็ไม่หมดหรอก สถาบันฝรั่งใช้การ Specialize แบ่งงานทำกันเป็นทีม แล้วก็พัฒนา Process ในระดับ Decision Making แบบเทพๆ อย่างที่ Ray Dalio หรือ Micheal Mauboussin ทำ เพื่อหาทางเอาชนะตลาด เราไม่มีอะไรพรรค์นั้น ดังนั้นมันบีบให้เราต้องมองภาพใหญ่ และสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในระยะยาว ในพื้นที่ๆ เราคิดว่ามีข้อได้เปรียบจริงๆ โดยส่วนตัวผมจึงไม่ลงทุนกิจการแบบ Amazon, Apple หรือ Netflix เพราะ กิจการพวกนี้ถ้าแม้ว่าจะเป็นหุ้นเทคฯ แต่มันก็เป็นธุรกิจที่เน้นการแข่งขันแบบดั้งเดิม ซึ่งในการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันก็จะใช้โมเดลอย่าง Five Force ของ Micheal Porter โดยจะไปเน้นที่ Economies of Scale โดยใช้ข้อได้เปรียบจากการที่ Marginal Cost ของ Digital ที่ถูกกว่าธุรกิจดั้งเดิมในการ Disrupt ธุรกิจดั้งเดิม นำเสนอ User Experience ที่ดีกว่า ถูกกว่า ในการยึดครองตลาด พวก VC ชอบพูดกันว่า Idea is cheap, Execution is everything. ผมไม่เถียงว่าบริษัทพวกนี้ Execution คือ ดีมาก เพราะ Execute ได้ดี มี Culture ที่ดี ทำให้เค้าแข่งชนะคนอื่น แต่ตราบใดที่แข่ง มันยังมีผู้แพ้และผู้ชนะ เราต้องคอยติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ในการแข่งขันตอนนี้ใครกำลังแพ้ ใครกำลังชนะ ปัจจัยที่กิจการพวกนี้จะชนะต่อไปยังมีไหม ผมคิดว่าผมแพ้แน่ๆ ในเกมส์นี้ เกมส์ที่จะต้องคอยมานั่งดูว่าใครกำลังจะแพ้ กำลังจะชนะ แล้วก็หาโอกาสลงเงินแทงข้างคนที่ชนะ หรือ กำลังชนะ แล้วก็ต้องรีบเอาเงินออกก่อนที่เกมกำลังจะเปลี่ยน สถานะกำลังถดถอย โดยส่วนตัว ผมคิดว่านักลงทุนไทยไม่น่าทันฝรั่งในเกมนี้ ผมเป็นคนไม่ชอบการแข่งขันมาตั้งแต่เด็ก ผมไม่ชอบเป็นจุดเด่น คือ อยากเก่งนะ แต่ไม่อยากเด่น ถ้าเรียนก็ขอเรียนได้ดีๆ หน่อย แต่อย่าเด่นมาก ผมไม่ได้สนุกกับการที่เห็นใครสักคนนึงชนะ แล้วก็ดีใจ สะใจ ไปกับผู้ชนะด้วย เพราะ ท่ามกลางชัยชนะนั้น สายตาของผมจะจับไปที่คนแพ้ที่กำลังร้องไห้เสียมากกว่า อาจจะเป็นเพราะ ในวัยเด็กผมถูกเปรียบเทียบกับคนอื่น และรู้สึกว่าเป็นผู้แพ้อยู่ตลอดเวลา เลยทำให้ผมรู้สึกว่าแค่อยากจะมีความสุขกับชีวิตที่สงบๆ ของตัวเอง ไม่ได้อยากจะไปแข่งอะไรกับใคร จะได้ไม่ต้องแพ้ Concept เรื่อง Platform Business Model จึงเป็นอะไรที่ถูกจริต ผมสุดๆ ซึ่งเรื่อง Platform นี้ให้ อ.แดม อธิบาย คงจะอธิบายได้ดีกว่าผม เพราะ ผมก็ได้รับคำแนะนำจาก อ.แดม ให้ไปเรียนและศึกษาเรื่องนี้มาอีกที แต่โดยสรุปจากที่ผมไปเรียนทางออนไลน์ของ Emeritus ที่ อ.แดม แนะนำมา คือ อ. Geoffrey Parker บอกว่า Platform Business Model จะก้าวข้ามผ่าน การแข่งขันแบบดั้งเดิมไป ทฤษฏี Five Force (ซึ่งผมไม่เคยชอบและไม่เคยใช้) จะใช้ไม่ได้ เพราะ หน้าที่ของ Platform เหมือนเป็นคนที่ทำงานทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้คนอื่นทำงานได้สะดวก เป็นตัวกลาง เป็นพื้นที่ที่ให้คนได้เข้ามาสร้างสรรค์ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน เป็นตลาด ฯลฯ ช่วยลดต้นทุน หรือ Friction ในการทำธุรกิจ และถ้าออกแบบ Platform ดีๆ Platform นั้นจะมีสิ่งที่เรียกว่า Network Effect ซึ่งถ้า Network Effect เป็น Strong Network Effect และ Scale ไปได้ในพื้นที่ๆ เป็นประโยชน์กับคนเยอะๆ มันเป็นโอกาสสูงที่ Platform นั้น จะได้ Market Share ทั้งหมด หรือ เกือบทั้งหมดไป (Winner Take Most/All) และในบรรดา Platform ทั้งหมด ผมชอบ Platform ที่เป็น User Generated Content (UGC) ที่สุด เพราะ ผมชอบที่จะ Empower ให้กับคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีโอกาสในชีวิต ได้มีโอกาส หรือข้อมูลที่ดีขึ้น มากกว่าลักษณะของ Platform ทางธุรกิจ นอกจากจะเป็นประเด็นในเรื่องของจริตและเจตจำนงค์ของตัวผมเองแล้ว UGC Platform มีข้อดี คือ เราสามารถติดตามกิจการได้ง่ายกว่า Business Platform เพราะ เราสามารถทดลองใช้งานเองได้จริง Network Effect ก็แข็งแรงกว่า เพราะ Node เยอะ Interaction เยอะ พวก Platform ทางธุรกิจ อย่าง Google สิ่งที่เป็นธุรกิจ UGC Platform จริงๆ คือ YouTube และ Google Map อย่าง Facebook, Instagram อันนี้ก็คงจะรู้ๆ กันอยู่ ว่า Social Media มันมีผลขนาดไหนกับชีวิตและสังคมในยุคนี้ ปีที่ผ่านมาประชากรโลกพึ่งจะไปแตะ 8 พันล้านคน แต่คนใช้บริการ Platform ของ Alphabet และ Meta ยังอยู่แค่ 1-2 พันล้านคน ผมเชื่อว่าโลกใบนี้ดีขึ้นอยู่ทุกวัน การปฏิวัติทางพลังงานและองค์ความรู้จะทำให้ ต้นทุนพลังงานและความรู้ถูกลงเรื่อยๆ จนเข้าใกล้ศูนย์ ซึ่งผลของมันจะช่วยเปิดโอกาสให้คนจนทั่วโลกที่มีรายได้ต่อวันต่ำกว่า 2 ดอลล่าร์ ได้มีโอกาสลืมตาอ้าปาก กิจการอย่าง Alphabet และ Meta ยังสามารถนำเสนอบริการฟรีๆ ที่ดีต่อชีวิตคนไปได้อีกมาก หรือ อย่างแนวโน้มของเทคโนโลยีที่ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการให้บริการลงทุนที่กำลังเดินหน้าไปเรื่อยๆ จะทำให้ค่าใช้จ่ายของคนเป็นสัดส่วนของการใช้จ่ายในแง่ของ Life Style หรือ ตอบสนองต่อ Self Esteem ที่มีมากขึ้น จะทำให้สัดส่วนของ Marketing Expense ต่อรายได้ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะยังทำให้ตลาดโฆษณายังโตไปได้เรื่อยๆ ผมคิดว่าความเชื่อของผมที่ฟูมฟักว่าโลกใบนี้จะดีขึ้นเรื่อยๆ เป็นข้อได้เปรียบของผม ที่ทำให้ผมสามารถลงทุนในกิจการที่ผมเชื่อว่าจะได้ประโยชน์ในระยะยาว โดยที่ผมมีข้อมูลน้อย เชื่องช้า ให้สามารถถือยาวในระดับสิบปีได้อย่างปลอดภัย ------------------------------------------------- 3. ฉันทะ คือ ข้อได้เปรียบ ฉันทะ คือ ความรักในการศึกษากิจการที่เราชอบ มันจะสร้างความสุขให้กับเราทุกครั้ง เวลาเราได้ศึกษา ได้รู้เรื่องราวอะไรใหม่ๆ ดีๆ เพิ่ม การที่เราทำมันลงไป เพราะ อยากได้เงินแต่ต้องเป็นทุกข์ในปัจจุบัน เพื่อหวังว่าถ้าได้กำไร เราจะมีความสุขในอนาคต ผมเห็นตัวอย่างมาเยอะแล้วว่า จริงอยู่ว่าเวลาได้กำไรจริงๆ มันก็มีความสุข แต่มันเป็นความสุขที่เกิดขึ้นแว่บหนึ่ง จากนั้นเราก็จะไปสอดส่าย เปรียบเทียบกับคนอื่น แล้วพอรู้ความจริงว่าคนอื่นได้เยอะกว่าเรา เราก็กลับมาเป็นทุกข์อีก ทุกข์ด้วยความอิจฉาริษยา หรือไม่ก็ได้กำไรมาแล้ว ก็พยายามที่จะทำให้ได้มากๆ อีกแบบเดิม เป็นวงจรที่ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันเป็นความสุขจริงๆ หรือเปล่า แต่ถ้าเราสามารถที่จะมีความสุขกับสิ่งที่เราทำจริงๆ ความสุขมันเกิดขึ้นทันทีที่เราได้ศึกษาอะไรใหม่ เรียนรู้อะไรใหม่ จากความมืดที่ดับไป ความสว่างที่เกิดขึ้น เราสามารถมีความสุขกับสิ่งๆ นี้ได้ทันที ไม่ต้องรอให้ได้เงิน ได้กำไร แถมถ้าเรามีความสุข มีฉันทะที่เกิดจากการศึกษาการลงทุนนี้ มันก็จะมีแรงที่จะทำมันต่อไปได้ในระยะยาว ทำได้บ่อยๆ จนกลายเป็น ข้อได้เปรียบ อะไรบางอย่างขึ้น จากความรักและสนใจในเนื้อแท้ของสิ่งต่างๆ มีคนบางคนบอกว่าอย่ารักหุ้น ให้รักเงินของตัวเอง ผมได้อ่าน ได้ฟังทีไร ก็รู้สึกว่ามันมีอะไรบางอย่างแปลกๆ ที่ผมไม่เห็นด้วย เพราะ เราจะรักเงินไปทำไม ในเมื่อวันหนึ่งเราก็ต้องทิ้งมันไป เอามันไปไม่ได้สักบาทตอนเราตาย ผมรักหุ้นครับ ถ้าผมศึกษามันดีแล้ว ว่ามันจะเป็นคู่ชีวิตของผม จะเป็นพาร์ทเนอร์ ที่จะอยู่ร่วมทางกันไปในระยะยาว ผมไม่เชื่อเรื่องการแข่งขัน แต่เชื่อในเรื่องความร่วมมือ อย่างตอนที่ผมลงทุน Google ใหม่ๆ Larry Page ผู้ก่อตั้ง Google ให้สัมภาษณ์ว่า เราจะแข่งกันไปทำไม ในเมื่อสิ่งที่เราทำมันเป็นแค่ 1% ของสิ่งที่ทำได้ ผมฟังแล้วก็ Click เลยว่า เนี่ยแหละ ทัศนคติของคนที่เราอยากจะร่วมทางกับเค้าไปในระยะยาว ในขณะที่คำพูดอย่าง Jeff Bezos ที่บอกว่า Margin ของคุณ คือ โอกาสของผม คนที่มีทัศนคติแบบนี้ คงจะไม่สอดคล้องกับความสุขในการลงทุน เลยทำให้ผมไม่เคยเสียเวลาแม้แต่นิดเดียวที่จะศึกษากิจการอย่างนี้ อย่าง Satya Nadella ของ Microsoft ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ผมประทับใจและปลาบปลื้มมากๆ กับแนวความคิด ในมุมของ Empathy และ Empower แต่ทว่า ในสมัยนั้น ผมยังคงมี Question อยู่ว่า คุณงามความดีแบบนี้ จะเปลี่ยนองค์กรที่คิดแต่เรื่องการแข่งขันในสมัย Steve Balmer ได้จริงหรือ และทำให้ผมเสียดายมากๆ ที่ผมไม่ได้ลงทุนใน MSFT จากการที่ผมยังไม่เชื่อว่าคุณงามความดี สุดท้ายแล้วจะสามารถอยู่รอดและเอาชนะได้ในโลกที่โหดร้ายใบนี้ ฉันทะ ความรัก และปรารถนาดี ที่ผมเชื่อ ทำให้เวลาที่หุ้นตก ผมก้าวข้ามผ่านความขาดทุน และความสูญเสียทุกครั้งไปได้ เพราะ ถ้าผมเลือกแล้ว ผมอยากที่จะรัก อดทน กับช่วงเวลาที่เลวร้ายไปกับคนที่ผมเลือก ผมอยากที่จะรักษาศรัทธาในตัวกิจการที่ผมคิดว่าดีแล้วไปอย่างถึงที่สุด ผมถือหุ้นเป็นสิบปี หุ้นที่เรามีศรัทธาจริงๆ เราจะไม่หวั่นไหว เวลามันตก เพราะ ยังไงเราก็ถือระยะยาวอยู่แล้ว การลดลงเป็นกระบวนที่เกิดขึ้นตามธรรมดาของการถือระยะยาว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผมจะรักแบบไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่ได้สนใจมูลค่านะครับ ผมถือยาว แต่ผมก็มีการปรับ Position Sizing ตามโอกาสและความเสี่ยง ราคาในบางช่วงที่แพงเกินไป ผมจะพยายามลดสัดส่วน Underweight ราคาในบางช่วงต่ำเกินไป ผมก็จะพยายาม Overweight
โดย
picatos
พฤหัสฯ. ม.ค. 05, 2023 4:34 am
1
22
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
ในการลงทุนของผมเอง ผมโชคดีเริ่มต้นลงทุนตอนที่ตลาดเล่นง่าย เพราะ คนยังไม่สนใจลงทุนในหุ้นในช่วงนั้น คนที่ลงทุนในหุ้น จะเป็นพวกนอกคอก ที่ผู้ใหญ่รู้เข้า ก็จะกลัวว่าจะเกิดเรื่องเลวร้ายกับเรา เป็นอาชีพที่คนไม่ให้ค่า ตลาดหุ้นไทยในช่วงนั้นจึงมีประสิทธิภาพต่ำมาก เกมของพวกเราในช่วงนั้น ก็คือ ศึกษา เจาะลึก แล้วก็มานำเสนอหุ้นที่เราคิดว่ามัน Under Value ให้กับเพื่อนๆ ในเว็บบอร์ด ใน Meeting Group พยายามทำตัวเป็น Catalyst ที่จะทำให้ราคาที่มัน Under Value ขึ้นเร็วที่สุดแล้วหมุนเงินไปหาหุ้นตัวใหม่มาเชียร์ ในตลาดที่หุ้นถูกเกลื่อนเมือง ยิ่งหมุนรอบได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งดี ดังนั้นเราจะพยายามอัดหนักๆ แล้วก็เชียร์หนักๆ ทำรอบ ทำ Turn Over ให้สูงๆ เพื่อสร้าง Alpha ให้สูงเสียดฟ้า ช่วงเวลาแบบนั้นจะมีอยู่จำกัด เพราะ เรารู้ว่าในอนาคต จะมีคนเข้ามาทำแบบนี้มากขึ้น และราคาหุ้นก็จะสูงขึ้น ถึงวันหนึ่งวิธีการแบบนี้จะใช้ไม่ได้ ตลาดที่มีประสิทธิภาพต่ำ ก็จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จากข้อมูลที่มีมากขึ้น วิธีการที่ประสบความสำเร็จในวันนี้จะใช้ไม่ได้ในอนาคต นักลงทุน VI ในช่วงต้น จึงทำตัวคล้ายๆ Activist Investor กลายๆ พอวันหนึ่งหุ้นไทยแพงถึงจุดหนึ่ง พอร์ตผมมีอิสรภาพทางการเงินแล้ว ผมเลยย้ายบ้านไปสหรัฐฯ ที่ๆ ผมคิดว่าผมพอจะมี ข้อได้เปรียบในการลงทุนบางอย่าง ข้อได้เปรียบของผม คือ ผมมีความรักและหลงใหลในคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีมาก ผมเริ่มจับคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ ป.2 แล้วก็ศึกษามาตลอดจนจบปริญญาตรี ทำให้ผมเชื่อว่าผมพอที่จะเห็นแนวโน้มในอนาคตบางอย่างที่คนอื่นน่าจะมองไม่เห็น แถมหุ้นเทคฯ ที่ผมสนใจในช่วงนั้นถูกมากอย่างเหลือเชื่อ เมื่อเทียบกับหุ้นที่ผมถืออยู่ หุ้น Growth ปกติควรที่จะมีราคาแพง แต่ในจังหวะนั้นก็คล้ายๆ ตอนนี้แหละ มันกำลังเกิด Smartphone Revolution ซึ่งในช่วง Transition มีการ Allocate Resource ต่างๆ ใหม่ ทำให้เกิดความงงงวย ไม่เข้าใจ และกังวลขึ้น เลยเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เราซื้อหุ้น Growth ในราคา Value ได้ มันเลยเป็นการตัดสินใจที่ไม่ยากเลยที่ผมจะไปตลาดสหรัฐฯ ตอนผมนำเสนอหุ้น Google หรือ Facebook กับเพื่อนๆ ในช่วงปี 2012-2013 ก็ไม่มีใครสนใจ เพราะ เค้าไม่ได้มี ข้อได้เปรียบ อย่างที่ผมมี เป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้ผมเชื่อว่าอนาคตของกิจการทั้ง 2 นี้มันมีมากกว่าราคาที่ซื้อขายกัน
โดย
picatos
พฤหัสฯ. ม.ค. 05, 2023 3:00 am
0
12
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
<<ครั้งสุดท้าย>> ข้อได้เปรียบในการลงทุน คำๆ นี้ผมพึ่งรู้ว่า คนเข้าใจคำนี้ผิดไปจากทฤษฎีมาก หรือ ความเข้าใจของโลกในการลงทุนกระแสหลักมากๆ ในโลกการลงทุนในตลาดประเทศที่พัฒนาแล้ว นักลงทุนจะได้รับการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีการเงินอย่างพวก Modern Portfolio Theory, CAPM หรือ ตลาดมีประสิทธิภาพ แล้วก็กลายเป็นที่ถกเถียงกันว่า ตลาดมีประสิทธิภาพไหม? ตลาดมีประสิทธิภาพขนาดไหน? คำว่าตลาดมีประสิทธิภาพ ไม่ได้หมายความว่าราคาหุ้นของกิจการทุกกิจการจะสมเหตุสมผล แต่มันอาจจะหมายความว่า ราคาหุ้นแต่ละตัวอาจจะสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง แต่โดยรวมแล้ว ไม่มีใครรู้มันจริงๆ อย่างมั่นใจได้ว่า ไอ้ที่สูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริง มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ดังนั้นแนวความคิดของคนที่เชื่อว่าตลาดมีประสิทธิภาพ การลงทุนใน Index หรือ Diversify Portfolio แล้วได้ Market Return น่าจะดีกว่า ในขณะที่คนที่ไม่เชื่อในตลาดที่มีประสิทธิภาพ หรือเชื่อว่าตลาดไม่ได้มีประสิทธิภาพอย่างสมบูรณ์ ก็เชื่อว่า ถ้าเราสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตัวเอง จะสามารถหากำไรได้จากความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น ซึ่งเว็บ Seeking Alpha คำว่า Alpha น่าจะมาจาก Jensen's Alpha นักลงทุน VI พยายามหา Alpha โดยพัฒนา ข้อได้เปรียบ (Competitive Edge หรือ Edge ที่คนเค้าเรียกกัน) โดยการเข้าไปซื้อกิจการที่ตัวเองคิดว่า Under Value ที่มี Margin Of Safety มากเพียงพอ แล้วถือแบบ Passive รอให้วันหนึ่งตลาดเป็นความจริงที่เกิดขึ้น ในขณะที่ Activist Investor อย่าง Carl Icahn เข้าไปลงทุนหุ้นที่เค้าคิดว่า Under Value ไม่พอ ก็เข้าไปการเรียกร้อง ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อผลักดันให้ราคาเข้าสู่มูลค่า Growth Investor พยายามหาลงทุนในหุ้นเติบโต โดยพัฒนาขีดความสามารถที่จะทำความเข้าใจ พฤติกรรมของการเติบโต จังหวะของการเติบโต และจับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของการเติบโตที่จะมีผลต่อราคาให้ได้ก่อนคนอื่น นักลงทุนสาย Tech จะพัฒนา ข้อได้เปรียบ โดยศึกษาและเข้าใจ Tech ต่างๆ ในเชิงลึก เพื่อเปลี่ยนอนาคตที่มองได้ยาก และเห็นก่อนคนอื่น ให้กลายเป็น Alpha ของตัวเอง นักลงทุนทุกคนพยายามที่จะหาข้อได้เปรียบของตัวเองในการทำผลตอบแทนให้เหนือกว่าตลาด ด้วยวิธีการต่างๆ คนทุกคน กองทุน สถาบันการเงินต่างๆ พยายามทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่และยิ่งยวด มีทีมงานที่เก่งกาจ เครื่องมือ และเงินทุน แล้วมาปะทะกันที่การซื้อขายในตลาด สุดท้ายจึงเกิดตลาดที่มีประสิทธิภาพขึ้น ด้วยความที่ผมลงทุนหุ้นสหรัฐฯ มานานระดับหนึ่ง ที่สหรัฐฯ เค้าไม่นับกันนะครับว่า Insider Trading เป็นข้อได้เปรียบในการลงทุน เพราะ ที่สหรัฐฯ Insider Trading นี่หมายถึง คุก ดูอย่างเคสของคุณ Martha Stewart ได้ครับ ที่สหรัฐฯ การฉ้อโกง ไม่ได้เป็นคดีแพ่งที่ไม่ติดคุก แต่เป็นคดีอาญา ดังนั้น Insider ของบริษัทฯ ในตลาดนี่ระวังตัวกันค่อนข้างมาก เพราะ มีคนติดคุกกันให้เห็นอยู่บ่อยๆ ในข่าว ดังนั้น ข้อได้เปรียบในการลงทุน นี่ถ้าเวลาผมเขียน ผมไม่ได้หมายถึง Insider Trading แน่ๆ แนวคิดนี้ไม่ได้อยู่ในหัวผมมานานแล้ว ผมห่างจากสังคมนักลงทุนไทยไปนาน ผมไม่รู้ว่าที่ไทยสร้างข้อได้เปรียบในการลงทุนกันอย่างไร แต่ที่สหรัฐฯ ผมเห็นคนทุกคนพยายามที่จะสร้างข้อได้เปรียบในการลงทุนด้วยวิธีการต่างๆ และ Competitive Edge ของแต่ละคนก็จะเหมาะกับกิจการบางประเภท Life Cycle บางอย่าง อุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรม พยายามที่จะเอาชนะตลาด เพราะ ที่สหรัฐฯ แค่คุณสามารถหาวิธีการที่เอาชนะตลาดได้อย่างต่อเนื่อง และ Scale ได้ระดับหนึ่ง เงินก็จะไหลมาเทมาให้คุณลงทุนเต็มไปหมดแล้ว แต่ตามธรรมชาติ เมื่อวิธีการหนึ่งได้ผล เงินที่มากขึ้นก็จะทำให้คุณชนะตลาดได้ยากขึ้น วิธีการที่ได้ผลก็จะทำให้คนทำตามมากขึ้น Alpha ที่ได้ลดลง สุดท้ายก็อาจจะทำให้มันไม่ได้ผล หรือ อาจจะแพ้ตลาดตามมา สุดท้ายแล้วในระยะยาวก็จะได้ผลตอบแทนแค่ค่าเฉลี่ย คนที่ชนะตลาดได้อย่างต่อเนื่อง อย่าง Warren Buffet จึงเป็นอะไรที่เทพมากๆ ในโลกแห่งการลงทุน แต่ก็จะเห็นว่า พอ Buffet ชนะมานานๆ หลังๆ Buffet ก็จะแพ้ตลาดมานานหลายปี
โดย
picatos
พฤหัสฯ. ม.ค. 05, 2023 2:42 am
0
17
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
พึ่งได้รับทราบว่าสิ่งผมโพสต์พาดพิงถึงหมอเค ได้ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นกับหมอเค ผมไม่มีเจตนาที่จะทำอะไรไม่ดีกับหมอเค ผมเสียใจกับข้อความของผม ผมขอโทษด้วยนะครับ ขอบคุณสำหรับพี่ที่มาสะกิดเตือน และขอบคุณสำหรับ feedback จาก หมอเค ที่ทำให้รู้ว่าผมเป็นคนที่มีปัญหาขนาดไหน ผมจะพยายามทำตัวให้ดีขึ้น ไม่ไปทำสิ่งแย่ๆ แบบนี้กับคนอื่นอีก
โดย
picatos
อังคาร ม.ค. 03, 2023 2:53 pm
1
8
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
ผมขอโทษหมอเคด้วยนะครับที่ทำให้หมอเคโกรธ และรู้สึกแย่ขนาดนี้ ผมไม่คิดเลยว่าสิ่งที่ผมโพสต์ลงไปเมื่อต้นปี มันจะถูกตีความแบบนี้ ผมมีปัญหาในการสื่อสารจริงๆ แหละ ซึ่งผมก็ไม่รู้อะไรเลยจริงๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมนักลงทุนไทย ผมแค่คิดว่าในเศรษฐกิจไทยมีการเติบโตต่ำ และมีปัญหาในเชิงโครงสร้างเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ลักษณะตลาดมันจะเป็น zero sum game ซึ่งนักลงทุนที่มีประสบการณ์ มีข้อมูลในเชิงลึก มีเพื่อนๆ ที่ช่วยวิเคราะห์ เรียกว่ามีแต้มต่อในการลงทุน (competitive edge) ในสภาพตลาดแบบนี้ น่าจะดีกว่าไปลงทุนต่างประเทศที่ปัจจัยรายล้อมมันดูไม่ค่อยดี ผมไม่ได้บอกว่านักลงทุนไทยไม่ขยันนะครับ แต่นักลงทุนต่างประเทศนี่ level เค้าสูงกันมาก ระดับความขยันของเรามันเป็นแค่ขี้มดของเค้า แค่ผมไปเรียน valuation กับ อ. Damodaran กับพวกเด็ก ป.ตรี ของเค้า ผมยังรู้สึกว่าผมง่อยมาก คนที่อยู่มหาลัยท็อปๆ จริงๆ เค้าเก่งกันมาก ดังนั้นในการไปแข่งกับนักลงทุนในตลาดโลกนี้เหนื่อยครับ แต่จะเขียนอธิบายอะไรไป ก็คงจะไม่มีความหมาย ความเสียหายได้เกิดขึ้นไปแล้ว และผมคงจะไม่อาจจะแก้ไขอะไรได้ ผมเข้าใจผิดคิดว่าสิ่งที่ผมแชร์จะเป็นประโยชน์ แต่ผมเข้าใจผิด ผมยอมรับในการกระทำของตัวเอง กราบขอโทษหมอเค นักลงทุนทุกท่านที่ผมได้เคยล่วงเกินเอาไป และรู้สึกไม่พออะไรกับผม แต่ไม่มีโอกาสได้ระบาย ผมขอขอบคุณหมอเคมากๆ นะครับ ที่ออกมาให้ feedback กับผมแบบนี้ ผมจะได้รู้ตัว ว่าตัวเองมีปัญหาอะไร และจะพัฒนาตัวเองอะไรต่อไป ในเวลานี้ ผมคิดว่าผมไม่มีความสามารถ และไม่เหมาะจะโพสต์อะไรในที่นี้เพิ่มเติม ผมเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และหวังว่าตัวเองในอนาคตจะไม่ทำผิดอะไรแบบนี้อีก ผมขออนุญาตหยุดการโพสต์กระทู้นี้ เอาไว้ที่ตรงนี้นะครับ ขอบคุณทุกท่านที่ให้โอกาสกับผมในวาระผ่านๆ มา ถึงแม้ว่าผมจะได้ล่วงเกินท่านทั้งหลายเอาไว้ทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว กราบขอโทษ ขออภัย อีกครั้งกับสิ่งที่เกิดขึ้น
โดย
picatos
อังคาร ม.ค. 03, 2023 1:01 pm
0
14
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
ขออนุญาตินะครับ ผมเห็นตั้งแต่กระทู้ก่อนละ ที่คุณ Picatos พาดพิง พี่หมอ ท่านนึงเรื่องข้อได้เปรียบของเค้า คือผมไม่เข้าใจทำต้องตัดสินว่าท่านนั้นขนาดนั้นด้วยหรือครับ แล้วในกระทู้นี้ก็ยังไม่หยุดพาดพิงอีก ผมว่าไม่แฟร์เลย และดูเหยียดมากด้วยครับ ขอให้ Mod ช่วยลบการโพสพาดพิง บุคคลที่สาม แบบนี้เถอะครับ สังคมไทยวิ ถ้าปล่อยผ่านเรื่องแบบนี้อีกครั้งจากกระทู้ต้นปีนี่ ผมผิดหวังมากครับ ขอโทษด้วยนะครับ ผมจะระมัดระวังที่จะเขียนอะไรพาดพิงถึงคนอื่นมากกว่านี้ โดยส่วนตัวผมกับหมอเคสนิทกันมากก่อนที่ผมจะปลีกวิเวกจากสังคมนักลงทุนไทย เราสนิทกันขนาดผมขึ้นไปร้องเพลงบนเวทีงานแต่งงานหมอเค และหมอเคมานอนที่บ้านผมที่เชียงใหม่ ผมเลยเขียนออกไปถึงหมอเคด้วยความสนิท ด้วยความคุ้นเคย ขาดสติ ความยั้งคิด เลยไม่ได้คิดไปว่า ในพื้นที่สาธารณะ คนข้างนอกไม่รู้ว่าความสัมพันธ์ของผมกับหมอเคเป็นอย่างไร และไม่รู้ว่าหมอเคยังรู้สึกดีๆ กับผมอย่างในอดีตหรือไม่ อย่างไรก็ตามผมขอน้อมรับคำตำหนิ และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในการเขียนต่อไป ให้ไม่ไปเผลอพาดพิงคนอื่น และผมก็พร้อมรับโทษจากทางสมาคมฯ ว่าหากผมทำผิดกฎ กติกา มารยาท ข้อที่ 4 ของทางสมาคมฯ ในเรื่องการพาดพิง ก็ฝากรบกวนช่วยตัดสินลงโทษตามสมควร ที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดกับโดยรวมได้เลยนะครับ จะลบกระทู้ และ ban ผม ออกจากเว็บ ก็ได้ครับ ผมก็พร้อมยอมรับกับโทษ และความผิดที่ผมได้สร้างขึ้น ส่วนเพื่อนๆ คนอื่นๆ ก็อย่าโพสต์ข้อความอะไรเพิ่มเลยนะครับ เดี๋ยวมันจะขาดอรรถรส สำหรับคนที่ต้องการอ่านแบบโฟลว์ๆ เดี๋ยวผมพิจารณาความเหมาะสม อะไรหลายๆ อย่างเสร็จ สะดวก และมีความพร้อมเมื่อไร จะมาเขียนต่อเองครับ ไม่ได้จะหนีไปไหน
โดย
picatos
จันทร์ ม.ค. 02, 2023 10:30 pm
0
17
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
จังหวะชีวิตของคนเราในการเข้ามาทำอะไรตอนไหน เกิดตอนไหน พื้นที่ไหน จะเป็นตัวกำหนดเส้นทางเดินส่วนใหญ่ การเข้ามาลงทุนในจังหวะไหนก็จะเป็นตัวกำหนดเส้นทางเดินของนักลงทุน คนที่ได้เริ่มต้นเข้ามาลงทุนในช่วงหลังวิกฤต อย่างช่วง 2003 ในไทย หรือในช่วงหลัง Subprime ในสหรัฐฯ ถือว่าโชคดีมาก แต่คนที่เข้ามาลงทุนในปี 1997 หรือ 2000 ถือว่าโชคร้ายมาก ความโชคดีในตอนต้นของการได้เริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง ทั้งๆ ที่เรายังไม่ได้รู้อะไรมาก จะเป็นกำลังใจทำให้เราสู้ต่อได้ง่าย แต่ถ้าเริ่มต้นก็โชคร้าย ถึงแม้จะฉลาดจะเก่งขนาดไหน บางทีก็อาจจะไม่มีกำลังใจจะไปต่อ ผมคิดว่าการที่เราได้เห็นหุ้นเทคฯ ในกลุ่ม Young Growth และ High Growth ลงหนักขนาดนี้ในไปที่ผ่านมา สำหรับคนที่จะเริ่มต้นเข้ามาศึกษาการลงทุนหุ้นเทคฯ ในช่วงที่ตลาดสงบๆ หน่อยในช่วงต่อไป น่าจะเป็นคนที่โชคดีนะครับ ในขณะนี้ฝุ่นยังตลบอยู่ ยังไม่ใช่พื้นที่สงบที่เด็กน้อยยังวิ่งเล่นอย่างอิสระ เห็นของป่า ข้าวของอะไรก็ไม่รู้ที่คนทิ้งเอาไว้เต็มพื้นไปหมด อย่างช่วงปี 2002-2003 ในไทย หรืออย่างปี 2012 ที่สหรัฐฯ อย่างที่ผมเคยโชคดีเจอมา แต่มันจะมีในอนาคตครับ ที่นักลงทุนรุ่นใหม่ที่เดินเข้ามาในตลาด เข้ามาก็งงๆ ว่า เฮ้ย ทำไมกิจการ หุ้นตัวนี้มันดีขนาดนี้ แต่ทำไมขายราคาถูกจัง เหมือนกับที่ผมไปเจอ Google ที่ P/E 10 เท่าตอนปี 2012 หรือ Facebook ที่ Forward P/E ที่ 10 เท่า ผมเชื่อว่าจะมีนักลงทุนรุ่นใหม่ที่เดินเข้ามาเก็บของป่าแบบงงๆ ไม่ต้องใช้สมอง ไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรมาก ในการสร้างผลตอบแทนที่เหนือธรรมดา ที่จะเป็นผู้รับโชคในอนาคตข้างหน้า ถ้าน้องๆ นักลงทุน ที่ไม่ได้มีข้อได้เปรียบอะไร พึ่งจะมาเริ่มๆ เลย ยังคงมีเงินเดือนเติมเข้ามาทุกๆ เดือนที่จะเอาไปลงทุน ผมบอกได้เลยครับว่า ไปต่างประเทศเถอะ ทยอยซื้อ Index Fund ไปก่อน แล้วค่อยๆ ศึกษากิจการรายตัวที่เราคิดว่าเราเข้าใจและมีอะไรบางอย่างที่เราอินไปกับมัน การเริ่มต้นลงทุนในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในรอบ 10 ปี ผมเชื่อว่าน้องๆ ที่เข้ามาในเวลานี้ ไม่ต้องรอให้อนาคตมันดีขึ้น แต่พอร์ตของน้องๆ ที่เข้ามาเริ่มในช่วงนี้ จะเติบโตได้แบบหล่อๆ ไปได้สบายๆ เลยครับ ความโชคร้ายของผม จะเป็นโชคดีของน้องๆ ครับ
โดย
picatos
จันทร์ ม.ค. 02, 2023 6:21 am
1
21
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
ในไทย ส่วนใหญ่กิจการมักจะอยู่ใน State ไม่ Mature Growth ก็ Mature Stable ถึงแม้ว่าจะมีธุรกิจที่เป็น High Growth โผล่เข้ามาบ้าง แต่ขนาดตลาด กำลังซื้อของผู้บริโภคของเราก็เล็กเหลือเกิน รันเวย์ สั้นสุดๆ ขนาดตลาดและโอกาสที่เล็ก ทำให้ความหลากหลายของธุรกิจมีน้อย แต่พอเราเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ สิ่งแรกที่เราต้องถามก่อนเลยว่า ธุรกิจที่เราลงทุนมันอยู่ใน State ไหนกันแน่ Key Metric และทักษะความสามารถที่ต้องใช้ในการลงทุนกิจการนี้มันคืออะไร เพราะ การลงทุนในแต่ละอุตสาหกรรม แต่ละ State ใช้ทักษะไม่เหมือนกันเลย Uncertainty and life cycle.png ชีวิตในการลงทุนของผม ผมค่อยๆ ศึกษา พัฒนา ค่อยๆ ไต่ขึ้นไปจากพื้นที่ๆ ง่าย Uncertainty ต่ำๆ Valuation ง่ายๆ ขึ้นไปในพื้นที่ๆ ยากขึ้นๆ และผมก็ผมโชคร้ายสุดๆ ที่เข้าไปในพื้นที่ยาก ในเวลาที่ผิด ถึงแม้ว่าจะกลัวเรื่อง ฟองสบู่ มาก่อนหน้า แต่ก็ดันตั้งใจว่าจะเอาเงินที่เราตั้งใจจะบริจาคให้กับการกุศลมาลงทุนใน Impact Investing พร้อมที่จะเจ๊ง เพราะ รู้ว่ามีโอกาสหมดตัว แล้วก็หลวมตัว ไหลไปกับพื้นที่ๆ มีความเสี่ยงมากขึ้นๆ ธรรมชาติของจิต เวลาเราสนใจ ศึกษาอะไร มันจะมีความ Bias และ Tunnel Vision โดยอัตโนมัติ ยิ่งเป้าหมายในการลงทุนของผมไม่ใช่ทำไปเพื่อกำไร หรือเพื่อรักษาเงินต้นแล้ว มันยิ่งทำให้ผมรับความเสี่ยงมากเกินไปในการเข้าสู่ Black Swan ครั้งนี้ และ ไพ่ที่ออกในปี 2022 เป็นไพ่ที่ต่ำมาก เหมาะสมกับที่ปีขาล ซึ่งเป็นปีชงของผมสุดๆ ไปเลย ผมเข้าปี 2022 โดยรู้ว่านี่เป็นปีชง ผมรู้ว่าปีชงรอบที่แล้วเมื่อปี 2010 ก็เป็นปีที่ผมทุกข์ใจมากจนต้องออกบวช และไปปฏิบัติธรรม กว่าจะจัดการตัวเองได้ ผมรู้ว่าฟองสบู่อาจจะแตก ผมมีการเตรียมการ เตรียมใจไว้ระดับหนึ่ง ผมเรียนจบเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ทำให้มีความองค์รู้ลึกซึ้งมากเพียงพอที่จะเข้าใจว่า Macro Economic ตอนนี้เป็นอย่างไร ผมเข้าปี 2022 แบบว่าเตรียมตัวเจ็บแล้ว อย่างไรก็ตาม Bias และ Tunnel Vision ก็ยังเอาชนะทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมเตรียมเอาไว้ เผื่อใจเอาไว้ ดังนั้นเพื่อนๆ ที่ลงทุนในหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ ที่กำลังเจ็บอยู่ ไม่ต้องเสียใจไปนะครับ ว่า อ.ตี่ จะเอาตัวรอด ไม่เจ็บไปด้วยกัน ธรรมดา ธรรมชาติของการลงทุนก็เป็นแบบนี้แหละครับ ถ้าเลือกหลักการ และแนวทางการลงทุนแบบหนึ่งแล้ว มันจะมีปีที่เจ็บเป็นธรรมดา ปีนี้ผมเจ็บมากเป็นพิเศษด้วยจากการมาลงทุนแบบ Impact Investing แต่มันก็จะผ่านไป มันเป็น Process ของการลงทุนที่เราต้องทนช่วงเวลาที่เลวร้าย เป็นช่วงเวลาที่ต้องถึงศรัทธา ปลูกศรัทธา และสร้างศรัทธาให้ผ่านมันไปให้ได้ พอผ่านไปได้ เราก็จะฉลาดขึ้นเอง เหมือนอย่างที่ อ.นิเวศน์ อ.ไพบูลย์ ที่ผ่านวิกฤตต้มยำกุ้งมา จัดพอร์ตให้ทนทานต่อ Black Swan เราล้ม เราก็แค่พยายามลุกขึ้นมาให้ได้ ลุกขึ้นมาได้รักษาแผลกายได้ ก็รักษาแผลใจ พยายามที่จะฝึกเดินใหม่ ฝึกวิ่งใหม่ก็แค่นั้นเอง
โดย
picatos
จันทร์ ม.ค. 02, 2023 6:02 am
0
18
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
การ Shift ตัวเองจากการเป็น Value Investor มาเป็น Impact Investor ในช่วงปี 2020 เป็นการกระทำในจังหวะที่ผิดที่สุด ไพ่ดีๆ ที่ผมเคยจั่วได้มา ในคราวนี้ออกเป็นไพ่ที่แย่มากๆ จากการที่ผมลงทุนในหุ้น Value และ หุ้น Special Situation ตอนอยู่ไทยในช่วงปี 2003-2013 มาเป็นหุ้น Mature Growth อย่าง Google, Facebook หรือ High Growth แบบ Nvidia การที่ผมสนใจและกระโดดลงไปลงทุนแบบ Impact Investing ทำให้ผมรับความเสี่ยงมากขึ้น เพราะ กิจการที่มี Impact ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลก สร้างอะไรบางอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน มักจะอยู่ในช่วง Young Growth โดยธรรมชาติ ซึ่งนั่น คือ พื้นที่ๆ ยากที่สุดที่ผมพยายามไม่เข้าไปแตะ ไม่เข้าไปยุ่งมานาน พื้นที่นี้ อ. Damodaran ถึงกับเขียนหนังสือที่เรียกว่า Dark Side of Valuation กับ Narrative and Number ขึ้นมาช่วยนักลงทุนที่หลงทาง พอจะมีแสงสว่างและแนวทางอยู่บ้าง ผมชอบแนวคิดของอาจารย์เกี่ยวกับ Coperate Life Cycle มากๆ ซึ่งในปี 2023 นี้ อ. กำลังจะออกหนังสือเรื่องนี้เลย ซึ่งผมคิดว่านักลงทุนไทยที่จะออกสู่โลกกว้างไปที่ต่างประเทศ นี่คือ ทักษะจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสุดๆ ว่าในช่วง Life Cycle แต่ละจุด หลักการลงทุน วิธีการลงทุนแบบไหนที่ใช้ได้ นิสัยปัจจัยของเราเหมาะที่จะไปลงทุนตรงไหนกันแน่ corp life cycle.png
โดย
picatos
จันทร์ ม.ค. 02, 2023 5:40 am
0
15
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
<<ครั้งที่ 4>> ใน คลิป ก่อนหน้าของ อ. Damodaran บอกว่า โชค เป็นสิ่งที่มีผลมากๆ ในการลงทุน ผมโชคดีที่สนใจเกี่ยวกับการเงินการลงทุนในปี 2002 ได้มาเจอ Yoyo ในการแข่งขัน Money Award ของตลาดหลักทรัพย์ และได้รับคำแนะนำจาก อ.โย ให้ลองอ่านหนังสืออ. นิเวศน์ ให้ลองศึกษาบัฟเฟต การลงทุนแบบ Value Investing และที่สำคัญที่สุด คือ ได้แนะนำให้มารู้จักกับเว็บไซต์ Thai VI นี้ซึ่งพึ่งย้ายบ้านมาจากเว็บกระทิงเขียว การเริ่มต้นลงทุนในปี 2003 เป็นโชคที่ดีมาก เพราะ หุ้นยังคงราคาถูกจากนักลงทุนที่ยังบอบช้ำมาจากวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 1997 หุ้น P/E 5 หาได้เกลื่อนตลาด คนที่สนใจลงทุนยังมีน้อย และสังคม Thai VI ที่มีพี่ๆ เพื่อนๆ ดีๆ ที่เข้ามาช่วยแชร์ ช่วยสั่งสอน มีหนังสือดีๆ ที่พี่ WEB แปลมาให้อ่าน มีห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์ที่ทำให้ผมได้อ่านหนังสืออะไรดีๆ เยอะมาก มีตลาดหลักทรัพย์ที่พึ่งเริ่มทำ Opp Day ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเกิดจากผลของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดสังคมใน Internet เกิดเว็บบอร์ดขึ้นทำให้เราได้ความรู้มาก ในขณะที่คนสนใจหุ้นน้อย ทำให้เราเข้ามาอยู่ถูกที่ ที่ๆ ระหว่างปี 2003-2013 นักลงทุน VI ในไทย ได้ผลตอบแทนในการลงทุนสูงที่สุดที่นึงในโลกเลยทีเดียว ผมโชคดีอีกครั้งเมื่อปี 2012 ผมเริ่มเบื่อสังคม อยากปฏิบัติธรรม อยากได้ความสงบ แถมตลาดหุ้นไทยราคาแพง Equity Risk Premium ต่ำเป็นประวัติการณ์ จากการที่หลังวิกฤต Subprime นักลงทุนในตลาด Develop Market ย้ายเงินมาอยู่ Emerging Market จนทำให้หุ้นไทยแพงกว่าหุ้นเทคสหรัฐฯ ไปไกล ทำให้ผมได้มีโอกาสเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่นักลงทุนกำลังจะหายจากการบอบช้ำจากวิกฤต Subprime และกำลังจะมองเห็นสิ่งเกิดขึ้นจาก Smartphone Revolution ผมโชคดีที่เพราะว่าผมอยากได้ความสงบ ต้องการใช้ชีวิตแบบเน้นปฏิบัติธรรม ทำให้ผมเลือกกลยุทธ ในการลงทุนซื้อครั้งเดียว แล้วถือยาวๆ ต้องการที่จะวิเวกทีได้เป็นหลายๆ เดือน โดยไม่ต้องดูหุ้น เลยเลือกลงทุนใน Google และ Facebook หลังจากนั้นการถือลืม ใช้เวลาไปกับการศึกษาธรรมปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นโชคดีที่แปลกประหลาดมาก ที่หุ้น FANGMAN ในช่วง 2012-2021 ผลตอบแทนกระฉูดโลกมาก ผมเคยเดินพารากอนครั้งหนึ่ง แล้วก็เจอพี่นักลงทุนคนหนึ่งโดยบังเอิญ คุยๆ กันเค้าก็บอกว่าผมโชคดี บังเอิญถูก ซึ่งผมยอมรับโดยดุษฎีเลยครับ ว่าผมแค่โชคดี นักลงทุนไทยคนอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จ เท่าที่ผมเห็น มีความขยัน ทุ่มเทมากกว่าผมมากมายมหาศาล ผมเป็นนักลงทุนที่ใช้เวลากับการลงทุนน้อยมาก ช่วงก่อนหน้าผมใช้เวลากับการลงทุนประมาณ 5% ของชีวิต แล้วพยายามลดลงมาให้ถึง 2% จากนั้นหลังจากเกิด COVID ผมก็ขยันอีกครั้ง เพื่อจะปรับหาแนวทางการลงทุนแบบ Impact Investing
โดย
picatos
จันทร์ ม.ค. 02, 2023 5:23 am
0
14
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
ในคลิป อาจารย์ บอกว่า Faith เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นมาจากภายใน ไม่สามารถที่จะยกให้กันได้ โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าจะให้ผมแบ่งประเภท ระดับของความเข้มข้นของ ศรัทธา ที่เราต้องสร้างขึ้น ผมคิดว่าอย่างนี้ครับ 1. ศรัทธาในสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้า ศรัทธาในความจริงของธรรมชาติ หรือหลักวิทยาศาสตร์ ศรัทธาในหลักการลงทุน ศรัทธาในธรรม ฯลฯ 2. ศรัทธาว่าสิ่งที่ทำ ทำไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทำไปเพื่อประเทศชาติ เพื่อปกป้องคนที่เรารัก เพื่อปกป้องโลก 3. ศรัทธาในตัวอาจารย์ ว่าอาจารย์เป็นผู้ที่เดินทางเส้นนี้มาก่อน เคยผ่านทุกข์อันนี้มาก่อน ถ้าเราเชื่อและทำตามอาจารย์ เราจะผ่านมันไปได้ 4. ศรัทธาในตัวเอง ว่าเรามีศักยภาพมากเพียงพอที่จะทำมันได้ จะผ่านมันไปได้ ผมคิดว่าถ้าเราเข้าใจในศรัทธาทั้ง 4 แล้วเราปลูกฝัง สร้างมันขึ้นได้ อันนี้แหละ จะเป็นเชื้อเพลิงที่จะทำให้เราผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ อย่างหนังสือเรื่อง Rational Optimist ก็เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นในช่วงหลังวิกฤต Subprime ที่โลกในช่วงนั้นหดหู่ คนในสังคมไม่สามารถมองให้เห็นอะไรดีๆ ได้ ผู้เขียนได้ยกเหตุผลต่างๆ อย่างมีหลักฐานประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อว่า ความเป็นจริงแล้ว โลกนี้กำลังดีขึ้น และความคิดเห็นในแง่ร้ายว่าโลกกำลังสิ้นสลายมันเกิดขึ้นมาตลอด ซึ่งเราต้องเอาชนะความกลัวและความคิดลบไปให้ได้ จริงๆ แล้วโลกใบนี้กำลังดีขึ้นอยู่ การศึกษาเรื่องหลักการลงทุนอย่างถูกต้อง เรื่องหลักการ Valuation ต่างๆ ก็จะช่วยเสริมศรัทธาได้ คนบางคน อย่างพี่พีหรือบัพเฟต ลงทุนโดยตั้งใจว่าเงินโดยส่วนใหญ่หรือทั้งหมด จะเอาไปให้คนอื่น เพื่อประโยชน์ของคนอื่น คนที่ทำเพื่อคนอื่นเป็นคนที่รวยแล้ว อิ่มแล้ว ไม่ได้ต้องการอะไรให้กับตัวเองแล้ว แต่ที่ทำไปทั้งหมดทำเป็นเพื่อคนอื่น ความสุข สว่าง จะทำให้ความกลัวไม่สามารถยึดครองจิตได้นาน เพราะ ความสุข ความอิ่มเอิบจากการให้ มันสว่างจนทำลายความมืดจากความกลัวไปหมด โดยส่วนตัวผมจะศรัทธาในพระพุทธเจ้าและสาวกบางองค์เป็นพิเศษ การมีพระพุทธ และพระสงฆ์ ที่ถือเป็นสรณะ นำความสว่างมาให้ผมอยู่ทุกวัน ผมมีศรัทธาในอาจารย์ Damodaran ทำให้ผมมีแนวคิด หลักการ วิธี Valuation และแนวคิดการลงทุนที่ถูกต้อง ไม่หลงทาง และมีกำลังใจเวลาสูญเสียความมั่นใจ ผมเคารพอาจารย์ Paul Krugman ที่นับถือตั้งแต่สมัยเรียนป.โท เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เวลากังวลเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ ผมคิดว่าถ้าคุณมีอาจารย์ที่ดี เข้าถึงได้ สอบถามได้ มันจะช่วยให้คุณผ่านวิกฤตต่างๆ ไปได้ เรื่องนี้ลองฟังเทปของน้องฟืนดู สำหรับศรัทธาในตัวเองเป็นสิ่งที่เราต้องสร้าง และทำขึ้นมา หลังจากที่เราศึกษาอะไรสักอย่าง เราเชื่อว่าน่าจะ Work แล้วเราก็ต้องทดลองทำดู และเห็นผลลัพธ์จากการทำ จนกลายเป็นศรัทธา ศรัทธาในตัวเอง ณ ขณะนี้เป็นของสั่งสมจากการกระทำก่อนหน้า และจะเพิ่มพูนไปในอนาคตจากการกระทำในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ให้กันไม่ได้ ต้องทำด้วยตัวเอง อย่าง ฮง ก็เป็นตัวอย่างของคนที่สั่งสม มีของเก่ามาดี ถึงได้มีศรัทธาในตัวเองอย่างเต็มเปี่ยม แต่อยู่ๆ จะให้มีศรัทธาในตัวเองอย่าง ฮง มันไม่เหมาะสมตามเหตุปัจจัย มันเป็นเรื่องที่เราต้องค่อยๆ สร้าง และมีประสบการณ์จริงในการสร้างมันขึ้นมา ก็ขอให้เพื่อนๆ นักลงทุน ที่โดนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ เล่นงานอยู่ สามารถหาศรัทธาได้เจอนะครับ เพราะ ถ้าหมดศรัทธา โลกทั้งใบก็จะดับลง แม้ว่าโลกใบนี้จะดีขึ้นอยู่ทุกวัน แต่โลกของเราก็ได้ดับลงไปแล้ว ขอแค่ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ มีชีวิตรอดไปให้ได้ รักษาจิตวิญญาณของการเป็นนักลงทุนระยะยาวไปให้ได้ หลังวิกฤตจะดีเอง
โดย
picatos
อาทิตย์ ม.ค. 01, 2023 6:11 am
1
30
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
<< เขียนครั้งที่ 3 >> นอนรู้สึกตัวตื่นแล้วก็มีความคิดลอยขึ้นมาซ้ำๆ เกี่ยวกับเรื่อง ศรัทธา Black Swan กับการลงทุนหุ้นต่างประเทศ ในการลงทุนหุ้นต่างประเทศ เวลาเกิด Black Swan ขึ้น ระดับความรุนแรงของความบีบคั้นและความกลัว จะรุนแรงมากกว่าการลงทุนในประเทศ เพราะ เราสูญเสียความรู้สึกของ Control ความรู้สึกคุ้นเคย จากการที่เราต้องไปต่อสู้ในสนามที่ผู้เล่นเป็นคนที่เราไม่รู้จักมักคุ้นและดูเหมือนจะเก่งกว่าเราไปหมด ถ้าเราอยู่ในไทย นักลงทุนส่วนใหญ่เป็นคนไทยด้วยกัน เราจะคิดว่าเราพอจะรู้ทางและเข้าใจคนไทย คิดว่าคนไทยมีความขยันระดับไหน เรามีความขยันระดับไหน คนไทยมีความฉลาดขนาดไหน เรามีความฉลาดระดับไหน ประสบการณ์ที่ผ่านมาของเรา เทียบกันแล้ว เราพอที่จะสู้กับเค้าได้หรือไม่ ในขณะที่เวลาเราไปลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ เราจะคิดว่า เค้าเก่งกว่าเรา องค์ความรู้มากกว่าเรา ด้วยขีดความสามารถขั้นต้นเราก็สู้เค้าไม่ได้แล้ว ไม่เหมือนเวลาไปลงทุนหุ้นเวียดนาม ที่เราอาจจะพอคิดเข้าข้างตัวเองว่า ประเทศของเราพัฒนาเจริญมาก่อน เราอยู่ในตลาดมานานกว่า เรารู้ว่าเราจะไปสู้อะไรกับเค้าได้ การลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ พอเกิด Black Swan ขึ้นระดับของความกลัว ความบีบคั้น มันจะทวีความรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ เวลามีคนที่เก่งกว่าเรามากๆ มาอธิบายปรากฎการณ์ และทำนายอนาคต ด้วยภาษาและองค์ความรู้ ที่เรารู้สึกได้ว่าเราเทียบกับเค้า สู้กับเค้าไม่ได้เลย ในขณะที่ถ้าเกิด Black Swan ในไทย มันจะไม่มีคำอธิบายอะไรมาก ทุกคนจะแอบหลบไปอยู่เงียบๆ ในห้อง หรือถ้าอธิบายอะไรสักอย่างออกมา มันก็ไม่ได้เป็นคำอธิบายเทพๆ ในภาษาสวยๆ ต่างถิ่น การที่พยุงตัวขึ้นมาต่อสู้กับเผชิญหน้ากับปัญหาและความกลัวเวลาลงทุนในสหรัฐฯ จึงจะได้ต้องพลังใจที่มากเป็นทวีคูณ ซึ่งพลังใจนี้แหละ ที่เรียกว่าศรัทธา เท่าที่ฟังซีรีส์ Black Swan ของทางสมาคมฯ ผมจำได้คร่าวๆ ว่า พี่พี ได้ศรัทธาและใช้ศรัทธาในพระเจ้า ในพระคริสต์ ในการยกใจให้ผ่านวิกฤต พี่โจ ใช้ศรัทธาในหลักการ VI และความขยัน ฮงใช้ศรัทธาในขีดความสามารถและศักยภาพของตัวเองในการเอาชนะปัญหา พี่มี่ใช้ศรัทธาความเชื่อในกิจการที่ศึกษามาอย่างดี ว่าวิกฤต ราคาหุ้นที่ตกเป็นเรื่องชั่วคราว น้องฟืนใช้ศรัทธาในตัว Idol ทางการลงทุน ในการจุดไฟความขยัน และความมุ่งมั่น ที่จะทำให้สำเร็จ ฯลฯ ศรัทธาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเอาชนะความกลัว อย่างผู้ก่อการร้ายที่ใช้ระเบิดพลีชีพ ก็ใช้ศรัทธาในพระเจ้าในการเอาชนะความกลัวตาย ทหารออกรบก็ใช้ศรัทธาในการทำเพื่อประเทศชาติ และปกป้องคนในชาติตัวเอง ในการเอาชนะความกลัว อ. Damodaran ก็มีศรัทธาใน Valuation ในการที่จะผ่านวิกฤต เหตุการณ์ตลาดเลวร้ายมาครั้งแล้วครั้งเล่า และได้พูดถึงมันในหลายวาระโอกาส อันนี้เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง https://youtu.be/H6NwH8YGwiU
โดย
picatos
อาทิตย์ ม.ค. 01, 2023 5:42 am
0
15
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
สำหรับผมเอง จากประสบการณ์การลงทุนมา สิ่งสำคัญสิ่งแรกในการลงทุน คือ เราต้องเชื่อ และศรัทธาว่า ถ้าเราลงทุนในหุ้นผ่าน Index แล้วถือไปเฉยๆ ในระยะยาวโดยไม่สนใจมัน ไม่ทำอะไรกับมัน ไม่ใช้ความพยายามอะไรกับมัน สุดท้ายแล้วมันจะดีเอง เพราะ โลกนี้กำลังดีขึ้นอยู่ทุกวัน สำหรับส่วนที่ไม่ใช่สภาพคล่องที่เอาไว้ใช้จ่าย ถ้าผมไม่รู้จะลงทุนหุ้นอะไร หรือไม่อยากใช้ความพยายามในการลงทุน การลงทุนถือ Index ไปเฉยๆ ดีที่สุด สุดท้ายแล้วระบบ กลไลของโลกใบนี้ จะแก้ไขปัญหาของตัวมันเอง ยังมีคนดีๆ เก่งๆ พยายามทำให้โลกนี้ดีขึ้นอยู่ทุกวัน ดังนั้นในวันที่ผมยอมแพ้หรือขี้เกียจหา Alpha แล้ว ผมยังคงเชื่อในตลาดหุ้นโดยรวมอยู่ อันนี้เป็น Base Line ที่จะไม่ทำให้ผมเลิกลงทุนในหุ้นอย่างเด็ดขาด เพราะ ทักษะขั้นต่ำที่สุดที่ผมมี คือ ผมทนเห็นหุ้นตก แล้วสามารถรักษาสภาพจิตใจ และรักษาศรัทธาในการลงทุนระยะยาวเอาไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ผมมีความสนุกในการเข้าไปศึกษากิจการ เรียนรู้สิ่งต่างๆ ในการติดตาม ศึกษากิจการหนึ่งๆ ในมิติแง่มุมต่างๆ อย่างมีความสุข เหล่านี้ ทำให้ผมมีข้อได้เปรียบบางอย่างที่ทำให้ผมเชื่อว่า ผมสามารถถือหุ้นรายตัวได้ และมีความเป็นไปได้ที่จะ Outperform ตลาด หรือ ถ้าแม้จะไม่ Outperform แต่ผมก็ได้รับผลตอบแทนในระยะยาวที่ผมพอใจส่วนหนึ่ง และได้ความสุขจากการได้ติดตามและศึกษากิจการส่วนหนึ่ง
โดย
picatos
เสาร์ ธ.ค. 31, 2022 6:53 am
0
19
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
ถ้าผมจำไม่ผิด การลงทุนในหุ้นโลกโดยรวม จะให้ผลตอบแทนระยะยาวประมาณ 7-10% ถ้าเราเข้าซื้อในช่วงตลาดหุ้นแพงก็อาจจะได้ผลตอบแทนต่ำไปบ้าง แต่ถ้าเข้าซื้อในช่วงถูกก็จะได้สูงกว่าบ้าง แต่โดยรวมแล้ว ถ้าเราลงทุนอย่างต่อเนื่อง จัดสรรเงินมาลงทุนทุกๆ เดือนอย่างต่อเนื่อง เราจะได้ผลตอบแทน 7-10% ในระยะยาว ซึ่งผลตอบแทน 7-10% ในระยะยาวมันจะมาจากอัตราดอกเบี้ยแท้จริงในระยะยาวสักประมาณ 3-4% และมาจาก ERP (Equity Risk Premium) ประมาณ 4-6% ERP นี่เป็นสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติของมนุษย์ ที่ถ้าจะให้ลงทุนในสิ่งที่มีความไม่แน่นอนว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ต้องทนทุกข์บีบคั้นกับความเจ็บปวดระยะสั้น เราจะต้องได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าการลงทุนในสิ่งที่ได้ชัวร์ ปลอดภัย คนที่เจอตลาดหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ ในช่วงนี้คงจะรู้ซึ้งดีเลยครับ ว่าความเจ็บปวดมันเป็นอย่างไร และนี่แหละ ก็คือ ส่วนลดที่ตลาดต้องให้กับเรา เพื่อให้เราอาจจะต้องทนกับความเจ็บปวดในอนาคต เป็นส่วนลดที่ต้องมีมากเพียงพอที่จะทำกำไรให้มากเพียงพอกับทักษะที่ต้องทนกับความทุกข์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ในตอนที่ตลาดดีๆ เด็กน้อยที่ไม่เคยวิ่งหกล้ม ก็กระโดดวิ่งกันเข้ามาอย่างสุดแรง ไม่รู้ว่าเวลาล้มเจ็บมันเป็นยังไง เห็นตลาดให้ส่วนลดนิดหน่อย ก็อยากกระโดดเข้ามาร่วมวงแล้ว ซื้อแพงขึ้นอีกหน่อย ERP ต่ำลงอีกหน่อย ก็ไม่ว่ากัน เพราะ ไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจว่า เวลาหุ้นตกหนักๆ มันเป็นยังไง มันเจ็บขนาดไหน แรงขับจากฝูงที่ไม่อยากตกรถมีอิทธิพลมากกว่า อารมณ์สนุกสนานที่อยู่ต่อหน้ามีอิทธิพลมากกว่า สื่อนำเสนอแต่ข่าวดีๆ จากความคิดบวก เราเลือกที่จะฟังข่าวดีมากกว่าข่าวร้าย พอตลาดหุ้นตกหนักๆ ให้ส่วนลดมากมายมหาศาลจากปัจจัยพื้นฐาน เด็กน้อยผู้ไม่มีประสบการณ์ในการตลาดขาลง ก็ไม่รู้อีกเช่นกันว่าเรากำลังโดยสื่อเล่นงานจากการเอาความคิดเห็นของคนที่คิดลบ เอาประวัติศาสตร์ในด้านลบขึ้นมาเล่นงานกับเรา ให้เรารู้สึกว่าโลกนี้ช่างหดหู่ ไม่มีอะไรดี และจะไม่มีอะไรดีขึ้น ความเจ็บปวด ณ ขณะนี้ เป็นแค่เผาหลอก เดี๋ยวอีกสักพักจะเผาจริง มีแต่ข่าวร้ายประโคมเข้ามาให้หดหู่ เหมือนอนาคตจะดับมืดลง ครั้งนี้จะเลวร้ายแบบ Great Depression ครั้งนี้ดูแล้วเหมือน Stagflation จากปัญหา Supply-Demand Imbalance กลายเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง ตลาดหุ้นจริงๆ แล้วเป็นแค่ Great Fool Theory เป็นแค่ Zero-Sum Game ERP ที่พุ่งสูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยไปไกล ก็ไม่สามารถชดเชยได้กับ Cash Flow ที่จะลดลงจาก Reccession หรอก ตัวเลข Base Year ของปีนี้ หรือปีที่แล้ว เป็นการดีชั่วคราวจาก COVID มันจะไม่มีดีแบบนี้อีกแล้ว ฯลฯ ผลของความกลัวทั้งหมด ทำให้เกิดโอกาสในการลงทุนโลกที่กำลังดีขึ้นอยู่ทุกวันในระดับราคาที่มี Discount จากค่าเฉลี่ยในระยะยาว ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วโลกนี้ดีขึ้นอยู่ทุกวัน ถ้าเราลงทุนใน Index ของโลกไปเรื่อยๆ มันก็อาจจะแค่ได้ผลตอบแทนน้อยหน่อย หรือผลตอบแทนมากหน่อย สุดท้ายแล้วเทคโนโลยีในอนาคตจะทำให้เงินเก็บของเรามีค่ามากขึ้นเอง
โดย
picatos
เสาร์ ธ.ค. 31, 2022 6:40 am
0
13
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
อย่างช่วงนี้นักลงทุนก็จะกลัวๆ กันว่าเงินเฟ้อสูงๆ แบบนี้ มันจะกลับไปเป็นแบบช่วง 1970-1980 หรือเปล่า ที่เกิด Stagflation จากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด ของรัฐบาลฯ หลายๆ อย่าง เท่าที่ผมจำได้ อย่างในช่วงเวลาเดียวกันที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่ไปไหน ตลาดหุ้นญี่ปุ่นก็ขึ้นเยอะมาก หลังจากฟองสบู่ญี่ปุ่นแตกหุ้นไทยและ Emerging Market ก็ขึ้นเยอะมาก หลังจากที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง หุ้น Internet สหรัฐฯ ก็วิ่งขึ้นเยอะมาก หลังจากที่ฟองสบู่ Internet แตก หุ้นจีนก็วิ่งขึ้นเยอะมาก หลังจากหุ้นจีนตกจาก Peak ของ Olympic หุ้นสหรัฐฯ พังจากวิกฤต Subprime หุ้น Emerging อย่างไทยก็วิ่งขึ้นเยอะมาก หลังจากที่หุ้น Emergin ขึ้นไป Peak หุ้นเทคสหรัฐฯ ก็วิ่งขึ้นเยอะมาก รอบนี้หุ้นเทคสหรัฐฯ เจ็บ สุดท้ายแล้วมันก็จะมีกิจการอะไรบางอย่างที่ได้ประโยชน์ โลกโดยรวมจะยังขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะ เทคโนโลยี ตลาดเสรี และ Public Awareness ถ้าผมจำไม่ผิดที่เคยอ่าน A Rondom Walk Down Wall Street ในนั้นเหมือนจะบอกว่าการลงทุน Index โดยรวมดีที่สุด เพราะว่า เมื่อบริษัทเวลาทำธุรกิจประสบความสำเร็จ กำไรที่ได้จากบริษัทฯ นั้นๆ มันจะไปชดเชยขาดทุนจากกิจการที่ไม่ประสบความสำเร็จ โลกใบนี้ คือ Winner Take Most พอคนที่หา Business Model วิธีบริหาร นำเสนอสินค้าและบริการที่ โดนใจลูกค้า ช่วยลูกค้าลดต้นทุนได้ หรือนำเสนอสิ่งที่ดีขึ้น Economies of Scale ของคนที่ชนะจะทำให้กำไรที่ได้มากเกิดความคนที่แพ้ออกไป กลยุทธ์ในการลงทุนผู้ชนะในวันนี้อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด เพราะ ผู้ชนะในวันนี้มีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโดยรวม เมื่อกิจการมีขนาดใหญ่เทอะทะแล้วการจะโตมากกว่าค่าเฉลี่ยของเศรษฐกิจได้มากๆ จะเป็นเรื่องยาก ฐานที่ใหญ่ ไขมัน ความเฉื่อยชา ระบบการบริหาร ความพยายามในการแทรกแซงของรัฐฯ ตลอดจนการแข่งขันจากศัตรูรายรอบที่พร้อมที่จะกระโดดเข้ามาเฉือนส่วนแบ่ง ทำให้การที่ขนาดธุรกิจที่ใหญ่จะ Outperform ตลาดโดยรวมเป็นเรื่องยาก อย่างเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่ขนาดของกิจการ Big Tech ทุกวันนี้ยังเล็กกว่านี้อยู่มาก การเติบโตเป็นเรื่องง่ายกว่าทุกวันนี้ขนาดกิจการใหญ่กว่าประเทศหลายๆ ประเทศ เราเลยได้เห็นรายชื่อของบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 10 บริษัท เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในแต่ละช่วงเวลา https://youtu.be/Z93yWXb9Tb0 กองทุนที่จะเป็นลงทุนในหุ้นดังๆ กิจการใหญ่ๆ เป็นกองทุนที่ขายได้ง่าย ทำการตลาดได้ง่าย แต่ผมมั่นใจมากๆ เลยว่า มันจะเป็นการลงทุนที่ Underperform ตลาด การลงทุนในธุรกิจขนาดเล็กที่จะเป็นอนาคตก็มีตัวเลือกเต็มไปหมด ถ้าลงทุนถูกตัวก็จะ Outperform ได้มากๆ แต่ถ้าผิดก็อาจจะหายนะมาก การจะเลือกสักตัวมาได้อย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องยาก การลงทุนใน Index ของตลาดโลกโดยรวม จึงเป็นการรับประกันได้ว่า เราได้จะผลตอบแทนที่โอเค
โดย
picatos
เสาร์ ธ.ค. 31, 2022 6:02 am
0
17
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
ในหนังสือเรื่อง More from Less เพราะ โลกใบนี้ดีขึ้นอยู่ทุกวัน มาจากปัจจัยสำคัญ 4 อย่าง คือ 1) Technological Innovation 2) Capitalist Competition 3) Public Awareness และ 4) Resposive Government เราเลยเห็นเศรษฐกิจโลกโตขึ้นอยู่ทุกวัน และเห็นเห็นตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นมาตลอด จากในอดีตที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯที่สะท้อนแค่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เฉยๆ พอก้าวข้ามไปสู่ยุคการทำธุรกิจข้ามชาติ ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ก็สะท้อนโลกทั้งใบ จากการทำธุรกิจข้ามชาติ กับการที่ธุรกิจในชาติต่างๆ เข้ามา List ในตลาดสหรัฐฯ ปัจจัยทั้ง 4 อย่างนี้ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยรวมดีขึ้น อย่างไรก็ตามมันก็มีช่วงเวลาที่ รัฐบาลในอดีตหลายๆ รัฐบาล ดำเนินนโยบายผิดพลาด ที่เข้าไปบิดเบือนกลไลตลาด เข้าไปขัดขวางพัฒนาการทางเทคโนโลยี และประชาชนไม่มีสิทธิไม่มีเสีย ทำให้ประเทศ อาณาจักร หรือ Empire หลายๆ แห่งในอดีตหลังจากที่พัฒนาขึ้นจนยิ่งใหญ่ถึงจุดหนึ่ง ก็เสื่อมถอย และเข้าสู่ยุคตกต่ำ บางครั้งก็พังทลาย หายไปเลยทีเดียว แม้ว่าจะชะลอตัว ถดถอย แต่สุดท้ายแล้วมนุษย์โดยรวมก็กลับขึ้นพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น คำถามก็คือ ปัจจัยทั้ง 4 อย่างตอนนี้ยังคงพัฒนาไปในทิศทางที่ดีอยู่หรือไม่ จากที่สังเกต โลกในยุคนี้ให้ความสำคับกับ Technological Innovation สุดๆ กลยุทธ์ของประเทศหลายๆ ประเทศในโลกมุ่งเน้นไปที่เรื่องนี้เลยทีเดียว และการเกิดขึ้นของ COVID ทำให้เหมือนกับเป็นการเปิด Pandora Box ที่ทำให้ Speed ของการไหลเวียนของข้อมูลในโลกนี้ จากที่ข้อมูลบางส่วนเก็บ ปิด เอาไว้ภายใน ถูกเปิดออกมาแชร์ มาช่วยกันด้วยความจำเป็นของ Social Distancing และความพยายามในการเอาชีวิตให้รอดในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทุกวันนี้เราสามารถเรียนรู้อะไรจาก Internet ได้มากขึ้น มีคนเก่งๆ มาสอน มาแปล มาสรุปให้เต็มไปหมด อาจจะมีคนบอกว่าเห็นคนยุคนี้ก็เอาแต่เต้น TikTok หรืออวดสวย อวดรวย ลง Social Media แต่มันก็อาจจะเป็นแค่ในมุม ในสิ่งบ้านๆ ที่เราเห็น แต่มุมของคนที่สนใจเรื่องการศึกษา วิจัย พัฒนา ก็มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ คนที่บำรุงกิเลสก็มี Multiplier ของตัวเอง ในขณะที่คนที่ใส่ใจ ใฝ่ความพยายาม ก็มี Multiplier ของตัวเองเช่นกัน ซึ่งเหล่านี้ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้ Technology Innovation ยังคงพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนของตลาดเสรี ลักษณะธุรกิจจำพวก Platform ที่เป็นตลาด เป็นตัวกลาง ที่ลด Friction ในการทำสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำของมาขาย การเป็นศิลปิน การให้บริการ ก็เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ ที่ทำให้ กลไกของตลาดทำงานได้ดียิ่งขึ้น คนตัวเล็กๆ ที่มีไอเดียในการทำธุรกิจ มีต้นทุนในการทำธุรกิจต่ำลง ตลาดที่เป็นตัวกลาง พอเคลื่อนไปอยู่บน Digital ก็ทำให้กลไลตลาดทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น และจะกระตุ้นให้เกิดทางเลือกของสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ดีขึ้นในราคาที่ต่ำลง ตามทิศทางที่เป็นมา และดูเหมือนว่าจะทำงานได้ดียิ่งขึ้นด้วยซ้ำ ่ในส่วนของ Public Awareness ของโลกใบนี้ เราเห็นการแชร์ข้อมูล แชร์แหล่งข่าวกันใน Social Media ที่มากขึ้น อย่างในไทยเราเลยได้เห็นข่าวการแฉ การถ่ายคลิป การมีปากเสียงของประชาชน และอำนาจของสื่อที่มากขึ้น แม้ว่าเรื่องบางเรื่องที่ Sensitive ต่อความรู้สึก หรือความเชื่อแปลกๆ อะไรหลายๆ อย่างจะทำให้สังคม ความคิดของเราแตกแยกเป็นประวัติการณ์ แต่พอเวลาเป็นทิศทางของเรื่องใหญ่ๆ ในสังคมที่โดยรวมเห็นด้วยตรงกันเราสามารถเข้าถึง Consensus ได้ง่ายขึ้น และสามารถ Feed Back กลับที่ที่รัฐบาลได้ดีขึ้น รัฐบาลรู้ว่าสังคมต้องการอะไรได้ง่ายขึ้น ในส่วนของรัฐบาลฯ ซึ่งอันนี้ก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ถ้ามีโอกาสได้อ่าน Why Nation Fail ก็คงจะทำให้เราได้รู้ว่า ความผิดพลาดของรัฐบาลฯ อาจทำไปสู่ความล่มสลายทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างเวเนซูเอล่าก็ได้รัฐบาลฯ ที่เข้ามาบิดเบือนกลไลตลาด จนทำให้เศรษฐกิจและสังคมพังทลายลง คนไม่มีกิน ไม่มีงานทำ ขนาดผู้หญิงที่การศึกษาดีๆ ในเวเนซูเอล่าต้องไปขายตัวแถวชายแดน หรืออย่างรัสเซียก็มีความคิดความเชื่อแบบแปลกๆ ที่ไปเปิดสงครามกับยูเครน ในระดับประเทศแล้ว มันจะมีประเทศที่รัฐบาลฯ บริหารผิดพลาด เสื่อมถอย และล่มสลายลง แต่ก็จะมีประเทศที่บริหารได้อย่างถูกต้อง มีระบบ กระบวนการที่ดี ที่จะทำให้เกิดสินค้าและบริการที่ดีขึ้นในระดับโลก ไม่จำเป็นต้องเป็นสหรัฐฯ แต่อย่าง สิงคโปร์ เราก็ได้เห็น Grab หรือ Shopee ที่เข้ามาทำให้ชีวิตคนไทยดีขึ้น หรืออย่าง ASML ในเนเธอแลนด์ที่ทำให้อุตสาหกรรม Chip พัฒนาไปได้ไกลอย่างเหลือเชื่อ เมื่อมีคนหนึ่งเสื่อมถอย ก็จะมีคนเข้ามาแทนที่ เพราะ กลไกของตลาด ความเจริญของญี่ปุ่นในอดีต Spill Over ไปที่ไต้หวัน และเข้ามาที่ไทย ความเสื่อมถอยของญี่ปุ่นก็มีเกาหลีเข้ามาแย่งชิงตลาด การเจริญและเสื่อมถอยลงของจีน ก็จะมีเวียดนามและประเทศต่างๆ ขึ้นมาแทนที่ โลกโดยรวมแล้วกำลังดีขึ้นอยู่ทุกวัน ถ้าเรามองกลไกในระดับโลกแล้ว เราจะเหลือ Factor ลงแค่ 3 อย่าง เพราะ เมื่อประเทศหนึ่งเสื่อมถอยลง ก็จะมีประเทศอื่นๆ ขึ้นมาแทนที่ การลงทุนในโลกโดยรวม จึงปลอดภัยที่สุด
โดย
picatos
เสาร์ ธ.ค. 31, 2022 5:29 am
0
15
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
โลกใบนี้ยังดีขึ้นอยู่ทุกวัน เพราะ คนในโลกใบนี้ยังคง "พยายาม" ที่จะทำอะไรให้ดีขึ้นอยู่ทุกวัน ตอนที่เกิด COVID ขึ้นใหม่ๆ ทุกอย่างหดหู่ถึงขีดสุด ผมได้ร่วมฟังสัมมนาอันหนึ่งเกี่ยวกับ Emotional Intelligence วิทยากรเค้าเล่าให้ผมฟังว่า ในช่วง Great Depression ที่หลายๆ คนหมดหวังสิ้นหวัง ได้เกิด Technology Innovation ขึ้นเยอะมาก จากความพยายามในการหาทางแก้ปัญหาในช่วงนั้น คล้ายๆ กับช่วงสงครามโลก ที่ก็จะเกิด Technology Innovation ขึ้นเยอะมาก วิทยากรบอกว่า ใน COVID ก็น่าจะเป็นแบบในอดีต เราจำเป็นต้องมีความหวัง เราจำเป็นต้องมีมองโลกในแง่บวกให้ได้ เราจำเป็นต้องมีความฉลาดในทางอารมณ์ที่จะผ่าน COVID ไป ผ่านมา 2 ปีเกือบ 3 ปี สิ่งวิทยากรพูดเป็นจริงยิ่งกว่าจริง ผมได้เห็นพัฒนการ ความช่วยเหลือ ความพยายาม อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในชีวิตของผม สถาการณ์ ความบีบคั้น ความจำเป็นหลายๆ อย่างทำให้คนพยายามทำสิ่งดีๆ และมีขีดความสามารถในการปรับตัวอย่างเหลือเชื่อ Vaccine COVID ที่ตอนแรกเชื่อกันว่าน่าจะใช้เวลาหลายปีกว่าจะสำเร็จ เสร็จเร็วอย่างเหลือเชื่อ มนุษย์และกลไลของโลกทุกวันนี้มีขีดความสามารถในการปรับตัวที่สูงอย่างเหลือเชื่อ ความพยายามในการหนีตาย เอาตัวรอด ที่บีบคั้นให้คนทั้งโลกต้องพยายามพร้อมๆ กัน เร่ง Speed ของพัฒนาการในโลกใบนี้หลายๆ อย่าง อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างไรก็ตาม ตามธรรมชาติของการเกิด Technology ใหม่ๆ มนุษย์เราจะตื่นเต้น คาดหวัง กับ Technology ใหม่ๆ นั้นมากเกินไปในระยะสั้น แต่จะคาดหวังผลของ Techonology นั้นต่ำเกินไปในระยะยาว ในช่วงที่เกิดฟองสบู่ในช่วงที่ผ่านมา เราก็แค่คาดหวังสูงเกินไปในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้ว โลกไปนี้ ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างสิ้นเชิงเมื่อเทียบกับก่อน COVID เฉกเช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของฟองสบู่ Internet ทุกวันนี้ Internet และ Smartphone ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของเราไปอย่างสิ้นเชิง ในระยะสั้นในช่วงปี 2000 เราก็แค่ตื่นเต้นมากเกินไป แต่จริงๆ แล้วผลกระทบมันใหญ่หลวงมากๆ ในครั้งนี้ผลของการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างจาก COVID ก็จะนำไปสู่พัฒนาของนวัตกรรมอย่างก้าวกระโดดเช่นกัน มันแค่อาจจะใช้เวลานานกว่าที่คิด แต่ในทางพื้นฐานแล้วมันมาแน่ๆ ในอนาคต โลกของเราในอีก 5 ปี ข้างหน้าจะดีกว่าในวันนี้อย่างแน่นอน
โดย
picatos
เสาร์ ธ.ค. 31, 2022 4:48 am
0
15
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
อย่างไรก็ตาม ในยามนี้ทักษะของนักลงทุนหุ้นเทคฯ ที่ต้องใช้มากที่สุด คือ การยกจิตในยามที่ควรยก เสียมากกว่า ถ้าพูดเป็นภาษาของ VI คือ จงโลภในยามที่คนอื่นกลัว ผมคิดว่าระดับความกลัวของนักลงทุนตอนนี้น่าจะไปกันถึงขีดสุด เหมือนกับอ่าน Year-End Message จากป้า Cathie Wood ว่าจากการ Survey ของ BofA ระดับของการถือเงินสดของกองทุนตอนนี้สูงที่สุดนับตั้งแต่ 9/11 นักลงทุน Overweight Bond มากที่สุดนับตั้งแต่ 2009 Put/Call Ratio สูงที่สุดนับตั้งแต่ Dot Com และ Subprime หรือถ้าไปดู Implied Equity Risk Premium ของอ. Damodaran ก็พุ่งขึ้นไปแถวๆ ช่วง Subprime ในขณะที่ Expected Return จากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ของอาจารย์ ก็ขึ้นไปสูงถึง 9-10% นักลงทุนในหุ้นเทคฯ ตอนนี้คงจะรู้สึกกลัวกันหัวหดสุดๆ ซึ่งทักษะในขณะนี้ คือ การยกจิตในยามที่ควรยก ปรับระดับสภาพจิตให้เป็นกลางให้ได้ ก่อนที่จะทำอะไรต่อไป ความกลัวนี่น่ากลัวนะครับ ผมเขียนถึงตรงนี้ ผมยังรู้สึกได้เลยว่าระดับของความเร็วในการเขียนมันลดลง สมองแล่นได้ช้าลง หัวใจเต้นเร็วขึ้น การจะพิมพ์อะไรแต่ละอย่างออกมาเป็นตัวอักษรนี่ มันทำได้ยากเหลือเกิน ในยามที่เรากลัว เราอยากจะหดหัวอยู่ในกระดอง เราอยากจะจมอยู่บนเตียงไม่อยากนอนตื่นขึ้นมารับรู้โลกแห่งความเป็นจริง เราไม่อยากจะได้เจอใคร ไม่อยากจะคุยกับใคร ไม่อยากจะได้ยินเรื่องหุ้นจากใคร อยากจะหนีมันไปให้ไกล ไม่อยากจะรับรู้โลกแห่งความเป็นจริงใบว่า ว่าอัตตาตัวตนของเราที่ก่อนหน้านี้คิดว่ายิ่งใหญ่คับฟ้า ในขณะนี้มันเล็กจิ๋วเหมือนมด และถ้าเป็นไปได้อยากจะมลายหายไปเป็นอากาศธาตุ ถ้าปล่อยให้จิตมันดำเนินไปตามธรรมชาติ ไม่ยกจิต ไม่มีเครื่องมือ ไม่มีคนที่รักและเข้าใจเรา และเกิดเหตุประจวบเหมาะกับมีปมบางอย่างในวัยเด็กหรือชีวิต ความเสี่ยงที่จะหดหู่ ซึมเศร้า และอยากฆ่าตัวตายจะสูงมาก ผมจำได้ว่าช่วง Subprime ทั้งๆ ที่เหตุเกิดที่สหรัฐฯ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประเทศไทยเราโดยตรงสักเท่าไร แต่ผลกระทบของมันที่ทำให้หุ้นไทยตก ทำให้บรรยากาศการพูดคุย หาหุ้นในช่วงนั้นในเว็บ Thai VI นี่คือ เงียบสนิท คนไม่มีกระจิตกระใจ ถอดใจกันไปหมด ในครั้ง Subprime ผมอยู่วงนอกมองมาที่สหรัฐฯ แต่ครั้งนี้ผมอยู่ใจกลางของพายุ เพราะ ลงทุนอยู่ในหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ แบบเต็มๆ บอกได้คำเดียวเลยครับ ว่าประสบการณ์ครั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาบีบคั้น และน่ากลัวมาก แต่ก็สนุกมาก ได้เรียนรู้อะไรเยอะสุดๆ ได้รู้จักตัวเองเพิ่มขึ้นเยอะมาก ได้เห็นสภาพจิตใจตัวเอง และการจัดการของตัวเองในสถานการณ์ต่างๆ หัวใจของสิ่งที่ได้เรียนรู้ในปีที่ผ่านมาที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ว่ายังไงก็ต้องรักษาใจและชีวิตตัวเองในวันนี้ไปให้ได้ เมื่อเราผ่านวันนี้ไปได้ พรุ่งนี้เราก็จะตื่นพร้อมขึ้นมากับใจดวงใหม่ ที่ไม่เคยเหมือนเดิม ความบีบคั้นอย่างรุนแรงเมื่อวาน ก็อาจจะหายไป หรืออาจจะเปลี่ยนรูปแบบไป ไม่คงทนถาวร สถานการณ์บีบคั้นในวันนี้ อนาคตวันหนึ่งก็จะคลี่คลาย ลองจินตนาการคนเจอ Great Depression ที่เจอวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจนคนไม่มีกิน ไม่มีงานทำ จะอดตายเอา หรือคนที่เจอ สงครามโลก ที่บ้านพังทลาย ทุกอย่างสูญสิ้น ญาติพี่น้องเสียชีวิต ว่าสุดท้ายกลไกของโลกเราก็ทำให้โลกเราสามารถผ่านมันไปได้ และมีโลกที่ดียิ่งขึ้น จากวิกฤตต่างๆ ขอแค่เราผ่านวิกฤต หรือ ปัญหาต่างๆ โดยยังรักษาชีวิต รักษาใจของเราไปให้ได้ อนาคตที่ดีมันจะรอเราอยู่อย่างแน่นอน
โดย
picatos
เสาร์ ธ.ค. 31, 2022 4:30 am
0
18
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
ผมคิดว่าทักษะที่สำคัญมากในการลงทุน กับ การใช้ชีวิต คือ การรักษาสภาพความเป็นกลางของใจของเรา ให้มองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เราจำเป็นต้องมีความสามารถในการยกจิตในยามที่สมควรยก ข่มจิตในยามที่สมควรข่ม ในช่วงก่อนหน้าที่มีสัญญาณฟองสบู่มากมาย ผมจำได้ว่าเมื่อปีที่แล้วตอนผมไปอยู่สหรัฐฯ ไปเจอเด็กเสิร์ฟคนไทยคนนึง พอรู้ว่าเป็นคนไทย ทักกัน เค้าก็บอกว่าเค้าลงทุน เล่นคริปโต เค้าว่าเค้าได้อีกสักช๊อตจะเกษียณ อีกหลายๆ วาระเราได้ยินคนหลายๆ ที่ยังมีประสบการณ์ไม่มากได้กำไรจากอะไรเยอะๆ และคนทุกคนกำลังจะรวยแล้ว กำลังจะเกษียนแล้ว เหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนอะไรหลายๆ อย่าง ภรรยาผมถามว่า ถ้าทุกคนเกษียนกันหมดแล้วใครจะทำงาน ผมก็ได้แต่ตอบขำๆ ไปว่า ให้เครื่องจักร หุ่นยนต์ทำงานแทนมั้ง ซึ่งในช่วงเวลาเมื่อปีที่แล้ว มันคือช่วงเวลาที่เราควรข่มจิตในยามที่ควรข่ม ซึ่งมันไม่ง่ายเลยครับในสถานการณ์จริง ช่วงปี 2019 ถึงต้นปี 2020 ผมศึกษาเกี่ยวกับเรื่องฟองสบู่ เรื่องการจะเอาตัวรอดยังไงจากฟองสบู่เยอะมาก พอสถานการณ์จริงมันเกิดขึ้น มันยากกว่าที่คิดมาก ผมว่าเราจะระวังระดับหนึ่งแล้ว เราข่มจิตของเราไม่ให้ตื่นเต้น ร่าเริงมากเกินไป พยายามเอาตัวออกจากสังคม พยายามฟังคนอื่นให้น้อยๆ พยายามไม่ไปยุ่งอะไรกับที่เราคิดว่าเป็นฟองสบู่แล้ว แต่เราก็จะยังมี Bias หรือมีเหตุปัจจัยอะไรบางอย่าง ทำให้เราคิดผิด เห็นผิด กระทำผิด ได้อยู่ Bias ที่ชื่อว่า Status Quo ที่เราพยายามรักษาสภาพ รักษาพลังงาน อยากที่จะจมอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร จากการที่เราเหนื่อยจากการทำอะไรลงไปแล้วก่อนหน้า จนเกิด Sunk Cost Bias ทำให้การข่มจิตในยามที่สมควรข่มทำได้ยาก คุณจะศึกษามาเท่าไร คุณจะได้รับคำเตือนมายังไง คุณจะพยายามหนี ไม่รวมตัวไปวิ่งกับฝูงยังไง แต่ธรรมชาติของ Bias ของเราจะยังคงทำงานอยู่เสมอ ดังนั้นในการลงทุน คุณควรที่จะลงทุนในสิ่งที่คุณมีความเชื่อและศรัทธาจริงๆ ว่าถ้าเกิด Accident อะไรบางอย่างขึ้น สิ่งที่คุณลงทุนมีราคาลดลงไป 50% คุณจะยังทนกับมันได้ คุณจะยังมีศรัทธากับมันได้ ผมพยายามข่มจิตในยามที่ควรข่มแล้ว พยายามลงทุนในกิจการที่ผมชอบ ที่ผมเชื่อ ที่ผมศรัทธาจริงๆ ในระดับที่ผมเชื่อว่าถ้ามันลงหนักๆ การจัดสรรสัดส่วนของพอร์ต จะทำให้ผมยังมีชีวิตรอดต่อไป เตรียมตัวว่าถ้าหุ้นจะตกจะแย่ไป 5-7 ปี ผมก็จะยังโอเคอยู่ เวลาสถานการณ์มันเกิดขึ้นจริง มันยากมากกว่าที่คิดมากๆ เลยครับ Checklist สิ่งที่คิด สิ่งที่วางแผนเอาไว้ เวลาเกิดสถานการณ์จริง มันไม่เคยง่ายแบบในแผน ในสถานการณ์ Black Swan แค่ทำตามแผนได้บ้างก็ถือว่าเก่งแล้ว เพราะ แผนของเราเป็นสิ่งที่ฝืนอารมณ์ ความรู้สึก และธรรมชาติทางพันธุกรรมของเราสุดๆ แต่ผลของการข่มจิตของเราในยามที่ควรข่มจะช่วยลดความเสียหายลงไปได้ ไม่มากก็น้อย ยิ่งมีประสบการณ์ในการข่มจิตในยามที่ควรข่ม วางแผนรองรับ Black Swan ที่อาจเกิดขึ้น อย่างนั้นมันจะทำให้เรากล้าที่จะมองหน้าเข้าไปที่พายุที่กำลังพัดมา เพื่อจะได้ตัดสินใจว่าทิศทางของพายุกำลังจะไปทางไหน เราจะจัดการอย่างไร ถึงแม้ว่าในครั้งนี้เราจะกลัวขาสั่นไม่ได้ทำอะไรตามแผนเลย อย่างน้อยเราก็กล้าที่จะเริ่มมองตรงเข้าไปที่ปัญหาที่กำลังจะพุ่งเข้าใส่เรา ถ้าเชื่อในการลงทุนระยะยาว ถ้าเชื่อว่าในอนาคตวันใดวันหนึ่งพายุจะผ่านไป ท้องฟ้าจะสดใส เราจะยังคงลงทุนต่อไปในระยะยาว เชื่อว่าโลกของเราดีขึ้นอยู่ทุกๆ วัน ถ้าหากเราผ่านไปได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าวันนี้ ในอนาคตถ้าหากพายุลูกถัดๆ ไปเข้ามา เราจะมีความสามารถในการข่มจิตที่ดีขึ้น เราจะวางแผน และ Execute แผนของเราได้ดีกว่าครั้งนี้อย่างแน่นอน
โดย
picatos
เสาร์ ธ.ค. 31, 2022 4:03 am
0
18
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
<< ขอขั้นเวลารายการเล็กน้อย หลังจากเขียนไปเสร็จครั้งที่ 1 นี่คือ การเขียนครั้งที่ 2 >> เนื่องจากการเขียนแต่ละรอบ ผมเขียนในช่วงเวลาต่างกัน เขียนเสร็จในชีวิตจริงผมอาจจะเจอเรื่องราว เหตุการณ์อะไรหลายๆ อย่าง ความไหลรื่น ต่อเนื่องของเนื้อหาอาจจะไม่ต่อเนื่อง หรือเกี่ยวข้องอะไรกันเลย หรือบางนี้เนื้อหา เรื่องราวก็อาจจะออกทะเลไปทางไหนไม่รู้หาทางกลับไม่เจอ ไม่เหมือนเนื้อหาดีๆ ที่มีการวางแผน มีการเตรียมการ ผมก็เลยตั้งชื่อกระทู้ว่า องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมคิดออกว่าเกิดขึ้นในชีวิตการลงทุนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นในการกลับมาเขียนแต่ละครั้ง ผมจะขึ้นจั่วหัวว่าการเขียนครั้งที่เท่าไรเอาไว้ด้วย เผื่อคนอ่านจะตกใจถึงความไม่สอดคล้อง ไม่ไหลรื่น จะได้เตรียมใจเอาไว้ได้ถูกว่าสิ่งที่อ่านกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงจาก เวลาและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในการเขียน
โดย
picatos
เสาร์ ธ.ค. 31, 2022 3:39 am
0
13
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
นอกจากนี้แนวโน้วนึงที่กำลังเกิดขึ้นในโลกก็คือ Universal Basic Income ซึ่งการที่รัฐบาลสหรัฐฯ แจกเงินประชาชนในช่วง COVID เปรียบเสมือนการทดลองในเรื่อง Universal Basic Income ครั้งใหญ่ ในมุมมองของนักเทคโนโลยี Futurist เค้าคิดกันว่า ถ้าเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เราจะเข้าถึงพลังงาน ทรัพยากรต่างๆ มากขึ้น แล้วจะทำให้คนเราจำเป็นต้องทำงานน้อยลง อย่างตอนนี้บางประเทศก็ทำงานกัน 6 ชั่วโมง และจะลดลงเหลือ 4 ชั่วโมง การทำงาน Remote Work ทำให้คนมีเวลามากขึ้น สัปดาห์หน้าอาจจะทำงานไม่กี่วัน ซึ่งถ้าเทคโนโลยีเจริญถึงจุดหนึ่งการจะที่ให้ที่อยู่อาศัยฟรี อาหารฟรี ยารักษาโลกฟรี ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ลองไปดูประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดีๆ ดูสิครับ ว่าเป็นอย่างไร จากแนวโน้มทางเทคโนโลยี จะทำให้ในอนาคตคนทำงานน้อยลง อาจจะไม่ได้เงินมากขึ้น แต่ข้าวของค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ (ไม่ใช่สนองกิเลส) ลดลง หรือได้ฟรี และมันจะดีขึ้นไปเรื่อยๆ จนจะไปถึงจุดที่เกิด Universal Basic Income ซึ่งในพระไตรปิฎกเวลาพระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับความเจริญและความเสื่อมของโลก ก็มีพูดถึงในยุคสมัยที่โลกเจริญมากๆ เรามี AI ที่ฉลาดมาๆ และมีระบบ Universal Basic Income อยู่ ซึ่งนี่ก็จะเป็น Base Line หรือ Worst Case Scenario คือ ขอแค่ให้คุณรักษาใจในการอยู่บนโลกใบนี้อย่างมีความสุขไปเรื่อยๆ เถอะ โลกใบนี้จะดีขึ้นเอง คุณจะไม่จำเป็นต้องลงทุนเลยก็ได้ แค่คุณมีงานทำ คุณมีความสุขกับงานที่คุณทำ และได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม โลกใบนี้จะดีขึ้นเอง ขอแค่คุณรักษาชีวิตคุณผ่านช่วงเวลาต่างๆ ที่เลวร้ายที่จรมาชั่วคราวไปให้ได้ อนาคตที่ดี มีคนดีๆ เก่งๆ กำลังสร้างและจะนำมาแบ่งปันให้กับคุณเอง
โดย
picatos
ศุกร์ ธ.ค. 30, 2022 7:52 am
0
23
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
ถ้าเรามองโลกตามความเป็นจริงได้มากขึ้นแล้ว ความเป็นจริงหนึ่งในการลงทุน คือ ในเมื่อโลกใบนี้ดีขึ้นอยู่ทุกวัน การลงทุนในกิจการ จึงไม่ใช่ Zero Sum Game เงิน 20,000 บาท ในอดีต เราอาจจะซื้อทีวีขาวดำได้สักเครื่อง แต่เงิน 20,000 บาทในวันนี้เราซื้อโทรศัพท์ Smartphone ที่ทำให้อะไรได้มากกว่าเงิน 20,000 บาทในอดีตอยู่มาก ถ้าเราเอาเงิน 20,000 บาทไปลงทุนโดยที่ไม่ได้ผลตอบแทนอะไรเลย เวลาผ่านไป เงิน 20,000 บาทของเรากลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ความหมายก็คือ ถึงแม้เราจะลงทุนขาดทุนไปบ้าง แต่ถ้าการขาดทุนของเราไม่ได้มากไปกว่าพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น โดยรวมแล้วเราก็ยังกำไร เพราะ เรากำลังอดใจกับการไม่ใช้เงิน 20,000 บาท ซื้อทีวีขาวดำ เก็บเงินเอาไว้รอซื้อ Smartphone แทน จริงๆ แล้ว มูลค่าของทีวีขาวดำในยุคนี้มูลค่าต่ำกว่าเงิน 20,000 บาทอย่างมหาศาล ดังนั้น ขอให้คุณใช้ให้น้อยกว่าที่คุณหาได้ และมีเงินเก็บที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ฝากเงินเอาไว้เฉยๆ เดี๋ยวเทคโนโลยีจะทำให้เงินของคุณมีค่ามากขึ้นไปเอง
โดย
picatos
ศุกร์ ธ.ค. 30, 2022 7:41 am
0
21
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ถ้าเราไม่ได้ฝึกจิต ตามปกติแล้ว เราจะไม่ได้มองโลกตามความเป็นจริง การมองโลกตามความเป็นจริง คือ เราต้องฝึกไม่ให้กลไกตามธรรมชาติของเราทำงานตามปกติ เราจำเป็นต้องใช้สติ ใช้ความเข้าใจของแรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจที่ไม่สอดคล้องกับความน่าจะเป็น ความเสี่ยง และโอกาส ในการที่จะมองความเสี่ยงและโอกาสได้ตามความเป็นจริงมากขึ้น เราจำเป็นต้องบันทึก ตรวจสอบ วิเคราะห์ พัฒนาแนวทาง สร้างนิสัย ทำ Checklist และจัดการความรู้สึกเพื่อที่จะ Execute และนำผลลัพธ์กลับมา Feedback ในกระบวนการ เพื่อที่จะทำให้เรามองโลกได้ตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น
โดย
picatos
ศุกร์ ธ.ค. 30, 2022 7:32 am
0
18
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
เมื่อสภาพจิตความปกติ เป็นกลางระดับหนึ่ง คำถามที่ตามมา คือ ทำไมเราถึงรู้สึกแบบนี้ ตอบแบบกำปั้นทุบดิบ ก็คงจะตอบว่า แน่ล่ะ ก็หุ้นมันตกหนักนิ จะให้ร่าเริง มีความสุข สบายใจได้อย่างไร แต่คำถามที่ลึกลงไปกว่านั้น คือ อะไรเป็นตัวกำหนดให้พฤติกรรมของเราเป็นแบบนั้น ทุกคนในโลกเห็นหุ้นตกแล้วเครียด หดหู่รึเปล่า มีคนที่ร่าเริง โลภ เห็นโอกาส ในยามที่คนอื่นกลัวไหม ซึ่งมันก็จะนำไปสู่การศึกษาต่างๆ ตามมาถ้าเราตั้งคำถาม ในช่วงที่ผ่านมาผมพยายามศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ พันธุกรรม พฤติกรรม ความเสี่ยง ฯลฯ เท่าที่เข้าใจ ผมคิดว่า มนุษย์เราถูกพัฒนามาในช่วงยังล่าสัตว์หาของป่า พฤติกรรมของเราหลายๆ อย่าง ที่เกิดขึ้นในช่วงที่โลกยังมีภัยคุกคามอยู่มาก เลยทำให้เรา Sensitive กับข่าวร้าย เพื่อรักษาชีวิตให้รอดไปให้ได้นานที่สุด ขีดจำกัดของระบบสมองที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เราเชื่อการตัดสินใจของฝูง มากกว่าข้อมูลที่เราวิเคราะห์ไม่เป็น และไม่ไหว ฯลฯ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว โลกนี้กำลังดีขึ้นอยู่ทุกวัน ชีวิตของเราทุกวันนี้ดีกว่าเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ดีกว่าเมื่อ 1000 ปีที่แล้ว และดีกว่าเมื่อ 10,000 ปีที่แล้ว ซึ่งลองไปหาหนังสืออย่าง Rational Opitmist, Abandunce The Futures is better than you think, More from Less หรือหนังสือประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของเทคโนโลยี ลองอ่านดูหลายๆ เล่ม แล้วคิดตามก็จะเห็นได้ว่า โลกเรากำลังดีขึ้นอยู่ทุกวัน แต่ทั้งๆ ที่โลกนี้กำลังดีขึ้นอยู่ทุกวัน จะไม่ว่าช่วงเวลาไหนของโลก ก็จะมีคนกลัวว่าทุกอย่างกำลังจะสิ้นสูญ พังทลาย โลกกำลังจะแตก เราจะไม่มีอาหารกิน น้ำมันจะหมดโลก มลพิษจะคร่าชีวิตของเรา อยู่ตลอดเวลา แต่ข้อเท็จจริง คือ โลกใบนี้กำลังดีขึ้นอยู่ทุกวัน จากการที่เรามีพัฒนาการของเทคโนโลยี เรามีตลาดเสรี โลกใบนี้ยังมีรัฐบาลดีๆ ที่สนับสนุนให้เทคโนโลยี และตลาดเสรียังเดินหน้าไปได้อยู่ และแก้ไขปัญหาที่ตลาดแก้ไม่ได้ และเรายังมี Feedback Loop ที่ดีจาก Social Network ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โลกในอีก 10 ปีข้างหน้าจะยังดีกว่าวันนี้ เราจะมี AI ที่เก่งขึ้น ที่ทำให้เราไม่ต้องทนเสียเวลาคุยกับ Call Center ที่ไม่ค่อยจะช่วยแก้ปัญหาอะไรให้กับเราได้เท่าไร เวลาเราอยากจะสร้างบ้านใหม่ เรากับ Designer จะมี AI มาคอยช่วยให้ออกแบบได้ดีขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น การเข้าใจในเรื่องของร่างกาย ยา และอาหาร จะทำให้มนุษย์เจ็บป่วยน้อยลง และชีวิตยืนยาวขึ้น เราจะมีเทคโนโลยีที่เข้าถึงแหล่งพลังงานที่ใช้ไม่มีวันหมด ฯลฯ จริงๆ แล้วโลกใบนี้กำลังดีขึ้นอยู่ทุกวัน แต่รหัสพันธุกรรมที่เราได้รับจากมาจากบรรพบุรุษ ทำให้เรากลัวภัยที่อยู่ต่อหน้า ทำให้เราขยายภัยที่ระดับความรุนแรงสูง แต่มีความเสี่ยงต่ำๆ ให้ใหญ่ น่ากลัว และมีความน่าจะเป็นสูงเกินจริง ในขณะที่เรื่องดีๆ ที่มีความน่าจะเป็นสูง ธรรมชาติของเราจะด้อยค่า ลดความน่าจะเป็นลง พฤติกรรมตามธรรมชาติของเรา ที่ได้รับมาจากวิวัฒนาการ ไม่ได้มองโลกตามความเป็นจริง
โดย
picatos
ศุกร์ ธ.ค. 30, 2022 7:27 am
0
20
Re: องค์ความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้จากการลงทุนหุ้นเทคฯ สหรัฐฯ มา 10 ปี
ปี 2022 เป็นปีที่หุ้นเทคฯ ลงหนัก พอร์ตผมก็เจ็บหนักที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 เช่นกัน ซึ่งอันนี้เป็นสถานการณ์เริ่มต้นของการเขียนขณะนี้ ผมจะเริ่มต้นด้วยความรู้สึกที่เป็นปัจจุบันที่ผมเชื่อว่าคนที่ลงทุนหุ้นเทคฯ รู้สึกกัน - สิ่งที่ผมศึกษามา คือ เวลาที่สภาพจิตของเราอยู่ในสภาวะที่หดหู่เศร้าหมอง เป็นทุกข์มากๆ เหมือนหาทางออกอะไรไม่ได้ ผลของมันที่นักวิจัยพบ คือ ระดับ IQ ของเราจะลดลงประมาณ 13-14 จุด กล่าวคือ ถ้าคนฉลาด คุณจะกลายเป็นคนธรรมดา ถ้าคุณเป็นคนธรรมดา คุณจะกลายเป็นคนโง่ ความสามารถในการควบคุมตัวเองจะต่ำลง การตัดสินใจจะแย่ถึงแย่ที่สุด คุณจะหมกหมุ่นอยู่กับปัญหา จนสูญเสียขีดความสามารถต่างๆ ที่จะทำอะไรให้ได้เป็นปกติ - ถ้าปัญหาที่หุ้นตกทำให้เราเกิดสภาพจิตที่ไม่ปกติ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ คิดไม่ออก อันนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องแรกที่เราต้องแก้ให้ได้ เพราะ ถ้าจิตใจเราไม่พร้อม ไม่สงบ ไม่ว่างพอจริงๆ ปัญหาง่ายๆ อย่างบวก ลบ คูณ หาร เลขยังไม่ได้ค่อยได้เลย จะให้ไปแก้พอร์ตนี้ บอกได้เลยว่ายาก ดังนั้นขั้นแรกที่สุด เราต้องแก้สภาพจิตของเราให้สงบลงให้ได้ก่อน - มันมีวิธีแก้หลายอย่าง ซึ่งแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ด้วยความที่ผมศรัทธาในพระพุทธศาสนา และการฝึกจิต ผมก็ใช้การปฎิบัติธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิ และพักผ่อนออกจากปัญหา ในการ Tune สภาพจิตใจให้พร้อมก่อนกลับมาวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาทางแก้ ซึ่งแต่ละคนพื้นฐาน ประสบการณ์ นิสัย ปม เครื่องมือ วิธีการที่เหมาะสมก็แตกต่างกันไป วิธีของผมมันใช้ของผมได้ เพื่อนๆ ที่มีปัญหาเดียวกันกับผมนี้อาจจะใช้วิธีการแบบผมไม่เวิร์ก ก็คงต้องหาวิธีการที่เหมาะสมกับตัวเอง - แต่วิธีการของผมมันมี Concept แบบนี้ครับ คือ การปฏิบัติธรรมของผมจะฝึกสติ ให้อยู่กับการเดินกลับไปกลับมา และอยู่กับการนั่งดูลมหายใจเข้าออก พอมีอะไรมารบกวน ดึงดูดสติให้หลุดจากการเดิน หรือลมหายใจ ก็รู้ตัวว่าหลุดออกไป แล้วก็ดึงความสนใจกลับมาที่การเดิน หรือ ลมหายใจ ฝึกทำไปบ่อยๆ เรื่อยๆ จนเป็นกิจวัตรจนเป็นนิสัย วิธีการนี้จะช่วยให้เรามีขีดความสามารถในการดึง หันเห ความสนใจและปักอารมณ์กลับเข้าไปในสิ่งที่เรากำหนดให้เป็นเป้าหมายได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นทักษะสำคัญในการจัดการอารมณ์ เพราะ การเดิน หรือ การหายใจ เป็นเรื่องสามัญธรรมดาที่สุดแสนนะน่าเบื่อในชีวิตมนุษย์ ถ้าหากเราสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งที่น่าเบื่อได้ ทิ้งความคิด อารมณ์ ความทรงจำ การคิด การจินตนาการ ที่ดูแล้วสนุก หรือ ดึงดูดใจมากกว่าได้ มันก็จะทำให้เรามีขีดความสามารถในการจัดการอารมณ์มากขึ้น โดยเฉพาะ ในยามที่หุ้นตกหนัก โลกดูหดหู่ขนาดนี้ - คุณอาจจะไม่ใช้วิธีการเดียวกับผม แต่ทำอะไรสักอย่างเถอะ ให้ใจของเราที่เป็นทุกข์ ที่หดหู่ กลับขึ้นมาสงบ มีสมาธิ ร่าเริง พร้อมที่จะทำงาน แก้ปัญหา ตลอดจนหาโอกาสให้เจอ
โดย
picatos
ศุกร์ ธ.ค. 30, 2022 7:06 am
0
28
Re: คุณยังใส่หน้ากากอยู่หรือเปล่า? เราเป็นแกะดำหรือแกะสีขาว?
ผมขอถามอ.ตี่เปนความรุ้หน่อยนะครับ เวลาดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นนี้ อ.ตี่คิดrisk free rateจากการคาดการณ์ดอกเบี้ย/bond yieldในอนาคตจากพวกanalystหรือใช้ของปัจจุบันครับ ขอบคุณครับ โดยส่วนตัวแล้ว ภาพ Macro ความถูกความแพงของตลาด และทิศทางตลาดโดยรวม จะเป็นปัจจัยในการจัด asset allocation เสียมากกว่า ซึ่งผมก็จะดูระดับถูกหรือแพงของตลาด ผสมกับทิศทางของตลาดในปัจจุบัน ถ้าตลาดแพง sentiment ไม่ดีก็จะถือสัดส่วนเงินสดมากหน่อย แต่ถ้าตลาดถูก sentiment โอเค ก็จะถือหุ้นเยอะหน่อย จากนั้นก็เอาค่า ERP, beta ที่ implied มาจากตลาด กับค่า risk free rate อย่างพวก T-Bond มาใช้ทำ valuation ถึงแม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยกับอัตราดอกเบี้ย หรือค่าความเสี่ยงที่ใช้ในปัจจุบันก็ตาม ทั้งนี้เพราะความไม่เห็นด้วยดังกล่าวถูกใช้ไปแล้วในการปรับ asset allocation ไปแล้ว การจะเอา rf rate หรือ erp มาใช้ในการ valuation อีก มันจะเป็นการ double counting และทำให้ model ในการทำ DCF ของผมมันยิ่งเพี้ยนไปไกล ผมพยายาม simplify เรื่องต่างๆ ลงโดยไม่เอามาปนกัน โดยผมเชื่อว่าผมเดาความถูกแพงของหุ้นได้ดีกว่า การเดาทิศทางและความถูกแพงของตลาด ผมเลยไม่อยากให้ view ของตลาด มา contaminate valuation ของหุ้นรายตัว และที่สำคัญ คือ ถ้าเราเข้าใจว่าการที่เราทนความเสี่ยงจากการลงทุน มันมีผลตอบแทนที่ชดเชยกับความทุกข์ที่ต้องแบกรับจากการลงทุน ยังไงการลงทุนในหุ้นระยะยาวก็ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนอย่างอื่น
โดย
picatos
อังคาร พ.ย. 01, 2022 8:03 pm
0
12
Re: คุณยังใส่หน้ากากอยู่หรือเปล่า? เราเป็นแกะดำหรือแกะสีขาว?
หุ้นที่มันจะกลับมาโตได้หลังจาก Bull Whip Effect นี้ แต่ต้องบอกว่า พอ growth มันชะลอเยอะๆ ก็ยังเสียวๆ อยู่เลยครับว่ามันจะกลับมาโตได้แค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น Shopify เป็นต้น (ถ้าใครมีตัวไหนที่คิดว่า return กลับมาโตแบบ precovid ได้กระซิบมานิดนึงนะครับ 555) เยอะแยะครับ สิ่งที่คนกลัวตอนนี้ คือ กลัวเยอะเกินความจริงไปไกลเลยครับ จิตวิทยาของมนุษย์เรา ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับสถิติ base rate, mean revision หรือ bayesian probability ทำให้เกิดพฤติกรรมตาม prospect theory ที่นำไปสู่การตัดสินใจแปลกๆ ที่อาจจะสบายใจ แต่ไม่ค่อยสมเหตุสมผล ในทางเทคโนโลยีมนุษย์เราก็ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ exponential growth และ bullwhip effect ได้ยาก ในทางบัญชี หุ้นเทค ดันไปใช้มาตรฐานการบัญชีที่อิงกับระบบเศรษฐกิจที่อิงกับโรงงานและค้าปลีก ทำให้งบลงทุนอย่าง R&D กับ CAC มันไปยำรวมกันใน Opex ในขณะที่ revenue recognition ก็ conservative เกินไป ในขณะที่ SBC ก็ทำให้หา FCF จริงๆ ได้ยาก ในทาง valuation ข้อสรุปจากการอ่านบทวิเคราะห์หุ้น tech ต่างประเทศมา 10 ปี ก็อย่างที่ อ. Damodaran ว่า คือ นักวิเคราะห์ทำ valuation กันได้มั่วมาก อย่าง Meta แทนที่จะทำ SOTP ก็ดันใช้ aggregate business ซะงั้น ความเป็นจริงที่เกิดกับ Amazon ช่วงหลังฟองสบู่ dot com แตก ยิ่งเป็นจริงในยุคนี้ เทคโนโลยี AI ล่าสุด กับการบรรจบกันของเทคโนโลยีหลายๆ อย่าง จะสร้างสรรค์ use case ที่ยิ่งกว่ายุค internet และ smart phone Case study ในอดีต ข้อมูลทางสถิติในระดับ macro ที่นักวิเคราะห์ หรือ คนขี้กลัวที่มองโลกในแง่ลบมาใช้เล่นงานกับเรา บางที่เราก็ต้อง counter balance ด้วยการเอาข้อมูลทางสถิติในทาง micro มาหา base rate และ probability มาหาข้อสรุปที่ทำให้เราจะไม่ไปเหยียบกันตายแบบคนหนีไฟไหม้ เหตุผลในการลงทุนระยะยาวตอนนี้มีเยอะแยะครับ แค่กล้าที่จะเลิกใส่หน้ากากในที่สาธารณะ เลิกที่จะคิดที่จะเป็น alpha male เลิกกลัวที่จะถูกฝูงทิ้ง เพราะ เมื่อเลิกกลัวที่จะถูกฝูงทิ้ง เราจะเห็นว่า มันมีฝูงอีกฝูงหนึ่งที่เล็กกว่า ที่ลงมาเก็บข้าวของ ของป่า ที่มหาชนโยนทิ้งเอาไว้ หรือเห็นโอกาสจาก landscape และ demography ที่เปลี่ยนไป เกาะ founder led company ที่กำลังสร้างกิจการที่เปลี่ยนโลก ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ในยุคนี้ให้ดีครับ เพราะ จริงๆ แล้วเราไม่ได้อยากได้ next Amazon ตอนกำลังจะ drawdown แต่เราอยากจะได้ next Amazon ตอนขาขึ้นรอบใหม่ ที่คราวนี้ เราคงจะถือไปได้ยาวๆ แบบทน drawdown ได้มากกว่านี้ และธุรกิจแข็งแรงกว่านี้ สำคัญที่สุด คือ เมื่อเลิกใส่หน้ากากแล้ว เราต้องหาความสุขจากภายในจากการไม่ใส่หน้ากากให้เจอ ความสุขที่ได้เป็นอิสระ ที่สามารถทำสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล ที่เราภูมิใจและพอใจกับตัวเราเองได้ ถ้าทำได้สำเร็จ นอกจากจะได้ผลลัพธ์ในการลงทุนที่ดีแล้ว ทางเดินของเราก็จะเข้าสู่ระดับ self actualization โดยอัตโนมัติ ซึ่งสุขกว่า ปราณีตกว่าระดับ self esteem ขึ้นไปอีกขั้นครับ และไม่ต้องกลัวว่าถ้าทิ้งฝูงนี้ไปแล้วจะไม่มีฝูงใหม่นะครับ พวก self actualization เค้าก็มีฝูงของเค้าเหมือนกัน แต่ฝูงเล็กกว่า ปราณีตกว่า เพราะ เค้ามีความสุขกับตัวเองโดยไม่ต้องเข้าฝูงแล้ว ดังนั้นการจะไปเข้าฝูงแต่ละครั้งต้องมีคุณค่า ความหมาย และทำดี ปรารถนาดีต่อกันจริงๆ
โดย
picatos
อังคาร พ.ย. 01, 2022 4:20 am
0
23
Re: 📍(ประกาศรายชื่อ) ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมหลักสูตรอบรมฯ รุ่นที่ 18
ผมเคยสอน Valuation ให้กับทางสมาคม ตอนสอนครั้งสุดท้าย ผมขอทางสมาคมฯ ให้ช่วยอัดวีดีโอให้หน่อย สอนเสร็จแล้ว ช่วยเอาวีดีโอที่อัดเอาไปเผยแพร่ทาง YouTube ให้ที เพราะ ผมรู้ว่านี่อาจจะเป็นการสอนครั้งสุดท้ายในชีวิต และผมอยากจะให้ความรู้ที่ถึงแม้ว่าจะมีอยู่น้อยนิดนี้ เป็นประโยชน์กับใครบ้างสักคนในอนาคต ในวงกว้าง มาถึงตอนนี้ เวลาผ่านมา 7 ปีเลย แต่วีดีโอดังกล่าวก็ไม่เคยได้รับการเผยแพร่ เคยทวงถามไป 2-3 ครั้ง แต่ก็ไม่เป็นผล เข้าใจว่าทางสมาคมคงมีเหตุผล แต่ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจเหตุผลเหมือนกันว่าทำไม และไม่เคยได้รับคำอธิบาย มาถึงวันนี้ มองย้อนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหลักสูตรล่าสุด เหมือนจะเข้าใจเหตุผลของทางสมาคมมากขึ้น ผมคิดว่าทางสมาคมคงจะคิดว่า สิ่งที่ผมสอนไปในตอนนั้น มีข้อผิดพลาดบางอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นโทษเป็นภัยกับผู้เรียนหากเผยแพร่ในวงกว้าง ซึ่งถ้าให้ผมมาสอนใหม่ในวันนี้ ก็คงจะสอนได้ดีขึ้น มีข้อผิดพลาดน้อยลง และคงจะเป็นโทษเป็นภัยกับผู้เรียนน้อยลง แต่ ณ วันนี้ที่รู้จักอะไรมากขึ้น ego ที่ใหญ่พอที่จะสอนอย่างในอดีตก็ไม่มีเหลือพอให้พูด ให้สอนใครอีกแล้ว ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณทางสมาคมจริงๆ นะครับที่ไม่เผยแพร่การสอนในอดีตของผม ทำให้ผมไม่ต้องรับกรรมจากการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ผิดไปในวงกว้าง และต้องอับอายความผิดพลาดของตัวเองไปมากกว่านี้ การสอนคนจำนวน 10 คน ผลของกรรมที่มีน้อย ก็ทำให้คนสอนกล้าพูดสิ่งที่โง่ๆ ได้มากกว่าเวลาสอนคน 90 คน ยิ่งไม่ต้องพูดถึงจำนวนคนระดับ infinity เวลาลงไปอยู่ใน platform แบบ YouTube ที่ไม่จำกัดจำนวนคน และไม่จำกัดเวลา ผมคิดว่า ยิ่งคนสอนเก่งขึ้นมากเท่าไร ก็ยิ่งรู้ว่ามีสิ่งที่ไม่ควรพูดมากขนาดไหน ถ้าไม่จำกัดคนเรียน ไม่จำกัดให้เป็น live เท่านั้น คนที่มีปัญญาจริงๆ คงจะไม่ค่อยกล้าพูด กล้าสอนเท่าไร ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีข้อมูลขยะเป็นจำนวนมากในอินเตอร์เน็ต และการจะเข้าถึงนักปราชญ์หรือผู้มีปัญญาจริงๆ ต้องสั่งสมเหตุ เข้าไปหาด้วยความนอบน้อม ใช้เวลา และความเพียร ปราชญ์เหล่านั้น ยอมรับและเชื่อก่อนว่าสิ่งที่พูดออกไปจะไม่มีภัยต่อผู้ฟัง จึงจะกล้าพูด กล้าบอกกล่าวสั่งสอน แต่ในกรณีของอาจารย์ Damodaran นี่เป็นคนที่สั่งสมเหตุมาสมบูรณ์ดีแล้ว รู้ชัดถึงความปรารถนาที่จะเป็นอาจารย์สอน valuation ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาโท องค์ความรู้สมบูรณ์พร้อม มีเมตตาในการเผยแพร่องค์ความรู้อย่างเต็มเปี่ยม แถมมีอัตตาเบาบางพร้อมที่จะยอมรับว่าตัวเองเป็นคนผิด และพร้อมที่จะรับฟังเรียนรู้ตลอดเวลา การจะเอาอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร ThaiVI ไปเทียบกับอาจารย์ระดับโลกที่ทำเหตุมาดีแล้วคงจะเกินเอื้อมเกินไปสำหรับพวกเราชาวไทย แค่จะสร้างกำลังใจให้กับตัวเองในการสอนคนแค่ 100 คน ยังเป็นภาระที่หนักสำหรับเราเลยครับ ดังนั้น ผมขอความเห็นใจให้กับทางสมาคมด้วยนะครับ
โดย
picatos
อังคาร ก.ย. 27, 2022 3:03 am
6
31
เป้าหมายในการลงทุน คือ จุดเริ่มต้นของทุกข์
ตอนที่ผมฝึกปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติ คำสอนของอาจารย์ที่จำได้แม่นติดหัวเลย คือ กำหนดกายเห็นเวทนา กำหนดเวทนาเห็นจิต กำหนดจิตเห็นธรรม สติปัฎฐาน 4 พระพุทธองค์ให้แนวทางในการฝึกสติเข้าไปฝึกรู้ไล่จากของหยาบไปของละเอียด เมื่อสติของเราเข้าไปสังเกต เกาะติดอาการของกายบ่อยๆ เข้าก็จะเห็นของละเอียดอย่างเวทนาที่แฝงมากับกายได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติ และเมื่อเราเห็นเวทนาได้บ่อยเข้า ก็จะเห็นความจริงที่ว่ากายเราเคลื่อนไหว ตัดสินใจไปทำอะไร เพราะ เกิดแรงบีบจากเวทนา ได้เห็นว่าที่กายเคลื่อน ก็เพราะ จิตอยากจะให้ทุกข์ที่เกิดขึ้นมันดับไปบ้าง ได้เห็นว่าที่กายเคลื่อน เวลาเห็นอะไรหรือคิดถึงอะไรบางอย่าง แล้วจิตอยากจะได้ความสุข จึงพุ่งทะยานออกไปทำสิ่งต่างๆ บ้าง ได้เห็นว่า เมื่อเราก้าวข้ามผ่านแรงบีบจากเวทนา สามารถที่รักษากายให้อยู่เฉยๆ ดูสภาวะ ดูสิ่งที่เกิดขึ้นในใจที่เกิดขึ้นโดยสักแต่ว่าเป็นสภาพที่เกิดขึ้นและดับไป ไม่ไปพยายามดิ้นรนแก้ไขทำอะไร สิ่งที่เกิดขึ้นหากไม่มีแรงส่งมันก็ดับลงเองตามธรรมชาติ จนเกิดความปล่อยวางหลุดพ้น เป็นอิสระ มันก็มีความความสงบสุขอีกรูปแบบหนึ่งขึ้น ที่แตกต่างจากความสุขแบบเดิมๆ เมื่อจิตเราเป็นสมาธิ ปล่อยวาง หลุดพ้นจากแรงยึดทางโลกได้บ่อยๆ เราจะได้เห็นกระบวนการเกิดขึ้นของความคิด คำพูด และการกระทำต่างๆ ขึ้นได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากใจที่กำลังสงบอยู่กับกาย แล้วมีความคิด ความทรงจำที่แฝงด้วยสุขทุกข์บางอย่างเกิดขึ้นในจิต ได้เห็นใจพุ่งเข้าไปยึดในสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น จนเกิดปรุงแต่งทางความคิด ต่างๆ ตามมา ปรุงแต่งๆๆ ถึงจุดหนึ่ง สภาพความปรุงแต่งต่างๆ ก็ดับลงกลับเข้าสู่ความสงบ กลับเข้ามามีสติที่หลุดพ้นจากอารมณ์อีกครั้ง และได้เห็นกระบวนการพิจารณาสิ่งที่พึ่งเกิดขึ้นไปก่อนหน้า สรุปเป็นองค์ความรู้บันทึกเข้าไปในจิต เท่าที่ผมเข้าใจ การได้เห็นธรรมชาติกระบวนการปรุงแต่งของจิตแบบนี้เรียกว่าได้ เห็นธรรม หรือฝึกสติในหมวดธัมมานุปัสสนา (ท่านได้แบ่งแนวทางในการสังเกตกระบวนการแบบนี้เอาไว้ 5 รูปแบบ) ท่าทีที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้เห็นกระบวนการที่เกิดขึ้น ท่านสอนให้ดูในมุมมองของนักศึกษา นักวิจัย ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตของเรามันมีกระบวนอย่างไรในการเกิด และมีกระบวนการอย่างไรในในการดับ มีกระบวนการอย่างไรในการป้องกันสิ่งไม่ดีอย่างไร และมีกระบวนการอย่างไรในการพัฒนาสิ่งดีๆ อย่างไร เป็นการดูเฉยๆ แบบนักวิจัยที่ทำการทดลองกับจิตตัวเอง ซึ่งผลของการฝึกสติในฐานธรรมนี่เอง หากสามารถฝึกจนกลายเป็นธรรมชาติใหม่ของเราได้ ผมเชื่อว่ามันจะมีส่วนช่วยในการลงทุนของเราอย่างมาก ในทางพุทธ เหตุแห่งทุกข์ ก็คือ ตัณหา หรือ ความทะยานอยาก คือ ทั้ง อยากได้ อยากมี อยากเป็น ตลอดจนความไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ถ้าเราตั้งเป้าอยากได้อะไรบางอย่างที่สูงเกินตัว อยากได้มากๆ แล้วเราทำไม่ได้ ห่างจากเป้าไปไกล เราก็เป็นทุกข์มาก แต่ถ้าเราตั้งเป้าไม่ได้สูงเกินไป และก็ไม่ได้อยากได้อะไรมากมาย ประมาณว่า ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร อย่างนี้เวลาเราทำไม่ได้ มันก็ไม่ได้ห่างจากเป้าเกินไป ก็จะเป็นทุกข์น้อยกว่า ความทุกข์จากการลงทุน รากของมัน เกิดจากการตั้งเป้าที่ไม่เหมาะสมกับ ระยะเวลาในการลงทุน ความสามารถในการรับความเสี่ยง และความพยายามที่เราใส่ลงไป ในการปฏิบัติธรรมจนถึงจุดหนึ่งเราจะมีธรรมชาติของความเป็นนักวิจัยขึ้นมา ที่เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ซึ่งในการพัฒนาองค์ความรู้ นอกจากทำการวิจัยสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตแล้ว มันจะเกิดฉันทะที่จะไปศึกษาหาข้อมูล ทำงานวิจัยจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อเอามาใช้ประกอบการปฏิบัติธรรม ซึ่งธรรมชาตินี้จะติดตัวไปด้วยในการลงทุน เราจะพิจารณา ถามตัวเองอยู่เป็นระยะๆ ว่า ว่าความคาดหวังในการลงทุนของเรา มันสอดคล้องกับเหตุปัจจัยที่เราทำหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ในการคาดหวังผลตอบแทนในการลงทุนหากดูจากสถิติ ถ้าถือหุ้นรายตัวอาจจะหวัง ผลตอบแทนได้ประมาณ 10% ในขณะที่พอร์ตหุ้นที่กระจายความเสี่ยงอาจจะหวังผลตอบแทนได้ประมาณ 7-8% อย่างอ. Damodaran ที่ขยันมากๆ บอกว่าถ้าอาจารย์ได้ ผลตอบแทน 10% ในตลาดในช่วงนี้ก็ถือว่าเป็นผลตอบแทนที่ดีแล้ว เพราะตลาดโดยรวมส่วนสะท้อนผลตอบแทนแค่ 6-7% การที่จะไปหวังว่าจะได้กำไรเป็นเด้งอาจจะเป็นจุดกำเนิดแค่ความผิดพลาด และทำให้เกิดความเสียหายได้ ผมลองคำนวณผลตอบแทนตลาดที่สะท้อนผ่าน Risk Free Rate และ Implied Equity Risk Premium ตาม ไฟล์นี้ของอาจารย์ ก็เห็นว่า ณ ขณะนี้เราสามารถหวังผลตอบแทนได้ที่ 6.99% โดยส่วนตัวผมมีแนวทางลงทุนในกิจการที่มีผลกระทบในเชิงบวกกับโลก ผมอยากให้การลงทุนของผมสอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินชีวิต ผมอยากได้ผลตอบแทนในเชิงอารมณ์เวลาเห็นพัฒนาของกิจการพวกนี้ได้เปลี่ยนชีวิตคนไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งกิจการพวกนี้อาจจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงกว่าบริษัทปกติ ในขณะที่เอากำไรจากลูกค้าต่ำกว่ากิจการปกติ ผมจึงหวังผลตอบแทนจากการลงทุนอยู่ที่ 5% ผมเชื่อว่าถ้าผมตั้งเป้าไม่สูงเกินไป ก็น่าจะกดดันไม่มาก และไม่เป็นทุกข์มาก จริงอยู่ว่าผมเลือกซื้อหุ้นผมคิดว่าคุณภาพดี ราคาไม่แพง แต่ผมก็แค่หวังว่า ความคุณภาพดี ราคาไม่แพงนี้ จะช่วยเป็น Margin of Safety ของความ Over Confidence เข้าใจผิด คิดไปเองของผม ที่เกิดขึ้นตามธรรมดาของมนุษย์ และจากสถิติของตัวเองในอดีต อคติของผมมักจะทำ Valuation ได้สูงกว่าความเป็นจริงตลอด ดังนั้นการหวังว่าจะได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าตลาดน่าจะให้ทำปลอดภัยในทางอารมณ์ระดับหนึ่ง จริงอยู่ที่ว่า ผลของการฝึกในขั้นต้น ทำให้เราอยู่กับความทุกข์ ความบีบคั้นทางอารมณ์ได้มากขึ้น แต่ข้อเท็จจริงก็คือ หากเราตั้งเป้าผิดด้วยองค์ความรู้ผิด เราก็ยังเป็นทุกข์อยู่ดี หากเราตั้งเป้าถูกด้วยองค์ความรู้ถูกก็จะเป็นสุขดังที่พระธรรมทินนากล่าวเอาไว้ว่า “อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด” เราทนกับความทุกข์ได้มากขึ้น ความทุกข์สั้นลงก็จริง แต่ตราบใดยังทำสิ่งที่ผิด และตั้งเป้าผิด มันก็ยังทุกข์อยู่ร่ำไป การประหารความทุกข์ได้ต้องดับเหตุแห่งทุกข์ จากการไม่มีวิชา ไม่มีองค์ความรู้ ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการลงทุน สุดท้าย... ผมยังเป็นนักเรียนที่รู้น้อย ยังมีเรื่องที่ต้องเรียนรู้อีกเยอะ และยังคงทำสิ่งที่ผิดอยู่เรื่อยๆ แต่ผมสนุกไปกับทุกวันที่ผมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ความเห็นทั้งหมดก็เป็นแค่ความเห็นของนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบ ยังไม่รู้แจ้ง ไม่อาจเรียกตัวเองว่าเป็นอาจารย์อะไรกับใครเค้าได้ แต่ผมเห็นประโยชน์ของการเรียนรู้ในการฝึกเจริญสติ และปฏิบัติธรรม ซึ่งคิดว่าน่าจะมีประโยชน์มากๆ กับการลงทุน จึงอยากเชิญชวนเพื่อนๆ ให้มีโอกาสได้มาทดลองดู มาฝึกและเรียนรู้ไปด้วยกันครับ ขอบคุณที่กรุณาสละเวลาอ่านจนถึงข้อความนี้นะครับ หากมีสิ่งใดที่ผมทำอะไรผิดพลาด ล่วงเกินอะไรใครไป จากบทความนี้ ผมกราบขออโหสิ ขออภัยด้วยนะครับ
โดย
picatos
จันทร์ มี.ค. 28, 2022 5:05 am
2
14
การลงทุนระยะยาว เป็นสิ่งที่ฝืนสัญชาตญาณของมนุษย์
แนวความคิดเรื่องที่เราเคยเรียนเคยศึกษากันมาว่าให้มองการลงทุนเป็นธุรกิจ เป็นส่วนหนึ่งของกิจการ เป็นแนวคิดที่สมเหตุสมผล แต่ฝืนธรรมชาติที่ฝังมาใน DNA ของมนุษย์ ยิ่งถ้ามีแนวคิด Value Investing แบบ Warren Buffet หรือ Howard Marks ที่เป็นนักลงทุนระดับตำนาน คนพวกนี้ทำได้เพราะมี Condition พิเศษ ที่ต้องดูกันที่แดนกำเนิด และช่วงเวลาที่เกิด ที่ทำให้เค้าฟอร์มตัวในวัยเด็กและช่วงเวลาที่เริ่มทำงานที่ทำให้เค้าเป็นอย่างทุกวันนี้ ถ้าผมจำไม่ผิด Warren Buffet เกิดในช่วง Great Depression เลยได้ผ่านช่วงเวลาในวัยเด็กมาท่ามกลางความยากลำบากทางเศรษฐกิจ โตขึ้นมาโดยมี Benjamin Graham ที่ใช้แนวคิดในการลงทุนพันธบัตรมาหาซื้อหุ้นก้นบุหรี่ในตลาดหุ้นหลังช่วง Great Depression เมื่อบัฟเฟตโตขึ้นเขาเลือกที่จะทิ้งนิวยอร์กเมืองหลวงแห่งการเงินของสหรัฐฯ ไปอยู่ในเมืองที่เงียบสงบอย่าง Omaha ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ ปราศจากสิ่งเร้า ค่อยๆ พัฒนาทีละขั้นๆ เก็บ level ไปเรื่อยๆ ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลจาก Charlie Munger ในเรื่องของคุณภาพกิจการ กว่าจะเป็นทุกวันนี้ ความประจวบเหมาะของเหตุปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เค้ามีเวลาค่อยๆ พัฒนาตัวตนของเขาขึ้น จนทำให้เค้ามีความอดทน และเป็นอิสระต่ออารมณ์สูง สามารถคิดวิเคราะห์และตัดสินใจได้โดยไม่ถูกอิทธิพลของตลาดครอบงำ Howard Marks เริ่มต้นอาชีพในการซื้อขาย High Yield Bond ในช่วงเวลาที่ Nifty Fifty Bubble แตก และเศรษฐกิจเกิด Stagflation ทำให้ Howard Marks มีหลักการลงทุนที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากนักลงทุนปกติ เขาอยู่ในพื้นที่ๆ ที่หดหู่ที่สุดในตลาดทุน จากภาวะเงินเฟ้อที่สูงเสียดฟ้า ที่มาพร้อมๆ กับเศรษฐกิจตกต่ำ แต่สามารถทำกำไรได้มหาศาล การฟอร์มตัวของเขา จากการที่ได้กำไรทุกครั้งเวลาตลาดหดหู่ ทำให้เขาสามารถอิสระจากความหดหู่ของตลาด กล้าที่จะมองต่าง กล้าที่จะซื้อสวน เพราะ ประสบการณ์ชีวิตที่พิเศษแบบนี้ เส้นทางชีวิตของ Value Investor ระดับตำนาน จำเป็นต้องมีเงื่อนไขประกอบกันที่จะทำให้มีสภาพจิตใจแตกต่างจากคนปกติ คนปกติจะถูกอิทธิพลของ DNA ที่สั่งการให้เราทำสิ่งต่างๆ ตามสัญชาติญาณในการเอาตัวรอดที่เกิดขึ้นในกระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติที่พัฒนามาตั้งแต่สมัยเป็นสัตว์ เราถูก DNA สั่งให้กลัวและตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า อย่างเช่น เสือหรืองู เพื่อที่จะหนีจากภัยคุกคามให้เร็วที่สุด มากกว่ากลัวภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราถูก DNA สั่งให้เสพความสุขที่อยู่ต่อหน้าอย่างเต็มที่ เพราะ ในสมัยยุคล่าสัตว์หาของป่า เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าพรุ่งนี้ มะรืนนี้เราจะหาอาหารได้แบบนี้อีกหรือเปล่า แม้ว่าความสุขที่อยู่ต่อหน้าจะนำมาซึ่งทุกข์ และภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราถูก DNA สั่งให้ทำตามฝูง วิ่งตามฝูง รักษาสถานะในฝูง เพราะ ถ้าเราไม่ได้รับการยอมรับในฝูง หรือถูกฝูงทิ้ง เราจะอดตาย มีชีวิตอยู่ไม่ได้ แม้ว่าฝูงทั้งฝูงกำลังจะวิ่งลงสู่หน้าผาก็ตาม ถ้าผมจำไม่ผิด Warren Buffet บอกว่า ถ้าคุณเป็นคนปกติธรรมดา เป็นแค่ค่าเฉลี่ย คุณไม่เหมาะที่จะมาเลือกซื้อหุ้นถือเป็นรายตัว คุณควรจะลงทุนโดยการซื้อ Index Fund น่าจะดีกว่า แต่ DNA ของเรามักจะบอกกับตัวเราเองว่า เราเป็นคนที่เก่งกว่าค่าเฉลี่ย เราทำได้ มีคนทำได้ เราก็น่าจะทำได้ ดังนั้นเราถึงมานั่งจ่องอยู่ในเว็บ Thai VI พยายามเลือกหุ้น ซื้อขายหุ้นด้วยตัวเอง และถ้าเราโชคดีเลือกหุ้นถูกหลายๆ ครั้ง บางทีเราก็ฝันหวานว่าอนาคตเราอาจจะได้เป็นตำนานระดับ Warren Buffet ก็ได้นะ โดยส่วนตัวผมเชื่อในกระบวนการ ผมเชื่อว่ากระบวนการสำคัญกว่าผลลัพธ์ การที่คุณจะวัดว่า คุณเป็นคนที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าคุณใส่แรง ใส่ความพยายาม และสามารถมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนปกติหรือไม่ ดังนั้นในการที่จะบอกว่าตัวเองเหนือกว่าค่าเฉลี่ยหรือไม่อยู่ที่พฤติกรรมของคุณ ไม่ได้อยู่ที่ผลตอบแทนที่คุณทำได้เหนือว่าค่าเฉลี่ยในระยะสั้น เพราะ ผลตอบแทนระยะสั้นอาจจะเป็นผลจากโชค มากกว่าความสามารถ ตัวอย่างเช่น ในขณะที่คนอื่นซื้อขายลงทุนหุ้น ตามข่าว ตามกระแส ตามอำเภอใจ ไร้หลักการสอดคล้องเชื่อถือได้ คุณสามารถที่จะศึกษา เลือกหลักปรัชญา และนำมาปฏิบัติได้จริง โดยมีความสอดคล้อง ไม่ขัดแย้งกันไปกันมา ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่ได้เป็นปรัชญาในลักษณะ Buzzword ที่พูดออกมาเอาแค่คมๆ ดูดีแต่ไม่ได้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ได้หรือไม่ ในเวลาที่เกิดวิกฤต คนอื่นกลัว ขายหุ้นล้างพอร์ต เจ็บใจเลิกเล่นหุ้น ถูกอารมณ์ของตลาดครอบงำ คุณสามารถที่จะอดทน รักษาความเชื่อและศรัทธาในหลักการลงทุน สามารถถือกิจการที่คุณตั้งใจลงทุนระยะยาวต่อไปเอาไว้ได้หรือไม่ คุณสามารถที่จะหยุดตัวเองก่อนการกระทำที่ถูกเร่งเร้าโดยฝูง แล้วถามตัวเองว่า นี่ชั้นกำลังทำตามหลักการ หรือกำลังทำตามฝูงอยู่ และสามารถห้ามตัวเองไม่ให้ทำตามสิ่งที่เร้าที่เกิดขึ้นภายในได้หรือไม่ ถ้าคุณทำสิ่งเหล่านี้ได้บ้าง ไม่จำเป็นต้องทั้งหมด คุณน่าจะมีพฤติกรรมที่เหนือว่าค่าเฉลี่ยของนักลงทุนจริงๆ เพราะ ในโลกยุคนี้ ที่ระบบประสาทของเราถูก Train ให้ตอบสนองต่อข่าวและมีอารมณ์ร่วมอย่างรวดเร็ว Smartphone และ Apps ทำให้เราอดทนรอคอยไม่ได้เหมือนในอดีต การกระทำหลายๆ อย่างถูกทำตามสิ่งเร้าทางอารมณ์ และทิศทางของฝูง โดยปราศจากการหยุดคิด ไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งและแยบคาบ (อโยนิโสมนสิการ) เราถูกกระแสของ Social Media สั่งให้วิ่งทำสิ่งต่างๆ ตามๆ กันอย่างฝูง Lemming ที่นับวันฝูงก็ยิ่งใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย เพราะ การที่คุณสามารถอดทนไม่วิ่งตามฝูงได้บ้าง ออกมาหยุดข้างทางบ้าง แล้วสุดท้ายตัดสินใจกลับไปวิ่งตามฝูง มันอาจจะทำให้คุณได้รับผลลัพธ์ที่เลวร้ายสุดหยั่งคาดก็ได้ เพราะ คุณกำลังซื้อช้าเกินไป และขายช้าเกินไปตลอดเวลา และนั่นอาจจะหมายถึงนรกและความตายก็ได้ หากผิดจังหวะ พลาด คลาดจากฝูง การที่จะมีพฤติกรรมที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ย และได้ผลตอบแทนที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ย มันจะไม่ใช่แค่อดทนไม่วิ่งตามฝูงบ้างเท่านั้น นอกจากต้องห้ามตัวเองไม่ให้วิ่งตามฝูงแล้ว ในบางครั้ง คุณทำสิ่งที่สวนทางกับสัญชาตญาณและสามัญสำนึกเลยด้วยซ้ำ แต่ต้องเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยเหตุผลคำนวณมาแล้วอย่างดี ไม่ใช่แค่อยากจะเอาชนะ Concensus อย่างไร้เหตุผล เพื่อสนอง ego ของตัวเอง เพราะ ก่อนที่ฝูงจะเริ่มวิ่ง มันก็มีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้ Lemming ตัวแรกๆ เริ่มวิ่งที่อย่างมีเหตุผลอยู่แล้ว โดยส่วนใหญ่แล้วการวิ่งของฝูงมักจะถูกมากกว่าผิด การที่คุณทำอะไรแตกต่างจากฝูง หรือสวนทางกับฝูง อาจทำให้คุณตายได้ ดังนั้นในการที่จะสวน Concensus คุณต้อง Selective มากๆ และต้องใช้ความกล้าหาญทางจิตใจ ในการที่จะบอกว่า ครั้งนี้แหละ ในบรรดาร้อยครั้งพันครั้ง ที่ควรแค่แก่การลงทุน ซึ่งในการที่จะทำแบบนี้ได้ คุณต้องสงบมากเพียงพอ จนสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่าหุ้นขึ้นทุกครั้งจะเป็นฟองสบู่ ไม่ใช่ว่าหุ้นตกทุกครั้งแล้วราคามันจะถูก เราต้องมีไม้บรรทัดและเครื่องมือในการวัดอย่างถูกต้อง ที่จะวัดว่าขณะนี้ความคุ้มค่าอยู่ที่ตรงไหน และตอบตัวเองได้ว่าจากความกลัวของตลาดที่เกิดขึ้น ผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงมันคุ้มค่า น่าลงทุนสุดๆ จนเกิดอาการคึกคัก มันมือ อยากจะซื้อหุ้นเข้าพอร์ต จนคุณต้องห้ามใจตัวเองไม่ให้เผลอซื้อมากเกินไป ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าเราจะเลือกเกิดไม่ได้ ว่าเราจะเกิดในที่ไหน เวลาไหน ที่ทำให้เรามีสภาพจิตใจมั่นคงหนักแน่นดุจดินผา สามารถคิดอย่างมีเหตุผล ในยามที่คนอื่นหวาดกลัวและตื่นตระหนก แต่ผมมั่นใจว่าการปฏิบัติธรรมสามารถช่วยให้คุณพัฒนาจิตของตัวเอง ให้เป็นอิสระจากอารมณ์ เป็นอิสระต่อสัญชาตญาณสัตว์ที่เราได้มาจากบรรพบุรุษ ให้สามารถที่จะคิดด้วยเหตุผล กระทำด้วยเหตุผล ได้มากยิ่งขึ้น เมื่อเราฝึกเจริญสติถึงจุดหนึ่งจนเรารู้สึกว่า ความสุขหรือความทุกข์เป็นเรื่องชั่วคราว ใจของเราจะมีความปล่อยวางต่ออารมณ์ ต่อความสุขความทุกข์มากยิ่งขึ้น จนอารมณ์โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีสัดส่วนของความเป็นกลางมากขึ้น เป็นอารมณ์ที่ไม่สุขหรือไม่ทุกข์ เมื่อไหร่ที่รู้สึกสุขแรงๆ ขึ้นมา เราก็จะธรรมชาติที่จะยับยั้งไม่ปล่อยใจให้ไหลไปกับความสุขมากจนเกินไป จนเกิดอาการเหลิง พองฟูจนเกินไป เพราะ ประสบการณ์การจริงจากการเข้าไปสังเกตกำหนดรู้สุขทุกข์ เราจะพบว่า ความจริงแล้ว ทุกข์ มันก็คือ เป็นเหรียญอีกด้วยของสุขที่แปรเปลี่ยนไป ส่วนสุขก็คือทุกข์ที่แปรเปลี่ยนไป ถ้าวันไหนเราเราสุขแรงๆ เราสังเกตดูว่าเวลาสุขที่แรงๆ มันลดระดับลง อารมณ์ที่เกิดขึ้นตามมาส่วนใหญ่มักจะเป็นทุกข์ (ลักษณะมันบางทีอาจจะรู้สึกเขว้งๆ หวิวๆ รู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง เพื่อเติมเต็มให้รู้สึกดีขึ้น อยากจะให้ความรู้สึกแบบนี้มันหายไป) ดังที่ ธรรมทินนาภิกษุณี ถามตอบ วิสาขาอุบาสก ใน จูฬเวทัลลสูตร ว่า “... วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนา เป็นสุขเพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร? ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด …” ในขณะที่เวลาทุกข์แรงๆ หลังจากปฏิบัติธรรมถึงจุดหนึ่ง เวลาเรารู้สึกทุกข์มากๆ เราจะรู้สึกเหมือนมีเบรก ABS ที่ตัดอารมณ์ ตัดความทุกข์โดยอัตโนมัติ ใจจะวิ่งกลับเข้ามาจดจ่ออยู่กับการเจริญสติในฐานกาย เพื่อเรียกเอาความสุขจากสมาธิขึ้นมาใช้ เพื่อ Counter สภาวะทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิต เพื่อ Balance สภาพจิตให้กลับเข้าสู่ความเป็นกลาง ความเป็นอิสระจากความสุขและทุกข์ ไม่ปล่อยให้ความสุขหรือทุกข์ครอบงำนี้เอง ทำให้เรามีสภาพที่พร้อมที่จะทำการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ด้วยเหตุผลมากยิ่งขึ้น เราจะมีเหตุผลมากขึ้น ที่จะ Trade Off ยอมที่จะอดทนกับความทุกข์ในปัจจุบันเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขในอนาคต เราจะมีเหตุผลมากขึ้นที่จะเบรกความสุขที่มากเกินไปในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้ในอนาคตเราต้องทุกข์ ผมเคยอ่านบทความเกี่ยวกับ Cognitive Science เค้าบอกว่า คนที่มีเหตุผล ไม่ใช่เพราะ เค้าไม่สนใจความสุขความทุกข์ แต่คนที่มีเหตุผล มีความสามารถที่จะจินตนาการความสุขหรือทุกข์ในอนาคต และสามารถแลกเปลี่ยนความสุขและทุกข์ในปัจจุบันกับความสุข/ทุกข์ในอนาคตได้ ในขณะที่คนที่ไม่มีเหตุผลจะไม่มีความสามารถในการจินตนาการสุข/ทุกข์ของตัวเองได้อนาคต เลยถูกความสุข/ทุกข์ในปัจจุบันบีบให้ตอบสนองทุกสิ่งทุกอย่างตามสัญชาตญาณ หรือตามประสบการณ์ความเคยชิน ผลของการเจริญสติที่ทำให้เราเป็นอิสระต่อความสุขความทุกข์ เห็นสุขและทุกข์ที่เป็นเพียงสภาวะจิตเกิดขึ้นและดับไปอยู่บ่อยๆ นี่เอง จะทำให้เรามองสุขทุกข์ในมิติมุมมองใหม่ๆ นอกจากจะทำให้เราสามารถอดทนต่อความทุกข์ได้มากขึ้น จนมีความสามารถในการรับความเสี่ยงที่สูงขึ้นแล้ว มันยังช่วยให้เราสามารถในการจินตนาการสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นกับการกระทำของตัวเอง ที่จะเกิดในอนาคตของได้มากยิ่งขึ้น และทำให้เราเป็นคนที่มีเหตุมีผลมากขึ้น สามารถฝืนสัญชาตญาณ และ DNA ของเราได้มากขึ้น จึงเป็นปัจจัยช่วยให้เราสามารถลงทุนระยะยาวได้ดีขึ้น สภาพจิตแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติธรรม เรียกว่า จิตหลุดพ้น (ปล่อยวาง) ที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้กำหนดรู้เอาไว้ใน จิตตานุปัสสนา ว่าให้กำหนดรู้จิตหลุดพ้น (ปล่อยวาง) และกำหนดรู้ จิตไม่หลุดพ้น (ยึดมั่นถือมั่นไม่ปล่อยวาง) ถ้าได้เห็นสภาพจิตแบบนี้บ่อยๆ และได้เห็นว่าเมื่อเราเอาสภาพจิตที่หลุดพ้นปล่อยวางมาวิเคราะห์การลงทุนจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าสภาพจิตที่ไม่หลุดพ้นที่เต็มไปด้วยอารมณ์ เมื่อเห็นบ่อยๆ เข้าเราก็จะรู้ชัดด้วยตัวเองว่า สภาพจิตที่ปล่อยวางนี่แหละ เป็นสภาพที่มีความพร้อมแก่การใช้งานในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ เพราะ เป็นสภาพจิตที่พ้นจากอคติจากความยึดถือไม่ปล่อยวาง เป็นสิ่งที่เหมาะกับการเอาไปใช้ในการลงทุนระยะยาว และเป็นจิตที่เราอยากจะพัฒนาให้เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะ จิตแบบนี้เอง ที่เป็นจิตที่มีสภาวะสุขสงบประกอบร่วมด้วย การลงทุนด้วยจิตแบบนี้เอง นอกจากจะได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแล้ว ยังทำให้เราใจเราเป็นสุข สงบ ไม่วุ่นวายไปกับโลกที่นับวันก็ดูเหมือนจะยิ่งโกลาหลวุ่นวาย (ยังมีต่อ … แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เหมือนกันนะ)
โดย
picatos
เสาร์ มี.ค. 19, 2022 4:58 am
9
14
ผลตอบแทนเป็นไปตามความสามารถในการรับความเสี่ยง
ถ้าผมจำไม่ผิด ในทางทฤษฏีทางการเงินจะมีคำว่า High Risk / High Return กิจการที่มีความเสี่ยงสูง ความไม่แน่นอนของกิจการสูง จะถูก Discount ด้วยค่าความเสี่ยงที่สูงกว่า ดังนั้นในการลงทุนในหุ้นที่เป็น Startup หรือ Young Growth พวกนี้มักจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เพื่อชดเชยกับการนักลงทุนต้องทนรับความเสี่ยงที่สูงกว่า (ขอออกตัวไว้ก่อนว่า อันนี้เราพูดกันในมุมที่ว่าในช่วงที่ตลาดมีประสิทธิภาพ ราคาหุ้นสะท้อนถึงความเสี่ยงอย่างถูกต้องนะครับ แต่ถ้าในช่วงที่ตลาดไม่มีประสิทธิภาพ การเก็งกำไรมีสูงมากเกินไป มันอาจจะเป็น High Risk / Low Return ก็ได้นะครับ) ดังนั้นถ้าตลาดมีประสิทธิภาพ นักลงทุนให้เวลากับการลงทุนในหุ้นที่ยาวนานพอ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงกว่า จะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ในทางทฤษฏีระดับของการรับความเสี่ยงจะเป็นไปตามช่วงอายุ ช่องทางของรายได้ สัดส่วนของรายได้จากเงินลงทุน ขนาดพอร์ต ช่วงเวลาที่เกิด ประสบการณ์ในวัยเด็ก ฯลฯ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่ตัวเราเองคิดว่าเรารับได้ กับความเสี่ยงที่เรารับได้จริงๆ นี้ มันไม่เหมือนกัน ธรรมชาติของมนุษย์ เราเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่มั่นใจในตัวเองมากเกินไป เราคิดว่าเราขับรถได้เก่งกว่าค่าเฉลี่ย เราคิดว่าเราหน้าตาดีกว่าค่าเฉลี่ย เช่นเดียวกับ ในความเป็นจริงแล้ว เรามักจะคิดว่า เรารับความเสี่ยงได้สูงกว่าที่เรารับได้จริงๆ นักลงทุนที่ผ่านวิกฤตมา เห็นหุ้นที่ตัวเองถือตกเกิน 50% มาได้ครั้งเดียว แล้วรอดมาได้ ยังไม่นับว่าสามารถอดทนต่อสถานการณ์ที่ความเสี่ยงสูงได้ เพราะ ในการเข้าวิกฤตรอบแรก เค้าอาจจะเข้าไปแบบงงๆ ไม่รู้ว่าตัวเองจะรู้สึกยังไงจริงๆ เวลาเห็นหุ้นตก 50% ต้องเจอสัก 2 หรือ 3 ครั้ง เราถึงจะมั่นใจว่า เราทนกับความเสี่ยงจริงๆ ได้เท่าไร เพราะ ในครั้งที่ 2 หรือ 3 เรารู้แล้วนะ ว่าเรากำลังจะเจอกับอะไร มันจะบีบคั้นขนาดไหน แล้วถ้าผ่านมาได้ โดยพร้อมที่จะเจอครั้งที่ 4,5,6 อันนั้นน่าจะนับได้ว่าเป็นความเสี่ยงที่เรารับได้จริง ส่วนใหญ่แล้ว ไม่ค่อยมีใครอยากจะเข้าไปเจอกับความบีบคั้นครั้งที่ 2 หรือ 3 ถ้าครั้งแรกเผลอเข้าไปแบบงงๆ โดยส่วนตัวครั้งนี้ผมก็เข้าวิกฤตแบบเผชิญหน้าตรงๆ ไม่ขายหนี ลดพอร์ต อาจจะปรับสัดส่วนของพอร์ตให้เหมาะสมกับสถานการณ์บ้าง แต่ความคิดที่จะขายล้างพอร์ตมาถือเงินสดไม่เคยอยู่ในหัวเลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะ ตั้งแต่ตอนซื้อเข้าพอร์ตก็รู้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเจอกับสถานการณ์แบบนี้อยู่แล้ว แต่ก็ไม่คิดเหมือนกันว่าในทางอารมณ์จะบีบคั้นขนาดนี้ ถามว่ายังทนอยู่ได้ไหม? ยังทนอยู่ได้ครับ เตรียมใจเอาไว้อยู่แล้วที่จะเห็นหุ้น Drawdown 80% จาก Peak ถึงจุดนี้คิดว่าถ้าเจอ 90% ก็ยังทนได้แบบกินอิ่มนอนหลับ ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่ต้องออกตัวเอาไว้ก่อนนะครับ ผมว่าผมไม่ได้ซื้อหุ้นที่ Peak ผมซื้อหุ้นในราคาที่ผมคิดว่าเหมาะสมเท่านั้น และถ้าตัวไหนผมวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพผิด หรือตอนแรกไม่แน่ใจ แต่ตอนหลังมา Confirm ว่ามันไม่ดีอย่างที่คิด ราคาปัจจุบันไม่คุ้มค่า หรือ ประเมินมูลค่าไม่ได้ ผมก็พร้อม Cut Loss โดยไม่สนใจว่าต้นทุนจะเป็นเท่าไร ในช่วงที่ผ่านมาก็ Cut Loss ไปหลายตัวเหมือนกัน เสียหายหลายอยู่ แต่ตัวที่เราชอบและเราเชื่อยังคงถือด้วยความเชื่อในอนาคต และ Valuation ของมัน คำถาม คือ ความสามารถในการรับความเสี่ยงเราสามารถพัฒนากันได้หรือไม่? ผมเชื่อว่าได้… วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การเข้ากลุ่ม พูดคุย สนิทสนมกับคนที่เป็นนักลงทุนระยะยาวที่มีหลักปรัชญาการลงทุนที่สอดคล้องกับเรา ที่เคยผ่านวิกฤตมาเยอะๆ และทุกๆ วิกฤต เค้าทำถูกทุกครั้ง การซึมซับวิธีคิด แนวคิดของคนเก๋าๆ ได้มุมมองดีๆ ตลอดจนได้เห็นตัวอย่างทางอารมณ์ และการจัดการอารมณ์ จะช่วยให้เราพัฒนาความสามารถในการรับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับหลักปรัชญาการลงทุนของเรา อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ตามมา คือ ใครคือตัวจริง? และ เค้าจะยอมรับเราเข้าฝูงหรือเปล่า? หากเราเข้าฝูงผิด หรือถ้าเข้าถูกแต่ไม่สามารถสนิทสนมกับนักลงทุนเหล่านั้นได้มากพอ ผมเชื่อว่าการฝึกเจริญสติในแนวทางพุทธเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มระดับการรับความเสี่ยงของเราให้สูงขึ้นได้ เพราะในการฝึกเจริญสติ เราจะมีการฝึกที่จะดูความรู้สึก (เวทนานุปัสสนา) ฝึกที่จะเห็นสุข เห็นทุกข์ หรืออารมณ์กลางๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ว่าเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่มีความรู้สึกไหนที่เที่ยงแท้คงทน จะทุกข์ขนาดไหน วันหนึ่งทุกข์นั้นก็ดับไป เปลี่ยนไปเป็นอารมณ์กลางๆ บ้าง เปลี่ยนไปเป็นสุขขึ้นมาแทนบ้าง และได้ฝึกที่จะเห็นต้นตอว่าความรู้สึกที่มาจากเรื่องราวโลกๆ ที่มีเหยื่อล่อ มีความรู้สึกอย่างไร เป็นสุขหรือทุกข์มากกว่ากัน ในขณะที่ความรู้สึกที่เป็นอิสระจากเรื่องราวโลกๆ ที่ไม่มีเหยื่อล่อ มีความรู้สึกอย่างไร เป็นสุขหรือทุกข์มากกว่ากัน ผลที่เกิดขึ้นจากการฝึกเข้าไปเห็นความรู้สึกบ่อยๆ เข้า จะทำให้เราอดทนกับความทุกข์ ความบีบคั้นจากการลงทุนได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็หมายถึงความทนทานต่อความเสี่ยงน่าจะสูงขึ้นตามมา นอกจากนี้ในการเห็นความรู้สึกสุขทุกข์บ่อยๆ เข้า เราจะเริ่มเห็นต้นตอของความรู้สึก เมื่อเห็นต้นตอของความรู้สึกว่า จิตที่พุ่งไปยึดงับเหยื่อล่อทางโลก เป็นทุกข์มากกว่าสุข ในขณะที่จิตที่สงบไม่วุ่นวายไปกับการไล่งับเหยื่อล่อทางโลก เป็นสุขมากกว่าทุกข์ มันจะทำให้จิตของเราเริ่มที่จะมีอิสระจากอารมณ์ของตลาด สามารถที่จะถอนอารมณ์ความรู้สึก ถอยออกมาที่จะมองสิ่งต่างๆ จากมุมสูง และพิจารณาการลงทุนได้อย่างเป็นกลางมากขึ้น ทำให้เราสามารถมองการลงทุนในระยะยาวได้มากขึ้น ในทางสถิติแล้ว ความเสี่ยงในระดับสัปดาห์ ระดับเดือนของการลงทุนในหุ้นจะสูงมาก คือ เราไม่มีทางจะมั่นใจได้ว่าเราจะได้กำไรจากการลงทุนในสัปดาห์หน้า หรือ เดือนหน้า ในขณะที่การลงทุนระดับปี ระยะเวลาการลงทุน 1 ปี มีความเป็นไปได้ที่จะกำไรจะมีเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่ชัวร์มากนัก แต่ถ้าเราคำนวนผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงในระดับ 5 ปี หรือ 10 ปี เราจะพบว่า โอกาสที่จะขาดทุนในระยะ 5 ปีมีต่ำมาก และไม่มีทางเลยที่จะขาดทุนในระยะเวลา 10 ปี (หากมีการกระจายความเสี่ยงอย่างถูกต้อง) ข้อเท็จจริงนี้ทำให้เราควรลงทุนระยะยาวในระดับ 5 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามปัญหา คือ ในการที่จะทนเห็นหุ้นลงในระยะสั้นๆ เป็นเรื่องที่ทำใจได้ยาก ถึงแม้ว่าจะกระจายความเสี่ยงอย่างดีแล้ว เวลาเราเห็นพอร์ตเราลดลง มันเป็นเรื่องที่เจ็บปวดเสมอ และยิ่งเวลาที่เรารู้สึกเหมือนจมน้ำเกิดขึ้นอย่างยาวนาน และหนักหน่วง มาพร้อมกับข้อมูล ข่าวสารที่เข้ามาถี่ๆ จากเพื่อน หรือนักลงทุนที่เรานับถือ ความบีบคั้นจะยิ่งรุนแรงเป็นพิเศษ ถ้าคุณลงทุนในหุ้นเทคที่ขาดทุนในช่วงนี้ การที่จะถือผ่านไปให้ได้ ไม่ได้เพียงแค่ต้องอาศัยศรัทธาในตัวกิจการอย่างแรงกล้าเท่านั้น แต่ต้องอาศัยความสามารถในการอดทน และจัดการกับความบีบคั้นในระยะสั้นเป็นอย่างมาก การฝึกสติในการเข้าไปดูความรู้สึก (เวทนา) นี่เองจะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถทนทานต่อความทุกข์ที่เกิดจากความกลัว ความอึดอัด ไม่ได้ดังใจ ไม่เป็นไปตามความคาดหวังได้มากขึ้น เพราะ เรามีประสบการณ์ที่ชัดแจ้งจากการฝึกเจริญสตินี้ว่า ไม่ว่าทุกข์มากขนาดไหนจะเกิดขึ้น วันหนึ่งมันก็จะดับไปสูญสลายมลายไปจากจิต และในวินาทีถัดๆ มา หากจิตของเราเป็นสุข ความทุกข์ก่อนๆ หน้าที่เกิดขึ้น ก็ไม่มีหลงเหลืออยู่เลย จิตรับอารมณ์ทีละ 1 เท่านั้น ถ้าสุขอยู่จะไม่ทุกข์ ถ้าทุกข์อยู่จะไม่สุข มันมีแค่ความรู้สึกเดียวเท่านั้นที่เกิดขึ้น ปรากฎขึ้นในจิต ความทุกข์ก่อนหน้าไม่มีส่วนเกี่ยวกับกับความสุขที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และความสุขก่อนหน้าก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความทุกข์ในขณะนี้ ใน ทีฆนขสูตร ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพราหมณ์หลานชายของพระสารีบุตร แล้วทำให้พระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหันต์เอาไว้ว่า … อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกกลางๆ ที่ไม่นับว่าสุขหรือทุกข์) ๑ อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้ เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น… … สุขทุกข์เป็นของชั่วคราวที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เมื่อเป็นอิสระหลุดพ้นจากความบีบคั้นจากความทุกข์ รู้ว่าจะทนอย่างไร จะถอนตัวเองให้พ้นจากความทุกข์อย่างไร มันจะทำให้เราไป Focus กับภาพระยะยาวได้มากขึ้น ความเชื่อที่ว่า ถ้าหากเราลงทุนในหุ้นคุณภาพในราคาที่เหมาะสม แล้วถือไปในระยะยาว 5-10 ปี เราจะกำไรแน่ๆ ยังคงอยู่ แต่ในการที่จะทำได้สำเร็จ ต้องเริ่มต้นจากการที่ไม่ถูกอารมณ์ของตลาดบีบให้เราทนไม่ได้ เทขายในระยะสั้น และเมื่อเราเป็นอิสระจากความทุกข์ ความบีบคั้นจากตลาดได้ระดับหนึ่งแล้ว ก็ถึงเวลาแล้วที่เราจะเลือกอารมณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน ตัดอารมณ์ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนออกไปซะ ซึ่งจะเป็นเนื้อหาในหัวข้อถัดไป (ยังมีต่อ… แต่เมื่อไรก็ไม่รู้)
โดย
picatos
อังคาร มี.ค. 15, 2022 6:03 am
0
16
Introduction
ตั้งแต่เด็ก ผมเป็นคนที่ชอบถามตัวเองบ่อยๆ ว่าตัวเราเองเกิดมาทำไม เกิดมาเพื่ออะไร ระหว่างทางก็หาคำตอบให้กับตัวเองไปเรื่อยๆ โตขึ้นมาก็ยังคงย้อนกลับมาที่คำถามที่เป็นแก่นหลักของชีวิตนี้ เพื่อตรวจสอบว่าเส้นทางเดินในช่วงที่ผ่านมายังอยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง จะได้ปรับจูน ดูเข็มทิศ เพื่อที่ว่าวันหนึ่งตายจากโลกนี้ไป ไม่เผลอเดินหลงทิศ หลงทางไปไกลมากนัก เพราะ ในโลกใบนี้มีสิ่งเร้า สิ่งล่อหลอกมากมาย ตลอดจนจิตใจของเรามันช่างเอาแน่เอานอนได้ยาก บ่อยครั้งที่ผมเผลอเดินหลงออกไปในนอกเส้นทาง ก็ได้คำถามที่เป็น First Principle ของชีวิตนี่แหละ ที่ช่วยดึงให้กลับเข้ามาอยู่ในร่องในรอย ในทำนองเดียวกันในเรื่องการลงทุน คำถามพื้นฐานคำถามแรกๆ เวลาเราจะเริ่มต้นลงทุน ที่ปรึกษาทางการเงินมักจะถามเราว่า คือ 1) เป้าหมายในการลงทุนของเราคืออะไร? 2) เรารับความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดไหน? 3) ระยะเวลาการลงทุนของเราคือเท่าไร่? เป็นคำถามที่เราอาจจะใช้เวลากับมันน้อยมาก แต่เป็นคำถามที่มีอิทธิพลกับตัวเรามากมายเหลือเชื่อ ถ้าเราได้มีโอกาสย้อนกลับมาถามตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อเวลาผ่านไปในแต่ละปี เมื่อวันก่อนภรรยาของผมเล่าให้ฟังว่า เค้าได้อ่านบทความเกี่ยวกับเวลาเจอ Scammer มาขายฝันนำเสนอการลงทุนที่เหมือนจะดูดีสุดยอดว่า เราควรที่จะถามตัวเอง 3 คำถาม คือ 1) ทำไมต้องเรา 2) ทำไมต้องเค้า และ 3) ทำไมมันถึงง่าย ซึ่งถ้าตรวจสอบคำถามนี้ดีๆ แล้ว มันเป็นเรื่องยากมากเลยที่เราจะเผลอไปให้เงินเค้าไป ในทำนองเดียวกัน ความฝันสูงสุดในการเป็นนักลงทุนในช่วงแรกๆ ของผม คือ ผมอยากได้ผลตอบแทนสูงๆ แบบที่มีความเสี่ยงต่ำๆ และได้กำไรเร็วๆ คือ ถ้าเป็นไปได้ อยากได้แบบง่ายๆ ไม่ต้องลงแรงอะไรมากมายนัก ความปรารถนาของผม ก็คงจะเป็นไปตามธรรมชาติของกิเลส แบบที่กับคนที่โดน Scammer หลอกให้โอนเงินไปให้ และสูญเงินมากมาย แต่โลกแห่งความเป็นจริงมันไม่ง่ายขนาดนั้น ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนสูง เราต้องรับความเสี่ยงได้มาก หรือเราต้องมีระยะเวลาในการลงทุนที่สูงและยาวนาน ถ้าเรารับความเสี่ยงได้น้อย อดทนได้น้อย เราก็ควรที่จะเจียมเนื้อเจียมตัวคาดหวังผลตอบแทนให้ต่ำๆ และที่สำคัญ ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ถ้าอยากจะเอาชนะตลาด ต้องขยันและลงแรง ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ โดยไม่ต้องขยันและลงแรง โดยสรุป ผมคิดว่า ผลตอบแทนในการลงทุน เป็นผลลัพธ์ จาก 1) ระยะเวลาการลงทุน 2) ความสามารถในการรับความเสี่ยง และ 3) ความขยันที่ใส่เข้าไป ผมเคยคิดว่าปัจจัยข้อ 1 กับ 2 เป็นปัจจัยที่ Fix ค่อนข้างชัดเจน คือ ระยะเวลาการลงทุนของผมยังไงก็เกิน 10 ปีอยู่แล้ว จัดอยู่ในพวก Long-Term สุดๆ ในขณะที่ผมเคยคิดว่าระดับในการรับความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ Embedded อยู่ใน DNA และสภาพแวดล้อมการเติบโตและปมต่างๆ ที่เกิดในวัยเด็ก อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของ COVID และ ฟองสบู่หุ้นเทคฯ ที่แตกไปในรอบนี้ ทำให้ผมต้องกลับมาทบทวนตัวเองอีกครั้ง เพราะ ความบีบคั้นในครั้งนี้ ผมรู้สึกว่ามันหนักหน่วง แจ่มชัดกว่าสมัยตอนที่เกิด Subprime อาจจะเป็นเพราะว่าในช่วง Subprime ผมอาจจะไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเท่าไร อาจจะเป็นเพราะว่าในช่วง Subprime ผมยังไม่ได้ฝึกเจริญสติ จนสามารถเห็นอารมณ์ของตัวเองได้อย่างชัดเจน หรือไม่ อาจจะเป็นเพราะ ระดับในการรับความเสี่ยงของผมลดลง จากอายุที่มากขึ้น การที่มีรายได้หลักจากการลงทุนเพียงอย่างเดียว หรือไม่ก็อาจจะเป็นมีปัจจัยอื่นๆ ที่ประกอบร่วมด้วย มันเลยทำให้ผมต้องย้อนกลับมาศึกษา ทำความเข้าใจคำว่า “ความเสี่ยง” อีกครั้ง ศึกษาประวัติศาสตร์ และทฤษฎีความเสี่ยง ทำความเข้าใจระดับของการรับความเสี่ยงของตัวเองอีกครั้ง เพราะ โลกทุกวันนี้เปลี่ยนไปมากจากอิทธิพลของ Social Media และการเกิดขึ้นของ Smartphone ถึงแม้ว่าผมจะอยู่ระหว่างการศึกษา ยังไม่ได้เชี่ยวชาญ ตกผลึกอะไร แต่ผมกลับรู้สึกว่า ความสำคัญของการปฏิบัติธรรม กลับมาส่วนเป็นอย่างยิ่ง ที่ช่วยให้เราสามารถลงทุนได้ดีขึ้น (...ยังมีต่อ แต่เมื่อไรไม่รู้เหมือนกันนะ...)
โดย
picatos
อาทิตย์ มี.ค. 13, 2022 3:48 pm
0
15
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
ต้องนับถือความรู้ของอ.ตี่ ขอบคุณที่มาตอบให้ทุกโพสท์ครับ เรื่อง asset allocation ผมไม่มีปัญหามาต้องแต่ลงทุนครั้งแรกแล้วครับ ระดับการรับความเสี่ยงของตัวเองผมก็ไม่มีปัญหา หากผมไม่ไปใน uncharted territories หรือพูดง่ายๆว่านอก circle of competence ... กราบขออภัย หากเข้าใจปัญหาของคุณ Peter1011 ผิด และ ขอโทษด้วยนะครับ หากความเห็นของผมไปกระทบกระทั่งอะไรกับคุณ Peter1011 เข้า พอดีช่วงนี้ผมศึกษาเรื่องความเสี่ยง และระดับในการรับความเสี่ยงของตัวเอง กับผลกระทบจาก Social Media เยอะ แล้วก็รู้สึกว่าระดับในการรับความเสี่ยงของตัวเองเปลี่ยนไป มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นกับตัวเอง จนต้องกลับมาศึกษาอะไรหลายๆ อย่างเพิ่ม เพื่อทำความเข้าใจตัวเองใหม่ เท่าที่ศึกษามา ทฤษฎีความเสี่ยงเป็นเรื่องของการใช้ Outsider View ในการนำเครื่องมือทางสถิติมาวิเคราะห์ความจริงที่เกิดขึ้น ในการวัดระดับความเสี่ยง ซึ่งในทางสถิติที่เกิดขึ้นตามปัจจัยพื้นฐานแล้ว ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีประสิทธิภาพมากกว่าตลาดอื่นๆ เพราะ มีจำนวนหุ้น นักลงทุน และเม็ดเงินลงทุน สูงกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ทำให้ความเสี่ยงโดยรวมแล้วต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ และหุ้นรายตัว ในมุมของ Asset Allocation เวลาเราจะ Take ความเสี่ยงใน Equity เราเริ่มต้นจากความเสี่ยงในตลาดหุ้นที่ต่ำที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ แล้วก็ค่อยๆ ไล่ไปที่ตลาดที่ความเสี่ยงสูงขึ้น อย่าง Emerging Market แล้วไปที่กลุ่มหุ้นในราย Sector สุดท้ายค่อยไปจบที่หุ้นรายตัว ในขณะที่ Circle of Competence เป็น Insider View ที่มี Familarity Bias ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในวัยเด็กและการศึกษา ว่าเป็นอย่างไร ในการทำความเข้าใจอุตสาหกรรม และธุรกิจรายตัว ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเอามาใช้เลือกหุ้นรายตัว ในทางทฏษฎีความเสี่ยงแล้ว การเลือกหุ้นรายตัว ความเสี่ยงมันสูงกว่าการถือ ETF ของตลาด เพราะ ผลของการกระจายความเสี่ยง เราสามารถลดความเสี่ยงเฉพาะกิจการออกไปได้ หากถือหุ้นกระจายในหลายๆ อุตสาหกรรมมากกว่า 20 ตัวขึ้นไปได้ ซึ่งนักลงทุนส่วนบุคคล เท่าที่เคยเห็นคนที่กระจายได้มากๆ ก็มีพี่โจลูกอีสาน กับ อาจารย์ Damodaran ที่ถือกัน 50 ตัวขึ้นไป นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่กระจายความเสี่ยงไม่มากพอ มักจะถือหุ้นน้อยตัวเกินไป และมี Correlation ต่อกันมากจนเกินไป (ลองอ่าน Blog Post นี้ ประกอบดูนะครับ ) ดังนั้นในมุมของความเสี่ยงในทางสถิติแล้ว ถึงแม้ว่าเราจะสบายใจในแง่ที่เราลงทุนอยู่ใน Circle of Competence แต่เราอาจจะกำลังรับความเสี่ยงที่ใหญ่โตมโหฬารอย่างที่เราไม่คาดคิด ซึ่งต้องใช้เครื่องมือทางสถิติมาจับถึงจะเห็นความจริงนี้ หรือ ไม่ก็ต้องโดนลงโทษจากตลาด เล่นจริงเจ็บจริง เราถึงจะเห็นความเป็นจริงว่า จริงๆ แล้วอะไรมันเสี่ยงมากกว่ากัน อย่างไรก็ตามความเสี่ยงทางสถิติ กับความเข้าใจตัวเองว่ารับความเสี่ยงได้ขนาดไหน กับความเสี่ยงที่รับได้จริงไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ความเสี่ยงที่เรากำลังรับอยู่จริงๆ มันคือ อาการเสียวๆ ท้อง มวนๆ ท้องเวลาเห็นหุ้นตก เวลารู้สึกคิดวนอยู่ในหัวจนนอนไม่ค่อยหลับ หรือ อาการใจผวาที่รู้ข่าวว่าเพื่อนเราขายหุ้นไปหมดพอร์ต แล้วเห็นหุ้นตก จนอยากจะกดขายตามให้หมดพอร์ต ถ้าผมจำไม่ผิด เหมือนจะมีคำพูดของบัฟเฟตที่บอกว่าถ้าเข้าไปเล่นหุ้นรายตัว ต้องเตรียมใจที่จะทนเห็นหุ้นตัวเองตกไป 50% ให้ได้ เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเรารับความเสี่ยงจริงๆ ได้เท่าไหร่ จนกว่า Asset Allocation ที่เราเชื่อว่าเรารับได้ ได้รับการทดสอบจริง Stress Test ด้วยของจริงที่เกิดขึ้นในตลาด ซึ่งในการทดสอบจริงกับตลาดครั้งนี้ คุณ Peter1011 อาจจะไม่มีปัญหา แต่ผมมีปัญหาครับ ด้วยความคิดในมุมแคบๆ ของผมที่เป็น Tunnel Vision และเหมารวมมี Bias ก็เลยคิดว่าคุณ Peter1011 ก็อาจจะมีปัญหาเหมือนกับผม เลยเป็นที่มาของการโพสต์อะไรที่เผลอไปล่วงเกินคุณ Peter1011 ซึ่งก็ต้องกราบขอโทษคุณ Peter1011 อีกหลายๆ ครั้งที่จุดนี้ ซึ่งก็หวังว่าคุณ Peter1011 จะให้อภัยผมกับความเข้าใจผิดของผมในครั้งนี้นะครับ ความเสี่ยงที่ผมคิดว่าตัวเองรับได้ พอผมเจอการทดสอบครั้งนี้ มันกลับไม่ใช่อย่างนั้น... ความรู้สึกบีบคั้นที่เกิดขึ้นข้างในมันหนักกว่าที่คิดครับ ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผมซื้อหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงมากขึ้น Valuation ยากขึ้นเข้ามาในพอร์ต ผลกระทบจาก Social Media ที่ทำให้ระดับความผันผวนและความเสี่ยงของหุ้นมีมากขึ้น ในขณะที่ Life Style ในช่วงที่ผ่านมาของผมเอง ที่ใช้ App และ Smartphone ทำให้ระดับความอดทนมีต่ำลง ประกอบกับปริมาณข้อมูลจากสื่อ Social ที่มีมากขึ้น ทำให้ผมรู้สึกว่าความหนัก ความบีบคั้น ในการทนกับความเสี่ยงในครั้งนี้แตกต่างจากในช่วง Subprime ผมรู้สึกว่าครั้งนี้บีบคั้นและหนักกว่ามาก ทั้งๆ ที่ความเสี่ยงในทางสถิติแล้ว ในช่วง Subprime ผม Take ความเสี่ยงหนักกว่าครั้งนี้หลายเท่าตัว มันทำให้ผมตระหนักเลยว่า ความเสี่ยงที่รับจริง ความเสี่ยงที่คิดว่าตัวเองรับได้ กับความเสี่ยงที่รับได้จริงๆ มันเป็นคนละเรื่องกันเลย มันเลยทำให้ผมต้องกลับมาศึกษา และทบทวนหลักการอีกครั้ง เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า การลงทุนระยะยาวคืออะไร สัดส่วนในการลงทุนที่เหมาะสมคือเท่าไหร่ ความเสี่ยงคืออะไร การบริหารความเสี่ยงควรทำอย่างไร เราควร Take มุมมอง และจัดการกับสภาพจิตใจของตัวเองอย่างไร เราจะตัดอิทธิพลของตลาดในระยะสั้นอย่างไร การรับข้อมูลที่เหมาะสมคืออะไร และเท่าไร ฯลฯ ผมยังมีปัญหา และผมก็ยังพยายามเรียนรู้ในเรื่องนี้อยู่ แม้ว่าตัวเองจะฝึกทำ Simulation ทางความรู้สึกเอาไว้แล้ว แต่พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง บ่อยครั้งที่สิ่งที่จินตนาการกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็อาจจะไม่ตรงกัน แต่จะกลัวเท่าไร มันก็เป็นอารมณ์หนึ่งๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป จะบีบคั้นมาก บีบคั้นน้อย จะยาว จะสั้น ถึงจุดหนึ่งมันก็ดับไป มันไม่ได้ตั้งอยู่อย่างจีรังไม่มีวันสิ้นสุด ในขณะนี้ผมเข้าใจว่า ความเสี่ยงที่รับได้จริงๆ คือ ความสามารถที่จะอดทนต่อความบีบคั้นชั่วคราวที่เกิดขึ้นจากความกลัว ที่จะรักษาแผนการลงทุนระยะยาวที่ตั้งใจเอาไว้ได้ โดยไม่ล้มกระดาน พับแผนที่วางเอาไว้ทิ้ง จะเป็นการปรับสัดส่วนพอร์ตให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับจริงให้มากขึ้นก็ได้ แต่ไม่ใช่การล้างพอร์ต ล้มแผนระยะยาวของเรา ในทางอารมณ์ เราควรที่จะกินอิ่ม นอนหลับได้อย่างเพียงพอ และมีอารมณ์ที่มีเสถียรภาพพอที่จะไม่ไปฟาดงวง ฟาดงา ใส่ใคร แน่นอนล่ะมันจะบีบคั้นแน่นอน มันมีผลกระทบแน่ๆ ล่ะ แต่มันไม่ควรบีบคั้นจนทำให้ชีวิตด้านอื่นพัง สุดท้ายแล้ว หุ้นที่ตกมากเกินไปวันหนึ่งก็กลับมาขึ้น หุ้นที่ขึ้นมากไปวันหนึ่งก็กลับมาตก คำถามคือ เรามีไม้บรรทัด มีเครื่องคิดเลข มีวิธีการคำนวณ มีความกล้าหาญ และความเป็นกลางที่จะวัดค่าออกมาได้ไหม ว่าไอ้ที่ว่ามากเกินไป ค่าที่ควรจะเป็นจริงๆ มันคือเท่าไรกันแน่ และเมื่อวัดค่าออกมาแล้ว เรามีความเชื่อ มีศรัทธาในปรัชญาการลงทุนของเราไหม ที่จะ Take Action ตามสิ่งที่เราเชื่อ สุดท้าย (ผมบอกกับตัวเองนะครับ) ถ้าเราสามารถจัดการกับความเสี่ยงและอารมณ์ได้แล้ว สามารถพิจารณาการลงทุนได้อย่างเป็นกลางแล้ว เราทำทุกอย่างที่ควรทำได้ไปหมดแล้ว มันก็เป็นช่วงเวลาที่ผมต้องอดทนกับความกลัวที่เกิดขึ้น ซึ่งก็ไม่นานหรอก ที่ความกลัวนี้จะดับไป เรายังอยู่บนเส้นทางตามแผนระยะยาวของเรา มันเป็นช่วงเวลาที่ผมต้องอดทนกับความโลภที่อยากจะแก้แค้น อยากจะเอาคืน ซึ่งก็ไม่นานหรอก ที่ความโลภนี้จะดับไป เรายังอยู่บนเส้นทางตามแผนระยะยาวของเรา มันเป็นช่วงเวลาที่เราต้องรักษาใจตัวเองของเราไว้ ไม่ให้เผลอไปเบียดเบียนคนใกล้ๆ ตัวที่เรารัก และไม่ภาระให้เค้าต้องเป็นห่วงเรามากจนเกินไป มันเป็นช่วงเวลาที่หากเรารักษาใจเราได้แล้ว มันจะดีกว่าไหม ที่เราจะเผื่อแผ่ความเข้มแข็งทางจิตใจนี้ไปให้กับคนที่กำลังต้องการที่พึ่งในเวลานี้ ผมยังคงมีความสุขกับการตอบคำถาม แชร์ความคิดเห็น ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ในเว็บ ThaiVI เหมือนกับวันแรกที่ผมเดินเข้ามาเป็นสมาชิกในที่แห่งนี้ ถึงแม้ว่าผมจะเป็นมนุษย์เจ้าปัญหา ที่แสดงความคิดเห็นแบบเกรียนๆ ทำให้ใครหลายคนไม่ชอบใจในหลายๆ ครั้ง แต่ผมก็พยายามทำ โดยเชื่อว่าสิ่งที่ผมพยายามกลั่นกรองออกมาเป็นข้อความนี้จะมีประโยชน์ต่อใครสักคนหนึ่ง ที่บังเอิญมีโอกาสได้เข้ามาอ่าน ตัวผมเองคงต้องเรียนรู้ ยังมีปัญหาของตัวเองอีกเยอะแยะที่ต้องแก้ ยังเป็นนักเรียนที่กำลังพยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจโลกแห่งการลงทุนแห่งนี้ ผมไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นผู้รู้ เป็นอาจารย์อะไร ผมรู้สึกกับตัวเอง เหมือนเป็นแค่เด็กคนหนึ่ง ที่มีความสงสัย ใคร่รู้สิ่งต่างๆ ในโลก และเวลาได้เรียนอะไรสนุกๆ มา ก็อยากแชร์ แบ่งปันให้กับเพื่อนๆ เหมือนกับที่ผมได้รับสิ่งดีๆ ที่อาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ที่ร่วมแชร์แบ่งปัน สร้างสังคมแห่งนี้ขึ้นมา บ่อยๆ ครั้ง ที่ผมก็รำคาญตัวเองเหมือนกัน ที่จะเขียนอะไรเยอะแยะ แสดงความเห็นอะไรมากมาย บางครั้งก็เกลียดตัวเองที่ตัวเองเป็นแบบนี้ อยากจะเป็นคนที่พูดน้อยๆ เขียนน้อยๆ สำรวมคำพูดให้ได้มากกว่านี้ จะได้สงบมากกว่านี้ จะได้ฟุ้งซ่านน้อยกว่านี้ ผมอยากทำได้ ผมพยายามทำ แต่พอดีผมยังทำไม่ได้ครับ ผมพยายามเลิกเล่น ThaiVI หลายรอบมาก แต่สุดท้ายก็ยังทำไม่ได้ หวังว่าวันหนึ่งจะทำได้ แต่ระหว่างที่ผมยังทำไม่ได้ ก็รบกวนช่วยอดทนกับผมหน่อยแล้วกันนะครับ
โดย
picatos
อาทิตย์ มี.ค. 13, 2022 5:25 am
0
34
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
กว่า 20 ปีที่ผมสนใจแนวทางธรรม แต่ได้แต่ทำๆหยุดๆมานาน จน10ปีก่อน ได้เริ่มให้เวลากับการปฏิบัติ แม้ว่ายังต้องอยู่ในโลกที่มีภาระกิจส่วนตัวและชีวิตการงาน เพียงแต่ได้จัดสรรแบ่งเวลามากขึ้น จนเมื่อ7-8ปีก่อน ได้เอาจริงเอาจังอย่างมาก สำหรับการลงทุนของผม สิ่งที่ผมสังเกตเห็นคือ port ของผมไม่ได้เติบโตอย่างที่ผมคิดว่าควรจะเป็น เพราะผมแทบไม่มีเวลาไปติดตามหุ้น ไม่มีเวลาไปพบปะเพื่อนนักลงทุน เยี่ยมชมกิจการ ไม่ได้ประชุมผู้ถือหุ้น หรือ ไปพบผู้บริหาร ประกอบกับแนวคิดส่วนตัวที่เชื่อว่าเราต้องเคร่งศีล หากไม่มีศีลเป็นพื้นฐาน การเจริญทางธรรมจะทำได้ยาก ทำให้ต้องทำความรู้จักกับหุ้นที่ลงทุนอยู่และจะลงทุนอย่างจริงจัง ว่ากิจกรรมของบริษัทเหล่านี้ มีโอกาสทำให้ศีลพร่องหรือไม่ หรือไม่สอดคล้องกับสัมมาอาชีวะในมรรค8 จึงทำให้ไม่ได้ลงทุนในบางหุ้นที่แม้ว่าจะเห็นโอกาสดีมากในทางโลกก็ตาม มาเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมกลับมาให้เวลากับทางโลกมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาสำหรับการดูแลการลงทุนในหุ้น ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนทางโลกที่เป็นตัวเลขเงินทองที่ดีมาก แต่ความคืบหน้าทางธรรมกลับถดถอยครับ ระยะนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ อยู่ในทางหลายแพรก ว่าจะเดินต่ออย่างไร เวลาก็เหลือน้อยลง สุขภาพก็ถดถอยหลัง จะทำอย่างไรดีกับเส้นทางธรรม ที่ดูเหมือนเส้นขนานกับการลงทุนวีไอ ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ด้วยนะครับ เกือบ 9 ปีมาแล้วกับคำถามที่พี่เด็กใหม่ไฟแรงได้โพสต์มาเพื่อเปิดประเด็นพูดคุยกัน โดยชูประเด็นที่ชวนให้เราได้คิดว่า เส้นทางธรรม กับ เส้นทางการลงทุนสามารถเดินไปด้วยกันได้หรือไม่ ในวันนั้นลึกๆ ในใจของผม ผมเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าลึกๆ อยู่ภายในว่า มันต้องมีหนทางสิ ที่เราจะสามารถเดินไปพร้อมๆ กันได้ เพราะ ในอดีตกาล ผู้คนก็ยังมีครอบครัว ทำงาน หาเงิน และสามารถบรรลุธรรมไปจนถึงขั้นอนาคามีแม้ว่าจะครองเพศฆราวาสได้ ดังนั้นผมเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่ามันต้องมีทางที่จะพัฒนาไปด้วยกันได้ เพราะ มีตัวอย่างที่ชัดเจนในอดีตมาแล้ว ... แต่ทำอย่างไร ในวันนั้นผมยังหาคำตอบดีๆ ให้ไม่ได้ มาวันนี้ ในวันที่ผมได้เห็นว่า Smartphone และ Social Media ทำให้จิตใจเราเองเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร? ระดับความอดทนอดกลั้น ความสงบลดลง ความฟุ้งซ่านวุ่นวายมีเพิ่มขึ้น กลับทำให้ผมย้อนกลับที่ที่คำถามเดิมนี้ใหม่ ผมคิดว่า ถ้าอยากจะมีความสุขในการลงทุน ตอนนี้กลับเป็นช่วงเวลาที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรปฏิบัติธรรม ไม่ใช่แค่เดินด้วยกันเฉยๆ แล้ว แต่พุทธธรรมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้สามารถที่จะลงทุน และใช้ชีวิตในยุคนี้ได้อย่างมีความสุขเสียด้วยซ้ำ เอาไว้ผมจะค่อยๆ เขียนมาให้อ่านนะครับ ขอตัวไปปฏิบัติธรรมก่อน...
โดย
picatos
พฤหัสฯ. มี.ค. 10, 2022 6:37 am
0
19
Re: แชร์ไอเดีย บริหารความเสี่ยงยังไงในช่วงเกิดสงครามครับ
ผมคิดโง่ๆ แบบนี้นะครับ คือ ถ้าเกิดสงครามนิวเคลียร์ จะเอาเงินลงทุนไปไว้ที่ไหนก็คงจะไม่มีความหมาย คือ เตรียมตัวตายอย่างไร ให้จากไปอย่างสงบดีกว่า แต่ถ้าไม่เกิดสงครามนิวเคลียร์ คำถามคือ ราคาที่ลงมามีส่วนลดขนาดไหน มี MOS ขนาดไหน เมื่อเทียบกับสถานการณ์ปกติที่ไม่มีสงคราม สิ่งที่ผมพยายามบริหารตอนนี้ คือ การบริหารการรับข้อมูลข่าวสารที่เข้ามามากกว่า ว่าข้อมูลอันไหนเกี่ยวข้องกับกิจการที่เราลงทุนในระยะยาว และผลของสงครามกระทบต่อมูลค่าระยะยาวของกิจการเราจริงๆ หรือไม่ ในแง่ของกระแสเงินสดที่จะทำได้ในอนาคต ไม่ใช่ในส่วนของ risk premium ที่เพิ่มขึ้นในช่วงสงคราม ถ้าเรื่องสงครามที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีผลต่อกิจการในระยะยาวของเรามากนัก ราคาที่ลงมาสะท้อนความกลัวไปไกลมากแล้ว บางทีการปรับพอร์ตขายตัวที่ upside ต่ำ มาซื้อตัวที่ upside สูงก็เป็นสิ่งที่น่าทำและควรทำ หลังจากนั้น ผมคิดว่าการติดตามข่าวสงครามในแง่การพัฒนาความเมตตา กรุณาของเรา ที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า ติดตามเพื่อเพิ่มความกลัว ที่อาจจะไม่เกี่ยวกับกิจการที่เราลงทุน เอาจริงๆ นะ โดยส่วนตัวผมตามข่าวสงครามหรือข่าวแตงโมน้อยมาก เอาเวลาไปทำอะไรอย่างอื่นที่รู้สึกว่าเป็นประโยชน์จริงๆ เสียมากกว่า ช่วงนี้เลยรู้สึกจิตใจสงบมาก ทั้งๆ ที่โลกโกลาหลวุ่นวายไปหมด
โดย
picatos
จันทร์ มี.ค. 07, 2022 9:16 pm
0
18
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
... ความรู้ผมยังน้อยนิด ผมต้องการที่จะเปิดประเด็นในเรื่องพื้นฐานของ US เพื่อที่จะพูดคุยและปรับความเข้าใจก่อนที่ผมจะเข้าไปลงทุนใน ETF ต่างๆไม่ว่าจะเป็น S&P 500/Russell 3000/Dow 30 แม้ว่ามันเป็น ETF แต่เวลามันลงหนักๆจะได้หาที่เกาะให้แน่นโดยใช้เหตุผลพวกนี้ครับ ส่วนเหตุผลที่จะใช้ในการถือ ETF ให้ไปดู asset allocation มากกว่าครับ ว่า risk/return จาก cash และ fixed income เป็นอย่างไร เพื่อเทียบกับ equity ผมคิดว่าราคา ณ ขณะนี้ในระยะยาวมันสะท้อน return จาก risk free rate กับ equity risk premium อยู่ที่เกือบๆ 6-7% ซึ่งน่าจะสูงกว่าผลตอบแทนที่ได้จาก fixed income จาก demographic ของโลกที่มีคนแก่ตัวลง การเพิ่มของประชากรที่ลดลง และ saving rate สูง ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดัน inflation ในระยะกลางไปถึงระยะยาว สุดท้ายก็ลองไปทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาดูแล้วกันครับ ว่าระดับของ risk aversion เรามีมากน้อยขนาดไหน ในการจัด asset allocation ให้เหมาะสม https://www.riskprofiling.com/nytfreetest https://pfp.missouri.edu/research/investment-risk-tolerance-assessment/ เพราะ ผมเชื่อว่าปัญหาของคุณ Peter 1011 น่าจะอยู่ที่การเข้าใจระดับการรับความเสี่ยงของตัวเองมากกว่า ตลาด หรือ ธุรกิจ
โดย
picatos
จันทร์ มี.ค. 07, 2022 12:17 pm
0
10
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โดยส่วนตัวคิดว่าปัจจัยที่ทำให้ US แตกต่างจากประเทศอื่น มาจากวิธีการเกิดขึ้นของประเทศนี้ ที่เป็น land of opportunities ที่ให้คนอพยพเข้ามาอยู่ในช่วงตั้งประเทศ และมี free speech เป็นแก่นหลักของประเทศ ถ้าที่แห่งนั้นเป็นที่ๆ คนที่ใส่ความพยายามอะไรลงไปแล้วสามารถออกดอกออกผลได้ มีค่านิยมที่ชื่นชมคนที่กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ มีตลาดการค้าและการเงินที่รองรับ และมีความสมเหตุสมผลที่สุดในโลกในเชิงเปรียบเทียบ ผมเชื่อว่าประเทศนั้นก็ยังเติบโตต่อไปได้อีกไกล เท่าที่ศึกษาประเทศหลายๆ ประเทศ ผมรู้สึกว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศที่พิเศษจริงๆ ครับ โดยส่วนตัวเชื่อว่า COVID ได้เปิดประตูแห่งโอกาสให้คนทั้งโลกได้มีโอกาสที่จะใส่ความพยายามและได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความพยายามทั้งการศึกษาและการทำงาน เป็นการ unlock ขีดความสามารถให้กับคนทั้งโลก ให้ก้าวขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ซึ่งโอกาสการที่เกิดขึ้น ในการระดมทุนนี้ ผมเชื่อว่าจะเป็นการระดมทุนผ่านทางตลาดทุนของสหรัฐฯ จึงทำให้ถึงแม้ว่าการเติบโตของธุรกิจในรอบนี้ที่ผมเชื่อว่าเป็นการเติบโตของคนตัวเล็กๆ ในประเทศเล็กๆ แต่บริษัทที่ทำ platform เหล่านี้ยังคงจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ และมีโอกาสสูงที่ index ของ US จะทำผลงานได้ดีในระยะยาว มากกว่าตลาดหุ้นของ local ในแต่ละประเทศ ที่มีแต่เศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่ สุดท้าย ผมเชื่อว่าผลตอบแทนที่เกิดขึ้นมันจะเป็นไปตาม value creation ที่เกิดขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่า value creation สูงที่สุดที่เกิดขึ้นในยุคถัดไปมันจะเกิดจาก platform business model ที่มี network effect สูงๆ AI และ Metaverse ซึ่งเท่าที่ส่องดูทั้งโลกแล้ว สหรัฐฯ น่าจะเป็นผู้นำ เพราะ 1) ลักษณะธุรกิจเน้นไปที่ global network effect ซึ่งจีนทำได้แค่ local ของตัวเอง 2) AI research ที่ advance ที่สุดอยู่ที่สหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น open AI ของ MSFT หรือ deep mind ของ alphabet 3) Metaverse ของทางจีนไม่น่าจะรอด เพราะ แค่เด็กจะเล่นเกมส์ยังเล่นกันไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่เด็ก gen alpha นี่แหละจะเป็นคนสร้าง Metaverse ให้เกิดขึ้น
โดย
picatos
จันทร์ มี.ค. 07, 2022 11:52 am
0
17
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
คนที่มาลงทุนต่างประเทศปีที่แล้ว น่าจะเป็นปีที่แย่ที่สุด เพราะเข้าไปตอนเสียเปรียบสุด ๆ ผมเห็นคนเลิก หรือ ถอดใจจำนวนมาก ขอบันทึก draw down ปัจจุบันไว้หน่อย แต่ผมเชื่อว่าระยะเวลาที่ยาวพอจะออกดอกออกผลแน่นอน หุ้นเวียดนามผมก็เคยท้อ แต่ก็ไม่ได้ถอย รอไปเรื่อย ๆ ผ่านไปสี่ปี สุดท้ายก็ออกดอกออกผล หุ้นอเมริกาผมว่ายากกว่าอีก อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า แต่ก็ขอพยายามตามรอยอ.ตี่ไปนะครับ อย่ามาตามผมเลย เดี๋ยวได้ตายไปด้วยกัน ไปตามพี่ wj หรือพี่โจดีกว่าครับ ดูแล้วปลอดภัยกว่าเยอะ VI ของจริง ของผมมันพันธุ์ทาง เป็นหมาวัด
โดย
picatos
พุธ ก.พ. 23, 2022 3:47 pm
4
7
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
แต่ทั้งหมดนี้ที่เขียนมาทั้งหมด ผมก็ได้ผลตอบแทนแค่ต่ำเตี้ยติดดิน สู้เพื่อนๆ นักลงทุนที่ลงทุนในไทยคนอื่นๆ ไม่ได้หรอกนะครับ แถมทั้งหมดที่เขียนบางอย่างก็ทำได้ บางอย่างก็ทำไม่ได้ บางอย่างก็อยู่ในระหว่างการทดสอบและพัฒนา ถ้าวัดผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์และตัวเงิน ผมคิดว่าผมแพ้เพื่อนๆ นักลงทุนไทย ถ้าวัดที่ชื่อเสียงที่ได้รับ ผมก็คิดว่าผมแพ้เพื่อนๆ นักลงทุนไทย ถ้าวัดกันที่ความสุขจากเงิน ข้าวของ และชื่อเสียง ผมก็คิดว่าผมแพ้เพื่อนๆ นักลงทุนไทย ถ้าคิดที่จะลงทุนต่างประเทศ คำถาม คือ เราสามารถเป็นผู้แพ้ที่มีความสุขได้ไหม สำหรับผมแล้ว พอดี ความสุขที่ได้จากการลงทุนในกิจการที่ผมชอบ กับผู้บริหารที่ผมเชื่อ มันแค่ไม่มีอยู่ในประเทศไทย เพราะ ถ้ามันมีในประเทศไทย ผมคงไม่ต้องเสียเวลาไปกับการลงทุนต่างประเทศ
โดย
picatos
จันทร์ ก.พ. 14, 2022 6:50 am
0
27
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
... 1. บริหารจัดการการศึกษาหุ้นอย่างไร ให้ได้ประสิทธิภาพที่สุดเหรอครับ การไปลงทุนในต่างประเทศของผม เริ่มต้นด้วยคำว่าประสิทธิภาพครับ ในตอนที่ผมเริ่มไปลงทุนต่างประเทศช่วงปี 2012-2013 ผมรู้สึกว่า พอร์ตผมใหญ่พอที่จะเกษียณได้แล้ว ผมเป็นคนที่ถึงเป้าแล้ว ไม่ได้ปรับเป้า ถึงเป้าแล้วก็เลิก ไม่อยากเสียเวลาไปกับความพยายามในการหาเงินมากไปกว่านี้ อยากที่จะใช้เวลากับการลงทุนให้น้อยลง จะได้เอาเวลาไปใช้กับการปฏิบัติธรรม คือ ในตอนปี 2010 ผมได้เริ่มปฏิบัติธรรม และผมรู้ชัดเลยว่า ถ้าอยากก้าวหน้า เอาดีในทางธรรมได้ เราต้องห่างจากทางโลก ยิ่งห่างจากความฟุ้งซ่าน วุ่นวายได้มากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสก้าวหน้าได้มากเท่านั้น และระหว่างการปฏิบัติธรรม ปกติในเส้นทางที่ผมเดิน อาจจะมีช่วงเวลาหลายเดือน หรืออาจจะเป็นปี ที่ความทุ่มเท มุ่งมั่นทั้งหมดของชีวิตจะโฟกัสไปที่การฝึกจิต ขัดเกลาจิต โดยไม่สนใจเรื่องหุ้นเลย ซึ่งในมุมมองของผม การลงทุนต่างประเทศเป็นทางออก ถ้าเคยศึกษาพุทธพจน์ หรือพระสูตรมาบ้าง จะพบว่าจะมีหลายๆ เหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าพูดถึงเส้นทางเดินของชีวิตคน ว่าท่านเหมือนเห็นคนๆ หนึ่งกำลังเดินอยู่บนเส้นทางหนึ่ง ท่านรู้ว่าเส้นทางนั้นนำไปสู่จุดหมายอะไร แล้วท่านก็ไปทำอะไรอย่างอื่น เวลาผ่านไปนาน กลับมาดูคนนั้นใหม่ ก็เห็นว่าคนๆ นั้นไปถึงจุดหมายนั้นแล้ว กำลังเสพสุข หรือกำลังเสวยทุกข์ อยู่กับจุดหมายที่ไปถึง ผมคิดว่าอาชีพนักลงทุนก็เหมือนกับพุทธพจน์เหล่านี้ คือ เราในฐานะนักลงทุน เราศึกษาและเข้าใจว่า Founder ผู้บริหาร และกิจการกำลังเดินไปที่ตรงไหน เราเลือกที่จะลงทุน ระหว่างทาง เราก็เอาเวลาไปทำอะไรอื่น นานแสนนาน แล้วเราก็กลับมาดูอีกที การลงทุนของเราก็ได้ผลตอบแทนที่งอกเงยตามที่คาดหมาย เราไม่จำเป็นต้องใช้เวลาอะไรกับการลงทุนมากเลย การที่เรารู้ข้อมูลมากหรือข้อมูลน้อย มันไม่มีผลต่อการดำเนินงานของกิจการเลย ถ้าเราไม่ได้เป็น Activist Investor กิจการก็จะดำเนินของมันต่อไป ตามปัจจัยเชิงคุณภาพที่สุดท้ายจะเปลี่ยนมาเป็นปัจจัยเชิงปริมาณ แต่ความเป็นจริงที่ผมเจอ คือ ผมใช้เวลาไปกับการเสียเวลารู้เรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง คือ รู้เพิ่มขึ้นให้สบายใจ หรือ กังวลใจไปอย่างนั้น โดยไม่ได้เปลี่ยนความเป็นจริงของกิจการเลยแม้แต่น้อย หมอเคเป็นหมอ เวลารักษาโรคให้กับคนไข้ หมอเคก็รู้ว่า โรคกับการรักษามันต้องใช้เวลาของมันตามเหตุปัจจัย การที่เราไปเก็บข้อมูลคนไข้มากขึ้นไปก็เท่านั้น มันไม่ได้ช่วยอะไรให้คนไข้หายเร็วขึ้นเลยแม้แต่น้อย ดีไม่ดี จะยิ่งทำให้ Paranoid ไปทั้งคนไข้และหมอ จนทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงด้วยซ้ำ นั่นจึงเป็นที่มาของการกำหนดเป้าหมายในชีวิตของผมว่า มันเป็นไปได้ไหมที่ผมแค่รู้เรื่องที่ผมควรรู้ แล้วใช้เวลากับมันให้น้อยๆ ยกตัวอย่างเช่น แค่รู้ลักษณะอาการของโรค รู้วิธีรักษา แล้วก็จ่ายยา หลังจากนั้นก็รู้ว่าต้องใช้เวลานานเท่าไรค่อยให้เช็คผล แล้วปรับการรักษา แล้วก็ให้ข้อสังเกตกับคนไข้หรือพยาบาลไปว่า ถ้าเมื่อไรที่ตัวเลขนี้ตกถึงจุดนี้ ค่านี้เป็นแบบนี้ หรือมีอาการเจ็บปวดที่จุดนี้ ให้ติดต่อกลับมาหานะ จะได้ Take Action ได้ถูก ในช่วงแรกผมพยายามหาหุ้นดีๆ ที่ Runway ยาวๆ มีความแข่งแกร่ง พัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นความพยายามในการมองหาหุ้น 100 ปี เพราะ ถ้าผมลงทุนในกิจการที่ดี และอยู่ต่อเนื่องไปเป็นร้อยปีได้ ไอ้สิ่งที่เกิดขึ้นในระดับรายไตรมาส บางทีเรายังไม่ต้องสนใจเลย วิเคราะห์พื้นฐานสักปีละครั้งก็พอ และหา Critical Indicator ที่จำเป็นต้องดูเป็นระยะก็พอ ไม่ต้องตื่นขึ้นมาอ่านข่าว ฟังคลิป ฟัง Oppday แกะงบ ถาม IR อะไรก็ได้ เพราะ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในภาพใหญ่ มันใหญ่กว่าเรื่องราวรายวัน ที่จะเข้ามารบกวนเวลาในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับครอบครัว หรือสิ่งที่ตัวเองรัก ซึ่งสำหรับผมในขณะนั้น คือ การปฏิบัติธรรม และใช้ชีวิตกับครอบครัว หุ้นร้อยปี สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ผมเชื่อ ก็คือ Moat แต่คำถาม คือ Moat มันเกิดขึ้นจากอะไร และพัฒนาขึ้นมาอย่างไร ซึ่งในประเด็นนี้ VC ที่ผมประทับใจมาก คือคุณ James Currier แห่ง nfx.com ที่ อธิบาย Defensibility ได้อย่างน่าประทับใจ ที่ช่วยให้ผมเข้าใจว่า บริษัทจะเติบโตไปพร้อมๆ กับการสร้าง Moat อย่างไร ในการลงทุนในกิจการที่มี Moat ที่แข็งแรงอยู่แล้ว ใครๆ ก็รู้กัน แถม Defensibility ก็ไม่ได้ขยายเพิ่มขึ้น หุ้นพวกนี้ตามปกติมีราคาแพง Upside ต่ำ แถมมีความเสี่ยงที่จะถูกคนอื่นเค้า Disrupt หรือโดนโจมตี กิจการที่สุดยอดสำหรับผมิ คือ กิจการที่ Moat ดีระดับหนึ่งแล้ว แต่กำลังเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ พร้อมๆ กับการสร้าง Moat ให้กว้างขึ้นไปเรื่อยๆ พร้อมๆ กัน ผมขอยกตัวอย่างหุ้นตัวแรกที่ผมลงทุนอย่าง Google ก็แล้วกัน Business Model ของ Google น่าสนใจมากตรงที่ Google เป็น Free Service ที่พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของ AI ในวันที่ผมทำ Presentation Google ให้หมอเคฟังเมื่อปี 2012 ในวันนั้น Google เริ่มที่จะนำ AI เข้ามาใช้แรกๆ อย่างจริงๆ จังๆ มีการ Launch Knowledge Graph มีการตั้งหน่วยงาน Google Brain มีการทดสอบรถ Self-Drive Car ในช่วงปีก่อนๆ หน้า ผลของ AI ที่พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ หมายความว่าคุณภาพของ Search ใน Google จะดีขึ้นไปเรื่อยๆ นั่นหมายถึง Consumer Surplus ก็สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้าของ AI และทำให้ Moat ของ Google ขยายออกไปเรื่อยๆ ลูกค้ามีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจากการได้รับคำตอบที่ต้องการดีขึ้นทุกๆ ครั้งที่ใช้บริการ คือ แค่ให้ใช้ฟรีก็ดีจะตายอยู่แล้ว แต่นี่ฟรีไม่พอ แต่ทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆ เดือน ทุกๆ ปี ในขณะที่ Revenue Model ของ Google เป็น Ads Base ที่เครื่องมือ AI ของ Google ทำให้ ROI ของ Advertiser สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา ผลที่ตามมือ คือ User จะใช้บริการ Search ของ Google มากขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งก็หมายถึงจำนวนของ Impression Supply ที่จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ในขณะที่คุณภาพของ AI ที่ทำให้ Conversion Rate สูงขึ้น ก็ทำให้ Advertiser พร้อมที่จะจ่ายเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นตามมา เราก็พอจะเห็นได้ว่า Revenue เป็น Function ของ Search Volume กับ Cost-Per-Click ซึ่ง AI ที่ Google ทำ จะทำให้ Revenue โตขึ้นไปเรื่อยๆ ดังนั้นถ้าเรามองยาวๆ ไป 100 ปี เราจะเห็นได้เลยว่า ถ้า AI ยังไม่ไปถึงจุดที่เป็น AGI (Artificial General Intelligence) ที่ฉลาดกว่ามนุษย์มากๆ Google จะยังมี Growth Potential ให้โตได้อีก เราเลยเห็น Google Shopping, Google Travel หรือ Google Maps ที่ทำอะไรได้มากขึ้นเรื่อยๆ และในอดีตสิ่งที่ Google เดินหน้าไป ถ้า AI ของ Google ไปถึงจุด AGI สิ่งที่ Google จะทำก็คือ เป็นยักษ์จินนี่ ที่ผู้ใช้ต้องการอะไร Google ก็พร้อมจะนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุด ในราคาที่ดีที่สุด ให้ผู้ใช้เลือก ผลที่ตาม Moat ของ Google ก็จะกว้างมากมากขึ้นไปเรื่อยๆ เสียจนไม่น่าจะมีใครทำลายได้ในรอบ 100 ปี ในมุมของ Computing Platform ก็จะเห็นได้ว่า ในอนาคตถ้าโลก Shift จาก Smartphone ไปเป็น VR/AR/MR หรือ Ubiquitous Computing (เรื่องนี้ผมก็มี Present ให้หมอเคฟังเมื่อปี 2012 เนอะ) เราก็พอจะเดาได้ว่า คนจะยิ่งต้องการ Search มากยิ่งขึ้น เพราะ คนจะถาม Google ว่า "Google ฉันหาเสื้อเชิร์ตสีฟ้าที่ใส่เมื่อเดือนที่แล้วไม่เจอ ฉันเอามันไปไว้ตรงไหน?" จะเห็นได้ว่า Apple อาจจะมีความเสี่ยงตอนที่ Platform Shift แต่ Google ไม่มีความเสี่ยงตรงนี้เลย ถ้า Search ของ Google ยังอยู่ในใจของคนทั้งโลก และความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในการลงทุนนับตั้งแต่ปี 2012 ก็คือ ผมฟัง Conference Call แบบชิวมากๆ อยากฟังก็ฟัง ไม่อยากฟังก็ไม่ฟัง ว่างเมื่อไรก็ค่อยฟัง ราคาหุ้นก็ขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ผมไม่เคยขาย Google หมดพอร์ตเลย มีแต่ขายเอาเงินไปซื้อตัวอื่นบ้าง เพราะ สัดส่วนของ Google มันเยอะเกินไป ผมสามารถใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการ คือ ไปปฏิบัติธรรมเป็นเดือนโดยไม่ดูหุ้นเลยแม้แต่วันเดียว ไปเที่ยวอเมริกาใต้ ขับรถบ้านไป Camping ที่ นิวซีแลนด์ ที่ซึ่งไม่มีแม้แต่สัญญาณมือถือ และราคาหุ้นให้ดู ย้อนกลับมา คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดเวลาผมซื้อหุ้น ไม่ใช่เรื่องที่ว่าหุ้นตัวนี้จะ Perform จะทำให้ผมชนะคนอื่น ชนะตลาดได้ไหม แต่มันคือเรื่องที่ว่า ผมสามารถที่จะซื้อ แล้วไม่ต้องติดตามมันหลายๆ เดือนได้ไหมเสียมากกว่า อันนี้ คือ ประสิทธิภาพของผมนะครับ ผมคิดว่า ผมใช้เวลาในการลงทุนน้อย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนอย่างที่ผมได้ในปัจจุบัน ผมเชื่อว่า โลกกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ในระดับเดียวกับช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่ง Investment Cycle รอบนี้ใหญ่โตมโหฬารมาก ในขณะที่ Inflation นี่ผมเห็นแล้วไม่เป็นห่วงเลย เมื่อมองไปถึง Demographic ของประชากรในปัจจุบัน ที่ Covid ทำให้อัตราการเกิดของ Gen-Alpha ต่ำลง บวกกับ Technology ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จนเป็นปัจจัยกดดันไม่ให้เงินเฟ้อไปได้ไกลมากนัก และน่าจะเป็นห่วงเรื่องเงินฝืดมากกว่าในระยะกลางๆ ซึ่งผมเชื่ออย่างสุดหัวใจเลยว่า ถ้าการเปลี่ยนแปลงมันรุนแรงขนาดนี้ มันมีหุ้นร้อยปีที่ทำให้ผมอาจจะต้องขยันมากหน่อยในช่วงนี้ เพื่อที่จะได้ขี้เกียจยาวๆ ไปอีก 100 ปี 2. ในแง่ของ portfolio management ผมว่า หุ้นไทย เองมีความผันผวนมากกว่า ผมสังเกตว่า หุ้น super stock ในไทย ก็จะมี การเปลี่ยนแปลง 2 ปี ขึ้น 100% อีก ปี ลงเกิน 50% ดังนั้น หลายๆครั้ง หุ้นไทยจะเหมาะกับการเล่นเป็น theme มากกว่า (ไม่นับรวม port longterm) ในช่วงที่เกิด Uncertainty และ Volatility สูงมากๆ อย่างในช่วงนี้ ผมจะบริหารพอร์ตโดยการทำมิติของการ Valuation ออกมาหลากหลายมาก และปรับสัดส่วนที่ Dynamic มากๆ โดย Take Action ตาม Technical ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่า หุ้นตัวหนึ่งผมว่าคุณภาพทุกอย่างมันได้แล้ว ผมพร้อมที่จะถือมันในระยะยาว แต่อาจจะมี Micro Economic Uncertainty บางอย่างที่ทำให้ Valuation เหวี่ยง ผมจะกำหนดสัดส่วนที่เป็นค่ากลางในการถือ เช่น ตัวนี้ผมอยากที่จะถือ 10% ของพอร์ต ผมจะให้ Range ของสัดส่วนในพอร์ตแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ 5% 7.5% 10% 12.5% 15% ถ้าหุ้นเป็นขาขึ้น Technical ยังไม่เสีย Fundamental ดูแล้วยัง Support ผมก็จะปล่อยมันไหลขึ้นไปจนถึง 15% ถึงเกิน 15% ก็อาจจะ Trim ออก และถ้าในระยะสั้น Technical อาจจะ Overbought หรือทำท่าจะ Peak ก็อาจจะมี Trailing Stop เพื่อลดสัดส่วนลงมาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คือ กลับมาที่ 10% แต่ถ้า Graph เสียกลายเป็นขาลง พร้อมๆ กับ Fundamental เริ่มมี Question บางอย่างที่เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน ก็อาจจะปรับลดลงมาเหลือ 5% เป็นต้น ค่ากลางแรกที่ 10% ผมจะคิดในเชิงเปรียบเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ ในพอร์ต โดยคำนึงถึงปัจจัย 4 อย่าง คือ 1) Quality & Impact Delta 2) Growth Potential 3) Valuation และ 4) ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาในปัจจุบัน ซึ่งก็อาจจะได้ออกมาว่า ตัวนี้ 10% ตัวนี้ 5% ตัวนี้ 2.5% ตัวนี้ต่ำกว่า 1% ผมยอมรับว่าวิธีการบริหารช่วงนี้ ผมจำเป็นต้องใช้เวลามากกว่าปกติ เพราะ โลกกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยน ฝุ่นทุกอย่างมันตลบไปหมด Uncertainty มันสูงมาก คงต้องใช้เวลาอีกสัก 2-3 ปี กว่าที่จะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ว่าทิศทางและแนวโน้มต่อไปมันจะเป็นอย่างไร ระหว่างทาง ทุกอย่างมันจะมั่วไปหมด ผมคิดว่า หุ้นหลายๆ ตัวที่ผมเข้าลงทุนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มี Noise อยู่เยอะมาก จนทำให้ Valuation ที่ผมคำนวณได้มีช่วงกว้างมาก และต้องใช้เวลาอีกสักพัก กว่าจะเห็นตัวเลขจริงๆ ที่นิ่งหน่อยในการทำ Valuation 3. วีไอ การจับจังหวะ ตลาด เป็นของแสลง แต่ผมเชื่อว่า หลายๆคนก็ประเมิน เรื่อง market direction ในไทยนั้น จะเห็นว่า หุ้นที่เป็น best stock gainer แต่ละปี ก็ไปตาม theme ต่างๆ เช่น ปี 2014-2016 หุ้นนักท่องเที่ยวจีนมา ปี 2020-2021 พวก digital transformation มา อ. Damodaran บอกว่า ทุกคนที่ลงทุน มีความเป็น Market Timer อยู่ในตัวทั้งนั้น เพียงแต่ว่าเป็น Implicit หรือว่า Explicit ตัว VI เองที่ซื้อหุ้นตอนถูกๆ มี MOS อันนี้ก็สะท้อนถึงความเป็น Market Timer อยู่บ้างไม่มากก็น้อย ดังนั้นผมคิดว่าถ้าเรา Identify ว่าตัวเองเป็นนักลงทุน ยอมรับความเป็นจริงเถอะครับ ว่าเราจับจังหวะตลาดอยู่บ้าง เพียงแต่ว่ามากหรือว่าน้อย ความแตกต่างที่สำคัญ ผมว่าน่าจะอยู่ที่ระยะเวลาที่จะลงทุนมากกว่า ถ้ามองระยะเวลาการลงทุนที่ยาวเป็น 10 ปี สิ่งที่เราต้องมองหา คือ Mega Trend หรือ Structural Change อะไรบางอย่างในพฤติกรรมของผู้ผลิต ผู้บริโภค หรือ เทคโนโลยี แต่ถ้าเรามองระยะเวลาการลงทุนแค่ 1-2 ปี เราก็อาจจะไปหากิจการที่จะได้ประโยชน์จากความไม่สมดุลของ Supply-Demand ในระยะสั้น แต่ถ้าเรามองการลงทุนแค่จะเอาปีนี้ ให้ชนะคนอื่น การเข้าถึงข้อมูลก่อนคนอื่น รู้งบล่วงหน้า และมีอิทธิพลที่สามารถขายฝันให้คนอื่นซื้อหุ้นตามเรา ซึ่งอาจจะใช้ได้ในตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างในไทย แต่เป็นเรื่องยากมากที่จะทำได้สำหรับในหุ้นสหรัฐฯ เพราะ ทุกคนกำลังเล่นเกมส์ 1 ปีกันหมด โอกาสชนะเลยมีน้อย ผมเชื่ออย่างสุดหัวใจเลยว่า ถ้าผมจะอยู่รอดในตลาดต่างประเทศระยะยาวได้ ผมต้องมองแตกต่างจากคนอื่นดังนี้ 1) มองให้ยาวกว่าคนอื่น เล่นในเกมส์ที่คนอื่นไม่เล่น คนส่วนใหญ่มอง 1 ปี ส่วนส่วนน้อยมอง 10 ปี ถ้าผมมอง 100 ปี ผมเชื่อว่าเกมส์ๆ นี้มีคนเล่นกับผมน้อยมากๆ 2) มองให้ลึกกว่าคนอื่น ว่า Impact ที่เกิดขึ้นจริงๆ ของกิจการ ที่เกิดขึ้นกันคนจริงๆ มันอยู่ที่ตรงไหน และสามารถเปลี่ยนเป็นรายได้ กำไร หรือ Moat ได้อย่างไร 3) อดทนให้ได้มากกว่าคนอื่น ถ้าเจอ Drawdown ไป 75-80% ก็จะไม่เกลียดหุ้น เกลียดใคร เกลียดอะไร ยังคงรักษาความสงบ วิเคราะห์ พิจารณาสิ่งต่างๆ ให้ได้ตามความเป็นจริง 4) มีวินัย เมื่อทำผิด ยอมรับผิดให้เร็ว อย่าดอง อย่าสุ่มปัญหา อย่าปิดตา แล้วหวังว่าสิ่งต่างๆ จะผ่านไปโดยไม่พิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างแยบคาย 5) อ่อนน้อมถ่อมตนต่อตลาด ต่อคนรอบๆ ตัว พร้อมที่จะตื่นขึ้นมาพบกับความผิดพลาด (อีกแล้ว) แล้วก็พร้อมที่จะเรียนรู้ และทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น 4. อีกประเด็นนึง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญสุด คือ การวิเคราะห์ ผบห ข้อดีของการลงทุนต่างประเทศ คือ อุตสาหกรรมมันใหญ่มากๆ ดังนั้น เวลาฟังผู้บริหารกิจการหนึ่งๆ ก็ไปฟังผู้บริหารกิจการคู่แข่ง หรือ ที่ใกล้เคียง สิ่งที่ผมมองหาจากผู้บริหาร คือ Just Cause ผมมองหาผู้บริหารที่รู้สึกว่าตัวเองกำลังทำบางสิ่งบางอย่างที่ใหญ่กว่าตัวเอง ที่พร้อมที่จะทุ่มเทชีวิตเพื่อเป้าหมายบางอย่างที่เค้าเชื่อและฝัน ผู้บริหารแบบนี้แหละ ที่จะสร้าง Culture ขององค์กร และดึงดูดให้คนที่ฝันแบบเดียวกันเข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน ยกตัวอย่างผมฟัง Conference Call ของ Coursera เทียบกับ 2U และ Udemy ผมจะพบว่าความฝันของ Jeff Maggioncalda ของ Coursera เค้าใหญ่มาก และมันก็เปลี่ยนมาเป็นรายละเอียด เป็น Product ที่ทำให้เรารู้สึกอยากที่จะฝันไปร่วมกับเค้า ในขณะที่ 2U กับ Udemy จะเน้นไปที่ตัวเลข และการแก้ปัญหา เวลาพูดถึงการเอา AI มาใช้ก็จะพูดแบบลอยๆ เป็น Buzzword ไปอย่างนั้น ในขณะที่เวลา Jeff พูด เค้ามาเป็นตัว Product เลยว่า Product ตัวนี้จะช่วยลูกค้าอย่างไร ให้ชีวิตลูกค้าเค้าดีขึ้น ผมเป็นคนที่ลงทุนด้วยหัวใจ เวลาผมฟังพูดบริหารบางคนพูด ผมจะรู้สึกถึงความสว่าง บางคนพูดนี่เล่นเอาทำให้ผมน้ำตาซึม ฟังก็ครั้งก็ซึมทุกครั้ง ในขณะที่ผู้บริหารบางบริษัทอย่าง Google นี่ต้องวัดกันที่การกระทำ เพราะ Google จะเปิดเผยข้อมูลน้อยมาก เวลาพูด จะไม่ได้พูดสไตล์ Build อารมณ์ แต่จะพูดแบบเย็นๆ เรื่อยๆ แต่ถ้า Jensen Huang ของ Nvidia นี่เล่นใหญ่ มาเต็มตลอด โดยส่วนตัวถ้าบริษัทฯ ยังเล็กอยู่ ผมชอบผู้บริหาร หรือ Founder ที่ Inner แรงๆ หน่อย เพราะ เราต้องการคนมีไฟในการสร้างบริษัทฯ ให้มันใหญ่ แต่ถ้าบริษัทใหญ่แล้ว ผมชอบผู้บริหารที่เงียบๆ เย็นๆ มากกว่า เพราะ เวลาบริษัทใหญ่และเป็นที่จดจ้อง คนพร้อมที่จะรุมสกรัมอยู่แล้ว อย่างพี่ Mark นี่ อยากจะบอกว่าถ้าเบาได้ ก็ช่วยเบาลงนิดนึงก็จะดี ในเชิงเปรียบเทียบกับบริษัทไทย ผมคิดว่า คนไทยโกหกเก่งครับ ดังนั้นผู้บริหารไทย เราจะเปลืองเวลาไปกับการจับโกหก ในขณะที่ผู้บริหารของหุ้นต่างประเทศ พวกนี้ไม่ค่อยโกหกแล้วครับ แต่เราต้องอ่านพวก Mentality ของคนพวกนี้มากกว่า เพราะ เหมาะสมไหมกับ Business Life Cycle และสภาพการแข่งขัน อย่าง PTON นี่ มันไม่เกี่ยวกับผู้บริหารไหมครับ? คือ ถ้าคุณเป็นคนออกกำลังกายจริงจัง ก็พอจะรู้พฤติกรรมของลูกค้า กับตลาดอยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น ธุรกิจมันไม่ได้ Sustain อยู่แล้ว เจ้าที่เดิมก็มีเติมไปหมด Les Mill ก็มี Subscription จะโหลด Video มาดูฟรี ออกกำลังกายฟรีก็มีเต็มไปหมด จักรยานเลียนแบบจากจีนแป๊บเดียวก็ทำออกมาอีกเพียบ ผลประกอบการดีชั่วคราว ราคาขึ้น เราก็เข้าใจไปเองว่าผู้บริหารเทพ ทั้งๆ ที่เอาจริงๆ แล้วเราไม่ได้เข้าใจกิจการมันเลยแม้แต่น้อย
โดย
picatos
จันทร์ ก.พ. 14, 2022 6:13 am
3
40
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
ภาพปลากรอบ Index return vs Sale growth.png SET index~3.png ndx com.png SET index~2.png ndx common size.png SET index~4.png ndx driver.png ดูตัวเลขของ nasdaq ยาวๆ ดัชนีที่ขึ้นมา จาก 3,5xx มาที่ 16,xxx เป็นผลจาก ปัจจัยพื้นฐาน 68% จาก p/e ที่สูงขึ้น 32%
โดย
picatos
อาทิตย์ ก.พ. 06, 2022 4:59 pm
0
21
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
...สำหรับสถานการณ์เงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และผลกระทบกับหุ้น high growth ที่ยังไม่มีกำไร ผมอยากให้เปลี่ยนจากการมองแบบ generalisation ไปเป็นแบบ more specific ครับ อาจจะเห็นภาพที่แตกต่างออกไปได้ครับ เช่น บริษัทแบบไหนที่ได้รับผลกระทบหรือบริษัทแบบไหนที่ไม่ได้รับผลกระทบ บริษัทที่มี moat มักจะไม่ได้รับผลกระทบ ดังนั้น บริษัท high growth ที่ยังไม่มีกำไร แต่มี moat ก็จะไม่ได้รับผลกระทบครับ สุดยอดเลยครับพี่ กด like ให้ทุกความเห็นเลยครับ เอาจริงๆ ที่ผมตอบหมอเคว่า ไม่คุ้มกับเหมาะเค เพราะ ผมคิดว่าผมเข้าใจนิสัย วิธีการลงทุน และข้อได้เปรียบในตลาดหุ้นไทยของหมอเคระดับหนึ่ง ผมเลยสรุปไปเลยว่า สำหรับหมอเคแล้วไม่คุ้ม แต่ถ้าเป็นนักลงทุนมือใหม่ หรือคนที่ไม่ได้มีข้อได้เปรียบในการลงทุนหุ้นไทยมาถามผม ผมก็จะตอบว่าคุ้มกว่ามากที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ ไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนในไทย เพราะ การที่ดัชนีหุ้นไทยไม่ไปไหนมาเป็น 10 ปี สาเหตุจริงๆ คือ รายได้และกำไรของเราไม่ไปไหนครับ รายได้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์เราลดลง เกือบ 20% ในช่วงปี 2013-2021 ในขณะที่กำไรทรงๆ มาตลอด ในขณะที่รายได้ของบริษัทใน nasdaq โต ขึ้นมา 120% ในขณะที่กำไรโตขึ้นมา 176% สิ่งที่เกิดขึ้น คือ digital disruption เกิดขึ้นจริง จาก smartphone revolution ในช่วงที่ผ่านมา รายได้เศรษฐกิจเก่าไม่โต แต่กำไรดีขึ้นจากการลดต้นทุน จากการเอาเทคโนโลยีในใช้ ในขณะที่กิจการเทค โตขึ้นจริงทั้งรายได้ และอัตราทำกำไร ในการลงทุนในตลาดที่รายได้และกำไรไม่ค่อยไปไหน เกมส์จะเป็น zero sum game คนที่อยู่เราในตลาดมาก่อน และได้เปรียบอย่างหมอเค จะกินเงินมือใหม่ที่เข้ามาทีหลัง โดยใช้ประสบการณ์ และ ข้อได้เปรียบที่มี ในขณะที่การลงทุนในตลาดที่มีการเติบโตของรายได้และกำไร การลงทุนจะไม่ใช่ zero sum games นักลงทุนยังมีโอกาสที่จะได้กำไรจากการลงทุนในกิจการที่ดี ที่ยังมีการเติบโตได้ หากลงทุนในระยะยาว การลงทุนเป็นการมองไปข้างหน้า คำถามคือ จริงๆ แล้วอนาคตมันอยู่ที่ไหน และราคาตอนนี้ สะท้อนอนาคตไปขนาดไหน ในอดีตไทยเคยมีช่วงรุ่งโรจน์จากหลังวิกฤตต้มยำกุ้งจนมา peak ตอนปี 2013 สิ่งที่เกิดขึ้น คือ มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างครั้งใหญ่ทางเศรษฐกิจ และสังคม ในขณะที่หุ้นราคาถูกมากๆ จากฟองสบู่ที่พึ่งแตกไป value investing จึงได้ประโยชน์ในช่วงต้น จนเกิดเป็นเว็บนี้ขึ้น ในช่วงถัดมาหุ้นที่ outperform คือ หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ consolidate ธุรกิจ บริหารจัดการแบบรวมศูนย์ อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดการปฏิวัติทางด้าน smartphone การแข่งขันจึงไม่ใช่การแข่งขันกันในชาติอีกต่อไป แต่เป็นบริษัทข้ามชาติสามารถเจาะตลาดไทย ผ่าน platform business model ซึ่งเทรนด์นี้เป็นไปกันทั้งโลก ถ้าไปดูรายได้ของกิจการโดยรวมของยุโรป ก็ออกมาในทรงคล้ายๆ กัน การเติบโตในกิจการช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจึงไปเกิดที่หุ้นเทค ความคุ้มค่าของการลงทุนในภาพรวมในอีก 10 ปีข้างหน้า จึงต้องคิดถึงว่าเรื่อง trend นี้จบลงหรือยัง มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้น และราคา ณ ขณะนี้สะท้อนพื้นฐานอยู่ที่เท่าไร แต่เท่าๆ ที่ศึกษา ผมเชื่อว่าการเติบโตก็น่ายังไปอยู่ที่บริษัทที่ทำ platform ใน generation ถัดไป ที่ทำให้คนมีโอกาสในชีวิตมากยิ่งขึ้น COVID ได้เปิดประตู tele anything ขึ้น และจะเป็น next phase ของ digital disruption การไปลงทุนในระบบเศรษฐกิจที่ยังมีการเติบโตอยู่ น่าจะยังดีกว่าการลงทุนในไทย ถ้าหากว่าคุณไม่มีข้อได้เปรียบแบบที่หมอเคมี เมื่ออวสานสิ่งหนึ่ง ก็เป็นจุดเริ่มต้นของอีกสิ่ง เงินไม่เคยหยุดนิ่ง แต่ไหลจากที่ๆ ผลตอบแทนต่ำไปที่ๆ ผลตอบแทนสูง
โดย
picatos
อาทิตย์ ก.พ. 06, 2022 12:25 pm
0
21
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
ถ้าตอนสั้นๆ สำหรับหมอเค ลงทุนหุ้นไทยคุ้มกว่าครับ ข้อได้เปรียบที่หมอเค มีในตลาดไทย ไม่คุ้มค่ากับผมตอบแทนสามัญธรรมดาที่ได้จากตลาดหุ้นต่างประเทศหรอกครับ
โดย
picatos
จันทร์ ม.ค. 31, 2022 10:50 pm
0
4
Re: ชวนคุย เรื่อง การลงทุนหุ้น ต่างประเทศ กับ หุ้นไทย อันไหน คุ้มค่ากว่ากัน ?
หมอเคถามถึงพี่ๆ แต่หมอเคแก่กว่าผม ผมคงไม่ qualify พอที่จะตอบหมอเค :nm: :nm: :nm:
โดย
picatos
เสาร์ ม.ค. 29, 2022 1:44 pm
0
0
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
ภาพปลากรอบ ดูขำๆ googl vs nflx valuation.png googl vs nflx price.png Nflx Price.png
โดย
picatos
พุธ ม.ค. 26, 2022 8:45 am
3
10
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
ถ้าจำไม่ผิด ผมได้ยินคนที่บอร์ดนี้พูดว่าเคยซื้อ google ที่ P/E ประมาณ 10 ผมอยากรู้ว่าตอนนั้นบ.โดนอะไรมารึเปล่าครับ ผมซื้อครับ กลางปี 2012 ที่ forward P/E ประมาณ 12 เท่าครับ ถ้าตัดเงินสดออก P/E ต่ำกว่า 10 ช่วงนั้นไม่มีอะไรมากครับ ตลาดยังซึมๆ หลัง subprime และการเติบโตลดลง ทั้งๆ ที่ พึ่งเปลี่ยน CEO และมี innovation เกิดขึ้นมากมายใน Google 1A24E880-FECD-45B2-97AF-25A563D052AB.png 18AE76DF-E4EA-447E-B60D-97E8F5140AAD.png 93FC9C85-DBEE-4CAC-AB9E-0660A09E9D27.png เป็นหุ้นต่างประเทศตัวแรกที่ซื้อ และยังถืออย่างมีนัยสำคัญมาจนถึงทุกวันนี้ ในช่วงเดียวกันดูอีกตัวเอาไว้ คือ Netflix แต่ไม่ได้ซื้อ เพราะ ทำ valuation ไม่เป็น แล้วก็คิดว่า streaming วันหนึ่งน่าจะเกิดสงคราม streaming ปรากฎว่ากลัวเร็วไป 10 ปี และพึ่งจะมา valuation เป็นเมื่อปีที่แล้ว ถ้าย้อนกลับไปองค์ความรู้เป็นแบบทุกวันนี้ คงซื้อ Netflix ด้วยอย่างแน่นอน ช่วงนี้เลยพยายามซื้อหุ้นแบบ Netflix ในวันนั้นอยู่ แทนที่จะซื้อ Google แบบในวันนี้ เพราะ ถ้าเทียบ P/S กันในวันนั้น Google 5 เท่า แต่ Netflix แค่ 1 เท่า ในวันนั้นพอดียังติดอยู่ในโลกของ P/E ยังไม่มีความเข้าใจว่า ธุรกิจ Tech จะเปลี่ยน S ให้กลายเป็น E ได้อย่างไร ดังนั้นช่วงนี้ผมเลยพยายามแก้ไขความผิดพลาดในอดีตของตัวเอง ผมเชื่อว่าหุ้นที่ผมซื้อในวันนี้มีคุณภาพที่ดีกว่า Netflix ในวันนั้นมาก เพราะ Netflix ไม่ค่อยมี Network Effect แถม Impact ก็งั้นๆ แต่หุ้นในวันนี้มี Network Effect และ Impact ที่ดีกว่ามาก ผมเชื่อว่า Sales ที่เห็นในวันนี้จะสามารถเปลี่ยนเป็น Earning และ Impact ที่ดีในอนาคตได้อย่างแน่นอน กิจการเล็กๆ ที่กำลังเปลี่ยนโลก pay-off สูงกว่า กิจการใหญ่ๆ ที่ดีๆ เยอะครับ บริษัทมี focus มากกว่า วิเคราะห์ง่ายกว่า impact ชัดเจนกว่า แถมราคาช่วงนี้ ก็น่ารักมาก xoxo
โดย
picatos
พุธ ม.ค. 26, 2022 4:08 am
2
16
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
ชวนอ.ตี่คุยเรื่องประเด็นเรื่องการจัด position sizing เรื่องนี้เป็นคำถามของผมมากเลยครับ สาเหตุนึงเพราะผมเองเห็นเพื่อนๆส่วนใหญ่จะมีโอกาสในการเลือกหุ้นถูกตัว winrate สูง + คำพูดหรือค่านิยม "ตีแตก" ทำให้กล้าลงpositionในหุ้นตัวๆนึงมีนัยยะมาก 1.อ.มีความเห็น หรือวิธีจัดการ การวางpositionของหุ้นยังไง เพื่อไม่ให้พอร์ตเสี่ยงมากเกินไป และทนต่อ drawdownได้ สำหรับหุ้นตปท. ส่วนตัวผมเองใช้หลักกระจายตัว ลงแทบจะเท่าๆกัน ก็เลยคาดหวังผลตอบแทนอาจจะไม่สูงหวือหวา แต่ขอให้ได้ชนะดัชนีทั้งเรื่องผลตอบแทน และค่า Drawdownนะครับ หรือว่าถ้ามองถึงความแข็งแรงของธุรกิจ แล้วก็บอกว่า อ่ะขอให้มันดีพอ เด๋วทุกอย่างก็จะผ่านพ้นไป กลับมาได้-แต่นานเท่าไรไม่รู้ โดยส่วนตัวถ้าไม่ใช่ position ตีแตก จะ limit ไม่เกิน 20% ครับ แต่ถ้าดีมากๆ ตีแตกได้ก็จัดไปได้ถึง 30% ตอนที่เปิด position หลังจากนั้นก็จะปล่อยไหล ถ้าสัดส่วนมันโตไปเกิน 40% ก็ trim out ไปเรื่อยๆ หรือ trailing stop เอา หรือใช้ technical ในการลด position ส่วนเกิน ถ้าไม่ใช่ position ตีแตก ส่วนใหญ่ position sizing จะ dynamic มาก เพราะ อย่างที่โชว์ใน post ก่อนหน้าว่า ช่วงของ valuation มันกว้างมาก ดังนั้น technical จะมีผลต่อการเลือกโมเดล และการให้น้ำหนักระหว่าง inside view กับ outside view คือ ถ้าเป็นตลาดขาขึ้น หุ้นพวกนี้ optionality มันสูงก็จะปล่อยมันวิ่ง ใช้ valuation model และค่าตัวแปรที่ aggressive หน่อย simulation ก็จะใช้จุด trim out ที่ percentile ที่สูงหน่อย แต่ถ้าตลาดไม่ดี technical เสีย ก็จะดูความเป็นไปได้ของ level ในการ drawdown และลดสัดส่วนลงไปที่ bucket size ที่ต่ำลงมา โดยอาจจะลดหนี้ หรือ switch ไปที่ตัวที่ปลอดภัยกว่า valuation มีความแน่นอนกว่า 2.เห็นอ.ตี่ทำพวกโมเดลScenario Analysisพวกนี้ แล้วเปิดหูเปิดตากับการเอามาประยุกต์ใช้กับหุ้นรายตัว เพื่อทำพอร์ตโฟลิโอมากเลยครับ รอดูพวก Monte Carlo Simulation, Risk of ruin ถ้ามีก็ถือเป็นบุญตา+สมองครับ ขอบคุณที่มาแบ่งปันความรู้อีกครั้งครับ จริงๆ stimulation ก็ทำตามอาจารย์ Damodaran นั่นแหละครับ แต่ของผมจะเอา 10-20% ของ simulation มาเป็นจุดดู downside หรือจุดเข้าซื้อ ในขณะที่ใช้ 70% เป็นจุดที่พิจารณาว่า over value ยังมั่วๆ อยู่นะครับ แต่นี่ก็เป็นการบริหารพอร์ต การ position sizing ของผมครับ
โดย
picatos
จันทร์ ม.ค. 24, 2022 12:05 pm
0
12
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
... หุ้นที่เราถืออยู่ draw down ที่น่าจะเป็นควรเป็นเท่าไหร่ โดยที่ไม่มีวิกฤตอะไร (หรือพื้นฐานหุ้นเปลี่ยน) เลย อันนี้จากประสบการณ์ผม หุ้นไทยขนาดใหญ่ 20% หุ้นไทยขนาดเล็ก 30% หุ้นเมกาเฉลี่ยขนาดใหญ่ 20% หุ้นเทคเติบโตขนาดใหญ่ 30% หุ้นเทคไม่มีกำไรขนาดกลางเล็ก 60% หุ้นไบโอเทคไม่มีรายได้ 80% ไม่นับฟองสบู่ และ วิกฤตนะครับ การจัดพอร์ตทั้งเงิน ทั้งจิตใจก็ควรจะ match กับ draw down ที่เป็นไปได้ด้วย ... อ่านที่ท่านนายกหลินเขียนเรื่องเกี่ยวกับเรื่อง Draw Down แล้วก็คิดถึงที่ อ. Damodaran สอนถึงผลกระทบจาก 1) Business Model และ 2) Business Life Cycle กับ Valuation ผมคิดว่าที่นายกหลินสังเกตเห็นว่าหุ้นไทย Draw Down น้อย น่าจะเป็นเพราะว่า Business Model ของหุ้นไทยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจดั้งเดิมที่มี Play Book ออกมาหมดแล้ว การประเมินการณ์การเติบโตของรายได้และอัตราการทำกำไรมีความชัดเจนระดับหนึ่ง มูลค่าที่ประเมินได้จึงมีช่วงที่ค่อนข้างแคบ ในขณะที่หุ้น BioTech ที่ Draw Down สูงๆ เพราะ พฤติกรรมของหุ้นพวกนี้มีลักษณะเหมือน Option เงินลงทุนใน R&D เหมือนเป็น Premium ที่จ่ายลงไปในการพัฒนา ซึ่งมีโอกาสเป็น 0 ถ้าพัฒนาแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ในขณะที่หุ้นเทคที่ไม่มีกำไร โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่อยู่ในช่วง Young Growth และ Business Model บางทีก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะโตเท่าไร จะกำไรเท่าไร จะ Turn ลูกค้าที่ Acquire มาเป็นกำไรได้ไหม จึงทำให้ช่วงสมมติฐานของการเติบโตของรายได้ และอัตราการทำกำไร ยังมั่วกันอยู่พอสมควร ไม่เหมือนหุ้นดั้งเดิมในอเมริกาที่เห็นการเติบโตและอัตราการทำกำไรที่ชัดเจนแล้ว มูลค่าที่ประเมินได้จึงมีช่วงแคบมากกว่า ความไม่แน่นอนของรายได้และกำไรของธุรกิจเทค Young Growth พวกนี้ ผมว่าเราจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางสถิติเข้ามาใช้ประกอบร่วมด้วยในการตัดสินใจกำหนดสัดส่วนในการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการทำ Scenario Analysis หรือ Monte Carlo Simulation ผมชอบแนวความคิดของอ. Mauboussin ในเรื่อง Outside View และ การลงทุนแบบ Expectation Investing มากๆ จึงพัฒนาวิธีการวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้ประกอบการกำหนดสัดส่วนในการลงทุน เพราะ สุดท้ายแล้วการจัดสัดส่วนการลงทุนที่ดีก็ควรจะอิงไปตาม Kelly Criterion แนวคิดก็คือ ถ้าแม้ว่าเราจะมี Inside View ในการศึกษาในเชิงลึกกิจการจนทำ Valuation ในมุมมองของเราแล้ว แต่คนอื่นอาจจะไม่ได้คิดเหมือนกับเราก็ได้ สิ่งที่คนอื่นคิดน่าจะเป็นไปตามตัวเลขสถิติที่เกิดในอดีต ถ้าเราเอาค่าทางสถิติของตัวแปรที่เราจะศึกษาเข้ามาใส่ แล้วลองทำ Scenario Analysis อาจจะทำให้เราเห็นโอกาสในการ Drawdown ที่จะเกิดขึ้นกับหุ้นของเราได้มากขึ้น ซึ่งในหุ้น High Growth แน่ล่ะตัวแปรที่สำคัญที่สุด คือ Sales Growth ซึ่งจะเป็นตัวแปรที่ผมมักเลือกมาทำ Scenario Analysis เทียบกับ Operating Margin บ้าง เทียบกับอัตราดอกเบี้ยบ้าง สิ่งที่ผมกำลังพัฒนาและทดลองทำอยู่ตอนนี้ คือ เอาค่า Sales Growth ย้อนหลังในอดีตของบริษัทเทคฯ มาทดลองทำ Scenario Analysis ดูโอกาสและความเสี่ยงในการลงทุน ในการนี้ผมเลือกที่จะดึงข้อมูลหุ้นเทคที่มี Market Cap เกิน $1b และ ยอดขายมากกว่า $100m จาก FactSet มาดูว่าบริษัทเทคแต่ละบริษัททำ Sales Growth ในช่วง 5 ปี และ 10 ปีกันได้เท่าไรบ้าง Sales CAGR.png หมายเหตุ แกน percentile มันผิดไป 5 นะครับ แต่ผมแก้ไขไม่ได้ แกน x ต้องเริ่มจาก 50 แล้วไปจบที่ 95 ข้อสังเกต คือ 5yr Sales Growth ของช่วงปี 2010-2015 กับ 2015-2020 ใกล้เคียงกันมาก โดยเฉพาะช่วง Percentile ที่ 80 เป็นต้นไป ในขณะนี้อัตราการเติบโตในระยะยาว 10 ปีโดยส่วนใหญ่แล้วจะลดลง เพราะการที่จะโตยาวๆ อย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปี เป็นเรื่องที่ยากมากๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ 3 Stage Growth DCF Model ของอาจารย์ Damodaran จึงให้ช่วง High Growth Phase แค่ 5 ปี แล้วค่อยๆ ลู่ลงเข้าสู่ค่าการเติบโตระยะยาว ทีนี้ผมลองเอาหุ้นเทค Young Growth มาทำเป็นตุ๊กตาดูว่าเราจะวิเคราะห์การ Drawdown กันได้อย่างไรในสถานการณ์จริง โดยผมขอเลือกเอา Fiverr มาวิเคราะห์ ใน DCF Model ของผม ผมใช้ 3 Stage Growth ของอาจารย์ Damodaran มาใส่ค่าต่างๆ ตามตัวเลขจากตลาดล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยใช้ ERP=4.57% Sales/Capital=1.5 Operating Margin ปีหน้า 15% แล้วค่อยๆ เพิ่มเป็น 30% ในปีที่ 10 Tax Rate ใช้ 10%->20% จำนวนหุ้นใช้ 37.18m มูลค่า Option ใช้ค่าที่ Factset คำนวนให้ที่ $206.3m ผมจะทำ Scenario Analysis โดยดูผลกระทบของ 1-5yr Sales Growth กับ อัตราดอกเบี้ย T-Bond เป็นตัวแปรเพื่อใช้ในการคำนวนมูลค่าของกิจการ เพราะ ในชั่วโมงนี้คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่เราสนใจกันมากที่สุด คือ อัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบกับมูลค่าของกิจการขนาดไหน? Scenario Analysis Price.png ผมเลือกเอา 5yr Sales Growth ช่วง Percentile ตั้งแต่ 70 ขึ้นไปทำ Scenario Analysis เพราะว่า ตามปกติคนเราแบ่งเกรดก็จะแบ่งกัน 4 กลุ่ม เป็น A,B,C,D การใช้ Top Quartile มาใช้กับหุ้นที่เป็น Young Growth น่าจะกำลังดี เพราะ เราลงทุนกิจการพวกนี้ในเรื่องการเติบโต การเติบโตต้องเป็นระดับ A เท่านั้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย T-Bond ผมใช้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันที่ 1.75% (+/-0.25%) แล้วก็ไล่ขึ้นไปถึง 5% จากการวิเคราะห์ ดูเหมือนว่าราคาหุ้นของ Fiverr ณ ขณะนี้จะ Price-In อัตราการเติบโตของรายได้ที่ Percentile ที่ 75 ในขณะที่ Price-In อัตราดอกเบี้ย T-Bond อยู่ที่ประมาณ 2% ใน วันที่ผมปรับลดสัดส่วนการลงทุน Fiverr ของผมลง หลังงบไตรมาสสองเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว ราคาช่วงนั้นอยู่แถวๆ 180 บาท ลองมาดูกันครับว่าถ้าคิดจากราคา 180 บาท ที่ข้อมูลวันนี้มันมี Upside/Downside ได้มากน้อยขนาดไหน? Scenario Analysis Price at 180.png จะเห็นได้ว่าที่ราคาแถวๆ $180 ราคานี้ได้ Price-In อัตราการเติบโตของกิจการเอาไว้ที่ Percentile มากกว่า 90 การที่กิจการจะเติบโตไปได้ระดับ 95 นี่ต้องเป็นระดับ Outlier เท่านั้น ดังนั้นเมื่อแรงกดดันจากเงินเฟ้อมาเต็ม เราจึงเห็นการ Drawdown ลงมา 55% เห็นอาจารย์ตู้พึ่งเข้า Fiverr เพิ่มไป เรามาลองเอาใจช่วยดูสิว่าราคาที่อาจารย์ตู้เข้ามีความเสียวมากน้อยขนาดไหน Scenario Analysis Percent.png เท่าที่ดูถ้า Fiverr โตได้มากกว่า 30% ในระยะ 5 ปี ถึงแม้ดอกเบี้ยจะขึ้นไป 5% อ.ตู้ ก็น่าจะเอาอยู่ แต่ถ้าเกิด Fiverr เป็น Outlier จริงๆ อย่างที่ อ.ตู้ คิด ขึ้นไปโตได้ในระดับ Percentile ที่ 95 อ.ตู้ ก็คงจะรวยไม่รู้เรื่อง ไม่ต้องสนดอกเบี้ยอีกต่อไป ก่อนจบ Post นี้ ล่าสุดผมได้ฟัง Audible เรื่อง How I built this ของคุณ Guy Raz ในบทที่ 2 เรื่อง "Is It Dangerous or Just Scary?" ได้พูดถึงความสำคัญที่เราจำเป็นต้องแบ่งแยกความกลัวกับอันตรายออกจากกัน เค้าเล่าว่า เวลาเราเดินไปที่หน้าผา แล้วถ้าเราเดินถอยหลังกลับออกมาจากหน้าผา สถานการณ์อย่างนี้เราจะรู้สึกกลัวมากๆ แต่จริงๆ แล้วไม่อันตราย เพราะ เราถอยกลับทางเก่าที่เรียบๆ แต่มันจะเสียวมากเพราะภาพข้างหน้ามันคือหน้าผาที่ดูอันตราย อีกสถานการณ์หนึ่งเรากำลังเดินชิวๆ อยู่ในหุบเขาที่เต็มไปด้วยหิมะ สามารถเล่นสกีได้ วิวสวยๆ ข้างทางช่างรื่นรมสวยงาม แต่ปรากฎว่าทางที่เราเดินมีความชันมากกว่า 30 องศา และหิมะกำลังละลาย ในสถานการณ์นี้แม้ว่าเราจะไม่รู้สึกกลัวเลยแม้แต่น้อย แต่อันตรายมาก เพราะ อาจจะเกิดหิมะถล่มได้ ในการลงทุนก็เช่นกัน ในวันที่ตลาดหุ้นคึกคักถึงขีดสุด ราคาหุ้นแพงลิบลิ่ว เราเฮ เพื่อนเฮ แต่จริงๆ แล้วที่จุดนั้นอาจจะเป็นจุดที่อันตรายมากๆ ก็ได้ ณ วันที่ 5 ก.พ. 20 อ.ตู้ ได้เขียนเชียร์หุ้น Fiverr ในไอเดียหุ้นเด้ง บรรยากาศตอนนั้นผมว่า Emotion น่าจะเร่งเร้ากันถึงขีดสุด แต่ความเป็นจริงแล้ว Pay-Off มันเป็นแบบนี้ครับ (ขออนุญาตใช้ข้อมูลปัจจุบันในการวิเคราะห์นะครับ) Scenario Analysis Price at 270.png เกมส์ของนักลงทุน คือ การเอาชนะอารมณ์และคำนวณความเป็นได้ของโอกาสและความเสี่ยงอย่างสมเหตุสมผล ยิ่งหุ้นเทคฯ Young Growth ที่ความไม่แน่นอนของอนาคตสูงมากๆ แล้ว การทำ Scenario Analysis แล้วจัด Position Sizing ให้เหมาะสม เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และหวังว่าอาจารย์ตู้จะรู้สึกสบายใจมากขึ้นกับการซื้อในครั้งนี้ แต่อย่าลืมประเมินความอันตรายด้วยตัวเองนะครับ เพราะ โมเดลของผมอาจจะผิดก็ได้ May The Force Be With You
โดย
picatos
จันทร์ ม.ค. 24, 2022 6:32 am
2
32
1439 โพสต์
of 29
ต่อไป
ต่อไป
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
ชื่อล็อกอิน:
picatos
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
เสาร์ มี.ค. 27, 2004 12:20 pm
ใช้งานล่าสุด:
-
โพสต์ทั้งหมด:
3352 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.17% จากโพสทั้งหมด / 0.44 ข้อความต่อวัน)
ลายเซ็นต์
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว