หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
WABISABI
ซาบิ ; ความงามที่ผ่านคุณค่าของกาลเวลา
Joined: ศุกร์ ต.ค. 12, 2012 3:09 pm
103
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - WABISABI
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: Money talk@SET10Aug13 หุ้นเด่นในกระแสหลักโลกและจากต้นจนป
ขอบคุณมากๆเลยครับผม
โดย
WABISABI
พุธ ส.ค. 14, 2013 5:43 pm
0
1
Re: จริงหรือ ที่ ปตท เอาเปรียบคนไทย
สมแล้วที่เป็นวีไอข้อมูลยิบนับถือ :wink: สมมุตินะถ้าทวงคืนได้จริงเราจะได้ใช้น้ำมันถูกจริงหรือ... :D ถ้ายึดมาแล้วเอากลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนเดิม เราจะได้ใช้น้ำมันถูกๆมั้ย ผมว่าถูกลงไม่มากครับ ถ้าจะถูกลงมากเราต้องเลิกอุดหนุน LPG LPG ก็จะแพงขึ้น และขอเท็จจริงที่ว่าเรานำเข้าน้ำมันมากกว่าส่งออก ราคาน้ำมันเราไม่ถูกเหมือนประเทศที่ขายน้ำมันแน่ๆ ถ้าอยากให้น้ำมันถูกมากๆ มากๆ เราก็ต้องอุดหนุนราคาน้ำมันแทน (เหมือนที่มาเลเซียเอาเงินที่ขายพลังงานได้มาอุดหนุนราคาน้ำมัน 40 % ของที่ควรจะเป็น) ถ้าเราทำอย่างนั้นรัฐก็จะจนลงในไม่ช้า ผมถามเล่นๆนะครับ หรือถ้าสมมติยึดบริษัทมาได้ มาแบ่งขายหุ้นให้ประชาชนทุกคนได้คนละเท่าๆกัน แต่ว่าบริษัทก็บริหารภายใต้นโยบายพลังงานที่ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนด คือทำให้ราคาน้ำมันถูกที่สุดเท่าที่จะถูกได้ พี่จะซื้อหุ้นบริษัทนี้ไหมฮะ
โดย
WABISABI
จันทร์ มี.ค. 25, 2013 4:20 am
0
2
Re: จริงหรือ ที่ ปตท เอาเปรียบคนไทย
มีจุดหนึ่งที่ผมไม่เห็นด้วย เกี่ยวกับการกำหนดราคา คือ ราคาหน้าโรงกลั่นคิดจากราคาน้ำมันสิงคโปร์ ตามหน้า 14 ของเอกสาร http://www.eppo.go.th/admin/km/KM-OilPriceStructure.pdf แต่เวลาส่งออกกลับใช้ราคาน้ำมันสิงคโปร์หักด้วยค่าขนส่ง ฯลฯ ผมว่ามันควรจะทำให้เท่ากันครับ ไม่ใช่ให้ราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศแพงกว่าราคาส่งออก :wall: :wall: :wall: ดังที่ว่าไปแล้วนะครับ ราคาหน้าโรงกลั่นในประเทศแพงกว่าส่งออก เพราะว่ามีค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน(ที่แพง)ด้วย ? และราคาส่งออกอาจจะต้องถูกกว่า? เพราะว่าเวลาส่งออกเราต้องแข่งกันกับสิงค์โปร์ที่เป็นเจ้าใหญ่ในภูมิภาคครับ
โดย
WABISABI
จันทร์ มี.ค. 25, 2013 3:48 am
0
1
Re: จริงหรือ ที่ ปตท เอาเปรียบคนไทย
สิ่งที่ชัดที่สุดที่ผมเห็นว่า ปตท เอาเปรียบคนไทย คือ ราคาหน้าโรงกลั่น ราคาหน้าโรงกลั่นของไทย=ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร+ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า+ค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน นี่มาจากเอกสารของ ปตท เอง อยู่หน้า 14 ของ http://www.eppo.go.th/admin/km/KM-OilPriceStructure.pdf แต่ไม่ได้ระบุว่าเท่าไหร่ ไอ้ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า ค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน แปลว่า โรงกลั่นน้ำมันในเมืองไทยได้เงินฟรีๆนี้มาจาก คนไทยทั้งประเทศ เงินจำนวนนี้มหาศาลเป็นการเอาเปรียบ โดยที่คนไทยส่วนมากไม่รู้ ส่วนค่าการตลาด ผมคงต้องศึกษาต่อว่า มีอะไรประหลาดๆอีกไม๊ จากที่ไปค้นมานะครับ ราคาหน้าโรงกลั่นของไทย=ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร+ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า+ค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน วิธีนี้เรียกว่า import parity (ถ้าไม่บวกอะไรเลยเรียก export parity) ค่าใช้จ่ายในการนำเข้านี้ประมาณ 25-50 สตางค์ต่อลิตร ค่าปรับปรุงคุณภาพนำมันนี้แพงกว่ามาก เพราะคุณภาพน้ำมันเราเข้มงวดกว่าสิงคโปร์ โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลที่เรากำหนดค่ากำมะถันไว้ต่ำมากที่ 0.035% ในขณะที่ของสิงคโปร์อยู่ที่ 0.5% ราคาหน้าโรงกลั่นเราแพงกว่าสิงค์โปร์ 1.50 บาท แสดงว่าค่าปรับปรุงคุณภาพนำมันนี้แพงถึงลิตรละ 1 บาทเลยทีเดียว ตรงนี้ถ้าใครจะตรวจสอบคงไปตรวจสอบว่าค่าปรับปรุงคุณภาพนำมันนี้แพงถึงลิตรละ 1 บาท จริงหรือไม่ ทุกวันนี้ยังแพงแบบนี้หรือไม่หรือว่าจริงๆลดลงมาแล้วแต่... สำหรับความคิดเห็นผมนะครับ ต่อให้เราตั้งหน้าโรงกลั่นราคาแบบ export parity ราคาน้ำมันหน้าปั้มเราก็สูงอยู่ดี เพราะเราก็จะเจอกับภาษีต่างๆและค่าการตลาดมากมายหลายชั้น เรื่องถ้าจะเรียกร้องให้มีการแก้ไข ก็คงเป็นที่ตรงนี้ เพราะว่าส่วนหนึ่งเราเอาน้ำมันไปชดเชยให้กับ LPG ด้วยไม่ให้ราคาสูงเกินไป เราอาจจะได้น้ำมันถูกลง แต่แก๊สหุงต้มแพงขึ้น อะไรก็ว่ากันไปครับ ถ้าอยากกำหนดราคาน้ำมันให้ได้ ก็ต้องถามว่าประชาชนมีส่วนร่วมในนโยบายพลังงานมากแค่ไหน ตรงนี้สำคัญมากกว่าการทวงคืนปตท (ผู้ถือหุ้นอันดับ 1-2-3 รวมกัน 61 % นี่คือเป็นรัฐนะครับ) และที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม หากเราใช้นำเข้าน้ำมันมากกว่าที่ผลิตได้ ราคาน้ำมันก็จะแพงกว่าประเทศอื่นอยู่ดีครับ
โดย
WABISABI
จันทร์ มี.ค. 25, 2013 3:35 am
0
1
Re: จริงหรือ ที่ ปตท เอาเปรียบคนไทย
อ่านที่ http://www.facebook.com/notes/siriwat-whin-vitoonkijvanich/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%86-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2-%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/10151491058934124 น่าจะง่ายกว่าครับ
โดย
WABISABI
อาทิตย์ มี.ค. 24, 2013 9:13 pm
0
2
Re: จริงหรือ ที่ ปตท เอาเปรียบคนไทย
ลองอ่านบทความนี้ดูนะครับ ผมคิดว่าเรื่องนี้ต้องใช้ความรู้ มากกว่าความรู้สึก พอมันมีข้อมูลแบบนี้ มันเชคง่ายกว่าว่าจริงหรือไม่จริงครับ พลังงานไทย เพื่อคนไทย (จริงๆ) - ตอนที่ 2 โครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทย "น้ำมันแพง" "พรุ่งนี้น้ำมันจะขึ้นอีก 60 สตางค์ต่อลิตร" ฯลฯ คำพูดเหล่านี้ คงเป็นคำพูดที่ได้ยินจนชินไปซะแล้วในปัจจุบันนี้ ทุกวันนี้คนที่เข้าใจโครงสร้างราคาน้ำมันที่แท้จริงมีอยู่ไม่มาก พอรู้สึกราคาน้ำมันแพงก็จะโทษบริษัทน้ำมันก่อนว่าเอาเปรียบบ้าง ขูดรีดบ้าง ดังนั้นผมจึงมีแรงบันดาลใจที่จะเขียนบทความนี้ ขึ้นมาแชร์ข้อเท็จจริงถึงโครงสร้างราคาน้ำมันและก๊าซในประเทศไทยดังต่อไปนี้นะครับ ในบทความตอนนี้เอาเรื่องน้ำมันล้วนๆ จะพูดถึงน้ำมันดิบ (Crude) และน้ำมันสำเร็จรูป อย่างเดียวก่อนนะครับ ไม่พูดถึงพลังงานอย่างอื่นที่เราบริโภคกันยังกะซดน้ำนะครับ ปัจจุบัน เรายังต้องพึ่งพานำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศเข้ามากลั่นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ในปี 2555 (1 บาร์เรล เท่ากับ 159 ลิตร) http://www.eppo.go.th/info/stat/T01_01_01.xls ประเทศไทยมีความต้องการในการนำเข้าน้ำมันดิบสุทธิสูงถึง 819,173 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ประเทศไทยมีความสามารถในการผลิตน้ำมันดิบแค่เพียง 148,977 บาร์เรลต่อวันเท่านั้น แถมคอนเดนเสทให้ด้วยอีก 81,584 บาร์เรลต่อวัน ดังนั้นถ้ามีใครบางคนบิดเบือนบอกว่าเรามีแหล่งพลังงานน้ำมันเยอะพอๆกะซาอุฯนี่ อย่าไปหลงเชื่อเด็ดขาดนะครับ หลังจากเอาน้ำมันดิบที่เรานำเข้ามากลั่นออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปแล้ว เรามีการบริโภคในประเทศ ในส่วนน้ำมันสำเร็จรูป 709,223 บาร์เรลต่อวัน และมีส่วนที่ไม่ใช้เป็นพลังงาน เช่น LPG ในปิโตรเคมี น้ำมันหล่อลื่น ยางมะตอย ฯลฯ อีก 332,301 บาร์เรลต่อวัน ส่วนที่กลั่นเหลือเราก็ส่งออกในส่วนน้ำมันสำเร็จรูปนะครับ เป็นจำนวน 158,646 บาร์เรลต่อวัน น้ำมันสำเร็จรูปที่เรากลั่นมาเกิน (จากกำลังการกลั่นสูงสุดประมาณ 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน) เพราะน้ำมันดิบเวลากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป จะได้น้ำมันชนิดต่างๆ เช่น LPG น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเตา ยางมะตอย ฯลฯ เราก็ต้องกลั่นให้ทุกอย่างเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศใช่มั้ยครับ เราไม่สามารถกลั่นน้ำมันดิบจำนวนนึงให้ออกมาเท่ากับความต้องการการใช้ของประเทศไทยได้ทุกตัวแน่นอน ก็ต้องมีส่วนที่เกินมา นอกจากนี้ โรงกลั่นในประเทศไทยมีผู้เล่นเป็นบริษัทต่างชาติอยู่ ซึ่งโรงกลั่นทั้งไทยและเทศก็จะมีการกลั่นออกมาแข่งขันจำนวนนึง รวมถึงกลั่นในจำนวนให้มากพอๆกับกำลังการกลั่นของโรงกลั่นเพื่อให้มีต้นทุนต่อหน่วยน้อยที่สุด ซึ่งพอขายไม่หมดก็ต้องส่งออกไปขายข้างนอกส่วนที่เกินถ้าเราสต๊อกไม่ไหว ก็ต้องขายออกไปเอาเงินกลับเข้ามาดีกว่า ในจำนวนนำเข้าน้ำมันดิบสุทธิยังมีส่วนที่ส่งออกประมาณ 30,000 บาร์เรลต่อวัน (ราวๆ 15% ของที่ผลิตได้) นี้ เราผลิตอยู่ในประเทศเนี่ยแหละ แต่ไม่สามารถปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้กับโรงกลั่นของเราได้ (โรงกลั่นจะออกแบบเพื่อรองรับน้ำมันดิบดูไบเป็นส่วนประกอบหลักซึ่งกลั่นแล้วได้ดีเซลเป็นหลักที่ประเทศไทยต้องการใช้มากที่สุด) อย่างเช่นสารปรอทสูงเกินไป (ซึ่งปัจจุบันโรงกลั่นได้เริ่มมีปรับปรุงติดตัั้งระบบกำจัดปรอทแล้ว แต่ยังติดสัญญาขายระยะยาวให้ต่างประเทศจากอดีดบางส่วนด้วย คาดว่าจะสิ้นสุดในปีสองปีนี้)หรือมีส่วนประกอบไม่เหมาะสมจะทำให้กลั่นได้เบนซินมากเกินไปเกินความต้องการของประเทศ (โดยเฉพาะพวกคอนเดนเสท) ฯลฯ ก็ส่งออกไปขาย แต่ทางการไทยก็พยายามบังคับให้ลดการส่งออกส่วนนี้ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบ และต้องมีภาระการปรับปรุงโรงกลั่นให้สามารถรองรับน้ำมันดิบเหล่านี้ได้เพื่อลดคำครหา (ที่ผิดๆ) ข้อมูลนำเข้า ส่งออก การผลิต น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปอย่างละเอียด http://www.doeb.go.th/info/info_sum.php http://www.eppo.go.th/info/2petroleum_stat.htm กรณีน้ำมันดิบไทยกลั่นแล้วได้เบนซินเป็นส่วนประกอบหลัก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000122090 กรณีน้ำมันดิบกับคอนเดนเสทจากอ่าวไทยมีสารปรอทสูง ... http://www.democrat.or.th/th/news-activity/article/detail.php?ID=13683 บางคนบอกว่าเราส่งออกน้ำมันมีมูลค่ามากกว่าข้าว แต่เดี๋ยวก่อน หยุดคิดนึดนึงครับ เพราะมันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง น้ำมันที่เราส่งออกบางส่วนไม่สามารถกลั่นในไทยและบางส่วนเกิดจากการซื้อน้ำมันดิบจำนวนมหาศาลเข้ามาก่อนแล้วค่อยกลั่นแล้วเหลือใช้ในน้ำมันบางชนิดแล้วจึงขายออกไป คิดเป็นจำนวนสุทธิ เรามีการนำเข้าน้ำมันสุทธินะครับ ส่วนข้าว เราผลิตเองในประเทศทั้งหมด เหลือจากการบริโภคภายในประเทศแล้วส่งออกหมด ดังนั้นมูลค่าการผลิตข้าวของเรา เราถือว่าเราส่งออกข้าวสุทธิครับ ในเมื่อประเทศไทยรับประทานน้ำมันดิบสูงกว่าที่ผลิตได้ 3-4 เท่า แถมที่ผลิตได้บางส่วนก็กลั่นไม่ได้อีก ก็ต้องนำเข้าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีเงินตราไหลออกต่างประเทศจนรัฐบาลต่อให้เป็นรัฐบาลไหนๆก็ต้องเก็บภาษีเข้าคลังเยอะๆไว้ก่อนครับ จะไปเทียบกับประเทศที่มีน้ำมันเยอะขนาดส่งออกได้ไม่ได้นะครับ มาดูโครงสร้างราคาน้ำมันหน้าปั๊มกันดีกว่า ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร จากข้อมูลจริงที่เป็น Official จากกระทรวงพลังงาน ถ้าเราใส่ใจหาข้อมูลก็จะรู้ที่มาที่ไปครับ เพราะบางคนเล่นเอาราคาน้ำมันสำเร็จรูปตามตลาดซื้อขายสิงคโปร์มาหาราคาต่อลิตรแบบง่ายๆนะครับ (บางคนหนักกว่านั้นเล่นเอาราคาน้ำมันดิบ WTI มาใช้หน้าตาเฉย (ไทยใช้ Dubai)!!!) ยิ่งไปกว่านั้นเล่นเอาราคาขายปลีกสิงคโปร์มาอ้างแบบไม่กลัวหน้าแหกด้วย (ราคาซื้อขายในตลาดสิงคโปร์ ไม่ใช่ราคาขายปลีกในสิงคโปร์ ระวังอย่าสับสน เดี๋ยวจะมีรายละเอียดต่อไปครับ) มาดูกราฟแท่งที่ผมทำให้ดูอย่างง่ายดีกว่าครับ ข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html Ex-Refin. = ราคาขายหน้าโรงกลั่น Tax = ภาษีสรรพสามิต M. Tax = ภาษีเก็บเข้าเทศบาล Oil Fund = เงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมัน Consv. Fund = เงินเก็บเข้ากองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน Marketing margin = ค่าการตลาด Retail price = ราคาขายหน้าปั๊มน้ำมันในเขตกรุงเทพและปริมณฑล กราฟที่ 1: โครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทย ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556 (บาท/ลิตร) โดยรวมนะครับ จะเห็นได้ว่า น้ำมันเบนซิน ไม่ว่าจะเป็น เบนซินไร้สารตะกั่ว (Unlead) หรือ เบนซินแก๊สโซฮอล (Gasohol) เนี่ย ราคาหน้าโรงกลั่นแทบไม่ได้แตกต่างกันเลย เอาจริงๆ แก๊สโซฮอล์ต้นทุนสูงกว่าด้วยซ้ำ ส่วนน้ำมันดีเซล น้ำมันเศรษฐกิจ นั้นมีต้นทุนสูงที่สุด เมืองนอกขายกันแพงกว่าเมืองไทยเยอะ มาวิเคราะห์กันเป็นแต่ละชนิดเลยนะครับ (จะพูดถึงราคาล้วนๆนะครับ ไม่พูดถึงอัตราสิ้นเปลือง) เบนซิน 95 (Unleaded 95) กับ เบนซิน 91 (Unleaded 91) จะเห็นว่า ราคาปัจจุบันแทบไม่ต่างกัน ไม่เหมือนช่วงๆนึงที่ทางรัฐรณรงค์ลดการใช้เบนซิน 95 ให้คนหันมาใช้แก๊สโซฮอล 95 กันมากขึ้น แต่ขณะนั้นรถเก่าบางจำนวนยังไม่สามารถรองรับการใช้แก๊สโซฮอล์ได้ ทางรัฐจึงไม่ได้เก็บภาษีของน้ำมันเบนซิน 91 เยอะเท่ากับตอนนี้ หลังจากที่ประชาชนเห็นว่า แก๊สโซฮอล ก็ไม่ได้ทำอันตรายอะไรกับเครื่องยนต์รุ่นหลังปี 2538 จำนวนการใช้แก๊สโซฮอลเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการลดการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วทั้ง 95 และ 91 ทางรัฐเลยรีดภาษีกับกองทุนน้ำมันจากน้ำมันทั้งสองประเภทนี้เต็มที่ (รวมกันประมาณ 20 บาท) ทำให้ราคาน้ำมันทั้งสองชนิดนี้ แพงมากอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ทั้งๆที่ราคาหน้าโรงกลั่นพอๆกับน้ำมันชนิดอื่นๆ แก๊สโซฮอล 95 (Gasohol 95, E10) กับ แก๊สโซฮอล 91 (Gasohol 91) เป็นน้ำมันที่มีส่วนผสมเอทานอล 10% ราคาหน้าโรงกลั่นเอาจริงๆแพงกว่าราคาน้ำมันเบนซินนิดนึงด้วยซ้ำเพราะความจริงแล้ว การมีเอทานอล (Ethanol, C2H5OH) ผสมต้องมีต้นทุนในการผสมด้วย แต่ที่ทางภาครัฐสนับสนุนให้ใช้เพราะว่า เอทานอลที่เติมลงไปในเบนซินนั้น เราสามารถผลิตได้ด้วยตัวเอง จากพวกมันสำปะหลังหรืออ้อย เมื่ออยู่ในแก๊สโซฮอล์ E10 จะทำให้เราสามารถลดการนำเข้าน้ำมันดิบได้ถึง 10% ถือว่าเป็นการลดเงินตราไหลออกนอกประเทศได้ส่วนนึงและเป็นการสนับสนุนภาคการเกษตรของเกษตรกรบ้านเราด้วย ในด้านภาษีน้ำมันทั้งหมด เก็บน้อยกว่าภาษีของเบนซินอยู่ประมาณบาทกว่าๆ แต่ทางกองทุนน้ำมันจะเก็บน้อยกว่าเบนซินอยู่ถึง 6-7 บาท ทำให้ราคาห่างจากเบนซินอยู่ราวๆ 8-9 บาทเลยทีเดียว เป็นการจูงใจให้คนหันมาใช้แก๊สโซฮอล์มากกว่าเบนซินล้วนๆ แก๊สโซฮอล E20 (Gasohol E20) เป็นน้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอล 20% ให้ค่าออกเทนสูงถึง 98 เพราะตามธรรมชาติ เอทานอล ให้ค่าออกเทนสูงมากยิ่งมีส่วนผสมเยอะค่าออกเทนก็ยิ่งสูงตามไป แต่มีคุณสมบัติกัดกร่อนทำให้รถรุ่นเก่าๆไม่สามารถใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอลสูงได้ อย่างที่กล่าวไปในส่วนของแก๊สโซฮอล 95, 91 นั้น เอทานอลสามารถผลิตได้ในประเทศไทย ดังนั้นยิ่งมีเอทานอลผสมเยอะเท่าไร ภาครัฐยิ่งสนับสนุนมากครับ ส่วนของ E20 เนี่ยรัฐจะเก็บภาษีทั้งหมดน้อยกว่า E10 อยู่ บาทกว่าๆ น้อยกว่า เบนซิน 95 ประมาณ 2.60 บาท และส่วนกองทุนน้ำมันกับกองทุนอนุรักษ์พลังงานอุดหนุนราคา (Subsidy) ให้อยู่ 65 สต.ต่อลิตรด้วย เลยทำให้ราคาโดยรวมต่ำกว่า แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ 5 บาทกว่าต่อลิตร ดังนั้นคนที่มีรถรุ่นใหม่ๆก็อยากจะใช้น้ำมันชนิดนี้มากกว่าเพราะราคาถูกกว่าเยอะ แก๊สโซฮอล E85 (Gasohol E85) เป็นน้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอล 85% ให้ค่าออกเทนสูงถึง 100-105 มีคุณสมบัติกัดกร่อนทำให้รถรุ่นเก่าๆไม่สามารถใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอลสูงได้ รถที่ใช้น้ำมันชนิดนี้ในเมืองไทยยังมีน้อยครับ เพราะต้องได้รับการออกแบบเป็นพิเศษที่ทนสภาพการกัดกร่อนได้ ราคาขายหน้าโรงกลั่นต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ 1.30 บาท ซึ่งถ้าขายราคานี้คงไม่มีใครซื้อ ก็ต้องปรับราคากันที่ส่วนอื่น ภาษีรัฐก็เก็บน้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆอยู่ราวๆ 6-9 บาท ซึ่งขณะนี้เก็บอยู่ที่ 2.67 บาท ขณะที่ภาษีของเบนซิน 95 เก็บอยู่ 10.89 บาท เห็นมั้ยครับว่าต่างกันลิบเลย ส่วนของกองทุนน้ำมันและอนุรักษ์พลังงานอุดหนุนราคา (Subsidy) ให้ 10.85 บาท แต่ที่น่าสังเกตอยู่อย่างนึง ค่าการตลาดของน้ำมันชนิดนี้สูงมากอยู่ที่ 7.78 บาทต่อลิตร เนื่องจากน้ำมันชนิดนี้คนเติมน้อย ทำให้มีต้นทุนการขายสูงกว่าน้ำมันชนิดอื่น เพราะต้องเสียพื้นที่สต๊อกน้ำมันทั้งๆที่ขายไม่ค่อยได้ ถ้าไม่ขายน้ำมันชนิดนี้ ก็เอาพื้นที่ไปเก็บน้ำมันชนิดอื่นจะดีกว่า ถือว่าเป็นค่าเสียโอกาสการทำรายได้จากน้ำมันชนิดอื่นด้วย ดีเซลหมุนเร็ว (H-Diesel) ถือว่าเป็นน้ำมันเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะทั้งภาคการค้า ขนส่งและการเกษตร ยังต้องพึ่งพาน้ำมันชนิดนี้มาก เป็นน้ำมันที่มีความต้องการใช้มากถึง 42% ของน้ำมันทั้งหมดจึงเป็นน้ำมันที่ทางภาครัฐเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำมันชนิดอื่นๆทั้งหมด เก็บไม่ถึง 2 บาท เป็นน้ำมันที่รัฐพยายามควบคุมราคา ปัจจุบันไม่เกิน 30 บาท จำได้เคยพยายามจะควบคุมไม่ให้เกิน 14 บาท แต่เอาไม่อยู่เพราะความต้องการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นสูงมากรวมถึงราคาน้ำมันโลกมันสูงจนเกินที่จะตั้งเพดานไว้ได้ (สถานการณ์คล้ายๆ LPG ในปัจจุบัน) แถมกองทุนน้ำมันและอนุรักษ์พลังงานใจดีเก็บแค่ 95 สตางค์ ดังนั้นคนที่ใช้ดีเซลก็เลยได้ใช้น้ำมันถูกมาก (ซึ่งพวกกูรูไม่เคยหยิบยกขึ้นมาอ้างเลย) ตอนสมัยผมเรียน ป.โท ที่อังกฤษ ผมจะสังเกตเห็นว่า น้ำมันดีเซลที่นั่นแพงที่สุดครับ เพราะเป็นน้ำมันที่มีอุปสงค์ (Demand) มากที่สุด และต้นทุนการกลั่นแพงกว่าเบนซินด้วย ตารางที่ 1: ราคาขายปลีกน้ำมันและก๊าซสำเร็จรูปในประเทศอังกฤษ (pence/litre) ปัจจุบันราคาน้ำมันของประเทศอังกฤษ น้ำมันดีเซลธรรมดาอยู่ที่ 1.4625 ปอนด์ต่อลิตร (66 บาทต่อลิตร) ส่วนเบนซิน 95 (Unleaded) ราคา 1.3977 ปอนด์ต่อลิตร (63 บาทต่อลิตร) ที่ราคาแรงขนาดนี้เพราะประเทศทางแถบยุโรปเก็บภาษีในอัตราที่สูงมาก (ซึงผู้กล่าวอ้างไม่เคยมีการยกราคาฝั่งยุโรปมาเปรียบเทียบ) ข้อมูลราคาน้ำมันขายปลีกของประเทศอังกฤษ http://www.petrolprices.com/ http://www.whatgas.com/petrol-prices/index.html http://www.parliament.uk/briefing-papers/sn04712.pdf ข้อมูลโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศอังกฤษ http://www.petrolprices.com/the-price-of-fuel.html น้ำมันเตา (Fuel Oil) ส่วนใหญ่เอาไว้ในโรงงานอุตสาหกรรม รายละเอียดไม่พูดถึงก็แล้วกันครับ เพราะห่างตัวจากปชชทั่วไป ทำไมต้องมีภาษี (ภาษีสรรพาสามิต+ภาษีเทศบาล+Vat) ภาษีเป็นหน้าที่ที่เราต้องเสียกันอยู่แล้ว เพื่อให้รัฐเก็บไว้เป็นงบประมาณประเทศเพื่อใช้จ่ายในรัฐบาล หน่วยงานราชการและภาครัฐ นอกจากภาษีนั้นยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจำกัดการใช้น้ำมันบางชนิด อย่างเช่น เบนซิน 95 รัฐไม่อยากให้ใช้เยอะ ก็คิดอัตราที่สูงให้แพงไปเลย คนจะได้ไม่อยากใช้ ดังนั้น ภาษีสรรพสามิต จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมราคาน้ำมันโดยการกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตที่แตกต่างกันระหว่างน้ำมันชนิดต่างๆเป็นการสะท้อนนโยบายของรัฐบาลที่จะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการใช้น้ำมันบางประเภท ส่วนนโยบายอื่นๆที่ไม่ใช่นโยบายทางพลังงานที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมัน ผมไม่อาจจะไปวิจารณ์ตรงจุดนี้ได้ครับ ทำไมต้องมีกองทุนน้ำมัน การส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพสามิต (ส่วนน้ำมันกลั่นในประเทศ) และ กรมศุลกากร (ส่วนน้ำมันสำเร็จรูปนำเข้า) ตามอัตราที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานกำหนด เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวน ถ้าไม่มีกองทุนน้ำมันก็จะทำให้ราคาขายปลีกจะแกว่งตามราคาตลาดโลกที่ผันผวน อาจถึงขั้นปรับราคากันทุกวัน ดังนั้นกองทุนน้ำมันจึงมีบทบาทในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันขายปลีกโดยการปรับเพิ่มหรือปรับลดของอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน นอกจากนี้กองทุนนี้ก็มีส่วนในการอุดหนุนราคาน้ำมันบางชนิด เช่น E20, E85 ตามที่กล่าวไว้แล้ว ทำไมต้องมีกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เก็บในส่วนของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล และดีเซล ในอัตราลิตรละ 0.25 บาท เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายช่วยเหลือหรืออุดหนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับอนุรักษ์พลังงาน โดยมี คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นผู้กำหนดนโยบาย ทำไมต้องมีค่าการตลาด (Marketing Margin) หลายๆคนสงสัยว่าค่าการตลาดมีทำไม? คืออะไร? คือกำไรล้วนๆหรือ? จริงๆแล้วทุกๆปั๊มก็จะมีค่าใช้จ่ายการดำเนินการในการขายปลีกอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าก่อสร้างปั๊ม การขนส่ง ค่าเช่าที่ ค่าจ้างเด็กปั๊ม ค่าจ้างคนทำงาน ค่าน้ำค่าไฟฟ้า ยิ่งถ้าต่างจังหวัดก็จะมีค่าการตลาดสูงขึ้นเนื่องจากค่าขนส่งที่ไกลขึ้น และถ้าน้ำมันที่คนเติมน้อยเนี่ย เช่น เบนซิน 95, 91, E85 ค่าการตลาดก็ยิ่งสูง เพราะต้องสต๊อกน้ำมันไว้นาน ขายไม่ค่อยออกเลยมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่ จะเห็นได้ว่า ส่วนที่เป็นกำไรจริงๆ แทบจะไม่มี หรือมีน้อยจัดๆ คนที่เคยทำธุรกิจปั๊มน้ำมันก็จะรู้ดีครับ กำไรไม่ได้ดีอย่างที่คิดหรอกนะครับ (แถมห้องน้ำก็ต้องให้ใช้ฟรีอีก) ต้องขายให้ได้ปริมาณมากๆๆๆๆจริงๆ สรุป ราคาน้ำมันขายปลีกหน้าปั๊มน้ำมันทุกๆชนิด มันมีโครงสร้างราคาของมันเองและเหตุผลของมันเอง โดยราคาขายหน้าโรงกลั่นจากอ้างอิงตามราคาน้ำมันของตลาดสิงคโปร์ ดังนั้นเวลามีใครอ้างตัวว่าเป็นกูรูน้ำมันก็ให้ฟังหูไว้หูครับ อย่าหลับหูหลับตาเชื่อ แต่ทั้งหมดทั้งมวลไม่ได้สำคัญเท่ากับว่าสิ่งที่เค้าพูดมันจริงหรือถูกต้องหรือป่าว เพราะเค้ามักจะเล่นเอาราคาน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ มาแปลงเป็นราคาต่อลิตรซะเฉยๆ หรือ บางทีที่หนักกว่านั้นก็เอาราคาน้ำมันดิบ WTI มาอ้างหน้าตาเฉย (ไทยใช้น้ำมันดิบดูไบ) ทำไมต้องราคาน้ำมันสำเร็จรูปของตลาดสิงคโปร์ (SIMEX) น้ำมันเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคชนิดหนึ่ง (Commodities) ซี่งมีการแข่งขันสูง การเปลี่ยนราคาหรือนโยบายการผลิตและการขายของผู้ค้าน้ำมันรายหนึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดน้ำมัน จึงทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปรับราคาให้สามารถแข่งขันกันได้ ดังนั้น ราคาน้ำมันที่เหมาะสมเพื่อใช้ “อ้างอิง” จึงควรจะกำหนดมาจากความต้องการและความสามารถในการผลิต ภายใต้กลไกระบบการค้าเสรีของกลุ่มตลาดซื้อขายน้ำมันที่อยู่ใกล้เคียงกัน คล้ายกับสินค้าทางการเกษตร อย่างเช่น ราคาผลไม้ซึ่งอ้างอิงราคาที่ตลาดไท หรือราคาข้าวซึ่งอ้างอิงราคาที่ท่าข้าวกำนันทรง เป็นต้นสำหรับศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันของโลกกระจายอยู่ใน 3 ภูมิภาค ก็คือ อเมริกา ยุโรป และเอเชีย โดยที่ตลาดกลางการซื้อขายน้ำมันของภูมิภาคเอเชียตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ หรือที่เราเรียกกันว่า "ตลาดสิงคโปร์" (The Singapore International Monetary Exchange หรือ SIMEX) เนื่องจากเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งคำว่า “ราคาสิงคโปร์” นั้นไม่ใช่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ประกาศโดยรัฐบาลหรือโรงกลั่นของประเทศสิงคโปร์ หรือราคาขายปลีกในประเทศสิงคโปร์ แต่เป็นราคาซื้อขายน้ำมันระหว่างผู้ค้าน้ำมันในภูมิภาคเอเชียที่ตกลงกันผ่านตลาดกลางฯที่ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเอเชียและตั้งอยู่ใกล้กับประเทศสิงคโปร์ จึงเลือกที่จะอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากตลาดสิงคโปร์ ซึ่งสะท้อนระดับราคาที่สมดุลกับกลไกระบบการค้าเสรีของตลาดในภูมิภาคนี้ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของราคาก็สอดคล้องอย่างเป็นสากลกับตลาดซื้อขายน้ำมันอื่นๆทั่วโลก การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยขึ้นเอง แทนที่จะอ้างอิงราคาจากตลาดสิงคโปร์ อาจจะทำให้เกิดความไม่สมดุลในการผลิตและความต้องการใช้น้ำมันภายในประเทศ เพราะหากว่าราคาน้ำมันที่กำหนดขึ้นเองในประเทศมีราคาถูกกว่าตลาดสิงคโปร์ ก็จะทำให้ผู้ค้าน้ำมันส่งน้ำมันสำเร็จรูปออกไปขายเพื่อทำกำไร ซึ่งมีผลให้ประเทศขาดแคลนน้ำมัน ในทางกลับกัน หากราคาน้ำมันที่กำหนดขึ้นเองในประเทศมีราคาแพงกว่าตลาดสิงคโปร์ ผู้ค้าน้ำมันก็จะนำน้ำมันสำเร็จรูปเข้ามาขายแข่ง ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันภายในประเทศและการจ้างงานนอกจากนี้ การอ้างอิงราคาจากตลาดสิงคโปร์ จะทำให้โรงกลั่นภายในประเทศต้องพัฒนาศักยภาพและปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนการกลั่นน้ำมันให้สามารถแข่งขันกับโรงกลั่นอื่นๆ ในภูมิภาคหรือของโลกอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้บริโภคและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งเหล่าโรงกลั่นในไทยจะมีค่าการกลั่นโดยเฉลี่ยอยู่ราวๆลิตรละ 2 บาท ขึ้นอยู่กับบางช่วงเวลาเรียกว่า Gross Refinery Margin ดูข้อมูลได้จาก http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html คำอธิบายค่าการกลั่น http://www.marinerthai.com/sara/view.php?No=1115 อ้างอิงคำอธิบายราคาสิงคโปร์ http://esso-th.listedcompany.com/faq.html#01 ข้อมูลโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทย จาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน http://www.eppo.go.th/admin/km/KM-OilPriceStructure.pdf น้ำมันประเทศไทยแพงที่สุดในโลกจริงเหรอ??? ลองมาดูข้อมูลตรงนี้กันว่า ประเทศไทย เบนซิน 95 ราคาเราอยู่อันดับใดของโลกนี้ http://www.bloomberg.com/slideshow/2013-02-13/highest-cheapest-gas-prices-by-country.html#slide48 อยู่อันดับ 47 ของโลกจากข้อมูลล่าสุด จะบอกว่าเราเก็บแพงมันก็แพงอยู่ แต่ประเทศที่เก็บแพงกว่าเราในภูมิภาคนี้มี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ รวมทั้ง จีน ฮ่องกงและอินเดีย ส่วนใหญ่ประเทศยุโรปอยู่ลำดับท๊อป 20 แต่ถ้าเข้าใจว่าทำไมถึงแพงก็จะเข้าใจครับ ว่าเราต้องนำเข้าเยอะ รัฐต้องการรายได้จากส่วนนี้ด้วย และต้องอุดหนุนพลังงานบางชนิดอีกต่างหาก ส่วนประเทศที่ขายได้ถูกก็ต้องเข้าใจว่าถูกเพราะอะไร ต้องดูที่โครงสร้างภาษี,กองทุนน้ำมันและการอุดหนุนพลังงานของแต่ละประเทศ http://www.opec.org/opec_web/en/about_us/171.htm *** ทำไมไม่เทียบกับค่าแรงขั้นต่ำหรือรายได้เฉลี่ยของแต่ละประเทศ *** น้ำมันเราต้องนำเข้าใช่มั้ยครับ ราคาที่ซื้อมันอิงกับ Demand Supply ของโลก ราคาทั่วโลกจริงๆเค้าซื้อที่ราคาเดียวกันในแต่ละชนิด ณ ตลาดซื้อขายอ้างอิง ในเมื่อเราจำเป็นต้องซื้อมาใช้ เราก็ต้องใช้ตามราคาน้ำมันโลก ไม่มีแบ่งแยกว่าประเทศไหนรวยหรือจนครับ ดังนั้นพอบริษัทน้ำมันซื้อน้ำมันดิบจากตลาดโลกมาใช้ต้นทุนก็เป็นราคาตลาดโลก พอบริษัทน้ำมันกลั่นได้แล้วจะขายได้ตามราคาอ้างอิงออกจากโรงกลั่น (ตามราคาตลาดสิงคโปร์ที่กล่าวไว้ที่สะท้อนถึงต้นทุนน้ำมันดิบตามตลาดโลก) + ค่าการตลาดเท่านั้น (ถ้ารัฐบังคับให้ขายต่ำกว่าราคาตลาดสิงคโปร์ ผู้ประกอบการก็จะขนออกไปขายที่สิงคโปร์ทันที เพราะได้ราคากว่า) ส่วนราคาที่เพิ่มเติมในโครงสร้างทางภาษีและกองทุนน้ำมัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลนั้นๆ ผมไม่สามารถเข้าไปวิจารณ์ในส่วนนี้ได้ครับ ผมยกตัวอย่าง ทองคำ มีราคาอ้างอิงตามตลาดโลก เราก็ต้องซื้อราคานั้นตราบใดที่เราไม่สามารถผลิตทองคำได้เองถึงขั้นส่งออก หรือเป็นรายใหญ่ขนาดกำหนดราคาเองได้ คือต้องซื้อเข้ามา ไม่เกี่ยวว่า ค่าแรงขั้นต่ำหรือรายได้เฉลี่ยของแต่ละประเทศเป็นเท่าไรครับ ทุกประเทศต้องซื้อราคาเท่ากัน ณ ตลาดซื้อขายอ้างอิง ที่สะท้อนถึงอุปสงค์อุปทาน (Demand Supply) ของโลก ที่จะต่างกันคือภาษีของแต่ละประเทศ โครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นราคาน้ำมันของอีกประเทศนึงที่มักจะถูกอ้างอิงมาเปรียบเทียบเสมอ มาดูแผนภาพที่อ้างอิงจาก ข้อมูลพลังงานจากสหรัฐอเมริกาครับ โดยราคาน้ำมันเฉลี่ยอ้างอิงจากวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556 http://www.eia.gov/petroleum/gasdiesel/ รูปที่ 1: โครงสร้างราคาน้ำมันเบนซิน 95 และ ดีเซล ของประเทศสหรัฐอเมริกา (January 2013) จะเห็นได้ว่า ราคา Regular Gasoline (เบนซิน 91 บ้านเรา) ราคาเฉลี่ยทั้งประเทศสหรัฐอมริกาอยู่ $3.784/gallon แปลงเป็นหน่วย บาท/ลิตร จะเป็น 29.99 บาทต่อลิตร เท่านั้น ส่วน ดีเซล ราคาเฉลี่ยทั้งประเทศสหรัฐฯอยู่ที่ $4.159/gallon หรือ 32.96 บาทต่อลิตร (ราคาอ้างอิง ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556) 1 US gallon = 3.78541178 litres 1 USD = 30 Thai Baht (Approx.) ทางอเมริกาก็มีโครงสร้างทางภาษีกับค่าการตลาดเหมือนกัน แต่จะเห็นได้ว่า น้ำมันเบนซิน 91 ราคาแค่ราคาหน้าโรงกลั่นก็ประมาณ 80% (72% ราคาน้ำมันดิบ +8% ค่าการกลั่น) (23.99 บาทต่อลิตร) ไปแล้ว ภาษีเก็บแค่ 13% (3.89 บาท) เอง นอกนั้นเป็นค่าการตลาด ไม่มีกองทุนน้ำมันกับอนุรักษ์พลังงาน ส่วนค่าการตลาดพอๆกัน น้ำมันดีเซล ราคาแค่ราคาหน้าโรงกลั่นก็ประมาณ 73% (61% ราคาน้ำมันดิบ +12% ค่าการกลั่น) (24.06 บาทต่อลิตร) ไปแล้ว ภาษีเก็บแค่ 12% (3.95 บาทต่อลิตร) เอง นอกนั้นเป็นค่าการตลาด ไม่มีกองทุนน้ำมันกับอนุรักษ์พลังงาน ส่วนค่าการตลาดพอๆกัน อเมริกาแพงกว่านิดหน่อย ซึ่งพอชำแหละโครงสร้างราคาน้ำมันออกมา จะเห็นได้ว่า ต้นทุนที่ออกจากหน้าโรงกลั่น แทบไม่ได้แตกต่างกันเลยทั้งราคาน้ำมันในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ราคาหน้าโรงกลั่นของไทยจะแพงกว่านิดหน่อยเพราะใช้น้ำมันดิบดูไบ (Dubai Fateh) ($108.36/bbl) เป็นส่วนประกอบหลักที่แพงกว่าน้ำมันดิบ WTI (West Texas Intermediate) ที่สหรัฐอเมริกาใช้ ($92.76/bbl) รวมถึงค่าการกลั่นน้ำมันดิบดูไบแพงกว่า WTI เล็กน้อยด้วยเพราะคุณภาพน้ำมันดิบ WTI ดีกว่า (ที่ราคา WTI ถูกลงเนื่องจากอุปสงค์อุปทาน Demand Supply ในภูมิภาคนั้น รวมถึงสภาวะทางการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วยหลายๆอย่าง) นอกจากรัฐบาลกลางสหรัฐฯเก็บภาษีอัตราที่ต่ำแล้วยังมีการอุดหนุนภาษีในรูปแบบต่างๆให้แก่บริษัทน้ำมันด้วย ปีๆนึงตกมากกว่าหมื่นล้านดอลล่าร์ !!! เพื่อให้บริษัทน้ำมันปรับปรุงเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมและให้มีความสามารถในการลงทุนในกลุ่ม Unconventional Fuel หรือพวก Enhanced Oil Recovery ที่ใช้เงินลงทุนสูง ถึงขนาด ปธน.โอบามา เสนอต่อสภาคองเกรสให้ตัดงบอุดหนุนมูลค่า $4 พันล้าน แต่ไม่ได้รับการตอบรับ อ้างอิง http://priceofoil.org/fossil-fuel-subsidies/ http://www.taxpayer.net/library/article/presidents-fy2012-proposed-cuts-to-fossil-fuel-subsidies http://www.elistore.org/Data/products/d19_07.pdf ข้อมูลราคาน้ำมันดิบจากบมจ.ไทยออยล์ http://www.iwebgas.com/oil/oil.html ข้อมูลราคาน้ำมันดิบจาก OPEC http://www.opec.org/opec_web/static_files_project/media/downloads/publications/MOMR_February_2013.pdf แต่ที่แตกต่างกันชัดเจนก็คือภาษีและกองทุนน้ำมันและอนุรักษ์พลังงาน ที่บ้านเราเก็บโหด แต่ก็ยังน้อยกว่ายุโรปนะ เพราะใช้น้ำมันดิบ Brent ที่แพงสุดๆ และเก็บภาษีอย่างโหด (ปล. อ่านต่อว่าทำไมต้องน้ำมันดิบดูไบ http://www.scbeic.com/THA/document/knowledge_dubai/) โครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศส่งออกน้ำมัน น้ำมันที่มาเลเซียผลิตได้เรียกว่าน้ำมัน Tapis เป็นน้ำมันที่ได้ชื่อว่ามีคุณภาพดีที่สุดในโลก ราคาแพงกว่า Brent อีกนะครับ พบมากในรัฐซาบาห์ ซาราวัก แถบเกาะบอร์เนียว และเป็นผู้ส่งออกก๊าซ LNG อันดับสองของโลก (ปี 2012) ทำให้รัฐบาลมาเลเซียเอารายได้บางส่วนจากการขายพลังงานมาอุดหนุน (Subsidy) ราคาพลังงานในประเทศมาเลเซียทำให้ราคาน้ำมันในมาเลเซียถูกลง กราฟที่ 2: ปริมาณการผลิต (Production) และบริโภค (Consumption) น้ำมันดิบและคอนเดนเสทของประเทศมาเลเซียปี 1991-2010 ข้อมูลจาก http://www.eia.gov/countries/cab.cfm?fips=MY กราฟที่ 3: โครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศมาเลเซีย จากกราฟที่ 3 จะเห็นได้ว่า ทางรัฐบาลมาเลเซียทั้งยกเว้นภาษี (Tax exemption) และอุดหนุนราคา (Subsidy) ให้กว่า 40% ของราคาน้ำมันขายปลีก (Retail Price) ที่ควรจะเป็นของประเทศมาเลเซีย ดังนั้นเวลามีใครบอกว่าน้ำมันมาเลย์ถูกกว่าบ้านเราเยอะ ก็ต้องรู้ด้วยว่า ถูกเพราะอะไรนะครับ อ้างอิงจาก http://www.mier.org.my/presentations/archives/pdf-restore/presentations/archives/pdf/27NEBSubsidy.pdf ราคาขายปลีกน้ำมันมาเลเซียในปัจจุบัน PETROL RON95 หรือเบนซิน 95 อยู่ที่ ~ 19 บาท (RM1.9) ส่วนดีเซลอยู่ที่ 18 บาท (RM1.80) ครับจากข้อมูลเดือน มีนาคม พ.ศ. 2556 รูปที่ 2: โครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศมาเลเซีย จากปั๊มน้ำมัน SHELL ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ วันที่ 16 มี.ค.2556 ราคาซ้ายคือ PETROL RON 95 หรือ เบนซิน 95 (กระดาษลอกๆหน่อย) ราคาขวามือคือ DIESEL (ดีเซล) Harga sebenar termasuk cukai ราคาที่แท้จริงรวมภาษี Harga kawalan ราคาขายปลีกที่ถูกควบคุมราคาแล้ว (ราคาที่ประชาชนซื้อ) Pelepasan Cukai oleh Kerajaan งดเว้นภาษีโดยรัฐบาล Subsidi oleh Kerajaan เงินอุดหนุนจากรัฐบาล RM 1 ประมาณ 10 บาท http://www.mytravelcost.com/petrol-prices/ แต่ทางมาเลเซียเองก็พยายามหาทางลดการอุดหนุนลงเรื่อยๆ (อารมณ์ LPG ของบ้านเรา) แบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป เพื่อให้คนใช้พลังงานตามราคาตลาดโลก จะได้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพหน่อย ไม่ใช่พอใช้ถูกก็ผลาญกันยังกะซดน้ำ ทำให้รัฐบาลมีภาระการอุดหนุนราคาน้ำมันและก๊าซสูงขึ้นเรื่อยๆจนรับไม่ไหว ถ้าเล่นหักดิบกันจะเหมือนประเทศไนจีเรีย ที่หยุดการอุดหนุนไปเฉยๆทันที ทำให้ราคาน้ำมันขึ้นเท่าตัว ประชาชนก็เลยก่อม๊อบออกมาประท้วงต่อต้านทันทีเช่นกัน รูปที่ 3: การประท้วงการยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ำมัน (Fuel Subsidy Elimination) ในทันทีของรัฐบาลไนจีเรีย ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันทุกชนิดเพิ่มขึ้นเท่าตัวในวันเดียวกัน (Credit: Reuters) ข่าวสารอ้างอิงเกี่ยวกับการอุดหนุนราคาน้ำมันของประเทศมาเลเซีย http://www.themalaysianinsider.com/malaysia/article/ku-li-moots-higher-taxes-on-big-cars-to-phase-out-petrol-subsidies/ http://www.themalaysianinsider.com/malaysia/article/minister-ron95-petrol-subsidy-up-10-sen-pump-price-unchanged/ http://www.topsecretwriters.com/2012/07/removing-the-gas-subsidy-crutch-can-malaysia-do-it/#more-18437 http://www.malaysia-chronicle.com/index.php?option=com_k2&view=item&id=31203:should-the-government-remove-fuel-subsidies?&Itemid=2 ข่าวการประท้วงการหยุดการชดเชยราคาน้ำมันของประเทศไนจีเรีย http://www.reuters.com/news/pictures/slideshow?articleId=USRTR2VY9V และ CEO ของ Petronas บริษัทน้ำมันของมาเลเซีย ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกการอุดหนุนราคาก๊าซของมาเลเซีย เพราะทำให้คนใช้ก๊าซไร้ประสิทธิภาพ เพราะ Petronas ตอนนี้เป็นผู้ส่งออกก๊าซ LNG อันดับสองของโลก (จากข่าว) ได้ทำสัญญาระยะยาวในการส่ง LNG ไปที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ถ้าความต้องการพลังงานในประเทศมาเลเซียสูงขึ้นจะทำให้มีผลกระทบต่อการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของมาเลเซียอย่างแน่นอน พอต้องส่งออกตามสัญญา ถ้าประเทศผลิตเหลือจากการส่งออกไม่พอ ก็ต้องนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านแทนหรือใช้พลังงานทางเลือกอื่นปั่นไฟฟ้าที่แพงกว่าก๊าซ แต่ข้อดีของการอุดหนุนราคาพลังงานทำให้อัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพของมาเลเซียต่ำกว่าเพื่อนบ้านใน ASEAN แต่จะทำให้รัฐถังแตกในไม่ช้านี้ กราฟที่ 4: ปริมาณการบริโภค (Consumption) และกำลังการผลิต (Production) ของก๊าซธรรมชาติของประเทศมาเลเซียปี 1991-2010 กราฟที่ 5: ข้อมูลผู้ส่งออกก๊าซ LNG หลักของโลก ปี 2010 ข่าวและข้อมูลอ้างอิง http://www.eia.gov/countries/cab.cfm?fips=MY http://www.intelasia.net/petronas-ceo-calls-for-end-to-gas-subsidies-207078 http://www.themalaysianinsider.com/malaysia/article/petronas-insidious-addiction-to-gas-subsidies-could-cost-rm28b สรุปราคาน้ำมัน (บางชนิด) ที่ไทยแพงเพราะ 1. ภาษีอัตราที่สูงในน้ำมันบางชนิด 2. กองทุนน้ำมันและส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานในอัตราที่สูงในน้ำมันบางชนิด 3. ต้นทุนและค่าขนส่งน้ำมันดิบแพงกว่าในบางประเทศ (Dubai Fateh แพงกว่า WTI) ย้ำนะครับ ผมไม่ได้คาดหวังให้ทุกๆคนมาเชื่อผม ผมแค่นำข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ผมเคยศึกษาเอาไว้มาแชร์ ได้โปรดวิเคราะห์และใช้วิจารณญาณของตัวท่านเองและหาข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ และฟังข้อมูลหลายๆด้านอย่างมีสติด้วยครับ ด้วยความหวังดี เรื่องพลังงานต้องใช้ความรู้ ไม่ใช่ความรู้สึก
โดย
WABISABI
อาทิตย์ มี.ค. 24, 2013 9:10 pm
0
24
Re: รบกวนสอบถามเกี่ยวกับ CPALL หน่อยครับ
ผมว่าเมื่อก่อนไม่มีใครคิดเรื่อง CPALL จะได้ใบอนุญาตไปเปิดนอกประเทศ แต่ตอนนี้เราพูดถึงความเป็นไปได้ของโอกาสที่เมืองจีน (รวมถึงในอาเซียน) ส่วนตัวแล้วคิดว่าคู่แข่งหรือภาพรวมอุตสาหกรรมที่นั่น คงไม่เกินกว่าคุณภาพหรือความเก่งกาจของผู้บริหาร อีกอย่างหนึ่งที่เป็นบวกคือกลุ่ม CP ไปที่นั่นนานมากแล้ว และน่าจะมีต้นทุนทางความสัมพันธ์เครือข่ายอยู่พอมากพอควรที่จะเอื้อให้ CPALL เติบโตได้ครับ
โดย
WABISABI
อังคาร ก.พ. 05, 2013 5:04 pm
0
0
Re: สรุป Money talk@SET : 3G กับ megatrend 3Feb2013
ขอบคุณมากๆนะครับผม
โดย
WABISABI
จันทร์ ก.พ. 04, 2013 7:36 pm
0
0
Re: วินัยการลงทุน
ผมเป็นสมาชิกได้ไม่นานครับ เมื่อสามสี่เดือนที่ผ่านมาอ่านย้อนหลังไปก็พบว่า ในอดีต ตอนที่ดัชนีขึ้นมาอยู่ที่ 800-900 ก็มีคนกังวลกันว่ามันขึ้นมาสูงแล้ว มาถึง 1300 ก็กลัวว่าจะล่มสลาย แล้วก็มีอีกหลายๆโพสที่คล้ายๆกันนี้ในแต่ละปีที่ผ่านไป แล้วดัชนีก็สูงขึ้นๆตาม แต่ก็มีบางกระทู้สอนผมเช่นกันอยู่เรื่อยๆว่า ถ้าเราลงทุนในพื้นฐานที่ดี เราก็ไม่ต้องกังวลกับดัชนี ถ้าพื้นฐานไม่เปลี่ยนก็ไม่ควรทำอะไร ดัชนีเป็นเรื่องที่เราคาดเดาไม่ได้ ว่าพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร แต่ผลประกอบการของบริษัทที่เราเป็นเจ้าของ เราคงคาดหมายได้แน่นอน
โดย
WABISABI
พุธ ม.ค. 30, 2013 9:38 pm
0
0
Re: EA market cap ณ ipo 2 หมื่นกว่าล้าน?
อยากศึกษาเกม ipo แบบติดขอบเวที เลยซื้อที่ราคา ATO มานิดหน่อยครับ รอว่าจะขายคืนผู้เล่นคนอื่นๆเมื่อไรดี :D
โดย
WABISABI
พุธ ม.ค. 30, 2013 9:23 pm
0
1
Re: ต่ำกว่า 22 มาทางนี้ มีกระทู้คุณค่ามาฝาก
ขอบคุณมากครับ
โดย
WABISABI
จันทร์ ม.ค. 28, 2013 2:14 pm
0
0
Re: ลิงค์ ไปอ่าน แบบรายงาน 56-1 ของทุกบริษัท ได้อย่างรวดเร็ว
กดไลค์ครับ ขอบคุณมากๆครับ
โดย
WABISABI
เสาร์ ม.ค. 12, 2013 4:26 pm
0
0
Re: ตลาดหุ้นไทยไม่เคยปกติเป็นปกติ และ นลท. ก็ลืม
หุ้นตกเพราะบริษัทฝรั่งลดความน่าเชื่อถือ ? โกลด์แมน แซคส์ลดน้ำหนักความน่าลงทุนของตลาดหุ้นไทย มาเลย์ อินโดนีเซีย -> อังคารที่ 3 มิถุนายน 2551 หุ้นไทยผันผวนแรงมอร์แกนลดน้ำหนักการลงทุน -> 19 ตุลาคม 2552 ฝรั่งลดน้ำหนักการลงทุน หากไม่ผ่านด่าน992ยังเสี่ยงปรับฐานลึกเป้าหมาย965จุด+/- -> 19 ตุลาคม 2553 หุ้นไทยดิ่งเหว21จุด CLSAลดน้ำหนักหุ้นไทย -> 25 สิงหาคม 2554 Morgan Stanley(MS) ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทย จาก Equalweight ลงสู่ Underweight โดยจากเดิมที่อยู่ที่อันดับ 9 ในกลุ่ม Asia/GEMs ลงสู่ที่ 15 จากทั้งหมด 20 อันดับ -> 17 ก.พ. 2555 เจ๋งฮะ ลดทุกปีเลย !
โดย
WABISABI
ศุกร์ ม.ค. 11, 2013 6:19 pm
0
0
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
ถ้าเทียบค่าแรงขั้นต่ำกับ consumer price index เป็น relative จะเห็นว่าในสิบปีที่ผ่านมา ค่าแรงขั้นต่ำไม่เคยเพิ่มขึ้นเลย สิบปีที่แล้วซื้อไข่ได้หนึ่งใบ ปีนี้ก็ซื้อไข่ได้หนึ่งใบเหมือนเดิม และไม่ได้สัมพันธ์กับ GDP ของประเทศ
โดย
WABISABI
พุธ ม.ค. 09, 2013 10:49 am
0
2
Re: จองงาน Money Talk@SET ช่วงเช้า สำหรับสมาชิกสมาคม 350 ที่
แจ้งสละสิทธิ์ครับ ติดธุระด่วนขอโทษด้วยครับ
โดย
WABISABI
เสาร์ ม.ค. 05, 2013 12:50 pm
0
0
Re: จริงหรือไม่ที่หุ้นเติบโตไม่ใช่หุ้นอสังหาริมทรัพย์
หลักการลงทุนแบบ VI - ศึกษาและทำความเข้าใจธุรกิจโดยวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐาน - ซื้อเมื่อประเมินอนาคตแล้วว่า Undervalue การจะเลือกลงทุนในหุ้นอสังหาฯ หรือไม่นั้น เป็นความถนัดและความชอบของแต่ละบุคคล ไม่เกี่ยวกับหลักการ VI ครับ ขอบคุณครับ คำตอบนี้พาผมไปที่หลักการและทำให้มองได้รอบด้านยิ่งขึ้นครับ
โดย
WABISABI
อังคาร ม.ค. 01, 2013 8:20 am
0
0
Re: จองงาน Money Talk@SET ช่วงเช้า สำหรับสมาชิกสมาคม 350 ที่
จอง 1 ที่ครับผม
โดย
WABISABI
ศุกร์ ธ.ค. 28, 2012 8:40 am
0
0
Re: เรียน สมาชิกสมาคมฯ ทุกท่าน เรื่องนายกสมาคมฯ คนใหม่
ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
โดย
WABISABI
ศุกร์ ธ.ค. 28, 2012 8:39 am
0
0
Re: 1 ล้านบาทแรกในชีวิต
เพื่งเข้ามาอ่านครับ เก่งๆกันทุกคนเลย ผมจะจดจำเอาไว้เป็นแรงบันดาลใจครับ ไม่เคยเล่นหุ้นมาก่อน จนกระทั่งเพื่อนคนนึงบอกว่า ควรลงทุนให้หุ้นบ้าง เพราะอาชีพแบบพวกเราทำงานหนัก ถึงเงินจะเยอะแต่บั้นปลายอาจจะไม่เหลืออะไร ก็เริ่มอ่านหนังสือจากวันนั้นเรื่อยมา จนมาเจอแนวทาง VI และคิดว่าจะยึดทางนี้คับ แต่เพื่อนที่แนะนำให้เล่นหุ้นก็เป็นแนวเก็งกำไรระยะสั้น รู้สึกว่า ตั้งแต่ศึกษาเรื่องนี้ และตั้งใจลงทุนในหุ้น รู้สึกว่าเงินแต่ละบาทมีค่ามาก และเปลี่ยนจากใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายมาเก็บเงินเอาไว้ลงทุนเมื่อพร้อมครับ ไม่รู้ว่าจะได้มีเงินเป็นล้านอยู่ในพอร์ตเหมือนพี่ๆ หรือเปล่า แต่ก็รู้สึกดีใจที่มาพบแนวทาง VI ครับ
โดย
WABISABI
ศุกร์ ธ.ค. 21, 2012 2:23 pm
0
1
Re: จริงหรือไม่ที่หุ้นเติบโตไม่ใช่หุ้นอสังหาริมทรัพย์
คำถามที่ 2 ตอนที่อ่านหนังสือ ผมตั้งสมมติฐานในใจว่า นักลงทุนแบบ VI เข้มข้น คงจะหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่มอสังหาฯ ยกเว้นบริษัทที่มี asset play จริงๆ ความเชื่อนี้ถูกต้องหรือเปล่าครับ เพราะผมคิดว่ามี thai vi ไม่น้อยที่ลงทุนในหุ้นอสังหาฯ และพวกเขาก็คงได้กำไรหลายเท่าตัวหลังวิกฤติเศรษฐกิจ subprime ?
โดย
WABISABI
พฤหัสฯ. ธ.ค. 20, 2012 6:25 am
0
0
Re: จริงหรือไม่ที่หุ้นเติบโตไม่ใช่หุ้นอสังหาริมทรัพย์
ขอบคุณทุกๆคนมากๆ พอจะเข้าใจแล้วครับ ธุรกิจอสังหา มีความเป็นวัฏจักรตามสภาพเศรษฐกิจด้วย เพราะถ้าไม่มีกำลังซื้อ ที่มีอัตราก่อหนี้มาลงทุนสูง ผลประกอบการก็อาจจะกลับมาขาดทุนได้อย่างมากมาย ถ้าเช่นนั้น อาจจะลงทุนในกิจการกลุ่มนี้ในระยะยาว คงต้องหาบริษัทที่ defensive ต่อสภาวะเศรษฐกิจด้วย ดูข้อมูลย้อนหลัง พบว่ากำไรต่อหุ้น กับราคาหุ้นดูไม่ค่อยสัมพันธ์กัน คือ ราคาหุ้นที่เป็นดูจะสูงเกินกว่าราคาหุ้นที่คิดตามกำไรต่อหุ้นไปมาก แสดงว่ามีการเก็งกำไรอยู่สูงมากในธุรกิจนี้ (ซึ่งอาจจะต้องพูดด้วยว่า ขณะตลาดเป็นตลาดกระทิง ก็มีการเก็งกำไรในหลายๆ ธุรกิจเช่นกัน) และแสดงว่าใน 5 ปีที่ผ่านมาเป็นรอบขาขึ้นของธุรกิจอสังหาฯ ทีนี้ ใครจะลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ณ ตอนนี้ พี่ๆ มองว่าเสี่ยงไปหรือยังครับ โดยปกติแล้วเราควรดูที่ P/E เท่าไร D/E เท่าไรครับ ถามเป็นความรู้นะครับ รบกวนชี้แนะด้วยครับผม
โดย
WABISABI
พฤหัสฯ. ธ.ค. 20, 2012 6:14 am
0
1
Re: ใครๆก็ทำกำไรจากหุ้นได้ในช่วงนี้ แล้วคนที่ขาดทุนหายไปไหน
ดังนั้น ถ้าพวกเขารู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ อย่างมีสติ (ถ้าปัญญาคือจุดอ่อน สติก็ต้องมีมากกว่า) ลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดี เติบโตตอเนื่อง ถึงแม้แพงไปก็อาจจะทำกำไรในหุ้นได้สักเล็กน้อยจนเอาชนะเงินเฟ้อ ในยามที่ตลาดหุ้นเป็น positive sum game แบบนี้ แต่พวกเขาก็อาจจะต้องลงรถหรือออกจากงานเลี้ยงให้ถูกเวลา ระหว่างนี้ก็ศึกษาหาความรู้ในแนวทางที่ถูกต้องไป ก็น่าจะเป็นไปได้โดยที่ไม่มีใครต้องขาดทุนครับ
โดย
WABISABI
พุธ ธ.ค. 19, 2012 7:51 pm
0
0
Re: ใครๆก็ทำกำไรจากหุ้นได้ในช่วงนี้ แล้วคนที่ขาดทุนหายไปไหน
เพื่อน แฟน คุณ ก็ วิเคราะห์ npv mirr ผมว่า เค้า ก็ ได้วิเคราะห์ พิจารณา ใน แนวทาง ของเค้า พอสมควร ทำไม คิดว่า วิธี ของ เพื่อน แฟน ไม่ เวิก ละครับ แล้ว ผม ว่า แฟน คุณ จะ รู้ ลึก ถึง สาเหตุ การ ตัดสินใจ ของเพื่อน เค้า หรือ ครับ ขออนุญาตตอบคุณ canuseeme คือเพื่อนแฟนผมอ่ะครับ ซื้อก่อนแล้วมาวิเคราะห์ทีหลังนี้สิครับ :shock: คงกลัวว่า SET จะวิ่งทะลุฟ้า :shock: แล้วก็ซื้อหุ้น big cap ทั้งนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ใน set50 เช่น PTTGC CPF เป็นต้น ผมคิดว่าผลตอบแทน ก็เลยได้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาด ตอนนี้ก็เลยชื่นมื่นมากครับ :P ส่วนในเรื่องเอาเกณฑ์อะไรที่เขาเลือก อันนี้แฟนผมไม่รู้แน่ แต่ที่แน่ๆ ผมเคยถามว่า เจ้าของบริษัทที่คุณ จะลงทุนชื่ออะไร เขามองหน้าผมตาปริบๆ แล้วบอกว่าไม่รู้ ผมก็เลยบอกว่า ผมน่ะไม่ได้กลัวว่าคุณ จะรวย ผมกลัวคุณจะเจ๊งมากกว่า ศึกษาซักปี ไม่ดีกว่าหรือ ป่านนี้เขาคงคิดว่าผมมาขัดลาภ เป็นไงละได้กำไรเห็นๆ เท่าที่ผมสังเกตุและได้ยินจากการสัมมนา MONEYTALK@SET ผู้เข้าสัมมนาที่นั่งข้างๆผมส่วนใหญ่จะไม่สนใจ ว่าหุ้นตัวไหนอยู่ในเกณฑ์ ที่ต่ำกว่ามูลค่า กลับจะเข้าไปซื้อตามราคาที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยเขาบอกว่าเป็นการซื้อเฉลย เขาจะซื้อทุกเดือน โดยแบ่งจากเงินเดือนมาซื้อ คนส่วนใหญ่คงรอไม่ได้ที่จะซื้อของถูก :juju: พี่ๆว่าจริงเท็จประการใดช่วยชี้แนะข้าน้อยด้วย ขอแลกเปลี่ยนนิดเดียวครับ ผมคิดว่า ณ ตลาดหุ้น ตอนนี้ เราต่างรู้ว่าราคาไม่ถูกแล้วแน่ๆ ยิ่งความรู้(ของผม)จำกัด ก็ยิ่งหาหุ้นที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามูลค่าไม่ได้เลย โดยเฉพาะหุ้นเติบโตทั้งหลาย หุ้นที่มี P/E ต่ำ ก็เป็นหุ้นที่แย่ๆ หรืองั้นๆ ใครยังหาหุ้นที่มี MOS สูงๆ ได้อยู่ถือว่าเก่งมากๆครับ (ช่วยบอกน้องๆด้วยนะครับ แฮ่ๆ) ดังนั้น วิถีทางก็อาจจะแบ่งเป็นสองส่วน 1 คือเก็บเงินสดเอาไว้ซื้อหุ้นตอนตลาด panic จนหุ้นมีสัดส่วนความปลอดภัยสูง 2 เอาเงินบางส่วนมาลงทุนในหุ้นที่ใกล้เต็มหรือเกินมูลค่าแล้ว แต่ตลาดยังไปต่อไป เพื่อทำกำไร 10-15 % ก็อาจจะเอาชนะเงินเฟ้อได้ แต่ต้องออกให้ถูกเวลา วิธีนี้อาจจะไม่ใช่ของวิธีของ VI และออกจะใจร้อนไปหน่อย
โดย
WABISABI
พุธ ธ.ค. 19, 2012 7:30 pm
0
0
Re: ความเชื่อเกี่ยวกับการลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า
ขอบคุณมากๆครับ ติดตามอ่านนะครับ เป็นกำลังใจขอให้เขียนบทความคุณค่าเช่นนี้มาให้อ่านเรื่อยๆนะครับ
โดย
WABISABI
อังคาร ธ.ค. 18, 2012 4:09 pm
0
0
Re: คำแนะนำธรรมดาๆ เพื่อกำไรที่ไม่ธรรมดา
ขอบคุณมากครับ อ่านแล้วได้ใคร่ครวญอะไรเยอะเยอะมากมายครับ
โดย
WABISABI
อังคาร ธ.ค. 18, 2012 4:03 pm
0
0
Re: จากดักแด้มาเป็นผีเสื้อ (ตอนที่ 1) / โดย คนขายของ
ขอบคุณมากๆครับ
โดย
WABISABI
อาทิตย์ ธ.ค. 02, 2012 11:03 am
0
0
Re: ฟรี ! แบ่งปันสรุปหุ้นรายตัว ย้อนหลัง 15 ปี ง่าย
รบกวนขอด้วยคนครับผม
โดย
WABISABI
อาทิตย์ ธ.ค. 02, 2012 8:35 am
0
0
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
WABISABI
ระดับ:
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
ศุกร์ ต.ค. 12, 2012 3:09 pm
ใช้งานล่าสุด:
ศุกร์ พ.ค. 12, 2023 1:57 pm
โพสต์ทั้งหมด:
103 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.01% จากโพสทั้งหมด / 0.02 ข้อความต่อวัน)
ลายเซ็นต์
ซาบิ ; ความงามที่ผ่านคุณค่าของกาลเวลา
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว