หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
wiss42
Joined: เสาร์ ธ.ค. 18, 2010 12:28 am
299
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - wiss42
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: สถานะยังไม่ปรับเป็น "สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า"เพราะ
test5
โดย
wiss42
พฤหัสฯ. ก.ย. 13, 2012 2:31 pm
0
0
Re: สถานะยังไม่ปรับเป็น "สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า"เพราะ
test4
โดย
wiss42
พุธ ก.ย. 12, 2012 9:36 pm
0
0
Re: สถานะยังไม่ปรับเป็น "สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า"เพราะ
test 3
โดย
wiss42
พุธ ก.ย. 12, 2012 5:24 pm
0
0
Re: สถานะยังไม่ปรับเป็น "สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า"เพราะ
test
โดย
wiss42
พุธ ก.ย. 12, 2012 3:50 pm
0
0
Re: สถานะยังไม่ปรับเป็น "สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า"เพราะ
test อีกที
โดย
wiss42
พุธ ก.ย. 12, 2012 3:13 pm
0
0
Re: สถานะยังไม่ปรับเป็น "สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า"เพราะ
test
โดย
wiss42
พุธ ก.ย. 12, 2012 11:05 am
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
GREECE:ธ.กลางยุโรปเล็งหั่นหนี้กรีซอีก 1 แสนล้านยูโร ป้องกันหลุดจากยูโรโซน บรัสเซลส์--30 ก.ค.--รอยเตอร์ เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า ผู้กำหนดนโยบายของยุโรปกำลังพิจารณาเกี่ยวกับ ทางเลือกที่เป็น"โอกาสสุดท้าย"ที่จะลดหนี้ของกรีซและรักษากรีซให้อยู่ในยูโรโซน ต่อไป ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางของแต่ละประเทศ กำลังพิจารณาเกี่ยวกับการยอมรับผลขาดทุนจำนวนมากจากการถือครองพันธบัตร กรีซ บรรดาเจ้าหนี้เอกชนได้รับผลกระทบแล้วจากการยอมลดมูลค่าพันธบัตร กรีซภายใต้มาตรการช่วยเหลือครั้งที่ 2 สำหรับกรีซที่มีการบรรลุข้อตกลงในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้กรีซกลับสู่สถานะที่สามารถชำระหนี้ ขณะที่กำลังมีการเตรียมปรับโครงสร้างหนี้ต่อไป เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูโรโซนเปิดเผยว่า เป้าหมายล่าสุดก็คือการ ลดหนี้ของกรีซลงอีก 7 หมื่น-1 แสนล้านยูโร โดยปรับลดหนี้ลงสู่ระดับ 100% ของผลผลิตทางเศรษฐกิจต่อปีที่จะสามารถช่วยให้กรีซจัดการหนี้ได้ดีขึ้น เป้าหมายดังกล่าวต้องอาศัยธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลาง ของแต่ละประเทศในการยอมรับผลขาดทุนจากการถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซ และอาจเกี่ยวข้องกับรัฐบาลของประเทศต่างๆในการยอมรับการขาดทุนด้วย เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ทางเลือกที่ได้รับการสนับสนุนนี้จะทำให้อีซีบี และธนาคารกลางของแต่ละประเทศต้องแบกรับค่าใช้จ่าย แต่อาจบ่งชี้ว่า ธนาคารบางแห่งและอีซีบีต้องทำการเพิ่มทุน ทั้งนี้ แผนการดังกล่าวกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังไม่มีการหารือ อย่างเป็นทางการเกิดขึ้น แต่มีการตระหนักว่ากรีซยังคงล่าช้าในการปรับปรุง ฐานะการคลัง และจำเป็นต้องมีการดำเนินการในเชิงรุกเพื่อให้กรีซอยู่ในยูโรโซน ได้ต่อไป เจ้าหน้าที่ระบุว่า การปรับโครงสร้างหนี้กรีซนั้นเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะฟื้นฟู กรีซกลับสู่สถานะที่สามารถชำระหนี้ ขณะที่เป้าหมายที่ตกลงกันไว้ในการปรับลดหนี้ลง เหลือ 120% ของจีดีพีในปี 2020 นั้นกลายเป็นเป้าหมายที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับกรีซ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งมีส่วนร่วมในมาตรการช่วยเหลือทั้ง 2 ฉบับสำหรับกรีซนั้น สนับสนุนการยกเครื่องเงินกู้ภาครัฐของกรีซ ซึ่งเป็นกระบวนการ ที่ผู้กำหนดนโยบายเรียกว่า OSI หรือการมีส่วนร่วมของทางการ "หากให้เปอร์เซนต์ที่จะเกิด OSI ในกรีซนั้น ผมคิดว่าอยู่ที่ 70%" เจ้าหน้าที่ ยูโรโซนเปิดเผยกับรอยเตอร์ หนึ่งในทางเลือกคือการให้อีซีบีและธนาคารกลางในยูโรซิสเต็มปรับลดมูลค่า พันธบัตรรัฐบาลกรีซที่ตนเองถือครองไว้ลง 30 % โดยอยู่ภายใต้กระบวนการที่เรียกว่า "การปรับลดหนี้" (haircut) ปริมาณสินเชื่อคงค้างที่ภาครัฐปล่อยกู้ให้แก่กรีซทั้งหมดอยู่ที่ระดับราว 2.20-2.30 แสนล้านยูโร โดยตัวเลขนี้รวมถึงสินเชื่อระดับทวิภาคีที่รัฐบาล ยูโรโซนปล่อยกู้ให้แก่กรีซด้วย เจ้าหน้าที่รายหนึ่งกล่าวว่า การปรับลดหนี้ลง 30 % ในกรณีนี้ จะเท่ากับ การปรับลดหนี้ลงในระดับสูงกว่า 7 หมื่นล้านยูโรเล็กน้อย ขณะที่เจ้าหน้าที่อีกรายหนึ่ง ระบุว่าตัวเลขนี้จะอยู่ที่ระดับ 0.7-1.0 แสนล้านยูโร โดยขึ้นอยู่กับวิธีการดำเนิน กระบวนการ แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่า "เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก และยังไม่มีการตัดสินใจกำหนดวิธีการที่แน่นอนในขณะนี้ เพราะช่วงนี้ยังเป็นเพียง ช่วงเริ่มต้นเท่านั้น" เจ้าหน้าที่เคยพิจารณาเรื่องการปรับลดหนี้ที่ภาครัฐปล่อยกู้ให้แก่กรีซ ในปีที่แล้ว ในช่วงที่เจ้าหน้าที่กำลังจัดเตรียมมาตรการให้ความช่วยเหลือทาง การเงินรอบสอง โดยมาตรการดังกล่าวมุ่งเป้าไปยังการปรับโครงสร้างหนี้ กรีซที่ภาคเอกชนถือครองไว้ อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่มองว่า OSI เป็นประเด็นที่มีความล่อแหลม ทางการเมืองมากเกินไปในช่วงนั้น และตัดสินใจไม่นำ OSI มาใช้ในช่วงนั้น โดยเจ้าหน้าที่รายหนึ่งกล่าวว่าการตัดสินใจดังกล่าวทำให้กรีซพลาดโอกาสที่ดี และไม่ควรจะมีการพลาดโอกาสแบบนั้นอีก เจ้าหน้าที่กล่าวว่า "ความผิดพลาดครั้งใหญ่ก็คือการที่เราไม่ได้ ปรับลดมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลกรีซที่อยู่ในพอร์ทลงทุนของธนาคารกลางประเทศ ต่างๆ" ในทางการเมือง อาจจะเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับผู้กำหนดนโยบาย ที่จะให้อีซีบีและธนาคารกลางแห่งชาติยอมรับผลขาดทุนจากการถือครองพันธบัตร แทนที่จะเป็นรัฐบาลยูโรโซนที่ยอมรับผลขาดทุน ซึ่งหมายความว่า ผู้เสียภาษี จะได้รับผลขาดทุนโดยตรง อย่างไรก็ดี กระบวนการดังกล่าวจะมีความยุ่งยากเกิดขึ้น โดยธนาคารกลางของหลายประเทศอาจจะต้องทำการเพิ่มทุน เจ้าหน้าที่ 2 รายระบุว่า ธนาคารกลางของฝรั่งเศส, มอลต้า และไซปรัสถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซมากที่สุด และอาจจะต้องได้รับการอัดฉีด เงินทุน ส่วนเจ้าหน้าที่อีก 2 รายกล่าวว่า อีซีบีอาจจะต้องได้รับการสนับสนุน งบดุล "ข้อดีก็คือ OSI จะเกิดขึ้นกับงบดุลของอีซีบี" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าว "ดังนั้น อีซีบีจะต้องได้รับการเพิ่มทุน แต่นั่นจะเป็นที่ยอมรับในทางการเมืองได้ มากกว่าการให้ผู้เสียภาษีแบกรับผลขาดทุน" แหล่งข่าวอีกรายกล่าวว่า ขณะที่อีซีบีมีทุนสำรองเพื่อชดเชยการปรับ ลดมูลค่าสินทรัพย์ของพันธบัตร แต่การปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซก็อาจจำเป็น ที่ต้องดำเนินการเพื่อปกป้องงบดุลมากขึ้น ต่อข้อซักถามถึงสัดส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซของธนาคาร กลางชาติต่างๆ เจ้าหน้าที่รายหนึ่งกล่าวว่า "ฝรั่งเศสถือครองจำนวนมหาศาล" --จบ--
โดย
wiss42
จันทร์ ก.ค. 30, 2012 5:22 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
ศก.มะกันยังดิ่งแรงไม่ทีท่าจะฟื้น นักเศรษฐศาสตร์เสียงแตกคิวอี3 เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามีอัตราการเติบโตชะลอตัวในไตรมาสที่ 2 จากการที่ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายน้อยที่สุดในรอบ 1 ปี เป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กองทุนสำรองแห่งรัฐ หรือธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ขยับตัวมากกว่านี้เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัว กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาเปิดเผยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วงระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน ขยายตัว 1.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2011 ขณะที่อัตราการขยายตัวเมื่อไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 2.0 เปอร์เซ็นต์ รายงานแสดงให้เห็นรายละเอียดทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอในหลายๆ จุด การค้าต่างประเทศดิ่งลงและสินค้าคงคลังที่เหลือขายไม่ออกเพิ่มมากขึ้น นั่นยังรวมกับสัญญาณหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอีกในไตรมาสที่ 3 เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อเรียกร้องให้เฟดตัดสินใจใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในการประชุมที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้ ซุง วอน ซอห์น ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแชนแนล ไอส์แลนด์ (ซีไอ) ในเมืองคามาริลโล รัฐแคลิฟอร์เนียบอกว่า "เศรษฐกิจเริ่มสูญเสียระดับความสูงและบินอยู่ในระดับความเร็วที่ใกล้เคียงกับการหยุดนิ่ง นโยบายการเงินเป็นเรื่องเดียวในตอนนี้และการผ่อนคลายมีแนวโน้มสูงมากว่าจะเกิดขึ้น" เศรษฐกิจที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยอาจทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา สูญเสียโอกาสในการนั่งเก้าอี้ผู้นำสมัยที่ 2 เมื่อคนอเมริกันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกันในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยคะแนนนิยมในตัวโอบามาต่อเรื่องการบริหารจัดการเศรษฐกิจกำลังลดลงเรื่อยๆ ผลสำรวจของอิปซอสร่วมกับธอมสันรอยเตอร์ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วแสดงให้เห็นว่า 36 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่ลงทะเบียนแล้วเชื่อว่า มิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันมีแผนการในการบริหารจัดการเศรษฐกิจที่ดีกว่า ขณะที่มีเพียง 31 เปอร์เซ็นต์ที่เชื่อมั่นในนโยบายของโอบามา และอีกสัญญาณหนึ่งที่แสดงให้เห็นภาพรวมที่มืดมนทางเศรษฐกิจ คือเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำเนียบขาวได้ปรับลดประมาณการอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของปีนี้ลงเหลือ 2.3 เปอร์เซ็นต์จากที่เคยประเมินไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาที่ 2.7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2013 ถูกปรับลดลงจาก 3.0 เปอร์เซ็นต์เหลือ 2.7 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังจากช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2007-2009 อยู่ในอัตราเร็วที่ชะลอตัวที่สุดนับตั้งแต่ปี 1980-1981 และภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเมื่อช่วงที่ผ่านมานั้นก็ถือว่าถลำลึกที่สุดนับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครังที่ 2 เป็นต้นมา คาดกันว่า จะไม่มีการประกาศมาตรการอะไรออกมาเลยในการประชุมของเฟดเป็นเวลา 2 วันในสัปดาห์นี้ ทว่านักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่าเฟดอาจจะใช้มาตรการเข้าซื้อพันธบัตรรอบที่ 3 หรือนโยบายการผ่อนปรนเชิงปริมาณ (คิวอี 3) เมื่อบรรดาผู้กำหนดนโยบายของเฟดจะมาพบกันในการประชุมซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 12-13 กันยายนนี้ อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเช่นกันที่เฟดจะขยายเวลาในการคงระดับดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์ ที่เคยสัญญาไว้ให้ขยายออกไปอีกจนถึงช่วงปลายปี 2014 เฟดได้อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้ว 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ ผ่านทางการซื้อสินทรัพย์และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมดทุกคนที่เชื่อว่าเฟดจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มอีกในเดือนกันยายนนี้ โดยให้เหตุผลว่า การชะลอตัวของอัตราการเติบโตไม่ใช่ภาวะการณ์ที่เพียงพอสำหรับการทำแบบนั้น พวกเขาบอกว่าเฟดน่าจะต้องการเก็บรักษาคลังแสงที่มีจำกัดสำหรับไว้ใช้ในยามวิกฤตจริงๆ มากกว่า "เฟดจะงัดคิวอี 3 ออกมาใช้หากมีความรู้สึกว่าเรากำลังมีปัญหา แต่หากเราเพียงแค่อ่อนแอทว่ายังสามารถเดินอย่างกระโผลกกระเผลกไปข้างหน้าได้ พวกเขาอาจจะช่วยเหลือเพียงแค่การตบหลังเบาๆ เท่านั้น" อดอล์ฟโฟ ลอเรนติ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของเมซิโรว์ ไฟแนนเชียลในชิคาโกกล่าว "พวกเขาไม่ต้องการที่จะใช้เงินทุนที่เหลืออยู่เร็วเกินไป แต่ต้องการที่จะเก็บไว้บ้างเพราะว่าสถานการณ์อาจจะย่ำแย่ลงไปอีกหลังจากนี้" (ที่มา:มติชนรายวัน 30 ก.ค.2555)
โดย
wiss42
จันทร์ ก.ค. 30, 2012 11:11 am
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
วิกฤตยุโรปฉุดส่งออกครึ่งปีแรก ไม่พ้นติดลบ 1.66% พาณิชย์ใจแข็งไม่ขยับเป้าหมายส่งออกทั้งปี โต 15% วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 19:30:37 น มติชนออนไลน์ นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยเดือนมิ.ย. 2555 มีมูลค่า 20,128 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.50% เทียบกับมิ.ย. 2554 เทียบในรูปเงินบาทส่งออกมูลค่า 616,506.3 ล้านบาท ลดลง 0.69% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 20,678.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.41% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้ามิ.ย. 550.1 ล้านเหรียญเหรียญสหรัฐ ตัวเลขดังกล่าวทำให้การส่งออกสะสมในช่วง 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) ปีนี้ มีมูลค่า 112,622.3ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.66%เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 122,966.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.28% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 6 เดือน 10,344.1 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเทียบในรูปเงินบาทขาดดุลถึง 362,602.2 ล้านบาท สำหรับการส่งออกสินค้าใน ช่วง 6 เดือนแรก พบว่า หมวดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 9.1% สินค้าส่งออกสำคัญที่ลดลง เช่น ข้าว 37.9% แต่ช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกข้าวจะขยายตัวมากขึ้น เพราะรัฐจะเร่งทยอยระบายข้าวสารในสต๊อกออกแล้ว ยางพารา ลดลง 26.8% กุ้งแช่แข็งและแปรรูป 7.8% ผักและผลไม้ 1.7%% มีเพียงน้ำตาลเพิ่มขึ้น 17.4% ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกลดลง 3.6% เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่ม 2.2% เครื่องใช้ไฟฟ้า 2.3% วัสดุก่อสร้าง 0.7% เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ 3.3% อัญมณีและเครื่องประดับ 10.5% สิ่งทอ 15.3% สิ่งพิมพ์ลดลง 75.6% เครื่องเดินทางและเครื่งหนัง 5.6% เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ 4.9% เลนส์ 22.5% นาฬิกาและส่วนประกอบ 25.7% ของเล่น 9.9% ส่วนสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น มีเพียงกลุ่มยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้น 17.8% ผลิตภัณฑ์ยาง 5.3% เครื่องสำอางค์ 11.4% อาหารสัตว์เลี้ยง 20.7% เครื่องกีฬา 11.9% และหมวดสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้น 13.7% ด้านตลาดส่งออก ในช่วง 6 เดือนแรก พบว่าตลาดหลัก ลดลง 4.1% จากการลดลงของญี่ปุ่น 3.8% สหภาพยุโรปเดิม 15 ประเทศ 12% มีเพียงสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.7% ส่วนตลาดศักยภาพสูง ลดลง 0.9% จากการลดลงของเอเชียใต้ 8.1% ฮ่องกง 33.9% ไต้หวัน 16.4% และเกาหลีใต้ 2.1% ยกเว้นอาเซียนเพิ่มขึ้น 8.5% จีน 7.8% และตลาดศักยภาพระดับรอง เพิ่มขึ้น 3.7% จากการเพิ่มขึ้นของออสเตรเลีย 7% ลาตินอเมริกา 19.5% ตะวันออกกลาง 1% แอฟริกา 6.1% เป็นต้น ส่วนรัสเซียและซีไอเอส ลดลง 19.7% แคนาดา 10.6% และตลาดอื่นๆ ลดลง 22.5% เช่น สวิตเซอร์แลนด์ 27.8% นายภูมิ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การส่งออกมิ.ย.ลดลง มาจากการลุกลามของปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป ส่งผลกระทบต่อการผลิตและจำหน่ายสินค้าในหลายประเทศ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญของไทย เช่น ญี่ปุ่น เอเชียใต้ เกาหลีใต้ ไต้หวัน รัสเซียและซีไอเอส รวมถึงจีน มีการส่งออกชะลตัวลง รวมถึงราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการลดลงทั้งยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น ส่วนผลกระทบจากน้ำท่วมไม่มีปัญหาแล้ว เนื่องจากอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ฟื้นกำลังการผลิตได้เกือบหมด อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของยุโรปที่ชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการส่งออกของไทยนั้น ถือว่าเป็นการลดลงที่ไม่มากนัก คาดว่าในเดือนถัดไป หากเศรษฐกิจยุโรปไม่แย่ลงไปกว่าเดิม มูลค่าการส่งออกของไทยจะกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง และเชื่อว่าทั้งปีน่าจะโตได้ 15% ตามเป้าหมาย ถ้ายังรักษาระดับมูลค่าในแต่ละเดือนไม่ให้ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อยู่ได้ ขณะที่การขาดดุลการค้าสูงสุดนั้น เพราะมีการนำเข้านำเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิต และน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาสูงขึ้น ไม่ใช่เรื่องน่าห่วง ซึ่งในเดือนมิ.ย.นี้การขาดดุลการค้าเราลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลถึง 1,739 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกันนี้ ได้เสนอให้นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดูแลการส่งออกรายสินค้าเพิ่มอีก 4 คณะ ได้ แก่ กลุ่มอาหาร กลุ่มเครื่องนุ่งนุ่งห่ม แฟชั่น และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยทั้งหมดจะมีการประชุมรับมอบแนวทางการทำงานในวันที่ 27 ก.ค.นี้
โดย
wiss42
พฤหัสฯ. ก.ค. 26, 2012 11:10 am
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
GREECE:กลุ่มทรอยกาเตรียมตัดสินชะตากรีซปล่อยกู้ต่อหรือปล่อยล้มละลาย เอเธนส์--24 ก.ค.--รอยเตอร์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบจากกลุ่มผู้ปล่อยกู้ระหว่างประเทศจะเดินทางถึงกรุงเอเธนส์ ในวันนี้เพื่อดำเนินแผนการด้านเศรษฐกิจอีกครั้ง และตัดสินใจว่าจะให้ความช่วยเหลือกรีซ ตามมาตรการช่วยเหลือวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรต่อไปหรือจะปล่อยให้กรีซล้มละลาย กรีซไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดในเงื่อนไขของข้อตกลงช่วยเหลือได้ โดยมีสาเหตุหลักมาจากภาวะสุญญากาศทางการเมือง 3 เดือน ขณะที่กรีซพยายามจัดตั้ง รัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งที่ไม่มีพรรคใดได้ครองเสียงข้างมาก และมีการคัดค้านการ ปฏิรูปจากสหภาพและกลุ่มผลประโยชน์พิเศษด้วย ในเดือนนี้ กลุ่มทรอยกาซึ่งประกอบด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอ เอ็มเอฟ), คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) แจ้งต่อรัฐบาล ผสมพรรคใต้การนำของพรรคอนุรักษ์นิยมของกรีซว่า จะไม่มีการเบิกจ่ายเงินกู้ให้กรีซอีก จนกว่ากรีซจะแสดงให้เห็นผลของการปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือ กรีซระบุว่าภาวะถดถอยที่รุนแรงเกินคาดซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่เกือบ 7% ของจีดีพี ในปีนี้ ทำให้กรีซไม่บรรลุเป้าหมายด้านรายได้จากการจัดเก็บภาษีและยอดขาดดุลงบ ประมาณ และต้องการเวลาอีก 2 ปีเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการทางการคลังที่เข้มงวดขึ้น กับประชาชนที่กำลังแบกรับการขึ้นภาษี, การลดค่าใช้จ่ายและค่าจ้าง และอัตราว่างงานที่ สูงเป็นประวัติการณ์ ภายในสิ้นปีนี้ คาดว่าจีดีพีของกรีซจะหดตัวลงราว 1 ใน 5 นับตั้งแต่ปี 2008 ขณะที่เกือบ 1 คนจากทุก 4 คนเป็นผู้ว่างงาน เจ้าหน้าที่จากทรอยกาเปิดเผยว่า กรีซล้มเหลวในการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่จะหนุนเศรษฐกิจ อาทิ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามแผนที่วางไว้, การปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ และการเปิดเสรีตลาดและอาชีพต่างๆ "โครงการดังกล่าวไม่ได้ให้ผลตามที่พึงปรารถนา เพราะไม่ได้ถูกนำมาปฏิบัติ เราต้องเห็นก่อนว่ารัฐบาลกรีซปฏิบัติตามพันธะสัญญา และจะตัดสินใจว่า โครงการนี้ สัมฤทธิ์ผลหรือไม่ หรือจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่" แหล่งข่าวในกลุ่มทรอยกากล่าว คณะเจ้าหน้าที่กลุ่มทรอยกาเดินทางถึงกรุงเอเธนส์เมื่อวานนี้ และจะเริ่มประชุม หารือกับกระทรวงต่างๆ ในช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่จะเดินทางถึงกรุง เอเธนส์ในสัปดาห์นี้ และจะเข้าพบนายยานนิส สตูร์นาราส รมว.คลังกรีซในวันพฤหัสบดีนี้ --จบ--
โดย
wiss42
อังคาร ก.ค. 24, 2012 4:01 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
"มูดีส์"เตือน"เยอรมนี"ปรับลดมุมมองอนาคตศก."เป็นลบ" วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 10:20:22 น มติชน ออนไลน์ มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือการลงทุนได้ปรับมุมมองอนาคตของเศรษฐกิจเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก จากเดิมซึ่งอยู่ในระดับ "มีเสถียรภาพ" เป็น "ลบ" ซึ่งเป็นขั้นแรกของมูดีส์ที่อาจนำไปสู่การลดอันดับความน่าเชื่อถือของเยอรมนี ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยูโรโซนในอนาคต คำแถลงของมูดีส์เป็นการส่งสัญญาณเตือนว่า ไม่มีประเทศใดในกลุ่มยูโรโซนที่จะรอดพ้นจากวิกฤตหนี้ในครั้งนี้ แม้เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดอย่างเช่นเยอรมนี และก่อนหน้านี้มูดีส์ได้ปรับลดมุมมองอนาคตเศรษฐกิจของ 2 ประเทศ คือเนเธอร์แลนด์และลักเซมเบิร์ก มูดีส์กล่าวว่า ทั้ง 3 ประเทศเผชิญความเสี่ยงจากกรีซจะถอนตัวออกจากยูโรโซน และเตือนว่าเยอรมนีและประเทศอื่นๆ อาจต้องเพิ่มความช่วยเหลือในการอัดฉีดอัดฉีดเงินสดเพื่อช่วยเหลือสเปนและอิตาลี และภาระในการช่วยเหลือดังกล่าวนี่เองจะกลายเป็นสิ่งที่ประเทศชั้นนำของยูโรโซนต้องแบกรับไว้ มูดีส์ระบุว่าความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้ไม่อาจคงมุมมองว่าเศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพได้อีกต่อไป เพราะถึงแม้กรีซรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ประเทศร่ำรวยในยูโรโซนก็จะต้องแบกรับภาระหนักขึ้นในอนาคตเช่นกัน ดังนั้นทุกประเทศในยูโรโซนจะเกิดปัญหา แต่อยู่ในระดับที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ดี มูดีส์ ยังคงระดับความน่าเชื่อถือของฟินแลนด์ไว้ที่ Aaa หรือมีเสถียรภาพ แต่ยังคงเตือนว่าอาจได้รับผลกระทบที่คาดไม่ถึงจากวิกฤตหนี้ครั้งนี้ ทางด้านกระทรวงการคลังของเยอรมนี ตอบโต้คำประกาศของมูดีส์ด้วยคำยืนยันว่า เยอรมนียังคงเป็นเหมือนสมอเรือที่สร้างเสถียรภาพให้กับยูโรโซน และว่ามูดีส์มองแต่เฉพาะความเสี่ยงในระยะสั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงเสถียรภาพที่จะเกิดขึ้นระยะยาว อย่างไรก็ดี สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ สถาบันจัดอันดับชั้นนำอีกแห่ง ยังคงมุมมองอนาคตเศรษฐกิจเยอรมนีไว้ที่"มีเสถียรภาพ" แต่ปรับให้ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ และฟินแลนด์ มีมุมมองเป็นลบ โดยทั้งหมดยังคงอยู่ในระดับ AAA
โดย
wiss42
อังคาร ก.ค. 24, 2012 2:35 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
SPAIN:มูร์เซียจ่อขอความช่วยเหลือจากรบ.กลางสเปนต่อจากบาเลนเซีย มาดริด--24 ก.ค.--รอยเตอร์ มูร์เซียเป็นแคว้นที่ 2 ของสเปนที่จะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางเพื่อ ทำให้มีความสามารถในการชำระหนี้ต่อไป ขณะที่สื่อรายงานว่า รัฐบาลระดับภูมิภาค 6 แห่งพร้อมที่จะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางตามแคว้นบาเลนเซีย แคว้นปกครองตนเองที่ประสบภาวะหนี้สิน 17 แคว้นของสเปน จะทำการรีไฟ แนนซ์หนี้ 3.6 หมื่นล้านยูโรได้อย่างไรในปีนี้ กลายเป็นสาเหตุหลักที่สร้างความวิตกให้ แก่นักลงทุน เนื่องจากแคว้นเหล่านี้ไม่บรรลุเป้าหมายยอดขาดดุลในปีที่แล้ว ขณะที่แคว้น เหล่านี้ไม่มีช่องทางในการเข้าถึงตลาดพันธบัตรระหว่างประเทศ รัฐบาลกลางของสเปนได้จัดตั้งกองทุน 1.8 หมื่นล้านยูโร (2.2 หมื่นล้าน ดอลลาร์) ในเดือนนี้เพื่อบรรเทาปัญหาการระดมทุน นายรามอน ลูอิส วัลคาร์เซล หัวหน้ารัฐบาลแคว้นมูร์เซียกล่าวให้สัมภาษณ์ กับหนังสือพิมพ์ว่า มูร์เซียมีแผนที่จะใช้เงินในกองทุนที่รัฐบาลตั้งขึ้นหรือไม่ว่า "ใช่แน่นอน" และเสริมว่า เขาหวังว่ากองทุนดังกล่าวจะใช้ได้ในเดือนก.ย.นี้ "ไม่มีใครควรคิดว่าเงินนี้เป็นของขวัญ เพราะเงื่อนไขที่ตั้งไว้นั้นจะเข้มงวด อย่างมาก" เขากล่าว "จะมีการของบ 200-300 ล้านยูโร แต่ผมก็ยังไม่ทราบ" มูร์เซีย ซึ่งมีประชากร 1.4 ล้านคน และตั้งอยู่บนชายฝั่งทางใต้-ตะวันออก ของสเปน ออกแถลงการณ์ว่า กำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะใช้กลไกเงินกองทุน แต่ก็ ยังไม่ได้ตัดสินใจ--จบ--
โดย
wiss42
อังคาร ก.ค. 24, 2012 11:16 am
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
EUROPE:หุ้นยุโรปเปิดตลาดดิ่ง 1% ผวาวิกฤติหนี้ลามทั่วสเปน ลอนดอน--23 ก.ค.--รอยเตอร์ หุ้นยุโรปร่วงลงในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้ นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคาร ของยูโรโซน หลังจากแนวโน้มทางการเงินของสเปนเลวร้ายลงอีกครั้งในช่วง สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และทำให้สเปนใกล้ที่จะต้องขอความช่วยเหลือทางการเงิน อย่างเต็มรูปแบบ ณ เวลา 14.13 น.ตามเวลาไทย ดัชนี FTSEurofirst ร่วงลง 1% มาที่ 1,038.83 ส่วนดัชนี Euro STOXX สำหรับหุ้นกลุ่มธนาคารยูโรโซน ดิ่งลง 2.9% หลังจากที่แคว้นบาเลนเซียเปิดเผยว่าจะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล กลางของสเปนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แคว้นมูร์เซียก็เตรียมดำเนินการตาม ขณะที่ สื่อท้องถิ่นรายงานว่า มีรัฐบาลระดับภูมิภาคอีก 6 แห่งที่อาจจะขอความช่วยเหลือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนอายุ 10 ปีพุ่งแตะระดับสูงสุดใหม่ นับตั้งแต่มีการใช้สกุลเงินยูโร โดยอยู่ที่ระดับ 7.33% ในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้ "มีแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างมากช่วงเช้านี้ ขณะที่มีความวิตกครั้งใหม่ เกี่ยวกับยุโรป ซึ่งความวิตกเหล่านี้ก็ไม่ได้หายไปไหนอยู่แล้ว" นายโจ เนเบอร์ โบรกเกอร์อาวุโสจากเซ็นทรัล มาร์เกตส์ กล่าว--จบ--
โดย
wiss42
จันทร์ ก.ค. 23, 2012 5:44 pm
0
1
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
SPAIN:สื่อเผยวิกฤติหนี้ลามทั่วสเปน หลังคาดอีก 6 แคว้นจ่อคิวขอเงินช่วยเหลือ มาดริด--23 ก.ค.--รอยเตอร์ รัฐบาลแคว้นบาเลนเซียซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสเปนแถลงในวันศุกร์ว่า ทางแคว้นต้องการความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลกลางสเปน ซึ่งแถลงการณ์ ในครั้งนี้ได้สร้างความกังวลให้แก่ตลาดการเงิน และสร้างความยุ่งยากให้แก่ความ พยายามของรัฐบาลกลางในการหลีกเลี่ยงการขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก ต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ แคว้นมูร์เซียเป็นแคว้นที่ 2 ที่ประกาศความช่วยเหลือทาง การเงินจากรัฐบาลกลางเมื่อวานนี้ ขณะที่สื่อรายงานว่า รัฐบาลระดับภูมิภาคอีก 6 แห่งอาจจะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความวิตก มากขึ้นต่อเสถียรภาพของสเปนและภาคธนาคารของประเทศ แคว้นบาเลนเซียและแคว้นคาตาโลเนียถือเป็นสองแคว้นที่มีหนี้สินสูงที่สุด ในสเปน โดยแคว้นบาเลนเซียขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางสเปนภายใต้ โครงการวงเงิน 1.8 หมื่นล้านยูโร (2.21 หมื่นล้านดอลลาร์) ที่เพิ่งได้รับการ อนุมัติในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยโครงการนี้ตั้งเป้าที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เขต ปกครองตนเอง โดยงบรายจ่ายสำหรับรัฐบาลระดับแคว้นและรัฐบาลระดับท้องถิ่น ครองสัดส่วนราวครึ่งหนึ่งของงบรายจ่ายสาธารณะทั้งหมดของสเปน รัฐบาลบาเลนเซียออกแถลงการณ์ระบุว่า "แคว้นบาเลนเซียประสบ ความยากลำบากจากภาวะขาดแคลนสภาพคล่องในตลาด ซึ่งเป็นผลจากวิกฤติ เศรษฐกิจ ในขณะที่เขตปกครองตนเองเขตอื่นๆก็ประสบปัญหาแบบเดียวกัน" โครงการช่วยเหลือนี้ได้รับเงินทุนจากกระทรวงการคลังสเปน แต่รัฐบาลแคว้นต่างๆยังคงต้องรับผิดชอบต่อหนี้ดังกล่าว ปัญหาหนี้สินของรัฐบาลระดับแคว้นและปัญหาในภาคธนาคารสเปน ซึ่งได้รับความเสียหายจากภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และอาจทำให้ รัฐบาลกลางสเปนต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศอย่าง เต็มรูปแบบในอนาคต ขณะเดียวกัน รัฐบาลกลางสเปนประกาศในช่วงบ่ายวันศุกร์ว่า ทางรัฐบาลได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปี 2013 และส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจสเปนจะยังคงอยู่ในภาวะถดถอยต่อไปในปีหน้า หลังจากมีแนวโน้มหดตัว 1.5 % ในปีนี้ ในวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้อนุมัติเงื่อนไขของสินเชื่อ วงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านยูโร (1.23 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อให้รัฐบาลกลาง สเปนนำไปใช้เพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ของประเทศ โดยจะมีการกำหนดวงเงิน ที่แน่นอนของสินเชื่อดังกล่าวในเดือนก.ย. อย่างไรก็ดี ข่าวเรื่องแคว้นบาเลนเซียส่งผลให้ค่าพรีเมียมความเสี่ยง ของพันธบัตรรัฐบาลสเปนพุ่งขึ้นในวันศุกร์ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ของสเปนพุ่งขึ้นแตะ 7.317 % ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการใช้เงินสกุล ยูโร และเป็นระดับที่ตลาดมองว่าสูงเกินไป โดยไม่มีแนวโน้มว่าอัตราผลตอบแทน จะลดลงในเร็วๆนี้ ยูโรร่วงลงแตะ 1.2103 ดอลลาร์ในวันนี้ ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดรอบ 25 เดือน ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปร่วงลงในวันศุกร์ ถึงแม้รัฐบาลสเปนปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) แต่ทางรัฐบาลก็ยังคงเป้าหมายยอดขาดดุลงบประมาณประจำปี 2012 และ 2013 ไว้ตามเดิม แต่รัฐบาลไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่ารัฐบาลกลางและรัฐบาล ระดับแคว้นจะแบ่งกันทำงานอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในปีนี้ รัฐบาลสเปนจะใช้ตัวเลขคาดการณ์ใหม่นี้เป็นพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ ประจำปี 2013 โดยมีการกำหนดเพดานงบประมาณไว้ที่ 1.27 แสนล้านยูโร เทียบกับ 1.19 แสนล้านยูโรในปีนี้ รัฐบาลหลายแคว้นของสเปนไม่สามารถกู้เงินจากตลาดระหว่างประเทศได้ ดังนั้นรัฐบาลแคว้นต่างๆเหล่านี้จึงเรียกร้องมาเป็นเวลานานหลายเดือนแล้วให้มีการ ดำเนินกลไกทางการเงินเพื่อช่วยให้รัฐบาลกลุ่มนี้สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันทาง การเงิน นายโฆเซ่ ซิสคาร์ รองมุขมนตรีแคว้นบาเลนเซีย กล่าวว่า ขณะนี้แคว้น บาเลนเซียอยู่ในสถานะที่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันทางการเงินได้แล้ว โดยเขา กล่าวเสริมว่า "กองทุนสภาพคล่องของรัฐบาลกลางสเปนได้ช่วยสร้างความเชื่อมั่น" แคว้นบาเลนเซียได้ใช้วงเงินสินเชื่อของรัฐบาลกลางไปแล้ว 2-3 ครั้ง ในช่วงครึ่งปีแรกเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ของทางแคว้น ขณะที่ยังคงต้องชำระหนี้อีก 2.85 พันล้านยูโรก่อนสิ้นปีนี้ นายคริสโตบาล มอนโตโร รมว.คลังสเปน กล่าวหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี รายสัปดาห์ว่า โครงการให้เงินทุนแก่รัฐบาลระดับแคว้นเป็นโครงการที่กำหนดเงื่อนไข ทางการคลังอย่างเข้มงวด และผู้รับเงินจากโครงการนี้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว รวมทั้งต้องรายงานสถานะการเงินอย่างสม่ำเสมอ นายมอนโตโรกล่าวว่า "รัฐบาลบาเลนเซียจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ใหม่นี้เพื่อแลกกับการเข้าถึงสภาพคล่องดังกล่าว" นายมอนโตโรกล่าวว่า ต้นทุนในการระดมทุนเพื่อชำระหนี้ของสเปนมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น 9.1 พันล้านยูโรในปี 2013 ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา รัฐบาลสเปนได้ประกาศใช้มาตรการส่วนใหญ่ที่อยู่ใน โครงการปรับลดงบรายจ่ายและปรับขึ้นภาษีวงเงิน 6.5 หมื่นล้านยูโร โดยรัฐบาลสเปน จะระดมทุนจากตลาดในวันพรุ่งนี้ด้วยการเสนอขายตั๋วเงินคลังประเภทอายุ 3 เดือนและ 6 เดือน และรัฐบาลจะขายพันธบัตรประเภท 3 ปีและ 5 ปีในวันพฤหัสบดีที่ 2 ส.ค. รัฐบาลบางแคว้นของสเปนต่อต้านมาตรการปรับลดงบรายจ่ายครั้งล่าสุด โดยรัฐบาลแคว้นคาตาโลเนีย, แคว้นบาสค์ และแคว้นอันดาลูเซียแถลงว่า ทางรัฐบาล จะไม่นำมาตรการปรับลดงบรายจ่ายมาใช้ทั้งหมด เพราะการทำเช่นนั้นจะเป็นการทำลาย ระบบสาธารณสุขและการศึกษาภาครัฐที่รัฐบาลระดับแคว้นเป็นผู้ควบคุม นักวิเคราะห์เชื่อว่า แคว้นปกครองตนเองส่วนใหญ่ในสเปนจะไม่สามารถบรรลุ เป้าหมายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงสู่ 1.5 % ของผลผลิตทางเศรษฐกิจในปีนี้ ในสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลกลางสเปนได้ขอให้รัฐบาลระดับแคว้นอย่างน้อย 8 จาก 17 แคว้นปรับทบทวนแผนงบประมาณประจำปีนี้ของตนเองเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านขาดดุล งบประมาณ โดยรัฐบาลกลางสเปนขู่ที่จะเข้าควบคุมการคลังของแคว้นบางแคว้นด้วย มีสัญญาณบ่งชี้ถึงความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อความยากลำบากทางเศรษฐกิจ โดยมีชาวสเปนหลายแสนคนเดินขบวนประท้วงต่อต้านมาตรการล่าสุดของรัฐบาลฝ่ายกลาง- ขวาของสเปนในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สเปนระดมทุนไปแล้ว 69 % ของเป้าหมายเดิมในการออกพันธบัตรระยะกลาง และระยะยาวทั้งหมดสำหรับปีนี้ โดยเป้าหมายเดิมอยู่ที่ 8.5 หมื่นล้านยูโร อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดกันว่าสเปนอาจเพิ่มเป้าหมายในการออกพันธบัตรอีกราว 2 หมื่นล้านยูโร โดยเป็นผลจากการกำหนดเป้าหมายใหม่ด้านการขาดดุลงบประมาณและ ภาระในการช่วยเหลือรัฐบาลระดับแคว้น และปัจจัยนี้อาจส่งผลกระทบต่ออันดับความน่า เชื่อถือของสเปน ซึ่งอยู่สูงกว่าสถานะ"ขยะ"เพียง 1 ขั้นเท่านั้น--จบ--
โดย
wiss42
จันทร์ ก.ค. 23, 2012 3:56 pm
0
1
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
ประท้วงต้านรัดเข็มขัดจบไม่สวย ปชช.สเปนปะทะเดือดจนท.กลางกรุง วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 12:20:59 น มติชน ออนไลน์ ตำรวจสเปนยิงกระสุนยางขับไล่ผู้ประท้วงในกรุงมาดริด ในช่วงเช้ามืดวันนี้(20 ก.ค.) หลังการนัดชุมนุมใหญ่ของสหภาพแรงงานทั่วประเทศเพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของนายกรัฐมนตรี มาเรียโน ราฮอย สิ้นสุดลง ผู้ได้รับบาดเจ็บและถูกจับกุมหลายราย สถานการณ์ในกรุงมาดริด เมืองหลวงของสเปน เกิดขึ้นพร้อมกับอีกกว่า 80 จุดทั่วประเทศ หลังสหภาพแรงงานเชิญชวนประชาชนให้ออกมาแสดงพลังต่อต้านแผนลดเงินเดือนพนักงานรัฐและขึ้นภาษีสินค้า โดยหลังการชุมนุมสิ้นสุดลง ผู้ประท้วงหลายสิบคนยังคงเตร็ดเตรอบริเวณจตุรัส ปูเอร์ตา เดล ซอล กลางกรุงมาดริด ขณะที่ผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่งดึงดันที่จะฝ่าด่านเจ้าหน้าที่เข้าไปยังอาคารรัฐสภา บ้างก็ขว้างปาขวดน้ำเข้าใส่เจ้าหน้าที่ที่พยายามสกัดกั้น และสลายฝูงชน จนเหตุลุกลามบานปลาย กลายเป็นการปะทะกัน ตำรวจปราบจลาจลต้องยิงปืนกระสุนยางเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และถูกจับกุมหลายคน ตำรวจปราบจลาจลเข้าจับกุมและใช้กระบองทุบตีผู้ประท้วงที่พยายามจะเข้าไปก่อกวนอาคารรัฐสภา ซึ่งมีเจ้าหน้าที่คุ้มกันอยู่อย่างหนาแน่น ขณะที่ผู้ประท้วงอีกจำนวนหนึ่งวิ่งหนีตำรวจไปตามท้องถนน เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า ตำรวจจับกุมผู้ประท้วงได้ 7 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีก 6 คน การชุมนุมประท้วงวานนี้ ถือเป็นครั้งล่าสุดและครั้งใหญ่ที่สุด หลังจากนายกรัฐมนตรี ราฮอย ประกาศมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อลดรายจ่ายลง 6.5 หมื่นล้านยูโร และบรรเทาปัญหาหนี้สาธารณะของสเปน โดยหนึ่งในมาตรการ คือการตัดเงินโบนัสของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่จะออกในทุกๆเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งจะทำให้รายได้ต่อปีลดลงราว 7% หลังจากที่เมื่อปี 2010 รัฐบาลสเปนก็ได้สั่งลดเงินเดือนข้าราชการ และประกาศอัตราเงินเดือนคงที่มาแล้ว นอกจากนั้น สเปนยังประกาศลดเงินอุดหนุนในกรณีว่างงาน และขึ้นเพดานภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 18% เป็น 21%
โดย
wiss42
ศุกร์ ก.ค. 20, 2012 3:10 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
GERMANY:จับตาศาลเยอรมนีชี้ชะตากองทุนยุโรปขัดต่อรธน.หรือไม่ 12 ก.ย.นี้ เบอร์ลิน--16 ก.ค.--รอยเตอร์ ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีแถลงในวันนี้ว่า ศาลจะประกาศคำวินิจฉัยเกี่ยวกับ กองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรปในวันที่ 12 ก.ย.นี้ ทั้งนี้ ศาลได้จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมาเพื่อ พิจารณาคำร้องจากนักวิชาการฝ่ายต่อต้านยุโรป และสมาชิกสภานิติบัญญัติบางคนจาก รัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลที่ว่า กองทุน ESM และสนธิสัญญา ทางการคลังละเมิดกฎหมายของเยอรมนีด้วยการดึงความรับผิดชอบสำหรับงบประมาณ ไปจากรัฐสภาหรือไม่--จบ--
โดย
wiss42
อังคาร ก.ค. 17, 2012 2:52 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
ITALY:"มูดี้ส์"เตือนอิตาลีเผชิญวิกฤติหนี้ ขณะเศรษฐกิจอาจหดตัว 2% ปีนี้ นิวยอร์ค--13 ก.ค.--รอยเตอร์ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง ประเทศ ประกาศปรับลดอันดับอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลอิตาลี ลง 2 ขั้นสู่ Baa2 จาก A3 และเตือนว่า อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ลงอีก หากอิตาลีไม่สามารถเข้าระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวทำให้อันดับความน่าเชื่อถือ ของอิตาลีอยู่เหนืออันดับขยะเพียง 2 ขั้น และอาจเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลี ก่อนการประมูลขายพันธบัตรในวันนี้ ข่าวนี้ส่งผลให้ยูโรร่วงลงราว 0.0025 ดอลลาร์ สู่ 1.2190 ดอลลาร์ ในช่วงการซื้อขายที่ตลาดเอเชีย อันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีที่มูดี้ส์จัดให้ในครั้งนี้อยู่ต่ำกว่าอันดับความ น่าเชื่อถือล่าสุดที่จัดโดยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) และฟิทช์ เรทติ้งส์ โดย S&P จัดอันดับความน่าเชื่อถือของอิตาลีไว้ที่ BBB+ ในเดือนม.ค. ส่วนฟิทช์จัด อันดับอิตาลีไว้ที่ A- ในเดือนม.ค. มูดี้ส์ระบุเตือนว่า "อาจจะมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือพันธบัตร รัฐบาลอิตาลีลงไปอีกในอนาคต ถ้าหากแนวโน้มเศรษฐกิจของอิตาลีตกต่ำลงอย่าง รุนแรง หรืออิตาลีประสบความยากลำบากในการดำเนินการปฏิรูป" "ถ้าหากโอกาสของอิตาลีในการระดมทุนจากตลาดหนี้สาธารณะลดลง ไปอีกในอนาคต และอิตาลีจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อันดับ ความน่าเชื่อถือของอิตาลีก็อาจร่วงลงสู่ระดับที่ต่ำกว่าเดิมเป็นอย่างมาก" มูดี้ส์ระบุว่า ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากอิตาลีประสบความสำเร็จ ในการดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ และในการดำเนินมาตรการทาง การคลังที่ช่วยส่งเสริมงบดุลของรัฐบาล และส่งเสริมแนวโน้มการเติบโต ทางเศรษฐกิจของอิตาลีให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลบวก ต่อความน่าเชื่อถือและจะส่งผลให้อันดับความน่าเชื่อถือมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ มูดี้ส์ปรับลดเพดานอันดับความน่าเชื่อถือขั้นสูงสุดที่ผู้ออกตราสารใน อิตาลีอาจได้รับลงจากเดิมด้วย โดยปรับลดเพดานลงสู่ A2 จาก Aaa เพื่อ สะท้อนความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเงินและเศรษฐกิจ มูดี้ส์ระบุว่า การปรับลดอันดับในครั้งนี้ได้รับแรงกระตุ้นมาจากการที่ อิตาลีอาจได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นจากเหตุการณ์ทางการเมือง เช่น การที่กรีซ ถอนตัวออกจากยูโรโซน หรือการที่สเปนขอความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม มูดี้ส์เปิดเผยว่าอิตาลีเผชิญปัญหาทางการระดมทุนมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก มีหนี้สินสูง และมีความจำเป็นต้องกู้เงินรายปีในระดับสูงถึง 4.15 แสนล้านยูโร (5.06 แสนล้านดอลลาร์) ในปี 2012-2013 นอกจากนี้ ฐานนักลงทุนในต่าง ประเทศก็ลดลงด้วย มูดี้ส์ยังเตือนว่าเศรษฐกิจอิตาลีอาจตกต่ำลงต่อไป โดยขณะนี้มูดี้ส์คาดว่า เศรษฐกิจอิตาลีอาจหดตัว 2 % ในปี 2012 ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถของ อิตาลีในการบรรลุเป้าหมายทางการคลัง--จบ--
โดย
wiss42
อังคาร ก.ค. 17, 2012 2:51 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
GERMANY:คาดศาลเยอรมนีใช้เวลา 2-3 เดือนพิจารณากองทุนยุโรปขัดต่อรธน.หรือไม่ เบอร์ลิน--11 ก.ค.--รอยเตอร์ นายวูลฟ์กัง แชร์เบิล รมว.คลังของเยอรมนี เปิดเผยในวันนี้ว่า เขาหวังว่าศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีจะให้คำตัดสินเกี่ยวกับกองทุนกลไก รักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรปก่อน ฤดูใบไม้ร่วง โดยเขาคาดว่าการตัดสินเรื่องดังกล่าวจะใช้เวลาหลายเดือน ทั้งนี้ ศาลสูงของเยอรมนีได้เห็นชอบเมื่อวานนี้ที่จะพิจารณาคำร้อง ของโจทก์ที่คัดค้านการให้สัตยาบันของรัฐสภาเยอรมนีต่อกองทุน ESM และ สนธิสัญญาทางการคลังของยุโรป แต่ยังไม่ได้กำหนดวันอ่านคำพิพากษา ขั้นสุดท้าย ด้านนายแอนเดรียส วอสสคูห์ล ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ระบุถึง ความเป็นไปได้ที่ศาลจะต้องทำการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งอาจจะต้อง ใช้เวลาถึง 2-3 เดือน นักลงทุนกำลังจับตาการการตัดสินใจดังกล่าวอย่างใกล้ชิดซึ่งจะบ่งชี้ว่า ยุโรปจะหลุดพ้นจากวิกฤติหนี้ยุโรปได้หรือไม่ โดยนายแชร์เบิลกล่าวว่า ความล่าช้า ในการตัดสินเรื่องดังกล่าวจะทำให้ตลาดการเงินปั่นป่วนและบั่นทอนความเชื่อมั่น ในยูโร "ผมหวังว่าศาลจะทำการตัดสินเร็วขึ้น" นายแชร์เบิลกล่าวกับสถานีวิทยุ Deutschlandfunk ของเยอรมนี อย่างไรก็ตาม เขากล่าวเสริมว่า เขาจะไม่ สร้างแรงกดดันต่อศาล นายแชร์เบิลกล่าวว่า เขาเชื่อมั่นว่าศาลจะตัดสินว่า กองทุน ESM และสนธิสัญญาทางการคลังของยุโรปไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของเยอรมนี เนื่องจาก ศาลไม่เคยตัดสินว่าสนธิสัญญาของยุโรปขัดต่อรัฐธรรมนูญ นายแชร์เบิลยังกล่าวว่า "ผมคิดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจยังคงน่าเป็น ห่วงอย่างมาก เราอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก อันตรายที่เราจะได้รับจาก การชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงนั้นยังไม่สิ้นสุด" ยูโรทรงตัวที่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนวิตกต่อผลการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีเกี่ยวกับกองทุน ช่วยเหลือยูโรโซน ซึ่งนับเป็นอุปสรรคล่าสุดสำหรับผู้กำหนดนโยบาย ขณะที่ พวกเขาพยายามหาแนวทางแก้ไขวิกฤติหนี้ ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีเปิดเผยวานนี้ว่า ทางศาลจะพิจารณา คำร้องของโจทก์ที่คัดค้านการให้สัตยาบันของรัฐสภาเยอรมนีต่อกองทุน ESM และ สนธิสัญญาทางการคลังของยุโรป ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญ 2 ประการของยูโรโซน สำหรับการจัดการกับวิกฤติหนี้ แต่ศาลยังไม่ได้กำหนดวันอ่านคำพิพากษาขั้นสุดท้าย ขณะสิ้นสุดการไต่สวนของศาลวานนี้นั้น นายแชร์เบิล ได้กล่าวย้ำข้อ เรียกร้องของเขาต่อคณะผู้พิพากษา 8 คน เพื่อให้ทำการตัดสินเรื่องดังกล่าว โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ขณะที่ตลาดการเงินมีความวิตกเกี่ยวกับอนาคต ของกองทุน ESM และกฏเกณฑ์ด้านงบประมาณใหม่ที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขวิกฤติหนี้ "เราอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดอย่างมาก ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ ว่าอะไรจะเกิดขึ้น" เขากล่าว ผู้พิพากษาในเมืองคาร์ลสรูห์มีชื่อเสียงในการคัดค้านการรวมตัวของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่พวกเขาเคยตัดสินคัดค้านสนธิสัญญาลิสบอนในการปรับปรุง รัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรป (อียู) ในปี 2009 ขณะที่ศาลต้องการปกป้องบทบาทของ สภาล่างของเยอรมนี "สภาล่างยังคงต้องเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจทางการเมือง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งที่เกี่ยวกับอำนาจที่สำคัญ อาทิ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาล กลาง" นายอูโด ดิ ฟาบิโอ ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ Der Spiegel นายวอสสคูห์ล ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นประธานคณะผู้พิพากษา 8 คนในการพิจารณาเรื่อง ESM/สนธิสัญญาทางการคลังนั้น ได้ระบุว่า กรณีนี้เป็น "เส้นแดง" ที่จะกระทบต่อการตัดสินใจทั้งหมดของศาลต่อประเด็นในยุโรป ศาลรัฐธรรมนูญได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของนางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี หลายครั้งเกี่ยวกับการตั้งกองทุนช่วยเหลือยุโรปนับตั้งแต่ วิกฤติหนี้เริ่มขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยแม้ไม่ได้มีคำพิพากษาคัดค้านการตั้งกองทุน ช่วยเหลือสำหรับกรีซหรือ ประเทศอื่นๆในยูโรโซนว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมายก็ตาม แต่ศาลแนะนำให้นางเมอร์เคลทำการปรึกษาหารือกับสภาล่างมากขึ้น ท่ามกลางรายงานข่าวที่ว่า นางเมอร์เคลมีความไม่พอใจมากขึ้นต่อศาล หลังการเตือนให้มีการปรึกษาหารือกับสภามากขึ้นนั้น นางเมอร์เคลกล่าวว่า เธอ สนับสนุนสิทธิของฝ่ายโจทก์ที่จะนำมาตรการแก้ไขวิกฤติยูโรโซนเข้ามาตรวจสอบ ในศาล ด้านประธานาธิบดีโจอาคิม ก็อคของเยอรมนี ซึ่งจำเป็นต้องลงนามรับรอง สัตยาบัน กล่าวว่า เขายินดีที่มีการดำเนินการพิจารณาในเรื่องนี้--จบ--
โดย
wiss42
พุธ ก.ค. 11, 2012 3:31 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
SPAIN:ยูโรกรุ๊ปเห็นชอบยืดเวลาสเปนถึงปี 2014 เพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณ บรัสเซลส์--10 ก.ค.--รอยเตอร์ รัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) เห็นพ้องกันในช่วงเช้าวันนี้ว่าจะให้เวลา สเปนเพิ่มขึ้นอีก 1 ปีจนถึงปี 2014 ในการบรรลุเป้าหมายการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ โดยแลกกับการที่สเปนต้องตัดงบประมาณมากยิ่งขึ้น การตัดสินใจในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลสเปนต้องขอความ ช่วยเหลือทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ เพราะอาจส่งผลให้กองทุนคุ้มครองยูโรโซน มีเงินเหลือไม่มากพอ และจะส่งผลให้วิกฤติหนี้ยูโรโซนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น รัฐมนตรีคลังยูโรโซนระบุในแถลงการณ์ว่า "ยูโรกรุ๊ปสนับสนุนคำแนะนำ ของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ให้ยืดเส้นตายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณของ สเปนออกไปอีก 1 ปีจนถึงปี 2014" รัฐมนตรีคลังอียูจะประชุมกันในวันนี้ และที่ประชุมแห่งนี้จะให้การอนุมัติ อย่างเป็นทางการสำหรับการผ่อนคลายเป้าหมายด้านการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ สำหรับสเปน โดยอียูประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศ ส่วนยูโรโซนประกอบด้วยสมาชิก 17 ประเทศ ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนและอิตาลียังคงพุ่งขึ้นเมื่อวานนี้ โดยอัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลสเปนประเภทอายุ 10 ปีทะยานขึ้นเหนือระดับสำคัญที่ 7 % นายลูอิส เด กวินโดส รมว.เศรษฐกิจสเปนชี้แจงให้ที่ประชุมยูโรกรุ๊ปฟัง เกี่ยวกับแผนการของรัฐบาลสเปนในการปรับลดงบใช้จ่ายและปรับขึ้นภาษีในช่วง 2-3 ปี ข้างหน้า โดยรัฐบาลสเปนจะประกาศแผนการวงเงิน 3 หมื่นล้านยูโรนี้ออกมาในวันพรุ่งนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า รัฐบาลสเปนจะปรับลดงบใช้จ่ายลงราว 1 หมื่นล้านยูโร ในปีนี้ โดยมาตรการของรัฐบาลสเปนรวมถึงการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), การ ปรับลดการจ่ายเงินสวัสดิการสังคม, การปรับลดการจ่ายเงินสวัสดิการว่างงาน และ การปรับเปลี่ยนวิธีการคำนวณเงินบำนาญ เพื่อเป็นการตอบแทนรัฐบาลสเปน คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอที่จะผ่อนคลาย เป้าหมายในการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสเปน โดยระบุให้รัฐบาลสเปน ปรับลดยอดขาดดุลลงสู่ 6.3 % ของผลผลิตทางเศรษฐกิจในปีนี้, 4.5 % สำหรับปี 2013 และ 2.8 % สำหรับปี 2014 นายโอลลี เรห์น กรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของยุโรปกล่าวว่า สเปน ควรที่จะดำเนินมาตรการตัดงบประมาณเพิ่มเติมในเร็วๆนี้เพื่อรับประกันว่าสเปนจะบรรลุ เป้าหมายใหม่ ประเทศอื่นๆในยุโรประบุว่า สเปนอาจจะยังคงประสบความยากลำบากในการ บรรลุเป้าหมายใหม่นี้ และมีการเสนอแนะให้มีการตรวจสอบสเปนทุกๆ 3 เดือนด้วย ตัวเลขเป้าหมายใหม่นี้ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหาของสเปนในการบรรลุเป้าหมาย ทางการคลังท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ ในตอนแรกนั้นได้มีการกำหนดให้ รัฐบาลสเปนปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงสู่ 4.4 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ แต่นายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราจอยของสเปนได้ตัดสินใจ เพียงฝ่ายเดียวในการปรับเป้าหมายดังกล่าวเป็น 5.8 % ของจีดีพีในช่วงต้นเดือน มี.ค. ก่อนที่จะตกลงยอมรับเป้าหมายใหม่ที่ 5.3 % ของจีดีพีในช่วงกลางเดือนมี.ค. --จบ--
โดย
wiss42
อังคาร ก.ค. 10, 2012 2:38 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
ยูโรโซน"เห็นพ้องเงินช่วยแบงก์สเปน มูลค่า 30,000 ล้านยูโร วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 10:02:11 น. มติชนออนไลน์ ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศยูโซน เห็นชอบที่จะให้เงินช่วยเหลือสเปนเป็นมูลค่า 30,000 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารที่กำลังประสบปัญหา ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน ที่กรุงบรัสเซลส์ของเบลเยี่ยม วานนี้ (9 ก.ค.)ได้ตกลงกันในเงื่อนไขที่จะให้ความช่วยเหลือธนาคารที่ประสบปัญหาของสเปน โดยระบุว่า ยูโรโซนพร้อมที่จะจัดหาเงินมูลค่า 3 หมื่นล้านยูโรให้กับธนาคารเหล่านี้ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ แต่รัฐมนตรีคลังยูโรโซน หรือยูโรกรุ๊ป จะหารือกันอีกครั้งในวันที่ 20 ก.ค. เพื่อทำข้อตกลงในขั้นตอนสุดท้าย นายฌอง-คล็อด ยุงค์เกอร์ ประธานยูโรกรุ๊ป กล่าวว่า กลุ่มยังเห็นชอบ โดยกำหนดให้รัฐบาลสเปนต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ตามเป้าของสหภาพยุโรปที่ร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2013 แต่สามารถขยายออกไปได้กระทั่งปี 2014 ทั้งนี้ รัฐมนตรีคลังยูโรโซน ได้เริ่มประชุมร่วมกันเมื่อวานนี้ ตามเวลายุโรป ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เพื่อหาลู่ทางในการช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจของสเปน รวมถึงหารือความคืบหน้าของมาตรการการปล่อยเงินกู้เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารของสเปน และการผ่อนปรนเป้าหมายด้านงบประมาณของรัฐบาลสเปน
โดย
wiss42
อังคาร ก.ค. 10, 2012 10:26 am
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
อัตราว่างงาน"ยูโรโซน"พุ่ง 11.1% ทำสถิติใหม่ "สเปน"หนักสุด ปชช.ตกงานเกือบ 1 ใน 4 อัตราการว่างงานของกลุ่มยูโรโซน หรือ 17 ประเทศที่ใช้เงินยูโร ทำสถิติพุ่งสูงครั้งใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยยูโรสแตท หรือสำนักงานสถิติแห่งยุโรป เผยว่า อัตราว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.1 ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เทียบกับร้อยละ 11 เมื่อเดือนเมษายน ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการใช้งินสกุลยูโรเมื่อปี 1999 และสูงกว่าสหรัฐฯที่ร้อยละ 8.2 และญี่ปุ่นที่ร้อยละ 4.4 สเปนถือเป็นประเทศที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดที่ร้อยละ 24.6 หรือเกือบ 1 ใน 4 ของประชากร โดยเฉพาะในกลุ่มคนหนุ่มสาว ซึ่งสูงถึงร้อยละ 52.1 รองลงมา คือ กรีซที่ร้อยละ 21.9, ลัตเวีย ร้อยละ 15.3 และโปรตุเกส ร้อยละ 15.2 ขณะที่เยอรมนี ประเทศที่แข็งแกร่งที่สุดในกลุ่ม อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ขณะที่ประเทศในยุโรปนอกกลุ่มยูโรโซนอย่างสหราชอาณาจักรและโปแลนด์ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 10.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ข้อมูลจากยูโรสแตท ระบุว่า จำนวนผู้ว่างงานใน 17 ประเทศยูโรโซนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีมากกว่า 17.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.1 ของประชากรในกลุ่มประเทศยูโรโซนทั้งหมด ถือเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 11.0 ขณะที่ตัวเลขของผู้ว่างงานที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีลงมาในกลุ่มยูโรโซนในเดือนพฤษภาคม ยังคงเพิ่มขึ้นเป็น 3.4 ล้านคน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 254,000 คน ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาถึงอัตราการว่างงานทั่วทั้งสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งมีสมาชิกทั้งสิ้น 27 ประเทศ ในเดือนพฤษภาคมพบว่าเพิ่มขึ้นกว่า 151,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 10.3 จากเมื่อเดือนเมษายน ที่มีผู้ว่างงานในอียูร้อยละ 10.2 ทั้งนี้ ออสเตรียถือเป็นประเทศที่อัตราการว่างงานต่ำสุดที่ร้อยละ 4.1 ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก และเยอรมนีที่ร้อยละ 5.1, 5.4 และ 5.6 ตามลำดับ วันที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 22:00:40 น มติชน ออนไลน์
โดย
wiss42
จันทร์ ก.ค. 02, 2012 10:33 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
EUROPE:นายกฯเยอรมนีมีท่าทีประนีประนอมแล้ว หลังขานรับผลประชุมอียูซัมมิท บรัสเซลส์--29 มิ.ย.--รอยเตอร์ นางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวว่า เขารู้สึกพอใจ กับผลการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) แม้ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ เขาได้ยืนยัน ว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการฉุกเฉินเพื่อพยุงพันธบัตรของอิตาลีและสเปน "เรามีการตัดสินใจที่ดีเมื่อวานนี้ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และการจัดการกับการว่างงาน และมาตรการในอนาคตสำหรับกองทุนรักษาเสถียรภาพ การเงินยุโรป (EFSF) และกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) โดยเรา จะยังคงจัดทำมาตรการระยะยาวต่อไป ซึ่งดิฉันเชื่อว่าเราจะได้ข้อสรุปที่ดีในวันนี้" เขากล่าว ท่าทีของนางเมอร์เคลถือว่าแตกต่างจากเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ซึ่งเขาระบุว่า ยุโรปจะไม่แบ่งปันภาระหนี้ทั้งหมดร่วมกัน "ตราบใดที่ดิฉันยังมีชีวิตอยู่" ในวันนี้ ผู้นำยูโรโซนจะหารือถึงแผนระยะยาวเพื่อสร้างสหภาพการคลัง และธนาคารที่สอดคล้องกันมากขึ้น โดยพวกเขาได้ขอให้นายเฮอร์แมน แวน รอมพาย ประธานสภายุโรป รวมทั้งประธานคณะกรรมาธิการยุโรป, ประธานธนาคารกลาง ยุโรป (อีซีบี) และรมว.คลังยูโรกรุ๊ปยื่นข้อเสนอที่มีรายละเอียดภายในเดือนต.ค. ทั้งนี้ ผู้นำยูโรโซนสามารถบรรลุข้อตกลงที่จะดำเนินมาตรการฉุกเฉิน เพื่อทำให้ต้นทุนการกู้ยืมที่พุ่งขึ้นอย่างมากของอิตาลีและสเปนลดลง และจัดตั้ง หน่วยงานแห่งหนึ่งขึ้นเพื่อกำกับดูแลภาคธนาคารของยูโรโซนภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งเป็นมาตรการแรกที่จะนำไปสู่การจัดตั้งสหภาพธนาคารของยุโรป นายแวน รอมพาย กล่าวว่า เป้าหมายของข้อตกลงนี้คือการจัดตั้ง กลไกกำกับดูแลที่อีซีบีมีส่วนร่วมด้วยก่อนสิ้นปีนี้ และทำลาย "วงจรอุบาทว์" ระหว่างธนาคารพาณิชย์และหนี้รัฐบาล เขากล่าวว่า ประเทศที่ปฏิบัติตามนโยบายงบประมาณของสหภาพยุโรป จะสามารถเข้าถึงกองทุน EFSF และกองทุน ESM เพื่อพยุงพันธบัตรรัฐบาลใน ตลาดการเงิน "เรากำลังเปิดโอกาสให้ประเทศที่ประพฤติดีสามารถใช้ประโยชน์จาก เครื่องมือสร้างเสถียรภาพทางการเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตลาด และ ฟื้นฟูเสถียรภาพของพันธบัตรรัฐบาลของประเทศสมาชิกของเรา" นายแวน รอมพาย กล่าวในการแถลงข่าว หลังการประชุมร่วมกับผู้นำยูโรโซน 17 ประเทศ ด้านนายมาริโอ มอนติ นายกรัฐมนตรีอิตาลี ขานรับการตัดสินใจของผู้นำ ยูโรโซนในวันนี้ที่อนุญาตให้กองทุนช่วยเหลือของยูโรโซนสามารถเข้าซื้อพันธบัตรของ ประเทศที่มีสถานะย่ำแย่ได้ และระบุว่ามาตรการต่างๆในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสไปสู่การออกพันธบัตรร่วมกันของยูโรโซน ทั้งนี้ หลังการหารือเป็นเวลาหลายชั่วโมง ผู้นำยูโรโซนก็ได้เห็นพ้องกันว่า กองทุน ESM จะได้รับอนุญาตให้เพิ่มทุนธนาคารได้โดยตรง ทันทีที่มีการจัดตั้งหน่วยงาน กำกับดูแลภาคธนาคาร ซึ่งจะอยู่ภายใต้การดูแลของอีซีบี การดำเนินการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือสเปนในการแก้ไขปัญหา ในภาคธนาคาร นายมอนติกล่าวต่อผู้สื่อข่าวหลังการบรรลุข้อตกลงว่า "สิ่งนี้จะทำให้ยูโรโซน มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น" และกล่าวเสริมว่า ข้อตกลงนี้และข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นการวางพื้นฐานสำหรับการออกพันธบัตรยูโรโซนในอนาคต นายมอนติกล่าวว่า ประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือจาก ESM และ EFSF สามารถขอความช่วยเหลือดังกล่าวได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือทางการเงิน อย่างเต็มรูปแบบจากอียูและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตราบใด ที่ประเทศนั้นปฏิบัติตามเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ นายมอนติกล่าวว่า "ประเทศที่ต้องการใช้ประโยชน์จากกลไกรักษาเสถียรภาพ เหล่านี้สามารถทำเช่นนั้นได้ โดยไม่ต้องมีโครงการหรือเงื่อนไขเพิ่มเติม และไม่ต้อง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทรอยกา" ทั้งนี้ "ทรอยกา" ประกอบด้วยคณะเจ้าหน้าที่ของอียู, อีซีบี และไอเอ็มเอฟ เอกสารที่รอยเตอร์ได้รับมาระบุว่า เจ้าหน้าที่การเงินระดับสูงของยุโรป ได้ประชุมกันในระหว่างการประชุมสุดยอดครั้งนี้ และได้เสนอให้จัดตั้งหน่วยงานเดียว ในการกำกับดูแลธนาคารทั่วยูโรโซน โดยที่อีซีบีจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ด้วย และ เจ้าหน้าที่การเงินเสนอให้กองทุนคุ้มครองยูโรโซนสามารถเพิ่มทุนแก่ธนาคารพาณิชย์ ได้โดยตรง เอกสารที่จะส่งให้ผู้นำอียูพิจารณาในครั้งนี้ระบุว่า ควรมีการใช้กองทุน EFSF และกองทุน ESM "อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ" เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาด รัฐบาลอิตาลีและสเปนต้องการให้มีการอนุญาตให้กองทุน EFSF และ ESM สามารถเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและสเปน และอนุญาตให้กองทุนทั้ง 2 แห่งนี้ ปล่อยกู้โดยตรงเพื่อเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์สเปน โดยที่ไม่ส่งผลให้ยอดขาดดุลงบประมาณ ของรัฐบาลต้องเพิ่มสูงขึ้น หลังจากการหารือกันนาน 8 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่อียูคนหนึ่งกล่าวว่า "มีการ ต่อสู้กันอย่างยืดยาวระหว่างผู้ที่ต้องการให้มีการดำเนินมาตรการร่วมกันในทันทีอย่าง ไม่มีเงื่อนไข และผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารเศรษฐกิจยุโรปขั้นพื้นฐาน และต้องการให้ยุโรปก้าวไปสู่เสถียรภาพ, วินัย และการเติบโตทางเศรษฐกิจ" การประชุมสุดยอดของอียูในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 20 นับตั้งแต่วิกฤติหนี้ เริ่มต้นขึ้นในปี 2010 เมื่อรัฐบาลกรีซประกาศว่ายอดขาดดุลงบประมาณอยู่ในระดับ ที่สูงกว่าที่เคยรายงานไว้เป็นอย่างมาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ สูงสุดในรอบ 6 เดือนในการประมูลเมื่อวานนี้ และเหตุการณ์นี้เป็นการเพิ่มแรงกดดัน ต่อนายกรัฐมนตรีมอนติ รัฐบาลอิตาลีและสเปนได้ขอความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆสำหรับตลาด พันธบัตรในช่วงที่ผ่านมา แต่รัฐบาลเยอรมนีและรัฐบาลประเทศอื่นๆนิ่งเฉยต่อเรื่องนี้ ทั้งนี้ กองทุนคุ้มครองยูโรโซนจะมีขนาดทุนทรัพย์สูงสุด 5 แสนล้านยูโร (6.25 แสนล้านดอลลาร์) เมื่อมีการจัดสรรเงินให้แก่ ESM อย่างเต็มที่ในปี 2013 แหล่งข่าวกล่าวว่า มีแนวโน้มที่จะมีการปลดสถานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิของ ESM ในการปล่อยกู้แก่สเปน ถ้าหากรัฐบาลสเปนออกตราสารหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันจาก สินทรัพย์ของรัฐบาลหรือรายได้จากการจัดเก็บภาษี โดยนักลงทุนกังวลต่อสถานะเจ้าหนี้ บุริมสิทธิของ ESM เพราะสถานะดังกล่าวส่งผลให้ ESM จะได้รับการชำระหนี้จาก รัฐบาลสเปนก่อนนักลงทุนเอกชนในกรณีที่สเปนผิดนัดชำระหนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า อิตาลีและสเปนยังคงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ จากต่างประเทศ ถึงแม้สองประเทศนี้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ในช่วงที่ผ่านมา โดยการขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศจะส่งผลให้ประเทศทั้งสองต้องปฏิบัติ ตามเงื่อนไขทางการคลังและต้องอยู่ภายใต้การสอดส่องดูแลของต่างประเทศ อย่างไรก็ดี สองประเทศนี้อาจจะไม่ต้องดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดหรือมาตรการ ปฏิรูปโครงสร้างมากไปกว่าที่ได้ทำไปแล้ว ทางด้านนายกรัฐมนตรีเมอร์เคลได้รับแรงกดดันจากภายในเยอรมนีให้ ต่อต้านความพยายามใดๆก็ตามที่จะให้เยอรมนีค้ำประกันหนี้ยุโรปหรือธนาคารพาณิชย์ ในยุโรป โดยหนังสือพิมพ์ฮันเดลส์บลาทท์ของเยอรมนีลงข้อความในพาดหัวข่าวว่า "Nein! No! Non!" เพื่อย้ำให้นางเมอร์เคลปฏิเสธแนวคิดนี้ นางเมอร์เคลยืนยันว่า ก่อนที่จะมีการแบกรับภาระหนี้ร่วมกันในอียู อียูจำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูปขั้นพื้นฐานก่อน เพื่อให้อียูมีอำนาจควบคุมงบประมาณ และนโยบายเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก นายมอนติก็ได้รับแรงกดดันจากภายในอิตาลีเช่นกัน โดยเขาต้องพยายาม กดดันต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีให้ลดต่ำลง ไม่เช่นนั้นรัฐบาลเทคโนแครตของเขาอาจ จะล่มสลายลงภายในเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้า ในขณะที่พรรคการเมืองที่สนับสนุนเขา เตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งใหม่ในอิตาลี ยูโรร่วงลงไปแตะจุดต่ำสุดรอบ 3 สัปดาห์เมื่อวานนี้ และตลาดหุ้นทั่วโลก ก็ดิ่งลงด้วยเช่นกัน ในขณะที่นักลงทุนคาดว่าการประชุมสุดยอดในครั้งนี้จะไม่ส่งผล ให้มีการดำเนินมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้วิกฤติ โดยปัจจัยนี้ส่งผลให้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนประเภทอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือระดับอันตราย ที่ 7 % ปธน.ออลลองด์ของฝรั่งเศสสนับสนุนการออกพันธบัตรยูโรโซนร่วมกัน เพราะจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอลดต่ำลง เนื่องจาก เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในยูโรโซนจะร่วมค้ำประกัน พันธบัตรดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ดี เยอรมนีไม่ต้องการให้มีการใช้อันดับความน่าเชื่อถือขั้นสูงสุด ของเยอรมนีในการช่วยเหลือประเทศอื่นๆ นอกจากว่าประเทศอื่นๆจะแบ่งปันอำนาจ ควบคุมภาษีและงบใช้จ่ายของประเทศตนเองก่อน ขณะที่นายมาร์ค รัทเทอ นายก รัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์เห็นพ้องกับนางเมอร์เคลในการคัดค้านการแบกรับภาระหนี้ ร่วมกันในระยะอันใกล้นี้ นายรัทเทอกล่าวว่า "สิ่งที่สำคัญสำหรับเราคือการหลีกเลี่ยงมาตรการ ใดๆก็ตามที่จะเป็นการลดแรงกดดันต่อประเทศทางตอนใต้ของยุโรปในการปฏิรูป" นายอเล็กซ์ สตับบ์ รัฐมนตรียุโรปของฟินแลนด์กล่าวว่า ยุโรปควร เตรียมพร้อมที่จะอยู่กับภาวะวิกฤติต่อไปจนถึงสิ้นทศวรรษนี้ แต่เขากล่าวว่า ยุโรปจะกลายเป็นทวีปที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นใน อนาคต นายสตับบ์กล่าวว่า "วิกฤติครั้งนี้อาจจะเป็นวิกฤติที่ดีที่สุดเท่าที่เรา เคยประสบมา เพราะจะบีบบังคับให้ผู้นำยุโรปต้องตัดสินใจในเรื่องที่ยากลำบาก และเราทุกคนต่างก็รู้ดีว่าแทบไม่เคยมีการตัดสินใจในประเด็นที่ยากลำบาก ถ้าหากสถานการณ์อยู่ในภาวะผ่อนคลาย"--จบ--
โดย
wiss42
จันทร์ ก.ค. 02, 2012 9:37 am
0
0
Re: คำถามดังๆ ตั้งสมาคมเพื่ออะไร
ทางสมาคมได้นำความคิดเห็นต่างๆมาพิจารณาแล้ว ทางสมาคมยินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่า เมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม สมาชิกเดิมที่ไม่ประสงค์จะต่ออายุทางสมาคมฯ จะยังรักษา login ไว้เช่นเดิมและัยังสามารถอ่านข้อมูลที่มีอยู่ ก่อนหน้า วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ของทุกห้องรวมทั้งห้องร้อยคนร้อยหุ้นได้ตลอดไป แต่จะไม่สามารถโพสข้อความ และกด + และ - ได้ ส่วนสมาชิกที่สมัครเป็นสมาชิกสมาคมถูกต้อง จะได้สามารถใช้งานได้ตามปกติตลอดอายุการเป็นสมาชิก แล้วส่วนที่ มีการโพส เพิ่มเติม ของสมาชิก หลัง วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ละครับ จะสามารถ มองเห็น และดู ได้ หรือไม่ครับ สำหรับ สมาชิกเดิมที่ไม่ประสงค์จะต่ออายุ
โดย
wiss42
ศุกร์ มิ.ย. 29, 2012 12:38 pm
0
1
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
EUROPE:ผู้นำยุโรปเห็นพ้องให้ธนาคารยูโรโซนได้เงินกู้โดยตรงจากกองทุนยุโรป บรัสเซลส์--29 มิ.ย.--รอยเตอร์ ผู้นำยุโรปได้บรรลุข้อตกลงที่จะจัดตั้งหน่วยงานแห่งหนึ่งขึ้นเพื่อกำกับดูแล ภาคธนาคารของยูโรโซน และอนุญาตให้ธนาคารเหล่านี้ได้รับการเพิ่มทุนโดยตรง จากกองทุนช่วยเหลือของยูโรโซน โดยไม่ต้องเพิ่มหนี้สินให้แก่รัฐบาล--จบ
โดย
wiss42
ศุกร์ มิ.ย. 29, 2012 10:13 am
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
GREECE:กรีซเผชิญภาวะชะงักงันเจรจาต่อรองเจ้าหนี้ หลังรมว.คลังลาออกกะทันหัน เอเธนส์--26 มิ.ย.--รอยเตอร์ นายวาสซิลิส ราปานอส ซึ่งเป็นรมว.คลังคนใหม่ของกรีซได้ลาออกจาก ตำแหน่งเมื่อวานนี้เนื่องจากเหตุผลด้านสุขภาพ ส่งผลให้ความพยายามของรัฐบาลกรีซ ที่จะเจรจาผ่อนปรนเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือทางการเงินที่กรีซทำไว้กับทาง สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต้องเผชิญ กับความสับสนในเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์หลังจากรัฐบาลเข้ารับตำแหน่ง นายราปานอส วัย 64 ปี ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เมื่อวันศุกร์ก่อนการทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง โดยระบุว่าเขามีอาการปวดท้อง, คลื่นไส้และเวียนศีรษะ สำนักงานของนายแอนโทนิส ซามาราส ซึ่งเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันพุธที่ผ่านมาหลังการเลือกตั้งวันที่ 17 มิ.ย.ระบุว่า ทางสำนักงานได้ยอมรับ การลาออกของนายราปานอสด้วยเหตุผลด้านสุขภาพแล้ว ด้านนายกรัฐมนตรีซามาราสเองก็เพิ่งออกจากโรงพยาบาลหลังการผ่าตัด ดวงตาเพื่อฟื้นฟูกระจกตาที่ได้รับความเสียหาย โดยทั้งนายซามาราสและนายราปานอส ระบุว่า พวกเขาจะไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปในวันที่ 28-29 มิ.ย.นี้ ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนการลาออกของนายราปานอสนั้น รายงานของ โรงพยาบาลระบุว่า นายราปานอสจะออกจากโรงพยาบาลได้ในวันนี้ โดยเจ้าหน้าที่ รายหนึ่งของโรงพยาบาล Hygeia เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า นายราปานอสได้ทำการ ตรวจกระเพาะและลำไส้ใหญ่ และผลการตรวจพบว่าปกติ แหล่งข่าวจาก 1 ใน 3 พรรคร่วมรัฐบาลใหม่ระบุว่า นายราปานอส เผชิญแรงกดดันอย่างหนักจากครอบครัวของเขาให้ปฏิเสธการรับตำแหน่งรมว.คลัง ซึ่งเขาจะต้องทำการเจรจาต่อรองเพื่อขอผ่อนผันเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือ เมื่อวานนี้ผู้นำทั้ง 3 พรรคได้ประกาศการทำโรดโชว์เพื่อพยายามที่จะ โน้มน้าวให้ทางเจ้าหนี้ให้เวลาแก่กรีซมากขึ้นในการชำระคืนหนี้จำนวนมหาศาล ปัญหาด้านสุขภาพของนายซามาราสและนายราปานอสทำให้รัฐบาลกรีซ ต้องเลื่อนการประชุมครั้งแรกที่กำหนดไว้เมื่อวานนี้ระหว่างรัฐบาลใหม่กับกลุ่มทรอยกา ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าหนี้ของกรีซที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของอียู, ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และไอเอ็มเอฟ ขณะที่ยังไม่ได้มีการกำหนดวันประชุมใหม่แต่อย่างใด รัฐบาลของนายซามาราสได้ให้สัญญาต่อประชาชนชาวกรีซว่าจะผ่อนปรน เงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือ แต่เยอรมนีซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินช่วยเหลือรายใหญ่ ได้ส่งสัญญาณเมื่อวานนี้ว่า ยุโรปจะรอรายงานของทรอยกาเกี่ยวกับกรีซก่อนที่จะ ทำการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับการปรับเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือ สำหรับการประชุมสุดยอดของอียูเป็นเวลา 2 วันซึ่งจะเริ่มขึ้นในวัน พฤหัสบดีนี้นั้น กรีซจะส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมประชุมซึ่งประกอบด้วยนายดิมิทริส เอราโมโปลอส รมว.ต่างประเทศ และนายจอร์จ ซานิแอส รมว.คลังคนก่อน ของกรีซ โดยมีประธานาธิบดีคาโรลอส ปาโปลิแอสเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน--จบ--
โดย
wiss42
อังคาร มิ.ย. 26, 2012 3:12 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
วิกฤตยุโรปทุบลงทุนดิ่ง! แบงก์ผวาครึ่งปีหลังเสี่ยงสูงสินเชื่อหด แบงก์พาณิชย์ สถาบันการเงิน จับตาสัญญาณอันตรายคู่ค้าธุรกิจยุโรปเสี่ยงผิดนัดจ่ายเงิน กสิกรไทยเผยคู่ค้าต่างชาติเริ่มดึงสภาพคล่องพยายามยืดเครดิตเทอม หลังอัตราความเสี่ยงพุ่งกระฉูดเท่าตัวใน 3 เดือน เตือนลูกค้าเร่งป้องกันความเสี่ยงขอเปิด L/C พร้อมทำประกันสินเชื่อการค้าดันผู้ส่งออกต้นทุนเพิ่ม ฟากบิ๊กบอสแบงก์กรุงไทยหวั่นครึ่งปีหลังการลงทุนในประเทศชะลอตัว นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีวิกฤตหนี้ของยุโรปที่ทำให้สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศเริ่มมีสัญญาณความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระที่สูงขึ้นโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งอิตาลี สเปน และกรีซ พบว่าคู่ค้าในต่างประเทศพยายามยืดเทอมการชำระเงินให้ยาวขึ้น เพื่อพยายามจัดการสภาพคล่องในระยะนี้ที่กำลังตึงตัวมาก โดยสัญญาณความเสี่ยงของประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีความชัดเจนมากขึ้นสะท้อนจากอัตราราคา Credit Default Swap (CDS) ซึ่งเป็นความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยอ้างอิงเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ พบว่าอัตราราคาของ CDS ระยะ 5 ปี ของสเปนอยู่ที่ 6% และอิตาลีอยู่ที่ 5.28% ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนว่าความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระสูงขึ้นมาก ขณะที่กรีซถือว่าเสี่ยงสูงมากจนไม่สามารถโควตราคา CDS แล้ว นายทรงพลกล่าวว่า ผู้ส่งออกอาจจะหารูปแบบการซื้อขายอื่น ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ เช่น การขอ L/C (Letter of Credit) การซื้อประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade Credit Insurance) หรือการเรียกเงินประกันล่วงหน้าก่อนส่งมอบสินค้า ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกมีปัญหาเรื่องภาระต้นทุนที่สูงขึ้น "ในมุมของธุรกิจแบงก์เองก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น ต้องระมัดระวังการปล่อยวงเงินเบิกเกินบัญชี" นายทรงพลกล่าว การลงทุนครึ่งปีหลังชะลอตัว ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ทุกธนาคารน่าจะเตรียมรับมือไว้อยู่แล้ว เพราะหากเหตุการณ์เลวร้ายจะทำให้สภาพคล่องหายไปบางส่วน ต้องดูแลลูกค้าที่เป็นคู่ค้ากับยุโรป ซึ่งต้องระวังเรื่องเก็บหนี้ไม่ได้ "ธุรกิจจากไทยส่งออกไปยุโรปสัดส่วนไม่สูงมาก ผลกระทบธุรกิจอาจจะขายของได้น้อยลง แต่ก็คงไม่ถึงกับเป็นหนี้เสีย แบงก์ก็ยังคงแผนการรับมือเอาไว้เช่นเดิม" นายอภิศักดิ์มองว่า ปัญหาวิกฤตหนี้ในยุโรปน่าจะถูกยืดออกไปอีกระยะหนึ่ง เชื่อว่ากรีซน่าจะเจรจาต่อรองกับอียูอีกครั้ง และอียูที่น่าจะผ่อนปรนกฎเกณฑ์ให้หากสถานการณ์ของกรีซอยู่ได้ ประเทศสเปน โปรตุเกส และอิตาลีก็น่าจะยังอยู่ได้ นายอภิศักดิ์กล่าวว่า ผลจากวิกฤตยุโรปทำให้ลูกค้าหลายรายเริ่มไม่มั่นใจว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยมากแค่ไหน ทำให้หลายรายก็ชะลอแผนขยายการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ให้ชัดเจนก่อน เบ้ยประกันสินเชื่อการค้าขยับ ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยสินเชื่อทางการค้ากล่าวว่าสถานการณ์ความเสี่ยงในปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการระดับกลางและใหญ่เริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจการทำประกันภัยสินเชื่อทางการค้ามากขึ้นกว่าเดิม ส่วนสถานการณ์อัตราเบี้ยประกันภัยสินเชื่อทางการค้าในขณะนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า เบี้ยอาจจะถูกปรับขึ้นบ้างในบางพอร์ต โดยเฉพาะประเทศปลายทางมีปัญหา เพราะการประเมินความเสี่ยงก็จะดูจากปัจจัยความเสี่ยงประเทศและเรตติ้งของประเทศด้วย ถ้าประเทศถูกลดอันดับเครดิตเรตติ้งก็ทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น เบี้ยเฉพาะส่วนนี้ก็จะขยับขึ้นไปโดยอัตโนมัติเช่นกัน "ปกติแล้วเราจะรับประกันทั้งพอร์ตที่ลูกค้าทำธุรกิจส่งออกไม่ได้เลือกรับเฉพาะประเทศ เพราะความเสี่ยงจะสูงเกินไป เมื่อเฉลี่ยทั้งพอร์ตก็จะทำให้ความเสี่ยงเฉลี่ยกันไป ไม่กระทบต่อค่าเบี้ย มากนัก อัตราเบี้ยปัจจุบันก็ยังอยู่ในระดับเดิม ประมาณ 0.1-0.4% ของวงเงินคุ้มครอง" แหล่งข่าวกล่าว ลูกค้ารายใหญ่ไม่มีปัญหา นายคนิสร์ สุคนธมาน กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมา ธสน.ได้เตรียมแผนรับมือผลกระทบจากยุโรปเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่อาจมีผลกระทบในการประกอบธุรกิจ รวมถึงได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารพาณิชย์เพื่อเฝ้าติดตามปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นจากที่สอบถามลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกโดยเฉพาะในยุโรปยังไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เพราะบางส่วนก็มีการเตรียมแผนรับมือและบริหารความเสี่ยงของบริษัทแล้ว โดยเฉพาะบริษัทใหญ่อย่างกลุ่มปิโตรเลียมและอาหารรายใหญ่ ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่อาจประสบปัญหาวิกฤตดังกล่าว แต่ยังไม่ถือว่ารุนแรง "ที่ผ่านมาเราประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกในยุโรปมาทำประกันความเสี่ยงในการทำธุรกิจแต่ลูกค้าก็ไม่ได้ทำเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งการประเมินความเสี่ยงของเบี้ยประกัน ธสน.จะต้องพิจารณาเป็นรายบริษัท เพราะความเสี่ยงของธุรกิจไม่เหมือนกัน หากความเสี่ยงสูงเบี้ยการทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ก็ต้องสูงตามความเสี่ยง" นายคนิสร์กล่าว ด้านนายจารุพัฒน์ พานิชยิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายรับประกันความเสี่ยงการส่งออกของ ธสน. เปิดเผยว่า ยอดทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ (เทรดเครดิต) สิ้น พ.ค. 55 อยู่ที่ 63,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นยอดใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ สัดส่วนการทำเทรดเครดิตในปีนี้แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นจากปริมาณการทำธุรกิจมากขึ้น หากเทียบกับปีก่อนที่มียอดเทรดเครดิตรวมทั้งปีที่ 134,000 ล้านบาท รับมือ ธ.ยุโรปขาดสภาพคล่อง นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทรกล่าวว่า ปีนี้เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัว 0.5% ซึ่งภายใต้ประมาณการดังกล่าวเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2% และ 5.7% ตามลำดับ แต่หากสถานการณ์ในยุโรปย่ำแย่ลง การหดตัวอาจจะมากถึง 2.5-4.5% ซึ่งจะฉุดให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงเหลือราว 2% เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพิงการส่งออกมูลค่าสูงถึง 70% ของจีดีพี "ผลกระทบต่อประเทศไทยคือเรื่องการส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งมีความเสี่ยงระยะสั้นคือการขาดสภาพคล่องของธนาคารในยุโรป ซึ่งอาจทำให้ภาคการค้าสะดุดตามไปด้วย" นายศุภวุฒิกล่าวว่า ใน 5-10 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับการชะลอตัวของภาคต่างประเทศ ซึ่งภาคธุรกิจไทยจะต้องยืดหยุ่นกับภาวะดังกล่าว โดยนโยบายภาครัฐเองก็ต้องยืดหยุ่นเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนด้วยเช่นกัน เช่น การสนับสนุนให้มีการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีการเติบโตดี หอค้าไทยยันไม่ซื้อเบี้ยยุโรปวิกฤต นายพรศิลป์พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทผู้ผลิตและส่งออกสินค้าจากไทยในกลุ่มสมาชิกของหอการค้าไทย จะเกี่ยวข้องกับการปรับเบี้ยประกันภัยก็เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์บางประเทศเกิดสงคราม หรือต้องลำเลียงสินค้าผ่านน่านน้ำที่มีความเสี่ยงเรื่องโจรสลัด ส่วนกรณีวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปถูกประเมินสถานการณ์จะลุกลามบานปลายจนถึงขั้นต้องขึ้นเบี้ยประกันภัยความเสี่ยงประเภทประกันภัยลูกค้านั้นคงไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำ และตอนนี้ก็ยังไม่มีบริษัทรายใดมาหารือกับกลุ่มผู้ส่งออก แนวทางนี้จะทำได้เป็นรายกรณีไป เช่น ผู้ส่งออกบางบริษัทกับคู่ค้าปลายทางในกลุ่มสหภาพยุโรปยังค้าขายกันโดยมีความสัมพันธ์ไม่เหนียวแน่นแล้วเกรงเหตุวิกฤตครั้งนี้เมื่อส่งสินค้าไปแล้วจะถูกเบี้ยวจ่ายเงินบริษัทเหล่านั้นก็อาจจะตัดสินใจทำประกันเครดิตลูกค้าได้ แต่ในทางปฏิบัติธนาคารนำเข้าและส่งออกหรือเอ็กซิมแบงก์ จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเรื่องนี้ เพราะหากจะทำให้ทั่วประเทศต้องจ่ายเบี้ยประกันความเสี่ยงจากเหตุผลเรื่องวิกฤตคงเป็นไปไม่ได้ โฆสิต แนะรัฐ-เอกชนรับมือ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ควรประมาท และต้องเตรียมเครื่องมือรองรับ เพราะเศรษฐกิจของยุโรปยังไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นบวกได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งภูมิคุ้มกันที่สามารถทำได้คือ รัฐต้องรักษาฐานะการคลังให้ขาดดุลน้อยลง ส่วนภาคเอกชนและธุรกิจต้องปรับตัว เช่น เพิ่มสัดส่วนส่งออกตลาดอาเซียนมากขึ้น ส่วนสถาบันการเงินก็ต้องเตรียมสภาพคล่องทั้งเงินบาทและเงินดอลลาร์ให้เพียงพอ เพื่อบรรเทาความตึงตัว เมื่อปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าวิกฤตซับไพรม ปี 2550 ในส่วนของการรับมือของประเทศไทยนั้น ทางรัฐบาลไทยต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ เพราะปัจจุบันนโยบายประชานิยมของรัฐบาลยังไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ ส่วนการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ก็ยังมีแผนงานการเบิกจ่ายไม่ชัดเจน ทำให้รัฐบาลมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ขาดดุลงบประมาณสูง แต่ไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเท่าที่ควร ดังนั้นการลดขาดดุลจะช่วยให้รัฐบาลไทยมีกระสุนเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รองรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของวิกฤตในครั้งนี้ ประกันยื้อค่าชดเชย นายสมพงษ์ กิติเรียงลาภ ประธานกรรมการบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 300 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทได้ทำประกันภัยกับบริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด ได้รับเงินชดเชยเพียง 5 ล้านบาท จากการประกันความเสียหายไว้ 45 ล้านบาท updated: 25 มิ.ย. 2555 เวลา 09:29:28 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
โดย
wiss42
จันทร์ มิ.ย. 25, 2012 10:50 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
วิกฤตยุโรปทุบลงทุนดิ่ง! แบงก์ผวาครึ่งปีหลังเสี่ยงสูงสินเชื่อหด แบงก์พาณิชย์ สถาบันการเงิน จับตาสัญญาณอันตรายคู่ค้าธุรกิจยุโรปเสี่ยงผิดนัดจ่ายเงิน กสิกรไทยเผยคู่ค้าต่างชาติเริ่มดึงสภาพคล่องพยายามยืดเครดิตเทอม หลังอัตราความเสี่ยงพุ่งกระฉูดเท่าตัวใน 3 เดือน เตือนลูกค้าเร่งป้องกันความเสี่ยงขอเปิด L/C พร้อมทำประกันสินเชื่อการค้าดันผู้ส่งออกต้นทุนเพิ่ม ฟากบิ๊กบอสแบงก์กรุงไทยหวั่นครึ่งปีหลังการลงทุนในประเทศชะลอตัว นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" กรณีวิกฤตหนี้ของยุโรปที่ทำให้สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศเริ่มมีสัญญาณความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระที่สูงขึ้นโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งอิตาลี สเปน และกรีซ พบว่าคู่ค้าในต่างประเทศพยายามยืดเทอมการชำระเงินให้ยาวขึ้น เพื่อพยายามจัดการสภาพคล่องในระยะนี้ที่กำลังตึงตัวมาก โดยสัญญาณความเสี่ยงของประเทศคู่ค้าเหล่านี้มีความชัดเจนมากขึ้นสะท้อนจากอัตราราคา Credit Default Swap (CDS) ซึ่งเป็นความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยอ้างอิงเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ พบว่าอัตราราคาของ CDS ระยะ 5 ปี ของสเปนอยู่ที่ 6% และอิตาลีอยู่ที่ 5.28% ซึ่งเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนว่าความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระสูงขึ้นมาก ขณะที่กรีซถือว่าเสี่ยงสูงมากจนไม่สามารถโควตราคา CDS แล้ว นายทรงพลกล่าวว่า ผู้ส่งออกอาจจะหารูปแบบการซื้อขายอื่น ๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ เช่น การขอ L/C (Letter of Credit) การซื้อประกันภัยสินเชื่อทางการค้า (Trade Credit Insurance) หรือการเรียกเงินประกันล่วงหน้าก่อนส่งมอบสินค้า ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกมีปัญหาเรื่องภาระต้นทุนที่สูงขึ้น "ในมุมของธุรกิจแบงก์เองก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น ต้องระมัดระวังการปล่อยวงเงินเบิกเกินบัญชี" นายทรงพลกล่าว การลงทุนครึ่งปีหลังชะลอตัว ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ทุกธนาคารน่าจะเตรียมรับมือไว้อยู่แล้ว เพราะหากเหตุการณ์เลวร้ายจะทำให้สภาพคล่องหายไปบางส่วน ต้องดูแลลูกค้าที่เป็นคู่ค้ากับยุโรป ซึ่งต้องระวังเรื่องเก็บหนี้ไม่ได้ "ธุรกิจจากไทยส่งออกไปยุโรปสัดส่วนไม่สูงมาก ผลกระทบธุรกิจอาจจะขายของได้น้อยลง แต่ก็คงไม่ถึงกับเป็นหนี้เสีย แบงก์ก็ยังคงแผนการรับมือเอาไว้เช่นเดิม" นายอภิศักดิ์มองว่า ปัญหาวิกฤตหนี้ในยุโรปน่าจะถูกยืดออกไปอีกระยะหนึ่ง เชื่อว่ากรีซน่าจะเจรจาต่อรองกับอียูอีกครั้ง และอียูที่น่าจะผ่อนปรนกฎเกณฑ์ให้หากสถานการณ์ของกรีซอยู่ได้ ประเทศสเปน โปรตุเกส และอิตาลีก็น่าจะยังอยู่ได้ นายอภิศักดิ์กล่าวว่า ผลจากวิกฤตยุโรปทำให้ลูกค้าหลายรายเริ่มไม่มั่นใจว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยมากแค่ไหน ทำให้หลายรายก็ชะลอแผนขยายการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ให้ชัดเจนก่อน เบ้ยประกันสินเชื่อการค้าขยับ ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยสินเชื่อทางการค้ากล่าวว่าสถานการณ์ความเสี่ยงในปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการระดับกลางและใหญ่เริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจการทำประกันภัยสินเชื่อทางการค้ามากขึ้นกว่าเดิม ส่วนสถานการณ์อัตราเบี้ยประกันภัยสินเชื่อทางการค้าในขณะนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า เบี้ยอาจจะถูกปรับขึ้นบ้างในบางพอร์ต โดยเฉพาะประเทศปลายทางมีปัญหา เพราะการประเมินความเสี่ยงก็จะดูจากปัจจัยความเสี่ยงประเทศและเรตติ้งของประเทศด้วย ถ้าประเทศถูกลดอันดับเครดิตเรตติ้งก็ทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น เบี้ยเฉพาะส่วนนี้ก็จะขยับขึ้นไปโดยอัตโนมัติเช่นกัน "ปกติแล้วเราจะรับประกันทั้งพอร์ตที่ลูกค้าทำธุรกิจส่งออกไม่ได้เลือกรับเฉพาะประเทศ เพราะความเสี่ยงจะสูงเกินไป เมื่อเฉลี่ยทั้งพอร์ตก็จะทำให้ความเสี่ยงเฉลี่ยกันไป ไม่กระทบต่อค่าเบี้ย มากนัก อัตราเบี้ยปัจจุบันก็ยังอยู่ในระดับเดิม ประมาณ 0.1-0.4% ของวงเงินคุ้มครอง" แหล่งข่าวกล่าว ลูกค้ารายใหญ่ไม่มีปัญหา นายคนิสร์ สุคนธมาน กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ ธสน. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ผ่านมา ธสน.ได้เตรียมแผนรับมือผลกระทบจากยุโรปเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกที่อาจมีผลกระทบในการประกอบธุรกิจ รวมถึงได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารพาณิชย์เพื่อเฝ้าติดตามปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นจากที่สอบถามลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกโดยเฉพาะในยุโรปยังไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เพราะบางส่วนก็มีการเตรียมแผนรับมือและบริหารความเสี่ยงของบริษัทแล้ว โดยเฉพาะบริษัทใหญ่อย่างกลุ่มปิโตรเลียมและอาหารรายใหญ่ ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีที่อาจประสบปัญหาวิกฤตดังกล่าว แต่ยังไม่ถือว่ารุนแรง "ที่ผ่านมาเราประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ทำธุรกิจส่งออกในยุโรปมาทำประกันความเสี่ยงในการทำธุรกิจแต่ลูกค้าก็ไม่ได้ทำเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งการประเมินความเสี่ยงของเบี้ยประกัน ธสน.จะต้องพิจารณาเป็นรายบริษัท เพราะความเสี่ยงของธุรกิจไม่เหมือนกัน หากความเสี่ยงสูงเบี้ยการทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ก็ต้องสูงตามความเสี่ยง" นายคนิสร์กล่าว ด้านนายจารุพัฒน์ พานิชยิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายรับประกันความเสี่ยงการส่งออกของ ธสน. เปิดเผยว่า ยอดทำประกันความเสี่ยงชำระหนี้ (เทรดเครดิต) สิ้น พ.ค. 55 อยู่ที่ 63,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นยอดใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ สัดส่วนการทำเทรดเครดิตในปีนี้แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นจากปริมาณการทำธุรกิจมากขึ้น หากเทียบกับปีก่อนที่มียอดเทรดเครดิตรวมทั้งปีที่ 134,000 ล้านบาท รับมือ ธ.ยุโรปขาดสภาพคล่อง นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทรกล่าวว่า ปีนี้เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัว 0.5% ซึ่งภายใต้ประมาณการดังกล่าวเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2% และ 5.7% ตามลำดับ แต่หากสถานการณ์ในยุโรปย่ำแย่ลง การหดตัวอาจจะมากถึง 2.5-4.5% ซึ่งจะฉุดให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงเหลือราว 2% เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพิงการส่งออกมูลค่าสูงถึง 70% ของจีดีพี "ผลกระทบต่อประเทศไทยคือเรื่องการส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งมีความเสี่ยงระยะสั้นคือการขาดสภาพคล่องของธนาคารในยุโรป ซึ่งอาจทำให้ภาคการค้าสะดุดตามไปด้วย" นายศุภวุฒิกล่าวว่า ใน 5-10 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับการชะลอตัวของภาคต่างประเทศ ซึ่งภาคธุรกิจไทยจะต้องยืดหยุ่นกับภาวะดังกล่าว โดยนโยบายภาครัฐเองก็ต้องยืดหยุ่นเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนด้วยเช่นกัน เช่น การสนับสนุนให้มีการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีการเติบโตดี หอค้าไทยยันไม่ซื้อเบี้ยยุโรปวิกฤต นายพรศิลป์พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทผู้ผลิตและส่งออกสินค้าจากไทยในกลุ่มสมาชิกของหอการค้าไทย จะเกี่ยวข้องกับการปรับเบี้ยประกันภัยก็เฉพาะกรณีที่มีเหตุการณ์บางประเทศเกิดสงคราม หรือต้องลำเลียงสินค้าผ่านน่านน้ำที่มีความเสี่ยงเรื่องโจรสลัด ส่วนกรณีวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปถูกประเมินสถานการณ์จะลุกลามบานปลายจนถึงขั้นต้องขึ้นเบี้ยประกันภัยความเสี่ยงประเภทประกันภัยลูกค้านั้นคงไม่ใช่เรื่องที่ควรจะทำ และตอนนี้ก็ยังไม่มีบริษัทรายใดมาหารือกับกลุ่มผู้ส่งออก แนวทางนี้จะทำได้เป็นรายกรณีไป เช่น ผู้ส่งออกบางบริษัทกับคู่ค้าปลายทางในกลุ่มสหภาพยุโรปยังค้าขายกันโดยมีความสัมพันธ์ไม่เหนียวแน่นแล้วเกรงเหตุวิกฤตครั้งนี้เมื่อส่งสินค้าไปแล้วจะถูกเบี้ยวจ่ายเงินบริษัทเหล่านั้นก็อาจจะตัดสินใจทำประกันเครดิตลูกค้าได้ แต่ในทางปฏิบัติธนาคารนำเข้าและส่งออกหรือเอ็กซิมแบงก์ จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเรื่องนี้ เพราะหากจะทำให้ทั่วประเทศต้องจ่ายเบี้ยประกันความเสี่ยงจากเหตุผลเรื่องวิกฤตคงเป็นไปไม่ได้ โฆสิต แนะรัฐ-เอกชนรับมือ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ควรประมาท และต้องเตรียมเครื่องมือรองรับ เพราะเศรษฐกิจของยุโรปยังไม่สามารถฟื้นกลับมาเป็นบวกได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งภูมิคุ้มกันที่สามารถทำได้คือ รัฐต้องรักษาฐานะการคลังให้ขาดดุลน้อยลง ส่วนภาคเอกชนและธุรกิจต้องปรับตัว เช่น เพิ่มสัดส่วนส่งออกตลาดอาเซียนมากขึ้น ส่วนสถาบันการเงินก็ต้องเตรียมสภาพคล่องทั้งเงินบาทและเงินดอลลาร์ให้เพียงพอ เพื่อบรรเทาความตึงตัว เมื่อปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนจะสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าวิกฤตซับไพรม ปี 2550 ในส่วนของการรับมือของประเทศไทยนั้น ทางรัฐบาลไทยต้องลดการขาดดุลงบประมาณให้ได้ เพราะปัจจุบันนโยบายประชานิยมของรัฐบาลยังไม่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ ส่วนการกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ก็ยังมีแผนงานการเบิกจ่ายไม่ชัดเจน ทำให้รัฐบาลมีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ขาดดุลงบประมาณสูง แต่ไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยเท่าที่ควร ดังนั้นการลดขาดดุลจะช่วยให้รัฐบาลไทยมีกระสุนเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รองรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของวิกฤตในครั้งนี้ ประกันยื้อค่าชดเชย นายสมพงษ์ กิติเรียงลาภ ประธานกรรมการบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 300 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทได้ทำประกันภัยกับบริษัท สินทรัพย์ประกันภัย จำกัด ได้รับเงินชดเชยเพียง 5 ล้านบาท จากการประกันความเสียหายไว้ 45 ล้านบาท
โดย
wiss42
จันทร์ มิ.ย. 25, 2012 10:49 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
EUROPE:ผู้นำ 4 ชาติยุโรปเห็นพ้องแผนกระตุ้นศก.วงเงิน 1.3 แสนล้านยูโร โรม--25 มิ.ย.--รอยเตอร์ นายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนีได้บรรลุข้อตกลงกับผู้นำ ของฝรั่งเศส, อิตาลี และสเปนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร (1.56 แสนล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ หลังการเจรจา 4 ฝ่ายในวันศุกร์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติของอิตาลีกล่าวว่า สหภาพยุโรปควรออกมาตรการส่งเสริมการขยายตัวทาง เศรษฐกิจที่มีมูลค่าราว 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของ ภูมิภาคในการประชุมสุดยอดผู้นำอียูในวันที่ 28-29 มิ.ย.นี้ นอกจากนี้ ผู้นำทั้ง 4 ยังได้ตกลงกันที่จะเดินหน้าเรื่องการจัดเก็บภาษี ต่อการทำธุรกรรมทางการเงิน แม้มีสมาชิกอียูเพียง 12 ประเทศที่สนับสนุนการ จัดตั้งระบบภาษี Tobin tax ดังกล่าว แต่ก็มากกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำที่ระบุว่า ต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 9 ประเทศที่ให้ความเห็นชอบ อย่างไรก็ดี ผู้นำฝรั่งเศส, อิตาลี และสเปนยังไม่สามารถผลักดันให้ นางเมอร์เคลเห็นพ้องกับการออกพันธบัตรยูโรโซน หรือให้มีการใช้กองทุนช่วยเหลือ ของยุโรปอย่างยืดหยุ่นมากขึ้น--จบ--
โดย
wiss42
จันทร์ มิ.ย. 25, 2012 10:42 am
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
ส่งออกไทยไปยุโรป"ระส่ำ" เหตุแบงก์"หยุดเปิด L/C งดปล่อยสินเชื่อ-งดค้ำประกันอัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 20:53:56 น. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมาได้ประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference ) กับหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(ทูตพาณิชย์) โดยมอบหมายให้ทูตพาณิชย์ทั่วโลกจับตาสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างใกล้ชิดและความผันผวนของยุโรปและเศรษฐกิจโลก รวมถึงติดตามแนวโน้มและโอกาสการทำตลาดในประเทศนั้นว่า มีช่องทางอะไรบ้าง และการหาตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์และเชื่อมโยงซับพลายเชนในการพัฒนาสินค้าและการส่งออก โดยให้จัดส่งข้อมูลมาเป็นรายสัปดาห์ เพื่อประกอบแนวทางในการออกมาตรการและลดอุปสรรคปัญหา "ให้ทูตพาณิชย์ทำงานให้หนักขึ้น เพื่อพยุงการส่งออกและผลัดกันเป้าหมายการส่งออกให้ได้ตามเป้าอย่างน้อย 15% โดยในการประชุมเวิร์กช้อปแก้ปัญหาส่งออก 29 มิถุนายนนี้ นายกรัฐมนตรีก็มารวมรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะรายงานสถานการณ์และเสนอแนวทางช่วยเหลือภาคส่งออก ซึ่งกรมส่งเสริมการส่งออกเตรียมจัดทำอยู่"นายบุญทรง กล่าว แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากที่ได้หารือกับภาคเอกชน ต้องการให้รัฐบาลดูแลในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการปล่อยสินค้ามากสุด เพราะปัจจุบันสถาบันการเงินได้ชะลอหรือหยุดการปล่อยสินเชื่อและเปิดบัญชีซื้อขายระหว่างประเทศ( แอลซี ) รวมถึงค้ำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะตลาดยุโรปทำให้หลายธุรกิจเกิดปัญหา แล้ว รวมถึงดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวน ส่วนปัญหาอื่นๆ คือหาตลาดใหม่ทดแทนตลาดยุโรป ลดอุปสรรคกฎระเบียบนำเข้าสินค้าจากไทย และลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายของรัฐ อาทิ การชะลอการปรับเพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำ " เอกชนอยากให้รัฐบาลจี้ธนาคารพาณิชย์ในเรื่องการปล่อยสินค้าและรับค้ำประกันความเสี่ยงการเงิน ของการส่งออกไปยุโรป ที่หลายแห่งเข้มงวดและชลอแล้ว เพราะวิตกว่าจะเป็นปัญหาต่อธนาคาร ก็อยากให้ธนาคารของรัฐเข้ามาร่วมแก้ปัญหาในเรื่องนี้เป็นการด่วน ไม่อย่างนั้นธุรกิจขนาดกลางและเอสเอ็มอี จะเกิดปัญหาสะสมและกระทบต่อสภาพคล่องธุรกิจในอนาคต"
โดย
wiss42
เสาร์ มิ.ย. 23, 2012 8:50 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
EUROPE:ยูโรอ่อนยวบแตะระดับต่ำสุดของวัน หลังภาคผลิตเยอรมนีทรุดต่ำสุด 3 ปี ลอนดอน--21 มิ.ย.--รอยเตอร์ ยูโรร่วงแตะระดับต่ำสุดของวันเมื่อเทียบดอลลาร์ หลังมีการเปิดเผยว่า กิจกรรมในภาคการผลิตของเยอรมนีดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งสร้าง ความวิตกว่าเยอรมนีอาจเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะวิกฤติหนี้ยูโรโซน มีความรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ยูโรดิ่งแตะ 1.2650 ดอลลาร์ จากแรงขายของธนาคารยุโรป หลังมีการเปิดเผยรายงานดังกล่าว ผลสำรวจระบุในวันนี้ว่า ภาคเอกชนของเยอรมนีหดตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนมิ.ย. โดยกิจกรรมในภาคการผลิตดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งบ่งชี้ว่า เยอรมนี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป อาจเผชิญภาวะเศรษฐกิจ หดตัวในไตรมาสที่ 2 โดยได้รับผลกระทบจากวิกฤติยูโรโซน ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตร่วงลงสู่ระดับ 48.5 ในเดือนมิ.ย.จาก 49.3 ในเดือนพ.ค. ขณะที่ดัชนียังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการหดตัว--จบ--
โดย
wiss42
พฤหัสฯ. มิ.ย. 21, 2012 5:40 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
SPAIN:สเปนเผยผลประมูลพันธบัตรทะลุเป้า แต่บอนด์ยิลด์พุ่งสูงสุดในรอบ 15 ปี มาดริด--21 มิ.ย.--รอยเตอร์ กระทรวงการคลังของสเปนจำหน่ายพันธบัตรระยะกลางมูลค่า 2.2 พันล้านยูโร (2.8 พันล้านดอลลาร์) ในวันนี้ สูงกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2 พันล้านยูโร โดยจ่ายผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีที่ระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี ทั้งนี้ กระทรวงการคลังสามารถขายพันธบัตรอายุ 2 ปีคิดเป็น มูลค่า 700 ล้านยูโร, พันธบัตรอายุ 3 ปีคิดเป็นมูลค่า 918 ล้านยูโร และพันธบัตรอายุ 5 ปีคิดเป็นมูลค่า 602 ล้านยูโร ขณะที่สัดส่วนความต้องการ ซื้อต่อปริมาณพันธบัตรที่ออกขายอยู่สูงกว่าการประมูลในรอบที่แล้ว พันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนเม.ย.ปี 2014 มีอัตราผลตอบแทน เฉลี่ย 4.706% มากกว่า 2 เท่าในการประมูลเดือนมี.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.069% ส่วนพันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนก.ค.ปี 2015 มีอัตราผลตอบแทน เฉลี่ย 5.457% เทียบกับเดือนพ.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4.876% ขณะที่พันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนก.ค.ปี 2017 มีอัตราผลตอบแทน เฉลี่ย 6.072% เทียบกับเดือนพ.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 4.960%--จบ--
โดย
wiss42
พฤหัสฯ. มิ.ย. 21, 2012 5:39 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
FED:จับตาเฟดขยาย Operation Twist พร้อมหั่นคาดการณ์จีดีพีสหรัฐคืนนี้ วอชิงตัน--20 มิ.ย.--รอยเตอร์ นักวิเคราะห์คาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจดำเนินมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจรอบใหม่ในวันนี้ ในขณะที่ปัญหาทางเศรษฐกิจทวีความรุนแรงขึ้นในหลายประเทศ และมีสัญญาณบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ เฟดจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงินเป็นเวลา 2 วัน โดยเริ่มจากเมื่อวานนี้ และจะสิ้นสุดในวันนี้ โดยเจ้าหน้าที่เฟดจะประกาศการตัดสินใจด้านนโยบายในวันนี้เวลา 23.30 น.ตามเวลาไทย และจะประกาศรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจ ณ เวลา 01.00 น. ของคืนวันนี้ตามเวลาไทย ต่อด้วยการแถลงข่าวของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ณ เวลา 01.15 น. มีแนวโน้มว่าเจ้าหน้าที่เฟดจะปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจ หลังจากที่ เคยคาดการณ์ในเดือนเม.ย.ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจขยายตัว 2.4-2.9 % ในปีนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลายรายคาดว่า เฟดจะต่ออายุให้แก่มาตรการ Operation Twist หรือมาตรการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้นประเภทที่มี อายุไม่เกิน 3 ปี และเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปในปริมาณ เท่ากัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อกดดันอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ลดต่ำลง Operation Twist จะช่วยปกป้องเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังคงอยู่ในสถานะ เปราะบาง ในขณะที่แรงกดดันทางการเงินทวีความรุนแรงขึ้นในยุโรป, นายจ้าง สหรัฐชะลอการจ้างงาน และรัฐบาลสหรัฐเผชิญกับปัญหาทางการคลังในช่วงสิ้นปีนี้ จากการที่มาตรการปรับลดงบประมาณรายจ่ายและปรับขึ้นภาษีจะเริ่มมีผลบังคับใช้ ในปีหน้า นายเอริค กรีน จากบล.ทีดี กล่าวว่า "เฟดยังคงมีแนวโน้มสูงที่จะ ผ่อนคลายนโยบายลงต่อไป" นักลงทุนมองว่าการต่ออายุ Operation Twist ถือเป็นขั้นตอนที่ไม่ แข็งกร้าวมากเท่ากับการเข้าซื้อหลักทรัพย์ใหม่ เพราะ Operation Twist ไม่ส่งผลให้งบดุลของเฟดมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่การเข้าซื้อหลักทรัพย์ใหม่จะส่งผล ให้งบดุลของเฟดขยายออกไป ทั้งนี้ การประชุมของเฟดในครั้งนี้ถือเป็นการประชุมเฟดครั้งสุดท้าย ก่อนที่ Operation Twist จะหมดอายุลงในช่วงสิ้นเดือนนี้ ทางเลือกอีกทางหนึ่งที่เฟดสามารถกระทำได้คือการปรับเปลี่ยนสัญญา ของเฟด โดยเฟดให้สัญญาในการประชุมเดือนเม.ย.ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย ไว้ที่ระดับต่ำอย่างน้อยจนถึงปลายปี 2014 และเฟดอาจจะเลื่อนเวลาในสัญญา ดังกล่าวให้นานยิ่งขึ้นไปอีก นักเศรษฐศาสตร์หลายคนระบุว่า การดำเนินมาตรการทางการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อรับมือกับความเปลี่ยน แปลงทางเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง อย่างไรก็ดี นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ไม่ได้ส่งสัญญาณบ่งชี้ แต่อย่างใดว่าเฟดจะดำเนินนโยบายแบบใดในการแถลงต่อสภาคองเกรสในช่วง ต้นเดือนนี้ โดยในขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์ยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไปต่อ ประเด็นที่ว่า เฟดจะดำเนินมาตรการหรือไม่ในการประชุมวันนี้ นักเศรษฐศาสตร์ในโพลล์รอยเตอร์เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.คาดว่า มีโอกาส 42.5 % ที่เฟดจะต่ออายุ Operation Twist ถึงแม้ผลการเลือกตั้งกรีซในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับ การแยกตัวออกจากยูโรโซน แต่วิกฤติหนี้ยูโรโซนก็ยังคงเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจ โลก โดยเมื่อวานนี้ รัฐบาลสเปนต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการ ใช้เงินยูโรในการประมูลตั๋วเงินคลัง นายโดนัลด์ คอห์น อดีตรองประธานคณะกรรมการผู้ว่าการเฟด กล่าวถึง การเลือกตั้งในกรีซว่า "ผมไม่คิดว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะช่วยลดความกังวลของ เจ้าหน้าที่เฟดลงได้มากนัก และเราก็พบว่าสถานการณ์ในยูโรโซนยังคงตึงเครียด มากต่อไป" ปัจจัยที่เจ้าหน้าที่เฟดจะพิจารณารวมถึงสถานการณ์ในยุโรป และหลักฐาน จากภาคแรงงาน, ภาคการผลิต และภาคที่อยู่อาศัยในสหรัฐ โดยเจ้าหน้าที่เฟดกังวล อีกด้วยว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอาจได้รับผลกระทบ ถ้าหากนักการเมือง สหรัฐยังคงมีความขัดแย้งกัน ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐสิ้นสุดลงในปี 2009 แต่เศรษฐกิจสหรัฐ ยังไม่สามารถฟื้นฟูการจ้างงานและความมั่งคั่งที่สูญหายไปในช่วงที่เกิดภาวะถดถอย เฟดเป็นเพียงสถาบันเดียวที่สามารถกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ ได้ในช่วงนี้ ในขณะที่สมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐมุ่งความสนใจไปที่การหาเสียงเลือกตั้ง ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและสมาชิกสภาคองเกรสที่กำหนดจัดขึ้นในเดือนพ.ย.นี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดระบุอย่างชัดเจนในช่วงนี้ว่า เฟดจะอยู่นิ่งเฉย ก็ต่อเมื่ออัตราการว่างงานในสหรัฐลดลงต่อไป ขณะที่อัตราการว่างงานในสหรัฐขยับ ขึ้นสู่ 8.2 % ในเดือนพ.ค. นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ถ้าหากเฟดต่ออายุ Operation Twist ออกไป มาตรการนี้ก็อาจจะครอบคลุมหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ด้วย เป็นครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยและขยายขอบเขตเครื่องมือของ เฟดออกไป นักวิเคราะห์ประเมินว่า ขณะนี้เฟดครอบครองหลักทรัพย์ของกระทรวงการคลัง สหรัฐที่มีอายุไม่เกิน 3 ปีเพียง 1.60-1.90 แสนล้านดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำ เกินกว่าที่จะส่งผลกระทบอย่างแท้จริงต่ออัตราดอกเบี้ย นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นตรงกันว่า เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดของเฟด คือการเข้าซื้อหลักทรัพย์ใหม่ โดยอาจจะเข้าซื้อทั้งพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและ MBS รวมกัน โดยถึงแม้นักเศรษฐศาสตร์บางรายเชื่อว่าเฟดอาจเลือกใช้วิธีการนี้ในวันนี้ แต่หลายรายก็เชื่อว่าเฟดจะดำเนินมาตรการดังกล่าวก็ต่อเมื่อมีสัญญาณที่ชัดเจนกว่านี้ ที่แสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐกำลังประสบปัญหา นายเบอร์นันเก้จะพยายามโน้มน้าวผู้กำหนดนโยบายในเฟดที่มีความคิดเห็น แตกต่างกันไปให้บรรลุความเห็นที่ตรงกัน โดยเจ้าหน้าที่เฟดบางรายสนับสนุนให้เฟด ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในทันที แต่รายอื่นๆมองว่าเฟดดำเนินมาตรการ มากพอแล้วหรือมากเกินไปแล้ว อย่างไรก็ดี คาดว่านายเบอร์นันเก้จะได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกใหม่ 2 คนในคณะกรรมการเฟด ซึ่งได้แก่นายเจอโรม พาวเวล ซึ่งเป็นวาณิชธนากร และนายเจเรมี สไตน์ ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งถึงแม้ยังไม่มีใครรู้ข้อมูลมากนัก เกี่ยวกับความคิดเห็นของนายพาวเวลและนายสไตน์ที่มีต่อนโยบายการเงิน แต่เหตุการณ์ ในอดีตก็บ่งชี้ว่าสมาชิกใหม่มักจะแสดงความเห็นสอดคล้องกับประธานเฟดในช่วงแรก ที่เข้ารับตำแหน่ง--จบ--
โดย
wiss42
พุธ มิ.ย. 20, 2012 3:06 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
SPAIN:สเปนจ่อขอเงินกู้รอบ 2 หลังบอนด์ยิลด์พุ่งเข้าโซนอันตราย มาดริด--20 มิ.ย.--รอยเตอร์ สเปนมีแนวโน้มที่จะเป็นประเทศยูโรโซนรายใหญ่ที่สุดที่จะถูกปิดกั้นจาก ตลาดสินเชื่อ หลังจากที่สเปนต้องจ่ายอัตราผลตอบแทนที่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ ในการประมูลตั๋วเงินคลังเมื่อวานนี้ ทั้งนี้ สเปน ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของยูโรโซน ต้องจ่าย อัตราผลตอบแทน 5.07% ในการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 12 เดือน และ 5.11% สำหรับตั๋วเงินคลังอายุ 18 เดือนเมื่อวานนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 2.00% จากการประมูล ครั้งก่อนในเดือนพ.ค. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสเปนอยู่ที่ระดับ สูงกว่า 7% การประมูลดังกล่าวได้ตอกย้ำเสียงเรียกร้องของรัฐบาลสเปนสำหรับ ความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารกลางยุโรป สองวันก่อนหน้าที่สเปนจะ ประมูลพันธบัตรอายุ 3-5 ปี ต้นทุนการกู้ยืมที่พุ่งขึ้นบ่งชี้ว่า ข้อตกลงของยูโรโซนในการปล่อยเงินกู้ ราว 1 แสนล้านยูโร (1.26 แสนล้านดอลลาร์) ให้กับภาคธนาคารของสเปนนั้น ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาของสเปน หรือเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และบ่งชี้ว่า สเปนอาจจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือมากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการคลัง "ผลตอบแทนที่ระดับสูงทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านการคลัง ของสเปน" นายริชาร์ด แมคไกวร์ นักวิเคราะห์ของราโบแบงก์กล่าว--จบ--
โดย
wiss42
พุธ มิ.ย. 20, 2012 3:03 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
EUROPE:หุ้น,ยูโรร่วงหลังศาลชี้การตั้งกองทุนเสถียรภาพยุโรปส่อขัดรัฐธรรมนูญ ลอนดอน--19 มิ.ย.--รอยเตอร์ ยูโรร่วงลงแตะระดับต่ำสุดของวันเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่หุ้นยุโรป อ่อนตัวลงในวันนี้ หลังจากศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีระบุว่า รัฐสภาไม่ได้รับข้อมุล อย่างเพียงพอเกี่ยวกับรายละเอียดของกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ทั้งนี้ ยูโร/ดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.1% มาที่ 1.25685 ในระบบซื้อขาย EBS ดัชนี FTSEurofirst 300 ปรับตัวลงหลังจากบวกขึ้นในช่วงแรก โดยร่วงลงสู่แดนลบในช่วงสั้นๆ แตะระดับต่ำสุดของวันที่ 993.03 ก่อนที่จะฟื้นตัว ขึ้นมาสู่ระดับ 995.58 เทรดเดอร์กล่าวว่า ความวิตกรอบใหม่เกี่ยวกับพันธะสัญญาของกรีซ ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรการรัดเข็มขัด และข่าวที่ว่าการตรวจสอบบัญชี ธนาคารสเปนรอบสองจะถูกเลื่อนออกไปจนถึงเดือนก.ย.นั้น เป็นปัจจัยถ่วง ความเชื่อมั่นในตลาดด้วย--จบ--
โดย
wiss42
อังคาร มิ.ย. 19, 2012 3:41 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
> ENGLAND:BOE เล็งเริ่มปล่อยกู้ฉุกเฉินภาคธนาคารอังกฤษพุธหน้า ลอนดอน--15 มิ.ย.--รอยเตอร์ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศในวันนี้ว่า BOE จะเปิดปฏิบัติ การอัดฉีดสภาพคล่องฉุกเฉินครั้งแรกสำหรับธนาคารพาณิชย์ในสัปดาห์หน้า โดย เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นการไหลเวียนของสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจ ในขณะที่วิกฤติหนี้ยูโรโซนทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น BOE แถลงว่า BOE จะเปิดปฏิบัติการอัดฉีดสภาพคล่องฉุกเฉิน หรือ Extended Collateral Term Repo Facility นี้อย่างน้อยหนึ่ง ครั้งต่อเดือน จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงในอนาคต และจะเสนอปล่อยกู้ อย่างน้อย 5 พันล้านปอนด์ในปฏิบัติการแต่ละครั้ง การเปิดประมูลสินเชื่อระยะ 6 เดือนรอบแรกจะมีขึ้นในวันพุธที่ 20 มิ.ย. โดยจะมีการประกาศปริมาณสินเชื่อในวันที่ 19 มิ.ย. BOE ระบุว่า BOE จะเสนอปล่อยกู้ในครั้งนี้โดยคิดอัตราดอกเบี้ยสูง กว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดของธนาคารอังกฤษ 0.25% โดยขณะนี้อัตราดอกเบี้ย ต่ำสุดอยู่ที่ 0.5%--จบ--
โดย
wiss42
ศุกร์ มิ.ย. 15, 2012 3:15 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
NETHERLANDS:มูดี้ส์หั่นเครดิต 5 แบงก์ของเนเธอร์แลนด์หลังความเสี่ยงเพิ่ม เนเธอร์แลนด์--15 มิ.ย.--รอยเตอร์ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ได้ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคาร 5 แห่งของเนเธอร์แลนด์ โดย ธนาคาร 4 แห่งถูกปรับลดอันดับลง 2 ขั้น พร้อมทั้งเตือนว่า การออกจากยูโรของกรีซ จะทำให้มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอีก ซึ่งจะทำให้มีการปรับลดอันดับความ น่าเชื่อถือของสถาบันชั้นนำของยุโรปลงอีก ทั้งนี้ มูดี้ส์ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 2 ขั้นสำหรับราโบแบงก์ เนเดอร์ แลนด์ลงสู่ Aa2, ไอเอ็นจีลงสู่ A2, เอบีเอ็น แอมโร แบงก์ลงสู่ A2 และลีซแพลน คอร์ ปอเรชั่นลงสู่ Baa2 ขณะเดียวกัน มูดี้ส์ได้ปรับลดอันดับความ่าเชื่อถือหุ้นกู้และเงินฝากระยะยาวของ เอ็นเอ็นเอส แบงก์ลง 1 ขั้น สู่ระดับ Baa2 แต่คงอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นสำหรับ ธนาคารทั้ง 5 แห่งนี้ มูดี้ส์ได้ให้แนวโน้มมีเสถียรภาพแก่อันดับความน่าเชื่อถือของธนาคาร 4 แห่ง แต่คงแนวโน้มเชิงลบสำหรับธนาคารไอเอ็นจี แบงก์ ซึ่งหมายความว่า มูดี้ส์อาจปรับลด อันดับความน่าเชื่อถือของไอเอ็นจีลงอีก การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งนี้จะเพิ่มแรงกดดันให้ผู้นำยุโรปแก้ไข วิกฤติหนี้ของภูมิภาค ขณะที่บททดสอบที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในสุดสัปดาห์นี้ เมื่อชาวกรีซ ออกไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และมูดี้ส์ยังเตือนว่า ถ้ากรีซออกจากยูโร ก็อาจจะ จำเป็นต้องทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารในยุโรปเพิ่มเติมด้วย ข่าวดังกล่าวแทบไม่มีผลต่อตลาดการเงินในเอเชีย โดยยูโรปรับตัวแข็งแกร่ง ที่ 1.2616 ดอลลาร์ "การดำเนินการดังกล่าวสะท้อนมุมมองของมูดี้ส์ที่ว่า ธนาคารเนเธอร์แลนด์จะ เผชิญกับภาวะการดำเนินงานที่ยากลำบากตลอดทั้งปีนี้ และอาจจะในปีต่อๆไป" มูดี้ส์ระบุ มูดี้ส์ระบุอีกว่า มีความเสี่ยงมากขึ้นสำหรับเจ้าหนี้ท่ามกลางความไม่แน่อนมาก ขึ้น และความเสี่ยงช่วงขาลงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นที่เปราะบางของ นักลงทุนในยุโรป--จบ--
โดย
wiss42
ศุกร์ มิ.ย. 15, 2012 3:14 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
> EUROPE:ยูโรโซนหารือแผนฉุกเฉินเพื่อรับมือกรณีกรีซออกจากยูโรโซน บรัสเซลส์--12 มิ.ย.--รอยเตอร์ เจ้าหน้าที่ยุโรปได้หารือกันเรื่องมาตรการต่างๆที่อาจจะนำมาใช้ในกรณีที่ กรีซตัดสินใจถอนตัวออกจากยูโรโซน โดยมาตรการเหล่านี้รวมถึงมาตรการจำกัด ขนาดการถอนเงินออกจากตู้เอทีเอ็ม, การตรวจเช็คตามพรมแดน และมาตรการ ควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนในยูโรโซน เจ้าหน้าที่อียูกล่าวต่อรอยเตอร์ว่า มาตรการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผน สำรองฉุกเฉิน และกล่าวย้ำว่าการหารือกันในเรื่องนี้เป็นเพียงการเตรียมความพร้อม สำหรับเหตุการณ์ใดๆก็ตามที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่การวางแผนรับมือกับสิ่งที่คาดว่า จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แหล่งข่าวกล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองในกรีซมีความไม่แน่นอนมาก ยิ่งขึ้น หลังจากผลการเลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ค.ไม่สามารถทำให้กรีซจัดตั้งรัฐบาล ใหม่ได้ และกรีซกำลังจะจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในวันอาทิตย์ที่ 17 มิ.ย. โดย ปัจจัยนี้ส่งผลให้ยุโรปมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นในการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การหารือกันในเรื่องนี้กระทำผ่านทางการประชุมทางโทรศัพท์ในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่นักลงทุนกังวลว่าพรรคเลฟท์ โคลิชัน (SYRIZA) ของกรีซ อาจจะชนะการเลือกตั้งรอบสอง ซึ่งอาจส่งผลให้กรีซปฏิเสธมาตรการให้ความช่วย เหลือทางการเงินของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และถอนตัวออกจากยูโรโซน ขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจเรื่องมาตรการฉุกเฉิน อย่างไรก็ดี สมาชิก ของคณะทำงานยูโรกรุ๊ป (EWG) ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลัง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงการคลังของยูโรโซน ได้หารือกันในราย ละเอียดเกี่ยวกับทางเลือกต่างๆ นายสตีฟ แวนแอคเคอเร รมว.คลังเบลเยียมเคยกล่าวในช่วงสิ้น เดือนพ.ค.ว่า เป็นหน้าที่ของประเทศสมาชิกยูโรโซนแต่ละประเทศในการ เตรียมพร้อมรับมือกับปัญหา และการหารือกันในเรื่องนี้ก็เป็นไปตามแนวคิด ดังกล่าว โดยตั้งเป้าหมายไปที่การสกัดกั้นการแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร และสกัดกั้นการไหลออกอย่างรวดเร็วของเงินทุนจากต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ได้หารือกันเรื่องการจำกัดปริมาณการถอนเงินสดออกจาก ธนาคาร, การประกาศใช้มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน และการระงับ การใช้ข้อตกลงเชงเกน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่อนุญาตให้มีการเดินทางโดยไม่ต้องใช้ วีซ่าในประเทศ 26 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศส่วนใหญ่ในอียู แหล่งข่าวคนหนึ่งกล่าวว่า "กำลังมีการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อกรีซออกจากยูโรโซน" และกล่าวเสริมว่า "ได้มีการหารือกันเรื่องการจำกัด ปริมาณการถอนเงินสดออกจากตู้เอทีเอ็มและการจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินทุน และ มีการวิเคราะห์มาตรการเหล่านี้ด้วย"--จบ--
โดย
wiss42
อังคาร มิ.ย. 12, 2012 10:25 am
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
UPDATE/SPAIN:จับตาสเปนเตรียมแจ้งอียูขอเงินอุ้มภาคธนาคารพรุ่งนี้ มาดริด/เบอร์ลิน--8 มิ.ย.--รอยเตอร์ เจ้าหน้าที่อาวุโส 2 รายของสหภาพยุโรป (อียู) และแหล่งข่าวในเยอรมนี 1 รายเปิดเผยว่า เป็นที่คาดกันว่า สเปนจะเรียกร้องขอความช่วยเหลือทางการเงิน สำหรับภาคธนาคารในช่วงสุดสัปดาห์นี้ การร้องขอดังกล่าวจะมีขึ้นหลังการประชุมทางไกลของรมว.คลังยูโรโซน ในวันพรุ่งนี้ ขณะที่ยูโรกรุ๊ปจะออกแถลงการณ์ตามมา "คาดว่าจะมีการประกาศในบ่ายวันพรุ่งนี้" เจ้าหน้าที่อียูรายหนึ่งกล่าว บริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของสเปนลง 3 ขั้นเมื่อวานนี้ ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า สเปนอาจจะต้องขอให้อียูช่วยเหลือภาคธนาคารที่ประสบ ปัญหาหนี้เสีย ที่ผ่านมา สเปนยังไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ และไม่ต้องการ ให้องค์กรต่างชาติเข้ามากำกับดูแลการคลังของรัฐบาล--จบ--
โดย
wiss42
ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 4:53 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
G20:จี-20 เชิญนายกฯสเปนร่วมประชุมซัมมิท 18-19 มิ.ย.หวังหาทางแก้วิกฤติ โตเกียว--7 มิ.ย.--รอยเตอร์ หนังสือพิมพ์นิกเกอิรายงานว่า กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) ได้เชิญนายกรัฐมนตรีมาเรียโน ราจอย ของสเปนเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มจี-20 ที่ประเทศเม็กซิโกในวันที่ 18-19 มิ.ย.นี้ เพื่อหารือเร่งด่วนเกี่ยวกับวิกฤติการเงินที่รุนแรงขึ้นของสเปน นายเจอราร์โด โรดริเกซ เรกอร์โดซา รมช.คลังและหนี้สาธารณะ ของเม็กซิโก กล่าวต่อนิกเกอิว่า กลุ่มจี-20 จะเรียกร้องอย่างแข็งขันให้ตลาด มีเสถียรภาพเพื่อรับมือกับสถานการณ์ของสเปนในการประชุมสุดยอดเดือนนี้ ที่เมืองลอส คาบอส--จบ--
โดย
wiss42
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 2:39 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
EUROPE:คาดหุ้นยุโรปพุ่งขึ้นต่อ รับคาดการณ์อียูเล็งออกมาตรการอุ้มแบงก์สเปน ลอนดอน--7 มิ.ย.--รอยเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ตลาดหุ้นยุโรปจะพุ่งขึ้นในวันนี้ โดยขยายช่วงบวก ต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ ขณะที่นักลงทุนคาดว่าผู้กำหนดนโยบายในยุโรปอาจออก มาตรการในไม่ช้านี้เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารที่มีปัญหาของสเปน และสหรัฐ อาจออกมาตรการกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติม ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ดัชนี FTSE 100 ของตลาดหุ้นอังกฤษจะเปิดตลาด พุ่งขึ้น 42-45 จุด หรือ 0.8%, ดัชนี DAX ของตลาดหุ้นเยอรมนีจะเปิดตลาด พุ่งขึ้น 51-53 จุด หรือ 0.9% และดัชนี CAC-40 ของตลาดหุ้นฝรั่งเศสจะ พุ่งขึ้น 28-30 จุด หรือ 1% เมื่อวานนี้ ดัชนี FTSEurofirst 300 ของหุ้นกลุ่มบลูชิพทั่วยุโรป ปิดพุ่งขึ้น 2.21% สู่ 974.21 แหล่งข่าวในสหภาพยุโรป (อียู) กล่าวว่า เยอรมนีและเจ้าหน้าที่อียู กำลังเร่งหาแนวทางช่วยเหลือภาคธนาคารที่อ่อนแอของสเปนอย่างรีบด่วน แม้ว่า สเปนยังไม่ได้ยื่นขอความช่วยเหลือก็ตาม ขณะที่ไม่ต้องการอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลขององค์กรระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่เยอรมนีกล่าวว่า เยอรมนีใกล้เสร็จสิ้นการทำข้อตกลงที่จะให้ ความช่วยเหลือแก่สเปนแล้ว ซึ่งจะทำให้สเปนสามารถเพิ่มทุนธนาคารที่กำลังประสบ ปัญหา และจะไม่ทำให้สเปนเสียหน้าในการที่ต้องดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจตามที่ ต่างประเทศกำหนด นักลงทุนกำลังรอดูการประมูลพันธบัตรของสเปนในวันนี้ โดยสเปนจะ ทำการประมูลพันธบัตร 3 ชุด คิดเป็นมูลค่า 1-2 พันล้านยูโร (1.25-2.5 พันล้าน ดอลลาร์) และคาดว่าจะมีการประกาศผลการประมูลในเวลาประมาณ 15.40 น. ตามเวลาไทย--จบ--
โดย
wiss42
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 2:38 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
EUROPE:จับตาธ.กลางยุโรปประชุมวันนี้อาจสร้างเซอร์ไพรส์ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย แฟรงค์เฟิร์ต--6 มิ.ย.--รอยเตอร์ นักวิเคราะห์คาดว่า ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะคงนโยบายการเงิน ในการประชุมวันนี้ โดยจะประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ 1.0 % และจะเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขวิกฤติยูโรโซน อย่างไรก็ดี นักวิคราะห์ คาดว่าอีซีบีอาจจะแสดงความพร้อมในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ค. เนื่องจากเศรษฐกิจอ่อนแอลง และมีปัญหาในภาคธนาคารสเปน ทั้งนี้ อีซีบีจะประกาศผลการประชุมกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยในวันนี้ เวลาราว 18.45 น.ตามเวลาไทย และอาจจะส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในเดือนก.ค.ในการแถลงข่าวซึ่งจะจัดขึ้นในเวลา 19.30 น. โดยอีซีบีจัดการ ประชุมเร็วกว่าปกติ 1 วันในเดือนนี้เพราะวันพรุ่งนี้เป็นวันหยุดของอีซีบีเนื่องในวัน Corpus Christi อีซีบีเผชิญกับทางเลือกที่ยากลำบากในขณะนี้ เนื่องจากถ้าหากอีซีบีดำเนิน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป รัฐบาลก็จะไม่ได้รับแรงกดดันที่มากพอให้ ดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติ อย่างไรก็ดี ถ้าหากอีซีบีไม่ดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหา ประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในยูโรโซนก็จะเผชิญกับความยากลำบากในการระดมทุน และเผชิญปัญหาในการรักษาความเชื่อมั่นในธนาคารพาณิชย์ที่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลของ ประเทศดังกล่าว และด้วยเหตุนี้ อีซีบีจึงมีแนวโน้มที่จะไม่ประกาศใช้มาตรการใหม่ จนกว่าจะผ่านพ้นการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรป (อียู) ในวันที่ 28-29 มิ.ย. ไปก่อน เมื่อผ่านพ้นการประชุมสุดยอดของอียูไปแล้ว อีซีบีก็มีแนวโน้มสูงที่จะเลือก ใช้มาตรการที่อยู่ในขอบเขตอำนาจของอีซีบีโดยตรง และเป็นมาตรการที่ช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจ และช่วยลดแรงกดดันต่อธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่เป็นการลดแรงกดดันต่อ ภาครัฐ ซึ่งมาตรการดังกล่าวคือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการปล่อยเงินกู้ระยะยาว ครั้งใหม่ ซึ่งอาจคล้ายคลึงกับมาตรการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะ 3 ปี (LTRO) ที่อีซีบี เคยดำเนินการไปแล้วสองครั้งในช่วงเดือนธ.ค.2011-ก.พ.2012 โดยการเลือกใช้ มาตรการเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของอียูในการประชุมสุดยอดช่วงสิ้นเดือนนี้ นายสตีเวน อิงแลนเดอร์ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของซิตี้กรุ๊ปกล่าวว่า "มีแนวโน้มว่าอีซีบีจะส่งสัญญาณเรื่องความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และการปล่อยกู้ระยะยาวแก่ธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติม ถ้าหากมีความคืบหน้าเกิดขึ้น ในทางการเมือง" "นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะมองว่าอีซีบีเลือกใช้นโยบายที่สร้างความสะดวก ให้แก่อีซีบีมากที่สุด แทนที่จะเลือกใช้นโยบายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด" ตัวเลขเศรษฐกิจบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ซบเซาในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา และผลสำรวจภาคธุรกิจที่ออกมาเมื่อวานนี้ก็บ่งชี้ว่า ประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ทุกประเทศในยูโรโซนมีเศรษฐกิจตกต่ำลง ซึ่งรวมถึงเยอรมนี อย่างไรก็ดี อีซีบียังไม่มีแนวโน้มว่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยในวันนี้ เนื่องจากอีซีบีมักจะส่งสัญญาณล่วงหน้าในการเตือนตลาดเพื่อให้เตรียมพร้อม สำหรับการปรับนโยบายของอีซีบีในอนาคต และนายมาริโอ ดรากี ประธาน อีซีบีได้กล่าวในเดือนพ.ค.ว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของอีซีบีไม่ได้ หารือเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระหว่างการประชุมเดือนพ.ค. นายดรากีกล่าวในเดือนพ.ค.ว่า "เราไม่ได้หารือกันเรื่องการ ปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างเฉพาะเจาะจงใดๆ แต่เราได้หารือกันเรื่องจุดยืน โดยทั่วไปของนโยบายการเงินของเรา ซึ่งเรามองว่าเป็นจุดยืนแบบผ่อนคลาย" โพลล์รอยเตอร์ระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ 11 จาก 73 รายคาดว่า อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในวันนี้ และนักเศรษฐศาสตร์ 27 รายคาดว่า อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก่อนสิ้นปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจาก 14 รายในโพลล์ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ถึงแม้ผู้กำหนดนโยบายของอีซีบีกล่าวย้ำในระยะนี้ว่า นโยบายของอีซีบี อยู่ในภาวะที่ใกล้ถึงขีดจำกัดแล้ว ผู้กำหนดนโยบายก็ไม่ต้องการที่จะแสดงท่าทีวางเฉย โดยอีซีบีมีแนวโน้มที่จะส่งสัญญาณว่า อีซีบีพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากระดับ 1.0 % ในเดือนก.ค. นายโฮเวิร์ด อาร์เชอร์ นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทไอเอชเอส โกลบัล อินไซท์ กล่าวว่า "เราไม่คาดว่าอีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในวันนี้ ถึงแม้เรื่องนี้ มีความเป็นไปได้ เพราะปัญหาหนี้รัฐบาลและปัญหาเศรษฐกิจในยูโรโซนทวีความรุนแรงขึ้น" "เราคิดว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่อีซีบีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ 0.75 % ในไตรมาส 3" นายอาร์เชอร์กล่าว ทางด้านนางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวว่า อีซีบีมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ทั้งนี้ ถ้าหากอีซีบีส่งสัญญาณว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในอนาคต อีซีบีก็อาจ ส่งสัญญาณว่าอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของอีซีบีลงสู่ 0 % จากระดับ 0.25 % ในปัจจุบันด้วย เพื่อเป็นการโน้มน้าวธนาคารพาณิชย์ไม่ให้นำเงินที่กู้จากอีซีบีกลับมาฝาก ไว้ที่อีซีบี อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายตั้งคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการปรับลด อัตราดอกเบี้ย โดยนายอิงแลนเดอร์กล่าวว่า "เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อได้ว่า ปัญหาของ ยูโรโซนมีต้นเหตุมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไปของอีซีบี" สเปนแถลงเมื่อวานนี้ว่าต้นทุนการกู้ยืมที่ระดับสูงส่งผลให้สเปนไม่สามารถ กู้เงินจากตลาดสินเชื่อ โดยสเปนเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ในยูโรโซน และประสบปัญหาจากรัฐบาลระดับแคว้นที่ใช้จ่ายเงินมากเกินไป ขณะที่ ปัญหาเรื่องหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นผลมาจากภาวะฟองสบู่แตกในตลาดอสังหา ริมทรัพย์ ถึงแม้สเปนเรียกร้องให้อีซีบีดำเนินโครงการเข้าซื้อพันธบัตรอีกครั้ง แต่นาย ดรากีก็มีแนวโน้มที่จะกล่าวย้ำตามเดิมว่า โครงการนี้ยังคงดำเนินต่อไป ถึงแม้ว่าใน ความเป็นจริงแล้วอีซีบีไม่ได้เข้าซื้อพันธบัตรใดๆเลยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีมาตรการบางอย่างที่อีซีบีสามารถประกาศใช้ได้ในทันทีโดยไม่ต้องส่งสัญญาณ เตือนล่วงหน้า ซึ่งได้แก่การผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในการปล่อยกู้แก่ธนาคารพาณิชย์ โดย มาตรการนี้จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ที่ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารด้วยกันเองใน ตลาดเงินสามารถระดมทุนได้อีกครั้ง แต่มีแนวโน้มว่าอีซีบีจะประกาศใช้มาตรการนี้ ก็ต่อเมื่อผ่านพ้นการประชุมสุดยอดของอียูไปแล้ว เป็นที่คาดกันว่าอีซีบีจะต่ออายุให้แก่มาตรการปล่อยกู้อย่างไม่จำกัดจำนวน ในปฏิบัติการอัดฉีดสภาพคล่อง ซึ่งมาตรการที่อีซีบีใช้อยู่ในปัจจุบันนี้จะหมดอายุลงใน เดือนก.ค. แต่อีซีบีจะเสนอจัดหาสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์อย่างไม่จำกัด จำนวนต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้หรือนานกว่านั้น อีซีบีจะเปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจของเจ้าหน้าที่อีซีบีด้วย โดยนักวิเคราะห์คาดว่าอีซีบีจะปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจสำหรับปีนี้และปีหน้า แต่อาจคงตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ อีซีบีคาดการณ์ในเดือนมี.ค.ว่า เศรษฐกิจยูโรโซนอาจหดตัวลง 0.1 % ในปีนี้ ก่อนที่จะขยายตัว 1.1 % ในปี 2013 และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ อาจอยู่ที่ 2.4 % ในปี 2012 และ 1.6 % ในปี 2013 นักลงทุนจะจับตาดูตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับปี 2013 เนื่องจากตัวเลขคาดการณ์ในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ ที่อีซีบีตั้งไว้ที่ระดับต่ำกว่า 2 % เล็กน้อย ซึ่งถ้าหากอีซีบีปรับลดตัวเลขคาดการณ์ อัตราเงินเฟ้อสำหรับปีหน้าลงจาก 1.6 % ปัจจัยดังกล่าวก็จะกระตุ้นเสียงเรียกร้อง ให้อีซีบีปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง--จบ--
โดย
wiss42
พุธ มิ.ย. 06, 2012 4:10 pm
0
1
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
ITALY:หุ้นกลุ่มแบงก์อิตาลีเปิดตลาดดีดตัว เมิน"มูดี้ส์"หั่นเครดิต มิลาน--15 พ.ค.--รอยเตอร์ หุ้นกลุ่มธนาคารชั้นนำของอิตาลีดีดตัวขึ้นในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้ แม้มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเงินฝาก และตราสารหนี้ระยะยาวของธนาคาร 26 แห่งของอิตาลี โดยระบุถึงภาวะถดถอย และระดับหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นของอิตาลี มูดี้ส์ระบุว่า ธนาคารทั้ง 26 แห่งของอิตาลีได้ถูกปรับลดอันดับความ น่าเชื่อถือลงอย่างน้อย 1 ขั้น ขณะที่ธนาคารบางแห่งถูกปรับลดอันดับความน่า เชื่อถือลงถึง 4 ขั้น โดยธนาคารทุกแห่งในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเชิงลบ ณ เวลา 14.08 น.ตามเวลาไทย หุ้น Intesa Sanpaolo และหุ้น Unicredit ซึ่งเป็นสองธนาคารชั้นนำของอิตาลี ปรับตัวขึ้นราว 0.5% ขณะที่ ดัชนี European DJ Stoxx สำหรับหุ้นกลุ่มธนาคาร บวก 0.3%--จบ--
โดย
wiss42
อังคาร พ.ค. 15, 2012 3:14 pm
0
0
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
> EUROPE:ยูโรโซนเผชิญภาวะศก.ถดถอย แม้ผลผลิตภาคอุตฯของเยอรมนีพุ่งในมี.ค. บรัสเซลส์--15 พ.ค.--รอยเตอร์ ข้อมูลการผลิตที่แข็งแกร่งของเยอรมนีไม่สามารถชดเชยภาวะตกต่ำของประเทศ อื่นๆทั่วยูโรโซนในเดือนมี.ค.ได้ โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนดิ่งลง และส่ง สัญญาณว่า ภาวะถดถอยของยูโรโซนอาจจะรุนแรงกว่าที่ผู้กำหนดนโยบายคาดการณ์ไว้ สำนักงานสถิติ Eurostat ของสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ของ 17 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร ลดลง 0.3% ในเดือนมี.ค.จากเดือนก.พ. ขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์ในการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. ข้อมูลดังกล่าวสวนทางกับข้อมูลของเยอรมนีที่พบว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ของเยอรมนีพุ่งขึ้น 1.3% ในเดือนมี.ค. และทะยานขึ้น 2.8% หากรวมภาคพลังงาน และก่อสร้างด้วย "เนื่องจากวิกฤติหนี้, อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 2% อุปสงค์ภาคครัวเรือนจึงชะลอตัวลง และภาวะเศรษฐกิจโลกปรับตัวย่ำแย่ นั่นจึงทำให้ ประชาชนไม่ต้องการใช้จ่ายและลงทุน" นายจูสท์ โบมองต์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส จากเอบีเอ็น แอมโรกล่าว Eurostat ระบุว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมี.ค.ลดลง 1.8% ในสเปน และลดลง 0.9% ในฝรั่งเศส ส่วนผลผลิตของเนเธอร์แลนด์ลดลง 0.9% หลังจากที่พุ่งขึ้นมากในเดือนก.พ. นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่า ข้อมูลของ Eurostat ในวันนี้จะระบุว่า ยูโรโซนประสบกับภาวะถดถอยเป็นครั้งที่สองในเวลาแค่ 3 ปีในช่วงปลายเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา โดยภาคครัวเรือนได้รับผลกระทบจากโครงการรัดเข็มขัดเพื่อลดหนี้และยอดขาดดุล นักเศรษฐศาสตร์ในผลสำรวจของรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วคาดว่า เศรษฐกิจยูโร โซนจะหดตัวลง 0.2% ในไตรมาสแรก หลังจากหดตัวลง 0.3% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ผู้นำอียูจะประชุมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันที่ 23 พ.ค.นี้เพื่อหาแนวทางที่จะทำให้ ยูโรโซนและอียูมีการขยายตัวได้อีกครั้ง ขณะเดียวกันก็จะยังคงลดหนี้สินและยอดขาดดุลลง แต่นักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนกล่าวว่าแทบไม่มีโอกาสที่จะดำเนินการดังกล่าวได้--จบ--
โดย
wiss42
อังคาร พ.ค. 15, 2012 2:21 pm
0
1
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
GERMANY:เยอรมนีเผยจีดีพี Q1 โตเกินคาด 0.5% เบอร์ลิน--15 พ.ค.--รอยเตอร์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีขยายตัว 0.5% ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบรายไตรมาส โดยสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์สูงสุดที่ 0.2% ในผลสำรวจของรอยเตอร์ ขณะที่การส่งออกช่วยหนุนเศรษฐกิจดีดตัวขึ้นจากการ หดตัว 0.2% ในไตรมาส 4 นอกจากนี้ ข้อมูลเบื้องต้นจากสำนักงานสถิติที่เปิดเผยในวันนี้ยังบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัว 1.7% ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบรายปี จาก 1.5% ในไตรมาส 4 ซึ่งเพิ่มความหวังต่อยูโรโซนว่า เยอรมนีจะยังคงสามารถเป็น ตัวจักรหลักสำหรับขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติระบุว่า การส่งออกได้ช่วยหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่การบริโภคภายในประเทศปรับตัวขึ้นด้วย ซึ่งได้ช่วยชดเชยการลงทุนที่ลดลง ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 41 คนโดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจ จะขยายตัว 0.1% ในไตรมาสแรกและจะขยายตัว 0.8% ในปีนี้--จบ--
โดย
wiss42
อังคาร พ.ค. 15, 2012 2:20 pm
0
1
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
GREECE:หุ้นกลุ่มแบงก์กรีซทรุดหนัก 7% ผวาเลือกตั้งใหม่หลังการเมืองถึงทางตัน เอเธนส์--14 พ.ค.--รอยเตอร์ หุ้นกลุ่มธนาคารของกรีซทรุดตัวลงถึง 7% ในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้ หลังจากพรรคการเมืองของกรีซไม่สามารถบรรลุข้อตกลงจัดตั้งรัฐบาลผสมในช่วง สุดสัปดาห์ และผู้นำพรรคฝ่ายซ้ายได้ปฏิเสธคำเชิญให้เข้าร่วมการประชุมครั้งใหม่ ในวันนี้ "นี่เป็นเพราะความไม่แน่นอนทางการเมือง และแถลงการณ์จากยุโรป เกี่ยวกับความเสี่ยงที่กรีซจะออกจากยูโรโซน" นางนาตาชา รูแมนท์ซี ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์จากบล.ปิแรอุส กล่าว นายโฟติส คูเวลิส ผู้นำพรรคเดโมแครติก เลฟท์ของกรีซ ยืนยันในวันนี้ ก่อนการเจรจารอบสุดท้ายของบรรดาพรรคการเมืองของกรีซเพื่อหาทางจัดตั้งรัฐบาล ใหม่ว่า เขาจะไม่เข้าร่วมในรัฐบาลผสม หากพรรคเลฟท์ โคลิชัน (SYRIZA) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงไม่ได้เข้าร่วมด้วย "รัฐบาลที่ไม่ได้รับประกันการเข้าร่วมของพรรคอันดับสอง จะขาดการ สนับสนุนที่จำเป็นจากประชาชนและจากรัฐสภา" นายคูเวลิสเปิดเผยกับแอนเทนนา ทีวี โดยระบุว่าเขาต้องการรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง พรรค SYRIZA ซึ่งได้คะแนนเป็นอันดับสองในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค. ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมรัฐบาลผสมกับพรรคต่างๆที่สนับสนุนข้อตกลง ความช่วยเหลือที่กรีซทำไว้กับอียู/ไอเอ็มเอฟ ส่งผลให้คาดว่าจะมีการเลือกตั้ง ใหม่ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า "การประชุมจะมีขึ้นในเวลา 19.30 น. (23.30 น.ตามเวลาไทย)" เจ้าหน้าที่กล่าว ทั้งนี้ กรีซเผชิญภาวะวุ่นวายทางการเมืองในสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากผลการ เลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ค.ส่งผลให้ไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากในรัฐสภา นอกจากนี้ พรรคการเมืองที่มีจุดยืนสนับสนุนและต่อต้านข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ที่กรีซทำไว้กับอียู และไอเอ็มเอฟในวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร ต่างก็ได้คะแนนเสียง ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งส่งผลให้ไม่มีฝ่ายใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้--จบ--
โดย
wiss42
จันทร์ พ.ค. 14, 2012 4:24 pm
0
2
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
GREECE:ฟิทช์ขู่หั่นอันดับเครดิตทั้งยูโรโซนหากกรีซถูกขับจากการเป็นสมาชิก ลอนดอน--14 พ.ค.--รอยเตอร์ บริษัทฟิทช์ เรทติงส์ ประกาศเตือนยูโรโซนทั้งภูมิภาคว่า ถ้าหาก กรีซถูกขับออกจากยูโรโซนอันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอื่นๆที่เหลือก็อาจจะเผชิญกับความเสี่ยง ฟิทช์ระบุว่า มีแนวโน้มที่ฟิทช์จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ ทั้งยูโรโซน ถ้าหากกรีซออกจากยูโรโซน โดยประเทศที่มีแนวโน้มอันดับความ น่าเชื่อถือในเชิงลบขณะนี้ มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะถูกปรับลดอันดับลงในไม่ช้า ฟิทช์ระบุว่า ประเทศดังกล่าวได้แก่ฝรั่งเศส, อิตาลี, สเปน, ไซปรัส, ไอร์แลนด์, โปรตุเกส, สโลเวเนีย และเบลเยียม "ถ้าหากกรีซออกจากยูโรโซน อันเนื่องมาจากวิกฤติการเมืองในขณะนี้ หรือในภายหลังเนื่องจากเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ ฟิทช์ก็มีแนวโน้มที่จะจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือของประเทศอื่นๆที่เหลือในยูโรโซนอยู่ในเครดิตพินิจเชิงลบ ขณะที่ ฟิทช์ทำการประเมินครั้งใหม่สำหรับผลกระทบต่อทั้งระบบ และต่อแต่ละประเทศ จากการที่กรีซออกจากยูโรโซน" ฟิทช์เปิดเผยว่า ขอบเขตของการปรับลดอันดับจะขึ้นอยู่กับว่ายูโรโซน มีปฏิกริยาอย่างไรต่อการออกไปของกรีซ "ความน่าจะเป็นและขนาด จะขึ้นอยู่กับการตอบรับด้านนโยบายของ ยุโรป และความสำเร็จในการจำกัดการลุกลามของปัญหา รวมทั้งการกำหนด วิสัยทัศน์ที่น่าเชื่อถือในการปฏิรูปยูโรโซน" ฟิทช์ระบุ "อย่างไรก็ดี อันดับความน่าเชื่อถือของสมาชิกทั้งหมดของยูโรโซน อาจจะเผชิญกับความเสี่ยง" นายโฟติส คูเวลิส ผู้นำพรรคเดโมแครติก เลฟท์ของกรีซ ยืนยันในวันนี้ ก่อนการเจรจารอบสุดท้ายในวันนี้ของบรรดาพรรคการเมืองของกรีซเพื่อหาทาง จัดตั้งรัฐบาลใหม่ว่า เขาจะไม่เข้าร่วมในรัฐบาลผสม หากพรรคเลฟท์ โคลิชัน (SYRIZA) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงไม่ได้เข้าร่วมด้วย "รัฐบาลที่ไม่ได้รับประกันการเข้าร่วมของพรรคอันดับสอง จะขาดการ สนับสนุนที่จำเป็นจากประชาชนและจากรัฐสภา" นายคูเวลิสเปิดเผยกับแอนเทนนา ทีวี โดยระบุว่าเขาต้องการรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง พรรค SYRIZA ซึ่งได้คะแนนเป็นอันดับสองในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค. ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมรัฐบาลผสมกับพรรคต่างๆที่สนับสนุนข้อตกลง ความช่วยเหลือที่กรีซทำไว้กับอียู/ไอเอ็มเอฟ ส่งผลให้คาดว่าจะมีการเลือกตั้ง ใหม่ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ทั้งนี้ กรีซเผชิญภาวะวุ่นวายทางการเมืองในสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากผลการ เลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ค.ส่งผลให้ไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากในรัฐสภา นอกจากนี้ พรรคการเมืองที่มีจุดยืนสนับสนุนและต่อต้านข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ที่กรีซทำไว้กับอียู และไอเอ็มเอฟในวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร ต่างก็ได้คะแนนเสียง ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งส่งผลให้ไม่มีฝ่ายใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ผู้นำยุโรปกล่าวว่า กรีซจะถูกขับออกจากยูโรโซน ถ้าหากไม่ยอมดำเนิน มาตรการขึ้นภาษี และปรับลดค่าจ้างตามข้อตกลงกับทางอียู/ไอเอ็มเอฟ--จบ--
โดย
wiss42
จันทร์ พ.ค. 14, 2012 4:23 pm
0
1
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
GREECE:จับตาพรรคการเมืองกรีซถกครั้งสุดท้ายคืนนี้ ชี้ชะตาจัดเลือกตั้งใหม่ เอเธนส์--14 พ.ค.--รอยเตอร์ นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรคเลฟท์ โคลิชันของกรีซปฏิเสธเทียบเชิญ จากประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาสในการเข้าร่วมการเจรจารอบสุดท้ายเกี่ยวกับ การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติในคืนนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่ากรีซมีแนวโน้มที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ และนายซิปราสก็มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ หลังจากพรรค ของเขาได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับสองในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค. "การประชุมจะมีขึ้นในเวลา 19.30 น. (23.30 น.ตามเวลาไทย)" เจ้าหน้าที่กล่าว ทั้งนี้ กรีซเผชิญภาวะวุ่นวายทางการเมืองในสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากผลการ เลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ค.ส่งผลให้ไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมากในรัฐสภา นอกจากนี้ พรรคการเมืองที่มีจุดยืนสนับสนุนและต่อต้านข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ที่กรีซทำไว้กับสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร ต่างก็ได้คะแนนเสียงในระดับที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งส่งผล ให้ไม่มีฝ่ายใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ถ้าหากปธน.ปาปูลิอาสไม่ประสบความสำเร็จในการเกลี้ยกล่อมให้พรรค การเมืองเหล่านี้ประนีประนอมกัน เขาก็จำเป็นต้องประกาศจัดการเลือกตั้งรอบใหม่ โดยหลังจากการเจรจาที่ไม่ประสบผลสำเร็จเมื่อวานนี้ ปธน.ปาปูลิอาสก็ได้เชื้อเชิญ แกนนำจากพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุด 3 พรรค และพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายขนาดเล็ก อีกหนึ่งพรรค กลับมาประชุมที่ทำเนียบประธานาธิบดีในวันนี้ อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่พรรคเลฟท์ โคลิชัน (SYRIZA) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้าย หัวรุนแรง กล่าวว่า นายซิปราสจะไม่เข้าร่วมการประชุมในวันนี้ ทั้งนี้ พรรคนิว เดโมเครซี ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษ์นิยม ได้คะแนนเสียงมาก เป็นอันดับหนึ่งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค. ขณะที่พรรค PASOK ซึ่งเป็นพรรค สังคมนิยมได้คะแนนเสียงอันดับสาม แต่พรรคนิว เดโมเครซีและพรรค PASOK ซึ่งมี จุดยืนสนับสนุนมาตรการให้ความช่วยเหลือจากอียูและไอเอ็มเอฟ มีคะแนนเสียงรวมกัน เพียง 32 % ลดลงจาก 77 % ในการเลือกตั้งเมื่อ 3 ปีก่อน พรรคฝ่ายซ้ายขนาดเล็กที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมในวันนี้คือพรรค เดโมแครติก เลฟท์ โดยทางพรรคระบุว่า นายโฟติส คูเวลิส ผู้นำพรรค จะเข้าร่วม การประชุมในวันนี้ โดยพรรคเดโมแครติก เลฟท์ ครองที่นั่งในรัฐสภาในระดับที่มากพอ ที่จะช่วยให้พรรคนิว เดโมเครซีกับพรรค PASOK ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ อย่างไรก็ดี นายคูเวลิสกล่าวย้ำหลายครั้งว่า เขาจะไม่เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลถ้าหาก นายซิปราสไม่เข้าร่วมด้วย ประชาชนที่ต่อต้านมาตรการให้ความช่วยเหลือจากอียูและไอเอ็มเอฟ ได้ลงคะแนนเสียงเลือกพรรคขนาดเล็กพลายพรรคในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 พ.ค. แต่ขณะนี้พวกเขาได้หันมาสนับสนุนนายซิปราสเป็นส่วนใหญ่ โดยผลสำรวจความเห็น ประชาชนระบุว่า นายซิปราสจะชนะการเลือกตั้งถ้าหากกรีซจัดการลงคะแนนรอบใหม่ พรรคการเมืองที่ครองคะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้งในกรีซจะได้ที่นั่ง ในรัฐสภาเพิ่มขึ้นอีก 50 ที่นั่งจากทั้งหมด 300 ที่นั่ง โดยระบบการจัดสรรที่นั่งแบบนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น นายซิปราสปฏิเสธที่จะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคนิว เดโมเครซีและพรรค PASOK ซึ่งเป็นสองพรรคการเมืองที่ปกครองกรีซมานานหลายสิบปี โดยชาวกรีซ จำนวนมากไม่ได้ลงคะแนนเลือกพรรค PASOK และพรรคนิว เดโมเครซีในการ เลือกตั้งครั้งล่าสุด เนื่องจากทั้งสองพรรคนี้ให้การสนับสนุนมาตรการให้ความช่วย เหลือทางการเงินของอียูและไอเอ็มเอฟ และสนับสนุนเงื่อนไขในมาตรการดังกล่าว ที่ระบุให้กรีซปรับลดค่าจ้างกับเงินบำนาญและปรับขึ้นภาษี นายซิปราสกล่าวว่า เขาต้องการให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป แต่ต้องมีการ ยกเลิกมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจากอียู/ไอเอ็มเอฟ อย่างไรก็ดี ผู้นำ หลายรายในยุโรปกล่าวว่า การยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้อียูระงับการ เบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่กรีซ ซึ่งจะส่งผลให้กรีซล้มละลาย และถูกขับออกจาก การเป็นสมาชิกยูโรโซน หลังจากนายซิปราสประชุมกับปธน.ปาปูลิอาสและผู้นำพรรคนิว เดโมเครซี กับพรรค PASOK เขาก็กล่าวถึงข้อเสนอในการจัดตั้งรัฐบาลว่า "พวกเขาไม่ได้หวัง ที่จะทำข้อตกลงกับเรา แต่กำลังขอให้เราเป็นหุ้นส่วนในอาชญากรรม ซึ่งเราจะไม่เป็น ผู้สมรู้ร่วมคิดด้วย" ทางด้านนายอีวานเจลอส เวนิเซลอส ผู้นำพรรค PASOK กล่าวหลังการ ประชุมว่า เขายังคงมีความหวังว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แต่เวลาใกล้จะหมดลง แล้ว "แม้การประชุมกับท่านประธานาธิบดีเผชิญภาวะชะงักงัน ผมก็ยังคงมีความ หวังเล็กๆว่าเราจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้" นายเวนิเซลอสกล่าว พรรคการเมืองทั้ง 7 พรรคที่ได้ครองที่นั่งในรัฐสภาได้เข้าพบปธน.ปาปูลิอาส เมื่อวานนี้ ซึ่งรวมถึงพรรคโกลเดน ดอว์น ซึ่งเป็นพรรคขวาจัดที่เพิ่งครองที่นั่งในรัฐสภา ได้เป็นครั้งแรก ขณะที่ชาวกรีซจำนวนมากจับตาการประชุมเมื่อวานนี้ โดยปธน.ปาปูลิอาส ซึ่งมีอายุ 82 ปี และเป็นทหารผ่านศึกจากการต่อสู้กับนาซีในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ ทำการต้อนรับนายนิคาลาออส มิฮาโลเลียคอส ผู้นำพรรคโกลเดน ดอว์น ที่มีแนวคิด ใกล้เคียงกับนาซี การประชุมดังกล่าวที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์เมื่อวานนี้ ปธน.ปาปูลิอาสแสดง อาการยิ้มแย้มขณะต้อนรับผู้นำพรรคการเมืองคนอื่นๆ แต่เขาแสดงใบหน้าเคร่งขรึมเมื่อ นั่งตรงข้ามกับนายมิฮาโลเลียคอส ทางด้านผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบประธานาธิบดีพากันนั่งบนพื้น เพื่อแสดงอาการต่อต้านนายมิฮาโลเลียคอสขณะที่เขาเข้ามาในทำเนียบประธานาธิบดี และผู้สื่อข่าวก็ปฏิเสธที่จะถามคำถามเขาด้วย ผลสำรวจระบุว่า ชาวกรีซส่วนใหญ่ปฏิเสธมาตรการให้ความช่วยเหลือของอียู/ ไอเอ็มเอฟ แต่ต้องการใช้สกุลเงินยูโรต่อไป โดยชาวกรีซ 78.1 % ต้องการให้รัฐบาล กรีซชุดใหม่ทำสิ่งใดก็ตามที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป อย่างไรก็ดี ประเทศอื่นๆในยุโรปกำลังจะหมดความอดทนต่อกรีซ โดยนิตยสาร Der Spiegel ของเยอรมนีตีพิมพ์ข้อความบนหน้าปกว่า "Acropolis, Adieu! Why Greece must leave the euro." ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้กรีซออกจากยูโรโซน เจ้าหน้าที่ยุโรปบางรายกล่าวอย่างเปิดเผยในขณะนี้ว่า มีความเป็นไปได้ ที่กรีซจะออกจากยูโรโซน นายลุค เคิน ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวต่อ หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทมส์ว่า "การหย่าไม่เคยเป็นสิ่งที่ราบรื่น แต่ผมคาดว่า การหย่ากันอย่างฉันท์มิตรเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ ถ้านั่นเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ถึงแม้เป็นสิ่งที่น่าเสียใจสำหรับผม"--จบ--
โดย
wiss42
จันทร์ พ.ค. 14, 2012 12:26 pm
0
2
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
> GREECE:จับตาตั้งรบ.กรีซวันนี้ แต่คาดเจรจาล่มหลังตั้งเงื่อนไขฉีกสัญญา EU/IMF เอเธนส์--9 พ.ค.--รอยเตอร์ นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรคเลฟท์ โคลิชันของกรีซจะประชุมกับผู้นำพรรค การเมืองสำคัญของกรีซในวันนี้เพื่อพยายามจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาลชุดใหม่ แต่นักวิเคราะห์ คาดว่านายซิปราสจะประสบความล้มเหลว เนื่องจากเขายืนยันให้พรรคการเมืองต่างๆ จะต้องเห็นพ้องก่อนในการยกเลิกข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่กรีซเคยทำไว้ กับสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ไม่มีพรรคการเมืองใดครองเสียงข้างมากในการเลือกตั้งของกรีซในวันอาทิตย์ ที่ผ่านมา ส่งผลให้กรีซเผชิญกับภาวะปั่นป่วนทางการเมือง โดยมีแนวโน้มว่ากรีซอาจจะ จัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และอาจจะถูกขับออกจากการเป็น สมาชิกยูโรโซน ชาวกรีซจำนวนมากที่ไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบากพากันหลีกเลี่ยง การลงคะแนนเสียงให้พรรคการเมืองสำคัญสองพรรคของกรีซ ซึ่งได้แก่พรรคนิว เดโมเครซี ของนายแอนโตนิส ซามาราส ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษ์นิยม และพรรค PASOK ของนายอีวาน เจลอส เวนิเซลอส ซึ่งเป็นพรรคสังคมนิยม โดยสองพรรคนี้ให้การสนับสนุนมาตรการ รับความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ ซึ่งมีวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร และ เป็นสิ่งที่ช่วยให้กรีซรอดพ้นจากภาวะล้มละลายในช่วงที่ผ่านมา โอกาสที่นายซิปราสจะจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาลได้ริบหรี่ลงเมื่อวานนี้ เมื่อนาย ซามาราสปฏิเสธข้อเรียกร้องของนายซิปราสที่ให้ยกเลิกข้อตกลงให้ความช่วยเหลือทาง การเงิน โดยนายซามาราสกล่าวว่า การยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้กรีซถูก ขับออกจากยูโรโซน นายซามาราสกล่าวว่า "นายซิปราสขอให้ผมลงนามในการทำลายประเทศกรีซ แต่ผมจะไม่ทำเช่นนั้น กรีซไม่สามารถเล่นกับไฟได้" พรรคเลฟท์ โคลิชันได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับสองในการเลือกตั้งครั้งนี้ ในขณะที่พรรคนิว เดโมเครซีได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับหนึ่ง และพรรค PASOK ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับสาม แต่พรรคนิว เดโมเครซีและพรรค PASOK ครอง คะแนนเสียงร่วมกันได้เพียง 32 % ในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยลดลงจาก 77 % ในการเลือกตั้งเมื่อ 3 ปีก่อน ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาสของกรีซได้มอบหมายให้นาย ซามาราสทำหน้าที่จัดตั้งรัฐบาลกรีซชุดใหม่ แต่นายซามาราสไม่สามารถทำได้สำเร็จ ดังนั้นปธน.ปาปูลิอาสจึงมอบหมายให้นายซิปราสทำหน้าที่จัดตั้งรัฐบาลเมื่อวานนี้ โดย เขามีเวลา 3 วัน นายซิปราสจะประชุมกับนายเวนิเซลอสในวันนี้เวลา 22.00 น.ตามเวลาไทย และประชุมกับนายซามาราสในเวลา 23.00 น. ถ้าหากไม่มีนักการเมืองคนใดสามารถจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาลที่ครองเสียงข้างมาก ในสภาซึ่งมี 300 ที่นั่งได้สำเร็จ กรีซก็จำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในเวลา 3-4 สัปดาห์ข้างหน้า โดยนายซามาราสคาดว่าเขาจะได้คะแนนเสียงมากขึ้นในการเลือกตั้ง ครั้งใหม่ นายธีโอดอร์ คูลูมบิส นักวิเคราะห์ของสถาบันวิจัย ELIAMEP กล่าวว่า "หลังจาก นายซามาราสตอบโต้ถ้อยแถลงของนายซิปราส โอกาสที่สองพรรคนี้จะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน ก็ได้ถูกทำลายลงไปแล้ว" ชาวกรีซส่วนใหญ่ระบุว่าพวกเขาต้องการใช้สกุลเงินยูโรต่อไป แต่พวกเขาไม่พอใจ กับพรรคนิว เดโมเครซีและพรรค PASOK โดยระบุว่าสองพรรคนี้เป็นต้นเหตุของภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย, อัตราการว่างงานที่สูงเป็นประวัติการณ์ และการคอร์รัปชั่น ชาวกรีซส่วนใหญ่เชื่อว่า มาตรการปรับลดงบรายจ่ายของรัฐทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ ลงไปอีก เพราะทำให้การว่างงานเพิ่มสูงขึ้น และเป็นอุปสรรคขวางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นี้ กรีซดำเนินมาตรการปรับลดงบใช้จ่ายเพื่อปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของอียูและไอเอ็มเอฟ ระบบการเลือกตั้งของกรีซมอบที่นั่งพิเศษอีก 50 ที่นั่งให้แก่พรรคนิว เดโมเครซี ในฐานะพรรคที่ได้รับคะแนนโหวตมากที่สุด โดยระบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพ ให้แก่รัฐบาลใหม่ อย่างไรก็ดี พรรคนิว เดโมเครซีและพรรค PASOK ครองที่นั่งรวมกัน ได้เพียง 149 ที่นั่งเท่านั้น และไม่สามารถครองเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ชาวกรีซจำนวนมากแสดงความไม่พอใจต่อการที่พรรคการเมืองกรีซไม่สามารถ ตกลงกันได้ โดยนายวาซิเลีย โคนิแดรีกล่าวว่า "พวกเขาบอกว่าพวกเขาไม่ต้องการ ร่วมมือกับคนอื่นๆ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาสนใจแต่เรื่องการเป็นนายกรัฐมนตรี เท่านั้น แต่ไม่มีใครสนใจประเทศนี้" ทางเลือกทางหนึ่งในการจัดตั้งรัฐบาลคือการที่พรรค PASOK และพรรค เลฟท์ โคลิชันจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน โดยที่พรรคนิว เดโมเครซีจะไม่อยู่ในรัฐสภา ในขณะที่มีการลงคะแนนเสียงให้ความไว้วางใจรัฐบาลชุดใหม่ โดยการกระทำ ดังกล่าวจะส่งผลให้แนวร่วมรัฐบาลของนายซิปราสสามารถชนะคะแนนเสียงข้าง มาก อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่นายเวนิเซลอสกล่าวเมื่อวานนี้ว่า พรรคการเมืองทุกพรรคของกรีซที่มีนโยบาย สนับสนุนยุโรปควรจัดตั้งแนวร่วมด้วยกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการจัดการเลือกตั้งรอบสอง นายเวนิเซลอสกล่าวว่า "ชาวกรีซกำลังเรียกร้องสองสิ่ง โดยสิ่งแรก คือการที่กรีซยังคงอยู่ในยุโรปและยูโรโซนได้อย่างปลอดภัย และสิ่งที่สองคือการ แก้ไขเงื่อนไขในมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือพลเมืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจของกรีซ" ถ้าหากนายซิปราสไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาล นายเวนิเซลอสก็จะได้รับโอกาส ในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ถ้าหากนายเวนิเซลอสประสบความล้มเหลวในเรื่องนี้ ปธน. ปาปูลิอาสก็จะเรียกประชุมพรรคการเมืองเพื่อให้โอกาสครั้งสุดท้ายในการจัดตั้งรัฐบาล แห่งชาติ ก่อนที่จะประกาศจัดการเลือกตั้งใหม่ในเวลาราว 3 สัปดาห์ นายคูลูมบิสกล่าวว่า ชาวกรีซจำนวนมากคาดหวังว่ายุโรปจะให้ความช่วยเหลือ กรีซ และจะยังคงอนุญาตให้กรีซอยู่ในยูโรโซนได้ต่อไป ถึงแม้ว่ากรีซไม่ยอมทำตามมาตร การรัดเข็มขัดที่อียูและไอเอ็มเอฟกำหนดมา นายคูลูมบิสกล่าวว่า "ชาวกรีซคิดว่ายุโรปจะไม่ปล่อยให้กรีซล่มสลาย พวกเขา คิดว่าสิ่งเดียวที่พวกเราจำเป็นต้องทำคือการบอกกับยูโรโซนว่าเราจะกระโดดลงจากชั้น 10 และพวกเขาจะเอาตาข่ายนิรภัยมารองรับพวกเรา แต่ผมต้องการจะบอกว่า 'ระวัง ให้ดี คุณอาจจะตกลงมากระแทกพื้นและแตกเป็นเสี่ยงๆ'"--จบ--
โดย
wiss42
พุธ พ.ค. 09, 2012 12:14 pm
0
2
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
GREECE:จับตาฝ่ายซ้ายกรีซหาพันธมิตรตั้งรัฐบาล หลังพรรคอนุรักษ์ฯคว้าน้ำเหลว เอเธนส์--8 พ.ค.--รอยเตอร์ นายแอนโทนิส ซามาราส ผู้นำพรรค New Democracy ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษ์ นิยมของกรีซ ยอมรับว่า เขาไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ และได้คืนอำนาจให้แก่ ประธานาธิบดีคาโรลอส ปาปูลิอาสแล้ว "เราได้ทำทุกอย่างที่สามารถทำได้แล้ว" นายซามาราสกล่าว "เราไม่สามารถ ตั้งรัฐบาลได้ และผมได้คืนอำนาจไปแล้ว" นายซามาราส ซึ่งพรรคของเขาได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดจากการเลือกตั้ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้รับโอกาสแรกจากปธน.ปาปูลิอาสให้จัดตั้งรัฐบาล แต่ก็ได้ ยอมรับความล้มเหลวดังกล่าว พรรค Left Coalition ซึ่งได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 2 จากการเลือกตั้ง เมื่อวันอาทิตย์ ขณะนี้ได้รับโอกาสให้จัดตั้งรัฐบาลแล้ว โดยปธน.ปาปูลิอาสจะหารือกับ นายอเล็กซิส ซิปราส หัวหน้าพรรคในเวลา 17.00 น.ตามเวลาไทยวันนี้ ก่อนหน้านี้ ผู้นำพรรค Left Coalition ได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะ ร่วมรัฐบาลกับพรรค New Democracy และกล่าวว่า เขาจะพยายามตั้งรัฐบาลกับ พรรคฝ่ายซ้ายอื่นๆ "จะไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลปรองดองแห่งชาติเนื่องจากการลงนามของ นายซามาราสในข้อตกลงช่วยเหลือระหว่างประเทศไม่ได้นำมาซึ่งการกอบกู้ประเทศ แต่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรม" นายอเล็กซิส ซิปราส ผู้นำพรรค Left Coalition กล่าวหลังการหารือกับนายซามาราสเมื่อวานนี้--จบ--
โดย
wiss42
อังคาร พ.ค. 08, 2012 12:16 pm
0
1
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
> SPAIN:สเปนเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตหดตัวแรงสุดรอบ 3 ปีในเดือนเม.ย. มาดริด--2 พ.ค.--รอยเตอร์ ผลสำรวจระบุในวันนี้ว่า ภาคการผลิตของสเปนหดตัวลงรุนแรงที่สุด ในรอบเกือบ 3 ปีในเดือนเม.ย. ซึ่งบ่งชี้ว่าภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้น ในไตรมาสแรกของปีนี้อาจจะยังคงดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตสำหรับภาคการผลิต ร่วงลงสู่ระดับ 43.5 ในเดือนเม.ย.จาก 44.5 ในเดือนมี.ค. โดยเป็นการ ปรับตัวลงรุนแรงที่สุดเมื่อเทียบรายเดือนนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2009 ขณะที่ดัชนี อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 เป็นเวลาถึง 1 ปีแล้ว ซึ่งระดับดังกล่าวแบ่งแยกการ ขยายตัวและการหดตัว--จบ--
โดย
wiss42
พุธ พ.ค. 02, 2012 5:07 pm
0
1
172 โพสต์
of 4
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
wiss42
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
เสาร์ ธ.ค. 18, 2010 12:28 am
ใช้งานล่าสุด:
พุธ ก.พ. 17, 2016 8:25 pm
โพสต์ทั้งหมด:
299 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.02% จากโพสทั้งหมด / 0.06 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว