หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
Pekko
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
Joined: ศุกร์ พ.ย. 10, 2006 7:41 pm
676
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - Pekko
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: ลาแล้ว 2564 สวัสดี 2565 เพื่อน ๆ ThaiVI.org
ปี 2564 เป็นปีที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดตั้งแต่ลงทุนมา 17 ปี ปีนี้ปีเดียวมากกว่าที่สะสมมาทั้งชีวิต(ทั้งกำไรและขาดทุนผสมกัน) 16 ปี ถึง 4 เท่า โชคดีที่หุ้นใน Port ตัวที่น้ำหนักมากที่สุดให้ผลตอบแทน 2 เด้ง หากหักตัวนี้ไป Port ดูไม่จืด ยังติดลบจากปีก่อนเล็กน้อย ส่วน Div เน้น New High ทุกปี แต่ยังไม่เพียงพอที่จะออกจากงานประจำ (ทำได้แล้ว 40%) การลงทุนตปท.ผ่าน SSF กับ RMF ผลตอบแทนแย่พลาดไปกับกองทุนที่เน้น Growth เมื่อถัวกับปีก่อนเสมอตัว ปี 2565 ยังเน้นหุ้นไทยเหมือนเดิม เลือกกิจการที่เงินสดดี กำไรและราคาหุ้นสม่ำเสมอ Div > 5% และลงทุนตปท. ผ่าน SSF กับ RMF ต่อไป (แต่ไม่เอากอง Growth เข็ดแล้ว) อาจจะเพิ่มเติมเรื่อง Private Wealth เข้ามาจัดการสภาพคล่องส่วนเกินครับ สวัสดีปีใหม่นักลงทุนทุกท่านครับ
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. ธ.ค. 30, 2021 10:10 pm
0
15
Re: Property Fund & REITs & Infrafund Series
เลือกกองที่ให้สิทธิ์ยกเว้นทางภาษีเงินปันผลสิครับ EGATIF DIFF TFFIF น่าสังเกตว่ากอง Reit ต่างๆ มักจะให้ผลดีหลังจาก 2-3 ปีที่จัดตั้งกอง ไม่รู้ทำไม มี property fund แบบ Freehold ที่น่าสนใจ ณ ปัจจุบันนี้ มีกองไหนบ้างครับ
โดย
Pekko
พุธ ก.พ. 27, 2019 10:51 am
0
1
Re: พวกเราอยู่กลุ่มไหน
ตอนนี้ PORT ผม หลักๆ มี TIP และ RATCH ซึ่งโชคดีว่า TIP คราวนี้แจกหุ้นปันผล ส่วน RATCH เพิ่งซื้อเพิ่มเข้าไป (แต่ขาดทุน) ซึ่งผิดหวังกับหุ้นตัวนี้มาตลอดกว่า 10 ปี แต่ต้องซื้อเพราะ div ซึ่งกว่าดบ.เงินฝากหรือเก็บเงินไว้เฉยๆ ผมขยับปรับ PORT ตั้งแต่กลางปีก่อน เพราะเดาเหมือนลุงขวด ว่าน่าจะเกิดวิกฤติการเงินโลกครั้ง แต่ผมไม่คิดว่าประเทศไทยจะสาหัสมากนัก เพราะที่ผ่านมาหลายปีตลาดหุ้นไทย ต่างชาติไม่ได้มีบทบาทในการนำตลาดมากนัก แต่เพื่อความปลอดภัย ผมเลยเลือกหุ้น defensive ปันผล 4-5% ส่วนหุ้นเดิมที่มีศักยภาพไปต่อ มี capital gain มากๆๆ ก็ let profit run ไป แต่สิ่งที่ต้องคิดต่อ หากเราเดาอนาคตออกว่าแย่ ณ จุดๆนี้จะอัดเงินเพิ่มเข้าตลาดทำไมครับ และหากเกิดวิิกฤติจริง เราจะเลืือกซื้อหุ้นแบบใดเป็นลำดับแรก หุ้นมั่นคง หุ้นภาคบริการ หุ้น real sector หุ้นส่งออก หุ้น hi tech หุ้นโภคภัณฑ์ หรือหุ้น Turn around :ohno: :ohno: :ohno:
โดย
Pekko
จันทร์ มี.ค. 05, 2018 12:42 am
0
7
Re: ถ้าผมซื้อหุ้น twfp ที่ราคา 138 บาท ตอนปี 2551 แล้วถือยาว
ผมก็ไม่ได้ซื้อครับ ราคาแถว 100 นิดๆ หลังจากนั้นแตกพาร์จาก 10 บาท เป็น 1 บาท ขออ้างอิง คุณ kjarrung PostPosted: Mon Oct 05, 2015 9:09 pm ราคาปิดวันนี้ ( 5 ต.ค.) เท่ากับ 6.65 บาท เทียบเท่าราคา TWFP เท่ากับ 28.3 บาท ราคา TWFP ก่อนแขวน SP เท่ากับ 24.7 บาท เท่ากับว่าเปิดสูงกว่าวันก่อนแขวน SP ถึง 15%
โดย
Pekko
อังคาร มี.ค. 07, 2017 12:07 pm
0
1
Re: ณ ต้นปี2017 หุ้นที่เพื่อนๆถือมานานสุดนั้น ถือมากี่ปี
ถือตั้งแต่ปี 2549 ก็ 11 ปีครับ
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. มี.ค. 02, 2017 4:26 pm
0
10
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
คุณ Pekko พอจะแนะนำตำรา คัมภีร์ อรรถกถา เทศนา ตลอดจนพระสูตรที่เกี่ยวข้องให้ผมไปศึกษาเพิ่มเติมได้ไหมครับ? ผมไม่มีความรู้ด้านนี้ครับ รอท่านอื่นมาช่วยแนะนำดีกว่าครับ คนเห็นอนิจจังเป็นส่วนมาก เห็นทุกขังน้อย และยิ่งเห็นอนัตตาน้อยลงอีก (อาจจะเกี่ยวกับเรื่องภาวนมยปัญญา) ดังนั้นการปฏิบัติจึงแตกต่างกัน แต่ก็ไม่เกินขอบเขตกายและใจเราครับ คุณ picatos ลองถือแนวปฏิบัติของท่านหลวงตามหาบัวดูนะครับ ท่านเคยกล่าวไว้ว่าท่านเห็นอนัตตาเป็นหลัก ส่วนคุณวิเศษของแถมก็ขึ้นอยู่กับจริตที่เห็นชนิดของไตรลักษณ์ครับ ปล. ผมอาจจะไม่มาตอบแล้วนะครับ เนื่องจากช่วง2 ปีหลัง ผมติดเรื่องทางโลกซะส่วนมาก ทางด้านธรรมถดถอยลง(ด้วยข้ออ้างเดิมๆ คือ ไม่มีเวลาครับ)
โดย
Pekko
พุธ มี.ค. 01, 2017 4:28 pm
0
4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ แล้วคุณ picatos คิดว่าอะไรเป็นเหตุให้คนเราหันมาสนใจธรรมะครับ ผมสังเกตว่ามันแทบจะเป็นเรื่องที่บังคับกันไม่ได้ เหมือนกับว่าต้องรอให้ถึงเวลาที่เหมาะสมของแต่ละคนเอง ผมชอบคำถามของคุณดำมาก ผมไม่ใช่คุณ picatos แต่ขออนุญาตตอบนะครับ เหตุผลที่ผมสนใจธรรมะ เพราะ ทุกขัง ครับ และผมเชื่อสนิทใจว่าคนที่สนใจศาสนาพุทธแบบมีปัญญา สนใจพระพุทธศาสนา คือ ไตรลักษณ์ครับ ซึ่งก็แล้วแต่จริต บางคนเห็นอนิจจังชัด บางคนเห็นทุกขังชัด บางคนเห็นอนัตตาชัด หรือบางคนอาจจะเห็นชัดทั้ง 3 ซึ่งในท้ายสุดก็จะพบความจริง 4 ประการ อริยสัจ 4 ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ สมุทัย เหตุเกิดทุกข์ นิโรธ ความดับทุกข์ คือต้องดับที่สมุทัย ทุกข์จึงดับ และมรรค ข้อปฏิบัติกาย วาจา ใจ ให้ถึงปัญญาญาณแก้อวิชชา ให้เข้าถึงการดับสนิทแห่งทุกข์ ไตรสิกขา คือ โอวาทปาฏิโมกข์ คือ มรรค 8 คือ หัวใจพระพุทธศาสนา (เรื่องคุณวิเศษนั้น คือ ของแถม) เหมือนที่พระสุภัททะ(อรหันต์องค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้าที่ยังมีพระชนชีพอยู่) ที่ดั้นด้นเข้าเฝ้าถามพระพุทธองค์ครับ
โดย
Pekko
อังคาร ก.พ. 28, 2017 2:54 pm
0
5
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ผมสงสัยแค่อย่างเดียว การเริ่มสนใจธรรมะจากการทำทานมันไม่ถูกต้องเหรอครับ ผมเข้าใจมาตลอดว่ามันเป็นขั้นแรก เพราะเป็นการฝึกละทรัพย์ภายนอก เวลาสอนฆราวาส ผมก็เข้าใจว่า ทาน ศีล ภาวนา เป็นไปตามขั้นตอนเช่นนี้ ทาน ศีล ภาวนา คือ หัวใจพระพุทธศาสนา โอวาทปาฏิโมกข์ครับ อย่างที่ทราบกันการสละมี 10 ประการ เป็นการกระทำที่ง่ายที่สุด ที่จะต่อยอดหรือสร้างจุดใส่ใจในการกระทำขั้นที่สูงขึ้น คือ ศีล(ข้อห้าม) และ ภาวนา(ฟอกใจ) ส่วนลำดับขั้น แล้วแต่วาสนา/กรรมของผู้ปฏิบัติที่สั่งสมมาเองครับ ว่าจุดเริ่มที่ชัดแจ้งของตนอยู่ที่ใด แต่เมื่อตัวหนึ่งตัวใดบริบูรณ์แล้ว อีก 2 อย่างที่เหลือนั้น เราจะปฏิบัติได้เองครับ ซึ่งถ้าบริบูรณ์ในทาน ในศีล ก็คือพระโสดาบัน หรือพระสกิทาคามี หากพัฒนาการภาวนามยปัญญาก็เข้าสู่พระอนาคามี และสุดท้ายเมื่อบริบูรณ์ครบ 3 ประการ คือ อรหันต์ ครับ
โดย
Pekko
อังคาร ก.พ. 28, 2017 2:35 pm
0
3
Re: พวกเราอยู่กลุ่มไหน
สไตล์การลงทุนเปลี่ยนไปตามวัยครับ สำหรับผมตอนนี้เป็นแนวลุงขวดชัดเจนมาก(ชัดมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่แก่นนะครับ) แต่ผมยังขีี้เกียจหาหุ้นแบบตีแตก Full time เพราะงานประจำเยอะ เหนื่อยมาก(ข้ออ้างแถแก้ตัวของผม 555) ปี 2560 ก็เป็นปีที่ 13 ที่ลงทุนในตลาดหุ้น และเป็นสมาชิกปีที่ 13 เช่นกัน รู้จัก web นี้ตั้งแต่ก่อตั้งใหม่ๆ พ.ศ 2546 มาแอบอ่านเป็นแขกเป็นระยะ Q : ผมอยู่กลุ่มไหน A : ผมเป็นกลุ่ม ลอก ครับ "ลอกการบ้าน" ลอกพี่ Jeng ลุงขวด เฮียคลายเครียด พี่ Miracle คุณโจลูกอิสาน คุณชายคนขายของ พี่ nevercry คุณ off-shore engineer คุณ luty97 คุณดำ พี่วิบูลย์ คุณมน และนักลงทุนหลายท่านอื่นๆ อีกมากมาย(ขออนุญาตที่กล่าวชื่อ เพราะผมนับถือจากใจจริง) การลอกเป็นวิธีลัด แต่ต้องลอกอย่างมีสติปัญญา ลอกแบบมีอารยะ คือต้องระลึกว่าต้นทุน จังหวะการซื้อ เหตุการณ์ประกอบการตัดสินใจในแต่ละช่วงเวลาไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์ประกอบความรู้ และความมั่นคงทางใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เป็นตัวชี้วัดในนักลงทุนแต่ละท่านว่าจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด สำหรับผมถือว่าประสบความสำเร็จในระดับนึงเมืื่อเทียบกับ Effort ของตัวเองครับ สำหรับปีที่ผ่านมา 2559 ผลตอบแทนส่วนตัวไม่ดีมากนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมประหลาดใจอีกครั้ง คือถ้าปีไหนตลาด บวก แรง บวก ดี ปีนั้นผมจะไม่ดีเลย เช่นทรงทรง หรือบวกน้อยมาก แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าปีไหนตลาดดูทรงๆอืดๆ หรือ ติดลบ ปีนั้นผมจะบวกดีหรือติดลบน้อยกว่าตลาดมาก ส่วนภาพย่อยของปี 59 ผมเห็นด้วยกับคุณ lukton2000 ครับ ในวาระดิถีปีใหม่ ปีระกา ขอให้นักลงทุนทุกท่านมีความสุข มีความเจริญในด้านดีๆ พอร์ตสีเขียวปี๋ สวัสดีปีใหม่ครับ
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. ม.ค. 05, 2017 4:07 pm
0
14
Re: Poll : ผลตอบแทนปี 2559
ผมคิดผลตอบแทนไม่ถูก กะกะเอาประมาณ 9% ละกัน(ต่ำกว่าตลาด 555) ผมสนใจเม็ดเงินที่ได้จากปันผลมากกว่าครับว่า YoY เติบโตขึ้นเท่าไร เพียงพอต่อการดำรงในระยะยาวได้หรือไม่ และรวมถึงฐานะความมั่นคง/อนาคตของบริษัทฯ ที่ลงทุนครับ (ต้องไม่เจ๊ง) ผมเป็น Conservative Investor กลัวหุ้น Growth P/E สูงๆครับ Capital gain ไม่ต้องมากขอแค่เงินต้นไม่ขาดทุนก็พอใจแล้วครับ
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. ม.ค. 05, 2017 3:32 pm
0
10
Re: การคิดค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน
พอดีวุ่นๆ เห็นกระทู้นี้ช้าไปหน่อย ต้องพิจารณาว่าธุรกิจของคุณอยู่ในข่ายภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ หากอยู่ในธุรกิจที่อยู่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องมาพิจารณาอีกทีว่าสัดส่วนรายได้ Non VAT เทียบกับ VAT 0%+VAT 7% (รวมกัน) เป็นร้อยละเท่าใด หากฝั่งหนึ่งฝั่งใดเกิน 90% ก็อนุโลมให้ใช้ฝั่งนั้นคิดเป็น 100% ไปเลยครับ หากไม่ถึงก็ให้เฉลี่ยภาษีซื้อครับ ส่วนที่เหลือให้ปรับเข้าเป็นต้นทุนที่ได้มาครับ กรณีที่มีรายได้ขายและบริการ Non vat เกิน 90% อาจไม่จำเป็นต้องขอภาษีซื้อคืนครับ โดยในส่วนนั้นให้ถือเป็นต้นทุนสินค้า มีสิทธิ์มาคำนวณค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวน ยกเว้นจำพวกรถยนต์ แต่หากไม่มั่นใจให้พิจารณาต้องดูมาตรา 65ทวิ และตรี ประกอบ ในหมวดภาษีซืื้อต้องห้ามครับ ทั้งนี้จะต้องดูภาษีนำเข้าของกรมศุลกากรด้วยครับ หากมีการนำเครื่องจักรจากต่างประเทศ และหากสัดส่วนรายได้ Non VAT กับ VAT ในปีต่อไปมีการเปลี่ยนแปลงต้องแจ้งอธิบดีกรมสรรพากรด้วยครับ
โดย
Pekko
อังคาร ก.ค. 26, 2016 6:00 pm
0
4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ก็รู้สึกว่าตนเองระลึกรู้ได้ด้วยดี แต่ปัญหาที่ผมประสบคือ ระหว่างที่นั่งปฏิบัติ บางคราวที่เรารู้สึกปีติ เย็นแผ่ซ่านไปทั้งตัว เราคิดเองว่า เรานี่รู้แจ้งแทงตลอด รู้สึกคิดว่าตัวเองนี่แท้แล้ว รู้ธรรมดีแล้ว เริ่มอยากพูดอยากสอนคนอื่น แต่ในใจตัวเอง เคยอ่านมาแล้วว่า ถ้าเราปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่ง อาจจะเกิด วิปัสสนูปกิเลส ขึ้นได้ ซึ่งผมเองก็รู้สึกกลัวพอสมควร เนื่องจากผมเองถึงแม้จะเคยผ่านการอบรมวิปัสสนากรรมฐานมาจากโกเอ็นก้าและฟังธรรมะปฏิบัติจากครูบาอาจารย์ต่างๆจาก youtube แต่ผมนั่งปฏิบัติคนเดียวที่บ้าน ซึ่งในบ้านก็มีพ่อและพี่สาวหลายคน ซึ่งแต่ละคนก็ยังไม่สนใจการปฏิบัติอย่างจริงจัง ผมเริ่มรู้สึกตัวเองแล้วว่า ผมเริ่มจะโดนวิปัสนูปกิเลส เล่นงานซะแล้ว เพราะผมไปพิมพ์เข้าไปในกลุ่มไลน์ของครอบครัวผม เรื่องธรรมะ พิมพ์เยอะมาก จนพี่สาวแซวว่า จะบวชเหรอ หรือ ขึ้นกัณฑ์เทศน์เหรอ แล้วรู้สึกว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น ข่มคนอื่น และ ตอนกลางคืนหลังจากนั่งปฏิบัติ 1 ชม.เสร็จ ผมก็จะนอน แต่รู้สึกได้เลยว่า ผมนอนหลับไม่สนิท ในใจคิดจะดูและจับอยู่กับลมหายใจตลอดเวลา ทำให้ตื่นขึ้นมา ผมรู้สึกไม่สดชื่น ผมเริ่มรู้สึกตัวเองแล้วว่า ผมหมกหมุ่นและจริงจังกับการปฏิบัติมากจนเกินไป ระหว่างปฎิบัติก็เกิดกิเลสขึ้นในจิตของตนเองว่า อยากจะปฏิบัติให้ได้ดียิ่งๆขึ้นไปโดยเร็ว ซึ่งการทำเช่นนั้น ทำให้เช้าวันหนึ่ง ผมรู้สึกมึนงงมาก เหมือนคนอดนอนมาหลายวัน และเริ่มรู้สึกตัวว่า ทำไมเราปฏิบัติธรรม แล้ว ผลถึงเป็นเช่นนี้ ทำไมเป็นแบบนี้ ทำให้ผมฉุกคิดแล้วว่า ผมต้องทำอะไรผิดพลาดบางอย่างเสียแล้ว และที่ผมประมวลและคิดเอง ผมประสบว่า ผมเคร่งและตึงกับการปฏิบัติมากจนเกินไป หวังผลเร็วจนเกิดไป จนทำให้เกิดกิเลสเกิดความอยากขึ้นในจิต ส่งผลให้เกิด วิปัสสนูกิเลสขึ้นมา แต่ถือว่า ผมโชคดีหรืออาจจะเป็นผลบุญกรรมแต่ในอดีตที่ช่วยให้ผมคิดได้ โดยที่ผมไปไม่เข้ารกเข้าพง หลงคือในอวิชชาของตัวเอง ทำให้ตอนนี้ผมเลยต้องหยุดปฏิบัติชั่วคราวก่อน แต่กลับมานั่งดูลมหายใจตัวเองในระหว่างวัน ระหว่างทำงาน แทนการนั่งวิปัสสนากรรมฐานวันละ 2 ชม.เช้ากับก่อนนอนแทน คือ ย้อนไปนับหนึ่งใหม่อีกครั้งที่เริ่มปฏิบัติ เริ่มแบบที่เราไม่รู้สึกกดดัน รู้สึกถึงความอยากได้มรรคผลนิพพานโดยเร็ว ทางแก้ของผมคือ หันเหจิตไปทำอย่างอื่นแทน เช่นฟังเพลง คุยไลน์กับเพื่อน อ่านข่าว คุยสนทนาเรื่องทั่วไปกับครอบครัว เหมือนผมเป๊ะเลย พวกสุดโต่งแบบเคร่งครัด ยินดีด้วยครับที่ผ่านมาได้ ทำได้เยี่ยมยอดมาก คุณ sharpy คงทำเหมือนผมคือเร่งจับลมหายใจมากไปจนต้องสร้างลมหายใจขึ้นเองแบบไม่รู้ตัว เพื่อจับจดให้รู้ชัดๆ ซึ่งเป็นเรื่องฝืนธรรมชาติและฝืนกำลังของตนถ้าทำเป็นเวลานานๆ (ผมเถึงกับเข้าโรงพยาบาลรักษาตัว รวมถึงมีการส่งผมไปหาจิตแพทย์อีกต่างหาก 5555) ดังนั้นการหยุดฝึกชั่วคราวเป็นการดีที่สุดครับ ลดกำลังสมถะสมาธิที่มีมากเกินไปลงมาก่อน หันไปพัฒนามรรคด้านอื่นๆให้มันทัดเทียมกัน ดำเนินชีวิตตามปกติ แต่มุมมองเราจะเปลี่ยนไปเองโดยอัตโนมัติครับ คือ สังเกตสิ่งต่างๆก็ตามแต่ละเอียดอ่อนลึกซึ้งมากขึ้นและแก้ปัญหาด้วยการล้วงลึกถึงสาเหตุแล้วจัดการกับมัน ผมเองก็แก้ปัญหาวิธีนี้เหมือนกันครับ ขอบคุณคุณ sharpy ที่มาแชร์ ทำให้ผมรู้สึกว่า มีอีกคนที่ผ่านประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันกับผมด้วยเช่นกันครับ
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. มิ.ย. 02, 2016 10:38 am
0
3
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ขอบคุณคุณ oatty ที่กรุณาช่วยอธิบายครับ สมถะ > วิปัสสนา มากเกินไป --> ติดสมาธิ บ้าอภินิหารย์ วิปัสสนา > สมถะ มากเกินไป --> เพ้อเจ้อ บ้าความคิด สรุปไม่ดีทั้งคู่ครับ (ผมติดมาทั้ง 2 อย่างครบแล้ว ตอดสมาธิก่อนแล้วมาบ้าปัญญา 5555) จุดสังเกต คือ พฤติกรรมเปลี่ยนครับ ถ้ากำลังทั้ง 2 ใกล้เคียงกัน ก็เหมือนธรรมดาทั่วๆไป ดังนั้นเราจึงดูฉาบฉวย ยากมากว่าคนไหนประพฤติปฏิบัติดี ยกเว้นได้ได้คลุกคลีเป็นแรมเดือนครับ ผมแต่งงานแล้ว แต่ไม่(ยอม)มีลูกครับ เหตุผลเดียวกับคุณ picatos ครับ
โดย
Pekko
จันทร์ พ.ค. 30, 2016 10:53 am
0
3
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
รบกวนพี่ Pekko ช่วยแชร์ประสบการณ์หน่อยได้ไหมครับ ว่าพี่ Pekko มารู้ตัวว่าหลงทางไปได้อย่างไร? เผื่อจะเป็นประโยชน์ เป็นวิทยาทาน เพื่อที่ว่าเราจะได้มีจุดสังเกตว่าหลงไป โดยไม่รู้ตัว จะได้กลับตัวได้ทัน ขอบคุณครับ ผมเคย post ไว้นานแล้ว ไม่อยาก post ซ้ำอีก (กลัวไปเพิ่มความปรุงแต่งให้ผู้อ่าน) ตอนหลงเราไม่รู้ รู้ตอนมีหลายต่อหลายท่านช่วยเตือน ว่า พฤติกรรมเปลี่ยนไปเป็นคนละคน เพ้อเจ้อ หมกมุ่นแต่นิมิต แต่ผมไม่รู้ครับ กลับยึดเป็นสรณะ ใช้เวลานานนะที่จะกลับมาทบทวนตัวเอง ทรมานมาก กว่าจะกลับมาเป็น(เกือบ)ปกติได้ครับ :) :)
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. พ.ค. 26, 2016 1:44 pm
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
....ผมได้พบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสังเวชสลดใจอย่างมากเมื่อต้นปี ผลคือ หลังจากนั้น ผมปฏิบัติภาวนาอย่างหนัก เนื่องจากมีความอยากหลุดพ้นเป็นแรงผลักดันอย่างยิ่งยวด มีช่วงหนึ่งที่ทำตั้งแต่ตื่นนอน ยันเข้านอน โดยไม่ออกไปไหนเลยนอกจากกินข้าว นับเฉพาะช่วงที่หนักที่สุดนี้กินเวลาประมาณ10วันครับ - ผมทำอานาปานสติ อย่างเดียวรวดเลยครับ คือไม่ได้มีปริยัติในหัวเลย ดูลมแบบอุกฤษณ์อย่างเดียว จิตเกิดวิปัสสนาเองโดยไม่ต้องเอาความคิดมาปรุงแต่ง เคยได้ยินครูบาอาจารย์ท่านว่านั่นเป็นวิปัสสนาแท้ อาจจะเป็นไปได้ว่ามีแรงผลักดันที่เป็นในส่วนของปัญญา คือความเห็นแต่ทุกข์ อยากหลุดพ้นอยู่แล้วในตัว พอเติมสมาธิมากๆเข้าไป จึงเห็นผลในที่สุด - สภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น จิตเกิดความเบื่อหน่ายอย่างหนัก เบื่อแบบเหมือนจะตาย แล้วจิตจะเกิดวิปัสสนาเอง เราจะรู้ได้เองเช่น จิตจับที่ร่างกาย มีครั้งนึงอยู่ๆไปจับที่แข้งรู้สึกถึงกระดูกข้างใน มีหลายครั้งสำหรับตัวผมที่ได้กลิ่นจากในตัว เหม็นอย่างมาก ยิ่งกว่าส้วมแตก หรือบางครั้งก็รู้สึกว่ากายหายไปเลยชั่วแวบหนึ่ง เป็นต้น - ถึงจุดหนึ่งจะเจอผู้รู้ ธาตุรู้ หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ตอนนั้นเหมือนเป็นอิสระจากขันธ์ 5 หลังจากนั้นกิเลสไม่ขึ้นเท่าเดิมอีกเลย ถึงแม้ว่าสมาธิจะเสื่อมเพราะเริ่มคลายการปฏิบัติ แต่ก็ยังมีกิเลสอยู่ เยอะด้วย - ฌาณก็กดกิเลสได้ ถ้าอยากรู้ว่า ที่กิเลสลดๆไปนี่ เป็นโลกุตตระหรือแค่ฌาณกด ก็ต้องลองคลายสมาธิหรือหาเรื่องกระตุ้นกิเลสดู ผมใช้วิธีนี้สำรวจเหมือนกันตอนแรกๆที่ตกใจ แปลกใจจากผลการปฏิบัติ - พลังสมาธิเหลือเชื่อมาก ช่วงที่มีสมาธิดีๆนี่ เกิดสิ่งที่เอาไปเล่าคนอื่นคงหาว่าบ้า เรื่องอิทธิฤทธิ์หรือญาณต่างๆของพระอรหันต์เลยเป็นเรื่องปกติไปเฉยซะงั้น ไม่แปลกเลย ขนาดสมาธิระดับขี้กากก็ยังทำอะไรแปลกๆเล็กๆน้อยๆได้ อยากถามพี่ pekko และพี่ cobain vi ต่อนะครับ รวมถึงพี่ๆท่านอื่นๆด้วยหากปฏิบัติถึงแล้ว อ่านเจอตรงที่ว่าแบกผู้รู้อยู่ อย่างนี้ก็หมดกามราคะ กับโทสะ แล้ว ใช่มั้ยครับ ปฏิบัตินานมั้ยครับกว่าจะถึงตรงนั้น อานาปานสติภาวนาเป็นกรรมฐานที่ให้สมถะและวิปัสสนาไปพร้อมๆ กันครับ ซึ่งจะเห็นความไม่เที่ยงเกิดขึ้นก่อน(ความสั้นยาวของลมหายใจ) แล้วขยับไปสู่การเห็นตัวทุกข์ และอนัตตา ปริยัตินั้นอาจจะเกิดขึ้นในระหว่างที่ปฏิบัติก็เป็นไปได้ เนื่องด้วยว่าเราสนใจสิ่งตรงหน้าคือการหลุดพ้น ไม่ได้มัวมาแบ่งจิตแบ่งภาคสนใจว่าขณะนั้นอะไรคือปริยัติ อะไรคือปฏิบัติ และอะไรคือปฏิเวธ ซึ่งต้องมาทบทวนภายหลังอีกทีหลังจากทำสมถะภาวนาเสร็จสิ้น ส่วนอาการเบื่อหน่ายตัวผู้ปฏิบัติเองจะรู้ดีที่สุดครับว่าเป็นเบื่อหน่ายทางโลกหรือทางธรรม สำหรับการแบกผู้รู้นั้น ก็ยังแสดงว่า ยังมีอวิชชาอยู่ ยังไม่หมดกิเลส/สังโยชน์โดยสิ้นเชิง ถ้าปฏิบัติเข้าสู่ระดับอริยชนกิเลสจะเบาบางลง แต่ไม่หมด ยังต้องขุดและต้องสู้กับกิเลสนิวรณ์ต่อในขั้นที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นครับ ในเรื่องฌาณนั้น เป็นสมาธิที่ในระดับโลกียะครับ ยังมีความไม่แน่ไม่นอนอยู่มาก ซึ่งกำลังของฌาณนี้จะกดข่มระงับนิวรณ์ได้ชั่วคราว ดังนั้นหากกำลังหมด พวกนิวรณ์ก็กลับมาอาละวาดเหมือนเดิม ควรระมัดระวังสมาธิที่ไปข้องเกี่ยวอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ หากเราไม่รู้ทันหรือขาดอาจารย์ผู้ชี้แนะ อาจจะเกิดวิปัสสนูกิเลส ซึ่งเป็นอันตรายมากๆๆ ต่อผู้ปฏิบัติครับ ผมเองก็เคยบ้าสมาธิประมาณ 1 ปีครึ่งครับ (มันเป็นไปเหมือนที่คุณ sakkaphan บอกไว้ว่าเล่าคนอื่นคงหาว่าบ้า) กว่าจะรู้ตัวว่าเราหลง ไม่ใช่แนวทางการหลุดพ้นก็แทบแย่ครับ แต่ถ้าผ่านได้เราก็จะ strong ขึ้น จะไม่มีวันกลับไปทำแบบนั้นอีกเด็ดขาด และในเรื่องระยะเวลาปฏิบัติแล้วสัมฤทธิ์ผลนั้น ขึ้นกับตัวบุคคลครับ บางคนเร็ว บางคนช้า มันมีปัจจัยหลายๆ อย่างเป็นองค์ประกอบ ก็ทำไปเรื่อยๆ ตามกำลังอินทรีย์ของเรา(มรรค8 สติปัฎฐาน 4) โดยใช้โพชฌงค์7 เป็นเครื่องตรวจสอบว่ามาถูกทางหรือมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดครับ
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. พ.ค. 26, 2016 10:31 am
0
3
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
คุณ peerawit ได้อธิบายครบถ้วนแล้วครับ
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. พ.ค. 26, 2016 9:54 am
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ คือ กรรมฐาน 5 ครับ พระอุปัชฌาย์ทุกรูปมีหน้าที่ให้กรรมฐานนี้เป็นพื้นฐานแก่พระบวชใหม่ทุกรูปครับ พิจารณาอนุโลมและปฎิโลมควบคู่กันไปครับ เห็นด้วยกับคุณ cobian_vi ตรงที่ปัญญาเกิดยากมากๆๆๆๆๆๆๆๆที่สุด. ถ้าปฎิบัติมาพอสมควรและถูกทาง ก็สามารถใช้ปัญญาอบรมสมาธิได้ในบางครั้งครับ ควบคู่กับการทำสมาธิเพื่อเจริญปัญญาวิปัสสนา ซึ่งจะตอบโจทย์สำหรับคนที่ไม่สามารถทำฌาณ(อัปปนาสมาธิ)ว่ามีโอกาสก้าวหน้าในธรรมได้เหมือนกัน ส่วนมีผู้รู้แยกออกมาอีกหนึ่งนั้น ผมคิดว่าผมเองก็เป็นเช่นกันครับ มันมีความว่างเกิดตามขึ้นด้วยเป็นมาหลายปีแล้วครับ แต่ช่วงระยะ 4 เดือนหลังมานี้ มันดันมีคำถามผุดขึ้นมาว่า "จะแบกผู้รู้อีกนานมั้ย" ซึ่งผมกำลังหาคำตอบสำหรับคำถามข้อนี้อยู่ครับ....
โดย
Pekko
อังคาร พ.ค. 10, 2016 12:00 am
0
3
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
คุณ cobian_vi ไปไกลมาก อนุโมทนาด้วยครับ
โดย
Pekko
จันทร์ พ.ค. 09, 2016 11:35 pm
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ผมถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ อาจจะมีข้อสงสัยบ้าง ข้อขัดแย้งกันบ้าง เนื่องจากความเห็นที่ไม่ตรงกัน แต่ความเห็นที่ไม่ได้ตรงกัน มิได้แปลความว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูก เพราะอาจจะถูกด้วยกันทั้งหมด (จะมากจะน้อยเป็นอีกเรื่อง) หรืออาจจะผิดเข้ารกเข้าป่าด้วยกันทั้งหมดครับ 5555 อะไรที่ POST ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ ก็เก็บไว้ ถ้าไม่มีประโยชน์ก็โยนทิ้งเสีย และอย่าเพิ่งเชื่อ ตามหลักกาลามาสูตร 10 ครับ ขอบคุณเช่นกันครับ
โดย
Pekko
พุธ เม.ย. 06, 2016 9:56 am
0
2
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
[quote="Pekko"] ควรรู้ในสิ่งง่ายๆ คือ กายของหยาบ ที่เป็นรูปธรรม ให้ถ่องแท้เสียก่อน จึงจะขยับเข้ามาจิตที่เป็นนามธรรม แต่ถ้าใครฝึกดูจิตแล้วประสบความสำเร็จ ก็ทำต่อไปครับ ผมปฎิเสธวิธีการที่นอกเหนือพุทธพจน์ หรือมีการตีความนอกเหนือมา บัญญัติเอง 100% ครับ ผมไม่สนใจด้วย เหมือนกรรมฐาน 40 กอง เราก็เลือกที่ตรงจริตสัก 2-3 กอง อย่างคำบริกรรม พุทโธ ธัมโม สังโฆ มิใช่มากำหนดเลือกคำบริกรรมเอง เพราะอาจารย์ที่ให้กรรมฐานนั้นสำคัญมาก และอาจารย์ที่สอนการพิจารณาจิตก็สำคัญยิ่งหย่อนไม่แพ้กัน สติปัฎฐาน 4 กับอานาปานสติ 16 ก็คือพระสูตรเดียวกันครับ พิจารณา ขันธ์5 จิต และธรรม ขันธ์ 5 คือ รูป 1 นาม 4 รูปขันธ์ คือ กาย นามขันธ์ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาณขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ดังนั้น หมวดกาย คือ ลมหายใจนั้น แฝงด้วยนามธรรมอยู่ คือ ความสั้นยาวของลมหายใจ เมื่อเข้าใจถ่องแท้แล้วขยับเข้ามาที่ละเอียดขึ้น คือ พวกนามขันธ์ ที่อาศัยรูปกาย นั่นคือเวทนาขันธ์ ต้องรู้ปิตี สุข เมื่อเข้าใจถ่องแท้แล้ว นามขันธ์ที่เหลือทั้ง 3 ก็จักเข้าไปด้วย แล้วถึงมาพิจารณาจิต กับธรรมในขั้นที่สูงขึ้นครับ ซึ่งเป็นเรื่องของนามล้วน ในการละตัวกูของกู เป็นสังโยชน์อย่างละเอียดและ เป็นคุณธรรมขั้นสูงครับ สมาธิที่จะพิจารณาจิตอย่างน้อยต้องอุปจาระสมาธิครับ บางคนชำนาญเรื่องคำบริกรรม เมื่อสมาธิทรงตัวแน่วแน่ คำบริกรรมก็จะหมดไปเอง ตรงนี้ให้หยิบธรรมะขึ้นมาพิจารณานั่นคือ สติปัฎฐาน 4 ตัวไหนโผล่ขึ้นมาเด่นชัดซัดตัวนั้นก่อน ส่วนด้านปัญญาญาณนั้น มีถึง 16 ขั้น พอปฎิบัติจริงๆ ไม่มีใครมานั่งนับหรอกครับ ซึ่งถ้าสนใจก็ศึกษาด้านปริยัติเพิ่มเติม ผมพยายามตอบตามที่ผมปฏิบัติมา พยายามอธิบายให้สั้นกระชับ หลีกเลี่ยงการตีความการคาดเดา ส่วนใครที่เกิดมาแล้วถนัดเรื่องการพิจารณาจิตนั้น ก็ทำไปเลยครับ บุญบารมีไม่เท่ากัน แต่สามารถปฎิบัติให้ถึงจุดหมายได้ในระดับเดียวกัน อย่างพระอรหันต์ มี 4 ประเภท แตกต่างกันในเรื่องคุณวิเศษมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ทว่าความมากน้อยไม่เท่ากันนั้น มิได้ทำให้ความเป็นพระอรหันต์มากน้อย ลดหลั่น ยังคงเป็นระดับอรหันต์ เพราะตัวกูของกูไม่มีเหลือแล้ว จึงไม่มีการเปรียบว่า มากกว่า น้อยกว่า หรือเสมอกัน เพราะจิตได้เข้าสู่วิมุตติ ทิ้งของหยาบไปหมดเรียบร้อยแล้วครับ
โดย
Pekko
พุธ เม.ย. 06, 2016 1:07 am
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
รบกวนช่วยขยายความ สมาธิ และ วิปัสนาญาณ ที่ทำให้การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานให้ได้ผลหน่อยได้ไหมครับ? ว่าสมาธิระดับใด และ วิปัสสนาญาณ ขนาดไหนถึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้การดูจิตได้ผลครับ ขอบคุณครับ คำถามนี้ผมตอบไม่ได้จริงๆ ครับ เพราะผมเองก็ยังไปไม่ถึงไหน ผมไม่ถนัดดูจิตครับ เพราะไ่ม่รู้ดูจิตคือดูอะไร แต่ถ้าเรียกว่าพิจารณาจิตเห็นจิตตามพุทธพจน์ ก็ตามตัวอักษรพุทธพจน์เลยครับ เหมาะสำหรับคนที่ปฎิบัติมาพอสมควร ก็น่าจะทราบได้ว่าไปต่อได้อย่างไร ด้วยตัวมหาสติปัฎฐาน ถ้าปฎิบัติถูกทาง ได้ผลอย่างน้อย คือ พระอนาคามี นั่นคือ บริบูรณ์ในศีลสมาธิ ส่วนปัญญานั้นระดับนึง ขอย้อนตอบเรื่องพระอัสสชิกับความเสื่อมถอยสมาธิอีกทีนะครับ พระอนาคามีขึ้นไป มีความบริบูรณ์ด้านศีลกับสมาธิ และมีปัญญาในระดับนึง ส่วนพระอรหันต์ มีความบริบูรณ์ครบทั้ง 3 ประการ การเจ็บป่วยทางร่างกาย ที่ทำให้เข้าสมาธิไม่ได้นั้น มิได้ทำให้ความเป็นอริยะเพิ่มขึ้นหรือลดลงครับ กล่าวคือก็ยังเป็นพระอรหันต์เหมือนเดิม อริยมรรคก็ยังเหมือนเดิมครับ สัมมาสมาธิก็เหมือนเดิม ยังบริบูรณ์ในสมาธิเหมือนเดิมด้วยครับ ดังนั้นการเข้าสมาธิไม่ได้ อันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยนั้นหรือมีเหตุปัจจัยอื่นๆ จึงไม่มีส่วนทำให้สมาธิเสื่อมถอยในระดับพระอนาคามีขึ้นไปครับ ขอบคุณคุณ tum_H ที่กรุณาช่วย post ทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ครับ
โดย
Pekko
อังคาร เม.ย. 05, 2016 12:10 am
0
0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
... จากวิกิพีเดีย จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาวิญญาณขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอนว่าแน่นอน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก ... ผมคิดว่าการอ้างอิงพุทธพจน์โดยใช้จาก wikipedia ระดับอรรถกถาจารย์ หรือในระดับอาจารย์ นี่ล่อแหลมต่อการเอาไปใช้งานมากพอสมควรเลยนะครับ เพราะ อย่างที่คุณ Pekko เข้าใจ คือ นี่เป็นการพูดคุยกันระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ที่มีพื้นฐาน มีจริต มีประสบการณ์ มีอะไรบางอย่างที่สอดคล้องกัน ซึ่งก็ทำให้มีความเข้าใจเฉพาะกลุ่ม เหมาะสมกับการสื่อสารในวาระนั้น ในคราวนั้น ซึ่งมันจะยังไม่ Generalize พอที่จะเป็นธรรมในระดับที่ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับบุคคล ในระดับพุทธพจน์ ซึ่งหากว่ากันโดยการดูจิต ผมขออ้างอิงกลับไปที่ จิตตานุปัสสนา โดยข้อความของพุทธพจน์ดังต่อไปนี้ "... [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิต อยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็ รู้ ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็ รู้ ว่าจิต ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็ รู้ ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็ รู้ ว่าจิต ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็ รู้ ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็ รู้ ว่าจิต ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็ รู้ ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็ รู้ ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคต ก็ รู้ ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็ รู้ ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็ รู้ ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็ รู้ ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็ รู้ ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็ รู้ ว่าจิตไม่ เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็ รู้ ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็ รู้ ว่าจิตไม่หลุด พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ ..." ไม่ทราบว่าที่คุณ Pekko บอกว่าไม่เชื่อถือวิธี "ดูจิต" นี่หมายถึงไม่เชื่อถือในวิธีนี้ หรือ วิธีไหนเหรอครับ? ของวิกิพีเดีย ย่อหน้าสุดท้ายใช่ครับ เป็นการคุยในกลุ่ม ที่ยกมาให้ดูเพิ่มเติมครับ ตอนแรกว่าจะเอาออก แต่ลงให้ครบ ตัดเฉพาะในส่วนจิตทั้งหมดครับ ถ้าเป็นพุทธพจน์นี้ จบครับเชื่อ 100% เรียกได้ว่าจิต เห็น จิต แบบทีละขั้นทีละตอน เห็นแบบนี้คือต้องมีสัมมาทิฏฐิครับ และสัมมาทิฏฐิ จะเกิดขึันได้ต้องมีสัมมาอีก 7 ประการเกิดขึ้นก่อน หรือพร้อมกันด้วยครับ โดยต้องรู้ประเภทจิตให้ทั่ว แต่ปัญหาคือ ดูอย่างไรถึงเรียกว่ารู้ แล้วที่รู้มันถูกทางหรือเปล่า ควรรู้ในสิ่งง่ายๆ คือ กายของหยาบ ที่เป็นรูปธรรม ให้ถ่องแท้เสียก่อน จึงจะขยับเข้ามาจิตที่เป็นนามธรรม แต่ถ้าใครฝึกดูจิตแล้วประสบความสำเร็จ ก็ทำต่อไปครับ ส่วนที่ผมไม่เชื่อ คือ การดูจิตที่ปราศจากสมาธิและวิปัสนาญาณแล้วได้ผลครับ การดูจิตมิใช่เรื่องง่าย ทำได้ทันที ผมเข้าใจ(คนเดียว)เองนะว่า คนส่วนมากคิดว่า ดูจิตเป็นเรื่องง่าย ลัดขั้นตอน ได้ผลทันที ซึ่งผมว่ามันไม่จริงครับ
โดย
Pekko
จันทร์ เม.ย. 04, 2016 7:52 pm
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
... ถ้าเทียบเคียงกับกรณีพระอุบลวรรณาเถรีคงไม่ต่างครับ ส่วนสมาธิเสื่อมถอย กับการเข้าสมาธิไม่ได้ มันคนละเรื่องกันครับ เพราะสมาธิเองก็อาศัยขันธ์ 5 ที่มีความแปรปรวนเช่นกัน แต่เมื่อเข้าได้ก็มีแต่เจริญขึ้น ไม่หลงทางตั้งแต่พระโสดาบันครับ ... รบกวนสอบถามเพิ่มเติมนะครับ ว่ากรณีของพระอุบลวรรณาเถรีถูกข่มขืน กับ กับกรณีของพระอัสชิที่มีความรำคาญ มีความเดือดร้อน มีความเสื่อมในสมาธิ นี้ คุณ Pekko มองว่าเหมือนกันอย่างไรเหรอครับ? พอดีผมยังไม่เข้าใจประเด็นในการเปรียบเทียบอ่ะครับ ผมมองว่า ถึงเป็นพระอรหันต์ แต่ถ้ามีความไม่พร้อมทางกาย หรือมิทันเตรียมตัวที่จะเข้าสมาธิในขณะนั้น ไม่ได้ถือเป็นการเสื่อมถอยทางสมาธิครับ
โดย
Pekko
จันทร์ เม.ย. 04, 2016 7:21 pm
0
0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
อยากทราบกรณีของพระอุบลวรรณาเถรีหน่อยครับ คุณ Pekko ว่าเป็นอย่างไร รบกวนช่วยแนะนำพระสูตรที่เกี่ยวข้องให้หน่อยได้ไหมครับ? ขอบคุณล่วงหน้าครับ ท่านโดนล่วงละเมิดทางเพศครับ ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ สงสัยเพิ่มเติมครับ ว่าทำไมคุณ Pekko ถึงไม่เชื่อถือวิธีดูจิตเหรอครับ? ทั้งๆ ที่การดูจิตก็เป็นเหมือนส่วนหนึ่งในสติปัฏฐาน 4 ครับ ดูอะไรจิตครับ จิตเป็นนามธรรม เรื่องละเอียดอ่อน ผมไม่ชอบการกล่าวอ้างคำครูบาอาจารย์ที่เลื่อนลอย ผมว่าเราเป็นการหลงดูความคิดของตัวเอง หลงอารมณ์เสียมากกว่า ผู้กล่าวต้องอธิบายให้ชัดครับ การดูจิตหรือดูที่จิตต้องดูในแนวไตรลักษณ์ ต้องมีกำลังวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นผลครับ ต้องมีตัวรู้เกิดขึ้นก่อน(รู้จริงๆ มิใช่มโน) ซึ่งวิปัสสนาญาณก็จำต้องอาศัยกำลังสมาธิที่พอดีกันครับ ผ้ปฏิบัติควรเริ่มต้นในหมวดที่ง่ายเสียก่อน คือ ต้องดูหมวดกายที่เป็นของหยาบให้เห็นสันตติเสียก่อน หรือถ่องแท้เรื่องรูป นาม จึงขยับมาหมวดที่สลับซับซ้อนขึ้นครับ ผมไม่สนับสนุนในการลัดขั้นตอน โดยหวังผลเลิศเลอที่มองข้ามขั้นมูลฐานครับ http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3100&postdays=0&postorder=asc&start=20 ลองพิจารณาหัวข้อ "เดินทางลัดที่ปลอดภัย", "ประหยัดคำพูด"และ"หลักธรรมแท้" นะครับ ว่ากล่าวกับบุคคลใด บุคคลที่รับฟังมีพื้นฐานอาชีพ มีการปฏิบัติมากน้อยเพียงไร จากวิกิพีเดีย จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาวิญญาณขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอนว่าแน่นอน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก บางที ผมอาจไม่ชอบกับคำว่า "ดูจิต" ก็เป็นได้ครับ
โดย
Pekko
จันทร์ เม.ย. 04, 2016 6:12 pm
0
0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
เมื่อก่อนผมก็รู้สึกสงสัยว่าทำไม อวิชชา ถึงเป็นตัวสุดท้ายที่ยากสุด แต่พอได้ใช้ชิวิตในการทำงาน พบปะผู้คน รวมทั้งดูจิตของตน มันทำให้เรารู้ว่า สิ่งนี้ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น จนนำไปซึ่งความหลงผิด กล่าวคือรู้สักแต่ว่ารู้ รู้ไม่จริง ทำให้ความไม่รู้เหล่านี้ หลอกให้เราหลงว่าคือความรู้ เข้าใจผิดจนถึงกระทั่ง บางครั้งเห็นหลายๆคนเข้าวัด ปฏิบัติธรรมอยู่เนื่องๆ แต่ทำไมหลังออกจากการปฏิบัติ ก็ยังกลับมาเหมือนเดิมอยู่เลย แต่ความเป็นจริงตามหลักของพระศาสดา พระโสดาบัน ยังอยากสวย อยากรวย อยากมีคู่ครอง แต่เป็นความอยากภายใต้ขอบเขตของศีล ที่คนทั่วไปทำไม่ได้ หลังๆความคิดเลยเปลี่ยน มองคนแต่ภายนอก การแต่งกาย การใช้ชีวิตนี่ไม่ได้เลย เพราะบางคนที่เป็นแบบที่เรากล่าวมานี่ คุณธรรมของเขาสูงกว่าเราหลายเท่านัก บางครั้งเห็นพระอาจารย์บางท่าน ที่ท่านใช้คำพูดแรง ภาษาพ่อขุน หรือดูเหมือนจะเป็นผู้นำ ทำในสิ่งที่เราคิดว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ บางคนถึงขั้นพูดว่าได้เสื่อมจากความเป็นอรหันต์ไปเสียแล้ว แต่จริงๆแล้ว ความคิดของเรานั้นเองที่ถูกหลอก จากสิ่งข้างต้นที่ผมกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า อุปนิสัยของเดิมที่สั่งสมมา จะติดตัวเรามาทุกชาติ แก้ยาก มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่แก้ได้ แต่ไม่มีประโยชน์อันดันที่จะแก้อุปนิสัยนี้ เพราะความเป็นอรหันต์ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่มีทางเสื่อม กล่าวคือคุณความดีของความเป็นอรหันต์ เทียบไม่ได้เลยกับอุปนิสัยดั้งเดิม เห็นด้วยกับคุณ tum_H ครับ ทางสายกลางของแต่ละปัจเจกชน ไม่เหมือนกัน เพราะบุญ-กรรม ไม่เท่ากัน ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบ ดีกว่า แย่กว่า หรือเสมอกัน พระพุทธองค์สอนให้รู้จักรูป นาม แต่ไม่ได้กล่าวถึงการวัดนาม เป็นรูป เพราะมิใช่การดับทุกข์ที่แท้จริง แต่ศาสตร์ด้านอื่นๆ ชอบวัดนามเป็นรูป เช่น วิทยาศาสตร์วัดความร้อนเป็น อุณหภูมิ หรือเศรษฐศาสตร์ วัดความรวยความจน รายได้มาก รายได้น้อย แม้วิชาชีพผมเองคือบัญชี วัดกำไรขาดทุน maximum profit ซึ่งการวัดแบบนี้เป็นการเพิ่มทุกข์ซ้ำทุกข์ซ้อนมากขึ้นไปอีกครับ กริยาอาการที่แสดงออก กับเจตสิกจิต บางทีอาจจะไปในทิศทางเดียวกัน หรือสวนทางกัน ที่รู้ดีที่สุดคือตัวคนนั้นเองครับ เราไม่สามารถรู้แทนเขาได้(ยกเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)แต่ที่แย่ที่สุด คือ ตัวเองไม่รู้ตัวเองครับ โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อถือวิธีการ "ดูจิต" ครับ ดังนั้นสนใจแต่การประพฤติปฏิบัติของเราเองดีที่สุดครับ ไม่ส่งจิตออกนอกขอบเขตกายและใจของตนก็เพียงพอแล้วครับ ไม่ได้แวะทู้นี้ซะนาน จัดไปรวดเดียวอีก 3 post รวมเป็น 4 post คงไม่รำคาญนะครับ
โดย
Pekko
จันทร์ เม.ย. 04, 2016 4:51 pm
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ผมขออนุญาตตัดมาบางช่วงนะครับ พ. ดูกรอัสสชิ เธอไม่มีความรำคาญ ไม่มีความเดือดร้อนอะไรบ้างหรือ? อ. พระเจ้าข้า แท้ที่จริง ข้าพระองค์มีความรำคาญไม่น้อย มีความเดือดร้อนอยู่ไม่น้อยเลย. พ. ดูกรอัสสชิ ก็ตัวเธอเองไม่ติเตียนตนเองได้โดยศีลบ้างหรือ? อ. พระเจ้าข้า ตัวข้าพระองค์เองจะติเตียนข้าพระองค์เองได้โดยศีลก็หาไม่. พ. ดูกรอัสสชิ ถ้าหากว่า ตัวเธอเองติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอ จะมีความรำคาญและความเดือดร้อนอะไร? อ. พระเจ้าข้า ครั้งก่อน ข้าพระองค์ระงับกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) ได้อย่าง ลำบาก จึงไม่ได้สมาธิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธิ จึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่เสื่อมหรือหนอ. พ. ดูกรอัสสชิ สมณพราหมณ์ที่มีสมาธิเป็นสาระ มีสมาธิเป็นสามัญญะ เมื่อไม่ได้ สมาธินั้น ย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายไม่เสื่อมหรือหนอ. ดูกรอัสสชิ เธอจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง? อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบ ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี . ถ้าอริยสาวกนั้น ได้เสวยสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่า เสวยทุกขเวทนา ก็ทราบชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าหากว่า เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบ ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่า เสวยสุขเวทนา ก็ ปราศจากความยินดียินร้าย เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าหากว่า เสวยทุกขเวทนา ก็ปราศจาก ความ ยินดียินร้าย เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าหากว่า เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ปราศจาก ความยินดียินร้าย เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ย่อมทราบชัดว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน. หากว่า เสวยเวทนา(กาย) มีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ถ้าเสวยเวทนามี ชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนา(ใจ) มีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิต เพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น. อย่าเรียกผมว่า พี่ เลยครับ มิบังอาจ ผมอายุน้อยกว่าพี่ picatos ครับ :D :D :D ตอนนี้ ติดเกม online อยู่(ตอนแก่) เลยไม่ได้คร่ำเคร่งสมาธิครับ เลยลืมทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธครับ :oops: :oops:
โดย
Pekko
จันทร์ เม.ย. 04, 2016 4:19 pm
0
0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
เห็นด้วยครับ ว่าอริยสาวกก็มีทุกข์โดยสภาพจากความเป็นมนุษย์อยู่ แต่ที่แปลกใจ คือ สมัยก่อนเข้าใจว่า อรหันต์ที่แจ้งในสุขและทุกข์แล้ว เมื่อประสบกับสภาวะทุกข์ทางกาย ก็จะอยู่กับมันโดยความเข้าใจอย่างถ่องแท้จนไม่รำคาญ ไม่เดือดร้อนอะไรกับสภาวะทุกข์ทางกายที่เกิดขึ้น โดยเห็นทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์ จิตไม่หวั่นไหวไปกับทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น และเข้าใจว่าพระอรหันต์ที่มีความสมบูรณ์ในศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว จะมีวสีในสมาธิที่ไม่เสื่อมถอย แต่พอได้มาอ่านพระสูตรนี้ จึงทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้ว พระอรหันต์แม้แต่ในระดับปัญจวคีย์ทั้ง 5 ก็ยังมีสภาพนี้ได้ พี่ Pekko พอจะอธิบายสภาพที่เกิดขึ้นให้ผมเข้าใจมากขึ้นได้ไหมครับ ว่าเพราะ อะไรทำให้พระอรหันต์ถึงยังมีความรำคาญ ความเดือดร้อน และการเสื่อมถอยของสมาธิได้อยู่ครับ? เพื่อจะได้เอาไปใช้ในการศึกษา และพัฒนาต่อไปของตัวผมเองในอนาคต ขอขอบคุณล่วงหน้าด้วยครับ ถ้าเทียบเคียงกับกรณีพระอุบลวรรณาเถรีคงไม่ต่างครับ ส่วนสมาธิเสื่อมถอย กับการเข้าสมาธิไม่ได้ มันคนละเรื่องกันครับ เพราะสมาธิเองก็อาศัยขันธ์ 5 ที่มีความแปรปรวนเช่นกัน แต่เมื่อเข้าได้ก็มีแต่เจริญขึ้น ไม่หลงทางตั้งแต่พระโสดาบันครับ สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งมั่่นที่จะดับทุกข์อันเกิดจากอุปาทานที่มีอวิชชาเป็นรากเหง้า มิใช่ใช้ระงับทุกขเวทนาทางกาย แต่จิตรู้แจ้งจะไม่ยึดถือความเจ็บปวดทางกายเป็นอุปทานอันก่อให้เกิดภพชาติใหม่ (ขึ้นอยู่กับระดับพระอริยะ) ไม่ใช่ว่าไม่รู้จักเจ็บจักปวดครับ ส่วน คำว่า "เห็นทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์ จิตไม่หวั่นไหวไปกับทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น" ต้องระวังให้มาก เพราะ คำว่า"อุเบกขา"กับ"การทำมึนๆ เฉยๆ" มันแตกต่างกันมาก ไม่อาจเปรียบเทียบกันได้ครับ อุเบกขา คือ รับรู้ทุกอย่าง แต่วางใจให้เป็นกลาง แต่พุทธศาสนายอดเยี่ยมตรงคำว่า "ปัญญา" คือ การเข้าไปกำหนดรู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องสัจธรรม ว่าสุข ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ เหตุเกิดสุข กรรมดี กรรมชั่ว กรรมกลางๆ ผลของกรรม การแก้มูลเหตุที่ก่อให้เกิดกรรมที่พาหลงในสังสารวัฎคืออะไร ส่วนการทำมึนๆเฉยๆ คือ ทำไม่รับไม่รู้ความเจ็บปวดนั้น ผมคิดว่ามันคนละเรื่องกันครับ ส่วนการยกพระสูตรขึ้นมานั้น ต้องพิจารณาว่า ผู้สนทนาธรรมระหว่างกัน คือใคร ใจความสำคัญเข้าใจได้เฉพาะใครครับ
โดย
Pekko
จันทร์ เม.ย. 04, 2016 3:53 pm
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ ที่แชร์ข้อคิด และประสบการณ์นะครับ ได้อ่านที่พี่ tum_H เขียนถึงได้ลองอ่าน อัสสชิสูตร ถึงพึ่งรู้ว่าพระอรหันต์ก็มีความรำคาญ มีความเดือนร้อนใจอยู่ และทำให้รู้ว่าแม้แต่ระดับพระอรหันต์ สมาธิก็ยังเสื่อมถอย จึงไม่อาจระงับกายสังขารได้ ซึ่งช่วยเปิดโลกทัศน์ให้ผมเป็นอย่างมาก ได้อ่านถึงประสบการณ์ ความเพียรพยายาของพี่ๆ เพื่อนๆ แล้วก็รู้สึกยินดีกับทุกท่านด้วย ก็ขอให้พี่ๆ เพื่อนๆ เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ อริยสาวกทุกระดับ ย่อมหนีไม่พ้นทุกข์ประจำสังขารครับ แต่ล่วงทุกข์อุปทานไปตามลำดับขั้น รูป1 นาม4 (ขันธ์5) เป็นของคู่กันมีการแปรปรวน มีความเสื่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อแปรปรวนก็เกิดสภาวะที่ทนได้บ้าง ทนไม่ได้บ้าง หรือทนได้ยาก ก็แสดงว่าไม่สามารถยึดเป็นที่ตั้งที่พึ่งพาได้ เพราะไม่ใช่ของเรา บังคับให้เป็นไปตามที่ต้องการไม่ได้ มรรค 8 สติปัฏฐาน 4 เป็นทางสายเอกหรือเครื่องมือเพียงอย่างเดียวเข้าสู่ความรู้ในจิตที่ถูกต้อง เมื่อรู้ถูก จิตก็จะเข้าสู่วิมุตติหลุดพ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อเข้าสู่วิมุตติ จึงไม่มีความกังวลในมรรค 8 เพราะรู้เสมอว่าขันธ์ 5 มีความแปรปรวน มีความเสื่อม และสื่งที่ต้องอาศัยขันธ์ 5 ย่อมเหมือนกัน แต่ท่านไม่ได้กังวลจนเกิดทุกข์อุปาทานครับ
โดย
Pekko
จันทร์ เม.ย. 04, 2016 12:04 pm
0
0
Re: การลงทุนใน LTF หลังขยายระยะเวลาการถือครองเป็น 7 ปีปฏิทิน
คงไม่ซื้อแล้วครับ เพราะที่ผ่านมา NAV กองที่ผมลงทุนลดลงมากผิดปกติ ไม่คุ้มกับภาษีที่ประหยัดได้ครับ
โดย
Pekko
อังคาร ม.ค. 26, 2016 2:17 pm
0
0
Re: เวลานี้หุ้นกลุ่มไหนที่เรียกว่า Defensive ในความคิดของทุก
Defensive ในแง่ไหนครับ ถ้าในแง่ผลประกอบการ พวกหุ้นสาธารณูปโภค และความจำเป็นของมนุษย์ขั้นมูลฐาน น่าจะมีความเสี่ยงที่น้อยที่สุด ถ้าในแง่ราคาหุ้น ทุกตัวมีความเสี่ยงพอๆกัน ขึ้นกับปัจจัยประสิทธิภาพของตลาดครับ
โดย
Pekko
อังคาร ม.ค. 19, 2016 1:04 pm
0
3
Re: ผลการลงทุนปี 2558 เป็นอย่างไรกันบ้างครับ
กำไรรวม 1.62% มูลค่าหุ้นในพอร์ตลดลง 16.27% แต่ได้กำไรจากขาย(เปลี่ยนตัว) และเงินปันผลมาช่วยดันกำไรแบบเฉียดฉิวครับ
โดย
Pekko
อังคาร ม.ค. 05, 2016 10:49 am
0
3
Re: ข่าวCPALL ล่าสุด เรื่องผู้บริหารไม่มีธรรมาภิบาล
ผมส่งให้พี่ NB ทาง PM แล้วนะครับ ขอแก้ความเข้าใจนิดนึง พี่ตู่ คือ คุณวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บลจ.บัวหลวงครับ ควบตำแหน่งนายกสมาคมฯด้วย ทั้ง 2 กองทุนของท่าน ติดอันดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ CPALL ตามข้อมูลของท่าน wanwaan ครับ ต้องเช็คอีกทีตอนปิดสมุดทะเบียน หรือรายงานกองทุนประจำไตรมาส ว่าถือสัดส่วนเท่าไหร่ ส่วนคุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ เกษียณจากการทำงานด้านนี้ ใช้ชีวิตท่องเที่ยวรอบโลกกับครอบครัว และเขียนบทความการลงทุนให้พวกเราได้อ่านกันครับ
โดย
Pekko
พุธ ธ.ค. 23, 2015 4:19 pm
0
1
Re: ข่าวCPALL ล่าสุด เรื่องผู้บริหารไม่มีธรรมาภิบาล
ตัดสินใจจะขายทิ้งมันทั้งหมดวันนี้ รวมถึงสลับสับเปลี่ยนกอง LTF ด้วยซึ่งจัดการให้เสร็จสิ้นภายในต้นปีหน้าครับ เห็นด้วยกับพี่nbครับ เพื่อนผมเพิ่งถามเรื่องLTF ผมก็แนะนำกองที่ไม่มีcpallเช่นกัน เรียน พี่ Pekko พี่ Anubist ครับ ผมขออนุญาต ลอก เลยได้มั๊ยครับ ว่ากองไหนไม่มี CPALL, CPF ยิ่งถ้าได้ พี่ตู่ วิวรรณ บริหาร กองด้วยยิ่งดีครับ ปล. หากหน้าไมค์ กังวลว่าชี้นำ ขอหลังไมด์ก็ได้นะครับ ขอบพระคุณอย่างสูงครับ เดี๋ยวหาข้อมูลก่อนครับ
โดย
Pekko
พุธ ธ.ค. 23, 2015 3:18 pm
0
1
Re: ข่าวCPALL ล่าสุด เรื่องผู้บริหารไม่มีธรรมาภิบาล
ขอถามพี่ NB คุณดำ และท่านอื่นเป็นความรู้ครับ ออกมาตัดสินบอกว่าผิดในช่วงเวลานี้ แล้วผู้ถือหุ้นท่านอื่นๆที่อนุมัติการทำรายการเข้าซื้อปี 56 จะถือว่าเสียผลประโยชน์หรือไม่ครับ เพราะว่าขาดข้อมูลในส่วนนี้ที่ใช้เป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจ
โดย
Pekko
พุธ ธ.ค. 23, 2015 1:39 pm
0
0
Re: ข่าวCPALL ล่าสุด เรื่องผู้บริหารไม่มีธรรมาภิบาล
การแสดงจุดยืนด้วยการตัดสินใจบางอย่างด้วยตัวเองเช่น ขายหุ้น cpall ออกไป, ไม่เข้า 7/11, ผมคิดว่าเป็นสิทธ์ส่วนบุคคลที่ทุกคนสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองครับ แต่การออกมาป่าวประกาศ เรียกร้อง ให้คนอื่นต้องทำเหมือนๆกัน การประนามว่า คนที่ซื้อหุ้น cpall หรือคนที่ยังถือหุ้น cpall อยู่ เป็นคนที่เงินซื้อได้ ผมชักจะรู้สึกว่ามันมากเกินไปครับ บางทีการที่เราออกมาชี้นิ้วบอกว่าคนนู้น คนนี้มันไม่ดี ต้องลงโทษให้หนัก ใครไม่เห็นด้วยกับการลงโทษให้หนัก ถือว่าเป็นคนไม่ดี ผมรู้สึกมันทะแม่งๆนะครับ รู้สึกจะมีพาดพิงถึงผมหน่อยๆกับข้อความนี้ "อย่าให้เงินซื้อความเป็นคน ซื้อความถูกต้อง คนจะรวย-จน มันวัดกันที่หัวใจและคุณธรรมครับ ขอเพียงใจไม่อับจน นั่นคือความรวยที่ยั่งยืนครับ" ผมว่าผมไม่ได้ post พาดพิง ประนาม ตำหนิจำเพาะเจาะจงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนะครับ งง....
โดย
Pekko
พุธ ธ.ค. 23, 2015 12:11 pm
0
3
Re: ข่าวCPALL ล่าสุด เรื่องผู้บริหารไม่มีธรรมาภิบาล
เห็นด้วยกับพี่ NB ครับ ผมก็อยู่ในกลุ่มที่ 2 ครับ ในเมื่อมีคำตัดสินว่า "ผิด" มันก็คือ "ผิด" ส่วนนิยามคำว่า "ทุจริต" แล้วแต่ปัจเจกบุคคลครับ สำหรับผมมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมต่อนักลงทุนรายอื่นใน CPALL ที่ต้องรับผิดชอบหนี้ร่วม สำหรับการจ่ายแพงในการทำ tender offer Makro ที่มีการไล่ราคาขึ้นมาล่วงหน้าจากกลุ่มนี้แบบ Insider ถึง 187,000 ล้านบาทครับ นอกจากนี้ที่แถลงการณ์ ณ ช่วงนั้น ว่าจะไม่ลดเงินปันผล(90 สตางค์) ทำไมปีที่ผ่านมาถึงลด และ license makro ที่ไม่ยอมแยกราคา Price-in จากผถห.รายอื่นของ Makro (ถ้าแยกออกมา CPALL จะจ่ายน้อยกว่านี้อีก) เพื่อเอามาทำตลาดค้าส่งอีก 11 ประเทศ ผ่านมา 2 ปี จนถึงปัจจุบัน ณ เวลานี้ วินาทีนี้ ได้ทำตามที่ประกาศไว้หรือไม่?????? ตัดสินใจจะขายทิ้งมันทั้งหมดวันนี้ รวมถึงสลับสับเปลี่ยนกอง LTF ด้วยซึ่งจัดการให้เสร็จสิ้นภายในต้นปีหน้าครับ "อย่าให้เงินซื้อความเป็นคน ซื้อความถูกต้อง คนจะรวย-จน มันวัดกันที่หัวใจและคุณธรรมครับ ขอเพียงใจไม่อับจน นั่นคือความรวยที่ยั่งยืนครับ"
โดย
Pekko
พุธ ธ.ค. 23, 2015 11:30 am
0
10
Re: Moneytalk@SET19Dec15เศรษฐกิจนอกเศรษฐกิจในและหุ้นไทยปี59
ขอบคุณครับ
โดย
Pekko
จันทร์ ธ.ค. 21, 2015 12:26 pm
0
0
Re: ความเสี่ยงของหุ้นกลุ่มธนาคาร
โดยธรรมชาติ หุ้นสถาบันทางการเงิน มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว พิจารณาได้จากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน และแหล่งรายได้มาจากความเชื่อมั่นและกระดาษ แต่ต้องยอมรับว่า ทุกประเทศ มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อภาคธุรกิจการเงิน ซึ่งจัดเป็นอุตสาหกรรมหลักนอกเหนือจากยานยนต์-อสังหา-ค้าปลีก เพราะเป็นตัวกลไกปฐมภูมิที่ผลักดันและช่วยอัดฉีดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นทุนนิยม หรือสังคมนิยม ดังนั้นเศรษฐกิจภาพรวมประเทศใด มีปัญหาย่อมส่งผลกระทบต่อภาคสถาบันทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในทำนองเดียวกันหากสถาบันทางการเงินประเทศใดส่งสัญญาณว่าประสบปัญหาเรื่องการปล่อยสินเชื่อ และคุณภาพลูกหนี้(หนี้เสีย) ก็ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งในเศรษฐกิจจุลภาคและมหภาค ผมกลับมองว่านักลงทุนควรให้ความสำคัญกับรายได้รวม ทั้งในแง่คุณภาพ ปริมาณ รวมถึงแหล่งที่มาเป็นอันดับแรก เพราะยังไงก็ตามธุรกิจที่มีรายได้สูงย่อมได้เปรียบและมีความยืดหยุ่น ทนทานกว่า หากเศรษฐกิจโดยรวมประสบปัญหาชะลอตัวชะงักงันถดถอย เพราะยังมีความสามารถในการทำมาหาได้ที่สูงกว่า มีโอกาสบริหารความคุ้มทุนได้ดีกว่าธุรกิจที่มีรายได้รวมต่ำ (เสี่ยงขาดทุนน้อยกว่า) ภาคธนาคารในประเทศไทย ผมมองว่ามีหลายแห่งที่น่าสนใจทั้งในแง่อัตราส่วน P/E P/B div เทียบกับความมั่นคงความเข้มแข็งกิจการที่เป็น Blueship ของอุตสาหกรรมอื่น หรือกิจการเล็กๆ บางแห่ง no-name ที่มีอัตราส่วนให้ผลตอบแทนต่อนักลงทุนใกล้เคียงกัน จริงอยู่ที่ต้องระมัดระวังในเรื่องของ "คุณภาพกำไร" นั่นคือ หนี้เสียและการตั้งสำรอง รวมถึงเงินดำรงกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (basel III) แต่ว่ามีพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558 เน้นเรื่องการรับผิดในการค้ำประกัน และพรบ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 โดยประกาศใช้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งทั้ง 2 ฉบับล้วนเอื้อประโยชน์ต่อสถาบันการเงิน และน่าจะช่วยอุดช่องโหว่นี้ได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ
โดย
Pekko
จันทร์ ธ.ค. 21, 2015 12:16 pm
0
3
Re: สถานการณ์ ตอนนึ้ คุณ กล้า หรือ กลัว ครับ
ตอนนี้ ขอตอบว่า "งงครับ" เพราะไม่ได้ติดตามปีกว่า เพิ่งมาขยับปรับพอร์ตเล็กน้อยก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ตัดพวกขาดทุนเน่าๆ ออก กำลัง desire พอร์ตใหม่ให้เหมาะกับวัยวุฒิ และจุดมุ่งหมายใหม่ครับ
โดย
Pekko
อังคาร ธ.ค. 15, 2015 1:52 pm
0
1
Re: ค่าเสื่อมสะสม สามารถเอาเงินที่กันไว้มาใช้เลยได้หรือไม่?
ผมเป็นนักบัญชีไม่เห็นงงเลยนี่ครับ ขออธิบายให้ผู้สนใจเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ ค่าเสื่อมราคาเกิดจากมีการซื้อทรัพย์สินถาวรที่เป็นรูปธรรม เช่น อาคาร อุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 1 รอบบัญชี ยกเว้นที่ดินเพียงอย่างเดียว เมื่อมีการซื้อทรัพย์สินถาวรเกิดขึ้น ในท้ายที่สุดเงินของกิจการจะหายไป(ลดลงเนื่องจากจ่ายชำระ) แต่กิจการจะบันทึกซื้อทรัพย์สินถาวรนั้นเป็นค่าใช้จ่ายก้อนเดียวทันทีนั้นเลยไม่ได้ ต้องปรับปรุงทยอยลดมูลค่าลงตามอายุการใช้งานที่เกิน 1 รอบบัญชี ในรอบปีบัญชีแต่ละปีนั้น ต้องมีทยอยลดมูลค่าทรัพย์สินถาวรลงตามอายุการใช้งาน ซึ่งการลดลงดังกล่าวถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า " ค่าเสื่อมราคา" แต่ทว่าการทยอยลดมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่สามารถกระทำการโดยตรงไปยังมูลค่าสินทรัพย์ถาวรดังกล่าวได้ เนื่องจากขัดกับมาตรฐานการบัญชีเรื่องมูลค่าทุนที่ได้มา และประมวลรัษฎากรมาตรา 65 จึงมีบัญชีคู่ขนาน(contra account) ไว้เพื่อสะสมยอดค่าเสื่อมราคาทั้งหมดหรือเรียกว่า "ค่าเสื่อมราคาสะสม" โดยนำไปค่าเสื่อมราคาสะสมนี้ไปแสดงการหักล้างกับมูลค่าทุนของสินทรัพย์ถาวรในงบแสดงฐานะการเงิน(งบดุล) ส่วนเรื่องกันเงินลงทุนนั้น ผมไม่เข้าใจคำถามครับ ถ้าให้ตอบก็เหมือนกับคุณ cyber-shot ที่ตอบได้ดีมากๆเลยครับ ตัวกิจการเองควรจัดทำงบกระแสเงินสดว่าในปีนั้นมีการรับ/จ่าย และมียอดคงเหลือเท่าไร เพียงแต่การทำงบกระแสเงินสด มี 2 วิธี คือ Direct และ Indirect โดยกิจการเกือบ 100% มักจะใช้วิธี Indirect นั่นคือนำกำไรสุทธิของงบกำไรขาดทุนเป็นตัวตั้งต้นในการทำงบกระแสเงินสด นำรายการที่ไม่ได้ทำให้เงินสดนั้นเปลี่ยนแปลงจริงในรอบบัญชีนั้นมาปรับปรุงก่อน แล้วจำแนกประเภทตามกิจกรรมเงินที่มาหรือใช้ไปของเงินทั้ง 3 กิจกรรม( 1.ดำเนินงาน 2.ลงทุน และ 3.จัดหาเงิน) ให้ถูกต้องครับ
โดย
Pekko
อังคาร พ.ย. 04, 2014 4:30 pm
0
7
Re: สงสัยจริง ๆ ครับ ถามเรื่องภาษีครับ
ยื่นภาษีบุคคลธรรมดาครึ่งปี ภงด 94 ใช่ไหมครับ ถ้าใช่ลองพิจารณาความเห็นผมดังนี้ 1. บุคคลธรรมดาเสียภาษีจากรายได้หักกับค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายครับ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายคิดเป็น%ที่หักได้ตามประเภทเงินได้พึงประเมิน 40(8) 2. หากค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายน้อยกว่ารายจ่ายจริง ก็ให้เก็บใบเสร็จหรือหลักฐานการจ่ายเงินจริงดังกล่าวเพื่อให้กรมสรรพากรพิสูจน์ว่าค่าใช้จ่ายจริงดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับการหาประโยชน์รายได้จริงหรือไม่ ซึ่ง ณ จุดจุดนี้บุคคลธรรมดาพิสูจน์ยากครับ นิติบุคคลจะได้เปรียบกว่า 3 การคิดภาษีจากรายได้ เอาไปคูณกับ 0.005 นั้นเป็นผลของข้อ 2 ครับ แม้ว่ากิจการของบุคคลธรรมดามีผลขาดทุนจริงๆ แต่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาครึ่งปีจากรายรับ(รายได้)ครับ ข้อเสนอแนะของผม คือ ควรจัดตั้งเป็นนิติบุคคลครับ เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด ครับ ถึงจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเกี่ยวกับงบการเงินอยู่บ้าง แต่ระยะยาวประโยชน์เชิงรูปภาษีจะคุ้มค่ามากกว่าครับ ผมไม่ทราบว่า คุณ todsapon ประกอบกิจการขายสินค้าที่มี Vat หรือไม่ ถ้ารายได้ขนาดนี้มาจากสินค้า Vat ก็จำต้องจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยครับ
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. ก.ย. 11, 2014 1:22 pm
0
2
Re: ทำอย่างไรกันครับ เมือหุ้นที่เล็งไว้ มีราคาแพงเกินไป
รอก่อนครับ แต่ถ้าทนไม่ไหว ก็ซื้อติดปลายนวมเล็กน้อย
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. ส.ค. 28, 2014 10:49 am
0
1
Re: จัดเก็ภาษีมรดก มีผลกระทบดีหรือไม่ดีกับประเทศไทย และนักลง
เจอคุณ anubist อีกแล้วครับในกระทู้ทำนองแบบนี้ :P เคยมีคนตั้งกระทู้แนวนี้ตามนี้ครับ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56772 (แต่มี User บางท่านไปโพสต์นอกประเด็นเกี่ยวกับการคอรัปชั่นของนักการเมือง ซ้ำพออธิบายเรื่องนี้ตรงประเด็นภาษีมรดกไม่ได้ก็ออกไปแขวะแนวอื่น แถมดูถูกดูแคลนถากถางความคิดและวิชาชีพผมอีก) ขออนุญาตยกซ้ำตรงประเด็นนี้นะครับ เนื่องด้วยผมทำงานใกล้เคียงกับด้านภาษีนี้ ไปสรรพากรก็หลายครั้ง สำหรับผมไม่เห็นด้วยแน่นอนครับกับการเก็บภาษีมรดกของคนที่ทำมาหากินอย่างสุจริต เพราะหลักภาษีปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าไม่เป็นธรรม มีอคติ(ธงในใจ)ต่อผู้เสียภาษีครับ ในส่วนของผู้ที่สนับสนุนภาษีมรดกนั้น ก็ได้ให้ความเห็นว่าภาษีมรดกมีข้อดีมากกว่าข้อเสียคือ (1)ช่วยให้ประชาชนในสังคมมีโอกาสทางเศรษฐกิจเสมอภาคและลดความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ ช่วยตรงไหนครับ มีกลไกอื่นอีกมากที่ไม่ใช่ระบบภาษีแก้ไขได้ เช่น การปฏิรูปการศึกษา สาธารณสุข การสร้างงานสร้างอาชีพตามภูมิภาคต่างๆ (2)เป็นภาษีทางตรง ผู้เสียภาษีจะผลักภาษีไม่ได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน แน่นอนครับภาษีทางตรง ของใครของมัน แต่ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจกับการเสียภาษีทางตรง ทำไมถึงโยงเป็นเรื่องเดียวกันได้ ทำมากเสียภาษีมาก ทำน้อยเสียภาษีน้อย แล้วพวกที่ไม่ทำงานแต่ได้ภาษีคนอื่นไปใช้ฟรีๆล่ะ สำหรับคนที่ทำงานมากเสียภาษีมาก คิดบ้างไหมว่าพวกเขามีความสุขสบายจริง มันก็ต้องแลกเปลี่ยนกัน เช่น เวลา ความเครียด ความเสี่ยงฯลฯ มีระบบภาษีใดช่วยพวกเหลือพวกเขาอย่างเต็มใจได้บ้างครับ (3)ทำให้เกิดการกระจายความมั่งคั่ง โดยกระจายทรัพย์สินให้แก่ญาติพี่น้องหรือสาธารณะกุศล ซึ่งเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนร่ำรวยกับผู้มีรายได้น้อย ใช้ระบบภาษีมากระจายความมั่งคั่ง ผมยังไม่เห็นว่าประเทศใดจะใช้ระบบภาษีนี้แก้ได้ มีแต่สร้างความเชื่อเท่านั้นว่าจะแก้ไขปัญหากระจายได้ (ดูตัวอย่างประเทศซิมบับเว่เทียบเคียง) ส่วนเรื่องยกให้ใครบริจาคให้ใคร มันเป็นสิทธิ์ส่วนตัวของผู้มอบเพราะเขาลำบากหาทรัพย์สุจริตได้ (4)เป็นเหตุจูงใจให้เจ้าของมรดกทำงานหรือขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมเงินไว้ให้ทายาทเสียภาษีมรดก คนที่มีมรดกยกให้ทายาท แสดงว่าส่วนใหญ่รู้จักทำงานขวนขวาย สร้างเนื้อสร้างตัว เก็บเงินเก็บทองถึงเหลือให้ลูกหลาน เพื่อมิให้ลูกหลานลำบากเป็นภาระของสังคมไม่ดีหรือครับ แล้วไม่สงสารคนรุ่นก่อนๆ บ้างหรือครับว่าเหนื่อยยากเพียงใด จะมาสบายตอนแก่ก็ไม่ได้ ต้องทำงานอีก สำหรับตระกูลใดที่รวยอยู่แล้วก็เป็นเรื่องของเขาที่จะรักษาทรัพย์สมบัติ เพราะเราเองก็เห็นตัวอย่างหลายตระกูลรุ่นลูกรุ่นหลานแทบสิ้นเนื้อประดาตัวหลายตระกูลเช่นกัน (5)เป็นเหตุจูงใจให้ผู้รับมรดกมีความรู้สึกว่าต้องพึ่งตนเองในการทำงานหรือลงทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่มุ่งมรดกอย่างเดียว เนื่องจากต้องเสียภาษีมรดก ข้อนี้ไม่มีความเห็นครับ เพราะขึ้นอยู่กับการอบรมของแต่ละครอบครัวครับ ทุกวันนี้ก็เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทางตรงมากอยู่แล้ว(รายได้จัดเก็บอัตราก้าวหน้า ค่าใช้จ่ายให้สิทธิ์หักในอัตราถดถอย) ปีนึงก็แสนกว่าบาท ไม่เคยคิดแม้แต่เลี่ยงภาษี มีเงินออมฝากประจำก็เก็บภาษีดอกเบี้ย มีหุ้นก็เก็บภาษีเงินปันผล ตายไปยังจะตามมาเก็บภาษีมรดก แถมยังมีแนวความคิดแปลกๆ ที่จะเก็บภาษีคนโสดอีก (ดีนะเนี่ยที่เพิ่งแต่งงานเลยรอดตัวไป) สิทธิ์เสรีภาพของพลเมืองก็ไม่ได้ต่างกับคนอื่น (ทุกวันนี้นั่งรถเมล์ นั่งเรือไปทำงานทุกวัน ส่วนรถก็จอดทิ้งไว้ที่บ้านตั้งแต่ได้มา 3 ปีกว่าแล้ว) แต่เวลาจ่ายภาษีกลับเป็นอีกเรื่อง ผมคิดว่าหากประเทศใดก็ตามเน้นเรื่องการเก็บภาษี หรือชูเรื่องนี้เป็นเรื่องหลัก ประเทศนั้นเตรียมแย่ได้เลยครับ ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ มีความคิดในแง่ลบกับคนร่ำรวย(อิจฉา) เขาจะรวยจะจน จะเสียภาษีมาก จะเสียภาษีน้อย(ไม่นับรวมพวกเลี่ยงภาษี) มันก็เป็นเรื่องของเขา สนใจเรื่องของเราดีกว่าว่าจะพาครอบครัวฝ่าวิกฤติต่างๆ ไปได้อย่างไร หันมาพัฒนาตัวเองให้ร่ำรวยจากทรัพย์สินสุจริตของเราแล้วมาเสียภาษีอย่างสุจริตดีที่สุดครับ และ ผมขอแบ่งประเภทผู้รับมรดกเอง ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ดังนี้ครับ 1 ผู้รับฯ ทำมาหาเลี้ยงชีพเองได้ 2 ผู้รับฯ ทำมาหาเลี้ยงชีพเองไม่ได้ หรือยังไม่ได้ เช่น 2.1 บุตรหลานที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน 2.2 บุพพาการีวัยเกษียณ อายุมาก ทำงานหนักๆ ไม่ได้แล้ว 2.3 ผู้พิการทุพพลภาพ หรือเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นประจำ สำหรับผู้รับมรดกของผม คือ แม่ที่อายุเกือบ 70 ครับ ผมต้องการเก็บทรัพย์สมบัติที่หาได้จากน้ำพักน้ำแรงมาเลี้ยงบุพพาการียามผมไม่มีชีวิตอยู่ ไม่ต้องการให้แม่เป็นภาระสังคม ไม่พึ่งพาเบี้ยผู้สูงอายุ มันเป็นเรื่องผิด เห็นแก่ตัวมากงั้นหรือ ส่วนวิธีเลี่ยง ผมคิดออก 3 วิธีครับ 1 แปลงทรัพย์สินที่ระบุชื่อ เป็นทรัพย์สินที่ไม่ระบุชื่อ เช่น ทอง เพชร อัญมณี พระเครื่อง งานศิลปะ จัดเก็บให้ดี (อย่าใส่ตุ่มฝังดินที่บ้าน หรืตูเซฟที่คอนโดนะครับ เดี๊ยวต้องหาเงินจ่ายค่าภาษีบ้านคอนโดอีก) 2 ใช้วิธีของคุณ draco ครับ สร้างนอมินีจดทะเบียนแถวเกาะเคย์แมน หรือบริติช เวอร์จิน ไอแลนด์ 3 ถือสองสัญชาติ หรือแปลงสัญชาติไปยังประเทศที่ยังไม่มีการจัดเก็บ ผมคิดว่าข้อ 2 และ 3 ถือเป็นความเสียหายใหญ่หลวงทางเศรษฐกิจของประเทศครับ เสมือนเงินไหลออก ขณะที่ประเทศเราควรพึ่งพาเงินลงทุนจากคนสัญชาติไทยโดยตรงมากกว่า ลดการพึ่งพาเงินลงทุนข้ามชาติ(เอ เป็นวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าล่ะเนี่ย 555 ) ดังนั้นต้องเข้าใจทั้งภาพใหญ่ภาพย่อยเสียก่อน ถึงจะชั่งใจได้ว่าจะเก็บภาษีมรดกส่วนนี้หรือไม่ อย่างไรครับ และ ต้องกลับมาดูปัญหาข้างบนแล้วว่า เกิดจากสาเหตุใด เช่น จนโอกาสเข้าไม่ถึงทรัพยากร อย่างนี้ต้องเข้าไปช่วยเหลือเร่งด่วน แต่ถ้าจนความคิด เช่น ขี้เกียจ อิจฉาริษยา ชอบเบียดเบียน อยากได้ของคนอื่นฟรีๆ หรือข้องเกี่ยวกับอบายมุข ยาเสพติด ถ้าเป็นประเภทนี้คงต้องวางอุเบกขาเพียงอย่างเดียว การแก้ไขปัญหาด้วยระบบภาษีต่างๆ ทุกประเภทเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ คือ อ้างความไม่เท่าเทียมกันในสังคม อ้างความเหลื่อมล้ำ ดึงทุกคนให้อยู่ในระดับเดียวกันมากที่สุด แต่เนื้อแท้แล้วต้องดูว่าคนที่เสียภาษีเยอะๆ นั้นว่าทำอะไร ถ้าหากคอรัปชั่นก็ให้แจ้งปปง.ครับ มิใช่ทำตัวเป็นศาลเตี้ยชี้ถูกผิดเอง แต่ถ้าทำมาหากินสุจริตต้องเข้าไปพิจารณาดูว่า คนเหล่านั้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวเองอย่างไร เป็นเรื่องน่าศึกษา มิใช่แค่สนใจว่าปีนี้คนนั้นคนโน้นเสียภาษีเท่าไร ต้องมากกว่าเดิมนะ หรือทำไมเสียน้อยกว่าปีกลาย หมกเม็ด ซ่อนอะไรหรือเปล่า และหากทุกคนให้มาเท่าเทียมกัน แล้วเก็บภาษีได้น้อยลง ส่วนที่ขาดหายไปจะกล้าเก็บพวกที่ได้รับยกเว้นหรือไม่เคยจ่ายไหม จะได้เท่าเทียมกันทั้งสังคม (ตัวอย่างเห็นได้ชัด คือ การเพิ่มอัตรา VAT ครับ) ผมกังวลเองว่า คนที่โดนภาษีมรดกจะเป็นชนชั้นกลาง และชนชั้นแรงงานตามหัวเมืองใหญ่ๆ มากกว่า เพราะคนที่มั่งมีจริงๆ คงมีวิธีเลี่ยงได้ บุคคลธรรมดาทั่วประเทศต้องจ่ายทั้งหมด แค่คิดเรื่องรถยนต์ รถรับจ้าง มอเตอร์ไซค์ ปศุสัตว์ สังหาริมทรัพย์พิเศษ และอสังหาริมทรัพย์ เป็นฐานภาษีที่ใหญ่และเม็ดเงินเป็นจำนวนมาก พร้อมกับความโกลาหลในสังคมหากมีการประกาศใช้ อย่าลืมความเป็นนิติรัฐ หลัก 6 ประการนะครับ ภาษีมรดกมิใช่ภาษีรายได้ คนในสังคมไม่ว่าจะจนจะรวยทุกคนย่อมมีทรัพย์สินมรดก ซึ่งต้องเสียเหมือนกันหมด จะยกเหตุเสน่หา ความจนมาอ้างนั้นเพื่อไม่เสียนั้นคงไม่ได้ ทุกคนต้องเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขครับตามหลักภราดรภาพครับ ถึงผมไม่เห็นด้วย แต่ก็ยอมรับครับ เมื่อคุณกล้าจะเก็บ แล้วคุณกล้าที่จะมีอะไรจะคืนเป็นสวัสดิการที่ดีขึ้นต่อผู้เสียภาษีซ้ำซ้อนบ้างไหมครับ?
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. ส.ค. 28, 2014 10:18 am
0
5
Re: ปกติบริจาคมูลนิธิอะไรกันบ้างครับ
ผมตั้งงบทำบุญไว้ปีละ 4-5 หมื่นบาท และทยอยเพิ่มขึ้นทุกปีตามกำลังที่คิดว่าไหวและไม่เดือดร้อนใคร แบ่งเป็น 1. มูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์ ปีละประมาณ 20,000 บาท 2. มูลนิธิวชิรพยาบาล ปีละ 5,000 บาท 3. กฐินพระราชทานตามสมเด็จฯ ปีละ 10,000 บาท 4. โรงเรียนหรือวัดเล็กๆตามซองทำบุญของคนรู้จักและของบริษัทฯ รวมประมาณ 5,000 บาทครับ
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. ส.ค. 07, 2014 4:39 pm
0
5
Re: ถามเกี่ยวกับการทำบัญชีครับ
ถ้ามีหนี้ที่สูญแต่ได้รับคืนจะบันทึกในงบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสดอย่างไรดีครับ งบกำไรขาดทุน บันทึกเป็นรายได้อื่น ไม่ต้องเสีย VAT เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระเงินไม่เกี่ยวกับ Vat (ไม่ใช่ non-vat นะครับ) งบดุล จะแสดงผลกระทบ 2 ส่วนเมื่อปิดบัญชีประจำปีครับ คือ เงินสดหรือเงินฝากธนาคาร ควบคู่กับกำไรสะสมในงวดนั้น งบกระแสเงินสด ใช้วิธีไหนครับ ถ้าใช้ ทางอ้อม Indirect ที่ใช้กำไรสุทธิบรรทัดแรกนั้น ให้หักออกจากกำไรสุทธิก่อนครับ เรียกว่ากำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน แล้วจึงมาแสดงแหล่งที่มากระแสเงินสด 3 แหล่ง คือ จากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงินครับ ถ้าใช้ ทางตรง direct จะเปรียบเทียบงบดุล 2 รอบบัญชีต่อเนื่องครับ วิธีทางอ้อม Indirect ง่ายสุดครับ (คนทำง่าย) แต่เอาไปใช้ต่อยอดอะไรไม่ค่อยได้ และอีกไม่นานมาตรฐานการบัญชี จะกำหนดให้ใช้วิธีทางตรง Direct เพียงอย่างเดียวครบ :vm: ซึ่งผู้ใช้งบการเงินอย่างนักลงทุนน่าจะชอบมากกว่า เพราะจะลงรายละเอียดไปถึงยอดขาย ซึ่งสามารถคำนวณอายุ และ Turnover สินทรัพย์ได้เองเลยครับ
โดย
Pekko
พฤหัสฯ. ก.ค. 03, 2014 1:40 pm
0
1
Re: ว่าด้วยเรื่องเช็คเด้ง ขอผู้รู้แบ่งปันด้วยครับ
ผมเคยมีประสบการณ์บ้าง แต่ก็ไม่ถึงขั้นเชี่ยวชาญนะครับ แนะนำว่าควรปรึกษาทนายความก่อนครับ ตามความคิดผม ผมเห็นว่าควรฟ้องทั้งแพ่งและอาญาครับ การที่แลกเช็คแล้วไม่ให้เช็คเพื่อประวิงเวลาเพื่อให้คดีเช็คที่เด้งหมดอายุความทางอาญา ถ้ายังไม่ได้เช็คใหม่ก็ควรรีบดำเนินการฟ้องอาญาเช็คใบที่เด้งให้เร็วที่สุด(ป้องกันการหลบหนี) ส่วนเรื่องลายเซ็นต์กับวงเงินนั้นอาจเป็นเรื่องส่อเจตนาล้มละลายครับ ซึ่งคุณควรสืบทราบเรื่องทรัพย์สินฯ และพยายามติดต่อเจ้าหนี้ร่วมของโรงงานแห่งนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจที่จะดำเนินการขั้นต่อไปครับ
โดย
Pekko
ศุกร์ มี.ค. 21, 2014 4:30 pm
0
1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
พุทธศาสนา มี 3 ส่วน คือ ปริยัติ(ทฤษฎี) ปฏิบัติ(การกระทำ) และปฏิเวธ(ผลหรือความก้าวหน้า) ทั้ง 3 ส่วนต้องไปด้วยกันตามกำลังความรู้ความสามารถของตนให้เพียงพอ หรือพอดีตามทางสายกลางของแต่ละท่าน ดังนั้นแนวทางของท่านหนึ่งอาจจะเหมาะสมกับตน และแนวทางของอีกท่านหนึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับตน ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะผู้ปฏิบัติแต่ละท่านมีกำลังบุญ บารมี หรือมีกรรมติดตัวมาสั่งสมมาไม่เหมือนกัน แต่แก่นของพุทธศาสน์นั้นเหมือนกัน คือ ต้องการให้ผู้คนพ้นทุกข์ หยุดกิเลสอาสวะ ปราศจากอวิชชาที่เป็นบ่อให้เกิดสังสารวัฎฎโดยเด็ดขาด โดยมีอริยสัจ 4 เป็นตัวลับปัญญา ทั้งปัญหาและการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอริยมรรค 8 "เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ" อาจจะปรับให้เหมาะสมในแต่ละท่าน เช่น ฐานะ ช่วงอายุ แต่ก็อยู่ในสัมมาทั้งแปดประการ ซึ่งสัมมาทั้ง 8 ประการ ก็มีระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงตามศีลและปัญญา แต่ที่จะเห็นได้เด่นชัดคือสัมมาอาชีโว (อาชีพชอบ) และสัมมากัมมันโต (เลี้ยงชีวิตชอบ) ซึ่งบริบทอีกทั้ง 6 อาจจะไม่สอดคล้องกับหัวข้อกระทู้นี้เท่าใด แต่ทุกท่านที่ Post มานั้นก็เป็นประโยชน์แก่ผู้แสดงเอง และผู้อ่านไม่มากก็น้อย ผมมิเคยบวชเรียน แต่สนในด้านนี้ตั้งแต่เด็ก แล้วขาดช่วงไปในวัยรุ่น-วัยต้นทำงาน เมื่อประสบความทุกข์ยิ่งใหญ่ในชีวิต จึงหันกลับมาเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา อาศัยฝึกเอง มโนเอง ปริยัติเอง ปฏิบัติเองโดยความหลง จนเกือบเอาชีวิตไม่รอด 2 ครั้ง ติดวิปัสสนูกิเลสเป็นอาจิณโดยไม่รู้ตัว พฤติกรรมเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มทุกข์ซ้ำทุกข์ซ้อนอีกประมาณปีครึ่ง จนพระที่รู้จักทราบข่าวเข้า ท่านเมตตาต่อว่าแรงๆ จนได้สติ+ศึกษาธรรมะจากช่องวัดสังฆทานสมัยที่ท่านหลวงพ่อสนองยังมีชีวิตอยู่ จากนั้นก็ดีขึ้นตามลำดับครับ ผมคิดว่าผมพอเข้าใจท่านอาจารย์เด็กใหม่บ้าง(แต่จะเข้าใจจริงหรือเปล่า ผมก็ไม่ทราบ) ถ้าไม่มีปริยัติเสียเลยนั้นก็ดำเนินต่อไม่ได้ แต่ถ้าปริยัติมากไปก็สับสนไม่รู้ความว่าแปลยังไง พระธรรม 84,000 ขันธ์ อาจจะมากจนเกินความจำเป็นของท่านอาจารย์ แต่ท่านอาจารย์เองต้องเลือกและกลั่นกรองในสิ่งที่ท่านทำได้ และไม่บีบรัด เคร่งครัดมากเกินไป เพื่อต่อยอดปฏิบัติ แล้วออกดอกออกผลปฏิเวธได้ก็พอแล้วครับ
โดย
Pekko
อังคาร ก.พ. 18, 2014 12:27 pm
0
3
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
หากผมจะรบกวนขอความรู้จากพวกเรา จะได้ไหมครับ ผมอยากได้คำแนะนำถึง "ปัญญาอบรมสมาธิ" ว่าควรต้องนำไปปฏิบัติอย่างไรครับ ผมฟัง mp3 หลวงตามหาบัวเรื่องนี้หลายครั้งมาก แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรนำไปปฏิบัติอย่างไร และได้เคยเรียนถามพระอาจารย์สุชาติ วัดญาณ รวมทั้งได้ฟัง mp3 ที่ท่านตอบคำถามเดียวกันนี้กับคนอื่น ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ และไม่แน่ใจครับ ท่านใดจะกรุณาแนะนำเป็นธรรมทานด้วยจะเป็นพระคุณครับ ก่อนอื่น ผมต้องออกตัวก่อนว่า ผมจะเป็นผู้รู้หรือเปล่านั้น ผมไม่ทราบ แต่ผมขอแสดงความคิดเห็นนะครับ ผมคิดว่าคุณ picatos อธิบายไว้น่าจะครบถ้วนแล้ว แต่ผมจะพยายามอธิบายในส่วนที่ผมเข้าใจตามที่สิ่งที่ผมประพฤติปฏิบัติเองดังนี้ ครับ หัวใจศาสนาพุทธ = โอวาทปาฏิโมกข์ ทาน+ศีล +ภาวนา ซึ่งต้องมีครบทั้ง 3 เสมือนเป็นจุด 3 จุดบนเส้นรอบวงของวงกลมเดียวกัน ภาวนา คือ ทำจิตใจให้ผ่องแพ้ว สมกับคำว่า พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือ ใช้ปัญญากำหนดรู้เพื่อตีแตก"อวิชชา" โดยใช้กำลัง สมถะ+วิปัสสนา เพื่อให้เกิดภาวนมยปัญญา จะเห็นได้ว่า ทาน+ศีล+สมถะ+วิปัสสนา รวมความคือ มรรค ข้อปฏิบัติในการดับทุกข์ เมื่อเข้าใจมรรคแจ่มแจ้ง ธรรมอีก 3 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ ก็จะปรากฏตัวและเฉลยตัวมันเอง สมถะ คือ กรรมฐาน 40 กอง และวิปัสสนา คือ ความรู้แจ้งแทงไตรลักษณ์ กำหนดรู้ว่า อะไรคืออนิจจะลักษณะ อะไรคือทุกขลักษณะ และอะไรคืออนัตตะลักษณะ โดยใช้ปัญญามาพิจารณาสิ่งที่อยู่ในกายในจิต(เรา) และร่วมใช้กรรมฐานบางกองได้เช่นกัน ผู้ปฏิบัติมักจะทำสมาธิก่อนเพื่อรวบรวมกำลัง สำรวมอินทรีย์ โดยมีจุดหมายคือข่มนิวรณ์เบื้องต้นไว้ชั่วคราว เช่น ใช้คำบริกรรม กำหนดลมหายใจ เดินจงกรม เพ่งกสิณ ฯลฯ จากนั้นจะเจริญวิปัสสนาปัญญาญาณ เช่น กายคตานุสติ เพ่งอสุภะ กรรมฐาน 5 (ผม ขน เล็บ ฟัน และหนัง) หรือหาคู่ธรรมนำมาเปรียบเทียบ เพื่อให้จิตเดินปัญญารู้แจ้งแทงไตรลักษณ์ ดับอวิชชา กำจัดล้างนิวรณ์ แต่ผู้ปฏิบัติถ้ายังไม่ถึงขั้นอริยะบุคคลขั้นสูง ในบางครั้งกำลังสมาธิอาจจะมีหรือสั่งสมไม่มากพอที่จะข่มนิวรณ์ไว้ชั่วคราวได้ แต่ถ้าบุคคลนั้นในภาวะปกติมีกำลังปัญญาใกล้เคียงกับกำลังสมาธิก็อาจจะพลิกใช้ปัญญาพิจารณา เช่น หากใช้อานาปานสติภาวนาดูลมหายใจ ก็ให้พิจารณาธรรมง่ายๆ ทันทีว่า ลมหายใจที่เข้าออกนั้นสั้นยาว หยาบหรือละเอียดอย่างไร หรือนำไปเปรียบเทียบก่อนหน้านี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (ดึงอนิจจังขึ้นมาพิจารณาอย่างง่ายๆ) ให้จิตมาจดจ่ออยู่ที่สติโดยใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือ หรืออาจจะกำหนดว่าแม้แต่สมาธิก็อาจมีลักษณะไตรลักษณ์ไม่เที่ยงเช่นกัน คือมีเหตุและมีปัจจัยปรุงแต่งว่าทำไมเข้าสมาธิได้บ้างหรือไม่ได้บ้างเมื่อดำริคิดได้อย่างนี้ จิตก็จะวกกลับมาสู่ภายในตัวธรรมตามธรรมชาติของมันเอง (เหมือนคำกล่าวเรื่องจิตในจิตนอกและผลของจิต) ส่งให้สติก็กลับมาเด่นชัดขึ้น เมื่อปัญญาถึงพร้อมด้วยสติ นิวรณ์ก็อยู่ไม่ได้ สมาธิก็จะเริ่มตั้งมั่นขึ้นเองครับ
โดย
Pekko
ศุกร์ ม.ค. 17, 2014 2:22 pm
0
1
Re: สอบถามเรื่องภาษีบุคคลธรรมดา
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 23 ธันวาคม 56 มีผลใช้ในวันถัดไป รายละเอียดตาม Link ข้างล่างนี้ครับ http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/575_56.pdf
โดย
Pekko
อังคาร ธ.ค. 24, 2013 10:20 am
0
3
Re: สอบถามเรื่อง "สินค้าคงเหลือ" ครับ
จะเห็นภาพขัดเจนขึ้น ถ้าบริษัทฯ มีการใช้ต้นทุนมาตรฐานครับ ณ วันสิ้นงวด(ส่วนใหญ่เป็น 31 ธ.ค.) บริษัทฯ จะต้องมีการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือในงบดุลครับ ถ้าสินค้าคงเหลือมีอายุเกิน 1 ปี จะต้องตั้งด้อยค่า หรือมาพิจารณาว่ามันเป็นทรัพย์สินถาวรหรือไม่ ถ้าใช่ให้เปลี่ยนประเภทครับ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาเรื่องการเสื่อมสภาพสินค้า กรณีสินค้านั้นมีอายุ เช่น กลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม ยา และหากวัตถุดิบเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่สามารถตรวจสอบราคาในตลาดโลกได้ก็ต้องปรับมูลค่าเหมือนที่คุณ anubist โพสท์ไว้ครับ โดยจะต้องใช้ราคาสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ หรือราคาตลาด หรือราคาทุน โดยเลือกตัวที่ต่ำที่สุดครับ ซึ่งปกติการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือปกติเป็นเรื่องใหญ่ และยุ่งยาก จึงมักไม่ค่อยทำกัน คงทำเพียงการตั้งด้อยค่าเรื่องอายุสินค้าครับ เช่น สินค้าไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานาน non-movement และสินค้าเสื่อมสภาพหรือล้าสมัยเท่านั้นครับ
โดย
Pekko
เสาร์ ธ.ค. 14, 2013 12:40 am
0
2
310 โพสต์
of 7
ต่อไป
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
Pekko
ระดับ:
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
อายุ:
46
กลุ่ม:
สมาชิก
งานอดิเรก:
พุทธศาสนา และหุ้น
ความถนัด:
พนักงานเอกชน
ที่อยู่:
บางพลัด
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
ศุกร์ พ.ย. 10, 2006 7:41 pm
ใช้งานล่าสุด:
พฤหัสฯ. ก.ค. 27, 2023 12:51 am
โพสต์ทั้งหมด:
676 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.03% จากโพสทั้งหมด / 0.10 ข้อความต่อวัน)
ลายเซ็นต์
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว