"Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระหว่าง

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
Poet
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

"Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระหว่าง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สิ่งที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วระหว่างนัก Technical และ VI ก็คือการกระทำที่กลุ่มคนทั้งสองจะทำเมื่อราคาหุ้นปรับตัวลดลง (Cut Loss vs. ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง) เรื่องที่เราต้องคิดก่อนเสมอทุกๆครั้งก่อนซื้อขายหุ้นก็คือ "เราใช้ปัจจัยอะไรมาตัดสินในการซื้อหุ้น?" เราซื้อหุ้นตัวนั้นมาเพราะเห็นสัญญาณทางเทคนิค หรือว่าเราซื่้อเพราะเชื่อว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นยังต่ำกว่าราคา สิ่งที่เป็นตัวตัดสินความสำเร็จในตลาดหุ้นก็คือ "วินัย" ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราต้องไม่เปลี่ยนม้ากลางศึก

ก่อนอื่นมาดูคำนิยามของศาสตร์ทั้งสองกันก่อน

Technical - ศาสตร์ของ Technical นั้นคือการซื้อขายหุ้นตาม Trend (Trend Follower) เมื่อเราพิจารณาเห็นว่าหุ้นตัวหนึ่งอยู่ในช่วงขาขึ้น เราก็ซื้อและถือไว้จนกว่ามันจะหมดรอบ และขายเมื่อมันเข้าสู่ Trend ขาลง เป็นเรื่องปกติที่นัก Technical จะซื้อหุ้นที่ "แพง" เพราะหุ้นที่มีสัญญาณชัดเจนส่วนใหญ่ก็คือหุ้นที่ราคาปรับตัวขึ้นไปแล้ว สิ่งที่ต้องทำก็คือ ซื้อแพง เพื่อไปขายแพงกว่า

Value Investment - การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เราจะซื้อหุ้นเมื่อเราเห็นว่ามูลค่าของกิจการบริษัทนั้นสูงกว่าราคาที่สะท้อนออกมาในหุ้นที่ซื้อขายกันอยู่ในกระดาน และจะขายก็ต่อเมื่อราคานั้นปรับตัวขึ้นไปสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากๆ หรือมีปัจจัยสำคัญเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้มูลค่าของกิจการนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

เราอาจจะไม่ต้องเป็น VI หรือ Technical 100% ก็ได้ หุ้นบางตัวเราอาจจะซื้อเพราะเห็นสัญญาณทางเทคนิค หุ้นบางตัวเราอาจจะเห็นว่าราคาต่ำกว่ามูลค่าจึงซื้อ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เราต้องจำให้ได้ว่า ซื้อตัวไหนเพราะอะไร ห้ามเอามาปนกัน

ความผิดพลาดอย่างหนึ่งที่เห็นได้บ่อยก็คือ การซื้อถัวเฉลี่ยขาลงหุ้นที่เราซื้อมาด้วยปัจจัยทางเทคนิคแทนที่จะ Cut Loss เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราจะสามารถคาดการณ์ Trend ได้อย่างแม่นยำ 100% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดไทยที่มีการควบคุมราคาอยู่ส่วนหนึ่ง นัก Technical ที่เข้าถูก Trend 7 ใน 10 ครั้งก็นับว่าเก่งแล้ว เป็นเรื่องธรรมชาติที่เราจะเข้าผิด Trend (เราคิดว่ามันอยู่ใน Trend ขาขึ้น แต่พอซื้อแล้วราคากลับลง) เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็น "กุญแจ" สำคัญที่จะทำให้นัก Technical ได้กำไรก็คือการ "Cut Loss" และ "Let Profit Run" ต่อให้เราเข้าถูก Trend แค่ 5ใน 10ครั้ง เราก็สามารถได้กำไรได้หากปฏิบัติตามวินัย เพราะฉะนั้นเราต้องระลึกไว้เสมอว่า หุ้นที่เราซื้อตามสัญญาณเทคนิค ถ้าลงเกินจุด Cut Loss ที่ตั้งไว้ตอนซื้อ ต้องขาย Cut Loss เสมอ ห้ามซื้อถัวเฉลี่ยเด็ดขาด

อีกหนึ่งข้อผิดพลาดก็คือการ Cut Loss หุ้นทั้งๆที่เราซื้อมาเพราะปัจจัยพื้นฐาน ทั้งๆที่เราคำนวณอย่างดีแล้วว่าราคาที่เราซื้อมันต่ำกว่ามูลค่า แต่เรากลับนำวิธีการ Cut Loss มาประยุกต์ใช้ เมื่อเห็นว่าราคามันตกลงไปอีก กลายเป็นว่า ซื้อถูก แต่ไปขายถูกกว่า สิ่งที่ VI ต้องทำก็คือการวิเคราะห์ให้แน่ชัดก่อนว่าหุ้นที่ซื้อนั้นราคาต่ำกว่ามูลค่า และหากราคาลดลงไปอีก สิ่งที่ต้องทำก็คือการซื้อถัวเฉลี่ยไม่ใช่ Cut Loss

คนจำนวนไม่น้อยที่ซื้อหุ้นตามสัญญาณเทคนิค แต่ถึงเวลาเข้าผิด Trend กลับไม่ยอม Cut Loss และผันตัวไปถือยาว เรียกตนเองว่า VI ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าต้นทุนเราสูงกว่า VI จริงๆอยู่มาก เพราะการซื้อตามสัญญาณ Technic มักจะได้หุ้นแพงอยู่แล้ว

ในทางกลับกัน การซื้อหุ้นแบบ VI มักจะซื้อหุ้นที่ราคายังไม่ปรับตัวขึ้นไป ซึ่งถ้ามองในมุม Technical อาจจะเป็นหุ้นที่อยู่ใน Trend ขาลง หรือ Side way จึงไม่แปลกเลยที่ VI จะซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง แล้วราคากลับลงต่อ เพราะฉะนั้นมันเป็นธรรมชาติที่เราจะซื้อหุ้นโดยอิงปัจจัยพื้นฐานและต้องอดทนเห็นพอร์ตการลงทุนเราแดงอยู่สักพัก เป็นไปได้ยากมากที่เราจะซื้อหุ้นแบบ VI และเห็นราคาปรับตัวขึ้นไปทันทีแบบหุ้น Technical เพราะมันต้องใช้เวลากว่าที่มูลค่าเหล่านั้นจะสะท้อนออกมาถึงราคาหุ้น (เพราะถ้ามันสะท้อนทันที เราก็คงไม่มีโอกาสได้ซื้อหุ้นถูกเหมือนกัน) เรื่องตลกก็คือ มีนักลงทุน VI จำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ไม่สามารถ อดทนรอเวลาได้ เมื่อเห็นราคาปรับลดลงไปเรื่อยๆ แทนที่จะดีใจซื้อเพิ่ม กลับขายออกไป และอ้างว่าตนเองมีวินัยจึง Cut Loss (คงลืมไปแล้วว่าตัวเองซื้อมาเพราะอะไร)

ติดตามอ่านบทความของผมได้ที่ Blog : http://jo-of-glue.bloggang.com
หรือใน Facebook: http://www.facebook.com/JoOfGlueInvestmentTalk
ขอบคุณครับ :)
pullmeunder
Verified User
โพสต์: 332
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความครับ :mrgreen:
won71
Verified User
โพสต์: 40
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ใช่ครับ ผมเผลอประจำ ขนาดแยกพอร์ตแล้ว ยังไม่วาย :wall:
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3750
ผู้ติดตาม: 1

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ถ้าไม่มีคน cut แล้วผมจะซื้อของถูกได้ไงล่ะ :mrgreen:
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <⁠(⁠ ̄⁠︶⁠ ̄⁠)⁠> ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
rigolo
Verified User
โพสต์: 43
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 5

โพสต์

VI วิเคราะห์พลาดจะขาดทุนหนักกว่า Technical วิเคราะห์พลาดรึป่าวครับ
เพราะถ้า Technical วิเคราะห์พลาด ผมเข้าใจว่าแปปเดียวก็ถึงจุด cut loss แล้ว

แต่ถ้า VI วิเคราะห์พลาด กว่าจะรู้ตัวคงใช้เวลานาน ยิ่งถ้ามี bias จะยิ่งนานเข้าไปใหญ่
อาจจะถัวไปเยอะแล้ว พอรู้ตัวว่าวิเคราะห์พลาดก็ขาดทุนหนักเลย

จุดนี้ไม่ทราบว่ามีความเห็นยังไงบ้างครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เห็นด้วย ใน context ที่บอกว่า ดูมูลค่้ากิจการแล้วซื้อ
แต่ไม่เห็นด้วย กับคำว่าซื้อ "ถัวเฉลี่ย" ที่พาคนเข้ารกเข้าพงกันเยอะ


การถัวเฉลี่ย เป็นกลทางคณิตศาสตร์ที่หลอกตาเป็นอย่างยิ่ง แค่หลุมพรางทางตัวเลข....
การซื้อเพิ่มทีหลัง ไม่ได้ช่วยให้ต้นทุนของเก่าลดลงจริง แม้กระทั่งราคาหุ้นจะเหลือติดฟลอร์ก็ตาม
เพราะเงินเราจ่ายไปแล้วลงทุนก่อนหน้า มันถูกคิดขาดทุนกำไรไปแล้ว


ถ้าคิดว่ามันคือการเฉลี่ย ทำไมไม่มีใครเคยมองว่าเจ้าการซื้อครั้งอดีต ที่เราได้ของราคาสูง มันมาทำให้เสียต้นทุนของที่กำลังจะซื้อใหม่ล่ะ?
แทนที่จะได้ของถูก ไอ้ที่ซื้อแล้วดันกลับมาทำให้ภาพรวมเฉลี่ยแพงกว่าที่ควรจะเป็นล่ะ?
(แทนที่ครั้งนี้จะได้ต้นทุน 5 บาท เจ้าการซื้อครั้งที่แล้วที่ได้ราคา 10 บาท
ทำให้ 5 บาท กลายเป็น 7.5 บาท ไปเลย แย่จริงๆ)



ถ้ามันกำลังดิ่งลง เพราะวิกฤติกิจการหรือพื้นฐานเปลี่ยน หรือกิจการเราขาลงตามตลาดค้าขายกับต่างชาติถูกเศรษฐกิจโลกซัดเต็มๆ
ก็ยิ่งทำให้เป็นการลงทุนล้มเหลวผิดพลาดซ้ำถัดไปครั้งที่สอง
ไม่ใช่ช่วยให้ต้นทุนที่ขาดทุนของเก่าลดลงไม่พอ ยังซ้ำเติมไปอีก

ในทางกลับกัน หุ้นขึ้นมากๆ ถ้าซื้อใหม่
ไม่ได้ทำให้หุ้นเก่าที่ซื้อไปแล้วต้นทุนสูงขึ้น ที่เราได้กำไรมากแล้ว
เพียงแต่กำไรจากการที่เราซื้อได้ครั้งหลัง จะต่ำกว่าครั้งก่อน เลย % หลอกตาเฉลี่ยใน port ว่ากำไรต่ำลง
แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรมัน เราเสียโอกาสในการทำกำไรกับกิจการที่มีโอกาสเติบโต เอาเงินกองไว้เฉยๆ


มาซื้อใหม่ เพราะเห็นโอกาสคุณค่าในกิจการ ว่ามันมีโอกาสทำกำไรและโอกาสเติบโต มากกว่าจะซื้อเพราะคิดว่าทำให้ของเก่าถัวเฉลี่ย ให้ถูกลงหรือแพงขึ้นกันดีกว่า




มุมแรก ที่บอกไว้ในข้างต้น ที่ว่าการถัวเฉลี่ย ทำเข้ารกเข้าพง
คือมีคนจำนวนมาก ซื้อเฉลี่ยแล้ว รอให้เห็นเฉลี่ยสีเขียว แล้วขายทิ้ง
ถ้ามองเห็นคุณค่าในกิจการจริง ไม่ต้องเฉลี่ยแล้วทิ้ง คุณต้องถือต่อจนกว่าจะเป็นว่ามันหมดน้ำยาที่จะผลิตคุณค่า
เพราะเป็นการเสียเวลากับกิจการ "เฮงซวย" ที่เพิ่งทำให้คุณขาดทุน จะรู้ได้อย่างไร ว่ามันจะกลับมาเขียวในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ถ้าไม่ทราบมันคือการเก็งกำไร
ดังนั้น ยอม loss บ้าง ขายเอาเงินคืนมาบางส่วน รวมถึงเงินใหม่ที่ว่าจะเอาไปถัวเฉลี่ย มาเป็นต้นทุนใหม่
เอาไปลงทุนในกิจการ "จ๊าบๆ" แป๊บเดียว ไอ้ที่ loss ไป คุณก็ได้คืนมาเกิน ทำไมต้องๆ ไปทนเสียเวลาคบกับคนเลวที่ทำคุณเจ็บใจไม่รู้อีกนานเท่าไหร่ ในเมื่อรู้ว่าคบกับคนใหม่ แป๊บเดียวก็ชีวิตรุ่งโรจน์


ดังนั้นอีกมุมถัดไปต่อเนื่องคือ VI ก็คัทลอสได้นะครับ แต่เป็นอีก cut loss คนละอย่างกับความหมยจขกท. แบบขายทิ้งตามชาวบ้าน เพราะเห็นตลาดแดง
มันอยู่ที่วิธีการ พื้นฐานที่มานะครับ
ถ้ารู้แล้วแน่ๆ เด็ดขาดว่า loss จริง คือหยุดการสูญเสีย เพราะรู้ว่าพื้นฐานกิจการมันเปลี่ยน ประเมินใหม่ลึกแล้ว ทิ้งเงินไว้แช่ 10 ปี มันก็ไม่กลับมา เงินมัน loss ไปเรื่อยๆ


ตัวอย่าง ถ้าคุณพลาดลงทุนใน CAWOW ไปแล้ว รู้ว่าประเมินผิด มันอาจจะปิดทิ้งแล้วเร็วๆ ราคามันดิ่้งลงเรื่อยๆ คุณต้อง cut loss เอาไปซื้อกิจการอื่นดีกว่า
เอาเงินที่จะทิ้งไว้ loss กับกิจการที่จะตาย ไปลงทุนกิจการจะโตดีกว่า ระยะเวลาที่เราทิ้งเงินที่ขาดทุนสักเดือน ถ้าเอาไปลงทุนใน SST ตอนปีใหม่ก็อาจได้ 1 เด้งไปแล้ว
(ผมไม่มี SST นะ เลยกล้ายกตัวอย่าง ที่พูดไม่ได้เชียร์ เพราะถ้าไปซื้อตอนนี้ลงทุนผิดจังหวะก็ขาดทุนได้นะ ถ้าำม่ประเมินก่อน)





ปล.1 ที่ว่าการถัวเฉลี่ย ไม่มีจริงไม่ได้ทำให้ต้นทุนถูกลงหรือแพงจริง ที่พูดนี้ไม่ใช่ทฤษฎี แต่ใช้กันอยู่กับทุก broker ปัจจุบันอยู่แล้ว
ลองทบทวนการบันทึกแบบ FIFO ดู
หรือลองของจริงตลาดเปิด ลองซื้อหุ้น 2 lot ราคาไม่เท่ากันดู ไม่ว่าจะได้ต่ำหรือสูงกว่าเดิมก็ตาม...เสร็จแล้วขายทิ้ง เท่าจำนวนหุ้น lot แรก
มาดูวันถัดไป เราจะเห็นต้นทุนที่เหลือ เป็นของ lot หลัง ไม่ใช่ต้นทุนเฉลี่ย

ปล. 2 ไม่ใช่แต่การพูดตามทฤษฎีเหมือนกัน แต่การกล้าทนเจ็บจริงเพื่อสิ่งที่ดีกว่าจะได้ลิ้มรสสิ่งตอบแทนคุ้มค่า อย่ายอมเสียเวลาไปกับสิ่งที่ด้อยคุณค่า ถ้าเป็นทางธุรกิจก็บอกว่าทำไมยอมเสียโอกาสทางธุรกิจ เพราะปีที่แล้วนี่เองผมก็ทำอย่างที่ว่า เมื่อรู้ว่าลงทุนผิด ก็ตัดใจขายมันทิ้ง ปรับพอร์ต เปลี่ยนตัวเล่น เมื่อเรารู้ว่าคนนั้นไม่สามารถเป็นมิตรกับเราได้แล้ว คบกับคนดีคนใหม่มีถมไปเต็มตลาด และก็ได้ผลจริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 7

โพสต์

VI=value invester นักลงทุนที่ซื้อหุ้นที่ถูก และดีครับ แต่หุ้นตัวนั้นเราต้องมองเห็นเป็นคนแรก

ตั้งแต่คนยังไม่เห็นค่า จึงจะมี MOSครับ


ติดดอยกับ VI คนละเรื่องนะครับ

ไม่มี MOSแล้วติดดอยไม่นับว่า เป็น VIครับ

คนโบราณเค้าเรียก ขาขึ้นเราไวไว ขาลงเราเป็น vi(ดอย ดอย ดอย)


อยากรู้ว่าแบบไหน vi ดู ดร นิเวศน์ครับ ซื้อตั้งแต่ทุนต่ำๆๆ และถือจนถึงตอนนี้

ถามหน่อยว่า จะลงมาถึงทุนหรือเปล่าครับ

ผมว่า คงยาก

ทุนต่ำ เงินเย็น และมีสติ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 8

โพสต์

Mos =Margin of safety >30%

Mosser =Mos>100%+

Mosset=Mos>300%+

เดินไปตัวเปล่าไม่มีโล่ห์ เค้าจะเรียกว่า VI ได้หรือครับ

หุ้นขาลง คนไม่มี mosและสติ หมดเนื้อหมดตัวมานับต่อนักแล้วครับ

โล่ห์ไม่หนาพอ กิจการกระทบมาก หนี อาจจะดีกว่าอยู่แล้วตายครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 9

โพสต์

บางครั้งการซื้อเฉลี่ย "ขาขึ้น" น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการซื้อเฉลี่ย "ขาลง" ด้วยซ้ำ เพราะบางครั้งหุ้นที่กำลังขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากเรื่องราวของธุรกิจที่กำลังดีขึ้น ราคาจึงขยับขึ้น แต่ส่วนใหญ่นลท.จะชินกับการซื้อเฉลี่ยขาลงมากกว่า

โดยเฉพาะถ้าการซื้อเฉลี่ยขาลงนั้นเกิดจาก หุ้นที่กำลังมีปัญหาแล้วคนที่ซื้อก็ยังไม่รู้ตัวว่า "มันมีปัญหา" ตรงนี้อาจจะสร้างความหายนะมากกว่าได้ของถูก

บางครั้งการขายตัดขายทุนโดยเฉพาะกิจการที่เป็น "วัชพืช" ก็สมเหตุสมผล ถ้าเอาเงินที่ได้มาไปลงทุนกิจการที่มีอนาคตกว่า เพียงแต่หลายคนยังยึดติดกับ "ราคาของหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง" จึงไม่อาจจะตัดใจขายขาดทุน ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงควรจะมองมูลค่าของพอร์ตโดยรวมที่มีหุ้นอยู่หลายตัว บางครั้งเราอาจจะขาดทุนหุ้นตัวหนึ่งแต่ได้กำไรกับหุ้นอีกหลายตัวแบบนี้มูลค่าพอร์ตก็ยังเพิ่มขึ้น
"Become a risk taker, not a risk maker"
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 10

โพสต์

leky เขียน:บางครั้งการซื้อเฉลี่ย "ขาขึ้น" น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการซื้อเฉลี่ย "ขาลง" ด้วยซ้ำ เพราะบางครั้งหุ้นที่กำลังขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากเรื่องราวของธุรกิจที่กำลังดีขึ้น ราคาจึงขยับขึ้น แต่ส่วนใหญ่นลท.จะชินกับการซื้อเฉลี่ยขาลงมากกว่า

โดยเฉพาะถ้าการซื้อเฉลี่ยขาลงนั้นเกิดจาก หุ้นที่กำลังมีปัญหาแล้วคนที่ซื้อก็ยังไม่รู้ตัวว่า "มันมีปัญหา" ตรงนี้อาจจะสร้างความหายนะมากกว่าได้ของถูก

บางครั้งการขายตัดขายทุนโดยเฉพาะกิจการที่เป็น "วัชพืช" ก็สมเหตุสมผล ถ้าเอาเงินที่ได้มาไปลงทุนกิจการที่มีอนาคตกว่า เพียงแต่หลายคนยังยึดติดกับ "ราคาของหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง" จึงไม่อาจจะตัดใจขายขาดทุน ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงควรจะมองมูลค่าของพอร์ตโดยรวมที่มีหุ้นอยู่หลายตัว บางครั้งเราอาจจะขาดทุนหุ้นตัวหนึ่งแต่ได้กำไรกับหุ้นอีกหลายตัวแบบนี้มูลค่าพอร์ตก็ยังเพิ่มขึ้น

+1 โดนใจมากครับ

หุ้นวัชพืช คนชอบเล่นกันจัง ของดีราคาไม่แพงแต่หุ้นนิ่งๆ ไม่สนใจ

หุ้นวัชพืชไปวัดใจกับ MM อย่างเดียว

:mrgreen: :mrgreen:
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
chavanakorn
Verified User
โพสต์: 191
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ผมขอคิดต่าง เรื่องการซื้อถัวเฉลี่ยขาลง นะครับ เพราะเป็นวิธีการที่ผมคิดว่ามันไม่เหมาะสมเอาซะเลยเพราะว่าถ้าราคาตกลงไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับว่าเรานำเงินมาจมโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นการซื้อที่ดีควรซื้อเมื่อการตกลงของราคาเริ่มนิ่งต่างหาก เมื่อไหร่ก็ตามที่คนส่วนมากก็ไม่อยากซื้อ และคนที่ถือก็ไม่อยากที่จะขาย และการซื้อขายเป็นไปอย่างเงียบเหงา แทบจะไม่มีการซื้อขายเลย เวลาแบบนี้คือเวลาที่ถูกต้องในการซื้อเมื่อขาลง และเป็นเวลาที่ผมยินดีอย่างมากเพราะมีคนลดราคาขายกิจการที่ดีให้กับผม แต่ถ้าซื้อเฉลี่ยในขณะที่ คนมีก็อยากที่จะขาย และคนไม่มีก็ไม่อยากซื้อ ราคามันก็จะลงไปเรื่อยๆ แบบนี้เงินจะจมไปเปล่าๆ ถ้าเป็นลักษณะแบบนี้ ผมจะเฝ้ารอเวลาที่เหมาะสม เพื่อซื้อที่ราคาที่ถูกที่สุดที่คนขายจะลดราคาให้

การลงทุนที่ดีนั้น ควรจะถูกที่ ถูกเวลา ถึงให้ผลตอบแทนชั้นเลิศ ถ้าลงทุนถูกที่ แต่ผิดเวลา ก็ยังให้ผลตอบแทนระดับดี แต่ถ้าลงทุนผิดที่ ผิดเวลา สุดท้ายก็คือขาดทุนไม่เป็นท่า
อย่าเชื่อสิ่งที่พระเจ้าบอก แต่จงคิดและเลือกที่จะเชื่อด้วยตัวท่านเอง !!
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 12

โพสต์

chavanakorn เขียน:ผมขอคิดต่าง เรื่องการซื้อถัวเฉลี่ยขาลง นะครับ เพราะเป็นวิธีการที่ผมคิดว่ามันไม่เหมาะสมเอาซะเลยเพราะว่าถ้าราคาตกลงไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับว่าเรานำเงินมาจมโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นการซื้อที่ดีควรซื้อเมื่อการตกลงของราคาเริ่มนิ่งต่างหาก เมื่อไหร่ก็ตามที่คนส่วนมากก็ไม่อยากซื้อ และคนที่ถือก็ไม่อยากที่จะขาย และการซื้อขายเป็นไปอย่างเงียบเหงา แทบจะไม่มีการซื้อขายเลย เวลาแบบนี้คือเวลาที่ถูกต้องในการซื้อเมื่อขาลง และเป็นเวลาที่ผมยินดีอย่างมากเพราะมีคนลดราคาขายกิจการที่ดีให้กับผม แต่ถ้าซื้อเฉลี่ยในขณะที่ คนมีก็อยากที่จะขาย และคนไม่มีก็ไม่อยากซื้อ ราคามันก็จะลงไปเรื่อยๆ แบบนี้เงินจะจมไปเปล่าๆ ถ้าเป็นลักษณะแบบนี้ ผมจะเฝ้ารอเวลาที่เหมาะสม เพื่อซื้อที่ราคาที่ถูกที่สุดที่คนขายจะลดราคาให้

การลงทุนที่ดีนั้น ควรจะถูกที่ ถูกเวลา ถึงให้ผลตอบแทนชั้นเลิศ ถ้าลงทุนถูกที่ แต่ผิดเวลา ก็ยังให้ผลตอบแทนระดับดี แต่ถ้าลงทุนผิดที่ ผิดเวลา สุดท้ายก็คือขาดทุนไม่เป็นท่า
ถ้าสามารถซื้อแบบนี้ได้ คงไม่มีคำว่าขาดทุนแน่ครับ เพราะนั่นแปลว่าคุณจะซื้อได้ที่ก้นของราคาขาลงทุกครั้ง และผมก็เชื่อว่าหลายคนคงเคยคิดแบบนี้ คิดว่าราคามันนิ่งแล้ว อยู่ ๆ มันก็ลงไปอีก ผมคนหนึ่งครับ ที่เคยเจอแบบนี้
"Become a risk taker, not a risk maker"
ภาพประจำตัวสมาชิก
simplelife
Verified User
โพสต์: 756
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เข้ามาดู VI คุยกันเรื่อง "เฉลี่ย"

ผมนึกว่า VI จะซื้อแค่ตอนที่ราคามันตกไปต่ำกว่าที่คำนวณไว้ หักด้วย MOS ซะอีก ไม่ได้เกี่ยวกับว่า "ก่อนหน้านี้"ซื้อมาที่ราคาเท่าไร ตอนนี้ตกไปต้องซื้อเพิ่ม ต้นทุนจะได้ลด หลงประเด็นไปกันใหญ่แล้วครับ
"I believe what I said yesterday. I don't know what I said, but I know what I think... and I assume it's what I said." -- Donald Rumsfeld
chavanakorn
Verified User
โพสต์: 191
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 14

โพสต์

leky เขียน:
chavanakorn เขียน:ผมขอคิดต่าง เรื่องการซื้อถัวเฉลี่ยขาลง นะครับ เพราะเป็นวิธีการที่ผมคิดว่ามันไม่เหมาะสมเอาซะเลยเพราะว่าถ้าราคาตกลงไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับว่าเรานำเงินมาจมโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นการซื้อที่ดีควรซื้อเมื่อการตกลงของราคาเริ่มนิ่งต่างหาก เมื่อไหร่ก็ตามที่คนส่วนมากก็ไม่อยากซื้อ และคนที่ถือก็ไม่อยากที่จะขาย และการซื้อขายเป็นไปอย่างเงียบเหงา แทบจะไม่มีการซื้อขายเลย เวลาแบบนี้คือเวลาที่ถูกต้องในการซื้อเมื่อขาลง และเป็นเวลาที่ผมยินดีอย่างมากเพราะมีคนลดราคาขายกิจการที่ดีให้กับผม แต่ถ้าซื้อเฉลี่ยในขณะที่ คนมีก็อยากที่จะขาย และคนไม่มีก็ไม่อยากซื้อ ราคามันก็จะลงไปเรื่อยๆ แบบนี้เงินจะจมไปเปล่าๆ ถ้าเป็นลักษณะแบบนี้ ผมจะเฝ้ารอเวลาที่เหมาะสม เพื่อซื้อที่ราคาที่ถูกที่สุดที่คนขายจะลดราคาให้

การลงทุนที่ดีนั้น ควรจะถูกที่ ถูกเวลา ถึงให้ผลตอบแทนชั้นเลิศ ถ้าลงทุนถูกที่ แต่ผิดเวลา ก็ยังให้ผลตอบแทนระดับดี แต่ถ้าลงทุนผิดที่ ผิดเวลา สุดท้ายก็คือขาดทุนไม่เป็นท่า
ถ้าสามารถซื้อแบบนี้ได้ คงไม่มีคำว่าขาดทุนแน่ครับ เพราะนั่นแปลว่าคุณจะซื้อได้ที่ก้นของราคาขาลงทุกครั้ง และผมก็เชื่อว่าหลายคนคงเคยคิดแบบนี้ คิดว่าราคามันนิ่งแล้ว อยู่ ๆ มันก็ลงไปอีก ผมคนหนึ่งครับ ที่เคยเจอแบบนี้

ผมคิดว่าจุดที่มันนิ่งในแต่ละครั้ง เป็นจุดที่น่าสนใจเสมอ เพราะเป็นจุดที่แรงซื้อ และแรงขาย แทบจะไม่เหลือแล้ว คุณจะพบได้ในภาวะการซื้อขาย ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ที่มีการเทขายอย่างรุนแรง ไม่จำเป็นว่าที่เราเห็นจะเป็นก้นดอย แต่ในสภาวะที่ราคานิ่ง เราต้องประเมินปัจจัยของกิจการว่ายังดีเหมือนเดิมหรือไม่ ถ้าใช่ ก็คงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการซื้อ ถึงแม้ไม่ถูกที่สุด แต่ผมคิดว่ามันจะทำให้ท่านทำกำไรได้
อย่าเชื่อสิ่งที่พระเจ้าบอก แต่จงคิดและเลือกที่จะเชื่อด้วยตัวท่านเอง !!
Poet
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ใช่ครับ VI ซื้อหุ้นเมื่อเห็นว่าราคาต่ำกว่ามูลค่า และมี MOS สูงในระดับที่รับไหว

ซื้อถัวเฉลี่ยที่ผมหมายถึงคือการซื้อเป็นไม้ๆ ไม่มีความจำเป็นอะไรต้องซื้อหุ้นที่พบเจอแบบไม้เดียวหมด

เป็นเรื่องปกติที่การซื้อหุ้นโดยไม่สนใจสัญญาณทางเทคนิค เวลาซื้อแล้วราคาจะลงไปอีก

ผมไม่ได้บอกว่าซื้อถัวเพื่อลดต้นทุน

สิ่งที่จะสื่อก็คือ ในเมื่อเราคำนวณแล้วว่าราคาที่ซื้อไม้แรก "คุ้มค่า"

ยิ่งราคามันลดลงไปอีก มันก็ยิ่งคุ้มค่าเข้าไปใหญ่ แทนที่จะเสียความมั่นใจ cut loss ออกไป เราควรซื่อเพิ่มอีกต่างหาก

สำหรับชาว Technical ที่พูดถึงการซื้อถัวขาขึ้น ผมไม่ได้เถียงว่าไม่ดี ผมแยก VI กับ Technical ออก ไม่เอามาปนกันครับ
torpongpak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2603
ผู้ติดตาม: 1

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 16

โพสต์

เป็นบทความที่ดีมากครับ...ผมขอเเสดงความเห็นที่อาจจะผิดก็ได้ เเต่อยากเข้ามาร่วมเเลกปลี่ยนเผื่อความรู้จะได้เเตกฉานขึ้น

เริ่มจากสิ่งที่ผมเชื่อก่อนนะครับ...คนที่จะประสบความสำเร็จในตลาดนี้ได้ คือคนที่ควบคุม"สภาพจิตใจ"ของตนให้ไม่หวั่นไหวต่อการขึ้นลงราคาหุ้นได้ โดยวิธีการต่างๆกัน
ซึ่งถ้ามาดูเเต่ละกลุ่ม
-technical ก็คือการเก็งกำไรโดยใช้เครื่องมือมาควบคุม"สภาพจิตใจ"ไม่ให้เเกว่งไปตามตลาด กลุ่มนี้น่าจะไม่ซื้อถ้ายังลงไม่สุด เเต่จะfollow buyเมื่อเป็นtrendขาขึ้น
"ถ้าหุ้นขึ้นต้องมีเรา"
-VI มีมูลค่าที่เเท้จริงของกิจการเป็นกลไกควบคุม"สภาพจิตใจ"ไม่ให้โลภเเละกลัว
กลุ่มนี้จะชื่นชอบตลาดขาลงมากเป็นพิเศษเพราะจะได้หุ้นในราคาที่มีMargin of safetyมากขึ้น

เเน่นอนครับเห็นด้วยกับบทความเลยว่าต้องมั่นคงในหลักการณ์ ว่าซื้อหุ้นตัวไหนมาเพราอะไร...

เเต่ที่เห็นต่างคือ ถ้าจะประสบความสำเร็จมากๆ ไม่ว่าจะเป็นสายTechnicalหรือVIเราควรเลือกเเนวทางที่จะเดินเเละศึกษาวิธีการลงทุนที่ถูก"จริต"กับเราให้เเตกฉาน ไม่ควรใช้เเบบผสมผสาน...
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
torpongpak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2603
ผู้ติดตาม: 1

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ขออ้างอิงจาก"ตีเเตก" เพื่อเตือนตัวเองที่ยังเป็น"มวยวัด"อยู่
บทที่4เรื่อง"สไตล์การลงทุน"...
"การลงทุนหรือการเล่นหุ้น จะต้องมีหลักการเเละยึดมั่นในเเนวทางใดเเนวทางหนึ่งจึงจะประสบความสำเร็บเพราะนั่นคือวิธีการที่คุณรู้จักดี คุณมีความชำนาญเเละทำได้เหนือกว่าคนอื่น..."
เเละย่อหน้าสุดท้าย
"เชื่อผมเถอะครับ คนเราเป็นอะไร2อย่างที่ขัดเเย้งกันไม่ใด้ คุณต้องเลือกเอาเเละเมื่อเลือกเเล้ว อย่าเปลี่ยนใจกลับไปกลับมาเพราะถ้าคุณทำอย่างนั้น คุณก็คือมวยวัด ไม่มีทางดังได้หรอกครับ"

ส่วนตัวผมคิดว่าต้องเลือกว่าจะเป็นเเบบไหน เเละทำเเบบนั้นกับหุ้นทุกตัว ทุกครั้งที่ลงทุน ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง(ซื้อเมื่อต่ำกว่ามูลค่า หรือ Cut lossหรือFollow buy(เล่นตามTecnical)...
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 18

โพสต์

simplelife เขียน:เข้ามาดู VI คุยกันเรื่อง "เฉลี่ย"

ผมนึกว่า VI จะซื้อแค่ตอนที่ราคามันตกไปต่ำกว่าที่คำนวณไว้ หักด้วย MOS ซะอีก ไม่ได้เกี่ยวกับว่า "ก่อนหน้านี้"ซื้อมาที่ราคาเท่าไร ตอนนี้ตกไปต้องซื้อเพิ่ม ต้นทุนจะได้ลด หลงประเด็นไปกันใหญ่แล้วครับ
ในความเป็นจริงมันไม่มีอะไรตรงไปตรงมาแบบนั้นหรอกครับ เคยไหมครับ คิดว่าจะซื้อหุ้นตัวหนึ่งที่งบเท่านี้ แล้วไม้แรกที่ซื้อก็คิดว่าราคาโอเคระดับหนึ่ง แต่อาจจะมีเหตุอะไรก็แล้วแต่หลังจากนั้น เช่นตลาด panic ฯลฯ หุ้นตัวนั้นลงไปอีก เราอาจจะคิดว่ามันยิ่งถูก ก็ซื้อเพิ่ม ถ้าพิจารณาแบบนี้มันก็คือการซื้อที่อิงกับราคาและปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งมันจะไม่เหมือนกับการซื้อ "ถัว" เพราะติดหุ้นเพื่อต้องการให้ต้นทุนต่ำลงจะได้ "หลุด" ได้ง่ายขึ้นถ้าหุ้นกลับขึ้นไป

ในทางกลับกันของการซื้อขาขึ้น ถ้าเราซื้อหุ้นตัวหนึ่งในไม้แรก หลังจากติดตามผลประกอบการออกมาดีอย่างที่คาดการณ์ เราอาจจะยังมีงบที่จะซื้อหุ้นตัวนี้และมองว่าราคายังไม่แพงถึงแม้ว่าจะขึ้นไปบ้างแล้ว การซื้อเพิ่มมันก็คงไม่เสียหายอะไร เพียงแต่อาจจะต้องลดความเสี่ยงโดยการซื้อในไม้หลัง ๆ น้อยกว่าไม้แรก ๆ

เช่นเดียวกัน การทยอยขาย หลายคนอาจจะไม่ขายทีเดียว
"Become a risk taker, not a risk maker"
chavanakorn
Verified User
โพสต์: 191
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 19

โพสต์

leky เขียน:
simplelife เขียน:เข้ามาดู VI คุยกันเรื่อง "เฉลี่ย"

ผมนึกว่า VI จะซื้อแค่ตอนที่ราคามันตกไปต่ำกว่าที่คำนวณไว้ หักด้วย MOS ซะอีก ไม่ได้เกี่ยวกับว่า "ก่อนหน้านี้"ซื้อมาที่ราคาเท่าไร ตอนนี้ตกไปต้องซื้อเพิ่ม ต้นทุนจะได้ลด หลงประเด็นไปกันใหญ่แล้วครับ
ในความเป็นจริงมันไม่มีอะไรตรงไปตรงมาแบบนั้นหรอกครับ เคยไหมครับ คิดว่าจะซื้อหุ้นตัวหนึ่งที่งบเท่านี้ แล้วไม้แรกที่ซื้อก็คิดว่าราคาโอเคระดับหนึ่ง แต่อาจจะมีเหตุอะไรก็แล้วแต่หลังจากนั้น เช่นตลาด panic ฯลฯ หุ้นตัวนั้นลงไปอีก เราอาจจะคิดว่ามันยิ่งถูก ก็ซื้อเพิ่ม ถ้าพิจารณาแบบนี้มันก็คือการซื้อที่อิงกับราคาและปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งมันจะไม่เหมือนกับการซื้อ "ถัว" เพราะติดหุ้นเพื่อต้องการให้ต้นทุนต่ำลงจะได้ "หลุด" ได้ง่ายขึ้นถ้าหุ้นกลับขึ้นไป

ในทางกลับกันของการซื้อขาขึ้น ถ้าเราซื้อหุ้นตัวหนึ่งในไม้แรก หลังจากติดตามผลประกอบการออกมาดีอย่างที่คาดการณ์ เราอาจจะยังมีงบที่จะซื้อหุ้นตัวนี้และมองว่าราคายังไม่แพงถึงแม้ว่าจะขึ้นไปบ้างแล้ว การซื้อเพิ่มมันก็คงไม่เสียหายอะไร เพียงแต่อาจจะต้องลดความเสี่ยงโดยการซื้อในไม้หลัง ๆ น้อยกว่าไม้แรก ๆ

เช่นเดียวกัน การทยอยขาย หลายคนอาจจะไม่ขายทีเดียว
+1 นะครับ
อย่าเชื่อสิ่งที่พระเจ้าบอก แต่จงคิดและเลือกที่จะเชื่อด้วยตัวท่านเอง !!
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 20

โพสต์

leky เขียน:
แต่อาจจะมีเหตุอะไรก็แล้วแต่หลังจากนั้น เช่นตลาด panic ฯลฯ หุ้นตัวนั้นลงไปอีก เราอาจจะคิดว่ามันยิ่งถูก ก็ซื้อเพิ่ม ถ้าพิจารณาแบบนี้มันก็คือการซื้อที่อิงกับราคาและปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งมันจะไม่เหมือนกับการซื้อ "ถัว" เพราะติดหุ้นเพื่อต้องการให้ต้นทุนต่ำลงจะได้ "หลุด" ได้ง่ายขึ้นถ้าหุ้นกลับขึ้นไป


เห็นด้วยครับ นี่คือประเด็นจริืง และความแตกต่างของการลงทุน ที่ไม่ต้องคิดว่าถัวไม่ถัว

กรณีแรก ยิ่งซื้อ ยิ่งมึน ถึงจะเรียกว่าถัว เพราะต้องคอยเฝ้า port แบบทุรนทุราย คือนักเก็งกำไรเลยนี่เอง เพราะเราไม่มั่นใจแล้ว ว่ามันดีจริง ต้องคอยมันจะกลับมา
ถึงต้องมาสร้างตัวเลขหลอกตัวเอง ว่าต้นทุนการซื้อครั้งหลัง ไปถัวเฉลี่ยดึงให้ต้นทุนครั้งแรกต่ำลงสำเร็จ

ต่างจากกรณี 2 ยิ่งซื้อ ยิ่งมันส์ ไม่ได้เรียกว่าซื้อถัว (ยิ่งมันส์ สงสัยจะเรียกว่าซื้อ "ถั่ว" มั๊ง :wink: ) แค่คือการซื้อของลดราคา เพราะเห็นว่าได้ราคาต่ำมั่กมั่ก และมั่นใจ ว่าเราได้ของดี ไม่ได้สนใจจดจ่อเกร็งกับเอาไปคำนวณเฉลี่ยกับที่ซื้อไปก่อนหน้าแล้วซักเท่าไหร่ว่ามันเฉลี่ยเป็นเท่าไหร่ รู้ว่าดีกว่าเก่าแน่ๆ แล้วไม่ต้องเฝ้า port เพราะถึงเวลามันก็กลับมาเอง



ที่ว่า่ "มาสร้างตัวเลขหลอกตัวเอง ว่าต้นทุนการซื้อครั้งหลัง ไปถัวเฉลี่ยดึงให้ต้นทุนครั้งแรกต่ำลงสำเร็จ"
ต้องอธิบายเพิ่มอีกว่า การถัว ที่จริงคนที่รีบจ้องขายตอนทิ้งตอนที่ค่าเฉลี่ยเพิ่งเริ่มเขียว บางทียังไม่คุ้มทุนที่ซื้อไปครั้งแรกด้วยซ้ำ แต่เพราะเรายอมลงทุนใหม่ ให้กำไรจากต้นทุนใหม่มันไปช่วยเฉลี่ยลงต่างหาก
เราเห็นว่ามันเป็นเช่นนั้น เพราะเกิดวิกฤติอะไรสักอย่างกับบริษัท ลงหนักขนาดนี้เราไม่มั่นใจแล้ว แต่เราทำอะไรก็ได้ ให้มันรู้สึกดี

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อกิจการ ABC ครั้งแรกที่หุ้นละ 10 บาท 1 ล้านหุ้น
มันตกลงมา 5 บาท เราซื้อ อีก 1 ล้านหุ้น เพื่อถัว
เราก็กัดฟัน เราทิ้งไว้อยู่นานจนสักปี
จนราคามันขึ้นไปเป็นหุ้นละ 8 บาท เราเห็นว่า port เขียวนี่หว่า รีบขายทิ้ง เพราะเป็นโอกาสทองอาจมีจ้าวมาปั่น หรือมีใครออกข่าวอะไรก็แล้วแต่ หรืออาจผลประกอบการกลับมาดีจริงก้ได้ แต่เข็ดแล้วนะโยม
ที่จริงเรา "ขาดทุน" โดยไม่รู้ตัว

เราอาจจะคิดว่า อ้าว... เฮ่ย ก็มันสีเขียวนี่หว่า แต่เราลืมไปแล้ว ว่าที่เราลงทุนไปครั้งแรก 10 บาท นั่นคือเราขาดทุน 2 บาทต่อหุ้น หรือ (2 แสนบาท) เพราะไปหลอกตัวเอง ว่ามันเฉลี่ยได้

ที่จริงเป็นเพราะกำไร ของจาก 5 ล้าน ไปทำให้เขียวต่างหาก
ส่วนเงินต้นทุนใหม่ที่ว่าลงหุ้นละ 5 บาท รวมเป็น 5 ล้านบาท มันก็มีต้นทุน มีค่าเสียโอกาส
เหมือนกับการลงทุนใหม่อีกครั้ง
10 ล.แรกน่ะ ถือว่าเพราะประเมินผิด แต่เงินก้อนนี้ 5 ล้านบาท อาจเอาไปทำอะไรที่ผลการลงทุนที่น่าสมหวัง มากกว่าสิ้นหวัง
ถ้าไม่มั่นใจ ABC แล้ว เอาไปซื้อสลากออมสินยังดีกว่าเอามาฝากไว้บนกิจการที่เรากลัวว่ามันจะตาย
และถ้าเป็นนักลงทุนไม่ว่าแนวไหน จะแบบหุ้นคุณค่าหรือแบบเก็งก็ตาม ไปลงตัว XYZ อื่นที่เราประเมินว่ามั่นใจดีกว่า อาจไม่ต้องรอเป็นปีและได้กำไรมากกว่า

ดังนั้น ทางแก้ ปล่อยรอให้หุ้น ABC มันจะกลับมาให้เจ๊งน้อยลง หรือจะ cut loss ก็แล้วแต่ ต้องประเมินทางเลือกใหม่ เพราะเงินมันก็ลงไปแล้ว แต่ 5 ล้านใหม่มันไม่ใช่พ่อมด ที่จะไปย้อนเวลาทำให้ตัวเลขต้นทุน 10 ล้านแรกต่ำลงได้นะ

สมมติถ้าลองแบบนี้ละ
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 21

โพสต์

VI ไม่มีการ cut loss
VI ไม่มีการซื้อเฉลี่ยขาลง
VI เชื่อในงานวิจัยที่ว่า การถือหุ้นโดยเฉลี่ยจะกำไร >12% ทบต้นตลอดระยะเวลา 20ปี
(งานวิจัย ของอาจารย์ไพบูลย์ สิ่งนี้สำคัญที่สุดและเป็นข้อได้เปรียบที่ทุกคนต้องรู้ไว้)
ดังนั้น VI จึงต้องถือหุ้น 100%ตลอดเวลาจนกว่าจะมีการลงทุนใด ที่ให้ผลตอบแทน
มากกว่า 12%ที่ไม่มีความเสี่ยง จึงยกเลิกการถือหุ้น 100%
ดังนั้น การขายหุ้น ไม่ได้เกิดจากกำไร หรือขาดทุนเพราะหุ้นตัวนั้น
แต่เป็นเพราะ มีหุ้นตัวอื่นที่ดีกว่า ส่วนการซื้อหุ้นนั้น ก็ไม่มีเจตนาเฉลี่ยต้นทุนใดๆ
เราซื้อ เพราะขณะนั้นเรามีเงินและหุ้นตัวนั้นเราพิจารณาแล้ว ว่าเป็นหุ้นที่ดีที่สุด
Blueplanet
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 22

โพสต์

จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม ถ้าหุ้นที่ถืออยู่ ๆ ราคาลงอย่างหนัก โดยเฉพาะหลังประกาศผลประกอบการแล้วออกมาไม่ดี ผมจะหยุดนิ่ง ๆ ไม่ซื้อถัวเฉลี่ย แต่จะมาประเมินว่ามันเกิดจากอะไร ถ้าดูแล้วกิจการมันมีปัญหาที่ไม่อาจจะแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น แล้วผมมีหุ้นที่มีอนาคตดีกว่า ผมจะเลือกที่จะขายหุ้นตัวแรกที่มีอนาคตน้อยกว่าทิ้งครับ เพราะผมเชื่อว่าถ้าผมถือหุ้นตัวแรกต่อแต่กว่าบ.จะแก้ปัญหาจนราคากลับมาที่ต้นทุนของผมได้ มันอาจจะใช้เวลานานกว่าที่จะซื้อหุ้นตัวที่สองที่มีอนาคตมากกว่าและรอให้ราคาหุ้นตัวที่สองขึ้นไปชดเชยการขาดทุนที่เกิตจากหุ้นตัวแรก

แต่ผมจะมองภาพรวมของการบริหารพอร์ตเป็นหลักครับ เพราะเราไม่มีทางเลือกหุ้นได้ถูก 100% แต่เราต้องเลือกให้ผิดน้อยที่สุดและที่สำคัญถ้าเลือกผิดแล้ว จะต้องรู้ให้เร็วครับว่าเรากำลังผิดครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 23

โพสต์

blueplanet เขียน:VI ไม่มีการ cut loss
VI ไม่มีการซื้อเฉลี่ยขาลง
VI เชื่อในงานวิจัยที่ว่า การถือหุ้นโดยเฉลี่ยจะกำไร >12% ทบต้นตลอดระยะเวลา 20ปี
(งานวิจัย ของอาจารย์ไพบูลย์ สิ่งนี้สำคัญที่สุดและเป็นข้อได้เปรียบที่ทุกคนต้องรู้ไว้)
ดังนั้น VI จึงต้องถือหุ้น 100%ตลอดเวลาจนกว่าจะมีการลงทุนใด ที่ให้ผลตอบแทน
มากกว่า 12%ที่ไม่มีความเสี่ยง จึงยกเลิกการถือหุ้น 100%
ดังนั้น การขายหุ้น ไม่ได้เกิดจากกำไร หรือขาดทุนเพราะหุ้นตัวนั้น
แต่เป็นเพราะ มีหุ้นตัวอื่นที่ดีกว่า ส่วนการซื้อหุ้นนั้น ก็ไม่มีเจตนาเฉลี่ยต้นทุนใดๆ
เราซื้อ เพราะขณะนั้นเรามีเงินและหุ้นตัวนั้นเราพิจารณาแล้ว ว่าเป็นหุ้นที่ดีที่สุด
ผมว่าต่อให้เลือกหุ้นที่เราคิดว่าดีทุกอย่าง หลายครั้งมันก็อาจจะเจอการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่คาดไม่ถึงได้ครับ มันอาจจะเกิดจากเราประเมินผิดหรือเราประเมินไม่ผิดแต่ธุรกิจกลับเจอสิ่งที่คาดไม่ถืงครับ บางครั้งถ้าไม่ cut loss มันก็อาจจะตรงกับคำพูดของลินซ์ที่ว่า "ตัดดอกไม้ แล้วรดน้ำวัชพืช" ครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 24

โพสต์

"ผมว่าต่อให้เลือกหุ้นที่เราคิดว่าดีทุกอย่าง หลายครั้งมันก็อาจจะเจอการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่คาดไม่ถึงได้ครับ มันอาจจะเกิดจากเราประเมินผิดหรือเราประเมินไม่ผิดแต่ธุรกิจกลับเจอสิ่งที่คาดไม่ถืงครับ บางครั้งถ้าไม่ cut loss มันก็อาจจะตรงกับคำพูดของลินซ์ที่ว่า "ตัดดอกไม้ แล้วรดน้ำวัชพืช" ครับ"
ถ้าผมเจอปัญหานี้ ก็แปลว่าหุนตัวอื่นในพอร์ตของผม หรือตัวอื่นที่ผมยังไม่มีก็จะดีกว่า
ตัวที่มีปัญหานี้ทันที หลักการของผมคือขาย ไปซื้อตัวที่ดีกว่าทันที
แม้หุ้นตัวที่ผมเลือกไม่มีปัญหาเลย แต่ถ้าผมเจอตัวอื่นที่ดีกว่า(ต้องคิดให้ดี) ผมก็ยังขาย
ตัวที่ดีน้อยกว่าอยู่ดี ผมจึงไม่เคยคิดว่าผมคัดลอส
ผมไม่สนใจทั้งคำว่า cut loss และ let profit run
ทั้ง 2 หลักการณ์นี้ ผมไม่ยึดเป็นหลักปฏิบัติ ถ้าผมยังหาหุ้นให้ดีกว่าหุ้นที่ผมมีอยู่ไม่ได้
ผมก็ยังถือตัวเก่าไปเรื่อยๆ ไม่ว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง
Blueplanet
ภาพประจำตัวสมาชิก
simplelife
Verified User
โพสต์: 756
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 25

โพสต์

leky เขียน:ผมว่าต่อให้เลือกหุ้นที่เราคิดว่าดีทุกอย่าง หลายครั้งมันก็อาจจะเจอการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่คาดไม่ถึงได้ครับ มันอาจจะเกิดจากเราประเมินผิดหรือเราประเมินไม่ผิดแต่ธุรกิจกลับเจอสิ่งที่คาดไม่ถืงครับ บางครั้งถ้าไม่ cut loss มันก็อาจจะตรงกับคำพูดของลินซ์ที่ว่า "ตัดดอกไม้ แล้วรดน้ำวัชพืช" ครับ
แล้วถ้า คุณซื้อหุ้นมาตัวนึง มานานแล้ว คาดหวัง abc ไว้ ผ่านไปหลายปี ราคาขึ้นไปเยอะแต่ที่คุณคาดหวังไว้มันไม่ใช่ มันไม่ได้อย่างที่คาด และกำลังหันเหไปในทางที่คุณไม่อยากได้ เลยขาย แบบนี้ ต้องมานั่งเรียกว่า Cut gain หรือเปล่าครับ

ผมพยายามจะบอกว่า ขายทิ้งเพราะประเมินผิด ก็คือขายทิ้ง มันไม่ได้เกี่ยวกับว่า loss หรือ gain การ "cut loss" ที่เขาพยายามอธิบายกันคือการ"หยุดการเสียเงิน" ซึ่งไม่จริงเสมอไป ถ้าในกรณีที่คุณ leky ว่ามา ขายเพราะประเมินผิด น่าจะเรียกว่า "cut stupidity" คือ "หายโง่ซะที" มากกว่าครับ
"I believe what I said yesterday. I don't know what I said, but I know what I think... and I assume it's what I said." -- Donald Rumsfeld
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ขอเสริมกรณีศึกษาของจริง
ไปดูเหตุการณ์ "ติดดอย" ครั้งสำคัญ ของ Buffett ดู ขาดทุนเป็นหลายพันล้านเหรียญในระยะเวลาไม่กี่เดือน

2008 นี่เอง ปู่ไปซื้อบริษัทพลังงานตอนราคามันสูงแล้ว แต่ประเมินพลาดไปคิดว่าจะเป็นแบบหุ้นโค้ก คือแพงแล้ว มีแพงกว่าอีก แต่ราคาดิ่ง
แต่เมื่อรู้ประเมินพลาด ปู่ก็แก้ปัญหาแบบที่ผมบอก
แต่ว่าไม่ได้สุดขั้ว อย่างที่ผมยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
แกค่อยๆ ทยอยแบ่งขาย เอาเงินกลับมา และคงค้างไว้นิดหน่อย

คำว่า "ซื้อตอนราคามันสูงแล้ว" ผมไม่ได้พูดเอง ปู่รับสารภาพในที่ประชุมว่าซื้อตอน peak ขณะนั้นเลย แกเขียนสารภาพเป็นทางการในเอกสารที่นักลงทุนถือว่ามันเป็น "ตำรา" คือจดหมายประจำปีของ BRK
http://www.berkshirehathaway.com/letters/letters.html
(อ่านหน้า 14-15 ของปี 2008 คำนวณออกมาซื้อตอน 82.5$/share ราคาร่วงลงมาเหลือ 52$/share )


จะชัดเจนอีกหลายตัวอย่าง นี่เป็นการลงทุนของแท้ในไทย ไม่ต้องตั้งชื่อว่าเป็นการลงทุนประเภทไหน แต่ไม่ใช่เก็งลำไยหรือเก็งขาดทุนเพราะเอาเงินก้อนใหญ่ของนักลงทุนไปลงกับกิจการที่คาดหวัง กำลังอยู่ในกระแสนี่เอง
- (เป็นนักลงทุนแบบเจ้าของแบบก่อตั้งกิจการมากับมือ) THCOM กำลังพยายามขายกิจการมือถือที่กัมพูชาทิ้ง แล้วผู้ถือหุ้นเอาใจช่วย เพราะมันขาดทุนลงเรื่อยๆ
- (ลงทุนแบบในตลาด 12% กว่า) MAJOR ขาย CAWOW ทิ้ง ไม่รอให้ราคามันกลับขึ้นมาแล้ว
- (ถือหุ้นใหญ่ 88% กว่า) ทำไมผถห. TTA เห็น UMS ขาดทุน ถึงเดือดดาลต่อท่านหม่อมจันทรจุฑากันนัก ก่อนหน้ายังเงียบๆ พอเห็นประกาศผลประกอบการออกมา มีการไปฟ้อง DSI เรื่องกำลังอยู่สำนักงานอัยการสูงสุด
ฯลฯ

"การมีหุ้น" มองแบบ "การลงทุน" ตาม common sense ไม่ว่าจะเป็นรายย่อยแบบซื้อหุ้นทีละ lot บางส่วนของบริษัท หรือจะเป็นการลงทุนเป็นเจ้าของทั้งบริษัทก็ตาม เมื่อรู้ว่า loss สามารถขายออกได้ รู้ว่าเพราะทิ้งไว้มันก็ loss
แล้วดังนั้น ถ้าเป็น VI ที่เน้นคุณค่าของการลงทุน เมื่อรู้ว่ากิจการ loss คงไม่หวังลมๆ แล้งๆ ถือรอต่อไปโดยไร้จุดหมาย มีการหยุดการสูญเสียได้ ก่อนที่ว่ามัน loss ไปกว่านี้





ผมว่าไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร แต่ตอนนี้ ทั้งคุณ leky, คุณ simplelife กับคุณ blueplanet น่าจะคิดเหมือนกัน แค่อาจจะเรียกคำต่างกันเท่านั้น


คือนักลงทุนทางเทคนิคและนักเก็งกำไร เห็นแค่ loss เพราะความต่างของราคา โดยไม่ได้ประเมินมูลค่าใดๆ ของกิจการ
แต่ VI มองแบบนักลงทุน ที่ loss เพราะลองประเมินราคาใหม่รู้ว่า ราคาที่ซื้อกิจการมา มัน error ไปมาก นอกจากผลกระทบจากความผันผวนเศรษฐกิจแล้ว อาจมีเรื่องผลประกอบการมันแย่กว่าที่คาดหวังไว้เพราะที่ช่วง "ประเมินคุณค่า" ก่อนหน้ามันเคยดี (พ้นช่วง honey moon ไปแล้ว) พอรู้ว่ากิจการมันมีปัญหาจึงต้องถอนตัว

จะตั้งชื่อว่าอะไรก็แล้วแต่ หรือไม่สนใจชื่อก็ได้
สรุปที่ปลายทางเดียวกัน คือ VI ขายออก เพราะรู้ตัวว่าลงทุนผิดพลาด
ทำง่ายกว่าปู่ buffett ตั้งเยอะ เพราะดู port อยู่เงียบๆ คนเดียว
ภาพประจำตัวสมาชิก
yoyoeffect
Verified User
โพสต์: 364
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 27

โพสต์

"ซื้อ ด้วยเหตุผล อะไร
ขาย ด้วยเหตุผล นั้น"

ซื้อ ด้วยสัญญาณกราฟบอก ให้ ซื้อ
ขาย ด้วยสัญญาณกราฟบอก ให้ ขาย

ซื้อ ด้วยมูลค่ากิจการมีMOSมาก ให้ ซื้อ
ขาย ด้วยมูลค่ากิจการมีMOSน้อยหรือไม่มี ให้ ขาย

ซื้อ เมื่อเห็นว่าไม่มีหุ้นไหนดีไปกว่าหุ้นนี้แล้ว ให้ ซื้อ
ขาย เมื่อเห็นว่ามีหุ้นที่ดีกว่าหุ้นที่มีอยู่ ให้ ขาย

ซื้อ เมื่อเห็นว่าเซียนหรือceleb.ถืออยู่ ให้ ซื้อ
ขาย เมื่อเห็นว่าเซียนหรือceleb.ไม่ถือแล้ว ให้ ขาย
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 28

โพสต์

yoyoeffect เขียน:"ซื้อ ด้วยเหตุผล อะไร
ขาย ด้วยเหตุผล นั้น"

ซื้อ ด้วยสัญญาณกราฟบอก ให้ ซื้อ
ขาย ด้วยสัญญาณกราฟบอก ให้ ขาย

ซื้อ ด้วยมูลค่ากิจการมีMOSมาก ให้ ซื้อ
ขาย ด้วยมูลค่ากิจการมีMOSน้อยหรือไม่มี ให้ ขาย

ซื้อ เมื่อเห็นว่าไม่มีหุ้นไหนดีไปกว่าหุ้นนี้แล้ว ให้ ซื้อ
ขาย เมื่อเห็นว่ามีหุ้นที่ดีกว่าหุ้นที่มีอยู่ ให้ ขาย

ซื้อ เมื่อเห็นว่าเซียนหรือceleb.ถืออยู่ ให้ ซื้อ
ขาย เมื่อเห็นว่าเซียนหรือceleb.ไม่ถือแล้ว ให้ ขาย
อันนี้ระวังหน่อยนะครับ เพราะเซียนขายนี่กว่ารายย่อยจะรู้มันก็มักจะช้าไปเสมอ พอรู้ว่าเซียนออกแล้ว รายย่อยก็เหมือนอยู่โรงหนังที่ไฟไหม้ แย่งกันหนีตาย สุดท้ายเหยียบกันเอง ขืนเซียนเค้าให้รู้ง่าย ๆ เค้าก็ขายไม่ได้ราคาครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 29

โพสต์

leky เขียน:
yoyoeffect เขียน:"ซื้อ ด้วยเหตุผล อะไร
ขาย ด้วยเหตุผล นั้น"

ซื้อ ด้วยสัญญาณกราฟบอก ให้ ซื้อ
ขาย ด้วยสัญญาณกราฟบอก ให้ ขาย

ซื้อ ด้วยมูลค่ากิจการมีMOSมาก ให้ ซื้อ
ขาย ด้วยมูลค่ากิจการมีMOSน้อยหรือไม่มี ให้ ขาย

ซื้อ เมื่อเห็นว่าไม่มีหุ้นไหนดีไปกว่าหุ้นนี้แล้ว ให้ ซื้อ
ขาย เมื่อเห็นว่ามีหุ้นที่ดีกว่าหุ้นที่มีอยู่ ให้ ขาย

ซื้อ เมื่อเห็นว่าเซียนหรือceleb.ถืออยู่ ให้ ซื้อ
ขาย เมื่อเห็นว่าเซียนหรือceleb.ไม่ถือแล้ว ให้ ขาย
อันนี้ระวังหน่อยนะครับ เพราะเซียนขายนี่กว่ารายย่อยจะรู้มันก็มักจะช้าไปเสมอ พอรู้ว่าเซียนออกแล้ว รายย่อยก็เหมือนอยู่โรงหนังที่ไฟไหม้ แย่งกันหนีตาย สุดท้ายเหยียบกันเอง ขืนเซียนเค้าให้รู้ง่าย ๆ เค้าก็ขายไม่ได้ราคาครับ

+1กว่าจะรู้เมื่อเซียนไป ก้ดอยแล้วครับ บางทีเห็นติดผถห ญ เผลอๆ

จะไม่มีหุ้นแล้ว หลายตัวที่เล่นกันแบบนี้
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 0

Re: "Cut Loss" Vs. "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" ความต่างกันสุดขั้วระห

โพสต์ที่ 30

โพสต์

วิธีการจะไม่ดอยคื อ ซื้อก่อนเซียนครับ

ยังไง mos>เซียน โอกาศจะดอยยากมาก

เซียนแต่ละคนก้มีวิธีขาย จริตแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ถ้าคุณเคยเห็นเค้าขาย

เราจะเดาได้ เพราะ คนเรามักชอบทำอะไรซ้ำๆ

:mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
โพสต์โพสต์