หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
humdrum
Joined: อาทิตย์ ธ.ค. 10, 2006 10:17 pm
1961
โพสต์
|
กำลังติดตาม
|
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - humdrum
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
Letter to value friends : การตั้งคำถามกับตัวเอง http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/images-6.jpg บทความนี้เป็นบทความสุดท้ายที่ผมจะเขียนในปีนี้ end of June ครบรอบปีในการบริหารกองทุทุนของผม หลักจากเขียน letter to shareholders แล้ว ผมได้ลองเขียน Letter to Value Friends ดูบ้าง นี่คือสิ่งอยากจะฝากน้องๆ ในขณะมีคนสนใจแนวการลงทุน value investing ในอัตราพอๆ กับดอกเบี้ยทบต้น ผมสังเกตว่าการลงทุนแนว vi นั้นไม่ได้เหมาะกับนิสัยทุกคนเสมอไป สำหรับความคิดผม great value investors มีความอดทนต่อความขัดแย้งหรือความคลุมเครือต่างๆ ได้ดี ทำไมถึงคิดอย่างนั้น ? ลองทำดูครับ มันไม่ง่ายที่ใครเป็นคนที่อยู๋ความคลุมเครืออย่างนั้นได้ ไม่เชื่อไปทำอย่างนี้ดู ลองคิดไตร่ตรองถึงด้านตรงข้ามกับความคิดของตัวเองก่อนอื่น ตั้งคำถามว่าสิ่งที่เราทำมันผิดตรงไหนบ้าง ปัญหาของคนที่มาลงทุนแนวนี้คือ อยู่ที่ว่าตัวเราหรือปล่าวว่ากำลังคิดเรื่องอะไร การอยู๋ในโลกของ imcomplete iformation อย่างยุคปัจจุบัน สิ่งที่ช่วยเราได้ ไม่ใช่เงิน แต่เป็นการตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต มันเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุดสำหรับผมในโลกทุนนิยมนี้ซึ่งมันสร้างความสะดวกสบายให้กับพวกเรามากมาย แต่อีกด้านมันก็ทำลายสัญชาติญาณการเอาตัวรอดของคนไปทีละน้อยด้วย จะว่าไปใครละไม่ชอบความสบายในชีวิต มีเหมือนกันครับ ใกล้ตัวหน่อย เช่น นักบวชในศาสนาต่างพุทธ เป็นต้น แล้วคำถามก็ต่อว่า ทำไมพระถึงมีความนักปราชญ์มากกว่าคนกลุ่มอื่น ถ้าเราเคยบวช เราจะรู้เลยว่า ความรู็สึกต้องต่อสู้กับความหิวของตัวเองเป็นอย่างไร คำถามมากมายจะมีเต็มหัวเราไปหมด ถ้าเรามีความอดทนมากพอที่จะกล้าเผชิญกับตัวเองอีกด้านที่เราไม่เคยพบเลย และผ่านจุดนั้นไปได้ เราจะครองครองสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า สติ มันเป้นของขวัญที่ล้ำค่าที่สุดสำหรับคนแต่ละคน แต่อยู๋ที่ใครจะครอบครองมันได้เท่านั้น ผมจะกลับมาที่ การตั้งคำถามกับตัวเอง ครับ การตั้งคำถาม ทำให้เราได้ใช้ประสาทสัมผัสของเราในการสำรวจสมมุติฐานต่างๆ และนำเราไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และ ค้นพบโอกาสใหม่ๆ อีกมากมาย และที่สำคัญที่เราสนใจกันมากที่สุดในเว็บนี้ ใช่ครับ มันรวมถึงโอกาศในการทำเงินให้ท่านเป็นอิสระในงานประจำอีกด้วย คนภายนอกไม่ทราบว่าเราทำกำไรกันได้มากขนาดนั้นได้อย่าง พวกเราเคยบอกต่อสาธารณะชนในบทความต่างๆ มากมาย แต่จะมีสักกี่ใครที่มองออกว่า เรามีสามารถที่พิเศษมากกว่าคนปกติในการจัดการกับความเครียดอันเกิดจากความขัดแย้ง พวกเราทำได้อย่างไร? value investing checklist : เรามีความอดทนต่อความไม่แน่นอนสูงหรือไม่ ? Market Inefficient การเงินทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก พอร์ตของเรากำไรยังไม่ทบต้นเลย แต่สภาวะความคลุมเครือต่างๆ กับทบต้นทวีขึ้นเรื่อยๆ ไปแล้ว ผมยอมรับอย่างเต็มภาคภูมิเลยว่า เราไม่สามารถมองทะลุภาพลวงตาของความไม่แน่นอนไว้ได้ตลอดเวลา เราจึงต้องถ่อมตัวและเตรียมเครื่องมือ margin of safety เพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เข้ากับสภาวะความคลุมเครือที่เกิดขึ้นในตลาดตลอดเวลา พวกเราปรับสมมุติฐานสิ่งต่างๆ ให้เข้ากันได้กับความคิดที่ขัดแย้งทั้งจากของตัวเราเอง และ ของนักลงทุนส่วนใหญ่ ที่เราเรียกตามอาจารย์ใหญ่ของเรา เบน แกรม ว่า Mr. Market คำสอนนี้ของเบน แกรม เป็นคำสอนที่เป็น paradox มากครั้งแรกที่ผมได้ยินและไม่ยอมรับ ผมตั้งคำถามกับตัวเองมากกมาย และวันหนึ่ง ผมก็มีสติพอที่จะทำให้ผมตาสว่างที่จะไม่ทำตามคำแนะนำของ Mr.Market แทนที่ ผมเริ่มหาผลประโยชน์จากความผิดปกติในจิตใจของเขาที่ดูเหมือนจะผูกติดภายใต้สภาวการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย มันเหมือน เขาเป็นแฝดสยามกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไรอย่างนั้น การ "พลิกแค่นิดเดียว" ของผมในครั้งนั้น สร้างประสิทธิผลกำไรของกองทุนให้มีความมั่นคงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน และได้ทำให้ผมมีโอกาสที่ยิ่งใหญ๋ที่มาเขียนจดหมายถึงท่านอยู่ ณ ขณะนี้ checklist : เรามีความสามารถในการหยั่งรู้ภายในตัวตนดีเยี่ยมหรือไม่? ไม่ต้องพูดถึง Warren Buffett หรือ value investors ทั่วโลกที่มีชื่อเสียงว่าพวกเขามีคุณสมบัตินี้ฝังอยู๋ในยีนของพวกเขา แม้กระทั่งนักเกร็งกำไรระดับโลก อย่า Stenven Cohen และ Pual Jones ก็ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ สำหรับพวกเขา ผมคิดว่า เขาถือเป็นพันธกรณีตลอดชีวิตที่ต้องคิดไตร่ตรองความรูสึกนึกคิดของตนเอง คำถามที่คุณเราสนใจคือ พวกเราก็ทำได้ใกล้เคียงเสี้ยวหนึ่งเหมือนพวกเขาไหม คำตอบผมแบบอมยิ้มคือ เราก็ทำได้ครับ มันเรียกว่า สติ นั่นเอง checklist : เราฝึกสติกันอย่างไร ? ผมแนะนำให้ท่านทำหน้าหนาๆ และเก็บความยิ่งพยองของตนเองเอาไว้ให้มิดที่สุด แล้วเดินถามคนรอบข้างที่เขาเกลียดท่านที่สุด ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ไปลองถามจุดด้อยและจุดแข็งของเรา สิ่งที่เราต้องปรับปรุง ฟังอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะสิ่งที่เราไม่อยากฟัง หรือ ไม่คาดคิดว่าจะได้ยิน อย่าชี้แจง อย่าตัดสินโต้แย้ง อย่าออกความเห็น ท่องคาถา "shut up" ฟังอย่างเดียว อย่าลืมพกสมุดติดตัว เราต้องใช้มันเพื่อจดบันทึกความคิดของคนอื่นที่มีต่อเรา มองอย่างรอบครอบว่าเขาโจมตีความคิดเราด้วยเหตุผลหรืออารมณ์ ckecklist : เราผ่านการเปลี่ยนแปลงต่อการโดนวิจารณ์จากคนที่เกลียดเรามาแล้วโดยที่เราไม่โต้แย้งหรือไม่? เราต้องฝึกเรื่องความอดทนต่อสภาวะความคลุมเครือของตัวเองก่อนอื่นใด อันที่จริงก่อนไปถามคนอื่นแล้วไปมีเรื่องหยิกแขนตบตีกับเขา เราลองนั่งจัดอันดับความอดทนต่อสภาวะความคลุมเครือของตัวเองว่าอยู่ระดับไหน มีกี่ระดับ ? ผมไม่ทราบครับ ตัวคุณเท่านั้นที่รู้ แต่พอมี guide lines ผมจัดระดับล่างสุด คือ checklists : เรามีความต้องการความแน่นอนอยู่ตลอดเวลาใช่หรือไม่ คำอธิบาย : ถ้าคุณชอบด่วนสรุปในประเด้นต่างๆ ผมคิดว่าคุณอาจมีปัญหากับความคิดเรื่องการอดทนกับความขัดแย้งในตัวเอง ลองสังเกตดูครับ สังเกตว่าเวลาคุณจบการสนทนากับคนอื่นๆ คุณมักจบการพูดคุยด้วยคำบอกเล่า ประโยคคำสั่ง หรือ การตั้งคำถาม ลองดูว่าตัวเราวันหนึ่งๆ พูดคำที่แสดงความแน่นอนทั้งหมดกี่ครั้ง ตัวอย่างเช่น มั่นใจมาก, แน่ใจ, อย่างแน่นอน, ต้องใช่อย่างนั้น, ไม่เคยผิดพลาด, ถูกเสมอ, ฟันธงขาด, ต้องใช่แน่ๆ , ผมว่าไม่ผิดหรอก , แสดงว่า, เพราะว่าอย่างนั้น ผมพัฒนาตัวเองและไต่ลำดับไปเรื่อยๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้โดยการไต่ระดับไปเรื่อยๆ ทุกอย่างเริ่มจากการตั้งถามและประเมิณตนเอง checklist : เราเห็นความสำคัญของความอดทนต่อขัดแย้งมากแค่ไหน คุณเห็นมันสำคัญต่อชีวิตคุณไหมครับ? เรายอมรับว่าความไม่แน่นอนก็คือสิ่งที่แน่นอนที่สุด แต่ก็ไม่ได้ซีเรียสกับประโยคนี้อย่างจริงจังมากนัก มันสำคัญมากขนาดไหน? มันจะหยุดอยู่ตรงนั้นเลย ถ้าเราไม่ยอมรับเรื่องนี้ตั้งแต่แรก ระดับทักษะที่เราได้เห้นได้ชัดในตัว value investors ที่สูงขึ้นไป คือ พวกเขาหูตาไวกับสิ่งที่ขัดแย้งต่างๆ และ สถานการณ์ตรงกันข้ามกับ การคาดหวังของตัวเอง แต่ยังไม่ยอมรับเลยทั้งหมดทีเดียว จนกว่าพวกเขาจะไม่มีปัญหากับความคิดที่ขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดรอบตัว และกลับในทางตรงกันข้าม พวกเขาจะเริ่ม พลิกนิดเดียว ที่จะชอบความขัดแย้งที่ผมเรียกว่าระดับนี้ว่า มีความเข้าใจทั้ง human and market inefficiencies พวกเขาเริ่มมองกลับเข้าหาตัวเอง เรียนรู้จากเคสที่เป้นประสบการณ์จริงจากตัวเอง และจะกลายเป็นคนสงบนิ่งแม้อยู่ในสภาวะที่มีอารมณ์ของ greed and fear mode great value investor ต้องฝึกจับความขัดแย้งที่เกิดในความคิดเราเองจนเกิดความเชี่ยวชาญ ถึงระดับนี้แล้วเราต้องฝึกอย่างหนักด้วยความวิริยะอุตสาหะที่จะจับผิดตัวเองอย่างยาวนานพอ แล้ววันหนึ่งจะมาถึงเมื่อเราทราบวา เราได้พัฒนาไปอีกขั้นที่สูงกว่าขึ้นไป ฟังแล้วเหมือน value investors ฝึกกำลังภายใน หลังจากนั้นเราจะลอยได้ มีวิชาตัวเบาหรือปล่าว ? ไม่ใช่ลอยครับ คุณจะเป็นคนเรียบง่าย ถ่อมตัวและอ่านความรู้สึกของตัวเองเมือเกิดความกังวลใจในสภาวการณ์ที่ขัดแย้ง เมื่อถึงระดับนี้คุณน่าจะอธิบายความรู้สึกบางอย่างที่ผมเรียกว่า ความกำกวมของนักลงทุน checklist : อธิบายความรู้สึกกำกวมได้อย่างดีเยี่ยมใช่หรือไม่? ผมชอบนึกว่าถ้าความกำกวมต่างๆ ในการลงทุนมันมีตัวตน มี รูปร่าง สี เสียง รส กลิ่น สัมผัส มันจะเป้นอย่างไร? มันใช้เทคนิคนี้จากเรื่อง Harry Potter ตอนเด็กนักเรียนต้องเสกมนต์เอาชนะความกลัวของตัวเองที่กำลังจะออกมาจากกล่องวิเศษ จำกันได้ไหมครับ ทำไมเราต้องทำอย่างนั้นเราต้องการใช้ประสามสัมผัสส่วนอื่นของตัวเองครับ ถ้าเรานึก ความกลัวขาดทุน หรือ ความโลภ ออกมาเป็นตัวตนได้ คุณจะตอบสนองต่อความรู้สึกต่างๆ ได้ดีเวลาที่พวกมันเดินเข้ามาใกล้ๆ คุณ checklist : เรารับมือกับ ความกังวลใจ ได้ดีเยี่ยมหรือไม่? นักลงทุนส่วนที่มีปัญหาความขัดแย้งตั้งแต่วัยเด็ก มักไม่รู้ตัวเมื่อเกิดความกังวลใจ นอกเสียจากว่าจะได้รับการฝึกฝนสมาธิ คนส่วนใหญ่มีปฎิกริยาต่อความกังวลโดยอัติโนมัติ ถ้าหุ้นที่ซื้อไม่แป้นอย่างที่คิด เกิดปรับตัวลง ลองสังเกตว่าเราทำอะไรก่อนอย่างแรก เสยผมหรือปล่าว, หรือว่า หยิกแขนตัวเอง ,หยิบบุหรี่ , หมุนปากกา , เริ่มพูดมาก , กินเหล้า , ดูหนังโป๊ หรือไม่ก็เริ่มโพสลงใน webboard สุดท้ายนี้ คำแนะนำจากผมในช่วงทศวรรษแห่งความไม่แน่นอนนี้ ถ้าเราตะหนักรู้ถึงความกังวลใจในตัวเองแล้ว อย่าหนีมันครับ ถ้าเราหนีมัน ไม่ทำความเข้าใจกับตัวเองข้างใน แทนที่จะวิ่งตามหาติดตามสิ่งต่างๆ จากภายนอก เราจะไม่มีวันได้พบกับความไม่แน่นอนอย่างแท้จริง คำพูดที่เชยๆ ของผมคือ การพบและเป็นหนึ่งเดียวกับความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เราเริ่มยอมรับมันอย่างเต็มใจและเผชิญหน้ากับมันด้วยขีดจำกัดของตัวเอง และ และ เมื่อเราหัวเราะตลกขบขันในแต่ละวันเมื่อเจอกับความไม่แน่นอนในชีวิตได้ละก็ you are not only a great value investor, but you are a great human being in youself krab.
โดย
humdrum
ศุกร์ มิ.ย. 22, 2012 12:45 pm
0
2
Re: คน
ขอบคุณมากครับ ผมตอบให้แล้วนะครับ ถาม : http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=52378
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 21, 2012 4:43 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
ถาม http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/feather-1.jpg :man: จากจดหมายอีเมลผมเขียนหาเพื่อนกองทุน VI ที่อินเดีย a Value -Oriented Investment Fund เขามองอะไรในตัวคัดคนเข้าทำงาน เขียนไปแล้วนะครับ คน : http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=52259 วันนี้เป็น Questionaire ที่เขาถามคนเหล่านั้น ผมอ่านแล้วเหมือนเป็น Checklists เวลาใช้เลือกหุ้นที่น่าสนใจ ในขณะเดียวกัน checklist ก็คัดคนที่ไม่น่าสนใจออกเช่นเดียวกัน ผมเขียนอีเมลไปถามว่ามองหาคนเหมือนบัฟเฟตมองก Todd Combs เข้าทำงานกับ Berkshire หรือปล่าว เขาตอบว่า Combs เก่งการบริหารความเสี่ยงมาก นั่นคือสิ่งที่ Value investors ควรตะหนักมากกว่าสิ่งอื่นใด preserve capital for a long time พูดถึง Combs ขอต่ออีกนิดครับ Combs ยังมีบุคคลิกที่บัฟเฟตมองหาในผู้จัดการกองทุนของเขาคือ เต็มไปด้วยบุคคลิกที่ขัดแย้งในตัวเขาเอง compendium of contrasts but look easygoing บัฟเฟตและชาลีเห็น Combs บอกว่า ใช่เลย! เขาเก่งเรื่องอ่านงบการเงิน เชียวชาญด้านเรื่องความเสี่ยง แต่บุคคลิกกับดูเรียบง่ายๆ ไม่ชอบออกข่าว ใช้ชีชีวิตเรียบง่าย simple but not simplest นอกจากรู็จักในตัวธุรกิจแล้วก่อนอื่นต้องรู็จักตัวเองเป็นอย่างดี นั้นคือคำถามที่คนที่มีมาสมัครกองทุนจะต้องเจอ หลอกตัวเองได้ แต่หลอกตัวเองผ่านคำถามเหล่านั้นและมีคนฟังอีกสามคนไม่ใช่เรื่องง่ายครับ สิ่งที่เขามองหาคือ balance ทั้ง IQ และ EQ แล้วไปคิด EQ Questionare Checklist ขึ้นมา ผมลองอ่านดูแล้ว คนที่ฉลาด ๆ อาจ fake คำตอบผ่านไปได้ แต่เขามีแผ่นกรองอีกชั้นในขั้นสุดท้าย คือจับทำงานในสถานการณ์จริงๆ ให้ทำงานกับคนอื่น social conflict investigation จุดประสงค์คือ ถ้าเขาผ่านคำถามมากรอง EQ มาได้ เขาต้องมาเจอของจริงว่าสิ่งที่เขาตอบนั้นมันสอดคล้องกับความมั่นคงทางอารมณ์ที่เขาตอบมาหรือไม่ ถ้าพบคะแนน EQ สูง และ rating score จาก social conflict มีคะแนนสูงสอดคล้องกัน เขาเจอตัวคนที่เขาหาแล้ว หลักการของเขามีหลักเหตุและผล หากจัดการแบบไม่มีอคติมาปนแล้ว มันช่วยลด cost และ ประหยัดเวลาได้มากทีเดียวครับ เขาต้องเป็นรับฟังความคิดของคนอื่น เมื่อตัดสินใจผิดพลาดแล้ว เขาจะถูกคนอื่นพาดพิงให้ทราบว่าเขาผิดพลาดเพราะอะไร เมื่อถูกพาดพิงกล่าวหาว่าผิดแล้ว เขาต้องชี้แจงว่าเขาผิดเพราะอะไร อะไรเป็นสาเหตุให้เขาเชื่ออย่างนั้น แล้วทำความเข้าใจใหม่กับความเชื่อของตัวเองอย่างไรบ้าง เขาต้องกล้ายอมรับตัวเองและชี้แจงเหตุผลให้พวกเราหายสงสัย เหรียญมีสองด้านครับ ตรงข้ามครับ ถ้าเขาตัดสินใจถูก แต่อีกฝ่ายผิด เขาต้องโน้มน้าวให้เป็น ไม่ว่าเขาจะถูกทดสอบด้วยผู็ร่วมงานที่เป็นคนประเภทตัดสินใจผิดให้เห็นๆ กันเลยแต่ดันเล่นบทว่าตัวเองดื้อมาก "ข้าถูกเต็มๆ เอ็งซิวะที่ผิด" เขาต้องหาเหตุผลมาสนับสนุนชักจูงให้คนอื่นคล้อยตามมีทักษะในการเจรจาประนีประนอมตามสถานการณ์ ประชุมร่วมกัน หารือแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ถ้ามีความแกรงใจสูง ถ้าเห็นคนอื่นผิดแล้วไม่ทักท้วง อย่างนี้อันตรายที่สุด เวลามาทำงานจริงๆ สิ่งหนึ่งที่ต้องเจอ คือ การตัดสินใจภายใต้ incomplete information และสภาวะ Human Inefficiencies ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การสร้างสถานการณ์ความขัดแย้ง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อทดสอบคุณสมบัติที่จำเป็นที่สุดอันหนึ่งของผู้สมัคร คือ capacity to suffer ความมั่นคงทางอารมณ์ การทำงานภายใต้ความกดดัน ความเครียด ความไม่แน่นอน เพื่อดูความอดทนในการรับมือกับความเสี่ยงและภายใต้ความกดดันนั้นๆ เขาจะดูว่าแสดงอารมณ์ออกมาแบบใด ภายใต้อารมณ์เหล่านั้น เขามีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ อย่างไร เรื่องที่มากวนใจพวกเขาทำให้เขาตัดสินใจอยู๋บนเหตุและผลหรือไม่ ดูจากบททดสอบแล้ว ผมคิดว่า เขากำลังทดสอบว่าแยก Ego ของตัวเองเป็นหรือไม่ ถ้าใครพก Ego ไปทำงานเยอะเกินความจำเป็นสำหรับการลงทุน ก็มีปัญหาในการทดสอบนี้อย่างแน่นอนครับ หลังจากเขาทำ EQ questionaire มาระยะเวลาเกือบหนึ่งปี ประเมิณตัวเลขอยู่ที่ 10 คนผ่านคำถาม EQ มาได้ แต่จะมีแค่คนเดียวที่ผ่านการทดสอบ social conflict incident ตัวเลขมันบอกได้หลายอย่างครับว่ามีคนฉลาด มี IQ สูงที่สามารถ fake คำตอบ EQ มาได้ พวกเขาอาจรู็ทุกอย่าง เข้าใจบริษัทอย่างดีที่สุด แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าพวกเขาไม่รู็จักตัวเองเลย ความมั่นคงทางอารมณ์เป้นนิสัยถาวรที่พัฒนามาตั้งแต่เด็ก แล้วมันแก้ยากมากซะด้วย ทางป้องกันคือคัดออกตั้งแต่ต้น ในความเห็นของผม EQ defects ในคนสมัครสามารถพัฒนาด้วย additional training แต่พวกเขาต้องไปฝึกเอาเองครับ อย่างการฝึกสมาธิเป็นต้นครับ ผมเคยอ่านบทกวีอังกฤษมานานแล้วว่า อยากคบใครสักคน ให้ดูว่าเวลาเขาอยู๋ในความเครียด เขารับมือกับมันอย่างไร ดูเหมือนเพื่อนผมจะมาแนวนี้เช่นกันครับ INTERVIEW FOR POTENTIAL VALUE INVESTOR 1. บอกได้ไหมว่าความหมายของชื่อพ่อ ชื่อแม่ พี่น้องทุกคนว่าแปลว่าอะไร 2. เกิดและโตที่ไหน ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน ย้ายเพราะอะไร 3. วัยเด็กพ่อและแม่เป้นอย่างไร ท่านเกิดที่ไหนและเมื่อใด ท่านเรียนอะไรมาและทำงานอะไร 4. บอกเกี่ยวกับปู่ ย่า ตา ยาย 5. บุคลิกพ่อ แม่ เป็นอย่างไร พี่น้องของพ่อแม่ เป็นอย่างไร 6. พ่อแม่สอนอะไรตอยเป็นเด็ก 7. พ่อแม่ตีหรือปล่าว เพราะอะไร มันสอนอะไรกับคุณหรือไม่ คุณขัดแย้งกับท่านมากไหม 8. ตอนเป็นเด็ก ท่านสอนอะไรบ้าง 9. พ่อแม่ทะเลาะกันบ่อยไหม เคยลงไม้ลงมือกันหรือไม่ 10. พี่น้องของคุณชื่ออะไร บอกความหมายชื่อแต่ละคน วันเดือนปีเกิด จบที่ไหน อาชีพอะไร นิสัยเป็นอย่างไร เลือดกรุ๊ปอะไร สีที่ชอบคืออะไร 11. ความสัมพันธ์กับพี่น้องเป็นอย่างไร 12. ความสัมพันธ์กับพ่อแม่เป็นอย่างไร 13. ตอนคุณเกิดพ่อแม่อายุเท่าใด 14. ทำไมถึงเลือกมาลงทุนแนว value investing ทำไมไม่เป็นแนว technical หรืออย่างอื่น 15. วิชาที่เรียนจบมาช่วยให้ลงทุนแนวนี้ได้หรือไม่อย่างไร 16. สิ่งที่คุณมองเวลาลงทุนในบริษัทคืออะไร 17. คะแนนเกรดตั้งแต่เด็กประถมจนจบมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร 18. วิชาบางตัวเกรดต่ำมาก เพราะอะไร 19. คุณเรียนรู้อะไรมาบ้างจากคณะที่คุณจบมา 20. ความจำเรื่อง ความสุข/ความทุกข์ ในวัยเด็กที่คุณจำได้ดีที่สุดคืออะไร 21. ความจำเรื่อง ความสุข/ความทุกข์ ในประวัติการลงทุนของคุณคืออะไร 22. ทุกข์ที่สุดในชีวิตคืออะไร 23. ทำไมไม่ทำอาชีพในสิ่งที่เรียนจบมา 24. ทำไมถึงคิดว่าตัวเองจะเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าได้ 25. คุณสมบัติของนักลงทุนเน้นคุณค่าคืออะไร 26. อะไรคือคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในตัวคุณ 27. อะไรคือคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในการเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่า 28. ประสบการณ์การลงทุนครั้งแรกตอนไหน วัยเด็กจนถึงวัยโต 29. ครอบครัวคิดอย่างไรเวลาทราบว่ามาทำงานด้านการลงทุน 30. เพื่อนสนิทคือใคร เพราะอะไรถึงสนิทกัน เคยทะเลาะกันไหม เพราะอะไร 31. ทราบอะไรบ้างเกี่ยวกับ Warren Buffett และ Charlie Munger 32. เพื่อนสนิทคิดอย่างไรเมื่อทราบว่าคุณมาทำงานด้านการลงทุน 33. บริษัทกลุ่มไหนที่คุณสนใจมากเป็นพิเศษ 34. คูณรู้จักนักลงทุนเน้นคุณค่าคนอื่นหรือไม่ เรียนรู้อะไรจากพวกเขาบ้าง 35. เคยคุยกับพวกเขาไหม รู้สึกอย่างไรบ้าง 36. หลายคนอยากทำงานกับกองทุนของเรา ทำไมผมต้องเลือกคุณด้วย 37. คุณคิดว่าจะผ่านด่านทอดสอบนี้หรือไม่ 38. ถ้าไม่ผ่านจะทำอย่างไร 39. คุณกลัวขาดทุนหรือไม่ 40. อะไรที่คุณคิดว่าเคยเสี่ยงมาในชีวิตมากที่สุด 41. ปัญหาอะไรในชีวิตที่คุณเจอมา รับมืออย่างไร 42. เวลาคุณตัดสินใจผิดพลาดในการลงทุน คุณทำอย่างไร 43. คุณกลัวอะไรมากที่สุด 44. อะไรทำให้คุณโกรธมากที่สุด 45. จุดแข็งคืออะไร 46. จุดอ่อนคืออะไร 47. ถ้าเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิตได้ จะเปลี่ยนอะไร 48. เกลียดอะไรในชีวิต เพราะอะไร 49. เคยแหกกฎของโรงเรียนหรือไม่ เพราะอะไร 50. ดูดบุหรี่ กินเหล้าหรือปล่าว 51. ทำไมถึงดูดบุหรี่หรือกินเหล้า ทั้งที่มันไม่ดีต่อสุขภาพคุณ 52. ยังดูดบุหรี่ กินเหล้าอยู่ไหม คิดจะเลิกไหม 53. ทำไมถึงไม่เลิกเพราะอะไร 54. ทำไมถึงคิดว่าตัวเองเลิกได้ 55. มีแฟนหรือไม่ ทำไมถึงเลิกกัน 56. เงินเดือนที่คุณหวังคือเท่าไหร 57. ใช้เงินอย่างไร 58. ใช้เวลาว่างทำอะไร 59. มีคำถามจะถามผมไหม 60. เล่นกีฬา เกม อะไรบ้าง 61. ชอบดนตรีแบบไหน 62. แฟนนิสัยอย่างไร พบกันที่ไหน เมื่อไหร่ 63. เวลาไปจีบเธอ คุณทำอย่างไร 64. ถ้าผมไปถามว่าคุณนิสัยอย่างไร แฟนคุณจะตอบว่าอย่างไร 65. คุณเจอเธอบ่อยแค่ไหน 66. คุณจะแต่งงานกับเธอไหม เมื่อไหร่ 67. พ่อแม่ของเธอชื่ออะไร อาชีพอะไร 68. วัยเด็กของแฟนเป็นอย่างไร 69. อะไรทำให้เธอเสียใจในวัยเด็กมากที่สุด 70. แฟนคุณคิดอย่างไรที่มาทำงานด้านการลงทุน 71. อะไรคือความแตกต่างของบริษัทที่น่าลงทุนกับไม่น่าลงทุน 72. คุณคิดว่าตัวเองมีนิสัยอย่างไร 73. ทำไมไม่สมัครไปทำงานกับกองทุนอื่น 74. มีคนรู้จักคุณที่กองทุนอื่นหรือไม่ 75. คุณทำอย่างไรถ้ามีปัญหากับผู้ร่วมงานคนอื่น 76. บริษัทไหนที่คุณอยากลงทุนมากที่สุด 77. คุณสามารถฆ่าคนได้ไหม 78. บอกได้ไหมว่าข้อผิดพลาดในการลงทุนที่ผ่านมาของคุณคืออะไร 79. คุณทำอะไรกับแฟนเวลาอยู่ด้วยกัน บ่อยแค่ไหน 80. คุณชอบไปที่ไหนมากที่สุด ทำอะไรมากที่สุด เวลาไม่สบายใจ 81. คุณให้ของขวัญวันเกิดกับคนอื่นหรือไม่ 82. ได้รับของขวัญในวันเกิดตัวเองหรือไม่ 83. ถ้าแต่งงานกับแฟนคนนี้ไม่ได้ ทำอย่างไร 84. คุณเป็นพุทธหรือปล่าว อธิบายศาสนาพุทธคืออะไร 85. ชอบหนังแบบไหน ดาราที่ชอบ 86. อะไรทำให้ตื่นเต้นมากที่สุด 87. เวลาดีใจ ทำอย่างไร 88. อะไรทำให้หัวเราะ อะไรทำให้กลัว 89. ปัญหาในเมืองไทยเรื่องเสื้อเหลือง/แดง เกิดขึ้นเพราะอะไร 90. คำถามข้อไหนที่คุณคิดว่าตอบยากมากที่สุด
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 21, 2012 3:00 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=52363 ผมสะสม Thanwa' s ckecklist เข้าไปเพิ่มในรายการ value investing ckecklists ของผมตลอด รายการ checklists ไม่ได้หากันง่าย ๆ ครับ ยิ่งถ้าได้จากคนที่มีประสบการณ์การลงทุนแนว VI มาอย่างยาวนานแล้ว ยิ่งหายาก พวกเราโชคดีที่มีพี่ธันวากับอาจารย์มาแบ่งความรู้ให้น้องเสมอ ขอให้พี่มีสุขภาพแข็งแรงและขอบคุณอีกครั้งสำหรับวิทยาทานที่พี่สอนน้องๆ ครับ บัฟเฟตลงทุนในบริษัทที่มีคุณสมบัติ capacity to suffer ของผู้บริหารเป็นองค์ประกอบหลักในการลงทุนของเขา ตัวนักลงทุนเน้นคุณค่าเองสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบันเองก็แตกต่างกันมากในเรื่อง capacity to suffer จนกลายเป็นหัวข้อที่เด่นชัดขึ้นมาในการแสกนนักลงทุนที่โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ การรับมือกับความเปลี่ยนแปลง 1. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนอย่างไรบ้าง 2. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่อความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าอย่างไรบ้าง 3. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่อการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ ทั้งจากรายเดิม, รายใหม่, ทั้งในประเทศ, ต่างประเทศม, ระดับภูมิภาค (AEC) และระดับโลก และ คู่แข่งสังคมออนไลน์ไร้พรมแดนอย่างไรบ้าง 4. บริษัทที่สนใจมีโครงสร้างธุรกิจที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสามข้อได้ดีในตัวของมันเองอยู่แล้วและไม่ต้องพึ่งพาผู้บริหารเพียงคนเดียวในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 21, 2012 11:14 am
0
0
Re: CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์
ขอบคุณครับ ตั้งแต่พี่เขียน ผมก็สะสม Thanwa' s ckecklist เข้าไปเพิ่มในรายการ value investing ckecklists ของผมตลอด รายการ checklists ไม่ได้หากันง่าย ๆ ครับ ยิ่งถ้าได้จากคนที่มีประสบการณ์การลงทุนแนว VI มาอย่างยาวนานแล้ว ยิ่งหายาก พวกเราโชคดีที่มีพี่ธันวากับอาจารย์มาแบ่งความรู้ให้น้องเสมอ ขอให้พี่มีสุขภาพแข็งแรงและขอบคุณอีกครั้งสำหรับวิทยาทานที่พี่สอนน้องๆ ครับ บัฟเฟตลงทุนในบริษัทที่มีคุณสมบัติ capacity to suffer ของผู้บริหารเป็นองค์ประกอบหลักในการลงทุนของเขา ตัวนักลงทุนเน้นคุณค่าเองสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบันเองก็แตกต่างกันมากในเรื่อง capacity to suffer จนกลายเป็นหัวข้อที่เด่นชัดขึ้นมาในการแสกนนักลงทุนที่โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ การรับมือกับความเปลี่ยนแปลง 1. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนอย่างไรบ้าง 2. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่อความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าอย่างไรบ้าง 3. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่อการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ ทั้งจากรายเดิม, รายใหม่, ทั้งในประเทศ, ต่างประเทศม, ระดับภูมิภาค (AEC) และระดับโลก และ คู่แข่งสังคมออนไลน์ไร้พรมแดนอย่างไรบ้าง 4. บริษัทที่สนใจมีโครงสร้างธุรกิจที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสามข้อได้ดีในตัวของมันเองอยู่แล้วและไม่ต้องพึ่งพาผู้บริหารเพียงคนเดียวในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 21, 2012 11:09 am
0
8
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/The-Checklist-Manifesto-Gawande-Atul-9780312430009.jpg :man: ผมไม่แน่ใจว่ามีคนเอามาลงหรือยัง ผมเผื่อเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจในมุมมองอื่นดูบ้าง คนเขียนชื่อ อตุล กาวานดี เป็นคุณหมอผ่าตัด ท่านไปเห็นการทำงานของนักบินเรื่อง checklist ท่านเลยเอามาปรับใช้ในโรงพยาบาล ผลคือ อัตราความผิดพลาดลงต่ำลง หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงนักลงทุนอย่าง Pabai อย่าง Guy Spier สองท่านนี้เคยประมูลกินข้าวกับบัฟเฟตสี่ปีก่อนหมดไปเกือบเจ็ดแสนดอล ราคานั้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมาก เพราะปีปัจจุบันนี้มีคนประมูลได้กินกับบัฟเฟตถึง 3,456,789 ดอล สิ่งที่เขาได้จากบัฟเฟตคือ mental checklists ผมคุ้นกับระบบ checklist มากเพราะเคยเป้นนักเรียนการบินมาก่อน สำหรับท่านอื่นที่ไม่คุ้นหรืออาจไม่ยอมรับเพราะมันดูง่ายเกินไป ลองคิดอีกมุมครับ หลายท่านคงเคยรู็สึกว่าเจอหุ้นสักตัวที่น่าลงทุนอย่างมากและเอาอารมณ์โลภเข้าไปผูกติดจนละเลยที่จะมองสิ่งบางอย่างไป value investing checklists มันจะทำหน้าที่กรองคววามผิดผลาดของเราตอนที่เราอยู๋ใน greed mode และ fear mode ได้ เราคุ้นเคยกับ checklists ในทางพุทธศาสนาคือศีลห้ามาอย่างดีแล้ว ในเว็บ Thaivi สิ่งที่อาจารย์นิเวศน์หรือพี่ธันวาเขียน ท่านสมาชิกก็สามารถเลือกมาเป็น ckecklists เฉพาะตัวของท่านได้ ก่อนทำ Checklist ต้องทราบก่อนว่ามันมีหลายแบบอะไรบ้าง สำหรับผม ผมแยกออกเป็น สี่ประเภท ดังนี้ครับ 1. Task Checklist อย่างเช่นงานประจำวันต้องทำอะไรบ้าง ไปจ่ายตลาดต้องซื้ออะไรบ้าง 2. Troubleshooting Checklist เหมือนด้านหลัง manual ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บอกวิธีแก้ไขเวลาเจอปัญหาต่างๆ . 3. Coordination list เหมือนขั้นตอนในโรงพยาบาลที่ต้องการความร่วมจากหลายฝ่ายในการทำงานร่วมกัน 4. Discipline ckecklist เหมือนศีลห้า ผมจัด investing checklists อยู่ในหัวข้อนี้ เวลาหุ้นตัวไหนไม่ผ่าน checklist ข้อไหน มันเหมือนผมกดปุ่ม Pause ผมก็จะระวังหัวข้อนั้นๆ เป็นพิเศษ เป็น risk management ไปในตัว จะว่าไป checklist มันก็คือส่วนหนึ่งของกำแพงของพอร์ตการลงทุนของเราที่มี margin of safety เสริมกระบวนการตัดสินใจของเราของเรานั่นเองครับ ผมยกตัวอย่างจากที่อื่นมาให้ดูครับ Play and Pause Checklist 1. Can I in one sentence say exactly what the company does? 2. Is operating cash flow higher than earnings per share? 3. Is Free Cash Flow/Share higher than dividends paid? 4. Debt to equity below 35%? 5. Debt less than book value? 6. Long Term debt less than 2 times working capital? 7. Is the debt to EBITDA ratio less than 5? (Thanks Guy) 8. What are the debt covenants? 9. When is the debt due? 10. Are Pre-tax margins higher than 15%? 11. Is the Free Cash Flow Margin higher than 10%? 12. Is the current asset ratio greater than 1.5? 13. Is the quick ratio greater than 1? 14. Is there growth in Earnings Per Share? 15. Is management shareholding > 10%? 16. Is the Altman Z score > 3? 17. Does the company have a Piotroski F-Score of more than 7? 18. Is there substantial dilution? 19. What is the Flow ratio (Good < 1.25, Bad > 3) 20. What are management’s incentives? 21. Are management’s salaries too high? 22. What is the bargaining power of suppliers? 23. Is there heavy insider buying? 24. Is there heavy insider selling? 25. Any net share buybacks? 26. Is it a low risk business? 27. Is there high uncertainty? 28. Is it in my circle of competence? 29. Is it a good business? 30. Do I like the management? (Operators, capital allocators, integrity) 31. Is the stock screaming cheap? 32. How capital intensive is the business? 33. Does management have the ability to naturally re-invest in the business at a high return? 34. Is the company highly profitable? 35. Has it got a high return on capital? 36. Has the business got an enormous moat? 37. Is there room for future growth? 38. Does the business have strong cash flow? 39. What has management done with the cash? 40. Where has the Free Cash Flow been invested? 40.1 Share buybacks 40.2 Dividends 40.3 Reinvested in the business อันนี้เป้นของ Michael Mauboussin ครับ ผมเรียบข้อต่อไปเลยนะครับ 42. What stage of the competitive life cycle is the company in? 43. Is the company currently earning a return above its cost of capital? 44. What is the trend in return on capital - are returns increasing, decreasing, or stable? 45. What is the trend in the company\'s investment spending? 46. What percentage of the industry does each player represent? 47. What is each player\'s level of profitability? 48. What have the historical trends in market share been? 49.How stable is the industry? 50. How stable is market share? 51.What have pricing trends looked like? 52. What class does the industry fall into - fragmented, emerging, mature, declining, international, network, or hypercompetitive? Five Forces model ที่น้องฮงเคยกล่าวถึงครับ 53. How much leverage do suppliers have? 54. Can companies pass supplier increases to customers? 55. Are there substitute products available? 56. Are there switching costs? 57. How much leverage do buyers have? 58. How informed are the buyers? หัวข้อนี้ Barriers to Entry ครับ 59. What are the entry and exit rates like in the industry? 60. What are the anticipated reactions of incumbents to new entrants? 61.What is the reputation of incumbents? 62. What is the level of asset specificity? 63. What is the minimum efficient production scale? 64. Is there excess capacity in the industry? 65. Is there a way to differentiate the product? 66. What is the anticipated payoff for a new entrant? 67. Do incumbents have precommitment contracts? 68. Do incumbents have licenses or patents? 69. Are there learning curve benefits in the industry? 60. 70. Is there pricing coordination? 71. What is the industry concentration? 72. What is the size distribution of firms? 73.How similar are the firms (incentives, corporate philosophy, ownership structure)? 74. Is there demand variability? 75. Are there high fixed costs? 76. Is the industry growing? 77. Is the industry vulnerable to disruptive technology? 78. Do new technologies foster product improvements? 79.Is the technology progressing faster than the market\'s needs? 80. Have established players passed the performance threshold? 81. Is the industry organized vertically, or has there been a shift to horizontal markets? 82.Does the firm have production advantages? 83. Is there instability in the business structure? 84. Is there complexity requiring know-how or coordination capabilities? 85. How quickly are the process costs changing? 86. Does the firm have any patents, copyrights, trademarks, etc.? 87. Are there economies of scale? 88. What does the firm\'s distribution scale look like? 89. Are assets and revenue clustered geographically? 90. Are there purchasing advantages with size? 91. Are there economies of scope? 92. Are there diverse research profiles? 93. Are there consumer advantages? 94. Is there habit or horizontal differentiation? 95. Do people prefer the product to competing products? 96. Are there lots of product attributes that customers weigh? 97. Can customers only assess the product through trial? 98. Is there customer lock-in? Are there high switching costs? 99.Is the network radial or interactive? 100.What is the source and longevity of added value? 101. Are there external sources of added value (subsidiaries, tariffs, quotas and competitive or environmental regulations)? 102. Are there complementors to the industry? 102. Is the added value growing because of other companies? Or, do new companies take share from a fixed - value pie? 103. Does the brand increase willingness to pay? 104.Do customers have an emotional connection to the brand? 105. Do customers trust the product because of the name? 106. Does the brand imply social status?
โดย
humdrum
พุธ มิ.ย. 20, 2012 2:32 pm
0
1
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
Zjoy2LpESWE Paul Tudor Jones มีไสตน์การลงทุนแบบนักเกร็งกำไรก็จริง แต่แนวคิดแฝงความเป็น value investors หลายอย่าง หลักการลงทุนของเขาฝืนนิสัยของคน การไม่ยึดติดในสิ่งต่างๆ มากเกินไป แม้กระทั่งตัวตนของเขาเอง ฮี่โร่ของเขากลับไม่ใช่ Warren Buffett แต่เป็น Jesse Livermore หนังสือทีมีอิทธิพลกับเขามากที่สุดคือ REMINISCENCES OF A STOCK OPERATOR นั่นเองครับ Paul Jones บอกว่าเขาอ่านหลายร้อยรอบจนจำไม่ได้ สิ่งที่เขาเรียนรู็มากที่สุดจากหนังสือเล่มนี้คือ วิธีการรับมือกับความเครียดในอาชีพการลงทุนจากการศึกษาข้อผิดพลาดของ Jesse Livermore ครับ Trading style and beliefs 1. Be contrarian attempting to buy and sell turning points. 2. Keeps trying the single trade idea until he changes his mind, fundamentally. Otherwise, he keeps cutting his position size down. Then he trades the smallest amount when his trading is at its worst. 3.Considers himself as a premier market opportunist. When he develops an idea, he pursues it from a very-low-risk standpoint until he has been proven wrong repeatedly, or until he changes his viewpoint. 4. Swing trader, the best money is made at the market turns. Has missed a lot of meat in the middle, but catches a lot of tops and bottoms. 5. Spends his day making himself happy and relaxed. Gets out if a losing position is making him uncomfortable. Nothing’s better than a fresh start. 6. Key is to play great defense, not great offense. 7. Never average losers. Decreases his trading size when he is doing poorly, increase when he is trading well. 8. He has mental stops. If it hits that number, he is out no matter what. He uses not only price stops, but time stops. 9. Monitors the whole portfolio equity (risk) in realtime. 10. He believes prices move first and fundamentals come second. 11. He doesn’t care about mistakes made 3 seconds ago, but what he is going to do from the next moment on. 12.Don't be a hero. Don't have an ego. Always question yourself and your ability. Don't ever feel that you are very good. The second you do, you are dead. :man: ทุกข้อของ Paul Tudor Jones เหมือน value investing ตรงที่มันฝืนธรรมชาตินิสัยของคนครับ
โดย
humdrum
พุธ มิ.ย. 20, 2012 1:37 pm
0
1
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
qaltiGWp9ug ระหว่างดู Clip น้อง Jelly ผมก็อ่านอารมณ์ตัวเองครับ อิจฉาขึ้นมาก่อนเลย ผมอิจฉาเด็กคนนี้มาก โอ้โห มีความเข้าใจขนาดนี้เลย แล้วเราอายุเท่านี้ทำอะไรอยู่ อ้อ น้าเขานั่นเอง ผมก็เพิ่มความอิจฉาน้องเขาที่มีน้าคอยแนะนำตั้งแต่เด็กเข้าไปอีก ผมยอมรับครับ ผมอิจฉาจริงๆ แต่ผมก็ยิ้มนะครับ ผมดีใจที่มีเด็กเก่งๆ อย่างนี้ ผมเชื่อว่าลูกหลาน VI ยังมีอีกมาก แต่ยังไม่ออกมา ขอบคุณมากครับ เป็นกำลังใจให้น้องครับ ผมภูมิใจแทนตัวคุณน้า ขอบคุณคุณน้าด้วยครับ ขอบคุณมากๆ เลยครับ ผมก็มีลูกสาว 11 ขวบ ผมสอนเขาเรื่องการลงทุนเหมือนกันครับ ผมสอนแบบที่บัฟเฟตสอนพวกเราเลย กฎสามข้อหลัก ๆ คือ นายตลาด ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย และรู้จักธุรกิจ สิ่งเหล่านี้มันฝืนธรรชาตินิสัยของคนมาก เหมือนศาสนาพุทธเลย ผมเป็นนักลงทุนที่มีวินัยมากขึ้น ผมอ่านตัวเองมากขึ้น ผมเป็นคนที่ดีมากขึ้น ผมก็เห็นว่าดีก็เลยเอาไปสอนลูก มันเป้นปรากฏการณ์ที่ใหม่ในระบบการศึกษาเลย แต่ที่จีนเขาทำมาหลายปีแล้ว เขาเอาหลักของเบน แกรมและบัฟเฟตไปสอนในโรงเรียนประถมมาสี่ห้าปีแล้ว หนึ่ง นายตลาด ผมจะสอนเรื่องการชนะอคติตนเอง ผมจะสอนเรื่องนี้เรื่องเดียว โดยเฉพาะเมื่อเขาอยู๋ในอารมณ์โลภและกลัว เอาความอดทนเรื่องนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ผมสอนเขาฝึกสมาธิและการอ่านลมหายใจของตนเอง เวลาเขามีทักษะการอดทน การเรียนรู็สิ่งอื่นๆ มันก็ง่ายขึ้นเอง แต่คนมักไม่ค่อยอดทน หลงไปตามอารมณ์คนอื่น ข้อนี้ก็ปูพื้นฐานให้เขามีความหนักแน่นในอารมณ์ของตนเอง ผมถือว่าสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีข้อนี้ ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ สองส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย ผมจะสอนเรื่องความไม่แน่นอน ผมจะยกสถานการณ์ขึ้นมาแล้วให้เขาลองตัดสินใจดูว่าจะทำอย่างไร ผิดหรือถูกไม่สำคัญ สำคัญที่เมื่อผิดแล้วต้องเตรียมใจและวางแผนเผื่อทางออกอื่นเสมอ ข้อนี้สำคัญมากเช่นกัน เขาต้องยอมรับเรื่องความไม่แน่นอนในสิ่งต่างๆ ตั้งแต่เด็ก พ่อของพระพุทธเจ้าปกปิดความจริงข้อนี้จากพระพุทธเจ้าตอนท่านเป็นเด็กหมดเลย ข้อสองนี้สอนเรื่องเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆ ให้ได้ และ สาม รู้จักธุรกิจ นี้ก็สำคัญไม่แพ้กันครับ ผมจะสอนให้เขามองภาพในมุมกว้างหลายๆ มุม ผมยกตัวอย่าง ถ้าเราขับรถอยู๋คงมองเห็นข้างหน้าได้ไม่ไกลเท่ากับเราไปยืนมองรถตัวเองจากมุมตึกข้างบนลงมา ข้อนี้ทำให้เราเป็นคนที่ดีขึ้นอย่างแน่นอนเพราะเราเข้าใจมุมมองของคนอื่นมากขึ้น แทนที่จะมองจากความคิดตนเอง การปรับตัวเข้ากับสังคมก็ง่ายขึ้น สำรับท่านอื่นๆ ที่ต้องการสอนลูกให้เป้นนักลงทุนอย่างพ่อแม่เหมือนเรา สอนเถอะครับ แต่สอนให้เป็น ผมติดบทความของอาจารย์เฉลิมชัยมาฝาก ท่านเป้นศิลปิน แต่ท่านมีทุกอย่างของความเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าครับ Cover Story: เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ : ลงทุนทั้งชีวิตเพื่อเป็นศิลปินเบอร์ 1 เราอาจหาญกล้าในการปฏิวัติงานศิลปะทั้งหมดในประเทศไทย ให้คนหันมาสนใจศิลปะไทย มันเป็นคนแบบนี้ตั้งแต่เด็ก ปรารถนาและเป็นนักปฏิวัติตัวยง เมื่อเป็นนักศึกษาอยู่นั้น มันปฏิวัติงานศิลปะที่เขาเรียนกันอยู่ คนที่ได้รางวัลงานศิลปะแห่งชาติเป็นงาน abstract หมด ทีนี้เราไม่พอใจ เราถือว่างานประจำชาติเราต้องมีการพัฒนา หันไปมองงานศิลปะประจำชาติแล้วเชยมาก ไม่มีคนสนใจ ในความเป็นสมัยใหม่เขาไม่สนใจงานศิลปะโบราณ เพราะว่ามันเชย เขาชอบงานศิลปะฝรั่งกัน เรามีความสำนึกว่าความเป็นชาติเป็นเรื่องใหญ่ ศิลปะประจำชาติเป็นเรื่องใหญ่ แต่เขาไม่สนใจกัน เราทุ่มเทกับการรื้อฟื้นงานศิลปะประจำชาติขึ้นมาใหม่ ก้าวขึ้นมาสู่ความร่วมสมัย ให้ทัดเทียมกับศิลปะสากล คิดอย่างนี้ตั้งแต่เด็กแล้ว ยังมาถามอีก มนุษย์โง่ๆมันเป็นแบบนี้ สังคมไทยมันโง่ เรียนจบปริญญาโทยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรแ-ก ประเทศชาติเราจึงมีคนโง่เต็มบ้านเต็มเมือง เพราะมันไม่มีความมุ่งมั่น ไม่มีปณิธาน คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งหมดนั้น มีแววมาตั้งแต่เด็กแล้ว เขาสนใจตั้งแต่เด็ก ... แล้วรู้ไหมว่าตั้งแต่เด็ก กูยังคิดเป็นศิลปินใหญ่ของแผ่นดิน กูต้องเป็นหนึ่งในแผ่นดิน รู้ไหม เขาคิดตั้งแต่เขาเป็นเด็ก ไม่ใช่ว่าเฉลิมชัยนี่ฟลุ้ค อ๋อ ทุกอย่างนี่ฟลุ้ค มันไม่ฟลุ้ค (พูดเสียงดังราวตะโกน – ผู้เขียน) คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนั้นมันไม่มีฟลุ้ค เขาคิดเตรียมการของเขามาตั้งแต่เด็ก เขามีขบวนการจัดการของเขาตั้งแต่เด็ก มีการก้าวเดินของเขา เห็นแสงสว่างอยู่ข้างหน้าทั้งหมด เขาเดินตามทางแห่งแสงสว่างของเขาเอง โดยไม่เบี่ยงเบน นี่คือสิ่งที่นำมาสู่ความสำเร็จของมนุษย์ที่เหนือมนุษย์ ดังนั้นในอาชีพใดก็ตาม หากคนๆนั้นมีความรู้จักอาชีพนั้นตั้งแต่เด็ก มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในอาชีพนั้น ไม่รอดแม้แต่คนเดียว คนๆนั้นต้องเป็นหนึ่งอย่างแน่นอน ประสบความสำเร็จ นี่คือสัจจธรรม นี่คือของจริง นี่คือความจริงที่เป็นไปได้ แต่มนุษย์พ่ายแพ้ต่อตัวมันเอง ความมุ่งมั่นและความอดทนของมันนั้นถูกเบี่ยงเบนด้วยอามิส เบี่ยงเบนด้วยอาชีพอื่น มันไม่อดทน ไม่ขยันหมั่นเพียร ความไม่รอคอย มนุษย์ที่ประสบความสำเร็จนั้น เขารู้จักรอคอย เขาไม่ใช่คนที่เห็นอะไรก็แ-ก กูเป็นสิงโต กูไม่ใช่หมาป่ากระจอก กูไม่กินตัวเล็กๆเสียเวลา กูรอคอยหลายวันก็ได้ ไม่ต้องกิน กูไม่ใช่หมาป่ากระจอก ไล่แ-กจิ้งหรีด ไม่มีอะไรจะแ-ก ไล่แ-กไส้เดือน เป็นคนโง่ ไม่มีสมอง คนที่เป็นสุดยอดนั้น เป็นสิงโตหมด รอจังหวะของการกิน รู้ว่าจะกินอย่างไร เหมือนตกปลาใหญ่กับปลาเล็ก คนโง่ก็ตกปลาเล็กน้ำตื้น คนฉลาดตกน้ำลึก วันหนึ่งได้ตัวเดียวพอ หรือ 3 วันได้ตัวเดียว เข้าใจไหม ในวิธีคิดและการปฏิบัติ คิดแล้วต้องปฏิบัติ ตั้งเป้าแล้วต้องฏิบัติ ชีวิตไม่เคยมีอะไรที่เบี่ยงเบนตัวเอง แม้กระทั่งความตาย เป็นคนแข็งแรงมากดังนั้นจะไม่เบี่ยงเบน มนุษย์ผู้อื่นไม่มีสามารถบังคับใจกูได้ ต่อให้เป็นพ่อหรือแม่ ก็ไม่ได้ นี่คือมนุษย์ที่เกิดมาเพื่อเป้าหมายของตัวเอง ดังนั้นพ่อแม่เบี่ยงเบนลูกตลอดเวลา พ่อแม่ในสังคมไทยเป็นพ่อแม่ที่ใช้ไม่ได้ เป็นพ่อแม่ที่บล็อคความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของเด็ก สังคมไทยเป็นสังคมที่ยากที่จะเจริญก้าวหน้าเพราะไม่ให้อิสระในความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ดังนั้นแม้พี่จะเป็นคนที่เกิดบ้านนอก เป็นครอบครัวเด็กต่างจังหวัด แต่เป็นคนที่ไม่เชื่อเลย กูไม่เคยเชื่อพ่อแม่เลย จะเป็นคนที่ไม่เชื่อเลย เพราะถือว่าชีวิตกูเดินทางด้วยตัวกูเอง ไม่ต้องมาชี้นำ และไม่สนใจในการชี้นำ เพราะไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองชอบ ดังนั้นก็จะไม่เชื่อ เป้าหมายอะไรคือตรงนั้นเลย และเวลาที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต คนจะดูถูกเรา แต่ไม่เคยมีความเสียใจ ไม่เคยมีความพยาบาทอาฆาต หรืออยากจะกระทืบคนที่เคยดูถูก ไม่มี กูรู้อยู่แล้วว่าวันหนึ่งข้างหน้าพวกมึงต้องสยบ เพราะเวลาของกูยังมาไม่ถึง ดังนั้นกูเชื่อแน่ในความมุ่งมั่นของกูว่า กูไม่มีทางที่จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่วันหนึ่งข้างหน้าเวลาของกูจะมาถึง อันนี้คือสิ่งที่สังคมไทยไม่มี เด็กไทยไม่มี ล้มเหลวครั้งเดียวก็ถอดใจแล้ว ครั้งที่สองก็ไม่เอาแล้ว ครั้งที่สามหนีไปทำอาชีพอื่นแล้ว ไปไม่รอด นี่คือสิ่งที่ไร้เป้าหมาย คนที่มีเป้าหมายนั้นต้องหนักแน่นมั่นคงต่อเป้าหมายของตัวเอง พี่เป็นคนที่เข้าใจธรรมะดีตั้งแต่เด็ก รู้ดีว่าทุกอย่างในโลกนี้ มีความสำเร็จหมด มันมีความสำเร็จของมันเห็นอยู่แล้ว เป็นตัวอย่าง เป็นสัจจธรรมของความสำเร็จของผู้ที่มุ่งมั่น ในสายอาชีพของเราๆก็เห็นความสำเร็จของคนเก่ามันเดินรอเราอยู่ข้างหน้าแล้ว แล้วทำไมเราจะไม่ประสบความสำเร็จบ้าง หากในโลกนี้ไม่มีคนที่ประสบความสำเร็จเลย แล้วเราจะไปอย่างไร มนุษย์เราต้องเห็นสิ่งที่มนุษย์ทำอยู่ข้างหน้าแล้ว และทุกอาชีพมีความสำเร็จและทุกอาชีพมีเบอร์หนึ่ง” credit: http://www.moneychannel.co.th/Menu6/TradingHour/tabid/86/newsid480/52300/Default.aspx
โดย
humdrum
พุธ มิ.ย. 20, 2012 1:31 pm
0
0
Re: จุดวัดใจ หุ้นไอพีโอ/ธันวา เลาหศิริวงศ์
ผมลองใช้ code กับบทความของพี่ธันวา ผลออกมาอย่างที่แสดงครับ คำสั่ง code มันแยกเส้นเชื่อมต่อระหว่างตัวอักษร ทำให้แต่ละตัวแยกออกจากกัน ด้วยวิธีนี้ ตัวอักษรหนาขึ้น เด่นขึ้น ทำให้ปรากฏชัดบนหน้าจอ คำสั่ง Code จัดเรียงให้ตัวอักษรสม่ำเสมอ ความสม่ำเสมอของตัวอักษรนำสายตาของเราไปตามบรรทัดโดยอัตโนมัติ ช่วยทำให้อ่านง่ายขึ้น มีสมาธิมากขึ้น และในที่สุดคนอ่านก็ไม่อ่อนล้า โดยสรุปเป็นตัวหนังสือที่สวยงามและดึงดูดสายตาได้ดีกว่า มันไม่เพียงจูงให้น่าอ่านเท่านั้น มันทำให้คน "อ่านได้ " ลองดูนะครับ มันน่าอ่านกว่า เหมือนอ่านบทกวี มันมีสุนทรียภาพมากกว่า ทั้งที่เป้นบทความเดียวกันครับ จุดวัดใจ หุ้นไอพีโอ/ธันวา เลาหศิริวงศ์ ในชีวิตประจำวันเราประสบกับช่วงที่เรียกว่า “จุดวัดใจ” บ่อยครั้ง เวลาขับหรือโดยสารรถยนต์ จุดวัดใจนั้นได้แก่ สี่แยกไม่มีสัญญาณไฟจราจร จุดกลับรถ การแซงในช่วงขับขัน การรับลูกโทษของการแข่งขันฟุตบอล ผู้รักษาประตูต้องวัดใจนักเตะเพื่อตัดสินใจว่าจะพุ่งไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง หรือเพียงรักษาพื้นที่ตรงกลางไว้ การเล่นไพ่เป็นการวัดใจระหว่างเจ้ามือกับผู้เล่นหรือระหว่างผู้เล่นด้วยกัน การซื้อขายหุ้นทางเทคนิคมีจุดวัดใจที่ต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งบริเวณแนวรับแนวต้าน จะเห็นว่าจุดวัดใจคือ จุดเวลาที่เหตุการณ์หนึ่งจะเปลี่ยนแปลงและส่งผลอย่างหนึ่งอย่างใดโดยไม่อาจคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ การกระจายหุ้นเพื่อเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ครั้งแรกเรียกว่า ไอพีโอ (Initial Public Offering) และเรียกหุ้นนั้นว่า หุ้นไอพีโอ ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมานี้ มีหุ้นไอพีโอเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้แก่ หุ้นปัญจวัฒนาพลาสติก(PJW) ซื้อขายวันแรกเมื่อ 28 ก.พ. 55 ปิดที่ 4.24 บาท สูงกว่าราคาจอง 3.60 บาทถึง 18% ปัจจุบันซื้อขายที่ 3.80 บาทสูงกว่าเพียง 5% หุ้นบริษัทศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ (VIH) เข้าซื้อขายเมื่อ 9 พ.ค. 55 โดยปิดที่ราคา 3.04 บาทสูงกว่าราคาจอง 1.75 บาทถึง 73% เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 5.10 บาท ราคาปัจจุบันคือ 3.36 บาทยังสูงกว่าจองถึง 92% ทีเดียว หุ้นขนาดใหญ่ที่มีความต้องการจองซื้อสูงกว่า 11 เท่าของปริมาณจัดสรรคือ บริษัทเอเชีย เอวิชั่น (AAV) ซื้อขายวันแรก 31 พ.ค.55 และปิดเท่าราคาจองที่ 3.70 บาท ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 3.14 บาทหรือต่ำจองกว่า 15% ในยุคโลกาภิวัฒน์และกระแสความนิยมสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊คเป็นหุ้นไอพีโอที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมาก แม้ราคาขึ้นไปถึง 45 เหรียญสหรัฐในช่วงเปิดการซื้อขายเทียบกับราคาจองที่ 38 เหรียญ แต่ปัจจุบันราคากลับตกลงอย่างมากที่ 27.10 เหรียญ จะเห็นได้ว่า หุ้นไอพีโอสร้างทั้งความสมหวังและความผิดหวังให้กับผู้จองซื้อหุ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หากพิจารณารายละเอียดถึงกระบวนการไอพีโอหุ้น เราจะพบจุดวัดใจอยู่หลายแห่ง จุดแรกคือการเลือกบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทจดทะเบียนต้องการบริษัทที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์เพื่อให้การไอพีโอประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และต้องตอบสนองเพื่อประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องของบริษัท ส่วนบริษัทที่ปรึกษานั้นนอกเหนือจากรายได้ค่าบริการ ยังมีแรงจูงใจอื่นคือ สิทธิในการจัดสรรหุ้นซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการตอบแทนผู้มีอุปการคุณ จุดวัดใจนี้เปรียบเสมือนการตกลงแต่งงานโดยที่ทั้งสองฝ่ายอาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน แต่ต้องทำงานร่วมกันในการจัดสรรผลประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม จุดที่สองคือ การกำหนดราคาเสนอขาย โดยทั่วไปบริษัทที่ปรึกษาต้องให้ส่วนลดทางราคาเทียบกับมูลค่าที่ประเมินเพื่อจูงใจและแลกกับความเสี่ยงของผู้จองซื้อ ราคาสูงหรือต่ำกว่าที่ควรให้คุณหรือโทษกับผู้เกี่ยวข้อง กรณีที่ต้องการตอบแทนผู้เกี่ยวข้องในรูปส่วนต่างราคามาก ราคาเสนอขายอาจจะที่ต่ำเกินจริง ส่งผลให้ผู้จองซื้อได้กำไรแต่บริษัทเสียโอกาสที่จะนำเงินส่วนหนึ่งมาใช้ในกิจการ กรณีที่ผู้บริหารนำหุ้นที่ตนถือครองมาจำหน่ายพร้อมกับการทำไอพีโอ อาจเพิ่มแรงจูงใจที่ทำให้ราคาเสนอขายสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทและผู้บริหารได้รับเงินมากขึ้นแต่ผู้จองซื้อหุ้นจะขาดทุน ในระหว่างการทำไอพีโอนั้น สภาวะตลาด ความถูกแพงของหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ความต้องการซื้อที่มากบิดเบือนจากความจริง ต่างก็มีผลต่อการกำหนดราคาเสนอขาย นี่ก็คือจุดวัดใจที่สำคัญที่ผู้จองซื้อหุ้นไม่รู้ได้เลยว่าแรงจูงใจแต่ละอย่างมีมากหรือน้อยและมีผลต่อการกำหนดราคาอย่างไร จุดวัดใจที่มีผลมากที่สุดต่อราคาซื้อขายวันแรกคือ วันและช่วงเวลา แม้การประเมินมูลค่าเพื่อกำหนดราคาพร้อมส่วนลดในช่วงไอพีโอนั้นอาจเหมาะสมในช่วงเวลาดังกล่าว แต่เมื่อเวลาผ่านไป สภาวะตลาด ความเชื่อมั่น มุมมองและอารมณ์ที่แตกต่างกัน จะส่งผลให้ราคาซื้อขายวันแรกอาจจะดีหรือแย่กว่าที่คาดไว้ การที่เราไม่สามารถคาดการณ์ปัจจัยต่างๆ ในวันแรกของการซื้อขาย นั้นถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างมากสำหรับการจองซื้อหุ้นไอพีโอ นี่คือจุดวัดใจที่สำคัญเพราะผู้จองซื้อหุ้นไม่ได้กำหนดวันซื้อขายหรือคาดการณ์สภาวะตลาดล่วงหน้าได้ แตกต่างจากการซื้อหุ้นในตลาดที่มีข้อมูลพร้อมมากกว่าอย่างสิ้นเชิง หากไม่นับเรื่องคุณภาพของกิจการแล้ว เป็นการยากที่จะสรุปว่า ราคาซื้อขายวันแรกของหุ้นไอพีโอจะสูงหรือต่ำกว่าราคาเสนอขายด้วยปัจจัยและแรงจูงใจต่างๆ ดังนั้น หากได้รับการจัดสรร คำแนะนำของผมคือ ต้องศึกษารายละเอียดตามหนังสือชี้ชวนอย่างดี ยิ่งได้รับจัดสรรในปริมาณที่มีนัยสำคัญ ยิ่งต้องศึกษาเป็นพิเศษทั้งด้านคุณภาพและราคาเช่นเดียวกับการซื้อเพื่อลงทุนในระยะยาวทั่วไป ต้องนึกไว้เสมอว่า หุ้นไอพีโอนั้นไม่มีประวัติและผลงานที่เปิดเผยมากนัก การเสนอขายส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีของกิจการ และต้องไม่ลืมว่า การทำไอพีโอนั้นเป็นโอกาสครั้งสำคัญในการลดสัดส่วนถือครองของผู้ถือหุ้นเดิมหรือผู้บริหาร หากมองโลกในแง่ร้ายสุดๆ นี่คือการเริ่มต้นของกระบวนการ Exit Strategy อย่างหนึ่ง ในฐานะ Value Investor เราต้อง คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ถึงแรงจูงใจต่างๆ นอกจาการประเมินมูลค่าด้วยวิธีต่างๆ ก่อนตัดสินใจจองซื้อหุ้น บ่อยครั้งหุ้นไอพีโอคุณภาพดี ราคาเหมาะสม เรามักจะไม่ได้รับการจัดสรร เราไม่จำเป็นต้องเสียใจเพราะอาจจะไม่ใช่การเสียโอกาสได้กำไรส่วนต่างเสมอไป ดังที่หลายคนเปรียบเปรยว่า IPO ย่อมาจาก It’s Probably Overpriced หรือราคาสูงเกินจริงแล้ว การจองซื้อหุ้นที่ได้รับจัดสรรโดยไม่ได้ศึกษาหรือไตร่ตรองให้ดี หลายคนอาจมองว่าเป็นการซื้อแบบขำๆ แต่หลายครั้งก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นการขำไม่ออก ได้เช่นกัน !!
โดย
humdrum
พุธ มิ.ย. 13, 2012 12:42 pm
0
13
Re: *** Footnotes ข้อระมัดระวังในการใช้คำ quotes
เทียบกับคัมภีร์ตาลมุดครับ หลายปีก่อน ผมเคยไปยืมโน็ตของเพื่อนสาวชาวคนยิว เธอจดโน๊ตเล็กเชอร์เก่งมาก จดแบบนี้ละครับแบบย่อหน้าสั้นๆ จดเหมือนคัมภีร์ตาลมุด ผมเลยถามว่าทำไม เธอเอนตัวเข้ามากระซิบข้างหูผมแล้วตอบว่า "มันทำให้เราจำได้ดี" แล้วบอกผมว่า "มีอะไรจะถามอีกไหม" ตอนนั้นบอกไม่มีแล้ว เสียดายเหมือนกันไม่ได้ชวนออกเดทครับ http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/talmud_berakhot_bomberg-jpg.jpg
โดย
humdrum
อาทิตย์ มิ.ย. 10, 2012 3:33 pm
0
3
Re: *** Footnotes ข้อระมัดระวังในการใช้คำ quotes
คราวนี้ใช้คำสั่ง code จัดเรียงเป็นแบบในคัมภีร์ตาลมุด สายตากวาดมองแค่บรรทัดสั้นๆ สายตาแทบไม่ขยับเลย ผิดกับเมื่อต้องอ่านบรรทัดยาวๆ สายตาเราต้องคลาดเคลื่อนไปไกลกว่า ลองดูนะครับ มันน่าอ่านกว่า เหมือนอ่านบทกวี มันมีสุนทรียภาพมากกว่า ทั้งที่เป้นบทความเดียวกันครับ มองต่างมุมบ้างนะครับ คำ quotes มีข้อดี แต่มันก็มีข้อเสีย คำ quotes คือ คำที่เรายกมาจากคำพูดของคนอื่น คนพูดเขาพูดยาวเลย แต่คนที่ quotes เขาเอามาท่อนเดียวหรือสั้นๆ ผมก็ต้องไปอ่านหาเพิ่มเติมว่ามาจากไหน อย่าง เวลาอ่าน Security Analysis ของเบน แกรม นี่เห็นได้ชัด ถ้าอ่านหน้าอย่างเดียว ไม่ค่อยได้อะไร แต่ถ้าตามอ่าน appendix หรือ footnotes ที่เขาใส่ไว้ตัวเล็ก ๆ หรือกรอบเล็ก ๆ เมื่อผมไปตามอ่านเล่มอื่นจากตรงนั้น ความเข้าใจก็มากขึ้นเมื่อกลับมาอ่าน Security Analysis อีกครั้ง เวลาอ่านคำ quotes สมัยก่อนผมชอบอ่านมาก กระชับ สั้นๆ เอาเนื้อ ๆ เลย ตอนนั้นเคยคิดว่าดีกว่าอ่านหนังสือซะอีก ประหยัดเวลาได้ตั้งเยอะ แต่พอประสบการณ์นานๆ เข้า มีคนมาถามว่าผมเคยเขียนบทความอย่างนั้น ผมพูดอย่างนั้น หมายถึงอะไร ผมลืมไปด้วยซ้ำ ต้องให้เขาบอกว่าเอามาจากบทความไหน ผมเริ้่มให้นำหนักคำ quotes น้อยลง แต่ไปเพิ่มน้ำหนักว่าเขาพุดตอนไหน พูดเมื่อไหร่ พูดกับใคร ตอนนี้เขายังเชื่อในคำพูดอย่างนั้นอีกหรือไม่ แล้วก็มานั่งคิดว่า คนอื่นไม่เข้าใจที่เขียน เพราะอะไร ผมยกคำ Quotes ของคนอื่นมามาเขียนบทความ อย่างของมังเกอร์ เอามาเยอะมาก แต่เวลายกมา คนอ่านกลับก็ไม่เข้าใจเท่ากับที่เราเข้าใจ ก็ต้องไปหาตั้นตอหรือฉบับจริงตอนที่เขาใช้ประโยคนั้น บางทีผมต้องอ่านทั้งสุนทรพจน์ เพราะเขาปูเนื้อเรื่องเอาไว้ยาวมาก ผมเปรียบเหมือนสาวใช้ที่บ้าน เกือบทุกคนเลยที่มาทำงาน ชอบดูละคร และดูได้ทุกเรื่อง พอโฆษณาเรื่องนี้ ก็เปลี่ยนไปอีกเรื่อง สมาธิดีมาก สามารถจับใจความเรื่องต่างๆ ได้เร็วมาก เนื้อเรื่องก็ไม่เข้าใจ ก็ดูกันได้ครับ และที่ชอบมากคือ เรื่องไหนอวสานขอให้บอก ดูได้หมด ทั้งๆ ที่เคยไม่ดูละครเรื่องนั้นมาก่อนเลย พอเห็นว่าเป็นตอนอวสานก็ดูเลย เพราะตอนจบมันมีแต่ความสุข แต่ความเข้าใจเรื่องมันไม่มีเลย ดูเพราะมันเฉลยทุกอย่าง มีความสุขและสงสัยไปด้วย อ้าว....ทำไมแม่นางเอกถูกจับ ไปทำอะไรมา อ้าว......ทำไมพระเอกเข้าใจนางเอกผิด ไม่อยากคิดดีกว่า ไม่อยากสงสัย ดูเลย จบแบบ happy ending เป็นพอ ผมเปรียบเหมือนกินม่าม่า กินอาหารกล่องของ 7-11 ใส่ไมโครเวฟก็กินได้เลย เหมือนคนที่ทำเกมปัญหาต่างๆ ตามนิตยาสาร เช่น เกมจับผิดภาพ เห็นปัญหาเมือไหร่ พอทำไม่ได้ก็ดูเฉลยดีกว่า สำหรับผม คำ quotes ก็เป็นแบบนั้น เวลามอง Quotes มองให้เหมือนเวลามองปัญหาตีโจทย์คณิตศาสตร์ ดูแล้วคิดตาม ว่ามันจริงไหม เอามาใช้กับเราได้ไหม ใช้ตอนไหน แล้วข้อเสียของมันคืออะไร อย่ามองเห็น quotes แล้วเชื่อโดยไม่คิด ไม่ตั้งคำถามเลย พอสงสัยอะไรแล้ว มันก็เป็นจุดเริ่มต้น ให่้เราไปค้นหาเพิ่มเติม เหมือนแผนที่อย่างไรอย่างนั้น ไม่ใช่เห้นแล้วเหมือนเป็นขุมสมบัติ quotes ไม่ใช่ข้อสรุป มันคือจุดเริ่มต้นต่างหากครับ จากเรื่องความเข้าใจ Quotes นี้ ผมเอามาปรับใช้ในการลงทุนครับ เวลามีน้องๆ มาถามว่า พี่ long หรือ short หุ้น xxx หรือปล่าว ถ้าผมตอบว่า long เขาจะถามต่อว่า พี่ long จากราคาเท่าไหร่ ผมก็จะตอบว่าไปสนใจทำไม สิ่งที่ควรสนใจคือ ผมลงทุนในหุ้นตัวนั้นเพราะอะไร อะไรเป็นแรงจูงใจให้ผมลงทุน และปัจจุบันแรงจูงใจตัวนั้น ยังอยู๋และจะอยู่ไปอีกในอนาคตหรือไม่ และถ้าไม่มีแรงจุงใจนั่นแล้ว ผมจะทำอย่างไร จะขายเลยไหม คำถามเหล่านั้นมีเพื่อหาความเสี่ยง ว่าราคาหุ้นตัวนั้นมี risk/reward เป็นอย่างไรในปัจจุบัน เวลาอ่าน quotes เราต้องประเมิณ risk/reward อย่างนั้นเช่นกันครับ [/code]
โดย
humdrum
อาทิตย์ มิ.ย. 10, 2012 3:24 pm
0
2
Re: *** Footnotes ข้อระมัดระวังในการใช้คำ quotes
ผมลองใช้ code กับบทความ *** Footnotes ข้อระมัดระวังในการใช้คำ quotes ผลออกมาอย่างที่แสดงครับ มันอ่านง่ายขึ้นเพราะวิธีจัดเรียงอักษรที่สม่ำเสมอ นี่มันเป็นศิลปของลายเส้นเหมือนตัวหนังสือในคัมภีร์ตาลมุดของคนยิวเลย อ่านได้สบายกว่ารูปแบบอื่น ความสม่ำเสมอของตัวอักษรนำสายตาของเราไปตามบรรทัดโดยอัตโนมัติ ช่วยทำให้อ่านง่ายขึ้น มีสมาธิมากขึ้น และในที่สุดคนอ่านก็ไม่อ่อนล้า โดยสรุปเป็นตัวหนังสือที่สวยงามและดึงดูดสายตาได้ดีกว่า มันไม่เพียงจูงให้น่าอ่านเท่านั้น มันทำให้คนอ่านได้ คำสั่ง code มันแยกเส้นเชื่อมต่อระหว่างตัวอักษร ทำให้แต่ละตัวแยกออกจากกัน ด้วยวิธีนี้ ตัวอักษรหนาขึ้น เด่นขึ้น ทำให้ปรากฏชัดบนหน้าจอ มันทำให้ผมคิดเวลาอ่านหนังสือพิมพ์ ซึ่งอ่านง่ายกว่าหนังสืออื่นๆ มองครั้งแรกก็เหมือนมองเห็นภาพ สิ่งที่เห็นมันบอกว่าอ่านง่ายและน่าอ่าน คือตัวอักษรที่ชัดเจนครับ *** Footnotes ข้อระมัดระวังในการใช้คำ quotes มองต่างมุมบ้างนะครับ คำ quotes มีข้อดี แต่มันก็มีข้อเสีย คำ quotes คือ คำที่เรายกมาจากคำพูดของคนอื่น คนพูดเขาพูดยาวเลย แต่คนที่ quotes เขาเอามาท่อนเดียวหรือสั้นๆ ผมก็ต้องไปอ่านหาเพิ่มเติมว่ามาจากไหน อย่าง เวลาอ่าน Security Analysis ของเบน แกรม นี่เห็นได้ชัด ถ้าอ่านหน้าอย่างเดียว ไม่ค่อยได้อะไร แต่ถ้าตามอ่าน appendix หรือ footnotes ที่เขาใส่ไว้ตัวเล็ก ๆ หรือกรอบเล็ก ๆ เมื่อผมไปตามอ่านเล่มอื่นจากตรงนั้น ความเข้าใจก็มากขึ้นเมื่อกลับมาอ่าน Security Analysis อีกครั้ง เวลาอ่านคำ quotes สมัยก่อนผมชอบอ่านมาก กระชับ สั้นๆ เอาเนื้อ ๆ เลย ตอนนั้นเคยคิดว่าดีกว่าอ่านหนังสือซะอีก ประหยัดเวลาได้ตั้งเยอะ แต่พอประสบการณ์นานๆ เข้า มีคนมาถามว่าผมเคยเขียนบทความอย่างนั้น ผมพูดอย่างนั้น หมายถึงอะไร ผมลืมไปด้วยซ้ำ ต้องให้เขาบอกว่าเอามาจากบทความไหน ผมเริ้่มให้นำหนักคำ quotes น้อยลง แต่ไปเพิ่มน้ำหนักว่าเขาพุดตอนไหน พูดเมื่อไหร่ พูดกับใคร แล้วพูดเพราะมีแรงจูงใจอะไร เขาพูดเพราะว่าเขาผ่านประสบการณ์อะไรมา ตอนนี้เขายังเชื่อในคำพูดอย่างนั้นอีกหรือไม่
โดย
humdrum
อาทิตย์ มิ.ย. 10, 2012 3:21 pm
0
2
Re: *** Footnotes ข้อระมัดระวังในการใช้คำ quotes
ถามคนดูแลเว็บน่ามีคำตอบนะครับ ถ้าเป็นสมัยก่อนคงถามพี่เล็ก CK ได้ ผมเข้าไปอ่านตรงมุมซ้ายมือในหน้าที่เราจะเขียนข้อความตอบกลับ จะมีเขียนตรงซ้ายมือล่างว่า Options จากตรงนั้นผมกดคลิก BBCode แล้วอ่านวิธีใช้ code ว่าเป็นอย่างไร จับใจความได้ว่ามันช่วยให้อ่านง่ายขึ้น BBCode is ON [img] is ON [flash] is ON [url] is ON Smilies are ON
โดย
humdrum
อาทิตย์ มิ.ย. 10, 2012 3:19 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
*** Footnotes ข้อระมัดระวังในการใช้คำ quotes สวัสดีครับ :man: คำ quotes คือ คำที่เรายกมาจากคำพูดของคนอื่น คนพูดเขาพูดยาวเลย แต่คนที่ quotes เขาเอามาท่อนเดียวหรือสั้นๆ ผมก็ต้องไปอ่านหาเพิ่มเติมว่ามาจากไหน อย่าง เวลาอ่าน Security Analysis ของเบน แกรม นี่เห็นได้ชัด ถ้าอ่านหน้าอย่างเดียว ไม่ค่อยได้อะไร แต่ถ้าตามอ่าน appendix หรือ footnotes ที่เขาใส่ไว้ตัวเล็ก ๆ หรือกรอบเล็ก ๆ เมื่อผมไปตามอ่านเล่มอื่นจากตรงนั้น ความเข้าใจก็มากขึ้นเมื่อกลับมาอ่าน Security Analysis อีกครั้ง เวลาอ่านคำ quotes สมัยก่อนผมชอบอ่านมาก กระชับ สั้นๆ เอาเนื้อ ๆ เลย ตอนนั้นเคยคิดว่าดีกว่าอ่านหนังสือซะอีก ประหยัดเวลาได้ตั้งเยอะ แต่พอประสบการณ์นานๆ เข้า มีคนมาถามว่าผมเคยเขียนบทความอย่างนั้น ผมพูดอย่างนั้น หมายถึงอะไร ผมลืมไปด้วยซ้ำ ต้องให้เขาบอกว่าเอามาจากบทความไหน ผมเริ้่มให้นำหนักคำ quotes น้อยลง แต่ไปเพิ่มน้ำหนักว่าเขาพุดตอนไหน พูดเมื่อไหร่ พูดกับใคร แล้วพูดเพราะมีแรงจูงใจอะไร เขาพูดเพราะว่าเขาผ่านประสบการณ์อะไรมา ตอนนี้เขายังเชื่อในคำพูดอย่างนั้นอีกหรือไม่ แล้วก็มานั่งคิดว่า คนอื่นไม่เข้าใจที่เขียน เพราะอะไร ผมยกคำ Quotes ของคนอื่นมามาเขียนบทความ อย่างของมังเกอร์ เอามาเยอะมาก แต่เวลายกมา คนอ่านกลับก็ไม่เข้าใจเท่ากับที่เราเข้าใจ ก็ต้องไปหาตั้นตอหรือฉบับจริงตอนที่เขาใช้ประโยคนั้น บางทีผมต้องอ่านทั้งสุนทรพจน์ เพราะเขาปูเนื้อเรื่องเอาไว้ยาวมาก ผมเปรียบเหมือนสาวใช้ที่บ้าน เกือบทุกคนเลยที่มาทำงาน ชอบดูละคร และดูได้ทุกเรื่อง พอโฆษณาเรื่องนี้ ก็เปลี่ยนไปอีกเรื่อง สมาธิดีมาก สามารถจับใจความเรื่องต่างๆ ได้เร็วมาก เนื้อเรื่องก็ไม่เข้าใจ ก็ดูกันได้ครับ และที่ชอบมากคือ เรื่องไหนอวสานขอให้บอก ดูได้หมด ทั้งๆ ที่เคยไม่ดูละครเรื่องนั้นมาก่อนเลย พอเห็นว่าเป็นตอนอวสานก็ดูเลย เพราะตอนจบมันมีแต่ความสุข แต่ความเข้าใจเรื่องมันไม่มีเลย ดูเพราะมันเฉลยทุกอย่าง มีความสุขและสงสัยไปด้วย อ้าว....ทำไมแม่นางเอกถูกจับ ไปทำอะไรมา อ้าว......ทำไมพระเอกเข้าใจนางเอกผิด ไม่อยากคิดดีกว่า ไม่อยากสงสัย ดูเลย จบแบบ happy ending เป็นพอ ผมเปรียบเหมือนกินม่าม่า กินอาหารกล่องของ 7-11 ใส่ไมโครเวฟก็กินได้เลย เหมือนคนที่ทำเกมปัญหาต่างๆ ตามนิตยาสาร เช่น เกมจับผิดภาพ เห็นปัญหาเมือไหร่ พอทำไม่ได้ก็ดูเฉลยดีกว่า สำหรับผม คำ quotes ก็เป็นแบบนั้น เวลามอง Quotes มองให้เหมือนเวลามองปัญหาตีโจทย์คณิตศาสตร์ ดูแล้วคิดตาม ว่ามันจริงไหม เอามาใช้กับเราได้ไหม ใช้ตอนไหน แล้วข้อเสียของมันคืออะไร อย่ามองเห็น quotes แล้วเชื่อโดยไม่คิด ไม่ตั้งคำถามเลย พอสงสัยอะไรแล้ว มันก็เป็นจุดเริ่มต้น ให่้เราไปค้นหาเพิ่มเติม เหมือนแผนที่อย่างไรอย่างนั้น ไม่ใช่เห้นแล้วเหมือนเป็นขุมสมบัติ quotes ไม่ใช่ข้อสรุป มันคือจุดเริ่มต้นต่างหากครับ จากเรื่องความเข้าใจ Quotes นี้ ผมเอามาปรับใช้ในการลงทุนครับ เวลามีน้องๆ มาถามว่า พี่ long หรือ short หุ้น xxx หรือปล่าว ถ้าผมตอบว่า long เขาจะถามต่อว่า พี่ long จากราคาเท่าไหร่ ผมก็จะตอบว่าไปสนใจทำไม สิ่งที่ควรสนใจคือ ผมลงทุนในหุ้นตัวนั้นเพราะอะไร อะไรเป็นแรงจูงใจให้ผมลงทุน และปัจจุบันแรงจูงใจตัวนั้นยังอยู๋และจะอยู่ไปอีกในอนาคตหรือไม่ และถ้าไม่มีแรงจุงใจนั่นแล้ว ผมจะทำอย่างไร จะขายเลยไหม คำถามเหล่านั้นมีเพื่อหาความเสี่ยงว่าราคาหุ้นตัวนั้นมี risk/reward เป็นอย่างไรในปัจจุบันครับ เวลาอ่าน quotes เราต้องประเมิณ risk/reward อย่างนั้นเช่นกันครับ สวัสดีครับ :man:
โดย
humdrum
อาทิตย์ มิ.ย. 10, 2012 11:32 am
0
0
Re: รวมปรัชญาการลงทุนในดวงใจ (favorite inv. quotes of all ti
" วิกฤตปี 2008 นั้นเปลี่ยนความคิดหลายอย่าง อย่างหนึ่งที่คนทั้งโลก ทั้งตัวนักเศรษศาสตร์เองหรือว่าประชาชนทั่วไปสงสัยคือทฤษฎีเศรษศาสตร์ที่เราใช้กันอยู่หรือสอนกันในมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆนั้นใช้ได้จริงหรือไม่ หรือ ว่าทฤษฎีได้ถูกพิสูจน์แล้วว่ามันล้มเหลวโดยชิ้นเชิง แต่สาเหตุที่แท้จริงกลับไม่ได้รับความสนใจ ไปอ่านประวัติศาสตร์ มันผิดตั้งแต่การคิดค้นทฤษฎีเศรษศาสตร์ขั้นมา ผิดตั้งแต่เกิด เกิดมาก็ผิดเลย เพราะไปเกิดบนรากฐานของฟิสิกส์ หลายศาสตร์ในตอนนั้นล้วนมีรากฐานมาจากฟิสิกส์ของนิวตันทั้งสิ้น เรียกได้ว่าฟิสิกส์เป็นบิดาของศาสตร์ต่างๆ ในโลก เศรษศาสตร์ก็ไปเอาแบบอย่างมาจากนิวตัน นิวตันอธิบายสิ่งต่างๆด้วยหลักวิทยาศาสตร์ หลายอย่างในโลก คนเข้าใจหมด เรื่องที่สงสัยกันมาหลายร้อยปี นิวตันเขาอธิบายได้เกือบหมด พอความเข้าใจกระจ่างขึ้น ความงมงายต่างๆ ก็หมดไป ความแน่นอนในชีวิตก็เข้ามาแทน นิสัยคนเราชอบความแน่นอน ชอบอะไรที่มันทำนายได้ นิวตันก็เกิด อะไรต่างๆ ที่ล้วนเกี่ยวข้องกับทำนายอนาคตมันก็เกิด รวมถึงอาชีพหมอดู นั่นก็เกิด การใช้เทคนิเคิลเส้นกราฟวิเคราะห์หุ้นก็เกิด บทข่าวสัมภาษณ์เกี่ยวกับคาดการณ์ของตลาดทุนของเซียนต่างๆ ก็ขายได้ หนังสือใบ้หวยยังเขียนกันเป็นเล่มได้ ผมมีเห้นมีสองวิชาในโลกที่ยอมรับว่าอะไรมันก็ไม่แน่นอนยอมรับกับมัน และ “อย่าประมาท” หนึ่งคือ ศาสนาพุทธ สอง คือ value investing ที่สอนให้นักลงทุนต้องมี margin of safety " นิรนาม
โดย
humdrum
อาทิตย์ มิ.ย. 10, 2012 8:23 am
0
15
Re: ผมผู้ซึ่งประเมินผิดตลอดการ
ก่อนอื่นต้องขออภัยพี่บลู ที่ไม่ได้ชี้แจงให้ขัดเจนครับ ผมต้องเขาเริ่ขอขอบคุณพี่ momo ด้วย ใช่ครับ เราควรมีคนว่าเราและตำหนิเราได้แต่ต้องอยู๋บนพื้นฐานของหตุผล เวลาลงทุนในบริษัทไหน ผมจะบอกลูกน้องให้ไปคุยกับคนที่ไม่ชอบในความคิดของเรา ถ้าเขามีเหตุผลที่ฟังขึ้น พูดจารู้เรื่อง มันต้องมีอะไรที่เราเข้าใจผิดละ เราก็ไปตรวจสอบว่ามันจริงหรือไม่ ขนาดนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ของโลก อย่าง จอน ทูดอ โจน ยังบอกว่า เขาเริ่มทุกวันด้วยการตั้งสมมุติฐานว่า หุ้นที่เขามีในพอร์ตทั้งหมดเป้นการลงทุนที่ผืดหมดเลย แล้วเขาก็เริ่มจากตรงนั้น คือ จับผิดตัวเอง โซรอสก็บริหารหองทุนด้วย senses of defense อย่างนั้น มันเป้นเรืองของการแยกอีโก้ของเราออกจากการตัดสินใจที่มีเหตุและผล ซึ่งผมถือว่าเป้นคุณสมบัติสำคัญสำหรับนักลงทุนที่มีความกระตือรือร้นในที่จะประสบความสำเร็จทุกคน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่บัฟเฟตจะบอก CEO บริษัทที่อยู๋ในเครื่อของ Berkshire ว่ามีข่าวร้ายให้บอกทันที เขาเรียนจากสิ่งเคยเกิดขึ้นกับแบริ่งมาแล้ว เคยเกิดกับเลแมน บราเทอร์มาแล้ว ในขณะที่เราอ่านบทความจากท่านอาจารย์หลายท่าน เราก็เหมือนได้เสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต แต่จะมีสักกี่คนที่กล้าวิจารย์ความผิดพลาดตัวเองเหมือนพี่บลู ประสบการณ์ความผิดพลาดของพี่ในอดีตก็สอนผมให้เก่งขึ้น เหมือนผมกำลังซ่อมแซมส่วนที่สีกหรอของตัวเองด้วยเช่นกันครับ ขอบคุณครับ
โดย
humdrum
ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 8:07 am
0
3
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
เขาเจอปัญหามาอย่างนี้ เขาก็ใส่ MOS เข้าไปในการคัดคนโดยพัฒนา techniques ที่ใช้วินิจฉัย actual behaviors และประเมิณผล personal performaces ของผู้สมัครได้ ซีงผมจะเขียนในบทความต่อไปอาทิตย์หน้าว่าเขา test กันอย่างไร และ มี questionnaires อย่างไรบ้างครับ กลุ่ม Marginal Investors คนที่เขาหลีกเหลี่ยงมีลักษณะเฉพาะตัวคือพวกสุดโต่งทั้ง positives and negatives คนกลุ่มนี้อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ก้าวร้าวกว่า โทษโน้น โทษนี่ และชอบใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลครับ ข้อสังเกตครับ โดยทั่วๆ ไป successful value investors เป็นคนที่มี well-balanced personality สามารถใช้ลักษณะความมั่นคงทางอารมณ์เฉพาะตัวให้เหมาะกับสถานการณ์ได้โดยไม่ต้องมีอิทธิพลจากใครหรือปัจจัยภายนอกมาครอบงำได้ง่ายๆครับ :man: สวัสดีครับ Have a nice weekend krab :bow:
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 11:42 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
:man: แค่นี้ละครับ จากทั้งเก้าข้อ เขาก็แยกย่อยลงไปในรายละเอียดของแต่ละอัน โดยมี techniques ทดสอบอีกทีครับ เขาเลือกตัวนักลงทุนเน้นคุณค่าที่มา ทำงานกับเขาแบบนี้เป็นเกณฑ์ผ่านหรือไม่ผ่านเลยทีเดียว ผมถามว่าทำไมถึงใช้หลักการอย่างนี้ เขาใช้การตัดสินใจอย่างนี้จากประสบการณ์จริง เขาเคยเจอคนที่ไม่มีวินัยที่ดีพอและทำตามใจตัวเองในการบริหารกองทุน เขาถือว่าอันตรายที่สุดที่ไม่ปฏิบัติตาม Fund Procedures สำหรับเขาแล้ว value investing skill ที่ถูกฝึกกันมานั้นต้องสำคัญกว่านิสัยส่วนตัว เขาก็มองว่านิสัยส่วนตัวแก้ยากมาก ต้องคัดออกอย่างเดียว ทุกคนมี personality characteristics ซึ่งอาจไม่เหมาะกับหลักการ value investing เสมอไปครับ
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 11:40 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
:vm: 9. สุดท้ายข้อนี้เอามาจาก Reflexivity ของ โซรอสครับ เกี่ยวกับเรื่องมุมมองคนคนล้วนๆ ครับ ผมจะอธิบายอีกที : มีมุมมองที่เป็นภาพรวม มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์นั้นหลายมุมมอง ทราบว่าคนที่เกี่ยวข้องที่มีฐานะต่างกันมีมุมมองและความสัมพันธ์ต่อเหตุการณ์นั้นอย่างไรและมุมมองพวกเขาเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อฐานะความสัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้องเปลี่ยน สามารถตัดสินใจและแก้ไขทันต่อเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล NOTE : ( ล่าสุดเขากล่าวสุนทรพจน์ที่งาน Festival of Economics วันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมาที่ประเทศอิตาลี ผมว่าเป็นสุนทรพจน์ที่ดีที่สุดของเขา เขาใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายขึ้น และเรียบเรียงอธิบายอะไรคือสาเหตุของเหตุการณ์วิกฤตในยุโรปได้อย่างละเอียด Credit : The Full Text Of George Soros' Famous Speech : Festival of Economics/ June 2, 2012/Trento, Italy : http://www.businessinsider.com/full-text-of-george-soros-speech-2012-6 )
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 11:40 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
vm: 8. สุขภาพดี มีชีวิตชีวา สนใจกีฬา มีความสนุกและทะเยอทะยานที่จะได้ประลองฝีมือ byd74hWNdR0 :man: บัฟเฟตกับบิล เกตชอบเล่นเกมบริดจ์มากครับ เกมนี้ดีตรงไหน ผมขอยกคำพูดของอาจารญ์เซกฮอสเซอร์ที่บอกว่าเกมนี้ "Playing bridge well requires analytic ability to understand and evaluate probabilities and make informed decisions. It also requires players to put themselves in other peoples shoes and consider their opponents situation and strategy. Finally, its important to be able to cope well with individual and team disappointment. Indeed, I has become a worse technical player, but a better partner, in part because of learning to share the successes and disappointments as a teammate rather than as an individual." :idea: อันนี้ใหม่สำหรับผมครับ กองทุนเขาเริ่มวิจัยว่าเอาเกมบริดจ์เป็นตัววัดคนเข้าทำงาน แต่ยังไม่ใช้นะครับ แค่กำลังวางรายละอียดตรวจสอบว่าเป็นไปได้มากแค่ไหน ผมไม่แน่ใจว่ากองทุนของคุณ Mudley ใช้ Poker ในการรับคนฝึกงานหรือปล่่าว
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 11:39 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
:vm: 7 .เป็นคนซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ เรียบง่าย เป็นคนธรรมดา ชอบคุยกับคน ตลกได้ก็ดี มีความเป็นมิตร มีความเอื้ออาทร ชอบช่วยเหลือคนอื่น ปรับตัวเองเข้ากับกฏระเบียบหรือวัฒนธรรมของสัมคมนั้นๆ ได้ดี :man: Well, may be he is looking for the next Warren Buffett krab. :B :
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 11:39 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
:vm: 6. เป็นคนเชื่อมั่นในตนเอง เปิดเผย แต่ก็ไม่โกรธเมื่อโดนวิจารณ์ ผิดก็ยอมรับและแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเอง ไม่ย่อท้อ เอาชนะอุปสรรค มีความมุ่งมั่น :man: คนสมัยนี้อยู่ในโลกวัตถุทุนนิยม การแข่งขันสูง พวกเขาก็สร้าง EGo ครอบตัวเองไว้ ว่าแต่คำว่า Invest มาจากภาษาลาตินว่า investre แปลว่า ห่อหุ้มตัวเองด้วยเสื้อผ้า โซรอสเคยบอกว่า ใครจะมาทำงานกับเขา ต้องแยกให้ออกระหว่างอารมณ์ตัวเองกับการตัดสินใจในการลงทุน investors อย่าห่อหุ่มตัวเองด้วยอคติต่างๆ ให้มันมากเกินความจำเป็นกับการลงทุน จะทำอะไร ก็มีอคติก็ให้เพียงพอต่อกับการดำรงชีวิต อย่าให้มันมากเกินความจำเป็นที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วง ครูสอนกอล์ฟเคยสอนว่า อย่าโกรธเกินฝีมือตนเอง ประมาณนั้นเลยครับ :wall: :man: ข้อนี้เชื่อมกับข้อ 5. ถ้าใครฉลาดมาก ๆ ผ่าน TEST ข้อ 5 มาได้ก็จะมาเจอด่านนี้ โดยเขาจะสร้างสถานการณการขัดแย้ง Investing conflict situation เป็นตัววัดความอดทนต่อความขัดแย้งคนจาก ผมจะยกตัวอย่างอาทิตย์หน้าครับ :8)
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 11:39 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
:vm: 5. มีสมาธิในการทำงานไม่วอกแวกต่อสิ่งเร้าทั้งภายในใจและภายนอก มีความมั่นคงทางอารมณ์ที่หนักแน่น ไม่ขี้บ่น ไม่หงุดหงิดง่าย ไม่ก้าวร้าว :man: บัฟเฟตบอกว่า ถ้าแกเล่นบริดจ์มีผู้หญิงแก้ผ้าเดินมา แกยังไม่รู้เลย 55555 ผมแซวไปว่า จะ test อย่างนั้นหรือปล่าว จะได้ไปแอบดูด้วย 5555 เอาซีเรียสนะครับ เรื่องความมั่นคงบทางอารมณ์นี้ บัฟเฟตเขาส่งสัญญาญมานานแล้วละครับที่บอกว่า EQ สำคัญกว่า IQ เพื่อนผมเขาเอา Questionaires เป็นซักประวัติเป็นตัววัด โหดดีครับคำถามมัน ผมจะเาอมาลงให้อาทิตย์หน้า
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 11:38 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
:vm: 3.ความจำ long /short terms ดี สามารถจับใจความสำคัญและเอาออกมาใช้ได้ :vm: 4. มีความรวดเร็วในการมองเห็นข้อแตกต่างอย่างลึกซึ้ง
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 11:38 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
:vm: 2.มีความสามารถในการคำนวณและมีระเบียบแบบแผนในการคิดหาคำตอบทางตัวเลขโดยประมาณอย่างมีเหตุผล :man: ชาลี มังเกอร์เคยบอกว่า ถ้าเราจะทำธุรกิจหรือลงทุน แต่ดันไม่เก่งเลข ก็เหมือนเรามีขาเดียวแล้วเข้าไปแข่งขันเกมที่มีกติกาว่าถ้าเตะก้นคนอื่นได้ก็ชนะ ผมลองทำดู มีขาเดียวแล้วจะเตะอย่างไร เพราะถ้ายกขาเตะก็ล้มเลย เพราะอีกขาต้องยันพื้นเอาไว้ เขาเปรียบเทียบได้ดีครับ
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 11:37 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
สวัสดีครับ :pray: :man: ในขณะที่กองทุนไสต์ VI เริ่มมากขึ้นในอเมริกา ในอินเดียเองก็ถือว่าก้าวไปไกลกว่าของไทยมาก ผมมีเพื่อนอินเดียเป็นผู้บริหารกองทุนแนว Vi เช่นกัน ผมได้เขียนอีเมลไปถามว่า นายมีมาตรวัดรับคนทำงานอย่างไร เขากรุณาตอบมา ผมแปลดังนี้ครับ มาตรฐานการเลือก value investor ในปัจจุบันพิจารณาจากความถนัดดังนี้ :vm: 1. มีหลักความคิดและเข้าใจหลักการทาง Mr.Market , Margin of Safety, และ Businesslike Investing สามารถดัดแปลงมาสร้างให้เป็นระบบการบริหารพอร์ตการลงทุนได้ :man: แน่นอนครับหลักการของเบน แกรม ไม่เข้าใจได้อย่างไร แซวซะหน่อยครับ :B
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 11:37 pm
0
0
Re: P/E ที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมนี้ คือ ??
Dear value friends, Future is unpredictable. Even if value investors are concerned about intrinsic values, the complex reality is that intrinsic values are not carved in stones. How can you be sure that u are buying at a discount? Value investor should position himself/herself to survive and prosper under any circumstances. Bad lucks can happen. Mistakens happen. Chaopaya river may overflow its bank this year or may be not, but we still buy flood insurance on our house. Simiarly, a value investor should pay attention to checklists as investing insurance premium against unexpected and unpredictable adversity. Those who take advantage of Hongvalue 's advices have a good chance of enjoying long term success. "Five Forces Model เป็น Model ที่สำคัญมากๆในการวิเคราะห์คุณภาพของธุรกิจ นักลงทุนควรมองให้ออกว่าบริษัทที่สนใจลงทุน มีสถานะอย่างไรตาม Model Five Forces และดูควบคู่ไปกับตัวเลขทางการเงิน จึงจะทำให้วิเคราะห์หุ้นอย่างรอบด้านจริงๆ" hongvalue source :Five Forces model by hongvalue Tue May 08, 2012 http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=51996
โดย
humdrum
พุธ มิ.ย. 06, 2012 7:47 am
0
8
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/imagesdsdsd.jpg I have the strategy during the time until Mr.Market shows any signs of hysteria. One of the best rule I learn from value investing is to do nothing, abosolutely nothing unless there is sonething to do. Most speculators tend to do the opposite of what is required of value investing success. They cut their profits short and let their losses run.
โดย
humdrum
พุธ มิ.ย. 06, 2012 7:25 am
0
0
Re: หุ้นพื้นฐานดีแค่ไหนก็ไม่น่าลงทุน
ขอบคุณสำหรัยข่าวครับ Thanks for the news krab. I have the strategy during the time until Mr.Market show signs of hysteria. One of the best rule I learn from value investing is to do nothing, abosolutely nothing unless there is sonething to do. Most speculators tend to do the opposite of what is required of value investing success. They cut their profits short and let their losses run.
โดย
humdrum
พุธ มิ.ย. 06, 2012 7:17 am
0
2
Re: P/E ที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมนี้ คือ ??
ผมไม่ทราบว่าใครเขียน แต่งานเขียนเหมือนอาจารย์อินวิซิเบิล ขอบคุณทั้งคนเขียนและคนที่เก็บบทความคุณ toroman BIG CREDIT: http://toromagn.wordpress.com/2009/10/19/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/ บทความที่ดีที่สุดบทความนึงของอาจารย์ตลอดกาลของผมครับ เรื่องการประเมินราคาที่เหมาะสมของหุ้นนั้นผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ยาก และราคาที่เหมาะสมของหุ้นนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป และสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น หุ้นตัวหนึ่งมี eps 1 บาท และมี p/e ที่เหมาะสมคือ 15 เท่า ในปีนี้ราคาที่เหมาะสมคือ 15 บาท แต่หุ้นตัวนี้มีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ราคาที่เหมาะสมในปีหน้าก็จะเพิ่มเป็น 1.2*15 คือ 18 บาท นอกจากนี้ สิ่งที่ทำให้ราคาเหมาะสมอาจจะเปลี่ยนแปลงคือ สภาพแวดล้อมต่างๆ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในตัวบริษัทเองที่อาจจะทำให้การเพิ่มขึ้นของกำไร เพิ่มขึ้นหรือน้อยลง กว่าที่คาดไว้ ซึ่งการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของกำไรที่คาดหวัง จะมีส่วนทำให้ p/e ของหุ้นต่ำลงหรือสูงขึ้นด้วย ดังนั้นหาก eps growth ลด ก็ทำให้ eps ในปีต่อไปลดจากที่คาดไว้ และ p/e ที่เหมาะสมหรือ p/e ที่ตลาดจะให้กับหุ้นตัวนั้นๆ ลดลงด้วย เป็น 2 เด้ง ในทางกลับกันก็เช่นกัน ดังนั้นเราอาจจะเห็นว่าตลาด เปลี่ยนแปลงราคาที่เหมาะสมสำหรับหุ้นตัวนั้นได้เร็วและรุนแรงพอสมควรครับ เช่น หุ้น MINT เคยได้ p/e 10-15 เท่า เพราะตลาดคาดว่าหุ้นตัวนี้จะโตได้ปีละ 10-15% แต่เมื่อ mint สามารถเติบโตในปีก่อนได้เ 40% ก็กลายเป็นว่าตลาดก็ให้ p/e ของmint สูงถึง 20-25 เท่า ดังนั้น หากเรายึดติดกับว่า mint ไม่ควรมี p/e เกิน 15 เท่าก็กลายเป็นว่าอาจจะขายหุ้น mint ก่อนเวลาอันควรก็เป็นได้ หรือ หุ้น amata ในปี 44-45 เคยมี p/e เพียง 4-6 เท่า แต่ปัจจุบัน มี p/e 15-20 เท่า ดังนั้น ความคาดหวังของนักลงทุน ณ เวลาที่ต่างกัน สถานการณ์ต่างกัน ก็มีความแตกต่างกันมากครับ แม้กระทั่งหุ้นกลุ่มอสังหาฯ หรือวัสดุก่อสร้าง เคยได้ p/e 10-20 เท่าในปี 46 แต่ปัจจุบัน p/e 6-8 เท่า หลายคนยังไม่อยากซื้อเลยครับ ดังนั้น ผมคิดว่าการคำนวณราคาที่เหมาะสมของหุ้นแต่ละตัวนั้นค่อนข้างลำบาก สำหรับผมเองคงจะบอกได้ว่า หุ้นตัวหนึ่งๆ นั้นยังถูกพอสมควร และมี upside มาก ในขณะที่ downside หรือความเสี่ยงไม่มากนัก ทำให้น่าสนใจในการลงทุน หรือบอกว่าหุ้นตัวหนึ่งแพงกว่าที่ควรจะเป็น หรือมี downside พอสมควร หรือมีอนาคตที่ไม่น่าสนใจหรือมีความกังวลอะไรบางอย่าง ทำให้ไม่น่าสนใจนัก หรืออย่างมากก็บอกได้ว่าหุ้นตัวนั้นๆ ตามพื้นฐานแล้วราคาหุ้นไม่ควรต่ำกว่ากี่บาทต่อหุ้น แต่ผมเองไม่สามารถทำนายราคาที่เหมาะสมของหุ้นตัวนั้นได้อย่างถูกต้องครับ และไม่สามารถบอกได้ว่าหุ้นตัวนั้นจะขึ้นไปถึงเท่าไหร่ถึงจะน่าขายที่สุด หากเปรียบเทียบก็เหมือนกับว่า หากมีคน 10 คนวิ่งแข่งกัน ผมสามารถบอกได้ว่า 3 คนไหนน่าจะมีอันดับแรกๆ หรือ พอจะบอกได้ว่านักวิ่ง 3 คนที่ผมเลือกมานั้นควรจะทำเวลาได้ไม่เกินกี่วินาที แต่ผมไม่สามารถบอกได้ว่าทั้ง 3 คนหรือแต่ละคนจะใช้เวลาวิ่งกี่วินาทีครับ ดังนั้น การที่การประเมินราคาที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ยาก ระยะหลังๆ ผมจึงเน้นการที่เลือกหุ้นที่ดี คือ อยู่ในธุรกิจที่มีการเติบโต บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และมีผู้บริหารที่ดี แล้วถือลงทุนไปเรื่อยๆ ครับ กล่าวคือ ผมคิดว่าเราควรจะทุ่มเทเวลาในการศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพ หรือ qualitative เช่น การวิเคราะห์ทำความเข้าใจในธุรกิจ มากกว่าปัจจัยด้านตัวเลขหรือปริมาณครับ การวิเคราะห์ความถูกแพงของหุ้นก็เป็นสิ่งสำคัญครับ ซึ่งหลักๆ คือการดู p/e การใช้ p/e นั้นต้องใช้กับหุ้นที่ไม่ใช่หุ้นวัฎจักรเท่านั้นนะครับ ถ้าเป็นหุ้นวัฎจักรก็ต้องใช้วิธีอื่นๆ ดู ซึ่งผมคิดว่านักลงทุนทั่วไปที่ยังไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งยังไม่ควรเริ่มศึกษาจาก หุ้นวัฎจักรครับ ผมเคยเขียนถึงหุ้นวัฎจักรไปบ้างแล้ว เผื่อหลายท่านยังไม่ได้อ่าน ผมขอฉายหนังซ้ำนะครับ หุ้นวัฎจักรแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ครับ 1 หุ้น commodity cyclical หุ้นประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์หรือ commodity ซึ่งสินค้าจะหน้าตาเหมือนกัน ทำให้ผู้ผลิตเกือบทุกรายจะต้องขายสินค้าหรือบริการที่ราคาเดียวกัน ได้แก่ เหล็ก ปิโตรฯ น้ำมัน ถ่านหิน เรือ แร่ธาตุ ฯลฯ หุ้นประเภทนี้จะมี cycle ขึ้นลงตาม demand supply ของอุตสาหกรรม ซึ่งมีปัจจัยด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเข้ามาเกี่ยวข้องในด้าน demand และมีปัจจัยด้านการเพิ่มหรือลดการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ของโลกซึ่งเป็นตัวกำหนด supply ดังนั้นผู้ศึกษา cycle ของธุรกิจจะต้องวิเคราะห์ให้ถูกทั้งด้าน demand และ supply ถูกด้านเดียวไม่พอครับ 2 หุ้น economic cyclical หุ้นประเภทนี้แม้จะไม่ได้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ แต่สินค้าหรือบริการนั้นมีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจสูง เพราะอาจจะเป็นสินค้าที่ไม่ได้จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตนักหรือพอจะชะลอการ ซื้อได้ หรือ/และ สินค้าของผู้ผลิตเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็น commodity ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนักและลูกค้าพร้อมจะ switching จากยี่ห้อหนึ่งไปอีกยี่ห้อ ทำให้เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจึงมีการตัดราคากัน หรือเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนคงที่สูงมากทำให้การลดลงของรายได้ใกล้เคียงกับ กำไรที่จะลดลง หุ้นกลุ่มนี้ เช่น รถยนต์ อสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง อิเลคทรอนิกส์ รวมไปถึงหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน คือ ธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์ การวิเคราะห์หุ้น economic cyclical นั้น ต้องอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคสูงครับ เพราะยอดขายของหุ้นกลุ่มดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจและความ เชื่อมั่นของผู้บริโภคค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับนักลงทุนอย่างเราที่ จะไปทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศ ที่ปัจจุบันมีตัวแปรในอนาคตที่คาดการณ์ยากจำนวนมาก เช่น การเมือง ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจประเทศสำคัญๆ เช่น สหรัฐ จีน หุ้น cyclical ทั้งสองประเภทนั้น ดู p/e เป็นหลักไม่ได้ครับ โดยเฉพาะหุ้น commodity cyclical หุ้นเหล่านี้ แม้ p/e ต่ำมาก ก็จะใช่ว่าถูกเสมอไป หรือช่วงที่ p/e สูงก็ไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป เช่น หากธุรกิจกำลังอยู่ช่วง peak หุ้นประเภท cyclical มักจะมีกำไรที่สูงมากทำให้ p/e ต่ำ แต่เมื่อธุรกิจเข้าสู่ขาลงกำไรจะลดลงแรงมากหรือถึงขั้นขาดทุน ดังนั้น สำหรับนักลงทุนที่เป็นมือใหม่ หรือเป็นนักลงทุนที่มีงานประจำค่อนข้างยุ่งและไม่มีเวลาศึกษามากนัก ผมจึงแนะนำให้ดูหุ้นกลุ่มที่เป็น non-cyclical เป็นหลัก ซึ่งจะปลอดภัยกว่าและวิเคราะห์ง่ายกว่าครับ สำหรับหุ้น non-cyclical ผมให้ดู p/e ครับ แต่ต้องเป็น eps ที่ adjust กำไรที่ไม่ใช่การดำเนินงานออกนะครับ และเป็น fully diluted eps คือรวมผลของ warrant esop เข้ามาแล้ว และคำนึงถึงเรื่องอัตราภาษีในอนาคตด้วยสำหรับหุ้นที่ยังมีสิทธิพิเศษ ทางภาษีอยู่ หุ้นที่น่าสนใจในการลงทุนคือ หุ้นที่มี p/e ต่ำกว่าการเติบโตของกำไรเฉลี่ยต่อปี ในอีก 5-10 ข้างหน้าครับ คือ ควรจะวิเคราะห์ให้แตกฉานจนเห็นภาพของธุรกิจอย่างน้อยในอีก 5 ปีข้างหน้า ถ้าให้ดี 10-20 ปีก็จะดีมากครับ ดังนั้นหุ้นที่อาจจะเติบโตปีละ 30% แต่ทำได้แค่ปีเดียว ก็ไม่น่าสนใจในความคิดผมครับ เว้นเสียว่าจะโต 100% ในปีเดียวก็อาจจะน่าสนใจในการลงทุนอีกลักษณะคือ แบบ hit and run ครับ นอกจากนี้ ต้องอย่างลืมพิจารณาเรื่อง คุณภาพของกำไร ด้วยนะครับ ตามที่ผมเคยเขียนกระทู้เรื่องนี้ไว้แล้ว คือ เราจะต้องให้ p/e สูงกว่าในหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูง และให้ p/e ต่ำกว่าในหุ้นคุณภาพกำไรต่ำหรือไม่ลงทุนเลยในกรณีคุณภาพของกำไรต่ำมาก ดังนั้นคำถาม ก็คือ จะทราบได้อย่างไรว่าหุ้นแต่ละตัวจะมีการเติบโตกี่ % ต่อปีในอีก 5-10 ปีข้างหน้า คงจะต้องดู 3 ประการครับ 1 market growth 2 market share growth 3 net profit margin 1 market growth คือจะต้องศึกษาว่าธุรกิจ อุตสาหกรรมดังกล่าวมีการเติบโตแค่ไหน ซึ่งการวิเคราะห์ตรงนี้ก็ค่อนข้างยากและเป็นศิลปะพอสมควร และเราจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวอุตสาหกรรมอย่างมากครับ วิธีที่ง่ายที่จะเริ่มต้น ก็คือ การคิดว่า อนาคต หากผู้บริโภคมีรายได้ 100 บาทต่อปี ถ้าปัจจุบัน ผู้บริโภคจ่ายเงินในการซื้อสินค้าและบริการในธุรกิจนี้ 5 บาทต่อปี อนาคตเราคิดว่าคนจะจ่ายเงินในสัดส่วนของรายได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือคงที่ครับ หากสรุปได้ว่าคงที่ ก็เท่ากับว่า market จะโตได้พอๆ กับการเติบโตของรายได้ของผู้บริโภค คือ เท่าๆ กับ GDP ครับ ถ้าคิดว่าสัดส่วนการใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคจะสูงขึ้น แสดงว่าธุรกิจดังกล่าวจะโตต่ำกว่า gdp ครับ 2 mkt share growth ให้ประเมินสถานภาพ mkt share ของบริษัท ว่ามี mkt share ประมาณกี่ % ถ้าหุ้นตัวนั้นๆ มี mkt share สูงมากอยู่แล้ว เช่น 70% หุ้นตัวนั้นคงจะลำบากในการเพิ่ม share สิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้คือการรักษา mkt share และโตตามตลาด ดังนั้น สิ่งที่เราจะต้องดูเพิ่มเติมก็คือ เราจะคิดว่าหุ้นตัวดังกล่าวจะรักษา mkt share ได้หรือไม่ครับ คงจะต้องไปศึกษา barrier to entry ของธุรกิจ ศึกษาคู่แข่งด้วยครับ สำหรับหุ้นที่ mkt share ต่ำ ก็มีข้อดีคือ มีโอกาสเพิ่ม mkt share ได้อีก แต่ข้อเสียคือ มีโอกาสล้มหายตายจาก เพราะการมี mkt share ต่ำแสดงถึงการเสียเปรียบหลายๆ อย่างกับผู้มี mkt share สูง และอาจจะแสดงถึงความสามารถในการบริหารที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นการเลือกหุ้น mkt share ต่ำ แม้ว่าจะมี upside สูง แต่ก็มี downside สูงเช่นกัน ดังนั้นเราจะต้องวิเคราะห์ให้ได้ถึงสาเหตุของการมี mkt share ต่ำว่าอะไร เพราะอาจจะมีเหตุผลที่ดีก็ได้เช่น เป็นบริษัทใหม่ แต่ถ้าเป็นบริษัทที่ตั้งมาหลายสิบปีแล้วแต่ยังมี mkt share ต่ำอยู่ผมคิดว่าอาจจะยากเกินเยียวยาครับเว้นเสียว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในการ บริหารอย่างมีนัยสำคัญ 3 net margin ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดูครับ เพราะบางครั้ง net margin ในบางปีของแต่ละบริษัทอาจจะต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจจะมีเหตุผลบางอย่าง หรืออาจจะสูงกว่าปกติในบางปี สำหรับหุ้นที่ net margin ต่ำ ก็คงต้องระวังว่าหากต่ำกว่านี้อีกหน่อย ก็เท่ากับว่าขาดทุนทันที แม้จะมียอดขายเพิ่มก็ตาม แต่ก็มีข้อดีคือมี room ที่ margin ที่เพิ่มขึ้นหากมีการปรับปรุงหรือมียอดขายที่เพิ่มขึ้นซึ่งน่าจะนำพาให้ economy of scale มากขึ้น สำหรับหุ้นที่ net margin สูง ก็มีข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือ บริษัทนั้นๆ จะมีแนวโน้ม roa roe ที่สูง และบริษัทนั้นๆ จะทนกับการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง หรือปัจจัยด้านต้นทุนได้ดี ก็คือยังสามารถสร้างกำไรอยู่ได้ แต่ข้อเสียคือ การมี margin สูงมากๆ ประเภท too good to be true จะนำมาซึ่งการแข่งขันที่รุนแรงในอนาคตหาก barrier to entry ไม่สูงพอ และข้อเสียกับนักลงทุนคือหากเราให้ net margin ดังกล่าวในการทำนายในอนาคต อาจจะได้ผลที่คาดเคลื่อนได้ครับ ดังนั้น เราจะต้องพิจารณา 3 ปัจจัยดังกล่าว ในการประเมินคร่าวๆ ว่าหุ้นตัวนั้นๆ จะมี growth มากน้อยเพียงใดในอนาคตครับ เราอาจจะแบ่งหุ้นได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ครับ 1 market growth สูง และ mkt share สูง หากธุรกิจดังกล่าวมี barrier to entry สูงด้วย หุ้นนั้นๆ จะเป็น super stocks ครับ เพราะการที่หุ้นนั้นๆ มี mkt share สูงจะทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่งมากในด้านทรัพยาการต่างๆ ที่จะมาใช้ในการสร้างยอดขายเพื่อรองรับการเติบโตต่างๆ เช่น ทรัพยากรเงินทุน บุคลากร แต่หาก barrier to entry ต่ำ ก็อาจจะทำให้ความน่าสนใจลดลง แต่ด้วยความที่เค้กก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะทำให้หุ้นตัวนั้นๆ พอจะมีความน่าสนใจอยู่บ้างครับ 2 market growth สูง mkt share ต่ำ หุ้นประเภทนี้ให้ดูปัจจัยเดียวเป็นหลักครับ คือ ความสามารถของผู้บริหาร ถ้าเราคิดว่าผู้บริหารมีความสามารถสูงและจะสามารถเพิ่ม mkt share ได้ หุ้นประเภท 2 นี้จะมี upside มากกว่าประเภท 1 อีกครับเพราะจะโตจากทั้งตลาดรวมที่โตและ mkt share ที่เพิ่ม ยกตัวอย่าง เช่น หุ้น LH ตอนปี 43 มี mkt share เพียง 7% ของตลาด แต่หลังจากได้สร้างบ้านก่อนขายและมี concept บ้านสบาย ทำให้ mkt share เพิ่มเป็นประมาณ 25-30% ในปี 46 ในขณะที่ตลาดรวมก็เติบโตสูง ผลก็คือ Lh มีราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 10 เท่าครับ 3 mkt growth ต่ำ mkt share สูง หุ้นประเภทนี้น่ากลัวครับ เพราะการเติบโตของตลาดรวมที่ต่ำ ทำให้ผู้เล่นรายใหม่จะต้องมาแย่งเค้กจากรายเดิม และบริษัทที่มี mkt share สูงจะต้องอยู่ในสภาวะที่ตั้งรับ คือ ต้องรักษา mkt share อย่างเดียว และโอกาสเติบโตก็มีค่อนข้างน้อย ยกตัวอย่างคือ หุ้น BEC ในปี 43-44 มี mkt share ในตลาดโฆษณา TV 40% แต่ธุรกิจโฆษณา TV เริ่มโตช้าลง ในขณะที่ bec ได้เสีย mkt share ให้กับช่อง 7 ITV และ ช่อง 9 ทำให้ราคาหุ้นของ BEC ลดลงจาก 25 บาทมาเหลือ 15 บาทในปัจจุบัน 4 mkt growth ต่ำ mkt share ต่ำ หุ้นประเภทนี้มองยากครับ ถ้าเป็นบริษัทที่ผู้บริหารมีความสามารถและสามารถเพิ่ม mkt share ได้ก็จะทำให้กำไรเติบโตได้มาก แต่ต้องดูว่าเป็นการเพิ่ม mkt share ที่ยั่งยืนหรือไม่ด้วยเพราะการที่บริษัทขนาดเล็กได้ mkt share เพิ่มก็มักจะถูกรุกกลับจากผู้เล่นรายใหญ่ที่มีความได้เปรียบในด้านทรัพยากร โดยเฉพาะการเพิ่ม mkt share ด้วยการตัดราคาในขณะที่ต้นทุนยังลดไม่ได้คงไม่ใช่วิธีที่ดีแน่นอนครับ นอกจากนี้ยิ่งหากเป็นบริษัทที่ผู้บริหารไม่เก่งแล้ว บริษัทเหล่านี้ก็มีโอกาสล้มหายตายจากครับ เพราะการที่ mkt growth ต่ำทำให้ผู้เล่นรายใหญ่จะต้องมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดกันเอง คนที่กระทบหนักสุดคือรายเล็กครับ เข้าข่าย ช้างชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกราญครับ สิ่งที่ผมอธิบายคงจะเป็นแค่ส่วนหนึ่งนะครับ ก็มีรายละเอียดอีกมากมายซึ่งผมจะพยายามเขียนและถ่ายทอดออกมาในอนาคตนะครับ คงจะไม่ว่านะครับที่ผมคงจะไม่มีสูตรลับหรือหลักการอะไรตายตัวให้ เพราะผมก็ไม่มีจริงๆ ครับ และคิดว่าไม่น่าจะมีสูตรหรือหลักการอะไรที่เป็นสูตรสำเร็จนะครับ เพราะมิฉะนั้นเราคงจะเห็นคนจำนวนมากมายร่ำรวยจากการลงทุนในตลาดหุ้นไปแล้ว อาจารย์มหาวิทยาลัยที่จบปริญญาเอกและสอนด้านการลงทุนคงจะร่ำรวยจากตลาดหุ้น และออกมาลงทุนเองกันหมดแล้ว และก็คงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมระยะหลังๆ ผมพยายามจะไม่ให้ราคาที่เหมาะสมของหุ้นแต่ละตัว ผมคิดว่าหุ้นเป็นศิลปะ 90% เป็นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อีก 10% ครับ ดังนั้นการศึกษาให้มากที่สุด เรียนรู้ให้มากที่สุด คงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนในหุ้นครับ แม่ทัพที่มีชื่อเสียงของโลกในอดีต ก็ต่างใช้กลยุทธ์และการจัดทัพในแต่ละสนามรบต่างๆ กันในการรบแต่ละครั้งขึ้นกับภูมิประเทศ อากาศ จำนวนทหารและยุทโธปกรณ์ของของตนและข้าศึก ฯลฯ ดังนั้นคงจะไม่มี short cut หรือหลักการตายตัวอะไรที่ได้ผล 100% ครับ [/color][/size]
โดย
humdrum
พุธ มิ.ย. 06, 2012 6:56 am
0
49
Re: ผมผู้ซึ่งประเมินผิดตลอดการ
ขอบคุณครับ คุณ Xavi ชื่อแปลว่าอะไรครับ เรื่องไทเกอร์ เขาเหมือนไมเคิล จอร์แดนมาก หลังจากพ่อตายก็หลุดไปเลย ผมมีเพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่งครับ พอพ่อตายก็หลุดเหมือนกัน ตอนนั้นถึงเข้าใจทั้งไทเกอร์และจอร์แดน แต่เอาเพื่อนคนนี้เปรียบเทียบ เพื่อนคนนี้เป็นนักกีฬาครับ มีพ่อเป็นฮี่โร่ของเขามาตลอดและเขาไม่อยากทำให้พ่อผิดหวังและเสียใจ เขาทำทุกอย่างเพื่อทำให้พ่อมีความสุขทั้งๆ ที่บางทีก็ขัดกับความต้องการชีวิตของตัวเองครับ เขารักพ่อมากครับ ในความคิดผม เขาฝากความสุขของตัวเองไว้กับพ่อ ถ้าพ่อมีความสุขเขาก็สุขด้วย ถ้าพ่อมีความทุกข์เขาก็ทุกข์ไปด้วย ความสุขของเขาจึงควบคลุมได้ยากและขึ้นๆ ลงๆ ตามอารมณ์ของพ่อ ไม่ใช่จากตัวของเขาเอง พ่อเขาติดเหล้าครับและได้เสียไปแล้ว หลังจากพ่อตายแล้ว เขากลายเป็นคนหงุดหงิดและเที่ยวกลางคืน ทั้งไทเกอร์และจอร์แดนเริ่มตกหลังจากพ่อเสียเช่นกัน มันคล้ายๆ กัน แต่สรุปแบบฟันธงไม่ได้ เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นกับผม และผมเชื่อใจหุ้นส่วนทางการค้าอย่างมาก และผมไม่มี MOS รองรับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นซึ่งตอนนั้นผมคิดว่า เป็นไปไม่ได้ มันไม่มีอะไรแน่นอนจริงๆ เราไม่ควรฝากความสุขของเราไว้คนอื่นหรือสิ่งอื่น พอไม่เป็นอย่างที่คิด ก็ล้มทั้งยืนเลย เบน แกรม อาจารย์ใหญ่ของนักลงทุนแบบ value investors ให้ความสำคัญกับเรื่องความไม่แน่นอนสูงอย่างมาก ขนาดคิดค้นว่าคำใดที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับการลงทุน คำนั้นคือ margin of safety นักลงทุน VI ไม่เหมือนกลุ่มอื่น ตรงที่พวกเขาคิดถึงเวลาขาดทุนก่อนอื่น เหมือนที่บัฟเฟตว่าในกฏของเขา "อย่าขาดทุน" ผมว่ากฎข้อนี้ มันเอาไปใช้ในกฎทุกอย่างได้ เงินลงทุนต้องได้รับการปกป้องก่อนอื่นใด ไม่ว่าจะคำนวณเก่งขนาดไหน ความผิดพลาดรออยู๋ทั้งนั้น เราแนาใจได้อย่างไรว่าการหามูลค่าที่แท้จริงของบริษัท ไม่มีความเสี่ยง แน่ใจได้อย่างไรว่าเราทราบข้อมูลทุกอย่างแน่ใจได้อย่างไรว่าโชคร้ายบางอย่างจะไม่เกิดขึ้นแล้วกระทบกับพื้นฐานบริษัท ไม่มีใครทราบได้ครับ เผื่อยันตร์กันเหนียวเอาไว้ ในรูปของเงินปันผล ในรูปของ busines model ของบริษัท หรือในรูปของ Checklists ที่นักบินเขาใช้กัน เพราะความผิดพลาดหมายถึงชีวิต เพื่อนผมที่เป็นนักลงทุน VI ที่อินเดียคุยกันทางอีเมลสองวันนี้ บอกว่า ทำไมไม่เอา Bridge เป็น criteria คัดตัวคนเข้าทำงานกองทุน ที่อินโดนีเซียเขาเริ่มทำแล้ว เขาสอนกันตั้งแต่เด็กประถม ปีหน้าอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการเล่น bridge ชิงแชมโลก บัฟเฟตกับ บิล เกตให้ทุนมาหลายปีแล้วให้โรงเรียนสอน bridge ในโรงเรียน สมันยุค 50 ที่ นักลงทุนระดับโลกหลายท่านโตมาอย่าง ทูดอร์ โจน สตีเวน โคเฮน สตีเวน ดรักเคนมิลเลอร์ พวกเขาเรียนการเล่นโปรกเกอร์กันในโรงเรียน มังเกอร์บอกว่าโปรกเกอร์สำคัญกับเขามาก เพราะมันสอนให้เขาเตรียมพร้อมสำหรับการลงทุน เขาบอกว่า โปรกเกอร์สอนให้เรายอมรับว่าเราทำผิดได้ ถ้าเราลงทุนผิด ก็ต้องรีบถอนตัว ถ้าเราถูกก็ให้ทุ่มเต็มที่ ส่วนบัฟเฟตสอนว่า bridge สอนเขาให้คิดถึงการคำนวณเรื่องความเสี่ยงและการเข้าจิตใจคนอื่น ผมเล่นทั้งสองแบบ แต่ผมชอบ bridge มากกว่าเพราะเราได้เรียนรู็ทั้งจิตใจฝ่ายตรงข้ามและจิตใจของคู่หูของเราด้วย มันทำให้เรามีชีวิตที่ลึกขึ้น เพราะเราเริ่มเข้าใจความรู็สึกของคนอื่นว่าเขาก็เสียใจและดีใจอย่างไร นิสัยของบัฟเฟตและมังเกอร์มันเสริมกัน เวลาเล่น bridge ก็ได้ complementary skill เป็นอย่างนั้น เปรียบเหมือน บัฟเฟตเป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ มังเกอร์เหมือนคนคอยตรวจว่าสะกดผิดตรงไหนหรือพิมพ์ผิดตรงไหนบ้าง นั่นคือสิ่งที่พี่บลุแพเนตขาด พี่บลูขาด spelling checker ในการลงทุน สำหรับผม bridge สอนทุกอย่างที่เบน แกรม สอนเกี่ยวกับหัวข้อหลักสามข้อที่พวกเราทราบกันดีครับ หนึ่ง ความรู้เรื่องนายตลาด สอง ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย และสามเข้าใจในกิจการ ทั้งสามข้อทำให้ผมเป็นนักลงทุนที่ดีขึ้น และเป็นคนที่ดีขึ้น เคสเดียวกับไทเกอร์และจอร์แดน ถ้าเราไปฝากความสุข ความทุกข์ไว้กับสิ่งภายนอก แทนที่จะมาจากตัวเราเอง เราก็ต้องเผื่อใจเวลาสิ่งนั้นไม่มีแล้ว ระดับโลกอย่างไทเกอร์กับจอร์แดนเขาผ่านมาเท่ามใด เขายังพลาดได้กับเรื่องนี้ได้ แล้วอย่างเราตัวเล็กๆ ก๋ต้องเตรียมตัวไว้ อย่างนายตลาด ถ้าเราเอาอารมณ์ไปฝากไว้ ผมว่าท่านไม่เหมาะมาลงทุน แทนที่จะฝากไว้กับมูลค่าทางธุรกิจที่เราเข้าใจแล้วมีเตรียมส่วนเผื่อเวลาผิดพลาด มันเหมือนเราทำตามคำแนะนำของนายตลาด พอนายตลาดลงก็ขาย พอนายตลาดขึ้นก็ซื้อ แทนที่เราจะหาโอกาสจากนายตลาด สำหรับ พี่บลู เวลาอ่านผมอดคิดไมได้ว่า เขียนเหมือนพี่เจ๋งมากครับ
โดย
humdrum
อังคาร มิ.ย. 05, 2012 12:46 pm
0
10
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
Margin of Safety สวัสดีครับ ผมมีความคิดเหมือนฟันเลื่อย เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง สร้างความวิงเวียนให้กับลุกน้อง เวลาลงทุนในบริษัท ผมมักสร้างสมมุติฐานของตนเอง แล้วทดสอบมันด้วยเทคนิคการ invert เสมอ เพื่อให้การ balance ทางความคิดของเราครับ ผมเคยทำผิดมาก่อน ผมจึงไม่เชื่อในตัวเองมากเกินไปอีกแล้วและคอยจับผิดตนเอง ทำอย่างนี้แล้วส่วนตัวผมชอบที่จะหาเรื่องตนเองตลอด และที่สำคัญเพื่อคิดค้นเทคนิตใหม่ๆ ของ MOS ขึ้นมาตลอด ตัวอย่างสมมุติผมต้องการ long ซื้อหุ้นสัก 1 ล้าน ผมอาจจะเริ่มต้นด้วยการขายออก short สัก 2-3 แสน ดูว่ามีคนแย่งขายหรือไม่ หรือดูว่ามีคนตั้งรับซื้อหรือไม่ จากประสบการณ์ผมกับเทคนิคนี้ หุ้นที่ซื้อยากคือหุ้นที่มักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเสมอ แต่ทำอย่างนี้ระวังข้ออันตราย ถ้ามองจากมุมหลักคณิตศาสตร์ pure mathematics การ Short เวลาไม่เป็นอย่างที่คิด หุ้นตัวนั้นมันจะกินสัดส่วน % เทียบกับทั้งพอร์ตให้โตมากขึ้นเรื่อยๆ ถือว่าเสี่ยงมากเวลามันผิดพลาด เทคนิครับมือกับ Short Strategy's Limitations คือ การกระจายการ short ไปหลายๆ ตัว อย่าให้มันมากเกินไปกับความเสี่ยงในตัวกลยุทธ์ short ของมันเองครับ หลักง่ายๆ ใช้อะไรก็ต้องดูขอเสียของมันก่อน ถ้าเราหาไม่เจอ โพสในเว็บก็ได้ครับ ลองคุยกับสมาชิกท่านอื่นท่เขาไม่ชอบความคิดของเรา หรือลองยกสถานการณ์แบบนักบินที่เขาฝึกกัน เขาฝึกกับเครื่อง simulator แล้วครูจะลองสร้าง harzard ขึ้นมา ไม่ใช่ตัวเดียว แต่เป้นหลายตัวพร้อมๆ กัน แล้วดูว่าเราจะรับมืออย่างไร จากนั้นถ้าวิธีมันถูกต้อง คราวนี้ก็ทำซ้ำแล้วซ้ำอีกให้เกิดความชำนาญ ผมสามารถแยกนักลงทุนเน้นคุณค่าที่เก่งได้ด้วยความคิดอย่างนี้ เขาฝึกเทคนิค value investing จนเกิดความเชี่ยวชาญและสามารถบอกจุดบกพร่องของมันได้ ในขณะที่ Long เวลาราคามันตกลง หุ้นตัวนั้นเมื่อเทียบ % กับพอร์ตก็จะเล็กตามไปด้วย ความเสี่ยงก็จะหดลงตามกรอบของมัน ด้วยความเข้าใจที่อธิบายด้วยคณิตศาสตร์อย่างนี้ ก็หลัก Algebra ที่เรียนตอนมัธยม ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ เราก็เอามาปรับใช้ในการบริหารพอร์ต ดังนั้นเวลา Short สัดส่วนคร่าว ๆ ไม่ควรเกิน 1% ของพอร์ต และเวลา Long ผมก็ให้น้ำหนักแต่ละตัวไม่เกิน 5 % ยกเว้นว่ามีอะไรที่ดีมากผ่าน cheklist ของบริษัทเกือบหมด อย่างนี้ก็เพิ่มเป็น 10% แต่นานๆ จะเจอทีครับ ชาลี มังเกอร์เคยพูดถึง วิชาฟิสิกส์ ควรใช้หลักการของมันในการปรับใช้กับอาชีพการลงทุน ผมไม่ชอบเรียนฟิสิกส์เลยเพราะมีอคติกับครูที่สอน ไปแอบขอเรียนจากคนที่เก่งฟิสิกส์อย่าง Richard Feynman เขาได้ the Nobel Prize-winning ทางฟิสิกส์ คนนี้ ชาลี มังเกอร์พูดถึงบ่อยครั้ง สิ่งเดียวที่ผมจำได้แม่น คือ สุนทรพจน์ของเขา เรือง "อย่าหลอกตัวเอง" จาก The Feynman principle ที่บอกว่า "You must not fool yourself—and you are the easiest person to fool," แล้วเอามันมาปรับใช้กับบริหารพอร์ต ผมปรับใช้อย่างไรหรือครับ ผมไม่มีความสามารถเหมือนมังเกอร์ เขามองอะไรป๊าดเดียวก็บอกจุดอ่อนของมันได้ และผมก็ไม่มีความสามาถเหมือนบัฟเฟตที่สามารถทันอารมณ์ greed และ fear ของตัวเองได้ตลอดเวลา ดังนั้นเวลาลงทุน ก็ต้องมี checklist คอยปรับให้อะไรมันรอดพ้นจากกับดักของ fears and greeds ไปได้ ส่วนใหญ่เอามาจากข้อผิดพลาดที่พบเห้นในตลาด อย่างมีผู็บริหาร CEO ท่านหนึ่งในตลาดหุ้น ผมไปอ่านเจอจากหนังสือที่ไม่ใช่การลงทุน เขามีเมียน้อย และเมียกำลังขอหย่า ฟ้องร้องเรียกเงินหลายสิบล้าน ข้อมูลอย่างนี้ตลาดหลักทรัพย์เขาไม่เอามาลง ผมปรับพอร์ตลงทันที เพราะสมาธิเขาเสียแล้ว กับตันตอนนี้สมาธิไม่อยู๋กับการขับเครื่องบินแล้ว ผู้โดยสารอย่างผมขอเซฟ liverage position ไว้ก่อนดีกว่า หลังจากนั้นเขาก็โดนบอร์ดบีบให้ลาออก ราคาหุ้นก็สะท้อนปรับลงเลยทันที พื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนหรือปล่าวผมไม่แน่ใจ แต่พื้นฐานผู็บริหารกำลังแขวนบนเส้นได้ เราก็ต้องระวัง สมัยก่อน ไทเกอร์เก่งมาก ไมมีใครชนะได้ นักกอล์ฟอวุโสผิวขาวท่านหนึ่งบอกว่า ถึงเก่งก็ยังเด็กมาก ขาดประสบการณ์ชีวิต ถ้าจะล้มไทเกอร์ มีสองอย่าง คือหนึ่ง สุขภาพมีปัญหา สองเรื่อง ครอบครัวมีปัญหา ไทเกอร์ล้มจริงๆ เพราะไปมีกิ๊ก ชีวิตคู่พัง ชีวิตการเล่นกอล์ฟพังไปด้วย สังคมไม่ยอมรับแล้ว ขนาดกับเมียตัวเองยังไม่ซื่อสัตย์ คนอเมริกันเขาก็มองอย่างนั้น Buffett กับ Munger ทั้งสองท่าน match กันมากนะครับ ส่วนผสมนี้มันสำเร็จมาแล้ว มันน่าจะใช้กับนักลงทุนคนไทยได้ไหม ผมเลยจับลูกน้องเป็นคู่ตะเกียบทำงานด้วยกัน ไม่มีใครวิเคราะห์หุ้นคนเดียว คนหนึ่งต้องเหมือนมังเกอร์ อีกคนต้องเหมือนบัฟเฟต ผมพยามยามมองหานักลงทุนใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติอย่างนั้น แล้วจับพวกเขามาทำงานด้วยกัน ผลกำไรเป็นเครื่องยืนยันได้ดีครับ ผมมีลุกน้องหลายคนที่เวลาเข้ามาใหม่และมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสามารถของผู้จัดการกองทุนในการคาดคะเนสิ่งต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ใช่ครับ ผมมองไปข้างหน้า แต่ถ้าผมสามารถมองเห็นทุกอย่างได้จริง ผมคงไม่ต้องมาเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าแล้ว ผมมองไปข้างหน้าและหาทาง MOS ป้องกันต่างหาก เพราะผมเชื่อว่า ไม่มีอะไรแน่นอน ผมจึงต้องหา MOS ส่วนนักลงทุนท่านอื่น ถ้าใครเชื่อว่าสามารถคาดเดาตลาดได้โดยไม่มีทางผิดพลาด ก็ไม่ต้องมาเป้นนักลงทุนเน้นคุณค่าให้เสียเวลาครับ คุณสมบัติของนักลงทุนเน้นคุณค่าต้อง "ไม่หลอกตัวเอง" ต้องยอมรับตัวเองว่า ทำผิดพลาดได้ ผมเคยมีลูกน้องบอกว่า อย่างพี่ไม่มีวันทำผิดพลาดได้ เข้าใจผมผิดครับ ไปว่าพวกเขาไมได้ พวกเขายังเด็ก พวกเขาดูประวัติการลงทุนของบัฟเฟตกับมังเกอร์ ดูจากประวัติการลงทุนของนักลงทุนเน้นคุณค่าคนอื่นที่ออกตามสื่อ และเชื่อว่า ใครก็ตามที่ลงทุนแนว Value Investing จะมีประวัติการลงทุนที่ดีและงย่อมจะมีภูมิคุ้มกันต่อความผิดพลาดอย่างแน่นอน ผมมักขำกับความคิดแบบนี้เสมอ ผมไม่เคยสนว่าผมมีความสามารถในการ "ตีแตก" บริษัทได้เก่งขนาดไหน ผมทำผิดพลาดเต็มไปหมดเลย แต่สิ่งที่ผมเก่งกว่าคนอื่น คือ ผมยอมรับข้อผิดพลาดตัวเองเก่งกว่าคนอื่น นั่นคือเคล้ดลับของความสำเร็จของมังเกอร์และบัฟเฟตที่ผมเอามาปรับใช้ จดจำเกี่ยวกับความผิดพลาดของตนเองและคนอื่น แต่เราไม่เก่งอย่างทั้งสองท่าน เราก็ต้องทำ checklists ขึ้นมาเหมือนนักบินเขาทำจนเป็นนิสัย พวกเขาหา MOS ทางป้องกันและฝึกมันจนชำนาญนั่นเองครับ ถ้าเรามั่นใจว่า เราไม่เคยหลอกตัวเอง เราก็ไม่ต้องมี MOS ครับ
โดย
humdrum
เสาร์ มิ.ย. 02, 2012 5:53 pm
0
0
Re: Margin of Safety
ไปดูพระเอกเรื่อง Revolver เอาชนะ "ตัวกรู" ครับ เรื่องนี้ผู้จัดการกองทุนโวตกันให้เป็นหนังที่เข้าใจยากที่สุด 10 ลำดับแรก การตะหนักรู้ในตนเองนั้นเป็นทักษะ MOS risk management ที่สำคัญครับ JpsnVoRgDwY เรืองที่สอง ไปดูเชอร์อค โฮม ใช้เทคนิค MOS ที่เรียว่า " Visualization" การมองภาพสิ่งต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจ การมองไปข้างหน้า แล้วหาทางป้องกันเป็นทักษะ MOS risk managment ที่สำคัญมากเช่นเดียวกันครับ BGCMfprPJoA ไปเรียนรู้ดูว่าหมอเคใช้ MOS อย่างไร กับงาน Thaivi ครับ แม้แต่งานชุมนุม พวกเขายังปรับใช้ MOS ได้อย่างดีเยียมครับ THAIVI MEETING "S MOS 1. ลืมสลิป - ยืนยันตัวตน ร่วมกับ login เข้าเวปต่อหน้าโต๊ะลงทะเบียน. แค่นี้ เรียบร้อยแล้วครับ แต่เพื่อให้สะดวก ไม่เสียเวลา ให้ นำสลิปมา เร็วกว่าเยอะครับ 2. ฝนตก - ผมมีแผน b คือ ย้ายลงชั้น 1 ในกรณีฝนตกปรอยๆ และแผน c คือ ฝนตกหนัก คือ ย้ายไปนั่งทานในร้านครับ สำรองที่ไว้จำนวนหนึ่ง แต่คิดว่าไม่น่าแออัดเกินไป จริงๆ ถ้าฝนตกจริง ผมอยากให้ตกหนักมากกว่า เพราะ มันมักจะหยุดเร็ว 3. การเมืองเข้มข้น มีคนกังวลเรื่องปฏิวัติ และ การห้ามชุมนุม อันนี้ผมไม่รู้ว่า มีโอกาสเกิดมากน้อยเพียงไร ถ้าเกิด ก็คงต้อง ถือว่า เกินคาดจริงๆ อันนี้ คงไม่สามารถรับผิดชอบให้ได้ครับ แต่ไม่ว่า จะอย่างไร ผมและพี่ๆทีมงานก็ยังคงจัดงานตามเดิมแน่นอนครับ 4. หุ้นตก ผมว่าที่ต้องกังวลมากสุดไม่ใช่เรื่องนี้หรอกเหรอครับ การคุยกัน วางแผนรับมือกับการลดราคาแบบ ปีละครั้ง นี่มันมีไม่ค่อยบ่อยนะครับ
โดย
humdrum
เสาร์ มิ.ย. 02, 2012 2:19 pm
0
1
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
หุ้นไทย....ในเคส ยุบสภา ปฏิวัติ หรือเกิดความวุ่นวาย ย้อนรอยการชุมนุมกับตลาดหุ้น "ยุบสภา" ฉุดหุ้นแรงกว่ารัฐประหาร http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=11174&page=1
โดย
humdrum
ศุกร์ มิ.ย. 01, 2012 4:32 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
Value Investing Hedge Fund http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/gbgvbgfb.jpg Mohnish Pabrai of Pabrai Investment Funds http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/hhnh.jpg Bruce Berkowitz of Fairholme Fund http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/untitled.jpg Lloyd Khaner of Khaner Capital http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/untitled-5.jpg Carlo Cannell of Cannell Capital http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/2I0Y0KCA207J0VCA47VHD6CAQABPPMCAFXK8ABCADJEJ9VCAH03013CANGN8EDCA4Z2EQ9CATWYP09CABJHQFNCAEVAS05CA3H8PP1CA64NFUQCAZO44ZACA77WV0VCAQZBTAHCAY99Z.jpg Patrick Degorce of Theleme Partners http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/7LBXVQCA8TKIRACANMSYW8CA1KFSH8CA29D9X6CALI2SIUCA4XTSAACARXTS4ICAWMOHWPCA9ZCSUACAKZGTH7CADJJ3N5CA34LDW7CAPTO4ANCAOV1XSCCA12RX40CAY4LPAACAJWBX.jpg Amitabh Singhi of Surefin Investments http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/45C8R8CA8G8HVQCAFCXTMKCACK3OUECA294U1GCAE99R5JCA3V1KXOCAFHLWVFCA8HZFJRCA4M3J6PCAFWWS3YCAI4VJGICA19SG04CAKVJD5DCARQASAYCAII6L67CALOX3XKCABLDT.jpg http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/untitled-6.jpg Guy Spier of Aquamarine Capital http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/85T9V0CAC1203JCACFF4V3CAP3824ZCAHZVYUUCA13GL1CCAC9JO0OCAM55SG3CATMSON9CA7JK0LQCATKZ2PSCANMSEQKCAUYM080CAICLYY4CA8VO3UECA2HL4EECABXF8ELCAC0SI.jpg Paul Sonkin of Hummingbird Value http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/67PFH1CAZC3SV8CA6ZSD5BCA6YI3NVCA8360IWCAEK86QTCAI13KOTCARO2W67CASWP4Q7CAU452JMCAJKOS1NCAQWBMB6CA3II0OUCA1KWQYACASB985WCANTHFSZCAJ9L7GJCAL01M.jpg Lei Zhang of Hillhouse Capital Management http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/7e148173.jpg Tom Russo of Semper Vic Partners http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/X4F7CRCA8C2QXFCANIUPJ6CAN8QW4JCAXRH15NCAFJ3G0NCAPD6LCBCAYJMSOYCA0YXI3NCAC5XDW6CAU20FEUCATFZ5GQCAN1IND1CAJ3WXJYCAHE1I0JCALJFDNFCAL313S8CAOIKY.jpg Humdrum of Humdrum Capital Fund :B
โดย
humdrum
ศุกร์ มิ.ย. 01, 2012 2:19 pm
0
1
Re: คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์
สวัสดีครับคุณหมอนุ่น ขอบคุณครับคุณ halogen ว่าแต่ชื่อหมายถึงอะไรครับ ผมลืมแนะนำปกแข็งนะครับ ไม่ใช่ปกอ่อน ของ Reminiscences of a Sock Operater ปกแข็งมีรูปย้อนอดีต เล่มนี้ไม่ว่ากี่ปีก็อ่านได้ อีกร้อยปีก็อ่านได้ เพราะอารมณ์ความกลัวและความโลภของคนไม่เปลี่ยนแปลงเลย แต่ที่สำคัญกว่า Livermore เขาบันทึกความคิดของตัวเองเวลารับมือกับการขาดทุนและความเครียดต่างๆ เราได้อ่านอารมณ์ของเขาตามลำดับเหตุการณ์ทั้งเวลาที่กำไรและขาดทุน เขาอ่านตัวเองตลอดเวลา ผมว่าผมได้จากตรงนี้เยอะมาก นี่เป็นหนังสือนิยายอ้างอิงนักลงทุนเก็งกำไรที่มีตัวตนจริง เหมือนได้อ่าน Mr. Market เกือบทั้งเล่ม อย่างหนึ่งที่พี่ได้จากการอ่านประวัติศาสตร์ เราก็ "พลิกนิดเดียว" แล้วเอามาปรับใช้เวลาเราหาบริษัทที่จะลงทุน ตัวอย่าง ช่วงสองอาทิตย์ก่อนนี้ มีออกข่าวมาเกี่ยวกับเจบีมอร์แกน ใครไม่ทราบและสนใจไปหาอ่านที่ yahoo news พิมม์คำว่า เจบี มอร์แกน ยาหูจะลำดับเหตุการณ์ข่าวที่ออกมา ซึ่งตรงนี้ ผมว่าสำคัญมากที่จะเห็นวิวัฒนาการของข่าวที่ปล่อยออกมา เช่นเดียวกันครับ เวลาอ่านเรื่องอะไรที่อยากศึกษาเพิ่มเติม ไม่ว่าเป็นนิยาย อย่างสี่แผ่นดิน หรือ annual report จะชอบอ่านตามลำดับเวลาที่ผ่านไปจากอดีตถึงปัจจุบัน ความเข้าใจจะมากขึ้นมากกว่าอ่านแบบเว็บโน้นเว็บนี้แล้วเอามารวมสรุปวิเคราะห์ ปัจจุบันพี่เจอการวิเคราะห์ข้อมูลที่มากขึ้นตลอด แต่มีเวลาใช้ในการตัดสินใจน้อยลง เวลาลูกน้องเอาข้อมูลบริษัทไหนมาให้ดู สองชั่วโมงในการทำความเข้าใจดูข้อมูลย้อนหลังของบริษัทจึงถูกเปลี่ยนเป็นความหมายที่ชัดเจน แต่อดีตไม่ได้สะท้อนเป็นกระจกส่องอนาคตเสมอไปครับ มันบอกได้เพียงคร่าวๆ เท่านั้น เวลาเจอข้อมูลมากๆ การลำดับข้อมูลที่ออกมาของแต่ละบริษัทก็จะอ่านลักษณะนี้ หรือ เวลาอ่านรายงานประจำปีก็จะแหวกอ่านบริษัทเดียวแล้วไล่ทีละปีต่อเนื่องจนกว่าถึงปีปัจจุบัน ความเข้าใจก้อย่างหล่อเลย
โดย
humdrum
ศุกร์ มิ.ย. 01, 2012 1:08 pm
0
3
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์ http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/great20circle.jpg ประวัติศาสตร์กว้างมาก เราเก่งกันเรื่องการลงทุนอยู่แล้ว ก็ใช้ความได้เปรียบของเรา ใช้ความรู็จาก value invetsing มาใช้ว่าจะศึกษากับประวัติศาสตร์อย่างไร ความรู้ที่ว่านี้ คือ นายตลาด สองส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย และสามการเข้าใจธุรกิจในกรอบของ circle of competence มันใช้จริงๆ ครับ ผมทำอย่างนั้นบ่อยครั้งกับสิ่งต่างๆ ที่ผมพยายามทำความเข้าใจ เริ่มจากตั้งคำถามว่าจะเริ่มอย่างไร ตัวเราคือใคร ต้องถามว่าเราถนัดแบบไหน เว็บนี้สนใจแต่เรื่องตลาดหุ้น เราก็บีบให้เข้าทาง circle of competence ของเรา เราก็เริ่มอย่างนั้น การลงทุนก็ยังกว้างอยู๋มาก ถ้าเรายังจับต้นปลายทางไม่ถูก เราอาจเริ่มจากสิ่งที่เราคุ้นเคย อย่างเช่น เงินกระดาษ หรือ ธนบัตร http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/untitledmnjbbhv.jpg อย่างอเมริกา มีสองคนในแบงค์ดอลไม่ได้เป็นประธานาธิบดี อเมริกาเอามาขึ้นหน้าแบงค์ เขาเป้นระบบทุนนิยม เขายกย่องคนแบบนั้น แต่ที่เกาหลี เขาเอาคนดีที่ซื่อสัตย์มาขึ้นหน้าแบงค์ คนเกาหลียกย่องคนแบบนั้น แต่ละประเทศก็ใช้คนสำคัญต่างกัน เราก็พอเดาออกคร่าว ว่าประเทศนั้นแกนกลางของประเทศเขาคืออะไร ตัวอย่างแบงค์ร้อยดอลนี้เป็น เบนจามิน แฟรงคลิน คนนี้เป็นฮี่โร่ของ ชาลี มังเกอร์ เป็นคนแรกของโลกที่คิดเรื่องพิมพ์เงินกระดาษมาใช้ อเมริกามีหนี้บานเบอะเลยเพราะไปยืมเงินฝรั่งเศสมาใช้รบกับอังกฤษ มีแต่เงินเหรียญอย่างเดียว แต่เบน แฟรงคลิน เขาก็ได้ประโยชน์ถึงขั้นรวยทีเดียวเพราะตัวเองทำโรงพิมพ์ เขาก็ได้รับสัมปทานในการพิมพ์แบงค์ อเมริกาพิมพ์แบงค์ออกมาแล้วก็เริ่มตกลงกันระหว่างประเทศต่างๆ ว่าจะเอาทองมาเป็นตัววัดปริมาณของเงินที่จะพิมพ์ออกมา ผมอ่านจากเว็บนี้ก็ได้ความรู็มากมาย เขาเป็นเว็บเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่นักเขียนเขาสนใจเรื่องอื่นด้วย และเขียนหลายบทความเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ได้ดีมากเช่นกันครับ กำเนิดดอลลาร์ http://www.arip.co.th/businessnews.php?id=404312 ต้องขอบคุณครับ http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/untitledkkjkj.jpg คนที่สอง อเลกซานเดอร์ แฮมมิลตัน คนนี้คนอเมริกันยกย่อง เป็นบิดาของระบบทุนนิยม เป็นคนแรกที่เป้นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เขาวางรากฐานระบบธนาคาร การเงิน ตลาดหุ้น เป็นคนสำคัญมากทีเดียวครับ สิ่งที่ยูโรปกำลังเจอตอนนี้เหมือนกันอย่างบังเอิญ น่าสนใจครับ เหมือนฉายหนังซ้ำ ย้อนประวัติศาสตร์ไปยุคของอเมริกาในสมัยแฮมมิลตันกำลังวางรากฐานให้กับรัฐต่างๆของอเมริกาที่ตอนนั้นยังต่างคนต่างปกครองตนเอง ยังไม่รวมกันเป้น The United States ผมมีเว็บภาษาอังกฤษที่อธิบายเหตุการณ์นี้ ภาษาอ่านง่าย เข้าใจง่าย เขาเขียนดีมาก Hamilton and the federalist financial revolution, 1789–1795 by Richard Sylla http://www.alexanderhamiltonexhibition.org/about/Sylla%20-%20Federals%20Revolution.pdf ต้องขอบคุณครับ http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/51RBXFDHF8L__SL500_AA300_.jpg บีบให้แคบลงไปอีก สำหรับเขาสนใจหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนตรงๆ เลย ผมก็มีแนะนำเช่นกันครับ Wall Steet : มุมมองเกี่ยวกับวอลล์สตรีท ในฐานะศูนย์กลางของตลาดเงินตลาดทุนอเมริกาและของโลก ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มุมมองว่าด้วยฐานะของวัฒนธรรมในหนังสือเล่มนี้ กลับไม่มีใครพูดถึงมาก่อน จึงถือว่าเป็นการบุกเบิกที่สำคัญทีเดียว เว็บผู็จัดการ review book เขาสรุปไว้กระชับได้ใจความเป็นภาษาไทยได้ดีมากครับ http://www.gotomanager.com/books/details.aspx?menu=books,new&id=729 ต้องขอบคุณเช่นกันครับ http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/untitledffgfg.jpg อีกเล่มชื่อ Manias, Panics, and Crashes : A History of Financial Crisis เล่มนี้ส่วนตัว ชอบมากเช่นกันครับ ทางเว็บนี้ เขาก็เขียนได้ดีครับ http://www.aripnetwork.com/businessnews.php?id=403569 ต้องขอขอบคุณ ชาร์ลส คินเดิลเบอร์เกอร์ คนเขียนหนังสือชื่อดังเรื่อง Manias, Panics, and Crashes : A History of Financial Crisis เคยกล่าวเอาไว้ว่า แวดวงของธุรกิจโดยเฉพาะในตลาดทุนของโลกนั้น มักจะวนเวียนอยู่กับ 4 ขั้นตอนของวิวัฒนาการที่ซ้ำซากกัน คือ ช่วงฟักตัวก่อนทะยานขึ้น ช่วงเห่อตามกระแส ช่วงตื่นตูม และ ช่วงพังทะลาย ทั้ง 4 ช่วงเวลานี้ คือวงจรของความโลภที่แก้ไม่หายในโครงสร้างแบบทุนนิยม หรือจะอ่านเอาเฉพาะที่เป็น crisis อย่างเดียว เป็นการเฉพาะเจาะจงลงไปเลยนั้น ต้องอ่านเว็บนี้ http://www.bangkokbiznews.com/home/details/politics/opinion/sisaw/20090424/36395/%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B9.html ต้องขอบคุณเช่นกันครับ ผมมีรายชื่อหนังสือแนะนำสักสี่ห้าเล่มที่อาจจะสนใจ 1. เมลท์ดาวน์ MELTDOWN : The end of the age of greed คนเขียนชื่อ พอล เมสัน (Paul Mason) ครับ 2. เธอะ ครันช์ THE CRUNCH : How greed and in competence sparked the credit crisis คนเขียนชื่อ อเล็กซ์ บรูมเมอร์ (Alex Brummer) 3. กำเนิดวิกฤติการเงิน มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ว่า The Origin of Financial Crises คนเขียนชื่อ จอร์จ คูเปอร์ (George Cooper) เล่มนี้จะเน้นไปพูดเรื่องธนาคารกลางและฟองสบู่ในระบบสินเชื่อมากหน่อย 4. ประวัติศาสตร์วิกฤติการเงิน มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Manias, Panics and Crashes : A History of Financial Crises เป็นนักวิชาการสองคนร่วมกันเขียน คนหนึ่งคือ ชาร์สส์ พี. ไคนเดิลเบอร์เกอร์ (Charles P. Kindleberger) เล่มนี้มีคนแนะนำผมมาก่อนแล้ว ตอนไปเลือกหนังสือเจอเล่มนี้เข้าโดยบังเอิญก็เลยรีบซื้อเลย ไม่ต้องเสียเวลาพลิกดูก่อน 5. พายุคลั่ง มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ว่า The Storm : The world economic crisis & what it means คนเขียนชื่อ วินซ์ เคเบิล (Vince Cable) บทสรุป อ่านประวัติศาสตร์นานๆ คลุกมานาน บางทีเราก็อยากย่อให้มันเป็นภาพ เหมือนที่คำกล่าว A picture is worth 1000 words. สุดท้ายถ้าอยากเหมือนผมที่เอาไปติดที่ห้องทำงานไว้เตือนตัวเอง เอาเป็นภาพเลย บางทีก็ขี้เกียจอ่าน เป็นโพสเตอร์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมเหตุการณ์วิกฤติ เขาเอาต้มยำกุ้งของไทยไปรวมด้วย ก็ต้องรูปนี้ครับ http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/FinancialCrisis650.gif This graphic is based on the New York Times and Wall Street Journal best seller This Time Is Different: Eight Centuries of Financial Folly by Carmen M. Reinhart & Kenneth S. Rogoff. Using data developed by Reinhart and Rogoff, it maps the cyclical history of financial crisis from 1810 to 2010 for sixty-six countries representing 90% of world GDP. http://s147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/?action=view¤t=FinancialCrisis650.gif ต้องขอบคุณเช่นกันครับ [/size][/color][/quote]
โดย
humdrum
ศุกร์ มิ.ย. 01, 2012 11:17 am
0
2
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
ขอบคุณ ขอบคุณความไม่มี ที่ทำให้รู้วิธีลุกขึ้นสู้ ขอบคุณความยากจน ที่ทำให้เป็นคนมุมานะ ขอบคุณความล้มเหลว ที่ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ ขอบคุณความผิดพลาด ที่ทำให้ฉลาดยิ่งกว่าเดิม ขอบคุณความริษยา ที่ทำให้กล้าสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ขอบคุณคำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ทำให้ผลิบานอย่างไร้ข้อตำหนิ ขอบคุณความไม่รู้ ที่ทำให้รู้จักครูชื่อประสบการณ์ ขอบคุณความผิดหวัง ที่ทำให้ตั้งสติเพื่อลุกขึ้นมาใหม่ ขอบคุณศัตรูที่แกร่งกล้า ที่ทำให้รู้ว่าเรายังไม่ใช่มืออาชีพ ขอบคุณมหกรรมคอรัปชั่น ที่ทำให้เราอยากสร้างสรรค์การเมืองใหม่ ขอบคุณความป่วยไข้ ที่ทำให้เราตั้งในดูแลสุขภาพ ขอบคุณความทุกข์ ที่ทำให้รู้ว่าความสุขมีค่าแค่ไหน ขอบคุณความพลัดพราก ที่ทำให้เราสละจากความยึดติดถือมั่น ขอบคุณเพลิงกิเลส ที่ทำให้เรามีเหตุอยากถึงพระนิพพาน ขอบคุณความตาย ที่ทำให้ฉากสุดท้ายของชีวิตสมบูรณ์แบบ ว.วชิรเมธี [/color][/size]
โดย
humdrum
พฤหัสฯ. พ.ค. 31, 2012 11:05 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/imagesddddd.jpg ค่า PEG นักบินตอนตรวจร่างกาย ถ้าเป็นตรวจภายนอก เขาจะให้เราหันหน้าหากันแล้วจับผิดเพื่อนตรงข้ามว่ามีครบสามสิบสองไหม แต่ถ้าเป็นภายใน เขาจะล้วงเข้าไปหาในรูก้นเราแล้วหาว่าเราเป็นริดสีดวงหรือไม่ เขาจะไม่เอาคนที่เป็นริดสีดวงมาเป็นนักบินเพราะเวลาบินขึ้นข้างบนอากาศจะขยายและริดสีดวงก็หนีไม่พ้นกฏข้อนี้ ผมอยากตรวจดูว่า PEG หนีพ้นกฏข้อนี้หรือไม่ แต่การขยายตัวผมหมายถึงการขยายตัวของ greed and fear ของ Mr.Market PEG น่าสนใจมากครับ มันกลบข้อเสียของ PE วิธีคิดก็ดูไม่ยาก มีสามตัวแปร 1.ราคาของหุ้น 2. กำไรต่อหุ้น 3. อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น ซับซ้อนกว่า PE นิดเดียวโดยเอาอัตรการเติบโตของกำไรต่อหุ้นมาคิดด้วย สมการ PEG ratio =(Price/Earnings ratio)/ Annual EPS growth สองคนสำคัญของโลก นักฟิสิกส์อย่างไอไสตน์และนักชีวิทยาอย่างชาร์ล ดาวินใช้เวลาบั้นปลายจับผิดตนเอง ผมจะลองทำอย่างนั้นบ้างกับ PEG แต่ผมไม่มีความสามารถอย่างนั้น สมองน้อยๆ ของผมที่เป็นโรค Dyslexia ผมเป็นคนเข้าใจอะไรช้า ผมจะขอยืมวิธีจากนักคณิตศาสตร์ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของโลกที่ชื่อ Jacob Jacobbi มาใช้เวลาแก้ปัญหาโจทย์เลขที่ยากมากๆ เขาใช้วิธี invert ครับ ผมจะลองใช้วิธี invert กับ PEG เช่นกัน สมมุติว่า หุ้นตัวหนึ่งชื่อ Humdrum ทำธุรกิจขายมันแกวยักษ์ มี PE 20 เท่าและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ลงความเห็นเคาะอัตราการเติบโตของกำไรโดยเฉลี่ยของบริษัทนี้ตลอดระยะห้าปีข้างหน้าที่ 12% จับเศษหารส่วน PEG= 20/12 = 1.66 ส่วนอีกบริษัทชื่อ Humson ขายเครื่องดนตรีทรัมเปต มี PE สูงถึง 30 เท่า เติบโตตลอดห้าปีประมาณการ 40% จับเศษหารส่วน PEG = 0.75 ในการตีความหมาย ผมตีความว่าในอนาคต ราคาของบริษัท humdrum จะสะท้อนปรับตัวลงตามตลาดที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่บริษัท Humson ซึ่งมีค่าเป๊ก PEG แค่ 0.75 เท่านั้น แปลเอาว่า ราคาของบริษัทนี้ยังต่ำกว่ามูลค่าการเติบโตที่แท้จริงของบริษัทและในอนาคตราคาจะเพื่มขึ้นตามตลาดที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน ผมแปลอย่างง่ายๆ บริษัทไหนมีค่าเป๊กเกิน 1 ถือว่าแพง และบริษัทไหนมีค่าเป๊กน้อยกว่า 1 ถือว่าถูก ข้อเสียของ P/E คือ ถ้าบริษัทไหนมีอัตราเติบโตของกำไรมาก ๆ ค่า PE จะสูงตามไปด้วย ถ้าใช้แค่ค่าพีอีเป็นตัววัดบริษัท "จิ้งโจ้" เหล่านั้น ถือว่าแพงมาก ต้องใช้ค่าเป๊กถือว่าเหมาะสมกว่าตามความสามารถของบริษัทในการหากำไรที่เพิ่มขึ้น แต่ค่า PEG ทีสองเท่าก็ถือว่าแพงเช่นกัน PEG มีข้อดีอีกอย่างครับ ผมถือว่าสำคัญมากครับ อย่างตัวอย่างหุ้น humdrum ที่ขายมันแกว และหุ้น Humson ขายทรัมเปต มันเหมือนคนละหน่วยเลย ดังนั้นเวลาเทียบค่า PE แต่ละ sector มันเปรียบเทียบกันไม่ได้ด้วยลักษณะของธุรกิจที่ต่างกัน แต่พอเอา growth เป็นตัวหาร ไม่ว่าข้ามไปอุตสาหกรรมไหน หรือ ตลาดคนละประเทศ เช่นไปเปรียบหุ้น humdrum ในตลาด Thai stock market กับ หุ้นเทเลคอม Telekomunikasi Indonesia ในตลาดหุ้นอินโนีเซีย มันเลยเทียบมวยได้ใกล้เคียงกันหมด แต่ PEG มันมีข้อเสียครับ มันมีความโน้มเอียง ใช้วัดหุ้นที่โตเท่านั้นและมองข้ามหุ้นที่เน้นจ่ายปันผล ผมยกตัวอย่างบริษัทที่ถูกเรียกว่า "หุ้นพันธบัตร " หรือหุ้น defensive ที่ว่าเซฟๆ กำไรโตสักประมาณ 5% อยู๋ในชีวิต business cycle ช่วงระยะเวลาของบริษัททีไม่ต้องใชเงินลงทุนมาก ผลตอบแทนเงินปันผลต่อหุ้น 5% มีค่า PE 12 เท่า ค่า PEG = 12/5 = 2.50 มองป๊าดตัวนี้แพงมากเพราะมีค่ามากกว่าสองเท่า แต่ลองใส่ % ปันผลเข้าไปดูครับ 12 / (5 +5) = 1.2 ถ้ามองมุมนี้ หุ้นตัวนี้ยังไม่แพง ค่าวัดทางการเงินต่างๆ ทั้ง EBITDA ทั้งค่า BETA ผมขอยกคำกล่าวของมังเกอร์ที่บอกว่า ค่าเหล่านี้ควรใส่คำว่า "bullshit" เข้าไปแทนได้เลย ผมแปลว่า "ค่าขี้วัว" สิ่งที่นักลงทุนเน้นคุณค่าควรให้สนใจคือคำพูดเบน แกรม ที่ว่า "เล่นในเกมของตัวเอง ชนะในเกมของตัวเอง อย่าพยายามชนะในเกมที่คนอื่นวางไว้" ถ้าค่า PEG เป็นส่วนหนึ่งในเกมของท่าน ท่านคงอาจทราบเช่นกันว่าในระยะยาวมันอาจใช่ไม่ได้เพราะค่า PEG ทุกบริษัทอาจวิ่งเข้าหาค่าตรงกลางที่ 1 เพราะ PEG ก็ไม่อาจหนีพ้นกฎของ fears or greed ของ Mr.Market เช่นกันครับ อย่าลืมหา Margin of safety เผื่อเวลาใช้มันครับ [/size]
โดย
humdrum
พุธ พ.ค. 30, 2012 6:32 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
Facebook, Wall Street and Shareholders: A Tale of Greed and Sorrow http://beta.fool.com/kprogers/2012/05/29/facebook-wall-street-and-shareholders-tale-greed-a/5013/?source=eogyholnk0000001 เป็นกรณีศึกษาครับ อีกหน่อยก็การเป็นประวัติศาสตร์ เคส Bulls and Bears อย่างนี้ผมจะชอบเก็บไว้อ่าน ประวัติศาสตร์ทั้งนั้นครับ เก็บไว้อ่าน ยิ่งอ่านยิ่งเข้าใจอะไรมากขึ้นเยอะและเร็วขึ้นอีกด้วย เคส Bears อย่างนี้ผมอ่านเป็นร้อยบริษัทเลย เอาไว้เป้นบทเรียนครับ เหมือนที่มังเกอร์ว่าไว้All I want to know is where I'm going to die so I'll never go อีกหลายปีเรื่อง facebook นี้ไม่จบง่าย ๆ พูดถึงประวัติศาสตร์ ถ้าใครชอบ ต้องลองอ่าน The Lessons of History, by Will Durant ซึ่งเล่มนี้ยังเป้นเล่มโปรดของ Ray Dalio อีกด้วยครับ Will Durant ออกมาสิบกว่าเล่มครับ ตอนนี้การเป็นหนังสือหายากไปแล้ว แต่โชคดีมีคนใจดีเอามาให้โหลดบนเว็บได้ ขนาดมังเกอร์ยังแนะนำนักศึกษาคนหนึ่งให้อ่านประวัติศาสตร์ นักศึกษาคนนี้เล่าว่า "ตอนนั้นปี 1974 ผมกำลังปริญาโทที่ University of Southern California กำลังลงวิชา portfolio-management investment ตอนนั้นตลาดหุ้นกำลังปั่นป่วนเลยทีเดียวครับ และผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมราคาหุ้นถึงถูกขายในราคาต่ำขนาดนี้ได้ ตอนนั้นผมพึ่งเริ่มอ่านหนังสือ Security Analysis by Graham and Dodd พอดีเลยครับ กำลังสนใจเรื่องนี้ และก็โชคดีมากที่ตอนนั้น มหาวิทยาลัยเชิญวิทยากรพิเศษมาพูด ท่านชื่อ Charlie Munger ครับ ท่านมาพูดเกี่ยวกับ value investing พอจบชั่วโมงสอน หลังเลิกเรียนผมเดินไปถามท่านว่า "ถ้ามีบางอย่างที่ผมสามารถทำได้และมันจะทำให้ผมกลายเป็นนักลงทุนอาชีพที่ดีได้ สิ่งนั้นคืออะไรครับ" มังเกอร์ตอบว่า ‘Read history, read history, read history.’ ผ่านไป 38 ปี ปัจจุบันนักศึกษาคนนั้นคือ Robert Rodriguez, CEO, of FPA
โดย
humdrum
พุธ พ.ค. 30, 2012 12:32 am
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
ลืมใส่ souce ที่มาของคำอธิบายครับ Facebook IPO ใครได้ ใครเสีย http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/atip/20120529/453853/Facebook-IPO-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2.html
โดย
humdrum
อังคาร พ.ค. 29, 2012 11:51 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
เอาประสบการณ์เข้าตลาดของ facebook มาเป็นบทเรียน checklist ของกองทุน 67. หลีกเหลี่ยงการลงทุนในหุ้น IPO ที่พึ่งเข้าตลาด เพราะ IPO อาจหมายแปลว่า Important out หรือ "ประตูทางออก" สำหรับผู้ถือหุ้นของบริษัท คำอธิบาย : กรณีตัวอย่าง Facebook ที่กำลังโดนฟ้องจากนักลงทุนเนื่องจากราคาที่ปรับลงอย่างรวดเร็วหลังจากเข้าตลาด Facebook ถูกก่อตั้งในปี 2004 ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา มีผู้ร่วมลงทุน ทั้งด้านความคิดสร้างสรรค์ แรงงาน และเงินตรา ที่มีสูตรคำนวณแลกเปลี่ยนเป็นหุ้นตามแบบฉบับของ Silicon Valley ผู้ลงทุนความคิดสร้างสรรค์ คือ Mark Zuckerberg และผู้ก่อตั้งอื่นๆ ผู้ลงทุนแรงงานคือพนักงานชุดแรกๆ และผู้ลงทุนเงินตราคือ Venture Capitalists และ Angel Investors ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้ มี Exit Strategy คือการ Cash Out เมื่อ Facebook เข้า IPO และสามารถขายหุ้น ซึ่งมีมูลค่าเป็นร้อยหรือพันเท่าของต้นทุน ทั้ง 3 กลุ่มนี้ คือผู้ได้ผลประโยชน์โดยตรงจาก IPO ของ Facebook
โดย
humdrum
อังคาร พ.ค. 29, 2012 11:45 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
สวัสดีครับคุณไอซ์ ผมนั่งดูราคา Facebook, Inc. (FB)-NasdaqGS 29.85 2.06(6.46%) 11:59AM EDT - Nasdaq Real Time Price ไม่น่าเชื่อครับเห็นปะโคมข่าวกันน่าดู วันศุกร์ที่แล้วยังเห็นราคา 45 อยู๋เลยครับ Buffett and Munger ไม่ได้สนใจในหุ้นตัวนี้ตั้งแต่แรก บัฟเฟตให้เหตุผลว่า เขาไม่เคยสนใจหุ้น IPO เลย เขากล่าวว่า "ความคิดที่ว่าบริษัทเปิดตัวออกหุ้นใหม่กับสาธารณะชนแล้วบอกทุกคนว่า หุ้นมีส่วนลดจากมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทอยู่มาก อีกทั้ง คนขายยังเป็นคนกำหนดว่าเมื่อใดจะขายหุ้นอีกด้วย และยังมาบอกว่า การลงทุนนี้เป็นการลงทุนที่ดีที่สุดในชีวิต คำนวณอย่างไรแล้ว บอกได้เลยว่า นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย" บอกเป็นนัยหรือปล่่าว หุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าต้องไม่มีคนรู็เยอะ :B เวลาซื้อต้องให้คนซื้อเป็นคนกำหนดเวลาอย่างเช่นเวลาเกิด panic sell ไม่ใช่ไปแย่งกันซื้อหุ้นต่อคิวกันยาวเฟื้อยอย่างหุ้น facebook ผมคิดถึงเหมือนขนมอะไรนะครับที่ห้างแถวสยาม มังเกอร์ต่ออีกหน่อยครับ "ผมไม่ลงทุนในบริษัทที่ผมไม่เข้าใจ ผมไม่อยากเข้าใจบริษัทอย่าง facebook" กัดแรงตามไสตน์มังเกอร์ครับ แต่โลกเราต้องการคนอย่างนี้ ตอนที่เกิด suprime แกก็กัดคนใน wall street ซะน่วมไปทีแล้ว ไม่ชอบ Facebook แต่ทั้งสองท่านก็ไม่ short against Facebook ครับ เขาบอกว่า "ผมไม่ช๊อตหุ้นเทคโนต่างๆเลย อย่าง facebook, Google, หรือว่า Apple -- เป็นบริษัทที่เยี่ยมยอดทั้งนั้นแต่ถ้ามองไปอีกห้าปีสิยปีข้างหน้า ผมไม่สามารถมองออกเลยว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทเหล่านั้นเป็นอย่างไร" ทั้งสองท่านไม่เล่น facebook ครับ :B
โดย
humdrum
อังคาร พ.ค. 29, 2012 11:25 pm
0
0
Re: ท่านคิดว่า บ.ใด มีสัดส่วน %(เงินสดต่อหุ้น/ราคาซื้อขาย)สู
ผมไม่แน่ใจว่าความคิดเรื่องการมองหาบริษัทที่ลงทุนโดยมองที่เงินสดต่อหุ้นมาจากใครเป็นคนคิดคนแรก แต่จำได้ว่าครั้งแรกได้ยิน Cash Per Share 8ครั้งแรกตอนอ่านประวัติบัฟเฟตกับมังเกอร์ซื้อกิจการ SEE's Candies ทั้งบริษัท การดูเงินสดนั้นอาจเหมาะกับการซื้อบริษัททั้งกิจการหรือไม่ เพราะบัฟเฟตช่วงแรกที่เขาตั้งกองทุนกับมังเกอร์นั้น เงินลงทุนเขายังไม่เยอะ เขาจึงมองหากิจการที่มีเงินสดในมือเยอะ เพื่อที่เขาจะได้เอาเงินส่วนนั้นไปลงทุนอย่างอื่นที่ผลตอบแทนดีกว่าเอาเงินกลับเข้าไปลงทุนในบริษัทเอง เงินสดอาจเป็น investing insurance premium ทีดีสำหรับตัวบริษัทเอง สำหรับความคิดผม มันเป็นค่าป้องกัน "ค่าเหนื่อยล้า" ของผู็บริหาร และเป้นส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยในขณะที่ความไม่แน่นอนกำลังขยับตัวมากขึ้นในช่วงครี่งปีหลังนี้ :B อย่างไรก็ตามครับ ต่างคนต่างความคิด ผมเทียบเงินสดต่อหุ้น บริษัทที่ผมเข้าไปลงทุนเช่นกัน แต่ผมไม่ได้ให้น้ำหนักมากแค่ตัวเดียว ผมยังเทียบเงินสดได้อีกหลายอย่างครับ ตัวอย่างเปรียบเทียบบริษัทหนึ่ง Cash as % of assets: 63% , Cash as % of annual revenue: 58.7% แต่เมื่อเทียบกับ Sector Cash Averages as % of assets แค่ 17.8% เท่านั้น จะเห็นว่าบริษัทนี้เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นในกลุ่มเดียวกันแล้วแล้วมีเงินสดมากกว่าถึง 4 เท่าทีเดียว แต่เหรียญมีสองด้านเสมอ การที่บริษัทมีเงินสดมากเกินไปนั้นอาจหมายถึงบริษัท "ไม่รู้จะทำอะไร" จริงๆ กับเงินสดที่ว่านั้นเหมือนที่มังเกอร์เคยกล่าวไว้ว่า “Our cash is speaking for itself. If we had a lot of wonderful ideas, we wouldn’t have so much cash.” ลองไปดูเงินสดต่อหุ้นของ Berkshire Hathaway Inc. (BRK-A) ดูนะครับ Cash Per Share :22,857.73 market price per share 119,500.00 บริษัทมีเงินสดต่อหุ้น 22,857/ 119,500 = 19 %
โดย
humdrum
อังคาร พ.ค. 29, 2012 2:57 pm
0
22
Re: นักลงทุน VI ต่างแดน
โทษทีครับ ไม่เห็นครับ ผมแปลไทยไม่เก่งเลย ความหมายผิดเพี้ยนไปมาก A picture is worth a thousand words. http://i147.photobucket.com/albums/r287/soi100236/money.jpg
โดย
humdrum
อังคาร พ.ค. 29, 2012 8:14 am
0
1
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
62. บรืษัทอยู่ในสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่รุนแรงไหม คำอธิบาย : ถ้าอุตสาหกรรมนั้นเติบโตเยอะ ผู้เล่นทุกคนที่มี Market Share เท่าเดิมก็จะมีกำไรเพิ่มขึ้น แต่เมื่ออุตสาหกรรมหยุดโต ผู้เล่นที่อยากโตต่อ ก็ต้องหันมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากเจ้าอื่น กลยุทธ์ที่นิยมใช้คือการตัดราคา อย่างเช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ 63. สินค้าที่บริษัททำอยู่มีโอกาสที่ผู้บริโภคจะใช้น้อยลง เพราะมีสินค้าอย่างอื่นมาทดแทนไหม คำอธิบาย: Internet ทำให้การซื้อหนังสือพิมพ์ลดลง หรือ คนนิยมขวดแบบ PET มากกว่าขวดแก้วเนื่องจากน้ำหนักเบา พกพาสะดวก ธุรกิจอะไรที่มีรายได้เกี่ยวกับขวดแก้วก็มีรายได้น้อยลง 64. เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม บริษัทอยู๋ในธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบหรือไม่ คำอธิบาย : ธุรกิจประเภทเทคโนโลยีนั้นมักจะมีความเสี่ยงจากสินค้าทดแทนใหม่ๆ มากที่สุด เคยใช้เครื่องพิมพ์ดีด ก็หันมาใช้คอมพิวเตอร์แทน เคยใช้เพจเจอร์ก็หันมาใช้มือถือแทน ใช้เครื่องเล่นวีดีโอที่เป็นตลับก็หันมาใช้เครื่องเล่น VCD, DVD แทน ใช้โทรศัพท์มือถือธรรมดาก็กลายเป็นนิยมใช้ Smart Phone แทน ดังนั้นธุรกิจไหนที่มียอดขายเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากๆ ก็จะมีความเสี่ยงรายได้หาย เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม เราจำเป็นต้องรู้ว่าหุ้นที่เราลงทุนนั้น ขายสินค้าอะไร และควรติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภคว่ามีแนวโน้มจะบริโภคเพิ่มขึ้นหรือลดลง เราสามารถโยงความสัมพันธ์ของหุ้นเทคโนโลยีกับงบกระแสเงินสดจากการลงทุนได้ด้วย เนื่องจากหุ้นที่ผลิตสินค้าที่ความต้องการผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงบ่อย การจะต้องลงทุนเครื่องจักรใหม่ๆ เพื่อให้เข้ากับสินค้าใหม่ๆตลอดเวลา ทำให้เงินเหลือมาปันผลน้อย เพราะต้องลงทุนหนักตลอดเวลา 65. สินค้าของบริษัทสามารถทดแทนสินค้าอื่นๆ ได้หรือไม่ คำอธิบาย : ตัวอย่าง หุ้นนำเข้าถ่านหินเพื่อขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อหลายปีก่อนโตเร็วมาก เพราะราคาน้ำมันเตาสูง ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมเปลี่ยนหม้อไอน้ำจากใช้น้ำมันเตาเป็นใช้ถ่านหินแทน ทำให้หุ้นตัวนี้มีกำไรโตมาก เพราะสินค้าบริษัทไปทดแทนสินค้าอื่น แต่เนื่องจากธุรกิจนี้มีการเข้ามาแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหม่ง่าย จึงทำให้บริษัทมี Gross Margin ที่ตกลงในที่สุด หรืออุตสาหกรรมค้าปลีกที่ขยายสาขาต่อเนื่อง ก็ถือว่าทดแทนร้านโชว์ห่วยแบบเดิมๆ เนื่องจากสินค้าที่หลากหลายเดินเข้าไปในร้าน ก็มีหนังสือขาย มี VCD DVD ขาย มีอาหารกล่องขาย ซึ่งทำให้คนชอบเข้าร้านสะดวกซื้อมากกว่าร้านโชว์ห่วยแบบเดิมๆ 66. บริษัทที่ลงทุนมี Five Forces Model ครบทั้งห้าตัวใช่หรือไม่ คำอธิบาย : บริษัทค้าปลีกเป็นธุรกิจที่มี Five Forces Model ที่เยี่ยมมาก ไม่ว่าจะเป็นอำนาจต่อรองกับ Supplier หรือลูกค้า ก็ถือว่าอยู่ในจุดที่ปลอดภัย ธุรกิจค้าปลีกขายของอุปโภค บริโภค ที่เป็นสิ่งจำเป็น จึงไม่มีสินค้าใดๆมาทดแทน ธุรกิจค้าปลีกที่เข้าไปจับจองพื้นที่ได้ก่อนจะเป็นกำแพงป้องกันคู่แข่งรายใหม่ๆที่เข้ามาที่หลังจะเสียเปรียบ ธุรกิจค้าปลีกไม่ค่อยมีการแข่งขันทางราคาอย่างดุเดือดเท่าไหร่ ดูเหมือนตลาดก็มองเรื่องนี้ออก P/E ของหุ้นค้าปลีกจึงค่อนข้างสูง เมื่อหลายปีก่อนตอนหุ้นค้าปลีก P/E ต่ำๆ เซียนหุ้นหลายคนมองออก ก็ซื้อหุ้นเก็บเอาไว้ ส่วนคนที่สนใจหุ้นค้าปลีกในตอนนี้ ก็ต้องเปรียบเทียบเองว่าราคาแพงไปหรือยัง หรือว่ายังต่ำกว่ามูลค่า เนื่องจากธุรกิจดีแต่ถ้าราคาแพงเกินไปก็ไม่น่าลงทุน
โดย
humdrum
จันทร์ พ.ค. 28, 2012 8:27 pm
0
1
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
60. บริษัทมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าหรือไม่ คำอธิบาย : ถ้าบริษัทมีขนาดเล็กกว่าลูกค้าค่อนข้างมาก บริษัทมักจะไม่สามารถมี Gross Margin ที่สูงได้ เนื่องจากถ้าลูกค้าสั่ง Order เพิ่มก็จะต่อรองบริษัทช่วยลดราคาให้ ทำให้แม้มีรายได้เพิ่ม แต่ความสามารถในการทำกำไรมักจะไม่สูงขึ้น หุ้นของบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ เนื่องจากลูกค้าคือ ยี่ห้อรถต่างๆ ทีมีขนาดใหญ่กว่าบริษัทผลิตชิ้นส่วนมาก สมัยก่อนเคยมีหุ้นผลิตพัดลมอยู่ตัวนึง มีลูกค้าเพียงรายเดียว กรณีนี้ลูกค้าจะมีอำนาจต่อรองสูงมาก ต่อมาบริษัทเสียลูกค้ารายนี้ไป คนถือหุ้นเจ็บช้ำจนน้ำใบบัวบกก็ไม่สามารถช่วยได้ หรืออย่างหุ้นของบริษัทอิเล็กทรอนิกที่ออกแบบ ผลิต ประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกแห่งนึง เมื่อ 4-5 ปีก่อน ที่ลูกค้าของบริษัท 5 บริษัทถูก Take Over และคนที่มา Take Over ไปก็ยกเลิกการสั่งสินค้ากับบริษัท เนื่องจากลูกค้า 5 รายที่โดน Take Over ไปมียอดสั่งซื้อของรวมกันเป็น % ที่มีนัยยะกับบริษัทจึงทำให้กำไรของบริษัทหายไปเยอะมาก บริษัทที่มีลูกค้าไม่กี่ราย ที่มีการซื้อของเป็นสัดส่วนที่เยอะ ถ้าวันไหนระเบิดเวลาเกิดระเบิดขึ้นมา (ลูกค้ายกเลิกคำสั่ง) ก็ตัวใครตัวมันละครับงานนี้ บริษัทที่ขายสินค้าอุปโภค บริโภค ที่คนจำนวนมากต้องซื้อ จะเป็นบริษัทที่ลูกค้าไม่มีอำนาจต่อรองกับบริษัทเลย เพราะลูกค้าแต่ละรายแทบไม่มีผลต่อยอดขาย และถ้าบริษัทเหล่านั้น สามารถปรับราคาขึ้น เมื่อเกิดเงินเฟ้อได้ด้วยละก็ ยิ่งดีเข้าไปใหญ่ หุ้นที่เข้าข่ายลักษณะนี้ เช่นค้าปลีก โรงพยาบาล จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่หุ้นเหล่านี้มักจะมี P/E สูงกว่า หุ้นยานยนต์ และอิเล็กทรอนิก 61. บริษัทมีอำนาจต่อรองกับ Supplier หรือไม่ คำอธิบาย : บริษัทค้าปลีกเป็นตัวอย่างที่ดีของธุรกิจที่มีอำนาจต่อรองที่สูง เนื่องจากการที่มีสาขาทั่วประเทศทำให้ ถ้าของๆใครได้ขายผ่านช่องทางของค้าปลีกเหล่านี้ ก็จะสามารถขายของได้ทั่วประเทศ ดังนั้นใครๆก็อยากให้ของๆตัวเองขายในร้านค้าปลีกเหล่านี้ ดังนั้นอำนาจต่อรองของบริษัทค้าปลีกจึงสูงมาก วิธีในการดูว่าบริษัทมีความเสี่ยงจาก Supplier ไหม คือต้องดูว่ามีคนที่สามารถป้อนวัตถุดิบให้กับบริษัทมากไหม ธุรกิจบางอย่างอาจต้องพึ่งพา วัตถุดิบบางอย่างซึ่งมีคนผลิตน้อย ทำให้บริษัทที่ขายมีอำนาจต่อรองสูงกับบริษัท
โดย
humdrum
จันทร์ พ.ค. 28, 2012 8:27 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
Dear value friends, Future is unpredictable. Even if value investors are concerned about intrinsic values, the complex reality is that intrinsic values are bot carved in stones. How can you be sure that u are buying at a discount? Value investor should position himself/herself to survive and prosper under any circumstances. Bad lucks can happen. Mistakens happen. Chaopaya river may overflow its bank this year or may be not, but we still buy flood insurance on our house. Simiarly, a value investor should pay attention to checklists as investing insurance premium against unexpected and unpredictable adversity. Those who take advantage of Hongvalue 's advices have a good chance of enjoying long term success. " Five Forces Model เป็น Model ที่สำคัญมากๆในการวิเคราะห์คุณภาพของธุรกิจ นักลงทุนควรมองให้ออกว่าบริษัทที่สนใจลงทุน มีสถานะอย่างไรตาม Model Five Forces และดูควบคู่ไปกับตัวเลขทางการเงิน จึงจะทำให้วิเคราะห์หุ้นอย่างรอบด้านจริงๆ" hongvalue source :Five Forces model by hongvalue Tue May 08, 2012 http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=51996 59. ธุรกิจที่บริษัททำอยู่มีคู่แข่งเข้ามาในอุตสาหกรรมเรายากไหม คำอธิบาย: ถ้าธุรกิจที่บริษัททำอยู่สามารถมีรายใหม่เข้ามาได้ง่าย ก็ถือว่าเป็นปัจจัยทางธุรกิจที่ไม่ดีนักของบริษัท อย่างเช่น หุ้นนำเข้าถ่านหินที่ในอดีตเคยมี Gross Margin สูงถึง 30% ซึ่งถือว่าสูงมาก แต่ธุรกิจนี้ไม่ได้ใช้เงินลงทุนสูงมาก และไม่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางอะไรมากนักเมื่อกำไรดี จึงทำให้มีบริษัทอื่นๆหันมานำเข้าถ่านหินมากขึ้น และทำให้กำไรของบริษัทที่เคยทำได้สูงก็ต้องลดลง เนื่องจากมีคู่แข่งเข้ามาเยอะขึ้น vธุรกิจที่มี Gross Margin สูง แต่ผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามาได้ไม่ยาก หุ้นแบบนี้เป็นหุ้นที่เหมาะกับการเก็งกำไรมากกว่าลงทุนยาว เพราะในช่วงที่คู่แข่งยังไม่เข้ามาบริษัทก็สามารถที่จะ enjoy กับกำไรสูงๆได้ซักพัก แต่ถ้าถือนานๆ พอคู่แข่งเข้ามา แม้รายได้บริษัทจะโตแต่กำไรก็ลดลง ทำให้ wealth ของผู้ถือหุ้นไม่เพิ่มขึ้นในระยะยาว และอีกหนึ่งตัวอย่างก็คือ ธุรกิจอย่างโรงกลั่นและปิโตรเคมี ก็เป็นธุรกิจที่คู่แข่งเข้ามาได้ง่าย การเข้ามายากหรือง่ายนั้น เงินลงทุนที่สูงเป็นปัจจัยที่ไม่สำคัญนัก เพราะบริษัทใหญ่ๆเงินระดับหมื่นล้านก็ไม่ใช่จำนวนที่มากเกินไป ถ้า spread ปิโตรเคมีอยู่ในระดับสูง ใครๆก็อยากสร้างโรงงาน เพราะคืนทุนเร็ว แต่ถ้าใครๆที่มีเงินก็สร้างได้ พอ Spread สูงทุกคนก็แห่กันเข้ามา พอถึงเวลานั้นราคาสินค้าก็จะตกเพราะว่าคนแย่งกันขายของทำให้ผู้ถือหุ้นปิโตรเคมีหรือโรงกลั่นมักมีช่วงเวลา Honeymoon period ที่สั้น แตกต่างจากธุรกิจขุดเจาะน้ำมันที่ไม่ใช้ใครที่มีเงินก็ทำได้ เพราะประเทศต่างๆถือว่า น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นสมบัติของประเทศ ต้องมีการประมูล ต้องมีสัมปทาน ไม่ใช้ใครมีเงินอยากทำก็ทำได้ สิ่งนี้ทำให้กำไรของหุ้นขุดเจาะน้ำมันที่เป็นอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) สูงถึง 30% ต่อเนื่องได้หลายปี ซึ่งถือว่าสูงมากๆ ปกติ Gross Margin (กำไรขั้นต้น) 30% ก็สูงแล้ว แต่นี้หักภาษีดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายแล้วยังเหลือกำไรถึง 30% และเป็นตัวเลขที่ทำได้ต่อเนื่องยาวนานด้วย เราจะไม่พบอัตรากำไรที่สูงขนาดนี้ในหุ้นปิโตร และโรงกลั่นเลย
โดย
humdrum
จันทร์ พ.ค. 28, 2012 8:26 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
Jim Chanos 's Short Sell Strategy source : พ่อมดแห่งการช๊อตเซล Jim Chanos Thu May 24, 2012 http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=52141 56. เมื่อน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น บริษัทเสียผลประโยชน์มากเพราะอยู๋ในอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำมันมากใช่หรือไม่ 57. ราคาทองคำที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนบริษัทใช่หรือไม่ คำอธิบาย : ตัวอย่างบริษัทจิวเวอร์รี่ได้รับผลกระทบด้านกำไรที่ปรับลดลง 58. คุณเป็นคนฟังแนวคิดของคนอื่นถึงแม้ลึกๆคุณอาจจะไม่เห็นด้วยก็ตามใช่หรือไม่ คำอธิบาย : คน 90% สนใจเรื่องทำอย่างไรให้ "ถูก" อย่างเดียว หากเขาคิดว่าแนวคิดของคุณผิดแล้ว เขาจะไม่ฟังคุณเลย แต่ถ้าคุณเป็นคนฟังแนวคิดของคนอื่นถึงแม้ลึกๆคุณอาจจะไม่เห็นด้วยก็ตาม คุณจะได้เรียนรู้อะไรมากกว่าสิ่งที่คน 90% นั้นไม่เคยรับรุ้มาก่อนในชีวิตเลยทีเดียว และเมื่อคุณนำมาพัฒนาให้สอดคล้องกับความสามารถที่คุณมีแล้วล่ะก็ พอถึงตอนนั้น คนอีก 90% ก็จะบอกว่าคุณเป็นคนเป็นเซียนการลงทุน
โดย
humdrum
จันทร์ พ.ค. 28, 2012 7:36 pm
0
0
Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์
Value investors are human and do make mistakes. It is a concept of margin of safety that best distinguishes value investors and inspectors. If y Value investors are risk averse and loss avoidance is the cornerstone of value investing philosophy. Thus, they should take consulting his checklists instead of taking advices from Mr. Market. This pre-investing checklists aid in margin of safety to ensure that Warren Buffett's 1st law, primary goal of capital preservation, are not forgotten. Value Investor's Checklist for defensive securities souce : หุ้นพันธบัตร/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร Sun May 27, 2012 51. บริษัทอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ Defensive ซึ่งยอดขายโดยรวมไม่ผันผวนมากนักตามภาวะเศรษฐกิจหรือไม่ 52. สินค้าหรือบริการเป็นสิ่ง “จำเป็น” ในชีวิตของผู้คนหรือไม่ 53. ยอดขายมีความผันผวนหรือมีความไวต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจหรือไม่ 54. ผลประกอบการของบริษัทขึ้นอยู่กับ Demand ของสินค้าหรือผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาใช่หรือไม่ 55. บริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดของการแข่งขันเสรีเนื่องจากกฎระเบียบ สัมปทาน สัญญาหรือข้อตกลงที่มีการลงนามและผูกพันในระยะยาวใช่หรือไม่ 56. ผลประกอบการของบริษัทขึ้นอยู่กับต้นทุนสำคัญที่ไม่สามารถควบคุมได้ใช่หรือไม่ คำอธิบาย: เพราะนี่อาจจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทถูกกระทบได้มาก ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าราคาสินค้าหรือบริการของบริษัทสามารถปรับตามต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ 57. ผลประกอบการของบริษัทขึ้นอยู่กับการดำเนินงานตามปกติของบริษัทใช่หรือไม่ คำอธิบาย : โอกาสที่บริษัทจะทำไม่ได้หรือเกิดการผิดพลาดมีน้อย และนี่ทำให้บริษัทมีกำไรและจ่ายปันผลได้ในอัตราที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ 55. บริษัท “ถูกล็อก” ไม่ให้ทำกำไรเกินควรจากรัฐบาลหรือหน่วยงานควบคุมใช่หรือไม่ คำอธิบาย : เนื่องจากบริษัทอาจจะมีอำนาจในการผูกขาดมากเกินไป
โดย
humdrum
จันทร์ พ.ค. 28, 2012 7:20 pm
0
0
683 โพสต์
of 14
ต่อไป
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
humdrum
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
อาทิตย์ ธ.ค. 10, 2006 10:17 pm
ใช้งานล่าสุด:
-
โพสต์ทั้งหมด:
1961 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.10% จากโพสทั้งหมด / 0.30 ข้อความต่อวัน)
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ Value Investing
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ThaiVI GO Series
↳ Oppday Transcript
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
↳ หลักสูตรออนไลน์
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว