หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
iruma
Joined: จันทร์ ส.ค. 22, 2011 10:15 am
60
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - iruma
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: ปลั๊กหลุด
I never attempt to make money on the stock market. I buy on the assumption that they could close the market the next day and not reopen it for five years. Warren Buffett
โดย
iruma
ศุกร์ มิ.ย. 21, 2013 7:23 pm
0
3
Re: ฟรี! ระบบข้อมูลงบการเงินย้อนหลัง อัตราส่วนงบการเงิน และข
[email protected]
ขอบคุณครับ
โดย
iruma
จันทร์ มี.ค. 18, 2013 11:05 pm
0
0
Re: ถนนทุกสาย..มุ่งสู่ตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อย่าหวังรวยลัดจากตลาดหุ้น - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ปี 2546 คงจะต้องถูกจารึกว่าเป็นปีที่ตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนดีที่สุดปีหนึ่งในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้น เพราะดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นกว่า 100% จากดัชนีประมาณ 356 จุดเป็นประมาณ 772 จุดในวันสิ้นปี นักลงทุนทุกกลุ่มในตลาดต่างก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ บางคนกำไรหลายร้อยเปอร์เซ็นต์จากเงินที่นำมาลงทุนในหุ้น บางคนกำไรเพียงหลักสิบเปอร์เซ็นต์ ความดีใจและความภาคภูมิใจของนักลงทุนก็ลดหลั่นกันไปตามผลกำไรที่ได้รับเช่นเดียวกับความมั่นใจที่เกิดขึ้นจากการเล่นหุ้น หลายๆคนอาจจะเริ่มฝันว่า ได้พบหนทางสู่ความมั่งคั่งอย่างง่ายดายและรวดเร็ว บางคนเริ่มคิดถึงวันที่ตนเองจะมีอิสรภาพทางการเงินในไม่ช้า ทั้งๆที่เพิ่งจะเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ สิ่งที่คนจำนวนมากในตลาดหุ้นคิดและเชื่อกันในขณะนี้ก็คือ หุ้นเป็นทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก และถ้าทำโพลถามนักลงทุนว่า เขาคิดว่าตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเท่าไรในระยะยาว คำตอบคงเป็น 30 – 40% ต่อปีขึ้นไป โดยเฉพาะในปี 2547 นั้น หุ้นคงจะวิ่งกระฉูดไม่แพ้ปี 2546 เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่เอื้ออำนวยต่อตลาดหุ้นก็ยังคงอยู่ และน่าจะดีขึ้นด้วยซ้ำไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจที่เขาบอกกันว่าจะดียิ่งขึ้นไปอีก แต่ถ้าถามว่ามีนักลงทุนในตลาดหุ้นกี่คนที่ร่ำรวย หรือมีอิสระทางการเงินแล้วจากการลงทุนในตลาดหุ้น คำตอบก็คือ น้อยมาก แม้ว่าจะไม่มีใครทำการศึกษาเรื่องนี้ แต่ผมเชื่อว่าคนที่รวยจากการลงทุนหรือเล่นหุ้นจริงๆนั้น มีไม่เกิน 1 ใน 100 คนที่มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการลงทุน ผมคิดว่าคงมีพอสมควรหลังจากที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือไม่ต่ำกว่า 70 – 80% ของนักลงทุนนั้น ผมเชื่อว่ายังไม่ได้กำไรจากหุ้นเป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ ยกเว้นปี 2546 ที่ได้กำไรชดเชยมาบ้าง เพราะข้อเท็จของหุ้นก็คือ ในช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละประมาณ 10% เท่านั้น โดยเป็นผลตอบแทนที่เกิดจากการปรับตัวขึ้นของดัชนีประมาณ 7 – 8% และผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 2 – 3% ต่อปี และข้อมูลนี้ก็บังเอิญใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้นในสหรัฐที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 10 – 11% ต่อปี โดยเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 50 – 60 ปีขึ้นไป ข้อเท็จจริงต่อมาของตลาดหุ้นก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนมีการขึ้นลงผันผวนไปเรื่อยๆ แม้ว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจะเดินหน้าต่อเนื่องมายาวนานหลายสิบปี โดยที่มีน้อยครั้งมากที่เศรษฐกิจจะติดลบและเกิดวิกฤติ นานๆครั้งดัชนีตลาดก็จะตกต่ำลงอย่างหนักเป็นเวลา 2 – 3 ปี เช่นเดียวกับที่บางครั้งดัชนีก็ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงเป็นภาวะกระทิงเปลี่ยวอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ข้อสรุปที่ชัดเจนก็คือ ในระยะยาวตลาดไม่สามารถเติบโตเกิน 10 – 15% ต่อปี โดยเฉลี่ยได้ ด้วยเหตุดังกล่าว นักลงทุนที่คิดว่าตนเองจะสามารถลงทุนทำกำไรจากตลาดหุ้นได้ปีละ 30 – 40% หรือ บางคนคิดว่าจะสามารถกำไรเป็นเท่าตัวในปีเดียว จึงเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีมากเกินไป หรือไม่ก็คงประมาณการฝีมือการลงทุนของตนเองสูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งโอกาสที่จะไม่เป็นเช่นนั้นคงมีอยู่สูง ความผิดหวังจะตามมา และเมื่อถึงเวลานั้น ความคิดและภาพพจน์เกี่ยวกับตลาดหุ้นก็จะเปลี่ยนไป คนจะเลิกคิดว่าตลาดหลักทรัพย์เป็นแหล่งที่จะสามารถสร้างความมั่งคั่งที่รวดเร็วได้ และคนจำนวนมากก็จะออกจากตลาดหลักทรัพย์กลับไป “ทำมาหากิน” ตามเดิม นอกจากผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ได้สูงลิ่วอย่างที่หลายคนคิดแล้ว การจัดสรรเงินมาลงทุนในหุ้นสำหรับคนส่วนมากก็มักจะเป็นจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงลงทุนในหุ้นไม่เกิน 20 – 30% ของเม็ดเงินที่มี เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่ากำไรจากหุ้นจะเป็น 100% ในปีใดปีหนึ่ง แต่ถ้าเงินส่วนใหญ่อีก 70 – 80% กลับฝากอยู่ในธนาคารได้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปี ผลตอบแทนรวมก็จะได้เพียงประมาณ 21 – 31% เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำให้ได้อย่างรวดเร็ว ข้อสรุปของผมก็คือ เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับคนทั่วไปที่จะร่ำรวยจากตลาดหุ้น แม้ว่าในช่วงนี้หลายๆคนจะคิดว่าเป็นไปได้ไม่ยาก คนมักจะเอาสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้มาเป็นฐานในการมองไปข้างหน้า สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเพียงปีหรือสองปีมักจะมีอิทธิพลมากกว่าประวัติศาสตร์เกือบ 30 ปีที่ผ่านมาของไทย และประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นนับเป็น 100 ปีของตลาดหุ้นที่เจริญที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกา Value Investor ที่จะประสบความสำเร็จ ร่ำรวย และเป็นอิสระทางการเงินจากตลาดหุ้นได้นั้น ผมคิดว่าจะต้องมองตลาดหุ้นด้วยความเป็นจริง คาดหวังผลตอบแทนปีละไม่เกิน 15% โดยเฉลี่ยจากการลงทุนไม่ว่าภาวะแวดล้อมจะสดใสเพียงใด ไม่ควรลงทุนในหุ้นที่เก็งกำไรสูงแต่ควรซื้อหุ้นที่มีความปลอดภัยมากด้วยเม็ดเงินในสัดส่วนที่สูง อย่าฝากเงินในธนาคารซึ่งให้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปีมากนัก และสุดท้ายซึ่งหนีไม่พ้นก็คือจะต้องลงทุนในตลาดหุ้นยาวนานไม่ออกไปไหนถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร การลงทุนให้ประสบความสำเร็จจริงๆนั้น ไม่มีทางลัด และมันต้องการเวลา วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยพูดว่า “คุณไม่สามารถผลิตเด็กภายใน 1 เดือนโดยใช้ผู้ชาย 9 คนได้ เช่นเดียวกัน การลงทุนนั้นอย่าหวังรวยเร็ว ควรหวังรวยช้าแต่แน่นอนจะดีกว่า” คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โดย
iruma
อาทิตย์ ก.พ. 17, 2013 9:17 pm
0
5
Re: จิตสำนึกกับการลงทุน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
แนะนำหนังสือที่พูดถึง "ศีล5" ครับ ดังตฤณ : ผิดที่ไม่รู้ http://dungtrin.com/guilt/
โดย
iruma
จันทร์ ธ.ค. 10, 2012 1:59 pm
0
0
Re: ไฟล์เสียงงาน set in the city 2012
iWLbKAC4zQ4 L2dFoBHdXZc Recording Credit : ขอบคุณคุณ nameisnothing สำหรับไฟล์เสียง ออมหุ้นคุณค่าสไตล์ Value Investors ครับ SIi03e_bl5Q
โดย
iruma
จันทร์ พ.ย. 26, 2012 4:06 pm
0
6
Re: ไฟล์เสียงงาน set in the city 2012
efAZs5Lx-8s 32F_mrsPs_c ErysHs5adH4
โดย
iruma
จันทร์ พ.ย. 26, 2012 3:19 pm
0
7
Re: ไฟล์เสียงงาน set in the city 2012
ขอบคุณคุณ nameisnothing สำหรับไฟล์เสียงครับ
โดย
iruma
อาทิตย์ พ.ย. 25, 2012 10:25 pm
0
0
Re: ไฟล์เสียงงาน set in the city 2012
ผมไปมาวันเสาร์กับอาทิตย์ อัดเก็บไว้บางสัมมนา เดี๋ยวจะทยอยอัพโหลดให้นะครับ -"ติดอาวุธให้ VI :: ลงทุนอย่างไรให้ได้(หุ้น)คุณค่า" น.พ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ อุปนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวณิชย์ (หมอเค) นักลงทุนแบบเน้นคุณค่ารุ่นใหม่ คุณโสรัตน์ วณิชวรากิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพนเอเชีย อุตสาหกรรม จำกัด -เศรษฐกิจไทย56 Bubble หรือ Bloom คุณปีเตอร์ จอห์น แวนฮาเรน ประธานหอการค้าไทย-แคนาดา นักจัดรายการ FM96.5 คลื่นความคิด ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล นักวิชาการอิสระ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ -กลยุทธ์การลงทุนที่สร้างรายได้ แบบตลอดชีพ -"วางแผนรวยด้วยการลงทุน" ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้ประสบความสำเร็จในการลงทุนแบบเน้นคุณค่า คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย -เซียนรุ่นใหญ่ วิเคราะห์หุ้นไทย หยุด 1,300 หรือไป 1,700 คุณไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. ทิสโก้ คุณประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.กรุงศรี
โดย
iruma
อาทิตย์ พ.ย. 25, 2012 10:24 pm
0
4
Re: เรียนคณะอะไรดีครับ ถ้าเราต้องการจะใกล้ชิดเรื่องการลงทุน
วิชาลงทุน - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ถ้าถามว่า จะเป็นนักลงทุนที่เยี่ยมยอดจะต้องเรียนอะไร? คำตอบของคนจำนวนมากจะบอกว่า ต้องจบปริญญาบริหารธุรกิจโดยเฉพาะสาขาการเงิน เพราะหลักสูตรนี้ประกอบไปด้วยวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนที่จำเป็นทุกด้าน ไล่ตั้งแต่การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ การบริหารพอร์ตโฟลิโอ นอกจากนั้นยังสอนพื้นฐานของการทำธุรกิจอื่นๆทุกด้าน ตั้งแต่การตลาด การผลิต การบริหารงานบุคคล และกลยุทธ์อื่นๆของธุรกิจ ถ้าการลงทุนเป็นศาสตร์แบบเดียวกับวิศวกรรมหรือการแพทย์แล้วละก็ คำตอบก็น่าจะถูกต้อง เพราะคงเป็นเรื่องยากที่คนจบวิชาตบแต่งภายในจะมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบโครงสร้างตึก หรือคนจบนิเทศศาสตร์จะกลายเป็นหมอชื่อดัง แต่การลงทุนนั้นเป็นเรื่องของศาสตร์ไม่ถึงครึ่ง และศาสตร์ที่ใช้ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร ว่าที่จริง ผมคิดว่าคนที่เรียนจบระดับมัธยมถ้าตั้งใจจริง ก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ส่วนที่สำคัญกว่าและยากกว่าในเรื่องของการลงทุนนั้นเป็นศิลปะ และนี่คือส่วนที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างเซียนหุ้นกับนักลงทุนธรรมดา ปีเตอร์ ลินช์ เรียนจบปริญญาตรี ดูเหมือนจะทางด้านภาษา เช่นเดียวกับปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ เขาบอกว่า วิชาที่มีประโยชน์จริงๆต่อการลงทุนเป็นวิชาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และปรัชญา ส่วนวิชาการเงินและการลงทุนที่เขาเรียนมาในระดับปริญญาโท นอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้ว เขารู้สึกว่าทำให้เขาหลงทาง เข้าใจผิด ถึงขนาดบอกว่าคนที่เรียนวิชาเหล่านี้จะมีปัญหาที่จะต้องลบล้างสิ่งที่เรียนมา ถ้าต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน บิล มิลเลอร์ เซียนหุ้นระดับเดียวกับ ปีเตอร์ ลินช์ แม้จะดังน้อยกว่า เรียนจบมาทางด้านปรัชญา ซึ่งดูไปแล้วห่างจากเรื่องของการเงินและการลงทุนที่จะต้องพิจารณาถึงตัวเลข การคาดการณ์อนาคต การวิเคราะห์ในเรื่องของการแข่งขัน และการบริหารจัดการของบริษัทธุรกิจต่างๆ แต่ มิลเลอร์ กลับเป็นคนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดจากการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ล้วนๆ ชาร์ลี มังเจอร์ รองประธานของเบิร์กไชร์ และเพื่อนคู่หูของ บัฟเฟตต์ เรียนจบทางด้านกฎหมาย และเป็นนักกฎหมายมานานก่อนที่จะเข้ามาเป็นนักลงทุนเต็มตัว แต่เบื้องหลังจริงๆของเขานั้น เขาเป็น “นักศึกษา” ตัวยง เขาเรียนรู้วิชาต่างๆมากมาย ซึ่งน่าจะรวมไปถึงฟิสิกส์และปรัชญา เช่นเดียวกับสถิติและจิตวิทยา เขาบอกว่าการลงทุนที่จะประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยการสอดประสานของวิชาต่างๆ เช่นนำความคิดของฟิสิกส์มาประยุกต์รวมกับปรัชญา หรือ นำวิชาสถิติมาเกี่ยวข้องกับจิตวิทยา พูดโดยสรุปก็คือ ยิ่งคุณมีความรู้กว้างในศาสตร์และศิลป์ที่แตกต่างกันคนละเรื่องเลยมากเท่าไร คุณก็จะได้เปรียบในการลงทุนมากขึ้นเท่านั้น วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้นเรียนจบสายตรงมาทางด้านของธุรกิจและการลงทุน แต่อาจารย์ของเขาคือ เบน เกรแฮม ซึ่งถือเป็นบิดาแห่งการลงทุนแบบ Value Investment นั้น เป็นพหูสูตรในหลายๆเรื่อง เขาเป็นเซียนด้านคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษากรีก ละติน และดนตรี เรียนจบระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และถ้าจำไม่ผิด เขาเขียนบทละครเป็นงานอดิเรก สิ่งที่เซียนหุ้นดูเหมือนจะมีเหมือนๆกันหมดก็คือ คนเหล่านั้นมักเป็นนักอ่านตัวยง เป็นนักคิด หลายๆคนสนใจและเรียนเกี่ยวกับปรัชญา บางคนก็ชอบศึกษาประวัติศาสตร์ ทั้งหมดมีความรู้กว้างขวางในหลายๆสาขาวิชา ซึ่งส่วนหนึ่งก็คงจะมาจากนิสัยรักการอ่าน และดูเหมือนว่า “ความลึก” จะเป็นเรื่องรอง เห็นได้จากการที่เซียนหุ้นส่วนใหญ่มักจะมีมุมมองที่ “กว้าง” และมักจะหลีกเลี่ยงประเด็นที่ลึกและเข้าใจยาก วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยบอกว่า คุณไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นอัจฉริยะที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน และการลงทุนนั้น คุณไม่ต้องเรียนรู้ตัวอักษรกรีกในคณิตศาสตร์ประเภท เบตา ซิกมา ที่นักวิชาการใช้กัน ในความเห็นของผม วิชาพื้นฐานการลงทุนที่จะต้องเรียนรู้คงจะต้องมีเพื่อให้สามารถ “อ่าน” ธุรกิจออก ก็คือ วิชาบัญชีพื้นฐานและการวิเคราะห์การเงินพื้นฐาน ซึ่งหาหนังสือที่จะอ่านเองได้ไม่ยาก นอกจากนั้น คุณควรรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดหรือกลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจ ซึ่งมีหนังสือที่เขียนให้คนทั่วไปอ่านเข้าใจได้ไม่ยาก จากนั้น คุณก็สามารถอ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุน โดยเฉพาะหนังสือคลาสสิคหลายๆเล่มทางด้าน Value Investment เหล่านี้คือพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการลงทุน แต่จะทำได้ดีแค่ไหนผมคิดว่า ความ “กว้าง” ของความรู้ น่าจะมีส่วนมากกว่า การเรียน MBA ทางด้านการเงินนั้น แน่นอนว่ามันเป็นการปูพื้นฐานที่ครบครันในที่เดียว หรือเรียกว่า One Stop Service แต่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นในการที่จะประสบความสำเร็จจากการลงทุน นอกจากนั้น คุณจะต้องระวังว่า สิ่งที่สอนบางอย่างอาจจะทำให้คุณไขว้เขว และอาจทำให้คุณล้มเหลวจากการลงทุนได้ โดยเฉพาะถ้าคุณเชื่อตามที่นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อกันว่า ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพสูงสุด คุณไม่มีโอกาสชนะในการลงทุน ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องคิด วิชาลงทุน โลกในมุมมอง Value Investor ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร Source : http://www.sarut-homesite.net/2009/11/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B8%94%E0%B8%A3-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1/ นักลงทุนขาโจ๋ - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในช่วงนี้เรามักได้ยินหรือพบเห็นนักเล่นหุ้นหรือนักลงทุนที่มีอายุน้อยแต่มีพอร์ตหุ้นใหญ่โต เป็นนักลงทุนที่ Aggressive หรือ “ดุดัน” “กล้าได้กล้าเสีย” บางคนอาจจะใกล้เป็น “ขาใหญ่” หรือ “นักปั่น” ส่วนใหญ่ที่เป็นข่าวก็ดูเหมือนว่าจะประสบความสำเร็จสูงมาก และบางคนร่ำรวยอย่างไม่น่าเชื่อ ที่สำคัญ เขาเหล่านั้นมักไม่ได้ทำงานประจำที่เป็นลูกจ้างแต่ยึดอาชีพการลงทุนเป็นหลักตั้งแต่อายุอาจจะไม่ถึง 30 ปี ในแวดวงของนักเล่นหุ้นหรือนักลงทุน คนเหล่านี้อาจจะเป็นฮีโร่หรือเป็นแบบอย่างที่คนอยากเป็น อยากเลียนแบบ และมักเป็นที่อิจฉาของนักเล่นหุ้นหรือนักลงทุนอื่นที่ยัง “ไม่ประสบความสำเร็จ” คำถามก็คือ การลงทุนซื้อขายหุ้นนั้นเป็นศาสตร์หรือศิลป์ที่เราควรเริ่มต้นทำตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น ตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัยหรือไม่? และ เราควรเป็นนักลงทุน “มืออาชีพ” คือลงทุนเป็นหลักตั้งแต่เรียนจบหรืออายุยังไม่ถึง 30 ปีหรือไม่? การลงทุนจะเหมือนกับการเล่นกีฬาหรือการเป็นศิลปินอื่นหรือเปล่าที่คนที่จะประสบความสำเร็จจะต้องเริ่มตั้งแต่อายุน้อย ยิ่งน้อยเท่าไรก็ยิ่งดีหรือเปล่า? คำตอบของผมก็คือ ประการแรก คนที่จะสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นนักลงทุนอาชีพตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัยหรือตั้งแต่อายุไม่ครบ 30 ปีนั้น ผมคิดว่าทางบ้านจะต้องค่อนข้างมีฐานะดีและพร้อมที่จะเอาเงินมาให้เราลงทุนอย่างน้อยต้องเป็นหลักล้านหรือหลายล้านบาทได้ ความเห็นของผมก็คือ ทางบ้านจะต้อง “รวย” คือน่าจะมีเงินเป็นหลัก 20-30 ล้านบาทขึ้นไปอยู่แล้วก่อนที่เราจะได้สิทธิที่จะลงทุนเป็นอาชีพตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะผมคิดว่า ถ้าคุณมีเงินลงทุนไม่พอในตอนแรก ผลตอบแทนการลงทุนที่ได้นั้น แม้ว่าจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงมาก แต่โอกาสที่เม็ดเงินจะมากพอให้คุณอยู่ได้และร่ำรวยเพิ่มขึ้นนั้นค่อนข้างจะยากมาก ดังนั้น การทำงานกินเงินเดือนน่าจะได้เงินมากกว่าการที่จะให้เงินที่มีอยู่น้อยไป “ทำงาน” แทนเรา ดังนั้น กลยุทธ์ที่จะเป็นนักลงทุนอาชีพตั้งแต่อายุยังน้อยนั้น น่าจะเป็นเรื่องของคนที่มีพ่อแม่ค่อนข้างรวยหรือรวยมาก ไม่ใช่เรื่องของคนที่มีพ่อแม่เป็นคนจนหรือคนชั้นกลางที่มีเงินแค่พอกินพอใช้ เรื่องที่สองก็คือ การลงทุนเป็นสิ่งที่ต้องเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่อายุยังน้อยหรือไม่เพื่อที่จะเก่งและประสบความสำเร็จ? ข้อนี้เราต้องมาดูว่าการลงทุนนั้นต้องอาศัยทักษะอะไรและมันคล้าย ๆ กับกีฬาหรือดนตรีหรืองานศิลป์อย่างอื่นที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือไม่? คำตอบของผมก็คือ การลงทุนนั้น มันอาจจะเป็นศิลปะสัก 70% และอาจจะเป็นวิทยาศาสตร์สัก 30% แต่คำว่าศิลปะนั้นไม่ใช่ศิลปะของการใช้ร่างกายที่จะต้องฝึกฝนตั้งแต่อายุยังน้อยมาก แต่มันเป็นเรื่องของศิลปะในการใช้ศาสตร์ต่าง ๆ เกือบทั้งหมดในโลกนี้โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคนและเศรษฐกิจมาประกอบกัน ดังนั้น ศิลปะของการลงทุนเองจริง ๆ นั้นไม่มีหรือมีน้อยมาก ด้วยเหตุดังกล่าว ผมเชื่อว่า ถ้าเราเข้าห้องค้าหุ้นตั้งแต่อายุน้อยมากและวัน ๆ เอาแต่ “ศึกษา” จากการซื้อขายหุ้น เราจะไม่มีหรือไม่ได้ “ศิลปะในการลงทุน” ซึ่งอันนี้จะแตกต่างจากเด็กที่เข้าห้องและซ้อมเปียโนทั้งวันหรืออยู่ในสนามกอล์ฟมาแทบจะชั่วชีวิตในวัยเด็ก ผมคิดว่า การเรียนรู้เรื่องการลงทุนนั้น แน่นอน ยิ่งเรียนรู้เร็วก็ยิ่งมีทักษะมากขึ้น แต่ทักษะการลงทุนนั้น ส่วนใหญ่แล้วเราก็เรียนในห้องเรียนอยู่แล้ว มันคือวิชาการที่เรียกว่า Liberal Arts ซึ่งก็คือวิชาที่เรารู้สึก “น่าเบื่อ” ทั้งหลาย เช่น ประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคม จิตวิทยา และเศรษฐศาสตร์ อะไรเหล่านี้ ประเด็นของผมก็คือ การเรียนรู้เรื่องของการลงทุนนั้น เราควรเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อยด้วยเหตุผลสำคัญที่ไม่ใช่เรื่องของผลตอบแทนทางการเงิน แต่เป็นเรื่องของการที่เราจะได้มี “แกน” ที่จะทำให้เราศึกษาวิชาการต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมายและทิศทางชัดเจน นั่นก็คือ ถ้าเราไม่ลงทุนเลย เราก็อาจจะไม่รู้ว่าจะศึกษาประวัติศาสตร์ไปทำไม หรือเศรษฐศาสตร์มันเกี่ยวข้องอะไรกับหุ้น การที่เราลงทุน มีการได้เสียอยู่จะเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เราอ่าน คิด และศึกษา เรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม และนี่จะเป็นประโยชน์และสร้างทักษะการลงทุนโดยที่เราไม่รู้ตัว ด้วยเหตุดังกล่าว ผมจึงสนับสนุนให้เริ่มลงทุนตั้งแต่อายุน้อย สำหรับคนที่ทางบ้านไม่รวย ผมคิดว่าควรเริ่มการลงทุนเมื่อเรียนจบและมีงานทำมีรายได้ของตนเองแล้ว การใช้เงินของทางบ้านเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะถ้าเกิดความเสียหายจะทำให้ภาพของการเป็นนักลงทุนเสียหายตั้งแต่แรก สำหรับคนที่ทางบ้านร่ำรวย ผมเองคิดว่าการลงทุนตั้งแต่ยังเรียนก็น่าจะทำได้ แต่ไม่ควรเริ่มก่อนประมาณปีสามหรือปีสี่ในมหาวิทยาลัยและเป็นการใช้เงินจำนวนน้อยเป็นหลักแสนบาทเท่านั้นเพื่อเรียนรู้กระบวนการในการซื้อขายและตลาดหุ้น การลงทุนเป็นเรื่องเป็นราวควรจะเป็นหลังจากเรียนจบแล้ว ประเด็นสำคัญก็คือ ถ้าที่บ้านรวยพอ เราควรเป็น “นักลงทุนอาชีพ” ตั้งแต่อายุยังน้อยหรือไม่? นี่เป็นคำถามที่ค่อนข้างยากที่จะตอบ คนที่ทางบ้านรวยมากบางคนอาจจะคิดว่าการทำงานเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนเดือนละหมื่นสองหมื่นบาทนั้น ดูไปแล้วแทบไม่มีความหมายเลยเมื่อเทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้นที่เขาอาจจะได้เป็นแสนเป็นล้านบาทในเวลาอันสั้นจากเม็ดเงินที่ทางบ้านให้มาและเขาพร้อมที่จะเล่นอย่าง “ดุดัน” เพราะสำหรับเขาแล้ว เขาเสี่ยงได้ ถ้าพลาดก็ขอใหม่ หรือในกรณีเลวร้ายที่สุด เขาก็ไปหางานอะไรก็ได้ทำแม้ว่างานนั้นจะไม่ท้าทายหรือสนุกเหมือนกับการลงทุนหรือเล่นหุ้น ในกรณีแบบนี้ ผมเองไม่เห็นด้วย เพราะดูเหมือนว่าการลงทุนจะกลายเป็นข้ออ้างของคนที่ขี้เกียจทำงาน และโอกาสที่เขาจะประสบความสำเร็จก็มักจะน้อย คนที่จะเป็นนักลงทุนอาชีพเต็มตัวตั้งแต่อายุยังน้อยนั้น ผมคิดว่าเขาควรพิสูจน์ว่าตนเองมีความสามารถในการลงทุนเพียงพอและมีเม็ดเงินที่มากพอทำให้เขามีอิสระทางการเงินแล้ว คำว่ามีความสามารถเพียงพอนั้น หมายความว่าผลตอบแทนในการลงทุนของเขาสูงพอ อย่างน้อยปีละ15% ทบต้นอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไปโดยที่เม็ดเงินที่ใช้ลงทุนมากพอ อย่างน้อยอาจจะต้องเป็น 10 ล้านขึ้นไป และการลงทุนของเขามีการป้องกันความเสี่ยง เช่นมีการกระจายการลงทุนเพียงพอ นอกจากนั้น ผลตอบแทนการลงทุนปีต่อปีก็ควรจะไม่ผันผวนเกินไป ประเภทกำไรบางปีเป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่บางปีขาดทุน 40-50% แบบนี้ก็แสดงว่าผลตอบแทนอาจจะเกิดจากความบังเอิญมากกว่าฝีมือ ถ้าทำได้แบบนี้ ผมคิดว่า การเป็นนักลงทุนอาชีพก็เป็นสิ่งที่เหมาะสม โดยสรุปแล้ว นอกเหนือจากเงื่อนไขเฉพาะสำหรับบางคน ผมคิดว่า เราไม่ควรเป็นนักลงทุนอาชีพตั้งแต่อายุน้อย ความจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาเพื่อศึกษาวิชาการลงทุนนั้นมีน้อย นั่นคือ เราศึกษาการลงทุนได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนักลงทุนอาชีพ วิธีที่ดีกว่าสำหรับคนทั่วไปก็คือ เริ่มลงทุนตั้งแต่อายุน้อยและศึกษาการลงทุนพร้อม ๆ กับการทำงานประจำอื่น ๆ จนถึงวันที่เรามีเงินมากพอและเรามั่นใจในความสามารถของเราแล้ว ถึงวันนั้นเราอาจจะอยากเป็นนักลงทุนอาชีพที่ชีวิตมีอิสรเสรีและมีความสุขกว่าการทำงานประจำที่เราไม่ชอบ การเป็นนักลงทุนอาชีพ “ขาโจ๋” ไม่ได้รับประกันว่าจะทำให้เราเก่งกว่าคนอื่นที่เริ่มอาชีพการลงทุนทีหลังหลังจากเป็นนักลงทุน “สมัครเล่น” มานาน Source : http://portal.settrade.com/blog/nivate/2008/05/21/272
โดย
iruma
อาทิตย์ พ.ย. 04, 2012 9:50 pm
0
1
Re: Executive Talk @ Maruey หัวข้อ “ลงทุนในแบบที่ใช่...สไตล์
YXyUTJuMMMo
โดย
iruma
เสาร์ ต.ค. 20, 2012 9:24 pm
0
13
Re: Executive Talk @ Maruey หัวข้อ “ลงทุนในแบบที่ใช่...สไตล์
"ลงทุนในแบบที่ใช่...สไตล์ VI" , (P'Web & P'Lin 18.10.12) [youtube]http://www.youtube.com/watch?v=YXyUTJuMMMo[/youtube]
โดย
iruma
เสาร์ ต.ค. 20, 2012 9:23 pm
0
0
Re: สารคดีชีวิตสัตว์โลก :: กลยุทธ์ถัวเฉลี่ย
“A market downturn, doesn't bother us. For us and our long term investors, it is an opportunity to increase our ownership of great companies with great management at good prices. Only for short term investors and market timers is a correction not an opportunity." - Warren Buffett
โดย
iruma
จันทร์ ก.ย. 10, 2012 9:58 pm
0
0
Re: ฟรี ! แบ่งปันสรุปหุ้นรายตัว ย้อนหลัง 15 ปี ง่าย
ขอไปศึกษาด้วยคนครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
[email protected]
โดย
iruma
อาทิตย์ ก.ย. 09, 2012 9:41 pm
0
0
Re: แท้จริงแล้ว หุ้นเคลื่อนไหวด้วยอะไร?
ที่มาของราคาหุ้น 17 มิถุนายน 2545 หนังสือ เซียนหุ้นมือทอง คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ราคาหุ้นที่เราเห็นเสนอซื้อเสนอขายกันทุกวันมีราคาขึ้นลงจนไม่น่าเชื่อว่านี่คือมูลค่าของธุรกิจหรือบริษัทมหาชนที่ผลิตและขายสินค้าตามปกติทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นไปได้อย่างไรว่าธุรกิจที่ดำเนินการมาอย่างมั่นคง มียอดขายและกำไรสม่ำเสมอ จะมี ”ราคา” เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว บางครั้งลดลงจนมีราคาถูกอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ภายในเวลาไม่กี่เดือนราคากลับเปลี่ยนเป็นแพงจนไม่น่าเป็นไปได้ ราคาหุ้นมาจากอะไรกันแน่ ? เบน เกรแฮม ปรมาจารย์เจ้าตำรับ Value Investing บอกไว้ว่าราคาหุ้นนั้นมาจากองค์ประกอบสามประการ องค์ประกอบแต่ละด้านมีผลต่อราคาหุ้นที่เราเห็นและทำให้ราคาหุ้นขึ้นลงไม่สอดคล้องกับมูลค่าที่มันควรจะเป็นในระยะสั้น องค์ประกอบเหล่านี้ ได้แก่ องค์ประกอบของมูลค่าที่แท้จริง หรือที่นักวิชาการการเงินเรียกว่า Intrinsic Value องค์ประกอบเหล่านี้ที่สำคัญได้แก่กำไรของกิจการซึ่งถือว่าเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนราคาหุ้น เซียนหุ้นแนว Value หลายคนถึงกับบอกว่าในระยะยาวแล้ว ราคาหุ้นกับกำไรของกิจการต้องไปด้วยกันเสมอ ไม่มีทางเป็นอื่น เพราะฉะนั้น ถ้าท่านมั่นใจว่าบริษัทไหนจะมีกำไรมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต ก็ซื้อหุ้นของบริษัทนั้นได้เพราะในระยะยาว ราคาหุ้นต้องขึ้นไปเสมอ แม้ว่าในระยะสั้นราคาอาจจะไม่ขยับหรือบางทีอาจจะลดลงด้วยซ้ำ องค์ประกอบของมูลค่าที่แท้จริงที่สำคัญตัวต่อมาก็คือ ด้านของฐานะการเงินนั้นก็คือเรื่องของทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ ทรัพย์สินที่หักด้วยหนี้สินแล้วทรัพย์สินสุทธินี้เป็นพื้นฐานหรือราคาขั้นต่ำของราคาหุ้น นั่นก็คือราคาหุ้นที่ซื้อขายกันไม่ควรจะต่ำกว่านี้ ถ้าเราเห็นหุ้นตัวไหนราคาตกลงมามากเหลือเกินจนต่ำกว่าทรัพย์สินทุทธิ เราสามารถเข้าไปซื้อหุ้นได้โดยไม่ต้องสนใจว่ากิจการจะดีหรือไม่เพราะในที่สุดราคาจะต้องปรับตัวขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เซียนหุ้นน้อยคนจะใช้แนวทางนี้ ยกเว้นว่าราคาจะต่ำกว่าทรัพย์สินสุทธิมากจริงๆ จนคุ้มที่จะรอ องค์ประกอบด้านพื้นฐานตัวสุดท้ายที่จะพูดถึงในที่นี้ก็คือเรื่องของปันผลซึ่งก็เป็นตัวสำคัญในการกำหนดราคาหุ้นในสายตาของ Value Investor เพราะปันผลนั้นเป็นผลตอบแทนที่มีความแน่นอนกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น กฏง่ายๆของผมก็คือ ถ้าเรามั่นใจว่าปันผลของบริษัทไม่น่าจะลดลงและคิดแล้วเท่ากับ 5% ต่อปีขึ้นไป การซื้อหุ้นตัวนั้นก็น่าจะปลอดภัยเพราะเป็นผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคารมาก ราคาของหุ้นน่าจะยืนอยู่ได้ องค์ประกอบกลุ่มที่สองที่เป็นตัวกำหนดราคาหุ้น ก็คือองค์ประกอบของมูลค่าในอนาคต หรือ Future Value ซึ่งหลายคนอาจจะเรียกว่า Growth หรือการเจริญเติบโตของธุรกิจในอนาคต องค์ประกอบในกลุ่มของมูลค่าในอนาคตนี้ ตัวสำคัญได้แก่โอกาสที่ธุรกิจจะมียอดขายสินค้ามากขึ้น ราคาสินค้าปรับตัวขึ้นหรือต้นทุนในการดำเนินงานลดลง ซึ่งจะมีผลทำให้กำไรในอนาคตปรับตัวสูงขึ้นกว่าพื้นฐานเดิมหรือเรียกว่ากิจการมีการเจริญเติบโตขึ้น นอกจากการเจริญเติบโตแล้ว องค์ประกอบของมูลค่าในอนาคตของกิจการยังประกอบด้วยภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมและอนาคตของบริษัทด้วยว่ามีความสดใสมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นธุรกิจที่อิ่มตัวหรือการแข่งขันจากทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศรุนแรงมาก มูลค่าในอนาคตของบริษัทก็ลดลง ตรงกันข้ามถ้าภาวะธุรกิจยอดเยี่ยม คู่แข่งน้อยลง ความต้องการสินค้าในตลาดสูงขึ้น และบริษัทอยู่ในฐานะได้เปรียบคู่แข่งขัน มูลค่าในอนาคตก็มากขึ้น ตัวสุดท้ายของมูลค่าในอนาคตที่น่าสนใจมากก็คือเรื่องของผู้บริหารของบริษัทว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถและมีชื่อเสียงดีมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะในด้านของการดูแลบริษัทและผู้ถือหุ้นรายย่อยที่เรียกว่าบรรษัทภิบาล มีการศึกษาและพูดกันว่าบรรษัทภิบาลที่ดีสามารถเพิ่มราคาหุ้นได้ถึง 20 หรือ 25 % ข้อเท็จจริงคงพิสูจน์ได้ยากแต่ผมมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นตืว่าผู้บริหารที่ซื่อสัตย์สุจริตมีค่ามหาศาลต่อมูลค่าหุ้นของบริษัท และโดยส่วนตัวผมจะหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ผู้บริหารไม่น่าไว้วางใจ องค์ประกอบกลุ่มสุดท้ายที่มีส่วนในการกำหนดราคาหุ้นค่อนข้างมากโดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทยก็คือ องค์ประกอบทางด้านตลาดหรือ Market Factor นี่คือองค์ประกอบที่ไม่ได้เกี่ยวกับตัวกิจการหรือพื้นฐานของธุรกิจแต่เป็นเรื่องของภายนอกที่ขับเคลื่อนราคาหุ้นให้ขึ้นลงได้อย่างรุนแรงและรวดเร็วคล้ายๆ กับคลื่นในทะเล และในบางครั้งเหมือนฟองสบู่ องค์ประกอบด้านตลาดตัวแรกที่จะพูดถึงก็คือเรื่องของจิตวิทยาของนักลงทุน ถ้านักลงทุนมีความรู้สึกมั่นใจว่าตลาดหุ้นกำลังขึ้นก็จะเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่เมื่อไรที่นักลงทุนรู้สึกว่าตลาดกำลังตก คนก็จะเทขายหุ้นทำให้ราคาตกลงมาทั้งๆ ที่หุ้นจำนวนมากมีพื้นฐานเหมือนเดิมเช่นเดียวกัน การวิเคราะห์ทางเทคนิคก็มีส่วนกำหนดราคาหุ้นได้เช่นเดียวกัน เช่น เวลาที่หุ้นปรับตัวขึ้นไปสูงอย่างรวดเร็วมาก บางทีนักลงทุนก็มองว่าราคาหุ้นในขณะนั้นจะยืนอยู่ไม่ได้ต้องปรับตัวลงมา “ทางเทคนิค” หรือในกรณีหุ้นหรือตลาดปรับตัวลงมาต่ำมาก จนต่ำกว่า “แนวรับทางเทคนิค” หุ้นนั้นก็น่าจะปรับตัวขึ้น สุดท้ายขององค์ประกอบทางด้านการตลาดที่มีส่วนในการกำหนดราคาหุ้นมหาศาลก็คือเรื่องของการปั่นหุ้นซึ่งเป็นวิธีที่นักเล่นหุ้นรายใหญ่ใช้ในการ “ปั่น” ให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นไปอย่างผิดธรรมชาติ เพื่อขายหุ้นราคาต่ำที่ตนเองซื้อไว้ก่อนหน้านั้น การปั่นหุ้นเป็นเรื่องที่ผิดกฏหมาย แต่โดยทั่วไปแล้วการที่จะจับคนปั่นหุ้นนั้นเป็นเรื่องที่ยากจนแทบเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าคนที่ปั่นได้ศึกษากฏหมายและรู้เรื่องของการซื้อขายหุ้นเป็นอย่างดี หุ้นที่ขึ้นไปจากการปั่นราคานั้นในไม่ช้าราคาก็จะตกกลับมาอยู่ที่เดิมเช่นเดียวกับหุ้นที่ขึ้นลงตามเทคนิคและจิตวิทยา แม้ว่าระยะเวลาจะแตกต่างกันไป ในทัศนะของเบน เกรแฮม แล้ว การลงทุนจะต้องพิจารณาจากองค์ประกอบทางด้านพื้นฐานและองค์ประกอบของมูลค่าในอนาคตในขณะที่การเก็งกำไรจะพิจารณาจากองค์ประกอบด้านมูลค่าในอนาคตและองค์ประกอบด้านตลาดเป็นหลัก ถ้าจะสรุปให้ชัดเจนก็คือ องค์ประกอบของมูลค่าที่แท้จริงหรือทางด้านพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งที่มั่นคง โอกาสผิดพลาดน้อย คนที่ลงทุนด้วยองค์ประกอบนี้ขาดทุนยาก องค์ประกอบด้านมูลค่าในอนาคตหรือการเจริญเติบโตนั้นถึงจะมีส่วนในการกำหนดราคาหุ้นมาก แต่ความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง ถ้าสามารถคาดการณ์ได้หรือมีวิสัยทัศน์ที่แหลมคม โอกาสทำกำไรก็สูง และสุดท้ายคือองค์ประกอบด้านตลาดซึ่งมีความไม่แน่นอนสูงมาก และต้องการการติดตามใกล้ชิด โอกาสที่จะทำกำไรในบางขณะก็มีสูงมาก แต่โดยเฉลี่ยแล้วนักเล่นหุ้นจะไม่ได้กำไรจากวิธีการนี้ยกเว้นว่าจะเป็น “เจ้ามือ” คือคนปั่นหุ้นเอง
โดย
iruma
อาทิตย์ ส.ค. 05, 2012 2:15 pm
0
2
Re: ค้นฟ้าคว้าดาว/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
กระบวนการค้นหาหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วิธีหาหุ้นที่จะเล่นหรือลงทุนของนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นนั้นผมเชื่อว่าหาจากกระดานหุ้น นั่นก็คือดูว่าถ้าหุ้นตัวไหนกำลังมีราคาปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหรือกำลัง “วิ่ง” และมีคนสนใจซื้อขายหรือ “เล่น” กันมาก เขาก็จะเข้าไปร่วมซื้อขายด้วย บางคนเรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า “แมงเม่า” คือพอ “ไฟติด” ก็จะแห่กันเข้ามาเล่นโดยไม่ต้องรู้ว่าบริษัทนั้นทำอะไร มียอดขายหรือกำไรเท่าไร ว่าที่จริง รู้ไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะเขาซื้อเพื่อที่จะขายในอีกไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า หรือไม่ก็พรุ่งนี้หรือไม่เกิน 3-4 วัน คนอีกจำนวนไม่น้อย เมื่อเห็นกิจกรรมข้างต้นเขายังไม่ผลีผลามเข้าไปร่วมวงเพราะกลัว “ติดกับ” ของ “ขาใหญ่” หรือ “นักปั่น” ดังนั้นเขาศึกษาหาความรู้ เฉพาะอย่างยิ่ง จากหนังสือพิมพ์ธุรกิจและหนังสือวารสารเกี่ยวกับหุ้น อ่านข่าวต่าง ๆ คอมเม้นต์ทั้งหลายเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้น รวมถึงการศึกษาจากบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ ถ้าพบว่าข้อมูลส่วนใหญ่สนับสนุนว่าเป็นหุ้นที่น่าลงทุนเขาถึงจะเข้าไปเล่น แต่ถ้าหากว่าภาพออกมาเป็นหุ้นปั่นหรือหุ้นเก็งกำไร เขาก็จะถอยหรือไม่ก็รอดูจังหวะที่จะเข้าเมื่อเวลาเหมาะสม ซึ่งรวมถึงการที่หุ้นร้อนเหล่านั้นตกลงมา “ต่ำสุด ๆ” ด้วยเหตุผลบางอย่างซึ่งเขาอาจเข้าไปช้อนเพื่อขายทำกำไรระยะสั้น ๆ คนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งน่าจะรวมถึงนักลงทุนสถาบันทั้งหลาย นอกจากจะศึกษาติดตามข้อมูลตามวรรค 2 แล้วก็ยังเจาะลึกเข้าไปถึงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน ผลิตภัณฑ์ และผู้บริหารของบริษัท เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าหุ้นเป้าหมายที่จะลงทุนนั้นมีคุณสมบัติที่เหมาะสมและราคาไม่แพงเกินไป การลงทุนซื้อขายหุ้นของคนกลุ่มนี้ต้องการจะอิงพื้นฐานของกิจการ และไม่ใช่การเก็งกำไร แต่ต้องการถือหุ้นที่เป็นการลงทุนระยะปานกลางถึงยาว ความหมายของเขาก็คือเป็นเดือน ๆ แต่ก็พร้อมจะขายทำกำไรทุกเมื่อถ้าได้กำไรในระดับ 10-20% และก็พร้อมจะขายตัดขาดทุนเหมือนกันถ้าหุ้นตกเพราะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป คนกลุ่มเล็ก ๆ อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งน่าจะเรียกว่า Value Investor ได้ ชอบที่จะหาหุ้นโดยมองจากผลประกอบการและฐานะการเงินของบริษัท เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ถ้าบริษัทมีกำไรโตพรวด มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง และมีการจ่ายปันผลในอัตราที่ดีหรือดีมากเมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่ซื้อลงทุน ก็จะได้รับความสนใจอย่างสูง และถ้าหากราคาที่วัดโดยค่า PE ค่อนข้างต่ำด้วยละก็ ใช่เลย! เรื่องของราคาหุ้นหรือสภาพคล่องในการซื้อขายแทบจะไม่ใช่ประเด็นด้วยซ้ำสำหรับหลาย ๆ คนในกลุ่มนี้ เพราะเขาพร้อมที่จะถือยาวในระดับ 1-2 ปีขึ้นไปเพื่อรอกินปันผลโดยไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ผมเองไม่สนับสนุนวิธีการมองหาหุ้นจากตัวเลข ไม่ว่าจะหาจากกระดานหุ้นหรือจากงบกำไรขาดทุนของบริษัท แม้ว่าตัวเลขอาจจะเป็นจุดที่ “สะกิดใจ” ให้เริ่มสนใจและหาข้อมูลต่อ แต่การใช้ตัวเลขเป็นเครื่องมือในการสรุปว่าจะซื้อหุ้นหรือไม่นั้นผมคิดว่าไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในการลงทุนระยะยาวผมคิดว่าปัจจัยทางด้านคุณภาพมีความสำคัญเท่า ๆ กับหรือมากกว่าปัจจัยเชิงปริมาณ ดังนั้น ผมคิดว่าวิธีในการมองหาหุ้นที่จะลงทุนน่าจะมาจากปัจจัยเชิงคุณภาพ ปัจจัยทางด้านของแนวความคิดเชิงพรรณนา ส่วนตัวเลขต่าง ๆ นั้น เป็นขั้นตอนต่อไปที่จะต้องดูเพื่อที่จะช่วยยืนยันว่าความคิดหรือปัจจัยทางด้านคุณภาพนั้นน่าจะถูกต้อง ดังนั้นเวลาคิดจะหาหุ้นลงทุน ผมจึงมักจะเริ่มมองจากตัวอุตสาหกรรม ตัวสินค้า การแข่งขันของธุรกิจในอุตสาหกรรม วิธีทำเงินของธุรกิจนั้น เสร็จแล้วก็ดูว่าใครคือ “ผู้ชนะ” และชัยชนะนั้นค่อนข้างมั่นคงต่อเนื่องยาวนานหรือไม่ จากนั้นจึงมาดูตัวเลขการทำกำไรและฐานะการเงิน รวมถึงบรรษัทภิบาลของผู้บริหารบริษัท สุดท้ายก็คือเรื่องของราคาหุ้นว่าเหมาะสมไหม ซึ่งรวมถึงการดูค่า PE PB และ Market Cap หรือมูลค่าตลาดของหุ้นทั้งบริษัท และสุดท้ายจริง ๆ ถ้าจะดูก็คือ กิจกรรมของการซื้อขายหุ้นจริง ๆ บนกระดาน ซึ่งผมมักจะหวังที่จะได้เห็นหุ้นที่นิ่ง ๆ ไม่ค่อยมีคนสนใจ และโบรกเกอร์ไม่ค่อยได้ติดตาม เพราะผมอยากเป็นคนแรก ๆ ที่เห็นคุณค่าของมันก่อนที่ตัวเลขเชิงปริมาณของบริษัทจะออกมาและดึงดูดให้คนอื่น ๆ เข้ามาเล่น ข้อสรุปในการค้นหาหุ้นที่จะลงทุนระยะยาวของผมก็คือ การทำสวนทางกับคนส่วนใหญ่ นั่นคือผมให้ความสำคัญกับตัวสินค้าหรือบริการและฐานะทางการตลาดของบริษัทก่อนผลกำไรหรือฐานะทางการเงิน ในขณะที่คนจำนวนมากชอบมองตัวเลขและซื้อขายหุ้นโดยอิงตัวเลขเป็นหลัก ผมคิดว่าความแตกต่างในแนวความคิดคงจะมาจากระยะเวลาเป้าหมายของการลงทุน เพราะในขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่า 1 ปีเป็นเวลาที่ยาวมาก ผมกลับคิดว่า 1 ปีคือระยะสั้น ขณะที่ระยะยาวแปลว่าต้องประมาณ 5 ปีขึ้นไป ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือคนจำนวนมากไม่สามารถทำความเข้าใจกับตัวผลิตภัณฑ์ได้ จึงมักมองที่ตัวเลข ผมเองก็ไม่ได้รู้จักกับผลิตภัณฑ์มากมายโดยเฉพาะที่เป็นวัตถุดิบหรือสินค้าอุตสาหกรรม ดังนั้นผมจึงมักเลือกลงทุนในสินค้าที่อยู่ใกล้ตัวที่ผมรู้จักดีโดยเฉพาะเป็นสินค้าที่ผมสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน source : http://www.mfcwebactivity1.com/www/team/trilogy/good_text08.htm
โดย
iruma
เสาร์ ก.ค. 14, 2012 8:46 pm
0
1
Re: ความสุข-และความทุกข์-ของการเล่นหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรว
สิ่งเสพติดที่เรียกว่าหุ้น - ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร คนที่จะเข้ามาลงทุนหรือซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้น ผมคิดว่าควรที่จะต้องทำความเข้าใจตั้งแต่แรกว่า กิจกรรมการลงทุนหรือเล่นหุ้นนั้นมีโอกาสที่จะทำให้คุณ “ติด” ได้ เพราะธรรมชาติของมันนั้นมีลักษณะของการ “เสพติด” และถ้าคุณไม่รู้ตัว ทำกิจกรรมนี้อย่างไม่ถูกต้อง คุณอาจจะประสบกับหายนะได้ คำว่าเสพติดในความหมายของผมนั้น ไม่ใช่เฉพาะยาหรือสิ่งเสพติดที่เรานำเข้าสู่ร่างกายและทำให้ร่างกายต้องการอยู่เสมอเท่านั้น แต่มันรวมถึงกิจกรรมที่ทำให้สมองหรือจิตใจของเรามีความสุขและเรียกร้องที่จะต้องทำอยู่เสมอ การติดอะไรบางอย่างนั้นไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร ว่าที่จริง ผมคิดว่าคนทุกคนจะต้องติดหรือเสพอะไรบางอย่างที่ทำให้ติดและมักจะต้องทำอยู่เสมอ ผมเองเคยติดอะไรมานับไม่ถ้วน ช่วงหนึ่งเคยบ้าเล่นหมากรุกก็เล่นทั้งวันไม่กินข้าวปลาอาหารตามเวลา ระยะนี้ก็บ้าดื่มชาเขียววันละ 2 ขวดจนต้องชงดื่มเอง และที่ต้องทำติดต่อกันมานานนับสิบปีก็คือการจ็อกกิ้งซึ่งต้องเรียกว่าติด เพราะถ้าไม่ทำจะรู้สึกหงุดหงิด เขาบอกว่าการออกกำลังกายทำให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดฟินซึ่งเป็นฝิ่นธรรมชาติที่ทำให้เราติด แต่สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย กลับดีด้วยซ้ำไป กิจกรรมที่ผมคิดว่าทำให้คนติดได้มากที่สุดอย่างหนึ่งก็คือการพนันซึ่ง แน่นอน รวมไปถึงหวยและล็อตเตอรี่ซึ่งคนจำนวนเป็นล้าน ๆ ทั่วประเทศติดกันงอมแงม วันออกล็อตเตอรี่กิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะตามสถานที่ทำงานที่มีคนติดหวยมาก ๆ แทบจะสะดุดหยุดลงเพื่อรอฟังผลการออกสลาก แต่สิ่งที่เลวร้ายที่สุดมักเกิดกับ “สิงห์การพนัน” ที่ติดการพนันขนาดที่ต้องเล่นเป็นประจำจนขาดทุนหมดตัวเป็นหนี้สินมากมาย ผมคิดว่าการพนันทำให้คนติดเพราะการชนะพนันทำให้เรามีความสุขและสมองคงบันทึกความรู้สึกนี้ไว้ค่อนข้างแน่นหนา ในขณะที่การแพ้พนันนั้นเป็นสิ่งที่ไม่รื่นรมย์ซึ่งจิตใจของเราไม่อยากรับรู้ ดังนั้นเรามักจะลืมได้ง่าย ยิ่งเราพนันบ่อย จิตใจก็คงได้รับความสุขจากการชนะพนันมากขึ้นเท่านั้น ขณะที่การพ่ายแพ้แม้จะเกิดขึ้นเท่ากับหรือมากกว่า แต่จิตใจไม่อยากรับรู้ดังนั้น อาการ “ติด” ก็เกิดขึ้น เราติดเพราะเราหวังจะได้กำไร เราหวังที่จะชนะในการพนัน พูดง่าย ๆ เราโลภ หุ้นนั้น แน่นอน มีลักษณะของการพนัน แต่เป็นการพนันที่ต้องใช้ฝีมือ ความรู้ ความสามารถ บางคนบอกว่าต้องสามารถใช้ศาสตร์ระดับนักวิทยาศาสตร์ทางด้านจรวด คนจำนวนมากเชื่อว่าต้องรู้เศรษฐศาสตร์มหภาคและการเงินระดับโลก แต่หลาย ๆ คนเชื่อว่าต้องรู้จิตวิทยามวลชนผสมผสานกับเส้นกราฟทางเทคนิคต่าง ๆ ในขณะที่อีกหลาย ๆ คนอาศัยแต่ข่าว ทั้งข่าววงใน และข่าวการเล่นของขาใหญ่ ไม่ว่าจะใช้อะไรเป็นเครื่องมือ ทั้งหมดนี้เพียงเพื่อที่จะเอาชนะในการซื้อขายหุ้น การเข้าตลาดหุ้นที่ทำให้ “ติด” ง่ายที่สุดก็คือ การเล่นหุ้นที่มีลักษณะของการพนันมากที่สุด นั่นก็คือการซื้อขายหุ้นแบบ Trader คือการลงทุนที่หวังกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นที่ขึ้นลงผันผวนในระยะสั้น และหุ้นที่จะทำให้คนติดมากที่สุดก็คือหุ้นที่มีคุณสมบัติสำคัญก็คือ ต้องเป็นหุ้นที่มีราคาขึ้นลงแตกต่างกันสูงมากในระยะเวลาอันสั้นซึ่งจะทำให้เกิดส่วนต่างของกำไรสูงมาก และต้องเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูงมาก สามารถซื้อหรือขายในราคาที่เห็นได้ตลอดเวลา ซึ่งหุ้นที่เข้าข่ายตามคุณสมบัติดังกล่าวก็คือหุ้นขนาดใหญ่ที่กำลังมีข่าวดีมาก ๆ และหุ้นขนาดเล็กที่มีคุณภาพของผลการดำเนินงานต่ำ แต่มี “อนาคต” ทั้งที่เป็นจริงหรือถูก “สร้างภาพ” ขึ้นดีมาก แต่ที่สำคัญขาดไม่ได้ก็คือ มี “เจ้ามือ” ที่จะต้องเป็นผู้ซื้อขายนำ “ทำตลาด” การ “เสพ” หุ้นที่มีการเก็งกำไรสูง เป็นเรื่องที่อันตราย เพราะถ้าเราทำบ่อย ๆ ในที่สุดเราก็จะติดและเข้าร่วมในกิจกรรมเก็งกำไรทุกครั้งที่เกิดขึ้น และในที่สุดเราก็จะพบว่าเงินในกระเป๋าของเราน้อยลงไปเรื่อย ๆ ตรงกันข้าม ถ้าเรา “เสพ” หุ้นแบบ Value ลงทุนระยะยาวในหุ้นที่มีผลการดำเนินงานดี มีราคาต่ำกว่าพื้นฐาน และ “พนัน” ว่า กิจการจะมีผลการดำเนินงานดีขึ้น จ่ายปันผลมากขึ้นเรื่อย ๆ เราก็จะได้กำไรในระยะยาว เงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การที่เราจะ “ติด” หุ้นแบบนี้ก็จะไม่ส่งผลเสียหาย แต่จะสร้างความสุขที่ยั่งยืนเหมือนกับที่เราติดการออกกำลังกายอย่างไรอย่างนั้น และถ้ามีช่วงไหนที่หุ้นเก็งกำไรเย้ายวนใจมาก ๆ สิ่งที่เราจะต้องทำในกรณีนี้ก็คือ Just Say No
โดย
iruma
อาทิตย์ มิ.ย. 10, 2012 12:35 pm
0
7
Re: การลงทุนแบบฝากเงิน
วิธี DCA ไปเรื่อยๆชิลๆ ผมคิดว่าเหมาะสมกับกองทุนที่มีการกระจายหุ้นไปหลายๆตัวอย่าง Index Fund การเลือก DCA กับหุ้นรายตัว จำเป็นต้องรู้จัก ติดตามกิจการว่ามันยังดี เติบโตอยู่ และต้องมีความแน่ใจระดับนึงละว่าถ้ากิจการไม่ค่อยโตตามเกณฑ์ที่เราตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกจะขายทัน คาถาลงทุน เรื่อง DCA http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=qmuhXiHnnL4#t=183s ขอบคุณครับ แนวทางที่ตั้งใจไว้คือลงทุนในหุ้นที่มีปันผลแน่นอนเพื่อเป็นรายได้หลัก สำหรับชีวิตประจำวัน เช่น รายได้จากการปันผล + 30,000 บาท / เดือนแต่ ในขณะเดียวกันก็สะสมหุ้นนั้น ๆ ไปเรื่อย ๆ หากตลาดดีในราคาที่พอใจก็จะแบ่งขายไป บางส่วน แต่ส่วนที่เหลือต้องให้ผลตอบแทนในเกณท์ + 30,000 บาท / เดือน เสมอ หลังจากนั้น ( 3 - 5 ปี ) ค่อยเพิ่มทุนอีกสัก 10 % ของพอร์ทเพื่อเล่นหุ้น Growth ทุกปี ทุกท่านคิดว่าอนาคตเมื่อครบ 10 ปีของพอร์ทน่าจะออกมาในรูปใหนหรือครับ ถ้าจะเน้นปันผล ผมคิดว่าอยู่ที่กิจการที่เราเลือกด้วยว่าคุณภาพของกำไรยั่งยืนสักแค่ไหน ผมว่ามีหลายๆครั้งที่เราซื้อเพื่ออยากได้ปันผล พอเจอความผันผวนของราคาตลาด เหตุผลในการซื้อตอนแรกของเราก็หวั่นไหวไปกับมูลค่าพอร์ตที่ขึ้นๆลงๆได้เหมือนกัน ลองอ่านบทความของ ดร.นิเวศน์ที่เกี่ยวข้องดูนะครับ กับดักของ Value Investor http://piggyman007.blogspot.com/2010/04/value-investor.html E – หุ้น http://www.tot.ru.ac.th/web_arjarn/sara/sara_newspaper/Value_Investor/e_hun/e_hun.html
โดย
iruma
เสาร์ มิ.ย. 09, 2012 11:12 pm
0
1
Re: การลงทุนแบบฝากเงิน
Dollar Cost Averaging กับ SET50 Index Fund เช่น ลงทุนเดือนละ 2000 บาท ทุกวันที่ 5 ของทุกๆเดือน วิธีนี้ตัดปัญหาจิตวิทยาตลาดออกไป กำหนดแผนแล้วทำตามเท่านั้น ส่วนผลตอบแทนไม่การันตีแน่นอน แต่ผมเชื่อว่าระยะยาวมากๆแล้วน่าจะok
โดย
iruma
เสาร์ มิ.ย. 09, 2012 1:43 am
0
5
Re: แบบสอบถามเรื่องหุ้น สำคัญต่อการเรียนจบครับ
เรียบร้อยครับ :D
โดย
iruma
พฤหัสฯ. พ.ค. 31, 2012 9:23 am
0
0
Re: น้องเยลหลีอายุ 12ปีออกรายการmoneytalkพุธ30พคนี้4ทุ่ม
Don't judge a book by its cover. นักลงทุนขาโจ๋ - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร http://api.settrade.com/blog/nivate/2008/05/21/272
โดย
iruma
พฤหัสฯ. พ.ค. 31, 2012 9:14 am
0
0
Re: ไพบูลย์มันนี่ทอล์ค พอร์ตหุ้นพันล้าน
Only you know who is REAL.
โดย
iruma
อาทิตย์ พ.ค. 13, 2012 2:11 pm
0
0
Re: เข้า - ออก อย่างไร ในสภาวะตลาดอย่างนี้
3. DCA ควรใช้เมื่อไหร่ ด้วยส่วนตัวคิดว่าเป็นวิธีที่ดีมาก เนื่องจากเราไม่สามารถคาดเดาตลาดได้ แต่ในภาวะ กระทิง-หมี สุดขั้ว DCAควรใช้เมื่อไหร่ intervalควรเป็นเท่าไหร่ครับ สัปดาห์-เดือน-ไตรมาส?? DCA ผมว่าเหมาะกับ Index Fund ครับ อาจารย์ไพบูลย์ก็พูดถึงเรื่อง DCA ลองดูครับ นาทีที่ 3 qmuhXiHnnL4
โดย
iruma
ศุกร์ เม.ย. 20, 2012 1:11 pm
0
0
Re: การลงทุน vs. การทำธุรกิจ
ไปขุดมาจากหนังสือเซียนหุ้นมือทองที่อ.นิเวศน์เคยเขียนมาให้ครับ 19 พฤศจิกายน 2545 คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ทำธุรกิจ VS ลงทุนซื้อหุ้น ถ้ามีเพื่อนมาชวนลงทุนเปิดร้านอาหาร นอกจากจะต้องดูว่ากิจการจะดีหรือไม่ ต้องลงทุนเท่าไรและจะกำไรอย่างไรแล้ว สิ่งที่ควรจะทำก็คือ ลองเปรียบเทียบการทำร้านอาหารเองกับการลงทุนซื้อหุ้นเอสแอนด์พี (S&P) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย เพราะการทำร้านอาหารเองกับการซื้อหุ้น S&P ซึ่งเป็นหุ้นของบริษัททำร้านอาหารในตลาดนั้นมีอะไรคล้ายกันมากแทบจะเป็นเรื่องเดียวกันเพียงแต่ขนาดของธุรกิจแตกต่างกัน ผู้บริหารเป็นคนละคน โดยที่การเปิดร้านอาหารนั้นผู้บริหารอาจจะเป็นเพื่อนที่เรารู้จักหรือเป็นตัวเราเอง ในขณะที่ผู้บริหารบริษัท S&P นั้น เราอาจจะไม่รู้จักเลย ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจเองกับการลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกนั้นมีอยู่หลายข้อและจะต้องพิจารณาอย่างลึกซึ้งก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะลงทุนทำธุรกิจเองหรือลงทุนซื้อหุ้นในตลาดดีกว่า ข้อดีของการทำธุรกิจเองข้อแรกที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ เราสามารถควบคุมกิจการได้อย่างเต็มที่ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำจะต้องเป็นประโยชน์แก่ตัวธุรกิจและตัวเราเองที่เป็นผู้ถือหุ้น เพราะฉะนั้นลูกจ้างตั้งแต่พนักงานจนถึงผู้จัดการจะเหลวไหล โกง หรือเอาเปรียบบริษัทยาก นอกจากนั้นถ้าเรามีหุ้นส่วน ก็คงจะต้องเป็นหุ้นส่วนที่เราไว้ใจและพูดกันรู้เรื่อง และมีผลประโยชน์แบบเดียวกัน มิฉะนั้นเราคงไม่เข้าหุ้นทำธุรกิจด้วย ข้อดีของการทำธุรกิจข้อสองก็คือ การทำธุรกิจในเมืองไทยนั้นสามารถหลบภาษีได้ง่ายโดยเฉพาะเวลามีกำไรก็มักจะทำตัวเลขไม่ให้มีกำไรเพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีนิติบุคคล ดังนั้นต้นทุนของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จึงมักต่ำกว่าบริษัทจดทะเบียน เจ้าของธุรกิจจึงได้กำไรเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในขณะที่บริษัทจดทะเบียนต้องเสียภาษีสูงถึง 30% ของกำไร และภาษีอื่น ๆ เช่น VAT ก็ต้องจ่ายเต็มเช่นเดียวกัน ข้อดีข้อที่สามของการทำธุรกิจเองก็คือ เวลาที่ธุรกิจประสบความสำเร็จ บริษัทหรือกิจการสามารถกู้เงินมาใช้ได้มาก ซึ่งการกู้เงินนี้สามารถที่จะทำให้เจ้าของร่ำรวยขึ้นได้อย่างรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ ลองดูตัวเลขสมมุติต่อไปนี้ กิจการลงทุน 10 ล้านบาท แต่กู้เงินมา 20 ล้านบาท รวมเป็น 30 ล้านบาท เงินก้อนนี้ลงทุนเปิดร้านอาหาร 5 แห่ง ได้กำไรปีละ 20% หรือกำไรปีละ 6 ล้านบาท คิดแล้วลงทุนเพียง 10 ล้านบาท แต่กำไรปีละถึง 6 ล้านบาท หรือเท่ากับ 60% ต่อปี ซึ่งสูงมาก ทำเพียงไม่กี่ปีก็เห็นหน้าเห็นหลัง แต่ข้อเสียของการทำธุรกิจเองก็มีหลายข้อเหมือนกันที่สำคัญก็คือ การลงทุนทำธุรกิจเองมักจะต้องใช้เงินค่อนข้างมาก บ่อยครั้งต้องใช้เงินเก็บสะสมเกือบหมดเพื่อที่จะทำธุรกิจเพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นถ้าธุรกิจล้มเหลวเราก็หมดตัว เผลอ ๆ อาจจะต้องเป็นหนี้ NPL บ้านช่องและทรัพย์สินถูกแบงค์ยึดอีกต่างหาก ข้อเสียข้อที่สองก็คือ การทำธุรกิจเองนั้นเจ้าของจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจค่อนข้างลึกซึ้ง และจะต้องเหน็ดเหนื่อยมากกับการดูแลธุรกิจ บางทีคิดจะไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจบ้างก็จะต้องคอยพะวงกับตัวธุรกิจตลอดเวลา คุณภาพของชีวิตอาจจะลดหย่อนลงโดยเฉพาะในยามที่ธุรกิจมีปัญหา ข้อเสียข้อที่สามของการทำธุรกิจเองก็คือ ธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นมามักเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ยังไม่แข็งแรงและมีคู่แข่งมาก ดังนั้นธุรกิจจึงต้องต่อสู้แข่งขันกันตลอดเวลา และเนื่องจากธุรกิจมักจะไม่มีจุดเด่นเฉพาะและไมสามารถป้องกันให้คู่แข่งเข้ามาได้ ธุรกิจส่วนตัวจำนวนมากจึงมีผลการดำเนินงานที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ และมักจะอยู่ได้ไม่นาน เมื่อธุรกิจล้มเหลว เงินลงทุนที่เหลืออยู่ก็จะสูญไม่สามารถจะไปขายให้คนอื่นได้เพราะไม่มีสภาพคล่องเลย มาดูด้านของการลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์บ้างว่ามีข้อดีอย่างไร เทียบกับการทำธุรกิจเอง ข้อดีข้อแรกก็คือ การซื้อหุ้นในตลาดนั้น เราสามารถเลือกธุรกิจได้มากตั้งแต่ธุรกิจร้านอาหาร สร้างบ้านขาย เลี้ยงและขายกุ้งไปจนถึงการทำโรงปูนซีเมนต์ กิจการโรงแรม สถาบันการเงิน ให้บริการโทรศัพท์มือถือ โรงไฟฟ้า ร้านหนังสือ เกือบจะพูดได้ว่า คุณอยากลงทุนในธุรกิจอะไร ตลาดหลักทรัพย์มีให้หมด ดังนั้นจึงไม่มีข้อจำกัดว่าคุณจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญถึงจะทำธุรกิจได้ ข้อดีข้อที่สองก็คือ การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เราไม่ต้องใช้เงินมากในการซื้อหุ้นแต่ละตัว ดังนั้นเราสามารถกระจายลงทุนถึง 10 ธุรกิจได้โดยเงินเพียงไม่กี่แสนบาท และการลงทุนไม่ต้องลงทีเดียวเป็นก้อนใหญ่สามารถทะยอยลงทุนได้เรื่อย ๆ เมื่อเรามีเงินเพิ่มขึ้นจากการทำงานปกติของเรา การกระจายการลงทุนออกไปได้หลาย ๆ ธุรกิจนั้นทำให้การลงทุนซื้อหุ้นนั้นปลอดภัยกว่าการทำธุรกิจด้วยตนเองมาก ข้อดีข้อที่สามก็คือ เราสามารถขายหุ้นออกไปได้ทั้งในกรณีที่ลงไปแล้ว กิจการดีขึ้นทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นมีกำไรจากการลงทุน และในกรณีที่ลงทุนแล้วกิจการตกต่ำลงจนเราเห็นว่าถ้าลงทุนต่อจะอันตราย เราก็สามารถขาย "ธุรกิจ" นั้นทิ้งได้ถึงแม้ว่าจะต้องขาดทุนบ้าง เรียกว่าหุ้นนั้นมีสภาพคล่องในการเปลี่ยนมือ ข้อดีข้อที่สี่ก็คือ การลงทุนซื้อหุ้นเราไม่เหนื่อย เราเพียงแต่คิดและวิเคราะห์กิจการให้ดี ดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อขายอยู่มีราคาถูกกว่าราคาที่ควรจะเป็นค่อนข้างมากและมีความปลอดภัยหรือ Margin of Safety สูง เราก็สั่งซื้อหุ้น จากนั้นเราก็เพียงแต่ติดตามดูแลว่าธุรกิจยังดำเนินไปด้วยดี ทั้งหมดนี้ใช้เวลาและแรงงานน้อยมาก ข้อเสียของการลงทุนซื้อหุ้นก็มีหลายข้อเช่นเดียวกัน ข้อแรกก็คือ การลงทุนซื้อหุ้นนั้นมักจะให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก ในระยะยาวแล้วผลตอบแทนเฉลี่ยน่าจะได้ประมาณปีละ 10% ถ้าเราลงทุนโดยมีความรู้หรือความสามารถไม่สูงนักแต่ก็ไม่ถึงกับแย่ เพราะในระยะยาวแล้วผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของหุ้นในประเทศไทย ผมคิดว่าน่าจะโตประมาณปีละ 10% โอกาสมากกว่านี้มีน้อยเพราะกิจการของไทยที่ดีจริง ๆ มีไม่มาก การที่ผมพูดว่าการลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนไม่สูงมากนี้ ผมเปรียบเทียบกับการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับการฝากเงินแล้ว การลงทุนซื้อหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่ามาก เพราะผมเชื่อว่านับจากนี้ไปอีกนับ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของไทยจะยังคงค่อนข้างต่ำอยู่ โดยเฉลี่ยน่าจะไม่เกิน 5% ต่อปี ข้อเสียอื่น ๆ ของการลงทุนซื้อหุ้นซึ่งผมจะเขียนเหมารวมเลยก็คือ การลงทุนซื้อหุ้นนั้นเรามักจะถูกเอาเปรียบหรือถูกโกงจากเจ้าของบริษัทหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ เพราะเราไม่มีข้อมูลหรือความใกล้ชิดว่าเขาทำอะไรกับบริษัท ตัวเจ้าของเองก็ถือว่าตนมีอำนาจควบคุมกิจการค่อนข้างเบ็ดเสร็จ และเห็นว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยมักไม่ค่อยสนใจว่าผู้บริหารหรือเจ้าของจะทำอะไร หรือถึงจะสนใจก็คงทำอะไรไม่ได้ ดังนั้น การที่เจ้าของหรือผู้บริหารจะฉกฉวยประโยชน์จากบริษัทจึงเป็นเรื่องปกติ หลังจากวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการทำธุรกิจและของการลงทุนซื้อหุ้นแล้ว หน้าที่ของเราก็คือจะต้องตัดสินใจเลือกว่าจะไปทางไหน ความชอบและคุณสมบัติส่วนตัวของแต่ละคนก็มีส่วนมากที่จะกำหนดว่าเขาควรเป็นคนทำธุรกิจหรือควรเป็นนักลงทุน โดยส่วนตัวผมคิดว่าคนส่วนใหญ่น่าจะมีความเหมาะสมที่จะเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นมากกว่า เพราะการทำธุรกิจส่วนตัวนั้น ต้องใช้ความสามารถและความอดทนสูงมาก ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงมหาศาล ซึ่งทำให้คนที่จะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้น่าจะเป็นคนส่วนน้อยและเป็นคนที่พิเศษจริง ๆ เท่านั้น ส่วนการเป็นนักลงทุนนั้น คุณเพียงแต่ศึกษาหลักการลงทุนให้ดี ฝึกซ้อมวิธีการเลือกซื้อหุ้น และไม่ซื้อขายเก็งกำไรตามอย่างนักเล่นหุ้นทั่วไป เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
โดย
iruma
ศุกร์ เม.ย. 20, 2012 1:07 pm
0
4
Re: เหตุผลที่ "บัฟเฟตต์" บอกโลกว่าเป็นมะเร็ง
After Buffett's rule: What the billionaire means to Berkshire http://finance.fortune.cnn.com/2012/04/18/what-buffett-cancer-means-berkshire/?iid=HP_River
โดย
iruma
พฤหัสฯ. เม.ย. 19, 2012 9:44 pm
0
0
Re: ฟองสบู่ทะเลใต้/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Long ago, Sir Isaac Newton gave us three laws of motion, which were the work of genius. But Sir Isaac's talents didn't extend to investing: He lost a bundle in the South Sea Bubble, explaining later, 'I can calculate the movement of the stars, but not the madness of men.' If he had not been traumatized by this loss, Sir Isaac might well have gone on to discover the Fourth Law of Motion: For investors as a whole, returns decrease as motion increases. - Warren Buffett
โดย
iruma
พุธ เม.ย. 11, 2012 9:52 am
0
2
Re: ขอคำแนะนำหนังสือของ Buffett
Warren Buffett Wealth
โดย
iruma
อาทิตย์ เม.ย. 08, 2012 6:46 pm
0
1
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ดร. เคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องอายุกับการลงทุนในบทความชื่อ "เกมคนแก่" อยู่ในหนังสือ ชนะอย่างเต่า "คนแก่นั้นกลัวขาดทุน ในขณะที่คนหนุ่มสาวมักจะเน้นหุ้นที่จำ 'ทำกำไร' ได้เร็ว ดังนั้น คนอายุน้อยมักจะเน้นไปที่หุ้นเก็งกำไรมากกว่า บางคนอาจจะมองว่า นี่ไม่ใช่ข้อได้เปรียบของคนแก่ แต่ผมเชื่อคำพูดของบัฟเฟต์ที่ว่า การลงทุนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ 'อย่าขาดทุน' "
โดย
iruma
จันทร์ เม.ย. 02, 2012 4:30 pm
0
1
Re: "price maker" or "price taker"
สัญญาณข้อที่สอง ก็คือ บริษัทสามารถควบคุมราคาขายของสินค้าของบริษัทได้ดี นั่นก็คือ บริษัทสามารถกำหนดหรือควบคุมราคาขายสินค้าของบริษัทได้ในระดับที่มีเหตุผล คือ มีกำไรที่เพียงพอ นี่เป็น Value หรือคุณค่าของกิจการ ถ้าเราพบว่ากิจการไม่สามารถควบคุมราคาขายได้เช่นกิจการที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์ หรือกิจการที่มีการแข่งขันกันรุนแรงมาก แบบนี้เป็นสัญญาณว่ากิจการมีคุณค่าน้อย สัญญาณแห่งคุณค่า - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร http://bit.ly/afbnS1
โดย
iruma
จันทร์ มี.ค. 26, 2012 11:20 pm
0
1
Re: หลังจากมีอิสรภาพทางการเงินแล้ว ชีวิตเป็นอย่างไรกันบ้างคร
ก็มีความสะดวกสบายทางร่างกาย จากอำนาจซื้อของเงิน มากขึ้น แต่ว่า สุขทุกข์ก็ยังคงมีเหมือนเดิม เพราะเงินมันมีความสำคัญที่สุด สำหรับคนที่อยู่ใต้โลกย์ ไปถึงแค่ระดับ ความต้องการ ความสะดวกสบายทางร่างกายของแต่ละคนครับ เกินกว่านั้น เงินไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดแล้วครับ ถ้าใช่ ป๋าบัฟเฟต์ก็ต้องทีความสุขมากกว่าผมเป็นล้านๆเท่า เงินกับความสุข - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร คนส่วนใหญ่เชื่อว่า ถ้าเรามีเงินเราจะมีความสุขมากขึ้น คนเชื่อว่าคนรวยย่อมมีความสุขมากกว่าคนจน ยิ่งรวยมากเท่าไร ความสุขก็มากขึ้นเท่านั้น เพราะคนเชื่อว่า เงินสามารถซื้อความสุขได้แม้ว่าจะไม่ใช่ความสุขทุกอย่างแต่ก็ซื้อได้มาก เงินสามารถใช้ซื้ออาหารอร่อยๆ รับประทานได้ เงินสามารถพาเราไปท่องเที่ยวได้มากขึ้นและไกลขึ้น เงินทำให้เราซื้อบ้าน และซื้อรถยนต์ที่ทำให้เรามีหน้ามีตาในหมู่เพื่อนฝูงและคนรู้จัก เงินทำให้เราส่งลูกไปเรียนโรงเรียนดีๆ หรือไปเรียนต่างประเทศได้ เพราะฉะนั้น อย่ามาพูดเลยว่า เงินกับความสุขไม่เกี่ยวกัน นั่น คือสิ่งที่คนที่ยังไม่ค่อยมีเงิน หรือคิดว่าตนยังมีเงินไม่พอมักจะคิด คนเหล่านั้นมักจะ "ฝัน" ว่า ถ้าเขามีเงินมากขึ้น เขาคงจะมีความสุขมาก เพราะสิ่งที่เขาคิดอยากจะได้แต่ยังทำไม่ได้ เพราะมีเงินไม่พอ เขาก็จะสามารถซื้อหามาได้ และนั่นคือความสุขที่เขากำลังพยายามไขว่คว้า แต่เชื่อไหมครับว่าวันที่เขามีเงินพอและได้ใช้หรือบริโภคสิ่งที่เขา "ฝัน" ไว้แล้ว สิ่งนั้นก็จะไม่ใช่ "ความสุข" อีกต่อไป เขาจะเริ่ม "ฝัน" ถึง "ความสุข" ใหม่ ที่จะต้องใช้เงินมากขึ้นไปอีก เงินคือความสุขหรือเงินเป็นสิ่งที่หลอกลวงกันแน่? ความสุขของ คนนั้น เพื่อที่จะอธิบายให้เป็นระบบ ผมคิดว่าน่าจะต้องอิงกับความต้องการของมนุษย์ ซึ่งแมสโลว์ (ABRAHAM MASLOW) นักจิตวิทยาชื่อดังบอกว่ามี 5 ระดับ นั่นคือ ความต้องการเบื้องต้น ได้แก่ อาหารและน้ำ ความต้องการระดับสองคือ ต้องการความปลอดภัยและความมั่นคงในชีวิต เมื่อได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการจะยกระดับขึ้นไปเป็นระดับ 3 ซึ่งก็คือ การได้รับการยอมรับในหมู่ญาติมิตรและเพื่อนฝูงให้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ขั้นต่อไปก็คือ การมีสถานะที่โดดเด่นในสังคม และสุดท้ายก็คือ ความต้องการที่จะบรรลุถึงตัวตนที่แท้จริง ซึ่งในทางพระอาจจะเรียกว่านิพพานไปเลย มาดูความสุขทางด้าน อาหารว่าเงินซื้อได้หรือไม่? ผมคิดว่าเงินซื้อความสุขด้านอาหารได้น้อย ความสุขของการกินนั้น ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่อยู่ที่ความหิวและรสชาติของอาหาร ซึ่งไม่ค่อยได้เกี่ยวข้องกับราคามากนัก คนทั่วไปอาจจะรู้สึกว่าหูฉลามนั้นอร่อยมาก แต่นั่นเป็นเพราะเขาไม่ค่อยได้กินมัน แต่ถ้าเขาได้กินมันบ่อยมาก เขาอาจจะบอกว่าพะแนงเนื้ออร่อยกว่า ดังนั้น สำหรับความสุขในด้านของการกินแล้ว ผมคิดว่า ถ้าเราไม่จนเกินไป เราจะมีความสุขไม่ต่างกับเศรษฐีมากนัก ความสุขที่จะได้จาก ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย นี่เป็นความสุขที่เกิดขึ้นในใจเมื่อเรามีบ้านอยู่อาศัยที่ปลอดภัย มีการงานที่มั่นคง เรารู้ว่าเมื่อเราป่วยไข้จะได้รับการรักษาที่ดี มีความอุ่นใจว่าถ้าเกิดปัญหาอะไรที่ไม่คาดคิดทางการเงินเรามีทางแก้ไขได้ และที่สำคัญ รู้ว่าเมื่อแก่ตัวลง เราจะมีเงินเลี้ยงดูตัวเองได้ การมีเงินสะสมน้อยหรือไม่มีสวัสดิการการรักษาพยาบาลเพียงพอ ก็ย่อมที่จะทำให้เรามีความกังวลและเป็นทุกข์ได้ ความรู้สึก มั่นคงปลอดภัยนั้น เป็นความสุขในระดับหนึ่งเท่านั้น นั่นหมายความว่า ถ้าคนเรามีความมั่นคงเพิ่มขึ้นไปอีก ส่วนที่เพิ่มนั้นจะก่อให้เกิดความสุขเพิ่มน้อยมาก ข้อสรุปก็คือ เราต้องมีเงินในระดับหนึ่ง เพื่อความมั่นคงในชีวิตถ้าจะให้ไม่เกิดทุกข์จากความกังวล การ ได้รับการยอมรับในหมู่ญาติมิตรและเพื่อนฝูงนั้น ผมคิดว่าเงินไม่น่าจะมีส่วนมากนัก การมีน้ำจิตน้ำใจเอื้ออารีน่าจะมีความสำคัญกว่าและสิ่งนี้ไม่สามารถซื้อได้ ด้วยเงิน ดังนั้น ความสุขจากการที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม จึงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเงินเลย การมีสถานะที่โดดเด่นใน สังคมเป็นความต้องการในระดับที่สูงขึ้นมา และน่าจะเป็นความสุขอย่างหนึ่งที่เงินอาจจะซื้อได้ และนี่ก็คงเป็นเหตุผลสำคัญที่คนมีเงินใช้เงินซื้อบ้าน รถยนต์ที่หรูหรา และเครื่องแต่งกายราคาแพง เพื่อที่จะแสดงความโดดเด่นให้คนทั่วไปเห็นและยอมรับ อย่างไรก็ตาม ความสุขในด้านนี้มักจะมีด้านมืด นั่นก็คือ ผู้ที่ใช้ของหรูมักจะพบคนที่ใช้ของที่หรูกว่า และความรู้สึกที่ด้อยกว่าโดยการเปรียบเทียบนั้น บ่อยครั้ง มันกลบความสุขที่ควรจะได้รับ และทำให้การใช้เงินซื้อสถานะของตนเองเพื่อให้เกิดความสุขนั้นไร้ผล เพราะแทนที่จะเป็นสุขก็อาจจะกลายเป็นความทุกข์ได้ ผมคงไม่พูด ถึงความต้องการที่จะบรรลุถึงตัวตนที่แท้จริง ซึ่งคงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเงิน แต่น่าจะเป็นเรื่องของจิตใจล้วนๆ แต่อยากจะบอกว่าความสุขของคนนั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่เรื่องของสุขภาพกายและสุขภาพใจซึ่งเงินซื้อได้น้อยมาก สุขภาพกายนั้น ไม่ว่าคุณจะมีเงินมากเท่าไร โอกาสที่คุณจะป่วยมีเท่ากับคนที่มีเงินน้อยหรือปานกลาง เช่นเดียวกัน สุขภาพใจนั้น อยู่ที่การทำใจ จากการสำรวจครั้งแล้วครั้งเล่าเราพบว่า คนที่ใช้ชีวิตที่ "พอเพียง" มีความสุขกว่าคนที่ชอบบริโภค ซึ่งไม่ได้เกี่ยวเลยว่าเขามีเงินมากหรือน้อย ว่าที่จริงถ้าจะมีอะไรเกี่ยวก็น่าจะเป็นว่า การมีเงินมากอาจจะเป็นความเสี่ยงว่าคุณจะมีความสุขน้อยลงถ้าคุณชอบบริโภค ข้อ สรุปสุดท้ายของผมก็คือ คนที่มีเงินน้อยเกินไปจะหาความสุขได้ยาก เพราะความสุขหลายอย่างต้องใช้เงินซื้อหามา ในอีกด้านหนึ่ง คนที่มีเงินมากเกินไปไม่ได้หมายความว่า เขาจะต้องมีความสุขมากกว่าคนที่มีเงินปานกลาง เพราะเงินนั้นซื้อความสุขได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้น คนที่มีเงินพอประมาณ สามารถที่จะเป็นแชมเปียนของคนที่มีความสุขได้ เพราะความสุขนั้น ส่วนใหญ่มาจากสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ซื้อไม่ได้ด้วยเงิน ดังนั้น ถ้าคุณเป็นคนที่มีเงินพอประมาณ และใช้ชีวิตที่พอประมาณ คุณก็น่าจะมีชีวิตที่มีความสุขไม่แพ้คนรวยโดยทั่วไปแล้ว 27 มีนาคม 2550 ในมุมมองของ Value Investor ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โดย
iruma
จันทร์ มี.ค. 26, 2012 2:00 pm
0
3
Re: "price maker" or "price taker"
BRAND
โดย
iruma
จันทร์ มี.ค. 26, 2012 1:21 pm
0
0
Re: Megatrend โลก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ขอบคุณครับ สำหรับ IT, BioTech นั้น Lynch ก็เขียนไว้ใน One Up เหมือนกัน
โดย
iruma
อาทิตย์ มี.ค. 25, 2012 3:42 pm
0
0
Re: ทำอย่างที่ ดร.นิเวศน์พูด หรือ ทำอย่าง ดร.นิเวศน์ทำ ?
John Bogle: “Why look for the needle in the haystack? Buy the haystack!” Warren Buffett: “Diversification may preserve wealth, but concentration builds wealth.” William J. O'Neil: “Diversification is a hedge for ignorance. I think you are much better off owning a few stocks and knowing a great deal about them.” John Maynard Keynes: “As time goes on, I get more and more convinced that the right method in investment is to put fairly large sums into enterprises which one thinks one knows something about and in the management of which one thoroughly believes. It is a mistake to think that one limits one’s risk by spreading too much between enterprises about which one knows little and has no reason for special confidence.”
โดย
iruma
พุธ ก.พ. 29, 2012 12:55 am
0
0
Re: Discount/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ผมคิดว่า หุ้น ก คือ SVOA Mk.cap ตอนนี้ประมาณ 850-900 ล้าน SVOA ถือ หุ้น ข คือ IT อยู่ 106 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1100-1200 ล้านบาท ........................................................................ :D :D :D :D :D :D :D :D :D :D ชอบจังหุ้น discount หุ้นแม่-ลูก http://api.settrade.com/blog/nivate/2008/07/28/304
โดย
iruma
จันทร์ ม.ค. 23, 2012 3:22 pm
0
0
Re: พอร์ตเล็กโตไว/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อ่านบทความอาจารย์แล้ว เนื้อหากว่า 80% เหมือนจะเชิญชวนให้คน Port เล็กๆ ใช้มาร์จิ้นเลยนะครับ อย่างนี้ต้องลองอัดมาร์จิ้น เล่นหุ้นที่มี Story บ้าง...ล้อเล่นหน่ะครับ :P ประเด็นสำคัญที่ได้ คือ การลงทุนให้เหมาะกับเงินทุนและความรู้ของตนเอง บางทีการเลียนแบบวิธีการลงทุนของเซียนต่างๆ ก็อาจได้ผลไม่เหมือนกันก็ได้นะครับ ขอบคุณ อ.นิเวศน์ และ คุณ little wing ครับ " คนพอร์ตเล็กนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเดินทางในแนวที่ผมพูดถึงและผมเองก็ ไม่แนะนำ ให้เดินทางสาย “รวยเร็ว” แต่มีความเสี่ยงสูงมากอย่างที่กล่าว แน่นอน คนที่สำเร็จและเป็น Role Model ของนักลงทุนพอร์ตเล็กที่รวยเร็วมากนั้น ทำให้นักลงทุนรุ่นใหม่อยากทำตาม หลายคนคิดว่า “ไม่มีอะไรจะเสีย” แต่ผมคิดว่าโอกาสชนะก็น้อยมาก ยังมีแนวทางการลงทุนแบบอื่นที่อาจจะให้ผลไม่ต่างกันนักในระยะยาวแต่มีความเสี่ยงน้อยกว่า "
โดย
iruma
เสาร์ ธ.ค. 24, 2011 10:36 pm
0
0
Re: Blitzkrieg/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อาจารย์เป็นคนพูดไม่ค่อยเก่งในความรู้สึกของผม แต่งานเขียนนี่สุดยอดมากครับ เห็นด้วยครับ อาจารย์แกพูดนิ่งๆดี ชอบโดนแซวในรายการ Money Talk บ่อยๆ :D ปล.ขอบคุณ พี่ little wing สำหรับการเผยแพร่้บทความครับ
โดย
iruma
จันทร์ ต.ค. 24, 2011 3:54 am
0
0
Re: รบกวน พี่ๆ ที่ไป "รุม" อ.นิเวศน์ หลังเสร็จสัมมนา 22 ต.ค.
ขออนุญาต คุณ dong มาโพสที่นี่นะครับ พอดีมีคนอัดเสียงไว้ครับ http://www.youtube.com/watch?v=IN1JICle-Us ผม Dong ในเฟสบุค ที่โพสใน Money Talk นะครับ คลิปเสียงอันนี้ไม่ใช่ของวัน สัมมนา 22 ต.ค. ครับ พี่ Teenoy Thai VI อัพโหลดไว้นานแล้วครับ ที่ผมโพสในเฟสบุคเพราะเห็นความสำเร็จของอาจารย์ที่ผู้คนต่างนับถือเลยอยากจะแชร์ว่าชีวิตของอาจารย์นั้นก็ผ่านอะไรมามากมายหน่ะครับ ^^
โดย
iruma
จันทร์ ต.ค. 24, 2011 3:06 am
0
0
Re: ผู้หญิงกับหุ้น,ลงทุนแบบผู้หญิง - ดร.นิเวศน์
ลงทุนแบบผู้หญิง/26 กรกฎาคม 2554 - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ความแตกต่างในการลงทุนระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงนั้นมีการพูดถึงกันอยู่เรื่อย ๆ ในสังคมไทยเรานั้นดูเหมือนจะมีการยอมรับกันพอสมควรว่าผู้ชายนั้นเป็นนักลงทุนที่ดีกว่าโดยมีเหตุผลหลาย ๆ อย่าง เช่น ผู้ชายตัดสินใจได้ “เด็ดขาด” กว่า ไม่ “ลังเล” แบบผู้หญิง ผู้ชายกล้าได้กล้าเสียกว่า ผู้ชายมีความมั่นใจในตนเองสูงกว่า ผู้ชายฟังคนอื่นน้อยกว่า และผู้ชายเก่งกว่าในด้านของตัวเลขข้อมูลต่าง ๆ มากกว่า เหล่านี้ เป็นต้น ด้วยความคิดนี้ ประกอบกับการที่คนมองเห็นแต่ “เซียนหุ้น” ที่เป็นผู้ชายเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ “การลงทุนแบบผู้หญิง” นั้น เป็นวิธีการลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นการลงทุนที่พึงหลีกเลี่ยงถ้าไม่อยากขาดทุนหรือไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุน แต่ทั้งหมดที่พูดถึงนี้เป็นความคิดของคนไทยที่โลกของการลงทุนยังถูกครอบงำโดยบุรุษเพศ ในต่างประเทศมีการศึกษาเรื่องจิตวิทยาของผู้หญิงกับการลงทุนมากมายและพบว่าสิ่งที่คนไทยจำนวนมากอาจจะคิดนั้นไม่เป็นจริง การลงทุนแบบ “ผู้หญิง” นั้น เขาพบว่าเป็นวิธีการลงทุนที่เหนือกว่าการลงทุนแบบ “ผู้ชาย” และสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ชาย “แพ้” นั้น มีสาเหตุสำคัญหลาย ๆ อย่าง เรื่องหนึ่งก็คือ ผู้ชายนั้นมีความมั่นใจในตนเองสูงเกินไปและสำคัญตนเองผิดว่าตนเองมีความเก่งเหนือกว่าคนอื่นโดยเฉลี่ย นี่ทำให้ผมนึกถึงการศึกษาที่ให้คนจัดเกรดตนเองว่าขับรถได้ดีแค่ไหน ซึ่งผู้ชายส่วนใหญ่มีความเห็นว่าตนเองขับรถได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยซึ่งในทางทฤษฎีแล้วเป็นไปไม่ได้ เพราะความเป็นจริงก็คือ จะต้องมีคนครึ่งหนึ่งที่ขับรถดีกว่าค่าเฉลี่ย และอีกครึ่งหนึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เรามาลองดูกันว่าการศึกษาเรื่องการลงทุนระหว่าผู้หญิงกับผู้ชายเป็นอย่างไร การศึกษาในตลาดสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้หญิงมีการซื้อขายหุ้นบ่อยน้อยกว่าผู้ชาย นั่นแปลว่าผู้หญิงถือหุ้นยาวกว่าผู้ชาย นี่คงเป็นเรื่องของการตัดสินใจที่ผู้ชายมักจะทำเร็วและเด็ดขาดกว่า แต่การซื้อ ๆ ขาย ๆ หุ้นบ่อยนั้น ทำให้เกิดค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายสูง นอกจากนั้นการ “ขาดทุน” จากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาขายก็มักจะ “กินกำไร” ที่ควรจะได้ไปไม่น้อย ยิ่งในตลาดอเมริกาที่ต้องเสียภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้นด้วยก็ยิ่งทำให้ผลตอบแทนของผู้ชายลดลงเมื่อเทียบกับผู้หญิง คุณสมบัติข้อต่อมาของผู้หญิงก็คือ ผู้หญิงมักกลัวความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย ดังนั้น คนที่ลงทุนแบบผู้หญิงก็มักจะต้องการ Margin of Safety หรือส่วนต่างเผื่อความปลอดภัยสูงกว่า นี่ก็เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้การลงทุนแบบผู้หญิงเหนือกว่าการลงทุนแบบที่ “กล้าได้กล้าเสีย” แบบผู้ชาย จริงอยู่ การลงทุนแบบที่กล้าเสี่ยงมาก ๆ เช่น การลงทุนในหุ้นที่ผันผวนมากหรือการใช้มาร์จินซื้อหุ้นเหล่านี้ อาจทำให้นักลงทุนแบบผู้ชาย “รวยไปเลย” แต่หลายคนที่ผิดพลาดก็ “จนไปเลย” มองในแง่ค่าเฉลี่ยระยะยาวแล้ว การลงทุนที่เน้นความปลอดภัยสูงน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ผู้หญิงนั้นจะมองโลกในแง่ที่ดีน้อยกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมองโลกในแง่ที่เป็นจริงมากกว่า ดังนั้น เวลาที่ตลาดสดใสมาก ผู้หญิงก็จะไม่ “ฝันเฟื่อง” มากเท่าผู้ชาย เช่นเดียวกัน เวลาที่ตลาดเลวร้าย ผู้หญิงก็มักจะไม่ “หดหู่” เท่าผู้ชาย มองในแง่นี้ ผู้หญิงก็จะไม่เป็น “เหยื่ออารมณ์” ของ “นายตลาด” เท่าผู้ชาย พูดง่าย ๆ ผู้หญิงจะไม่ซื้อขายตามภาวะตลาดมากเท่าผู้ชาย ซึ่งมักทำให้ผู้หญิงมีแนวโน้มน้อยกว่าผู้ชายที่จะซื้อตอนตลาดแพงและขายตอนตลาดถูก ผู้หญิงมีความละเอียดลออมากกว่าผู้ชายในเรื่องของการศึกษาหาข้อมูลเพื่อการลงทุน การ “คิดแล้ว คิดอีก” “อ่านแล้ว อ่านอีก” จนมั่นใจว่าไม่พลาดแน่นั้น เป็นวิธีการลงทุนระยะยาวที่ดีกว่าการรีบตัดสินใจซื้อขายโดยที่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างรอบคอบ ดังนั้น นิสัยผู้หญิงแบบนี้จึงเป็นนิสัยการลงทุนที่น่าจะประสบความสำเร็จสูงกว่านิสัยแบบผู้ชายที่มักเอาเร็วเข้าว่า ผู้ชายมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าผู้หญิง ผู้ชายมักเชื่อว่าตนเอง “รู้” หรือมีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ มากว่าที่เป็นจริง ในขณะที่ผู้หญิงนั้น มักยอมรับว่าพวกเธอรู้เรื่องอะไรบ้าง และเรื่องอะไรที่ไม่รู้ มองในแง่นี้ ผู้ชายก็อาจจะมีแนวโน้มลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่รู้มากกว่าผู้หญิง การลงทุนในสิ่งที่ตนเองคิดว่ารู้ดีแต่จริง ๆ แล้วตนเองไม่รู้นั้น ย่อมมีอันตรายสูง ดังนั้น การลงทุนแบบผู้หญิงในแง่นี้ก็น่าจะมีความปลอดภัยสูงกว่า และนั่นย่อมหมายความว่าผลตอบแทนในระยะยาวน่าจะต้องดีกว่า ผู้หญิงเรียนรู้จากความผิดพลาดมากกว่าผู้ชาย พูดง่าย ๆ ผู้หญิง “เจ็บแล้วจำ” มากกว่าผู้ชาย นี่ก็เป็นคุณสมบัติที่ดีในการลงทุน เพราะการลงทุนนั้น บ่อยครั้งมากที่เรามักจะทำผิด “ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า” อาจจะเนื่องจาก “ความโลภ” ที่อยากจะได้กำไรสูง ทำให้ลืมบทเรียนความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือไม่ก็คิดว่าครั้งนี้ “ไม่เหมือนเดิม” สุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ผู้หญิงนั้นมักจะเปรียบเทียบตนเองกับเพื่อน หรืออยู่ใต้อิทธิพลของเพื่อน น้อยกว่าผู้ชาย พูดง่าย ๆ ผู้ชายนั้น เวลาตัดสินใจอะไร ถ้ามีเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานจับตาดูอยู่ เขาก็จะมี “แรงกดดัน” มากกว่าผู้หญิงที่จะต้องทำตามแนวทางของกลุ่ม ตัวอย่างเช่น ถ้าเขารู้ว่าผลตอบแทนการลงทุนของเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานกำลังโดดเด่นมากเนื่องจากพวกเขากำลังเล่นหรือลงทุนในหุ้นบางกลุ่มในภาวะตลาดที่กำลังร้อนแรง ก็ยากที่ผู้ชายจะอยู่ “นิ่งเฉย” ไม่ยอมเปลี่ยนแนวทางการลงทุนของตนเองและยอมรับผลตอบแทนที่ต่ำกว่า มองในแง่นี้ การลงทุนแบบผู้หญิงก็น่าจะมีหลักการที่มั่นคงและเป็นสิ่งที่ตนเองมีความชำนาญมากกว่า นอกจากนั้น ผู้หญิงก็น่าจะมีการตัดสินใจที่อิสระมากกว่าผู้ชาย ผลการลงทุนของผู้หญิงโดยทั่วไปในอเมริกานั้น เนื่องจากมีการซื้อขายหุ้นน้อยกว่า นั่นอาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลตอบแทนดีกว่าผู้ชาย แต่ในด้านของมืออาชีพที่บริหารกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ต้องอาศัยฝีมือและอารมณ์ขั้นสูงสุดนั้น ก็พบว่าผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ที่เป็นผู้หญิงก็สามารถสร้างผลงานเฉลี่ยที่ดีกว่าผู้ชาย รวมถึงผลตอบแทนก็สม่ำเสมอกว่าผู้บริหารชาย ที่สำคัญ ในยามที่ตลาดเลวร้ายมากนั้น ผลตอบแทนของผู้บริหารหญิงจะเลวร้ายน้อยกว่าของผู้บริหารชายมาก หลายคนยังอาจจะสงสัยว่าทำไมนักลงทุนเอกของโลกที่สร้างผลตอบแทนระยะยาวได้สูงมากอย่างวอเร็น บัฟเฟตต์ ปีเตอร์ ลินช์ และอีกหลาย ๆ คนจึงมีแต่ผู้ชาย แล้วจะบอกได้อย่างไรว่าการลงทุน “แบบผู้หญิง” นั้น มีประสิทธิภาพเหนือกว่า? ประเด็นนี้ คำตอบน่าจะมีได้สองทาง ทางแรกก็คือ การลงทุนแบบผู้ชายนั้น มีความผันผวนสูงมาก คนที่ทำได้ดีก็ดีมาก ๆ แต่คนที่ทำได้แย่ ผลงานก็ “ตกเหว” ไปเลย โดยค่าเฉลี่ยก็ต่ำกว่าการลงทุนของผู้หญิง คำอธิบายอีกทางหนึ่งก็คือ วอเร็น บัฟเฟตต์ หรือเซียนหุ้นที่ประสบความสำเร็จระดับโลกที่เป็นผู้ชายนั้น แท้ที่จริงแล้ว เขาใช้แนวทางการลงทุนแบบ “ผู้หญิง” ส่วนการที่ยังไม่มีผู้หญิงก้าวขึ้นมาเป็น “เซียนระดับโลก” นั้น อาจจะเป็นเรื่องของ “เวลา” ก็ได้ เหนือสิ่งอื่นใด ผู้หญิงเพิ่งจะก้าวเข้ามาในโลกของการลงทุนไม่นานนัก ในอนาคต เราอาจจะได้เห็นเซียนที่เป็นผู้หญิงก็ได้ นี่รวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ผมคิดว่าในที่สุดก็จะต้องมี “เซียนหุ้นหญิง” เหมือนกัน
โดย
iruma
อาทิตย์ ต.ค. 16, 2011 2:51 pm
0
0
Re: จะซื้อหรือจะขายหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Thanks AJ.Niwes and K.little wing for sharing krub ^^ :D
โดย
iruma
อาทิตย์ ต.ค. 09, 2011 8:27 pm
0
0
Re: สอบถามเรื่อง DCA (ที่ไม่ใช่ Dollar Cost Average ครับ)
DCA - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร http://www.settrade.com/blog/nivate/2008/06/02/277
โดย
iruma
อาทิตย์ ต.ค. 02, 2011 11:40 am
0
0
Re: ลงชื่อเด็กเกษตร
โด่ง KU69 BBA Finance
โดย
iruma
จันทร์ ก.ย. 26, 2011 12:17 am
0
0
Re: จงกลัวเมื่อถึงเวลาที่ควรกลัว อย่าพึ่งหวังในเวลาที่ยังไม่
เค้าว่า กันว่า "ราคาคือสิ่งที่เราจ่าย มูลค่าคือสิ่งที่เราได้รับ" บางที เราก็จ่ายๆ ไปโดยไม่รู้ว่า มูลค่าคืออะไร อันนี้น่ากลัวครับ เช่น เดี๋ยวกับว่า บางที เราก็ขายๆ ไปโดย ไม่รู้ว่า ของที่เราขายนั้น มีมูลค่าเป็นเท่าไหร่ เพราะในตลาด หุ้นนี้ " เต็มไปด้วยคนที่รู้จักแต่ราคา แต่หาคนที่รู้จักมูลค่าของมันน้อยเต็มที " ให้ทายว่า Quote สองประโยคด้านบนนี้ ใครเป็นคนกล่าวไว้ครับ Buffett , Fisher
โดย
iruma
อาทิตย์ ก.ย. 25, 2011 10:28 pm
0
1
Re: ทำไมผมรู้สึกว่าผมไม่ได้อ่านบทความของ ดร มาหลายสัปดาห์ละ?
ใช่แล้วครับ อาจารย์ ไปอิตาลีครับ เบื่อๆก็อ่านบทความเก่าๆ ตั้งแต่ปี 45 ก็ได้ครับ ^^
โดย
iruma
เสาร์ ก.ย. 24, 2011 6:00 pm
0
1
Re: จดหมายถึงผู้ถือหุ้นBerkshire โดย Warren Buffet
ขอบคุณที่นำมาแชร์ครับ
โดย
iruma
อาทิตย์ ก.ย. 18, 2011 8:51 am
0
0
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
iruma
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
จันทร์ ส.ค. 22, 2011 10:15 am
ใช้งานล่าสุด:
พฤหัสฯ. มิ.ย. 27, 2013 11:44 pm
โพสต์ทั้งหมด:
60 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.00% จากโพสทั้งหมด / 0.01 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว