หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
KP16
Joined: จันทร์ ก.ค. 16, 2012 3:02 pm
46
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - KP16
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: **วันนี้10.00โมง**เปิดรับงานสังสรรค์ VIประจำปี 61(ครั้งท
KP16 / สมาชิกสมาคม / นายชัชวาลย์ พงษ์กิตติหล้า / บุคคลทั่วไป / 2 ที่นั่ง / 3,041.00 บาท / scb / 27-09-2561 / 10:19
โดย
KP16
พฤหัสฯ. ก.ย. 27, 2018 10:32 am
0
0
Re: <วันนี้เปิดจอง10.00น.>งานสังสรรค์ VI ประจำปี 2561 ครั้งท
KP16 / สมาชิกสมาคม / 1ที่นั่ง / 1,440.00 บาท / SCB / 13-03-2561 /10:03
โดย
KP16
อังคาร มี.ค. 13, 2018 10:07 am
0
0
Re: ***เปิดจอง 9.00***Vietnam Investment Forum I (HCMC)
จอง
โดย
KP16
จันทร์ ก.ย. 11, 2017 9:00 am
0
0
Re: """งานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560 ครั้งที่ 2"""">>>จอง 16 ส
KP16 / สมาชิกสมาคม / chatchap / สมาชิกสมาคม / 2 ที่นั่ง / 2,701 บาท / SCB / 16-08-2560 / 10:02
โดย
KP16
พุธ ส.ค. 16, 2017 10:05 am
0
0
Re: (วันนี้เปิดจอง10.00 น.):::งานสังสรรค์ VI ประจำปี 2560
KP16/สมาชิกสมาคม/chatchap/สมาชิกสมาคม/2ที่นั่ง/2,700.00 บาท /SCB/8-03-2560/10:09
โดย
KP16
พุธ มี.ค. 08, 2017 10:12 am
0
0
Re: สรุปความรู้งานVIครั้งที่ 2/59(Investment by looking arou
ขอบคุณมากๆเลยครับ
โดย
KP16
ศุกร์ ก.ย. 16, 2016 5:37 pm
0
0
Re: “มองหาไอเดียการลงทุน"งานสังสรรค์ VI-59 ครั้งที่2 (ห้ามพล
KP16 / สมาชิกสมาคม / chatchap / สมาชิกสมาคม /2 ที่นั่ง / 2700.00 บาท / SCB / 22-08-2559/10.03
โดย
KP16
จันทร์ ส.ค. 22, 2016 10:10 am
0
0
Re: ดู PE ของ SET ได้ที่ไหนครับ
อยู่ใน web ตลาดหลักทรัพย์นั่นแหละครับ Link นี้ ไว้ดู PE PB update แต่ละวันของตลาดครับ http://marketdata.set.or.th/mkt/marketsummary.do?language=th&country=TH Link นี้ไว้ดู PE PB ย้อนหลังครับ (download เป็น excel) http://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html
โดย
KP16
อาทิตย์ มี.ค. 29, 2015 6:16 pm
0
1
Re: เปิดจองงานสังสรรค์ VI ปิดงบปี 57 **10.00 โมงเช้านี้ค่ะ**
KP16 / สมาชิกสมาคม / KP16 / สมาชิกสมาคม / 2 ที่นั่ง / 1,980.00 บาท / scb / 03-03-2558 / 10:29
โดย
KP16
อังคาร มี.ค. 03, 2015 10:32 am
0
0
Re: สรุปเนื้อหา Esan Investor Meeting # 4 8 มีนาคม
ขอบคุณครับ
โดย
KP16
พฤหัสฯ. พ.ค. 08, 2014 12:45 pm
0
1
Re: งานสังสรรค์ VI Q4/56 "วิถีวีไอ"
KP16 / สมาชิกสมาคม / 1ที่นั่ง / 1,170.00 บาท / SCB / 10-03-2557 /10:41
โดย
KP16
จันทร์ มี.ค. 10, 2014 10:47 am
0
0
Re: Sharing การร่วมงาน 10ปี Thaivi 60 ปีปูชนียาจารย์
ขอบคุณทีมงานทุกคนมากครับ
โดย
KP16
จันทร์ ส.ค. 19, 2013 10:22 pm
0
1
Re: สรุปความรู้จากการร่วมงาน 10ปี Thaivi 60 ปีปูชนียาจารย์ 1
ขอบคุณครับผม
โดย
KP16
จันทร์ ส.ค. 19, 2013 9:52 pm
0
0
Re: ประสบการณ์การลงทุน 23 ปี ของพี่ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ ครับ
ขอบคุณครับผม :D
โดย
KP16
เสาร์ มี.ค. 30, 2013 6:58 pm
0
0
Re: สรุป สัมมนาหุ้นรวยได้ # พี่โจ ลูกอิสาน 24/3/56
ขอบคุณ คุณ TLSS และ พี่โจครับ
โดย
KP16
เสาร์ มี.ค. 30, 2013 6:22 pm
0
1
Re: สังสรรค์VI Q4/55พบกับเฮียคลายเครียดvsพี่มือเก่าหัดขับ
ไม่ทราบว่าครั้งนี้ ดร นิเวศน์ พูดด้วยรึเปล่าครับ
โดย
KP16
ศุกร์ มี.ค. 15, 2013 11:12 pm
0
0
Re: ประกาศชื่อผู้ที่จองได้และมีสิทธิ์โอนเงิน สังสรรค์ VI Q4/
KP16 / สมาชิกสมาคม / เด็กวัด / สมาชิกสมาคม / 2 ที่นั่ง / 2,341.00 / แบงค์กรุงไทย / 19-02-2556 / 18:55
โดย
KP16
อังคาร ก.พ. 19, 2013 9:34 pm
0
0
Re: งานสังสรรค์ VI Q4/55 "เจาะเคล็ดวิชาฝ่าวงล้อมวิกฤต"
KP16/สมาชิกสมาคม/เด็กวัด/สมาชิกสมาคม/2 ที่นั่ง ครับ
โดย
KP16
ศุกร์ ก.พ. 15, 2013 10:07 am
0
0
Re: ชีวิตที่เรียบง่าย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
[quote="chatchai"]แต่คนส่วนใหญ่ที่เล่นหุ้นมักจะเครียดมากกว่า ขายหุ้น แต่หุ้นขึ้น ก็เครียด ซื้อหุ้น แล้วหุ้นตก ก็เครียด เล็งหุ้นไว้ ซื้อไม่ทัน ราคาวิ่งก่อน ก็เครียด ดัชนีขึ้น แต่หุ้นเราไม่ขึ้นก็เครียด เครียดง่ายจริงๆ ถ้าคิดไม่เป็น[/quote] พี่ฉัตรพอบอกได้ไหมครับว่า "คิดเป็น" มันต้องคิดยังไงครับ เพราะเรื่องนี้ผมว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับนักลงทุนอาชีพ หรือ คนที่มุ่งเน้นในการลงทุนหุ้นจริงๆ เนื่องจากเราต้องอยู่กับมันไปอีกนาน ถ้าอยู่แบบเครียดๆมันก็คงไม่ถูกต้องนัก
โดย
KP16
อาทิตย์ ม.ค. 27, 2013 11:13 pm
0
2
Re: กิจการที่ ROE ต่ำไม่มีทางเป็นกิจการที่ดีแน่ๆ ใช่มั้ยครับ
เท่าที่เคยเจอ ก็ไม่ใช่แบบนั้นเสมอไปนะครับ แต่แน่นอนว่าโอกาสที่หุ้น ROE ต่ำๆ จะกลายร่างเป็นหุ้นที่ดีก็มีน้อยคงต้องเฟ้นหากันหน่อย กิจการที่มี ROE ต่ำ ในปัจจุบัน อาจจะเป็นกิจการที่ดี(ชั่วคราวหรือถาวร) ในอนาคตก็ได้ ถ้า.... 1 Cycle ของธุรกิจกำลังฟื้น เช่น หุ้น เรือสมัยก่อน หรือ หุ้น ATC สมัยก่อน หุ้น CPF ตอน subprime และหุ้นวัฎจักรอื่นๆอีกหลายตัว ที่ตอนตกต่ำมี ROE ต่ำมาก แต่ถ้าเรารู้หรือมั่นใจว่าอุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัว ถ้าซื้อตอนตกต่ำแล้วธุรกิจขาขึ้นจริง ก็ทำกำไรได้อย่างงดงาม ปัญหาคือเรารู้จริงหรือเปล่าว่ามันกำลังเป็นขาขึ้น 2.หุ้นฟื้นตัวจากการเปลี่ยน business model เช่น JAS ตอนปี 52 ROE ก็ต่ำมาก KAMART ตอนปี 53 ROE ก็ต่ำเช่นกัน หน้าที่เราก็ต้องวิเคราะห์ให้ออกว่าธุรกิจใหม่ของบริษัทจะสำเร็จ 3.หุ้นฟื้นตัวจากภาวะบางอย่างคลี่คลาย เช่น ที่ผ่านมาวัตถุดิบมีราคาแพง แต่บริษัทปรับราคาไม่ทัน ทำให้กำไรลง ROE ก็ลงตาม แต่ถ้าราคาวัตถุดิบปรับลดลงหรือนิ่งแล้วและสินค้าสำเร็จรูปปรับขึ้นหรือบริษัทสามารถปรับราคาสินค้าสำเร็จรูปได้ กำไรก็จะเพิ่มขึ้น หรือ ที่ผ่านมามีธุรกิจมีการแข่งขันกันสูง แต่แข่งไปเรื่อยๆ คนที่อ่อนแอก็ตายไป margin ของบริษัทที่เหลือก็อาจจะดีขึ้น เราก็สามารถทำกำไรได้ ถ้าไปซื้อตอนมันกำลังดีขึ้น หรือ ที่ผ่านมาบริษัทถูกควบคุมราคาจากภาครัฐหรือหน่วยงานบางหน่วย ROE จึงต่ำ แต่ถ้าบริษัทสามารถปรับราคาขึ้นได้จริง กำไรก็ดีขึ้นมากโดยเฉพาะเป็นการปรับราคาที่ต้นทุนไม่เพิ่มขึ้นตาม ถ้าเราซื้อตอนที่บริษัทมีข่าวว่าจะปรับราคาและดูแล้ว มีโอกาสสูงที่จะเกิด ก็สามารถำกำไรได้ หรือ ตอนนี้กลุ่มผู้รับเหมาอาจจะฟื้นตัวจากภาวะขาดแรงงาน แต่ก็ต้องไปวิเคราะห์เพิ่มด้วยว่าบริษัทจะสามารถปรับราคา เพิ่มได้มากกว่าต้นทุนแรงงานที่เพิ่มหรือเปล่า และก็ต้องเลือกบริษัทที่พอมีธรรมาภิบาลหน่อย 4. หุ้นเติบโตที่ยังใช้ fix cost ไม่คุ้ม คือ ช่วงแรกของการโตบริษัทจะเน้นเพิ่มยอดขายมากกว่ากำไรทำให้ margin ต่ำ ROE ก็เลยต่ำ ดังคำพูดที่ว่า บริษัทที่กำลังจะชนะนั้น profit margin มักจะมาทีหลัง แต่หลังจากที่บริษัทเพิ่มยอดขายถึงจุดหนึ่งจนคุ้ม fix cost กำไรก็โตกระโดดเลย ถ้าเราซื้อตอนช่วงแรกๆของการเติบโต ก็สามารถทำกำไรได้อย่างงดงาม 5.หุ้นที่ที่ผ่านมาทำธุรกิจหลายอย่าง ที่มีทั้งกำไรดี กำไรไม่ดีปนกัน ทำให้ ROE ต่ำ แต่บริษัทกำลังจะตัดเนื้อร้ายออกไป ขายกิจการที่ไม่ดีทิ้ง แบบนี้ก็สามารถทำกำไรกับหุ้นแบบนี้ได้เหมือนกัน นึกออกแค่นี้ครับ
โดย
KP16
อังคาร ธ.ค. 04, 2012 12:13 am
0
3
Re: Presentation งานสังสรรค์ 3Q12 ที่เสวยริมน้ำ
ขอบคุณมากครับพี่ เป็นการบรรยายที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่ผมเคยฟังเลยครับ
โดย
KP16
จันทร์ พ.ย. 26, 2012 10:45 pm
0
0
Re: ประกาศรายชื่องานสังสรรค์ VI Q3/55 "จากดักแด้เป็นผีเสื้อ"
โอนเงินแล้วครับ 2 ที่ Login Name : KP16 (สมาชิก) Bank : SCB (ATM) Date : 15/11/12 Time : 13:45 am. Amount : 2,340.01
โดย
KP16
พฤหัสฯ. พ.ย. 15, 2012 5:24 pm
0
0
Re: เปิดจอง งานสังสรรค์ VI Q3/55 "จากดักแด้เป็นผีเสื้อ"
จอง 2 ที่ครับ
โดย
KP16
เสาร์ พ.ย. 10, 2012 9:25 am
0
0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
เห็นด้วยกับคุณ BLSH และพี่ๆอีกหลายคนเลยครับว่า ถ้าจะจัด analyst meeting ก็ควรกำหนด timimg ที่ไม่เอาเปรียบรายย่อยเกินไป แต่ก็นะ ไม่รู้ว่าต่อต้านไปจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรไหม หรือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงก็คิดว่าอีกนานพอควร ดังนั้น ระหว่างนี้รายย่อยอย่างเราๆ(โดยเฉพาะมือใหม่) จะทำยังไงดี? เท่าที่ผมพอจะนึกออกก็มีประมาณนี้ 1.มองผลประกอบการระยะยาวเลย ยาวในที่นี้คือ ตั้งแต่3 ปี ขึ้นไป ที่จริงกลางๆ 1-3 ปี ก็พอจะป้องกันได้แล้วนะ แต่อย่าไปมองรายไตรมาส ซึ่งจะทำแบบนั้นได้ก็ต้องเลือกธุรกิจที่เราเข้าใจ มั่นคง เปลี่ยนแปลงช้าๆหน่อย มีอำนาจต่อรองสูงหน่อย กำหนดชะตาชีวิตตัวเองได้ คือ ไม่ขึ้นกับรัฐมาก อุตสาหกรรมมันยังโต มี barrior to entry เช่น เทคโนโลยี knowhow brand สัมปทาน EOS แบบนี้ก็พอเดาออกว่าประกาศงบมามันก็ดีอยูแล้ว หรือ ใครจะเลือกกิจการแบบที่กำลังเป็นกระแส เปลี่ยนแปลงเร็วหน่อยแต่มั่นใจว่าอุตสาหกรรมมันโตสูงแน่ๆในช่วง 1-3 ปี ก็พอได้ แต่พออุตสาหกรรมมันเริ่มเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง หรือ คู่แข่งมันเริ่มเข้ามาเยอะเกินไปแบบนี้ก็ต้องระวังนะ เพราะอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนเร็ว ส่วนใหญ่จะไม่มี barrior เท่าไหร่ แบบนี้ต่อให้จะมีหรือไม่มี analyst meeting ก็ไม่เป็นไร คือ ถ้าเกิดมี analyst meeting ก่อนงบออก หุ้นมันขึ้นไป เราก็มีหุ้นอยู่แล้วเพราะเราซื้อก่อน หรือ ถ้าเกิดไม่มีการจัด analyst meeting หุ้นมันก็ขึ้นตามผลประกอบการอยู่ดี 2.พิจารณาหุ้นขนาดเล็ก หรือ กลางๆ ที่ยังไม่ค่อยมีคนสนใจเท่าไหร่ ถามว่าดูยังไงว่าไม่ค่อยมีคนสนใจ คร่าวๆ ก็ดู volume ที่ trade กัน ถ้าตั้งแต่ 1% ของ market cap แบบนี้ก็ต้องเริ่มระวังแล้ว แต่ถ้าถึงขั้นติด top gain นี่ ให้ระวังเต็มที่หรืออาจหลีกเลี่ยงเลยก็ได้ เพราะแสดงว่ามันมีคนสนใจแล้วแน่ๆ แบบนี้โอกาสที่รายย่อยจะเสียเปรียบเรื่องข้อมูลมีสูง 3.ระวังหุ้นที่แบบว่ามีพฤติกรรมขึ้นลงแรงๆ ก่อนงบออกไม่กี่วัน แบบนี้แสดงว่าอาจจะมีคนรู้งบก่อน แสดงว่าผู้บริหารไม่ค่อย fair เท่าไหร่ อันนี้ต้องใช้ประสบการ์ณดูราคาย้อนหลัง หลายๆปีดูครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ลงทุนกับหุ้นแบบนี้เลยนะ ถ้าผ่านข้อ1 ก็ พอ OK จริงๆสาระสำคัญมันอยู่ที่ข้อ1 แหละ เพราะถ้ามันผ่านข้อ1 แล้ว มันจะตัวเล็ก ตัวใหญ่ จะขึ้นหรือไม่ขึ้นก่อนงบออกหรือไม่ ก็ไม่ใช่ปัญหา สุดท้าย เดี๋ยวมือใหม่จะเสียกำลังใจว่า เรามีข้อมูลน้อยกว่า เวลาน้อยกว่า แล้วเราจะมาเลือกหุ้นเองทำไม ไปซื้อกองทุนรวมดีกว่าไหม ? ผมมีบทความของ ดร นิเวศน์ เมื่อประมาณปี 45 ให้อ่านครับ ชื่อว่า จุดแข็งของนักลงทุนรายย่อย จุดแข็งของนักลงทุนรายย่อย 8/12/45 การลงทุนเป็นเรื่องแปลกที่นักลงทุนมือสมัครเล่นหรือนักลงทุนรายย่อยสามารถเอาชนะนักลงทุน “มืออาชีพ” หรือนักลงทุนสถาบันได้ คิดไปแล้วก็ไม่น่าเชื่อ เพราะนักลงทุนมืออาชีพที่บริหารกองทุนรวมหรือนักลงทุนสถาบันที่บริหารเงินจำนวนมากนั้นน่าจะมีข้อได้เปรียบมหาศาลเมื่อเทียบกับนักลงทุนสมัครเล่น เริ่มตั้งแต่ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนนั้นแทบจะไม่ต้องพูดถึง นักลงทุนมืออาชีพมักจะต้องเรียนวิชาการลงทุนมาเป็นอย่างดี หลายคนได้วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญซึ่งรวมถึง CFA (Certified Financial Analyst) หรือ CISA ซึ่งเป็นวุฒิบัตรแบบเดียวกันแต่ให้กันในเมืองไทย นอกจากความรู้แล้ว ผู้บริหารกองทุนรวมหรือกองทุนอื่น ๆ มักจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียนได้เร็วและมากกว่านักลงทุนรายย่อย เวลามีการพบปะบริษัทหรือที่เรียกว่า Company Visit เพื่อสอบถามข้อมูลก็สามารถทำได้ง่ายในขณะที่นักลงทุนรายย่อยนั้นต้องไปค้นคว้าจากแหล่งอื่น ๆ หรือต้องหาข้อมูลทางอ้อมซึ่งมักจะช้าและคุณภาพด้อยกว่ามาก ที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ นักลงทุนสถาบันมีบุคลากรจำนวนมากที่นั่งทำงานวิเคราะห์หุ้นและการลงทุนเต็มเวลา รวมทั้งสามารถปรึกษากับนักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์หลาย ๆ แห่งที่ตนเองใช้บริการอยู่ ในขณะที่นักลงทุนมือสมัครเล่นนั้นส่วนมากก็ยังต้องทำงานประจำเต็มเวลา การที่จะวิเคราะห์และติดตามหุ้นเป็นเพียง “งานอดิเรก” เท่านั้น สุดท้ายก็คือ กองทุน มีเงินลงทุนจำนวนมากหรือเรียกกันว่าเป็นขาใหญ่ซึ่งในตลาดหุ้นแล้วจะถือว่าเป็นคนที่ได้เปรียบในการลงทุนเพราะสามารถชี้นำหรือ “ไล่ราคา” ได้ แต่ข้อได้เปรียบข้อนี้ หลายคนอาจจะบอกว่าไม่จริง เพราะการมีเม็ดเงินลงทุนสูงทำให้ต้องกระจายหุ้นออกไปมากมายหลายตัว ซึ่งทำให้ต้องถือหุ้นที่ “ดี” น้อยลงและทำให้ผลตอบแทนของกองทุนด้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีเม็ดเงินลงทุนน้อย กล่าวโดยสรุปก็คือ ในสายตาของคนทั่วไปแล้ว นักลงทุนสถาบันหรือผู้บริหารการลงทุนมืออาชีพมีความได้เปรียบนักลงทุนรายย่อยทุกด้าน แต่ผลการดำเนินงานที่ผ่านมากลับไม่เป็นเช่นนั้น จากสถิติการบริหารการลงทุนของกองทุนรวมทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยชี้ให้เห็นว่าผลตอบแทนของการลงทุนในกองทุนรวมส่วนใหญ่แล้วต่ำกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของตลาด ว่าที่จริงกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาดมีน้อยมาก ผมคิดว่าอาจจะมีเพียง 20 – 30% เท่านั้นที่ทำได้เหนือกว่า ส่วนอีก 70 –80% ของกองทุนรวมนั้น ให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาด ในฐานะของนักลงทุนรายย่อย ผมคิดว่าข้อเสียเปรียบของผมเมื่อเปรียบเทียบกับนักลงทุนสถาบันนั้นมีแน่นอนโดยเฉพาะในด้านของข้อมูลและการเข้าถึงแหล่งข้อมูล รวมทั้งเวลาและทรัพยากรบุคคลที่จะต้องใช้ในการตระเตรียมข้อมูล แต่ผมก็คิดว่าข้อได้เปรียบของผมในฐานะของนักลงทุนรายย่อยก็มีอยู่ไม่น้อย และข้อได้เปรียบเหล่านั้น อาจจะมีมากจนกระทั่งทำให้ผลตอบแทนของการลงทุนของผมสูงกว่าผลตอบแทนของกองทุนรวมอย่างเห็นได้ชัด ข้อได้เปรียบที่ผมคิดว่ามีความสำคัญมากเป็นดังต่อไปนี้ นักลงทุนรายย่อยสามารถซื้อหุ้นตัวเล็กที่ไม่ค่อยมีคนสนใจ และ “ขาดสภาพคล่อง” ได้และนี่คือสิ่งที่ผมคิดว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของการลงทุนของผมเป็นอย่างสูง เพราะหุ้นตัวเล็กและขาดสภาพคล่องหลาย ๆ ตัวในตลาดนั้นเป็นหุ้นที่มีคุณภาพดีเยี่ยมและราคาถูกมาก หุ้นเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปก็จะค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นมา บางช่วงเวลาก็จะปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว บางช่วงเวลาราคาก็จะนิ่งอยู่เป็นเวลานาน แต่ตลอดเวลาหรือทุกปีก็จะให้เงินปันผลค่อนข้างดีในระดับ 4 –5 % ขึ้นไป รวม ๆ แล้วก็คือให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจไม่ว่าตลาดหลักทรัพย์จะผันผวนขึ้นลงไปมากน้อยแค่ไหน ในฐานะที่เป็นนักลงทุนส่วนบุคคล ข้อได้เปรียบก็คือ ผมสามารถถือหุ้นระยะยาวได้อย่างไม่จำกัดในขณะที่กองทุนต่าง ๆ นั้น มักจะมีเวลาว่าจะลงทุนกี่ปี กองทุนบางแห่งก็อาจจะไม่กำหนดระยะเวลา แต่ก็มักจะต้องคำนึงถึงการไถ่ถอนของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำ ดังนั้นการลงทุนของผมจะมีความ “ใจเย็น” กว่ามาก และความ “ใจเย็น” หรืออดทนนั้นเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการที่จะได้ชัยชนะในการลงทุน อาจจะมีหลายท่านที่ฟังแล้วงง เพราะความรู้สึกก็คือนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักจะเล่นหุ้นระยะสั้น ในขณะที่นักลงทุนสถาบันเล่นหุ้นแบบถือยาวกว่ามาก แต่นั่นคือพฤติกรรมที่เป็นอยู่ และเป็นข้อเสียเปรียบของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่และอาจจะพูดได้ว่า นักลงทุนรายย่อยไม่ได้ใช้ข้อได้เปรียบนี้ให้เป็นประโยชน์คือตนเองถือยาวได้แต่กลับไปเล่นสั้น ข้อได้เปรียบของนักลงทุนรายย่อยซึ่งค่อนข้างสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ ผมไม่ต้องรายงานใคร หรือแสดงผลงานการลงทุนทุกเดือนให้ใครทราบ นอกจากนั้นผมไม่ต้องประกาศด้วยว่าผมซื้อหุ้นอะไรไว้ในพอร์ตโฟลิโอของผมบ้าง การที่ผมไม่ต้องรายงานข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผมไม่มีแรงกดดันว่าผมจะต้องซื้อหุ้นที่เป็นหุ้นยอดนิยม หรือเป็นหุ้นที่คนรู้จักกันทั่ว หรือเป็นหุ้นที่คนทั่วไปรู้สึกว่าเป็นบริษัทที่ดี มีความมั่นคงสูง หรือเป็นหุ้นกลุ่มที่ทุกคนบอกว่ากำลังฟื้นตัวและเติบโตสูง พูดง่าย ๆ ผมไม่จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงค์ ไฟแนนซ์ วัสดุก่อสร้าง หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ผมสามารถลงทุนได้อย่างอิสระและนี่คือข้อได้เปรียบที่ผมคิดว่าสำคัญมากอีกข้อหนึ่งในการลงทุน เช่นเดียวกับข้างต้นก็คือ ผมไม่ต้องถูกบังคับโดยกลต.หรือโดยเงื่อนไขของกองทุนว่าผมจะต้องกระจายการลงทุนไปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือต้องลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของกองทุน หรือจะต้องถือเงินสดไม่เกินกี่เปอร์เซนต์ ซึ่งทั้งหมดนั้นทำให้ผมสามารถเลือกหุ้นที่ดีที่สุดได้ แทนที่จะต้องลงทุนซื้อหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอนาคตไม่ค่อยดีนัก ข้อได้เปรียบข้อสุดท้ายที่ผมจะกล่าวถึงก็คือ การเป็นนักลงทุนรายย่อยนั้น เราไม่มีต้นทุนในการดำเนินงาน ในขณะที่กองทุนรวมหุ้นโดยทั่วไปจะคิดค่าบริหารงานค่อนข้างสูง อีกทั้งต้องมีต้นทุนในการทำบัญชีและเอกสารต่าง ๆ รวม ๆ แล้วเข้าใจว่าไม่น้อยกว่า 2% ของเม็ดเงินของกองทุน การเสียค่าใช้จ่าย 2% ต่อปี เท่ากับว่าผลตอบแทนที่ทำได้จากการลงทุนจะถูกลดลงปีละ 2% ซึ่งผมคิดว่าสูงมาก โดยเฉพาะถ้ามองในระยะยาวแล้วโอกาสที่ผลตอบแทนของกองทุนรวมจะชนะผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดจะมีน้อยมาก ดังนั้น ข้อได้เปรียบของนักลงทุนรายย่อยข้อนี้จึงเป็นตะปูตัวสุดท้ายที่จะตอกย้ำให้เห็นว่านักลงทุนรายย่อยแท้ที่จริงแล้วมีจุดแข็งในการลงทุนมากกว่านักลงทุนสถาบัน ปัญหาของนักลงทุนรายย่อยก็คือไม่รู้จักใช้จุดแข็งให้เป็นประโยชน์ ตรงกันข้าม นักลงทุนรายย่อยชอบคิดและปฏิบัติตามนักลงทุนขาใหญ่ และกลายเป็นการใช้จุดอ่อนมาลงทุน
โดย
KP16
อังคาร พ.ย. 06, 2012 2:18 am
0
3
Re: #2 สรุปอบรม 6/10/55 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม ผู้บริหาร อ.ค
ขอบคุณครับผม :D
โดย
KP16
อาทิตย์ ต.ค. 14, 2012 10:59 pm
0
1
Re: #1 สรุปอบรม 6/10/55 แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ดร.นิเวศ
ขอบคุณครับ :D
โดย
KP16
พุธ ต.ค. 10, 2012 9:40 am
0
1
Re: ***เปิดจองงานสัมมนา กลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/2555***
จองสัมมนาครับ
โดย
KP16
พฤหัสฯ. ส.ค. 30, 2012 9:24 am
0
0
Re: การลงทุนใน Growth stock และจิตวิทยาการลงทุน
ขอบคุณครับ :D
โดย
KP16
อังคาร ส.ค. 28, 2012 10:11 am
0
1
Re: สำรองที่นั่ง"ย้อนรอยตำนาน VI" ไตรมาส 2/2555 จำนวน 250ที่
KP16 (สมาชิกสมาคม) โอน 1080.50 บาท ครับ เวลา 9:42 6/8/55
โดย
KP16
จันทร์ ส.ค. 06, 2012 10:03 am
0
0
Re: หลักในการเลือกหุ้นซักตัว
ส่วนที่จะดูว่าหุ้นตัวไหนถูกหรือแพง คงจะดูหลายๆประเด็นประกอบกัน คงจะดูเพียง p/e p/bv อย่างใดอย่างหนึ่งหรือแค่ทั้งสองอย่างคงไม่ได้ หุ้น TTA ที่ถามถึงมานั้น เป็นหุ้นวัฎจักร หรือ cyclical ซึ่งจะมี p/e ต่ำมากในช่วง peak ของ cycle และจะมี p/e สูงมากในช่วง bottom หรือหา p/e ไม่ได้เลยเพราะบางช่วงตอน bottom จะขาดทุน ดังนั้น หุ้นวัฎจักร จะซื้อโดยดู p/e ไม่ได้เลย แต่จะต้องดูแนวโน้มของวัฎจักรว่าตอนนี้น่าจะอยู่ช่วงไหนของ cycle แล้ว เราจะต้องซื้อที่ใกล้เคียงกับ bottom และขายในช่วงขาขึ้น ดังนั้น หากเราลงทุนในหุ้นวัฎจักร จะต้องศึกษาและเข้าใจในธุรกิจนั้นอย่างถ่องแท้ ซึ่งมีคนจำนวนน้อยที่สามารถทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น สำหรับนักลงทุนทั่วไปผมไม่ค่อยแนะนำให้ลงทุนในหุ้นวัฎจักร เพราะจะมีความเสี่ยงมากและมีโอกาสสูงที่จะเข้าไปซื้อช่วง peak ซึ่ง broker จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าใจหุ้นวัฎจักรอย่างแท้จริง และอาจจะให้คำแนะนำที่เป็นอันตรายกับนักลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีความรู้มากพอแล้ว การลงทุนในหุ้นวัฎจักร หากประสบความสำเร็จก็จะทำให้มีผลตอบแทนที่มากพอกับความพยายามที่ลงไปได้เช่นกัน ส่วนการใช้ DCF นั้น ผมคิดว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่สำหรับนักลงทุนทั่วไปครับ เพราะจริงๆแล้ว p/e คือผลสุดท้ายของ DCF นั่นแหละครับ เพราะ DCF เป็น model ที่คำนึงถึง growth ความเสี่ยง เงินสดและหนี้สิน ซึ่งหากเราใช้ p/e เป็น ใช้ p/bv ได้ถูกวิธี มันจะเป็นสุดยอดวิชาขั้นสูงกว่าการใช้ DCF อีกครับ เพราะมันเป็นการนำหลักแนวคิดของ DCF มาใช้ได้โดยไม่ต้องเหนื่อยมานั่งทำ model อย่างท่านอาจารย์ ดร. นิเวศน์ เอง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ DCF ในการคำนวณนะครับ มันเหมือนกับอะไรที่ back to basic ครับ บางครั้งอะไรที่ซับซ้อนมากๆ กลับไม่ใช่สุดยอดวิชา แต่สิ่งที่เป็นสุดยอดวิชา มักจะไม่ซับซ้อนอย่างที่คิด DCF มีข้อเสียยังไง ข้อเสียคือ เนื่องจากมันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการคำนวณหา valuation ของหุ้น แต่หากนำไปใช้โดยขาดความเข้าใจที่แท้จริง ซึ่งผมเองก็เคยเป็นอย่างนั้นเมื่อก่อน จะทำให้ได้ valuation ที่ผิดพลาดไปมาก โดยเฉพาะการนำ dcf ไปใช้กับหุ้นที่เป็นวัฎจักร ทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจ และวัฎจักรที่เป็น commodity ผลเสียที่เกิดจะรุนแรง เพราะคนที่วิเคราะห์โดยใช้ DCF ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิเคราะห์ มักจะเชื่อมั่นในตัวเองสูงอยู่แล้ว และมักจะมี financial model ที่ซับซ้อน ดังนั้นหากได้ DCF target จากการวิเคราะห์ของตนแล้วมักจะยึดมั่นอย่างสูง และผู้ที่ฟังคำแนะนำก็จะเชื่อมั่นอย่างสูงเช่นกัน เพราะโดยหลักการแล้วเป็นวิธีที่ดีกว่า p/e และ p/bv ดังนั้น DCF valuationได้ทำให้นักวิเคราะห์และคนที่ใช้บทวิเคราะห์เจ็บปวดมาครั้งแล้วครั้งเล่าครับ
โดย
KP16
อังคาร ก.ค. 31, 2012 5:46 pm
0
2
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
KP16
ระดับ:
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
จันทร์ ก.ค. 16, 2012 3:02 pm
ใช้งานล่าสุด:
พุธ ก.ค. 26, 2023 9:26 pm
โพสต์ทั้งหมด:
46 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.00% จากโพสทั้งหมด / 0.01 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว