หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
qQp
Joined: อังคาร มิ.ย. 29, 2010 3:14 pm
105
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - qQp
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: สัมมนา“ทำความเข้าใจพื้นฐานกับ IVL” 18 กค. 13.00-17.30
มีคลิปรึเปล่าครับ ถ้าจะกรุณาให้คนที่ไม่ได้ไปเป็นแนวทางศึกษาด้วย ขอบคุณมากครับ
โดย
qQp
พฤหัสฯ. ก.ค. 19, 2012 11:35 am
0
1
Re: สรุปความรู้ที่ได้จากงานเสวนาของ K.Hongvalue วันที่ 14 ธ.
หนังสือชื่อว่าไรครับจะไปซื้อมาศึกษาบ้าง ชอบประโยคที่คุณฮง เคยเขียนหลายๆข้อความให้แง่คิดและปรัชณาดีครับ
โดย
qQp
พฤหัสฯ. พ.ค. 17, 2012 10:26 am
0
0
Re: คิดนอกคอก ทํานอกตํารา !!!!
เคยอ่านของ โซรอส คร่าวๆ แบบงง เค้าเขียนว่าทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์ ที่อเมริกาเคยใช้ผิดพลาดบิดเบือน อะไรซะอย่าง อ่านแบบ งงๆ เลยไม่แน่ใจว่าจำมาผิดหรือไม่ ถ้าใช่ก็โทษทีครับ :shock: :shock: :shock: แต่ผมกำลังสงสัยว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ช่วงๆหลังๆที่ออกมามันดีจริงๆ หรือ เพราะไกล้เลือกตั้งสหรัฐ มันจะมีกลการเงิน อะไรมาช่วยปรับแต่งให้ตัวเลขที่ออกมาดูดี ได้ไหม หรือมันดีของมันเอง เหอๆ :roll: :roll:
โดย
qQp
พฤหัสฯ. ก.พ. 16, 2012 5:07 pm
0
0
Re: Risk Management, Stocks, and the Debt Crisis !!!!
THKssss :D :D :D
โดย
qQp
พุธ ส.ค. 10, 2011 5:53 pm
0
1
Re: บราซิล - จีน - อเมริกา !!!!
ขอบคุณ ครับ :shock: :shock: :shock:
โดย
qQp
ศุกร์ ก.ค. 08, 2011 11:32 am
0
0
Re: นโยบายประชานิยม ผลกระทบต่อตลาด "หุ้น-ดอกเบี้ย" !!!!
ชอบมาเลยครับ บทความให้ความรู้...ขอบคุณมากที่แบ่งปัน ไว้มาแบ่งปันกันอีกนะครับ ขอบคุณอีกครั้ง :pray: :pray: :pray: :pray:
โดย
qQp
ศุกร์ ก.ค. 08, 2011 11:16 am
0
0
Re: The Next Financial Crisis Will Be Hellish !!!
Inside job อะไร หรอฮะ แหะๆๆ บอกหน่อยจะได้ไปดู จะได้เข้าใจแจ่มแจ้งกว่านี้
โดย
qQp
ศุกร์ มิ.ย. 17, 2011 2:22 pm
0
0
Re: มุมมองของวิกฤติหนี้สินกรีซ
ขอบคุณครับ คุณชุนเช็ก ถ้ามีอะไรขอ share ไว้เป็นความรู้ด้วยครับ
โดย
qQp
ศุกร์ มิ.ย. 17, 2011 2:21 pm
0
0
Re: การลงทุนภายใต้ภาวะ Financial Repression
ขอบคุณครับได้ความรู้ดีมากๆ
โดย
qQp
ศุกร์ มิ.ย. 10, 2011 11:34 am
0
0
Re: The Next Financial Crisis Will Be Hellish !!!
ขอบคุณมากๆ มีสัญญาณไรให้ระวังตัว รบกวนช่วยโพสบอกอีกนะครับ
โดย
qQp
ศุกร์ มิ.ย. 10, 2011 11:04 am
0
0
"The Riskiest Market I've Ever Seen"(ไม่ได้เกี่ยวก
ไม่ได้เกี่ยวกับ SET บ้านเราหรอก คงหมายถึงอเมริกาโน่นแน่ะ แต่เคยคิดเล่นๆ บ้างไหม ถ้าตลาดอเมริกาถล่มจริงๆ เงินจะไหลเข้า หรือ เงินจะไหลออก หนอ !!!! หรือยักษ์ล้ม มันจะล้มเป็นโดมิโน รึเปล่า !!!! :shock: :shock: :shock:
โดย
qQp
พฤหัสฯ. ต.ค. 14, 2010 1:57 pm
0
0
LH ณ เวลานี้มีอะไรดีกว่าอสังหาตัวอื่นๆครับ
เห็นเขาว่า hidden assets ที่ซ่อนอยู่ในบริษัทยังมีอีกเยอะนะ และนโยบายที่จะกลับมาพัฒนาในส่วนของโครงการเพิ่มเข้ามาอีกหลังจากที่ช่วงหลังๆ ไม่ค่อย active เท่าไร รวมถึงทรัพยากรที่พร้อมสรร ไม่ว่าจะมี LH bank อยู่กับตัว อะไรงี้ พูดผิดขอโทษด้วยล่ะกัน..... อิอิ :oops: :oops: :oops:
โดย
qQp
อาทิตย์ ก.ย. 26, 2010 10:10 am
0
0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
lสังเกตจากข้างต้น "จากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกสูงถึงประมาณร้อยละ 60 ของจีดีพี และพึ่งพารายได้เงินตราต่างประเทศ (ทั้งส่งออกสินค้าและบริการ) สูงกว่าร้อยละ 70 ของจีดีพีนั้น "
โดย
qQp
พุธ ก.ย. 15, 2010 11:32 am
0
0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
เงินบาทแข็งค่า : ผลต่อเศรษฐกิจและธุรกิจไทยSource - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจ. (Th) Wednesday, September 15, 2010 08:3813141 XTHAI XECON XFINMKT XBANK V%RESEARCHL P%TFRC ภายหลังจากความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศคลี่คลายลงในช่วงปลายพฤษภาคม 2553 เงินบาททยอยฟื้นตัวกลับสู่แนวโน้มการแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทมีนัยสำคัญค่อนข้างมากในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-กลางกันยายน 2553 โดยเงินบาททะยานข้ามแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาที่ 32.00 และ 31.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขึ้นทุบสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 13 ปี ใกล้ระดับประมาณ 30.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในขณะนี้ (13 กันยายน 2553) คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงเวลานี้ ยังมีความสอดคล้องกับทิศทางของสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นในอัตราที่มากกว่าสกุลเงินเอเชียบางสกุลอย่างชัดเจน และยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อไปได้อีกนั้น ได้จุดประเด็นความกังวลต่อความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกของไทย เพราะนอกจากจะต้องเผชิญกับทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 อย่างหลีกเลี่ยงได้ยากแล้ว ยังต้องเตรียมรับมือกับโจทย์หนักจากการแข็งค่าของเงินบาท โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสกุลเงินของตลาดส่งออกหลักของไทย อาทิ ดอลลาร์สหรัฐฯ และยูโร ในยามที่ สกุลเงินของประเทศคู่แข่งในสินค้าส่งออกบางรายการโน้มในทิศทางที่อ่อนค่าสวนทางกับการแข็งค่าของเงินบาท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทำการวิเคราะห์แนวโน้มของเงินบาท และผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่อภาคธุรกิจของไทย ดังนี้ :- เงินบาทแข็งค่าเป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชีย นับจากต้นปี 2553 ความเคลื่อนไหวของเงินบาทถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากแม้เงินบาทจะไม่ใช่สกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แต่หลากหลายปัจจัยก็หนุนให้เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังจากที่วิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศได้คลี่คลายลงในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2553 ทั้งนี้ อัตราการแข็งค่าของเงินบาทเริ่มทิ้งห่างสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตั้งแต่ในช่วงเดือนสิงหาคม 2553 โดยเงินบาททะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทุบสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 13 ปีใกล้ระดับ 30.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ (ซึ่งเป็นระดับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นหลังจากการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งช่วงปี 2540) และเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาด ณ สิ้นปี 2552 เงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้วประมาณร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ เป็นรองเงินริงกิตของมาเลเซียที่แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 13 ปี และเงินเยนของญี่ปุ่นที่แข็งค่าสุดในรอบ 15 ปี ตามลำดับ โดยปัจจัยแวดล้อมสำคัญที่ทำให้เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความอ่อนแอของเงินดอลลาร์ฯ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาคเอเชีย แรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออกซึ่งมักจะมีมากกว่าความต้องการเงินดอลลาร์ฯ จากฝั่งผู้นำเข้าในยามที่เงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นในเวลานี้ และกระแสเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีแรงหนุนจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของไทย รวมถึงความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯ ปัจจัยสนับสนุนการแข็งค่าของเงินบาท เงินบาทขยับแข็งค่าสอดคล้องกับกระแสความแข็งแกร่งของสกุลเงินเอเชีย * เงินเยนญี่ปุ่นทุบสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 15 ปี * เงินริงกิตมาเลเซียแข็งค่าสุดในรอบ 15 ปี * เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าสุดเป็นประวัติการณ์ * เงินหยวนแข็งค่าแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่มีการปฎิรูปค่าเงินในปี 2548 คำสั่งขายเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ส่งออกทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ตามฐานะการเกินดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดสะสม * ดุลการค้าไทยบันทึกยอดเกินดุลที่ 6.0 พันล้านดอลลาร์ฯ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2553 * ดุลบัญชีเดินสะพัดบันทึกยอดเกินดุลเช่นกันที่ 5.4 พันล้านดอลลาร์ฯ เม็ดเงินลงทุนในตลาดการเงินไทยของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองสิ้นสุดลง * แรงซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติได้เร่งตัวสูงขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ช่วงเดือนส.ค. โดยแรงซื้อสุทธิสะสมในตลาดพันธบัตรของกลุ่มนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 1.638 แสนล้านบาท (~5.3 พันล้านดอลลาร์ฯ) * แรงซื้อสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติทยอยกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่องหลังปัญหาการเมืองในประเทศคลี่คลายลง โดยสถานะซื้อสุทธิสะสมในหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 4.3 หมื่นล้านบาท (~1.4 พันล้านดอลลาร์ฯ) นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิ.ย. เป็นต้นมา (แม้ว่าสถานะซื้อสุทธิสะสมนับจากต้นปี 2553 จะมีเพียง 1.897 หมื่นล้านบาทก็ตาม) สำหรับแนวโน้มของเงินบาทในระยะข้างหน้านั้น เครือธนาคารกสิกรไทย คาดว่า เงินบาทน่าที่จะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และมีโอกาสทดสอบระดับ 30.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในสิ้นปี 2553 นี้ โดยมีแรงหนุนสำคัญดุลการค้าที่อาจยังคงบันทึกยอดเกินดุลได้ต่อเนื่องแม้ยอดเกินดุลรายเดือนอาจจะไม่สูงเทียบเท่ากับที่ทำได้ในช่วง 7 เดือนแรกที่ผ่านมา ขณะที่ ความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าจะปรากฎชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 อาจทำให้ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเอเชีย (รวมทั้งไทย) กับสหรัฐฯ กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้กระแสการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ เมื่อเทียบกับสกุลเงินเอเชียดำเนินต่อไปในระยะข้างหน้า ค่าเงินบาทเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยที่อาจกระทบธุรกิจ แม้การแข็งค่าของเงินบาทอาจมีผลกระทบต่อหลายธุรกิจ อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง แต่ไม่ใช่ตัวแปรสำคัญที่สุดในการกำหนดสถานะผลการดำเนินงาน หรือความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย นอกจากนี้ การวิเคราะห์ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อธุรกิจต่างๆ ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบไปด้วย ซึ่งแต่ละธุรกิจหรือแต่ละสินค้ามีความแตกต่างกันในมิติต่างๆ กล่าวคือ ระดับการพึ่งพาการส่งออก: ธุรกิจที่มีการพึ่งพาตลาดส่งออกสูง จะได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจที่พึ่งพาตลาดในประเทศ โดยในตลาดส่งออกที่มีค่าเงินอ่อนค่า จะทำให้สินค้านำเข้ามีราคาแพงขึ้น ซึ่งจะกระทบกำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาดนั้นๆ ระดับการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป: ธุรกิจที่มีตลาดหลักอยู่ในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีค่าเงินอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทของไทยนั้น จะมีโอกาสได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจที่มีการกระจายตลาดไปยังภูมิภาคเอเชีย และประเทศเกิดใหม่อื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีค่าเงินเคลื่อนไหวในทิศทางที่สอดคล้องกับค่าเงินบาท อีกทั้งยังมีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่โดดเด่นกว่าประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ ยูโรโซนและญี่ปุ่น แต่เนื่องจากค่าเงินเยนของญี่ปุ่นมีทิศทางแข็งค่ามากกว่าเงินบาทในปีนี้ การส่งออกของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นจึงยังมีความได้เปรียบในแง่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ คู่แข่งในตลาดส่งออก: หากคู่แข่งของไทยเป็นประเทศที่มีค่าเงินอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทของไทย ก็ย่อมหมายความว่าไทยมีความเสียเปรียบในแง่การแข่งขันด้านราคามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หากพิจารณาเปรียบเทียบทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า สกุลเงินของประเทศคู่แข่งที่มีค่าเงินอ่อนค่าอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเงินบาท คือ เงินด่องของเวียดนาม เงินหยวนของจีน เงินรูปีของอินเดีย รวมทั้งประเทศในเอเชียใต้อื่นๆ ซึ่งสินค้าที่ต้องแข่งกับประเทศเหล่านี้อาจมีสถานะที่ยากลำบากขึ้น แต่สำหรับทิศทางของค่าเงินของประเทศเอเชียอื่นๆ ละตินอเมริกาและแอฟริกาส่วนใหญ่แล้ว เคลื่อนไหวแข็งค่าสอดคล้องกับเงินบาทของไทย ดังนั้น หากคู่แข่งของไทยเป็นประเทศเหล่านี้ ก็ไม่น่าจะถือว่าไทยเสียเปรียบคู่แข่งจากการที่ค่าเงินบาทแข็ง ระดับการแข่งขันในตลาดส่งออก: สินค้าที่เผชิญการแข่งขันสูง มักมีช่องว่างให้ปรับราคาได้จำกัด หรือยิ่งไปกว่านั้นอาจถูกต่อรองให้ปรับลดราคาลง ซึ่งทำให้ราคาในรูปดอลลาร์ฯ หรือในรูปสกุลเงินหลักอื่นที่ใช้ในการกำหนดราคาส่งออก ซึ่งเดิมต้องเผชิญแรงกดดันอยู่แล้ว เมื่อเงินบาทแข็งก็จะยิ่งทำให้รายได้ที่แปลงเป็นเงินบาทยิ่งลดลงไปอีก ขณะที่อัตรากำไรของสินค้ากลุ่มนี้มักอยู่ในระดับที่ไม่สูงนักทำให้ผู้ส่งออกมีโอกาสขาดทุนจากการส่งออกได้ โครงสร้างการผลิต: สินค้าที่มีโครงสร้างการผลิตที่พึ่งพาปัจจัยการผลิตภายในประเทศสูง จะได้รับผลกระทบมากจากเงินบาทแข็งค่า ขณะที่สินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าสูง ผลกระทบของค่าเงินจะถูกชดเชยจากต้นทุนการนำเข้าที่ต่ำลง ทำให้ได้รับผลกระทบน้อยกว่า และสำหรับธุรกิจที่นำเข้าสินค้าเพื่อขายในประเทศ นอกจากไม่ได้รับผลกระทบแล้ว ยังน่าจะได้รับประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท ปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทาน : ในกรณีสินค้าที่มีความต้องการในตลาดสูง แต่มีอุปทานจำกัด ทำให้ความยืดหยุ่นต่อราคาต่ำ ประเด็นเรื่องค่าเงินบาทแข็งอาจไม่กระทบต่อแนวโน้มการส่งออกของไทยมากนัก ดังเช่นในเวลานี้ สินค้าเกษตรหลายชนิดเริ่มได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวน รวมถึงปัญหาโรคหรือศัตรูพืชระบาด ทำให้ผลผลิตของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้รับความเสียหาย ซึ่งส่งผลให้ราคาเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว มันสำปะหลัง น้ำตาล เป็นต้น ดังนั้น หากสถานการณ์อุปทานยังคงตึงตัวเช่นนี้ต่อไป คาดว่า แรงกดดันจากค่าเงินบาทต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรหลายชนิดน่าจะลดน้อยลงในระยะข้างหน้า เงินบาทแข็งค่า ... ธุรกิจใดกระทบอย่างไร หากพิจารณาจากในด้านสัดส่วนการพึ่งพาการส่งออก โดยเฉพาะการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป พบว่า สินค้าที่มีความเสี่ยงจากโครงสร้างการส่งออกที่กระจุกตัวในตลาดทั้ง 2 ภูมิภาคนี้ (มีสัดส่วนการส่งออกประมาณหรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกไปยังทั่วโลก) ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และไก่แปรรูป เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แต่ละสินค้ายังอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาพร้อมกันไปด้วย โดยสรุป จากทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อไปได้อีกในช่วงระยะ 6-12 เดือนข้างหน้า เนื่องจากไทยยังมีแนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมูลค่าสูง ประกอบกับยังมีแนวโน้มเงินทุนไหลเข้ามายังตลาดเงินตลาดทุนไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทิศทางดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลถึงผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อแนวโน้มการส่งออกของไทยในระยะต่อไป ทั้งนี้ จากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกสูงถึงประมาณร้อยละ 60 ของจีดีพี และพึ่งพารายได้เงินตราต่างประเทศ (ทั้งส่งออกสินค้าและบริการ) สูงกว่าร้อยละ 70 ของจีดีพีนั้น ทำให้ธุรกิจไทยหลายสาขาได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ค่าเงินบาทเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้นจากหลายๆ ปัจจัย ที่จะกำหนดสถานะผลการดำเนินงาน หรือความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย การวิเคราะห์ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อธุรกิจต่างๆ นั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบไปด้วย เนื่องจากสินค้าแต่ละประเภทมีเงื่อนไขทางการตลาดที่แตกต่างกัน เช่น ระดับการพึ่งพาตลาดการส่งออก (Export Ratio) ระดับการพึ่งพาการนำเข้า (Import Content) ระดับการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีค่าเงินอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทของไทย ระดับความรุนแรงของการแข่งขันในตลาดส่งออก ปัจจัยด้านอุปสงค์อุปทาน และคู่แข่งในตลาดส่งออก ซึ่งผู้ส่งออกไทยที่มีคู่แข่งเช่น เวียดนาม จีน และอินเดีย ซึ่งมีค่าเงินอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินบาท ย่อมเสียเปรียบทางการแข่งขัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งจากประเทศเอเชียอื่นๆ ส่วนใหญ่ ละตินอเมริกาและแอฟริกา อาจกล่าวได้ว่าไทยยังไม่เสียเปรียบคู่แข่งมากนักจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าในระดับปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่า ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการแข็งค่าของเงินบาทส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ไทยมีสถานะการแข่งขันที่เสียเปรียบอยู่แล้วในด้านต้นทุนแรงงานเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่มีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่าไทย ซึ่งเห็นได้จากสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ รองเท้า เครื่องหนังและเฟอร์นิเจอร์ ขณะที่ภาวะการแข็งค่าเงินบาทเข้ามาเป็นตัวเร่งให้ธุรกิจที่ประสบปัญหาอยู่แล้วตกอยู่ในสถานะที่ยากลำบากมากขึ้น สำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร แม้โดยปกติแล้วถือเป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้รับผลกระทบเนื่องจากใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก แต่สินค้าบางรายการเริ่มปรากฏแนวโน้มอุปทานในตลาดโลกที่ตึงตัวขึ้น ทำให้แรงกดดันจากค่าเงินบาทแข็งอาจมีน้อยลงกว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ท่ามกลางสภาวการณ์ที่เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่านี้ แนวทางปรับตัวในระยะสั้น ภาคธุรกิจอาจต้องใช้ประโยชน์จากเครื่องมือทางการเงินมากขึ้น เช่น การใช้ Forward หรือ Option ในป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เลือกใช้สกุลเงินในการทำธุรกรรมทางการค้าอย่างเหมาะสมในแต่ละจังหวะเวลาเพื่อลดโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในภาวะที่เงินสกุลหลักทั้งดอลลาร์ฯ เยนและยูโร มีแนวโน้มผันผวน รวมทั้งพยายามกระจายตลาดส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงการค้าเสรีต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้ เพื่อขยายโอกาสทางการค้าอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังควรใช้ประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าในการลดต้นทุนวัตถุดิบหรือนำเข้าอุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต สำหรับในระยะปานกลางถึงระยะยาว ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพื่อหลีกหนีการแข่งขันด้านราคา สำหรับประเด็นเชิงนโยบาย นอกจากการดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคแล้ว ภาครัฐอาจพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการส่งออก ซึ่งอาจรวมไปถึงการให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐสนับสนุนผู้ส่งออกเอสเอ็มอีในด้านสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนและการทำป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐควรเร่งรัดแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้มีการนำเข้าสินค้าทุนซึ่งอาจช่วยลดการขาดดุลการค้าและชะลอการแข็งค่าของเงินบาท
โดย
qQp
พุธ ก.ย. 15, 2010 11:30 am
0
0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
หุ้นภาคบ่ายร่วง 10 จุด โดยสาเหตุที่ติดลบมาจากความกังวลข่าว ธปท.จะออกมาสกัดเงินทุนไหลเข้าไทย วันนี้ (14 ก.ย.) หลังปิดตลาดหลักทรัพย์ภาคเช้าและเปิดตลาดภาคบ่าย ดัชนีหุ้นไทยร่วงลงกว่า 10 จุด จากความกังวลหลังมีกระแสข่าวในห้องค้าว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะออกมาตรการเพื่อสกัดกั้นเงินทุนไหลเข้า ขณะที่ยังไม่มีการออกมาชี้แจงของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อเวลา 15.36 น. ดัชนีอยู่ที่ระดับ 926.90 จุด ลดลง 10.14 จุด หรือ -1.08% ทั้งนี้ แหล่งข่าวจากวงการโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวลดลงเนื่องจากถูกกดดันจากความกังวลกระแสข่าวลือในห้องค้าที่เชื่อว่า ธปท.จะออกมาตรการบางอย่างเพื่อสกัดกั้นเงินทุนไหลเข้า โดยบางกระแสระบุว่าจะมีการประกาศมาตรการในช่วงเย็นวันนี้หรือพรุ่งนี้เช้า อย่างไรก็ตาม มองว่ามาตรการที่นำมาใช้ไม่น่าจะมีผลกระทบตลาดมาก และเชื่อว่าจะสกัดกั้นได้ลำบาก เพราะดูอย่างธนาคารกลางญี่ปุ่นยังไม่สามารถสกัดกั้นการแข็งค่าของเงินเยนได้ เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค จึงเป็นช่วงโอกาสที่จะเข้าซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่ต่างชาติมักจะเข้าลงทุน ขณะที่ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ปฏิเสธที่จะตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงกระแสข่าวลือนี้ โดยกล่าวเพียงวา "ผมไม่ขอให้ความเห็นใด ๆ ทั้งสิ้นในเรื่องนี้" ------------------------------------------------------------------------ เน้นที่ผมไม่ขอแสดงความเห็น คือ เป็นไปได้ที่ ธปท. จะประกาศเอง ? หรือเสนอแล้ว รมต คลัง เด้งออกไป แต่หาก รมต คลัง เด้งออกมา ...ธปท เองมีสิทธิ์ใช้อำนาจโดยตรงแม้ รมต คลังไม่เห็นด้วย หรือการใช้อำนาจในการนี้ ธปท ไม่ต้องรายงาน รมต คลัง ได้หรือไม่ :?: :?: :?: :?:
โดย
qQp
อังคาร ก.ย. 14, 2010 4:14 pm
0
0
สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลใช้มาตราการ Capital control เหมือนปี 2006
รู้สึกความเสียงในการแทรกแซงจะมากขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าคิด ว่ารัฐบาลจะใช้มาตราการใดออกมา จากอันแรกที่งดการขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราว แต่ไม่น่าจะหยุดได้ สัดส่วนของเงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ค่อนข้างมากกว่าตราสารทุนมาก มาตราการจะออกมาในรูปแบบใด น้อ :!: :?: :?: :idea:
โดย
qQp
จันทร์ ก.ย. 13, 2010 11:33 am
0
0
รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ
คุณ peacedev อย่าลืมกลับมาเขียนเพิ่มนะครับ แฟนคลับรออ่านอยู่ ... อิอิ ขอบคุณมากครับที่แบ่งปันความรู้ :lol: :idea: :idea: :idea:
โดย
qQp
พุธ ส.ค. 25, 2010 3:03 pm
0
0
Rich กดซื้อไม่ได้ครับ ใครรู้บ้าง
ต้องซื้อใน cash balance เท่านั้นล่ะมั้ง
โดย
qQp
จันทร์ ส.ค. 23, 2010 4:05 pm
0
0
รู้จักเรื่อง Behavioral finance กันบ้างไหมครับ
โอ้ว ขอบคุณ ข้างบนมากครับ
โดย
qQp
อังคาร ส.ค. 17, 2010 10:45 am
0
0
ตลาดเริ่มไม่มีเหตุผล ครั้งแรก ในรอบหลายปี
คล้ายๆ กับช่วงทักษิน ที่ก่อนหุ้นจะไปแตะ 900 จุดเมื่อ 6-7 ปีที่แล้วรึเปล่า ที่ VOL ตลาดเพิ่มสูงถึง 30-40 หมื่นล้านต่อวัน พอแตะ 900 ปุ๊ป ก็ร่วงป๊บๆๆๆๆๆ ไปเลย เหอๆๆ
โดย
qQp
ศุกร์ ก.ค. 30, 2010 12:18 pm
0
0
มีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะทำให้เราทราบว่า เราควรจะถอนตัวจากหุ
ปล. หุ้นลงก็ทุกข์ หุ้นขึ้นก็ทุกข์ - -' :shock: :shock: :shock: ทำไงไม่ทุกข์ล่ะ.... หึหึ
โดย
qQp
ศุกร์ ก.ค. 30, 2010 12:16 pm
0
0
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
qQp
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
อังคาร มิ.ย. 29, 2010 3:14 pm
ใช้งานล่าสุด:
อังคาร ต.ค. 09, 2012 10:58 am
โพสต์ทั้งหมด:
105 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.01% จากโพสทั้งหมด / 0.02 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว