หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
prasaen
Joined: พุธ พ.ย. 24, 2010 10:46 pm
118
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - prasaen
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: ฉัตรชัย วงแก้วเจริญวิเคราะห์หุ้น 'รวย'! จากงบการเงิน
ซื้อหุ้นตอนวิกฤตได้ คุณควรจะเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหา ผลกระทบจากปัญหา และแนวทางแก้ไข ไม่่สูตรสำเร็จว่า เวลาวิกฤต เวลาหุ้นตกหนัก แล้วซื้อหุ้นทันที ครั้งนี้คุณอาจกำไร แต่ไม่เสมอไป เหมือนนักลงทุนที่ช้อนซื้อหุ้นช่วงวิกฤต Black Monday วิกฤต Mini Black Monday พฤษภาทมิฬ สงครามอ่าวเปอร์เซีย แล้วได้กำไร แต่มาหมดตัวจากวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะฉะนั้นวิกฤตแต่ละครั้งเราต้องมองว่ามีผลกระทบกับบริษัทที่เราลงทุนมากแค่ไหนใช่ไหมครับ ถ้าไม่เกี่ยวหรือมีผลกระทบบ้างเล็กน้อย ถ้าราคาลงไปเยอะก็ให้ซื้อเพิ่ม ซึ่งก็แล้วแต่ว่าแต่ละคนจะมีวิธีการซื้อเพิ่มยังไง เช่น ทะยอยซื้อเมื่อลงมา 10% 20% 30% แต่ถ้ามีผลมากก็ขายทุกราคาใช่ไหมครับ
โดย
prasaen
อังคาร ต.ค. 23, 2012 3:17 pm
0
0
Re: ฉัตรชัย วงแก้วเจริญวิเคราะห์หุ้น 'รวย'! จากงบการเงิน
ซื้อหุ้นตอนวิกฤตได้ คุณควรจะเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหา ผลกระทบจากปัญหา และแนวทางแก้ไข ไม่่สูตรสำเร็จว่า เวลาวิกฤต เวลาหุ้นตกหนัก แล้วซื้อหุ้นทันที ครั้งนี้คุณอาจกำไร แต่ไม่เสมอไป เหมือนนักลงทุนที่ช้อนซื้อหุ้นช่วงวิกฤต Black Monday วิกฤต Mini Black Monday พฤษภาทมิฬ สงครามอ่าวเปอร์เซีย แล้วได้กำไร แต่มาหมดตัวจากวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะฉะนั้นวิกฤตแต่ละครั้งเราต้องมองว่ามีผลกระทบกับบริษัทที่เราลงทุนมากแค่ไหนใช่ไหมครับ ถ้าไม่เกี่ยวหรือมีผลกระทบบ้างเล็กน้อย ถ้าราคาลงไปเยอะก็ให้ซื้อเพิ่ม ซึ่งก็แล้วแต่ว่าแต่ละคนจะมีวิธีการซื้อเพิ่มยังไง เช่น ทะยอยซื้อเมื่อลงมา 10% 20% 30% แต่ถ้ามีผลมากก็ขายทุกราคาใช่ไหมครับ
โดย
prasaen
อังคาร ต.ค. 23, 2012 3:13 pm
0
0
Re: ฟรี ! แบ่งปันสรุปหุ้นรายตัว ย้อนหลัง 15 ปี ง่าย
ขอด้วยคนครับ
[email protected]
ขอบคุณครับ
โดย
prasaen
พฤหัสฯ. ต.ค. 11, 2012 3:32 pm
0
0
Re: ฟรี ! แบ่งปันสรุปหุ้นรายตัว ย้อนหลัง 15 ปี ง่าย
ขอด้วยคนครับ
[email protected]
ขอบคุณครับ
โดย
prasaen
พฤหัสฯ. ต.ค. 11, 2012 3:32 pm
0
0
Re: งบการเงินไตรมาสที่ 2/2555
08 ส.ค. 2555 17:43:09 หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 2 (F45-3) หลักทรัพย์ SF แหล่งข่าว SF รายละเอียดแบบเต็ม สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย (F45-3) บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (หน่วย : พันบาท) งบการเงินรวม ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน สอบทาน สอบทาน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 30 มิถุนายน ปี 2555 2554 2555 2554 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 137,175 113,498 1,230,747 221,817 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.12 0.10 1.05 0.19 ต่อหุ้น (บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน สอบทาน สอบทาน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 30 มิถุนายน ปี 2555 2554 2555 2554 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 58,616 151,927 119,132 343,666 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.05 0.13 0.10 0.30 ต่อหุ้น (บาท) ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน ไม่มีเงื่อนไข หมายเหตุ โปรดดูรายละเอียดงบการเงิน รายงานของผู้สอบบัญชี และหมายเหตุประกอบ งบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ "ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ พร้อมกันนี้บริษัทได้จัดส่งงบการเงิน ฉบับเต็มผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์และส่งต้นฉบับให้กับสำนักงาน ก.ล.ต. เรียบร้อยแล้ว" ลงลายมือชื่อ ___________________________ ( นายสมนึก พจน์เกษมสิน ) กรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
โดย
prasaen
พุธ ส.ค. 08, 2012 7:40 pm
0
3
Re: Introduction to Finance (Coursera)
สมัครยังไงครับ หาไม่เจอ ขอบคุณครับ
โดย
prasaen
จันทร์ ก.ค. 23, 2012 2:34 pm
0
0
Re: ขอถามรายชื่อหุ้นปันผลค่อนข้างดีและได้ BOI ด้วยครับ
ในความคิดเห็นของผมนะครับ การปันผลในอดีตหรือปัจจุบันไม่ได้การันตีว่าปีหน้าหรือปีต่อๆไปจะปันผลได้เท่าเดิมนะครับ และการได้รับ BOI ถ้าวันไหนที่ BOI หมดอายุ อาจจะทำให้กำไรลดต่ำลงและอาจจะทำให้ราคาหุ้นตกต่ำลงก็ได้นะครับ ผมว่าไม่ว่าจะซื้อหุ้นกินปันผล เราก็ควรดูปัจจัยหลายๆอย่างนะครับ บางที่หุ้นที่ไม่ได้รับ BOI อาจจะดีกว่าก็ได้เมื่อเทียบผลตอบแทนโดยรวม ซึ่งบางทีอาจจะทำให้เราพลาดโอกาสในการลงทุนในหุ้นดีๆได้นะครับ สุดท้ายไม่ว่าจะยังไง เราก็ต้องกลับมามองที่ตัวบริษัท ตัวธุรกิจอยู่ดี และต้องดูหลายๆปัจจัยก่อนลงทุนครับ ซึ่งอาจจะเจอหุ้นดีที่ไม่ได้รับ BOI ก็ได้
โดย
prasaen
อังคาร ก.ค. 17, 2012 10:51 am
0
0
Re: การปรับโครงสร้างหนี้ กำไร???
0 UpvoteDownvote winnermax wrote: sun_cisa2 wrote: มีกำไรแล้วลดทุน ???? น่าสนมีด้วยหรือในตลาด ลดไปทำไม มักเจอแต่บริษัทมีขาดทุนสะสมและลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อเริมกันใหม่ ล้างไพ่ เพราะจะให้มีคนใหม่มาลงทุนด้วย ช่วยบอกทีว่ามีบริษัทไหนมีกำไร (สะสม) แล้วลดทุนบ้าง แต่ถ้ามีขาดทุนสะสมมาหลายปี พอมีกำไรฟื้นขึ้นมา แล้วลดทุน เป็นเพราะอยากจ่ายปันผล เพราะบริษัทจ่ายปันผลไม่ได้กฎหมายไม่ให้หากยังมีขาดทุนสะสมอยู่ ต้องเอากไรล้างให้หมดก่อนถึงจ่ายได้ วิธีล้างขาดทุนสะสมได้เร็วสุดคือลดทุน กำไรปีต่อไปก็จ่ายปันผลได้แล้ว การลดทุนโดยการตัดขาดทุนสะสมกับหุ้นทุน ส่วนผู้ถือหุ้นรวมไม่กระทบ เพราะขาดทุนสะสมก็นำมาหักลดส่วนผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว ข้อเสียคือ หุ้นเราหายไปแน่นอน ข้อดีคือ ถ้าปีหน้ามีกำไรจะจ่ายปันผลได้ เพราะถ้ามีขาดทุนสะสมอยู่ต้องเอากำไรไปล้างให้หมดก่อน จึงจ่ายปันผลได้ หลายบริษัทที่ลดทุนเพราะเมื่อปรับโครงสร้างหนี้ นักลงทุนใหม่จะมาเขาไม่มาแบกขาดทุนสะสมหลายๆปีหรอก เขาเข้ามาแล้วถ้ามีกำไร เขาต้องได้ผลอบแทนคืน การลดทุนแล้วได้กำไร?? ใครได้ครับ?? ผู้ถือหุ้นเดิมหุ้นหายเงินหายทันที แต่ที่ได้ประโยชน์คือ คนเข้ามาลงทุนใหม่ อ่านเพิ่มเติมได้ใน topic ทุนจดทะเบียน การลดทุนน่าจะมี 2 แบบใช่ไหมครับ คือ 1. การลดจำนวนหุ้น แต่ราคาพาร์เท่าเดิม กรณีนี้ผู้ถือหุ้นเดิมมีจำนวนหุ้นลดแน่นอน แล้วมีผลกระทบอย่างอื่นอีกไหมครับ 2. การลดราคาพาร์ แต่จำนวนหุ้นเท่าเดิม กรณีนี้ไม่แน่ใจว่าผู้ถือหุ้นเดิมจะได้รับผลกระทบยังไงบ้างครับ แล้วทั้งสองกรณี มีผลดี ผลเสียกับผู้ถือหุ้นเดิม และผู้ถือหุ้นที่จะเข้าใหม่ยังไงบ้างครับ แล้วส่วนใหญ่บริษัทต่างๆนิยมลดทุนแบบไหนครับ ขอบคุณครับ ถ้าข้อมูลผิดพลาดต้องขออภัยด้วยครับ Quote: การลดทุนมี ๒ วิธี ใช่แล้วครับ ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นเดิม ไม่แตกต่างกันครับ เพียงแต่ ราคาต่อหุ้นจะแตกต่างกัน กล่าวคืน หากใช้วิธีลดจำนวนหุ้น มูลค่าต่อหุ้นหลังจากลดทุน จะสูงกว่า การใช้วิธีลดพาร์ แต่จำนวนหุ้นจะน้อยกว่าวิธีลดพาร์ ดังนั้นมูลค่าหุ้น (จำนวนหุ้นxราคาต่อหุ้น) หลังลดทุน ทั้งสองวิธีจะให้ผลเท่ากัน การลดทุนโดยเฉพาะกรณีเพื่อล้างขาดทุนสะสมนั้น หมายความว่า ผู้ถือหุ้นเดิมแสดงความรับผิดชอบต่อผลประกอบการที่ผ่านมา ผู้ถือหุ้นใหม่จึงจะยินดีเข้ามาลงทุน หากไม่ยอมล้างขาดทุนสะสม การระดมทุนใหม่จะยากยิ่ง เพราะตราบใดที่ยังมีขาดทุนสะสมอยู่ การจ่ายปันผลจะกระทำไม่ได้ ผลตอบแทนอย่างเดียว ที่คาดหวังคือ capital gain เท่านั้นครับ ถ้าเป็นอย่างนั้น 1. การลดทุนโดยการลดหุ้น หลังจากลดทุน ราคาหุ้นน่าจะสูงขึ้นเนื่องจาก ถ้ากำไรเท่าเดิม จำนวนหุ้นน้อยลง ทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น ถ้าพีอีเท่าเดิม ราคาก็น่าจะเพิ่มขึ้น 2. การลดทุนโดยการลดพาร์ หลังจากลดทุน ราคาหุ้นน่าจะเท่าเดิม เนื่องจาก ถ้ากำไรเท่าเดิม จำนวนหุ้นเท่าเดิม ทำให้กำไรต่อหุ้นเท่าเดิม ถ้าพีอีเท่าเดิม ราคาหุ้นก็น่าจะเท่าเดิม 3. ถ้าเป็นอย่างนี้การลดทุนโดยการลดหุ้น น่าจะดีกับผู้ถือหุ้นมากว่าเพราะการลดทุนไม่ได้ทำให้จำนวนหุ้นที่เราถือมีการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นการที่ราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นหลังลดทุนย่อมดีกว่า ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ ขอตอบ ข้อ 1. เข้าใจถูกต้องแล้วครับ 2. เข้าใจถูกต้องแล้วครับ 3. ทั้งสองวิธีการ ผลคล้ายคลึงกันครับ ดังนั้นการสรุปว่าการลดทุนโดยการลดหุ้นดีกว่า ไม่น่าจะสรุปเช่นนั้น เพราะราคาต่อหุ้นที่สูงขึ้น แลกมาด้วยจำนวนหุ้นที่ลดลง ได้อย่าง เสียอย่างครับ ขอบคุณครับ ผมเข้าใจผิดเองครับ การลดทุนโดยการลดหุ้น จำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมต้องลดลง และผมคิดว่าบริษัทส่วนใหญ่จะเลือกลดทุนโดยลดพาร์มากกว่าเพราะลดพาร์ไม่ทำให้ราคาปรับสูงขึ้น ซึ่งน่าจะมีผลต่อจิตวิทยาของคนที่จะเข้ามาถือหุ้นใหม่
โดย
prasaen
เสาร์ เม.ย. 14, 2012 7:53 am
0
0
Re: การปรับโครงสร้างหนี้ กำไร???
sun_cisa2 wrote: มีกำไรแล้วลดทุน ???? น่าสนมีด้วยหรือในตลาด ลดไปทำไม มักเจอแต่บริษัทมีขาดทุนสะสมและลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อเริมกันใหม่ ล้างไพ่ เพราะจะให้มีคนใหม่มาลงทุนด้วย ช่วยบอกทีว่ามีบริษัทไหนมีกำไร (สะสม) แล้วลดทุนบ้าง แต่ถ้ามีขาดทุนสะสมมาหลายปี พอมีกำไรฟื้นขึ้นมา แล้วลดทุน เป็นเพราะอยากจ่ายปันผล เพราะบริษัทจ่ายปันผลไม่ได้กฎหมายไม่ให้หากยังมีขาดทุนสะสมอยู่ ต้องเอากไรล้างให้หมดก่อนถึงจ่ายได้ วิธีล้างขาดทุนสะสมได้เร็วสุดคือลดทุน กำไรปีต่อไปก็จ่ายปันผลได้แล้ว การลดทุนโดยการตัดขาดทุนสะสมกับหุ้นทุน ส่วนผู้ถือหุ้นรวมไม่กระทบ เพราะขาดทุนสะสมก็นำมาหักลดส่วนผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว ข้อเสียคือ หุ้นเราหายไปแน่นอน ข้อดีคือ ถ้าปีหน้ามีกำไรจะจ่ายปันผลได้ เพราะถ้ามีขาดทุนสะสมอยู่ต้องเอากำไรไปล้างให้หมดก่อน จึงจ่ายปันผลได้ หลายบริษัทที่ลดทุนเพราะเมื่อปรับโครงสร้างหนี้ นักลงทุนใหม่จะมาเขาไม่มาแบกขาดทุนสะสมหลายๆปีหรอก เขาเข้ามาแล้วถ้ามีกำไร เขาต้องได้ผลอบแทนคืน การลดทุนแล้วได้กำไร?? ใครได้ครับ?? ผู้ถือหุ้นเดิมหุ้นหายเงินหายทันที แต่ที่ได้ประโยชน์คือ คนเข้ามาลงทุนใหม่ อ่านเพิ่มเติมได้ใน topic ทุนจดทะเบียน การลดทุนน่าจะมี 2 แบบใช่ไหมครับ คือ 1. การลดจำนวนหุ้น แต่ราคาพาร์เท่าเดิม กรณีนี้ผู้ถือหุ้นเดิมมีจำนวนหุ้นลดแน่นอน แล้วมีผลกระทบอย่างอื่นอีกไหมครับ 2. การลดราคาพาร์ แต่จำนวนหุ้นเท่าเดิม กรณีนี้ไม่แน่ใจว่าผู้ถือหุ้นเดิมจะได้รับผลกระทบยังไงบ้างครับ แล้วทั้งสองกรณี มีผลดี ผลเสียกับผู้ถือหุ้นเดิม และผู้ถือหุ้นที่จะเข้าใหม่ยังไงบ้างครับ แล้วส่วนใหญ่บริษัทต่างๆนิยมลดทุนแบบไหนครับ ขอบคุณครับ ถ้าข้อมูลผิดพลาดต้องขออภัยด้วยครับ การลดทุนมี ๒ วิธี ใช่แล้วครับ ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นเดิม ไม่แตกต่างกันครับ เพียงแต่ ราคาต่อหุ้นจะแตกต่างกัน กล่าวคืน หากใช้วิธีลดจำนวนหุ้น มูลค่าต่อหุ้นหลังจากลดทุน จะสูงกว่า การใช้วิธีลดพาร์ แต่จำนวนหุ้นจะน้อยกว่าวิธีลดพาร์ ดังนั้นมูลค่าหุ้น (จำนวนหุ้นxราคาต่อหุ้น) หลังลดทุน ทั้งสองวิธีจะให้ผลเท่ากัน การลดทุนโดยเฉพาะกรณีเพื่อล้างขาดทุนสะสมนั้น หมายความว่า ผู้ถือหุ้นเดิมแสดงความรับผิดชอบต่อผลประกอบการที่ผ่านมา ผู้ถือหุ้นใหม่จึงจะยินดีเข้ามาลงทุน หากไม่ยอมล้างขาดทุนสะสม การระดมทุนใหม่จะยากยิ่ง เพราะตราบใดที่ยังมีขาดทุนสะสมอยู่ การจ่ายปันผลจะกระทำไม่ได้ ผลตอบแทนอย่างเดียว ที่คาดหวังคือ capital gain เท่านั้นครับ ถ้าเป็นอย่างนั้น 1. การลดทุนโดยการลดหุ้น หลังจากลดทุน ราคาหุ้นน่าจะสูงขึ้นเนื่องจาก ถ้ากำไรเท่าเดิม จำนวนหุ้นน้อยลง ทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น ถ้าพีอีเท่าเดิม ราคาก็น่าจะเพิ่มขึ้น 2. การลดทุนโดยการลดพาร์ หลังจากลดทุน ราคาหุ้นน่าจะเท่าเดิม เนื่องจาก ถ้ากำไรเท่าเดิม จำนวนหุ้นเท่าเดิม ทำให้กำไรต่อหุ้นเท่าเดิม ถ้าพีอีเท่าเดิม ราคาหุ้นก็น่าจะเท่าเดิม 3. ถ้าเป็นอย่างนี้การลดทุนโดยการลดหุ้น น่าจะดีกับผู้ถือหุ้นมากว่าเพราะการลดทุนไม่ได้ทำให้จำนวนหุ้นที่เราถือมีการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นการที่ราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นหลังลดทุนย่อมดีกว่า ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ
โดย
prasaen
ศุกร์ เม.ย. 13, 2012 12:49 pm
0
0
Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน
แล้วในกรณีที่แจกปันผลเป็นวอร์แรนต์ มีข้อดี ข้อเสีย ยังไงครับ แล้วแตกต่างจากการปันผลเป็นหุ้นยังไงบ้างครับ ขอบคุณครับ
โดย
prasaen
ศุกร์ เม.ย. 13, 2012 12:31 pm
0
0
Re: การปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืน
การซื้อหุ้นคืน แล้วมีแผนในอนาคตที่จะขายหุ้นคืนกลับสู่ตลาด แบบนี้บริษัททำไปเพื่อเป้าหมายอะไรคะ เพราะสุดท้ายแล้ว จำนวนหุ้นในตลาดก็เท่าเดิม ผู้ถือหุ้นไม่ได้ประโยชน์อะไร และน่าจะเกิดโทษแกผู้ถือหุ้นมากกว่า เช่น ซื้อแพง ขายถูก เสียเงินของบริษัทไปในส่วนต่างของราคาหุ้น และบางทีราคาก็จะถูกปั่นขึ้นไปจากข่าวบริษัทซื้อหุ้นคืน ยังมองไม่เห็นง่มุมดีๆ เลยค่ะ สำหรับบริษัทเองอาจมีหลายแง่ 1. บริษัทอาจซื้อถูกขายแพง เป็นวิธีเพิ่มทุนและหาเงินเข้าบริษัทแบบหนึ่ง 2. เป็นวิธีช่วยพยุงหุ้นของบริษัทในยามที่ราคาหุ้นตกต่ำ โดยผู้ถือหุ้นไม่ต้องระดมเงินส่วนตัวมาซื้อเอง บางครั้งบริษัทอาจซื้อหุ้นคืนมาไว้แจกโบนัสพนักงานหรือลดทุน นั่นก็จะมีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น เพราะบริษัทไม่ต้องออกหุ้นใหม่มาแจกโบนัสหรือทำการลดจำนวนหุ้นในตลาดเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเดิม แล้วจะมีวิธีการบันทึกกำไร(ขาดทุน)ที่ไหนครับ ในส่วนของผู้ถือหุ้นหรือเปล่าครับ ไม่เกี่ยวกับกำไรของบริษัทในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ขอบคุณครับ
โดย
prasaen
ศุกร์ เม.ย. 13, 2012 12:29 pm
0
0
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful Debt) คือ จำนวนลูกหนี้การค้าที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประมาณขึ้นสำหรับลูกหนี้การค้าทั้งสิ้นที่มีอยู่ ณ วันสิ้นงวด ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจึงเป็นรายการที่แสดงหัก (เรียกว่า บัญชีปรับมูลค่า) จากลูกหนี้การค้าในงบแสดงฐานะการเงิน เพื่อทำให้ยอดลูกหนี้การค้าสุทธิมีจำนวนใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่คาดว่าจะเก็บเงินได้ วิธีประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่นิยมทำกันคือ การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากลูกหนี้ปลายงวด โดยบริษัทจะจัดกลุ่มลูกหนี้ตามเวลาที่ค้างชำระ จากนั้นจึงประมาณว่าลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มมีประวัติและความเป็นไปได้ที่จะเกิดหนี้สูญด้วยอัตราร้อยละเท่าไร จากนั้นบริษัทจึงคำนวนหาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้แต่ละกลุ่ม เมื่อรวมค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้แต่ละกลุ่มเข้าด้วยกัน บริษัทก็จะได้ค่าผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับวันสิ้นงวด หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Debt) คือ จำนวนลูกหนี้ที่บริษัทประมาณว่าจะไม่จ่ายเงินที่ค้างชำระให้บริษัทในแต่ละงวด บริษัทจึงต้องตัดบัญชีหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน โปรดสังเกตว่า ค่าใช้จ่ายหนี้สงสัยจะสูญหรือหนี้สูญที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทุกงวดเกิดขึ้นจากการประมาณ ไม่ได้เกิดจากจำนวนลูกหนี้ที่ไม่ยอมชำระเงินในแต่ละงวด วิธีการบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ และเครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สูญ (Bad Debt) คือ จำนวนหนี้สูญที่เกิดจริงในแต่ละงวด เมื่อบริษัทติดตามทวงถามลูกหนี้จนถึงที่สุดแล้วตัดสินใจว่า ลูกหนี้รายนี้คงไม่จ่ายหนี้แน่แล้ว บริษัทจะตัดหนี้สูญโดยการล้างลูกหนี้ออก แล้วตัดหนี้สูญจำนวนนี้ออกจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ที่เคยประมาณไว้ โปรดสังเกตว่าการตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญนั้น ไม่ควรทำผ่านงบกำไรขาดทุน แต่ควรนำไปปรับกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่ในทางปฏิบัติ บางทีบริษัทจะตัดหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันทีโดยไม่ลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลง ในบางครั้ง ลูกหนี้ที่บริษัทตัดเป็นหนี้สูญไปแล้วกลับใจมาจ่ายชำระหนี้ ถ้าเป็นเช่นนี้ บริษัทจะบันทึกเพิ่มลูกหนี้เข้าไปใหม่ในขณะที่บันทึกกลับบัญชีหนี้สูญโดยการเพิ่มค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แต่ ในทางปฏิบัติ บริษัทที่เคยตัดหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน จะกลับบัญชีหนี้สูญไปเป็นค่าใช้จ่ายที่ติดลบในงบกำไรขาดทุน หนี้สูญกลับบัญชีนี้มีผลทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง และกำไรเพิ่มขึ้น ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญถือเป็นบัญชีที่มีความสำคัญต่อนักลงทุนและบริษัท ในสายตานักลงทุนแล้ว การที่กิจการมีหนี้สูญจำนวนมาก นั่นหมายถึง กิจการมีรายได้เข้ามามากก็จริง แต่ไม่สามารถเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ ทำให้มีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนของบริษัท เนื่องจากหนี้สูญถือเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปีนั้นกิจการมี ผลประกอบการไม่ดีนักและในปีนั้นลูกหนี้ซึ่งเป็นหนี้จำนวนมากไม่สามารถชำระหนี้ได้ จะก่อให้เกิดหนี้สูญจำนวนมากต่อบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่องบกำไรขาดทุนและอาจมีผลกระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ดังนั้นหนี้สูญจึงเป็นจุดที่นักลงทุนมักจะให้ความสนใจ หากแต่ในสายตาของทางบริษัท ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีความสำคัญมากกว่า และถือเป็นโอกาสในการตบแต่งบัญชี กล่าวคือ เนื่องจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนั้นขึ้นอยู่กับบริษัท บริษัทจึงสามารถเพิ่มผลกำไรหรือขาดทุนได้โดยการเพิ่มหรือลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ในปีที่มีกำไรมาก บริษัทอาจตั้งค่าบัญชีเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้สูงไว้ เมื่อไรที่ผลกำไรต่ำ บริษัทจะบอกว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งไว้นั้นสูงเกินความจำเป็น และทำการกลับบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไปเป็นค่าใช้จ่ายติดลบในงบกำไรขาดทุน ทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ดังนั้น บริษัทจึงสามารถตบแต่งผลประกอบการได้แต่ที่เห็นเหมาะสม นักลงทุนและบุคคลทั่วไปถ้ามองผลประกอบการผ่านๆ อาจเห็นเพียงภาพที่ทางบริษัทต้องการจะแสดงให้ดูหาใช่ผลประกอบการที่แท้จริงไม่ ดังนั้นการจะตัดสินผลประกอบการใดๆ หนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจึงเป็นจุดที่ควรจะพิจารณาและให้ความสำคัญ ถ้าการบันทึกหนี้สูญอย่างนี้ เท่ากับทำให้งบการเงินบิดเบือนจากความเป็นจริงในงวดนั้นๆใช่ไหมครับ ยิ่งถ้ามีหนี้สูญจำนวนมากเมือเทียบกับรายได้แล้ว ยิ่งทำให้มีผลกับงบการเงินของงวดนั้นๆอย่างมีนัยยะสำคัญ ขอถามอีกนิดหนึ่งครับ 1. จากที่ผมดูงบการเงินมาหลายบริษัท ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจะลบในงบดุลในส่วนลูกหนี้ แต่จะบวกกลับเพิ่มในงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในส่วนปรับปรุงกำไร อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ แล้วผมไม่เห็นมีในส่วนของหนี้สงสัยจะสูญในแต่ละงวดในงบกำไรขาดทุนเลย แล้วถ้ามีบันทึกแล้วต้องไปปรับในกระแสเงินสดในกิจกรรมดำเนินงานในหมวดไหนครับ ถ้าปรับในการปรับปรุงในส่วนกำไรจะซ้ำซ้อนกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหรือเปล่าครับ 2. ในการประมาณการหนี้สงสัยจะสูญน่าจะประมาณการเป็นเปอร์เซ็นจากยอดหนี้คงค้างในงวดนั้นมากกว่าที่จะประเมินจากอายุของลูกหนี้หรือเปล่าครับ เพราะโดยทั่วไปในระหว่างงวดหรือไตรมาสคงยังไม่สามารถประเมินว่าหนี้จะสูญเพราะระยะเวลาสั้นเกินไปเพราะส่วนใหญ่การซื้อขายจะให้เครดิตกัน 30-45 วัน การประมาณการหนี้สงสัยจะสูญน่าจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่าครับ
โดย
prasaen
ศุกร์ เม.ย. 13, 2012 9:47 am
0
1
Re: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
ผมขอสรุปความเข้าใจนิดหนึ่งนะครับ ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกหรือเปล่ายังไงช่วยตรวจสอบให้หน่อยนะครับ 1. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จะสรุปจากลูกหนี้ในปลายงวด และจะชี้แจงอายุของลูกหนี้ในหมายเหตุประกอบการเงินในหมวดลูกหนี้ และบริษัทส่วนใหญ่จะตัดเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับลูกหนี้ที่มีระยะเวลาค้างชำระเกิน 12 เดือน 2. หนี้สงสัยจะสูญ คือหนี้สงสัยจะสูญสำหรับแต่ละงวด พองวดต่อไปลูกหนี้ที่เคยตัดจากงวดที่ผ่านมา จะไม่นำมาตัดอีก แต่ส่วนใหญ่บริษัทจะตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญเมื่อค้างชำระเกิน 12 เดือน แต่งบรายไตรมาสหรืองวดรายปียังไงก็ไม่น่าเกิน 12 เดือน เพราะฉะนั้นในงบกำไรขาดทุนจะไม่มีหนี้สงสัยจะสูญ แต่ผมเจอหนี้สงสัยจะสูญ (โอนกลับ) ที่ระบุไว้ในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน น่าจะบวกกลับจากการหักในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ แต่มันเป็นไปได้เหรอครับจากเหตุผลเรื่องอายุหนี้ตามข้างบน หรือผมเข้าใจอะไรผิด ขอบคุณครับ
โดย
prasaen
พุธ เม.ย. 11, 2012 11:02 pm
0
0
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
prasaen
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
พุธ พ.ย. 24, 2010 10:46 pm
ใช้งานล่าสุด:
เสาร์ ก.พ. 23, 2013 3:12 pm
โพสต์ทั้งหมด:
118 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.01% จากโพสทั้งหมด / 0.02 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว