หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
peerawit
ไม่ประมาท
Joined: พุธ ก.พ. 20, 2008 2:34 pm
172
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - peerawit
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: เลือกหุ้น 20 ตัวสำหรับลงทุน 20 ปี เลือกตัวละ 5% จะเลือกใ
ลงชื่อครับ รอมีเงินมาลอกครับ
โดย
peerawit
อาทิตย์ ส.ค. 28, 2016 12:02 am
0
0
Re: การลงทุนแนววีไอ ในอนาคต
ขอบคุณครับ
โดย
peerawit
พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2016 11:03 pm
0
0
Re: ราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ใครมีลิสต์คอนโด ราคาถูก ไม่เกิน 1.2 ล้าน บอกหน่อยนะครับ 300 ม จากสีน้ำเงิน อยากได้มากๆครับ
โดย
peerawit
อาทิตย์ ก.ค. 24, 2016 12:41 am
0
0
Re: ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ที่ผมคิดจะลงทุนอสังหาอีกทางนอกจากการลงทุนในหุ้นเพราะว่าอสังหาสามารถที่จะทำกำไรเพิ่มทวีคูณจากการ leverage หรือจากการกู้เพื่อมาลงทุนโดยใช้ทุนตัวเองน้อยแล้วพอเทียบผลตอบแทนแล้วน่าจะเป็นที่น่าพอใจ ใช่แล้วครับ ใช้เงินแบงค์ คืนหนี้ตรงเวลา leverage กันทีโหดมากๆ กำไรทีระดับ 100% นี่ธรรมดามากครับ เค้าว่ากันแบบ ลงเงิน 2 แสน กำไร ห้าแสน ล้านนึง นี่ธรรมดามาก (แต่ไม่ใช่ปีเดียวนะ ทิ้งๆไว้ ซัก 3-5 ปี) แล้วเพื่อนๆพี่ๆมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ และกำลังลงทุนอสังหาอะไรอยู่บ้าง -ผมคนเงินน้อย เล่นได้แต่คอนโดครับ เพราะรู้อยู่แค่นี้แหละ -ลงทุนในคอนโดครับ วิธีที่ลงทุนในคอนโด หาห้อง 1 - 1.2 ล้าน ราคาประมาณนี้ไม่เป๊ะ ดาวน์ไปสองแสน แต่งห้อง 1 แสนครับ ผมมีคอนโดปล่อยเช่า ราคา 1.1 ล้าน ให้เช่าได้ 6000 - 6500 บาทต่อเดือน ถ้ากู้เต็ม จะต้องผ่อนเดือนละ 6700 บาทต่อเดือน กระแสเงินสดจะติดลบ นิสๆ แต่ผมไม่ค่อยสนใจครับ แค่เดือนละพันสองพันเองอ่ะ เราลงทุนกันเยอะกว่านั้นอยู่แล้ว เอาค่าเช่านั่นแหละไปจ่ายดอก กะ ค่าส่วนกลาง เงินต้นอาจจะต้องออกเองเดือนละพัน หรือน้อยกว่านั้นแหละ ไม่ซีเรียสครับ ทีนี้พอราคามันขึ้น คอนโดราคาก็ขึ้นไป 1.7 - 2.5 ล้าน หลังจากที่ trigger เสร็จ เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วง เปิดให้บริการ ประมาณนี้ เราค่อยปรับค่าเช่าขึ้นครับ หรือขายออกไป ระหว่างนี้เราก็จะได้กำไรเดือนละราวๆ 3000 บาททุกๆเดือนช่วงที่มีคนเช่า วิธีแก้ปัญหาคนเช่าไม่เต็มคือตัดราคาครับ ตรงๆเลย คนเช่าเลือกห้องถูกสุดอยู่แล้ว ถ้าทุนเราหนาก็สบายครับ สรุปห้องนึงผ่านไป 3-5 ปี ทุนจะประมาณ 300,000 บาท ที่คนผ่อนให้ ปีละ 36,000 x 5 = 180,000 บาท กำไรจากการขาย สมมติขายได้ แย่ๆ ก็ 1.8 ล้าน - 1.1 ล้าน = 7 แสน สำหรับคอนโดติดรถไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายการขาย ตีไป 80,000 บาท กำไรรวม 800,000 บาท จากทุน 300,000 บาทครับ ถ้าเรามีห้าห้องก็กำไรประมาณ 4 ล้านครับ 3-5 ปี จากเงินที่ทิ้งๆไว้ประมาณ 1.5 ล้าน แต่ถ้าไม่ขายเลย ก็จะมีทรัพย์สิน ประมาณ 8-12 ล้าน ครับ หนี้จะลดลงเรื่อยๆ ราคาจะค่อยๆขึ้นไป แบบนี้ อสังหาเป็นการลงทุนที่ดีนะครับ ถ้ามีตาดี ผมก็ทำเท่าที่รู้ครับ ที่ไม่รู้ก็บอกไม่ได้เนาะ 55 มีท่าเทพกว่านี้เยอะแยะ น่าจะมีนะครับ แต่ผมยังไม่รู้ตอนนี้ ครับผม
โดย
peerawit
อาทิตย์ ก.ค. 24, 2016 12:39 am
0
1
Re: ลงทุนอสังหานั้นยากเย็น
ผมลงทุนในอสังหาโดยไม่รู้ตัว พอรู้ถึงกำไร ก็แทบจะเลิกเล่นหุ้นไปเลยครับ ห้องแรก ส่วนตัว คือผมก็ไปซื้อคอนโด ตามเพื่อนแหละ เอาไว้อยู่ที่ Udelight บางซื่อครับ ซื้อมาประมาณ 1.6 รวมเฟอร์ วางเงินไปแสนสองแสนมั้ง กู้เงินมาจากแบงค์ ปีแรกไม่จ่ายดอกจ้า ตีไปว่าผ่อนเดือนละหมื่น ผ่านไปปีนึงมั้งขายไป 1,890,000 บาท ดาวน์วางเงินไป 200,000 บาท +ส่วนต่างกำไรตอนขาย 290,000 บาท +ส่วนที่ผ่อนไป 120,000 บาท -ค่าส่วนกลาง นู่นนี่นั่น 10,000 บาท -ค่าใช้จ่าย 50,000 บาท -ค่าทีวีตู้เย็น 50,000 บาท ราวๆนี้นะครับ สรุปกำไร ประมาณ 300,000 ครับ จากทุน 200,000 ไม่เป๊ะนะครับ ห้องที่สอง Udelight จตุจักรครับ ห้อง 64 ตารางเมตร ซื้อมา 3.6 ล้าน ขายไป 4.6 ล้าน อยู่สามปี กำไร ราวๆ ล้านกว่าบาท ทุนไม่ถึงล้านครับ ผมก็งงว่าเอ๊ะ เราเล่นหุ้นอยู่ดีดี พอคำนวณไปไปมามาทำไป ทรัพย์สินส่วนใหญ่มันไปอยู่ในอสังหาได้หว่า ผมเล่น thaivi ตั้งสิบปี กำไร ขาดทุนสลับๆ กันไป แต่พอมาเล่นคอนโด กำไรขาเดียว มันเป็นเพราะอะไรหว่า เลยไปอ่านเจอ หลักการพ่อค้าครับ หลักการพ่อค้า โดยย่อครับ อาจารย์กระผมสอนไว้เมื่อประมาณ 2500 กว่าปีที่แล้ว 1) เป็นคนตาดี รู้ว่าซื้อมาเท่านี้ ขายไปเท่านี้ มีทุนเท่านี้ กำไรเท่านี้ 2) เป็นผู้มีธุระดี ฉลาดในสิ่งที่จะซือ้จะขาย 3) ถึงพร้อมด้วยแหล่งทุน หรือ คนซัพพอร์ต ก็เลยรู้ละว่า ถ้าเรารู้ว่าคอนโดหรืออสังหาที่เราถือเนี่ย เราต้องมีตาดีครับ ไม่มีตาดีก็อย่ามาเล่นเลย เสี่ยง มีครบสามข้อ ก็จะรวยได้ในเวลาไม่นานเลย สำหรับผมตอนนี้ อสังหา คือ คอนโด เท่านั้น เพราะผมอยู่คอนโดเกือบสิบปี ทำงานประจำ เลยรู้ว่าปล่อยเช่าเท่านี้ได้ คอนโดนี้ควรจะราคาเท่านี้นะ นี่มันถูกไป นี่มันแพงไป อะไรแบบนี้ ต้องเอาทีี่เราถนัดก่อนนะครับ สำหรับคำถามนี้ 1. พอจะเริ่มไม่รู้จะเริ่มจากไหนดี (ไม่รู้อสังหา ที่ไหนดีหรือไม่ดี ถูกหรือแพง) 1) เริ่มจากสิ่งที่เรามีความรู้ครับ ถูกหรือแพงดูแบบนี้ครับ 1.1) ซื้อเท่าไหร่ 1.2) จะขายได้เท่าไหร่ 1.3) กำไรเท่าไหร่ 1.4) ทุนเท่าไหร่ ถ้า ขายได้ถูกกว่าซื้อก็แพง ถ้าซื้อได้ถูกกว่าขายก็ถูกไงครับ ตรงๆ 2. กลัวว่าลงทุนแล้ว กลัวขาดทุน กลัวขายยาก กลัวหาคนเช่ายาก 2) เป็นผู้มีธุระดี ฉลาดในสิ่งที่จะซือ้จะขาย ต้องดูราคาตลาดครับว่าเขาปล่อยเช่ากันเท่าไหร่ แล้วลดไป 10% คนเช่าแย่งกันครับ ต้องมีการทำการตลาดดีดี รู้ไหมว่าจะไปประกาศเช่าที่ไหน ลูกค้าเราเค้าเห็นประกาศยังไง วิธีปล่อยเช่าในเน็ตต้องโพสต์ทุกเว็บดันทุกวัน คร่าวๆ ประมาณนี้นะครับ ทำเลสำคัญมากกับคอนโด ต้องใกล้รถไฟฟ้า ที่ยังไม่เสร็จจะดีมากครับ อันนี้ทริคส่วนตัว ทำเล ต้องดีครับ ทำเล ทำเล ทำเล ราคาต้องไม่แพง เพราะคนไทย ไม่ได้เงินเดือนเยอะทุกคน 3. ข้อมูลเปรียบเทียบเหมือนหุ้น ไม่ค่อยมี จับต้นชนปลายไม่ถูก ตามหลักการพ่อค้า ก็ต้องเป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่จะซื้อจะขาย ต้องอ่านต้องศึกษาครับ ถ้ายังตอบคำถามข้างล่างไม่ได้ ก็พักการลงทุนไว้ก่อนครับ 1.1) ซื้อเท่าไหร่ 1.2) จะขายได้เท่าไหร่ 1.3) กำไรเท่าไหร่ 1.4) ทุนเท่าไหร่ ราคาซื้อขายส่วนใหญ่จะอิงจากค่าเช่าครับ แต่ไม่ทุกกรณี ลองดูครับ
โดย
peerawit
อาทิตย์ ก.ค. 24, 2016 12:18 am
0
0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
วิธีที่สะดวกสบายในการบรรลุนิพพานที่ตถาคตได้สอนไว้คือเห็น ตา รูป ความรู้แจ้งทางตา สัมผัสทางตา , สุข ทุกข์ และ เฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะ ตา ว่าไม่เที่ยง ครับ ละก็ ต่อด้วย หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ... แบบเดียวกันครับ ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่ สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำาในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ บรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่าไม่เที่ยง; ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า ไม่เที่ยง; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า ไม่เที่ยง; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า ไม่เที่ยง; ย่อมเห็นซึ่ง เวทนาอันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือ เป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข) ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย ว่าไม่เที่ยง. (ในกรณีแห่ง โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กายะ (กาย) และมนะ (ใจ) ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่าง เดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น). ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบาย แก่การบรรลุนิพพาน นั้น. สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๗/๒๓๒. ความทุกข์มีเพราะความพอใจ ..คามณิ ! ด้วยธรรมนี้ อันท่านเห็นแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลง ทั่วถึงแล้ว อันไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ท่านจงนำไปซึ่งนัยนี้สู่ธรรมในอดีตและอนาคต ว่า “ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ เป็นเหตุ เพราะว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ; และทุกข์ใด ๆ อันจะเกิดขึ้นใน อนาคต ทุกข์ทั้งหมดนั้นก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่าฉันทะเป็น มูลเหตุแห่งทุกข์,” ดังนี้..... ความพอใจอย่างยิ่ง(สาราคะ)ก็มีเหตุมาจากความเพลิน เมื่อ นันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี; ถ้าละความเพลินได้ จิตหลุดพ้นได้เลยครับ ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล ว่าไม่เที่ยง ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ (การ เห็น อยู่โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น. เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย (สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ; เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ (นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ; เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ (ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ; เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้. (นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ). (ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง จักษุ ทุกประการ.) นันทิกขยวรรค สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖. วิธีละความเพลินก็มีสติเอาจิตมาตั้งไว้กับกาย กับลมหายใจเข้าออก กับงานปัจจุบัน ๆลๆ นะครับ กายคตาสติ ครับ ใช้ได้ถึงนิพพานเลย "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวช. เพื่อประโยชน์อันใหญ่, เพื่อความปลอดโปร่งจากโยคะ๑ อันใหญ่, เพื่อสติสัมปชัญญะ, เพื่อได้ญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณคือความรู้ภายใน), เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน, เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชา(ความรู้) และวิมุติ(ความหลุดพ้น). ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ? ธรรมอย่างหนึ่ง คือ กายคตาสติ(สติอันไปในกาย). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวช, เพื่อประโยชน์อันใหญ่ ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุติ."
โดย
peerawit
เสาร์ ก.ค. 16, 2016 10:45 pm
0
3
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
อันนี้เป็นกรรมที่จะทำให้มนุษย์ - มีอายุสั้น - มีอายุยืน - มีโรคมาก - มีโรคน้อย - มีผิวพรรณทราม - มีผิวพรรณงาม - มีศักดาน้อย - มีศักดามาก - มีโภคะน้อย <- น่าจะแปลว่ามีเงินมีทรัพย์สินน้อย - มีโภคะมาก <- น่าจะแปลว่ามีเงินมีทรัพย์สินมาก - เกิดในสกุลต่ำ - เกิดในสกุลสูง - ไร้ปัญญา - มีปัญญา ครับ ที่พระพุทธเจ้าๆ สอนไว้ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต คือ มนุษย์ ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดใน สกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความ ประณีต ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็น ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม เป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระโคดมผู้- *เจริญตรัสโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความ แห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด ฯ พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ บุคคลบางคนใน โลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์ มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์ มีชีวิต ฯ ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ ก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ มีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลใน สรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้ พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไป เพื่อมีโรคน้อยนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตาย ไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น มนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่ โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความ ขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขา ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามา เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความ แค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำ ความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความ นับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดาน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้ คือ มีใจ ริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความ เคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ- *โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น คนมีศักดามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้ คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมี โภคะมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควร ลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ กรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน เกิดในสกุลต่ำ ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคน กระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่ สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่ บูชาคนที่ควรบูชา ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควร ลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคน ที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้ พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิด เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้ คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควร แก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคน ที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไร เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไร เมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้ อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ มีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไร ไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็น อกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น คนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหา สมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะนี้แล ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน ย่อมนำเข้าไป สู่ความเป็นคนมีอายุยืน ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคน มีโรคมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย ปฏิปทา เป็นไปเพื่อมีศักดามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก ปฏิปทาเป็นไป เพื่อมีโภคะน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมี โภคะมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดใน สกุลต่ำ ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดใน สกุลสูง ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญา ทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็น ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม เป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ สุภมาณพ โตเทยยบุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือน หงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีป ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=7623&Z=7798
โดย
peerawit
จันทร์ ก.ค. 11, 2016 12:25 am
0
5
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ขอบคุณครับ :D ======== ปล. ขออนุญาต นอกเรื่อง ผมตอบPM ไม่ได้นะครับ เหมือนท่านที่ส่งมาจะไม่ได้เปิดรับ PM ไว้ครับ
โดย
peerawit
อาทิตย์ ก.ค. 03, 2016 12:08 am
0
0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
คติที่ไปของสัตว์นั้น ส่วนมากหลังตาย จะไปนรก เดรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต นะครับ นานๆ จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ซักครั้งนึง มนุษย์ที่ตายแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์น้อยมาก เปรียบเหมือน เศษดินปลายเล็บ เทียบกับ เศษดินทั้งโลก การเกิดเป็นมนุษย์ ยากมาก ครับ ความน่าจะเป็น เปรียบได้กับ อุปมาเหมือนน้ำท่วมโลก มีเต่าตาบอด ร้อยๆ ปีจะโผล่มาซักครั้ง แล้วจะยื่นคอไปในแอกที่ลอยอยู่เพียงอันเดียว ในน้ำนั้นนะครับ ส่วน โสดาบันเป็นผู้ที่พ้นแล้วจาก นรก กำเนิดเดรัจฉาน อบาย ทุคติ วินิบาต นะครับ และ พระโสดาบันเกิดอีกไม่เกิน 7 คราว จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ คุณสมบัติของความเป็นพระโสดาบัน มีหลายนัยยะครับ นัยยะนึงก็คือ พ้นแล้วจากภัยเวร 5 ประการ (มีศีล 5 ...) และ มีความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว ครับ หรือที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามพระสารีบุตรว่า ใครกันเป็นพระโสดาบัน สารีบุตร ! ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน โสดาบันนี้ เป็นอย่างไรเล่า สารีบุตร? สารีบุตร ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้น ว่าเป็น พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆ มีโคตรอย่างนี้ๆ - ... อายุนรกนี่นานมาก ถ้าคำนวณจากพระสูตร ก็เป็นหลัก หลายล้านล้านปีครับ อยู่กันยาวๆ เลยทีเดียว ( ...,xxx,xxx,xxx,xxx ปี) พระภิกษุรูปหนึ่งจึงทูลถามพระสัมมา สัมพุทธเจ้าว่า "พระองค์พอจะอุปมาความทุกข์ในนรก ให้ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบบ้างได้ไหม พระเจ้าข้า" พระพุทธองค์ทรงรับ คำ แล้วอธิบายให้ฟังว่า "เปรียบเสมือนพวกราชบุรุษจับโจรมาได้ โจรนี้คิดร้ายต่อราชบัลลังก์ พอจับได้แล้ว ตอนเช้าก็นำมาให้พระราชาพร้อมกับกราบทูลถึงพฤติกรรมของโจรนั้นว่า โจรผู้นี้ คิดร้าย ก่อกบฏ ขอพระองค์ได้ทรงลงโทษตามพระราชหฤทัยเถิด พระราชาทรงรับสั่งว่า ให้เอาหอก 100 เล่ม แทงโจรนี้ให้ทั่วตัว พวกราชบุรุษก็ทำตามบัญชา พอถึงกลางวันพระราชาตรัสถามว่า โจรกบฏคนนั้นน่ะ ตายแล้วหรือยัง เมื่อได้รับคำตอบว่ายัง ก็รับสั่งให้เอาหอกมาแทงเพิ่มอีก 100 เล่ม พวกราชบุรุษก็ทำตาม พอตกเย็นยังไม่ตายอีก จึงให้เอาหอกไปแทงเพิ่มอีก 100 เล่ม รวมเป็น 300 เล่ม โจรก็ยังไม่ตายอยู่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โจรโดนหอกแทงมากถึง 300 เล่ม จะเจ็บปวดทรมานมากแค่ไหน" พวกภิกษุกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพียงแค่หอกเล่มเดียว ก็เป็นทุกข์มากแล้ว จะกล่าวไปไยกับหอกถึง 300 เล่ม" พระ บรมศาสดาตรัสต่อว่า "ความทุกข์จากการถูกหอกแทง 300 เล่ม เมื่อเทียบกับทุกข์ในมหานรกแล้ว เทียบกันไม่ได้เลย ทุกข์ในนรกเจ็บปวดทรมานมากกว่าเป็นร้อยเป็นพันเท่า ความทุกข์ของคนที่ถูกหอก 300 เล่มแทง มีปริมาณความเจ็บปวดเหมือนก้อนหินเล็กๆ ก้อนหนึ่ง แต่ทุกข์ในมหานรกมีปริมาณมากเหมือนเขาพระสุเมรุทีเดียว"
โดย
peerawit
เสาร์ ก.ค. 02, 2016 5:51 pm
0
5
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
สำหรับคนที่มีความเชื่อ น้อมใจไปใน ความไม่เที่ยงของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นโสดาบันนะครับ พระพุทธเจ้าได้ตรัสบอกไว้ วิธีที่จะทำให้เห็น ความไม่เที่ยงก็ใช้ มรรค 8 ครับ --> ละความเพลิน กายคตาสติ อานาปานสติ ๆลๆ เอาจิตมาตั้งไว้ที่กายมากๆครับ รู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้ายาวก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว เห็นลมหายใจเกิดดับ เห็นความคิดเกิดดับครับ ก็จะเกิดปัญญา ปัญญาในศาสนาพุทธ คือ ปัญญาเครื่องให้รู้ซึ่งความเกิดและความดับ อันเป็นปัญญาที่เป็นอริยะ เครื่องเจาะแทงกิเลส ให้ถึงซึ่งความสิ้นทุกข์ ครับ ศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้าสอน ที่ผมได้ยินมา เข้าใจง่ายมากๆครับ อยากให้ลองมาศีกษากันดู คำพระพุทธเจ้าประกอบด้วยเหตุผล พอได้ฟังก็รู้ว่า นี่ อรหันตสัมมาสัมพุทธะ แน่นอน แบบนี้ครับ จริงๆ รู้ลมหายใจเข้าออก ใช้ไปถึงนิพพานได้เลย ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้นะครับ กายคตาสติ อันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยน เป็นอย่างอื่นเป็นปกติ. ภิกษุ ทั้งหลาย.! บุคคลใด มีความเชื่อน้อมจิตไป ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้; บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง) หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ) ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควร ที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
โดย
peerawit
เสาร์ ก.ค. 02, 2016 4:03 am
0
6
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ธรรมะที่ใช้สำหรับการพยากรณ์โสดาบันด้วยตัวเอง ..... พระพุทธเจ้าเคยสอนพระอานนท์เอาไว้ แล้วทรงบอกชื่อธรรมปริยายด้วยพระองค์เองเลย ว่าธรรมนี้เรียกว่าแว่นธรรม สามารถใช้พยากรณ์โสดาบันด้วยตัวเองได้...ลองค้นหาอ่านกันดูได้ครับ http://www.dhammahome.com/webboard/topic13565.html
โดย
peerawit
อังคาร มิ.ย. 14, 2016 10:50 pm
0
4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
อีกวิธีสำหรับการบรรลุธรรมนะครับ.... ให้ฟังคำพระพุทธเจ้าก่อนตาย... อานิสงส์ของผู้ที่ได้ยินได้ฟังคำตถาคตก่อนตาย ถ้ายังละสังโยชน์ห้าเบื้องต่ำไม่ได้จะละได้ หากเขาละได้แล้วจะเป็นพระอรหันต์ ไม่ต่างอะไรกับผู้ที่บรรลุมาแล้วนับร้อยปีครับ ...แค่ได้ยินได้ฟังก่อนตายเท่านั้น...จากผัคคุนะสูตร ส่วนใครอยากรับประกันการบรรลุธรรมของตัวเองก็ต้องมีสุตตะครับ ทรงจำสุตตะตถาคตได้ ว่าได้คล่องปากขึ้นใจ แทงตอลดอย่างดีด้วยความเห็น ถึงแม้จะขาดสติ ตาย แต่จะได้บรรลุธรรมด้วย4 อาการในภพ ของเทวดาครับ .... สุตตะมีประโยชน์มากครับ และเป็น เหตุปัจจัย 1 ใน 5. ให้ได้สิ่งที่ปรารถนาด้วย... เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาครับ...
โดย
peerawit
อาทิตย์ มิ.ย. 12, 2016 11:18 pm
0
9
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
คนเราตายแล้วไม่เหลือกายมีแต่จิต ไม่ทราบว่าจิตใช้อะไรในการรับรู้สุข(ขึ้นสวรรค์)หรือทุกข์(ลงนรค) ครับ.สงสัยมานานเเล้ว รบกวนท่านผู้รู้ด้วยครับ ไม่ทราบจะหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ไหนครับ ขอบคุณมากครับ ผัสสะ หรือ สัมผัสเป็นเหตุเกิด ของ สุข ทุกข์ (เวทนา) ครับ พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้เลยว่า ใครจะบัญญัติสุขและทุกข์โดยไม่มีผัสสะนั้นเป็นฐานะที่เป็นไปไม่ได้ กรณีนี้คือ กายแตกทำลาย ...สัตตานังก็จะจับจิตดวงใหม่ครับ และสร้างอัตภาพขึ้นมาใหม่ เป็นอัตภาพ ที่มีส่วนแห่งบุญก็ดี มีส่วนแห่งอบุญก็ดี หรือเกิดใหม่นั่นแหละครับ.. ตอนนี่พอมีกายใหม่แล้ว ก็จะมีผัสสะใหม่ได้ครับ.รับรู้สุขทุกข์ได้ละ. พวกเทพบางจำพวกก็มีแต่สุขไม่ทุกข์เลย มนุษย์ก็มีได้ทั้งสุขทุกข์ครับ จิตไม่ได้ขึ้นสวรรค์หรือลงนรก แต่เป็นธรรมชาติที่มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปครับ จิตไม่ใช่ของเรา.. ความเร็วในการเกิดดับของจิต ตถาคต บอกว่า ยากที่จะอุปมาครับ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ watnapp.com
โดย
peerawit
อังคาร พ.ค. 24, 2016 10:45 pm
0
5
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ีอีกคำถามครับ สภาวะธรรมตอนเจอผู้รู้นี่ ยังไม่ใช่โลกุตตระ รึป่าวครับ ยังต้องทำต่อรึป่าวครับ ผมเสียดายที่ไม่เคยได้ถามครูบาอาจารย์ ขอคุณ cobain vi ชี้แนะด้วย ผู้รู้ คือ จิต มโน วิญญาณ ตัวเดียวกันหมดครับ ผู้รู้ในขันธ์ 5 ก็วิญญาณนั่นแหละครับ บัญญัติศัพท์ตถาคตเรียกว่า วิชานาติ ต้องละตัว ผู้รู้ หรือ จิตนี่แหละถึงจะนิพพานครับ วิธีละจิต ก็ เห็นจิตเกิดดับโดยใช้ มรรคแปดครับ อานาปานสติ ครับ ปล่อยวางจิต ส่วนสิ่งที่เข้ามาหลงยึดจิต ก็เรียกว่า สัตว์ สัตตะ สัตตา สัตตานัง ไม่เกิดไม่ดับ เป็นผู้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏครับ พอมีวิชชาแล้วก็จะ ไม่เพลินกะขันธ์ 5 มีบัญญัติศัพท์ว่า วิมุตติญาณทรรศนะครับ พระพุทธเจ้าเรียกแทนตัวพระองค์ว่า ตถาคต ครับ มีเหตุให้เรียกแบบนี้*
โดย
peerawit
อังคาร พ.ค. 24, 2016 10:31 pm
0
5
Re: รู้ได้อย่างไรครับ? ว่าเราลงทุนผิด
ประกาศขายตามราคาที่คิดไว้แล้วไม่มีคนซื้อครับ(ซักพัก)
โดย
peerawit
อังคาร ต.ค. 21, 2014 11:57 pm
0
0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ภพ เป็นแดนเกิด หรือก็คือ กรรม (เป็นกุศล หรือ อกุศล) แล้วก็จบลงที่ความทุกข์ (แตกสลาย ดับไป) และอาการที่เกิดจากความทุกข์ เหตุเกิดแห่ง กรรม (หรือก็คือเจตนา) คือ สัมผัส หรือ ผัสสะ ทาง ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัส ใจได้รู้สึก เมื่อกระทบแล้ว เกิดอะไรขึ้นตามมา (เห็นทันไหม) ความพอใจ ไม่พอใจ หรือ เฉยๆ ใช่หรือไม่ ลองตรวจสอบดู แล้วหลังจากนั้นละ เกิดอาการทางจิตอย่างไรต่อไป เกิดความอยาก ไม่อยาก ความมี ความเป็น ความเห็น แล้วลงมือกระทำอะไรไหม แล้วเกิดผลอย่างไร เหล่านี้คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ การละขาดซึ่งภพ ก็ทำให้ กรรม หมดลง กรรมเก่าคือขันธ์ห้าที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรานั้น ทำให้เรารู้สึกต่ออารมณ์ได้ (อารมณ์คือสิ่งที่จิตเข้าไปรับรู้) นั่นเป็นเหตุให้ เกิดภพ เกิดกรรม(ใหม่) ตาม อนุสัย หรือความเคยชิน ที่ติดตัวมา ทำให้เรา เพลิน พอใจ อยาก ไปกับสิ่งที่เข้ามา ในจิต หรือ ในการรับรู้ เราก็จะทำกรรม(ใหม่)ที่เป็น กุศลบ้าง หรือ อกุศลบ้าง (กุศล-อกุศลกรรมบทสิบ) นั่นก็คือ กรรม(ในอดีต)ได้ส่งผลแล้ว ในขณะที่จิตเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น จะดี หรือ ไม่ดี ก็ตาม เราก็ต้องรับผลกรรมนั้นไป ท่านจึงให้ตรวจสอบเสมอเวลาจะทำอะไร ว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น หรือทั้งตนเองและผู้อื่นเสมอๆ ทีนี้ ถ้าหมดกรรม หรือ ละขาดซึ่งภพได้แล้วจะเป็นอย่างไร ท่านก็ได้ตรัสรู้ว่า การเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลาย ว่ามันมีมายาวนาน ทำทั้งดี และไม่ดี ส่งผลให้เราได้ดีก็มีมาก ลำบากก็มีมาก หมุนวนเวียน ไม่จบไม่สิ้น ไม่มีทางออก คงไม่มีใครอยากเกิดมา แล้วลำบาก เจ็บไข้ พิการ ยากจนเข็ญใจ หรือเกิดมาซึ่งความเป็น สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย (แล้วท่านก็แสดงเหตุที่ทำให้เกิด ให้เป็นอย่างนั้นไว้ ว่าเกิดจากการทำกุศล-อกุศลอย่างไร) การละกรรมเก่า ละการเกิดภพ และอกุศลต่างๆในการเกิดคราวก่อนที่ยาวนานจนหาประมาณไม่ได้นั้น ท่านก็ได้แสดงไว้ใน มรรคมีองค์แปดนั่นเอง ผลที่ทำก็เกิดในปัจจุบัน ในทุกขณะจิต กรรมเก่าที่เป็นอกุศลจึงละไปๆ กรรมใหม่ที่เป็นกุศลจึงเกิดขึั้นๆแทนที่ ทำไปเรื่อยๆ ท่านอุปมาอุปไมย ถึง คลองใหญ่น้อย สุดท้าย ก็ไหลลงไปรวมอยู่มหาสมุทร และถึงแม้ว่าเราไม่รู้ว่าเราเคยทำหรือเคยเป็นอะไรมาบ้าง แต่ก็ไม่สำคัญว่า ถ้าเราทำกรรมใหม่ที่เป็นกุศลนั้นคือมรรคมีองค์แปด กรรมที่เป็นอกุศลจะไม่มีทางเกิดได้เลย มีแต่กรรมที่เป็นกุศลจะเกิดขึ้นๆ ทำให้เราได้รับกรรมที่เป็นกุศลต่อไป เปรียบเหมือนความเค็มของเกลือหยิบมือในแก้วน้ำ เปรียบเทียบกับเกลือหยิบมือในแม่น้ำ น้ำที่ในจะเค็มกว่ากัน ถึงแม้ว่าเราไม่รู้ว่าเราทำอกุศลอะไรมาบ้าง แต่ถ้าเราเจริญมรรคมีองค์แปด ก็เหมือนน้ำที่มากขึ้น ทำให้เกลือไม่เค็มอีกต่อไป จนสุดท้าย เราละกรรม ละภพได้ทั้งหมด ทั้งที่เป็นกุศล และเป็นอกุศล นั่นแหละคือ ที่สุดแห่งทุกข์ ที่ๆไม่มี ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นที่ๆสัตว์ทั้งหลายควรไปให้ถึง ปล. อยากแนะนำให้ศึกษาพระสูตรที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ก่อน แล้วจะเข้าใจอะไรอีกเยอะมาก คำสอนของท่าน จะแยกแยะ-แจกแจงสิ่งทีเกี่ยวข้อง เรียงลำดับจากความสำคัญจากมากมาน้อย-น้อยมามาก หยาบมาละเอียด-ละเอียดมาหยาบ และเรียงตามลำดับว่าอะไรเกิดขึ้นก่อน-หลัง ถ้าไม่เข้าใจ ท่านก็จะนิยาม ความหมายไว้ ถ้ายังไม่เข้าใจความหมาย ท่านจะมีอุปมาอุปไมยไว้ ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ให้อ่านไปเรื่อยๆ เราจะสามารถเชื่อมโยงธรรมของท่านได้ -0- ขอบคุณค้าบ
โดย
peerawit
อังคาร ต.ค. 21, 2014 10:28 pm
0
0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
เราปฏิบัติกรรมฐาน เพื่ออะไรครับ ธรรมะนี้เป็นไปเพื่อการละขาดซึ่งภพครับ ในเมื่อก่อนปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านก็สอน ก็บอกไว้หมดแล้ว คนในยุคนี้ก่อนทำ ก็รู้หมดแล้วว่าทำแล้วถ้าได้ผล สุดท้ายผลจะออกมายังไง คำตอบสำหรับคำถามหรือผลจากการปฏิบัติก็มีเฉลยแล้วทั้งนั้น เรามาพิจารณาผลเลยได้หรือเปล่าครับ ผลเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้งครับ..ด้วยการเดินมรรค ถ้าไม่เดินมรรคก็ไม่มีผลสิครับ :D [๓๘๗] ธรรม ๒ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑ ธรรม ๒ เหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ [๔๐๙] ธรรม ๔ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือสามัญผล ๔ ได้แก่ โสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑ ธรรม ๔ อย่าง เหล่านี้ควรกระทำให้แจ้ง ฯ ..ทางอันเราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย เพื่อรู้จักการถอนซึ่งลูกศร ความเพียรเป็นกิจอันเธอทั้งหลายพึงกระทำ ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอก ผู้มุ่งปฏิบัติ พึงพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร... Credit: พระพุทธเจ้า
โดย
peerawit
อังคาร ต.ค. 21, 2014 1:00 pm
0
2
Re: ผมอยากพิมพ์หนังสือกายคตาสติแจกครับรบกวนขอรายละเอียดหน่อย
กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านัั้นไม่หลงลืม... ตถาคต :D
โดย
peerawit
อังคาร ต.ค. 21, 2014 12:47 pm
0
0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
พอผมเชื่อพระพุทธเจ้า ผมก็จะเลือกทำในสิ่งที่ได้ผลจริงๆ น่ะครับ ขี้เกียจไปคั้นทรายแล้ว คั้นมาตลอดชีวิตก็ไม่ได้น้ำมันซะที เหมือนพวกตาบอด~~ พอเปลี่ยนมาคั้นน้ำมัน อาจจะไม่รวยเหมือนกับคหบดีมหาศาล แต่ก็พอใจนะครับ ทุกข์มันก็น้อยลงไปทุกขั้นตอนของการกระทำ ถึงจะหวังหรือไม่หวัง แต่ยังเอามือคั้น มันก็ได้น้ำมันละนะ ..... บางคนอาจจะคิดว่าพระพุทธเจ้าสอนแค่ หลุดพ้น นิพพาน แต่จริงๆพระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญู รู้ทุกเรื่องจริงๆ เอกลาภปัจจัย ชื่อเสียง เงินทอง จะได้มาด้วยเหตุอะไร บางคนอาจจะเคยได้ฟังมาว่า พระพุทธเจ้าสอนแบบนั้นแบบนี้ คนนั้นบอกแบบนั้นแบบนี้ แต่จริงแล้ว คำที่ท่านพูดออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง เป็นยังไงกันแน่ บางคนอาจจะไม่เคยรู้ว่า พระพุทธเจ้าสามารถทำคำพูดให้ไม่พลาดได้แม้แต่คำเดียว เหตุปัจจัยที่จะทำให้ เจริญได้ทั้งทางโลกทางธรรม ก็คือ ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ครับ ได้ผลแน่นอน ไม่มีไม่ให้ผล ~~ ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก เจริญอยู่ด้วยความเจริญ ๑๐ อย่าง ชื่อว่า ย่อมเจริญด้วย ความเจริญของพระอริยเจ้า ด้วย และเป็นผู้ ถือเอาแก่นสารและความประเสริฐทางฝ่ายกาย (วัตถุ) ได้ด้วย. สิบอย่าง อย่างไรเล่า? สิบอย่างคือ : - ย่อมเจริญด้วยนาและสวน, ย่อมเจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก, ย่อมเจริญด้วยบุตรและภรรยา, ย่อมเจริญด้วยทาสและกรรมกรที่เต็มขนาดแห่งบุรุษ, ย่อมเจริญด้วยสัตว์สี่เท้า, ย่อมเจริญด้วยสัทธา, ย่อมเจริญด้วยศีล, ย่อมเจริญด้วยสุตะ, ย่อมเจริญด้วยจาคะ, ย่อมเจริญด้วยปัญญา. ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก เจริญอยู่ด้วยความเจริญ ๑๐ อย่างเหล่านี้แล ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยความเจริญของพระอริยเจ้าด้วย และเป็นผู้ถือเอาแก่นสารและความประเสริฐทางฝ่ายกายได้ด้วย. บุคคลใดในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก บุตร ภรรยา และสัตว์สี่เท้า, บุคคลนั้น ย่อมเป็นผู้มีโชค มียศ เป็นที่บูชาของญาติมิตรและแม้ของพระราชา. บุคคลใดในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยสัทธา ศีล ปัญญา จาคะ สุตะ อันเป็นความเจริญทั้งสองฝ่าย, บุคคลเช่นนั้น เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาเห็นโดยประจักษ์ ย่อมเจริญด้วยความเจริญทั้งสองฝ่าย ในทิฏฐธรรมนี้, ดังนี้แล...ตถาคต
โดย
peerawit
อาทิตย์ เม.ย. 06, 2014 12:00 am
0
4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
การให้ทานเป็นเหตุให้เกิดโภคทรัพย์นะครับ การรักษาศีลก็เป็นเหตุแห่งโภคทรัพย์ ๕๙๑) ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะพราหมณ์. เขาตายไป จะเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าสู่สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะพราหมณ์....ตถาคต การรักษาศีล มีผลมากกว่าการให้ทานกับคนธรรมดา มากกว่า 100,000,000 ( ร้อยล้านเท่า) นะครับ แต่สุดยอดที่สุดลองอ่านท้ายๆพระสูตรดูครับที่พระพุทธเจ้าสอนว่าต้องทำอะไร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถ บิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ในตระกูลของท่าน ยังให้ทานอยู่บ้างหรือหนอ ฯ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในตระกูล ของข้าพระองค์ยังให้ทานอยู่ แต่ทานนั้นเป็นของเศร้าหมอง เป็นปลายข้าว มีน้ำ ผักดองเป็นที่สอง ฯ พ. ดูกรคฤหบดี คนให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม แต่ให้ทาน นั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ ไม่ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่เหลือ ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน ทานนั้นๆ ย่อมบังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมไม่ น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็ไม่เชื่อฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ส่งจิตไปที่อื่นเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลแห่งกรรมที่ตนกระทำโดยไม่เคารพ ฯ ดูกรคฤหบดี บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม แต่ให้ทาน นั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่ไม่เหลือ เชื่อ กรรมและผลของกรรมให้ทาน ทานนั้นๆ บังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูล นั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อ บริโภคผ้าอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภค กามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง ไม่ส่งจิตไปที่อื่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพ ฯ ดูกรคฤหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ พราหมณ์ผู้นั้น ได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยะเต็มด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง ผ้ากัมพล เหลือง มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงินรองน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คน ประดับด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้า โกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาด อย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาดเพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสอง ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เนื้อละเอียด จะป่วยกล่าว ไปไยถึงข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้ ที่นอน ไหลไปเหมือน แม่น้ำ ดูกรคฤหบดี ก็ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นไม่ใช่เวลาม พราหมณ์ผู้ที่ให้ทานเป็นมหาทานนั้น ดูกรคฤหบดี แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราเป็นเวลามพราหมณ์ เราได้ให้ทานนั้นเป็นมหาทาน ก็ในทานนั้น ไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคล ใครๆ ไม่ชำระทักขิณานั้นให้หมดจด ดูกรคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยท่านบริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีผู้เดียวบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีร้อยท่านบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยรูปบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ดูกรคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่ามหาทาน ที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว ... การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูด ดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้น จากปาณาติบาต ... และการที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มี ผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ฯ
โดย
peerawit
เสาร์ เม.ย. 05, 2014 11:48 pm
0
5
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
เส้นทาง ธรรม ต้องศึกษา อริยสัจสี่ และ สติปัฏฐานสี่ โดยอาศัย อานาปานสติ ดีที่สุดคับ ทางสายเอกเลยนะครับ สาธุครับ
โดย
peerawit
เสาร์ เม.ย. 05, 2014 10:26 pm
0
0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ธรรมะกับแนววีไอ~~ การลงทุนแบบวีไอ ทำไมถึงเป็นวิธีที่บุรุษผู้มีปัญญาใช้แล้วได้ผล ก้อเพราะว่าเค้า 1) มีตาดี 2) สร้างเหตุถูกต้อง ถึงเค้าจะอยากได้เงินหรือไม่ได้เงิน แต่ถ้าเค้าซื้อหุ้นถูกตัว ในราคาที่ต่ำกว่า value เค้าก้อต้องได้เงิน ถึงเค้าจะอยากหรือไม่อยาก หรือ อยากก็ไม่ใช่ไม่อยากก็ไม่ใช่ แต่ถ้าเค้าซื้อหุ้นถูกตัว ในราคาที่ต่ำกว่า value เค้าก้อต้องได้เงิน (มั้ง) พระพุทธเจ้าเคยสอนเรื่องการสร้างเหตุถูกต้องกับท่านภูมิชะเปรียบเสมือน บุรุษผู้ต้องการน้ำมัน ตราบใดที่เค้ายังเอามือคั้นเมล็ดงา เค้าก็ได้น้ำมัน ถ้าเค้าคั้นทราย ถึงจะอยากได้หรือไม่อยากได้น้ำมัน เค้าก็ไม่ได้น้ำมัน ตามพระสูตรด้านล่างครับ [๔๑๐] ดูกรภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน จึงเที่ยวเสาะหา น้ำมัน เกลี่ยทรายลงในรางแล้วคั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ ถ้าแม้ทำความหวังแล้วเกลี่ยทรายลง ในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็ไม่สามารถจะได้ น้ำมัน ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วเกลี่ยทราย ลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆเขาก็ไม่สามารถจะได้น้ำมัน ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความ ไม่หวังแล้วเกลี่ยทรายลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็ไม่สามารถจะได้น้ำมัน ถ้าทำความหวัง ก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วเกลี่ยทรายลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไปๆ เขาก็ไม่สามารถจะ ได้น้ำมัน นั่นเพราะเหตุไร ดูกรภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะได้ น้ำมันโดยวิธีไม่แยบคาย ฉันใด ดูกรภูมิชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีทิฐิผิด มีสังกัปปะผิด มีวาจาผิด มีกัมมันตะผิด มีอาชีวะผิด มีวายามะผิด มีสติผิด มีสมาธิผิด ถ้าแม้ทำความหวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติ พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติ พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติ พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่นเพราะเหตุไร ดูกรภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะ บรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย ฯ [๔๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อม ถึงความมีโภคทรัพย์มากมายเหลือเฟือไม่นานเลย องค์ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ เป็นคนที่มีตาดี ๑ มีธุระดี ๑ ถึงพร้อมด้วยบุคคล ที่จะเป็นที่พึ่งได้ ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีตาดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ย่อมรู้สิ่งที่จะพึงซื้อขายว่า สิ่งที่พึงขายนี้ ซื้อมาเท่านี้ ขายไป เท่านี้ จักได้ทุนเท่านี้ มีกำไรเท่านี้ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็น คนมีตาดี ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่ามีธุระดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ เป็นคนฉลาดที่จะซื้อและขายสิ่งที่ตนจะพึง ซื้อขาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีธุระดี ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคนซึ่งจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ อันคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ผู้มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ทราบได้เช่นนี้ว่าท่านพ่อค้าผู้นี้แล เป็นคนมีตาดี มีธุระดี สามารถ ที่จะเลี้ยงบุตรภรรยา และใช้คืนให้แก่เราตามเวลาได้ เขาต่างก็เชื้อเชิญพ่อค้า นั้นด้วยโภคะว่า แน่ะท่านพ่อค้าผู้สหาย แต่นี้ไปท่านจงนำเอาโภคะไปเลี้ยงดู บุตรภรรยา และใช้คืนให้แก่เราตามเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยบุคคลซึ่งเป็นที่พึ่งได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้า ผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมจะถึงความมีโภคะมากมายเหลือเฟือไม่ นานเลย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมถึงความเป็นผู้มากมูนไพบูลย์ในกุศลธรรมไม่นานเลย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจักษุ ๑ มีธุระดี ๑ ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้ ๑ ฯ ...ตถาคต แล้วพระพุทธเจ้า ได้บอกถึงการสร้างเหตุ อะไร ปัจจัย อะไรทำให้เป็นคนมีโภคทรัพย์มาก บางคนก็บอกให้ไปบนบาน บางคนก็บอกให้ไปเรียนปอโท บางคนก็บอกให้ไปทำเดรัจฉานวิชา (รดน้ำมนต์,ดูหมอ) แต่พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นสัพพัญญู บอกไว้ว่ายังไงนะครับ ถึงจะเป็นการคั้นเมล็ดงา ไม่ไปคั้นเมล็ดทราย :D ไว้มาต่อ
โดย
peerawit
เสาร์ เม.ย. 05, 2014 10:25 pm
0
3
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ขอโอกาสครับ บรรลุธรรมนี่เป็นยังไง ก็มีหลาย ระดับ ครับ โสดาปัตติผล สกทาคามีผล อนาคามีผล อรหัตผล นะครับ ผู้เดินมรรคก็เรียกว่า โสดาปัตติมรรค สกทาคามีมรรค อนาคามีมรรค อรหัตมรรคนะครับ พอเดินมรรคไปถึงที่หมายก็ได้ผลครับ คำว่าโสดาบัน โสดาบัน หมายความว่ายังไง ทำไมต้องโสดาบัน - โสดาบันเป็นผู้ที่ไม่ต้องไปอบาย ทุคติ วินิบาตร นรก อีกแล้วครับ เกิดอีกไม่เกินเจ็ดคราว จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ - ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยความเห็น แล้วคุณสมบัติโสดาบันเป็นยังไง - คุณสมบัติโสดาบัน ขอยกตัวอย่าง 1) มีความเห็นว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ อันนี้ สัทธานุสารี 2) ธรรมานุสารี เชื่อเหลือเกินว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ อันนี้เข้มขึ้นมาหน่อย 3) มีศีลห้า +เชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว+ รู้ปฏิจจสมุปบาท 4) รู้ปฏิจจสมุปปบาท 5) มีศีลห้า +เลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว ุ6) รู้ว่ามีแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงธรรมได้แบบนี้เท่านั้น ึ7) เลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว + มีทานการให้ 8) ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยมรรคแปด ... อื่นๆๆๆๆๆๆ อีกมาก มีมรรควิธีง่ายๆไหมที่จะบรรลุธรรม อยากเป็นโสดาบัน มีครับ - ละความเพลิน - กายคตาสติ - อานาปานสติ - ทุกขสัจ แล้วฌานคืออะไร เกียวอะไรกะโสดาบัน หรือ บรรลุธรรม ฌาน คือ สัมมาสมาธิครับ มีสี่ระดับ คนที่ได้ฌาน 1-4 ต้องเห็นการเกิดดับในสมาธินั้นๆ ก็จะได้เป็นอริยบุคคล โสดาบันหรือพระอริยบุคคล เห็นอะไรเกิดดับ เห็นจิตเกิดดับใน รูป(ร่างกาย) เวทนา(สุข ทุกข์ เฉยๆ) สัญญา(ความจำได้) สังขาร(ความคิดปรุงแต่ง) ครับ ปุถุชนจะคิดว่า จิตเป็นเรา ส่วนผู้ได้ฟังธรรมก็จะรู้ว่า จิต มโน วิญญาณ ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดวันตลอดคืนครับ แล้วเห็นจิตเกิดดับทำไงอ่ะ ลองรู้ลมหายใจเข้าออกดูครับ เมื่อกี้ยังไม่รู้ ว่ามีลม ตอนนี้รู้ละ แค่นี้แหละครับ เห็นรูปเกิดดับ เห็นความคิด เกิดดับ เห็นสุข ทุกข์ เกิดดับ แล้วเห็นจิตเกิดดับ ไปทำไม คนที่เห็นเกิดดับบ่อยๆ ก็จะรู้ว่า ขันธ์ทั้งห้านั่น ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเราผู้สังเกตุไม่ได้ดับไปตามสิ่งที่มันเกิดดับใช่มั้ยครับ ความคิด ไม่ใช่เรา รูป ร่างกายไม่ใช่เรา เราไปห้ามมันแก่ไม่ได้ ความจำไม่ใช่เรา บางทีมันก็ลืมๆ มันแว้บๆ เกิดดับ สุข ทุกข์ ก็ไม่ใช่เรา มันดับไปได้ สิ่งที่ไปรับรู้สิ่งเหล่านี้เรียกว่า จิต มโน วิญญาณ ไงครับ จะบรรลุธรรมไปทำไม เกิดมาก็มีความสุขดี - มนุษย์ที่ตายแล้วกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย มากเท่ากับเศษดินที่ปลายเล็บ เทียบกับโลกทั้งใบ ส่วนใหญ่ไปเที่ยวใน อบาย ทุคติ วินิบาตร นรก ครับ นานๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ซักทีจะเป็นมนุษย์ซักทีนึง อุปมาเหมือนโลกทั้งใบโดนน้ำท่วม ร้อยๆปีมีเต่าตาบอด โผล่ขึ้น มา หายใจซักครั้ง ในน้ำนั้นมีแอกไม้ไผ่ ลอยอยู่ เต่าจะเจอแอกซักครั้งนึง ก็ยากมาก... การได้เป็นมนุษย์ ยากกว่าครับ ความทุกข์ในนรก เปรียบเหมือน คนโดนหอกสามร้อยเล่มแทงต่อวัน ความทุกข์นี้เหมือนแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่า่ฝ่า่มือ เทียบกับ ภูเขาหลวงหิมพานต์ คือความทุกข์ในนรกครับ ไม่ได้อยู่กันแค่ไม่กี่แสนปีนะครับ อยู่กันหลักหลายล้านปีนรกเนี่ย ชักไม่อยากไปนรกละ ทำไงดี ต้องเป็นพระโสดาบันครับ พ้นแล้ว จากอบายทุคติ วินิบาตร นรก แล้วนิพพานเป็นยังไง ไอ้ที่เราอยู่นี่เรียกว่า สังขตลักษณะ ปรุงแต่งได้ มีคุณสมบัติคือ มีการเกิดปรากฏ มีการเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ นิพพาน หรือ อสังขต ลักษณะ มีคุณสมบัติคือ ไม่มีการเกิด ไม่ปรากฏมีการเสื่อม เมื่อตั้งอยู่ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ ทำไงจะถึงนิพพาน วางความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ครับ วางยังไง ก็เอาจิตมารู้ลมหายใจก็พอครับ จะค่อยๆ ละอวิชชาได้ ละความเพลิน ก็ได้ ไม่อยากได้นิพพาน อยากรวยอ่ะ อยากเกิด ก็มีสอนเกียวกับเรื่อง ทาน ความข่มใจ ความสำรวมระวัง ครับ จะไม่ตกต่ำไปยาวๆ จะมีสอนเกียวกับเรื่องทาน ว่าเป็นทางมาแห่งโภคทรัพย์ ศีลห้า ก็เป็นทางมาแห่งโภคทรัพย์ พระพุทธเจ้าเก่งแค่ไหน ทำไมต้องคำพระพุทธเจ้า เราอาจไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าได้ตอบคำถามคนทั้งโลกไว้หมดแล้ว เรื่องที่เกี่ยวกับนิพพานนะครับ ท่านบัญญัติ จบไปตั้งแต่ก่อนปรินิพพานแล้ว คำว่าใบไม้นอกกำมือ คือ คำพูดที่ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ดับไม่เหลือ เพื่อนิพพาน พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนครับ พระพุทธเจ้าพูดไม่ผิดเลยแม้แต่คำเดียวตั้งแต่ตรัสรู้ จน ปรินิพพานนะครับ เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ พระพุทธเจ้าก็เหนือชั้นกว่าสาวกอย่างเทียบกันไม่ได้ครับ คนละชั้น และมีเรื่องอื่นๆอีกมาก พระพุทธเจ้าเก่งมากกกกครับ เหนือชั้นกว่าพระอรหันต์ทั่วๆไปอย่างเทียบไม่ได้ ข้อความด้านบน ผมสรุปๆเอาจากความจำนะครับ ไม่เป๊ะ อาจผิดพลาดได้เป็นธรรมดาครับ พระสูตรเต็มขอได้หลังไมค์ครับ เด๋วส่งให้
โดย
peerawit
อาทิตย์ ก.พ. 16, 2014 7:29 pm
0
5
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
เครื่องวัดปัญญา คือ รู้เห็นถึงการเกิด-ดับ เครื่องวัดสมาธิ คือ ฌาณทั้งสี่ ถ้าปฏิบัติอานาปานสติ รู้ลมหายใจอยู่ แล้วไปรู้อดีต หรือไปรู้ความคิด นี่คือเปลี่ยนแล้ว ขณะที่จิตเปลี่ยน เห็นการเกิด-ดับ จิตไปรับรู้สิ่งอื่นแทนลมหายใจ สิ่งที่รู้ดับไปแล้ว เห็นสิ่งที่เกิดใหม่ สิ่งหนึ่งหายไป สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ก็จะเข้าใจ ความเป็นอนัตตา ไม่เป็นตัวตนที่แท้จริง คือมีการเกิดปรากฏ เสื่อมปรากฏ เห็นความไม่เที่ยง ความดับ เห็นทุกข์ นี้คือปัญญา ศีล คือการสำรวมจิตไม่ไปตามอกุศล ซึ่งเอื้อต่อการมีสมาธิ ทำให้เกิดปัญญาเห็นธรรม ก็จะเข้าใจว่านั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา นี้คือปัญญา ศีล ช่วยให้เราคุมกาย วาจาใจ เพื่อเอื้อให้เกิดสมาธิ เกิดปัญญา จะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ หรือสมาธิอบรมปัญญา ก็นำไปสู่จุดหมายเดียวกัน เจริญอานาปานสติ มองเห็นความเกิดขึ้น-ความเสื่อมทั้งหลาย เห็นลม เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นสิ่งที่อยู่เนื่องในจิต เห็นนิวรณ์ห้า เห็นขันธ์ห้า เห็นสังโยชน์ที่อาศัยอายตนะหก เห็นโพชฌงค์เจ็ด เห็นอริสัจสี่ อานาปานสติ ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญสติปัฏฐานสี่ ให้บริบูรณ์ได้ สติปัฏฐานสี่ ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญโพชฌงค์เจ็ด ให้บริบูรณ์ได้ โพชฌงค์เจ็ด ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญวิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้ ปฏิบัติกันไปเถิดคับ หนทางเข้าถึงปัญญามีอยู่โดยรอบ ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก สติปัฏฐานสูตร http://www.larnbuddhism.com/grammathan/tripitakapatibat/sati.html อานาปานสติสูตร http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn11.php :bow:
โดย
peerawit
พฤหัสฯ. ม.ค. 23, 2014 10:03 pm
0
0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
เหตุปัจจัยที่ทำให้มีโภคะมากครับ ... [๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีโภคะน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าวน้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ [๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ...ตถาคต
โดย
peerawit
พุธ ม.ค. 22, 2014 8:04 pm
0
3
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเอกนั้นมีอ ยู่ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๔ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอก ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์; สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์; โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้. ...ตถาคตผู้อรหันต์สัมมาสัมพุทธะ "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่งมีอยู่หรือไม่หนอ ซึ่งเมื่อภิกษุละได้ แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?" ภิกษุ ! ธรรมอย่างหนึ่งนั้น มีอยู่แล ....ฯลฯ.... "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่งนั้คืออะไรเล่าหนอ ....ฯลฯ....?" ภิกษุ ! อวิชชา นั่นแล เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่ง เมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชายอมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น. "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อวิชชาจึงจะ ละไปวิชชาจึงจะเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?" ภิกษุ ! หลักธรรมอันภิกษุในกรณีนี้ได้สดับแล้ว ย่อมมีอยู่ว่า "สิ่ง ทั้งหลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" ดังนี้. ภิกษุ! ถ้าภิกษุได้สดับหลักธรรมข้อนั้นอย่างนี้ว่า "สิ่งทั้หลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้นย่อม รู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง; ครั้น รู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อม รอ บ รู้ซึ่งธรรม ทั้งป วง; ครั้นรอบรู้ซึ่งธรรม ทั้งปวงแล้ว เธอย่อม เห็นซึ่งนิมิตทั้งหลายของสิ่งทั้งปวง โดยประการอื่น ๑; คือย่อมเห็นซึ่ง จักษุโดยประการอื่น; เห็นซึ่ง รูป ทั้งหลายโดยประการอื่น; เห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยประการอื่น; เห็นซึ่ง จักขุสัมผัส โดยประการอื่น; เห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น. ...ตถาคตผู้อรหันต์สัมมาสัมพุทธะ
โดย
peerawit
อังคาร ม.ค. 21, 2014 12:45 am
0
3
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
หากผมจะรบกวนขอความรู้จากพวกเรา จะได้ไหมครับ ผมอยากได้คำแนะนำถึง "ปัญญาอบรมสมาธิ" ว่าควรต้องนำไปปฏิบัติอย่างไรครับ ผมฟัง mp3 หลวงตามหาบัวเรื่องนี้หลายครั้งมาก แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรนำไปปฏิบัติอย่างไร และได้เคยเรียนถามพระอาจารย์สุชาติ วัดญาณ รวมทั้งได้ฟัง mp3 ที่ท่านตอบคำถามเดียวกันนี้กับคนอื่น ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ และไม่แน่ใจครับ ท่านใดจะกรุณาแนะนำเป็นธรรมทานด้วยจะเป็นพระคุณครับ .... แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน ในเมืองนาลันทานั้น ก็ทรงทำธรรมมีกถานี้แล เป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ศีลมีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิ มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญามีอยู่ด้วย ประการฉะนี้ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอัน สมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้น ด้วยดี โดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้. ... ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท.! ภิกษุ ผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง. รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่ง ความจริงอันประเสริฐ ว่า "นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิด ทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์;" ดังนี้. ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง. ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้พวกเธอพึง ทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า "นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์;" ดังนี้เถิด. ... พยัคฆปัชชะ ! ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? พยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ เป็นเครื่องไปจากข้าศึก เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. ... สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุ จตุตถฌา น ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
โดย
peerawit
เสาร์ ม.ค. 18, 2014 2:04 am
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
....... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า ดูก่อนเจ้าลิจฉวี ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ หาได้ยากในโลก รัตนะ ๕ เป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑ ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งรัตนะ ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก .......... ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รู้จักกับมิตรดีสหายดีนะครับ ไม่ได้หาง่ายๆเลยครับ เป็นลาภของผมจริงๆครับ ^_^
โดย
peerawit
พฤหัสฯ. ธ.ค. 05, 2013 12:13 am
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ขอบคุณคับ คุณ peerawit สำหรับพระสูตรเรื่องอินทรีย์ห้า เข้าใจแจ่มแจ้งเลยคับ ผมอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจอ่ะครับ รบกวนช่วยขยายความหน่อยได้ไหมครับ? ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! สารีบุตร ! อริยสาวกใด มี ความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตถึงที่สุดโดยส่วนเดียว , เขาย่อมไม่สงสัยหรือลังเลในตถาคตหรือคำสอนในตถาคต. สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธาแล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. สารีบุตร ! ความเพียรเช่นนั้นของอริยสาวกนั้นย่อมเป็น วิริยินทรีย์ ของเธอนั้น. ( สาธุ สาธุ สารีปุตฺต โย โส สารีปุตฺต อริยสาวโก ตถาคเต เอกนฺตคโตอภิปฺปสนฺโน น โส ตถาคเต วา ตถาคตสาสเน วา กงฺเขยฺย วา วิจิกิจฺเฉยฺย วา ฯสทฺธสฺส หิ สารีปุตฺต อริยสาวกสฺส เอตํ ปาฏิกงฺขํ ยํ อารทฺธวิริโย วิหริสฺสติอกุสลานํ ธมฺมานํ ปหานาย กุสลานํ ธมฺมานํ อุปสมฺปทาย ถามวา ทฬฺหปรกฺกโมอนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเมสุ ฯ (บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙/๑๐๑๗ ) สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้มีสติ ประกอบพร้อมด้วยสติเป็นเครื่องระวังรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้. สารีบุตร ! ความระลึกเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สตินทรีย์ ของเธอนั้น. สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้กระทำแล้วได้ซึ่ง โวสสัคคารมณ์ จักได้ซึ่งความตั้งมั่นแห่งจิต กล่าวคือ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว. สารีบุตร ! ความตั้งมั่นแห่งจิตเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สมาธินทรีย์ ของเธอนั้น. สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งที่มีที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้, ที่สุดฝ่ายข้างต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไป ท่องเที่ยวไป. ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้นเสียได้ มีอยู่ : นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็นบทที่ประณีต กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”. สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น ปัญญินทรีย์ ของเธอนั้น. สารีบุตร ! อริยสาวกนั้นนั่นแหละ ตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้แล้ว (ซึ่งวิริยะ) ด้วยอาการอย่างนี้, ระลึกแล้ว ระลึกแล้ว (ด้วยสติ) ด้วยอาการอย่างนี้, ตั้งมั่นแล้ว ตั้งมั่นแล้ว (ด้วยสมาธิ) ด้วยอาการอย่างนี้, รู้ชัดแล้ว รู้ชัดแล้ว (ด้วยปัญญา) ด้วยอาการอย่างนี้, เขาย่อมเชื่ออย่างยิ่ง อย่างนี้ว่า “ธรรมเหล่าใด เป็นธรรมที่เราเคยฟังแล้วในกาลก่อน, ในบัดนี้ เราถูกต้องธรรมเหล่านั้นด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ด้วย และแทงตลอดธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาแล้วเห็นอยู่ด้วย” ดังนี้. สารีบุตร ! ความเชื่อเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สัทธินทรีย์ ของเธอนั้น, ดังนี้แล. ... ตถาคต
โดย
peerawit
พฤหัสฯ. พ.ย. 28, 2013 11:24 pm
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ขยายความต่อ จากข้อด้านบนนะครับ ๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณ ะย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา). ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้ กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น). ๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯ ล ฯ … (๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ… …..ฯลฯ ….. (๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานชาติย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯลฯ … (๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณ หาย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. … ฯลฯ … (๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพ ราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อม มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯลฯ … (๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯลฯ … (๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯลฯ … (๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯลฯ … (๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …ฯลฯ … (๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลาย ย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่ แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือความที่ เมื่อสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา). ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้ง ขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงดู: เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี" ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใดในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็น อย่างนั้น, เป็นอนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).... ตถาคต ถ้าแจกแจงต่อไป ก็อธิบายว่าอวิชชาคืออะไร ไปเรื่อยๆ ครับ ศึกษาได้จาก ปฏิจจสมุปปบาทจากพระโอษฐ์ นะครับ
โดย
peerawit
พฤหัสฯ. พ.ย. 28, 2013 9:49 pm
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ขอบคุณคับ คุณ peerawit สำหรับพระสูตรเรื่องอินทรีย์ห้า เข้าใจแจ่มแจ้งเลยคับ ผมอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจอ่ะครับ รบกวนช่วยขยายความหน่อยได้ไหมครับ? คุณ Tibular เป๊ะครับ คล่องจริงๆ โสตาปัตติยังคะ .สารีบุตร! โสตาปัตติยงคะ เป็นอย่างไรเล่า? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ คืือ การคบสัตบุรุษ 1 การฟังพระสัทธรรม 1 การทำไว้ในใจโดยแยบคาย 1 การปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม 1 ถูกแล้ว สารีบุตร! ... ตถาคต ...... ดูก่อนคหบดี! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งโสดาบัน๔ ประการ เหล่าไหนเล่า? (๑)ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า(พุทธอเวจจัปปสาท)ว่า "เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกอย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์"ดังนี้. (๒)ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหวในพระธรรม (ธัมมอเวจจัปปสาท) ว่า"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะ ผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน" ดังนี้. (๓)ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ (สังฆอเวจจัปปสาท) ว่า"สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า" ดังนี้. (๔)ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่พอใจ ของพระอริยเจ้า(อริยกันตศีล): เป็นศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิลูบคลำ เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้. ดูก่อนคหบดี! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่านี้แล. ..... การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นแบบนี้ครับ ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว ". ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชาติ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว". ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งภพ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว". ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว". ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งตัณหา อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว". ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว". ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งผัสสะ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว". ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อ จะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว". ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งนามรูป อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว". ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว". ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งสังขารทั้งหลาย อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว". ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งอวิชชา อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว", ดังนี้ แล... ตถาคต การทำไว้ในใจโดยแยบคาย 1 ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อม ทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ : เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี ; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้,สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ; เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี ; เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ , สิ่งนี้จึงดับไป : ข้อนี้ได้แกสิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ; เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; .....ฯลฯ ..... ฯลฯ ..... ฯลฯ ..... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ แล.... ตถาคต
โดย
peerawit
พฤหัสฯ. พ.ย. 28, 2013 9:45 pm
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ขอบคุณ คุณ imerlot มากครับ จิตนี้ก้อมิใช่เราสินะคับ T_T
โดย
peerawit
พุธ พ.ย. 27, 2013 10:28 pm
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้" ----------------------------------------------------------------------------- ------------------------------------------------------------------------------ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไร.... แล้วคำถามคือ ตอนนี้พวกเรารู้มากกว่าพระสารีบุตรก่อนเจอพระอัสสชิอีก ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน แล้วเราก็เคยได้อ่าน ได้ฟัง ได้เขียน ได้พิจารณา ประโยคเดียวกับที่อุปติสสะปริพาชกได้ฟัง ไม่รู้กี่รอบแล้ว ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน เหตุเพราะอินทรีย์ห้าไม่เท่ากันครับ [๘๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน อินทรีย์อีก ๕ อย่าง ๑. สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา] ๒. วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ] ๓. สตินทรีย์ [อินทรีย์คือสติ] ๔. สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ] ๕. ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา] ขอรบกวนขยายความด้วยคับ คุณ peerawit เรื่องอินทรีย์ห้า ว่ามีพระสูตรไหนที่อธิบายความหมายของแต่ละอย่างว่าประกอบด้วยอะไรบ้างคับ ขอบคุณมากคับ อินทรีย์ห้า ก้อ วัดกันที่ โสตาปัตติยังคะสี่, สัมมัปปทานสี่, สติปัฎฐานสี่, ฌานทั้งสี่ และ อริยสัจสี่ครับ .... [๘๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์. [๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์. [๘๖๖] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้มั่น เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อความถึงพร้อม เพื่อความไม่หลงลืม เพื่อเจริญยิ่งขึ้น เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์. [๘๖๗] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำพูด แม้นานได้ อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย นี้เรียกว่า สตินทรีย์. [๘๖๘] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ นิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความ ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่ เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์. [๘๖๙] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกข- *นิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ นี้แล. ... ตถาคต
โดย
peerawit
พุธ พ.ย. 27, 2013 7:35 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้" ----------------------------------------------------------------------------- ------------------------------------------------------------------------------ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไร.... แล้วคำถามคือ ตอนนี้พวกเรารู้มากกว่าพระสารีบุตรก่อนเจอพระอัสสชิอีก ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน แล้วเราก็เคยได้อ่าน ได้ฟัง ได้เขียน ได้พิจารณา ประโยคเดียวกับที่อุปติสสะปริพาชกได้ฟัง ไม่รู้กี่รอบแล้ว ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน เหตุเพราะอินทรีย์ห้าไม่เท่ากันครับ [๘๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน อินทรีย์อีก ๕ อย่าง ๑. สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา] ๒. วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ] ๓. สตินทรีย์ [อินทรีย์คือสติ] ๔. สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ] ๕. ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา] ขอรบกวนขยายความด้วยคับ คุณ peerawit เรื่องอินทรีย์ห้า ว่ามีพระสูตรไหนที่อธิบายความหมายของแต่ละอย่างว่าประกอบด้วยอะไรบ้างคับ ขอบคุณมากคับ [๘๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ [๘๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ใน โสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้. [๘๕๔] ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็น วิริยินทรีย์ในธรรมนี้. [๘๕๕] ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็น สตินทรีย์ในธรรมนี้. [๘๕๖] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในฌาน ๔ พึงเห็น สมาธินทรีย์ในธรรมนี้. [๘๕๗] ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในอริยสัจ ๔ พึงเห็น ปัญญินทรีย์ในธรรมนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล. ..... [๘๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์. [๘๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์. [๘๗๒] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ย่อมได้ความเพียร นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์. [๘๗๓] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้สติ นี้เรียกว่า สตินทรีย์. [๘๗๔] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วงนิพพานให้เป็น อารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์. [๘๗๕] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบ ด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
โดย
peerawit
พุธ พ.ย. 27, 2013 7:32 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้" ----------------------------------------------------------------------------- ------------------------------------------------------------------------------ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไร.... แล้วคำถามคือ ตอนนี้พวกเรารู้มากกว่าพระสารีบุตรก่อนเจอพระอัสสชิอีก ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน แล้วเราก็เคยได้อ่าน ได้ฟัง ได้เขียน ได้พิจารณา ประโยคเดียวกับที่อุปติสสะปริพาชกได้ฟัง ไม่รู้กี่รอบแล้ว ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน เหตุเพราะอินทรีย์้ห้าไม่เท่ากันครับ [๘๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน อินทรีย์อีก ๕ อย่าง ๑. สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา] ๒. วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ] ๓. สตินทรีย์ [อินทรีย์คือสติ] ๔. สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ] ๕. ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา] [๙๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม บริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตรา ปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระ อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า อินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะ อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระสกทาคามี เพราะ อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นพระโสดาบันผู้เอก พิชี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้โกลังโกละ เพราะ อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้เอกพิชี เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้โกลังโกละ เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี. ... ตถาคต
โดย
peerawit
พุธ พ.ย. 27, 2013 12:35 am
0
3
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
สาธุๆ ครับ ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ อย่างไหนโหดร้ายกว่ากันครับ ทุกข์หมายถึงทุกขเวทนา หรือเปล่าครับ?.. :arrow: :arrow: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ อันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมโศกเศร้า ร่ำไร รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู พึงยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรลูกที่สองอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศร ๒ อย่างคือ ทางกายและทางใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้เรียนรู้ แล้วอันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่โศกเศร้า ไม่ร่ำไร รำพัน ไม่ทุบอก คร่ำครวญ เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่สองผิดไป ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียวฉันนั้นเหมือนกัน...ตถาคต สาธุๆ ครับ ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ อย่างไหนโหดร้ายกว่ากันครับ ทุกข์หมายถึงขันธ์ห้า หรือเปล่าครับ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง พึง คลายกำหนัดได้บ้าง พึงปล่อยวางได้บ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้. ข้อนั้นเพราะเหตุใดเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดี การสลายลงก็ดี การถูกยึดครองก็ดี การทอดทิ้งซากไว้ก็ดี แห่งกายอันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฏอยู่. เพราะเหตุนั้นปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงเบื่อหน่าย ได้บ้าง จึงคลายกำหนัดได้บ้าง จึงปล่อยวางได้บ้าง ในกายนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี; ปุถุชนผู้มิได้สดับ แล้ว ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งนั้น.ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่า จิตเป็นต้น นี้ เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ได้ถึงทับแล้วด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดย ความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านาน ว่า "นั่นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็นตัวตนของ เรา" ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงไม่อาจจะเบื่อหน่ายไม่อาจจะ คลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งที่เรียกว่า จิต เป็นต้นนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า. แต่จะเข้าไปยึดถือ เอาจิต โดยความเป็นตัวตนไม่ดีเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปี บ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วน สิ่งทีเรียกกันว่า "จิต" บ้าง ว่า "มโน" บ้าง ว่า "วิญญาณ" บ้างนั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น ดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน . .. ตถาคต สาธุๆ ครับ ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ อย่างไหนโหดร้ายกว่ากันครับ “ดูกรภิกษุทั้งหลาย โรคสองอย่างนี้คือโรคทางกาย โรคทางใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคด้วยโรคทางกาย ตลอดปีหนึ่งมีปรากฏ ผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคตลอดสองปีบ้างสามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยีสิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคแม้ยิ่งกว่า ร้อยปีบ้างมีปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดปฏิญาณความไม่มีโรคทางใจแม้ครู่หนึ่ง สัตว์เหล่านั้นหาได้ยากในโลก เว้นจากพระขีณาสพ”...ตถาคต ตอบไม่ตรงคำถามขออภัยนะครับ
โดย
peerawit
จันทร์ พ.ย. 25, 2013 7:57 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ขอถามทุกท่านครับ เวลาเราโดนด่าและตอกย้ำในจุดที่เป็นความผิดของเราจริง ๆ เช่นเราทำงานพลาดเซ็นสัญญาผิดบริษัทเสียหาย หัวหน้า กรรมการบริษัทเรียกไปต่อว่าแรง ๆ ไอ้โง่ ไอ้ชุ่ย ไอ้สับเพร่า ทำอย่างไรถึงจะไม่โกรธ ไม่เสียใจ ครับ ละความเพลิน ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เจริญอานาปานสติ ครับ .... เมื่อเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้ เฉพาะหน้าในภายใน ธรรมเป็นที่มานอนแห่งวิตก ทั้งหลาย (มิจฉาวิตก) ในภายนอก อันเป็นไปในฝักฝ่าย แห่งความคับแค้น ย่อมไม่มี; ....ตถาคต
โดย
peerawit
ศุกร์ พ.ย. 22, 2013 9:28 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ขอถามทุกท่านครับ ในสมัยพุทธกาลหรือหลังจากนั้น มี ฆราวาส หรือ อุบาสก หรือ อุบาสิกา พ่อค้าวานิช หรือ นักธุรกิจ ท่านใด บรรลุธรรมบ้างครับ? พระพุทธเจ้า หรือ ผู้ที่เหมือนพระพุทธเจ้า เท่านั้นที่จะตอบได้ครับ “เพราะกระแสธรรมนั้นย่อมถูกต้องบุคคล ใครเล่าจะพึงรู้ได้นอกจากตถาคต” “อานนท์ เธออย่าพอใจการประมาณบุคคล และถือประมาณในบุคคล เพราะการถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษในตัวเอง เราหรือผู้เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ” ... ตถาคต หรือ ตัวของท่านคนนั้นที่ประเมินตนเอง ตามหลักพระธรรมครับ
โดย
peerawit
ศุกร์ พ.ย. 22, 2013 9:14 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
เห็นที่นี้คุยเรื่องธรรมะกันลองอ่านๆดูแล้วก็ยังงงๆ เลยอยากจะถามว่า จริงๆแล้ว "คำสอนของศาสนาพุทธ คืออะไรหรอครับ" ขอสั้นๆนะครับ อยากได้แก่นจริงๆ แก่นของพระพุทธศาสนา ตามคำพระพุทธเจ้า ...ดูกรพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์จึงมิใช่มีลาภสักการะและความ สรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิ เป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็น ประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด ...ตถาคต พระพุทธเจ้าเกิดมาแก้ปัญหา เกิด แก่ ตาย ครับ ภิกษุ ท. ! ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ; ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ, และธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก. ธรรมชาติ ๓ อย่างนั้น คือ อะไรเล่า ? คือ ชาติ ชรา และ มรณะ (ทุกขอริยสัจ). ภิกษุ ท. ! ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้, ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็น อรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไป ในโลก. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุใดแล ที่ ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ใน โลก, เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ และ ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วจึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก. ... ตถาคต
โดย
peerawit
ศุกร์ พ.ย. 22, 2013 9:09 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
เป็นมนุษย์นี้แสนยาก ภิกษุทั้งหลาย ! สมมติว่ามหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำทั่วถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด; บุรุษคนหนึ่งทิ้งแอก(ไม้ไผ่ !) ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น; ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก, ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้, ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนืออยู่ดังนี้. ในน้ำนั้นมีเต่าตัวหนึ่งตาบอด ล่วงไปร้อยๆปีมันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ. ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : จะเป็นไปได้ไหมที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ? “ข้อนี้ ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ! ที่เต่าตาบอดนั้นร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น”. ภิกษุทั้งหลาย ! ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ใครๆจะพึงได้ความเป็นมนุษย์; ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้นในโลก; ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองไปทั่วโลก. ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่าบัดนี้ ความเป็นมนุษย์ ก็ได้แล้ว; ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว; และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ว่า “นี้ ทุกข์; นี้ เหตุให้เกิดทุกข์;นี้ ความดับแห่งทุกข์; นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.
โดย
peerawit
ศุกร์ พ.ย. 22, 2013 8:47 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
มาเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมกลับมาให้เวลากับทางโลกมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาสำหรับการดูแลการลงทุนในหุ้น ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนทางโลกที่เป็นตัวเลขเงินทองที่ดีมาก แต่ความคืบหน้าทางธรรมกลับถดถอยครับ ขอเรียนถามอาจารย์ด้วยความเคารพครับ อาจารย์ใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัดว่าความคืบหน้าทางธรรมมีการถดถอยลงหรือเจริญขึ้นหรือครับ ขอบคุณครับ ขอแอบตอบต่อครับ [๑๔๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพ แล้ว คติของเธอเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเธอเป็นอย่างไร? ภิกษุณีชื่อนันทามรณภาพแล้ว ... อุบาสกชื่อสุทัตตะกระทำกาละแล้ว ... อุบาสิกาชื่อสุชาดากระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร? [๑๔๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพแล้ว กระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุณีชื่อนันทามรณภาพแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป อุบาสกชื่อว่าสุทัตตะกระทำกาละแล้ว เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวหนึ่งแล้ว จักกระทำที่สุดทุกข์ได้ อุบาสิกา ชื่อว่าสุชาดากระทำกาละแล้ว เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า. [๑๔๗๑] ดูกรอานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วพึงกระทำกาละ มิใช่เป็นของ น่าอัศจรรย์ ถ้าเมื่อผู้นั้นๆ กระทำกาละแล้ว เธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วสอบถามเนื้อความ นั้น ข้อนี้เป็นความลำบากของตถาคต เพราะฉะนั้นแหละ เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส (แว่นส่องธรรม) ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามี นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า. [๑๔๗๒] ดูกรอานนท์ ก็ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว ... จะ ตรัสรู้ในเบื้องหน้านั้น เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ใคร่แล้ว ... เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้แล คือ ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว ... จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
โดย
peerawit
ศุกร์ พ.ย. 22, 2013 8:17 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
มาเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมกลับมาให้เวลากับทางโลกมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาสำหรับการดูแลการลงทุนในหุ้น ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนทางโลกที่เป็นตัวเลขเงินทองที่ดีมาก แต่ความคืบหน้าทางธรรมกลับถดถอยครับ ขอเรียนถามอาจารย์ด้วยความเคารพครับ อาจารย์ใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัดว่าความคืบหน้าทางธรรมมีการถดถอยลงหรือเจริญขึ้นหรือครับ ขอบคุณครับ ขอตอบนะครับ มีเครื่องวัดที่พระศาสดากำหนดไว้ครับ ผู้ได้ชื่อว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ในกรณีนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา. ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต) เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน); แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้. (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่. อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่. อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ. (ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ทรงตรัสอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ, กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว, กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง, กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง, กรณีธรรมารมณ์ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)
โดย
peerawit
ศุกร์ พ.ย. 22, 2013 8:14 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ระยะนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ อยู่ในทางหลายแพรก ว่าจะเดินต่ออย่างไร เวลาก็เหลือน้อยลง สุขภาพก็ถดถอยหลัง จะทำอย่างไรดีกับเส้นทางธรรม ที่ดูเหมือนเส้นขนานกับการลงทุนวีไอ ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ด้วยนะครับ รีบมารู้ อริยสัจสี่ตามที่เป็นจริงครับ ภิกษุ ท. ! เมื่อไฟลุกโพลงๆอยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้น ควรจะทำอย่างไร ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี, เพื่อจะ ดับเสียซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ (เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย).” ภิกษุ ท. ! (แม้กระนั้นก็ดี) วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับ เสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่ ; แต่จะรู้สึกว่า สิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่ง ก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง) สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้ เฉพาะ. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.... ตถาคต เพราะอะไรครับ เพราะว่า [๔๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔สิ่งไหนจะ มากกว่ากัน ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบธรรมตามที่พระ ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญ ร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจเพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ [๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯโดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ ประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ... ของพี่ชายน้องชาย พี่สาว น้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมแห่งญาติ ...ความเสื่อมแห่งโภคะ ... ได้ประ สบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความ เสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัดพอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
โดย
peerawit
ศุกร์ พ.ย. 22, 2013 8:11 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ระยะนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ อยู่ในทางหลายแพรก ว่าจะเดินต่ออย่างไร เวลาก็เหลือน้อยลง สุขภาพก็ถดถอยหลัง จะทำอย่างไรดีกับเส้นทางธรรม ที่ดูเหมือนเส้นขนานกับการลงทุนวีไอ ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ด้วยนะครับ ใช้มรรควิธีที่ตรัสสอนกับมาลุงกายบุตร หรือ ท่านพาหิยะ ก็ได้ครับ บรรลุเร็ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษา อย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็น สักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกร พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อ ทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มี- *พระภาค ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วย พระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป ฯ .... มาลุงก๎ยบุตร ! ในบรรดาสิ่งที่ท่าน พึงเห็น พึงฟัง พึงรู้สึก พึงรู้แจ้งเหล่านั้น ; ใน สิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่า เห็น ; ใน สิ่งที่ท่านฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่า ได้ยิน ; ใน สิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว (ทางจมูก, ลิ้น, กาย) จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก ; ใน สิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว (ทางวิญญาณ) ก็จัก เป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง. มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรม เหล่านั้น : เมื่อ สิ่งที่เห็นแล้วสักว่าเห็น, สิ่งที่ฟังแล้ว สักว่าได้ยิน, สิ่งที่รู้สึกแล้วสักว่ารู้สึก, สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สักว่ารู้แจ้ง, ดังนี้แล้ว ; มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น; มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีเพราะ เหตุนั้น, เมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้น ๆ ; มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้น ๆ, เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง : นั่นแหละ คือที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้.
โดย
peerawit
ศุกร์ พ.ย. 22, 2013 7:58 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
กว่า 20 ปีที่ผมสนใจแนวทางธรรม แต่ได้แต่ทำๆหยุดๆมานาน จน10ปีก่อน ได้เริ่มให้เวลากับการปฏิบัติ แม้ว่ายังต้องอยู่ในโลกที่มีภาระกิจส่วนตัวและชีวิตการงาน เพียงแต่ได้จัดสรรแบ่งเวลามากขึ้น จนเมื่อ7-8ปีก่อน ได้เอาจริงเอาจังอย่างมาก สำหรับการลงทุนของผม สิ่งที่ผมสังเกตเห็นคือ port ของผมไม่ได้เติบโตอย่างที่ผมคิดว่าควรจะเป็น เพราะผมแทบไม่มีเวลาไปติดตามหุ้น ไม่มีเวลาไปพบปะเพื่อนนักลงทุน เยี่ยมชมกิจการ ไม่ได้ประชุมผู้ถือหุ้น หรือ ไปพบผู้บริหาร ประกอบกับแนวคิดส่วนตัวที่เชื่อว่าเราต้องเคร่งศีล หากไม่มีศีลเป็นพื้นฐาน การเจริญทางธรรมจะทำได้ยาก ทำให้ต้องทำความรู้จักกับหุ้นที่ลงทุนอยู่และจะลงทุนอย่างจริงจัง ว่ากิจกรรมของบริษัทเหล่านี้ มีโอกาสทำให้ศีลพร่องหรือไม่ หรือไม่สอดคล้องกับสัมมาอาชีวะในมรรค8 จึงทำให้ไม่ได้ลงทุนในบางหุ้นที่แม้ว่าจะเห็นโอกาสดีมากในทางโลกก็ตาม มาเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมกลับมาให้เวลากับทางโลกมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาสำหรับการดูแลการลงทุนในหุ้น ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนทางโลกที่เป็นตัวเลขเงินทองที่ดีมาก แต่ความคืบหน้าทางธรรมกลับถดถอยครับ ระยะนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ อยู่ในทางหลายแพรก ว่าจะเดินต่ออย่างไร เวลาก็เหลือน้อยลง สุขภาพก็ถดถอยหลัง จะทำอย่างไรดีกับเส้นทางธรรม ที่ดูเหมือนเส้นขนานกับการลงทุนวีไอ ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ด้วยนะครับ ใช้มรรควิธีง่ายตามคำสอนพระศาสดา ที่แนะนำสำหรับคนมีอายุครับ ภิกษุ ท ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การลุ นิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เห็นซึ่ง จักษุว่า ไม่เที่ยง; ย่อมเห็น ซึ่ง รูป ทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง ;ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า ไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า ไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยว่า ไม่เที่ยง. (ในกรณีแห่ง โสตะ มานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อ ความอย่างเดียวกัน ทุก ตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น). ภิกษุ ท ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น. ภิกษุ ท ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ บรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เห็นซึ่งจักษุว่า เป็นทุกข์ ; ย่อม เห็นซึ่งรูป ทั้งหลายว่า เป็นทุกข์; ย่อมเห็นซึ่งจักขุวิญญาณว่า เป็นทุกข์ ; ย่อมเห็นซึ่งจักขุ สัมผัสว่า เป็นทุกข์ ;ย่อมเห็นซึ่งเวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่ เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นทุกข์. (ในกรณีแห่ง โสตะ มานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อ ความอย่างเดียวกัน ทุก ตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น). ภิกษุ ท ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น ภิกษุ ท ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ บรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นซึ่งจักษุว่า เป็นอนัตตา; ย่อม เห็นซึ่งรูป ทั้งหลายว่า เป็นอนัตตา ; ย่อมเห็นซึ่งจักษขุวิญญาณว่า เป็นอนัตตา ; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัสว่า เป็นอนัตตา ย่อมเห็นซึ่งเวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขม สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นอนัตตา. (ในกรณีแห่ง โสตะ มานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อ ความอย่างเดียวกัน ทุก ตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น). ภิกษุ ท ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น กษุ ท ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ บรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? นั้นเป็นอย่างนี้ คือ :- ภิกษุ ท ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : จักษุ เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง? "ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า!" สิ่งใดไม่เที่ยง,สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า? "เป็นทุกข์ พระ เจ้าข้า!" สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา, ควรหรือหนอที่ จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า "นั่นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็นอัตตาของเรา" ดังนี้? "ไม่ ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !" (ต่อไป ได้ตรัสถามและภิกษุตอบ เกี่ยวกับ รูป...จักษุวิญญาณ...จักษุสัมผัส... จักษุสัมผัสสชาเวทนา, ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุนั้นทุกประการต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น เมื่อตรัสข้อความในกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุ จบลงดังนี้แล้ว ได้ ตรัสข้อความในกรณีแห่ง อายตนิกธรรมหมวดโสตะ หมวดฆานะ หมวดชิวหา หมวดกายะ และหมวดมนะ ต่อไปอีก ซึ่งมีข้อความที่ ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุนั้นทุกประการ ต่างกันแต่เพียงชื่อเท่านั้น ผู้ศึกษา ฟังเทียบเคียงได้เอง). ภิกษุ ท ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ สัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ; (ในกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดโสตะ-มานะ-ชิวหา-กายะ-มนะ ก็ได้ ตรัสต่อไปอีก โดยนัยอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุนี้); เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย กำหนัด; เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้มิได้มีอีก". ภิกษุ ท ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น... ตถาคต
โดย
peerawit
ศุกร์ พ.ย. 22, 2013 7:55 pm
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
คำถามอยากถามว่า ถ้าเกิดภัยธรรมชาติร้ายแรงในประเทศไทย และสุดท้ายชีวิตของคุณจะต้องดับสูญในวันที่เกิดภัยธรรมชาตินั้น ในฐานะที่เป็นนักลงทุนแนววีไอจะทำอย่างไร แล้วเส้นทางธรรมที่ศึกษามานั้นจะใช้บทไหนที่จะรับมือกับการเดินทางจากโลก นี้ไปครับ ขอเจริญธรรมและอนุโมทนาความเห็นดีๆ ที่แบ่งปันครับ รู้ลมหายใจเข้าออก ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ ได้นิพพานครับ ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็น สิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ... ตถาคต มีสติ มีสัมปชัญญะ รอคอยการตาย ภิกษุ ท. ! ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ : นี้เป็นอนุสาสนีของเรา สำหรับพวกเธอทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ตามเห็น กายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้ ; เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ เป็นประจำ... ; เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ... ; เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้. อย่างนี้แล ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบ ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรง สังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง. อย่างนี้แล ภิกษุ ท. ! เรียกว่าภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ. ภิกษุ ท. ! ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ : นี้แล เป็นอนุสาสนีของเราสำหรับพวกเธอทั้งหลาย... ตถาคต [๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่า นั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ ฯ [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่บริโภคแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชน เหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว ฯ [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะ ของชนเหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดไม่ เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว ฯ [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะ ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดชอบใจ แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว ฯ [๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้น ชื่อว่าประมาทอมตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชน เหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ ฯ [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อ ว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม ฯ [๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ซ่องเสพแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชน เหล่าใดซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นซ่องเสพแล้ว ฯ [๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่า ใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว ฯ [๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชน เหล่าใดทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว ฯ [๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วยปัญญาอัน ยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ อันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ [๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชน เหล่าใดกำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว ฯ [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชน เหล่าใดทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว ฯ... ตถาคต
โดย
peerawit
ศุกร์ พ.ย. 22, 2013 7:50 pm
0
3
Re: การจัดตั้งสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าฯ และดาวน์โหลดใบสมัคร
โอนเงินวันนี้คับ เอกสารแสกนส่งไปทางอีเมลคับ -สำเนาบัตรประชาชน -ใบสมัคร -สลิปโอนเงิน
โดย
peerawit
จันทร์ มิ.ย. 17, 2013 9:25 pm
0
0
Re: มีใครเคยคิดไหมครับว่า ตลาดให้ premium กลุ่มค้าปลีกเกินไป
ผมคิดครับ ถือ BigC มาตั้งแต่ = 18 บาท CPALL = 1X บาท แต่ขายเพราะเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพราะราคาสูงไป
โดย
peerawit
ศุกร์ ม.ค. 20, 2012 5:52 pm
0
0
Re: หุ้นที่ห้ามซื้อ
หากมีร้อยจะบวกทั้งร้อยเสกสรรค์ ...
โดย
peerawit
ศุกร์ ม.ค. 20, 2012 5:46 pm
0
0
Re: คนแจวเรือ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ประเทศไทยบางทีก็เป็นเวนิสนะครับ ช่วยกันบริจาคทำบุญด้วยนะครับเพื่อนๆ
โดย
peerawit
อังคาร ต.ค. 04, 2011 2:48 am
0
1
84 โพสต์
of 2
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
peerawit
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
เว็บไซต์:
เข้าชมเว็บไซต์
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
พุธ ก.พ. 20, 2008 2:34 pm
ใช้งานล่าสุด:
เสาร์ พ.ค. 13, 2017 7:57 pm
โพสต์ทั้งหมด:
172 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.01% จากโพสทั้งหมด / 0.03 ข้อความต่อวัน)
ลายเซ็นต์
ไม่ประมาท
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว