หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
boonprak
Joined: จันทร์ มี.ค. 06, 2006 3:46 pm
153
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - boonprak
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: Bank of Thailand cuts 2011 growth outlook to 2.6%
น้ำก็ท่วม เศรษฐกิจยุโรปกับสหรัฐฯ ก็หนี้บาน แล้วสัปดาห์ที่แล้ว หุ้นไทยขึ้นได้ไง? งงงงงงงงง?
โดย
boonprak
เสาร์ ต.ค. 29, 2011 9:49 pm
0
0
Re: สารคดีชีวิตสัตว์โลก:: Game Theory
ทุกครั้งต้อง login มาเพื่อขอมาดูการ์ตูนเลย ขอบพระคุณมากครับ :D
โดย
boonprak
พุธ ส.ค. 31, 2011 10:34 pm
0
0
แจก work sheet excel สำหรับ คำนวณเครดิตภาษีปันผล
รับประทาน ขอด้วยครับ
[email protected]
ขอบคุณครับ
โดย
boonprak
จันทร์ ม.ค. 07, 2008 10:32 pm
0
0
World Competitiveness Scoreboard 2007
เห็นสหรัฐฯ เศรษฐกิจแย่ๆ เค้ายังให้เป็น reference ที่ 100 อีก สงสัยสหรัฐฯ นี่มี potential power อื่นๆ อีกเยอะ
โดย
boonprak
ศุกร์ ม.ค. 04, 2008 5:40 pm
0
0
กองทุนอสังหาฯ...แนวVI วิเคราะห์ดูกันตรงไหนครับว่าดีหรือไม่ดี
ในตลาดหลักทรัพย์คงไม่ถือเป็นหุ้นหรอกครับ ส่วนการวิเคราะห์ ผมว่าต้องวิเคราะห์แบบ ซื้อบ้านให้เช่านะครับ ไม่น่าเหมาะจะวิเคราะห์แบบวิเคราะห์หุ้น เพราะจุดมุ่งหมายการลงทุนไม่เหมือนกัน และเกณฑ์ในงบการเงินก็ไม่เหมือนกันด้วย(เช่น ไม่คิดค่าเสื่อมราคา เป็นต้น) ผมไม่ทราบจริงๆ ครับว่าไม่ได้ถือเป็นหุ้น พอดีเห็นมีการซื้อขายด้วย เห็นจุดประสงค์เค้าระดมทุนไปลงทุนในอสังหาฯ ปล่อยเช่าหรือขาย ถ้าวิเคราะห์แบบซื้อบ้านให้เช่า ผมก็ไม่สันทัดว่าอสังหาฯ ที่ใช้ดำเนินการตั้งต้นมีศักยภาพดีหรือไม่ดี (ทำเล/ค่าเช่า) แล้วอสังหาฯ ที่จะลงทุนต่อไปมีหลักเกณฑ์ยังไงในการเลือกเข้าไปลงทุน รู้สึกบรรยากาศเคมุ ยังไงไม่รู้ สงสัยต้องถอยดีกว่า...
โดย
boonprak
พฤหัสฯ. ม.ค. 03, 2008 9:11 pm
0
0
จะหาข้อมูลบริษัทที่เพิ่งเข้าตลาดของแต่ละปีได้จากที่ไหนบ้าง
อันนี้น่าจะพอใช้ดูได้น่ะครับ http://www.set.or.th/set/ipo.do?language=th&country=TH
โดย
boonprak
พฤหัสฯ. ม.ค. 03, 2008 8:56 pm
0
0
ทำไม KYE ข้อมูลการเงินประจำช่วงเวลา ถึงไม่สอดคล้องกับงวดคับ
[quote="StockMan4411"] 1) ถ้าผมต้องการดูผลงานปี 2007 ที่เพิ่งผ่านไปของ KYE ก็ต้องเลือก Period => 2008-Q2
โดย
boonprak
อังคาร ม.ค. 01, 2008 9:16 pm
0
0
ทำไม KYE ข้อมูลการเงินประจำช่วงเวลา ถึงไม่สอดคล้องกับงวดคับ
เข้าใจว่างวดปีบัญชี ไม่ใช่วันสิ้นปี 31 Dec เหมือนชาวบ้านปกติทั่วไปครับ ตัวอื่นๆ อาทิเช่น PRG(Jun), AFC(Jun), LTX(Mar), TR(Sep), TTL(Sep), CEI(Jul), CNS(Aug), PL(Sep), IRC (Sep), STANLY(Mar), PTL(Mar), TIW(Mar), TSTH(Mar), BLAND(Mar), MBK(Jun), TYONG (Mar), TIF1(Mar), EASTW(Sep), AOT(Sep), THAI(Sep), TTA(Sep), METCO(Sep), TNH(Jun)
โดย
boonprak
อังคาร ม.ค. 01, 2008 9:57 am
0
0
คุณผิดพลาดเรื่องการลงทุนอะไรบ้าง กรุณาเล่าให้ฟังหน่อยได้มั้ย
ตอนซื้อ RPC เมื่อก่อนครับ ตอนนั้นเพิ่งเริ่มซื้อขายหุ้นใหม่ๆ กะว่าเป็นหุ้นพลังงานคงเป็น defensive stock ถือยาวได้ ที่ไหนได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้นำตลาด ต้องคอยวิ่งราคาตามพี่ใหญ่ (ซึ่งมีรายได้หลายทางมากกว่า) กอปรกับวัตถุดิบก็ต่อรองไม่ค่อยได้...ผลก็คือ บริษัทฯ ผลประกอบการไม่ค่อยดี ข้าพเจ้าก็เจ๊ง :cry: ได้บทเรียนที่ดีมาก เรื่องการตั้งสมมุติฐาน :evil:
โดย
boonprak
เสาร์ ธ.ค. 15, 2007 8:47 pm
0
0
จะอ่าน นสพ. อะไรดีถึงจะได้รับข่าวสารที่เกี่ยวกับการลงทุน
หุ้นที่สนใจ หรือถืออยู่ อยู่ในวงการอะไร ก็หาหนังสือพิมพ์ หรือวรสาร หรือเวป หรือ... ในวงการนั้นมาดูซิครับ ผม "สยามดารา" ก็อ่านเล่น :D ก็มีหุ้นที่อยู่ในวงการบันเทิงนิดนึง แต่หลักๆ ชอบกรุงเทพธุรกิจครับ
โดย
boonprak
เสาร์ พ.ย. 03, 2007 11:00 pm
0
0
ถามชาว vi ทนได้นานกี่วัน
ถ้าว่างก็ดูครับ เหมือนปลูกต้นไม้ :) ผมชอบปลูกตั้งแต่เป็นเมล็ดครับ แล้วดูพัฒนาการของมันจนออกดอกออกผล เห็นแล้วชื่นใจ สมกับที่เราลงทุนลงแรง ไปหาเมล็ดพันธุ์ที่แปลกๆ สวยๆ มาประคบประหงมปลูก
โดย
boonprak
ศุกร์ ก.ค. 06, 2007 3:45 pm
0
0
ไฟล์เสียง พี่ สามัญชน ออก money channel คับ
:bow: ขอบคุณพี่ EAKEPON และพีหมอสามัญชน ที่มอบความรู้ให้ครับ
โดย
boonprak
ศุกร์ ก.ค. 06, 2007 3:28 pm
0
0
โครงการ visit company
NTV ครับ :)
โดย
boonprak
ศุกร์ ก.ค. 06, 2007 3:14 pm
0
0
ถ้าบริษัทที่ ROE, DPS ต่ำ TIE สูง D/E มากกว่า หนึ่งเท่า
ลองคลำๆ ดู ผิดถูกยังไงช่วยชี้แนะ น่ะครับ :) DPS ต่ำ --> ไม่ค่อยเหลือตังค์ ก็เลยไม่ปันมาให้ผู้ถือหุ้น D/E มากกว่าหนึ่งเท่า --> หนี้เยอะแฮะ, E น้อย --> ดังนั้นที่ ROE ต่ำ เป็นเพราะ Return ต่ำ (ไม่ใช่ E มีค่ามาก) ซึ่งสอดคล้องกับการที่ไม่ค่อยมีตังค์ แต่ว่า TIE (=ebit/interests) สูง --> ถึงแม้หนี้เยอะต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่ก็มีรายได้มากพอมาหมุนจ่ายละว่ะ... อ่าว??? รายได้มาก ไหง ตอนจบ เหลือตังค์น้อยล่ะ? --> แสดงว่า "ค่าใช้จ่าย สูง!!!" (ผมตีความ TIE จากสูตรน่ะครับ ผิดถูกช่วยชี้แนะด้วย) ตอนแรกผมคิดว่าเป็นรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคซ่ะอีก Return ต่ำไม่เป็นไร ไม่ต้องเอาตังค์ประชาชนมาก, Debt สูงก็ไม่เป็นไร ส่วนใหญ่ค่อนข้างผูกขาดอยู่แล้ว มีรายได้แน่นอน... ส่งผ่าน Value ทั้งหมดไปให้ประชาชนได้สะดวกสบาย ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการครองชีพ แต่ดันเป็นบริษัทไปได้ซ่ะนี๊ :twisted: แล้วมันจะอยู่รอดถึง 2 น้ำไม้เนี๊ยะ ผมเสนอให้ดู "ค่าใช้จ่าย" ด่วนครับ ถือเป็น internal component จัดการง่ายกว่า การหารายได้ให้เพิ่มขึ้น ที่เป็น external component หาจุดไม่มี efficiency แล้วจัดการครับ จะเพิ่มประสิทธิภาพยังไง หรือเจื๋อนทิ้งก็แล้วแต่
โดย
boonprak
อังคาร มิ.ย. 26, 2007 2:46 pm
0
0
เซ็นไปแล้ว! เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น JTEPA มีข้อเสีย....
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2225 10 มิ.ย. - 13 มิ.ย. 2550 หมูกุ้งไก่หมูทูน่าไทยบุกปลาดิบ น้ำผลไม้ชูธงหนุนรับJTEPA อาหารไทยท้ารบ JTEPA ค่ายยักษ์ใหญ่ทูน่า กุ้ง ไก่ หมู น้ำผลไม้ชักแถวลุยตลาดญี่ปุ่น ทูน่าได้เฮ"ยุ่น"ใช้ไทยเป็นฐานผลิตส่งกลับ ค่ายซีแวลู ทียูเอฟ คิงฟิชเชอร์ฯ ออเดอร์คึกคัก ขณะค่ายเบทาโกรเนื้อหอมพันธมิตรญี่ปุ่นขอร่วมทุนผุดโรงงานแปรรูปไก่-หมูอีก 2 โครงการรวด ด้านกรมประมงร่วมงาน JAPAN SEEFOOD SHOW โชว์มาตรฐานกุ้งไทย จากการที่ "ฐานเศรษฐกิจ"ได้นำเสนอข่าว "ไทยเปิบ "ซูชิ"ติดที่6โลก" ในฉบับที่ 2224ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน2550 เนื้อหาระบุญี่ปุ่นสบโอกาสความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA)ที่จะมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า(คาดมีผลบังคับใช้ราว ต.ค.2550)เข้ามาเปิดตลาดสินค้าอาหารญี่ปุ่นในไทยอย่างคึกคักเพื่อชิมลางตลาด อย่างไรก็ตามในส่วนของสินค้าอาหารซึ่งไทยมีศักยภาพเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกก็มีโอกาสที่จะรุกกลับไปยังตลาดญี่ปุ่นมากขึ้นเช่นกัน ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ กรรมการกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากข้อตกลง JTEPA ดังกล่าวสินค้าทูน่ากระป๋องจะยกเลิกภาษีลงเป็น 0% ภายใน 5 ปี ทยอยลดปีละ 1.6% (อัตราภาษีนำเข้าปัจจุบันอยู่ที่ 9.6%)ทำให้ สินค้าทูน่ามีโอกาสขยายในตลาดญี่ปุ่นได้มาก โดยขณะนี้ได้เกิดความเคลื่อนไหวทยอยปิดกิจการของผู้ผลิตทูน่าในญี่ปุ่นแล้ว และเตรียมแผนที่จะมาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตส่งกลับไปจำหน่ายในญี่ปุ่นแทน เนื่องจากต้นทุนการผลิตทูน่าในญี่ปุ่นค่อนข้างสูงโดยเฉพาะต้นทุนด้านแรงงาน การหันมานำเข้าจากไทยในอัตราภาษีที่ทยอยลดลงและยกเลิกในที่สุดน่าจะคุ้มกว่า "ทราบมาว่าขณะนี้โรงงานทูน่าในญี่ปุ่นหลายสิบราย เป็นโรงงานขนาดกลางๆ เริ่มทยอยลดกำลังการผลิต ลดคนงานและได้เตรียมหันมาลงออเดอร์รวมถึงมาร่วมทุนกับผู้ผลิตของไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจาก JTEPA อย่างชัดเจน คาดว่าออเดอร์จากญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราภาษีที่จะทยอยลดลงจนเป็นศูนย์ ซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมทูน่าและอุตสาหกรรมอาหารของไทยที่จะขยายไปสู่ตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้นในอนาคต"ดร.ชนินทร์ กล่าวและว่า ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นบริโภคทูน่ากระป๋อง 12 ล้านหีบ/ปี(1 หีบบรรจุ 48กระป๋อง)ในจำนวนนี้นำเข้าจากไทยประมาณ 3-4 ล้านหีบ/ปี คิดเป็นสัดส่วน 25-30% ของการนำเข้า ผลจาก JTEPA คาดไทยจะสามารถส่งออกทูน่าไปญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น 10-12% ในปีแรกของการลดภาษี ขณะที่ผู้ส่งออกทูน่ารายใหญ่ของไทยไปญี่ปุ่นได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นโปรดักส์ (มหาชน) บริษัท ซีแวลู จำกัด และ บริษัท เซ้าท์อีสต์เอเซี่ยนแพ็คเก็จจิ้ง แอนด์ แคนนิ่ง จำกัด นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานบริหาร บริษัท ซีแวลู จำกัด เชื่อว่าสินค้าอาหารไทยจะเติบโตได้ดีในตลาดญี่ปุ่น หลัง JTEPA มีผลบังคับใช้ โดยเฉพาะสินค้าทูน่า จากแนวโน้มดังกล่าวบริษัทซีแวลูฯ จึงได้ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการส่งออกทูน่าไปญี่ปุ่นจากปัจจุบัน 15% เป็น 25% ภายในปีแรกที่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ก็มีสินค้ากุ้งซึ่งจะยกเลิกภาษีทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้นั้น กลุ่มรูบิคอนกรุ๊ปที่ดูแลอยู่ก็มั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนการส่งออกกุ้งไปญี่ปุ่นได้เป็น 30% จากปัจจุบันสัดส่วน 20% เนื่องจากมีฐานลูกค้าอยู่แล้ว นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่นโปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ กล่าวว่า บริษัทจะใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจาก JTEPA อย่างเต็มที่โดยตั้งเป้าหมายจะส่งออกทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็งทั้งกุ้ง ปลาหมึก และอาหารแมวไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอีก 10-20% ภายในปีแรกที่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ จากที่ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกของบริษัทสัดส่วน 20% และคิดเป็นรายได้สัดส่วน 10% ของรายได้รวม โดยตั้งเป้ารายได้รวมในปีนี้ที่ 57,000 ล้านบาท จากปี 2549 มีรายได้ 55,000 ล้านบาท "หากข้อตกลง JTEPA มีผลบังคับใช้จะทำให้เรามีโอกาสส่งออกไปญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นตามอัตราภาษีที่ลดลง แต่เวลานี้ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง และเรายังเสียเปรียบเรื่องเงินบาทที่แข็งค่า ขณะที่คู่แข่ง หลักคือเวียดนาม และอินโดนีเซียเงินเขาไม่แข็งค่าทำให้สินค้าเขาถูกกว่า อย่างไรก็ดีในญี่ปุ่นเรามีบริษัทฮาโกโรโม ฟู้ด คอร์ปอเรชั่น (HAGOROMO FOOD CORPORATION)ซึ่งเป็นผู้ครองตลาดทูน่าอันดับหนึ่งในญี่ปุ่นส่วนแบ่งตลาดกว่า 60% เป็นพันธมิตร โดยฮาโกโรโมได้มาถือหุ้นในทียูเอฟ 2% หาก JTEPA มีผลให้ยอดขายเขาเพิ่มขึ้นและกำลังผลิตไม่เพียงพอคงมาสั่งซื้อเราเพิ่มขึ้น" ก่อนหน้านี้นายกฤษณ์ ศิรประภาศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า บริษัทได้รุกเข้าไปทำตลาดน้ำผลไม้ในญี่ปุ่นผ่านช่องทางซูเปอร์มาร์เก็ตและคอนวีเนี่ยนสโตร์รายใหญ่ในญี่ปุ่นโดยได้วางจำหน่ายน้ำฝรั่งและน้ำสับปะรดบรรจุกล่องยูเอชทีได้แล้ว 700-800 สาขา และอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อวางจำหน่ายน้ำผลไม้ในเซเว่น-อีเลฟเว่นของญี่ปุ่นอีกกว่า 10,000 สาขา หากความตกลง JTEPA มีผลบังคับใช้และสินค้าน้ำผลไม้ได้รับการลดภาษี(ภาษีนำเข้าปัจจุบัน 6-34%) จะทำให้บริษัทสามารถส่งออกไปญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ด้านนายแพทย์นพพร วายุโชติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการพัฒนาธุรกิจ เครือเบทาโกร กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ล่าสุดพันธมิตรจากญี่ปุ่นได้มาร่วมทุนกับเครือฯเพื่อลงทุนตั้งโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ และเนื้อสุกรอีก2โรง จะแล้วเสร็จปลายปีนี้ มีเป้าหมายส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น ตั้งโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมเครือเบทาโกรที่ จ.ลพบุรี(พันธมิตรของเครือเบทาโกรประกอบด้วย อายิโนะโมะโต๊ะ ซูมิโตโม และไดนิปปอนฯ) นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า JTEPA สินค้าอาหารของไทยได้ประโยชน์แน่นอน และระหว่างวันที่ 16-21 ก.ค.นี้ กรมประมงและภาคเอกชนของไทยจะไปร่วมงาน Japan Seafood Show ซึ่งสมาคมประมงแห่งประเทศญี่ปุ่นจัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว โดยจะร่วมออกบูธแสดงความก้าวหน้าวิวัฒนาการการเพาะเลี้ยงกุ้งของประเทศไทย เพื่อให้ผู้นำเข้าเกิดความมั่นใจมาตรฐานสินค้าไทย โดยแต่ละปีญี่ปุ่นนำเข้ากุ้งสดจากไทยเพียง 2 หมื่นกว่าตัน ขณะเดียวกันในส่วนของกรมประมงจะเจรจากับรัฐบาลญี่ปุ่น กรณีการตรวจสินค้าหน้าด่านซึ่งปัจจุบันใช้เวลานานถึง 15-20 วันจะขอให้ผ่อนผันลง รวมถึงเจรจาให้การรับรองโรงงานกุ้งของไทยเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันทั้งหมด 280 โรง รับรองเพียง 13 โรง ซึ่งโรงงานที่ยังไม่ได้รับการรับรองจะไม่ค่อยได้รับความสะดวก ในเบื้องต้นอยากให้ได้รับรับรองเพิ่มขึ้นเป็น 30-40 โรง เพื่อให้ไทยได้ประโยชน์จากJTEPA อย่างเต็มที่ [/quote]
โดย
boonprak
จันทร์ มิ.ย. 11, 2007 2:23 pm
0
0
เซ็นไปแล้ว! เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น JTEPA มีข้อเสีย....
มา update ข่าวครับ จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2225 10 มิ.ย. - 13 มิ.ย. 2550 ผลกระทบ JTEPA โอกาส หรือ ความเสี่ยง!!! นับตั้งแต่ประเทศไทย ลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA)เมื่อ 3 เมษายน 2550 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ช่วงปลายปี 2550 นี้ ซึ่งการลงนามครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดโอกาสที่ดีต่อความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การลงทุน ระหว่างกัน ตลอดทั้งการเคลื่อนย้ายมนุษย์ ที่จะนำไปสู่การขยายเข้าสู่ธุรกิจใหม่ๆในภาคบริการได้เพิ่มขึ้น เช่น การรักษาพยาบาล การดูแลผู้สูงอายุ กุ๊กอาหารไทย สปาและนวดแผนไทย เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่า การลงนามครั้งนี้ ย่อมสร้างทั้งโอกาส และความเสี่ยง "ฐานเศรษฐกิจ" จึงจัดเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อ: "ผลกระทบ JTEPA โอกาส หรือ ความเสี่ยง!!!!" ขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา และได้รับเกียรติจาก ดร. วีรชัย พลาศรัย อธิบดี กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการแพทย์และธุรกิจต่างประเทศ บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด(มหาชน) และนายนิกร สุศิริวัฒนนนท์ เลขานุการกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ร่วมแสดงความคิดเห็นและสะท้อนมุมมองในด้านต่างๆ รวมถึงข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ความเสี่ยงในเบื้องต้น คือ ความเสี่ยงจากการที่เราไม่ได้ทำเอฟทีเอกับญี่ปุ่น เพราะมีคนไม่เห็นด้วยมาก แต่รัฐบาลก็เคลียร์ ปัญหาส่วนนี้ไปแล้ว เช่น เรื่องของเสียที่เป็นพิษ และเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ทำไมถึงพูดแบบนี้ เพราะเรามองการเปรียบเทียบในเชิงการค้า เห็นว่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ เพื่อนบ้านอื่นๆลงนามกับญี่ปุ่นไปหมดแล้ว จึงมองว่าอะไรก็ตามที่เราได้ลงนามมีสองทางคือ สิ่งที่เป็นอุปสรรค และสิ่งที่ต้องจัดการ หรือความเสี่ยง สอง ความเสี่ยงในเรื่องเป้าหมาย เพราะกลยุทธ์ของญี่ปุ่นในการเจรจาเอฟทีเอจะเจรจาทีละประเทศแล้วไปรวมเป็นกลุ่ม ซึ่งแตกต่างจากจีนที่จะเจรจาเป็นกลุ่ม แล้วมาไล่ลงนามทีละประเทศ เพราะเป้าหมายของญี่ปุ่นคืออาเซียน ส่วนต่อจากนี้ไป ไทยลงนามได้แล้วมีความเสี่ยงหรือเปล่า คำตอบ คือ มีความเสี่ยงที่น่ากลัว และจะต้องเปลี่ยนคือ ความเสี่ยงที่เราปรับปรุงไม่ได้ เพราะว่า JTEPA เป็นเพียงเวทีเดียว จากทั้งหมดขณะนี้มี 13 เวที กับอีก 7 เวที ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้ให้น้ำหนักเรื่องกรอบความร่วมมือมาตลอดเพราะถ้าหากว่าไทยไม่มี JTEPA ก็จะไม่มี 13 + 7 ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เกษตร เอสเอ็มอี และอื่นๆ จึงเป็นศักยภาพในการแข่งขันที่สร้างเอาไว้ แต่ที่เสี่ยงก็คือเราทำไม่ได้ ทำไม่ทัน ก็ต้องพยายามกำจัดความเสี่ยงนี้ไปโดยการรวบรวมพวกเราที่จะเตรียมตัวเข้าไปสู่กระบวนการนี้ "สัญญาณหนึ่งที่บอกอย่างชัดเจน ว่า ญี่ปุ่นจะมาลุยด้านธุรกิจอาหารในไทย ซึ่งได้ติดตามอยู่ 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่า ญี่ปุ่นมาเปิดฟูดส์แฟร์ในเมืองไทยและจะมาขายอาหารในประเทศไทยโดยจะใช้ JTEPA เข้ามา" อีกความเสี่ยง คือ เรื่องสุขอนามัยพืชและสัตว์ ซึ่งญี่ปุ่นได้แสดงออกมาแล้วซึ่งในทางปฏิบัติเรียกว่า เบรก แต่ไปว่าเขาไม่ได้ โดยประกาศว่า สารเคมี 700 กว่าชนิด ถ้าตรวจพบห้ามเข้าญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ ที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ญี่ปุ่นาทำนั้นไม่ถูก อย่างไรก็ตามในเรื่องอาหาร ไทยามีข้อตกลงที่เรียกว่าฟู้ดเซฟตี้ จะเป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาญี่ปุ่นได้ สำหรับเรื่องของ โอกาส ผมเห็นอยู่อันเดียวที่ชัดเจนมาก คือการลดภาษี จะลดมากหรือน้อย ช้าหรือเร็วก็ลดแน่นอน และเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้นเมื่อสองอาทิตย์ที่ผ่านมา ภายใต้ ASEAN CCR ได้มีการคุยกันระหว่างเอกชนในกลุ่มอาเซียนด้วยกันว่า ต้องมีการแลกโน้ตกัน เพื่อดูจุดแข็งและแฮนดิแคปอยู่ตรงไหน และถ้าญี่ปุ่นมาร่วมยอดด้วยจะต้องแสดงความเห็นกันอย่างไร เช่นเรื่องภาษี ซึ่งในข้อตกลงญี่ปุ่นจะมี ตะกร้าภาษี 6 พิกัด 9 พิกัด ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ เช่นไทยใช้เจรจากับญี่ปุ่น มี 6 พิกัด แต่ญี่ปุ่นใช้ 9 พิกัด ก็จะไปแลกข้อมูล ในอาเซียนด้วยกันได้ นอกจากนี้ก็จะมีเรื่องของต้นกำเนิดสินค้า ซึ่งเชื่อว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ "เมื่อหักลบระหว่างความเสี่ยงกับโอกาส ผมคิดว่าเป็นโอกาสสำหรับไทยมากกว่า เพราะญี่ปุ่นไม่เน้นเรื่องภาษีสินค้า แต่จะไปเน้นเรื่องบริการลงทุน และอีกประเด็น คือ กรอบความร่วมมือซึ่งถือว่าเป็นโอกาส แต่ไทยจะไม่ได้ประโยชน์เลยถ้าไม่ใช้ และจะกลายเป็นความเสี่ยง" ส่วนที่ว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่นเข้ามามีอิทธิพลในบ้านเราเป็นความเสี่ยงไหม เช่น อาหารญี่ปุ่นที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นอาหารสำเร็จรูป ซึ่งน่ากลัว เพราะ 1. ศักยภาพสินค้า การผลิตสินค้าของญี่ปุ่นดีกว่าไทย และต้นทุนต่ำ เพราะญี่ปุ่นจัดซื้อจัดจ้างเก่งมาก และสินค้าอาหารของญี่ปุ่นที่เข้ามา เป็นสินค้าที่ผลิตโดยวัตถุดิบที่ประเทศไทยไม่มี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ และขายในตลาดระดับบน จึงควรเข้าหาและดูว่าจะทำประโยชน์อะไรได้บ้าง เช่น ดึงเข้ามาร่วมหรืเข้าไปร่วมด้วย "เราขายไก่ไปตันละไม่กี่พันเหรียญ แต่ของเขามาอย่างเอ็กคลูซีฟจึงถือเป็นโอกาสอันหนึ่งที่เราต้องจับตา และทำให้การเจรจาต่อไปของญี่ปุ่นในเรื่องอาหารจะมาปิดกั้นไม่ได้อีกแล้วเพราะญี่ปุ่นเก่งจนกระทั่งส่งมาเมืองไทยได้ดังนั้นเขาต้องนำเข้าจากไทยมากๆด้วย" มองโอกาสอย่างไร!! ถ้าอยู่ในภาคสินค้า จะมองอยู่ 3 อย่าง คือ ภาษีเป็นอย่างไร การเข้าตลาดมีปัญหาไหม เช่น 1. เรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งขอเสนอว่า ไทยควรจะเจรจาก่อนลดภาษี และ 2. เรื่องของที่เหลือ ซึ่งคงจะมีการออกเป็นมาตรการต่างๆ บังคับออกมา "มาตรการต่างๆจะออกมาต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องเกษตรซึ่งมีมาตรการที่จะปกป้อง 3 ระดับ และกำลังจะเข้าระดับที่ 4 แล้วเมื่อญี่ปุ่นใช้มาตรฐานโลก มาตรฐานบริษัทต่อไปจะเป็นมาตรฐานเซ็กเตอร์ ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมากต้องดูแลดีๆ อีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าไม่มีเอฟทีเอ ก็เสี่ยงอยู่แล้วตลอดเวลา แต่เอฟทีเอ กลายเป็นช่องทาง ความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกัน จึงอยากให้ใช้ผลประโยชน์มากๆ เพราะตอนนี้ยุโรปก้าวล้ำไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้ต่อไปจะะต้องติดฉลาก ว่า สินค้าชิ้นนี้ทำลายโอโซนไปเท่าไร ปล่อยคาบอนมอนน็อกไซด์เท่าไร ซึ่งริ่มต้นทำแล้วที่เทสโก้และวอลมาร์ตกำลังเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะนอกจากมาตรฐานญี่ปุ่นแล้วยังมีมาตรฐานยุโรป ถ้ามีพยายามเข้าใจหรืออธิบายก็เป็นความเสี่ยง และที่เป็นความเสี่ยงมากคือ แหล่งซัพพลายวัตถุดิบบ้านเรา "ฉะนั้นผู้ประกอบการที่มีความสามารถต้องเปลี่ยนความคิด ถ้าเปลี่ยนได้ก็จะเดินไปได้ และต้องเปลี่ยนให้เร็วด้วย เพราะถ้าเปลี่ยนช้าเราจะได้วัตถุดิบที่ไม่ดี" ดร.วีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ JTEPA เป็นโอกาสหรือความเสี่ยงของไทย ผมว่าเป็นทั้งสองอย่าง คงต้องมองอย่างเป็นกลาง ทุกอย่างต้องมีสองด้านเสมอ ปัญหาอยู่ที่ว่าด้านที่เป็นความเสี่ยงเราจะบริหารจัดการได้อย่างไร และใ นเรื่องโอกาส ทั้งสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมเบาเช่น รองเท้า สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และการค้าบริการเป็นโอกาสของเรา เช่นเดียวกับโอกาสของญี่ปุ่นในเรื่องสินค้าอุตสาหกรรมบางอย่างเช่น เหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ และในเรื่องของการลงทุน " ถ้าหากว่าเราบริหารจัดการไม่ดีก็อาจจะกลายเป็นความเสี่ยง และความเสี่ยงที่บริหารจัดการไม่ดีก็อาจจะกลายเป็นปัญหาได้ เราจึงต้องบริหารจัดการก่อนและ ความเสี่ยงอาจจะไม่มีเลยด้วยซ้ำถ้าเราทำได้ดี" โอกาสของไทย สินค้าเกษตรที่เราเป็นผู้ส่งออกหลัก จะได้ประโยชน์ และได้โอกาสที่ดีกว่าคนอื่นนับตั้งแต่ความตกลงมีผลบังคับใช้จนกระทั่งถึงวันหนึ่งที่ประเทศอื่นจะได้ต่อเมื่อทำเอฟทีเอกับญี่ปุ่น หรือองค์การการค้าโลก(WTO) พัฒนาไปถึงขั้นที่ลดภาษีได้เท่านี้ ซึ่งเอฟทีเอเป็นคนละเลนของถนนสายเดียวกันที่มุ่งไปสู่การเปิดเสรีทางการค้า และสิ่งที่เราจะได้ก่อนประเทศอื่นหลายปี คือ สินค้าเกษตรก็เริ่มจากสินค้าประมงก็มียกเลิกภาษีทันที และที่จะยกเลิกใน 5 ปี 7 ปี 10 ปี อีกจำนวนมาก เช่น กุ้งแช่แข็ง ปลาทูน่า ปลาหมึก ปลา ปู หอยแช่เย็นแช่แข็ง และที่เป็นโอกาสคือ ผัก ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ผลไม้เมืองร้อน ผัก ผลไม้สด ผักผลไม้แปรรูปและน้ำผลไม้ เครื่องดื่มที่ได้จากการหมักได้ยกเลิกภาษีทันที ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่ปรุงสุกซึ่งกำลังมาแรง และเป็นโอกาสที่มาจากวิกฤติไข้หวัดนก ทำให้ไทยหันไปทำไก่สุก โดยได้รับการลดภาษีเหลือ 3% ใน 5 ปี ที่สำคัญคือกล้วย ที่ไทยได้โควตาปลอดภาษี 4,000 ตันในปีแรก และเพิ่มเป็น 8,000 ตันในปีที่ 5 ซึ่งภาษีปัจจุบัน 20-25% ถ้าปลอดภาษี คือศูนย์ จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ที่ผลิตกล้วย ซึ่งจะมีการพัฒนาระบบสหกรณ์ไทยกับสหกรณ์ญี่ปุ่นควบคู่กันไปเพื่อร่วมกันขายตรงถึงขั้นสั่งจองได้ว่าจะขายให้ร้านที่ทุกคนจะรู้ว่ากล้วยที่ได้นั้นต้นไหนใครปลูก เป็นต้น สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ยกเลิกภาษีทันที ขึ้นอยู่กับว่าเป็ประเภทอะไร โดยตอนนี้ภาษีเฉลี่ยอยู่ที่ 2.7-13.4% ส่วนอัญมณีและเครื่องประดับยกเลิกทันทีเหมือนกัน จสกภาษีเดิม 2.7-10% ซึ่งก็หวังว่าจะช่วยได้ในกรณีที่ถูกตัดจีเอสพีจากสหรัฐอเมริกา ทางด้านสินค้าผลไม้เมืองหนาว ถือเป็นโอกาสของญี่ปุ่นแ ต่ไทยกันเอาไว้เพราะเห็นปัญหากรณีเอฟทีเอไทย-จีน ญี่ปุ่นจึงได้เพียงสองสามอย่าง เช่น แอปเปิ้ล พีช แพร์ พรุน ส่วนโอกาสในเรื่องบริการและการลงทุน ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนที่ของบุคคลด้วย ญี่ปุ่นผูกพันสาขาบริการให้ไทยเพิ่มจาก WTO 65 สาขาย่อย และปรับปรุงจากที่ผูกพันไว้ใน WTO 70 สาขาย่อย เป็นการให้ผูกพันการเปิดบริการที่ดีที่สุดที่ญี่ปุ่นเคยให้ใครมาจนถึงปัจจุบัน บริการสำคัญๆ เช่นโฆษณา โรงแรม ร้านอาหาร บริการจัดเลี้ยง บริการจัดประชุม บริการออกแบบพิเศษ บริการจัดทัวร์นำเที่ยว ยกเว้นมัคคุเทศก์ หรือไกด์ บริการสปา บริการจัดหางาน บริการก่อสร้าง และอื่นๆ "ประเด็นสำคัญ คือ โอกาสเหล่านี้เราจะใช้ไม่ได้ถ้าคนของเราเข้าไปไม่ได้ จึงไปเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของคน ซึ่งต้องเจรจาควบคู่ไปด้วย โอกาสของเราตอนนี้ ปริญญาตรีของไทยญี่ปุ่น รับให้ถือว่าเป็นปริญญาตรีในความหมายของความตกลงนี้ เพราะฉะนั้นในสาขาที่เอ่ยมาก็เข้าไปได้หมด ติดอยู่ที่ภาษาญี่ปุ่นได้หรือไม่ได้ ในบางอาชีพจำเป็น ซึ่งก็มีโอกาสสูงที่คนไทยจะได้เข้าไปทำงานในญี่ปุ่นในสาขาที่กล่าวมถ้ามีความสามารถจริง" ซึ่งอาชีพที่ไทยได้มาเมื่อมีผล คืออาชีพพ่อครัวแม่ครัว และอาชีพสปา ซึ่ง เดิมมุ่งไปที่อาชีพผู้ช่วยพยาบาลแต่จากการหารือแล้วปรากฏว่าไม่มีความประสงค์ของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องที่จะไป และจริงๆแล้วเป็นความประสงค์ของญี่ปุ่นมากกว่าเพราะคนญี่ปุ่นไม่อยากทำงานนี้ โดยสปาเป็นอาชีพที่ญีปุ่นจะให้ไทยด้วย "สรุปก็ คือ อาชีพที่ได้มา คือ พ่อครัวแม่ครัว จากเดิมต้องมีประสบการณ์ 10 ปี ก็เหลือประสบการณ์จริงๆ 2 ปี เพราะว่าแม้ในข้อตกลงจะเหลือประสบการณ์ 5 ปี แต่ 5 ปีนั้นจะหักเวลาที่ใช้ศึกษาเพื่อที่จะไปเข้ารับหลักสูตรฝึกอบรมของกระทรวงแรงงาน ซึ่งรับตั้งแต่ ปวช.ขึ้นไป หรือจบ ปวส. แล้วมาฝึกอบรม ที่กระทรวงแรงงาน พวกนี้สองปีทำงานก็จะไปญี่ปุ่นได้ มีเงื่อนไขคือต้องอบรมจากกระทรวงแรงงานและนำชื่อไปไว้ที่กระทรวงแรงงานเพื่อรวบรวมรายชื่อส่งญี่ปุ่นอย่างน้อยชื่อต้องผ่านญี่ปุ่น ส่วนสปากับผู้ช่วยพยาบาลจะต้องเจรจาเงื่อนไขกันให้เสร็จใน 2 ปี สำหรับการลงทุนที่ไม่ใช่ภาคบริการ ญี่ปุ่นยอมเปิดให้ไทยหมดยกเว้นอุตสาหกรรมสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ผลิตครื่องบิน จรวด เป็นต้น สถานการณ์ความเสี่ยง ในสินค้าเกษตรเรียกได้ว่าไม่มี นอกจากอุตสาหกรรมที่ลงไปเรื่องของเหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ และรถยนต์ ซึ่งรถยนต์ต่ำกว่า 3,000 ซีซีไม่ลดภาษี แต่หลังข้อตกลงมีผลบังคับ 6 ปี ค่อยมาคุยกัน ส่วนรถยนต์ตั้งแต่ 3,000 ซีซีขึ้นไปเดิมภาษี 80% ปีแรกลด 5% และทยอยลดจนเหลือ 60% ในปีที่ 4 และคงภาษีไว้ที่ 60% จนกว่าจะเจรจาใหม่ ผู้ที่จะได้รับผลกระทบก็คือผู้ผลิตรถยนต์ของเยอรมนี ซึ่งก็พอรับได้ ด้านชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนที่อัตราภาษีเกิน 20% ก็ลดภาษีเหลือ 20 ทันทีคงไว้ 5 ปีแล้วยกเลิกในปีที่ 6 เครื่องยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์คงอัตราภาษีที่ปัจจุบัน 7 ปี และยกเลิกในปีที่ 8 และจะดูว่าเมื่อถึงปีที่ 6 สถานการณ์จะเป็นอย่างไรเพราะฉะนั้นเวลาปรับตัวคือเริ่มจากมีผลบังคับใช้ ในแง่ของเหล็กรีดร้อน จะให้มีเวลาปรับตัว หรืออะไรที่เราผลิตเองไม่ได้ก็ลดให้ญี่ปุ่น แต่ก็คำนึงว่าต่อไปคนไทยจะทำได้มากขึ้น โดยเฉพาะเหล็กกัดกรด เหล็กแผ่นหนาหน้ากว้าง และเหล็กนำเข้าเพื่อผลิตยานยนต์ชิ้นส่วน จะกำหนดให้โควตานำเข้าแต่ละปีโดยรัฐบาลไทยเป็นผู้กำหนด "สรุปแล้ว ทั้งเหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ รถยนต์น่าจะสามารภบริหารจัดการความเสี่ยงได้ อยู่ที่ว่าต้องทำงานอย่างใกล้ชิดทั้งรัฐบาลและเอกชน ซึ่งรัฐบาลตกลงอนุมัติเรื่องกองทุนลดผลกระทบจากเอฟทีเอที่จะนำมาใช้ แต่ต้องทำไม่ให้ขัด WTO" ส่วนที่ภาคบริการจะเข้าไปญี่ปุ่นได้หรือไม่ สิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำให้คือว่าถ้าหากมีวีซ่าที่ถูกต้องแล้ว จะกันไม่ได้ในสิ่งที่จะเข้าไปทำตามที่ตกลงกันไว้ แต่จะให้รัฐบาลเป็นคนไปการันตีว่าปีหนึ่งไปได้กี่คนเป็นไปไม่ได้และทางญี่ปุ่นก็ไม่ได้ให้เป็นโควตา ในเรื่องของโอกาสและความเสี่ยง เช่น โครงการความร่วมมือเหล็ก มองว่าน่าจะช่วยยกระดับของอุตสาหกรรมเหล็กในไทยได้ในระยะยาว รวมถึง เทคโนโลยี และความสามารถในการแก้ไขปัญหา ที่น่าจะได้ประโยชน์ และคงจะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนในอนาคต ส่วนที่นอกเหนือจาก การค้า การลงทุน เชื่อว่าปัญหาความเสี่ยงสามารถบริหารจัดการได้ เช่น สุขอนามัยของญี่ปุ่น ซึ่งค่อนข้างสูงได้กำหนดกลไกให้ไทยสามารถเจรจากับญี่ปุ่นในเวลาที่ไทยต้องการและจำเป็น รวมถึงประเด็นความเสี่ยงด้านโรงพยาบาลซึ่งเป้าหมายในการเจรจาไม่ได้มุ่งให้คนญี่ปุ่นเข้ามารักษา พยาบาลในเมืองไทยมากๆ สาเหตุเพราะความกังวล ด้านธุรกิจ และสังคม ว่าจะเกิดสมองไหล จึงมองว่าสิ่งที่เหมาะสม คือ ให้เป็นไปตามกลไกตลาด ความเสี่ยงอีกส่วนหนึ่ง ที่บริหารจัดการได้ คือ เรื่องของเสีย กับ การจดสิทธิบัตรจุลชีพ เนื่องจากคู่สัญญาระบุชัดเจนว่า ทั้งสองกรณีเป็นไปตามกฎหมายไทย ความกังวลจึงผ่อนคลายลง และเพื่อป้องกันคนไม่ดีเข้ามาทำ ทั้งรัฐบาลและเอกชนจะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มาตรฐานกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องได้ใช้อย่างเต็มที่ *****นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการแพทย์และธุรกิจต่างประเทศ บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด(มหาชน) การเจรจานี้ JTEPA ผมมองว่า เป็นการเจรจาที่ดี และกระแสโลภาภิวัฒน์เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมี JTEPA ถือเป็นการเสริม แต่สิ่งสำคัญ ไทยจะเสริมสร้างศักยภาพ ด้านการแข่งขันในเรื่อง การค้า อุตสาหกรรม และการศึกษาที่มุ่งไปสู่ ด้านเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ได้อย่างไร และ ความร่วมมือภาครัฐและเอกชนเข้มแข็งมากเพียงใด เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะกลายเป็นวิกฤตและโอกาสในการแข่งขัน หรือโอกาสและความเสี่ยงได้ สำหรับธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนของไทยที่ผ่านมามีการรักษาคนไข้ต่างประเทศมานานกว่า 10 ปีแล้ว โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ กำลังซื้อของคนในประเทศตก ก็หันไปหาคนไข้ต่างประเทศเข้ามารักษา ซึ่งก็ทำได้อย่างแข็งขัน และรัฐบาลที่ผ่านมา มองว่าการรักษาพยาบาลเป็นศักยภาพที่รัฐไม่ต้องลงทุนเพิ่ม จึงให้ความสำคัญ โดยจากตัวเลขปี 2546 ที่รัฐบาลเข้ามาสนับสนุน ทำให้ปี 2547 มีคนไข้ต่างชาติเพิ่มขึ้นมากจากประมาณ 630,000 ราย ขึ้นไปที่ 670,000 ราย และปี 2548 จำนวน1,280,000 ราย ในจำนวนนี้ญี่ปุ่นสูงสุด แต่ถ้าวิเคราะห์ลึกลงไปญี่ปุ่นที่เข้ามารักษาเป็นญี่ปุ่นที่ทำงานทั้งในประเทศและนอกประเทศไทย รวมถึงครอบครัว การที่ รพ. เอกชนจะติดต่อญี่ปุ่นโดยตรงหรือเข้ามาโดยตั้งใจนั้นไม่มี และเป็นไปได้ยาก โอกาสอยู่ที่ความพร้อม จะเห็นว่าตรงนี้เราดีอยู่แล้ว จะเจรจาหรือไม่เจรจาเราไปได้อยู่แล้ว แต่การเจรจาเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่นก็ช่วยทำให้ความเชื่อถือนอกประเทศดีขึ้น คนญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศและประเทศรอบข้างจะเข้ามารักษาในไทยเพิ่มมากขึ้น "ผมจึงมองว่าโอกาสได้เยอะ เพราะชื่อเสียงและความสำคัญเพิ่มมากขึ้น และถ้าญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้นมีครอบครัวเข้ามามากขึ้น ก็จะรักษากับเรามากขึ้นด้วย" สำหรับธุรกิจอื่นๆที่ไม่ได้ดูแลโดยตรง แต่จากที่ได้เดินทางและทำทีมไทยแลนด์แบรนด์ นั้น พบว่า การดูแลผู้สูงอายุแม้ญีปุ่นจะอยากได้คนไทยแต่ความพร้อมของเรายังไม่มาก แม้แต่ศักยภาพ การพูดภาษา ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น หรืออังกฤษเราก็ด้อยกว่าฟิลิปปินส์ อีกทั้งหลักสูตรในการเรียนก็ไม่ค่อยเข้มแข็งและสอนอย่างแท้จริง "แต่ถ้ากรมแรงงานดูแลได้ และการเจรจานั้นทำให้คนไทยได้ค่าแรงงานเหมือนคนญี่ปุ่น เดินทางไปได้ตามกฎหมายแรงงานไม่ถูกกดขี่ และฟ้องร้องได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดี" ส่วนบริการด้านอื่นๆ เช่น นวดแผนไทย และ สปา รวมถึงกุ๊กอาหารไทย ถ้าเจรจาแล้วสามารถไปเปิดในระดับท้อปคลาสคนญี่ปุ่นมาใช้บริการได้ ก็เป็นสิ่งดี จึงอยากให้มีการศึกษาข้อมูล และกระจายข้อมูลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และความร่วมมือภาครัฐและเอกชน เตรียมความพร้อมคน และเมื่อเข้าไปแล้วมีการปกป้องดูแล "ภาพรวมอยู่ที่ว่า รัฐเข้าไปเปิดประตูให้แล้ว เราจะเข้าประตูนั้นไหม มีคักยภาพและความร่วมมือเพียงพอไหม สำหรับในส่วนของโรงพยาบาล มีศักยภาพที่จะเข้าไป" อย่างไรก็ตาม การที่ชาวต่างประเทศเข้ามารักษาไม่ใช่ รพ. เอกชนจะได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว แต่ยังเอื้อไปถึงเศรษฐกิจอื่นๆมากกว่า 20 อุตสาหกรรม 20 ธุรกิจ หรืไม่ใช่แค่การผลิตเข็มฉีดยา สำลี ผ้าก็อด เวชภัณฑ์ เครื่องเอ็กซ์เรย์ แต่ถ้ารวมไปถึงการผลิตตู้เย็น ทีวี เครื่องอุ่นอาหาร อุปกรณ์การนอน เครื่องครัว เครื่องห้องน้ำ และญาติที่ตามคนไข้เข้ามาก็บริโภคและใช้ของเหล่านี้รวมถึงช้อปปิ้ง มีเงินเข้าประเทศอีกจำนวนมากด้วย สถานการณ์ความเสี่ยง ผมมองความเสี่ยง ในเรื่องความสมดุลของสองฝ่าย เช่น เรื่องสมองไหล เพราะยังมีความไม่เพียงพอของแพทย์และพยาบาล ใครจะเป็นคนแก้ไขให้เพียงพอ ในระดับการแพทย์ 1 : 1000 คนประชากร ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 1: 3200 คนประชากร แต่ก่อนนี้พูดกันว่าหมอไทยไหลไปต่างประเทศ แต่ตอนนี้ไหลจากภาคอุตสาหกรรมหนึ่งไปยังอีกภาคอุตสาหกรรมหนึ่ง จึงต้องช่วยกระตุ้นการสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศให้ได้ โดยเฉพาะการสร้างคน เพราะคนจะขับเคลื่อนประเทศไปให้ได้ "ผมมองว่าศักยภาพบุคคล ต้องเน้นเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีในทุกสาขา เพื่อสร้างศักยภาพให้แข่งขันให้ได้ และ เอฟทีเอ เป็นประตูหนึ่งที่ทำให้เราสร้างการแข่งขันได้"
โดย
boonprak
จันทร์ มิ.ย. 11, 2007 2:19 pm
0
0
มีตึกแถว 2 ชั้น ห้องหัวมุมติดถนนใหญ่ของซอย จะทำอะไรดี
จังหวัดสมุทรสาคร ใกล้หมู่บ้านฟ้าใส มีบ้านทาว์เฮาว์ 500 หลังคาเรือน แถบที่อยู่มีโรงงานเยอะ โดยที่ใกล้ก็เป็นโรงงานสุรากระทิงแดงครับ ชั้นสองด้านนอก ให้เช่าพื้นที่ ขี้นป้ายโครงเบาโฆษณาสินค้า จำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า มอเตอร์ไซด์ เพื่อเข้าหากลุ่มเป้าหมายผู้อยู่อาศัย พนักงานโรงงาน
โดย
boonprak
เสาร์ มิ.ย. 09, 2007 5:56 pm
0
0
กลุ่มธุรกิจประกันภัย
:bow: ขอบคุณพี่ชาติชาย ที่ช่วย update ข่าวคราวในอุตฯ ต่างๆ ครับ สะดวกผมเลย ไม่ต้องไปหาอ่านที่อื่นเสียเวลา
โดย
boonprak
เสาร์ มิ.ย. 09, 2007 5:51 pm
0
0
..สำหรับคนที่ไม่ได้เข้าร่วมงาน meeting เช่นเดียวกับผม
มาลงชื่อสนับสนุนครับ :D ไม่รู้ในงานมีใครถ่ายวีดีโอเก็บไว้หรือป่าว? ถ้าไม่มีจบกัน :cry:
โดย
boonprak
เสาร์ มิ.ย. 09, 2007 5:15 pm
0
0
3วันรวมกัน SET +40กว่าจุด
สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร :evil:
โดย
boonprak
จันทร์ มิ.ย. 04, 2007 10:28 pm
0
0
RPC ข่าว บวกหรือลบครับ
RPC นี่สำหรับท่านอื่นไม่ทราบน่ะครับ สำหรับผมแล้วถือว่าเป็นหุ้นบทเรียนตอนเริ่มลงทุนใหม่ๆ เพราะเห็นว่าเป็นหุ้นพลังงาน......"เอาละว่ะ denfensive stock...defensive stock" เลยได้เรื่อง cut loss ที่ประมาณ 50% เพราะสินค้าของบริษัท พิจารณาด้วยพลังทั้งห้าแล้ว ไม่ใช่เป็นเจ้าตลาด ต้องเดินตามเกมราคาของพี่ใหญ่ ซึ๋งได้รับใบสั่งจากเบื้องบนมา เลยเจ๊งเอา นี่ขนาด Jet นอกเมืองคนเติมน้ำมันกันตูม ยังเปิดตูด บ๊ายๆ เลย (แต่ก่อนปั๊มของ BP ก็อีกราย) ตลาดน้ำมันใสของไทยนี่ร้ายจริงๆ ส่วนตัวเลยมองว่า RPC ไม่ใช่อัศวินเจได ยกเว้นจะไปสวามิภักดิ์กับพลังด้านมือของท่านเคาท์ :D Let forces be with you!
โดย
boonprak
จันทร์ มิ.ย. 04, 2007 10:24 pm
0
0
อยากทราบเกี่ยวกับ Novotel Lotus
เก่งจริงๆ ครับ ไม่ทราบคุณ Boonprak หาได้ยังไงครับว่าชื่อบริษัทอะไร ขอความรู้ด้วยครับ เช่นสมมติผมไปที่ Sheraton กระบี่นี่ ผมจะรู้ได้ยังไงว่าบริษัทชื่ออะไรครับ เพราะเหมือนกรณีนี้ ตัวบริษัทคือ โลตัสทาวเวอร์..ไม่ใช่ Novotel Lotus :shock: Sheraton กระบี่ จดในนามของ บริษัท เอ็ม บี เค โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด ครับ ทะเบียนเลขที่ : 0105540022407 (เลขทะเบียนเดิมคือ 327/2540) ประเภท : บริษัทจำกัด วันที่จดทะเบียน : 04/03/2540 สถานะ : คงอยู่ 1 ชื่อบริษัท เอ็ม บี เค โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด 2 กรรมการบริษัทมี 6 คน ตามรายชื่อดังต่อไปนี้ 1. นาย สุเวทย์ ธีรวชิรกุล 2. นาย วิบูลย์ สิริตระกูล 3. นาย เขมภัทร นิสสัยสรการ 4. นาย พงษ์ศักดิ์ ศัพทเสน 5. นาย กมล รมเยศ 6. นาย เกษมสุข จงมั่นคง/ 3 กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้คือ กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและ ประทับตราสำคัญของบริษัท/ 4 ทุนจดทะเบียน 2,200,000,000.00 บาท 5 ที่ตั้ง 444 ชั้น 8 อาคาร เอ็มบี เค เซ็นเตอร์ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 6 เดิมชื่อ บริษัท นวอร จำกัด เปลี่ยนครั้งที่ 2 เป็น บริษัท เอ็ม บี เค ลีสซิ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2540 และครั้งสุดท้าย บริษัท เอ็ม บี เค โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2543/ 7 นิติบุคคลนี้ได้ส่งงบการเงินปี 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 8 วัตถุประสงค์ (55101) กิจการโรงแรม เปรียบเทียบงบดุล(โดยย่อ) จำนวนเงิน (บาท) ปีงบ 2548 ปีงบ 2547 ปีงบ 2546 สินทรัพย์ ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับสุทธิ 4,158,052 7,720,950 1,609,445 สินค้าคงเหลือ 17,748,750 19,608,625 19,955,520 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 177,341,299 86,192,441 281,318,083 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์(สุทธิ) 856,902,677 900,435,853 669,269,826 รวมสินทรัพย์ 1,647,923,101 1,002,638,659 950,912,700 หนี้สินและทุน รวมหนี้สินหมุนเวียน 655,382,846 63,113,988 26,774,831 รวมหนี้สิน 655,382,846 63,113,988 26,774,831 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 992,540,255 939,524,671 924,137,869 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 1,647,923,101 1,002,638,659 950,912,700 ทุนจดทะเบียน 1,000,000,000 1,000,000,000 1,000,000,000 ทุนชำระแล้ว 1,000,000,000 1,000,000,000 1,000,000,000 จำนวนหุ้น 0 0 100,000,000 เปรียบเทียบงบกำไรขาดทุน(โดยย่อ) จำนวนเงิน (บาท) ปีงบ 2548 ปีงบ 2547 ปีงบ 2546 รายได้หลัก 166,985,143 202,123,239 26,726,940 รวมรายได้ 173,014,360 242,025,810 36,186,053 ต้นทุนขาย 102,312,397 113,648,307 55,311,097 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 122,154,313 124,721,821 61,920,043 ดอกเบี้ยจ่าย 10,576,232 18,380,358 193,901 ภาษีเงินได้ 0 0 0 กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (62,028,582) (264,986,466) (81,238,988) กำไรต่อหุ้น (บาท) 0 0 (1) ขออภัยสองครั้งสำหรับคุณ Proxity ครับ หนึ่ง คือ ขออภัยที่ตอบช้า เพราะช่วงนี้ไปให้หมอฝังเข็มวันเว้นวัน กลับมาก็เปลี้ยแล้วครับ เข้ามาก็ดูแบบผ่านๆ สอง คือ ขออภัย ที่ใช้วิจารณญาณส่วนตัวไม่บอกวิธีค้นหาชื่อ ไม่ใช่อมภูมิ และไม่ใช่เก่งอะไรน่ะครับ แต่เนื่องจากวิธีหาของผมถึงแม้จะเป็นวิธีหญ้าปากคอก ก็อาจจะไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นได้ ถ้าผู้ใช้มีเจตนาอย่างอื่น ผมเลยไม่อยาก public announce ใน webboard นอกจากนี้ก็ไม่ใช่จุดประสงค์หลักของ webboard ที่จัดไว้เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการลงทุน ถ้าต้องการข้อมูลบริษัทอื่นๆ PM ถามเป็นตัวๆ ได้ครับ จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ หวังว่าคงเข้าใจ :oops:
โดย
boonprak
จันทร์ มิ.ย. 04, 2007 10:10 pm
0
0
อยากทราบเกี่ยวกับ Novotel Lotus
อ้างอิงข้อมูลจากกรมพัตนาธุรกิจการค้าครับ สนใจข้อมูลบริษัทจำกัด สมัครสมาชิกและตรวจดูข้อมูลเบื้องต้นได้ครับ :) http://www.dbd.go.th
โดย
boonprak
พุธ พ.ค. 30, 2007 6:10 pm
0
0
อยากทราบเกี่ยวกับ Novotel Lotus
เพื่อทราบคร๊าบ :) ทะเบียนเลขที่ : 0105531035500 (เลขทะเบียนเดิมคือ 3557/2531) ประเภท : บริษัทจำกัด วันที่จดทะเบียน : 17/05/2531 สถานะ : คงอยู่ 1 ชื่อบริษัท โลตัสทาวเวอร์ จำกัด 2 กรรมการบริษัทมี 3 คน ตามรายชื่อดังต่อไปนี้ 1. นาย รายินเดอร์ปาล ซิงห์ ทักราลบุตร 2. นาย นานัก ซิงห์ ทักราลบุตร 3. นาย นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล/ 3 กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้คือ นายรายินเดอร์ปาล ซิงห์ ทักราลบุตร นายนานัก ซิงห์ ทักราลบุตร และ นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล รวมเป็นสามคนลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของบริษัท ให้นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญ ของบริษัทในใบหุ้นของบริษัท ในกิจการดังต่อไปนี้ให้นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล ลงลายมือชื่อโดยไม่ต้อง ประทับตราสำคัญของบริษัท (1) การลงนามในคำขอ และเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือหน่วยงานใด ๆ ของรัฐเกี่ยวกับการ (ก) เปลี่ยนแปลงกรรมการ และกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันบริษัท (ข) รายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท และ (ค) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของบริษัท (2) การจดแจ้งรายการในสมุดทะเบียนของบริษัท รวมทั้งการโอนหุ้น และการจำนำหุ้น หรือการปลดจำนำ หุ้นใด ๆ ของบริษัท/ 4 ทุนจดทะเบียน 183,000,000.00 บาท 5 ที่ตั้ง 1 สุขุมวิท 33 (ซอยแดงอุดม) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 6 นิติบุคคลนี้ได้ส่งงบการเงินปี 2542 2543 2544 2545 7 วัตถุประสงค์ (55101) ธุรกิจโรงแรม
โดย
boonprak
พุธ พ.ค. 30, 2007 6:07 pm
0
0
ผมเป็นมือใหม่ แต่อยากลงทุน ต้องทำไงบ้างครับ แนะนำด้วย
สมัครไปงาน TVI Meeting อย่างด่วนเลยครับ ปล. คนแนะนำ อยากไปใจจะขาด แต่ไปไม่ได้ :cry: :cry: :cry:
โดย
boonprak
อังคาร พ.ค. 15, 2007 8:19 pm
0
0
ทำไมต้องมีงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ
[quote="Kao"][quote="boonprak"]สมมุติว่าผมทำงานเป็นพนักงานบริษัท มีเงินเดือน และนำเงินเดือนไปลงทุนในหุ้นบริษัท A, B, C, D สิ้นปีผมได้รับเงินเดือนพร้อมโบนัส แต่หุ้นบริษัทที่ผมลงทุนราคาตกลงจากราคาที่ผมซื้อไว้ ถามว่าผมมีฐานะดีขึ้นพอที่จะดึงดูด สาวๆ ให้มาสนใจหรือเปล่าครับ?
โดย
boonprak
ศุกร์ พ.ค. 11, 2007 10:22 pm
0
0
เงิน 300000 บาท Glow ,ppm,ntv,ccet,se-ed,scc,drt
สมมุติว่าเราใช้เงินแต่ละเดือน 10,000 บ. ปีนึงก็ 120,000 บ. หากว่าเงิน 120,000 บ. นี้เป็นผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นที่ 10% ก็ต้องมีเงินต้นที่ 1,200,000 บ. ดังนั้นเงินลงทุน 300,000 บ. คงยากที่จะตกงานต่อไปน่ะครับ (ยกเว้นว่าสามารถที่จะสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าที่สมมุติ) สำหรับหุ้นที่มีหากราคาขึ้นจากที่ซื้อมา ผมไม่มีความเห็น แล้วแต่จะพิจารณาทำกำไรอย่างไร (ขาย หรือถือรอรับปันผล) แต่สำหรับหุ้นที่ราคาตกจากที่ซื้อมา อยากถามว่าตอนซื้อทำไมถึงซื้อครับ? ตอนนี้ราคาตก มีอะไรผิดจากสมมุติฐานเมื่อครั้งที่ซื้อมาหรือเปล่า? ตัวคุณมีมาตราการอย่างไรในการ cut loss ครับ? (หุ้นบางตัว ถึงแม้พื้นฐานดี ผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง แต่ราคาสูงเกินไปแล้วน่ะครับ) พิจารณาและตัดสินใจครับ ในเวปมีบทความดีๆ จากพี่ๆ เพื่อนๆ ให้อ่านมากมาย ขอเป็นกำลังใจและเอาใจช่วยในการฝ่าฟันอุปสรรคครับ :D
โดย
boonprak
ศุกร์ พ.ค. 11, 2007 10:13 pm
0
0
ทำไมต้องมีงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ
สมมุติว่าผมทำงานเป็นพนักงานบริษัท มีเงินเดือน และนำเงินเดือนไปลงทุนในหุ้นบริษัท A, B, C, D สิ้นปีผมได้รับเงินเดือนพร้อมโบนัส แต่หุ้นบริษัทที่ผมลงทุนราคาตกลงจากราคาที่ผมซื้อไว้ ถามว่าผมมีฐานะดีขึ้นพอที่จะดึงดูด สาวๆ ให้มาสนใจหรือเปล่าครับ? :wink:
โดย
boonprak
ศุกร์ พ.ค. 11, 2007 9:56 pm
0
0
แอบเก็บ THL มา Xหุ้น Xบาท มีทองจริงไหมเนี่ย
เพิ่งมาจากฟื้นฟูกิจการ ผมจัดเกณฑ์เข้าข่ายหุ้น IPO เลยน่ะครับ รอ 3 ปีให้หลังค่อยมาว่ากัน ลองฟังคุณสุนันท์ ศรีจันทรา (ผู้เขียน "ร้อยเล่ห์กลโกง เจ้ามือหุ้น ") วิจารณ์หุ้น THL ในวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมาดูครับ http://radio.mcot.net/playclip/playProgramClip.php?id=26100
โดย
boonprak
ศุกร์ พ.ค. 11, 2007 2:58 pm
0
0
ให้ยืมหุ้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไรครับ
ผู้บริหารให้โบรกยืมหุ้นไปปั่น...มันไปเลย :twisted:
โดย
boonprak
เสาร์ พ.ค. 05, 2007 10:52 pm
0
0
ขอความเห็นเรื่องการขายหุ้นบางส่วนเพื่อถอนส่วนที่เป็นทุนออกมา
แล้วแต่สไตล์การลงทุนของแต่ละท่านครับ ประเด็นก็คือ อย่าทำลูกไก่ในกำมือ กลายเป็นอึในกำมือแล้วกันครับ :D ของผมไม่ได้เดือดร้อน ไม่ได้ตื่นเต้นและรีบเร่งจะถอนเงิน กว่าจะเลือกตัวได้ก็ทำการบ้านมาพอสมควร เลยเฉยๆ Let the profit run ครับ
โดย
boonprak
เสาร์ พ.ค. 05, 2007 10:45 pm
0
0
ระหว่าง HEMRAJ กับ ROJANA
ถ้าพิจารณาเฉพาะสองตัวนี้ ชอบ HEMRAJ มากกว่าครับ เพราะว่าในมูลค่า Fixed Assets เท่ากัน HEMRAJ บริหารใช้งานสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า
โดย
boonprak
เสาร์ พ.ค. 05, 2007 10:21 pm
0
0
เซ็นไปแล้ว! เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น JTEPA มีข้อเสีย....
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3893 (3093) JTEPAให้คุณโรงงานไก่ไทย ญี่ปุ่นเปิดเสรีตรวจรง.ไม่อั้น โรงงานแปรรูปไก่ปรุงสุกได้อานิสงส์ JTEPA ญี่ปุ่นยอมเปิดเสรีตรวจโรงงานไก่ไม่จำกัดจำนวน เริ่ม มิ.ย.นี้ จากเดิมจำกัดแค่ 54 โรง เผยโรงงานใหม่ซันแวลเล่ย์-จีเอฟพีที-อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกร โฟรเซ่นฟู้ดส์-ซันฟู้ดอินเตอร์เนชั่นแนลได้ประโยชน์ คาดส่งออกไก่ปรุงสุกไปตลาดหลักญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 5 นับตั้งแต่กลางปี 2549 ทางรัฐบาลญี่ปุ่นใช้นโยบายจำกัดการรับรองโรงงานไก่แปรรูปของไทยไว้ที่ 54 โรงงาน ทั้งๆ ที่ฝ่ายไทยมีการเปิดโรงงานไก่แปรรูปเพิ่มขึ้นอีกหลายโรงงาน โดยญี่ปุ่นอ้างว่า หากเพิ่มการรับรองโรงงานแปรรูปไก่ให้ไทยก็ต้องเพิ่มสิทธิรับรองให้แก่โรงงานแปรรูปไก่ของประเทศจีน หากฝ่ายไทยต้องการให้ญี่ปุ่นรับรองโรงงานต้อง "ตัดสิทธิ" การรับรองโรงงานเก่าออกไปก่อนเพื่อไม่ให้เกิน 54 โรงงาน แต่หลังจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 ท่าทีของญี่ปุ่นเปลี่ยนไป โดยทางสำนักงานที่ปรึกษาทางเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว ได้แจ้งมาทางกรมปศุสัตว์ว่า กระทรวงเกษตรฯญี่ปุ่นตกลงจะตรวจรับรองโรงงานผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ใหม่ของไทยเพิ่มเติม นายแพทย์อนันต์ ศิริมงคลเกษม นายกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม หรือต้นเดือนมิถุนายน 2550 ทางญี่ปุ่นจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบรับรองโรงงานแปรรูปไก่เพิ่มขึ้นโดยไม่จำกัดจำนวนเหมือนช่วงที่ผ่านมา โดยการเข้ามาตรวจรับรองโรงงานของญี่ปุ่นครั้งนี้จะแบ่งการตรวจเป็น 3 เงื่อนไข ได้แก่ 1) โรงงานแปรรูปไก่เพื่อการส่งออกจำนวน 28 โรงงาน ที่ได้สิทธิส่งออก 2 ปี ขณะนี้สิทธิกำลังหมดอายุ 2) โรงงานที่ต่อเติมอาคารและเครื่องจักรใหม่เพิ่มเติม ตัวเลขยังไม่ชัดเจนว่าจะมีกี่แห่ง 3) โรงงานใหม่ของ บริษัท ซันแวลเล่ย์ (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน), บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกร โฟรเซ่นฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ซันฟู้ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ทั้งนี้การที่จำนวนโรงงานเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ไทยสามารถส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกไปยังญี่ปุ่นได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อข้อตกลงอัตราภาษีการส่งออกไก่สุกลดลงจากร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 3 ภายใน 5 ปี ประกอบกับมีแนวโน้มผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปของญี่ปุ่นอยากย้ายฐานการผลิตมาร่วมทุนกับผู้ส่งออกไก่ของไทย คาดว่าการส่งออกไก่ปรุงสุกไปตลาดญี่ปุ่นจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 5 ต่อปี จากยอดตัวเลขการส่งออกเนื้อไก่แปรรูปปี 2549 พบว่าญี่ปุ่นเป็นตลาดหลักในการส่งออกของไทยด้วยปริมาณ 160,000 ตัน ขณะที่ตลาดสหภาพยุโรปได้กลายเป็นตลาดรองลงมาด้วยปริมาณ 120,000 ตัน ในอีก 2 ปี การส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกของไทยในหลายตลาดจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกน่าจะประสบปัญหาทั่วโลก ขณะที่ไทยมีการทำระบบคอมพาร์ตเมนต์ และกำลังเสนอให้องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) พิจารณาในเร็วๆ นี้ จะทำให้ต่างประเทศเชื่อมั่นเนื้อไก่ปรุงสุกที่ส่งออกจากประเทศไทย สำหรับประมาณการตัวเลขการส่งออกไก่ปรุงสุกในปี 2550 ของประเทศไทยจนถึงขณะนี้ผ่านไปไตรมาสแรกของปี 2550 มียอดการส่งออกรวมทุกตลาดประมาณ 74,876 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 8,305 ล้านบาท ขยายตัวเพียงร้อยละ 1 เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการจัดสรรโควตาในสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ตามทางสมาคมยังคาดว่าจะสามารถส่งออกได้ไม่ต่ำกว่าประมาณ 350,000 ตัน ไก่สุกไก่ดิบ ตอนแรกผมก็คิดหยาบๆ มั่วๆ นิครับ :D อย่างไรก็ตามถึงไม่มีภาษีแล้ว ประเทศคู่ตกลงก็ยังมีลีลาอย่างอื่นที่เป็น Non-tariff barier อ้างโน้นอ้างนีก่อนนำเข้า อ้างคุณภาพต้องตรวจ (ใครตรวจ? ต้องจ้างทีมจากคู่ค้ามาตรวจ? เสียตังค์ให้เขาอีก :oops: ) อ้างมาตรฐาน...... บ้านเราน่าจะทันเขาบ้าง มีบ้างกฏเกณฑ์พวกนี้บ้าง เห็นเอาเข้าง่ายจังเลย กับจีนก็กระเทียม เล่นซ่ะชาวไร่เลิกปลูก กับออสเตรเลียก็นม เล่นซ่ะสหกรณ์ฯ เจ๊ง เฮ้อ...กุ้ม
โดย
boonprak
พฤหัสฯ. พ.ค. 03, 2007 3:45 pm
0
0
+จะโพสรูปต้องทำอย่างไรครับ+
:bow: ขอบคุณ พี่พอใจ ครับ วิธีการชัดเจน ทำเป็นแล้วครับ :D
โดย
boonprak
จันทร์ เม.ย. 30, 2007 6:34 pm
0
0
Proactive ในการแก้ปัญหาการเกษตร
จะให้ปลาเขา หรือจะสอนเขาจับปลา? ผมมองปัญหาในปัจจุบัน มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ผ่านมาดูเหมือนเราจะให้ปลาเขาโดยตลอด ไม่ต้องคิดอะไรมาก ปลูกๆ กันไป เป็นหนึ่เป็นสิน เดี่ยวรัฐก็มาช่วย เดี่ยวรัฐก็แทรกแซง หรือไม่ก็โดนประท้วงจนต้องเข้าไปดูแล (เพราะเป็นส่วนที่ให้คะแนนเสียง ใครให้ปลาเขา ใครให้เขาสบาย ครั้งหน้าได้รับเลือก) ขออภัยน่ะครับ ผมเลยมองว่า ทำให้บางส่วนเสียนิสัย หันกลับมามองว่า ถ้าสามารถช่วยให้เกษตรกรมีศักยภาพในการปรับตัวกับตลาด อยู่ได้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง มีความเข้มแข็ง รู้จักการบริโภคใช้จ่ายที่เหมาะสม ถือเป็นการสร้างดีมานด์ภายในระยะยาวให้กับประเทศ สอนเขาจับปลา น่าจะดีกว่า รัฐเองควรเป็นหัวหอกนำด้านนี้อย่างเป็นจริงเป็นจังซักที
โดย
boonprak
พฤหัสฯ. เม.ย. 12, 2007 12:13 pm
0
0
เซ็นไปแล้ว! เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น JTEPA มีข้อเสีย....
ใช่ครับ ท่านแม่ทัพ ทำให้มองเห็นภาวะของโลกาภิวัฒน์จริงๆ (ใครไม่เก่งก็ถอยไป :D ) ส่วนที่ผมเพ่งเล็ง ก็คือ อุตฯ เหล็กบ้านเรา ที่ด้านต้นน้ำยังไม่มี ต้นทุนสู้เขาไม่ค่อยได้ แล้วยังมีเรื่องด้อยการอนุรักษ์พลังงาน (ที่เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุน) อีก เลยไม่รู้ว่าเขา (ภาครัฐและเอกชน) จะเอายังไงกัน เพราะส่วนหนึ่งอุตฯ เหล็กก็เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศด้วย
โดย
boonprak
พฤหัสฯ. เม.ย. 12, 2007 11:56 am
0
0
เซ็นไปแล้ว! เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น JTEPA มีข้อเสีย....
คิดมั่วๆ....ราคาไก่สดบ้านเราตอนนี้ ขายส่งก่อนเชือด (กทม.) ประมาณ 32 บ./kg ให้ 35 เลยเอา จะได้คิดง่ายๆ ว่าประมาณ 1 USD/kg หรือ 1000 USD/MT ราคาเหล็กแผ่น FOB จากญี่ปุ่นเฉลี่ยปีที่แล้ว 627 USD/MT...... :roll: what will be, will be อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิดครับ พี่น้อง
โดย
boonprak
พฤหัสฯ. เม.ย. 12, 2007 11:00 am
0
0
เซ็นไปแล้ว! เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น JTEPA มีข้อเสีย....
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2208 12 เม.ย. - 14 เม.ย. 2550 ค่ายยักษ์ใหญ่ตีปีกใช้สิทธิ JTEPA +โตโยต้า-ไทยการ์เม้นต์ฯ-เบทาโกรเตรียมลุยขณะรายย่อยหงอย "โตโยต้าเตรียมใช้สิทธิประโยชน์สองด้านจากJTEPA" ค่ายยักษ์ใหญ่เตรียมใช้ประโยชน์ JTEPA กันคึกคัก โตโยต้า เตรียมนำเข้าชิ้นส่วน-รถยนต์ขนาดเกิน 3,000 ซีซีขยายตลาดเพิ่ม ไทยการ์เม้นต์ฯ เผยลูกค้าเตรียมย้ายฐานซื้อเสื้อผ้าจากเวียดนามหันนำเข้าจากไทย ค่ายเบทาโกรร่วมทุนค่ายญี่ปุ่นขยายกำลังการผลิตแปรรูปรองรับ ด้านส่งออกทูน่ารายย่อยได้แต่มองตาปริบๆ ชี้แทรกตลาดยาก เหตุยักษ์ใหญ่ครองตลาดอยู่แล้ว จากการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา จากนี้อีกประมารณ 3-6 เดือน ทั้งสองฝ่ายจะได้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนภายในของแต่ละประเทศให้แล้วเสร็จ เพื่อนำไปสู่การลงสัตยาบรรณ คาดความตกลงจะมีผลบังคับใช้ราวเดือนตุลาคมศกนี้ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า บริษัทได้เตรียมใช้สิทธิประโยชน์จาก JTEPA สองด้านคือ หนึ่ง จากข้อตกลงที่ไทยจะลดภาษีนำเข้ายานยนต์ขนาดเกิน 3,000 ซีซีขึ้นไปลงปีละ 5% จากอัตราปัจจุบัน 80% เป็น 75% ในปีแรก และทยอยลดจนเป็น 60% ในปีที่ 4 แล้วคงอัตราภาษีไว้ที่ 60% จนกว่าจะมีการเจรจากันใหม่ บริษัทมีแผนจะนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป(ซีบียู)ขนาดเกิน 3,000 ซีซีจากญี่ปุ่นเข้ามาทำตลาดในไทยเพิ่มเติม เนื่องจากอัตราภาษีที่ลดลงทำให้รถมีราคาถูกลง ส่งผลถึงความสามารถในการแข่งขันกับรถนำเข้าจากค่ายยุโรปมีเพิ่มขึ้น ด้านที่สอง จากภาษีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์รายการที่มีอัตราภาษีเกิน 20% ต้องลดลงเหลือ 20% ทันที แล้วคงไว้ 5 ปี และยกเลิกในปีที่ 6 รวมถึงภาษีเหล็กเพื่อผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่ไทยให้โควตาปลอดภาษีนำเข้าจากญี่ปุ่นในแต่ละปี และจะยกเลิกโควตาในปีที่ 11 จากข้อตกลงดังกล่าวบริษัทจะใช้ประโยชน์ในการนำเข้าชิ้นส่วน และเหล็กผลิตยานยนต์นำเข้าจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น นายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัทไทยการ์เม้นต์เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่ กล่าวว่า จากข้อตกลงของ JTEPA ที่ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มลงทันทีหลังความตกลงมีผลบังคับใช้(ปัจจุบันภาษีนำเข้าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.7-13.4%) ส่งผลให้เวลานี้ลูกค้าของบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นที่ได้ย้ายฐานการสั่งซื้อไปประเทศอื่นได้เริ่มเข้ามาเจรจาเพื่อเตรียมย้ายฐานมายังประเทศไทย ซึ่งลูกค้าพร้อมที่จะนำเข้าทันทีเมื่อภาษีลดลงเป็นศูนย์ จากแนวโน้มดังกล่าวทำให้บริษัทมั่นใจว่าการส่งออกของบริษัทไปยังญี่ปุ่นจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในปีแรกหลังความตกลงมีผลบังคับใช้ไม่ต่ำกว่า 20% ด้านสินค้าไก่ ซึ่งเป็นอีกกลุ่มสินค้าหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จาก JTEPA ได้มีความเคลื่อนไหว โดยแหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)เปิดเผยว่า ล่าสุดบีโอไอได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการขยายกิจการผลิตเนื้อไก่ปรุงสุกแช่แข็งของบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกร โฟรเซ่นฟูดส์(ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเครือเบทาโกรกับบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะพันธมิตรทางธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่นสัดส่วน 67:33 เงินลงทุน 1,228 ล้านบาท ทั้งนี้นายนพพร วายุโชติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการพัฒนาธุรกิจ เครือเบทาโกร เปิดเผยว่าการลงทุนไม่ได้คาดหวังผลจากการลงนาม JTEPA แต่เมื่อมีความตกลงเกิดขึ้นก็เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทที่จะสามารถส่งออกไก่ปรุงสุกไปยังประเทศญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นจากภาษีที่ลดลง(ปัจจุบันญี่ปุ่นเก็บนำเข้าไก่ปรุงสุก 6% ตามข้อตกลงจะลดลงเหลือ 3% ใน 5 ปี) ด้านนางชมพรรณ สุวรรณกาญจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.บี.ฟิชเชอรี่ โปรดักส์ จำกัด ผู้ส่งออกทูน่ารายย่อย กล่าวว่า บริษัทได้รับประโยชน์น้อยจาก JTEPA เพราะเวลานี้ตลาดทูน่าในญี่ปุ่นมีรายใหญ่เป็นผู้ครอบครอง การจะเข้าไปแทรกไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นจึงมองว่าความตกลงนี้ในกลุ่มสินค้าทูน่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับรายใหญ่มากกว่า อนึ่ง เมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมานายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) และได้มอบหมาย กกร.ไปหารือกับสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น(เคดันเรน)ในการจัดประชุมภาคเอกชนของทั้งฝ่ายเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อตกลง JTEPA ภายใน 30 วันนับจากวันลงนาม
โดย
boonprak
พฤหัสฯ. เม.ย. 12, 2007 10:23 am
0
0
เซ็นไปแล้ว! เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น JTEPA มีข้อเสีย....
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2208 12 เม.ย. - 14 เม.ย. 2550 โรงเหล็กโวยข้อตกลง'JTEPA' ไทยได้ค่าแค่กระดาษห่อทอฟฟี่ กลุ่มผู้ผลิตเหล็กหวั่น JTEPAไทย-ญี่ปุ่น ทำไทยจ่อขาดดุลจากการนำเข้าเหล็กเพิ่ม ชี้บีบผู้ประกอบการไทยปิดตัว หากผู้ใช้หลัก จากกลุ่มยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ญี่ปุ่นแห่นำเข้าเหล็กจากสัญชาติเดียวกัน ด้านสถาบันเหล็กฯ เชื่อผลกระทบมีแต่ไม่มาก "ฮิตาชิ"ยาหอมใช้เหล็กแผ่นจากผู้ผลิตในประเทศเป็นหลัก สืบเนื่องจากนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น กับนายอาคิระ อามาริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม(METI)เมื่อวันที่ 3 เมษายน2550ที่ผ่านมา โดยข้อตกลงความร่วมมือนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นหรือJTEPA(ชื่อเดิมเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น) ล่าสุดนายพิบูลศักดิ์ อรรถบวรพิศาล อดีตประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)และผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปบริษัท ไทยไวร์โพรดัคท์ จำกัด (มหาชน)ผู้ผลิตลวดเหล็ก เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ข้อตกลงดังกล่าวได้สร้างความกังวลใจให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็กที่มีไทยถือหุ้นใหญ่ว่า จะเผชิญกับการเสียเปรียบอย่างแน่นอน เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็กจากญี่ปุ่นมีความก้าวล้ำนำหน้าไทย มีความพร้อมกว่าในอุตสาหกรรมเหล็กทั้งระบบ ไล่ตั้งแต่สินแร่เหล็ก(เหล็กต้นน้ำ) ,เหล็กกึ่งสำเร็จรูปประกอบด้วย บิลเล็ต (วัตถุดิบในการผลิตเหล็กทรงยาว) , สแลป (วัตถุดิบในการผลิตเหล็กทรงแบน ) นอกจากนี้ลูกค้าในประเทศที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มทุนข้ามชาติสัญชาติญี่ปุ่น ที่เข้ามาลงทุนอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีบริษัทแม่จากญี่ปุ่นควบคุมนโยบายหลักอยู่แล้ว ทำให้กลุ่มทุนเหล่านี้มีช่องทางในการนำเข้าจากทุนสัญชาติเดียวกันมากขึ้น ในที่สุดก็จะเป็นการบังคับให้ผู้ประกอบการผลิตเหล็กของไทยต้องขายกิจการทิ้ง นายพิบูลศักดิ์ กล่าวย้ำว่า แค่นี้ยังไม่พอ จะทำให้ประเทศไทยขาดดุลจากการนำเข้าเหล็กชนิดต่าง ๆ มาจากญี่ปุ่นมากขึ้นด้วย เมื่ออัตราภาษีเป็น 0% ในอนาคต จากปี 2549 ที่ผ่านมา มียอดการนำเข้าเหล็กชนิดต่าง ๆ จากญี่ปุ่นตามพิกัด 72 และพิกัด 73 คิดเป็นมูลค่าเงิน 156,133.13 ล้านบาท เป็นสัดส่วนสูงถึง 30% เมื่อเทียบกับที่ประเทศไทยมีการนำเข้าเหล็กทุกชนิดจากทั่วโลกมูลค่ารวมทั้งสิ้น 400,000 ล้านบาท เป็นการนำเข้าเหล็กหลายร้อยรายการโดยเฉพาะบิลเล็ตและสแลป ที่ไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าทั้งหมด อย่างไรก็ตามเมื่อปีที่แล้วสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นทุกรายการรวมเป็นมูลค่าเงินทั้งสิ้น 978,701 ล้านบาท ขณะที่ไทยส่งออกสินค้าต่างๆ ไปยังประเทศญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่ารวมเพียง 625,314 ล้านบาท เท่ากับไทยขาดดุลทางการค้ากับญี่ปุ่นอยู่แล้วในขณะนี้ประมาณ 353,000 ล้านบาท นายพิบูลศักดิ์ กล่าวอีกว่า ภายหลังจากที่ไทยเปิดJTEPAแล้ว ประเทศไทยจะขาดดุลมากขึ้น เพราะสินค้าเกษตรจากไทยจะไม่ได้ขายไปยังญี่ปุ่นมากขึ้น ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมจากญี่ปุ่นจะเข้ามาขายในประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเหล็ก ทั้งที่เป็นรายการที่ได้รับการยกเว้นภาษีและไม่ได้รับการยกเว้นภาษีจากข้อตกลงดังกล่าว "เพียงแค่ไทยไม่เปิดโรงถลุงเหล็กเพิ่มขึ้นในประเทศ ก็ตอกย้ำชัดแล้วว่าจะขาดดุลจากการนำเข้าเหล็กทั้งระบบมูลค่ามหาศาลในอนาคตนี้ เพราะการนำเข้าเหล็กกึ่งสำร็จรูป(บิลเล็ต,สแลป)จะมีข้อจำกัดมากขึ้น เมื่อผู้ผลิตเหล็กต้นน้ำหันไปผลิตเหล็กสำเร็จรูปเอง เพื่อเพิ่มมูลค่าขายโดยเฉพาะจีน รวมถึงทิศทางของราคาเหล็กทั้งระบบจะขยับตัวสูงขึ้นจาก 500 ดอลลาร์สหรัฐ/ตันเป็น 700 ดอลลาร์สหรัฐ/ตันหรือสูงกว่านี้" อดีตประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กยังกล่าวว่า ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ประโยชน์จากการลดภาษีจากสินค้าหลักๆ แต่ไทยโอกาสเลือกขายสินค้าอุตสาหกรรมไปญี่ปุ่นกลับไม่มี เพราะว่าอุตสาหกรรมที่มีอยู่ เป็นของญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว การค้าขายจะต้องควบคุมโดยบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ แต่สิ่งที่ประเทศไทยจะรับคือขยะที่เข้ามา เพราะสินค้าบางอย่างส่งจากญี่ปุ่นมาประกอบในประเทศไทย และส่งไปขายยังประเทศที่ 3 การนำวัตถุดิบมาผลิต 100 ส่วนก็จะมีของเสียออกมา 10 ส่วน อย่าลืมว่าไทยไม่ได้ส่งออกขยะออกไปขาย อย่างไรก็ตามโอกาสที่ไทยจะเป็นผู้ส่งออกเหล็กไปยังญี่ปุ่นมากขึ้นจึงไม่น่าจะเป็นไปได้ ขณะที่สินค้าเกษตรก็ยังมีเรื่องโควต้าเกี่ยวข้องอยู่ เช่น กรณีที่ไทยได้โควตากล้วยหอม 4,000 ตัน(ราคาตันละประมาณ 50,000 บาท) คิดเป็นมูลค่าขายเพียง 200 ล้านบาท และการที่ญี่ปุ่นมีการกำหนดโควตาอยู่เท่ากับว่าขายได้เท่าเดิมเมื่อเทียบกับสมัยที่ยังไม่ได้เปิดเอฟทีเอ เท่ากับว่าขายกล้วยหอมหมดได้ในปริมาณเท่าเดิม ฉะนั้นมูลค่าที่ขายกล้วยหอมไปญี่ปุ่น 200 ล้านบาทแลกกับโควต้าเหล็กที่เปิดให้ญี่ปุ่นขนาด 950,000 ตัน เฉลี่ยราคาตันละ 30,000 บาท เป็นมูลค่าเงิน 25,000-30,000 ล้านบาท ที่ไทยเปิดให้ญี่ปุ่นเข้ามาขายได้ "การเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นที่รัฐบาลบอกว่าไทยได้ประโยชน์จากความร่วมมือนี้ ความจริงแล้วมันได้ประโยชน์เพียงแค่กระดาษห่อท๊อฟฟี่ บอกว่าคนไทยได้ประโยชน์จากตรงนี้โดยไม่ยอมพูดว่าโครงการนี้ให้ความช่วยเหลือเฉพาะบริษัทร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่นเท่านั้น ตรงนี้ต้องยอมรับว่าญี่ปุ่นเรียนรู้วิธีกดปุ่มสตาร์ และกดปุ่มสต็อปมาอย่างดี!" ด้านนายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงผลของการลงนามJTEPAต่ออุตสาหกรรมเหล็กไทย ว่า การดำเนินการดังกล่าวจะสร้างแรงจูงใจให้มีการนำเข้าเหล็กจากญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น มอง อีกแง่ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และเชื่อว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นคงมีไม่นากนัก เนื่องจากสินค้าที่มีการลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 0% ส่วนใหญ่ยังคงเป็นสินค้าที่ไทยยังไม่สามารถผลิตเองได้ ขณะเดียวกันเชื่อว่าผู้ประกอบการไทยเองได้เตรียมปรับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้อยู่แล้ว ด้านนายกฤษฎา โฆษิตณวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ฮิตาชิคอนซูมเมอร์โพรดักส์(ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ"ฮิตาชิ"เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทใช้เหล็กแผ่นรีดเย็นเป็นวัตถุดิบในการผลิตตู้เย็น ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า โดยซื้อจากโรงงานผลิตเหล็กในประเทศ "ฮิตาชิยืนยันว่าจะยังใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก ซึ่งตามปกติจะใช้เหล็กแผ่นต่อเดือนประมาณ 1,000 ตัน ถ้าซื้อเหล็กในประเทศจะสะดวกซื้อในออเดอร์ระยะสั้น ไม่ต้องแบกต้นทุนมาก แต่ถ้านำเข้ามาต้องสั่งเป็นออเดอร์ระยะยาวทำให้บริษัทมีภาระต้นทุนมากกว่า ซึ่งคิดว่าอีกหลายบริษัทที่เป็นทุนสัญชาติญี่ปุ่นมีแนวคิดแบบเดียวกัน ฉนั้นการที่มี JTEPAก็ไม่น่าจะไปเอื้อกันเองระหว่างกลุ่มทุนสัญชาติญี่ปุ่นด้วยกัน และน่าจะทำให้สินค้าที่นำเข้ามาถูกลง ทำให้อุตสาหกรรมทั้งระบบเกิดความสมดุลมากกว่า" อนึ่งขั้นตอนหลังการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ในส่วนของประเทศไทยต้องมาเตรียมความพร้อมในเรื่องการออกระเบียบหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า(กรมการค้าต่างประเทศ) การออกประกาศเพื่อลดภาษีสินค้าภายใต้ข้อตกลง(กระทรวงการคลัง) การออกระเบียบเกี่ยวกับองค์ประกอบการพิจารณาออกสิทธิบัตรจุลชีพ(กรมทรัพย์สินทางปัญญา) การออกมาตรการรองรับผลกระทบต่อเกษตรกร(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ส่วนญี่ปุ่นต้องขออนุมัติจากรัฐสภา เมื่อขั้นตอนภายในของทั้งสองฝ่ายเสร็จเรียบร้อยจะมีการลงสัตยาบรรณ เพื่อให้ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ราวเดือนตุลาคม 2550
โดย
boonprak
พฤหัสฯ. เม.ย. 12, 2007 10:22 am
0
0
VI กับ หุ้น IPO
ขอบคุณ พี่ๆ เพื่อนๆ ให้ comment หุ้น IPO ครับ :D หุ้น IPO ที่ดีก็น่าจะมีครับ ตามที่คุณ Ryuga บอกครับ แต่...หากตั้งสมมุติฐานว่าหุ้นที่ออก IPO สามปีที่แล้ว คือ หุ้นที่มีข้อมูลการเงินสามปีย้อนหลัง ผมนับดูประมาณ 60 ตัว เหลือตัวที่มี ROS แนวโน้มเป็นบวกแค่เพียง 13 ตัวเอง (เฉพาะแนวโน้มของ ROS น่ะครับ ยังไม่ดูตัวอื่น ไม่ได้บอกว่าหุ้นเหล่านี้ดีหรือไม่ดี) คือ KSL, BLS, ML, YNP, NNCL, BKKCP, STRD, KH, MCOT, AOT, SPPT, FOCUS, PPM หรือคิดเป็นเพียงประมาณ 1 ใน 5 เอง สรุปว่าผมก็ยัง กั๊ว กัว หุ้น IPO อยู่ดี :D ไม่เอาๆ ไปดูอย่างอื่นดีกว่า :D
โดย
boonprak
พุธ เม.ย. 11, 2007 10:02 pm
0
0
ปู่ Buffets take over บริษัท การรถไฟ
เมื่อรู้ข้อเท็จจริงว่า รถไฟไทย "กำเนิด" พร้อมรถไฟญี่ปุ่น ก็ไม่รู้จะหัวเราะ หรือร้องไห้ดี รายได้ของรถไฟไทยไม่รู้ว่ามาจากการให้บริการในธุรกิจหลัก หรือค่าเช่าพื้นที่ ที่ดิน กันแน่ อยากให้ระบบขนส่งลอจิสติกส์บ้านเราพัฒนาดีๆ ต้นทุนส่วนนี้บ้านเราสูงมาก (ผู้มีอำนาจอย่ามัวแต่ทะเลาะกันเองเลย หันหน้ามาพัฒนาบ้าน ให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ดีกว่า ดัชนีความสุขของประชาชนจะได้สูงๆ)
โดย
boonprak
อังคาร เม.ย. 10, 2007 1:26 pm
0
0
คำสารภาพ
นับถือครับ :bow: คุณนริศ ลูกผู้ชายกล้าเปิดอกพูด ขอให้กำลังใจครับ การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้นครับ อะไรๆ ก็มีพลาดกันได้ ผู้ประสบความสำเร็จผมว่าน้อยคนไม่เคยพบอุปสรรคครับ :D
โดย
boonprak
จันทร์ เม.ย. 09, 2007 11:04 pm
0
0
ถึงคุณ value_invester_man
ช่วงเริ่มต้นน่ะครับ ขอเป็นกำลังใจให้ทีมงาน ดีที่มีรายเดียวและอยู่ในห้องใหญ่ที่มีพี่ๆ เพื่อนๆ ดูแลมาก ต่อไปถ้ามาเป็นกลุ่ม แย่หน่อยไปอยู่ในห้องมือใหม่ฯ ด้วย โยนลูกกันไปมา...ดึงดูด ควรมีมาตรการ norm ปฏิบัติอย่างไรบ้างครับ?
โดย
boonprak
จันทร์ เม.ย. 09, 2007 7:01 pm
0
0
ทีม Moderator ชุดใหม่ครับ
คณะผู้ทำงาน เหมือนผู้ปิดทองหลังพระ ขอขอบคุณ :bow: และเป็นกำลังใจให้ครับ :cheers:
โดย
boonprak
เสาร์ เม.ย. 07, 2007 1:13 pm
0
0
UNIQ ถือลงทุนได้ไหมครับ
8)
โดย
boonprak
ศุกร์ เม.ย. 06, 2007 6:07 pm
0
0
EGCOMP สุดยอดจริงๆ
ตอนนี้รอซื้อ PTT อยู่ครับ 198 บาท ราคาเหมาะสม ทำไมต้องเหมาะสมราคานี้ละครับ????
โดย
boonprak
ศุกร์ เม.ย. 06, 2007 6:03 pm
0
0
เหล็กคาร์บอน คิดว่าโตได้ไหมในเมืองไทย
ไม่รู้ว่าเอามะพร้าวมาขายหรือเปล่า :D พี่ๆ เพื่อนๆ ในเวปนี้เป็นเจ้าของสวนกันทั้งนั้น :D ผมมองในมุมมองง่ายๆ ของผมน่ะครับ คือ สินแร่เหล็ก ใช้ coke ถลุงออกมา ยังไงก็เป็นเหล็กคาร์บอน จากนั้นจะมาปรับปรุงคุณภาพ คาร์บอนมาก คาร์บอนน้อย ใส่แร่ธาตุอื่นๆ เข้าไป ก็แล้วแต่ลักษณะการใช้งาน บ้านเรา ผมเลยมองออกเป็น 3 ตลาด ตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้ 1) เหล็กทรงยาว: เหล็กเส้นกลม, ข้ออ้อย, รางน้ำ, ฉาก,... ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสากรรมก่อสร้าง เหล็กในกลุ่มนี้ใช้เตาหลอมไฟฟ้า ข้างล่าง(ต้นทุนวัตถุดิบผันแปร, ค่าไฟฟ้าก็ขึ้นตาม Ft) ข้างบน(ราคาก็ถูกรัฐควบคุม) เหลือตรงกลางนิดๆ เลยทำให้เป็นสินค้าที่มี margin น้อย ถ้าจะเอากำไรมาก ก็ต้องขายมาก ถามว่ามีตลาดอสังหาฯ มารองรับไหมเออ??? 2) เหล็กทรงแบน เหล็กแผ่น ใช้ในอุตสารกรรมประกอบรถยนต์, เฟอร์นิเจอร์, ถัง, ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรอื่นๆ ตลาดน่าจะดีกว่ากลุ่มแรก แต่ไม่รู้ว่าเจรจากับญี่ปุ่นล่าสุด JTEPA จะมี item นี้เข้าไปด้วยหรือเปล่า ถ้าเปิดตลาดให้เขาเอาเข้ามาเสรี ของทำในบ้านเราจะสู้ได้หรือ??? 3) เหล็กเกรดพิเศษอื่นๆ ใช้ทำเครื่องมือ แม่พิมพ์ ชิ้นส่วนฯ ตลาดนี้เมื่อเทียบกับสองกลุ่มข้างบน ปริมาณน่าจะน้อยกว่า แต่มูลค่าเท่าไรเอ๋ย???
โดย
boonprak
พฤหัสฯ. เม.ย. 05, 2007 7:05 pm
0
0
อีก 8 วัน กนง. จะให้อะไรเป็นของขวัญวันสงกรานต์หนอ?
ออกมา Neutralize สิ่งที่ตัวเองทำไว้ แล้วที่นี่จะสนับสนุนให้ Real Sector ทำงานได้ด้วยตัวเองยังไง ขอดูๆ :x ถ้าดอลล่าห์อ่อนตัวด้วยธรรมชาติสถานการณ์ของมันเอง จะมีมาตรการทำไงต่อ 1,2,3,4,5,... ขอดูๆ :x
โดย
boonprak
พุธ เม.ย. 04, 2007 7:01 pm
0
0
เหล็กคาร์บอน คิดว่าโตได้ไหมในเมืองไทย
Low Carbon, Medium Carbon, หรือ High Carbon ครับ? ถ้าเป็น Low Carbon: ไม่โต แต่ก็ไม่ตายครับ ดูดตังค์ลงทุนไปเรื่อยๆ หยึย
โดย
boonprak
อังคาร เม.ย. 03, 2007 5:21 pm
0
0
Re: ขอด้วยครับ
จริงๆคิดว่าคุณ teetotal ส่งให้ผมไปนานแล้ว แต่คงมี accident นิดหน่อย ผมจึงยังไม่ได้รับ รบกวนช่วยส่งให้ใหม่หน่อยครับ ขอบคุณมากครับ
[email protected]
ยังไม่ได้รับด้วย ครับ :oops: (อายจัง ขอใหม่ :) )
[email protected]
รบกวนด้วยครับ ขอบคุณครับ
โดย
boonprak
อังคาร เม.ย. 03, 2007 12:02 pm
0
0
85 โพสต์
of 2
ต่อไป
Verified User
ชื่อล็อกอิน:
boonprak
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
จันทร์ มี.ค. 06, 2006 3:46 pm
ใช้งานล่าสุด:
อาทิตย์ ธ.ค. 16, 2012 10:11 am
โพสต์ทั้งหมด:
153 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.01% จากโพสทั้งหมด / 0.02 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว