หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
New Analyst
Joined: อังคาร ส.ค. 16, 2005 4:42 am
86
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - New Analyst
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
"หมอเลี๊ยบ"ตั้งกก.พัฒนาตลาดทุนใน2 สัปดาห์
เข้าใจว่านี่เป็นผลจากงานสัมมนาเรื่อง "ตลาดทุนไทย...ใครจะผ่าตัด" ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์ และสมาคมนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุน ในวันนี้ ที่เชิญหมอเลี๊ยบไปกล่าวเปิดงาน ซึ่งหมอเลี๊ยบนั่งฟังตลอดครึ่งวันเพื่อเก็บไอเดีย และรับที่จะนำเอาไอเดียข้อเสนอให้ "การพัฒนาตลาดทุน" เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งเสนออย่างเป็นทางการโดยคณะทำงานของนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 1-5 เรื่องที่เสนอเรื่องหนึ่ง คือ ขอให้ตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุน ให้เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา โดยให้รองนายก หรือรัฐมนตรีคลัง เป็นประธาน และมีคณะกรรมการชุดใหญ่ขึ้นมาเป็นทีมผ่าตัด ข้อเสนอทั้งหมดมี 3 แนวทาง 7 นโยบาย 17 มาตรการ หรือที่เรียกกันว่า 3-7-17 หลังจากฟังการสัมมนาเสร็จ หมอเลี๊ยบก็ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะรับไอเดียนี้มาดำเนินการโดยเร็ว เรียกว่าซื้อใจผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนได้เต็มที่ เพราะเสนอแล้วได้รับการตอบสนองที่ดีทันที ซึ่งไม่เคยได้รับการตอบสนองที่รวดเร็วอย่างนี้มาก่อน การเอาหมอที่ไม่รู้เรื่องตลาดทุนมากนักมาเป็นรัฐมนตรีคลัง ก็มีข้อดีตรงนี้ละครับ คือ รับฟังมากกว่า และพร้อมจะลงมือทำให้ เล่ามาเพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมประกอบข่าวครับ
โดย
New Analyst
พุธ ก.พ. 27, 2008 11:38 pm
0
0
ถ้า TESCO / BIG C / Carrefour ขายหนังสือ
เท่าที่เคยฟังผู้บริหารชี้แจงในงาน Opportunity Day เมื่อปีก่อน ได้รับการชี้แจงว่า แผงหนังสือที่อยู่ในสโตร์ของโลตัสทุกสาขา และคาร์ฟูร์ส่วนใหญ่ เป็นสินค้าที่ SE-ED บริหารให้ โดยใช้สาขาของซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ที่อยู่ในนั้น เป็นคนคอยดูแลการจัดสินค้า และการเติมสินค้า ให้ พวกนี้ทาง SE-ED เขาเรียกว่า "จุดขายย่อย" ที่นอกเหนือจาก kiosk ทีมีอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ดังนั้น ที่เห็นกันนั้น คงเป็นส่วนที่ SE-ED เข้าไปบริหารให้ ไม่ใช่ทำกันเอง ผู้บริหารเคยเล่าว่า ที่ซูเปอร์เซ็นเตอร์เหล่านี้ต้องมาให้ SE-ED ช่วยบริหารให้ เพราะพฤติกรรมของสินค้าเหล่านี้ไม่เหมาะกับระบบงานปกติของซูเปอร์เซ็นเตอร์ ที่สำคัญ คือ เป็นสินค้าที่ออกทุกวัน (เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และหนังสือ) และต้องขึ้นสินค้าได้เร็ว มีรายการสินค้าเยอะขณะที่แต่ละรายการขายได้ไม่เยอะนัก มีอายุสั้น ทำให้ต้องคอยหมุนเวียนสินค้าให้ทัน เหล่านี้ไม่สอดคล้องกับระบบงานปกติของเขาที่มักจะต้องใช้เวลาในการทำข้อมูลสินค้าล่วงหน้าหลายวัน และออกแบบมาสำหรับสินค้าที่มีอายุนาน ไม่หมุนเวียนบ่อยนัก ซูเปอร์เซ็นเตอร์หลายค่าย พยายามลองหาซัพพลายเออร์ (เข้าใจว่าเป็นพวกเอเย่นต์นิตยสาร) มาช่วยบริหารพื้นที่นี้ให้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่สามารถทำงานสอดคล้องกับระบบของเขาได้ ในที่สุดต้องขอให้ SE-ED มาช่วยจัดการให้ เท่าที่จำได้มีเท่านี้ ผมเคยไปอังกฤษ เคยเห็นเทสโก้ มีขายหนังสือบ้าง แต่มีไม่กี่ปก เน้นที่ขายดีเป็นกอง โดยขายลดราคา ที่เมืองไทยคงไม่มีศักยภาพทำได้ดีกว่านี้
โดย
New Analyst
เสาร์ พ.ย. 17, 2007 2:06 am
0
0
SE-ED/APRINT/B2S
ชักแตกหน่อไปยังร้านอื่นเพิ่มขึ้นกว่าในหัวข้อกระทู้ จนมาถึง ร้านเส้งโห อีกร้านหนึ่ง พอดีผมเคยไปพักร้อนที่ภูเก็ตมาหลายหน และมีเพื่อนเป็นคนภูเก็ต จึงเคยไปเดินร้านนี้มาหลายหน คุยกับคนขายก็หลายหน จนพอจะมาเล่าเป็นเรื่องได้ ร้านเส้งโห เป็นร้านดั้งเดิมของภูเก็ต เมื่อก่อนเป็นเอเย่นต์ขายหนังสือพิมพ์และนิตยสาร และเปิดหน้าร้านด้วย ต่อมาเมื่อราวสิบ หรือยี่สิบปีก่อน รุ่นลูกได้ขยายมาเปิดร้านหนังสือจริงจัง จนถือว่าเป็นร้านหนังสือที่ดีที่สุดของจังหวัดภูเก็ต ฟังมาว่าในยุคที่ร้านดอกหญ้าเข้ามาเปิดที่ภูเก็ต ร้านเส้งโหได้เปิดร้านหนังสืออีกสาขาหนึ่งในอีกชื่อหนึ่ง เยื้องกับร้านดอกหญ้า เพื่อรับมือกับการเข้ามาของดอกหญ้า แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ไม่แน่ใจในการเปิดสาขาเพิ่มอีก ต่อมาเมื่อ SE-ED ขยายตัวไปตามโลตัส และมีแนวโน้มไปทั่วประเทศ ร้านเส้งโหได้ขอเข้ามาเป็นร้านเครือข่ายของซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์แบบไม่เต็มรูปแบบ (คือ สั่งสินค้าจาก supplier โดยตรงได้เอง) โดยขอใช้ชื่อซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ที่โลตัส ภูเก็ต ซึ่ง SE-ED อนุญาตให้ เพราะต้องการเป็นตัวอย่างที่จะกระตุ้นให้ร้านหนังสือที่มีศักยภาพได้ปรับปรุงร้านให้ดีขึ้นทั้งประเทศ (ตรงนี้เป็นเหตุผลที่ผู้บริหารของ SE-ED เคยเล่าให้ฟังว่าทำไมจึงเปิดร้านเครือข่าย โดยช่วยร้านอื่น เข้าใจว่าร้านเครือข่ายลักษณะนี้มีอีกที่หนึ่ง คือ ที่ชลบุรี ซึ่งอยู่ในโลตัสเช่นเดียวกัน) โดยซีเอ็ดจะออกแบบร้าน ตกแต่ง จัดสินค้า และช่วยฝึกอบรมพนักงานทั้งหมดให้ตามมาตรฐานของซีเอ็ดบุ๊ตเซ็นเตอร์ นอกจากนั้น ยังช่วยปรับปรุงออกแบบ และตกแต่งร้านเดิม ให้ทันสมัยและเหมาะสมขึ้น จึงทำให้ร้านเส้งโหแข็งแรงขึ้นอีก และได้แนวคิดการเติบโตจาก SE-ED ตรงนี้ทำให้ร้านเส้งโห มีความมั่นใจที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น และขยายสาขาเพิ่มไปที่กระบี่ (ผมเคยไปมาหนนึง) และที่หาดใหญ่ (ตามข่าวหนังสือพิมพ์บอกว่าไปซื้อร้านเดิมที่เจ้าของเลิกทำแล้ว) ตอนนี้ก็มาลองเปิดที่กรุงเทพ เป็นสาขาที่ 4 ซึ่งถ้าดูจากชื่อของผู้บริหารร้านเส้งโหที่ให้ข่าวลงในหนังสือพิมพ์ เข้าใจว่าจะเป็นรุ่นหลานมาทำแล้ว
โดย
New Analyst
จันทร์ ส.ค. 06, 2007 6:10 am
0
0
SE-ED/APRINT/B2S
ร้าน Book Smile เป็นร้านหนังสืออีกร้านหนึ่งที่มี Business Model ที่น่าสนใจและน่าติดตาม เพราะน่าจะเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทมากขึ้นในอนาคตอย่างเด่นชัด ในฐานะที่เน้นการเปิดปูพรมทั่วประเทศ และเป็นรายใหญ่สุดของธุรกิจสะดวกซื้อ ที่มีฐานธุรกิจเดิมแข็งแรงมาก และกระโดดเข้ามาในธุรกิจหนังสือ ถือว่ามีความพร้อมมากที่สุดค่ายหนึ่ง เพราะมีกำลังเงิน กำลังคน ประสบการณ์การจัดการ การจัดซื้อ ศูนย์กระจายสินค้า และมีทำเลในมือเป็นของตนเอง ถือว่าครบเครื่องที่สุด ผู้บริหารของ 7-11 เคยให้สัมภาษณ์เมื่อต่อนก่อนเริ่มทำ Book Smile (รวมทั้งในภายหลัง) ว่า ทิศทางของ 7-11 จะเริ่มปรับตัวเองใหม่ไปเรื่อยๆ โดยเชื่อว่าธุรกิจที่มีอนาคตการเติบโตที่ดีจะเป็นอาหารพร้อมทาน และหนังสือ และคงเลี่ยงธุรกิจที่อาจสร้างปัญหาแรงต้านในอนาคตเพื่อให้ธุรกิจยั่งยืน ซึ่งถ้าจะเดาจากตอนนี้ ก็คือ ลดการขายสินค้าที่ไปซ้ำซ้อนกับพวกโชห่วยเพื่อลดแรงต้านในอนาคต โดยไปเน้นสัดส่วนอาหารซึ่งมีกำไรและมีช่องว่างทางการตลาดดีกว่ามากแทน ลดบทบาทการขายสุราและบุหรี่ลงเพื่อลดแรงต้านจากสังคม เพิ่มน้ำหนักการขายหนังสือซึ่งเป็นภาพพจน์ที่ดีขึ้นแทน เริ่มต้น 7-11 เปิดมุมขายนิตยสารและหนังสือพิมพ์ในร้านของ 7-11 ตามทิศทางของ 7-11 ทั่วโลก โดยเน้นสาขาที่มีศักยภาพในกรุงเทพเป็นหลักก่อน และจังหวัดใหญ่ โดยปูพรมไปเกือบพันสาขา แต่ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จนัก เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องการความเร็วในการจัดส่งรายวัน ซึ่ง 7-11 หาสายส่งหนังสือพิมพ์ที่มีศักยภาพมารองรับไม่ได้ ขณะเดียวกันศูนย์กระจายสินค้าของ 7-11 ก็ไม่ถนัดในสินค้าสดรายวันประเภทนี้ ต่อมาเมื่อต้นปี 2544 ผู้บริหารของ 7-11 จึงมีความคิดจะทำเป็นร้านใหญ่ขนาด 2 คูหา ตั้งในทำเลใกล้กับโรงเรียนและสถาบันการศึกษา ใช้ชื่อว่า "เซเว่นทูเดย์" โดยจะขายหนังสนือ หนังสือพิมพ์ เครื่องเขียน เพลง และสินค้าไอที รวมทั้งจะทำหน้าที่แก้ปัญหาระบบลอจิสติกส์ของมุมหนังสือใน 7-11 โดยจะใช้ร้านเซเว่นทูเดย์ เป็นศูนย์กระจายย่อยให้แก่มุมหนังสือของ 7-11 ที่อยู่รายรอบแทน แต่ไม่รู้ว่าแนวคิดนี้ยังใช้อยู่หรือไม่ แต่ 7-11 ประสบปัญหาว่า Business Model ของการเปิดร้านหนังสือลักษณะ Standalone ตามตึกแถว ไม่ประสบความสำเร็จในการทำกำไร ส่วนผสมของสินค้าไม่เหมาะสมเพียงพอ นอกจากนั้น ยังไม่สามารถใช้ชื่อ "เซเว่นทูเดย์" ได้อีกต่อไป เพราะ 7-11 ตัวแม่ ไม่พอใจที่ 7-11 ในไทยใช้ชื่อส่วนหนึ่งของ 7-11 มาใช้ ดังนั้น เซเว่นทูเดย์ จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Book Smile และปิดสาขา Standalone ส่วนใหญ่ และปิดสาขาทดสอบในศูนย์การค้าลง เปลี่ยน Business Model ใหม่ เป็นห้องที่ 3 ของ 7-11 เพื่อลดค่าใช้จ่ายการจัดการลง และให้มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงขึ้นจากลูกค้าเดิมที่เข้ามาในร้าน 7-11 มาอยู่แล้ว ปรับสินค้าไอทีออก เน้นการขายหนังสือมากขึ้น และเพิ่มภาพพจน์ด้วยการจัดประกวดหนังสือ เนื่องจากพื้นที่ขายของ Book Smile มีเพียง 1 คูหา จึงใช้นโยบายหลักของ 7-11 ไนไทย ที่จะเน้นการขายสินค้าที่เดินเร็ว มีการผลิตโดยเฉพาะซึ่งหาซื้อที่ไหนไม่ได้ หรือจนกว่าจะผ่านไประยะหนึ่งก่อน เพื่อให้ได้ส่วนลดสูงขึ้น และได้ความแตกต่าง เชื่อว่า Business Model นี้น่าจะลงตัวสำหรับ 7-11 และคงเป็นทิศทางการขยายตัวระยะยาวต่อไป โดยเป็นห้องที่ 3 ของ 7-11 ในสาขาที่มียอดขายดี ทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าน่าจะหาทำเลดังกล่าวได้อย่างน้อยเกือบพันสาขาได้ และคงมีบทบาทการกระตุ้นการอ่านหนังสือของคนไทยให้เพิ่มขึ้นได้มากในฐานะที่เป็น "ร้านหนังสือสะดวกซื้อ" เพราะลงไปในระดับชุมชนย่อยได้ ผมเคยถามผู้บริหารของ SE-ED ว่าการเปิด Book Smile มีผลกระทบต่อ SE-ED ไหม ได้คำตอบทำนองว่า SE-ED ได้รับประโยชน์ 2 ทาง ทางแรกจากกการเป็น supplier รายใหญ่ของ Book Smile ซึ่งทำให้เติบโตไปพร้อมกันในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจ ทางที่สอง คือ เชื่อว่า Book Smile จะมีส่วนช่วยสร้างฐานคนอ่านให้กว้างขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการหนังสือโดยรวม และ SE-ED ด้วย ที่จะได้ประโยชน์จากฐานคนอ่านที่เพิ่มขึ้นนี้ เพราะเชื่อว่า เมื่อคนเริ่มอ่านหนังสือระดับหนึ่งแล้ว จะอ่านหนังสือตลอดไป และคงต้องการหนังสือที่หลากหลายเพิ่มขึ้น หรือต่อยอดเพิ่มขึ้น ดังนั้น SE-ED ก็จะขยายตัวไปรับลูกค้าของ Book Smile อีกต่อหนึ่ง ในฐานะที่ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ก็วางตัวเป็น "ร้านหนังสือสะดวกซื้อ" มาตั้งแต่แรกด้วยเช่นกัน แต่มีขนาดพื้นที่มากกว่า สินค้าหลากหลายกว่า
โดย
New Analyst
อาทิตย์ ส.ค. 05, 2007 7:12 am
0
0
SE-ED/APRINT/B2S
ทั้ง 3 ร้าน (B2S, SE-ED และนายอินทร์) มี business model ต่างกัน จับลูกค้าคนละกลุ่มเป้าหมายกัน ขอวิเคราะห์ตามประสบการณ์ของคนที่เคยเดินเข้าทุกร้าน และจากข้อมูลที่เก็บตามหนังสือพิมพ์ และที่เคยได้รับทราบจากผู้บริหารของ SE-ED ในวันพบนักลงทุน B2S เกิดจากการรวมแผนกหนังสือ แผนกเครื่องเขียน และเพลง ของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซึ่งระยะหลังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงเอามารวมกันในพื้นที่เดียวกัน และจัดรูปแบบใหม่ตามแนวโน้มของ life style ของคนรุ่นใหม่ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น B2S ซึ่งเป็น Business Unit หนึ่งในกลุ่ม Central Retail Corporation ดังนั้น สินค้าในร้านจึงมีขายหนังสือ เครื่องเขียน เพลง ของที่ระลึก โดยหนังสือมีสัดส่วน 30-40% ของยอดขายทั้งหมด นั่นคือ ภาพพจน์เป็นร้านหนังสือ แต่สินค้าที่ขายมากจริงกลับเป็นเครื่องเขียน ซึ่งจะเห็นได้ว่า สินค้าขายหลักของ B2S ที่เห็นจ่ายเงินที่แคชเชียร์ มักจะเป็นเครื่องเขียน ไม่ใช่หนังสือ สาขาที่มีเสน่ห์ และประสบความสำเร็จดีของ B2S จะเป็นสาขาขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ระหว่าง 1000-3000 ตารางเมตร โดยจะมีขายกาแฟ และมีที่นั่งอ่านหนังสือด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในห้างเซ็นทรัล และโรบินสัน (เท่าที่ดู ในกรณีโรบินสัน จะประสบความสำเร็จเฉพาะโรบินสันบางสาขาที่ยอดขายเยอะ และมีลูกค้าเป็นกลุ่ม B+) ซึ่งมีค่าพื้นที่ถูกเนื่องจากเป็นห้างของกลุ่มเดียวกัน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ ลูกค้าหลัก จะเป็นลูกค้าที่นิยมใช้บริการห้างเซ็นทรัลในกรุงเทพ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้า B+ และต้องการ Life Style ที่มากกว่าลูกค้าของ SE-ED และนายอินทร์ แต่ถ้าเป็นการไปลงในพื้นที่ของศูนย์การค้าอื่น รวมทั้งรูปแบบ Standalone โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้างอื่นในต่างจังหวัด B2S จะใช้โมเดลพื้นที่เล็กลงเหลือเพียง 200-300 ตารางเมตร เพื่อให้ค่าเช่าไม่แพงนัก ทำให้ไม่มีมุมกาแฟ ไม่มีที่นั่งอ่านหนังสือ เสน่ห์จะน้อยลงมาก การที่ต้องการค่าเช่าต่ำ ทำให้มักจะต้องขึ้นไปอยู่ชั้นบนๆ ซึ่งถือว่าทำเลไม่ดีนัก จึงเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันมาก และไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการดึงดูดลูกค้าเท่าที่ควร เคยเห็น B2S เปิดในโลตัส บางกะปิ ชั้น 1 ซึ่งทำเลดีพอสมควร แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนต้องลดพื้นที่ลงเรื่อยๆ เข้าใจว่ากลุ่มลูกค้าในโลตัสไม่ตรงกับสินค้าของ B2S หลังจากนั้น ไม่ได้ข่าวการเปิดในโลตัสอีกเลย แม้แต่การเปิดใน Big C ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน เพราะขนาดเล็กเกินกว่าจะสร้างเสน่ห์ และทำกำไรได้ ขณะเดียวกันลูกค้าก็ไม่ตรงกลุ่มความถนัดของ B2S ทำให้ได้ข่าวว่าในอนาคต B2S จะลดการขยายสาขาในพวกซูเปอร์เซ็นเตอร์ และมาเอาดีในกลุ่มเป้าหมายที่ตนถนัดเท่านั้น ดังนั้น การเติบโตหลักในอนาคต น่าจะเป็นไปตามการเติบโตของห้างเซ็นทรัลเป็นหลัก (ซึ่งช่วงนี้ทางเซ็นทรัลพัฒนา มีการออกข่าวขยายงานหลายสาขาในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า) ด้วยข้อจำกัดของความเป็นเซ็นทรัล และโมเดลธุรกิจที่ต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ (เนื่องจากขายหลายอย่าง) และต้องการกลุ่มลูกค้า B+ ทำให้หาทำเลเพิ่มไม่ง่ายนัก อย่างเป้าหมายในปี 2550 ลดจากเป้าหมายเดิม 10 สาขา ลงเหลือเพียง 5 สาขาเท่านั้น ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า Business Model ขนาดเล็กและกลางยังไม่ประสบความสำเร็จ และเป็นตัวถ่วงทำให้ B2S ขาดทุน หรือแทบจะไม่สามารถทำกำไรได้เลย จึงชะลอตัวก่อน ตามข่าว (ถ้าจำไม่ผิด) บอกว่า B2S ตั้งเป้าหมายยอดขายปี 2550 ไว้ที่เกือบ 4,000 ล้านบาท โดยจะมีสัดส่วนหนังสือประมาณ 30-40% นั่นคือ ยอดขายสินค้าพวกหนังสือตกประมาณ 1,200-1,600 ล้านบาทในปี 2550 ส่วน SE-ED เน้นการเปิดสาขาในดิสเคาน์สโตร์อย่าง Tesco Lotus, Big C, คาร์ฟูร์ ห้างสรรพสินค้าทั่วไปทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด (รวมเซ็นทรัล เดอะมอลล์ และห้างอื่นๆ) และในสถาบันการศึกษา ขนาดส่วนใหญ่จะป็น 100-200 ตารางเมตร ซึ่งมักจะลงในดิสเคาน์สโตร์ หรือห้างขนาดเล็ก ถ้ามากกว่านั้น เช่น 300-600 ตารางเมตร จะลงในห้างขนาดใหญ่ที่มีคนเยอะ อย่างในห้างเซ็นทรัล เดอะมอลล์ และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ตามเอกสารของ SE-ED บอกว่าตั้งเป้าหมายปี 2550 ไว้ที่ 4,100 ล้านบาท ข้อมูลเดิมบอกว่ารายได้ของซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์เป็นประมาณ 85% ของทั้งหมด และถ้าคิดว่าร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ขายสินค้าหนังสือประมาณ 90% ของทั้งหมด นั่นคือ ยอดขายสินค้าพวกหนังสือตกประมาณ 3,137 บาทในปี 2550 ซึ่งมากกว่า B2S ตามสมควร คือ เป็นประมาณ 2-2.6 เท่าของ B2S ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจำนวน transaction ที่ B2S เพิ่งออกข่าวมาว่ามีประมาณ 1.5 ล้านบิลต่อเดือน ส่วนร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์เคยชี้แจงว่ามีลูกค้าซื้อประมาณมากกว่า 2.5 ล้านบิลต่อเดือน ขณะที่ยอดขายหลักของ B2S มาจากเครื่องเขียน ดังนั้น ถ้ามองในมุมนี้ ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ก็น่าจะมียอดขายหนังสือมากกว่า B2S อย่างชัดเจน แต่ถ้าติดเป็นยอดขายเฉลี่ยต่อสาขา B2S คงมากกว่า SE-ED เพราะแม้ SE-ED จะมีจำนวนสาขามากกว่า (B2S คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีสาขาใหญ่และเล็กรวมกัน 135 สาขา ส่วน SE-ED คาดว่าสิ้นปีจะมีสาขาประมาณมากกว่า 271 สาขา โดยไม่นับจุดขายย่อย) แต่มีพื้นที่เฉลี่ยต่อสาขาน้อยกว่าพื้นที่ของ B2S ที่เป็นสาขาใหญ่มากๆ จึงคาดว่าพื้นที่รวมของทั้งสองค่ายนี้คงไม่ทิ้งกันมากนัก แต่ยอดขายดังกล่าวของ B2S มาจากเครื่องเขียนเป็นหลัก เนื่องจาก SE-ED ผูกปิ่นโตไปกับศูนย์การค้า และพวกดิสเคาน์สโตร์เป็นหลัก การเติบโตของ SE-ED จึงขึ้นกับกฎหมายค้าปลีกว่าจะมีผลกระทบมากน้อยเพียงใดต่อการเปิดสาขาใหม่ของโมเดิร์นเทรดเหล่านั้น ส่วนร้านนายอินทร์ เน้นการเปิดร้านขนาด 100 ตารางเมตร หรือน้อยกว่า โดยเปิดแฟรนไชส์ในต่างจังหวัด และเปิดเองในกรุงเทพ มีทั้งที่เปิดในศูนย์การค้า ตึกแถว และโรงพยาบาล โดยถ้าเป็นร้านของตนเองจะมีมุมขายเครื่องดื่มสุขภาพยี่ห้อ H&C ด้วย อีกโมเดลนึงเปิดร้านขนาดใหญ่หน่อย น่าจะราว 200-300 ตารางเมตร ในส่วนที่เป็นห้างสรรพสินค้าของเดอะมอลล์ แต่ความที่ร้านนายอินทร์เน้นการขายหนังสือของตนเอง และหนังสือที่ตนเป็นผู้จัดจำหน่ายมากกว่าการขายหนังสือของคนอื่น จึงอาจจะขาดความหลากหลาย และได้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของอมรินทร์เป็นหลัก ยอดขายของนายอินทร์ไม่น่าจะเยอะนัก น่าจะน้อยกว่าพันล้านบาทมาก เพราะสาขามีน้อยกว่า 2 รายแรก และมีพื้นที่โดยเฉลี่ยน้อยกว่า แนวโน้มในอนาคต นายอินทร์คงไม่สามารถขยายสาขาได้มากนักในศูนย์การค้า แต่คงเน้นทำเลที่ตนมีจุดเด่นชัดเจน อย่างช่นตามโรงพยาบาล ซึ่งเป็นร้านขนาดเล็ก เน้นการขายหนังสือของตนเอง และ H&C ซึ้งทำให้มีกำไรเพียงพอที่จะอยู่รอดได้
โดย
New Analyst
เสาร์ ส.ค. 04, 2007 11:23 pm
0
0
เมื่อไหร่ซีเอ็ดจะกลายเป็นโชว์รูมโชว์หนังสือ
ผู้บริหารของ SE-ED เคยเล่าในที่ประชุมวัน Opportunity Day ว่า ต้องการรองรับระบบการสั่งหนังสือ 1 วันได้ ไม่ว่าจะสั่งผ่านหน้าร้าน หรือสั่งผ่าน online เพื่อให้ร้านเล็กสามารถให้บริการเหมือนร้านใหญ่ได้ และกำลังปรับปรุงกลไกให้ได้ตามนั้นอยู่ ส่วนเรื่องเวบไซต์ก็กำลังปรับปรุงอยู่ แต่ยังไม่ขึ้นของจริง เพราะต้องทดสอบระบบก่อน อนาคตการค้นหนังสือน่าจะดีขึ้นนะ แต่การค้นหาบางส่วนของคำทำได้อยู่แล้วไม่ใช่หรือครับ ผมค้นบ่อยๆ อย่างน้อยก็ไปที่ advance search ก็น่าจะมีตรงนี้ให้เลือกว่าจะเอาบางส่วน หรือจะเอาคำตรงเลย แต่ของเก่าคงยังไม่ user friendly ดีพออย่างที่ว่าไว้ คิดว่าไม่น่าจะไกลแล้วนะ เพราะเห็นข่าวบอกว่าปรับปรุงศูนย์กระจายสินค้าใหญ่ขึ้นแล้ว และพยายามปรับระบบสารสนเทศอยู่ ระบบ online กับสาขาทั่วประเทศก็เสร็จแล้ว คงพยายามให้มีสินค้ามากเป็นแสนรายการที่ศูนย์กระจายสินค้าเลย จะได้ส่งเร็วขึ้น คิดว่าจุดที่ SE-ED น่าจะได้เปรียบในการแข่งขันการขายทาง online ในอนาคต ก็จากการที่มีศูนย์กระจายสินค้าที่มีสินค้าพร้อมส่งเอง มีระบบการส่งหนังสือไปที่สาขาได้ทุกวันอยู่แล้ว (ตรงนี้เห็นว่าคงทำได้ เพราะทุกวันนี้ SE-ED น่าจะส่งหนังสือพิมพ์รายวันไปทุกสาขาทั่วประเทศได้เอง) และลูกค้าที่สั่งผ่านทาง online สามารถระบุได้ว่าจะรับที่สาขาไหนที่สะดวก เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าขนส่ง ทำให้โสหุ้ยรวมของคนสั่งซื้อถูกลง (ค่าหนังสือตามราคาปก-ส่วนลด+ ค่าขนส่ง) กว่าการสั่งซื้อผ่าน online ที่อื่น เพราะระบบขนส่งของไทยยังแพงมากเอาการ ผมเคยสั่งซื้อหนังสือจาก amazon และ barnes & noble พบว่าค่าขนส่งแบบถูกหน่อย ยังมากกว่าครึ่งหนึ่งของราคาหนังสือที่ลดแล้ว บางทีก็พอๆ กับราคาหนังสือเลย เบ็ดเสร็จเหมือนไม่ได้ลดเลย หรือแพงกว่าปกอีก ทั้งที่ตอนแรกดูได้ส่วนลดเยอะ
โดย
New Analyst
จันทร์ เม.ย. 02, 2007 6:13 am
0
0
คิดยังไงกับ SE-ED
ส่วนการอนุมัติหุ้นซื้อคืน ตามที่คุณ MOL เก็บความมาจาก IR ของ SE-ED น่าจะเป็นเรื่องกระบวนการตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และ พรบ.บริษัทมหาชน ตามที่ว่า เพราะในเมื่อมีโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารสภาพคล่อง ก็ต้องมีการขายหุ้นซื้อคืนตามกติกา แต่ถ้าขายไม่หมด หรือไม่ได้ตั้งใจขาย หรือกำหนดราคาขายที่เป็นไปไม่ได้ ส่วนที่เหลือก็จะกลายมาเป็นกระบวนการลดทุนในภายหลัง อยู่ๆ คงไปลดทุนเองไม่ได้ถ้าไม่ได้ผ่านกระบวนการนี้ก่อน เพราะเป็นกติกาภาคบังคับของตลาดฯ ใครอยากรู้รายละเอียดจริงๆ ลองโทร.ถาม IR ของ SE-ED อีกทีนะ นี่ว่าตามที่พอจำได้ พอดีในกระทู้หัวข้อหุ้น SE-ED ก็มีการคุยกันในเรื่องนี้เหมือนกัน ผมเลย copy มาใหอ่านกันเพิ่มเติมดังนี้ คุณ Thawatt บอกว่า "เอารายละเอียดเรื่องความรู้เรื่องการซื้อหุ้นคืนมาฝากครับ สำหรับคนที่สนใจนะครับ http://library.set.or.th/images/set_pub/setnews_thai/VOL5/rule/rule_5_9.pdf" ส่วนคุณ Invisible Hand ว่าอย่างนี้ "การประกาศขายหุ้นซื้อคืนของ SE-ED นั้นเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของตลาดฯ ซึ่งแม้บริษัทใดๆ ที่ซื้อหุ้นคืนจะมีความตั้งใจขายหุ้นออกมา หรือ กรณีที่ถ้าไม่ได้ราคาที่เหมาะสมจึงไม่ขายออกมา หรือ ไม่มีเจตนาจะขายออกมาเลย ก็ต้องประกาศออกมาในแบบฟอร์มและคำพูดเดียวกันหมดครับ หากดูเหตุการณ์ย้อนหลังจะพบว่าบริษัทที่มีการลดหุ้นไปเลย เช่น GMMM Grammy ก็ต้องประกาศแจ้งตลาดแบบเดียวกับที่ SE-ED เพิ่งประกาศครับ ดังนั้นหากดูเงินสดในงบดุลของ SE-ED ที่มีเงินสดในมือจำนวนไม่น้อย และการขยายสาขาใหม่ๆ ของ SE-ED ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนักเพราะส่วนใหญ่เป็นการเช่าพื้นที่ ทำให้ความต้องการเงินทุนในอนาคตไม่มาก นักลงทุนจึงอาจจะคาดการณ์ได้ว่าหากหุ้น SE-ED ไม่ได้ขึ้นจนเกินพื้นฐานมากจริงๆ ทางบริษัทก็ไม่น่าจะขายหุ้นซื้อคืนออกมาครับ ดังนั้นหากบริษัทนั้นๆ ไม่ได้ขายหุ้นซื้อคืนในเวลาที่กำหนด หุ้นที่ซื้อคืนนั้นจะถูกลดทุนไปครับ" และคุณ ประชาชื่น ซอย 8 เข้ามาเสริมว่า "ผมว่ากระแสขายหุ้นซื้อคืนแรงจนลืมดูผลประกอบการปี49 หรือเปล่าครับ ในปี49 ซีเอ็ดเจออะไรมาเยอะนะ ทั้งการเมือง ประท้วง ปัญหาวารสาร หนัสือพิมพ์ การชลอการจับจ่ายของผู้บริโภค แต่ซีเอ็ด ฟันฝ่ามาได้ จนกำไรยังคงเติบโตได้ถึง 11% เสนอผู้ถือหุ้นจ่าย 0.60 บาท สำหรับผลประกอบการ ทั้งปี หรือ 0.30 บาท ในไตรมาส4 ผมพอใจนะ ยังเชื่อมั่นในผู้บริหาร แนวทางทำธุรกิจเพื่อการศึกษา มีหนังสือดีๆ ให้ลูกให้หลาน บรรษัทภิบาลที่ดี ความจริงใจของผู้บริหาร เลยยังรักและศรัทธาในซีเอ็ด ยังไงก็ขอให้เมืองไทยมีร้านหนังสือดีๆ สำนักพิมพ์ดีๆ เพื่อเด็กไทย นะครับ"
โดย
New Analyst
อังคาร ก.พ. 27, 2007 5:15 am
0
0
ดูเหมือน ดร.นิเวศน์จะมอง SE-ED ชนะ ไทยรัฐ
ไทยรัฐเล่นแบบนี้เลยเหรอ มีไทยรัฐบนแผงห้ามมีคมชัดลึก!!! เมื่อเช้าไปซื้อ นสพ.ที่ร้านประจำอยู่ฝั่งธน เจ้าของร้านต้องเดินไปหลังร้านหยิบมาขายให้ อย่างกับมาซื้อของหนีภาษี เลยถามว่าทำไมต้องเอาไปซ่อนหลังร้าน เจ้าของร้านบอกว่าเซลที่มาส่ง นสพ.ไทยรัฐ บอกว่าถ้าจะเอาไทยรัฐไปขายก็ห้ามเอาคมชัดลึกมาขาย ถ้าจะขายคมชัดลึกบนแผงก็จะไม่ส่งไทยรัฐให้ ฟังแล้ว งงๆ ว่า 2 นสพ.นี่มันเกิดเรื่องอะไรกันขึ้นเหรอ ทำไมไม่ห้ามยี่ห้ออื่นด้วย ทำไมไทยรัฐต้องเจาะจง คมชัดลึก แต่วันนี้นั่งรถผ่านร้านหนังสือตามข้างทางบางแผงก็ยังมี 2 ยี่ห้อนี้วางขายคู่กันอยู่ หรือว่ามันจะเลือกปฎิบัติบ้างร้าน - -" ที่แน่ๆเจ้าของร้านที่ซื้อประจำบอกว่าพรึ่งนี้ถ้าจะซื้อ คมชัดลึก ให้ไปซื้อร้านอื่นที่ร้านเขาไม่อยากมีปัญหาเลยจะงดเอา คมชัดลึกมาขายซะงั้น มีใครเจอแบบนี้บ้างไหม หรือเจ้าของร้านแถวบ้านผมมันมั่วนิ่มเลิกขายเนี่ย งงจริงๆ อยากรู้เรื่องจริงๆมันเป็นยังไงกัน จากคุณ : DEDETE - [ 13 พ.ย. 49 12:32:05 ] ข้างบนนี้ไปคัดลอกมาจากเวบบอร์ดของ pantip.com ถ้าใครสนใจไปอ่านรายละเอียดต่อที่ http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A4872665/A4872665.html
โดย
New Analyst
พุธ พ.ย. 15, 2006 1:49 am
0
0
ดูเหมือน ดร.นิเวศน์จะมอง SE-ED ชนะ ไทยรัฐ
ซีเอ็ดจัดระบบสายส่ง โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2549 11:08 น. ซีเอ็ดงัดลูกอ้อนเหล่าสำนักพิมพ์ หวังให้ส่งหนังสือถึงศูนย์กระจายสินค้าของซีเอ็ดบุ๊ค เซ็นเตอร์โดยตรง หลังถูกหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่คว่ำบาตรขอร้องให้เอเย่นต์ทั่วประเทศงดส่งหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้ร้านซีเอ็ดในต่างจังหวัดทุกสาขา ล่าสุด 1 พ.ย.นี้ เหตุการณ์ได้ลามเข้าสู่กรุงเทพฯ เผยรายได้หายไปกว่าวันละ 5 แสนบาทหลังถูกกีดกันในการจำหน่ายสินค้าตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.เป็นต้นมา แต่ยังเชื่อมั่นรายได้รวมยังเป็นไปตามเป้าที่ 3,800 ล้านบาท วานนี้ (1 พ.ย.) บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เชิญสำนักพิมพ์ต่างๆกว่า 100 สำนักพิมพ์ เข้าร่วมฟังถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ที่ทางซีเอ็ด ประสบปัญหาในการจัดหาหนังสือพิมพ์และนิตยสารเข้ามาจำหน่ายในร้านไม่ได้ นายทนง โชติสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเริ่มขึ้นจากหลังวันปฏิวัติ คือวันที่ 20 ก.ย. นั้น มีหนังสือพิมพ์หัวใหญ่ฉบับหนึ่งที่ออกหนังสือพิมพ์ช้า ทำให้เอเย่นต์บางรายต้องมีการส่งหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆออกไปยังร้านหนังสือต่างๆก่อน เพราะไม่มั่นใจว่าหนังสือพิมพ์หัวดังกล่าวจะออกทันหรือไม่ ผลปรากฏว่าในวันนั้นร้านหนังสือซีเอ็ดที่ไม่มีหนังสือพิมพ์หัวดังกล่าวจำหน่ายมีเพียง 9 สาขา จากจำนวน 210 สาขาทั่วประเทศ และนั่นคงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่หัวดังกล่าวเกิดความไม่พอใจ จึงได้มีการขอร้องให้ทางเอเย่นต์ในต่างจังหวัดทั้งหมด หยุดการส่งหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้กับร้านซีเอ็ดทุกสาขาในต่างจังหวัด โดยในวันที่ 26 ก.ย. 2549 บริษัทฯได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากทางเอเย่นต์ที่จัดส่งสินค้าว่า หลังจากวันที่ 1 ต.ค.นี้ จะไม่มีหนังสือพิมพ์ชั้นนำจำหน่ายทั่วประเทศ ทำให้ทางบริษัทฯได้มีการประสานงาน ขอเข้าพบผู้บริหารของหนังสือพิมพ์ดังกล่าว เพื่อชี้แจงความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่ได้รับการปฎิเสธในการขอเข้าพบ ในเวลาต่อมา ระหว่างวันที่ 13-14 ตุ.ค. ที่ผ่านมา มีกระแสข่าวออกมาว่า หนังสือพิมพ์หัวดังกล่าว ต้องการจัดระเบียบร้านหนังสือที่อยู่ในกลุ่มโมเดิร์นเทรดเพื่อจัดระเบียบให้ง่ายขึ้น โดยได้มีการขอร้องให้เอเย่นต์งดการส่งนิตยสารและหนังสือพิมพ์ให้กับร้านซีเอ็ดทั้งหมดในต่างจังหวัด ซึ่งในขณะนี้กำลังลามเข้าสู่กรุงเทพมหานครแล้ว นายทนง กล่าวต่อว่า ทางบริษัทฯได้พยายามที่จะประสานงานไปทางเอเย่นต์เช่นเดียวกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ถึงแม้จะมีบางรายที่ยังมีความต้องการที่จะส่งหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้กับซีเอ็ด แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะได้รับการขอร้องจากหนังสือพิมพ์หัวใหญ่ดังกล่าวนั้นเอง แต่ทั้งนี้ทางเอเย่นต์เสนอแนวทางแก้ไขให้ด้วยว่า ให้ทางบริษัทฯปรึกษากับทางสำนักพิมพ์โดยตรงว่ามีความประสงค์ที่จะส่งสินค้าให้กับซีเอ็ดหรือไม่ ถ้ามีความต้องการอยู่ ทางเอเย่นต์ก็จะจัดส่งให้ แต่ถ้าไม่สามารถจัดส่งให้ได้จริงๆ ทางสำนักพิมพ์จะต้องเห็นผู้จัดส่งสินค้าให้กับซีเอ็ดโดยตรง ไม่อยากเชื่อว่า ในสังคมการค้าเสรีแบบนี้ จะมีใครบางคน ที่สามารถกำหนดได้ว่า จะให้เอเย่นต์ทั่วประเทศ ส่งสินค้าให้ใครหรือไม่ให้ใครก็ได้ และสามารถบอกให้ร้านหนังสือจะขายอะไร หรือไม่ให้ขายอะไรก็ได้ ในวันนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น จะเป็นลบหรือเป็นบวกก็ตาม เพียงแค่สำนักพิมพ์ต่างๆร่วมกันทำให้ส่วนรวมเจริญก้าวหน้า วงการสิ่งพิมพ์ก็จะแข็งแรง ยั่งยืน ต่อไป ดังนั้นการเชิญให้มารับฟังสถานการณ์ในวันนี้ ก็เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการของแต่ละสำนักพิมพ์ในครั้งนี้ว่า มีความประสงค์ที่จะส่งนิตยสารให้กับร้านซีเอ็ดอยู่หรือไม่ ถ้าต้องการก็ให้กรอกแบบสอบถามและส่งมาที่บริษัทฯ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทางด้านบริษัทฯเองนั้น มีแผนที่จะปรับศูนย์กระจายหนังสือ ซีเอ็ด บุ๊ค เซ็นเตอร์ที่มีอยู่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการระบบการกระจายสินค้าให้ดีขึ้น โดยทางสำนักพิมพ์ต่างๆเพียงส่งสินค้าตรงมายังศูนย์กระจายหนังสือเท่านั้น และทางศูนย์ จะเป็นผู้ทำการกระจายไปทั่วประเทศเองทั้งหมด ซึ่งช่วงแรกๆของการดำเนินงานอาจเกิดอุปสรรคบ้าง แต่มั่นใจว่าจะดำเนินการได้สมบูรณ์ในระยะเวลาไม่นาน สำหรับสถานการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้น ส่งผลกระทบให้บริษัทฯขาดรายได้ไปกว่าวันละ 5 แสนบาท ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา ที่เกิดจากการไม่มีการจำหน่ายหนังสือพิมพ์และนิตยสาร แต่ทางบริษัทฯได้ดำเนินการแก้ไขในเบื้องต้นไปแล้ว ด้วยการนำเอาพ๊อกเก็ตบุ๊ก มาวางจำหน่ายแทนที่ ซึ่งนิตยสารที่หายไปจากแผงนั้น ประมาณการณ์ไว้ที่ 600 กว่าหัว ส่วนหนังสือพิมพ์นั้น ยังคงมีสำนักพิมพ์หัวใหญ่ที่ยังคงให้ทางบริษัทฯจำหน่ายให้อยู่ เช่น เครือมติชน เดลินิวส์ คมชัดลึก แต่สำหรับสยามสปอร์ต มีกระแสข่าวออกมาว่าจะเริ่มมีการงดส่งบ้างแล้ว อย่างไรก็ตามถึงแม้จะเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ยังเชื่อมั่นว่า บริษัทฯจะยังคงมีรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้คือ 3,600-3,800 ล้านบาท อ่านข่าวข้างบนแล้ว คงได้ข้อมูลชัดเจนขึ้น เหตุที่หนังสือพิมพ์รายใหญ่สั่งให้งดส่งอะไรก็ได้นั้น น่าจะเป็นเพราะมีกลไกควบคุมเอเย่นต์ได้ครับ เหมือนอย่างที่ตัดกระทู้มาเล่าในหัวข้อก่อนๆ ว่า เอเย่นต์รายใดไม่มีไทยรัฐขายนั้นคงเดือดร้อน ทีนี้เอเย่นต์เป็นตัวเชื่อมระหว่างรวมห่อ และแผงลอย ถ้าควบคุมเอเย่นต์ได้ทั้งประเทศ ก็ควบคุมรวมห่อได้ด้วยเช่นกัน เพราะสามารถสั่งเอเย่นต์ไม่ให้รับสินค้าจากรวมห่อไปขายทั่วประเทศได้ และนี่เอง ที่ทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นต้องส่งตรงให้ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ (ตามข่าว)โดยไม่ผ่านระบบเอเย่นต์ เพราะระบบพิการไปแล้วสำหรับหนังสือพิมพ์ฉบับอื่น และนี่เองที่ทำให้คุณสนธิ แห่งผู้จัดการโวยวายออกทาง ASTV ให้บอยคอตหนังสือพิมพ์รายใหญ่นั้น เพราะทำให้หนังสือพิมพ์ผู้จัดการไม่มีขายที่ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ไปด้วย ซับซ้อนซ่อนเงื่อนหน่อยนะครับ
โดย
New Analyst
อังคาร พ.ย. 14, 2006 10:13 pm
0
0
ดูเหมือน ดร.นิเวศน์จะมอง SE-ED ชนะ ไทยรัฐ
มีข่าวลงหนังสือพิมพ์ (ถ้าจำไม่ผิด เข้าใจว่าจะเป็นมติชน หรือประชาชาคิธุรกิจ) ว่า SE-ED เสียหายจากยอดขายหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ในต่างจังหวัด วันละประมาณ 500,000 บาท ตั้งแต่ 16 ต.ค. เป็นต้นไป ก็เท่ากับเสียหายไปประมาณ 38 ล้านบาทในปีนี้ หากเทียบกับเป้าหมายยอดขายของ SE-ED ในปีนี้ที่ 3,600-3,800 ล้านบาท ก็เท่ากับว่าลดลงไปประมาณไม่เกิน 1% ของยอดขายปีนี้ แต่ถ้าคิดว่ากำไรขั้นต้นสุทธิ (ตามข่าว) ของส่วนนี้เป็น 15% และมีภาษีนิติบุคคลอีก 25% ก็เท่ากับว่ากำไรสุทธิหลังภาษีลดลง 4.3 ล้านบาท แต่ตามข่าวในหนังสือพิมพ์บอกว่า SE-ED ไม่ได้ยอมให้ยอดขาย และกำไรสุทธิลดลงตามนี้ทั้งหมด เพราะ SE-ED ได้จัดสินค้าที่มีสภาพการทำกำไรดีกว่ามาขายเพิ่มเติมแทนที่บนชั้นที่วางหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร (พอดีผมอยู่กรุงเทพ เลยไม่รู้ว่า SE-ED เอาอะไรมาขายชดเชยยอดขายแทนที่ในสาขาต่างจังหวัด ใครที่อยู่ต่างจังหวัดช่วย post มาบอกด้วยก็แล้วกัน) ทีนี้กับคำถามว่า ทำไม SE-ED จึงแต่งตั้งกานดา เป็นผู้จัดส่งหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร แต่ผู้เดียว ?? ผมเข้าใจว่า หนังสือพิมพ์คงลงข่าวผิด ที่จริงน่าจะเป็นว่า กานดาเป็นรายใหญ่รายหนึ่งในเขตกรุงเทพ แต่คงไม่ใช่รายเดียว เพราะอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง บอกว่า เรื่องราวที่บานปลายมานี้ เกิดจากวันที่ 20 ก.ย. (หลังวันรัฐประหาร) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออกช้ากว่าฉบับอื่นหลายชั่วโมง กานดาซึ่งเป็นคนส่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐให้กับร้านซีเอ็ดจำนวนหนึ่ง (ถ้าจำไม่ผิด น่าจะราว 5-10 สาขา จำไม่ได้แน่ขัด) ไม่ยอมคอย ทำให้ไทยรัฐไม่พอใจ และสั่งงดส่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐให้ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ทั้งประเทศกว่า 200 สาขา ตามข่าวบอกว่า ผู้บริหารของ SE-ED พยายามขอเข้าพบเพื่อชี้แจง แต่ทางผู้รับผิดชอบของไทยรัฐไม่ยอมให้เข้าพบ เพราะต้องการลงโทษ SE-ED ให้ดูเป็นเยี่ยงอย่าง ทีนี้ถ้าเดาต่อ ว่าทำไมเหตุการณ์บานปลาย ก็เดาว่า เพราะงดส่งก็แล้ว คงเห็นว่า SE-ED ยังไม่เดือดร้อน แถมหนังสือพิมพ์อื่นคงขายดีขึ้นอย่างชัดเจน จึงสั่งเอเย่นต์งดส่งหนังสือพิมพ์อื่น และนิตยสารทั้งหมด ตามที่ผมได้ copy กระทู้จากเวบไซต์ผู้จัดการมาก่อนหน้านี้ มาช่วยเล่า + เดา เสริมได้เท่านี้ครับ
โดย
New Analyst
อังคาร พ.ย. 14, 2006 9:04 pm
0
0
ดูเหมือน ดร.นิเวศน์จะมอง SE-ED ชนะ ไทยรัฐ
พอดีเห็นคุณ june1500 และคุณ Eto Demerzel คุยกันเรื่อง SE-ED พอดีผมเคยเล่าข้อมูลเรื่องเหล่านี้มาบ้างในกระทู้ SE-ED ใน "ร้อยคนร้อยหุ้น" จึงขออนุญาตเข้ามาเสริม เส้นทางเดินของสินค้าพวกนิตยสาร น่าจะเป็นอย่างนี้นะ (ถ้าไม่ถูกก็เชิญท่านผู้รู้มาเพิ่มเติมกันหน่อยนะ) ผู้ผลิตนิตยสาร ---> รวมห่อ (หรือผู้รับจัดจำหน่าย) ซึ่งนิตยสารเล่มนึงจะมีแค่รวมห่อเดียว แต่รวมห่อนึงรับจัดจำหน่ายหลายชื่อ ---> เอเย่นต์ในกรุงเทพ และต่างจังหวัด ที่รับสินค้ามาจากหลายรวมห่อ แล้วมากระจายลงร้านค้าในพื้นที่ของตน ---> ร้านหนังสือ หรือแผงลอย ที่มักจะรับสินค้าทั้งหมดจากเอเย่นต์รายเดียว เพื่อความสะดวกในการรับ และคืนสินค้า ในความหมายนี้ กานดา คือเอเย่นต์ในเขตกรุงเทพ ที่ต้องแข่งขันกับเอเย่นต์รายอื่นในการได้ร้านค้ามาอยู่ในความรับผิดชอบขอบตน กานดาไม่ใช่บริษัทที่ SE-ED ตั้งขึ้นมานะครับ เป็นเอเย่นต์อาชีพรายหนึ่ง เดี๋ยวจะเข้าใจผิดไปใหญ่ คนละองค์กรกันครับ ลองมาอ่านความเห็นของกระทู้หนึ่งในเวบบอร์ดผู้จัดการครับ คงได้เค้าว่ามันเกิดอะไรขึ้น ความคิดเห็นที่ : 14 โดยคุณ : เอเย่นต์หัวใหม่ ♣ เกมนี้ หัวเขียว พยายามสกัดดาวรุ่ง โดยหาเหตุต่างๆนาๆ มารังแกซีเอ็ด โดยบีบเอเย่นต์ต่างจังหวัดอย่างพวกเรา ให้ต้องงดส่งหนังสือพิมพ์และนิตยสารแก่ร้านซีเอ็ด โดยอ้างว่าซีเอ็ดไปบีบส่วนลดบ้าง ไปข้ามเขตเอเย่นต์บ้าง และตั้งเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้ให้ซีเอ็ดต้องทำตาม ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ซีเอ็ดจะทำตาม แล้วมาบอกคนอื่นว่าเอเย่นต์ไม่อยากค้าขายกับซีเอ็ด อันที่จริง พวกเราชาวเอเย่นต์ต่างจังหวัดต้องการค้าขายกับซีเอ็ด เพราะที่ผ่านมาไม่มีปัญหาอะไรกันเลย แต่เราถูกบังคับให้ต้องมาบีบซีเอ็ด ซึ่งเป็นคู่ค้าที่ดี จ่ายเงินตรงตามกำหนด พวกเราบางคน ไม่เห็นด้วย ไม่ยอมทำตาม อย่างลุงทวี ที่ร้านประณอม ชลบุรี ก็โดนแล้วเสียงอมพระราม หัวเขียวปากบอกว่าใครอยากค้าขายกับซีเอ็ดก็ทำไป ไม่ว่ากัน เป็นเรื่องของแต่ละคน แต่พอลุงทวียังส่งซีเอ็ดอยู่ ก็แกล้งกันแบบที่น่าเกลียดเอามากๆ จนทุกคนในวงการสงสารลุงทวี และป้าประณอม ที่ถูกรังแกแบบนั้น มีอย่างที่ไหน ลดยอดหนังสือพิมพ์ของตนจากหกพันกว่าฉบับต่อวัน เหลือเพียง 20 ฉบับ แถมเอารถบรรทุกขนหนังสือพิมพ์ของตนไปจอดหน้าร้านประณอม และเปิดท้ายขายหนังสือพิมพ์หัวเขียว แล้วยังเปิดเอเย่นต์ใหม่ จากนั้นดึงซับเอเย่นต์ไม่ให้ไปรับจากร้านประณอม เรียกว่าแกลังกันทุกรูปแบบ จนทุกคนสงสาร แต่ลุงทวี และป้าประณอม กลับบอกพวกเราว่า ลุงเลือกทางเดินของลุงเอง ลุงมีความสุขที่ได้ทำอย่างที่ควรทำ ลุงปลดแอกจากหัวเขียวแล้ว ลุงมีความสุข พวกเธอซิ ยังติดแอกกันอยู่ พวกเราชาวเอเย่นต์ไม่มีใครกล้าหือยักษ์หัวเขียว เพราะเขาขู่กันรายวัน แต่งเรื่องยกเมฆหลอกพวกเราไปเรื่อยๆ เพื่อให้พวกเรากลัว ซึ่งก็ได้ผล เพราะพวกเรากลัวกันจริงๆ พวกเราบางคนอยากจะแหกคอก หัวเขียวรู้เรื่อง ก็เรียกพวกเราไปกล่อม ทั้งปลอบทั้งขู่ตั้งแต่เย็นยันเช้า ไม่ยอมให้พวกเรากลับ จนพวกเราไม่กล้ากันหมด พวกเราไม่มีทางออก จึงขอมาระบายที่นี่หน่อยนะ คงพอได้เค้าบ้างแล้วนะครับ ผมคิดว่าสงครามที่เกิดขึ้นตอนนี้ ก็มาจากความกลัวของพวกรายใหญ่ว่าดาวรุ่งจะใหญ่เกินไปจนหากปล่อยไปอาจจะสั่งกันไม่ได้ เพราะบังเอิญธุรกิจนี้ยังมีเรื่องการห้ามข้ามเขตกันอยู่ ยังมีเรื่องอิทธิพลกันอยู่ เพียงแต่ดาวรุ่งที่ว่านี้ คือ กานดา หรือ SE-ED เท่านั้นเองที่กำลังถูกสกัด เพราะพออ่านข่าวหนังสือพิมพ์หลายฉบับมาปะติดปะต่อเรื่องกัน น้ำหนักกลายเป็นว่าไปอยู่ที่การสกัดกานดา ไม่ใช่การสกัด SE-ED !! เพียงแต่จะสกัดกานดาให้อยู่หมัด ต้องสกัด SE-ED ไม่ให้ไปยุ่งกับกานดา เพื่อโดดเดี่ยวกานดาให้ได้ นี่วิเคราะห์ตามเนื้อผ้านะครับ สลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนหน่อย
โดย
New Analyst
อังคาร พ.ย. 14, 2006 4:16 pm
0
0
ไทยรัฐ vs ซีเอ็ด
พอดีเห็นว่ามีการเปิดกระทู้เรื่องนี้ขึ้นมา จึงขอคัดลอกจาก ร้อยคนร้อยหุ้น ในหัวข้อ SE-ED มาให้อ่านกัน จะได้ไม่ต้องวิ่งไปอ่านจากร้อยคนร้อยหุ้น ซีเอ็ดจัดระบบสายส่ง โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2549 11:08 น. ซีเอ็ดงัดลูกอ้อนเหล่าสำนักพิมพ์ หวังให้ส่งหนังสือถึงศูนย์กระจายสินค้าของซีเอ็ดบุ๊ค เซ็นเตอร์โดยตรง หลังถูกหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่คว่ำบาตรขอร้องให้เอเย่นต์ทั่วประเทศงดส่งหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้ร้านซีเอ็ดในต่างจังหวัดทุกสาขา ล่าสุด 1 พ.ย.นี้ เหตุการณ์ได้ลามเข้าสู่กรุงเทพฯ เผยรายได้หายไปกว่าวันละ 5 แสนบาทหลังถูกกีดกันในการจำหน่ายสินค้าตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.เป็นต้นมา แต่ยังเชื่อมั่นรายได้รวมยังเป็นไปตามเป้าที่ 3,800 ล้านบาท วานนี้ (1 พ.ย.) บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เชิญสำนักพิมพ์ต่างๆกว่า 100 สำนักพิมพ์ เข้าร่วมฟังถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ที่ทางซีเอ็ด ประสบปัญหาในการจัดหาหนังสือพิมพ์และนิตยสารเข้ามาจำหน่ายในร้านไม่ได้ นายทนง โชติสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเริ่มขึ้นจากหลังวันปฏิวัติ คือวันที่ 20 ก.ย. นั้น มีหนังสือพิมพ์หัวใหญ่ฉบับหนึ่งที่ออกหนังสือพิมพ์ช้า ทำให้เอเย่นต์บางรายต้องมีการส่งหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆออกไปยังร้านหนังสือต่างๆก่อน เพราะไม่มั่นใจว่าหนังสือพิมพ์หัวดังกล่าวจะออกทันหรือไม่ ผลปรากฏว่าในวันนั้นร้านหนังสือซีเอ็ดที่ไม่มีหนังสือพิมพ์หัวดังกล่าวจำหน่ายมีเพียง 9 สาขา จากจำนวน 210 สาขาทั่วประเทศ และนั่นคงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่หัวดังกล่าวเกิดความไม่พอใจ จึงได้มีการขอร้องให้ทางเอเย่นต์ในต่างจังหวัดทั้งหมด หยุดการส่งหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้กับร้านซีเอ็ดทุกสาขาในต่างจังหวัด โดยในวันที่ 26 ก.ย. 2549 บริษัทฯได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากทางเอเย่นต์ที่จัดส่งสินค้าว่า หลังจากวันที่ 1 ต.ค.นี้ จะไม่มีหนังสือพิมพ์ชั้นนำจำหน่ายทั่วประเทศ ทำให้ทางบริษัทฯได้มีการประสานงาน ขอเข้าพบผู้บริหารของหนังสือพิมพ์ดังกล่าว เพื่อชี้แจงความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่ได้รับการปฎิเสธในการขอเข้าพบ ในเวลาต่อมา ระหว่างวันที่ 13-14 ตุ.ค. ที่ผ่านมา มีกระแสข่าวออกมาว่า หนังสือพิมพ์หัวดังกล่าว ต้องการจัดระเบียบร้านหนังสือที่อยู่ในกลุ่มโมเดิร์นเทรดเพื่อจัดระเบียบให้ง่ายขึ้น โดยได้มีการขอร้องให้เอเย่นต์งดการส่งนิตยสารและหนังสือพิมพ์ให้กับร้านซีเอ็ดทั้งหมดในต่างจังหวัด ซึ่งในขณะนี้กำลังลามเข้าสู่กรุงเทพมหานครแล้ว นายทนง กล่าวต่อว่า ทางบริษัทฯได้พยายามที่จะประสานงานไปทางเอเย่นต์เช่นเดียวกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ถึงแม้จะมีบางรายที่ยังมีความต้องการที่จะส่งหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้กับซีเอ็ด แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะได้รับการขอร้องจากหนังสือพิมพ์หัวใหญ่ดังกล่าวนั้นเอง แต่ทั้งนี้ทางเอเย่นต์เสนอแนวทางแก้ไขให้ด้วยว่า ให้ทางบริษัทฯปรึกษากับทางสำนักพิมพ์โดยตรง ว่ามีความประสงค์ที่จะส่งสินค้าให้กับซีเอ็ดหรือไม่ ถ้ามีความต้องการอยู่ ทางเอเย่นต์ก็จะจัดส่งให้ แต่ถ้าไม่สามารถจัดส่งให้ได้จริงๆ ทางสำนักพิมพ์จะต้องเห็นผู้จัดส่งสินค้าให้กับซีเอ็ดโดยตรง ไม่อยากเชื่อว่า ในสังคมการค้าเสรีแบบนี้ จะมีใครบางคน ที่สามารถกำหนดได้ว่า จะให้เอเย่นต์ทั่วประเทศ ส่งสินค้าให้ใครหรือไม่ให้ใครก็ได้ และสามารถบอกให้ร้านหนังสือจะขายอะไร หรือไม่ให้ขายอะไรก็ได้ ในวันนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น จะเป็นลบหรือเป็นบวกก็ตาม เพียงแค่สำนักพิมพ์ต่างๆร่วมกันทำให้ส่วนรวมเจริญก้าวหน้า วงการสิ่งพิมพ์ก็จะแข็งแรง ยั่งยืน ต่อไป ดังนั้นการเชิญให้มารับฟังสถานการณ์ในวันนี้ ก็เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการของแต่ละสำนักพิมพ์ในครั้งนี้ว่า มีความประสงค์ที่จะส่งนิตยสารให้กับร้านซีเอ็ดอยู่หรือไม่ ถ้าต้องการก็ให้กรอกแบบสอบถามและส่งมาที่บริษัทฯ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทางด้านบริษัทฯเองนั้น มีแผนที่จะปรับศูนย์กระจายหนังสือ ซีเอ็ด บุ๊ค เซ็นเตอร์ที่มีอยู่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการระบบการกระจายสินค้าให้ดีขึ้น โดยทางสำนักพิมพ์ต่างๆเพียงส่งสินค้าตรงมายังศูนย์กระจายหนังสือเท่านั้น และทางศูนย์ จะเป็นผู้ทำการกระจายไปทั่วประเทศเองทั้งหมด ซึ่งช่วงแรกๆของการดำเนินงานอาจเกิดอุปสรรคบ้าง แต่มั่นใจว่าจะดำเนินการได้สมบูรณ์ในระยะเวลาไม่นาน สำหรับสถานการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้น ส่งผลกระทบให้บริษัทฯขาดรายได้ไปกว่าวันละ 5 แสนบาท ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา ที่เกิดจากการไม่มีการจำหน่ายหนังสือพิมพ์และนิตยสาร แต่ทางบริษัทฯได้ดำเนินการแก้ไขในเบื้องต้นไปแล้ว ด้วยการนำเอาพ๊อกเก็ตบุ๊ก มาวางจำหน่ายแทนที่ ซึ่งนิตยสารที่หายไปจากแผงนั้น ประมาณการณ์ไว้ที่ 600 กว่าหัว ส่วนหนังสือพิมพ์นั้น ยังคงมีสำนักพิมพ์หัวใหญ่ที่ยังคงให้ทางบริษัทฯจำหน่ายให้อยู่ เช่น เครือมติชน แต่สำหรับสยามสปอร์ต มีกระแสข่าวออกมาว่าจะเริ่มมีการงดส่งบ้างแล้ว อย่างไรก็ตามถึงแม้จะเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ยังเชื่อมั่นว่า บริษัทฯจะยังคงมีรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้คือ 3,600-3,800 ล้านบาท ดังนั้น ที่คุณ jaychou กล่าวในตอนต้นกระทู้ว่า SE-ED GRAMMY NMG ... vs ไทยรัฐ มติชน สยามกีฬา..etc ที่ถูกต้องตามข่าวที่คัดลอกมานี้ จะต้องเป็น ไทยรัฐ vs หนังสือพิมพ์ชั้นนำอื่นที่เหลือ (น่าจะเป็น เดลินิวส์ มติชน คมชัดลึก ผู้จัดการ) ที่พยายามต่อต้านอำนาจอิทธิพลของไทยรัฐที่มาแทรกแซงกิจการคนอื่น โดยเดาว่า สยามสปอร์ต (ซึ่งเคยเป็นหนี้บุญคุณไทยรัฐ ในฐานะที่เกิดมาจากไทยรัฐ) ถูกขอร้องให้เป็นพวกของไทยรัฐในระยะแรก หรือเป็นชื่อที่ถูกเอาไปใช้ขู่เอเย่นต์ให้กลัวมากขึ้นจนไม่กล้าขัดขืนคำขอร้องของไทยรัฐ
โดย
New Analyst
เสาร์ พ.ย. 04, 2006 10:32 pm
0
0
ไทยรัฐ vs ซีเอ็ด
ได้อ่าน link ของเวบไซต์เสธ.แดง ที่มีบางท่านแปะมาในกระทู้นี้เมื่อวันก่อน ตกใจพอดูว่าเกิดอะไรขึ้นเนี่ย เพราะสำนวนเสธ.นี่น่ากลัวจัง และเรื่องราวแบบนี้ไม่เคยได้ยินมาก่อน จนดูพฤติกรรมของผู้บริหารของ SE-ED ไม่เหมือนอย่างที่เคยทราบ และเคยได้สัมผัสมา เลยลองไปเจาะข้อมูลมาให้ จะได้รู้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ลองอ่านดูนะครับ เรื่องมีอยู่ว่า เสธ.เขียนหนังสือออกมาหลายเล่ม ตอนนี้น่าจะราวๆ 7 เล่ม แล้ววางขายตามร้านหนังสือทั่วไป รวมทั้งร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ จนวันนึงทาง SE-ED ได้รับ notice จากสำนักงานทนายความของ พล.ต.อ สันต์ อดีต อตร. ว่ากำลังดำเนินคดีฟ้องร้องเสธ.อยู่จากข้อเขียนในหนังสือหลายเล่มของเสธ.ที่หมิ่นประมาทพล.ต.อ.ท่านนั้น ซึ่งศาลประทับรับฟ้องแล้ว และขอให้ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์งดการวางขาย มิฉะนั้นจะเข้าข่ายหมิ่นประมาท และถูกฟ้องตามไปด้วย ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ดูแล้วว่าหนังสือหลายเล่มดังกล่าว มีข้อความอยู่ในข่ายที่หมิ่นประมาทได้จริง จึงแจ้งกับผู้จัดจำหน่ายหนังสือชุดนี้ ว่าจำเป็นต้องของดวางจำหน่ายที่ร้าน เพราะในสัญญาการรับวางขายมีข้อความระบุเรื่องนี้ไว้แล้วว่าหากมีกรณีดังกล่าว ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์จะของดวางจำหน่ายได้ทันที เพื่อความเป็นธรรมกับผู้เสียหาย ร้านหนังสือทั้งหลายที่ได้รับ notice ก็งดวางจำหน่ายเช่นกัน เพราะเป็นมาตรฐานของระบบร้านหนังสือชั้นนำอยู่แล้ว เสธ.ไม่พอใจ จึงด่าว่าซีเอ็ดอย่างเสียๆ หาย ผ่านทางเวบไซต์ แต่ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ก็ไม่ได้ตอบโต้ใดๆ เพราะได้ชี้แจงให้ผู้จัดจำหน่ายหนังสือชุดนี้ทราบปัญหาดังกล่าวแล้ว ทั้งทางลายลักษณ์อักษร และวาจา จากสายงานที่รับผิดชอบ ซึ่งผู้จัดจำหน่ายเข้าใจด้วยดี ข้อความที่เสธ.ชี้แจงว่า ผู้บริหารของซีเอ็ดพูดนั้น เป็นข้อความที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งคนที่อ่านก็น่าจะทราบได้โดยสามัญสำนึกว่าน่าจะไม่เป็นความจริง และไม่สมเหตุผสมผลที่ใครจะต้องพูดแบบนั้น ทางซีเอ็ดจึงไม่ได้ติดใจที่จะต้องมาชี้แจง นอกจากนั้น ที่กล่าวหาว่าผู้บริหารเป็นลูกน้อง พล.ต.อ.ท่านนั้น และไปตีกอล์ฟกัน ก็ไม่เป็นความจริง เพราะไม่ได้รู้จักกันเลย และผู้บริหารของซีเอ็ดเล่นกอล์ฟไม่เป็น จึงเป็นการกล่าวหาแบบยกเมฆว่างั้นเถอะ เจาะมาได้เท่านี้ น่าจะทำให้ปะติดปะต่อเรื่องได้นะครับ ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร แฟนๆ SE-ED จะได้สบายใจ
โดย
New Analyst
เสาร์ พ.ย. 04, 2006 10:10 pm
0
0
216 บจ.ได้คะแนนรวมบรรษัทภิบาลเกณฑ์ดีถึงดีเลิศ
ตามที่คุณ LEQ ว่า ดูรายชื่อแล้วไม่น่าเชื่อถือเท่าที่ควร ขนาด aprint ยังไม่มีเลย คงต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า บรรษัทภิบาลที่ดี นั้นเขามองอยู่ 5 หมวด คือ 1. สิทธิของผู้ถือหุ้น 2. การปฎิบัติที่เท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้น 3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย 4. การเปิดเผยข้อมูล และความโปร่งใส 5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ซึ่ง APRINT อาจจะไม่ผ่านหลายเรื่อง และจริงๆ ที่ผ่านมา APRINT ก็ไม่ได้มีชื่อเสียงเรื่องนี้เลยนะครับ เพราะเป็นธุรกิจที่บริหารงานแบบครอบครัวแม้ในปัจจุบัน การไม่ได้ของ APRINT จึงไม่ใช่เรื่องแปลกขนาดที่จะบอกว่าผลการประเมินของ IOD ไม่น่าเชื่อถือ
โดย
New Analyst
พุธ พ.ย. 01, 2006 9:06 pm
0
0
216 บจ.ได้คะแนนรวมบรรษัทภิบาลเกณฑ์ดีถึงดีเลิศ
ตามที่คุณ worapong ว่า เพราะเคยอ่านข่าวกองทุนแคลเปอร์ส ยกเลิกการลงทุนในประเทศไทยเพราะตกเรื่องธรรมาภิบาล แต่ล่าสุดอ่านข่าวเจอว่าแคลเปอร์สจะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในจีนครับ สงสัยธรรมาภิบาลของบริษัทไทยในสายตาของแคลเปอร์สจะแย่กว่าจีนนะครับ ผมเคยอ่านกรณีศึกษาเรื่องของแคลเปอร์สอยู่เรื่องนึง ที่ว่า แกคลเปอร์ส แจ้งคณะกรรมการบริษัทยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของสหรัฐ ที่มีสภาพการทำกำไรดี ในเรื่องของธรรมาภิบาล และทำจดหมายให้บริษัทนั้นปรับปรุงหลายเรื่อง แต่บริษัทนั้นไม่สนใจ เพราะเป็นธุรกิจครอบครัว ผมเคยถามอาจารย์ว่าตอนจบ แคลเปอร์ส ยังลงทุนในบริษัทนั้นอยู่หรือเปล่า หลังจากจดหมายขู่เอาเป็นเอาตาย อาจารย์บอกว่าตกลงยังลงทุนอยู่ 55555 นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เรื่องของธรรมภิบาล กับเรื่องของการลงทุน อาจจะเป็นคนละเรื่องกัน ในสายตาของแคลเปอร์ส
โดย
New Analyst
พุธ พ.ย. 01, 2006 8:56 pm
0
0
รายชื่อบริษัทที่ได้บรรษัทภิบาลดีเลิศ และดีมาก ประจำปี 2549
ขอต่อจากข้างบนอีกหน เพราะมีหลายท่านสงสัยว่าบริษัทที่ตนสนใจหายไปจากรายชื่อได้อย่างไร มีบริษัทที่ได้รับการประเมินระดับ 5 ดาว หรือ ดีเลิศ อยู่ 9 ราย เป็นรายที่แจ้งความประสงค์เปิดเผยหมดครบทั้ง 9 ราย จึงมีรายชื่อครบทั้ง 9 ราย มีบริษัทที่ได้รับการประเมินระดับ 4 ดาว หรือ ดีมาก อยู่ 62 ราย เป็นรายที่แจ้งความประสงค์เปิดเผย 61 ราย จึงยังขาดรายชื่อไป 1 ราย ไม่รู้ใครนะครับ มีบริษัทที่ได้รับการประเมินระดับ 3 ดาว หรือ ดี อยู่ 145 ราย เป็นรายที่แจ้งความประสงค์เปิดเผยหมดทุกราย จึงมีรายชื่อครบทั้ง 145 ราย
โดย
New Analyst
จันทร์ ต.ค. 30, 2006 1:13 pm
0
0
รายชื่อบริษัทที่ได้บรรษัทภิบาลดีเลิศ และดีมาก ประจำปี 2549
มาขอเสริมอีกนิดครับ เพราะลืมบอกรายละเอียดบางอย่างไป ในข้อมูลที่นำเสนอนี้ ทาง IOD จะไม่ประกาศรายชื่อบริษัทที่แจ้งว่า " ไม่ประสงค์จะให้เปิดเผยผลการประเมินต่อสาธารณะ " ดังนั้น รายชื่อนี้ที่คัดลอกมานี้ จะไม่มีรายชื่อบริษัทที่ไม่ประสงค์จะให้เปิดเผย และจะไม่มีรายชื่อบริษัทที่ได้ต่ำกว่า 3 ดาว อย่างไรก็ตาม ทาง IOD จะดูความเป็นไปได้ในการเสนอผลการประเมินทั้งหมดในปีต่อๆ ไป
โดย
New Analyst
จันทร์ ต.ค. 30, 2006 1:01 pm
0
0
รายชื่อบริษัทที่ได้บรรษัทภิบาลดีเลิศ และดีมาก ประจำปี 2549
ขอเพิ่มเติมอีกนิดครับ ในการประเมินครั้งนี้ เขาใช้หลักเกณฑ์อิงกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) และตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยแบ่งเกณฑ์การประเมินเป็น 123 ข้อ แบ่งเป็น 5 หมวดหลัก คือ 1. สิทธิของผู้ถือหุ้น 2. การปฎิบัติที่เท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้น 3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย 4. การเปิดเผยข้อมูล และความโปร่งใส 5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ลองดูรายละเอียดของเขาแล้ว ก็เอาเรื่องเหมือนกัน ไม่ใช่ง่ายนักที่จะทำให้ได้ครบตามนั้น เพราะระบบเมืองไทยเป็นระบบเกรงใจกันเสียเยอะ และไม่ค่อยให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นรายย่อยนัก อย่างเช่น บอร์ดมีระบบการประเมินผลการทำงานของคณะกรรมการทีละคนหรือไม่ มีระบบการประเมินผลงานของ CEO หรือไม่ มีการให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอรายชื่อกรรมการได้บ้างหรือไม่ หรือมีระบบให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยส่งคำถามล่วงหน้าก่อนการประชุมใหญ่ได้หรือไม่ เป็นต้น ที่เล่ามาเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นอีกหน่อยว่าเขาประเมินอะไรกันบ้าง
โดย
New Analyst
จันทร์ ต.ค. 30, 2006 10:07 am
0
0
Thailand Book Tower
ปีนี้ มีร้านหนังสือขนาดใหญ่เกิดขึ้นพร้อมกันหลายแห่ง ลองสรุปทั้งหมดรวมของเดิมด้วยที่ถือว่าใหญ่หน่อย (มากกว่า 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป) ได้ดังนี้ 1. ศูนย์หนังสือจุฬา ศาลาพระเกี้ยว จุฬา 2. สุรวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์ เชียงใหม่ 3. ดวงกมล เชียงใหม่ 4. ศูนย์หนังสือจุฬา สยามสแควร์ 5. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ของ SE-ED) 6. คิโนะคุนิยะ สยามพารากอน 7. B2S เซ็นทรัลเวิร์ลพลาซ่า 8. Thailand Book Tower (ของ AA) ตามข่าวบอกว่าถัดจากนี้ ก็น่าจะมีอีกแห่งในปีหน้า (ดูจากที่เขาก่อสร้างตึกกันอยู่) คือ ศูนย์หนังสือจุฬา ตรงตึกใหม่ที่สี่แยกสามย่าน ได้ข่าวว่าขนาดน่าจะใหญ่กว่าเดิมเท่าตัว และสะดวกตรงที่รถไฟฟ้าใต้ดินมาจ่อที่ตึกเลย สำหรับ Thailand Book Tower ยังมีจุดอ่อนคือ การคมนาคมไม่สะดวก การหาหนังสือไม่ง่าย เพราะไม่เหมือนกับร้านหนังสือร้านเดียว ต้องเดินหลายชั้นไปมา ถ้าตามนี้ น่าจะสรุปได้ว่า ร้านที่มีหนังสือไทยมากที่สุดอย่างชัดเจนในอนาคต คงเป็นศูนย์หนังสือจุฬา สามย่าน ส่วนร้านที่มีหนังสือภาษาอังกฤษมากที่สุด เห็นจะเป็น คิโนะคุนิยะ ที่สยามพารากอน คงทำให้ตลาดหนังสือในกรุงเทพคึกคักขึ้น มีทางเลือกมากขึ้น
โดย
New Analyst
เสาร์ ก.ย. 16, 2006 11:50 pm
0
0
โตน้อยไปหรือเปล่าครับ สำหรับ BIGC
เรียน คุณ Metro รัฐได้ตั้งบริษัทขึ้นมาแห่งหนึ่ง เพื่อประสานงานกับซัพพลายเออร์ในการจัดส่งสินค้าให้กับรานโชห่วยทั่วประเทศ โดยมีผู้บริหารของกลุ่มสหพัฒน์ อาสามาเป็นประธานบริษัทนี้ ผลปรากฎว่า บริษัทนี้มีผลการดำเนินงานขาดทุน และมีปัญหาการเติบโตอยู่ทุกวันนี้ จนไม่แน่ว่าจะอยู่รอดได้อีกนานเพียงใด
โดย
New Analyst
อังคาร ก.ย. 12, 2006 3:35 am
0
0
คิดอย่างไงกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก ที่กำลังจะ(สมควร)ตาย
ประเด็นนี้น่าสนใจมากครับ จึงขอเข้ามาร่วมวงด้วยคน ข้อมูลที่ 1 คือ CP ไม้ได้ขาย Lotus ให้กลุ่ม TESCO เพราะเหตุแรงต้านกระแสจากสังคม จนต้องย้ายไปบุกที่เมืองจีน แต่เป็นเพราะในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ที่กลุ่ม CP มีปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรง จนต้องเลือกวาจะขายกิจการอะไรอกไปดี จึงจะได้เลินสดมามากพอที่จะแก้ปัญหาได้ CP มีตัวเลือก 2 ตัวในขณะนั้น คือ ขาย 7-11 หรือขาย Lotus (ไม่นับที่ขายสดส่วนห้นใน Makro ไปก่อนหน้าแล้ว) ในที่สุด CP ตัดสินใจขาย Lotus เพราะถือว่า 7-11 มีโอกาสในอนาคตดีกว่า มีการแข่งขันน้อยกว่า และต่อยอดธุรกิจได้หลายอย่างมากกว่า โดยขอใช้สิทธิในชื่อ Lotus ในประเทศจีน และให้ลูกชายที่เคยคุม Lotus ในไทย และหุ้นส่วนฝรั่งที่เคยเป็นผู้บริหารจาก WalMart ไปช่วยกันบุกที่เมืองจีน ข้อมูลที่ 2 นายกสมาคมค้าส่ง เคยให้สัมภาษณ์เมื่อนานมาแล้วว่า จริงๆ แล้ว ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 นั่นแหละ ที่เป็นตัวกระทบต่อร้านโชห่วย ไม่ใช่พวกซูเปอร์เซ็นเตอร์ เพราะร้านโชห่วยเป็นร้านสะดวกซื้อ ที่ต้องอาศัยจุดเด่นในเชิงแนวคิด คือ ขายความสะดวกที่ใกล้กลุ่มเป้าหมาย นอกจากนั้น จริงๆ แล้ว ร้านโชห่วยและพวกค้าส่งในพื้นที่ ต่างเป็นลูกค้าของพวกซูเปอร์เซ็นเตอร์ (รวมถึงแมคโครด้วย) ที่มาซื้อเอาของไปขายต่ออีกที เนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าซื้อจากซัพพลายเออร์เอง โดยพวกโชห่วยซื้อของที่ลดราคามากๆ ไปจากหน้าร้าน ส่วนพวกค้าส่งจะซื้อจากหลังร้าน (ของซูเปอร์เซ็นเตอร์) ที่ได้ราคาดีกว่าราคาส่งปกติมาก ดังนั้น จริงๆ กลับเป็นการเกือกูลพวกโชห่วยให้สู้กับ 7-11 ได้ดีขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนต่ำลงในหลายรายการที่ต้องมีการแข่งขันราคากัน ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันส่วนนี้กับ 7-11 ที่ไม่ได้เน้นเรื่องราคาต่ำ ข้อมูลที่ 3 นายกสมาคมค้าส่ง ออกโรงว่า ปัญหาที่ต้องการจริงๆ ไม่ใช่คุมการเติบโตของพวกซูเปอร์เซ็นเตอร์ เพราะเข้าใจกระแสความต้องการของผู้บริโภค หากแต่ต้องการให้การแข่งขันเป็นธรรมมากขึ้น โดยไม่ไปบิดเบือนราคาที่ต่ำเกินต้นทุน พูดง่ายๆ คือ ไม่ต้องการให้พวกซูเปอร์เซ็นเตอร์ใช้กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าบางรายการต่ำเกินกว่าต้นทุน เพียงเพื่อดึงลูกค้ามา แล้วอ้างว่าจำกัดจำนวนขาย หรือมีขายเพียงจำนวนน้อยเท่านั้น ซึ่งเป็นการใช้การตลาดมาบิดเบือนราคามากไป จึงต้องการผลักดัน "กฎหมายการค้าที่เป็นธรรม" ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ข้อมูลที่ 4 TESCO Lotus Express (ในไทย) คงไม่มีการเปิดขายแฟรนไชส์เหมือนอย่าง 7-11 เพราะเป็นโมเดลธุรกิจของเขาที่มาจากอังกฤษ คือ ตัวแม่ทำเองหมด ข้อมูลที่ 5 พวกที่ห่วงการโตของซูเปอร์เเซ็นเตอร์มากหน่อย คือ ซัพพลายเออร์รายใหญ่ เพราะกลัวการที่ถูกบีบเงื่อนไขการค้าในรูปแบบต่าง ๆ ทีทำให้สภาพการทำกำไรลดลงฮวบ ยิ่งซูเปอร์เซ็นเตอร์ขยายตัวมาก ยิ่งถูกบีบ และทางรอดน้อยลง เพราะช่องทางการขายอื่นมีสัดส่วนน้อยลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน ก็กลัวการเกิดสินค้า House Brand ที่ทำให้สินค้าหลักของตนมีโอกาสถูกเขี่ยออกจากตลาดได้ในเวลาไม่นานนัก เพราะไม่ผลิตให้ ก็ถูกขู่ว่าจะจ้างโรงงานอื่นให้ได้เกิด ผลิตให้ ก็เท่ากับแข่งขันกับสินค้าหลักของตน คงเข้ามาเสริมเท่านี้ก่อนครับ
โดย
New Analyst
อังคาร ก.ย. 12, 2006 3:30 am
0
0
ทำไมit hmpro se-ed ถึงไม่พัฒนา การขายสินค้าออนไลน์
คุณสุมาอี้ ให้ข้อมูลได้ดีว่าทำไมระบบการสั่งซื้อหนังสือทางออนไลน์ของสหรัฐจึงได้รับความนิยม และทำไมในเมืองไทยถึงไม่ได้รับความนิยม ถ้าผมจำไม่ผิด ผู้บริหารของ SE-ED เคยชี้แจงกับนักลงทุนเรื่องผลกระทบของการสั่งซื้อพวกออนไลน์ว่า ในเมืองไทยนั้นยอดขายหนังสือออนไลน์รายใหญ่ที่สุด ยอดขายน้อยเพียงแค่พอๆ กับยอดขายของร้านหนังสือขนาดเล็กร้านหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ได้มากมายอะไรให้น่าวิตกว่าจะมาทำให้คนไม่ไปเดินร้านหนังสือ ยิ่งถ้าร้านหนังสืออย่าง SE-ED กระจายตัวมากขึ้น ความจำเป็นที่จะต้องสั่งซื้ออนไลน์ก็ลดลง เห็นของจริงได้เปิดดู คงอุ่นใจกว่าจะซื้อแบบมองไม่เห็นเลย ทีนี้ถ้าถามแล้วว่า ในเมือ่ข้อมูลป็นแบบนี้ ทำไม SE-ED จึงยังลงทุนระบบ Logistics และโครงสร้างพื้นฐานรองรับการสั่งซื้อจากทุกจุดในเมืองไทย ?? ผู้บริหารของ SE-ED ชี้แจงว่า เพราะแนวโน้มการเปิดร้านหนังสือในอนาคตจะมีขนาดเล็กลงตามแนวโน้มขนาดของของพวกโมเดิร์นเทรดรายใหญ่ที่มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายผังเมืองที่บีบการเติบโตของรายใหญ่ และประกอบกับนโยบายการรุกในระดับอำเภอขนาดใหญ่ของ SE-ED จึงทำให้ร้านหนังสือของ SE-ED บรรจุหนังสือได้น้อยลง โจทย์ของ SE-ED คือ ทำอย่างไรให้ร้านหนังสือขนาดเล็กของ SE-ED (รวมถึง kiosk ตามที่ผู้บริหารได้ยกตัวอย่าง) สามารถให้บริการได้เท่ากับร้านใหญ่ เพื่อให้ทุกคนที่แวะมาร้าน SE-ED แล้วจะได้หนังสือที่ต้องการแน่นอน พูดง่ายๆ คือ ในร้านไม่มี ก็สั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ของร้านเองได้ และได้ในเวลาอันรวดเร็วจนไม่ต้องดิ้นรนไปหาซื้อที่ร้านอื่น อีกส่วนหนึ่ง คงรองรับคนที่ไม่ได้มาร้านหนังสือบ่อย แต่พอจะแวะมาได้ถ้ารู้ว่ามี ก็สั่งซื้อจากที่บ้านได้เลย คือ มีอารมณ์อยากอ่านเล่มไหนที่รู้ชัดเจนแล้ว ก็สั่งซื้อล่วงหน้าแล้วค่อยแวะมารับที่ร้าน ที่ไม่ให้มาส่งถึงบ้านเพื่อลดค่าขนส่งลง ตรงนี้ผู้บริหารเล่าว่าจะช่วยทำให้ลูกค้าต้องแวะมาที่ร้าน และอาจจะเห็นหนังสือที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น และซื้อหนังสือมากกว่าที่ต้งใจมารับได้ ส่วนการสั่งซื้อออนไลน์จากนอกร้านและไม่ได้แวมารับที่ร้าน คงรองรับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ห่างไกลร้านหนังสือ หรืออยู่ห่างไกลปืนเที่ยงจนไม่สะดวกจะแวะร้านหนังสือได้บ่อย อย่างอำเภอขนาดเล็ก หรือตำบล หรือหมู่บ้าน ซึ่งคนเหล่านี้อาจต้องการหนังสือที่ชัดเจนจนรู้จักชื่อหนังสือแล้ว การสั่งซื้อจะง่าย ยอดขายจากคนเหล่านี้น่าจะมีไม่เยอะนัก แต่คงเสริมภาพพจน์ของ SE-ED อย่างที่ผู้บริหารใช้คำว่า ต้องการทำให้ "ทุกคนที่มีอารมณ์อยากได้หนังสือ คิดถึง SE-ED" อีกส่วนหนึ่ง ที่ SE-ED ลงทุนระบบ Logistics อย่างเอาเป็นเอาตาย (เพราะเป็นประเด็นที่เน้นมาโดบตลอดในการแถลงข่าว หรือชี้แจงนักลงทุน) คือ ผมคิดว่า SE-ED คงรองรับการขายสินค้าที่ไม่ใช่เพียงหนังสืออย่างเดียว หรือที่ใช้คำว่า nonbooks ผู้บริหารของ SE-ED เล่าว่า ได้ทดลองการขาย nonbooks มาพอสมควร อย่างเช่น การขายคอมพิวเตอร์ การขายโน้ตบุ๊ค การขายโปรแกรมป้องกันไวรัส การขายเครื่อง UPS การรับจองอะไรที่ร้าน ซึ่งประสบความสำเร็จมากพอสมควร ทั้งที่หลายอย่างไม่มีของจริงให้ดูที่ร้านเลย มีแต่เอกสารใบเดียวให้ดู และยังต้องไปรับของเองอีกที่หนึ่ง ก็ยังขายคอมและโน้ตบุ๊คได้เกินหมื่นเครื่อง ขณะที่ 7-11 ก็ขายเช่นเดียวกันในระยะเวลาเดียวกัน โดยมีสาขามากกว่ากันอย่างเทียบไม่ติด แต่ได้เพียงพันเครื่อง แสดงว่ากลุ่มลูกค้าของ SE-ED พร้อมที่จะสนใจสินค้าพิเศษมากกว่า (อีกส่วนหนึ่งที่ยืนยันเรื่องนี้ คือ การรับจองเสื้อยืดเฉลิมฉลองการครองราชย์ 60 ปี ที่ผู้บริหารให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ ว่ารับจองไปแสนกว่าตัว ทั้งที่ราคาแพงกว่าเสื้อยืดปกติ และกว่าจะได้ต้องคอยการผลิตเป็นเดือน แต่ลูกค้าก็คอย โดยไม่ขอคืนเงินคาจอง) การมีระบบ Logistics และระบบการรับสั่งซื้อออนไลน์ที่ดี จะช่วยให้ SE-ED รองรับการขายสินค้า nonbooks ได้ เพระไม่ต้องสต็อคที่สาขาซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจจะขายไม่ได้ในหลายสาขา ผมคิดว่า SE-ED คงประเมินแล้วว่านี้จะเป็นแนวทางการเติบโตที่จะเพิ่มยอดขาย และกำไรได้มากขึ้นคุ้มค่าการลงทุน และเป็นการสร้างจุดต่างอะไรบางอย่างให้กับ SE-ED ได้ในอนาคต ส่วนใหญ่ที่ผมเล่ามาทั้งหมดนี้ ผมเก็บความมาจากการที่ผู้บริหาร SE-ED เล่าให้ฟังในงานพบนักลงทุนที่ตลาดหลักทรัพย์เมื่อหลายเดือนก่อน ซึ่งชี้แจงแบบละเอียด แต่ผู้บริหารได้ออกตัวก่อนว่าอะไรที่เป็นความลับในทางธุรกิจจริงๆ ที่ยังไม่พร้อมจะเปิดเผย จะขอเล่าแต่ทิศทาง แต่ยังจะขอไม่เล่าวิธีการ ถ้าจำไม่ผิด ใช้เวลาชี้แจงนานถึงร่วม 3 ชั่วโมง จนไม่มีใครถามอีกนั่นแหละถึงได้เลิก ขณะที่บริษัทอื่นจะชี้แจงเพียงครึ่งชั่วโมงถึง 1.5 ชั่วโมงเท่านั้น ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่สนใจ SE-ED จึงมาเล่าให้ฟังต่อ ส่วน HomePro ผมไม่ได้ตามครับ จึงไม่มีข้อมูล เชิญท่านที่รู้เรื่องมาเสริมต่ออีกทีก็แล้วกัน
โดย
New Analyst
อาทิตย์ ก.ย. 03, 2006 8:02 am
0
0
ทำไมit hmpro se-ed ถึงไม่พัฒนา การขายสินค้าออนไลน์
พอดีเห็นคุณ Capo ยกประเด็นเรื่อง Logistics ขึ้นมาว่าจะเป็น core business ของ SE-ED หรือเปล่า ประเด็นนี้น่าสนใจนะครับ ที่รู้แน่ๆ คือ เป็น critical sucess factor ตัวหนึ่งของ SE-ED อยู่ตอนนี้ และจะยิ่งมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต ลองนึกดูว่าถ้า SE-ED บอกว่าผลลัพธ์สุดท้ายของระบบ Logistics ของ SE-ED ที่กำลังพัฒนาอยู่ คือ "ไม่ว่าคนนั้นจะอยู่ที่ไหนในประเทศไทย จะได้รับภายใน 1 วัน" ตรงนี้ คงเห็นภาพชัดว่า SE-ED กำลังจะใช้ตรงนี้เป็นจุดแข็งในอนาคตของการบริการ ผมเคยทราบมาว่าอย่างของ 7-11 ซึ่งมีบริการรับสั่งของจาก 7 Catalog ยังต้องใช้เวลาหลายวัน ระบบการสั่งหนังสือของหลายค่ายตอนนี้ ที่อ่านดูจากตามเวบบอร์ด ยังได้รับการบ่นอยู่มาก และใช้เวลาหลายวัน ดังนั้น ถ้า SE-ED สามารถพัฒนาขึ้นมาเป็น ภายใน 1 วันได้จริง ก็น่าจะถือว่าเป็นจุดแข็ง และคุยได้ ที่ SE-ED ทำได้ เพราะผู้บริหารเคยเล่าให้นักลงทุนฟังว่า SE-ED ส่งของทุกวันไปยังทุกสาขา โดยมีรถวิ่งไปต่างจังหวัดโดยเฉพาะในตอนกลางคืน และรับของบางอย่างกลับมาในตอนกลางวัน แสดงว่า SE-ED คงพัฒนาให้ระบบการรับการสั่งซื้อ และระบบการจัดสินค้าที่มีร่วมอย่างน้อยเป็นแสนรายการ เสร็จได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง เพื่อให้พร้อมส่งตอนก่อนขบวนรถจะออกเดินทาง ถ้า SE-ED ทำได้อย่างนี้จริง ก็คงพร้อมจะขายสินค้าที่ไม่ใช่หนังสืออีกมหาศาลได้ โดยใช้สาขาที่กระจายทั่วประเทศเป็นจุดรับสินค้า !! ที่ยังเป็นปริศนา และผู้บริหารของ SE-ED ยังไมได้แย้มพราย คือ SE-ED จะทำให้คนที่อยู่ในระดับหมู่บ้าน และตำบล ได้รับหนังสือที่สั่งได้อย่างไรภายใน 1 วัน ??
โดย
New Analyst
อาทิตย์ ก.ย. 03, 2006 12:51 am
0
0
ทำไมit hmpro se-ed ถึงไม่พัฒนา การขายสินค้าออนไลน์
เท่าที่ผู้บริหารของ SE-ED เคยเล่าให้นักลงทุนฟังที่ตลาดหลักทรัพย์เมื่อไม่นานมานี้ ว่า ทิศทางของ SE-ED ที่ลงทุนไปทั้งหมดนี้ คือ " ทำอย่างไรให้ทุกครั้งที่คนคิดอยากได้หนังสือเล่มใดก็ตาม ให้นึกถึง SE-ED แล้วจะได้ภายใน 1 วัน ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหนของประเทศก็ตาม " เห็นยกตัวอย่างถึงขั้นว่าแม้แต่อยู่ในระดับตำบล หรือหมู่บ้าน เพราะ SE-ED อาจจะไม่สามารถเปิดร้านหนังสือลงไปในระดับเล็กกว่าอำเภอได้ จึงต้องหาทางใหม่ ผมเข้าใจว่า SE-ED ได้เริ่มลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดให้รองรับทิศทางนี้ อย่างที่เคยให้ข่าวมาโดยตลอดเรื่องการปรับปรุงให้ทุกสาขา online กับสำนักงานใหญ่ การปรับปรุงระบบสารสนเทศ การปรับปรุงศูนย์กระจายสินค้า และการปรับปรุง se-ed.com อย่างที่หลายท่านได้ลองใช้ eShop ที่ www.se-ed.com และรู้สึกว่าน่าพอใจ เข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้ และน่าจะอยู่ในแค่โครงการทดลอง เพราะถ้าพร้อมกว่านี้ คงจะมีการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างกว่านี้ไปแล้ว ผู้บริหารของ SE-ED เคยให้ข้อมูลว่า ระบบของ SE-ED จะพัฒนาเสร็จหมดในสิ้นปีนี้ (หลังจากเลื่อนมา 2-3 ปี) ดังนั้นในต้นปี 2550 ระบบของ SE-ED น่าจะลงตัว และคงให้บริการที่หลากหลายได้เต็มที่ขึ้น และแน่นอนคงใช้ประโยชน์จากการมีสาขาทั่วประเทศด้วย ผมคิดว่าถ้าถึงตอนนั้น SE-ED คงมีอะไรน่าสนใจกว่าแค่เป็นร้านหนังสือธรรมดา คงต้องคอยตามดูกันเอาเองว่า SE-ED จะทำได้ตามที่ประกาศทิศทางนี้ได้จริงหรือเปล่า
โดย
New Analyst
เสาร์ ก.ย. 02, 2006 7:58 pm
0
0
SE-ED กับ MK สุกี้ นี่เจ้าของเดียวกันหรอครับ
ไหนๆ ก็คุยเรื่อง MK Suki กันอยู่ ก็ขออนุญาตเอาผลงานของ MK Suki ที่ได้รับการยอมรับมาให้อ่านกัน คัดลอกมาจาก www.mkrestaurant.com ครับ .......................................................... MK ได้รับรางวัลเป็น 1 ใน 5 ของบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ 500 บริษัท ในฐานะธุรกิจของประเทศทางความเป็นเลิศด้านการให้ความสำคั­ต่อคุณภาพสินค้าและการบริการประจำปี 2547 สมาคมการจัดการแห่งประเทศไทย หรือ TMA จับมือกับศศินทร์ หรือ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฟ้นหาสุดยอดองค์กรธุรกิจดีเด่น แห่งปี 2547 ภายใต้โครงการ " Thailand Corporate Excellence Awards 2004 " โครงการนี้ได้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริม การปรับปรุงมาตรฐานสู่ความเป็นเลิศให้แก่องค์กรธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่น่ายินดี และภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่บริษัทเอ็มเคของเราได้รับการคัดเลือกเป็นอันดับที่ 5 จาก 500 บริษัทชั้นนำของประเทศ ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ในงานประกาศผลและมอบรางวัลเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2548 ที่ผ่านมา ทีมงานเอ็มเค นิวส์ จึงขอร่วมแสดงความยินดีกับชาวเอ็มเคทุกคน ที่ร่วมแรงร่วมใจกันรักษามาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ ตลอดจนให้ความสำคั­ต่อการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์กรของเรามุ่งสู่เวทีธุรกิจการค้าโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ รวมทั้งรักษาความเป็นเลิศให้ยั่งยืนและมั่นคงตลอดไป บริษัทที่ได้รับรางวัล Thailand Corporate Excellence Awards 2004 5 อันดับแรกมีรายชื่อดังนี้ 1. The Siam Cement Public Co.,Ltd. (ปูนซีเมนต์ไทย) 2. Toyota Motor Thailand Co.,Ltd. (โตโยต้า) 3. Advanced Info Service Public Co.,Ltd. (AIS) 4. The Oriental Hotel (Thailand) Public Co.,Ltd. (โรงแรมโอเรียนเต็ล) 5. MK Restaurants Co.,Ltd. (เอ็มเค เรสโตรองต์) ...................................................................... MK ได้รางวัลนี้ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 2 โดยเริ่มได้ตั้แต่ปี 2546 ซึ่งเป็นปีแรกของการจัดรางวัลนี้ขึ้น ....................................................................... MK ได้รับตราสัญลักษณ์ Q-Mark ข่าวที่โด่งดังไปทั่ววงการธุรกิจในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2548 ที่ผ่านมา ก็คือ ข่าวการประกาศรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับตราสั­ลักษณ์ Q-MARK ซึ่งบริษัท เอ็มเค เรสโตรองค์ จำกัด ของเราก็เป็น 1 ใน 6 บริษัท ที่ได้รับตราสั­ลักษณ์นี้ด้วยและเป็นผู้ประกอบการประเภทงานบริการด้านภัตตาคารเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับการรับรองในปีนี้ โดยเมื่อ วันที่ 10 มีนาคม 2548 คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน (น้านิด) ได้เดินทางไปรับมอบใบรับรอง Q-MARK ด้านการค้าและบริการ จาก คุณพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค Q-MARK ถือได้ว่า เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพ และจริยธรรมของธุรกิจยุคใหม่ ที่ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการร่วม จากภาคเอกชน 3 สถาบันหรือ กกร. ซึ่งได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ............................................................... MK ได้รางวัล Popular Advertising of the Year 2004 บริษัท เอ็มเค เรสโตรองค์ จำกัด โดย คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน (น้านิด) ได้ไปรับมอบโล่รางวัล " โฆษณาที่ได้รับความนิยมสูงสุด ประจำปี 2547 ประเภทอาหาร (Popular Advertising of the Year 2004, Category : Food)" จากโฆษณาชุด "กินอะไร" ซึ่งมอบโดยนิตยสาร Marketeer จากผลการสำรวจของ เอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชั­ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 ที่ผ่านมา .................................................................. MK ได้รับรางวัล TACT Award 2003-2004 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ชาวเอ็มเค ก็ได้เป็นปลื้มกันอีกครั้ง เพราะภาพยนตร์โฆษณาโทรทัศน์ของ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ จำกัด ชุด "กินอะไร" ซึ่งโด่งดังจนติดปากคนไทยกันไปทั่วประเทศกับประโยคที่ว่า "กินอะไร กินอะไร ไปกินเอ็มเค" ได้รับรางวัล TACT Award สาขาภาพยนตร์โฆษณาโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ประจำปี 2003-2004 (Best Television Commercial 2003-2004) ประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร โดยการโหวตจากสมาคมนักการตลาด ................................................................
โดย
New Analyst
พุธ ก.ค. 05, 2006 7:34 pm
0
0
SE-ED กับ MK สุกี้ นี่เจ้าของเดียวกันหรอครับ
เห็นคุณสุมาอี้ ไปค้นข้อมูลของ MK Restaurant มาเพิ่มให้ ก็เลยนึกสนุกไปช่วยค้นข้อมูลที่มาที่ไปของ MK Suki มาให้ จากเวบไซต์ www.mkrestaurant.com ดังนี้ครับ ........................................................... ที่มาที่ไปของ MK Suki เริ่มแรกของ MK
โดย
New Analyst
พุธ ก.ค. 05, 2006 9:10 am
0
0
SE-ED กับ MK สุกี้ นี่เจ้าของเดียวกันหรอครับ
เคยสัมภาษณ์ผู้บริหารของ SE-ED เรื่องนี้ และเคยอ่านบทความสัมภาษณ์เจ้าของ MK Suki จึงขอเล่าแบบผสมข้อมูลดังนี้ คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน (เจ้าของ MK Suki ปัจจุบัน) เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้ง SE-ED (ซึ่งประกอบด้วยวิศว จากจุฬา จำนวน 10 คน) และปัจจุบันยังถือหุ้นอยู่ในลำดับต้นๆ ของ SE-ED คุณฤทธิ์ เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิก SE-ED มาตั้งแต่แรก และเป็นกรรมการผู้จัดการของ SE-ED มาตั้งแต่ต้น พอเป็นมาประมาณ 13 ปี (ถ้าจำไม่ผิดนะ หลังจากนั้น จะเป็นคุณทนง ผู้บริหารปัจจุบันของ SE-ED ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมาด้วยกัน และมาเป็นกรรมการผู้จัดการประมาณสักเกือบ 20 ปีมาแล้ว) ก็ถูกแม่ยายที่เป็นเจ้าของร้าน MK ที่สยามสแควร์ (ขณะนั้น เป้นร้านขายอาหารตามสั่ง และมีขายเหล้าเบียร์ เป็นข้อมูลจากการให้สัมภาษณ์) ขอร้องให้ไปบริหารร้านอาหารที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว ที่แม่ยายไปเซ้งพื้นที่ไว้ ทำให้ต้องลาออกจาก SE-ED ร้านอาหารดังกล่าวถ้าจำไม่ผิด รู้สึกว่าจะชื่อ Green MK เป็นร้านอาหารไทย ต่อมาคุณสัมฤทธิ์ แห่งเซ็นทรัล เห็นหน่วยก้านของคุณฤทธิ์ดี จึงทาบทามให้ช่วยบริหารร้านอาหารสุกี้ ที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว โดยเซ็นทรัลลงทุนตกแต่งพื้นที่ให้ ร้านนี้คือ MK Suki ซึ่งต่อมาก็ขยายงานไปทั่วประเทศดังที่ทราบกัน ขณะเดียวกัน คุณฤทธิ์ ก็เป็นประธานกรรมการ SE-ED ต่อเนื่องมาหลายปี จนกระทั่งทาง Nation มาถือหุ้น SE-ED จึงมีการเปลี่ยนตำแหน่งให้ทาง Nation เป็นประธานแทน เข้าใจว่า MK Suki จะถือหุ้นโดยครอบครัวของแม่ยาย และคุณฤทธิ์ ถือเป็นธุรกิจครอบครัว โดยมีคุณฤทธิ์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือประธานกรรมการบริหาร อะไรทำนองนี้ครับ และคงบริหารแบบรวมศูนย์ คงไม่ได้แบ่งกันบริหารสาขาหรอกครับ ดังนั้น สรุปได้ว่า คุณฤทธิ์ถือหุ้นใน SE-ED แต่ผู้บริหารท่านอื่นของ SE-ED ไม่ได้ถือหุ้นใน MK Suki เพราะเป็นธุรกิจในครอบครัว ผมเล่าเป็นตุเป็นตะได้เท่านี้ครับ
โดย
New Analyst
พุธ ก.ค. 05, 2006 1:18 am
0
0
อุดหนุน se-ed มาตั้งนานวันนี้ พึ่งมีบัตรสมาชิก
เคยสอบถามผู้บริหารของ SE-ED เมื่อปีสองปีที่ผ่านมานี้ ว่าทำไมไม่เปิดสาขาที่สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าว ได้คำตอบว่า ทางเซ็นทรัลสาขานี้ไม่มีพื้นที่ให้กับร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์เลย (เซ็นทรัล ลาดพร้าว เปิดก่อนสาขาแรกของซีเอ็ด) ตอนหลังซีเอ็ดได้พื้นที่เช่าที่โรงหนัง SF ที่ชั้นบนสุดของเซ็นทรัล ลาดพร้าว โดยขอเช่าจาก SF และกำลังจะลงมือก่อสร้าง แต่พอผู้บริหารของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล (พื้นที่ส่วนนี้อยู่ในความรับผิดชอบของห้างสรรพสินค้า ซึ่งอยู่ในความดูแลของ CRC ซึ่งดูแล B2S ด้วย ไม่ใช่ของ CPN ที่ดูแลพื้นที่พลาซ่า) ทราบเข้า ก็ขอร้องว่าในพื้นที่ของห้างไม่อยากให้มีร้านซีเอ็ด นี่เป็นนโยบาย ขอเอาร้าน B2S ลงแทน ทั้งที่ตอนแรกไม่ได้ต้องการลง เพราะมีร้านอยู่ในห้างแล้ว นั่นคือ ในส่วนของเซ็นทรัลรีเทล (CRC) จะไม่มีซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์แน่นอน (รวมทั้งที่ภูเก็ตด้วย) แต่ถ้าเป็นส่วนของเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) จะต้องการได้ซีเอ็ดไปลง ยกเว้นที่สาขาลาดพร้าวที่ไม่มีพื้นที่ให้ เรื่องราวก็เป็นมาฉะนี้ ที่ตอบได้เพราะเคยสงสัยประเด็นนี้มาแล้วเหมือนกัน และได้มีโอกาสถามมา ส่วนสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน คงเป็นการทดลองลง และเท่าที่ทราบจากหนังสือพิมพ์ คงไม่ลงเพิ่มเติมกว่านี้อีกเช่นเดียวกับหลายๆ รายที่ไม่ประสบความสำเร็จ
โดย
New Analyst
อาทิตย์ ก.ค. 02, 2006 10:28 pm
0
0
CP7-11 คนแข็งแรงที่อาจเป็นมะเร็ง
เคยคุยกับคนไทยที่ไปทำงานที่โลตัสที่เซี่ยงไฮ้ เธอบอกว่าโลตัสที่เมืองจีนไปได้ดี ประสบความสำเร็จ และมีโครงการขยายสาขาอีกมาก มีจุดเด่นที่สุดในด้านของเสื้อผ้า แต่ที่ว่าเป็นหมายเลขหนึ่งในจีน คือ คาร์ฟูร์ ซึ่งมีจุดเด่นหลายด้านกว่า น่าเดินกว่า สวยกว่า ส่วนวอลมาร์ตไม่เท่าไหร่ เธอว่าอย่างนั้น เล่าข้อมูลมาประกอบการพิจารณาครับ
โดย
New Analyst
พุธ พ.ค. 31, 2006 1:43 pm
0
0
APRINT & SE-ED
เรียน คุณ HVI และ BHT ขอบพระคุณมากครับที่ให้เกียรติอยากรู้จัก แต่ผมไม่ค่อยอยากพูดถึงที่ทำงานนัก เพราะจะได้พูดได้เต็มที่โดยไม่มี bias จะทำให้การพูดคุยโดยเน้นแต่เนื้อหาสาระอย่างที่เวบบอร์ดนี้ทำ ก็จะได้ทำได้อย่างสบายใจมากยิ่งขึ้น และจริงๆ แล้ว ผมยังมือใหม่มากๆ ในวงการนี้ ขอเป็นมือใหม่หัดขับไปก่อนครับ ปีกกล้าขาแข็ง ก็อาจจะมาได้เป็น VI เต็มตัวกับเขาบ้าง ขอกลับมาเรื่องของ APRINT และ SE-ED อีกหน่อย ถ้าลองไปดูข้อมูล ดัชนีผลการตอบแทนการลงทุนรวมในรอบ 12 เดือนล่าสุด ที่ตลาดหลักทรัพย์จัดทำขึ้นเมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2549 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ราคาหุ้นของ SE-ED จะวิ่งแบบผิดสังเกตในต้นเดือนพฤษภาคม (ดูรายละเอียดได้จาก http://www.set.or.th/th/info/statistics/tri.html ซึ่งเป็นการคิดผลตอบแทนจาก Capital Gain/Loss + Rights + Dividend) ดัชนีผลตอบแทนการลงุทนรวมในรอบ 12 เดือนล่าสุดของ SE-ED จะได้ค่าเป็น 96.35 สูงเป็นลำดับที่ 30 ของตลาดทั้งหมด ส่วนของ APRINT ได้ 24.03 สูงเป็นลำดับที่ 146 ของตลาดทั้งหมด แม้นั่นเป็นข้อมูลในอดีต แต่ก็พอจะบอกอะไรว่า SE-ED มีการปรับปรุงกำไรที่ผ่านมาได้ดีกว่าเดิมเยอะ คำถามที่น่าสนใจ คือ แล้วในอีก 12 เดือนข้างหน้า หรืออีก 24 เดือน หรืออีก 36 เดือนข้างหน้า ใครจะมีค่าดัชนีผลตอบแทนรวมมากกว่ากันตามโจทย์ของคุณ HVI ที่ต้องการให้ฟันธงเลือกเพียงตัวเดียว หรือพูดง่ายๆ ว่า ใครจะสามารถปรับปรุงอัตราการทำกำไรได้มากกว่าเดิมตอนนี้มากกว่ากัน ?? เช่น ใครมีโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้นเป็น "เท่าตัว" ได้มากกว่ากัน ?? (สมมติว่าไม่มีการเพิ่มทุน หรือไม่มีการกู้ยืมเงินมาลงทุนเพิ่ม ซึ่งเป็นทิศทางของทั้งสองค่ายในขณะนี้) เชิญชาว VI ลับสมองกันต่อนะครับ
โดย
New Analyst
จันทร์ พ.ค. 15, 2006 2:05 am
0
0
APRINT & SE-ED
ผมไม่มีพื้นฐานมาทางบัญชีแน่นหนาพอจะชี้แจงได้ชัดเจนนัก คงมีบางท่านที่แม่นกว่านี้มาช่วยชี้แจงเสริมถ้าผมชี้แจงไม่ถูกต้องครบถ้วน ก็ถือว่าเล่าตามที่รู้มานะครับ โดยทั่วไป ถ้าถือหุ้นครึ่งหนึ่งขึ้นไป ก็ต้องรวมงบ ตรงนี้คงไม่มีใครสงสัย อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ถึงครึ่งหนึ่ง แต่ด้วยกลไกการจัดการสามารถมี "อำนาจควบคุม" อีกบริษัทหนึ่งได้ในลักษณะหนึ่งลักษณะใด ก็ถือว่าต้องรวมงบด้วยเข่นกัน ตัวอย่างเช่น ใช้กรรมการชุดเดียวกัน หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งร่วมกัน หรือมีประธานร่วมกัน หรีอใช้ทีมบริหารชุดเดียวกัน หรือมีอำนาจในการอนุมัติการใช้จ่าย เป็นต้น ตรงนี้ผู้สอบบัญชีจะต้องประเมินข้อเท็จจริงเพื่อหาข้อสรุปว่ามีอำนาจควบคุมหรือไม่ และต้องรวมงบหรือไม่ ในบางกรณี ผู้บริหารไม่อยากรวมงบด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ทั้งที่เข้าข่ายดังกล่าว ผู้สอบบัญชีจะต้องแย้ง และไม่ยอมผ่านง่ายๆ อย่างน้อยที่สุด ต้องตั้งข้อสังเกตในงบทันที ส่วนกรณีของ APRINT ผมไม่ทราบรายละเอียด เพราะปัจจุบันไม่ได้มีหน้าที่ต้องตามข้อมูลหุ้นในธุรกิจสิ่งพิมพ์แล้ว จึงไม่รู้ว่ามีระบบการจัดการแยกจากกัน โดยไม่ขึ้นกันอย่างไร จนสามารถที่จะไม่รวมงบได้ เพราะภาพพจน์ของร้านนายอินทร์ และธุรกิจการจัดจำหน่ายของอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ ที่ผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ เสมือนหนึ่งเป็นธุรกิจในความรับผิดชอบของ APRINT โดยตรง
โดย
New Analyst
เสาร์ พ.ค. 13, 2006 10:24 pm
0
0
APRINT & SE-ED
ในฐานะที่ติดตามหุ้นพวกค้าปลีก และสิ่งพิมพ์ มาบ้าง ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ APRINT และ SE-ED เพื่อประกอบการพิจารณาการเลือกลงทุน ดังนี้ 1. SE-ED ในปัจจุบัน เด่นที่สุดเรื่องร้านหนังสือ และยังมีโอกาสขยายตัว และเพิ่มกำไรจากการปรับปรุงศูนย์กระจายสินค้า ระบบสารสนเทศ และระบบ online ตามที่ผู้บริหารให้ข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงนี้ต้องเดากันต่อเองว่าจะยังขยายตัวไปได้อีกมากแค่ไหนในภาวะที่ยังมีกฎหมายผังเมืองมาทำให้การขยายตัวของพวกไฮเปอร์มาร์เก็ตหยุดชะงักไป แต่ใน 2-3 ปี SE-ED ยังน่าจะเติบโตด้านกำไรอยู่ เพราะการปรับปรุง net pofit margin เป็นประเด็นสำคัญของ SE-ED ในช่วงนี้แม้ยอดขายจะชะลอตัวอยู่บ้างก็ตาม ในกรณีที่ SE-ED ขยายสาขาได้จนมี market share ได้เพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง จะทำให้การเติบโตด้านยอดขายของ SE-ED ขึ้นกับการเติบโตของธุรกิจหนังสือในภาพรวม ไม่ไปวูบวาบขึ้นกับความแม่นยำของบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ของตนเองมากนัก (ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของธุรกิจสำนักพิมพ์) อาจมองว่าทำให้ยอดขายมีเสถียรภาพระยะยาวมากขึ้นถ้ามองว่าธุรกิจหนังสือยังมีโอกาสเติบโตปีละอย่างน้อย 10% ขณะที่โอกาสการเติบโตของกำไรมีสูงขึ้นกว่านี้ได้มาก เคยสัมภาษณ์ผู้บริหาร SE-ED ทราบว่ากำลังปรับ product mix ในร้านด้วย พอดีเดินไปดูสาขาหนึ่งของ SE-ED ที่ไปใช้บริการประจำ เห็นเขาเพิ่มหมวดการ์ตูนเข้าไปเป็นเรื่องเป็นราวแล้ว หลังจากที่แต่เดิมเห็นมีขายอยู่นิดหน่อย น่าจะช่วยเพิ่มยอดของสาขาเดิมได้อีก เพราะการ์ตูนนี่ยังมีแฟนเหนียวแน่นเป็นกลุ่มใหญ่ แต่ที่ไม่ค่อยมีการกล่าวถึง คือ บทบาทของ SE-ED ในฐานะที่เป็นสำนักพิมพ์ และผู้จัดจำหน่ายหนังสือ ซึ่งดูเงียบๆ และไม่ค่อยอยู่ในข่าว แต่พอดีเห็นหนังสือพิมพ์เมื่อไม่กี่วันนี้ ลงข่าวสำนักพิมพ์หนึ่ง (ของเจ้าของ Media of Media เดิม) ที่กำลังขยายงาน และวางเป้าหมายที่จะขยายสำนักพิมพ์ให้โตขึ้นเป็น 400 ล้านบาทภายใน 1 ปี และเน้นว่าการจัดจำหน่ายให้ SE-ED เป็นผู้รับผิดชอบ ตรงนี้ผมจึงมาเสริมว่า จุดแข็งของ SE-ED ที่ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง คือ SE-ED เป็นผู้จัดจำหน่ายหนังสือรายใหญ่ที่สุดของเมืองไทย ซึ่งน่าจะเสริมบทบาทกับการเป็นร้านหนังสือรายใหญ่ที่สุด เพราะใครๆ ก็คงอยากให้มีสินค้าของตนเองในร้านของ SE-ED ในระยะยาว (เพราะหนังสือออกใหม่มาก แต่มีที่วางน้อย ตามที่ผู้บริหาร SE-ED แถลงบ่อยๆ) ซึ่งมีฐานการเงินที่แข็งไม่ต้องห่วงหนี้สูญ หรือการชำระเงินช้า ดังนั้น ง่ายสุดคือ การให้ SE-ED เป็นผู้จัดจำหน่ายซะเลย ดังนั้น โอกาสที่ grosss margin จะถูกปรับปรุงดีขึ้น ก็ยังมีแนวโน้มที่ดี เพราะสำนักพิมพ์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เพียงแต่ต้องเพิ่มน้ำหนักส่วนนี้ให้มากขึ้นเพื่อจะได้มีผลกระทบที่เห็นชัด อีกส่วนหนึ่ง คือ เรืองบทบาทของสำนักพิมพ์ ซึ่ง SE-ED เป็นรายใหญ่รายหนึ่งของเมืองไทย (SE-ED เคยเป็นรายใหญ่ที่สุดมาก่อน โดยมี APRINT และนานมีบุ๊คส์ ไต่ระดับขึ้นมาเคียงคู่กันเมื่อ 5-6 ปีหลังนี้) ซึ่ง SE-ED มีจุดเน้นที่ต่างจาก APRINT ตรงที่ SE-ED มีฐานข้อมูลการขายสินค้าในฐานะร่านหนังสือรายใหญ่ที่สุดอยู่ในมือ และเปิดแถลงข่าวเป็นระยะๆ และเน้นนโยบายการผลิตหนังสือที่ขายได้มากในระยะยาว โดยไม่เป็นหนังสือตามกระแส จะทำให้การทำกำไรระยะยาวของ SE-ED ในส่วนสำนักพิมพ์ดี และไม่ไปแข่งกับสำนักพิมพ์ทั่วไป ซึ่งทำให้สำนักพิมพ์ใหญ่ หรือกำลังจะใหญ่ (ที่ส่วนใหญ่เน้นหนังสือกระแส) รู้สึกสบายใจที่ SE-ED ไม่ไปแข่งขันกับตนทางตรงในระยะยาว และอยากให้ SE-ED จัดจำหน่ายหนังสือให้ อีกส่วนหนึ่งที่ SE-ED ขยายงานเพิ่มขึ้น คือ ด้านการศึกษา ที่เปิดโรงเรียนเพลินพัฒนา (และอื่นๆ) ถือเป็นการขยายฐานไปอีกธุรกิจหนึ่งที่ข้างเคียงกัน ยังคงต้องติดตามดูอยู่ว่า SE-ED จะทำได้สำเร็จไหม แต่ถ้าทำได้สำเร็จภายในอีก 2-3 ปี เชื่อว่าธุรกิจการศึกษาน่าจะเป็นฐานการสร้างกำไรระยะยาวเพิ่มขึ้นให้ SE-ED ได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวภายใน 5-10 ปีเมื่อเทียบกับสภาพการทำกำไรของ SE-ED ในขณะนี้ และจะมีโอกาสเติบโตจากการขยายงานส่วนนี้ได้อีกมาก 2. ส่วนทาง APRINT มีจุดเด่นที่สุด คือ ด้านนิตยสาร ซึ่งมีสภาพการทำกำไรที่ดีมากจากรายได้โฆษณา และยังมีการเติบโตได้อยู่ จากนโยบาย Content Business ที่พัฒนาต่อยอดทำรายการโทรทัศน์ และพัฒนามาทำธุรกิจจัดงานแสดงสินค้า ซึ่งทั้งสองส่วนที่ต่อยอดนี้ มีโอกาสทำกำไรด้สูงหากทำสำเร็จ ความเสี่ยงจะมีหน่อยก็ตรงที่เป็นเป้าหมายของค่ายนิตยสารรายใหญ่อื่นมาก ที่ทำนิตยสารใหม่มาแข่งขันชิงแชมป์ ซึ่งทาง APRINT ก็ไม่ได้อยู่เฉย พลิกตัวขยายแนวรบด้านนิตยสารด้วยเช่นกัน เพื่อหามาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง ส่วนธุรกิจสำนักพิมพ์ของ APRINT เป็นอีกจุดแข็งหนึ่งของ APRINT ที่พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีหลังนี้จนกลายมาเป็นรายใหญ่รายหนึ่งของเมืองไทย โดยมีหนังสือออกใหม่มากกว่า 200 ปก (ขณะที่ SE-ED ออกมาประมาณiร้อยกว่าปก ตามข้อมูลจาก SE-ED) และมีนโยบายที่จะขยายแนวหนังสือออกไปทุกแนวตามที่ได้แถลงข่าวในหนังสือพิมพ์ตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา (รวมคอมพิวเตอร์ บริหารธุรกิจ การ์ตูน ธรรมะ) ตรงนี้ถ้าทำขึ้น ก็จะมีผลการทำกำไรที่ดีขึ้น แต่ถ้าพลาดเป็นส่วนใหญ่ ก็ถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง คือ ได้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่สภาพการทำกำไรอาจตกลง จึงขึ้นกับความแม่นยำในการมองตลาดของทีมบรรณาธิการในแต่ละปี ส่วนธุรกิจร้านหนังสือ และการจัดจำหน่าย ในชื่อของบริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ ก็กำลังเปิดแนวรบมากขึ้น แต่คงมีส่วนกระทบกับ APRINT ในเรื่องเป็นช่องทางการขายหนังสือของสำนักพิมพ์ในเครือ APRINT แต่คงไม่ได้กระทบกำไรต่อ APRINT มากนัก เพราะเป็นธุรกิจครอบครัวส่วนตัวนอก APRINT (ถ้าจำไม่ผิด เดิม APRINT ถือหุ้นอยู่ประมาณ 40% แต่ลดสัดส่วนหุ้นลงอีก เพื่อไม่รวมงบ เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุน เข้าใจว่าตอนนี้คงน่าจะไม่ขาดทุนแล้ว) นี่เล่ามาเท่าที่ทราบ ถือว่าแต่ละค่ายมีจุดแข็งของตนเอง มีจุดเน้นที่ต่างกัน และมีโอกาสเติบโตได้ทั้งคู่ ใครชอบแบบไหน (APRINT มีผู้หญิงเป็นแม่ทัพ ส่วน SE-ED มีผู้ชายเป็นแม่ทัพ) และคิดว่าราคาขณะนี้น่าลงทุนตัวไหน ก็เลือกลงทุนกันตามประสา VI กันเองนะครับ
โดย
New Analyst
เสาร์ พ.ค. 13, 2006 9:37 am
0
0
การประชุมผู้ถือหุ้น SE-ED
เรียน คุณ naris ในวัน Oppportunity Day ที่เพิ่งผ่านมาเมื่อไม่นานนี้ คุณทนง ชี้แจงว่าในปี 2549 นี้ มีแผนงานจะเปิดสาขาที่ จ.เลย ผมเข้าใจว่าคงเป็นที่โลตัส ที่กำลังมีข่าวในหนังสือพิมพ์ว่าสร้างเสร็จแล้วโดยเช่าพื้นที่จากศุนย์การค้าเดิมแห่งหนึ่งกลางเมือง (จำชื่อไม่ได้) แต่ยังติดเรื่องใบอนุญาติ ซึ่งกำลังเคลียร์กันอยู่ และได้รับแรงต้านจากกลุ่มขายส่ง และร้านโชห่วยในตัวจังหวัด ถ้าผ่านด่านใบอนุญาตได้ คุณ naris คงไม่ต้องข้ามจังหวัดไปซื้อหนังสืออีกต่อไปแล้ว
โดย
New Analyst
อังคาร พ.ค. 02, 2006 6:35 am
0
0
se-ed 6.3 baht แล้วคับ
ตอนสิ้นปี 2003 จำนวนหุ้นที่เรียกชำระแล้วของ SE-ED เป็น 255.07 ล้านหุ้น (สิ้นปี 2002 เป็น 210.99 ล้านหุ้น) ส่วนปี 2005 เป็น 321.36 ล้านหุ้น ดังนั้น ถ้าคิดตอนสิ้นปีเทียบกันระหว่าง 2005 และ 2003 จำนวนหุ้นที่เรียกชำระแล้ว เพิ่มขึ้นประมาณ 26% ก็ถือว่าคิดจากคนละฐานหุ้นก็แล้วกันครับ เพราะถ้าเป็นผู้ถือหุ้นเดิม ก็ได้วอร์แรนต์มาเฉลี่ยต้นทุนไป
โดย
New Analyst
เสาร์ ม.ค. 28, 2006 1:37 pm
0
0
โรงเรียนอะไรดี ?
โรงเรียนที่อยู่ในข่ายการสอนให้เป็นคนเก่ง และดี ที่มีกระบวนการจัดการเป็นรูปธรรมตามที่คุณ chatchai กล่าวถึง ที่ในกระทู้ดังกล่าวบอกไว้ คือ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (ศาลายา) ซึ่งเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดของประเทศในระดับมัธยมปลาย ประเภทอยู่ประจำทุกคน เรียนฟรีทุกคน ที่ถือว่ามีนโยบายเน้นการเป็นคนดีของสังคมอย่างเป็นกระบวนการ แต่สอบเข้ายากเอาการ ส่วนโรงเรียนอื่นๆ ก็มีการกล่าวเป็นนโยบาย แต่ยังแปรเป็นรูปธรรมไม่ชัดเจน สำหรับโรงเรียนระดับอนุบาลและประถม ที่เน้นประเภทนี้ชัดเจน ก้มีโรงเรียนวิถีพุทธ แต่ไม่รู้ได้ผลแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ครอบครัวต้องมีส่วนสำคัญทำเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น และศรัทธาตาม ถ้าทำได้เอง ก็ไม่ต้องไปขึ้นกับโรงเรียนมากนัก
โดย
New Analyst
อาทิตย์ ต.ค. 02, 2005 1:33 pm
0
0
โรงเรียนอะไรดี ?
ลองเข้าไปอ่านที่เวบบอร์ดนี้ดูครับ ชื่อหัวข้อว่า "เรื่องเล่าจากพ่อลูกสาม - สถิติโรงเรียนบางอย่างที่น่าสนใจสำหรับพ่อแม่" อาจจะได้ไอเดียเพิ่มขึ้น http://202.183.214.244/webboard/topic.php?id=125700 เป็นกระทู้ที่ยาวที่สุดของเวบบอร์ดนั้น เขาบันทึกเป็นสถิติว่า ถ้าเอามาพิมพ์ลงบนกระดาษ A4 จะยาวประมาณเกือบ 400 หน้า ปัจจุบันมีคนเข้ามาอ่านมากกว่า 12,400 ครั้งแล้ว และมีการพูดคุยกันกว่า 510 กระทู้ ได้รับการชมเชยว่าให้ข้อมูลเรื่องโรงเรียนแบบเจาะลึกได้น่าสนใจ ข้างในจะมีสถิติข้อมูลของโรงเรียนต่างๆ ในระบบการศึกษาไทย ที่หาอ่านได้ยาก และมีรายชื่อโรงเรียนแนะนำระดับประถม ระดับมัธยมต้น ระดับมัธยมปลาย ของกทม. และต่างจังหวัด โดยใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งมาประกอบกัน ในนั้นจะมีการให้ link ไปยังกระทู้อื่นที่ให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับเรื่องการตัดสินใจเรื่องโรงเรียนประเภทต่างๆ ด้วย ซึ่งอาจจะตรงกับความต้องการมากขึ้น ลองเข้าไปอ่านเอาเองนะ แต่ควรใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพราะข้อมูลเยอะมากจนต้องใช้เวลาดาวน์โหลดนานกว่าปกติ [/url]
โดย
New Analyst
อาทิตย์ ต.ค. 02, 2005 2:13 am
0
0
ผู้ถือหุ้น SE-ED คิดอย่างไรกับรายการนี้
SE-ED คงไม่ได้คิดจะหลบเรื่องการรวมงบครับ เพราะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินระยะสั้น การลงทุนโรงเรียนเปิดใหม่แห่งหนึ่ง โดยทั่วไปคงต้องใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน) แต่จากสารสนเทศของ SE-ED แจ้งว่า เงินทุนจดทะเบียนของโรงเรี่ยนเพลินพัฒนา อยู่ที่เพียง 80 ล้านบาท และเข้าใจว่าคงกู้เงินไม่เยอะในระยะแรก เพราะคงทะยอยก่อสร้างตามจำนวนนักเรียนที่เพิ่มเข้ามาในแต่ละปี ดังนั้น ช่วงนี้จึงน่าจะยังต้องเพิ่มทุน และ/หรือ หาแหล่งเงินกู้เพิ่ม (ซึ่งก็คงต้องถูกบังคับให้เพิ่มทุนสอดคล้องกับเงินกู้ที่ต้องใช้เพิ่ม) เข้าใจว่าขณะนี้โรงเรียนน่าจะดำเนินการตามนี้อยู่ ความช่วยเหลือทางการเงินของ SE-ED ที่แจ้งตลาดฯ จึงน่าจะเป็นการช่วยเรื่องเงินทุนหมุนเวียน ก่อนการเพิ่มทุน และเพิ่มเงินกู้
โดย
New Analyst
พฤหัสฯ. ส.ค. 18, 2005 8:02 am
0
0
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
New Analyst
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
อังคาร ส.ค. 16, 2005 4:42 am
ใช้งานล่าสุด:
เสาร์ ม.ค. 19, 2013 10:21 pm
โพสต์ทั้งหมด:
86 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.00% จากโพสทั้งหมด / 0.01 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว