หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
max888
"Because nobody wants to get rich slow."-Warren Buffett-
CFA
Joined: อังคาร ก.ค. 20, 2010 11:52 am
1395
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - max888
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
ภาพนี้เป็นอีกภาพที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สิ่งที่ SVB ทำเป็นเรื่องเฉพาะตัว ซึ่งธนาคารขนาดใหญ่ไม่มีความเสี่ยงแบบเดียวกันนี้ ภาพนี้เห็นชัดเลยว่า ทุกธนาคารเจอผลกระทบของดอกเบี้ยเหมือนกัน แต่ SVB เลือกที่จะเก็งกำไรหรือไม่ได้มีการป้องกันความเสี่ยงอย่างเพียงพอ โดย Balance sheet ของธนาคารที่เหมือนจะเป็นการใช้ Leverage อยู่แล้ว สถานการณ์ของ SVB ไม่ต่างจากการใช้ Future ที่ Leverage 10x ซึ่งโดยปกติจะทนผลขาดทุนได้ไม่เกิน 10% แล้ว underlying คือ ราคา Bond ที่ลดลงมาจาก peak ถึง -20% ตามที่ post ไว้ข้างต้น แต่ SVB ไม่ได้มีการบริหารความเสี่ยง ยังถือทนผลขาดทุนจนกระทั่งต้องถูกบังคับขายในที่สุด 20230315_091805.jpg
โดย
max888
พุธ มี.ค. 15, 2023 9:23 am
0
5
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
IMG_20230315_091028.jpg ล่าสุด Moody's ปรับลด outlook ของธนาคารในสหรัฐฯเป็น Negative https://www.cnbc.com/2023/03/14/moodys-cuts-outlook-on-us-banking-system-to-negative-citing-rapidly-deteriorating-operating-environment.html
โดย
max888
พุธ มี.ค. 15, 2023 9:14 am
0
3
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
IMG_20230315_090212.jpg Nassim Nicholas Taleb ผู้แต่งหนังสือ Black Swan ให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า SVB มีความบกพร่องในการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร
โดย
max888
พุธ มี.ค. 15, 2023 9:08 am
0
3
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
IMG_20230314_140226.jpg สถานการณ์ล่าสุด คนแห่เปิดบัญชีกับธนาคารใหญ่อย่าง JP Morgan จนล้น JP Morgan บอกว่า ไม่เคยเห็นการย้ายเงินฝากในระดับนี้มาเป็นสิบปี ผลคือ ธนาคารขนาดใหญ่ จะใหญ่ขึ้น ส่วนธนาคารขนาดเล็ก อาจจะค่อยๆหายไปจากระบบการเงินของสหรัฐอเมริกา
โดย
max888
อังคาร มี.ค. 14, 2023 2:05 pm
1
9
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
จากที่สรุป ผมคิดว่าปัญหาหลักๆคือ ไมใช่การมี HTM บน balance sheet แต่เป็นการที่ไม่ได้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเพียงพอ จากที่ฟังบทสัมภาาณ์หลายๆท่านที่มีคำถาม ว่าสถานการณ์ธนาคารใน US เรื่องนี้จะไม่ส่งผลกระทบกับธนาคารไทยอย่างมีนัยยะสำคัญ เรื่องนี้ ส่วนตัวผมเชื่อโดยไม่มีข้อสงสัยเลยแม้แต่น้อยว่าจะไม่มีผลกระทบ และถ้าจะมี จะเป็นผลกระทบากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดจากการลดลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอันเกิดจากบริษัท Startup ที่เป็นลูกค้าของธนาคารกลุ่มนี้โดยเฉพาะใน US ครับ
โดย
max888
อังคาร มี.ค. 14, 2023 12:52 pm
0
3
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
แต่พอเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมา กลายเป็นลมเริ่มเปลี่ยนทิศ เพราะ bond yield สหรัฐดิ่งลงมาจากความกลัว ทำให้ผลขาดทุนที่เคยเกิดขึ้นกับธนาคารเหล่านี้ เริ่มดีขึ้นทันที กลายเป็นธนาคารอื่นๆที่เคยมีปัญหานี้ ได้รับประโยชน์จากการล้มของ SVB ไปโดยปริยาย แต่ก็คงยังต้องติดตามต่อไปว่า ธนาคารเหล่านี้ จะสามารถใช้ window ตรงนี้ แก้ไขสถานการณ์ได้มากน้อยระดับไหน และ FED จะยังขึ้นดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ เพราะถ้ากลายเป็น FED ตัดสินใจคงดอกเบี้ยเพราะเรื่องนี้แล้ว ปัญหาของธนาคารเหล่านี้ ก็จะกลายเป็นปัญหาในอดีตทันที แต่จะปัญหาเรื่องเงินเฟ้อที่ FED พยายามต่อสู้ก็จะไม่ถูกแก้ไข คงต้องติดตามกันต่อไปครับ Screenshot 2023-03-14 123746.png
โดย
max888
อังคาร มี.ค. 14, 2023 12:41 pm
0
3
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
แต่สถานการณ์นี้ มีพระเอกขี่ม้าขาว คือ FDIC เข้ามารับประกันเงินฝากของธนาคารที่เพิ่งต้องปิดตัวไป แต่สถานการณ์ยังวางไจไม่ได้ซะทีเดียว เพราะเงินที่ FDIC มี แม้จะพอที่จะเยียวยาความเสียหายครังนี้ แต่ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่า จะเพียงพอหากที่ความเสียหายอื่นๆเพิ่มเติม ในขณะที่ SVB UK ก็ถูกซื้อโดย HSBC แต่ SVB UK เล็กมาก มี asset เพียงไม่ถึง 5% ของ SVB 333614413_601331284889021_4405455077747745048_n.jpg 335668815_1401106977381972_1655577705331443453_n.jpg
โดย
max888
อังคาร มี.ค. 14, 2023 12:36 pm
0
3
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
ทำให้การที่ SVB ต้องปิดกิจการครั้งนี้ ถือเป็นการที่ีมีธนาคารต้องถูกปิดกิจการ ใหญ่เป็นอันดับสองนับแต่ 2008 แต่อย่างที่เกริ่นมาตลอดครับว่า เป็นเพราะการ take risk ที่สูงและการไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอย่างเพียงพอ bank-failures-silicon-valley-collapse-promo-videoSixteenByNine3000.png Fq4FM11WIAQ5SBY.png
โดย
max888
อังคาร มี.ค. 14, 2023 12:33 pm
0
3
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
นอกจากนี้ หากเข้าไปดูในส่วของเงินกู้ ปรากฏว่าเงินกู้ส่วนใหญ่ ปล่อยกู้ให้ Start up ที่รอการ exit ซึ่งแปลว่า ส่วนใหญ่ cashflow อาจจะยังไม่แข็งแรง ด้วยความที่ Cash flow ยังไม่มี การกู้เลยเป็น Revolving loan พูดง่ายๆคือ ไม่ต้องคืน จ่ายแค่ดอกเบี้ยพอ แล้วจะ roll over ไปเรื่อยๆ พอเป็นแบบนี้ บริษัทก็รายงาน NPL ต่ำมากๆ สาเหตุเพราะ Start up เหล่านี้ จ่ายแค่ดอกเบี้ยมาตลาด คล้ายๆกับหุ้นกู้ที่ Roll over ไปเรื่อยๆ จนกว่าบริษัทจะไม่สามารถออกหุ้นกู้ได้อีก หลายๆท่านน่าจะเคยผ่านสถานการณ์แบบนี้มาแล้ว ตรงนี้อยากจะย้ำให้เห็นภาพว่า ความเสี่ยงที่ SVB กำลัง take อยู่หน้าตาเป็นยังไงครับ messageImage_1678683988829.jpg
โดย
max888
อังคาร มี.ค. 14, 2023 12:30 pm
0
4
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
บริษัทมีฐานทุนเพียง $16bn ซึ่งแปลว่า ถ้าต้องขายทุกอย่างวันนี้ เหมือนถูก margin call พอร์ตแตกทันที ฉันใดฉันนั้น 332191965_235802435496778_3833868462613945627_n.jpg
โดย
max888
อังคาร มี.ค. 14, 2023 12:27 pm
0
4
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
ความจริงสถานการณ์ที่ธนาคารมี Hold to Maturity แบบนี้ ไม่ช่เรื่องแปลก ทุกธนาคารมีเหมือนกัน เพียงแต่ต้องบริหารจัดการ Balance sheet ดีๆ แต่ SVB ถือตราสารหนี้ที่มี Duration สูงทำให้ต้องถูกผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยของ FED แน่ๆ ธนาคารที่มีการจัดการความเสี่ยงตรงนี้ดีๆ จะลดสัดส่วนการถือครองตราสารที่มี Duration ยาว เปลี่ยนเป็นระยะสั้น หรือ Swap เป็น Float เพื่อลดผลกระทบ แต่ปรากฏว่า SVB Bank ไม่ทำ แล้วเหมือนพยายามจะ bet ว่า FED จะต้องลดดอกเบี้ยในสิ้นปีนี้ ซึ่งถ้า FED ลดดอกเบี้ย จะทำให้ผลขาดทุนที่เป็น Unrealized กลับมาเป็นเท่าทุนหรือกำไรทันที เพียงแต่ผู้ฝากเงินไม่ได้รอให้ถึงเวลานั้น แห่มาถอนเงินออกไปซะก่อน ทำให้ต้อง realize ผลขาดทุนตรงนี้ทันที ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ FED ลดดอกเบี้ย ไม่ต่างกับการใช้ Margin แล้ว bet ผลกระกอบการที่เราเชื่อว่า จะเป็นไปตามที่คิดแน่ๆ (ซึ่ง FED ต้องลดดอกเบี้ยแน่ๆในอนาคต) เพียงแต่เกิดเหตุการณ์ตลาดลง ถูก call margin ที่ว่านี้ซะก่อน โดยไม่มีการป้องกันความเสี่ยงไว้ล่วงหน้านั่นเอง อยากให้สังเกตุตัวเลขในตารางว่า ธนาคาร SVB มีผลกระทบของการขาดทุนเทียบกับฐานทุน เกือบ 100% แปลว่าถ้า mark loss วันนี้ คือ พอร์ตแตกทันที และนี่คือความเสี่ยงที่เป็นเหตุเฉพาะตัวของ SVB เท่านั้นยังไม่พอ SVB ยังไม่มีสถาพค่ล่องมากพอหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน มี liquidity ratio แค่ 10% แปลว่า ถ้าโดน margin call แล้วพอร์ตแตก จะไมมีเงินมาเติมและหมดตัวทันที ซึ่งต่างกับธนาคารขนาดใหญ่ที่มีการจัดการความเส่ยงตรงนี้ดีกว่ามากตามภาพ จะเห็นว่า ธนาคารที่ล้มไป ไม่ว่าจะ SVB หรือ FRC มี Liquidity ratio ต่ำมากเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่ที่มี Liquidity ratio เกิน 25% ไปถึง 60% ก็มี ภาพนี้เห็นชัดเจนว่าธนาคาร SVB ไม่ได้มีการบริหารความเสี่ยงแถมยัง take risk แบบสุดโต่งอีกด้วย 204225.jpg
โดย
max888
อังคาร มี.ค. 14, 2023 12:22 pm
0
5
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
ซึ่งพอหันมาดูที่ฐานะทางการเงิน จะเห็นได้เลยว่า ผลของการขาดทุนระดับนี้ แม้จะยังเป็นขาดทุนที่ Unrealized ถ้าต้องขายออกมาทั้งหมด ทำให้ต้อง Realized ทันที ผลคือ จะกระทบฐานทุนทันที ทำให้ทุนที่มีอยู่หายไปทั้งหมด Screenshot 2023-03-14 113312.png สถานการณ์นี้ เป็นที่สงสัยของ Start up community ที่เค้ามีการคุยกันตลอด ทำให้เริ่มมีบางคนไม่ใว้ใจ เริ่มชวนกันถอนเงินออกจากธนาคาร ผมติดตาม Twitter บางคนถึงขนาดว่า กำลังทำฟันอยู่ ต้องลุกจากเตียงแล้วกลับบ้านทันทีเพื่อไปถอนเงิน ถ้าดู balance sheet จะเห็นว่า ธนาคารมีการ Mismatch Asset liability อย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากระยะสั้น แต่เอาเงินไปซื้อตราสารระยะยาว และที่สำคัญคือ ไม่ได้มีการป้องกันความเสี่ยงและดำรงสภาพคล่องอย่างเพียงพอ จริงๆส่วนนึงก็เนื่องมาจากมีการไป lobby กฏหมายเพื่อให้สถาบันการเงินขนาดเล็ก มี room ทำอะไรแบบนี้ได้มากกว่าสถาบันการเงินขนาดใหญ่ตั้งแต่สมัย Trump เป็นประธานาธิบดี Screenshot 2023-03-14 113346.png
โดย
max888
อังคาร มี.ค. 14, 2023 12:13 pm
0
6
Re: สรุปเรื่องราวของ Silicon Valley Bank หลังจากที่ติดตามมาได้สามสี่วันนะครับ
พอไปดู Balance sheet จะเห็นได้ว่า ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของธนาคาร เป็นเงินลงทุนซึ่งหลักๆคือ Treasury และตราสาร MBS ซึ่งโดยทั่วไปถือเป็นตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ โอกาส Default ค่อนข้างน้อย 335040868_6064666480316298_4573806266224644120_n.jpg แต่ธนาคารก็อยู่ได้อย่างสงบเรื่อยมา จนเมื่อ FED ขึ้นดอกเบี้ยรวดเร็ว เรียกว่าเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา ความมาแดงเอาตอนงบที่ออกมา รายงานว่า เงินลงทุนมีผลขาดทุนที่ยังไม่รับรู้อยู่ถึงเกือบ $15bn 335621419_178941291588466_3653566620175907658_n.jpg
โดย
max888
อังคาร มี.ค. 14, 2023 12:05 pm
0
7
Re: เข้าห้องร้อยคนร้อยหุ้นไม่ได้
ปกติเข้าได้ ตอนนี้เข้าไม่ได้แล้วครับ
โดย
max888
อังคาร ก.พ. 28, 2023 12:19 pm
0
0
Re: เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตลาดจะปรับ PE ของหุ้นตัวนั้นๆ หรืออุตสาหกรรมนั้นๆขึ้น/ลง?
ขอเสริมจากพี่ที่ตอบไปก่อนหน้าครับ ถ้าตอบตามทฏษฏี PE มักจะปรับตาม growth ของบริษัทหรืออุตสาหกรรม ตามสมการ Justified-PE-Ratio-Formula.jpg นั่นแปลว่า เราอาจจะพอ quantify ระดับของ PE ที่ควรจะเป็นของบริษัทนั้นๆได้ แต่มุมมอง growth อย่างเดียว อาจจะไม่ครบถ้วน เพราะมีอีกตัวแปรคือ Ke ซึ่งคือ required return ของ Equity นั่นแปลว่า PE จะสูงหรือต่ำ ตามทฤษฏีแล้ว คือ g เทียบกับ Ke ซึ่งไม่ได้ผิดจากหลักการที่ว่า G สิ่งสูง PE ก็จะสูงตาม แต่อีกมุม คือ บางอุตสาหกรรม Ke ต่ำ พอมี growth ที่อาจจะไม่สูงมาก ก็อาจจะทำให้ PE สูงได้ เช่น อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า ที่ PE ถูก rerate ขึ้นมา หรือบางอุตสาหกรรมที่ Ke สูง ถึง growth จะสูง แต่ด้วยความเสี่ยงที่สูงทำให้ Ke สูงตามไปด้วย นักลงทุนมักจะไม่ค่อยให้ PE สูงแม้ growth จะแรง เช่น กลุ่ม commodity หรืออสังหาริมทรัพย์เป็นต้น เพราะฉะน้้นสรปตามทฤษฏีคือ g จะเอาไปเทียบกับความเสี่ยงของบริษัท ค่อยออกมาเป็น PE ที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ยังมีอีกมุม คือ เอา PE ไปเทียบกับ growth ออกมาเป็น PEG ซึ่งปกติถ้าเกิน 1 ไปมากๆ จะถือว่า แพง เป็นต้น อันนั้นตามทฤษฏี แต่ความเป็นจริงในตลาด ราคาก็คือจิตวิทยาหมู่ของนักลงทุน ซึ่งก็มีนักลงทุนไม่น้อยที่ไม่ได้มาสนใจว่า PE ควรจะเป็นเท่าไหร่ ตราบใดที่ ราคาที่เค้าซื้อ แล้วยังเชื่อว่ามีคนที่กล้าซื้อต่อในราคาที่แพงกว่า ในสถานการณ์นี้ก็ต้องเข้าใจว่า อยู่ในสภาพตลาดของการเก็งกำไร พูดอีกอย่างคือ ตลาดจะปรับ PE ขึ้นลงตามสภาวะการเก็งกำไรว่ามากหรือน้อย ไม่สามารถบอกได้ว่า PE ที่เหมาะสมจะเป็นเท่าไหร่ เราจะรู้ต่อเมื่อราคามันฟ้องออกมาแล้วเท่านั้นแหละครับ
โดย
max888
จันทร์ ธ.ค. 12, 2022 9:48 pm
1
8
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
รบกวนสอบถามเกี่ยวกับ ROIC กับ ROCE หน่อยครับ พอดี ถามไปในห้อง value investing แล้วไม่มีคนตอบ ขอถามในห้องนี้อีกทีนะครับ คือสงสัยเรื่องการคำนวณ ROIC , ROCE ครับ ROIC = NOPAT/(Operating assets - AP + PPE ) = EBIT(1-tax)/(Operating assets - AP + PPE ) หรือ ROIC = NOPAT/(Equity + long term debt) ROCE = EBIT / (Assets - Current liabilities) ทีนี้ถ้าดูตัวหารระหว่าง ROIC กับ ROCE แล้วมันเท่ากันทางทฤษฎีเลย ต่างกันแค่ ตัวบนที่ คิดภาษี หรือไม่คือเท่านั้นเอง ดังนั้นค่าที่ได้มันก็ควรจะใกล้เคียงกันต่างกันก็แค่ผลจากภาษีเท่านั้น แต่พอไปดูค่าจากเวบ jitta มันดันห่างกันคนละเรื่องเลย ยกตัวอย่างตัว COM7 Screenshot from 2022-11-28 14-24-57.png ทีนี้ผมลองมานั่งคำนวณดูเอง โดยผมใช้ operating income และใช้ tax rate จาก jitta มาใช้ในการคำนวณ ก็ได้ผลตามรูปล่าง โดยในส่วนของ IC ผมใช้ current assets - cash - AP + PPE Screenshot from 2022-11-28 15-23-37.png ค่าที่ได้ระหว่าง ROIC กับ ROCE มันก็ไม่ได้ห่างกันมาก แบบในเวบ jitta ก็เลยสงสัยครับว่าทำไมในเวบ jitta เค้าถึงได้ค่าอย่างนั้นครับ รบกวนพี่ๆช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ ผมคิดว่า อาจจะต้องกลับไปถามว่า ที่มาของสูตรของ Jitta เวลาคำนวณ ROIC มายังไงครับ แต่ถ้าโดยนิยามทั่วไป สองค่านี้ไม่ควรจะต่างกันมากแบบมีนัยยะสำคัญ แต่ถ้าตัวเลขแบบนี้ บางปีมีติดลบด้วย ซึ่งไม่ควรเกิดถ้าบริษัทมีกำไร ถ้าให้ผมเดา ผมเคยเจอสูตร ROIC อีกวิธีคือ เอากำไรมาหักเงินปันผลด้วย เรียกว่า จ่ายผลตอบแทนให้ที่มาของ capital แล้วยังเหลืออยู่ไหม (ใช้ net profit เพราะถือว่าจ่ายดอกเบี้ยไปแล้ว) แบบนี้คือถ้าไม่อยากเอา NOPAT มาเทียบกับ wacc ความหมายคือ ดูไปเลยว่า จ่ายทั้ง debt ทั้ง equity แล้วยังเหลือมั้ย ลองเอาไปเทียบกับ ROE ส่วนต่างอาจจะคือ payout ratio แบบคร่าวๆ เช่น ถ้าจ่ายปันผล 100% ROIC ที่คำนวณแบบนี้ก็แทบจะไกล้ 0% ถ้า payout ไม่ถึง 100% ก็ทอนไปตามสัดส่วน แต่ส่วนตัวคิดว่า ใช้วิธีแบบปกติน่าจะดีกว่าครับ ของทาง Jitta เค้าอาจจะคิดว่า คำนวณ ROCE มาแล้ว มาคำนวณ ROIC แบบท่าปกติ อาจจะไม่ได้ให้ information เพิ่มขึ้น เลยเลือกที่จะแสดงแบบนี้ แต่ถ้าจะให้ดี ผมคิดว่ากลับไปถาม Jitta โดยตรงเลยจะดีกว่าครับ ว่าเค้าคำนวณมายังไง จะได้ไม่ต้องเดาครับ
โดย
max888
เสาร์ ธ.ค. 10, 2022 7:23 pm
1
1
**เปิดจอง 40 ที่นั่ง CV@CBG วิสิท 23 ส.ค. 65**
ลงทะเบียนครับ
โดย
max888
จันทร์ ส.ค. 08, 2022 5:50 pm
0
0
Re: วันนี้ 13.00 น.*เปิดรับ CV@ILM Online จำกัด 50 ที่นั่ง*
ลงทะเบียน
โดย
max888
พฤหัสฯ. ก.ย. 30, 2021 1:32 pm
0
0
Re: มีท่านใดลงทุนในตลาดหุ้น ด้วย DCF แล้วประสบความสำเร็จบ้างไหมครับ
ผมใช้ DCF ประกอบการตัดสินใจครับ สำหรับผม DCF มีประโยชน์ในมุมที่ทำให้ผมสามารถประเมินมูลค่ากิจการได้ภาพที่ครบถ้วนมากขึ้น และเป็นมุมมองที่สถาบันก็น่าจะใช้ประกอบการตัดสินใจ สาเหตุที่อาจจะทำให้คนไม่อยากใช้ DCF คือ ความซับซ้อนของวิธีการ โดยเฉพาะที่มาของ Free cash flow การเลือกใช้ discount rate ซึ่งใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างซับซ้อน บางคนอาจจะรู้สึกว่าด้วยความที่มันมีหลายตัวแปร ทำให้การใช้งานสำหรับคนทั่วไปจะค่อนข้างยาก ซึ่งก็จริงครับ แต่ PE เอง คนที่จะใช้ก็ต้องเข้าใจถึงพื้นฐานที่มาและข้อจำกัดของ PE ก็มีในแบบของมัน ยกตัวอย่างเช่น WACC เวลาเปลี่ยนที ก็จะมีผลกับ valuation แต่ก็จะมีผลเป็นช่วง ในมุมของ PE ก็เหมือนกัน ไม่ได้ตายตัวว่าจะต้อง PE เท่านั้นเท่านี้ หรือแม้แต่ PE ก็มีการขยับไประหว่างทางได้ ซึ่งนักวิเคราะห์มักจะชอบใช้คำว่า rerate หรือ derate ในมุมของ DCF หรือ มันก็คือการเปลี่ยนแปลงของ risk premium ที่อาจจะเปลี่ยนไป สำหรับผมแล้ว DCF มันช่วยทำให้ผมเห็นภาพชัดขึ้นว่า บริษัทนี้ ธุรกิจแบบนี้ ความเสี่ยงแบบนี้ ตลาดจะให้ PE มันซักเท่าไหร่ครับ เหมือนเวลาถามว่าราคา warrant ควรจะเป็นเท่าไหร่ ไม่ต้องเข้าใจว่า black-scholes model คืออะไรก็ใช้ได้ครับ ประเมินจากความ in-the-money ของมัน คล้ายๆกับคุณไม่ต้องเข้าใจว่าทำไม E=Mc2 ก็เอามันไปใช้ทั้งยั้งงั้นแหละ ไม่ต้องพยายามทำความเข้าใจ theory of relativity ก็ได้เหมือนกัน โดยสรุปผมคิดว่าสองวิธีนี้ไม่ว่าจะ PE หรือ DCF มันให้ผลไม่ต่างกันครับ ต่างกันเรื่องวิธีการกับมุมมอง ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจการที่ predictable ก็ได้ครับ ผมคิดว่าถ้าเราเข้าใจวิธีการอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะวิธีไหน ผมคิดว่าก็ใช้ได้ทั้งคู่ครับ ถ้าเข้าใจทั้งหลายๆวิธีประกอบกัน ก็จะเห็นภาพชัดขึ้นครับ ลองอ่านหัวข้อเรื่องการประเมินมูลค่าบริษัทที่ขาดทุนที่พี่ Picatos เคยเขียนไว้ตามนี้ดูเพิ่มเติมได้ครับ https://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=63595&p=1899055#p1899055 สำหรับบริบทของตลาดหุ้นไทย ผมคิดว่า PE เพียงพอครับ หุ้นไทยหลายตัวใช้วิธีนี้ก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจได้แล้ว แต่ถ้าจะไปท่ายาก ประเมินมูลค่าหุ้น Tech หรือหุ้นที่ยังขาดทุน กำไรยังไม่มา ซึ่งหุ้นในตลาด US หรือ China เป็นแบบนี้เยอะ การใช้ DCF จะช่วยให้คุณเห็นมูลค่าของบริษัทกลุ่มนี้ได้ชัดขึ้นครับ ทำไมหุ้นบางตัว PE100 กลายเป็นหุ้นถูก หุ้น PE12 ดูแพง หรือควรซื้อที่ PE 100 หรือ 120 อันไหนเหมาะสมกว่า ผมอาจจะกล้าซื้อหุ้นที่ PE120 ก็ได้ถ้ามูลค่ามันอยู่ตรงนั้นจริงๆ โดยมองจากหลายๆวิธีอย่างรอบด้านแล้ว เป็นต้นครับ
โดย
max888
อังคาร พ.ค. 11, 2021 2:18 pm
0
4
Re: มีท่านใดลงทุนในตลาดหุ้น ด้วย DCF แล้วประสบความสำเร็จบ้างไหมครับ
ขอบคุณมากเลยครับ ก่อนผมโพสต์กระทู้นี้คือผมไปอ่านของคุณ Picatos นี่แหละครับ แล้วผมก็อยากรู้ว่าเราสามารถใช้วิธีการ(หรือ Template) ของอาจารย์ Aswath Damodaran มาใช้กับหุ้นไทยได้ไหม คุณ max888 พอจะมีตัวอย่างที่ทำไว้สำหรับหุ้นไทยสักตัวไหมครับ อยากลองขอเอามาศึกษาครับ Concept เป็นสากลครับ ส่วนที่จะต่างคือ required return ของตลาด หรือ terminal growth ส่วน projection assumption เป็น company specific อยู่แล้ว ไม่ว่าคุณจะทำ DCF หรือ PE ถ้าถามว่าทำได้ไหม คำตอบคือทำได้ครับ ส่วน template ผมคุ้นๆว่าอาจารย์ Damodaran แกเคย post ตัวที่แกเคยทำไว้เหมือนกัน ลองเอาไปศึกษาดูได้ครับ
โดย
max888
อังคาร พ.ค. 11, 2021 1:52 pm
0
0
Re: มีท่านใดลงทุนในตลาดหุ้น ด้วย DCF แล้วประสบความสำเร็จบ้างไหมครับ
ผมใช้ DCF ประกอบการตัดสินใจครับ สำหรับผม DCF มีประโยชน์ในมุมที่ทำให้ผมสามารถประเมินมูลค่ากิจการได้ภาพที่ครบถ้วนมากขึ้น และเป็นมุมมองที่สถาบันก็น่าจะใช้ประกอบการตัดสินใจ สาเหตุที่อาจจะทำให้คนไม่อยากใช้ DCF คือ ความซับซ้อนของวิธีการ โดยเฉพาะที่มาของ Free cash flow การเลือกใช้ discount rate ซึ่งใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างซับซ้อน บางคนอาจจะรู้สึกว่าด้วยความที่มันมีหลายตัวแปร ทำให้การใช้งานสำหรับคนทั่วไปจะค่อนข้างยาก ซึ่งก็จริงครับ แต่ PE เอง คนที่จะใช้ก็ต้องเข้าใจถึงพื้นฐานที่มาและข้อจำกัดของ PE ก็มีในแบบของมัน ยกตัวอย่างเช่น WACC เวลาเปลี่ยนที ก็จะมีผลกับ valuation แต่ก็จะมีผลเป็นช่วง ในมุมของ PE ก็เหมือนกัน ไม่ได้ตายตัวว่าจะต้อง PE เท่านั้นเท่านี้ หรือแม้แต่ PE ก็มีการขยับไประหว่างทางได้ ซึ่งนักวิเคราะห์มักจะชอบใช้คำว่า rerate หรือ derate ในมุมของ DCF หรือ มันก็คือการเปลี่ยนแปลงของ risk premium ที่อาจจะเปลี่ยนไป สำหรับผมแล้ว DCF มันช่วยทำให้ผมเห็นภาพชัดขึ้นว่า บริษัทนี้ ธุรกิจแบบนี้ ความเสี่ยงแบบนี้ ตลาดจะให้ PE มันซักเท่าไหร่ครับ เหมือนเวลาถามว่าราคา warrant ควรจะเป็นเท่าไหร่ ไม่ต้องเข้าใจว่า black-scholes model คืออะไรก็ใช้ได้ครับ ประเมินจากความ in-the-money ของมัน คล้ายๆกับคุณไม่ต้องเข้าใจว่าทำไม E=Mc2 ก็เอามันไปใช้ทั้งยั้งงั้นแหละ ไม่ต้องพยายามทำความเข้าใจ theory of relativity ก็ได้เหมือนกัน โดยสรุปผมคิดว่าสองวิธีนี้ไม่ว่าจะ PE หรือ DCF มันให้ผลไม่ต่างกันครับ ต่างกันเรื่องวิธีการกับมุมมอง ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจการที่ predictable ก็ได้ครับ ผมคิดว่าถ้าเราเข้าใจวิธีการอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะวิธีไหน ผมคิดว่าก็ใช้ได้ทั้งคู่ครับ ถ้าเข้าใจทั้งหลายๆวิธีประกอบกัน ก็จะเห็นภาพชัดขึ้นครับ ลองอ่านหัวข้อเรื่องการประเมินมูลค่าบริษัทที่ขาดทุนที่พี่ Picatos เคยเขียนไว้ตามนี้ดูเพิ่มเติมได้ครับ https://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=63595&p=1899055#p1899055
โดย
max888
อังคาร พ.ค. 11, 2021 12:45 pm
3
5
Re: **วันนี้ 9 โมง**เปิดรับสมัคร Thai VI Global Forum เปิดประตูสู่หุ้นต่างประเทศ
สมัครครับ
โดย
max888
ศุกร์ ต.ค. 09, 2020 11:03 am
0
0
Re: **เปิดรับ 30 ที่นั่ง** CV@IIG บมจ.ไอแอนด์ไอ กรุ๊ป
ขอจอง 1 ที่ครับ ยังทันไหมครับ
โดย
max888
พุธ ก.ย. 23, 2020 9:01 am
0
0
Re: *วันนี้* เปิดรับ CV@AUCT บมจ.สหการประมูล - (วิสิท 19 ก.ย.62)
จอง 1 ที่ครับ
โดย
max888
พุธ ก.ย. 11, 2019 2:37 pm
0
0
Re: *วันนี้* เปิดรับ CV@AUCT บมจ.สหการประมูล - (วิสิท 19 ก.ย.62)
จอง 1 ที่ครับ
โดย
max888
พุธ ก.ย. 11, 2019 2:37 pm
0
0
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
max888
ระดับ:
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
อังคาร ก.ค. 20, 2010 11:52 am
ใช้งานล่าสุด:
-
โพสต์ทั้งหมด:
1392 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.07% จากโพสทั้งหมด / 0.26 ข้อความต่อวัน)
ลายเซ็นต์
"Because nobody wants to get rich slow."-Warren Buffett-
CFA
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว