หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
sugusyogus
Joined: พุธ เม.ย. 04, 2018 2:23 pm
78
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - sugusyogus
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Cahs Flow) กับ กำไร (Net Profit)
ขอคำปรึกษานิดนึงได้ไหมครับ ว่ายกตัวอย่าง Stark บริษัทมี Net Profit อยู่ แต่จากที่อ่านๆ มาเขาบอกว่า Operational Cash Flow แปลว่าทำธุรกิจแล้วไม่มีกำไร แล้ว Net Profit ที่แสดงอยู่ตอนนี้มาจากไหนหรอครับ ขอบคุณสำหรับทุกๆ คำปรึกษาครับ Net Profit จะเป้นตัวเลข กำไรทางบัญชี -ซึ่งด้วยตัวNet Profitมันเองตัวเดียว จะไม่สามารถสะท้อนภาพประสิทธิภาพการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัทได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากเหตุผลสำคัญบางอย่าง เช่น (คือไม่ได้บอกว่า Net Profit มันใช้ไม่ได้ แต่หมายถึงต้องดูควบคู่กับอย่างอื่นด้วยครับ เพื่อปิดจุดอ่อนที่ขาดไปของตัวNet Profit) 1. สเตปการหา Net Profit จะมีรายได้และหักค่าใช้จ่าย ที่เป้น Non-cash items อยู่บางรายการ ตัวหลักๆตามปกติ เช่น >> ค่าเสื่อมราคาDepreciation, ค่าตัดจำหน่ายAmortization, >> กำไรจากการตีมูลค่าต่างๆ 2. Activity การใช้เงินสดบางอย่างของบริษัท จะไม่ถูกบันทึกลงใน Net Profit ของปีนั้น (แต่จะไปเพิ่มขึ้นในงวดถัดๆไป ตามแต่เงื่อนไขแต่ละรายการ) ตัวที่สำคัญหลักๆ ตามปกติ เช่น >> การใช้เงินซื้อInventoryเพิ่ม หรือ การผลิตสต็อกInventoryเพิ่มโดยที่ยังขายไม่ได้ - เงินสดที่จ่ายไปกับInventoryที่ค้างอยู่ส่วนนี้ จะยังไม่ได้ถูกหักเป้นรายจ่ายของNet Profit (ดังนั้นนั่ก็เป็นตัวนึงที่ต้องดูคู่กันกับNet Profit เพื่อเข้าใจว่าธุรกิจเอาเงินสดไปจมกับสต็อกมากเกินไปรึเปล่าแม้ว่าทางบัญชีจะโชว์ว่าNet Profitมีกำไร) >> การขายของได้แล้วแต่ยังเก็บเงินไม่ได้ Account Receivableลูกหนี้การค้า >> การใช้เงินซื้อ เครื่องจักร อาคาร ที่ดิน PPE ต่างๆ - เงินสดที่จ่ายอออกไปในการซื้อสิงทรัพย์ถาวรในปีนี้100บาท จะยังไม่ได้ลงรายการค่าใช้จ่าย100บาทหักในNet Profitปีนี้ แต่จะไปทยอยหักในงวดถัดๆไปครั้งละ5-20% ตามแต่ละรายการ ซึ่ง Operating Cashflow มันจะมาปิดจุดอ่อนในเรื่องของ - เงินสดที่เกี่ยวกับ การจ่ายเงินซื้อInventoryที่ยังไม่ได้ขาย กับ ตัวขายของแล้วแต่ยังเก้บเงินไม่ได้Account Receivable (รวมไปถึงตัวAccount Pableด้วย) กับ non-cash itemsรายรับกับรายจ่ายบางอย่าง ซึ่ง Investing Cashflow ก้จะมมาผิดจุดอ่อนในเรื่องของ - เงินสดที่เกี่ยวกับ การใช้ลงทุนในทรัพย์คงทนต่างๆPPEต่างๆ ที่มันจะทยอยตัดค่าใช้จ่ายเป้น ค่าเสื่อมและตัดจำหน่าย Depreciation&Amortization - กลับมาที่ประเด้น Stark ที่มีคนแจ้งว่า ตัวอย่าง Stark บริษัทมี Net Profit อยู่ แต่จากที่อ่านๆ มาเขาบอกว่า Operational Cash Flow แปลว่าทำธุรกิจแล้วไม่มีกำไร - อันนี้เราก็ต้องดูให้ออกว่า Operating Cashflow มันติดลบเป็นช่วงครั้งคราวตาม Nature ของธุรกิจเข้ารึเปล่า หรือว่า มันติดลบแบบไม่ปกติที่ควรจะเป็น >>> ถ้าOperating CashflowมันติดลบตามปกติของNAtureธุรกิจ ลบบ้าง บวกบ้างตามcycleการดำเนินการ เช่น ช่วงที่สต็อกสินค้าเพิ่มรอหน้าการขายHighi Season Operating cashflowก็อาจจะติดลบได้จากการสต็อกของหนักขึ้นมหาศาลในงวดนี้เพิ่มรอขายเยอะในงวดหน้า แม้ว่างวดนี้Net Profitจะมีกำไรก็ตาม แต่เน้ตแล้วเงินสดบริษทัจ่ายออกไปมากกว่าจากการสต็อกของล่วงหน้าตามแผนธุรกิจ >> ดังนั้นในงวดถัดๆไป ตามNatureของธุรกิจ บริษัทก็จะต้องมี Net Profit เป็นบวกพร้อมกับ Operating Cashflowที่เป็นบวกในงวดข้างหน้า เพราะว่าขายของออกไปำด้เยอะแล้วลดการสต็อกเพิ่มลงหลังหมดช่วงHigh season >> แล้วพอจะเข้าหน้า High seasonใหม่ งวดนั้นห็อาจจะเกิดเคส Net Profitเป็นบวก แต่Operating Cashflowเป้นลบอีกก็ได้ มันก็จะเป็นตามCycleธุรกิจแต่ละบริษัทอันนี้ก้ต้องทำความเข้าใจในลึกซึ้งก็จะเข้าใจมันเองครับ ** ดังนั้นถ้าเป็นอย่างงี้ ถึงจะเจอเคสที่ Net Profitบวก แต่Operating Cashflowติดลบ ในงวดนั้น - คนที่ดูออก เขาก็จะว่าบริษัทนี้ทำธุรกิจแล้วมีกำไรครับ >>> แต่ ถ้าOperating Cashflow มันติดลบแบบไม่ปกติหรือติดลบแบบธุรกิจบริหารผิดพลาด อันนี้ก็ต้องดูให้ออก เพราะว่ามันอาจจะกลายเป็น Net Profitเป้นบวก แต่Operating Cashflowติดลบ ติดต่อกันไปหลายไตรมาตรติดกัน(อาจจะต่อเนื่องเป็นปีๆ) >> ซึ่งถ้าเคสแบบนี้ ถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้ว่าทำไมมันถึงเป้นแบบนี้ ผู้บริหารเขาทำอะไรผิดพลาดจริงหรือว่ามีการทุจริตอะไรกัน แต่สุดท้ายมันจะเกิดปัญหาใหญ๋หลักเหมือนๆกันก็คือ วันนึงจะเกิดปัญหาเงินสดมีไม่พอดำเนินงาน(แม้ว่าNEt profitจะมีกำไรมาต่อเนื่อง bookvalueโตต่อเนื่องกันมาก็ตาม) นี่คือที่เรียกกันว่าปัญหาสภาพคล่อง คือ เงินสดไม่พอจ่ายพนักงาน เงินสดไม่พอจ่ายเจ้าหนี้supplier เงินสดไม่พอจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นของเจ้าหนี้เงินกู้ เมื่อถึงกำหนดชำระของแต่ละรายการครับ - เพราะว่าจริงๆแล้วบริษัทนี้ทำงานขายของแล้ว ไม่ได้เงินสดครับ (อาจจะอยู่ในรูปของAccount Receivable, Inventory, มูลค่าทรัพย์สินจากการตีมูลค่า หรืออะไรก็ตาม - แต่เมื่อมันยังไม่ใช่เงินสด มันเอามาใช้ไม่ได้ครับ) ** ดังนั้นถ้าเป็นอย่างงี้ คือเจอเคสที่ Net Profitบวก แต่Operating Cashflowติดลบ ในงวดนั้น - คนที่ดูออก เขาก็จะบอกว่าบริษัทนี้ทำธุรกิจแล้วไม่มีกำไร ตามในQuoteมาครับ (ซึ่งจริงๆแล้ว เคสStarkเป็นยังไงก็แล้วแต่คนมองครับ เพราะว่างบการเงินที่หลังจาก Special Auditยังไม่ออกครับ - ปล.ผลก็ไม่ได้ติดตามหุ้นStarkครับ
โดย
sugusyogus
จันทร์ มิ.ย. 05, 2023 5:05 pm
2
2
Re: การเติบโตของกำไร, P/E และราคาหุ้น กับการลงทุนหุ้นเติบโต / Pocket investor
เป็นแนวคิดที่ดีมากเลยครับ ช่วยให้เห็นแนวทางดีเลยครับ ผมขอช่วยเสริมด้วยต่อจากบทความนิดนึงครับ >> เรื่องการเติบโตของEPS15-20%/ปี - ว่าเราจะพอมองออกได้ยังไงว่า growth15-20%/ปีมันจะมีที่มาได้ยังไง แบบคร่าวๆ [หุ้นจะ10เด้งได้ใน10ปี ยังไงก็ต้องมาจากการเติบโตของEPSด้วย - แต่ราคาซื้อไม่แพงเกินไปก็ต้องมาคู่กัน] >> จากสูตร: EPS Growth = ROE x Retention Ratio ถ้าจะเอาEPS Growth 20%/ปี ทบไปเรื่อยๆ: - เราก็จะต้องหาบริษัทที่มีBusiness Modelที่ดีในระดับที่ได้ ROE 20-25% ขึ้นไป - บวกกับ บริษัทนั้นต้องอยู่ในอุตสาหกรรม หรือตลาดที่ยังสามารถขยายวงเงินธุรกิจไปได้อยู่เรื่อยๆ คือ เราสามารถreinvest กำไรที่ได้ในแต่ละปีไป copy&paste ธุรกิจเดิมได้ต่อเรื่อยๆ แบบประสิทธิภาพการทำกำไรในตัวใหม่ไม่ลด(ก็คือROEของส่วนที่ขยายงานก็ต้องได้เท่ากับของเดิมด้วยที่ 20-25%/ปี) - ซึ่งบริษัทที่ยังขยายงานได้อยู่ ตลาดยังโตได้ เราก็ต้องเก็บเงินไว้ในบริษัทเยอะๆ ก็คือ Retention Ratioจะสูงนั่นเอง อาจจะ Retention Ratio 70%++ ** แต่ถ้าธุรกิจมันอิ่มตัวแล้ว บริษัทก็ไม่สามารถreinvestขยายงานสร้างกำไรเพิ่มได้อยู๋ดี กำไรยังไงก็เพิ่มยากถึงแม้ROEจะสูงแค่ไหนก็ตาม** ซึ่งมาจากการคำนวน: Growth 20% = ROE 20% x Retention 100% Growth 20% = ROE 25% x Retention 80% Growth 20% = ROE 30% x Retention 67% Growth 15% = ROE 15% x Retention 100% Growth 15% = ROE 20% x Retention 75% Growth 15% = ROE 25% x Retention 60% ดังนั้นถ้าเราจะหาหุ้นที่ - EPS จะโตได้ 20%/ปี แบบไม่ต้องเพิ่มทุนใหม่ - เราก็ต้องหาหุ้นที่ยังเติบโตได้ที่มีROEระยะยาว = 20%ขึ้นไป (ถึงจะดูแล้วมีความเป็นไปได้) - EPS จะโตได้ 15%/ปี แบบไม่ต้องเพิ่มทุนใหม่ - เราก็ต้องหาหุ้นที่ยังเติบโตได้ที่มีROEระยะยาว = 15%ขึ้นไป (ถึงจะดูแล้วมีความเป็นไปได้) ** แต่ถ้าอนาคตหุ้นเราเพิ่มระดับROEสูงขึ้นได้อีก - หุ้นที่มี ROE15%ในตอนที่ซื้อ มันก็ยังสามารถสร้าง EPS Growthเฉลี่ยที่20%/ปี ในอนาคตได้เหมือนกัน (ถ้าบริษัท สามารถเพิ่มROEจาก15% เป็น 20%ได้ในอนาคต - ไ่ว่าจะจากประสิทธิภาพดีขึ้น หรือ จากการLeverageเงินกู้ได้อีก)
โดย
sugusyogus
ศุกร์ ต.ค. 28, 2022 2:44 am
1
7
Re: [สอบถาม] P/BV
"เพิ่มเติมนิดหน่อยครับสำหรับการดูแค่ Logic ที่ออกมาในเชิงงบการเงินแล้วอิงเป็นมาตราฐานในการตัดสินใจซื้อเป็นหลักใช้ไม่ค่อยได้กับการลงทุนใช่ไหมครับจากเท่าที่ดูในการตอบ คือเราควรให้น้ำหนักในเรื่องของ logic เท่าๆกับปัจจัยและภาพรวมธุรกิจใช่ไหมครับในการตัดสินใจซื้อ " ใช่ครับ คือถ้าเราเข้าใจเหตุผลเชิงธุรกิจ เชิงคุณภาพ กับหุ้นตัวนั้นอยู่แล้วว่าทำไมมันถึงต้องออกมาเป้นตัวเลขต่างๆแบบนี้ ก็ตัดสินใจจากเรื่องตัวเลขได้ครับ ในเรื่องของการลงทุน ในมุมมองของValue Investor การจะประเมินมูลค่าหรือตัดสินใจลงทุนต่างๆหรือเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางการลงทุนต่างๆ - เราจะดูผลตอบแทนเชิงตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้ (มันเป้นแค่ครึ่งนึงของสิ่งที่สิ่งที่เกิดขึ้น) มันต้องอาศัยการร่วมด้วยของความเข้าใจเชิงConcept เชิงธุรกิจที่กำลังเกิดขึ้นเบื้องหลังร่วมด้วย เราถึงจะคั้นความเข้าใจออกมาเป้นตัวเลขที่เหมาะสมได้ถูกต้อง - ก่อนที่ผลลัพธ์ธุรกิจจะออกมาเป็นตัวเลข มันมีสิ่งที่ดำเนินอยู๋เบื้องหลังเสมอ ดังนั้นการตีความตัวเลขของธุรกิจเราต้องคิดในเชิงOperatingเบื้องหลังมัน ถึงจะเข้าใจความหมายของตัวเลขแต่ละตัว (ถ้าตีความตัวเลขธุรกิจในเชิงคณิตศาสตร์อย่างเดียว มันอาจจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากตัวเลขนั้นเท่าที่ควร) [คือ ต้องมอง ตัวเลข, rationต่างๆ, สูตรคำนวนมูลค่าต่างๆ - ในเชิง The way of thinking ไม่ใช่ Number Game อย่างเดียว] - ในโลกของการลงทุน มันจะเป็นการวัดผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบกับความเสี่ยง (risk-adjusted Return) เสมอ อาจจะแยกเป็น 3 ระดับในการทำความเข้าใจก่อนที่จะValuationบริษัท 3 ระดับแบบนี้ครับ ระดับ1: เข้าใจเชิงคุณภาพ พวกBusiness Model, Modelรายได้, ความเสี่ยงธุรกิจ ระดับ2: เข้าใจเชิงผลลัพธ์ตัวเลข พวกงบการเงิน, Ratioต่างๆ, ตัวเลขสำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ, ระดับ3: เราถึงจะประเมินมูลค่าเหมาะสม และความสูงแพงของราคาตลาดเมื่อเทียบกับมูลค่าเหมาะสมได้ถูกต้อง ** เพราะอย่างที่ยกตัวอย่างไป ถ้าเราเห็นตัวเลขว่าROEดีอย่างเดียว เราก็อาจจะให้ราคาสูงไปเมื่อเทียบกับความเสี่ยงธุรกิจหรือความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทนั้นที่รับอยู่ ** หรือถ้าเราดูเห็นว่า Business Model กับ Operation ของบริษัทนี้มันดี เราก้ต้องไปเช็คผลลัพธ์ที่แสดงออกมาในตัวเลขงบการเงินและตัวเลขสำคัญของธุรกิจต่อด้วยอยู๋ดี ว่ามันทำให้ผลลัพธ์ธุรกิจมันดีSuperiorกว่าคนอื่นจริงๆรึเปล่า (หรือว่าคนอื่นมันก็ดีเหมือนกันนี่หนา ผลกำไร ตัวเลขต่างๆมันก็เฉยๆเมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเป้นปกติ ดังนั้น Business Modelที่ดูโดยรวมมันมันดีมาก จริงๆมันก็ไม่ได้ส่งต่อผลกำไรที่ดีกว่าคู่แข่ง เราก็อาจจะไม่ได้ต้องให้ Premiumในเรื่องนั้นมากเกินไป) ดังนั้น ในมุมองของ Value Investor ก็เลยน่าจะต้องรวม2อย่างเข้าด้วยกันครับ ** ส่วนเรื่องการจับจังหวะตลาด จับชีพจรอารมตลาด มันก็จะเป้นอีกสเต๊ปนึงที่เราควบคุมการวิเคราะห์ไม่ได้ครับ **
โดย
sugusyogus
จันทร์ ต.ค. 03, 2022 1:25 pm
4
1
Re: [สอบถาม] การหาอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง E(Rx)
สงสัยว่าการหาอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง [E(Rx)] ซึ่งต้องใช้อัตราผลตอบแทนของเหตุการณ์ที่ i (Ri) และความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณที่ i โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0-1 หรือแปลงเป็น % โดยค่ารวมของทุกเหตุการณ์ต้องไม่เกิน 1 หรือ 100% ตามลำดับ ทีนี้คำถามคือ ในสถานการณ์จริง (ตอนหาหุ้นที่ต้องการจะลงทุนเจอ) ผมจะสามารถหาค่าความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์ได้ยังไงครับ เริ่มจาก ทำความเข้าใจว่า "ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยE(R)" กับ "ผลตอบแทนที่จะได้จริง" มันจะแยกกัน มันไม่มีความเกี่ยวเนื่องกัน - เพราะสมมุติ: E(R) = 10% (เฉลี่ยมาจาก 3 เคสเท่าโอกาสเกิดเท่ากัน: 5%, 10%, 15%) - แต่เหตุการณ์จริง ถ้าไพ่เปิดมาเป็นเคสแย่เราก็จะได้แค่ 5% (ไม่ใช่ได้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่10%) - ** ดังนั้นตัวแปร์ที่สำคัญอีกตัวที่จะทำให้เราลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดีอยู๋ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์แย่ๆ ก็คือ "ราคาซื้อ" - ถ้าเราซื้อได้ราคาถูกลงมาอีก 20% >> เคสแย่เราก็ได้ผลตอบแทนเป็น 6% (5% x 1.2 คิดแบบเป็นไอเดียคร่าวๆ) เท่าที่เข้าใจจากคุณRuVi ต้องการจะสื่อคือ ผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ย Average Expected Return = (R1 x Prob.1) + (R2 x Prob.2) + (R3 x Prob.3) + ... ** โดยที่ Probability ทุกเคสรวมกันเท่ากับ 100% ** - โดยตามหลักการณ์ในโลกของวิชาการและในโลกของคณิตศาสตร์: นี่คือคำตอบที่ถูกต้องที่สุดที่ตามหา เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ตอนเราตัดสินใจซื้อขายลงทุนกับราคาตลาด ในความคิดเห็น ในชีวิตการลงทุนจริงๆ - เราคงไม่สามารถหาโมเดลทางคณิตศาสตร์ หรือ จะคั้นความเข้าใจในกิจการหรือความสามารถคาดการณ์อนาคต เพื่อที่จะออกมาเป็นค่าความน่าจะเป็น ที่แยกออกมาเป็น 3เคส 5เคส 10เคสได้ - ถึงเราจะพยายามใส่ตัวเลข Probability จนออกมาครบทุกเคส ใส่สูตรในสมการจนได้มาเป็น E(R)ของเรา ค่านี้ที่เราได้มา ก็มาจากตัวแปรที่เราเดาขึ้นมานั้นเอง (ว่ากันตรงๆ) - บางครั้งเราอาจจะใส่ค่าตัวแปรถูกทั้งหมดก็ได้ แต่หลายๆครั้งเราก็คงจะใส่ผิดแน่นอน แล้วเราจะเอาหลักการณ์คณิตศาสตร์นี้มาประยุกต์ใช้แบบ Practical จริงๆได้ยังไง? = เราเลยต้องเอา Margin of Safety [MOS] เข้ามาใช้กับหลักการณ์นี้ เพื่อที่จะใช้ในการลงทุนจริงๆได้อย่างมั่นใจ (ตาม Warren Buffet และ เกรแฮม) - ซึ่งการใช้ MOS ทำได้หลากหลายวิธีมาก แล้วแต่ความชอบแต่ละคน เช่น แบบ1: สมมุติ เราก็ใส่สูตรครบทุกเคสไปเลย คิด E(R) ออกมาได้ 10% - เราก็ซื้อราคาที่ทำให้เราได้ E(R)ที่สูงกว่านั้น เป้น 12% 13% 15% (เผื่อเหตุการณ์จริงมันแย่กว่าที่เราเดาเอาไว้) แบบ2: เราไปใส่ส่วนเผื่อผิดพลาดในตัวแปรในสูตร E(R) ตั้งแต่แรกเลย เช่น - คิดว่าเคสแย่จะได้ Return 5% - เราก็กดมันลงเผื่อไปไว้อีกเป้น 4% 3% - จะใส่MOS 2 ชั้นเลยก็ได้ - ให้ Probability เคสแย่สูงขึ้นไปอีกในสมการ - เราก็จะได้ E(R) ออกมาที่เป้นแบบ ตัวเลขเผื่อๆไว้แล้ว - ซึ่งตอนเอา E(R) มาใช้จริง เราจะใส่ MOS ชั้นที่3ไปอีกก็ได้ - เราก็ต้องซื้อราคาที่ถูกลงไปอีก เพื่อให้ได้ E(R) สูงกว่าค่าที่เราคิดไว้จากสมการ แบบ3: เราคิดแต่ Scenarioแย่ แล้วก็ใช้เคสแย่เป็นตัวตัดสินใจเลย - ต้องซื้อราคาที่ถ้าเกิดเหตุการณ์แย่ๆ เราก็ยังได้ผลตอบแทนที่เรารับได้อยู่ ** ซึ่งความคิดเห็นส่วนตัว วิธีที่ง่ายและก็ได้ผลลัพธ์ดีเหมือนกัน ก็คือวิธีที่3 (แต่วิธีอื่นๆก็อาจจะได้ผลลัพธ์ดีเหมือนกันก็ได้ครับ) - แต่วิธีนี้ก็จะมีCostที่เราต้องยอมรับก็คือ เราก็จะต้องพลาดโอกาสไปหลายๆครั้ง แต่ก็แลกมาด้วยการได้ลดความเสี่ยงในการขาดทุนเงินต้น การจะให้Mos เยอะหรือน้อย กับหุ้นแต่ละตัว ไม่มีกฏตายตัวว่าต้อง20% 30% - อยู่ที่ว่าเราเข้าใจกิจการมากแค่ไหน - ถ้าเราเข้าใจมากซะจนเรามองตัวเลขสำคัญแต่ละตัวได้ขาด ก็make-sense ที่จะไม่ต้องให้ mos เยอะ - แต่ถ้าเรามองกิจการยังไม่ขาด ก็อาจจะลองให้ mos เยอะหน่อยเผื่อความผิดพลาดตัวเองเอาไว้ครับ
โดย
sugusyogus
อาทิตย์ ก.ย. 04, 2022 1:12 pm
1
1
Re: การประเมินมูลค่าตลาดหุ้น
อยากทราบว่าพี่ๆมีวิธีการหา P/E ตลาดหุ้น ทั้งในปัจจุบันและอดีตยังไงบ้างครับ พอดีผมไม่รู้วิธีหา EPS ของตลาดครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ https://classic.set.or.th/th/market/market_statistics.html https://www.set.or.th/th/market/statistics/market-statistics/main Set.or.th มีรวมข้อมูลไว้ให้ทั้งหมดครับ ไปที่: ข้อมูลการซื้อขาย >> สถิติสำคัญตลาดหลักทรัพย์ จะมีข้อมูลของดัชนี SET, SET50, MAI อื่นๆให้ทุกอย่างย้อนหลังจนถึงปัจจุบันครับ - SET Index - SET Market Cap. - SET Dividend Yield - SET PE - SET PBV รวมถึงข้อมูลการซื้อขายย้อนหลังอื่นๆทุกตลาดครับ
โดย
sugusyogus
เสาร์ พ.ค. 07, 2022 2:10 am
0
3
Re: รบกวนถามเกี่ยวกับ สินทรัพทย์ที่เกิดจากสัญญา
รบกวนถามเกี่ยวกับ สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาด้านล่างครับ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่พอไปดูงบกระแสเงินสด พบว่า ทำให้ เงินสดใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงาน เป็นลบ อย่างนี้เราควรจะประเมินว่า งบบริษัทนี้ มีความเสี่ยงไหมครับ ขอบคุณครับ สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา - ส่วนที่จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน รายได้ที่ยังไม่ได้เรียกชำระ ลูกหนี้เงินประกันผลงาน สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา - ส่วนที่จัดเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รายได้ที่ยังไม่ได้เรียกชำระ ลูกหนี้เงินประกันผลงาน ไอเดียตัวนี้ก็คล้ายๆกับ ลูกหนี้การค้าครับ คือ ส่งสินค้าหรือบริการไปแล้วแต่ ยังไม่ได้รับเงินสดจ่ายมา (อาจจะมีเงื่อนไขตามสัญญาสั่งซื้อหรือสัญญาจ้าง นอกเหนืจากการให้เครดิตจ่ายเงิน1เดือน 2เดือน ต้องลองอ่านดูว่าbusiness model ของบริษัทมันทำไมถึงมีitemตัวนี้ครับ) ตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตและขายเครื่องสำอางค์ เวลาส่งของไปขายที่หน้าร้านค้าปลีกบางร้าน ก็จะบันทึกเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากสัญญา ที่ยังไม่ได้รับเงินจริง (แทนที่จะเป็นลูกหนี้การค้า อาจจะมีเงื่อนไขว่าถ้าขายไม่หมดอาจจะมีส่งคืนสินค้าบางส่วน) (แต่ก็มีขายขาดไปบางร้าน ลงบัญชีเป็นลูกหนี้การค้าปกติ ก็มีทั้ง2แบบครับ)
โดย
sugusyogus
พุธ เม.ย. 20, 2022 10:32 am
0
1
Re: สอบถามเกี่ยวกับงบธนาคาร
สวัสดีครับผมเป็นมือใหม่อยากสอบถามว่า 1. วิธีดูความแข็งแกร็งของงบดุลหุ้นกลุ่มธนาคารยังไงครับเพราะว่า D/E มันไม่เหมือนกับหุ้นกลุ่มอื่นๆ จะต้องเทียบกับ NPL รึเปล่าครับว่า NPL เป็นกี่เปอร์เซ็นของ D/E? 2. อยากดูว่าประสิทธิภาพกำไรจากการปล่อยกู้เทียบปล่อยกู้นี่ดู NIM เทียบ NPL ใช่ไหมครับ? แบบดูเบื้องต้นไม่กี่ตัวนะครับ ข้อ1 ความแข็งแกร่งของฐานะการเงินของBank ดูจากหลักๆ 2 ตัว 1.1 NPL Coverage ratio = Provisionเงินตั้งสำรองสะสม / NPLสะสม - ดูว่าธนาคารตั้งขาดทุนรับหนี้เสียNPLที่อยู่ในพอร์ต coverไปแล้วขนาดไหน - อย่างน้อยควรเกิน 100%ถึงจะเริ่มดูเซฟๆ - แต่ก็แล้วแต่business model แต่ละธนาคาร(หรือ Non-Bank อื่นๆ) - ใครมีลูกค้าเสี่ยงเยอะก็อาจจะเกิน100%ไปเยอะ, ใครเอาชัวกันเหนียวไว้ก่อนก็อาจจจะเกิน100%เยอะ - ใครคิดว่าพอร์ตสินเชื่อมันเซฤอยู๋แล้ว ปล่อยเงินน้อยกว่าของค้ำประกันเยอะ ก็อาจจะไม่ต้องตั้งเยอะ 100%ก็พอก็มี - ธนาคารไทยตั้งNPL Coverage สูงเกิน 140-150% ทุกคนครับ 1.2 BIS Ratio (หรือ CAR ratio) อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง = เงินกองทุน / Risky assets >> เงินกองทุนโดยคร่าวๆก็คือEquityครับ แต่มันจะมีรายละเอียดมากกว่านั้นครับ (เช่น Bankกู้เงินผ่าน Perpetual bond หรือ ตราสารหนี้basel3 อะไรประมาณนี้ ก็นับเป็นเงินกองทุนได้เหมือนกันครับ) >> Risky assets ก็คือทรัพย์สินหลัก 3 อย่างของธนาคารครับ: เงินปล่อยกู้, ปล่อยกู้Inter-bank, เงินลงทุนตราสารการเงิน - ตัวนี้เอาไว้ดูแบบคร่าวๆ ว่าเงินทุนของธนาคารเองรับNPLที่จะเพิ่มขึ้นมาใหม่ได้อีกกี่% - ขั้นต่ำที่ ธปท. ตั้งไว้ของBankไทย คือ 12% - ถ้าใครมีNPLเยอะจนEquityลดลงจน BIS Ratio ต่ำกว่า 12% - ผู้ถือหุ้นจะต้องเพิ่มทุนเข้ามา - Bank ไทยทั้งหมดก็มีค่านี้สูงเกินไว้อยู่แล้ว 16-18% ครับ ข้อ 2. อยากดูว่าประสิทธิภาพกำไรจากการปล่อยกู้เทียบหนี้เสีย ก็จะดู 2 ตัวเทียบกันครับ 1. %NIM = ดอกเบี้ยสุทธิในงวดนั้น / พอร์ตสินเชื่อ 2. %Credit Cost = ยอดตั้งสำรองECLในงวดนั้น / พอร์ตสินเชื่อ - ดูเทียบ %NIM กับ %Credit Cost ในแต่ละปี - ตามปกติ ยังไง%NIM ก็จะต้องมากกว่า %Credit Cost อยู่แล้วครับ - แต่ละ Bank ก็จะมีค่าปกติของ %NIM และ %Credit Cost ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู๋กับBusiness Model แต่ละคน (เช่น Kbank ปล่อยสินเชื่อกลุ่มรายย่อยมากหน่อย %NIMก็อาจจะกลางๆ 3.2-3.3% ซึ่งความเสี่ยงก็จากมากขึ้นมา %Credit Costก็จะสูงตามกลุ่มลูกค้า อยู่ที่ประมาณ2%) (แต่ BBL จะปล่อยสินเชื่อกลุ่มบริษทใหญ่เยอะ %NIMก็จะต่ำ 2.1-2.2% แต่ความเสี่ยงก็จะต่ำลงมาด้วย %Credit Cost ก็เลยต่ำอยู่ที่ 1.3-1.4%) - ถ้าจะดูว่าทำได้ดีขึ้นหรือแย่ลงก็เทียบกับตัวของมันเองย้อนหลังไปครับ ถ้าเทียบข้ามBank ก็อาจจะเทียบกับคนที่มีพอร์ตสินเชื่อกลุ่มลูกค้าใกล้เคียงกันครับ (แต่ว่าก็จะเทียบกัน100%ไม่ได้ เพราะแต่ละbankก็มีพิจารณาการตั้งบัญชีต่างกันไปครับ)
โดย
sugusyogus
พุธ เม.ย. 20, 2022 2:55 am
1
5
Re: ครบเครื่อง เรื่อง PE
ขอบคุณครับ
โดย
sugusyogus
พฤหัสฯ. ส.ค. 05, 2021 12:12 am
0
0
Re: มหากาพย์ ไตรภาค โดย นริศ จิระวงศ์ประภา
jackaloner wrote: > ในลิ้งไฟล์มันเข้าไม่ได้แล้วอะครับ > ใครใจดีช่วยส่งไฟล์ให้ผมทางอีเมลหน่อยได้ไหมครับ😭
[email protected]
https://www.dropbox.com/s/yffvsrgm4ve3o88/VI%20Theory.pdf?dl=0 ผมฝากไฟล์ไว้ในlinkนี้นะครับ credit: คุณนริศ
โดย
sugusyogus
จันทร์ ก.ค. 19, 2021 11:16 pm
0
1
Re: สอบถามงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
0A0C5626-1D94-45CD-8573-33CECEFC52C9.jpeg ขออนุญาตสอบถามผู้รู้นะครับ นี้เป็นงบของบริษัทพัฒนาอสังหานะครับ คือผมมาดูที่งบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินเงินเพื่อจะหาว่าต้นทุนทางการเงินว่าเป็นเท่าไหร่ แต่สงสัยว่าบรรทัด22ต้นทุนทางการเงิน(อยู่ในรายรับปรับปรุงนะครับ) กับ บรรทัด41ที่จ่ายดอกเบี้ย มันต่างกันยังไงครับ คือพอดีจะเอามาลบกับต้นทุนในงบดุล เพื่อหาinterest capitalization ratio ขอบคุณที่ตอบนะครับ ที่ผมเข้าใจนะครับ อาจจะไม่ตรงเปะทั้งหมด แต่เป็นภาพคร่าวๆครับ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะมีการกู้ในbusiness model เฉพาะของมัน ซึ่งส่งผลต่อการลงบันทึกจัดกลุ่มรายจ่ายดอกเบี้ยและต้นทุนการขายบ้าน คือ จะเป็น Project financeเฉพาะของแต่ละโครงการอสังหา กับ กู้เงินตามปกติของบริษัท(อาจจะไม่ได้เฉพาะเจาะจง อาจเพื่อใช้เป้น working capทั่วไปหรืออื่นๆ) ดังนั้น 1. ดอกเบี้ยจ่าย ของตัว project finance = ลงบัญชีจะไม่ได้ลงเป้น ต้นทุนทางการเงิน (ในIncome statement) - แต่จะรวมอยู่ใน"ต้นทุนขายบ้าน" (ใน income statement) ** ซึ่งดอกเบี้ยของproject financeนี้ เริ่มต้นจะบันทึกรวมเป้นส่วนประกอบนึงในต้นทุนมูลค่า สินค้าคงเหลือในbalance sheet - แล้วเมื่อบ้านของโครงการนั้นถูกขายได้ ตัวสินค้าคงเหลือก็จะถูกตัดกลายมาเป้น "ต้นทุนขายบ้าน" ใน income statementแทน ** - ซึ่ง ตัวดอกเบี้ยที่จ่ายจริงของ project finance แต่ละปี ก็น่าจะเห็นโชว์รวมอยู่ใน cash flow statement รายการ "จ่ายดอกเบี้ย" อยู่แล้ว - แต่ว่าในincome statement ต้นทุนขายบ้านของโครงการนั้นจะขึ้นมาก็ต่อเมื่อโครงการถูกขายได้ 2. ดอกเบี้ยจ่าย ของเงินกู้ทั่วไป = ลงบัญชีก็จะลงเป้นต้นทุนการเงิน (ใน income statement) ตากปกติในแต่ละปี ยอดก็น่าจะตรงไปตรงมากับ ดอกเบี้ยจ่ายใน cash flow statementครับ ดังนั้นสรุป - ต้นทุนดอกเบี้ย(ใน income statement) จะไม่เท่ากับ ดอกเบี้ยจ่าย(ในcash flow statment) อยู่แล้ว - เพราะว่า ต้นทุนดอกเบี้ย(ใน income statement) เป็นดอกเบี้ยของเงินกู้บางส่วนที่จ่ายในปีนั้น - ดอกเบี้ยจ่าย(ในcash flow statment) เป็นดอกเบี้ยจ่ายทั้งหมดในปีนั้น ซึ่งมาจาก ptoject finance และ เงินกุ้ทั่วไป ลองดูครับว่าต้องการใช้ตัวเลขตัวไหนในการวิเคระาห์ต่อครับ ** ลองอ่านเพิ่มเติมใน หมายเหตุประกอบงบ ของฉบับทั้งปี ** หัวข้อ นโยบายการบัญชีที่สำคัญ - การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย - ต้นทุนการขายอสังหาริมทรัพย์ - สินค้าคงเหลือ - ต้นทุนการกู้ยืม - ต้นทุนทางการเงิน และหัวข้ออื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมครับ
โดย
sugusyogus
อังคาร มิ.ย. 15, 2021 2:34 am
0
3
Re: มหากาพย์ ไตรภาค โดย นริศ จิระวงศ์ประภา
charnchu wrote: > charnchu wrote: > > เหมือน Link เก่าเข้าไปดูไฟล์ไม่ได้ ขอแนบไฟล์ไว้ให้ครับ > > https://files.fm/u/vvcv9u97u#/view/rk5dffd6b ขอบคุณคุณนริศ และ คุณcharnchu และผู้ที่แชร์มากครับ
โดย
sugusyogus
อาทิตย์ มิ.ย. 13, 2021 9:44 pm
2
0
Re: ((เปิดลงทะเบียน)) กระทู้รับสมัครหลักสูตรอบรม รุ่น 14
สมัครเรียน
โดย
sugusyogus
พุธ เม.ย. 04, 2018 3:48 pm
0
0
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
sugusyogus
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
พุธ เม.ย. 04, 2018 2:23 pm
ใช้งานล่าสุด:
พุธ ก.ค. 26, 2023 11:33 pm
โพสต์ทั้งหมด:
71 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.00% จากโพสทั้งหมด / 0.03 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว