หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
icehihi
Joined: อังคาร ต.ค. 18, 2011 5:36 am
73
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - icehihi
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: ส่งออกปีหน้าออร์เดอร์หลุดซ้ำ
เวิลด์แบงก์ชี้น้ำท่วมไทยทำศก.ติดลบ 20 ตุลาคม 2554 เวลา 14:34 น. | เปิดอ่าน 1,095 | ความคิดเห็น 4 ประเด็น: วิกฤตน้ำท่วม , เวิลด์แบงก์เชื่อน้ำพัดเศรษฐกิจไทยไตรมาส4ติดลบกระทบภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมูลค่าเสียหายกว่าแสนล้าน น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารโลกได้ประเมินความเสียหายของเศรษฐกิจไทยจากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีนี้เอาไว้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท และจะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายอยู่ในระดับติดลบ เนื่องจากความเสียหายได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตาม มองว่าการลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจะส่งผลให้เศรษฐกิจในปีหน้าเติบโตได้สูงกว่าระดับ 4.4 % ซึ่งเป็นระดับที่ธนาคารโลกได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า “ในช่วงต้นปี เราได้ปรับลดตัวเลขประมาณการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 3.6 % แล้ว จากปัจจัยความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น เมื่อรวมความเสียหายจากน้ำท่วมล่าสุดเข้าไปด้วยจะทำให้การเติบโตลดต่ำลงอีก นอกจากนี้ยังส่งผลโดยตรงให้ราคาข้าวในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น จากผลผลิตที่หายไป 6-7 ล้านตัน ไม่รวมความเสียหายของประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นที่ประสบภัยธรรมชาติเช่นเดียวกัน ” น.ส.กิริฎา กล่าว http://goo.gl/M3TfV
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:43 am
0
0
Re: ธนาคารโลกขยับอันดับไทยประเทศน่าลงทุนลำดับที่ 17
เวิลด์แบงก์ชี้น้ำท่วมไทยทำศก.ติดลบ 20 ตุลาคม 2554 เวลา 14:34 น. | เปิดอ่าน 1,095 | ความคิดเห็น 4 ประเด็น: วิกฤตน้ำท่วม , เวิลด์แบงก์เชื่อน้ำพัดเศรษฐกิจไทยไตรมาส4ติดลบกระทบภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมูลค่าเสียหายกว่าแสนล้าน น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารโลกได้ประเมินความเสียหายของเศรษฐกิจไทยจากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีนี้เอาไว้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท และจะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายอยู่ในระดับติดลบ เนื่องจากความเสียหายได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตาม มองว่าการลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจะส่งผลให้เศรษฐกิจในปีหน้าเติบโตได้สูงกว่าระดับ 4.4 % ซึ่งเป็นระดับที่ธนาคารโลกได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า “ในช่วงต้นปี เราได้ปรับลดตัวเลขประมาณการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 3.6 % แล้ว จากปัจจัยความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น เมื่อรวมความเสียหายจากน้ำท่วมล่าสุดเข้าไปด้วยจะทำให้การเติบโตลดต่ำลงอีก นอกจากนี้ยังส่งผลโดยตรงให้ราคาข้าวในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น จากผลผลิตที่หายไป 6-7 ล้านตัน ไม่รวมความเสียหายของประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นที่ประสบภัยธรรมชาติเช่นเดียวกัน ” น.ส.กิริฎา กล่าว http://goo.gl/M3TfV
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:43 am
0
0
Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง
เวิลด์แบงก์ชี้น้ำท่วมไทยทำศก.ติดลบ 20 ตุลาคม 2554 เวลา 14:34 น. | เปิดอ่าน 1,095 | ความคิดเห็น 4 ประเด็น: วิกฤตน้ำท่วม , เวิลด์แบงก์เชื่อน้ำพัดเศรษฐกิจไทยไตรมาส4ติดลบกระทบภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมูลค่าเสียหายกว่าแสนล้าน น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารโลกได้ประเมินความเสียหายของเศรษฐกิจไทยจากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีนี้เอาไว้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท และจะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายอยู่ในระดับติดลบ เนื่องจากความเสียหายได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตาม มองว่าการลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจะส่งผลให้เศรษฐกิจในปีหน้าเติบโตได้สูงกว่าระดับ 4.4 % ซึ่งเป็นระดับที่ธนาคารโลกได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า “ในช่วงต้นปี เราได้ปรับลดตัวเลขประมาณการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 3.6 % แล้ว จากปัจจัยความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น เมื่อรวมความเสียหายจากน้ำท่วมล่าสุดเข้าไปด้วยจะทำให้การเติบโตลดต่ำลงอีก นอกจากนี้ยังส่งผลโดยตรงให้ราคาข้าวในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น จากผลผลิตที่หายไป 6-7 ล้านตัน ไม่รวมความเสียหายของประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นที่ประสบภัยธรรมชาติเช่นเดียวกัน ” น.ส.กิริฎา กล่าว http://goo.gl/M3TfV
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:42 am
0
0
Re: น้ำท่วมนิคมบางกระดีแล้ว -ศปภ.เตือน"ดอนเมือง-หลักสี่"เก็บ
http://goo.gl/zxmla
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:39 am
0
0
Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง
http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/รายงานพิเศษ/117052/ปลอดเตือนน้ำทุ่งมหาศาลจ่อกรุง
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:38 am
0
0
Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง
เจโทร"อัดรัฐอ่อนหัดกู้วิกฤติ โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 20 ตุลาคม 2554 21:50 น. Share ASTVผู้จัดการรายวัน – “เจโทร” อัดรัฐบาลปูไหลยับ จี้ถามหาความชัดเจนในการฟื้นฟูและช่วยเหลือธุรกิจของญี่ปุ่นที่จมบาดาลครั้งนี้ ย้ำไทยยังน่าสนใจลงมุนในสายตายญี่ปุ่น แต่ต้องมีมาตรการจัดการแก้ปัญหาที่ดีจากนี้ไป นายเซตสึโอะ อิอูจิ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ต้องการให้รัฐบาลไทยออกมาอธิบายและชี้แจงให้ละเอียดถึงการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นว่าเป็นอบย่งไร เพระหากกมีแผนการที่ดีก็ยังถือว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนในสายตาของนักลงทุนญี่ปุ่น เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณน้ำทว่วมที่รุนแรงบริษทัและธุรกิจของญี่ปุ่นได้รับบผลกระทบและเสียหายมากมายแล้ว รวมทั้งต้องการให้รัฐบาลไทยให้ข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษที่ถุกต้องด้วย เพื่อความเข้าใจในการสื่อสารกับชาวต่างชาติในไทย พร้อมกับมาตรการที่ชัดเจนสำหรับช่วยเหลือธุรกิจของญี่ปุ่นที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่นี้อย่างไรด้วย เพื่อให้แผนการฟื้นฟูเกิดขึ้นโดยเร็ว ตลอดจนความช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมมแต่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์นี่อย่างไร “จริงๆแล้วในมุมมองของนักธุรกิจญี่ปุ่นตอนนี้ที่มีต่อประเทศไทยก็ยังเป็นมุมบวก เป็นประเทศที่น่าสนใจอยู่เหมือนเดิม และยังคงดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี แต่จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบอ่ย่าใงหญ่หลวง อยากให้รัฐบาลออกมาชี้แจงว่าจะรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งหากมีการเตรียมการรับมือที่ดีประเทศไทยก็ยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนของนักธุรกิจญี่ปุ่น” ทั้งนี้บริษัทจากญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากหรือคิดเป็น 40% ของการลงทุนในต่างประเทศของญี่ปุ่นแล้ว และล่าสุดปีนี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50% ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่ชัดเจนและตอกย้ำว่าปรเทศญี่ปุ่นยังคงสนใจ ละมีความพร้อาที่จะลงทุนในไทยต่อไปหากทุกอย่างมีความชัดเจน ทั้งนี้ธุรกิจอาหารญี่ปุ่นในไทยเฉพาะตลาดในกรุงเทพฯมีเปิดรวมกันมากว่า 1,000 แห่งแล้ว นายมาซาโตะ โอทากะ อัครราชทูตฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทญี่ปุ่นอยากขอร้องให้รัฐบาลไทยเร่งออกมาแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เพราะเป็นภัยพิบัติกรณีพิเศษที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และอยากให้รัฐบาลไทยหาวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ไม่ใช่ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ เพราะไม่เช่นนั้นภัยพิบัติเดิมๆก็จะเกิดขึ้นอีก “ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทางบริษัทญี่ปุ่นหวังว่ารัฐบาลน่าจะมีวิธีการว่าทำอย่างไรจะให้อุทกภัยเกิดขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งในส่วนของนักลงทุนญี่ปุ่นโดยรวมเข้าใจปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น เพราะเป็นปัญหาที่ยากลำบากและเป็นปัญหาใหญ่ที่ยากจะแก้ไข “
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:36 am
0
0
Re: ธนาคารโลกขยับอันดับไทยประเทศน่าลงทุนลำดับที่ 17
เจโทร"อัดรัฐอ่อนหัดกู้วิกฤติ โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 20 ตุลาคม 2554 21:50 น. Share ASTVผู้จัดการรายวัน – “เจโทร” อัดรัฐบาลปูไหลยับ จี้ถามหาความชัดเจนในการฟื้นฟูและช่วยเหลือธุรกิจของญี่ปุ่นที่จมบาดาลครั้งนี้ ย้ำไทยยังน่าสนใจลงมุนในสายตายญี่ปุ่น แต่ต้องมีมาตรการจัดการแก้ปัญหาที่ดีจากนี้ไป นายเซตสึโอะ อิอูจิ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ต้องการให้รัฐบาลไทยออกมาอธิบายและชี้แจงให้ละเอียดถึงการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นว่าเป็นอบย่งไร เพระหากกมีแผนการที่ดีก็ยังถือว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนในสายตาของนักลงทุนญี่ปุ่น เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณน้ำทว่วมที่รุนแรงบริษทัและธุรกิจของญี่ปุ่นได้รับบผลกระทบและเสียหายมากมายแล้ว รวมทั้งต้องการให้รัฐบาลไทยให้ข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษที่ถุกต้องด้วย เพื่อความเข้าใจในการสื่อสารกับชาวต่างชาติในไทย พร้อมกับมาตรการที่ชัดเจนสำหรับช่วยเหลือธุรกิจของญี่ปุ่นที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่นี้อย่างไรด้วย เพื่อให้แผนการฟื้นฟูเกิดขึ้นโดยเร็ว ตลอดจนความช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมมแต่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์นี่อย่างไร “จริงๆแล้วในมุมมองของนักธุรกิจญี่ปุ่นตอนนี้ที่มีต่อประเทศไทยก็ยังเป็นมุมบวก เป็นประเทศที่น่าสนใจอยู่เหมือนเดิม และยังคงดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี แต่จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบอ่ย่าใงหญ่หลวง อยากให้รัฐบาลออกมาชี้แจงว่าจะรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งหากมีการเตรียมการรับมือที่ดีประเทศไทยก็ยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนของนักธุรกิจญี่ปุ่น” ทั้งนี้บริษัทจากญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากหรือคิดเป็น 40% ของการลงทุนในต่างประเทศของญี่ปุ่นแล้ว และล่าสุดปีนี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50% ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่ชัดเจนและตอกย้ำว่าปรเทศญี่ปุ่นยังคงสนใจ ละมีความพร้อาที่จะลงทุนในไทยต่อไปหากทุกอย่างมีความชัดเจน ทั้งนี้ธุรกิจอาหารญี่ปุ่นในไทยเฉพาะตลาดในกรุงเทพฯมีเปิดรวมกันมากว่า 1,000 แห่งแล้ว นายมาซาโตะ โอทากะ อัครราชทูตฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทญี่ปุ่นอยากขอร้องให้รัฐบาลไทยเร่งออกมาแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เพราะเป็นภัยพิบัติกรณีพิเศษที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และอยากให้รัฐบาลไทยหาวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ไม่ใช่ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ เพราะไม่เช่นนั้นภัยพิบัติเดิมๆก็จะเกิดขึ้นอีก “ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทางบริษัทญี่ปุ่นหวังว่ารัฐบาลน่าจะมีวิธีการว่าทำอย่างไรจะให้อุทกภัยเกิดขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งในส่วนของนักลงทุนญี่ปุ่นโดยรวมเข้าใจปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น เพราะเป็นปัญหาที่ยากลำบากและเป็นปัญหาใหญ่ที่ยากจะแก้ไข “
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:35 am
0
0
Re: ส่งออกปีหน้าออร์เดอร์หลุดซ้ำ
เจโทร"อัดรัฐอ่อนหัดกู้วิกฤติ โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 20 ตุลาคม 2554 21:50 น. Share ASTVผู้จัดการรายวัน – “เจโทร” อัดรัฐบาลปูไหลยับ จี้ถามหาความชัดเจนในการฟื้นฟูและช่วยเหลือธุรกิจของญี่ปุ่นที่จมบาดาลครั้งนี้ ย้ำไทยยังน่าสนใจลงมุนในสายตายญี่ปุ่น แต่ต้องมีมาตรการจัดการแก้ปัญหาที่ดีจากนี้ไป นายเซตสึโอะ อิอูจิ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ต้องการให้รัฐบาลไทยออกมาอธิบายและชี้แจงให้ละเอียดถึงการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นว่าเป็นอบย่งไร เพระหากกมีแผนการที่ดีก็ยังถือว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนในสายตาของนักลงทุนญี่ปุ่น เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณน้ำทว่วมที่รุนแรงบริษทัและธุรกิจของญี่ปุ่นได้รับบผลกระทบและเสียหายมากมายแล้ว รวมทั้งต้องการให้รัฐบาลไทยให้ข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษที่ถุกต้องด้วย เพื่อความเข้าใจในการสื่อสารกับชาวต่างชาติในไทย พร้อมกับมาตรการที่ชัดเจนสำหรับช่วยเหลือธุรกิจของญี่ปุ่นที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่นี้อย่างไรด้วย เพื่อให้แผนการฟื้นฟูเกิดขึ้นโดยเร็ว ตลอดจนความช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมมแต่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์นี่อย่างไร “จริงๆแล้วในมุมมองของนักธุรกิจญี่ปุ่นตอนนี้ที่มีต่อประเทศไทยก็ยังเป็นมุมบวก เป็นประเทศที่น่าสนใจอยู่เหมือนเดิม และยังคงดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี แต่จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบอ่ย่าใงหญ่หลวง อยากให้รัฐบาลออกมาชี้แจงว่าจะรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งหากมีการเตรียมการรับมือที่ดีประเทศไทยก็ยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนของนักธุรกิจญี่ปุ่น” ทั้งนี้บริษัทจากญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากหรือคิดเป็น 40% ของการลงทุนในต่างประเทศของญี่ปุ่นแล้ว และล่าสุดปีนี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50% ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่ชัดเจนและตอกย้ำว่าปรเทศญี่ปุ่นยังคงสนใจ ละมีความพร้อาที่จะลงทุนในไทยต่อไปหากทุกอย่างมีความชัดเจน ทั้งนี้ธุรกิจอาหารญี่ปุ่นในไทยเฉพาะตลาดในกรุงเทพฯมีเปิดรวมกันมากว่า 1,000 แห่งแล้ว นายมาซาโตะ โอทากะ อัครราชทูตฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทญี่ปุ่นอยากขอร้องให้รัฐบาลไทยเร่งออกมาแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เพราะเป็นภัยพิบัติกรณีพิเศษที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และอยากให้รัฐบาลไทยหาวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ไม่ใช่ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ เพราะไม่เช่นนั้นภัยพิบัติเดิมๆก็จะเกิดขึ้นอีก “ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทางบริษัทญี่ปุ่นหวังว่ารัฐบาลน่าจะมีวิธีการว่าทำอย่างไรจะให้อุทกภัยเกิดขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งในส่วนของนักลงทุนญี่ปุ่นโดยรวมเข้าใจปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น เพราะเป็นปัญหาที่ยากลำบากและเป็นปัญหาใหญ่ที่ยากจะแก้ไข “
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:34 am
0
0
Re: น้ำท่วมนิคมบางกระดีแล้ว -ศปภ.เตือน"ดอนเมือง-หลักสี่"เก็บ
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000134205
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:31 am
0
0
Re: ส่งออกปีหน้าออร์เดอร์หลุดซ้ำ
โลกป่วน ไทยหยุดผลิตฮาร์ดดิสก์ ปิด6นิคมไม่มีกำหนด ลงทุน3.4แสนล้านเคว้งShare49 น้ำท่วม 6 นิคมอุตสาหกรรม โรงงาน 799 แห่ง มูลค่าการลงทุนมากกว่า 341,623 ล้านบาท จมไปกับสายน้ำ พร้อมแรงงาน 317,285 คน เผยอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เสียหายหนักที่สุดกว่า 70 โรงงาน รองลงมาได้แก่ โรงงานรถยนต์และชิ้นส่วน โรงฉีดขึ้นรูปพลาสติก กระทบต่อเนื่องในฐานะซัพพลายเชนลามไปถึงโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอื่นต้องหยุดผลิตตามไปด้วย ภาคเอกชนวอนรัฐตั้งกองทุนอุตสาหกรรม ฟื้นฟูหลังน้ำลด เรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา เพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์มีนิคมอุตสาหกรรมถึง 6 แห่งที่ได้รับผลกระทบและจมอยู่ใต้กระแสน้ำที่ไหลบ่าลงมาจากจังหวัดนครสวรรค์-ลพบุรี-อยุธยา ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร พื้นที่ 905 ไร่ จำนวนโรงงาน 43 แห่ง แรงงาน 16,000 คน มูลค่าการลงทุน 19,000 ล้านบาท, นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) พื้นที่ 4,858 ไร่ จำนวนโรงงาน 143 แห่ง แรงงาน 51,185 คน มูลค่าการลงทุน 65,312 ล้านบาท, นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน พื้นที่ 1,386 ไร่ โรงงาน 89 แห่ง แรงงาน 60,000 คน มูลค่าการลงทุน 60,000 ล้านบาท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ พื้นที่ 12,000 ไร่ โรงงาน 198 แห่ง แรงงาน 90,000 คน มูลค่าการลงทุน 58,000 ล้านบาท, สวนอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ พื้นที่ 130 ไร่ โรงงาน 572 แห่ง แรงงาน 99 คน มูลค่าการลงทุน 11,000 ล้านบาท และสวนอุตสาหกรรมนวนคร พื้นที่ 6,500 ไร่ โรงงาน 227 แห่ง แรงงาน 100,000 คน มูลค่าการลงทุน 128,311 ล้านบาท (พื้นที่นิคมถูกน้ำท่วมมากกว่า 50% ไปแล้ว) รวมโรงงานที่ได้รับผลกระทบจนต้องหยุดการผลิตเป็นการชั่วคราว 799 แห่ง จำนวนแรงงานที่ได้รับผลกระทบ 317,285 คน คิดเป็นมูลค่าการลงทุนที่ได้รับความเสียหายมากกว่า 341,623 ล้านบาท รง.อิเล็กทรอนิกส์เสียหายหนักสุด "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สำรวจรายชื่อโรงงานที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 6 แห่งเป็นรายหมวดอุตสาหกรรม พบว่าโรงงานผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับความเสียหายจากวิกฤตน้ำท่วมในครั้งนี้มากที่สุดถึง 70 แห่ง รองลงมาได้แก่ โรงงานประกอบรถยนต์/ชิ้นส่วนอุปกรณ์ 65 แห่ง, โรงงานผลิตภัณฑ์พลาสติกแลพชิ้นส่วนหล่อขึ้นรูป-โรงฉีดและเม็ดพลาสติก 42 แห่ง, โรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม 31 แห่ง และโรงงานแม่พิมพ์ 30 แห่ง ครอบคลุมบริษัทสำคัญ ๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นของนักลงทุนญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ผลจากน้ำท่วม 6 นิคมในขณะนี้ถือว่าเป็นแหล่งรวมคลัสเตอร์ของอุตสาห กรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะในจังหวัดอยุธยา มีมูลค่าการผลิตคิดเป็นสัดส่วน 30-40% ของทั้งประเทศ รวมทั้งมีการเชื่อมโยงกับซัพพลายเชนในจังหวัดอื่น ๆ ทั้งปทุมธานี นครราชสีมา และปราจีนบุรี นอกจากนี้วอลล์สตรีต เจอร์นัล รายงานว่า ปัญหาอุทกภัยในประเทศไทยนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลก รวมทั้งอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากประเทศไทยถือว่าเป็นฐานผลิตฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟที่สำคัญราว 40% ของโลก โดยเฉพาะ "เวสเทิร์น ดิจิตอล" (WD) ซึ่งมีฐานการผลิตในเมืองไทยอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอินและนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ขณะนี้ต้องหยุดการผลิตทั้ง 2 โรงงาน โดยไตรมาสที่ผ่านมาเวสเทิร์น ดิจิตอลส่งฮาร์ดดิสก์ออกสู่ตลาดโลก 54 ล้านชิ้น ซึ่งในจำนวนนี้ 60% เป็นผลผลิตจากโรงงานในไทย ส่งผลให้เกิดความกังวลกันว่า ในไตรมาส 4 ที่จะถึงอาจเกิดเหตุการณ์ฮาร์ดดิสก์ขาดแคลนขึ้นได้ และนอกจากเวสเทิร์น ดิจิตอลแล้ว ยังมีซัพพลายเชนของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ต้องหยุดชะงักจากวิกฤตน้ำท่วมในไทย ทั้งฮัทชินสัน เทคโนโลยี, โอเอ็นเซมิคอนดักเตอร์ และไมโครเซมิ ผู้ผลิตชิปก็โดนหางเลขด้วย ซึ่งในส่วนของซีเกทเทคโนโลยี แม้ว่าโรงงานจะไม่ถูกผลกระทบแต่ก็ประสบปัญหาเรื่องซัพพลายเชน ทำให้น้ำท่วมในไทยเป็นการซ้ำเติมบริษัทเหล่านี้ที่ต้องประสบปัญหาซัพพลายขาดแคลนมาแล้วจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นเมื่อมีนาคมที่ผ่านมา นักวิเคราะห์มองว่า อุทกภัยในไทยซึ่งเป็นแหล่งส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์อันดับสองของโลกอาจกดดันให้ราคาในตลาดโลกสูงขึ้นและจะมีปัญหาซัพพลายที่จะป้อนให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ขาดแคลนตั้งแต่ปลายปีนี้ไปจนถึงต้นปีหน้า โรงฉีดพลาสติกจมไปกับสายน้ำ นายสมศักดิ์ บริสุทธกุล ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมใน นิคมอุตสาหกรรมขณะนี้มีโรงงานพลาสติกเป็นจำนวนมากที่ได้รับความเสียหาย โดยส่วนใหญ่จะเป็นโรงงาน ฉีดขึ้นรูปพลาสติกที่จะนำไปประกอบเป็นชิ้นส่วนไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ในขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายที่ชัดเจนได้ แต่ผลของความเสียหายในขณะนี้ นอกจากโรงงานที่ถูกน้ำท่วมโดยตรงจะไม่สามารถผลิตสินค้าได้แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อโรงงานอื่น ๆ ที่ไม่ถูกน้ำท่วมด้วย เนื่องจากซัพพลายเชนต่อเนื่องกัน เมื่อไม่มีชิ้นส่วนมาประกอบเป็นสินค้าก็ไม่สามารถผลิตได้อยู่ดี ตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตขวดพลาสติกน้ำดื่มขนาดใหญ่ของบริษัทอินโดรามาที่ลพบุรีถูก น้ำท่วม ไม่สามารถผลิตขวดพลาสติกได้ ส่งผลให้เป๊ปซี่ที่เป็นลูกค้าก็ต้องลดการผลิตลง เป็นต้น ค่ายรถเสนอตั้งกองทุนอุตฯ ขณะที่นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร รองประธานอาวุโส บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด และ กรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทแม่ยังมั่นใจประเทศไทย และทราบดีว่า เป็นเรื่องสุดวิสัยจริง ๆ รัฐบาลต้องเร่งเข้ามาฟื้นฟู ทางฮอนด้าเสนอให้ตั้ง "กองทุนอุตสาหกรรม" ขึ้นมา เพื่อช่วยผู้ประกอบการขนาดย่อมหรือขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ผลิตรถชะลอตัวกว่า 3 เดือน ด้านนางเพียงใจ แก้วสุวรรณ นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ และรอง ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ผู้ผลิตชิ้นส่วนกระทบเป็นจำนวนมากจากเหตุการณ์น้ำท่วม ย่อมต้องส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์แน่นอน เพราะการผลิตรถยนต์ชิ้นส่วนเดียวก็มีผล ทำให้เชื่อว่าตลาดโดยรวมชะลอตัวลงไปอย่างน้อย 3 เดือน จึงจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ "แม้ว่าจะมีโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนอีกหลายแห่งน้ำไม่ท่วม แต่ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะและนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับที่ 1 (1 Tier) แค่ 10 ราย ก็ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก ซึ่งตอนนี้ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรายก็จำเป็นต้องหาแหล่งชิ้นส่วนจากหลาย ๆ แหล่งมาทดแทนส่วนที่ขาดหายไป" นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่ยังคงส่งผลกระทบต่อบริษัท ผู้ผลิตชิ้นส่วน บริษัทจำป็นต้องหยุดการผลิตของโรงงานทั้ง 3 แห่งต่อเนื่อง ระหว่างวันที่ 17-22 ตุลาคม 2554 ร้านอาหารแห่ปิดตัววัตถุดิบขาด สถานการณ์น้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมนวนครล่าสุด ทำให้ "ครัวกลาง" ของร้านอาหารดังได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น เอ็มเค เรสเตอรองต์ส, ฮาจิบัง ราเมน, โออิชิ, บาร์บีคิว พลาซ่า ทำให้เชนร้านอาหารเหล่านี้จะประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบ หากสถานการณ์ไม่คลี่คลายลงในเร็ววัน โดยโออิชิขณะนี้มี สต๊อกอาหารเหลืออยู่ 11-14 วัน หลังจากนั้นหากซัพพลายเออร์ไม่สามารถ ส่งสินค้า และครัวกลางไม่สามารถกลับมาผลิตได้ ก็ต้องปิดสาขาทั้งหมด 120 แห่งลง ส่วนเอ็มเคฯได้ย้ายการผลิตมายังครัวกลางย่านถนนบางนา-ตราดเป็นการชั่วคราว แต่รายที่หนักที่สุดคือฮาจิบัง ราเมน ที่ต้องปิดตัวลงทันทีตั้งแต่หยุดการผลิตที่นวนครตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา เพิ่มขาดดุล 5 หมื่น ล.กู้น้ำท่วม ล่าสุด นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เรียกประชุมหน่วยงานด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการป้องกันสถานการณ์อุทกภัย โดย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง กล่าวว่า มีความชัดเจนแล้วว่ารัฐบาลจะทำการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม นายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เห็นชอบการขาดดุลงบประมาณประจำปี 2555 เพิ่มอีก 5 หมื่นล้านบาท ทำให้งบขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 4 แสนล้านบาท จากเดิมที่ตั้งไว้ที่ 3.5 แสนล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการฟื้นฟูด้านอุทกภัยเพิ่มเติม ทำให้มีวงเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็น 1.3 แสนล้านบาท จากเดิม 8 หมื่นล้านบาท นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เห็นชอบในหลักการที่รัฐบาลเตรียมจัดทำร่าง พรก.กู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบน้ำ ป้องกันปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว คาดว่าวงเงินจะอยู่ที่หลายแสนล้านบาท โดยแหล่งเงินกู้คาดว่าจะมาจากต่างประเทศ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1319001974&grpid=00&catid=&subcatid=
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:23 am
0
0
Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง
Home ข่าวหน้า1 Big Stories สั่งปิดนิคมฯลาดกระบัง! กนอ.หวั่นซ้ำรอยอยุธยา-ปทุมฯ Air conditioners สั่งปิดนิคมฯลาดกระบัง! กนอ.หวั่นซ้ำรอยอยุธยา-ปทุมฯ วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2011 เวลา 09:04 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - Big Stories User Rating: / 0 แย่ดีที่สุด "นวนคร"เซ่นกระแสน้ำแล้ว! ทำโรงงาน 277 แห่งช็อตไลน์นาน 2-3 เดือน ศก.จังหวัดปทุมธานีสะเทือนหนักแรงงานกว่า 2 แสนคนลอยคอ ล่าสุดกนอ.ออกหนังสือให้ 231 รง.ในนิคมฯลาดกระบัง หยุดผลิตชั่วคราว ครม.เห็นชอบเพิ่มงบขาดดุลงบปี 2555 อีก 5 หมื่นล้านบาท เตรียมออกพ.ร.ก.กู้เงินฟื้นฟูน้ำท่วมเพิ่มเติม นักเศรษฐศาสตร์ แนะรัฐสรุปแผนบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการภายใน 2-3 เดือน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนกลับ ด้านนิคมฯฝั่งตะวันออก อมตะ, เหมราช เด้งรับทุนหนีน้ำท่วม ประกอบสำนักงานจัดหางาน จ.ชลบุรี อุ้มแรงงานเข้าพื้นที่มากกว่า10,000 คน สืบเนื่องจากปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมยังคงพ่นพิษต่อเนื่อง ขยายวงลามสู่ฐานการผลิตเป็นแห่งที่ 6 แล้วหลังจากที่สวนอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ถูกกระแสน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ 6,000 ไร่ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม เพียงแต่ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอีกจำนวนมากยังรักษาพื้นที่กันน้ำท่วมไม่ให้เข้าถึงโรงงานได้ แต่ระดับน้ำที่สูงขึ้นเรื่อยๆก็อาจทำให้ฐานการผลิตดังกล่าวจมน้ำเหมือนกับ 5 ฐานการผลิตไปก่อนหน้านี้ ขณะที่ศูนย์วิจัยหลายสำนักประเมินผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้(จีดีพี)มีโอกาสปรับลดลง -ปทุมสาหัสแรงงาน2แสนคนระส่ำ นายมานะผล ภู่สมบุญ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า สวนอุตสาหกรรมนวนคร เป็นฐานการผลิตแห่งแรกของจังหวัดปทุมธานีที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมแล้ว หลังจากที่ต้านกระแสน้ำไม่อยู่ และหากโรงงานอุตสาหกรรมถูกน้ำท่วมทั้งหมด ก็คาดว่าความเสียหายจะมากกว่า 100,000 ล้านบาท เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการผลิตของผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยปัจจุบันประชากรมีรายได้ 60-70% ที่มาจากกภาคการผลิตในพื้นที่ และส่วนใหญ่จะเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นในสวนอุตสาหกรรมนวนครจำนวนมาก เพราะการเติบโตในพื้นที่ดังกล่าวเหมือนเป็นเมืองๆหนึ่ง เป็นสถานประกอบการที่มีการรวมตัวของภาคการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับ 5 ฐานการผลิตที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ได้รับผลกระทบไปก่อนหน้านี้ ดังนั้นผลที่ต่อเนื่องจากที่พื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมในสวนอุตสาหกรรมนวนครได้รับความเสียหายคือโรงงานหยุดการผลิต(ช็อตไลน์)นาน 2-3 เดือน ก็จะทำให้แรงงานมากกว่า 200,000 คนไม่มีงานทำ ในขณะที่ผู้ประกอบการไม่มีรายได้เข้ามา แต่กลับต้องมีค่าใช้จ่ายเข้ามาแทน ยังไม่รวมความเสียหายจากร้านค้า หรือธุรกิจในย่านดังกล่าวที่จะได้รับผลกระทบด้วย นับเป็นความเสียหายด้านเศรษฐกิจของจังหวัดปทุมธานีโดยตรง เพราะในสวนอุตสาหกรรมนวนคร มีทุนข้ามชาติจำนวนมากกระจายอยู่ในพื้นที่ และเป็นบริษัทร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น มีอุตสาหกรรมหลากหลายชนิด ที่ตั้งโรงงานอยู่ เช่น เนสท์เล่ ,เอ็มเค, สยามคูโบต้า ในเครือเอสซีจี เป็นต้น น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ล่าสุด (18 ต.ค.2554) ที่สวนอุตสาหกรรมนวนครซึ่งมีพื้นที่ 6,500 ไร่ 227 โรงงาน น้ำได้ไหลเข้าพื้นที่ไปแล้ว 85% ของพื้นที่ แต่โรงงานประมาณ 65% มีการจัดทำคันกั้นน้ำหน้าโรงงานไว้แล้ว ซึ่งระดับน้ำจะมีความสูงต่ำต่างกันไปตามพื้นที่ ด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอไปยัง คณะรัฐมนตรีให้สนับสนุนการกู้เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ส่วนแผนฟื้นฟูโรงงานเมื่อปริมาณน้ำเริ่มนิ่ง จะเร่งสูบน้ำออกเพื่อลดความเสียหาย สำหรับการหารือร่วมกับผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ผู้บริหารบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอลฯ (WD) ยืนยันว่ายังไม่ตัดสินใจย้ายฐานการลงทุนการผลิตฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ ออกจากประเทศไทย แต่ต้องการให้รัฐบาลเร่งกู้สถานการณ์น้ำท่วมให้ได้ภายใน 1-2 เดือน เพราะต้องใช้เวลาฟื้นฟูโรงงานกว่า 6 เดือนจึงจะกลับมาผลิตสินค้าได้ตามปกติ ประเมินเบื้องต้นจะทำให้ยอดการส่งออกหายไปกว่า 8 หมื่นล้านบาท จากปกติส่งออกปีละ 2 แสนล้านบาท ขณะที่บริษัท เอคโค่ (ประเทศไทย) จำกัด เสนอขอให้รัฐบาลดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบริษัท เพราะเกรงว่าจะมีการขโมยสินค้าคงค้างในโรงงาน พร้อมทั้งขอให้รัฐบาลให้สิทธิพิเศษทางภาษีในการเช่าเครื่องจักร เนื่องจากเอคโค่จะมีการเช่าเครื่องจักรและโรงงานชั่วคราวในพื้นที่ใกล้กรุงเทพฯ เพื่อผลิตรองเท้าชั่วคราว -สั่งนิคมฯลาดกระบังหยุดชั่วคราว ด้านนายสมคิด แท่นวัฒนกุล รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ล่าสุดได้มีการออกหนังสือขอความร่วมมือให้โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง รวม 231 โรงงานหยุดการผลิตชั่วคราว และให้ทยอยขนอุปกรณ์ออกจากพื้นที่หรือย้ายไว้ในที่สูงแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบรุนแรงเหมือนนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกันนี้ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือโดยมีเขื่อนอยู่รอบนิคมฯ ความสูง 3.20 เมตร แต่ขึ้นอยู่กับมวลน้ำด้วยว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด -ครม.เพิ่มงบขาดดุลอีก5หมื่นล. จากผลกระทบอุทกภัยครั้งนี้ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติขาดดุลงบประมาณปี 2555 จำนวน 5 หมื่นล้านบาท จากเดิม 3.5 แสนล้านบาท เป็น 4 แสนล้านบาท ส่งผลให้งบประมาณรายจ่ายโดยรวมเพิ่มจาก 2.33 ล้านล้านบาท เป็น 2.38 ล้านล้านบาท โดยมีรายจ่ายประจำ 1.85 ล้านล้านบาท คิดเป็น 78% ของงบประมาณโดยรวม และรายจ่ายลงทุน 4.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 17.8% ขณะที่รายได้ยังคงไว้ที่ 1.98 ล้านล้านบาท สำหรับแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ระยะยาว 3-5 ปีนั้นทางคณะกรรมการในชุดที่ 4 โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาฯ เป็นประธาน ทำการรวบรวมว่าเงินลงทุนมีเท่าไร และเสนอให้คลังกู้เงินออกเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) " งบขาดดุล 5 หมื่นล้านบาท ที่เพิ่มขึ้น กับงบประมาณที่ตัดงบรายจ่ายแต่ละกระทรวง 10% จำนวน 8 หมื่นล้านบาท สำหรับการใช้จ่ายระยะสั้น ขณะนี้รัฐบาลแบ่งการทำงานเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงฉุกเฉินที่จะผ่านไปแล้ว ช่วงที่ 2 ที่น้ำยังท่วมต้องเร่งดูแลประชาชน ช่วงที่ 3 เป็นช่วงกู้สถานการณ์ เพื่อให้มีการผลิตโดยเร็ว และช่วงที่ 4 เป็นช่วงการวางแผนบริหารจัดการน้ำระยะยาว ทุกช่วงต้องเดินคู่กัน" แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในทางปฏิบัตินั้น รัฐบาลน่าจะแก้ระเบียบ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2555 โดยขยายเพดานขาดดุลเต็มจำนวนเป็น 5 แสนล้านบาท จากเดิมตั้งไว้ 3.5 แสนล้านบาท หากใช้วงเงินที่กู้เพิ่ม 150,000 ล้านบาทไม่เพียงพอจึงค่อยใช้พ.ร.ก.กู้เงิน เพราะรัฐบาลยังสามารถใช้โครงการเงินกู้นอกงบประมาณ ที่เป็นเงินกู้ต่างประเทศ ในสัดส่วน 10% ของงบเงินงบประมาณ หรือกว่า 2 แสนล้านบาท จากเดิมกู้ไว้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยรัฐบาลควรศึกษาการลงทุนด้านการบริหารจัดการน้ำ ว่าจะลงทุนอย่างไร จะทำเป็นโครงการเล็กหรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับว่าโครงการเหล่านี้ ใครจะเป็นเจ้าภาพวางแผน ทั้งนี้หากเพิ่มวงเงินกู้ เป็น 5 แสนล้านบาท จะมีสัดส่วนการกู้ต่อจีดีพีเพิ่มเป็น 46%จากปัจจุบันอยู่ที่ 41% ถือว่ายังอยู่ในกรอบ ส่วนทางด้านภาระดอกเบี้ยวงเงินกู้อีกจำนวน 1.5 แสนล้านบาท คิดเป็นวงเงิน 6,000 ล้านบาท(คำนวณจากดอกเบี้ยอัตรา 4%) ยังถือว่ารับได้ อีกทั้งงบชำระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายขณะนี้อยู่ที่ อยู่ที่ 12% ยังเหลืออีก 3% ของงบประมาณรายจ่าย 2.33 ล้านล้านบาท หรือยังมีวงเงินหนี้รับได้อีก 69,000 ล้านบาท " การใช้งบประมาณตาม พ.ร.บ.งบประมาณที่ถูกต้องตามกฎหมายก่อนยังดีกว่า การใช้ พ.ร.ก.เงินกู้ ฉุกเฉิน เพราะพ.ร.ก. กู้เงิน ต้องมีการกำหนดโครงการที่ใช้เงินให้ชัดเจนก่อน และต้องไปใช้เวลาผ่านสภา มากกว่า ดังนั้น หากใช้วงเงินกู้ที่เพิ่มอีก 1.5 แสนล้านบาทไม่พอค่อยใช้ พ.ร.ก. กู้เงินก็ได้"แหล่งข่าวระบุ -สศค.ประเมินความเสียหาย นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ระบุว่า สศค.ประเมินความเสียหายจากอุทกภัยน้ำท่วม( 17ต.ค.54)ประมาณ 157,000-200,000 ล้านบาท โดยรวมน่าจะส่งผลจีดีพีลดลง 1.5% โดยผลกระทบสูงสุดเป็นภาคอุตสาหกรรมประมาณแสนล้านบาท ภาคเกษตรเกือบ 36,000 ล้านบาท ภาคบริการซึ่งรวมการท่องเที่ยวและก่อสร้างเกือบ 20,000 ล้านบาทเหล่านี้ยังเหลือที่ต้องประเมินเพิ่มนิคมอุตสาหกรรมนวนครและโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ผลกระทบต่อจีดีพีมีโอกาสถึง 2%โดยต้องดูผลต่อเนื่องซัพพลายเชนในประเทศ การส่งออก การท่องเที่ยวและการว่างงานที่จะส่งผลเศรษฐกิจมาก แต่หากรัฐบาลเร่งการใช้จ่ายของประชาชนและการลงทุนฟื้นฟูจะเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นทำให้ความเสียหายไม่เลยร้ายกว่าที่คาด แนวทางเยียวยานั้น จริงๆกรอบขาดดุลยังมีรูมกู้ได้อีก 1.5แสนล้านบาทเบื้องต้นที่เลือกกู้ 5 หมื่นล้านบาทนั้นเพราะมีเงิน 8 หมื่นล้านบาท จากที่ได้เจียดจ่ายเงินงบประมาณปี 2555 ของแต่ละกระทรวงลง 10%รวมเป็น 1.3 แสนล้านบาท อีกทั้งนโยบายรัฐบาลที่จะมีผลปีหน้าในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล,ค่าแรงขั้นต่ำ ,ปรับเงินเดือน,และเบี้ยยังชีพเหล่านี้เป็นการใส่เงินในมือให้ประชาชนใช้จ่ายบวกกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังน้ำลดที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ปีหน้ารัฐบาลต้องให้น้ำหนักความสำคัญในการกระตุ้นการใช้จ่ายประชาชน กระตุ้นการลงทุนและมาตรการที่ออกมานั้นต้องวัดประสิทธิผลโดยเฉพาะการเบิกจ่าย ที่หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องเร่งเบิกจ่ายตามวัตถุประสงค์และโครงการที่จัดทำไว้เพราะปีหน้าถ้าเศรษฐกิจโลกทรุดมากกว่านี้ไทยต้องเตรียมแผน 2 รองรับด้วย -แนะจัดการน้ำแบบบูรณาการ ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)(บมจ.)กล่าวว่า หลังจากนี้ผลเชิงบวกต้องลงทุนเพิ่มทำให้จีดีพีปีหน้าโตหากโรงงานต่างๆฟื้นได้ใน 3เดือนที่สำคัญรัฐบาลต้องเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนโดยจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการเป็นระบบภายใน 2-3 เดือนโดยไม่ต้องรอสรุปผลความเสียหาย เพราะแผนดังกล่าวจะทำให้นักลงทุนตัดสินใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมองว่าทิศทางดอกเบี้ยอาร์/พีมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาลงโดยเชื่อว่าที่ประชุมกนง.จะคงดอกเบี้ยอาร์/พีในการประชุมดังกล่าว และปีหน้าถ้าเศรษฐกิจโลกมีปัญหา 4ประเทศในเอเชียที่พึ่งพาการส่งออกได้แก่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย ไต้หวัน จะต้องปรับลดดอกเบี้ยอาร์/พี ส่วนความเห็นต่อจีดีพีนั้นธนาคารได้ปรับลดประมาณการจีดีพีปีนี้ลงมา 1%เหลือ 2.75-3.25%จากเดิม 3.5-4%สาเหตุอุตสาหกรรมส่งออกกระเทือนเป็นแสนล้านบาท ส่วนความกังวลผลกระทบจากอุทกภัยจะส่งผลต่อการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันพุธที่ 19 ต.ค.ในการกำหนดทิศทางดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1วันหรือดอกเบี้ยนโยบาย(อาร์/พี)นั้น จากการสำรวจตลาดการเงินทั้งบมจ.กสิกรไทย ,ไทยพาณิชย์,กรุงศรีอยุธยา,ทหารไทย,ซีไอเอ็มบีไทยและสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย)ต่างเห็นพ้องกันว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายหรืออาร์/พีไว้ที่ระดับ 3.50% เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจระยะยาว -โซนตอ.เด้งรับรง.หนีน้ำท่วม นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้นิคมอุตสาหกรรมในกลุ่มอมตะยังมีพื้นที่ที่ยังไม่ได้พัฒนาอีก 16,000 ไร่ แบ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ที่จ.ชลบุรี ที่มีประมาณ 10,000 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างทะเลประมาณ 2 กิโลเมตร สามารถระบายน้ำลงทะเลได้เร็ว หากเกิดน้ำท่วมขัง และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ที่ จ.ระยอง ประมาณ 6,000 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม ในจำนวนนี้มีการพัฒนาพื้นที่บางส่วนแล้วและพร้อมใช้พื้นที่ได้เลย ซึ่งเมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมาก็มีการเซ็นสัญญากับลูกค้าที่หนีมาจากเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ จำนวน 2 ราย ที่จะเข้ามาอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครแล้ว -รับแรงงานกว่าหมื่นคน อย่างไรก็ตามเวลานี้กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมอมตะพยายามจะลงมาช่วยภาครัฐลดปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะปัญหาแรงงานที่ไม่มีงานทำในช่วงที่ผู้ประกอบการอยู่ในช่วงฟื้นฟูโรงงานโดยร่วมมือกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดชลบุรีที่มีเครือข่ายประสานกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่แล้วในการรับคนที่ยังไม่มีงานทำเข้ามาทำงานในพื้นที่ฝั่งตะวันออกโดยมีตำแหน่งรองรับได้มากกว่า 10,000 คน ทั้งนี้กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมอมตะต้องการป้อนแรงงานให้กับลูกค้าที่มีการลงทุนทั้ง 2 แห่ง ซึ่งมีลูกค้ารวมกันทั้งหมด 750 ราย ที่ยังต้องการแรงงานอีกจำนวนมาก ด้านนายเผ่าพิทยา สมุทรกลิน ผู้อำนวยการนักลงทุนสัมพันธ์และวางแผน บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) (HEMRAJ) กล่าวว่า ขณะนี้เหมราชมีความเป็นห่วงนิคมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางโดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทุกด้าน ทั้งนี้เหมราชที่แม้ว่าจะตั้งอยู่ในภาคตะวันออกอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลค่อนข้างมาก และยังไม่เคยประสบกับปัญหาน้ำท่วม แต่ก็ได้ดำเนินมาตรการป้องกันน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สำหรับน้ำท่วมครั้งนี้ยอมรับว่าในระยะสั้นคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้ แต่ในระยะยาวยังมั่นใจว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านการลงทุนอยู่ ในปัจจุบันเหมราชมีนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกรวม 4 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) นิคมอุตสาหกรรมเหมราช ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) และมีเขตประกอบการอุตสาหกรรม 2 แห่งที่จังหวัดระยองและสระบุรี ซึ่งยังมีพื้นที่ว่างพร้อมพัฒนาเพื่อรองรับการลงทุนรวมประมาณ 7,700 ไร่ -ลูกจ้างกระทบกว่า4 แสนคน ด้านนางสาวส่งศรี บุญบา ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานการประชุมสถานการณ์ อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากอุทกภัย มี 9,629 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 478,143 คน ส่วนนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี ที่อยู่ในระหว่างการเฝ้าระวัง มีสถานประกอบกิจการ 270 แห่ง และลูกจ้าง 170,000 คน ด้านกรมการจัดหางานจัดหาตำแหน่งงานว่างรองรับ 106,248 อัตรา โดยในพื้นที่จังหวัด ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ เตรียมตำแหน่งงานไว้รองรับแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมไว้แล้ว 25,000 อัตรา นอกจากนี้ยังมีโครงการจัดส่งแรงงานไปยังต่างประเทศในระบบรัฐต่อรัฐ โดยโครงการแรกเป็นประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรที่มี 5,000 อัตรา จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,680 20 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:13 am
0
0
Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง
ฟิทช์จับตาฐานะลูกค้าหุ้นกู้ วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2011 เวลา 10:17 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ การเงิน Financial - การเงิน Financial User Rating: / 0 แย่ดีที่สุด ฟิทช์เรทติ้ง จับตาลูกค้าถี่ยิบ หวั่นฐานะการเงินเปลี่ยน แผนระดมทุนสะดุด หลังโดนปัจจัยลบใน-นอกกระหน่ำ เตรียมเข้าพบผู้บริหารประจำไตรมาส รับกลุ่มพลังงานเสี่ยงจากปัญหาหนี้กรีซ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ มีโอกาสเกิดสินค้าล้นตลาด ด้านปัญหาน้ำท่วมอยู่ในช่วงประเมินสถานการณ์ ด้านทริสเรทติ้ง ประกาศเครดิตพินิจแนวโน้ม"ลบ"สวนอุตสาหกรรมโรจนะ-ไทคอน นายเลิศชัย กอเจริญรัตนกุล ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จาก 2 ปัจจัยลบทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กระทบต่อภาคธุรกิจ ประกอบด้วยวิกฤติหนี้กรีช ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และวิกฤติน้ำท่วมในประเทศ ทำให้บริษัทจับตาลูกค้าอย่างใกล้ชิด เพราะอาจประสบปัญหาฐานะทางการเงินได้ ส่วนวิกฤติน้ำท่วมยังอยู่ในช่วงประเมินความเสียหายของลูกค้า ส่วนผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอ ทำให้บริษัทต้องติดตามสถานการณ์เป็นพิเศษในกลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันปรับตัวลง โดยเฉพาะบริษัทที่มีแผนระดมทุนอาจจะสะดุดได้จากฐานะทางการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงจนอาจส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสด ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์นั้น บริษัทยังจะต้องจับตาเช่นกันจากกรณีที่อาจเกิดผลกระทบต่อสภาพคล่อง อย่างไรก็ตามฟิทช์ประเมินว่าเบื้องต้นคงยังไม่น่าจะมีการปรับมุมมอง (Out look) ลูกค้าในกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และอสังหาริมทรัพย์ แต่เตรียมที่จะเข้าพบผู้บริหารของบริษัททั้งในกลุ่มพลังงานและอสังหาริมทรัพย์ต่อกรณีการแก้ไขปัญหาฐานะทางการเงิน ซึ่งบริษัทได้จัดเป็นประจำทุกไตรมาสอยู่แล้ว สำหรับลูกค้าของฟิทช์ ปัจจุบันมีดังนี้ กลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี เช่น บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) (บมจ.)หรือปตท.สผ. บมจ.ไทยออยล์ บมจ.ไออาร์พีซี ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มี บมจ. เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ฯ และบมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เป็นต้น อนึ่งเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้ประกาศ "เครดิตพินิจ" แนวโน้ม "Negative" หรือ "ลบ" ให้แก่อันดับเครดิตองค์กรของ บมจ.สวนอุตสาหกรรมโรจนะ และอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันของบมจ.ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น สืบเนื่องจากเหตุอุทกภัยในสวนอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2554 และในอีกหลายแห่งทั่วประเทศ รวมถึงพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าให้เช่าของบมจ.ไทคอน ทั้งนี้ผลกระทบจากน้ำที่ท่วมสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จะส่งผลให้ฐานะการเงินของบริษัทดังกล่าวอ่อนแอลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากโรงไฟฟ้าซึ่งสร้างรายได้ 60% ของรายได้รวมอาจต้องหยุดดำเนินงานประมาณ 3-6 เดือน อย่างไรก็ตาม ความเสียหายบางส่วนจะได้รับการชดเชยจากบริษัทประกันภัยซึ่งคุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินและการสูญเสียรายได้ในช่วงหยุดดำเนินการ ในส่วนของผลกระทบที่จะเกิดต่ออันดับเครดิตของบมจ.สวนอุตสาหกรรมโรจนะนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดอุทกภัย ระยะเวลาที่ลูกค้าในสวนอุตสาหกรรมจะกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติ รวมทั้งมูลค่าการซ่อมแซมโรงไฟฟ้าและสาธารณูปโภคในสวนอุตสาหกรรม สำหรับบมจ.ไทคอนประกาศว่าโรงงานและคลังสินค้าให้เช่าทั้งหมดของบริษัทที่ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะได้ถูกน้ำท่วม ซึ่งประกอบด้วยโรงงานให้เช่า 30 หลังและคลังสินค้าให้เช่า 3 หลัง รวมพื้นที่ 107,324 ตารางเมตร (ตร.ม.) ณ เดือนกันยายน 2554 มีพื้นที่ให้เช่ารวม 514,025 ตร.ม. ตั้งอยู่พื้นที่ 13 แห่งในประเทศไทย พื้นที่ให้เช่าที่ประสบอุทกภัยคิดเป็นสัดส่วน 21% ของพื้นที่เช่ารวมของบริษัทและสร้างรายได้ 22% ของรายได้ค่าเช่ารวมในครึ่งแรกของปี 2554 อย่างไรก็ตาม โรงงานและคลังสินค้าให้เช่าที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอื่น เช่น นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค และนิคมอุตสาหกรรมนวนครยังคงมีความเสี่ยงที่จะประสบอุทกภัยเนื่องจากสถานการณ์น้ำหลากยังไม่สิ้นสุด ขณะที่ความเสียหายจะได้รับการชดเชยบางส่วนจากบริษัทประกันภัยซึ่งคุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สิน ในส่วนของผลกระทบที่จะเกิดต่ออันดับเครดิตของบมจ.ไทคอน จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดอุทกภัยและระยะเวลาที่ลูกค้าโรงงานและคลังสินค้าให้เช่าจะกลับมาดำเนินงานได้เป็นปกติ จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,680 20 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 6:09 am
0
0
Re: ศูนย์ข้อมูลฯชี้เบื้องต้นบ้านจัดสรรจมน้ำ5หมื่นหลัง
หุ้นกลุ่มอสังหาสำลักน้ำ Q4ยอดขาย-รายได้ทรุด วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2554 ผู้เข้าชม : 88 คน อสังหาฯ เจอพิษน้ำท่วม! กระทบงบไตรมาส 4/54 รายได้-กำไรลด เหตุกำลังซื้อหายทำยอดขาย-ยอดโอนหด ฟาก PS รับน้ำท่วมกดรายได้-ยอดขายไตรมาส 4/54 ร่วง โบรกฯแนะซื้อ AP-LH-LPN-SPALI น้ำยังไม่ท่วมและราคาหุ้นยังถูก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังสถานการณ์น้ำท่วมลุกลามจากภาคเหนือสู่ภาคกลาง และท่วมรุนแรงนั้น ส่งผลกระทบภาคธุรกิจหลายธุรกิจ รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (พัฒนาที่อยู่อาศัย) ที่ทำให้ยอดขาย และยอดโอนลดลง โดยวานนี้ราคาหุ้นกลุ่มอสังหาฯปรับตัวลดลงถ้วนหน้า นำโดย บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท (PS) ปิด 11.60 บาท ลดลง 1.20 บาท หรือลดลง 9.38% บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH) ปิด 5.80 บาท ลดลง 0.45 บาท หรือลดลง 7.20% บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเม้นท์ (LPN) ปิด 9.90 บาท ลดลง 0.40 บาท หรือลดลง 3.88% บมจ.ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QH) ปิด 1.33 บาท ลดลง 0.05 บาท หรือลดลง 3.62% และ บมจ.ศุภาลัย (SPALI) ปิด 11.80 บาท ลดลง 0.40 บาท หรือลดลง 3.28% เป็นต้น นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงในช่วงนี้ เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งอาจมีผลต่อเป้าหมายยอดขาย และยอดการโอนบ้านที่อาจคลาดเคลื่อนไปจากคาดการณ์ โดยเฉพาะ LH ที่ขายบ้านสร้างเสร็จพร้อมอยู่ กำลังซื้ออาจหายไปกระทบยอดขายได้ในช่วงไตรมาสที่ 4/54 ขณะที่ PS ก็มีหลายโครงการบ้านที่จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ก็อาจจะได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมได้เช่นกัน แต่ในแง่ปัจจัยพื้นฐานยังคงแนะนำ "ซื้อ" LH และ PS อยู่ เพียงแต่ช่วงนี้ควรจะชะลอการลงทุนไปก่อน นายสมบูรณ์ วศินชัชวาล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบัญชีและการเงิน บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ส่งผลกระทบกับโครงการที่บริษัทกำลังพัฒนาในปัจจุบัน ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามี 6 โครงการ มูลค่ารวม 3-4 พันล้านบาท ทั้งโครงการที่กำลังมีการโอนและยังไม่ได้โอน ที่ได้รับผลกระทบมากจากระดับน้ำสูงย่านรังสิต คลอง 3 และพุทธมณฑลสาย 4 เป็นต้น โดยบริษัทคาดว่ายอดขายในไตรมาส 4/54 จะลดลงประมาณ 5-10% เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคชะลอลงทั้งโครงการเดิมและโครงการใหม่ บริษัทจึงตัดสินใจเลื่อนแผนการเปิดโครงการใหม่บางโครงการในไตรมาสที่ 4/54 จากแผนเดิมที่จะเปิดขาย 10-20 โครงการ อาจจะต้องเลื่อนไปเปิดในปี 2555 บางส่วน ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะน้ำท่วม ส่งผลกระทบต่อการเข้าชมโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอประเมินตัวเลขยอดขายในเดือนตุลาคม แต่ในช่วงครึ่งแรกของเดือนตุลาคม 2554 ยอดขายอยู่ในระดับที่น่าพอใจ มียอดขาย 1.1-1.2 พันล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม อยากให้ภาครัฐเร่งจัดการในแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นโดยเร็ว ซึ่งก็คงจะต้องติดตามกำลังซื้ออีกครั้ง หลังจากปริมาณน้ำลดว่าฟื้นตัวได้เร็วแค่ไหน ขณะที่แผนการพัฒนาโครงการในต่างประเทศในปีนี้ บริษัทก็ชะลอการเปิดไปด้วย ทั้งประเทศอินเดีย และเวียดนาม ซึ่งบริษัทได้ตั้งเป้าหมายว่า จะมียอดขาย 4 พันล้านบาทจากโครงการต่างประเทศ แต่เนื่องจากไม่สามารถโอนที่ดินได้ รวมทั้งโครงการที่มัลดีฟส์ ในเฟส 2 ก็เลื่อนไปปี 2555 จากแผนเดิมที่จะขยายเฟส 2 ในปี 2554 จากปัจจัยดังกล่าว บริษัทจึงคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อยอดขายในปี 2554 เหลือจำนวน 3.4 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายยอดขายปี 2554 ไว้ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังจะเลื่อนแผนการออกหุ้นกู้วงเงิน 3-5 พันล้านบาท ออกไปเป็นไตรมาสที่ 1/55 จากเดิมที่วางแผนไว้ในไตรมาสที่ 4/54 โดยจุดประสงค์การเสนอขายหุ้นกู้เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการใหม่ ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า หลังจากภาพหลายโครงการบ้านที่รัตนาธิเบศร์ ถนน 345 ที่ถูกน้ำท่วมในระดับสูง เช่น ฟลอร่าวิลล์ของ MK, มณีรินทร์ของ PF ก็คาดว่าจะส่งผลลบต่อหลักทรัพย์เหล่านี้ อีกทั้งสิ่งที่ต้องติดตามต่อไปคือ น้ำจะท่วมกรุงเทพฯในเขตเมืองหรือไม่ เพราะโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆก็ตั้งอยู่ในเขตเมืองและปริมณฑลนั่นเอง เราจึงเชื่อว่าภาวะน้ำท่วมขัง จะกลับมาเป็นปัจจัยลบระยะสั้นในหลักทรัพย์หมวดนี้ หลังจากก่อนหน้านี้ยอดขายและโอนกรรมสิทธิ์ก็ทำได้น้อย เพราะรอความชัดเจนมาตรการให้สิทธิประโยชน์ผู้ซื้อบ้านจากภาครัฐ ดังนั้นหากภาวะน้ำท่วมขังมีความรุนแรงในเขตกรุงเทพฯ ก็อาจจะต้องปรับลดประมาณการปี 2554 ลงไป อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกเขตน้ำท่วมที่เข้าโครงการจะกระทบกับผู้ประกอบการเสมอไป เพราะหากมีการโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว ก็จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการ เพียงแต่อาจก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย ที่ผู้ประกอบการยังเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อปกป้องภาพพจน์ไม่ให้เสียหาย สำหรับหลักทรัพย์หมวดที่อยู่อาศัยยังดีอยู่ในระยะยาว เพราะเห็นว่าในปี 2555 ธุรกิจหมวดนี้จะมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้น เพราะหลังน้ำท่วมลดลง มาตรการภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับการซื้อบ้านระดับราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาทลงมา ในช่วงเวลาจนถึงปลายปี 2555 รวมทั้งการปล่อยกู้ดอกเบี้ย 0% สำหรับบ้านที่มีระดับราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท ก็จะสามารถเพิ่มยอดขายและยอดโอนที่ดีขึ้นตลอดปี 2555 นี้ Top Pick ที่แนะนำ "ซื้อ" หุ้นหมวดที่อยู่อาศัยคือ AP, LH, LPN และ SPALI (ยังไม่ถูกน้ำท่วม) เพราะประเมินราคาหุ้นยังถูก (P/E ต่ำ) และอัตราผลตอบแทนปันผลดีอยู่ในระดับ 5-6% http://www.kaohoon.com/daily/15163/หุ้นกลุ่มอสังหาสำลักน้ำ-Q4ยอดขาย-รายได้ทรุด.htm
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 5:58 am
0
0
Re: ศูนย์ข้อมูลฯชี้เบื้องต้นบ้านจัดสรรจมน้ำ5หมื่นหลัง
อสังหาริมทรัพย์ วันที่ 19 ตุลาคม 2554 11:01บ้านจัดสรรอ่วมน้ำท่วมหนัก'มั่นคง-เพอร์เฟค'เร่งเคลียร์ลูกค้า โดย : โต๊ะข่าวธุรกิจการตลาด หมู่บ้านจัดสรรชานเมืองกระทบหนัก ทำเลโซนตะวันตก-ตะวันออกกทม.เสี่ยง มั่นคงฯ-เพอร์เฟคฯนำร่องแก้ปัญหาหลังรับวิกฤตน้ำท่วม สถานการณ์น้ำท่วมย่านชานเมืองรอบกรุงเทพฯ ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบชัดเจนต่อหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งส่วนใหญ่กระจายอยู่ในพื้นที่รอบนอก โดยเฉพาะในทำเลด้านตะวันตกทิศเหนือของกรุงเทพฯ ย่านปทุมธานี-บางบัวทอง บนถนนสาย 345 ซึ่งพบว่ามีบ้านจัดสรรหลายโครงการ ได้รับผลกระทบน้ำท่วมแล้ว เห็นภาพชัดเจน คือโครงการชวนชื่น ฟลอร่าวิลล์ กอล์ฟ คลับ, โครงการมณีรินทร์ เลค & พาร์ค, โครงการปาริชาติ ปทุมธานี "กรุงเทพธุรกิจ" สำรวจความเสียหายเบื้องต้นโครงการดังกล่าวพบว่า ทั้ง 2 โครงการ คือ ชวนชื่น ฟลอร่าวิลล์ กอล์ฟ คลับ และ มณีรินทร์ เลค & พาร์ค ยังเป็นโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาต่อเนื่อง โดยมีพื้นที่จัดสรรเฟสใหม่ๆ ทยอยขายอยู่ในปัจจุบัน โครงการเหล่านี้จึงยังอยู่ในความดูแล ของผู้ประกอบการจัดสรร เนื่องจากยังไม่ได้ทำการโอนการบริหารจัดการชุมชน ให้กับนิติบุคคลบ้านจัดสรร ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ภาระความรับผิดชอบ จากผลกระทบน้ำท่วมครั้งนี้ จึงยังคงอยู่ในความดูแลของผู้ประกอบการ โดยโครงการชวนชื่น ฟลอร่าวิลล์ กอล์ฟ คลับ นางสาวชุติมา ตั้งมติธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า ทางบริษัทได้พยายามให้ความช่วยเหลือลูกบ้านอย่างเต็มกำลังความสามารถ และยอมรับว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อน เนื่องจากที่ตั้งโครงการซึ่งพัฒนาบนที่ดินกว่า 402 ไร่ บนถนนกรุงเทพฯ-ปทุมธานี (สาย 345) ตำบลบางคูวัด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี นั้นอยู่ในชัยภูมิที่น่าปลอดภัย และใกล้คันกั้นน้ำใหม่ของจังหวัดปทุมฯ ที่ทำขึ้นมาหลังเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2538 นับตั้งแต่ได้เข้ามาพัฒนาที่ดินแปลงนี้ และย้อนหลังไปกว่า 10 ปีก็ไม่มีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่เลย แก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อนฟื้นฟู ผู้บริหารมั่นคงฯ ย้ำว่ามาตรการป้องกันน้ำที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ เชื่อว่ารับมือกับภาวะน้ำที่มาตามปกติได้ แต่เหตุการณ์ครั้งนี้น้ำมากเกินปกติ จึงเกิดภาวะท่วมสูงภายในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้โครงการชวนชื่นฯในบริเวณดังกล่าว ได้รับผลกระทบ 3 โครงการด้วยกัน คือ 1.โครงการชวนชื่น ฟลอร่าวิลล์, 2.โครงการชวนชื่น กอล์ฟ อเวนิว, และ 3.โครงการชวนชื่นบรู๊คไซด์ โดย 2 โครงการแรกเป็นโครงการเดิมที่ขายเกือบหมดแล้ว และได้โอนให้ลูกค้าไปแล้วเกือบ 500 ยูนิต ซึ่งเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมทั้งหมด ส่วนโครงการที่ 3 เป็นโครงการใหม่ที่เพิ่งเปิดขาย จำนวน 100 ยูนิต อยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยมียอดขายไปแล้วราว 30% เป็นบ้านเดี่ยวระดับราคาเริ่มต้น 3-4 ล้านบาท ส่วน 2 โครงการแรกที่มีปัญหาเป็นบ้านหลังใหญ่มีหลายระดับราคา ถึงขั้น 10 ล้านบาทก็มี "ลูกค้าเข้าใจสถานการณ์พอสมควร เราเองก็พยายามแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยการช่วยนำคนออกจากหมู่บ้าน และประสานกับหน่วยงานท้องที่ ติดตามสถานการณ์น้ำ และจัดทีมคอยดูแลบ้านให้ลูกค้าที่อพยพออกมาข้างนอก ส่วนการประเมินความเสียหาย และความช่วยเหลืออื่นๆ กำลังเตรียมการในลำดับต่อไป" นางสาวชุติมา กล่าว ด้าน โครงการ มณีรินทร์ ปทุมธานี อยู่ในภาวะเดียวกัน คือ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ยังเป็นเจ้าของโครงการและบริหารจัดการภายใน ไม่ได้โอนให้นิติบุคคลตามกฎหมายใหม่ แม้จะพัฒนามานานกว่า 10 ปีแล้วก็ตาม เนื่องจากยังมีพื้นที่พัฒนาเป็นเฟสต่อเนื่องออกขาย ผลกระทบล่าสุดพบว่ามีน้ำท่วมสูงกว่า 1-1.50 เมตร แต่ยังมีลูกบ้านอาศัยอยู่ภายในโครงการ สิ่งที่เพอร์เฟคฯ ดำเนินการขณะนี้ เป็นเรื่องอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกบ้านในการเข้าและออกโครงการ ขณะเดียวกัน เพอร์เฟค ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย ผ่านเฟซบุ๊ค ในการติดต่อสื่อสารปัญหาน้ำท่วมกับลูกค้า เปิดหน้าเพจในเฟซบุ๊ค อัพเดทสถานการณ์น้ำท่วม ทั้งหน้าเฟซบุคของบริษัทพร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค ที่ http://www.facebook.com/topic.php?uid=120148208202&topic=16144#!/PropertyPerfect และหน้าเพจรายงานสถานการณ์น้ำท่วม Flood Fighting'54 ที่ http://www.facebook.com/topic.php?uid=120148208202&topic=16144 http://bit.ly/nPpVmn
โดย
icehihi
ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 5:28 am
0
0
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
icehihi
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
อังคาร ต.ค. 18, 2011 5:36 am
ใช้งานล่าสุด:
เสาร์ ต.ค. 22, 2011 8:16 pm
โพสต์ทั้งหมด:
73 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.00% จากโพสทั้งหมด / 0.02 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว