หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
smallpunk
Joined: อังคาร พ.ย. 02, 2010 11:49 am
172
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - smallpunk
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: คริปโตดิ่ง/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
ขออนุญาต ช่วยแก้ให้นะครับ ในตอนนั้น ราคาบิทคอยน์ (BITCOIN) ขึ้นไปสูงสุดที่ 68,000 เหรียญ หรือประมาณ 2.176 ล้านบาท ราคาบิทคอยน์ได้ลดลงไปต่ำกว่า 30,000 เหรียญในวันที่ 11 พฤษภาคม และในวันที่ 12 พฤษภาคม ราคาอยู่ที่ 27,212 เหรียญสหรัฐ ลดลงไปจากต้นปี 2565 43.48% และลดลงไปจากจุดสูงสุด 60% และมูลค่าตลาด (Market Capitalization) ลดลงจาก 1.312 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 42 ล้านล้านบาท เหลือเพียง 0.525 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 18.2 ล้านล้านบาท (คำนวณตามค่าเงินบาทที่อ่อนลงแล้ว)
โดย
smallpunk
อังคาร พ.ค. 24, 2022 11:37 am
0
3
Re: อยากรบกวนพี่ๆ ที่มีประสบการณ์การผ่านวิกฤติ มาช่วยแชร์แนวคิดฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกันครับ?
เคยคิดเหมือนกันว่าอาชีพนักลงทุน เป็นอาชีพที่ไม่ค่อยได้สร้าง Productivity อะไรกับโลกใบนี้ จุดนี้เป็นจุดที่ผมคิดมาตลอดครับ เห็นมาหลายคนพอร์ต ร้อย พัน หมื่น เพิ่มขึ้นๆ แต่การริเริ่มหรือขับเคลื่อน productivity แทบไม่ได้มาจากอาชีพนี้เลยจริงๆ
โดย
smallpunk
อาทิตย์ มี.ค. 22, 2020 9:39 am
0
7
Re: ขออนุญาติประชาสัมพันธ์ งาน Meeting Thai VI เชียงใหม่ 1/2020 ครับ
อยู่เชียงใหม่เหมือนกันครับ ไม่แน่ใจ อยากทราบว่ายังจัดอยู่มั้ยครับ เห็นไม่มีคนลงชื่อเลยครับ หรือว่าเบื้องต้นมีจำนวนคนบ้างอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้ลงชื่อในนี้ครับผม
โดย
smallpunk
พฤหัสฯ. ม.ค. 09, 2020 4:47 pm
0
1
Re: สอบถามนักลงทุน full time ว่าใน1วัน ทำอะไรกันบ้างคะ
ในกรณีวันปกตินะครับไม่นับเวลาออกนอกบ้านหรือไปเที่ยวไกลๆ วันธรรมดา 7:00 - ตื่นมาส่งแฟนไปทำงานแล้วหลับต่อ (ส่งแค่หน้าบ้าน) 9:30 - ตื่นอีกรอบ ทำธุระในห้องน้ำ 10:00 - รดน้ำต้นไม้+ให้อาหารสัตว์เลี้ยง 10:30 - อ่านหนังสือบริโภคข้อมูลต่างๆ 12:30 - ทำอาหารมื้อแรกกิน 13:30 - อ่านหนังสือบริโภคข้อมูลต่างๆ 16:30 - เตรียมทำอาหารอีกมื้อ 17:30 - แฟนกลับมา พากันไปออกกำลังกาย 18:30 - อาบน้ำ+กินอาหารมื้อเย็น (กินวันละ 2 มื้อ) 19:30 - ดูหนังที่บ้าน 22:00 - เข้านอน+เล่นเกม (หลับจริงๆประมาณ 23:00) วันเสาร์-อาทิตย์ เปลี่ยนจากดูหนังเป็นดูบอลครับ แล้วก็มีกินข้าวนอกบ้านบ้าง ออกไปเดินเล่นช้อปปิ้งบ้าง ไปดูหนังในโรงบ้าง เวลาตื่นไม่แน่นอนครับ ขึ้นอยู่กับว่าหลับกี่โมง ก็บวกไป 8-9 ชม. ครับ ถ้าวันไหนดูบอลดึก จะตื่นสายครับ ช่วงบอลโลกนี่ 10:00-11:00 แทบทุกวันครับ แต่ผมไม่ใช่นักลงทุน full time นะครับ แต่ก็ไม่ได้ทำงานประจำ และไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ มีรับจ้อบฟรีแล้นซ์บ้าง ปีละ 1-2 งานครับ บางปีก็ไม่มีงาน รับเฉพาะงานที่เรามี passion และ enjoy จริงๆครับ
โดย
smallpunk
อังคาร ต.ค. 08, 2019 3:08 pm
0
10
Re: ฮง สถาพร งามเรืองพงศ์ / Money Chat Thailand
พอได้ดูจบรู้สึกภูมิใจมากๆครับที่ครั้งหนึ่งเคยถือหุ้นตัวเดียวกับคุณฮง (และอาจจะเห็นก่อน เพราะได้ทุนต่ำกว่า) ผมเข้าใจว่าเป็น jas-w3 ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ผมได้กำไร 10 เด้ง ครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิต และช่วงนั้นพอร์ตรวมผมโตกว่า 500% ใน 4-5 เดือน แต่ผ่านมาทุกวันนี้ ผมนำเงินไปลงทุนในธุรกิจอสังหา เจ๊งครับ 5555 แบบที่คุณฮงบอกเลย กลับเข้ามาในตลาดเมื่อกลางปีที่แล้ว ปิดปี 2561 ผลตอบแทนติดลบ ปีนี้กำลังดีๆอยู่ก็มีจุดพลิกผัน ขอขอบคุณ คุณฮง ในที่นี้เลยครับ ที่คลิปนี้ทำให้ผมมีกำลังใจ มั่นคงมากขึ้นในเส้นทาง VI ครับ ปล. อายุเท่ากันเลยครับ
โดย
smallpunk
ศุกร์ ก.ย. 06, 2019 9:43 am
0
11
Re: ฮง สถาพร งามเรืองพงศ์ / Money Chat Thailand
https://youtu.be/Plkum1d6--A
โดย
smallpunk
ศุกร์ ก.ย. 06, 2019 9:30 am
0
4
Re: แชร์บทความดีๆ ที่เหมาะกับสถานการณ์การลงทุนต่างประเทศช่วง
ขอบคุณมากๆครับ
โดย
smallpunk
พฤหัสฯ. ส.ค. 22, 2019 8:54 am
0
0
Re: ว่าด้วยเรื่องการตั้งเป้าหมายของผลตอบแทน
ในปัจจุบัน เพื่อนๆพี่ในที่นี้ ตั้งเป้าหมายผลตอบแทนสำหรับการลงทุนเอาไว้ที่เท่าไรต่อปีกันมั่งครับ? ปีนี้ตั้งไว้ 100% ครับ ปัจจุบันนับจากต้นปีบวกมา 90% มีท่านไหน ที่ตั้งเป้าหมายให้พอร์ทเติบโตใน่ระดับ 40-50% ต่อปี กันบ้างไหมครับ และท่านใช้กลยุทธ์ในการลงทุนอย่างไร เช่น ลงทุนในบริษัทที่ดีที่ต้องโตเร็วมาก? การตั้งเป้าหมายแต่ละปีขึ้นอยู่กับ บ. ที่เราเลือกลงทุนในปีนั้นๆครับ เช่น เราคงไม่หวังราคาหุ้นจะโตปีละ 50% กับ บ. ที่ยอดขายโตแค่ปีละ 10% และเราซื้อ ณ pe 30 เท่าครับ กลับกัน เราสามารถหวังให้ราคาหุ้นโตได้ 100% กับ บ. ที่กำลังเกิดใหม่ยอดขายโต 50% และเราซื้อ ณ pe 5 เท่า (ทั้งนี้ต้องศึกษาดูความแข็งแกร่งของ บ. หลายๆอย่างประกอบด้วยนะครับ) เพื่อนๆพี่ๆ คิดว่าระดับผลตอบแทนสูงๆ เป็นระยะเวลาติดต่อกันห้าปีสิบปี ในปัจจุบันจะมีโอกาสมากน้อยแค่ไหนครับ? ปัจจุบันมีโอกาสน้อยมากครับ เราคงจะต้องเปลี่ยนหุ้นกันบ่อยขึ้น เฟ้นหากันมากขึ้น ถ้าหวังผลตอบแทนสูงๆในทุกๆปี อย่างผมที่หวังในปีนี้ระดับ 100% เพราะว่าปีที่แล้วติดลบไปราว 30% ครับ ปีนี้ถึงจะกลับมา +100% ก็เท่ากับคิดเป็นค่าเฉลี่ยในช่วง 2 ปี แค่ปีละ 18% เท่านั้นเองครับ ระยะยาว 10 ปี ผมหวังแค่ปีละ 15% สำหรับผมก็เก่งมากๆแล้วครับ
โดย
smallpunk
อังคาร ก.ค. 02, 2019 9:36 am
0
7
Re: ขอคำแนะนำ หนังสือวิธีการลงทุนแบบ VI ของเซียนรุ่นใหม่
ถ้าเป็นเซียนในประเทศ รุ่นใหม่ๆที่ผมนึกออก คุณสถาพร งามเรืองพงศ์ ครับ แต่หนังสืออาจจะเขียนมาแล้วนานหน่อยครับ
โดย
smallpunk
พุธ ม.ค. 23, 2019 1:38 pm
0
2
Re: โอกาสทางธุรกิจของ AI กับนักลงทุน VI / นายมานะ
บทความดีมากๆเลยครับ ชื่นชม และขอบคุณมากๆเลยครับนายมานะ รออาจารย์ตี่มาร่วมคอมเมนท์ครับ :B :B :B
โดย
smallpunk
จันทร์ พ.ย. 05, 2018 1:30 am
0
1
Re: การปฏิบัติสมาธิสำคัญกับนักลงทุนและคนทั่วๆ ไปอย่างไร
ปัจจุบันผมก็คล้ายๆพี่ เมื่อ 5 ปีก่อนนะครับ คือไร้ศาสนา ไม่ไหว้พระ ไม่เข้าวัด ไม่ปฏิบัติตามประเพณีของศาสนาใดๆเลย และยังไม่เคยคิดจะปฏิบัติธรรม หรือปฏิบัติสมาธิเลย (แหะๆ) แค่เชื่อในความคิดที่มีเหตุผล เช่นคำสอนดีๆที่เราเชื่อเพราะเหตุและผลนั้นมันสอดคล้องกัน การ meditation หรือทำสมาธิ ผมเข้าใจว่าคือการสำรวจจิต ซึ่งผมอาจจะเคยลองทำอยู่ แล้วพอสำรวจๆไป มันก็เกิดการบันทึกสิ่งที่เราสำรวจได้ ทำไปทำไปก็ไม่จบไม่สิ้น (คือจิตผมคงจะฟุ้งซ่านไปอะครับ 5555) พอไม่ enjoy กับการสำรวจ วนไปๆ (enjoy สำรวจธรรมชาติซะมากกว่า) แล้วก็เลิกทำไปซะ อ่อนหัดมาก การปฏิบัติสมาธิสำคัญกับนักลงทุนและคนทั่วๆ ไปอย่างไร? ผมก็เป็นหนึ่งในคนทั่วไป แต่เท่าที่ผ่านมาผมไม่เคยให้ความสำคัญเลย แต่ผมไม่ใช่นักลงทุนขั้นเทพอะไร แล้วก็ยังไม่ประสบความสำเร็จอะไรเลย เป็นแค่คนที่ enjoy กับการลงทุนน่ะครับ ขอบคุณสำหรับความคิดมากๆนะครับ อย่างน้อยก็ทำให้ผมมีความคิดที่จะลองศึกษาเกี่ยวกับ meditation จริงจังมากขึ้นครับ
โดย
smallpunk
พุธ ก.ย. 26, 2018 10:35 am
0
2
Re: ลงทุน 100 ปี กับ หุ้นต่างประเทศ
https://ahead.asia/2018/06/28/facebook-revolution/ แผนโค่น Mark Zuckerberg : เมื่อผู้ถือหุ้น Facebook ขอปฏิวัติ โดย Chatree Tansathawerat - มิถุนายน 28, 2018 คงไม่มีใครคัดค้านว่า Facebook ก็คือ Mark Zuckerberg และตัวของผู้ก่อตั้งรายนี้ ก็คือสัญลักษณ์ของโซเชียลมีเดียเบอร์หนึ่งโลก อย่างไรก็ดี ปัญหาที่ผุดขึ้นไม่หยุดหย่อน รวมถึงตัวเลชความเสื่อมถอยของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เริ่มมองหาทางเลือกอื่นในการใช้งาน ก็เป็นสัญญาณเตือนภัยเล็กๆสำหรับ “พี่มาร์ค” ว่าควรต้องแก้ไขอะไรบางอย่าง และในมุมมองของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่ถือครองหุ้นบริษัท กว่า 3,000 ล้านดอลลาร์ สิ่งที่ “พี่มาร์ค” ควรเปลี่ยนเป็นอันดับแรก คือตัวเขาเอง และโครงสร้างการบริหารขององค์กร แม้จะประสบความสำเร็จอย่างสูง นับแต่นำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในปี 2012 หุ้นของ Facebook มีอัตราเติบโตกว่า 400% ส่วนรายรับก็พุ่งถึงเกือบ 1,000% ไปแตะที่หลัก 40,000 ล้านดอลลาร์ (1.2 ล้านล้านบาท) ปัจจุบัน ตัวเลขผู้ใช้งานก็สูงถึงเดือนละ 2,200 ล้านคน หรือคิดเป็น 30% ของประชากรโลก จนแทบเป็นการผูกขาดในอุตสาหกรรมนี้ ถ้าเทียบกับยอดผู้ใช้งานโซเชียลอื่นๆ อย่าง Twitter หรือ Snap แต่ความไม่พอใจของเหล่า ผู้ถือหุ้น ก็ก่อตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ซึ่งนับเป็นครั้งแรก นับแต่ทำ IPO ในปี 2012 ที่เกิดกระแสต่อต้านมากขนาดนี้ Business Insider ได้พูดคุยกับผู้ถือหุ้นใหญ่หกราย และได้รับข้อมูลว่ามีความไม่พอใจเกิดขึ้นจริง หลังเกิดข่าวฉาวหลายครั้งกับการให้บริการ ตั้งแต่การแทรกแซงการเลือกตั้ง ไปจนถึงข้อมูลรั่วในกรณี Cambridge Analytica “โดยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม” หนึ่งในนั้น คือ Scott Stringer ซึ่งดูแลหุ้นมูลค่ารวม 895 ล้านดอลลาร์ ผ่านกองทุนบำนาญของนิวยอร์ค Stringer กล่าวว่าโครงสร้างการบริหารในปัจจุบัน เอื้อให้เกิด “ความเสี่ยง” ที่อาจกระทบต่อ ชื่อเสียงขององค์กร การดำเนินงานที่ขัดต่อกฏหมาย ฯลฯ และกรณีของ Cambridge Analytica ก็สร้างความกังวลให้ตนเป็นพิเศษ ทั้งในฐานะผู้ดูแลเงินจากกองทุน และอนาคตทางการเมืองของตน ในฐานะว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองในปี 2021 ในนามตัวแทนพรรคเดโมแครท แม้บริษัทจะประสบความสำเร็จอย่างสูง แต่เหตุผลหลักที่บรรดาผู้ถือหุ้นไม่พอใจ Zuckerberg เป็นเพราะเจ้าตัวไม่เคยรับฟังความเห็นของใครเลย Michael Frerich ซึ่งลงทุนใน Facebook ไป 35 ล้านดอลลาร์ กล่าวถึงแนวทางการบริหารของผู้ก่อตั้งรายนี้ว่า “เขาไม่ฟังใครทั้งนั้น จะบอร์ด หรือผู้ถือหุ้น สำหรับผมนี่เป็นรูปแบบการบริหารองค์กรที่แย่มาก เขาคือเจ้านายตัวเอง และตอนนี้มันก็แสดงให้เห็นแล้วว่ามันไม่เวิร์ค” ที่ผ่านมา Frerich ซึ่งอยู่ในแวดวงการเมืองเช่นกัน เริ่มเดินหน้าจับมือกับผู้ถือหุ้นอีกสี่ราย นำโดย Natasha Lamb จาก Arjuna Captial รวมมูลค่าที่ทั้งหมดถือแล้วราว 2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อล็อบบี้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุผลที่ว่าการบริหารงานของ Zuckerberg ขาดความน่าเชื่อถือ และเป้าหมายในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ มีเป้าหมายสองเรื่องคือ ต้องการให้ผู้ก่อตั้งรายนี้ ก้าวลงจากตำแหน่งประธาน เพื่อเปิดทางให้ผู้บริหารคนนอกเข้าไปทำหน้าที่แทน และอีกข้อก็คือทำลายโครงสร้างการแบ่งระดับชั้นผู้ถือหุ้นในองค์กรลง เนื่องจากปัจจุบัน นี่คือรากฐานสำคัญในการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จของ Zuckerberg และพรรคพวก Jonas Kron รองประธานอาวุโสของ Trillium Asset Management ซึ่งดูแลหุ้น Facebook มูลค่า 10.5 ล้านดอลลาร์ ในนามองค์กรการกุศล Park Foundation เปรียบเทียบโครงสร้างการบริหารของ Facebook ว่าแตกต่างกับองค์กรระดับโลกอื่นๆที่มีมูลค่ามหาศาลใกล้เคียงกันโดยสิ้นเชิง เพราะไม่ว่าจะ Apple, Google, Oracle, Twitter หรือ Microsoft ล้วนแต่แยกบทบาทของประธาน และ CEO ออกจากกันแบบชัดเจน Kron ชี้ว่า Zuckerberg ควรลดทิฐิของตัวเองลง และหันไปพิจารณาแนวทางของ Bill Gates เมนเทอร์และต้นแบบของตนว่าเป็นอย่างไร เมื่อครั้งลาออกจากตำแหน่ง CEO ในปี 2000 Gates จัดการแยกบทบาทของ CEO กับประธานบริหารออกจากกันโดยสิ้นเชิง นอกจากการบริหารแบบรวมศูนย์ไว้ที่ตัวเองแล้ว อำนาจของ Zuckerberg ยังอยู่ที่เสียงโหวตด้วย เพราะ Facebook แบ่งประเภทหุ้นออกเป็นสองคลาส โดยคลาสบีนั้น มีสิทธิ์ในการโหวตเหนือกว่ากลุ่มที่ถือคลาสเอ ถึง 10 เท่า และ Zuckerberg ถือหุ้นในคลาสบีไว้กับตัว มากเกินกว่า 75% หรือพูดง่ายๆคือเขาคนเดียว มีสิทธิ์ในการออกเสียงเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ถือหุ้นทั้งหมดใน Facebook นั่นเอง “เมื่อคุณควบทั้งตำแหน่งประธาน และ CEO ไว้ด้วยกัน และถือหุ้นที่มีสิทธิ์ในการออกเสียงส่วนใหญ่ไว้เกือบหมด นี่คือส่วนผสมของยาพิษชัดๆ” Michael Connor ผู้อำนวยการของ Open Mic องค์กรสำหรับการรณรงค์ต่างๆของผู้ถือหุ้นในบริษัทชั้นนำของสหรัฐ แสดงทรรศนะ “แปลว่าแทบไม่มีที่ว่างสำหรับคนที่คิดต่างเลย” อำนาจของ Zuckerberg ในจักรวาลของ Facebook ไม่ต่างอะไรกับ ธานอส หลังรวมอินฟินิตี้สโตนทั้งหมดมาครอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดสุด คือในรอบ 13 เดือนที่ผ่านมา เคยมีความพยายามเรียกร้องให้เขาสละตำแหน่งประธานบริหารมาแล้วครั้งหนึ่ง ถึงขนาดที่ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งถูกเชิญออกจากงาน ในการประชุมผู้ถือหุ้นปีกลาย เพราะกล่าวแสดงความไม่พอใจการบริหารงานแบบ “เผด็จการ” ของ Zuckerberg สุดท้าย ข้อเสนอดังกล่าวก็ถูกโหวตตกไป แม้จะได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มผู้ถือหุ้นทั่วไป (ซึ่งก็คือกลุ่มที่ถือหุ้นคลาสเอ) ถึง 51% ก็ตาม ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกครั้ง ในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งล่าสุด เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ข้อเสนอในการปรับโครงสร้างระดับของหุ้นถูกยื่นเข้าสู่ที่ประชุม และแพ้ในการโหวตอีกครั้ง ทั้งที่ 83% ของกลุ่มผู้ถือหุ้นทั่วไป จะเห็นด้วยกับแผนนี้ บทวิเคราะห์ของ Connor พบว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นคลาสบีนั้น มีเพียง 8 คน โดยที่ Zuckerberg เพียงคนเดียวก็ถือหุ้นกลุ่มนี้ไว้ถึง 3 ใน 4 แล้ว ขณะที่คนอื่นๆนั้น ก็ล้วนอยู่ในขั้วเดียวกับ Zuckerberg นำโดย Sheryl Sandberg COO คู่บุญ และบอร์ดบริหารคนอื่นๆ อาทิ Peter Thiel และสองผู้ร่วมก่อตั้ง Dustin Moskovitz และ Eduardo Saverin หรือพูดง่ายๆว่า หากฝ่าย Zuckerberg มีความเห็นขัดแย้งกับผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ พวกเขาก็จะยังเป็นฝ่ายชนะในการลงคะแนนเสียงอยู่ดี Patrick Doherty ผู้อำนวยการของ New York comptroller ซึ่งดูแลหุ้น Facebook มูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ให้ทรรศนะถึงโครงสร้างการบริหารแบบนี้ ว่าเป็นแนวทางที่ถอยหลังกลับไปยังศตวรรษที่ 19 เลยทีเดียว “แนวคิดที่ว่าต้องมีกลุ่มคนประเภทออโตแครท (ผู้มีอำนาจ) คอยควบคุมบริษัทใหญ่ มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ มันเป็นเรื่องล้าหลังสุดๆ วิธีที่ให้พวกโจรผู้ดีคอยกุมอำนาจอยู่เบื้องบนแบบนี้ มันต้องย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 19 โน่น” อีกตัวอย่างของการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จโดยคนกลุ่มเดียว เกิดขึ้นเมื่อ Lamb นำเสนอไอเดียบางอย่างไป และถูกปัดตกโดย Elliot Schrage รองประธานฝ่ายสื่อสารและนโยบายสาธารณะ หนึ่งในคนสนิทของ Zuckerberg ด้วยท่าทีที่ Lamb ระบุว่าสื่อถึงการเหยียดเพศ ซึ่งสื่อให้เห็นว่าบอร์ดไม่ใส่ใจความเห็นของผู้ถือหุ้น แม้ Schrage ซึ่งเตรียมลาออกในเร็วๆนี้ จะกล่าวขอโทษในภายหลังก็ตาม ในมุมมองของ Lamb การที่ Zuckerberg ยืนกรานควบสองบทบาทในองค์กร เป็นเพราะเขารู้ดีว่าเมื่อไหร่ที่ตกลงยอมลงจากหน้าที่ประธานบริหาร ก็ไม่ต่างอะไรกับการยอมจำนน ให้ตัวเองถูดถอดถอนจากตำแหน่ง CEO ต่อไปนั่นเอง แถลงการณ์จาก Facebook ถึงเรื่องการบอกปัดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารนั้น ระบุว่าการแบ่งแยกระดับของหุ้นเป็น คลาสเอ และบี นั้น มีขึ้นมาตั้งแต่ปี 2009 หรือสามปีก่อนทำ IPO ด้วยซ้ำ “โครงสร้างนี้เป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นของเราแล้ว และการบริหารงานขององค์กรก็สมเหตุสมผลและมีประสิทธิภาพดี” พร้อมระบุว่า หาก Zuckerberg ถูกบีบให้ออกจากตำแหน่งประธานบริหารจริง สิ่งที่ตามมา ก็คือจะเกิด “ความไม่มั่นคง ความสับสน และขาดประสิทธิภาพภายในบอร์ด และการบริหารจัดการภายใน” ในมุมของผู้ถือหุ้นกลุ่มนี้ คำแถลงข้างต้นของ Facebook “ขัดแย้ง” กับคำกล่าวขอโทษต่อสาธารณชนของ Zuckerberg ถึงกรณีข้อมูลรั่วไหลผ่าน Cambridge Analytica เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพราะในคำขอโทษถึงกรณีข่าวปลอม การแทรกแซงการเลือกตั้ง และการรั่วไหลของข้อมูล Zuckerberg ยอมรับว่า “ไม่ได้ตรวจตราอย่างถ้วนถี่มากพอตามหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่” แต่กลุ่มผู้ถือหุ้นเชื่อว่าปัญหาข้างต้นจะได้รับการแก้ไข หาก Zuckerberg เปิดกว้างทางความคิดกว่านี้ “ถ้าคุณเปิดกว้างรับฟังความเห็นของผู้อื่นบ้าง โดยเฉพาะจากผู้ถือหุ้นทั่วไป คุณจะตัดสินใจอะไรต่างๆได้ดีขึ้น” แม้ที่ผ่านมา ความพยายามของผู้ถือหุ้นกลุ่มนี้จะถูกปฏิเสธ แต่ทั้งหมดก็ยังยืนกรานจะยื่นเรื่องนี้ต่อในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีครั้งต่อๆไป เช่นเดียวกับแนวทางอื่นๆ อาทิ การส่งจดหมายถึงกลุ่มผู้อำนวยการองค์กร พยายามมีบทบาทในที่ประชุมบริหารให้มากขึ้น รวมถึงการแสดงความไม่พอใจผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าความพยายามเหล่านี้จะส่งผลหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน แต่ Dylan Sage ผู้อำนวยการของ Baldwin Brothers เชื่อว่าผลลัพธ์จากปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของรายได้ที่ลดลง หรือฟีดแบ็กจากผู้ใช้งาน จะค่อยๆบีบให้ Facebook (หรือ Zuckerberg) อยู่เฉยไม่ได้ในที่สุด “ถ้ายังมีกรณีแบบเดียวกับ Cambridge Analytic, การแทรกแซงการเลือกตั้ง, ปัญหา hatespeech ฯลฯ ผุดขึ้นมาเรื่อยๆ เราจะได้เห็นปฏิกิริยาจากผู้ใช้งานเอง และเมื่อถึงเวลานั้น หน่วยงานรัฐอาจจะเข้ามาข้องเกี่ยว” Sage ยอมรับว่าเหตุการณ์ Cambridge Analytica ส่งผลให้เขาตัดสินใจปล่อยหุ้นในมือออกไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังลงทุนกับบริษัทอยู่ราว 2.8 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ Doherty ก็ย้ำว่าความพยายามคัดง้างกับบอร์ดที่นำโดย Zuckerberg นั้น สุดท้ายก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ Facebook นั่นเอง “เราก็ต้องการให้บริษัทได้ประโยชน์ เพราะเราคือกลุ่มนักลงทุนหลัก เราลงทุนไปกว่า 1 พันล้าน และก็หวังว่านี่จะเป็นการลงทุนที่ถูกต้อง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นมากมาย ทำให้เรารู้สึกว่ามันต้องมีการเปลี่ยนแปลง” และทั้งหมดก็เชื่อว่าทางที่เหมาะสมที่สุด ก็คือการปรับโครงสร้างบริหารจัดการใหม่หมดนั่นเอง ส่วน Connor ที่ไม่มีส่วนได้เสียใดๆกับ Facebook ก็กล่าวว่าแม้วันนี้พวกเขาจะเป็นเบอร์หนึ่ง แต่ก็ไม่มีอะไรการันตีว่าพวกเขาจะอยู่ ณ จุดนี้ไปตลอด เพราะประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นแล้วว่ายักษ์ใหญ่แค่ไหนก็สามารถล้มได้เสมอ “บางคนอาจคิดว่า Facebook ไม่มีวันล้ม ผมไม่เห็นด้วย คุณลองย้อนไปดูบริษัทอย่าง AOL หรือ Yahoo ดูก็ได้ หรือแม้แต่ Travis Kalanick เขาเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Uber แต่เมื่อเขาทำพลาด เขาก็ต้องไป” “การคิดว่าตัวเองไร้เทียมทานนั่นแหละ คือหนทางสู่การทำลายตัวเอง” บางที ปี 2018 อาจไม่ใช่ “ปีชง” สำหรับ Facebook อย่างที่เราเคยว่าไว้ แต่อาจเป็นปีชงสำหรับผู้ก่อตั้ง อย่าง Mark Zuckerberg แทน จริงอยู่ สถานะของ Facebook ในวันนี้ แทบจะเรียกได้ว่า “ไร้เทียมทาน” ในอุตสาหกรรมโซเชียลมีเดีย แต่ก็อย่างที่ทีมงาน AHEAD ASIA เคยนำเสนอไปว่า โซเชียลมีเดียสีน้ำเงินนั้น ไม่ใช่พื้นที่สำหรับวัยรุ่นเหมือนในอดีตอีก ทั้งอายุขององค์กรที่ยืนยาวมานับสิบปี เหล่าผู้ใช้งานในยุคแรกต่างก็เติบโตจากวัยรุ่นในวันนั้น กลายมาเป็นผู้ใหญ่ในวันนี้หมดแล้ว ทั้งเรื่องที่เด็กๆเองก็ต้องการบางสิ่งที่ต่างออกไป และไม่ถูกจับตาดูโดยพ่อแม่ผู้ปกครอง (ซึ่งเคยเป็นวัยรุ่นในยุคแรกของ Facebook มาก่อน) หรือแม้แต่ตัวของ Zuckerberg เองก็เช่นกัน แม้ด้วยอายุอานามจะยังไม่มาก เมื่อเทียบกับผู้บริหารองค์กรระดับโลกรายอื่นๆ แต่เขาก็ไม่ใช่วัยรุ่นหัวขบถเหมือนเดิม ทุกวันนี้เราจึงแทบไม่ได้เห็นการเดิน ตามคติ ‘Move fast, break things’ จาก Facebook อีกเลย และเป็นไปได้หรือไม่ การที่เจ้าตัวประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เกิดความเชื่อมั่นจนเกินเหตุ และนำไปสู่การไม่ฟังเสียงจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นทั่วไป จนเป็นที่มาของการพยายาม “เลื่อยขา” เจ้าตัวในครั้งนี้ จริงอยู่ว่า Zuckerberg คือสัญลักษณ์ของ Facebook แต่จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เราได้เห็นแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอ Steve Jobs หรือ Travis Kalanick ต่างก็ถูกบีบให้ต้องอำลาองค์กรที่ตนสร้างมากับมือ เมื่อหมากเดินผิดพลาด แม้จะกุมอำนาจเบ็ดเสร็จไว้อย่างในปัจจุบัน ก็คงไม่มีใครกล้าฟันธงว่า Zuckerberg จะปลอดภัยในตำแหน่งประธานบริหาร และ CEO ของ Facebook ไปได้ตลอดอยู่ดี เพราะเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในรอบเกือบสองปีที่ผ่านมา ทั้งความล้มเหลวในการควบคุมการแพร่กระจายของข่าวปลอม การรั่วไหลของข้อมูลผ่าน Cambridge Analytica ฯลฯ ก็คือการเดินหมากที่ผิดพลาดของอดีตวัยรุ่นผู้พยายามเชื่อมโยงโลกใบนี้เข้าด้วยกัน ใช่หรือไม่?
โดย
smallpunk
พฤหัสฯ. ก.ย. 13, 2018 12:21 pm
0
3
Re: ปีเตอร์ ลินช์ ได้กล่าวไว้
ภาพใหญ่เหลือเกินครับ ย่อให้ละกันนะ
โดย
smallpunk
พฤหัสฯ. ก.ค. 31, 2014 6:39 pm
0
3
Re: สำรวจ อาชีพ ของเพื่อนๆพี่ๆนักลงทุนในสมาคมนี้น่ะครับ
สถาปนิก ไม่มีหรือครับ?
โดย
smallpunk
อาทิตย์ ก.ค. 28, 2013 11:53 pm
0
1
Re: ธุรกิจเดินเรือ ถึงเวลา กลับมา หรือยัง
คนในวงการ shipping บอกมาว่า แค่เพิ่งจะเริ่มมีแค่ 2-3 รายเล็กๆที่ปิดกิจการ เพราะทำแล้วขาดทุน มันไม่คุ้มก็เลยขายเรือให้รายใหญ่ และยังบอกว่าเรือสมัยนี้ จีนผลิตใช้เวลา 6 เดือนก็ใช้ได้แล้ว โปรดใช้วิจารณญาณนะครับ ผมก็ฟังเค้ามาอีกที
โดย
smallpunk
พฤหัสฯ. มิ.ย. 27, 2013 10:50 am
0
3
Re: บทเรียนจากความผันผวน/ธันวา เลาหศิริวงศ์
ขอบคุณมากๆครับ
โดย
smallpunk
ศุกร์ เม.ย. 05, 2013 4:05 pm
0
0
Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ
ดูหุ้นตอนนี้เหมือนดู Dragonball Z เลยครับ สมัยก่อน Super Saiya กว่าจะเป็นกันได้นี่แทบตาย เดี๋ยวนี้หุ้นหลายเด้งมีเกลื่อนตลาด ทำไม Super Saiya มันเป็นกันง่ายจัง :D แถมมีการฟิวชั่น เพิ่มเด้งกันอีกด้วยครับ
โดย
smallpunk
พุธ เม.ย. 03, 2013 8:22 pm
0
3
Re: รบกวนขอความรู้เกี่ยวกับ วอแรนท์ ครับ
ขออนุญาติใช้พื้นที่นี้ รบกวนเพิ่มเติมในเรื่องเกี่ยวกับ วอแรนท์ ด้วยเลยนะครับ (จะได้ไม่เปลืองกระทู้ :mrgreen: :mrgreen: ) มีเคสๆหนึ่งอยากให้ช่วยพิจารณากันครับ ในกรณีของ TFD-W1 ข้อมูลใบสำคัญแสดงสิทธิ ประเภทหลักทรัพย์ ใบสำคัญแสดงสิทธิ วันที่เข้าซื้อขายวันแรก 18 เม.ย. 2546 หลักทรัพย์อ้างอิง TFD ราคาใช้สิทธิ 1.00 บาท อัตราใช้สิทธิ (หลักทรัพย์:หลักทรัพย์อ้างอิง) 1 : 1.188 จำนวนหุ้นจดทะเบียนกับตลท. 38,022,965 หุ้น จำนวนหุ้นคงเหลือที่สำรองไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิ 45,171,286 หุ้น ยอดรวมจำนวนหุ้นที่นำมาใช้สิทธิ 90,879,000 หุ้น วันที่ใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 31 มี.ค. 2556 วันหมดอายุ 31 มี.ค. 2556 จากอัตราใช้สิทธิและราคาใช้สิทธิข้างต้น ในกรณีที่ ราคาตัวแม่ TFD มีราคาขยับขึ้นตามนี้ เช่น ถ้าตัวแม่ราคา 1.50 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (1.5-1)*1.188 = 0.594 บาท (ส่วนต่างราคา 0.90 บาท) ถ้าตัวแม่ราคา 2 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (2-1)*1.188 = 1.188 บาท (ส่วนต่างราคา 0.82 บาท) ถ้าตัวแม่ราคา 3 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (3-1)*1.188 = 2.376 บาท (ส่วนต่างราคา 0.63 บาท) ถ้าตัวแม่ราคา 4 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (4-1)*1.188 = 3.564 บาท (ส่วนต่างราคา 0.44 บาท) ถ้าตัวแม่ราคา 5 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (5-1)*1.188 = 4.752 บาท (ส่วนต่างราคา 0.25 บาท) ถ้าตัวแม่ราคา 6 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (6-1)*1.188 = 5.94 บาท (ส่วนต่างราคา 0.06 บาท) ถ้าตัวแม่ราคา 7 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (7-1)*1.188 = 7.128 บาท (ส่วนต่างราคา 0.128 บาท)*ตัวลูกมีราคามากกว่า ถ้าตัวแม่ราคา 8 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (8-1)*1.188 = 8.316 บาท (ส่วนต่างราคา 0.316 บาท)*ตัวลูกมีราคามากกว่า ถ้าตัวแม่ราคา 9 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (9-1)*1.188 = 9.504 บาท (ส่วนต่างราคา 0.504 บาท)*ตัวลูกมีราคามากกว่า ถ้าตัวแม่ราคา 10 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (10-1)*1.188 = 10.692 บาท (ส่วนต่างราคา 0.692 บาท)*ตัวลูกมีราคามากกว่า ถ้าตัวแม่ราคา 11 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (11-1)*1.188 = 11.88 บาท (ส่วนต่างราคา 0.88 บาท)*ตัวลูกมีราคามากกว่า ถ้าตัวแม่ราคา 12 บาท ตัวลูกก็ควรจะมีราคาที่ (12-1)*1.188 = 13.068 บาท (ส่วนต่างราคา 1.068 บาท)*ตัวลูกมีราคามากกว่า ณ วันอังคารที่ 12 ก.พ. 2013 ราคาตัวแม่อยู่ที่ 8.60 บาท ตัวลูกอยู่ที่ 7.50 บาท ถ้าเราซื้อตัวลูกที่ราคานี้ จำนวน 1000 หุ้น เราใช้เงิน 7,500 บาท ถ้าหากสมมุติว่าถึงกำหนดการแปลงและราคาหุ้นไม่เปลี่ยนแปลงจากวันนี้ จำนวนหุ้นที่เรามี 1000 หุ้น จะสามารถแลกหุ้นแม่ได้ 1188 หุ้น แต่เราต้องเพิ่มเงินในการใช้สิทธิอีก 1 บาทต่อหุ้น นั้นคือ 1,188 บาท รวมแล้วเราจะมีต้นทุนเป็น 7,500+1,188 = 8,688 บาท และได้จำนวนหุ้นแม่สำหรับซื้อขาย ได้จำนวน 1188 หุ้น คิดเป็นราคาต้นทุนที่หุ้นละ (8688/1188 = 7.31 บาท) และถ้าหากเราขายในวันแรกของการแปลง ที่ราคาเดียวกันนี้ เราจะขายได้เงิน 1188*8.60 = 10,216.8 บาท หรือกำไรประมาณ 17.6% ทั้งๆที่ราคาไม่ได้เปลี่ยนแปลง หรือว่าในความเป็นจริง ในวันแปลงราคาตัวแม่ควรจะ dilute ลงมาตามสัดส่วนนี้? (ลงจาก 8.60 เหลือ 7.30) ประเด็นที่ผมสงสัย คือ ณ อัตราการแปลงตรงนี้ 1:1.188 ที่ตัวลูกสามารถแปลงเป็นตัวแม่ได้จำนวนเพิ่มขึ้น พอถึง ณ ราคาๆหนึ่ง จะทำให้ตัวลูกมีค่ามากกว่าตัวแม่ใช่หรือไม่? คือผมไม่แน่ใจกับความคิดข้างต้น วานพี่ๆเพื่อนๆน้องๆ ช่วยพิจารณาด้วยครับ
โดย
smallpunk
อังคาร ก.พ. 12, 2013 11:52 pm
0
0
Re: Introvert Extrovert กับการลงทุน
อย่างงี้ introvert น่าจะหาแฟนได้ยากกว่า extravert รึป่าวครับผม? ขออภัยที่นอกประเด็นครับ :mrgreen:
โดย
smallpunk
พุธ ม.ค. 30, 2013 11:59 am
0
0
Re: ใครๆก็ทำกำไรจากหุ้นได้ในช่วงนี้ แล้วคนที่ขาดทุนหายไปไหน
คนที่ขาดทุนไม่ได้หายไปไหนหรอกครับ แต่เรายังมองไม่เห็นเค้าครับ เพราะเค้ายังไม่ได้เข้ามาในตลาดครับ
โดย
smallpunk
พฤหัสฯ. ธ.ค. 20, 2012 1:16 pm
0
0
Re: ***เปิดจองงานสัมมนา กลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/2555***
จองสัมมนา
โดย
smallpunk
พฤหัสฯ. ส.ค. 30, 2012 9:12 am
0
0
Re: กรณีศึกษาการวิเคราะห์หุ้นที่มีกำไรพิเศษ
น่าสนใจครับ
โดย
smallpunk
พุธ ส.ค. 15, 2012 2:06 am
0
1
Re: เครือข่ายการลงทุน
1. Major Of Architecture 2. Freelance 3. Music, Soccer, Design, Investing
โดย
smallpunk
อาทิตย์ ก.ย. 11, 2011 4:36 pm
0
0
Re: ณ เวลาแบบนี้ อยากให้จำไว้ให้ดีว่า..เพื่อประโยชน์ตัวท่านเ
investing isn’t about beating others at their game. It’s about controlling yourself at your own game. " - THE FATHER of value investing AKA GENIUS +1 like
โดย
smallpunk
จันทร์ ส.ค. 22, 2011 7:27 pm
0
3
Re: ถ้าไม่มีตลาดหุ้น เราจะทำอะไร
เป็นศิลปิน
โดย
smallpunk
ศุกร์ ก.ค. 29, 2011 5:00 pm
0
0
Re: สารคดีชีวิตสัตว์โลก :: ชีวิตทำงาน VS ชีวิตเล่นหุ้น
ในระหว่างที่ค้นหาคุณค่าของหุ้น ผมว่าคุณค้นพบคุณค่าของตัวเองแล้วล่ะ
โดย
smallpunk
จันทร์ ก.ค. 18, 2011 12:02 am
0
0
Re: ทำไมเงินเฟ้อแล้วหุ้นต้องตก
เงินเฟ้อจะกระทบกับทองไหมครับ?
โดย
smallpunk
พฤหัสฯ. มี.ค. 24, 2011 11:35 pm
0
0
Re: เบื่อมาม่า! มานั่งทบทวนแนวคิดของตัวเองดีกว่า
ชัดเจนครับ เรื่องเดิมๆ เปลี่ยนแค่ตัวละคร ขอบคุณมากครับ สำหรับแนวคิดดีๆและมีประโยชน์
โดย
smallpunk
พฤหัสฯ. ก.พ. 17, 2011 12:25 am
0
0
Re: ในภาวะตลาดแบบนี้ ท่านมีกลยุทธการลงทุนอย่างไรกันบ้างครับ
ใช้กลยุทธในการลงทุนที่อยู่ได้ทุกสภาวะตลาดครับ คิดว่ากลยุทธของ Buffet น่าจะใช้ได้หากไม่เกิดสงครามโลกซะก่อน
โดย
smallpunk
ศุกร์ ก.พ. 11, 2011 11:21 pm
0
0
Re: ถ้าตอนนี้มีเงินอยู่ใน มือ 1ล้านบาท คุณจะทำอย่างไร
คงใช้เวลาในการตัดสินใจที่ทะทำอย่างไรกับเงินก้อนนี้ให้นานๆหน่อยครับ ต้องคิดให้มากกว่าเงินหมื่นหรือเงินแสน เพราะคิดว่าไม่ใช่เงินน้อยๆ (อย่างน้อยคงเป็นเดือน)
โดย
smallpunk
ศุกร์ ก.พ. 11, 2011 11:08 pm
0
0
Re: รวมหุ้น..ที่ทำให้VIต้องช้ำใจ
RS ครับ เล็งตอนสีแดงๆ ช่วงปลายๆปี แต่มีเหตุผลต้องใช้เงิน ก็เลยไม่ได้ซื้อครับ
โดย
smallpunk
ศุกร์ ก.พ. 11, 2011 10:57 pm
0
0
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
smallpunk
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
อังคาร พ.ย. 02, 2010 11:49 am
ใช้งานล่าสุด:
อังคาร ส.ค. 23, 2022 1:26 pm
โพสต์ทั้งหมด:
172 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.01% จากโพสทั้งหมด / 0.03 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว