รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 331
คอลัมน์: อาเซียน Business Forum: อุตฯพลาสติกชีวภาพไทยกับ AEC
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, July 03, 2012
รศ.ดร.พิฑูร ตรีวิจิตรเกษม
นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย
ก่อนที่จะพูดถึงพลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุดของมวลมนุษยชาติ ต้องเข้าใจก่อนว่าพลาสติกชีวภาพมีคุณสมบัติพิเศษ และมีข้อจำกัดอย่างไร ในหลักการ แล้วต้องผลิตมาจากพืช แต่มีบางชนิด ก็ผลิตจากผลพลอยได้ทางปิโตรเคมี
ปัจจุบันคนไทยใช้พลาสติกประมาณกว่า 30 กก./ปี/คน ประเทศที่เจริญแล้ว ใช้ประมาณกว่า 60 กก./ปี/คน ฉะนั้นพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) จะเป็นพลาสติกพิเศษ คือ ถ้าทำจากพืชแล้วจะเป็นวัสดุทดแทนไม่มีวันสิ้นสุด (renewable material) สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเหมือนพลาสติกทั่วไป มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่มีข้อพิเศษคือใช้เครื่องจักรเดิม ในการขึ้นรูปด้วยการปรับแต่งเพียงเล็กน้อย
พลาสติกชีวภาพที่สามารถสลายตัวได้จนกลายเป็นปุ๋ย จึงนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุอาหาร หรือใช้ใส่ขยะอินทรีย์ และเมื่อใช้แล้วทั้งถุงและเศษขยะอินทรีย์ ก็จะกลายเป็นปุ๋ยหมักไปเลยพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับทางด้าน สิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง
ส่วนความพร้อมของไทยเราในอาเซียน จะเป็นศูนย์กลางผลิตพลาสติกชีวภาพ ในอาเซียน เพราะว่าไทยเรามีพร้อมด้วยทรัพยากรต่างๆ โดยพลาสติกชีวภาพส่วนใหญ่ มาจากแป้ง น้ำตาล เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นต้นน้ำของพลาสติกชีวภาพได้
ปัจจุบันกลุ่ม ปตท. มีการผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA ร่วมกับ Naturework ในประเทศไทย และอีกโครงการหนึ่งคือการผลิต PBS ซึ่งร่วมกับทาง บริษัท Mitsubishi ซึ่งภายใน 2-3 ปีข้างหน้า มีกำลังการผลิต 2 แสนตัน/ปี จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ ด้านสิ่งแวดล้อมและการเกษตร
ขณะที่ภาคเอกชนอื่นๆ ก็ได้มีการ เตรียมพร้อมหลาย ๆ ด้าน อาทิ ได้ขอให้ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ออกข้อกำหนดผ่านทาง สมอ. เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในการซื้อขาย และเป็นกฎเกณฑ์การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการขยะ หลังการใช้งานจากพลาสติกชีวภาพได้
อย่างไรก็ตาม ในการเป็นศูนย์กลาง พลาสติกชีวภาพในอาเซียน นั้น สิ่งสำคัญที่ เราต้องมีคือการบูรณาการทุกภาคส่วน ในการใช้ พลาสติกชีวภาพชนิดสลายตัวได้ ตั้งแต่ต้นน้ำ ผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้ใช้ ไปถึง ผู้กำจัดขยะ จะต้องร่วมกัน คือ ต้องปฏิรูปให้ทุกภาคส่วนมีการปฏิบัติพร้อมกัน
ผู้ผลิตที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI คือ ได้รับการส่งเสริมลงทุนเรื่องเครื่องจักร โดยยกเว้นภาษีอากรนำเข้าต่างๆ รวมทั้งภาษีนิติบุคคล ซึ่งทำให้สามารถผลิตพลาสติกในราคาที่เหมาะสม เพราะพลาสติกชีวภาพมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าพลาสติกธรรมดา 2-3 เท่า แต่ถ้าพิจารณาค่าใช้จ่ายหลังการใช้งาน รวมค่ากำจัดแล้วจะถูกกว่าพลาสติกธรรมดา
ส่วนผู้ซื้อไปใช้ เช่น ตามห้างร้าน หรือซูเปอร์มาร์เก็ต ที่แจกถุงให้ลูกค้าซึ่งใช้ ครั้งเดียวก็นำไปทิ้ง สามารถรณรงค์ให้ลูกค้านำถุงมาเอง หรือใช้ซ้ำหลายๆ ครั้ง ก็จะทำให้ลดการใช้ลง ห้างร้านก็จะประหยัดการแจกถุงฟรีรวมทั้งประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านใบ ซึ่งจะประหยัดรายจ่ายได้ โดยถ้าแม่บ้านที่นำถุงมาเองก็จะได้ส่วนลด หรือได้แต้ม
ผู้กำจัดขยะจะรณรงค์ให้แม่บ้านแยกขยะตั้งแต่ในครัวเรือน ผู้กำจัดสามารถ แจกถุงให้แม่บ้านสำหรับใส่กระป๋องกับขวด 1 ถุง ใส่กระดาษ 1 ถุง ใส่พลาสติก 1 ถุง และแม่บ้านก็จะแยกถุงไว้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ ผู้กำจัดขยะก็จะนำไป Recycle ได้ โดยขาย ผ่านโรงงานต่างๆ ที่รับช่วงไปจะได้มูลค่าสูงกว่าเดิมมาก เพราะสะอาดกว่า ไม่ต้องมาแยกขยะอีก แม่บ้านจะได้ถุงอีก 2 ใบฟรี เป็นรางวัลค่าแยกขยะ คือถุงพลาสติกชีวภาพ และถุงพลาสติกธรรมดาชนิดหนาๆ เมื่อนำไปซื้อของก็จะได้ส่วนลด
ส่วนภาครัฐต้องมีการประชาสัมพันธ์ทั้งทาง ทีวี วิทยุ ให้มีการรณรงค์การปฏิบัติให้ตรงเป้าหมาย และเข้าใจตรงกัน และมีกฎเกณฑ์ หรือบทลงโทษถ้าจำเป็น การจัดการแบบบูรณาการข้างต้น เมื่อมีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะเห็นได้ชัดว่าโรคภัยไข้เจ็บ จะลดลง และสามารถประหยัดงบประมาณสาธารณสุขที่เป็นค่ารักษาพยาบาลได้ เป็นจำนวนหนึ่ง ส่วนที่ผู้กำจัดขยะ กทม.จะได้ขยะที่มีมูลค่าสูงขึ้น ส่วนห้างร้านก็จะ ลดการใช้ถุงปีละ 5,000 ล้านใบ และสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แน่นอนที่สุด ไทยเราก็จะเป็นผู้นำทางด้านพลาสติกชีวภาพในภูมิภาค ถ้าทุกภาคส่วนได้เข้าใจและปฏิบัติภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆ ดังที่ว่าไว้
ในการเป็นศูนย์กลางพลาสติกชีวภาพในอาเซียนสิ่งสาคัญที่เราต้องมีคือการบูรณาการทุกภาคส่วน
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, July 03, 2012
รศ.ดร.พิฑูร ตรีวิจิตรเกษม
นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย
ก่อนที่จะพูดถึงพลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุดของมวลมนุษยชาติ ต้องเข้าใจก่อนว่าพลาสติกชีวภาพมีคุณสมบัติพิเศษ และมีข้อจำกัดอย่างไร ในหลักการ แล้วต้องผลิตมาจากพืช แต่มีบางชนิด ก็ผลิตจากผลพลอยได้ทางปิโตรเคมี
ปัจจุบันคนไทยใช้พลาสติกประมาณกว่า 30 กก./ปี/คน ประเทศที่เจริญแล้ว ใช้ประมาณกว่า 60 กก./ปี/คน ฉะนั้นพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) จะเป็นพลาสติกพิเศษ คือ ถ้าทำจากพืชแล้วจะเป็นวัสดุทดแทนไม่มีวันสิ้นสุด (renewable material) สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเหมือนพลาสติกทั่วไป มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่มีข้อพิเศษคือใช้เครื่องจักรเดิม ในการขึ้นรูปด้วยการปรับแต่งเพียงเล็กน้อย
พลาสติกชีวภาพที่สามารถสลายตัวได้จนกลายเป็นปุ๋ย จึงนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุอาหาร หรือใช้ใส่ขยะอินทรีย์ และเมื่อใช้แล้วทั้งถุงและเศษขยะอินทรีย์ ก็จะกลายเป็นปุ๋ยหมักไปเลยพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับทางด้าน สิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง
ส่วนความพร้อมของไทยเราในอาเซียน จะเป็นศูนย์กลางผลิตพลาสติกชีวภาพ ในอาเซียน เพราะว่าไทยเรามีพร้อมด้วยทรัพยากรต่างๆ โดยพลาสติกชีวภาพส่วนใหญ่ มาจากแป้ง น้ำตาล เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นต้นน้ำของพลาสติกชีวภาพได้
ปัจจุบันกลุ่ม ปตท. มีการผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA ร่วมกับ Naturework ในประเทศไทย และอีกโครงการหนึ่งคือการผลิต PBS ซึ่งร่วมกับทาง บริษัท Mitsubishi ซึ่งภายใน 2-3 ปีข้างหน้า มีกำลังการผลิต 2 แสนตัน/ปี จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ ด้านสิ่งแวดล้อมและการเกษตร
ขณะที่ภาคเอกชนอื่นๆ ก็ได้มีการ เตรียมพร้อมหลาย ๆ ด้าน อาทิ ได้ขอให้ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ออกข้อกำหนดผ่านทาง สมอ. เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในการซื้อขาย และเป็นกฎเกณฑ์การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการขยะ หลังการใช้งานจากพลาสติกชีวภาพได้
อย่างไรก็ตาม ในการเป็นศูนย์กลาง พลาสติกชีวภาพในอาเซียน นั้น สิ่งสำคัญที่ เราต้องมีคือการบูรณาการทุกภาคส่วน ในการใช้ พลาสติกชีวภาพชนิดสลายตัวได้ ตั้งแต่ต้นน้ำ ผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้ใช้ ไปถึง ผู้กำจัดขยะ จะต้องร่วมกัน คือ ต้องปฏิรูปให้ทุกภาคส่วนมีการปฏิบัติพร้อมกัน
ผู้ผลิตที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI คือ ได้รับการส่งเสริมลงทุนเรื่องเครื่องจักร โดยยกเว้นภาษีอากรนำเข้าต่างๆ รวมทั้งภาษีนิติบุคคล ซึ่งทำให้สามารถผลิตพลาสติกในราคาที่เหมาะสม เพราะพลาสติกชีวภาพมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าพลาสติกธรรมดา 2-3 เท่า แต่ถ้าพิจารณาค่าใช้จ่ายหลังการใช้งาน รวมค่ากำจัดแล้วจะถูกกว่าพลาสติกธรรมดา
ส่วนผู้ซื้อไปใช้ เช่น ตามห้างร้าน หรือซูเปอร์มาร์เก็ต ที่แจกถุงให้ลูกค้าซึ่งใช้ ครั้งเดียวก็นำไปทิ้ง สามารถรณรงค์ให้ลูกค้านำถุงมาเอง หรือใช้ซ้ำหลายๆ ครั้ง ก็จะทำให้ลดการใช้ลง ห้างร้านก็จะประหยัดการแจกถุงฟรีรวมทั้งประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านใบ ซึ่งจะประหยัดรายจ่ายได้ โดยถ้าแม่บ้านที่นำถุงมาเองก็จะได้ส่วนลด หรือได้แต้ม
ผู้กำจัดขยะจะรณรงค์ให้แม่บ้านแยกขยะตั้งแต่ในครัวเรือน ผู้กำจัดสามารถ แจกถุงให้แม่บ้านสำหรับใส่กระป๋องกับขวด 1 ถุง ใส่กระดาษ 1 ถุง ใส่พลาสติก 1 ถุง และแม่บ้านก็จะแยกถุงไว้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ ผู้กำจัดขยะก็จะนำไป Recycle ได้ โดยขาย ผ่านโรงงานต่างๆ ที่รับช่วงไปจะได้มูลค่าสูงกว่าเดิมมาก เพราะสะอาดกว่า ไม่ต้องมาแยกขยะอีก แม่บ้านจะได้ถุงอีก 2 ใบฟรี เป็นรางวัลค่าแยกขยะ คือถุงพลาสติกชีวภาพ และถุงพลาสติกธรรมดาชนิดหนาๆ เมื่อนำไปซื้อของก็จะได้ส่วนลด
ส่วนภาครัฐต้องมีการประชาสัมพันธ์ทั้งทาง ทีวี วิทยุ ให้มีการรณรงค์การปฏิบัติให้ตรงเป้าหมาย และเข้าใจตรงกัน และมีกฎเกณฑ์ หรือบทลงโทษถ้าจำเป็น การจัดการแบบบูรณาการข้างต้น เมื่อมีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะเห็นได้ชัดว่าโรคภัยไข้เจ็บ จะลดลง และสามารถประหยัดงบประมาณสาธารณสุขที่เป็นค่ารักษาพยาบาลได้ เป็นจำนวนหนึ่ง ส่วนที่ผู้กำจัดขยะ กทม.จะได้ขยะที่มีมูลค่าสูงขึ้น ส่วนห้างร้านก็จะ ลดการใช้ถุงปีละ 5,000 ล้านใบ และสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แน่นอนที่สุด ไทยเราก็จะเป็นผู้นำทางด้านพลาสติกชีวภาพในภูมิภาค ถ้าทุกภาคส่วนได้เข้าใจและปฏิบัติภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆ ดังที่ว่าไว้
ในการเป็นศูนย์กลางพลาสติกชีวภาพในอาเซียนสิ่งสาคัญที่เราต้องมีคือการบูรณาการทุกภาคส่วน
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 332
สั่งเพิ่มสำรองน้ำมันรับผันผวนจาก36วันเป็น43วันสร้างความมั่นคงพลังงาน - โอเปคเตรียมประชุมคงราคา 100 ดอลล์
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, July 03, 2012
กบง.จับตาผลคว่ำบาตรอิหร่านดันน้ำมันพุ่ง
กบง.สั่งผู้ค้าน้ำมันสำรองน้ำมันตามกฎหมายเพิ่มจาก 5% เป็น 6% ภายใน 90 วัน เพื่อสร้างความมั่นคงพลังงาน สนพ.ประกาศลดราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.ลง 3 บาทต่อกก. เหตุราคาตลาดโลกดิ่ง"บวร"ชี้เพิ่มสำรองดันต้นทุนเพิ่ม
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วานนี้ (2 ก.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้ผู้ค้าน้ำมันปรับเพิ่มสำรองน้ำมันตามกฎหมายจาก 5% เป็น 6% ของปริมาณการค้าต่อปีหรือสำรองเพิ่มขึ้นจาก 36 วันเป็น 43 วัน โดยให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วันนับจากวันที่กรมธุรกิจพลังงานออกประกาศทั้งนี้ การสำรองน้ำมันเพิ่มดังกล่าว เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และก้าวสู่การเป็นสมาชิกสำนักงานพลังงานสากล หรือไออีเอ ที่กำหนดให้สมาชิกต้องมีสำรองน้ำมันขั้นต่ำ 90 วัน
"หากโรงกลั่นน้ำมันและผู้ค้าน้ำมันบางรายประสบปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการสำรองน้ำมัน ก็ให้ผู้ค้าขอยื่นผ่อนผันและจะมีการพิจารณาเป็นรายๆ ไป และมอบหมายให้ สนพ.ไปหาข้อมูลและกำหนดราคาหน้าโรงกลั่นให้เหมาะสม เพื่อชดเชยภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับอัตราสำรองดังกล่าว" นายอารักษ์กล่าว
เขากล่าวต่อว่า ในการปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันตามกฎหมายของภาคเอกชนเป็น 6% จะทำให้ประเทศไทยมีน้ำมันสำรองใช้ได้เพิ่มขึ้นจาก 36 วัน เป็นประมาณ 43 วันของความต้องการใช้ในประเทศ หรือทำให้ไทยมีสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 23.3 ล้านบาร์เรล เป็น 28 ล้านบาร์เรล
สำหรับแผนงานการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ของประเทศที่เป็นการสำรองโดยรัฐนั้น อยู่ระหว่างการศึกษาและกำหนดรูปแบบองค์กร และการบริหารจัดการที่เหมาะสมสำหรับประเทศ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการ สนพ. กล่าวว่า การสำรองน้ำมันตามกฎหมายเพิ่มจาก 5% เป็น 6% นั้น กรมธุรกิจพลังงานได้หารือกับผู้ค้าน้ำมันทั้งหมดแล้ว โดยบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กับบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) พร้อมที่จะดำเนินการ ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันรายอื่นทั้ง เอสโซ่และบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ยังไม่พร้อมเรื่องคลังเก็บน้ำมัน โดยกระทรวงพลังงานจะผ่อนผันโดยพิจารณาเหตุผลเป็นรายไป
จับตาผลกระทบคว่ำบาตรอิหร่าน
นอกจากนี้ สนพ.ยังอยู่ระหว่างศึกษาสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกอย่างใกล้ชิดหลังราคากลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ววันละ 7-8 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นการตอบรับผลการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปที่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรโซนและยังต้องติดตามผลจากมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันอิหร่านจากกลุ่มอียู ที่เริ่มมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ก.ค. 2555
"ต้องติดตามข้อมูลว่ามาตรการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันอย่างไร และกระทบในระยะสั้นหรือระยะยาว เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง"
พร้อมใช้เงินกองทุนน้ำมันดูแล
นอกจากนี้ จะต้องจับตาดูราคาน้ำมันดีเซลอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากปรับสูงเกิน 30 บาท/ลิตร จะเสนอที่ประชุม กบง.พิจารณาต่อไป ว่าจะใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาดูแลราคาหรือไม่ ซึ่งล่าสุดวันที่ 2 ก.ค. 2555 ค่าการตลาดเฉลี่ยน้ำมันทุกชนิดยังอยู่ที่ 1.50 บาทต่อลิตร
นายอารักษ์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม กบง.ยังกำหนดให้ขยายการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อชดเชยราคาต้นทุนจากการนำเอทานอลจากมันสำปะหลังตามโครงการรับจำนำของรัฐบาล มาผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์จาก 180 ล้านบาท เป็น 222 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 42 ล้านบาท เนื่องจากราคารับซื้อมันเส้นปรับสูงขึ้นจาก 7.3 บาทต่อ กก. เป็น 7.9 บาทต่อ กก. ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือราคามันสำปะหลังของเกษตรกร โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 เดือนนับตั้งแต่วันที่มีการซื้อขายมันเส้นจากคลังกลางขององค์การคลังสินค้า (อคส.) โดยได้มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ประสานความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเร่งดำเนินการโดยเร็ว
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เห็นชอบกรณีที่สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ออกประกาศปรับลดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 2555 ลง 3 บาทต่อ กก.จากราคาเดิม 27.89 บาทต่อ กก. เป็น 24.86 บาทต่อ กก. โดยเป็นการปรับลดราคาลงตามต้นทุนหน้าโรงกลั่น จากกรณีราคาแอลพีจีเฉลี่ยในตลาดโลกของเดือน มิ.ย. 2555 ปรับลดลงจาก 714 ดอลลาร์ต่อตัน เหลือ 593 ดอลลาร์ต่อตัน ทั้งนี้ประกาศ ดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. 2555
พีทีทีโกลบอลฯ ชี้กระทบต้นทุน 1%
นายบวร วงศ์สินอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเพิ่มสำรองดังกล่าวเป็นกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว แต่มองว่าสถานการณ์ในขณะนี้ไม่ได้ตึงเครียดเหมือนในอดีต เหมือนกับช่วงความขัดแย้งในตะวันออกกลางปีที่แล้ว ดังนั้นไม่น่าจะเร่งรีบเพิ่มสำรอง
"เพิ่มสำรองทุก 1% จะกระทบต้นทุนโรงกลั่น 1% เช่นเดียวกัน แต่โชคดีที่ราคาน้ำมันอ่อนตัวลง ซื้อน้ำมันมาเก็บสต็อกไว้ จะไม่เหมือนตอนน้ำมันช่วงราคาแพง แต่ก็ต้องดูว่ามีคลังน้ำมันเพียงพอหรือไม่"
นักวิชาการชี้รัฐ-เอกชนต้องร่วมมือ
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า แม้นโยบายนี้จะทำให้มีความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเฉพาะปริมาณสำรองน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่จะเป็นภาระกับภาคเอกชนที่ต้องหาเงินทุนมาใช้ในการสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยภาระในต้นทุนจะมีภาระของดอกเบี้ยมารวมด้วย เนื่องจากน้ำมันส่วนนี้เมื่อสำรองตามกฎหมาย ไม่สามารถนำมาจำหน่ายหรือนำมาใช้เพื่อกิจการพาณิชย์อื่นๆ ได้
เขากล่าวว่าในส่วนผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับความเสี่ยงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ในช่วงที่ระดับราคาปรับลดลง ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนสต็อกน้ำมัน ในขณะที่ช่วงราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวขึ้น อาจต้องมีการระดมเงินทุน เพื่อใช้ซื้อน้ำมันในต่างประเทศ ดังนั้น ภาครัฐควรทำงานกับเอกชนอย่างใกล้ชิด น่าจะช่วยลดความเสี่ยง
"ต้องมีกรอบเวลาที่เหมาะสม ให้เอกชนเตรียมตัว"
สำหรับกรณีที่รัฐบาลตามไออีเอนั้น เขากล่าวว่ายังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากการสำรองน้ำมันเพิ่มอีก 1% ก็ยังทำให้สต็อกน้ำมันของไทยไม่สูงเท่ากับมาตรฐานไออีเอที่ให้สำรองถึง 90%
โอเปคเล็งจัดประชุมหารือราคาน้ำมัน
นายยูเซฟ ยูสฟี รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่แอลจีเรียเปิดเผยว่า แอลจีเรียอาจเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัยวิสามัญของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดการร่วงลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
"การประชุมของโอเปคครั้งที่ผ่านมานั้น ที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันว่าหากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงถึงระดับที่กำหนด ประเทศสมาชิกจะจัดการประชุมสมัยวิสามัญเพื่อกำหนดราคาที่มีความสมดุล" นายยูสฟี ระบุ และว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงนั้นมีสาเหตุหลักมาจากการจัดหา และความต้องการที่ไม่สมดุลกัน รวมทั้งสาเหตุจากวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปและปริมาณสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น
ขณะเว็บไซต์ชาน่าของกระทรวงน้ำมันอิหร่าน เผยว่า นายรอสแตม คาเซมิ รัฐมนตรีน้ำมันอิหร่าน ได้เรียกร้องให้เลขาธิการโอเปคจัดการประชุมสมัยวิสามัญขึ้นท่ามกลางภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวลง
"ในการประชุมครั้งที่ 161 ของโอเปคนั้น โอเปคได้เห็นพ้องกันว่า หากราคาน้ำมันลดลงต่ำกว่าระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก็จะถือว่าราคาอยู่ในขั้นวิกฤติ ดังนั้น เราจึงเรียกร้องให้เลขาธิการโอเปคเตรียมการสำหรับการจัดประชุมฉุกเฉิน" นายคาเซมิเปิดเผยกับชาน่า
ราคาน้ำมันร่วงหลังทะยานแรงวันศุกร์
นายคาเซมิยังเตือนว่า หากประเทศสมาชิกโอเปคไม่ปฏิบัติตามเพดานการผลิตที่ตกลงกันไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความสมดุลในตลาดน้ำมัน
ท่าทีดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นก่อนหน้านี้ทั้งจากอิรัก และเวเนซุเอลา โดยนายฮัสเซน อัล-ชาห์ริสทานี รองนายกรัฐมนตรีของอิรัก กล่าวว่า โอเปคจำเป็นต้องปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมัน ขณะที่นายราฟาเอล รามิเรซ รัฐมนตรีน้ำมันเวเนซุเอลา เรียกร้องให้มีการจัดประชุมสมัยวิสามัญในไตรมาส 3 ของปีนี้ หากราคาน้ำมันดิบทั่วโลกยังคงอยู่ที่ระดับต่ำ
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบเวสต์ เทกซัส ส่งมอบเดือน ส.ค. ซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ตลาดสิงคโปร์ วานนี้ (2 ก.ค.) ปรับลดลง 1.44 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 83.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคา น้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ ร่วงลง 1.88 ดอลลาร์ ไปแตะระดับต่ำสุดที่ 95.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนจะขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 96.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันวานนี้ ปรับลดลงจากแรงเทขายทำกำไร หลังจากทะยานขึ้นกว่า 7 ดอลลาร์/บาร์เรล เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากที่ประชุมอียูซัมมิตได้ข้อสรุปในการแก้ปัญหาหนี้
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, July 03, 2012
กบง.จับตาผลคว่ำบาตรอิหร่านดันน้ำมันพุ่ง
กบง.สั่งผู้ค้าน้ำมันสำรองน้ำมันตามกฎหมายเพิ่มจาก 5% เป็น 6% ภายใน 90 วัน เพื่อสร้างความมั่นคงพลังงาน สนพ.ประกาศลดราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.ลง 3 บาทต่อกก. เหตุราคาตลาดโลกดิ่ง"บวร"ชี้เพิ่มสำรองดันต้นทุนเพิ่ม
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วานนี้ (2 ก.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้ผู้ค้าน้ำมันปรับเพิ่มสำรองน้ำมันตามกฎหมายจาก 5% เป็น 6% ของปริมาณการค้าต่อปีหรือสำรองเพิ่มขึ้นจาก 36 วันเป็น 43 วัน โดยให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วันนับจากวันที่กรมธุรกิจพลังงานออกประกาศทั้งนี้ การสำรองน้ำมันเพิ่มดังกล่าว เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และก้าวสู่การเป็นสมาชิกสำนักงานพลังงานสากล หรือไออีเอ ที่กำหนดให้สมาชิกต้องมีสำรองน้ำมันขั้นต่ำ 90 วัน
"หากโรงกลั่นน้ำมันและผู้ค้าน้ำมันบางรายประสบปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการสำรองน้ำมัน ก็ให้ผู้ค้าขอยื่นผ่อนผันและจะมีการพิจารณาเป็นรายๆ ไป และมอบหมายให้ สนพ.ไปหาข้อมูลและกำหนดราคาหน้าโรงกลั่นให้เหมาะสม เพื่อชดเชยภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับอัตราสำรองดังกล่าว" นายอารักษ์กล่าว
เขากล่าวต่อว่า ในการปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันตามกฎหมายของภาคเอกชนเป็น 6% จะทำให้ประเทศไทยมีน้ำมันสำรองใช้ได้เพิ่มขึ้นจาก 36 วัน เป็นประมาณ 43 วันของความต้องการใช้ในประเทศ หรือทำให้ไทยมีสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 23.3 ล้านบาร์เรล เป็น 28 ล้านบาร์เรล
สำหรับแผนงานการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ของประเทศที่เป็นการสำรองโดยรัฐนั้น อยู่ระหว่างการศึกษาและกำหนดรูปแบบองค์กร และการบริหารจัดการที่เหมาะสมสำหรับประเทศ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการ สนพ. กล่าวว่า การสำรองน้ำมันตามกฎหมายเพิ่มจาก 5% เป็น 6% นั้น กรมธุรกิจพลังงานได้หารือกับผู้ค้าน้ำมันทั้งหมดแล้ว โดยบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กับบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) พร้อมที่จะดำเนินการ ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันรายอื่นทั้ง เอสโซ่และบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ยังไม่พร้อมเรื่องคลังเก็บน้ำมัน โดยกระทรวงพลังงานจะผ่อนผันโดยพิจารณาเหตุผลเป็นรายไป
จับตาผลกระทบคว่ำบาตรอิหร่าน
นอกจากนี้ สนพ.ยังอยู่ระหว่างศึกษาสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกอย่างใกล้ชิดหลังราคากลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ววันละ 7-8 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นการตอบรับผลการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปที่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรโซนและยังต้องติดตามผลจากมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันอิหร่านจากกลุ่มอียู ที่เริ่มมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ก.ค. 2555
"ต้องติดตามข้อมูลว่ามาตรการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันอย่างไร และกระทบในระยะสั้นหรือระยะยาว เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง"
พร้อมใช้เงินกองทุนน้ำมันดูแล
นอกจากนี้ จะต้องจับตาดูราคาน้ำมันดีเซลอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากปรับสูงเกิน 30 บาท/ลิตร จะเสนอที่ประชุม กบง.พิจารณาต่อไป ว่าจะใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาดูแลราคาหรือไม่ ซึ่งล่าสุดวันที่ 2 ก.ค. 2555 ค่าการตลาดเฉลี่ยน้ำมันทุกชนิดยังอยู่ที่ 1.50 บาทต่อลิตร
นายอารักษ์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุม กบง.ยังกำหนดให้ขยายการใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อชดเชยราคาต้นทุนจากการนำเอทานอลจากมันสำปะหลังตามโครงการรับจำนำของรัฐบาล มาผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์จาก 180 ล้านบาท เป็น 222 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 42 ล้านบาท เนื่องจากราคารับซื้อมันเส้นปรับสูงขึ้นจาก 7.3 บาทต่อ กก. เป็น 7.9 บาทต่อ กก. ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือราคามันสำปะหลังของเกษตรกร โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 เดือนนับตั้งแต่วันที่มีการซื้อขายมันเส้นจากคลังกลางขององค์การคลังสินค้า (อคส.) โดยได้มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ประสานความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเร่งดำเนินการโดยเร็ว
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เห็นชอบกรณีที่สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ออกประกาศปรับลดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 2555 ลง 3 บาทต่อ กก.จากราคาเดิม 27.89 บาทต่อ กก. เป็น 24.86 บาทต่อ กก. โดยเป็นการปรับลดราคาลงตามต้นทุนหน้าโรงกลั่น จากกรณีราคาแอลพีจีเฉลี่ยในตลาดโลกของเดือน มิ.ย. 2555 ปรับลดลงจาก 714 ดอลลาร์ต่อตัน เหลือ 593 ดอลลาร์ต่อตัน ทั้งนี้ประกาศ ดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. 2555
พีทีทีโกลบอลฯ ชี้กระทบต้นทุน 1%
นายบวร วงศ์สินอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเพิ่มสำรองดังกล่าวเป็นกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว แต่มองว่าสถานการณ์ในขณะนี้ไม่ได้ตึงเครียดเหมือนในอดีต เหมือนกับช่วงความขัดแย้งในตะวันออกกลางปีที่แล้ว ดังนั้นไม่น่าจะเร่งรีบเพิ่มสำรอง
"เพิ่มสำรองทุก 1% จะกระทบต้นทุนโรงกลั่น 1% เช่นเดียวกัน แต่โชคดีที่ราคาน้ำมันอ่อนตัวลง ซื้อน้ำมันมาเก็บสต็อกไว้ จะไม่เหมือนตอนน้ำมันช่วงราคาแพง แต่ก็ต้องดูว่ามีคลังน้ำมันเพียงพอหรือไม่"
นักวิชาการชี้รัฐ-เอกชนต้องร่วมมือ
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า แม้นโยบายนี้จะทำให้มีความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเฉพาะปริมาณสำรองน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่จะเป็นภาระกับภาคเอกชนที่ต้องหาเงินทุนมาใช้ในการสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยภาระในต้นทุนจะมีภาระของดอกเบี้ยมารวมด้วย เนื่องจากน้ำมันส่วนนี้เมื่อสำรองตามกฎหมาย ไม่สามารถนำมาจำหน่ายหรือนำมาใช้เพื่อกิจการพาณิชย์อื่นๆ ได้
เขากล่าวว่าในส่วนผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับความเสี่ยงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ในช่วงที่ระดับราคาปรับลดลง ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนสต็อกน้ำมัน ในขณะที่ช่วงราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวขึ้น อาจต้องมีการระดมเงินทุน เพื่อใช้ซื้อน้ำมันในต่างประเทศ ดังนั้น ภาครัฐควรทำงานกับเอกชนอย่างใกล้ชิด น่าจะช่วยลดความเสี่ยง
"ต้องมีกรอบเวลาที่เหมาะสม ให้เอกชนเตรียมตัว"
สำหรับกรณีที่รัฐบาลตามไออีเอนั้น เขากล่าวว่ายังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากการสำรองน้ำมันเพิ่มอีก 1% ก็ยังทำให้สต็อกน้ำมันของไทยไม่สูงเท่ากับมาตรฐานไออีเอที่ให้สำรองถึง 90%
โอเปคเล็งจัดประชุมหารือราคาน้ำมัน
นายยูเซฟ ยูสฟี รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่แอลจีเรียเปิดเผยว่า แอลจีเรียอาจเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัยวิสามัญของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดการร่วงลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
"การประชุมของโอเปคครั้งที่ผ่านมานั้น ที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันว่าหากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงถึงระดับที่กำหนด ประเทศสมาชิกจะจัดการประชุมสมัยวิสามัญเพื่อกำหนดราคาที่มีความสมดุล" นายยูสฟี ระบุ และว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงนั้นมีสาเหตุหลักมาจากการจัดหา และความต้องการที่ไม่สมดุลกัน รวมทั้งสาเหตุจากวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปและปริมาณสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น
ขณะเว็บไซต์ชาน่าของกระทรวงน้ำมันอิหร่าน เผยว่า นายรอสแตม คาเซมิ รัฐมนตรีน้ำมันอิหร่าน ได้เรียกร้องให้เลขาธิการโอเปคจัดการประชุมสมัยวิสามัญขึ้นท่ามกลางภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวลง
"ในการประชุมครั้งที่ 161 ของโอเปคนั้น โอเปคได้เห็นพ้องกันว่า หากราคาน้ำมันลดลงต่ำกว่าระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก็จะถือว่าราคาอยู่ในขั้นวิกฤติ ดังนั้น เราจึงเรียกร้องให้เลขาธิการโอเปคเตรียมการสำหรับการจัดประชุมฉุกเฉิน" นายคาเซมิเปิดเผยกับชาน่า
ราคาน้ำมันร่วงหลังทะยานแรงวันศุกร์
นายคาเซมิยังเตือนว่า หากประเทศสมาชิกโอเปคไม่ปฏิบัติตามเพดานการผลิตที่ตกลงกันไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความสมดุลในตลาดน้ำมัน
ท่าทีดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นก่อนหน้านี้ทั้งจากอิรัก และเวเนซุเอลา โดยนายฮัสเซน อัล-ชาห์ริสทานี รองนายกรัฐมนตรีของอิรัก กล่าวว่า โอเปคจำเป็นต้องปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมัน ขณะที่นายราฟาเอล รามิเรซ รัฐมนตรีน้ำมันเวเนซุเอลา เรียกร้องให้มีการจัดประชุมสมัยวิสามัญในไตรมาส 3 ของปีนี้ หากราคาน้ำมันดิบทั่วโลกยังคงอยู่ที่ระดับต่ำ
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบเวสต์ เทกซัส ส่งมอบเดือน ส.ค. ซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ตลาดสิงคโปร์ วานนี้ (2 ก.ค.) ปรับลดลง 1.44 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 83.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคา น้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ ร่วงลง 1.88 ดอลลาร์ ไปแตะระดับต่ำสุดที่ 95.92 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนจะขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 96.10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันวานนี้ ปรับลดลงจากแรงเทขายทำกำไร หลังจากทะยานขึ้นกว่า 7 ดอลลาร์/บาร์เรล เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากที่ประชุมอียูซัมมิตได้ข้อสรุปในการแก้ปัญหาหนี้
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 333
ระทึกกลางกรุง'กลั่นน้ำมัน'บึ้มสั่งพักเครื่อง1ด.
Source - ไทยโพสต์ (Th), Thursday, July 05, 2012
สุขุมวิท 64 * ระทึกกลางกรุง "โรงกลั่นน้ำมันดิบ" กลางซอยสุขุมวิท 64 บึ้ม หลังเปิดใช้แค่ 10 วัน พระเพลิง-ควันดำเต็มท้องฟ้า ใช้เวลา 1.30 ชั่วโมงควบคุมเหตุ โชคดีไม่มีคนตาย-เจ็บ "อนุสรณ์" สั่งหยุดเดินเครื่องตรวจสอบ1 เดือน ย้ำไม่ย้ายออกแน่ เพราะลงทุนนับแสนล้าน อยู่มาก่อนชุมชน
เมื่อเวลา07.20 น. วันพุธ ได้เกิดเหตุไม่คาดฝันกลางกรุง เมื่อท่อส่งน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริเวณหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 ภายในซอยสุขุมวิท 64 ถนนริมทางรถไฟสายเก่า แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม. ได้เกิดระเบิดขึ้น ซึ่งแรงระเบิดส่งผลให้เกิดกลุ่มหมอกควันหนามืด และแสงเพลิงพวยพุ่งท่วมสูงออกจากหอแยกน้ำมันก๊าด เจ้าหน้าที่ต้องใช้น้ำฉีดสกัดกั้นเพลิงเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายลุกลาม ในขณะที่เจ้าหน้าที่บางจากได้สกัดกั้นเพลิงเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายลุกลาม ในขณะที่เจ้าหน้าที่บางจากได้ทำการปิดวาล์วท่อส่งน้ำมันและก๊าซเพื่อไม่ให้มีน้ำมันและก๊าซไหลเข้าไปเพิ่มเติม ก่อนฉีดน้ำและโฟมเพื่อหล่อความเย็นเอาไว้โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที จึงควบคุมเพลิงไว้ได้ และจากการตรวจพบว่าท่อส่งน้ำมันได้รับความเสียหาย ต้องหยุดการผลิตเป็นการชั่วคราว
นายสมควร บุญเพชร อายุ 83 ปี กล่าวว่า อยู่ในชุมชนนี้มา 40 ปีแล้ว โดยช่วงเช้าที่กำลังขายของอยู่ก็ได้เกิดเสียงระเบิดดังสนั่นขึ้น 1 ครั้ง บ้านสั่นสะเทือนไปทั้งหลัง รู้สึกตกใจกลัวไม่ทราบว่าเสียงอะไรมาจากไหน จากนั้นก็มีชาวบ้านตะโกนให้หนีออกมาจากบ้าน เมื่อออกมาก็เห็นควันดำโขมงลอยออกจากโรงกลั่น
"รู้สึกกลัวมาก เพราะบ้านอยู่ใกล้โรง กลั่นน้ำมัน ต่อในอนาคตไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นอีก ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยระเบิดมา 1 ครั้ง แต่ไม่รุนแรงเท่าครั้งนี้" นายสมควรกล่าว
ต่อมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่บริ หาร กทม. ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมระบุว่า จะยังให้รถน้ำและทีมอนามัยของ หาร กทม. ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมระบุว่า จะยังให้รถน้ำและทีมอนามัยของ กทม.อยู่ก่อน เพื่อตรวจดูความเรียบร้อยและตรวจสอบสภาพความเสียหายทั้งในบริษัทและชุมชนโดยรอบ เพื่อให้ประชาชนรอบพื้นที่ได้รับความอุ่นใจ
"มาตรการต่อไปในเรื่องที่ว่าโรงกลั่นอยู่ในชุมชนเมือง ก็จะได้พูดคุยกับบริษัทว่าจะสามารถย้ายออกไปตั้งในพื้นที่อื่นได้หรือไม่แต่นี่ก็ยังเป็นเพียงความคิดเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่ได้ดำเนินการอะไร" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าว
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากฯ กล่าวว่า สาเหตุระเบิดครั้งนี้เกิดจากการติดไฟที่หอแยกน้ำมันก๊าซในหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 ขนาดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 80,000 บาร์เรลต่อวัน ตั้งอยู่ใกล้กับหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 2 กำลังการผลิต 40,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งมีการรั่วไหลของก๊าซและน้ำมัน แต่ยังไม่ทราบจุดรั่วไหลที่แน่นอน ต้องรอให้ตัวหอที่เกิดเพลิงไหม้เย็นลงก่อน จึงจะเข้าไปตรวจสอบได้ ซึ่งเหตุดังกล่าวเกิดหลังจากที่บางจากปิดดำเนินซ่อมแซมและกลับมาดำเนินการตามปกติเพียง 10 วันเท่านั้น
นายอนุสรณ์กล่าวอีกว่า เบื้องต้นจะหยุดเดินเครื่องผลิตหน่วยกลั่นที่2 และหน่วยไฮโดรแครกเกอร์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนเปิดตามปกติ ส่วนหน่วยกลั่นที่ 3 จะหยุดตรวจสอบ 1 เดือน ซึ่งจุดเกิดเหตุอยู่ในส่วนหอน้ำมันตามปกติ ส่วนหน่วยกลั่นที่ 3 จะหยุดตรวจสอบ 1 เดือน ซึ่งจุดเกิดเหตุอยู่ในส่วนหอน้ำมันเครื่องบินและน้ำมันก๊าดน้ำมันเครื่องบินหากพบว่าซ่อมแซมได้จะใช้เวลา 1-2 เดือน งบประมาณ 20-30 ล้านบาท แต่หากสร้างหอ กลั่นใหม่จะใช้งบกว่า 100 ล้านบาท และใช้เวลาก่อสร้างอย่างน้อยที่สุด 3 เดือน
"อุบัติเหตุครั้งนี้กระทบต่อรายได้ให้หายไป 500-600 ล้านบาทต่อปี แต่หากเทียบกับกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย และค่าเสื่อมรายได้จะหายไป 300-400 ล้านบาทต่อปี ซึ่งกระทบไม่มากนัก เพราะมีประกันด้านอุปกรณ์ แล้วยังมีประกันชดเชยรายได้ที่หายไปด้วย" นายอนุสรณ์กล่าว และว่า การหยุดดำเนินการของหน่วยกลั่นที่ 3 จะทำให้กำลังการผลิตของบางจากหายไป 2 ใน 3 ส่วน ทำให้ต้องลดการส่งออกเพื่อลดผลกระทบการใช้น้ำมันในประเทศ
สำหรับกรณีผู้ว่าฯ กทม.หวังให้โรงกลั่น ย้ายออกจากพื้นที่ชุมชนนั้น นายอนุสรณ์กล่าวว่า ไม่มีแผนย้ายออก เนื่องจากได้ลงทุนมากกว่า 1 แสนล้านบาท และการตั้งโรงกลั่นในเขตเมืองก็เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับผู้ใช้น้ำมันในเมือง อีกทั้งโรงกลั่นมีการตั้งในพื้นที่มากว่า 50 ปี ตั้งมาก่อนที่ชุมชน แต่เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ได้ส่งพนักงานกว่า 200 คนลงพื้นที่แจกเอกสารและทำความเข้าใจกับชาวบ้านแล้ว
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า จากการเข้าไปตรวจสอบโรงกลั่นบาง จาก เชื่อว่าเกิดจากเหตุไม่คาดฝันไม่ได้เกิดจากการบริหารหรืออุปกรณ์ไม่ดี และได้ประสานกับบริษัทไทยออยล์และไออาร์พีซีช่วยเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงที่ยอดการผลิตน้ำมันของบางจากหายไปในเดือน ก.ค.-ส.ค.2555 แล้ว
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้มีคำสั่งปิดโรงกลั่นหน่วยที่ 3 ประมาณ 30 วัน ตามมาตรา 39 พระราชบัญญัติโรงงาน และกระทรวงจะมีการทบทวนแผนประเมินความเสี่ยงโรงงานใน ความดูแลของกระทรวงใหม่ทั้งหมด เนื่องจากที่ผ่านมามีเหตุการณ์หลายครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์ มาบตาพุดจนถึงบางจาก
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่ม ปตท.พร้อมจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ เพื่อทดแทนปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่อาจลดลงตามกำลังการผลิตของบางจากที่อาจต้องหยุดการกลั่น 1 แสนบาร์เรลต่อวันแสนบาร์เรลต่อวัน
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า เร็วๆ นี้คงต้องหารือกับ รมว.พลังงาน ว่าจะมีแนวทางป้องกันในระยะยาวอย่างไร เช่น อาจต้องย้ายชุมชนให้ห่างจากโรงกลั่นประมาณ 100-200 เมตร หรือย้ายโรงกลั่นเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม แต่คงทำได้ยาก เพราะโรงกลั่นมีการก่อสร้างก่อนที่ชุมชนจะย้ายเข้ามาอาศัยอยู่
ด้าน น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเมื่อวันที่4 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้รับทราบรายงานสถานการณ์การระเบิดโรงกลั่นน้ำมันบางจาก โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วง และได้สั่งการให้กระทรวงพลังงานไปสรุปรายละเอียดข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทั้งหมดมารายงานอีกครั้ง และยังกำชับให้ดูผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วยว่าเป็นอย่างไร และมีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไรด้วย.
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
Source - ไทยโพสต์ (Th), Thursday, July 05, 2012
สุขุมวิท 64 * ระทึกกลางกรุง "โรงกลั่นน้ำมันดิบ" กลางซอยสุขุมวิท 64 บึ้ม หลังเปิดใช้แค่ 10 วัน พระเพลิง-ควันดำเต็มท้องฟ้า ใช้เวลา 1.30 ชั่วโมงควบคุมเหตุ โชคดีไม่มีคนตาย-เจ็บ "อนุสรณ์" สั่งหยุดเดินเครื่องตรวจสอบ1 เดือน ย้ำไม่ย้ายออกแน่ เพราะลงทุนนับแสนล้าน อยู่มาก่อนชุมชน
เมื่อเวลา07.20 น. วันพุธ ได้เกิดเหตุไม่คาดฝันกลางกรุง เมื่อท่อส่งน้ำมันบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริเวณหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 ภายในซอยสุขุมวิท 64 ถนนริมทางรถไฟสายเก่า แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม. ได้เกิดระเบิดขึ้น ซึ่งแรงระเบิดส่งผลให้เกิดกลุ่มหมอกควันหนามืด และแสงเพลิงพวยพุ่งท่วมสูงออกจากหอแยกน้ำมันก๊าด เจ้าหน้าที่ต้องใช้น้ำฉีดสกัดกั้นเพลิงเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายลุกลาม ในขณะที่เจ้าหน้าที่บางจากได้สกัดกั้นเพลิงเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายลุกลาม ในขณะที่เจ้าหน้าที่บางจากได้ทำการปิดวาล์วท่อส่งน้ำมันและก๊าซเพื่อไม่ให้มีน้ำมันและก๊าซไหลเข้าไปเพิ่มเติม ก่อนฉีดน้ำและโฟมเพื่อหล่อความเย็นเอาไว้โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที จึงควบคุมเพลิงไว้ได้ และจากการตรวจพบว่าท่อส่งน้ำมันได้รับความเสียหาย ต้องหยุดการผลิตเป็นการชั่วคราว
นายสมควร บุญเพชร อายุ 83 ปี กล่าวว่า อยู่ในชุมชนนี้มา 40 ปีแล้ว โดยช่วงเช้าที่กำลังขายของอยู่ก็ได้เกิดเสียงระเบิดดังสนั่นขึ้น 1 ครั้ง บ้านสั่นสะเทือนไปทั้งหลัง รู้สึกตกใจกลัวไม่ทราบว่าเสียงอะไรมาจากไหน จากนั้นก็มีชาวบ้านตะโกนให้หนีออกมาจากบ้าน เมื่อออกมาก็เห็นควันดำโขมงลอยออกจากโรงกลั่น
"รู้สึกกลัวมาก เพราะบ้านอยู่ใกล้โรง กลั่นน้ำมัน ต่อในอนาคตไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นอีก ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยระเบิดมา 1 ครั้ง แต่ไม่รุนแรงเท่าครั้งนี้" นายสมควรกล่าว
ต่อมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่บริ หาร กทม. ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมระบุว่า จะยังให้รถน้ำและทีมอนามัยของ หาร กทม. ได้เดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมระบุว่า จะยังให้รถน้ำและทีมอนามัยของ กทม.อยู่ก่อน เพื่อตรวจดูความเรียบร้อยและตรวจสอบสภาพความเสียหายทั้งในบริษัทและชุมชนโดยรอบ เพื่อให้ประชาชนรอบพื้นที่ได้รับความอุ่นใจ
"มาตรการต่อไปในเรื่องที่ว่าโรงกลั่นอยู่ในชุมชนเมือง ก็จะได้พูดคุยกับบริษัทว่าจะสามารถย้ายออกไปตั้งในพื้นที่อื่นได้หรือไม่แต่นี่ก็ยังเป็นเพียงความคิดเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่ได้ดำเนินการอะไร" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าว
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากฯ กล่าวว่า สาเหตุระเบิดครั้งนี้เกิดจากการติดไฟที่หอแยกน้ำมันก๊าซในหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 ขนาดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 80,000 บาร์เรลต่อวัน ตั้งอยู่ใกล้กับหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 2 กำลังการผลิต 40,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งมีการรั่วไหลของก๊าซและน้ำมัน แต่ยังไม่ทราบจุดรั่วไหลที่แน่นอน ต้องรอให้ตัวหอที่เกิดเพลิงไหม้เย็นลงก่อน จึงจะเข้าไปตรวจสอบได้ ซึ่งเหตุดังกล่าวเกิดหลังจากที่บางจากปิดดำเนินซ่อมแซมและกลับมาดำเนินการตามปกติเพียง 10 วันเท่านั้น
นายอนุสรณ์กล่าวอีกว่า เบื้องต้นจะหยุดเดินเครื่องผลิตหน่วยกลั่นที่2 และหน่วยไฮโดรแครกเกอร์เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนเปิดตามปกติ ส่วนหน่วยกลั่นที่ 3 จะหยุดตรวจสอบ 1 เดือน ซึ่งจุดเกิดเหตุอยู่ในส่วนหอน้ำมันตามปกติ ส่วนหน่วยกลั่นที่ 3 จะหยุดตรวจสอบ 1 เดือน ซึ่งจุดเกิดเหตุอยู่ในส่วนหอน้ำมันเครื่องบินและน้ำมันก๊าดน้ำมันเครื่องบินหากพบว่าซ่อมแซมได้จะใช้เวลา 1-2 เดือน งบประมาณ 20-30 ล้านบาท แต่หากสร้างหอ กลั่นใหม่จะใช้งบกว่า 100 ล้านบาท และใช้เวลาก่อสร้างอย่างน้อยที่สุด 3 เดือน
"อุบัติเหตุครั้งนี้กระทบต่อรายได้ให้หายไป 500-600 ล้านบาทต่อปี แต่หากเทียบกับกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย และค่าเสื่อมรายได้จะหายไป 300-400 ล้านบาทต่อปี ซึ่งกระทบไม่มากนัก เพราะมีประกันด้านอุปกรณ์ แล้วยังมีประกันชดเชยรายได้ที่หายไปด้วย" นายอนุสรณ์กล่าว และว่า การหยุดดำเนินการของหน่วยกลั่นที่ 3 จะทำให้กำลังการผลิตของบางจากหายไป 2 ใน 3 ส่วน ทำให้ต้องลดการส่งออกเพื่อลดผลกระทบการใช้น้ำมันในประเทศ
สำหรับกรณีผู้ว่าฯ กทม.หวังให้โรงกลั่น ย้ายออกจากพื้นที่ชุมชนนั้น นายอนุสรณ์กล่าวว่า ไม่มีแผนย้ายออก เนื่องจากได้ลงทุนมากกว่า 1 แสนล้านบาท และการตั้งโรงกลั่นในเขตเมืองก็เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับผู้ใช้น้ำมันในเมือง อีกทั้งโรงกลั่นมีการตั้งในพื้นที่มากว่า 50 ปี ตั้งมาก่อนที่ชุมชน แต่เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ได้ส่งพนักงานกว่า 200 คนลงพื้นที่แจกเอกสารและทำความเข้าใจกับชาวบ้านแล้ว
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า จากการเข้าไปตรวจสอบโรงกลั่นบาง จาก เชื่อว่าเกิดจากเหตุไม่คาดฝันไม่ได้เกิดจากการบริหารหรืออุปกรณ์ไม่ดี และได้ประสานกับบริษัทไทยออยล์และไออาร์พีซีช่วยเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงที่ยอดการผลิตน้ำมันของบางจากหายไปในเดือน ก.ค.-ส.ค.2555 แล้ว
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้มีคำสั่งปิดโรงกลั่นหน่วยที่ 3 ประมาณ 30 วัน ตามมาตรา 39 พระราชบัญญัติโรงงาน และกระทรวงจะมีการทบทวนแผนประเมินความเสี่ยงโรงงานใน ความดูแลของกระทรวงใหม่ทั้งหมด เนื่องจากที่ผ่านมามีเหตุการณ์หลายครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์ มาบตาพุดจนถึงบางจาก
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่ม ปตท.พร้อมจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ เพื่อทดแทนปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่อาจลดลงตามกำลังการผลิตของบางจากที่อาจต้องหยุดการกลั่น 1 แสนบาร์เรลต่อวันแสนบาร์เรลต่อวัน
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า เร็วๆ นี้คงต้องหารือกับ รมว.พลังงาน ว่าจะมีแนวทางป้องกันในระยะยาวอย่างไร เช่น อาจต้องย้ายชุมชนให้ห่างจากโรงกลั่นประมาณ 100-200 เมตร หรือย้ายโรงกลั่นเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม แต่คงทำได้ยาก เพราะโรงกลั่นมีการก่อสร้างก่อนที่ชุมชนจะย้ายเข้ามาอาศัยอยู่
ด้าน น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเมื่อวันที่4 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้รับทราบรายงานสถานการณ์การระเบิดโรงกลั่นน้ำมันบางจาก โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วง และได้สั่งการให้กระทรวงพลังงานไปสรุปรายละเอียดข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทั้งหมดมารายงานอีกครั้ง และยังกำชับให้ดูผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วยว่าเป็นอย่างไร และมีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไรด้วย.
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 334
ก.ย.นี้สรุปท่อส่งน้ำมันเหนือ-อีสาน
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, July 05, 2012
วีระพล จิรประดิษฐกุลกระทรวงพลังงาน เร่งสรุปแนวทางลงทุนท่อส่งน้ำมันเหนือ-อีสานภายในเดือนกันยายนนี้ ลั่นหาก ครม.ไฟเขียวก็พร้อมลงทุนทันที ขณะที่ปตท.ยังลังเลที่จะเข้าลงทุน ต้องรอความชัดเจนนโยบายของภาครัฐก่อน
แต่ยังสนใจซื้อหุ้นแทปไลน์เพิ่มไว้เตรียมพร้อม ส่วนผลการศึกษาเบื้องต้นชี้ภาครัฐไม่มีความชำนาญเข้าไปลงทุน และต้องหาทางออกให้รถบรรทุกหากต้องตกงาน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า แผนศึกษาการลงทุนท่อส่งน้ำมันไปยังภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ที่กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นนั้น จะได้ข้อสรุปแนวทางการลงทุนภายในเดือนกันยายน2555 นี้ เนื่องจากการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายยังไม่มีความชัดเจนว่าจะให้ภาครัฐหรือเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ โดยเฉพาะบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)(บมจ.) ที่ก่อนหน้านี้ยืนยันจะรับไปดำเนินการ แต่ก็ยังติดปัญหาการเพิ่มสัดส่วนหุ้นในบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือแทปไลน์ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ลงตัว ซึ่งหากแนวทางการลงทุนดังกล่าวได้ข้อสรุปแล้ว จะเร่งนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) และเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป หากมีมติเห็นชอบก็พร้อมลงทุนทันที
ทั้งนี้ การศึกษาความคุ้มค่าการลงทุนท่อส่งน้ำมันดังกล่าว เชื่อว่าจะทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้ เพราะปัจจุบันต้องใช้รถบรรทุกในการขนส่งน้ำมันคิดมูลค่าหลายล้านบาทต่อเดือน รวมทั้งยังมีความปลอดภัยในการขนส่งน้ำมันด้วย แต่ยอมรับว่าต้นทุนการวางท่อส่งน้ำมันจะสูงกว่า 1 เท่า เมื่อเทียบกับการขนส่งน้ำมันทางรถบรรทุก ซึ่งเหตุผลดังกล่าวทำให้แทปไลน์ ไม่สามารถแข่งขันกับรถบรรทุกได้ ขณะเดียวกันเรื่องความปลอดภัยหากนำมาคำนวณเป็นวงเงินก็คงลำบาก
"การลงทุนท่อส่งน้ำมันมีแต่ข้อดี เพราะสามารถลดต้นทุนลงทุน เช่น ท่อส่งน้ำมันจากขอนแก่นไป ลำปาง ก็จะทำให้น้ำมันปลายท่อราคาเท่ากับสระบุรีได้ ซึ่งปลายท่อต้นทุนน้ำมันจะถูกลง ทำให้ราคาขายปลีกถูกลงด้วย ส่วนเรื่องการวางท่อ คงไม่ใช่ปัญหา เนื่องจากสามารถวางท่อตามแนวถนนได้" นายวีระพล กล่าว
ส่วนความคืบหน้า บมจ.ปตท.ซื้อหุ้นในแทปไลน์เพิ่มนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของ บมจ.ปตท. แต่จะทำอย่างไรให้ บมจ.ปตท.กับแทปไลน์บริหารร่วมกันได้ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการหารือร่วมกันไปแล้ว และในเร็วๆนี้จะมีการหารือกันอีก เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการลงทุนท่อส่งน้ำมัน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยว่า บมจ.ปตท.ยังสนใจที่จะเข้าซื้อหุ้นแทปไลน์เพิ่ม แต่ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ โดย บมจ.ปตท. พร้อมปฏิบัติตามนโยบายรัฐ ทั้งนี้มองว่าการลงทุนท่อส่งน้ำมันเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากช่วยประหยัดต้นทุน มีความปลอดภัยสูง ค่าบำรุงรักษาต่ำเมื่อเทียบกับการขนส่งทางถนน
ขณะเดียวกันหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่นน้ำท่วม ก็สามารถส่งน้ำมันไปยังพื้นที่ต่างๆได้ อย่างไรก็ตาม ปตท.ต้องการความชัดเจน แนวทางการลงทุนจากภาครัฐก่อน เพราะปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนทั้งเรื่องปริมาณและเงินลงทุน
"การขนส่งระบบท่อ ทั่วโลกใช้กัน เนื่องจากประสิทธิภาพการขนส่งสูง ส่วนการลงทุนท่อส่งน้ำมันเพิ่มเติมนั้นต้องรอนโยบายรัฐที่จะมอบหมายให้ บมจ.ปตท. ก่อน จากนั้นจะมีการเตรียมเงินลงทุนดังกล่าว" นายสุรงค์ กล่าว
ดร.เรืองศักดิ์ ฐิติรัตน์สกุล รองผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การศึกษาการลงทุนท่อส่งน้ำมันจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งระยะเวลาในศึกษา 4 เดือน (มิถุนายน-กันยายน 2555) ซึ่งแนวทางการศึกษาจะต้องพิจารณาในแง่เศรษฐศาสตร์
โดยแบ่งเป็น 1.เศรษฐศาสตร์ต่อผู้ลงทุน ซึ่งภาพยังไม่ชัดว่าใครจะเป็นผู้ลงทุน อาทิ แทปไลน์ บมจ.ปตท. หรือเอกชนรายอื่นที่จะเข้ามาลงทุนดังกล่าว แต่ไม่น่าจะใช่ภาครัฐที่จะเข้ามาลงทุน เนื่องจากรัฐไม่มีความชำนาญดังกล่าว แต่อาจจะจัดสรรงบประมาณให้บริษัทเอกชนที่รัฐเข้าไปถือหุ้น เป็นผู้ลงทุน
2.เศรษฐศาสตร์ต่อประเทศและประชาชน ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าเมื่อเดินท่อส่งน้ำมันและประเทศจะได้อะไร และประชาชนจะได้อะไร และ3.ต้องพิจารณาผลกระทบต่อผู้ประกอบการรถขนส่งน้ำมันด้วย เพราะหากมีท่อส่งน้ำมันแล้ว ผู้ประกอบการเหล่านี้จะมีทางออกอย่างไร นอกจากนี้หากภาครัฐต้องการให้ บมจ.ปตท. เป็นผู้ควบคุม ก็ต้องสามารถอธิบายกับประชาชนได้ด้วย
"หากโครงการขยายท่อส่งน้ำมันเกิดขึ้น เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศ เพราะจะเป็นทางเลือกในการขนส่งน้ำมัน แต่จะต้องไม่สร้างผลกระทบให้กับผู้ประกอบการรถขนส่ง จะต้องมีทางออกให้กับผู้ประกอบการที่มีรถบรรทุกเป็นหมื่นคัน เพราะทับเส้นทางการเดินรถของผู้ประกอบการดังกล่าว" ดร.เรืองศักดิ์ กล่าว
นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบายการสร้างท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนก่อนในช่วงปี 2554 โดยได้สั่งการให้ บมจ.ปตท.ไประดมซื้อหุ้นแทปไลน์ เพิ่มเติมให้เกินกว่า 50% จากปัจจุบันที่ บมจ.ปตท.ถืออยู่ 30% เพื่อให้ ปตท.มีสิทธิ์เสียงข้างมากในการบริหารแทปไลน์ ซึ่งผลการศึกษาเดิมที่กรมธุรกิจพลังงานเคยศึกษาท่อส่งน้ำมันทั้ง 2 เส้นทางจะใช้เงินลงทุนประมาณ 13,700-15,200 ล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,754 5-7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, July 05, 2012
วีระพล จิรประดิษฐกุลกระทรวงพลังงาน เร่งสรุปแนวทางลงทุนท่อส่งน้ำมันเหนือ-อีสานภายในเดือนกันยายนนี้ ลั่นหาก ครม.ไฟเขียวก็พร้อมลงทุนทันที ขณะที่ปตท.ยังลังเลที่จะเข้าลงทุน ต้องรอความชัดเจนนโยบายของภาครัฐก่อน
แต่ยังสนใจซื้อหุ้นแทปไลน์เพิ่มไว้เตรียมพร้อม ส่วนผลการศึกษาเบื้องต้นชี้ภาครัฐไม่มีความชำนาญเข้าไปลงทุน และต้องหาทางออกให้รถบรรทุกหากต้องตกงาน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า แผนศึกษาการลงทุนท่อส่งน้ำมันไปยังภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ที่กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นนั้น จะได้ข้อสรุปแนวทางการลงทุนภายในเดือนกันยายน2555 นี้ เนื่องจากการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายยังไม่มีความชัดเจนว่าจะให้ภาครัฐหรือเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ โดยเฉพาะบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)(บมจ.) ที่ก่อนหน้านี้ยืนยันจะรับไปดำเนินการ แต่ก็ยังติดปัญหาการเพิ่มสัดส่วนหุ้นในบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือแทปไลน์ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ลงตัว ซึ่งหากแนวทางการลงทุนดังกล่าวได้ข้อสรุปแล้ว จะเร่งนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) และเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป หากมีมติเห็นชอบก็พร้อมลงทุนทันที
ทั้งนี้ การศึกษาความคุ้มค่าการลงทุนท่อส่งน้ำมันดังกล่าว เชื่อว่าจะทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้ เพราะปัจจุบันต้องใช้รถบรรทุกในการขนส่งน้ำมันคิดมูลค่าหลายล้านบาทต่อเดือน รวมทั้งยังมีความปลอดภัยในการขนส่งน้ำมันด้วย แต่ยอมรับว่าต้นทุนการวางท่อส่งน้ำมันจะสูงกว่า 1 เท่า เมื่อเทียบกับการขนส่งน้ำมันทางรถบรรทุก ซึ่งเหตุผลดังกล่าวทำให้แทปไลน์ ไม่สามารถแข่งขันกับรถบรรทุกได้ ขณะเดียวกันเรื่องความปลอดภัยหากนำมาคำนวณเป็นวงเงินก็คงลำบาก
"การลงทุนท่อส่งน้ำมันมีแต่ข้อดี เพราะสามารถลดต้นทุนลงทุน เช่น ท่อส่งน้ำมันจากขอนแก่นไป ลำปาง ก็จะทำให้น้ำมันปลายท่อราคาเท่ากับสระบุรีได้ ซึ่งปลายท่อต้นทุนน้ำมันจะถูกลง ทำให้ราคาขายปลีกถูกลงด้วย ส่วนเรื่องการวางท่อ คงไม่ใช่ปัญหา เนื่องจากสามารถวางท่อตามแนวถนนได้" นายวีระพล กล่าว
ส่วนความคืบหน้า บมจ.ปตท.ซื้อหุ้นในแทปไลน์เพิ่มนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของ บมจ.ปตท. แต่จะทำอย่างไรให้ บมจ.ปตท.กับแทปไลน์บริหารร่วมกันได้ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการหารือร่วมกันไปแล้ว และในเร็วๆนี้จะมีการหารือกันอีก เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการลงทุนท่อส่งน้ำมัน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยว่า บมจ.ปตท.ยังสนใจที่จะเข้าซื้อหุ้นแทปไลน์เพิ่ม แต่ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ โดย บมจ.ปตท. พร้อมปฏิบัติตามนโยบายรัฐ ทั้งนี้มองว่าการลงทุนท่อส่งน้ำมันเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากช่วยประหยัดต้นทุน มีความปลอดภัยสูง ค่าบำรุงรักษาต่ำเมื่อเทียบกับการขนส่งทางถนน
ขณะเดียวกันหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่นน้ำท่วม ก็สามารถส่งน้ำมันไปยังพื้นที่ต่างๆได้ อย่างไรก็ตาม ปตท.ต้องการความชัดเจน แนวทางการลงทุนจากภาครัฐก่อน เพราะปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนทั้งเรื่องปริมาณและเงินลงทุน
"การขนส่งระบบท่อ ทั่วโลกใช้กัน เนื่องจากประสิทธิภาพการขนส่งสูง ส่วนการลงทุนท่อส่งน้ำมันเพิ่มเติมนั้นต้องรอนโยบายรัฐที่จะมอบหมายให้ บมจ.ปตท. ก่อน จากนั้นจะมีการเตรียมเงินลงทุนดังกล่าว" นายสุรงค์ กล่าว
ดร.เรืองศักดิ์ ฐิติรัตน์สกุล รองผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การศึกษาการลงทุนท่อส่งน้ำมันจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งระยะเวลาในศึกษา 4 เดือน (มิถุนายน-กันยายน 2555) ซึ่งแนวทางการศึกษาจะต้องพิจารณาในแง่เศรษฐศาสตร์
โดยแบ่งเป็น 1.เศรษฐศาสตร์ต่อผู้ลงทุน ซึ่งภาพยังไม่ชัดว่าใครจะเป็นผู้ลงทุน อาทิ แทปไลน์ บมจ.ปตท. หรือเอกชนรายอื่นที่จะเข้ามาลงทุนดังกล่าว แต่ไม่น่าจะใช่ภาครัฐที่จะเข้ามาลงทุน เนื่องจากรัฐไม่มีความชำนาญดังกล่าว แต่อาจจะจัดสรรงบประมาณให้บริษัทเอกชนที่รัฐเข้าไปถือหุ้น เป็นผู้ลงทุน
2.เศรษฐศาสตร์ต่อประเทศและประชาชน ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าเมื่อเดินท่อส่งน้ำมันและประเทศจะได้อะไร และประชาชนจะได้อะไร และ3.ต้องพิจารณาผลกระทบต่อผู้ประกอบการรถขนส่งน้ำมันด้วย เพราะหากมีท่อส่งน้ำมันแล้ว ผู้ประกอบการเหล่านี้จะมีทางออกอย่างไร นอกจากนี้หากภาครัฐต้องการให้ บมจ.ปตท. เป็นผู้ควบคุม ก็ต้องสามารถอธิบายกับประชาชนได้ด้วย
"หากโครงการขยายท่อส่งน้ำมันเกิดขึ้น เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศ เพราะจะเป็นทางเลือกในการขนส่งน้ำมัน แต่จะต้องไม่สร้างผลกระทบให้กับผู้ประกอบการรถขนส่ง จะต้องมีทางออกให้กับผู้ประกอบการที่มีรถบรรทุกเป็นหมื่นคัน เพราะทับเส้นทางการเดินรถของผู้ประกอบการดังกล่าว" ดร.เรืองศักดิ์ กล่าว
นายศิริศักดิ์ วิทยอุดม รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบายการสร้างท่อส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนก่อนในช่วงปี 2554 โดยได้สั่งการให้ บมจ.ปตท.ไประดมซื้อหุ้นแทปไลน์ เพิ่มเติมให้เกินกว่า 50% จากปัจจุบันที่ บมจ.ปตท.ถืออยู่ 30% เพื่อให้ ปตท.มีสิทธิ์เสียงข้างมากในการบริหารแทปไลน์ ซึ่งผลการศึกษาเดิมที่กรมธุรกิจพลังงานเคยศึกษาท่อส่งน้ำมันทั้ง 2 เส้นทางจะใช้เงินลงทุนประมาณ 13,700-15,200 ล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,754 5-7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 335
PTTGCเร่งขยายธุรกิจ
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, July 06, 2012
กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--ข่าวหุ้น
ลงทุน10ปี3.4แสนล้าน
PTTGC ตั้งงบลงทุน 10 ปีข้างหน้า (55-63) 1.1 หมื่นล้านเหรียญ หรือกว่า 3.41 แสนล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิต และรุกเข้าสู่ตลาดสินค้าเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ หวังเพิ่มมาร์จิ้นสินค้า เผยปี 63 รายได้แตะ 3.5 หมื่นล้านเหรียญ
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC กล่าวว่า บริษัทตั้งงบลงทุนปี 2555-2563 อยู่ในระดับ 1.1 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งจะเป็นการลงทุนในส่วนการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการเกิดผลประโยชน์ร่วม (Synergy) และการขยายกำลังการผลิตแบบคอขวด (debottleneck) ที่เริ่มแล้วในปีนี้ โดยอยู่ในส่วนของเงินลงทุน 1.7 หมื่นล้านบาทในปีนี้ สำหรับวิกฤตยุโรปที่กระทบต่อราคาน้ำมันให้ผันผวนนั้น ทำให้บริษัทจะมีการจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนเป็นหลัก
โดยคาดว่าการขยายกำลังการผลิตแบบคอขวดดังกล่าว จะเพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกอีกราว 7-8 หมื่นตันต่อปี ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2557
"เราทบทวนเพื่อจัดทำ priority ranking จะเห็นว่าธุรกิจที่เป็น synergy ที่เกิดจากการควบรวมพวกนี้ให้ผลตอบแทนดี ลงทุนไม่มาก อันนี้เราต้องเดินหน้า ส่วนการลงทุนใหม่ที่ยังไม่มีการ commit ก็ยังมีเวลาที่จะดู ซึ่งเรายังวางเป้าหมายการลงทุนในช่วง 10 ปีจนถึงปี 63 ในระดับ 1.1 หมื่นล้านเหรียญ" นายอนนต์ กล่าว
ส่วนการลงทุนที่เหลือนั้นส่วนใหญ่ยังไม่ได้ตกลงเป็นทางการ แต่มีแผนที่จะทำ ได้แก่ การสร้างโรงโอเลฟินส์แห่งใหม่ ขนาด 1 ล้านตัน/ปี จะใช้เงินลงทุนราว 3 พันล้านเหรียญ ซึ่งกำลังศึกษาพื้นที่ที่จะลงทุนว่าจะเป็นภูมิภาคใด
นอกจากนี้ จะลงทุนตั้งโรงงานผลิตไบโอพลาสติกแห่งที่สองในภูมิภาคภายใน 5 ปี ข้างหน้า โดยเห็นว่าไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพการลงทุน รวมถึงมีแผนจะลงทุนในธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (Specialties) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลาย ที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อย่างเช่น ยานยนต์ ก่อสร้าง พลาสติกเชิงวิศวกรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มมาร์จิ้น
ขณะที่บริษัทยังตั้งเป้าหมายว่าในปี 2563 บริษัทจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็นระดับ 3.5 หมื่นล้านเหรียญ หลังมีแผนจะรุกตลาดสินค้าไฮเอนด์ และมองรายได้ปีนี้จะใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่ 1.7-1.8 หมื่นล้านเหรียญ เนื่องจากมองว่าราคาน้ำมัน และราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/55 เบื้องต้นอาจต้องเผชิญกับผลขาดทุนสุทธิราว 1.5 พันล้านบาท เทียบกับงวดไตรมาส 1/55 ที่เป็นกำไรสุทธิ 9.8 พันล้านบาท โดยเป็นผลจากการบันทึกขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน และผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์รวมราว 5.4 พันล้านบาท ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบอ้างอิงดูไบเฉลี่ยในเดือนมิ.ย. 2555 เท่ากับ 95 เหรียญต่อบาร์เรล เทียบกับงวดไตรมาส 1/55 ที่บันทึกเป็นกำไรจากสต๊อกฯรวมราว 3 พันล้านบาท
อีกทั้งคาดในงวดไตรมาส 2/55 จะบันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกราว 700 ล้านบาท จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง 2.7% จากไตรมาสก่อน หากพิจารณากำไรปกติ (Norm Profit) พบว่า ค่อนข้างทรงตัวใกล้เคียงกับงวดที่ผ่านมาที่ 5 พันล้านบาท เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการกลับมาเดินเครื่องของโรงงานอะโรเมติกส์ 2 และโรงงานโอเลฟินส์ I4-2 ที่ในงวดไตรมาส1/55 ได้มีการหยุดซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 40 วัน ซึ่งสามารถหักล้างได้กับคาดการณ์ Spread ผลิตภัณฑ์เฉลี่ยสายอะโรเมติกส์ที่จะปรับตัวลดลงราว 25% จากไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 430 และ 130 เหรียญต่อตัน
สำหรับ Spread (PX-Condensate) และ Spread (BZ-Condensate) ตามลำดับ ตามการปรับตัวลดลงของราคาผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญในช่วงเดือนมิ.ย. 2555 ขณะที่ Spread ผลิตภัณฑ์สายโอเลฟินส์เฉลี่ยยังทรงตัวได้ เช่นเดียวกับค่าการกลั่น (Market GRM) ในงวดไตรมาส 2/55 คาดว่าจะทรงตัวได้ใกล้เคียงกับงวดไตรมาส 1/55 ราว 5 เหรียญต่อบาร์เรล เนื่องจากยังได้รับอานิสงส์จากการหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงประจำปีของโรงกลั่นหลายแห่งในภูมิภาค
โดยรวมแล้วคาดการณ์กำไรสุทธิครึ่งปีแรก เท่ากับ 8.3 พันล้านบาท ลดลงถึง 57.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วน 21% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2555 ประเมินไว้เดิมปรับลดประมาณการปี 2555-2556 สะท้อน Stock Loss และ Spread ที่ลดลง
ขณะที่ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2555-2556 เพื่อสะท้อนการคาดการณ์การบันทึกขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญในงวดไตรมาส 2/55 ดังกล่าวข้างต้น ปรับลดสมมติฐานค่าการกลั่น (Market GRM) เฉลี่ยทั้งปี 2555-2556 เหลือ 4.5 เหรียญต่อบาร์เรล จากเดิม 5 เหรียญต่อบาร์เรล เพื่อสะท้อนสถานการณ์ค่าการกลั่นในช่วงครึ่งปีแรกที่ช่วงฤดูกาล (Seasonal) ทั้งฤดูหนาว และฤดูกาลขับขี่ในสหรัฐไม่ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น เช่นที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา
อีกทั้งในช่วงครึ่งปีหลัง โดยปกติแล้วจะเป็นช่วง Low season ซึ่งค่าการกลั่นจะอ่อนตัวกว่าช่วงครึ่งแรกของปี และปรับลดสมมติฐานราคาผลิตภัณฑ์เอทิลีน และ HDPE ในปี 2555-2556 สะท้อนความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ขั้นปลายที่อ่อนตัวลงโดยเฉพาะในจีน ส่งผลให้ประมาณการปี 2555 และ 2556 ใหม่ปรับตัวลดลงถึง 36.1% และ 26.7% จากเดิม
ดังนั้น ประมาณการใหม่ มูลค่าพื้นฐานปี 2555 อ้างอิง DCF เท่ากับ 72.6 บาทต่อหุ้น จากเดิม 87.29 บาทต่อหุ้น โดยอ้างอิง PER ที่ 10 เท่า โดยยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่เน้นให้เข้าลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว เพื่อลดผลกระทบจากการปรับฐานของตลาด อีกทั้งในระยะสั้นยังมีปัจจัยกดดันจากปรับสูตรโครงสร้างการคำนวณส่วนแบ่งกำไร (Profit Sharing ในฐานะที่ PTT เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบก๊าซอีเทนจากโรงแยกก๊าซฯให้โรงงานแครกเกอร์ของ PTTGC เพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์) ระหว่าง PTTGC และ PTT ใหม่ โดยเอื้อประโยชน์ให้ PTT มากขึ้น
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, July 06, 2012
กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--ข่าวหุ้น
ลงทุน10ปี3.4แสนล้าน
PTTGC ตั้งงบลงทุน 10 ปีข้างหน้า (55-63) 1.1 หมื่นล้านเหรียญ หรือกว่า 3.41 แสนล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิต และรุกเข้าสู่ตลาดสินค้าเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ หวังเพิ่มมาร์จิ้นสินค้า เผยปี 63 รายได้แตะ 3.5 หมื่นล้านเหรียญ
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC กล่าวว่า บริษัทตั้งงบลงทุนปี 2555-2563 อยู่ในระดับ 1.1 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งจะเป็นการลงทุนในส่วนการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการเกิดผลประโยชน์ร่วม (Synergy) และการขยายกำลังการผลิตแบบคอขวด (debottleneck) ที่เริ่มแล้วในปีนี้ โดยอยู่ในส่วนของเงินลงทุน 1.7 หมื่นล้านบาทในปีนี้ สำหรับวิกฤตยุโรปที่กระทบต่อราคาน้ำมันให้ผันผวนนั้น ทำให้บริษัทจะมีการจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนเป็นหลัก
โดยคาดว่าการขยายกำลังการผลิตแบบคอขวดดังกล่าว จะเพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกอีกราว 7-8 หมื่นตันต่อปี ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2557
"เราทบทวนเพื่อจัดทำ priority ranking จะเห็นว่าธุรกิจที่เป็น synergy ที่เกิดจากการควบรวมพวกนี้ให้ผลตอบแทนดี ลงทุนไม่มาก อันนี้เราต้องเดินหน้า ส่วนการลงทุนใหม่ที่ยังไม่มีการ commit ก็ยังมีเวลาที่จะดู ซึ่งเรายังวางเป้าหมายการลงทุนในช่วง 10 ปีจนถึงปี 63 ในระดับ 1.1 หมื่นล้านเหรียญ" นายอนนต์ กล่าว
ส่วนการลงทุนที่เหลือนั้นส่วนใหญ่ยังไม่ได้ตกลงเป็นทางการ แต่มีแผนที่จะทำ ได้แก่ การสร้างโรงโอเลฟินส์แห่งใหม่ ขนาด 1 ล้านตัน/ปี จะใช้เงินลงทุนราว 3 พันล้านเหรียญ ซึ่งกำลังศึกษาพื้นที่ที่จะลงทุนว่าจะเป็นภูมิภาคใด
นอกจากนี้ จะลงทุนตั้งโรงงานผลิตไบโอพลาสติกแห่งที่สองในภูมิภาคภายใน 5 ปี ข้างหน้า โดยเห็นว่าไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพการลงทุน รวมถึงมีแผนจะลงทุนในธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (Specialties) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลาย ที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อย่างเช่น ยานยนต์ ก่อสร้าง พลาสติกเชิงวิศวกรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มมาร์จิ้น
ขณะที่บริษัทยังตั้งเป้าหมายว่าในปี 2563 บริษัทจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็นระดับ 3.5 หมื่นล้านเหรียญ หลังมีแผนจะรุกตลาดสินค้าไฮเอนด์ และมองรายได้ปีนี้จะใกล้เคียงกับปีที่แล้วที่ 1.7-1.8 หมื่นล้านเหรียญ เนื่องจากมองว่าราคาน้ำมัน และราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/55 เบื้องต้นอาจต้องเผชิญกับผลขาดทุนสุทธิราว 1.5 พันล้านบาท เทียบกับงวดไตรมาส 1/55 ที่เป็นกำไรสุทธิ 9.8 พันล้านบาท โดยเป็นผลจากการบันทึกขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน และผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์รวมราว 5.4 พันล้านบาท ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบอ้างอิงดูไบเฉลี่ยในเดือนมิ.ย. 2555 เท่ากับ 95 เหรียญต่อบาร์เรล เทียบกับงวดไตรมาส 1/55 ที่บันทึกเป็นกำไรจากสต๊อกฯรวมราว 3 พันล้านบาท
อีกทั้งคาดในงวดไตรมาส 2/55 จะบันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกราว 700 ล้านบาท จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง 2.7% จากไตรมาสก่อน หากพิจารณากำไรปกติ (Norm Profit) พบว่า ค่อนข้างทรงตัวใกล้เคียงกับงวดที่ผ่านมาที่ 5 พันล้านบาท เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการกลับมาเดินเครื่องของโรงงานอะโรเมติกส์ 2 และโรงงานโอเลฟินส์ I4-2 ที่ในงวดไตรมาส1/55 ได้มีการหยุดซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 40 วัน ซึ่งสามารถหักล้างได้กับคาดการณ์ Spread ผลิตภัณฑ์เฉลี่ยสายอะโรเมติกส์ที่จะปรับตัวลดลงราว 25% จากไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 430 และ 130 เหรียญต่อตัน
สำหรับ Spread (PX-Condensate) และ Spread (BZ-Condensate) ตามลำดับ ตามการปรับตัวลดลงของราคาผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญในช่วงเดือนมิ.ย. 2555 ขณะที่ Spread ผลิตภัณฑ์สายโอเลฟินส์เฉลี่ยยังทรงตัวได้ เช่นเดียวกับค่าการกลั่น (Market GRM) ในงวดไตรมาส 2/55 คาดว่าจะทรงตัวได้ใกล้เคียงกับงวดไตรมาส 1/55 ราว 5 เหรียญต่อบาร์เรล เนื่องจากยังได้รับอานิสงส์จากการหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมบำรุงประจำปีของโรงกลั่นหลายแห่งในภูมิภาค
โดยรวมแล้วคาดการณ์กำไรสุทธิครึ่งปีแรก เท่ากับ 8.3 พันล้านบาท ลดลงถึง 57.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วน 21% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2555 ประเมินไว้เดิมปรับลดประมาณการปี 2555-2556 สะท้อน Stock Loss และ Spread ที่ลดลง
ขณะที่ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2555-2556 เพื่อสะท้อนการคาดการณ์การบันทึกขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญในงวดไตรมาส 2/55 ดังกล่าวข้างต้น ปรับลดสมมติฐานค่าการกลั่น (Market GRM) เฉลี่ยทั้งปี 2555-2556 เหลือ 4.5 เหรียญต่อบาร์เรล จากเดิม 5 เหรียญต่อบาร์เรล เพื่อสะท้อนสถานการณ์ค่าการกลั่นในช่วงครึ่งปีแรกที่ช่วงฤดูกาล (Seasonal) ทั้งฤดูหนาว และฤดูกาลขับขี่ในสหรัฐไม่ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น เช่นที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา
อีกทั้งในช่วงครึ่งปีหลัง โดยปกติแล้วจะเป็นช่วง Low season ซึ่งค่าการกลั่นจะอ่อนตัวกว่าช่วงครึ่งแรกของปี และปรับลดสมมติฐานราคาผลิตภัณฑ์เอทิลีน และ HDPE ในปี 2555-2556 สะท้อนความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ขั้นปลายที่อ่อนตัวลงโดยเฉพาะในจีน ส่งผลให้ประมาณการปี 2555 และ 2556 ใหม่ปรับตัวลดลงถึง 36.1% และ 26.7% จากเดิม
ดังนั้น ประมาณการใหม่ มูลค่าพื้นฐานปี 2555 อ้างอิง DCF เท่ากับ 72.6 บาทต่อหุ้น จากเดิม 87.29 บาทต่อหุ้น โดยอ้างอิง PER ที่ 10 เท่า โดยยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่เน้นให้เข้าลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว เพื่อลดผลกระทบจากการปรับฐานของตลาด อีกทั้งในระยะสั้นยังมีปัจจัยกดดันจากปรับสูตรโครงสร้างการคำนวณส่วนแบ่งกำไร (Profit Sharing ในฐานะที่ PTT เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบก๊าซอีเทนจากโรงแยกก๊าซฯให้โรงงานแครกเกอร์ของ PTTGC เพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์) ระหว่าง PTTGC และ PTT ใหม่ โดยเอื้อประโยชน์ให้ PTT มากขึ้น
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 336
เปิดสัมปทานปิโตรฯใหม่หาแหล่งก๊าซสำรองใช้อนาคตคาดเงินลงทุนสะพัด4พันล้าน
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, July 06, 2012
โพสต์ทูเดย์ -ลุ้นเปิดสัมปทานปิโตรฯ รอบใหม่ เงินลงทุนสะพัดไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท
นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่าได้ส่งแผนเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ครั้งที่ 21 ให้นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน ลงนามก่อนเปิดให้ผู้สนใจยื่นขอสัมปทานได้มีทั้งหมด 21 แปลง ประเมินเบื้องต้นจะทำให้เกิดการลงทุนที่เกิดจากการสำรวจและขุดเจาะใน 3-4 ปีแรก ไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท
แปลงสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แปลง ภาคกลาง 6 แปลงและอ่าวไทย 5 แปลง ขั้นตอนหลังจาก รมว.พลังงาน ลงนามแล้วจะใช้เวลาพิจารณา 4-5 เดือน ก่อนที่จะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับสัมปทานต่อไป
กรมมั่นใจว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุน นอกจากจะทำให้มีเงินสะพัดจากการลงทุนสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมแล้ว ยังทำให้ไทยมีแหล่งสำรองปิโตรเลียมไว้ใช้ในอนาคตได้อย่างเพียงพอด้วย โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ
ปัจจุบันไทยมีความสามารถผลิตก๊าซได้อยู่ที่ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุต(ลบ.ฟุต)/วัน จะอยู่ในระดับนี้ไปอีก5 ปีข้างหน้า แต่หลังจากนั้นกำลังการผลิตจะเริ่มลดลง อัตราการใช้ก๊าซจะโตปีละ 4-5% จากที่ใช้อยู่วันละ 4,600 ล้าน ลบ.ฟุต และคาดการณ์จะใช้เติบโตเป็น 7,500 ล้านลบ.ฟุต/วัน ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยไทยยังนำเข้าก๊าซจากแหล่งพม่าและพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียอีกส่วนหนึ่ง จึงทำให้การใช้ก๊าซยังมีเพียงพอ
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ไทยต้องเร่งหาแหล่งปิโตรเลียมมารองรับกับความต้องการใช้ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต ล่าสุดคาดหวังว่าการเจรจาของกลุ่ม ปตท.สผ. จะมีปริมาณก๊าซเพิ่มขึ้นจากพม่า 1,000 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน จากแหล่งเอ็ม 3 หรือเอ็ม 9
ด้านความคืบหน้าการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เพื่อร่วมกันหาแหล่งปิโตรเลียม กระทรวงการต่างประเทศเตรียมเสนอกรอบเจรจาทั้งเรื่องพื้นที่และร่วมพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ
"ไทยจะพึ่งพาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศอย่างเดียวไม่ได้ เพราะนับจากนี้ยังไม่มีแหล่งใหม่ๆ ที่ตรวจพบ 2 แหล่งสุดท้ายที่จะเริ่มผลิตในปีนี้ คือ แหล่งปลาทอง 2 และแหล่งบงกชใต้ กำลังผลิต 320 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน แม้มีแผนจะเปิดสัมปทาน แต่ก็ต้องใช้เวลาและแนวทางที่เหมาะสม คือ ต้องหาแหล่งปิโตรเลียมต่างประเทศควบคู่ไปด้วย" นายทรงภพ กล่าว
--จบ--
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, July 06, 2012
โพสต์ทูเดย์ -ลุ้นเปิดสัมปทานปิโตรฯ รอบใหม่ เงินลงทุนสะพัดไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท
นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่าได้ส่งแผนเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ครั้งที่ 21 ให้นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน ลงนามก่อนเปิดให้ผู้สนใจยื่นขอสัมปทานได้มีทั้งหมด 21 แปลง ประเมินเบื้องต้นจะทำให้เกิดการลงทุนที่เกิดจากการสำรวจและขุดเจาะใน 3-4 ปีแรก ไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท
แปลงสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แปลง ภาคกลาง 6 แปลงและอ่าวไทย 5 แปลง ขั้นตอนหลังจาก รมว.พลังงาน ลงนามแล้วจะใช้เวลาพิจารณา 4-5 เดือน ก่อนที่จะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับสัมปทานต่อไป
กรมมั่นใจว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุน นอกจากจะทำให้มีเงินสะพัดจากการลงทุนสำรวจขุดเจาะปิโตรเลียมแล้ว ยังทำให้ไทยมีแหล่งสำรองปิโตรเลียมไว้ใช้ในอนาคตได้อย่างเพียงพอด้วย โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ
ปัจจุบันไทยมีความสามารถผลิตก๊าซได้อยู่ที่ 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุต(ลบ.ฟุต)/วัน จะอยู่ในระดับนี้ไปอีก5 ปีข้างหน้า แต่หลังจากนั้นกำลังการผลิตจะเริ่มลดลง อัตราการใช้ก๊าซจะโตปีละ 4-5% จากที่ใช้อยู่วันละ 4,600 ล้าน ลบ.ฟุต และคาดการณ์จะใช้เติบโตเป็น 7,500 ล้านลบ.ฟุต/วัน ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยไทยยังนำเข้าก๊าซจากแหล่งพม่าและพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียอีกส่วนหนึ่ง จึงทำให้การใช้ก๊าซยังมีเพียงพอ
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ไทยต้องเร่งหาแหล่งปิโตรเลียมมารองรับกับความต้องการใช้ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต ล่าสุดคาดหวังว่าการเจรจาของกลุ่ม ปตท.สผ. จะมีปริมาณก๊าซเพิ่มขึ้นจากพม่า 1,000 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน จากแหล่งเอ็ม 3 หรือเอ็ม 9
ด้านความคืบหน้าการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เพื่อร่วมกันหาแหล่งปิโตรเลียม กระทรวงการต่างประเทศเตรียมเสนอกรอบเจรจาทั้งเรื่องพื้นที่และร่วมพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ
"ไทยจะพึ่งพาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศอย่างเดียวไม่ได้ เพราะนับจากนี้ยังไม่มีแหล่งใหม่ๆ ที่ตรวจพบ 2 แหล่งสุดท้ายที่จะเริ่มผลิตในปีนี้ คือ แหล่งปลาทอง 2 และแหล่งบงกชใต้ กำลังผลิต 320 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน แม้มีแผนจะเปิดสัมปทาน แต่ก็ต้องใช้เวลาและแนวทางที่เหมาะสม คือ ต้องหาแหล่งปิโตรเลียมต่างประเทศควบคู่ไปด้วย" นายทรงภพ กล่าว
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 337
ไออาร์พีซีรายได้ไตรมาส 3 พุ่ง รับอานิสงส์บางจากปิดซ่อมโรงกลั่นหลังไฟไหม้ ย้ำปีนี้เดินหน้าลงทุนตาม
แผนเดิม แนวโน้มราคาน้ำมันขยับขึ้น จากสถานการณ์ตึงเครียด [ กรุงเทพธุรกิจ, 6 ก.ค. 55 ]
"ไออาร์พีซี" คาดรายได้ไตรมาส 3 พุ่งทันที 10% หลังเพิ่มกำลังการกลั่น 10-15% ทดแทนโรงกลั่น
บางจากที่ปิดซ่อมหลังไฟไหม้ แถมได้อานิสงส์รับน้ำมันจากแหล่งในประเทศที่มีราคาถูกมากลั่น ทำให้ต้นทุนลด
ลง เผยปีนี้ยังเดินหน้าลงทุนตามแผนเดิม เพราะส่วนใหญ่เป็นโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ไม่อ่อนไหวตาม
ราคาน้ำมัน ชี้อยู่ระหว่างผู้รับเหมาโครงการมูลค่า 900 ล้านดอลลาร์
แผนเดิม แนวโน้มราคาน้ำมันขยับขึ้น จากสถานการณ์ตึงเครียด [ กรุงเทพธุรกิจ, 6 ก.ค. 55 ]
"ไออาร์พีซี" คาดรายได้ไตรมาส 3 พุ่งทันที 10% หลังเพิ่มกำลังการกลั่น 10-15% ทดแทนโรงกลั่น
บางจากที่ปิดซ่อมหลังไฟไหม้ แถมได้อานิสงส์รับน้ำมันจากแหล่งในประเทศที่มีราคาถูกมากลั่น ทำให้ต้นทุนลด
ลง เผยปีนี้ยังเดินหน้าลงทุนตามแผนเดิม เพราะส่วนใหญ่เป็นโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ไม่อ่อนไหวตาม
ราคาน้ำมัน ชี้อยู่ระหว่างผู้รับเหมาโครงการมูลค่า 900 ล้านดอลลาร์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 338
วันที่/เวลา 06 ก.ค. 2555 17:47:13
หัวข้อข่าว รายงานความสำเร็จการร่วมลงทุนในบริษัท อูเบะ เคมิคอลส์ (เอเชีย) จำกัด (มหาชน)
หลักทรัพย์ IRPC
แหล่งข่าว IRPC
รายละเอียดแบบเต็ม ที่ http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
หัวข้อข่าว รายงานความสำเร็จการร่วมลงทุนในบริษัท อูเบะ เคมิคอลส์ (เอเชีย) จำกัด (มหาชน)
หลักทรัพย์ IRPC
แหล่งข่าว IRPC
รายละเอียดแบบเต็ม ที่ http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 339
ปตท.พร้อมลุยก๊าซไทย-เขมร
Source - ไทยโพสต์ (Th), Saturday, July 07, 2012
"ไพรินทร์" พร้อมพัฒนาแหล่งก๊าซฯ พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา หากรัฐบาลได้แนวทางกรอบเจรจาระหว่างกัน พร้อมเตรียมแผนเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันทดแทนส่วนที่หายไปของบางจาก
นายไพรินทร์ ชูโชติถา วร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า ปตท.อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมในการเข้าไปพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา โดยรูปแบบการลงทุนมีหลายแนวทาง อาทิ รูปแบบพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) ที่แบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกัน 50% ของการผลิตก๊าซฯ ที่ได้ ส่วนพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยเวียดนาม ใช้วิธีการลากเส้นแบ่งพื้นที่ระหว่างกัน ทั้งนี้ เห็นว่าไม่ว่าไทยและกัมพูชาจะใช้วิธีใดหากอยู่บนการเจรจาด้วยเหตุผลน่าจะได้ข้อยุติที่ดี
"พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชามีการศึกษากันมานาน และแนวโน้มไปในทางที่ดี โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งที่มีศักยภาพและน่าสนใจ และก็ไม่ต้องสร้างท่อใหม่เพราะมีท่อก๊าซฯ เชื่อมถึงกันอยู่แล้วแต่ก็ไม่ใช่ไทยประเทศเดียวที่เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ต่างประเทศก็มี โดยเฉพาะจีน กับเวียดนาม แต่ไทยมีประสบ การณ์ทั้งกับมาเลเซียและเวียดนามมาก่อนแล้ว เชื่อว่ากับกัมพูชาน่าจะเป็นไปในทางที่ดี" นายไพรินทร์กล่าว
ส่วนกรณีที่ บมจ.บาง จากปิโตรเลียม ประสบอุบัติ เหตุเพลิงไหม้หอกลั่นน้ำมันหน่วยที่ 3 นั้น ปตท.ได้ปรับแผนการผลิตใหม่เพื่อทดแทนกำลังการผลิตที่หายไปของบางจาก ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหา เพราะ ปตท.มีโรงกลั่นในเครือ 8-9 โรง ซึ่งนำมาทดแทนได้.
--จบ--
Source - ไทยโพสต์ (Th), Saturday, July 07, 2012
"ไพรินทร์" พร้อมพัฒนาแหล่งก๊าซฯ พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา หากรัฐบาลได้แนวทางกรอบเจรจาระหว่างกัน พร้อมเตรียมแผนเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันทดแทนส่วนที่หายไปของบางจาก
นายไพรินทร์ ชูโชติถา วร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า ปตท.อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมในการเข้าไปพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา โดยรูปแบบการลงทุนมีหลายแนวทาง อาทิ รูปแบบพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) ที่แบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกัน 50% ของการผลิตก๊าซฯ ที่ได้ ส่วนพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยเวียดนาม ใช้วิธีการลากเส้นแบ่งพื้นที่ระหว่างกัน ทั้งนี้ เห็นว่าไม่ว่าไทยและกัมพูชาจะใช้วิธีใดหากอยู่บนการเจรจาด้วยเหตุผลน่าจะได้ข้อยุติที่ดี
"พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชามีการศึกษากันมานาน และแนวโน้มไปในทางที่ดี โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งที่มีศักยภาพและน่าสนใจ และก็ไม่ต้องสร้างท่อใหม่เพราะมีท่อก๊าซฯ เชื่อมถึงกันอยู่แล้วแต่ก็ไม่ใช่ไทยประเทศเดียวที่เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ต่างประเทศก็มี โดยเฉพาะจีน กับเวียดนาม แต่ไทยมีประสบ การณ์ทั้งกับมาเลเซียและเวียดนามมาก่อนแล้ว เชื่อว่ากับกัมพูชาน่าจะเป็นไปในทางที่ดี" นายไพรินทร์กล่าว
ส่วนกรณีที่ บมจ.บาง จากปิโตรเลียม ประสบอุบัติ เหตุเพลิงไหม้หอกลั่นน้ำมันหน่วยที่ 3 นั้น ปตท.ได้ปรับแผนการผลิตใหม่เพื่อทดแทนกำลังการผลิตที่หายไปของบางจาก ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหา เพราะ ปตท.มีโรงกลั่นในเครือ 8-9 โรง ซึ่งนำมาทดแทนได้.
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 340
'ปตท.'จ่อชะลอลงทุนโครงการใหม่ห่วงเศรษฐกิจโลกทำป่วนมั่นใจน้ำมันกลับมาขึ้นอีก
Source - แนวหน้า (Th), Saturday, July 07, 2012
"ซีอีโอ ปตท." ฟันธงราคาน้ำมันครึ่งปีหลังแตะระดับ 100 เหรียญอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ร่วงตามเศรษฐกิจโลก เผยต้องระมัดระวังในเรื่องการลงทุนมากขึ้น โดยชะลอลงทุนใหม่ ยันพร้อมลงทุนในพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา"
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกว่า ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2555 ราคาน้ำมันดิบลดลงมากอยู่ในระดับที่ 80 เหรียญ สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ล่าสุดราคาเริ่มทยอยปรับขึ้นมาแล้ว มาอยู่ที่ ประมาณ 98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล คาดการณ์ว่าในไตรมาส 3 และ 4 ราคาน้ำมันก็น่าจะขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 100 กว่าเหรียญ สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งระดับราคาน้ำมันที่ขึ้นลงผันผวนอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้กลุ่มปตท.ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการบริหารความเสี่ยง
"วิกฤติเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป(อียู) นั้น จากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้กลุ่มปตท.ต้องระมัดระวังในเรื่องการลงทุนมากขึ้น โดยในส่วนของการลงทุนในโครงการใหม่คงไม่เพิ่มในขณะนี้ ส่วนการลงทุนในแผนเดิมจะลดลงหรือไม่ จะใช้เวลาพิจารณาดูความเหมาะสม"
ทั้งนี้กลุ่มปตท.ได้วางแผนการลงทุน 5 ปี ในช่วงปี 2555-2559 จะใช้เงินลงทุนรวม 357,996 ล้านบาท โดยจะลงทุนในปี 2555 นี้ประมาณ 91,467 ล้านบาท ซึ่งมีการลงทุนทั้งในธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ไฟฟ้า โดยประมาณ 54% จะเป็นการลงทุนในประเทศไทย และที่เหลือจะเป็นการลงทุนในต่างประเทศ
สำหรับการลงทุนในประเทศกัมพูชา ตนเองมองว่าอยู่ในทิศทางที่ดี เพราะเป็นพื้นที่บริเวณเดียวของไทยที่เหลืออยู่ และยังไม่ได้พัฒนาปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ ประกอบกับในท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ที่อยู่ในทะเลอยู่แล้ว สามารถต่อเชื่อมกับโครงการใหม่ได้ ส่วนปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากแหล่งพื้นที่คาบเกี่ยวไทยกัมพูชา จะนำไปใช้ได้ทั้งในฝั่งไทย และฝั่งกัมพูชา
ส่วนการลงทุนในกัมพูชาทาง กลุ่ม ปตท. พร้อมที่จะลงทุนทั้งในรูปแบบช่วยกันผลิตและแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่คาบ เกี่ยวคนละครึ่ง เหมือนกรณีลงทุนในพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา หรือลงทุนในรูปแบบพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-เวียดนาม ที่มีการแบ่งพื้นที่ให้มีความชัดเจนไปเลย แต่เห็นว่าสุดท้ายจะต้องอยู่บนผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ เพื่อที่จะได้ข้อยุติโดยเร็ว
ดร.ไพรินทร์ กล่าวว่า จากกรณีที่โรงกลั่นน้ำมันของ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้ถูกสั่งให้หยุดดำเนินการชั่วคราวนั้น ไม่ได้ส่งกระทบต่อการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท. เพราะทางกลุ่มปตท.เองนอกจากบางจากแล้วยังมีหุ้นหลายโรงกลั่นอย่างโรงกลั่นน้ำมันของ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จึงไม่เป็นที่ กังวลในเรื่องนี้
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ปตท.ได้เปิดโครงการ "ล้านดวงใจ ถวายแม่" เพื่อเทิดพระเกียรติและถวายความจงรักภักดีแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาส วันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม นี้ โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 กรกฎาคม-12 สิงหาคม 2555 โดยได้จัดทำเว็บไซต์ www.millionheartsforqueen.com ขึ้น เพื่อเชิญชวนประชาชนทุกคนร่วมแบ่งปันภาพประทับใจ และ คำสอนที่มีค่าของแม่ ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
Source - แนวหน้า (Th), Saturday, July 07, 2012
"ซีอีโอ ปตท." ฟันธงราคาน้ำมันครึ่งปีหลังแตะระดับ 100 เหรียญอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ร่วงตามเศรษฐกิจโลก เผยต้องระมัดระวังในเรื่องการลงทุนมากขึ้น โดยชะลอลงทุนใหม่ ยันพร้อมลงทุนในพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา"
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกว่า ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2555 ราคาน้ำมันดิบลดลงมากอยู่ในระดับที่ 80 เหรียญ สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ล่าสุดราคาเริ่มทยอยปรับขึ้นมาแล้ว มาอยู่ที่ ประมาณ 98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล คาดการณ์ว่าในไตรมาส 3 และ 4 ราคาน้ำมันก็น่าจะขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 100 กว่าเหรียญ สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งระดับราคาน้ำมันที่ขึ้นลงผันผวนอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้กลุ่มปตท.ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการบริหารความเสี่ยง
"วิกฤติเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป(อียู) นั้น จากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้กลุ่มปตท.ต้องระมัดระวังในเรื่องการลงทุนมากขึ้น โดยในส่วนของการลงทุนในโครงการใหม่คงไม่เพิ่มในขณะนี้ ส่วนการลงทุนในแผนเดิมจะลดลงหรือไม่ จะใช้เวลาพิจารณาดูความเหมาะสม"
ทั้งนี้กลุ่มปตท.ได้วางแผนการลงทุน 5 ปี ในช่วงปี 2555-2559 จะใช้เงินลงทุนรวม 357,996 ล้านบาท โดยจะลงทุนในปี 2555 นี้ประมาณ 91,467 ล้านบาท ซึ่งมีการลงทุนทั้งในธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ไฟฟ้า โดยประมาณ 54% จะเป็นการลงทุนในประเทศไทย และที่เหลือจะเป็นการลงทุนในต่างประเทศ
สำหรับการลงทุนในประเทศกัมพูชา ตนเองมองว่าอยู่ในทิศทางที่ดี เพราะเป็นพื้นที่บริเวณเดียวของไทยที่เหลืออยู่ และยังไม่ได้พัฒนาปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ ประกอบกับในท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ที่อยู่ในทะเลอยู่แล้ว สามารถต่อเชื่อมกับโครงการใหม่ได้ ส่วนปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากแหล่งพื้นที่คาบเกี่ยวไทยกัมพูชา จะนำไปใช้ได้ทั้งในฝั่งไทย และฝั่งกัมพูชา
ส่วนการลงทุนในกัมพูชาทาง กลุ่ม ปตท. พร้อมที่จะลงทุนทั้งในรูปแบบช่วยกันผลิตและแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่คาบ เกี่ยวคนละครึ่ง เหมือนกรณีลงทุนในพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา หรือลงทุนในรูปแบบพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-เวียดนาม ที่มีการแบ่งพื้นที่ให้มีความชัดเจนไปเลย แต่เห็นว่าสุดท้ายจะต้องอยู่บนผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ เพื่อที่จะได้ข้อยุติโดยเร็ว
ดร.ไพรินทร์ กล่าวว่า จากกรณีที่โรงกลั่นน้ำมันของ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้ถูกสั่งให้หยุดดำเนินการชั่วคราวนั้น ไม่ได้ส่งกระทบต่อการดำเนินงานของกลุ่ม ปตท. เพราะทางกลุ่มปตท.เองนอกจากบางจากแล้วยังมีหุ้นหลายโรงกลั่นอย่างโรงกลั่นน้ำมันของ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จึงไม่เป็นที่ กังวลในเรื่องนี้
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ปตท.ได้เปิดโครงการ "ล้านดวงใจ ถวายแม่" เพื่อเทิดพระเกียรติและถวายความจงรักภักดีแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาส วันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม นี้ โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 กรกฎาคม-12 สิงหาคม 2555 โดยได้จัดทำเว็บไซต์ www.millionheartsforqueen.com ขึ้น เพื่อเชิญชวนประชาชนทุกคนร่วมแบ่งปันภาพประทับใจ และ คำสอนที่มีค่าของแม่ ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 341
PTT eyes Europe for acquisitions
Source - Bangkok Post (Eng), Saturday, July 07, 2012
PTT Plc, the national oil conglomerate, is looking to pick up energy assets in Europe whose prices have become depressed by the regional debt crisis.
Pailin Chuchottaworn, the chief executive and president, said the debt crisis has created a lot of attractive assets for purchase, and his company has studied the feasibility of several in Europe.
"Although this is a good opportunity for us, we need to be cautious in every deal we consider, as the world’s economy is quite volatile," he said.
Foreign acquisitions are a part of PTT’s long-term plan for Thailand’s energy supply.
As a first step, PTT through its subsidiary PTT Global Chemical Plc (PTTGC) acquired a 51% stake of Perstorp Holding France SAS for 115 million (4.5 billion baht) last November.
The company was renamed Vencorex Holding last month.
Vencorex Holding is a producer and owner of Isocyanate technology.
It is a major player in the European market, particularly in toluene diisocyanate, hexamethylene diisocyanate and derivatives, which are the major feedstocks in the manufacture of polyurethane.
PTT is also awaiting the result of a bid by subsidiary PTT Exploration and Production (PTTEP) to acquire the London-listed Cove Energy.
On May 23, PTTEP made a 1.22-billion (60 billion baht) cash offer for Cove Energy, beating Royal Dutch Shell’s April 24 offer of 1.12 billion.
The company also received approval in late May from the Mozambican government for its proposed acquisition of Cove. Cove’s primary asset is an 8.5% interest in Mozambique’s Rovuma Offshore Area 1.
It also has a 10% stake in a Rovuma onshore project as well as interests ranging from 10-25% across seven blocks in Kenya’s offshore deep-sea area.
PTT plans to supply 52% of Thailand’s energy needs by 2020, up from 18% now.
Dr Pailin said its European acquisition budget will not be included in the 720 billion baht PTT plans to spend over the next five years to develop gas pipelines and oil and gas fields.
Some 360 billion baht of the total will be allocated to PTT directly for palm oil production, coal mines, power plants, gas pipelines, compressed natural gas, a liquefied natural gas receiving terminal, tank farms and oil retail facilities.
The other 360 billion will go to PTTEP to finance exploration of both conventional and unconventional petroleum.
Subsidiaries Thaioil, IRPC and PTTGC will make total investments of 200 billion baht over the next five years.
PTT plans to increase oil and gas production to 900,000 barrels of oil equivalent a day from 273,000 at the end of last year.
The company also plans to expand its oil retail business into Indochina.
PTT shares closed yesterday on the Stock Exchange of Thailand at 334 baht, down four baht, in heavy trade worth 1.07 billion baht.
Source - Bangkok Post (Eng), Saturday, July 07, 2012
PTT Plc, the national oil conglomerate, is looking to pick up energy assets in Europe whose prices have become depressed by the regional debt crisis.
Pailin Chuchottaworn, the chief executive and president, said the debt crisis has created a lot of attractive assets for purchase, and his company has studied the feasibility of several in Europe.
"Although this is a good opportunity for us, we need to be cautious in every deal we consider, as the world’s economy is quite volatile," he said.
Foreign acquisitions are a part of PTT’s long-term plan for Thailand’s energy supply.
As a first step, PTT through its subsidiary PTT Global Chemical Plc (PTTGC) acquired a 51% stake of Perstorp Holding France SAS for 115 million (4.5 billion baht) last November.
The company was renamed Vencorex Holding last month.
Vencorex Holding is a producer and owner of Isocyanate technology.
It is a major player in the European market, particularly in toluene diisocyanate, hexamethylene diisocyanate and derivatives, which are the major feedstocks in the manufacture of polyurethane.
PTT is also awaiting the result of a bid by subsidiary PTT Exploration and Production (PTTEP) to acquire the London-listed Cove Energy.
On May 23, PTTEP made a 1.22-billion (60 billion baht) cash offer for Cove Energy, beating Royal Dutch Shell’s April 24 offer of 1.12 billion.
The company also received approval in late May from the Mozambican government for its proposed acquisition of Cove. Cove’s primary asset is an 8.5% interest in Mozambique’s Rovuma Offshore Area 1.
It also has a 10% stake in a Rovuma onshore project as well as interests ranging from 10-25% across seven blocks in Kenya’s offshore deep-sea area.
PTT plans to supply 52% of Thailand’s energy needs by 2020, up from 18% now.
Dr Pailin said its European acquisition budget will not be included in the 720 billion baht PTT plans to spend over the next five years to develop gas pipelines and oil and gas fields.
Some 360 billion baht of the total will be allocated to PTT directly for palm oil production, coal mines, power plants, gas pipelines, compressed natural gas, a liquefied natural gas receiving terminal, tank farms and oil retail facilities.
The other 360 billion will go to PTTEP to finance exploration of both conventional and unconventional petroleum.
Subsidiaries Thaioil, IRPC and PTTGC will make total investments of 200 billion baht over the next five years.
PTT plans to increase oil and gas production to 900,000 barrels of oil equivalent a day from 273,000 at the end of last year.
The company also plans to expand its oil retail business into Indochina.
PTT shares closed yesterday on the Stock Exchange of Thailand at 334 baht, down four baht, in heavy trade worth 1.07 billion baht.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 342
บางจากขอซื้อที่ติดโรงกลั่นสุขุมวิทจัดพนง.เดินสายขอโทษชาวบ้าน-ยันไม่บึ้มอีก
Source - ข่าวสด (Th), Saturday, July 07, 2012
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุฉุกเฉินในโรงกลั่นน้ำมันบางจาก หอแยกน้ำมันก๊าดในหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 สุขุมวิท 64 เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2555 ได้สั่งการให้ เจ้าหน้าที่บางจากเร่งลงพื้นที่ชี้แจงและขออภัยกับชาวบ้านบริเวณรอบโรงกลั่นน้ำมันบางจาก สุขุมวิท 64 วันละ 200 คน เป็นระยะเวลา 10 วัน ตั้งแต่พื้นที่พระโขนง จนสุดที่เขตลาซาล ซึ่งจากการลงพื้นที่ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา พบว่ามีชาวบ้านได้รับผลกระทบ มีกระจกแตกร้าว รวม 170 หลังคาเรือน ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปซ่อมบำรุง และยินดีที่จะรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด
"เมื่อวันที่ 6 ก.ค.2555 ผมพร้อมเจ้าหน้าที่ ได้ลงพื้นที่พบประชาชนบริเวณซอยสุขุมวิท 103 (อุดมสุข) ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบด้านเสียงในช่วงเกิดเหตุระเบิด ไม่ได้มีผลกระทบอย่างอื่น ซึ่งชาวบ้านก็เข้าใจบางจาก และได้ยืนยันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอีก ส่วนปัญหาเขม่าควันดำ นั้นยืนยันว่าไม่เกิดขึ้นแล้ว สภาพอากาศเป็นปกติ" นายอนุสรณ์กล่าว
นายอนุสรณ์กล่าวว่า บางจากจะเปิดโอกาสให้ชุมชนที่อยู่ติดกับโรงกลั่นสุขุมวิท เข้ามาหารือเพื่อเสนอขายพื้นที่ ตามราคาตลาด เพื่อให้บางจากนำไปปรับปรุงเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นระยะห่างระหว่างโรงกลั่นและชุมชน อย่างไรก็ตาม พื้นที่โรงกลั่นในส่วนที่ติดกับชุมชนจริงๆ นั้นมีน้อยมาก อยู่ในด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนทิศเหนือติดกับคลังน้ำมันบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทิศตะวันตกติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกติดพื้นที่ทหาร ส่วนทิศใต้ติดโรงงานไม้ ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจากับกรุงเทพมหานคร เพื่อขอซื้อพื้นที่ 10 ไร่ มาพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเช่นกัน
สำหรับความเสียหายโรงกลั่น อยู่ในส่วนของหน่วยกลั่นที่ 3 ซึ่งภายในมีอยู่ 3 หอ จะต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเข้าไปสำรวจสาเหตุที่แท้จริงว่าเป็นความผิดพลาดจากอุปกรณ์ในส่วนใด คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าเป็นความพยายามของตัวบุคคลสร้างสถานการณ์ เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองนั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะระบบรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยกลั่นนั้นเข้มงวดมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุของเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันบางจาก ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบ โดยบริษัทได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาร่วมด้วย เพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปในลักษณะ 3 ฝ่าย คือ มีบางจาก ภาครัฐ และเอกชน โดยผลการตรวจสอบทั้งหมดจะมีผลต่อการเคลมประกันของบริษัท
สำหรับประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถติดต่อได้ที่บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 0-2745-2444 ในเวลาทำการ (08.00-17.00 น.) โทร.0-2335-4100, 0-2335-4102-5, 0-2335-4999 นอกเวลาทำการ (17.00-08.00 น.) โทร.0-2335-4051, 0-2335-4061, 0-2335-4999
ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
Source - ข่าวสด (Th), Saturday, July 07, 2012
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุฉุกเฉินในโรงกลั่นน้ำมันบางจาก หอแยกน้ำมันก๊าดในหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 สุขุมวิท 64 เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2555 ได้สั่งการให้ เจ้าหน้าที่บางจากเร่งลงพื้นที่ชี้แจงและขออภัยกับชาวบ้านบริเวณรอบโรงกลั่นน้ำมันบางจาก สุขุมวิท 64 วันละ 200 คน เป็นระยะเวลา 10 วัน ตั้งแต่พื้นที่พระโขนง จนสุดที่เขตลาซาล ซึ่งจากการลงพื้นที่ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา พบว่ามีชาวบ้านได้รับผลกระทบ มีกระจกแตกร้าว รวม 170 หลังคาเรือน ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปซ่อมบำรุง และยินดีที่จะรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด
"เมื่อวันที่ 6 ก.ค.2555 ผมพร้อมเจ้าหน้าที่ ได้ลงพื้นที่พบประชาชนบริเวณซอยสุขุมวิท 103 (อุดมสุข) ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบด้านเสียงในช่วงเกิดเหตุระเบิด ไม่ได้มีผลกระทบอย่างอื่น ซึ่งชาวบ้านก็เข้าใจบางจาก และได้ยืนยันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอีก ส่วนปัญหาเขม่าควันดำ นั้นยืนยันว่าไม่เกิดขึ้นแล้ว สภาพอากาศเป็นปกติ" นายอนุสรณ์กล่าว
นายอนุสรณ์กล่าวว่า บางจากจะเปิดโอกาสให้ชุมชนที่อยู่ติดกับโรงกลั่นสุขุมวิท เข้ามาหารือเพื่อเสนอขายพื้นที่ ตามราคาตลาด เพื่อให้บางจากนำไปปรับปรุงเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นระยะห่างระหว่างโรงกลั่นและชุมชน อย่างไรก็ตาม พื้นที่โรงกลั่นในส่วนที่ติดกับชุมชนจริงๆ นั้นมีน้อยมาก อยู่ในด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนทิศเหนือติดกับคลังน้ำมันบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทิศตะวันตกติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกติดพื้นที่ทหาร ส่วนทิศใต้ติดโรงงานไม้ ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจากับกรุงเทพมหานคร เพื่อขอซื้อพื้นที่ 10 ไร่ มาพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเช่นกัน
สำหรับความเสียหายโรงกลั่น อยู่ในส่วนของหน่วยกลั่นที่ 3 ซึ่งภายในมีอยู่ 3 หอ จะต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเข้าไปสำรวจสาเหตุที่แท้จริงว่าเป็นความผิดพลาดจากอุปกรณ์ในส่วนใด คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าเป็นความพยายามของตัวบุคคลสร้างสถานการณ์ เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองนั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะระบบรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยกลั่นนั้นเข้มงวดมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุของเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันบางจาก ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบ โดยบริษัทได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาร่วมด้วย เพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปในลักษณะ 3 ฝ่าย คือ มีบางจาก ภาครัฐ และเอกชน โดยผลการตรวจสอบทั้งหมดจะมีผลต่อการเคลมประกันของบริษัท
สำหรับประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถติดต่อได้ที่บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 0-2745-2444 ในเวลาทำการ (08.00-17.00 น.) โทร.0-2335-4100, 0-2335-4102-5, 0-2335-4999 นอกเวลาทำการ (17.00-08.00 น.) โทร.0-2335-4051, 0-2335-4061, 0-2335-4999
ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 343
ปตท.สผ.พัฒนาเทคโนฯชั้นสูง รองรับแผนขุดเจาะหาแหล่งพลังงานที่เข้าถึงยากทั่วโลก
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, July 07, 2012
ปตท.สผ.เตรียมปรับแผนลงทุน 5 ปีใหม่ หลังรับยุทธศาสตร์จากปตท.ภายใต้ TAGNOC ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีให้เข้าถึงแหล่งปิโตรเลียมที่ยากขึ้น ทั้ง เอฟแอลเอ็นจี การขุดเจาะน้ำลึกและออยล์แซนด์ โดยยังคงเป้าหมายการผลิตที่ 9 แสนบาร์เรลต่อวัน ในอีก 8 ปีข้างหน้า เชื่อผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีจะช่วยผลักดันให้รายได้ ปตท.เพิ่มขึ้น 20%
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (บมจ.ปตท.สผ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ทางบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.ปตท.สผ. ได้มอบหมายให้บริษัทในเครือไปดำเนินการจัดทำแผนธุรกิจใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์ ที่บมจ.ปตท.จะต้องเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (Technological Advanced and Green National Oil Company หรือ TAGNOC
สำหรับการดำเนินงานของบมจ.ปตท.สผ.นั้น จะยังตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตปิโตรเลียมทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันให้ได้ 900,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ภายในปี 2563 จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 300,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ซึ่งภารกิจที่ต้องดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับนโยบายของบมจ.ปตท. ที่ต้องการเน้นด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเน้นธุรกิจสีเขียว หรือ Green Business เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ที่จะเข้าไปหาแหล่งพลังงานที่เข้าถึงยากในโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรือลอยน้ำในการผลิตก๊าซแอลเอ็นจีวีหรือเอฟแอลเอ็นจีน ที่บมจ.ปตท.สผ. ได้สัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติและเริ่มเข้าไปดำเนินการที่ออสเตรเลียแล้ว รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีในการขุดเจาะหาน้ำมันจากแหล่งออยล์แซนด์ ที่ปัจจุบันถือว่าเป็นแหล่งน้ำมันแหล่งใหม่ หลายประเทศให้ความสนใจเข้าไปลงทุน แต่การจะได้น้ำมันมาจะต้องมีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งเวลานี้ทางบมจ.ปตท.สผ.ก็ได้เข้าไปลงทุนในโครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ที่ประเทศแคนาดาแล้ว
อีกทั้งเพื่อเป็นการแสวงหาแหล่งปิโตรเลียมให้ได้มากขึ้นอีก จำเป็นต้องเข้าไปลงทุนในการขุดเจาะหาปิโตรเลียมในแหล่งน้ำลีกมากขึ้นหรือที่ระดับความลึก 2 กิโลเมตรขึ้นไป ทำให้ต้องมีเทคโนโลยีชั้นสูงมารองรับ เมื่อเทียบกับการขุดเจาะหาแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่มีระดับความลึกเพียง 200-300 เมตรเท่านั้น
ขณะที่นโยบายด้าน Green นั้น ปตท.สผ.คงไม่ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็น Green เพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่บริษัทจะทำคือกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ก็อยู่ระหว่างการนำพลังงานทดแทนใช้ในแหล่งสัมปทาน อาทิ พลังงานลม แสงอาทิตย์ แต่ไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่าย จะนำมาใช้ในภารกิจของบริษัทเป็นหลัก
นายเทวินทร์ กล่าวอีกว่า ส่วนงบลงทุนในช่วง 5 ปี (2556-2560) คงจะต้องดำเนินการทบทวนใหม่ จากแผนเดิม (2555-2559) ที่กำหนดไว้ 357,996 ล้านบาท เพราะมีส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นมา ในขณะที่งบลงทุนด้าน Green จะต้องแยกออกมาให้ชัดเจนโดยในช่วงปลายปีจะทราบว่างบประมาณที่ใช้ในส่วนนี้จะเป็นเท่าไร
นอกจากนี้จะต้องเพิ่มงบลงทุนในการรักษาระดับการผลิตปิโตรเลียมในประเทศ เนื่องจากแหล่งสัมปทานที่ร่วมกับบริษัท เชฟรอนฯ และแหล่งบงกช ในช่วง 10 ปีข้างหน้าจะหมดอายุ และปริมาณก๊าซค่อยๆ ลดลง ดังนั้นจึงต้องกลับมาคิดว่าจะสามารถรักษาระดับการผลิตได้อย่างไร เพื่อรักษาระดับการผลิตให้คงที่หรือเพิ่มขึ้นได้
โดยขณะนี้ ปตท.สผ.มียอดขายอยู่ที่ 284,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน คาดว่าในปีนี้จะเติบโต 10% จากปีก่อน แต่ปี 2556 จะเติบโตมากกว่า 10% เนื่องจากแหล่งมอนทาราสามารถผลิตได้เต็มปี นอกจากนี้ยังมีกำลังการผลิตจากแหล่งเวียดนาม 16-1 เข้ามาด้วย
ส่วนการพัฒนาแหล่งออยล์ แซนด์ เคเคดี ในแคนาดา กำลังการผลิตปัจจุบันอยู่ที่ 18,000-20,000 บาร์เรลต่อวัน คาดว่าจะเพิ่มเป็น 400,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2558 ซึ่งแหล่งเคเคดีนับว่าเป็นแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ มีปริมาณสำรองเป็นอันดับสอง รองจากประเทศซาอุดิอาระเบีย
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (บมจ.) เปิดเผยว่า หากการดำเนินงานในด้านการสร้างเทคโนโลยีประสบความสำเร็จ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะช่วยให้กลุ่มบมจ.ปตท.มีรายได้เพิ่มขึ้นมาประมาณ 20% ภายในปี 2563 โดยส่วนหนึ่งจะเป็นรายได้ที่มาจากเอฟแอลเอ็นจี ประมาณ 54,000 ล้านบาท จากการขุดเจาะหาปิโตรเลียมจากแหล่งน้ำลึกประมาณ 90,000 ล้านบาท
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 8 - 11 ก.ค. 2555--
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, July 07, 2012
ปตท.สผ.เตรียมปรับแผนลงทุน 5 ปีใหม่ หลังรับยุทธศาสตร์จากปตท.ภายใต้ TAGNOC ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีให้เข้าถึงแหล่งปิโตรเลียมที่ยากขึ้น ทั้ง เอฟแอลเอ็นจี การขุดเจาะน้ำลึกและออยล์แซนด์ โดยยังคงเป้าหมายการผลิตที่ 9 แสนบาร์เรลต่อวัน ในอีก 8 ปีข้างหน้า เชื่อผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีจะช่วยผลักดันให้รายได้ ปตท.เพิ่มขึ้น 20%
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (บมจ.ปตท.สผ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ทางบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.ปตท.สผ. ได้มอบหมายให้บริษัทในเครือไปดำเนินการจัดทำแผนธุรกิจใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์ ที่บมจ.ปตท.จะต้องเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (Technological Advanced and Green National Oil Company หรือ TAGNOC
สำหรับการดำเนินงานของบมจ.ปตท.สผ.นั้น จะยังตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตปิโตรเลียมทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันให้ได้ 900,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ภายในปี 2563 จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 300,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ซึ่งภารกิจที่ต้องดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับนโยบายของบมจ.ปตท. ที่ต้องการเน้นด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเน้นธุรกิจสีเขียว หรือ Green Business เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ที่จะเข้าไปหาแหล่งพลังงานที่เข้าถึงยากในโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรือลอยน้ำในการผลิตก๊าซแอลเอ็นจีวีหรือเอฟแอลเอ็นจีน ที่บมจ.ปตท.สผ. ได้สัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติและเริ่มเข้าไปดำเนินการที่ออสเตรเลียแล้ว รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีในการขุดเจาะหาน้ำมันจากแหล่งออยล์แซนด์ ที่ปัจจุบันถือว่าเป็นแหล่งน้ำมันแหล่งใหม่ หลายประเทศให้ความสนใจเข้าไปลงทุน แต่การจะได้น้ำมันมาจะต้องมีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งเวลานี้ทางบมจ.ปตท.สผ.ก็ได้เข้าไปลงทุนในโครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ที่ประเทศแคนาดาแล้ว
อีกทั้งเพื่อเป็นการแสวงหาแหล่งปิโตรเลียมให้ได้มากขึ้นอีก จำเป็นต้องเข้าไปลงทุนในการขุดเจาะหาปิโตรเลียมในแหล่งน้ำลีกมากขึ้นหรือที่ระดับความลึก 2 กิโลเมตรขึ้นไป ทำให้ต้องมีเทคโนโลยีชั้นสูงมารองรับ เมื่อเทียบกับการขุดเจาะหาแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่มีระดับความลึกเพียง 200-300 เมตรเท่านั้น
ขณะที่นโยบายด้าน Green นั้น ปตท.สผ.คงไม่ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็น Green เพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่บริษัทจะทำคือกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ก็อยู่ระหว่างการนำพลังงานทดแทนใช้ในแหล่งสัมปทาน อาทิ พลังงานลม แสงอาทิตย์ แต่ไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่าย จะนำมาใช้ในภารกิจของบริษัทเป็นหลัก
นายเทวินทร์ กล่าวอีกว่า ส่วนงบลงทุนในช่วง 5 ปี (2556-2560) คงจะต้องดำเนินการทบทวนใหม่ จากแผนเดิม (2555-2559) ที่กำหนดไว้ 357,996 ล้านบาท เพราะมีส่วนของการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นมา ในขณะที่งบลงทุนด้าน Green จะต้องแยกออกมาให้ชัดเจนโดยในช่วงปลายปีจะทราบว่างบประมาณที่ใช้ในส่วนนี้จะเป็นเท่าไร
นอกจากนี้จะต้องเพิ่มงบลงทุนในการรักษาระดับการผลิตปิโตรเลียมในประเทศ เนื่องจากแหล่งสัมปทานที่ร่วมกับบริษัท เชฟรอนฯ และแหล่งบงกช ในช่วง 10 ปีข้างหน้าจะหมดอายุ และปริมาณก๊าซค่อยๆ ลดลง ดังนั้นจึงต้องกลับมาคิดว่าจะสามารถรักษาระดับการผลิตได้อย่างไร เพื่อรักษาระดับการผลิตให้คงที่หรือเพิ่มขึ้นได้
โดยขณะนี้ ปตท.สผ.มียอดขายอยู่ที่ 284,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน คาดว่าในปีนี้จะเติบโต 10% จากปีก่อน แต่ปี 2556 จะเติบโตมากกว่า 10% เนื่องจากแหล่งมอนทาราสามารถผลิตได้เต็มปี นอกจากนี้ยังมีกำลังการผลิตจากแหล่งเวียดนาม 16-1 เข้ามาด้วย
ส่วนการพัฒนาแหล่งออยล์ แซนด์ เคเคดี ในแคนาดา กำลังการผลิตปัจจุบันอยู่ที่ 18,000-20,000 บาร์เรลต่อวัน คาดว่าจะเพิ่มเป็น 400,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2558 ซึ่งแหล่งเคเคดีนับว่าเป็นแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ มีปริมาณสำรองเป็นอันดับสอง รองจากประเทศซาอุดิอาระเบีย
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (บมจ.) เปิดเผยว่า หากการดำเนินงานในด้านการสร้างเทคโนโลยีประสบความสำเร็จ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะช่วยให้กลุ่มบมจ.ปตท.มีรายได้เพิ่มขึ้นมาประมาณ 20% ภายในปี 2563 โดยส่วนหนึ่งจะเป็นรายได้ที่มาจากเอฟแอลเอ็นจี ประมาณ 54,000 ล้านบาท จากการขุดเจาะหาปิโตรเลียมจากแหล่งน้ำลึกประมาณ 90,000 ล้านบาท
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 8 - 11 ก.ค. 2555--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 344
คอลัมน์: อีโคโฟกัส: 'เทวินทร์' นำ ปตท.สผ.บุกลงทุนพม่า
Source - ไทยโพสต์ (Th), Monday, July 09, 2012
"เทวินทร์ วงศ์วานิช" หนึ่งในผู้บริหารเครือ บมจ.ปตท. ที่ถูกสลับปรับเปลี่ยนตำแหน่งมาจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ปตท. มาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2555 และถือเป็นผู้บริหารฝีมือเยี่ยมของ ปตท. เคยได้รับการผลักดันจาก นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตบิ๊กบอสให้เข้าชิงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก่อนที่ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร จะคว้าตำแหน่งดังกล่าวไปแทน
แต่การเข้ามารับภาระบริหาร ปตท.สผ.ในยามที่พลังงานของประเทศเริ่มลดน้อยถอยลง นับเป็นความท้าทายและพิสูจน์ความสามารถของผู้บริหารคนปัจจุบันว่า จะผลักดัน ปตท.สผ.ให้ก้าวไปในทิศทางใด
"ผู้บริหาร ปตท.สผ.ทุกยุคทุกสมัยได้สร้างการเติบโตให้บริษัทอยู่แล้ว ผมมีหน้าที่ต้องสานต่อไป และการทำให้เป้าหมายกำลังการผลิตปิโตรเลียมของประเทศให้ได้ 9 แสนบาร์เรลต่อวัน ในปี 2563 ก็เป็นเป้าหมายในเชิงกลยุทธ์เพื่อประเทศเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน และเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านราคาโดยปัจจุบันผลิตได้ 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน ดังนั้นเป็นภารกิจที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องดำเนินการ ใครก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหาร จะต้องเต็มที่ในการผลักดันให้ไปถึง เพราะเป็นภารกิจที่ไม่ใช่เพื่อตัวเอง"นายเทวินทร์ ระบุ
* นอกจากจะเปลี่ยนผู้บริหารในเครือ ปตท.แล้ว ที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนผู้บริหารสูงสุดของ ปตท.มาเป็นนายไพรินทร์ด้วย
ถือเป็นโอกาสดีที่จะนำแนวคิดของผู้บริหารใหญ่ของ ปตท.มาปฏิบัติตาม ซึ่งการเน้นใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการเน้นเป็นองค์กรสีเขียวเพื่อเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนพร้อมทั้งบทบาทการเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่ต้องดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด โดยในอนาคตเรื่องขององค์กรสีเขียวคงต้องมีการแยกงบประมาณออกมาให้เห็นชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ ปตท.สผ.กำลังพิจารณาจะนำพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานลม แสงแดด พลังงานความร้อนเหลือทิ้งนำกลับมาใช้ในโรงงานใหม่ด้วย
* การลงทุนในอนาคตที่อยู่ในความสนใจของ ปตท.สผ.
เชลล์แก๊ส (Shale Gas) เป็นพลังงานที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันยังราคาถูกมาก โครงการลงทุนมีมูลค่าไม่แพง ในอนาคตโครงการเชลล์แก๊สจะมีราคาสูงขึ้นไป ซึ่งหากเข้าไปลงทุนและสามารถหาคลังเก็บก๊าซธรรมชาติที่ได้มาเปลี่ยนเป็นก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) และส่งมายังเมืองไทยทางฝั่งตะวันตกของประเทศ จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ ปตท.เรื่องการจัดการแอลเอ็นจี
เมื่อก่อนคิดว่าการจัดหาแอลเอ็นจีจะต้องไปประเทศกาตาร์หรือออสเตรเลียเท่านั้น แต่ตอนนี้มีแหล่งอื่นเพิ่มโดยเฉพาะเชลล์แก๊สในอเมริกาเหนือ แม้ตอนนี้สหรัฐจะยังไม่พร้อมเปิดส่งออกอย่างเสรี แต่ทาง ปตท.ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ดูว่าคลังเก็บแอลเอ็นจีไหนที่รัฐบาลสหรัฐอนุญาตให้ส่งออกได้ ก็จะเป็นโอกาสของ ปตท. เพราะราคาก๊าซฯ ยังถูกอยู่
ราคาเชลล์แก๊สที่สหรัฐถูกมากแค่ 2.50 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู และผู้ผลิตยังสามารถผลิตและขายอยู่ได้ เพราะในกระบวนการผลิตมีของเหลวปนออกมาและมีประโยชน์ เช่น คอนเดนเสด น้ำมันและก๊าซฯ ทำให้มีรายได้เพิ่มจากส่วนนี้ และก๊าซฯ ที่ได้จึงขายไม่แพงนัก แต่หากเป็นแหล่งผลิตเชลล์แก๊สเพียงอย่างเดียวเลย คงต้องทยอยปิดตัวลง เพราะราคา 2.50 เหรียญสหรัฐต่อล้าน บีทียูนั้นอยู่ไม่ได้ ราคาเชลล์แก๊สที่ 2.50 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู เมื่อต้องขนส่งมายังไทยจะทำให้ต้นทุนราคาขึ้นมาอยู่ที่12 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ซึ่งถูกกว่าแอลเอ็นจีที่ ปตท.ซื้ออยู่ทุกวันนี้ แต่เมื่อถึงเวลาจำหน่ายจริงราคาอาจไม่เป็นดังที่คาดไว้ เพราะผู้ผลิตรู้ว่าราคาแอลเอ็นจีที่ซื้อขายอยู่แถบเอเชียอยู่ถึง 15 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู จึงอาจมีการขยับราคาขึ้นมานิดหน่อย แต่ก็ทำให้ผู้ค้าพอมีกำไรอยู่ได้บ้างและเป็นธุรกิจที่น่าสนใจอยู่
* ประเทศที่สนใจลงทุนหลังเปิดเออีซืคือ
ประเทศพม่าหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) น่าสนใจมาก เมื่อดูจากประวัติการผลิตน้ำมันที่ผ่านมาพบว่า พม่าเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันมาเป็น 100 ปี มีการขุดน้ำมันครั้งแรกโดยใช้วิธีหย่อนคนลงไปในหลุม แล้วตักน้ำมันออกมา และพม่าก็พัฒนามาเรื่อยๆใช้เทคโนโลยีที่จัดหามาเอง ซึ่งก็ยังขาดความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี
นอกจากนี้ พม่าก็มีโรงกลั่นขนาดไม่ใหญ่นัก มีท่อส่งก๊าซฯ มีท่อส่งน้ำมัน แต่เทคโนโลยียังไม่ค่อยทันสมัย เศรษฐกิจก็ยังไม่ได้ดีมากมายนัก พอมาระยะหลังๆ พม่าเริ่มมีรายได้จากการขายก๊าซฯ ให้ไทยและนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของประเทศขึ้นมา แต่เมื่อเทียบแล้วอัตราการใช้พลังงานต่อประชากรยังถือว่าต่ำซึ่งยังมีโอกาสขยายได้อีกมาก โดยเฉพาะเมื่อเปิดประเทศจะมีการลงทุนเข้าไปมาก ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ประชากรจะหันมาใช้พลังงานมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการใช้พลังงานจากเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ
อย่างไรก็ตาม จุดนี้แม้จะเป็นปัญหาของพม่าที่ขาดเทคโนโลยี ขาดโครงสร้างพื้นฐานและขาดประสบการณ์ในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เต็มประสิทธิภาพ แต่ก็เป็นโอกาสหนึ่งทางการลงทุนของไทยได้ ซึ่งกลุ่ม ปตท.ได้พัฒนาด้านพลังงานของประเทศค่อนข้างประสบผลสำเร็จเป็นต้นแบบได้ โดยเฉพาะการนำก๊าซฯ ขึ้นมาทางท่อเข้าโรงแยกก๊าซฯ ผลิตก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) มาใช้จนถึงทุกวันนี้ และไปสร้างอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากมาย
เราทำมาจนเห็นว่าทรัพยากรที่สามารถสร้างเศรษฐกิจได้มากกว่าเอาก๊าซฯ มาเผาหรือขายให้เพื่อนบ้านเฉยๆซึ่งปัจจัยดังกล่าวถือเป็นต้นแบบที่ ปตท.จะนำไปพูดคุยกับพม่าว่า ปตท.พร้อมไปร่วมพัฒนาทรัพยากรให้คนพม่าได้ใช้ และพัฒนาเศรษฐกิจพม่าให้เติบโต
วันนี้เราได้บุญคุณจากพม่าที่ส่งก๊าซฯ มาขายให้ไทยเป็น 10 ปี ขณะที่พม่ายังไม่มีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ เศรษฐกิจยังไม่ไปไหน มีข้อจำกัดด้านการลงทุนกับต่างชาติ แต่วันนี้พม่าพร้อมจะเปิดประเทศ ทาง ปตท.ก็พร้อมเข้าไปช่วยเหลือ
* ที่ผ่านมา ปตท.สผ.มีการลงทุนในพม่าอย่างไร
ในเรื่องการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมปตท.สผ.ได้เข้าไปดำเนินการแล้ว และวันนี้ ปตท.พร้อมเข้าไปหาก๊าซฯ ช่วยป้อนให้พม่าได้ใช้ แทนที่จะมองว่าไปผลิตเพื่อส่งกลับมาไทยและเมื่อต้นปี 2555 ปตท.สผ.ได้ไปเจาะเจอก๊าซฯ ในแปลง M3 ที่อยู่ใกล้ๆ เมืองย่างกุ้ง ซึ่งคิดว่ามีศักยภาพและพร้อมส่งให้ทางเมืองย่างกุ้งได้ใช้ เพราะเป็นพื้นที่ที่ขาดไฟฟ้ามาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ ปตท.สผ.คาดว่าจะเข้าไปทำ ส่วน ปตท.เองก็มีความรู้เรื่องก๊าซฯการแบ่งปันความรู้เรื่องการนำก๊าซฯมาใช้ การผลิตแอลพีจีและเอ็นจีวี ซึ่งวันนี้พม่าใช้เอ็นจีวีอยู่ เราก็มีประสบการณ์เรียนรู้ข้อดี-เสีย จะเอาประสบการณ์ที่มีไปถ่ายทอดให้พม่าเพื่อจะได้ไปได้ถูกทางส่วนธุรกิจน้ำมันนั้น ปั๊ม ปตท.ถือเป็นปั๊มที่ดีที่สุดในโลก มีต้นแบบของ ร้านกาแฟอเมซอน ร้านสะดวกซื้อตราจิฟฟี่ ซึ่งเป็นเสมือนเพื่อนร่วมทางซึ่งเป็นต้นแบบที่ดีหากพม่าจะเปิดปั๊มน้ำมัน แต่ปัจจุบันพม่ายังไม่เปิดให้ลงทุนด้านปั๊มแต่อย่างใด เพียงแต่เราเสนอธุรกิจให้พม่าได้ถ้าสนใจอยากลงทุน
สำหรับธุรกิจปิโตรเคมีที่ ปตท.จะเข้าไปนั้น คงต้องมองว่าพม่ายังขาดอะไรด้านวัตถุดิบใด ส่วนระยะยาวหากเจอแหล่งปิโตรเลียมและพัฒนาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมคล้ายมาบตาพุดในไทย ทาง ปตท.อาจเข้าไปร่วมทุนกับพม่า ช่วยกันวางแผน ช่วยกันออกแบบ ดังนั้น ปตท.ยังมีโอกาสเติบโตในพม่าอีกมาก ซึ่งการเข้าไปต้องมองประโยชน์ของประเทศพม่าด้วยเป็นหลัก และคาดว่าพม่ามีการเติบโตด้านพลังงานประมาณ 7-8% ซึ่งมาจากฐานการใช้พลังงานที่ยังน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการใช้จริง ซึ่งพม่ามีโอกาสเติบโตด้านพลังงานเกิน 7-8% หากมีวัตถุดิบและการผลิตมากขึ้น
* หลังพม่าเปิดประเทศ ปตท.สามารถแข่งกับประเทศอื่นได้ไหม?
ปตท.สผ.ไปลงทุนในพม่าตั้งแต่ยังปิดประเทศอยู่ จนทำให้วันนี้ ปตท.เป็นบริษัทที่มีการลงทุนผลิตและสำรวจปิโตรเลียมมากสุดในพม่ากว่า 10 แปลง ใน 5 โครงการ และล่าสุดเพิ่งไปสำรวจเจอแหล่งปิโตรเลียมซอติก้า หรือ M9 ซึ่งคาดว่าจะเน้นใช้ในพม่าเป็นหลัก ส่วนโครงการพม่า M3 เพิ่งเจาะไปได้ 1 หลุม ปลายปี 2555 คาดว่าจะเจาะเพิ่มอีก 4-5 หลุม คาดว่ากลางปี 2556 น่าจะทราบว่าแหล่ง M3 จะสามารถพัฒนาแหล่งก๊าซฯ และน้ำมันขึ้นมาได้หรือไม่ ส่วนแหล่ง M11 นั้น ขณะนี้ยังไม่เจออะไร แต่คาดว่าเร็วๆ นี้ ปตท.สผ.น่าจะมีโอกาสขยายแหล่งใหม่ในพม่าได้
สำหรับเม็ดเงินลงทุนใน 5 ปี (2555-2559) นั้น ปตท.สผ.คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในไทย 65% และลงทุนในต่างประเทศ 45% โดยในต่างประเทศนั้นจะนำไปลงทุนในพม่าถึง 20% ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาแหล่งซอติก้าและสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ เพิ่ม
วันนี้ในพม่า เราไม่กลัวคู่แข่งรายใด และมีแต่บริษัทใหญ่มาติดต่อขอร่วมทุนกับ ปตท. อีกทั้งรัฐบาลพม่าก็เห็นว่าเราอยู่กับเขาในช่วงที่เขาลำบาก ตอนไม่มีใครกล้าเข้าไปลงทุน และ ปตท.ยังคงอยู่กับพม่าเดินหน้าโครงการอื่นๆต่อจนถึงวันนี้ พม่าจึงคิดว่า ปตท.เหมือนเพื่อนแท้ช่วยกันในยามยาก
ซึ่งวิธีการเข้าไปลงทุนในพม่าวันนี้ ต้องเข้าไปในลักษณะเพื่อนกันจริงๆไม่ใช่การเข้าไปหาผลประโยชน์กลับประเทศตัวเอง ถ้าเป็นเช่นนั้นจะไม่ได้รับโอกาสในการลงทุน ดังนั้นต้องเข้าไปด้วยความจริงใจ และเราจะได้ทั้งโอกาสและพันธมิตรทางธุรกิจระยะยาวต่อไป.
--จบ--
Source - ไทยโพสต์ (Th), Monday, July 09, 2012
"เทวินทร์ วงศ์วานิช" หนึ่งในผู้บริหารเครือ บมจ.ปตท. ที่ถูกสลับปรับเปลี่ยนตำแหน่งมาจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ปตท. มาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2555 และถือเป็นผู้บริหารฝีมือเยี่ยมของ ปตท. เคยได้รับการผลักดันจาก นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตบิ๊กบอสให้เข้าชิงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก่อนที่ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร จะคว้าตำแหน่งดังกล่าวไปแทน
แต่การเข้ามารับภาระบริหาร ปตท.สผ.ในยามที่พลังงานของประเทศเริ่มลดน้อยถอยลง นับเป็นความท้าทายและพิสูจน์ความสามารถของผู้บริหารคนปัจจุบันว่า จะผลักดัน ปตท.สผ.ให้ก้าวไปในทิศทางใด
"ผู้บริหาร ปตท.สผ.ทุกยุคทุกสมัยได้สร้างการเติบโตให้บริษัทอยู่แล้ว ผมมีหน้าที่ต้องสานต่อไป และการทำให้เป้าหมายกำลังการผลิตปิโตรเลียมของประเทศให้ได้ 9 แสนบาร์เรลต่อวัน ในปี 2563 ก็เป็นเป้าหมายในเชิงกลยุทธ์เพื่อประเทศเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน และเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านราคาโดยปัจจุบันผลิตได้ 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน ดังนั้นเป็นภารกิจที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องดำเนินการ ใครก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหาร จะต้องเต็มที่ในการผลักดันให้ไปถึง เพราะเป็นภารกิจที่ไม่ใช่เพื่อตัวเอง"นายเทวินทร์ ระบุ
* นอกจากจะเปลี่ยนผู้บริหารในเครือ ปตท.แล้ว ที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนผู้บริหารสูงสุดของ ปตท.มาเป็นนายไพรินทร์ด้วย
ถือเป็นโอกาสดีที่จะนำแนวคิดของผู้บริหารใหญ่ของ ปตท.มาปฏิบัติตาม ซึ่งการเน้นใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการเน้นเป็นองค์กรสีเขียวเพื่อเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนพร้อมทั้งบทบาทการเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่ต้องดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด โดยในอนาคตเรื่องขององค์กรสีเขียวคงต้องมีการแยกงบประมาณออกมาให้เห็นชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ ปตท.สผ.กำลังพิจารณาจะนำพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานลม แสงแดด พลังงานความร้อนเหลือทิ้งนำกลับมาใช้ในโรงงานใหม่ด้วย
* การลงทุนในอนาคตที่อยู่ในความสนใจของ ปตท.สผ.
เชลล์แก๊ส (Shale Gas) เป็นพลังงานที่น่าสนใจ เพราะปัจจุบันยังราคาถูกมาก โครงการลงทุนมีมูลค่าไม่แพง ในอนาคตโครงการเชลล์แก๊สจะมีราคาสูงขึ้นไป ซึ่งหากเข้าไปลงทุนและสามารถหาคลังเก็บก๊าซธรรมชาติที่ได้มาเปลี่ยนเป็นก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) และส่งมายังเมืองไทยทางฝั่งตะวันตกของประเทศ จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ ปตท.เรื่องการจัดการแอลเอ็นจี
เมื่อก่อนคิดว่าการจัดหาแอลเอ็นจีจะต้องไปประเทศกาตาร์หรือออสเตรเลียเท่านั้น แต่ตอนนี้มีแหล่งอื่นเพิ่มโดยเฉพาะเชลล์แก๊สในอเมริกาเหนือ แม้ตอนนี้สหรัฐจะยังไม่พร้อมเปิดส่งออกอย่างเสรี แต่ทาง ปตท.ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ดูว่าคลังเก็บแอลเอ็นจีไหนที่รัฐบาลสหรัฐอนุญาตให้ส่งออกได้ ก็จะเป็นโอกาสของ ปตท. เพราะราคาก๊าซฯ ยังถูกอยู่
ราคาเชลล์แก๊สที่สหรัฐถูกมากแค่ 2.50 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู และผู้ผลิตยังสามารถผลิตและขายอยู่ได้ เพราะในกระบวนการผลิตมีของเหลวปนออกมาและมีประโยชน์ เช่น คอนเดนเสด น้ำมันและก๊าซฯ ทำให้มีรายได้เพิ่มจากส่วนนี้ และก๊าซฯ ที่ได้จึงขายไม่แพงนัก แต่หากเป็นแหล่งผลิตเชลล์แก๊สเพียงอย่างเดียวเลย คงต้องทยอยปิดตัวลง เพราะราคา 2.50 เหรียญสหรัฐต่อล้าน บีทียูนั้นอยู่ไม่ได้ ราคาเชลล์แก๊สที่ 2.50 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู เมื่อต้องขนส่งมายังไทยจะทำให้ต้นทุนราคาขึ้นมาอยู่ที่12 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ซึ่งถูกกว่าแอลเอ็นจีที่ ปตท.ซื้ออยู่ทุกวันนี้ แต่เมื่อถึงเวลาจำหน่ายจริงราคาอาจไม่เป็นดังที่คาดไว้ เพราะผู้ผลิตรู้ว่าราคาแอลเอ็นจีที่ซื้อขายอยู่แถบเอเชียอยู่ถึง 15 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู จึงอาจมีการขยับราคาขึ้นมานิดหน่อย แต่ก็ทำให้ผู้ค้าพอมีกำไรอยู่ได้บ้างและเป็นธุรกิจที่น่าสนใจอยู่
* ประเทศที่สนใจลงทุนหลังเปิดเออีซืคือ
ประเทศพม่าหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) น่าสนใจมาก เมื่อดูจากประวัติการผลิตน้ำมันที่ผ่านมาพบว่า พม่าเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันมาเป็น 100 ปี มีการขุดน้ำมันครั้งแรกโดยใช้วิธีหย่อนคนลงไปในหลุม แล้วตักน้ำมันออกมา และพม่าก็พัฒนามาเรื่อยๆใช้เทคโนโลยีที่จัดหามาเอง ซึ่งก็ยังขาดความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี
นอกจากนี้ พม่าก็มีโรงกลั่นขนาดไม่ใหญ่นัก มีท่อส่งก๊าซฯ มีท่อส่งน้ำมัน แต่เทคโนโลยียังไม่ค่อยทันสมัย เศรษฐกิจก็ยังไม่ได้ดีมากมายนัก พอมาระยะหลังๆ พม่าเริ่มมีรายได้จากการขายก๊าซฯ ให้ไทยและนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของประเทศขึ้นมา แต่เมื่อเทียบแล้วอัตราการใช้พลังงานต่อประชากรยังถือว่าต่ำซึ่งยังมีโอกาสขยายได้อีกมาก โดยเฉพาะเมื่อเปิดประเทศจะมีการลงทุนเข้าไปมาก ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ประชากรจะหันมาใช้พลังงานมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการใช้พลังงานจากเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ
อย่างไรก็ตาม จุดนี้แม้จะเป็นปัญหาของพม่าที่ขาดเทคโนโลยี ขาดโครงสร้างพื้นฐานและขาดประสบการณ์ในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เต็มประสิทธิภาพ แต่ก็เป็นโอกาสหนึ่งทางการลงทุนของไทยได้ ซึ่งกลุ่ม ปตท.ได้พัฒนาด้านพลังงานของประเทศค่อนข้างประสบผลสำเร็จเป็นต้นแบบได้ โดยเฉพาะการนำก๊าซฯ ขึ้นมาทางท่อเข้าโรงแยกก๊าซฯ ผลิตก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) มาใช้จนถึงทุกวันนี้ และไปสร้างอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากมาย
เราทำมาจนเห็นว่าทรัพยากรที่สามารถสร้างเศรษฐกิจได้มากกว่าเอาก๊าซฯ มาเผาหรือขายให้เพื่อนบ้านเฉยๆซึ่งปัจจัยดังกล่าวถือเป็นต้นแบบที่ ปตท.จะนำไปพูดคุยกับพม่าว่า ปตท.พร้อมไปร่วมพัฒนาทรัพยากรให้คนพม่าได้ใช้ และพัฒนาเศรษฐกิจพม่าให้เติบโต
วันนี้เราได้บุญคุณจากพม่าที่ส่งก๊าซฯ มาขายให้ไทยเป็น 10 ปี ขณะที่พม่ายังไม่มีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ เศรษฐกิจยังไม่ไปไหน มีข้อจำกัดด้านการลงทุนกับต่างชาติ แต่วันนี้พม่าพร้อมจะเปิดประเทศ ทาง ปตท.ก็พร้อมเข้าไปช่วยเหลือ
* ที่ผ่านมา ปตท.สผ.มีการลงทุนในพม่าอย่างไร
ในเรื่องการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมปตท.สผ.ได้เข้าไปดำเนินการแล้ว และวันนี้ ปตท.พร้อมเข้าไปหาก๊าซฯ ช่วยป้อนให้พม่าได้ใช้ แทนที่จะมองว่าไปผลิตเพื่อส่งกลับมาไทยและเมื่อต้นปี 2555 ปตท.สผ.ได้ไปเจาะเจอก๊าซฯ ในแปลง M3 ที่อยู่ใกล้ๆ เมืองย่างกุ้ง ซึ่งคิดว่ามีศักยภาพและพร้อมส่งให้ทางเมืองย่างกุ้งได้ใช้ เพราะเป็นพื้นที่ที่ขาดไฟฟ้ามาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ ปตท.สผ.คาดว่าจะเข้าไปทำ ส่วน ปตท.เองก็มีความรู้เรื่องก๊าซฯการแบ่งปันความรู้เรื่องการนำก๊าซฯมาใช้ การผลิตแอลพีจีและเอ็นจีวี ซึ่งวันนี้พม่าใช้เอ็นจีวีอยู่ เราก็มีประสบการณ์เรียนรู้ข้อดี-เสีย จะเอาประสบการณ์ที่มีไปถ่ายทอดให้พม่าเพื่อจะได้ไปได้ถูกทางส่วนธุรกิจน้ำมันนั้น ปั๊ม ปตท.ถือเป็นปั๊มที่ดีที่สุดในโลก มีต้นแบบของ ร้านกาแฟอเมซอน ร้านสะดวกซื้อตราจิฟฟี่ ซึ่งเป็นเสมือนเพื่อนร่วมทางซึ่งเป็นต้นแบบที่ดีหากพม่าจะเปิดปั๊มน้ำมัน แต่ปัจจุบันพม่ายังไม่เปิดให้ลงทุนด้านปั๊มแต่อย่างใด เพียงแต่เราเสนอธุรกิจให้พม่าได้ถ้าสนใจอยากลงทุน
สำหรับธุรกิจปิโตรเคมีที่ ปตท.จะเข้าไปนั้น คงต้องมองว่าพม่ายังขาดอะไรด้านวัตถุดิบใด ส่วนระยะยาวหากเจอแหล่งปิโตรเลียมและพัฒนาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมคล้ายมาบตาพุดในไทย ทาง ปตท.อาจเข้าไปร่วมทุนกับพม่า ช่วยกันวางแผน ช่วยกันออกแบบ ดังนั้น ปตท.ยังมีโอกาสเติบโตในพม่าอีกมาก ซึ่งการเข้าไปต้องมองประโยชน์ของประเทศพม่าด้วยเป็นหลัก และคาดว่าพม่ามีการเติบโตด้านพลังงานประมาณ 7-8% ซึ่งมาจากฐานการใช้พลังงานที่ยังน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการใช้จริง ซึ่งพม่ามีโอกาสเติบโตด้านพลังงานเกิน 7-8% หากมีวัตถุดิบและการผลิตมากขึ้น
* หลังพม่าเปิดประเทศ ปตท.สามารถแข่งกับประเทศอื่นได้ไหม?
ปตท.สผ.ไปลงทุนในพม่าตั้งแต่ยังปิดประเทศอยู่ จนทำให้วันนี้ ปตท.เป็นบริษัทที่มีการลงทุนผลิตและสำรวจปิโตรเลียมมากสุดในพม่ากว่า 10 แปลง ใน 5 โครงการ และล่าสุดเพิ่งไปสำรวจเจอแหล่งปิโตรเลียมซอติก้า หรือ M9 ซึ่งคาดว่าจะเน้นใช้ในพม่าเป็นหลัก ส่วนโครงการพม่า M3 เพิ่งเจาะไปได้ 1 หลุม ปลายปี 2555 คาดว่าจะเจาะเพิ่มอีก 4-5 หลุม คาดว่ากลางปี 2556 น่าจะทราบว่าแหล่ง M3 จะสามารถพัฒนาแหล่งก๊าซฯ และน้ำมันขึ้นมาได้หรือไม่ ส่วนแหล่ง M11 นั้น ขณะนี้ยังไม่เจออะไร แต่คาดว่าเร็วๆ นี้ ปตท.สผ.น่าจะมีโอกาสขยายแหล่งใหม่ในพม่าได้
สำหรับเม็ดเงินลงทุนใน 5 ปี (2555-2559) นั้น ปตท.สผ.คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในไทย 65% และลงทุนในต่างประเทศ 45% โดยในต่างประเทศนั้นจะนำไปลงทุนในพม่าถึง 20% ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาแหล่งซอติก้าและสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ เพิ่ม
วันนี้ในพม่า เราไม่กลัวคู่แข่งรายใด และมีแต่บริษัทใหญ่มาติดต่อขอร่วมทุนกับ ปตท. อีกทั้งรัฐบาลพม่าก็เห็นว่าเราอยู่กับเขาในช่วงที่เขาลำบาก ตอนไม่มีใครกล้าเข้าไปลงทุน และ ปตท.ยังคงอยู่กับพม่าเดินหน้าโครงการอื่นๆต่อจนถึงวันนี้ พม่าจึงคิดว่า ปตท.เหมือนเพื่อนแท้ช่วยกันในยามยาก
ซึ่งวิธีการเข้าไปลงทุนในพม่าวันนี้ ต้องเข้าไปในลักษณะเพื่อนกันจริงๆไม่ใช่การเข้าไปหาผลประโยชน์กลับประเทศตัวเอง ถ้าเป็นเช่นนั้นจะไม่ได้รับโอกาสในการลงทุน ดังนั้นต้องเข้าไปด้วยความจริงใจ และเราจะได้ทั้งโอกาสและพันธมิตรทางธุรกิจระยะยาวต่อไป.
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 345
ย้ายโรงกลั่น
Source - ข่าวสด (Th), Tuesday, July 10, 2012
คอลัมน์ บทบรรณาธิการ
เชื่อว่าผู้เกี่ยวข้องกับความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันบางจากเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นบริษัท บางจาก เองหรือปตท.ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ และกระทรวงพลังงานในฐานะผู้ควบคุม
คงเร่งการสอบสวนและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้โรงกลั่นสามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ เพื่อลดความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด
อย่างไรก็ดี สำหรับชุมชนที่อยู่โดยรอบโรงกลั่นบางจากและสังคมที่เฝ้าติดตามสิ่งที่เกิดขึ้น กลับมีข้อเรียกร้องที่แตกต่างออกไป
นั่นคือหากไม่ย้ายโรงกลั่น ก็จะต้องย้ายหรือมีวิธีป้องกันอันตรายให้กับชุมชนหากเกิดอุบัติเหตุเช่นนี้อีก
ในอดีต การตั้งโรงกลั่นน้ำมันในสถานที่ดังกล่าวอาจจะมีความเหมาะสม เพราะที่ดินบริเวณนั้นยังเป็นป่าจากไม่มีชุมชนเข้ามาตั้งบ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัย
แต่ปัจจุบันบริเวณรอบโรงกลั่นเปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนหนาแน่น ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์จำนวนมาก
หากเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงกว่านี้ ความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย
ประเด็นก็คือการย้ายโรงกลั่นออกไปตั้งในสถานที่อื่นนั้น ต้องใช้เงินถึง 90,000-100,000 ล้านบาท ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุนเมื่อเทียบกับขนาดของกิจการ
หากหลักการคือควรย้ายโรงกลั่น สิ่งที่จะต้องพิจารณาคือวิธีการที่เหมาะสมกับทุกฝ่ายควรเป็นอย่างไร
พื้นที่ของโรงกลั่นบางจากในปัจจุบันนั้นมีมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล หากย้ายที่ตั้งโรงกลั่นแล้วนำมาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แม้อาจจะไม่ถึง 100,000 ล้านบาท แต่ก็น่าจะช่วยลดภาระต้นทุนการย้ายไปได้ไม่น้อย
หากได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงานหรือรัฐบาลในรูปแบบอื่นๆ ต้นทุนในการย้ายโรงกลั่นก็อาจจะถูกลงกว่าที่ประมาณการไว้
แต่หากจะไม่ดำเนินการย้ายโรงกลั่นเพราะประเมินแล้วไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ โรงกลั่นก็จะต้องลงทุนจัดทำ "แนวกันชน" ระหว่างโรงกลั่นกับชุมชนในระดับที่ประชาชนทั่วไปวางใจได้
ว่าแม้จะเกิดอุบัติเหตุครั้งใหม่ก็จะไม่ได้รับภัยไปด้วย
Source - ข่าวสด (Th), Tuesday, July 10, 2012
คอลัมน์ บทบรรณาธิการ
เชื่อว่าผู้เกี่ยวข้องกับความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมันบางจากเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นบริษัท บางจาก เองหรือปตท.ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ และกระทรวงพลังงานในฐานะผู้ควบคุม
คงเร่งการสอบสวนและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้โรงกลั่นสามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ เพื่อลดความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด
อย่างไรก็ดี สำหรับชุมชนที่อยู่โดยรอบโรงกลั่นบางจากและสังคมที่เฝ้าติดตามสิ่งที่เกิดขึ้น กลับมีข้อเรียกร้องที่แตกต่างออกไป
นั่นคือหากไม่ย้ายโรงกลั่น ก็จะต้องย้ายหรือมีวิธีป้องกันอันตรายให้กับชุมชนหากเกิดอุบัติเหตุเช่นนี้อีก
ในอดีต การตั้งโรงกลั่นน้ำมันในสถานที่ดังกล่าวอาจจะมีความเหมาะสม เพราะที่ดินบริเวณนั้นยังเป็นป่าจากไม่มีชุมชนเข้ามาตั้งบ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัย
แต่ปัจจุบันบริเวณรอบโรงกลั่นเปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนหนาแน่น ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์จำนวนมาก
หากเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงกว่านี้ ความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย
ประเด็นก็คือการย้ายโรงกลั่นออกไปตั้งในสถานที่อื่นนั้น ต้องใช้เงินถึง 90,000-100,000 ล้านบาท ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุนเมื่อเทียบกับขนาดของกิจการ
หากหลักการคือควรย้ายโรงกลั่น สิ่งที่จะต้องพิจารณาคือวิธีการที่เหมาะสมกับทุกฝ่ายควรเป็นอย่างไร
พื้นที่ของโรงกลั่นบางจากในปัจจุบันนั้นมีมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล หากย้ายที่ตั้งโรงกลั่นแล้วนำมาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แม้อาจจะไม่ถึง 100,000 ล้านบาท แต่ก็น่าจะช่วยลดภาระต้นทุนการย้ายไปได้ไม่น้อย
หากได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงานหรือรัฐบาลในรูปแบบอื่นๆ ต้นทุนในการย้ายโรงกลั่นก็อาจจะถูกลงกว่าที่ประมาณการไว้
แต่หากจะไม่ดำเนินการย้ายโรงกลั่นเพราะประเมินแล้วไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ โรงกลั่นก็จะต้องลงทุนจัดทำ "แนวกันชน" ระหว่างโรงกลั่นกับชุมชนในระดับที่ประชาชนทั่วไปวางใจได้
ว่าแม้จะเกิดอุบัติเหตุครั้งใหม่ก็จะไม่ได้รับภัยไปด้วย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 346
COVEวิ่งไม่เลิกพุ่ง274เพนซ์
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, July 10, 2012
PTTEPขยายเวลารับคำเสนอซื้อถึง13ก.ค.นี้
COVE หุ้นวิ่งไม่เลิกราคาพุ่งแตะ 274 เพนซ์ไปแล้ว ฟาก PTTEP ประกาศขยายเวลารับคำเสนอซื้อออกไปอีกรอบ กำหนดภายในวันที่ 13 ก.ค.นี้ ด้าน TOP ชี้ราคาน้ำมันพุ่งแตะ 100 เหรียญสหรัฐภายในไตรมาส 4
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการยื่นคำเสนอซื้อหุ้น COVE ENERGY ระหว่างบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP และบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ ว่า ล่าสุด ราคาหุ้น COVE ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่าราคาที่ทั้งสองบริษัทได้ทำข้อเสนอซื้อไป
โดยในช่วงเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาราคาหุ้น COVE ได้เคลื่อนไหวอยู่ในอัตรา 260 เพนซ์ และทยอยปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 270 เพนซ์ ในช่วงปลายเดือนมิ.ย. 55 ส่วนล่าสุดราคาหุ้นได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเหนือระดับ 274 เพนซ์ ดังนั้น ราคาในปัจจุบันจึงมีอัตราสูงกว่าที่ PTTEP ประกาศทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดในอัตรา 240 เพนซ์ไปแล้ว 14% และเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่รอยัล ดัทช์ เชลล์ เสนอราคาซื้ออย่างเป็นทางการที่ระดับ 220 เพนซ์ มากกว่า 24%
ด้านนายสุรพงษ์ เอี่ยมจุฬา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานโครงการในประเทศ รักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTEP เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางบริษัทได้ขยายระยะเวลาการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นไปจนถึงวันที่ 13 ก.ค. 2555 เวลา 13.00 น. (ตามเวลาของประเทศอังกฤษ) โดยข้อกำหนดและเงื่อนไขของการทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด ยังคงเป็นไปตามที่ได้ระบุใน Offer Document
นอกจากนี้ ปตท.สผ. ขอแจ้งว่า หน่วยงานการป้องกันการผูกขาดทางการค้าแห่งสาธารณรัฐเคนยา (The Competition Authority of Kenya) ได้ให้การอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ปตท.สผ.สำหรับการเข้าซื้อหุ้นสามัญที่ออกแล้ว และยังไม่ได้ออกทั้งหมดของบริษัท Cove
ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นของ PTTEP ในรอบนี้ เป็นการประกาศขยายเวลาต่อเนื่องจากครั้งแรกที่กำหนดสิ้นสุดลงในช่วงวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ส่วนของบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ จะมีกำหนดเวลารับคำเสนอซื้อภายในวันที่ 11 ก.ค.นี้
ส่วนนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTEP เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางบริษัทและกลุ่มผู้ร่วมทุนได้ประสบความสำเร็จ ในการติดตั้งแท่นหลุมผลิตที่ 2 ของแหล่งเทจั๊กจั๋ง ในโครงการเวียดนาม 16-1 ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบจาก 4.1 หมื่นบาร์เรลต่อวัน เป็นประมาณ 5.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ได้ภายในไตรมาส 4 นี้
ด้านนายพงษ์พันธุ์ อมรวิวัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายวางแผนการพาณิชย์องค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP กล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของน้ำมันทาง TOP จะวางแนวทางไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.ทีมบริหารความเสี่ยงจะระดมแนวคิดและนำเสนอให้กับทางบอร์ดเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดราคา 2.เร่งตัดสินใจทำการเฮดจิ้ง 3.ประสานงานกับเทรดเดอร์เพื่อเข้าซื้อขายด้วยความรวดเร็ว
นอกจากนี้ ทางบริษัทยังใช้วิธีฟิกซ์ราคาซื้อขายในบางผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันความผันผวน สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมันตลาดดูไบในช่วงไตรมาส 3 ในเบื้องต้นได้ประเมินว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 94 เหรียญสหรัฐ และกลับมาปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐได้อีกครั้งภายในช่วงไตรมาส 4
"ราคาน้ำมันในปัจจุบันค่อนข้างเซนซิทีฟมาก พอมีปัญหาของอิหร่านและนอร์เวย์ ก็ผลักดันให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่พอมีประเด็นเศรษฐกิจของยุโรปชะลอตัวออกมา ราคาน้ำมันก็ปรับตัวลดลงอีกครั้ง ดังนั้น เราจึงต้องมีทีมบริหารความเสี่ยงเพื่อเข้ามาช่วยดูแลในส่วนนี้" นายพงษ์พันธุ์ กล่าว
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, July 10, 2012
PTTEPขยายเวลารับคำเสนอซื้อถึง13ก.ค.นี้
COVE หุ้นวิ่งไม่เลิกราคาพุ่งแตะ 274 เพนซ์ไปแล้ว ฟาก PTTEP ประกาศขยายเวลารับคำเสนอซื้อออกไปอีกรอบ กำหนดภายในวันที่ 13 ก.ค.นี้ ด้าน TOP ชี้ราคาน้ำมันพุ่งแตะ 100 เหรียญสหรัฐภายในไตรมาส 4
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการยื่นคำเสนอซื้อหุ้น COVE ENERGY ระหว่างบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP และบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ ว่า ล่าสุด ราคาหุ้น COVE ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่าราคาที่ทั้งสองบริษัทได้ทำข้อเสนอซื้อไป
โดยในช่วงเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมาราคาหุ้น COVE ได้เคลื่อนไหวอยู่ในอัตรา 260 เพนซ์ และทยอยปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 270 เพนซ์ ในช่วงปลายเดือนมิ.ย. 55 ส่วนล่าสุดราคาหุ้นได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเหนือระดับ 274 เพนซ์ ดังนั้น ราคาในปัจจุบันจึงมีอัตราสูงกว่าที่ PTTEP ประกาศทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดในอัตรา 240 เพนซ์ไปแล้ว 14% และเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่รอยัล ดัทช์ เชลล์ เสนอราคาซื้ออย่างเป็นทางการที่ระดับ 220 เพนซ์ มากกว่า 24%
ด้านนายสุรพงษ์ เอี่ยมจุฬา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานโครงการในประเทศ รักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTEP เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางบริษัทได้ขยายระยะเวลาการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นไปจนถึงวันที่ 13 ก.ค. 2555 เวลา 13.00 น. (ตามเวลาของประเทศอังกฤษ) โดยข้อกำหนดและเงื่อนไขของการทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด ยังคงเป็นไปตามที่ได้ระบุใน Offer Document
นอกจากนี้ ปตท.สผ. ขอแจ้งว่า หน่วยงานการป้องกันการผูกขาดทางการค้าแห่งสาธารณรัฐเคนยา (The Competition Authority of Kenya) ได้ให้การอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ปตท.สผ.สำหรับการเข้าซื้อหุ้นสามัญที่ออกแล้ว และยังไม่ได้ออกทั้งหมดของบริษัท Cove
ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นของ PTTEP ในรอบนี้ เป็นการประกาศขยายเวลาต่อเนื่องจากครั้งแรกที่กำหนดสิ้นสุดลงในช่วงวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ส่วนของบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ จะมีกำหนดเวลารับคำเสนอซื้อภายในวันที่ 11 ก.ค.นี้
ส่วนนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTEP เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางบริษัทและกลุ่มผู้ร่วมทุนได้ประสบความสำเร็จ ในการติดตั้งแท่นหลุมผลิตที่ 2 ของแหล่งเทจั๊กจั๋ง ในโครงการเวียดนาม 16-1 ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบจาก 4.1 หมื่นบาร์เรลต่อวัน เป็นประมาณ 5.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ได้ภายในไตรมาส 4 นี้
ด้านนายพงษ์พันธุ์ อมรวิวัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายวางแผนการพาณิชย์องค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP กล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของน้ำมันทาง TOP จะวางแนวทางไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.ทีมบริหารความเสี่ยงจะระดมแนวคิดและนำเสนอให้กับทางบอร์ดเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดราคา 2.เร่งตัดสินใจทำการเฮดจิ้ง 3.ประสานงานกับเทรดเดอร์เพื่อเข้าซื้อขายด้วยความรวดเร็ว
นอกจากนี้ ทางบริษัทยังใช้วิธีฟิกซ์ราคาซื้อขายในบางผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันความผันผวน สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมันตลาดดูไบในช่วงไตรมาส 3 ในเบื้องต้นได้ประเมินว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 94 เหรียญสหรัฐ และกลับมาปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐได้อีกครั้งภายในช่วงไตรมาส 4
"ราคาน้ำมันในปัจจุบันค่อนข้างเซนซิทีฟมาก พอมีปัญหาของอิหร่านและนอร์เวย์ ก็ผลักดันให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่พอมีประเด็นเศรษฐกิจของยุโรปชะลอตัวออกมา ราคาน้ำมันก็ปรับตัวลดลงอีกครั้ง ดังนั้น เราจึงต้องมีทีมบริหารความเสี่ยงเพื่อเข้ามาช่วยดูแลในส่วนนี้" นายพงษ์พันธุ์ กล่าว
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 347
ไฟเขียวทุ่ม4.15หมื่นล.ให้รสก.ลงทุน [ ข่าวสด, 11 ก.ค. 55 ]
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม
คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
(รสก.) 3 แห่ง วงเงินรวม 41,500 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพระนคร
เหนือ ชุดที่ 2 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วงเงิน 22,752 ล้านบาท เป็น
โครงการที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคตและเป็นไป
ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2553-2573 (พีดีพี 2010) โดยให้
กฟผ.พิจารณาแหล่งเงินทุนภายในประเทศก่อน
นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม
คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
(รสก.) 3 แห่ง วงเงินรวม 41,500 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพระนคร
เหนือ ชุดที่ 2 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วงเงิน 22,752 ล้านบาท เป็น
โครงการที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคตและเป็นไป
ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2553-2573 (พีดีพี 2010) โดยให้
กฟผ.พิจารณาแหล่งเงินทุนภายในประเทศก่อน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 348
คอลัมน์: ผ่าประเด็นร้อน: "ปู"ไปเขมรตามคำเชิญสหรัฐฯ-เชฟรอน แสตมป์ธุรกิจพลังงาน !?
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Wednesday, July 11, 2012
จู่ๆ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็บินด่วนไปกัมพูชาในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคมตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาฮิลลารี คลินตัน เพื่อเข้าร่วมประชุมและกล่าวสุนทรพจน์ในงานฟอรัมธุรกิจอาเซียน ซึ่งมีนักธุรกิจของสหรัฐฯเข้าร่วม โดยเฉพาะผู้บริหารจาก บริษัทเชฟรอน ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯเข้าร่วมด้วย
ทั้งที่ตามความเป็นจริง นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์น่าจะอยู่ในประเทศไทย เพราะในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคมดังกล่าวเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำพิพากษาคดีล้มล้างการปกครองหรือไม่จากการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การยกร่างฉบับใหม่ เธอน่าจะติดตามอย่างใกล้ชิด
สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะเห็นว่าตัวเองลอยตัวเพราะไม่ว่าคำพิพากษาจะออกมาทางลบเลวร้ายแค่ไหนก็มั่นใจว่าไม่กระทบต่อตัวเอง เนื่องจากไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย อีกทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยืนยันมาตลอดแล้วว่าเป็นเรื่องของสภาตัวเองไม่เกี่ยว
ดังนั้น ในประเด็นเรื่องคดีล้มล้างการปกครองเฉพาะตัวเองคงไม่มีผลกระทบมาถึงการดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เป็นอยู่
ทีนี้ก็ยังเหลือแต่เรื่องประเด็นการเดินทางไปเขมรในช่วงที่น่าหวาดเสียว แสดงว่าต้องเป็นเรื่องเร่งด่วน จำเป็นที่สำคัญต้องใช้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป "แสตมป์" ด้วยหรือไม่ มันก็เป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถาม เพราะถ้าปะติดปะต่อกันรับรองว่ามันเชื่อมโยงกันแบบมีพิรุธให้เห็นอย่างชัดเจน
เริ่มมาจากความสัมพันธ์เรื่องที่สหรัฐอเมริกาในนามของนาซาจะขอมาใช้สนามบินอู่ตะเภาอ้างว่ามาขอใช้สถานที่ขนอุปกรณ์ดูลมฟ้าอากาศในภูมิภาคนี้ แต่เมื่อความแตกถูกต่อต้านหนักข้อก็ถอยกลับไปชั่วคราว แต่ขณะเดียวกันน่าจับตาก็คือความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับ ทักษิณชินวัตร กลับดีเกินคาด และเป็นช่วงเวลาที่สัมพันธ์กันพอดีนั่นคือ เมื่อไม่กี่วันก่อน นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาทักษิณก็มาเปิดเผยว่าเจ้านายของเขาได้รับวีซ่าให้เข้าประเทศสหรัฐฯ แล้ว และได้มา "สองสามเดือน" แล้วขณะเดียวกัน ก่อนหน้านั้นในราวกลางสัปดาห์บริษัท ปตท.ก็ได้แถลงความพร้อมที่จะลงทุนสำรวจน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยโดยเร่งรัดให้รัฐบาลเร่งเจรจากับรัฐบาลกัมพูชา
น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือเวลานี้ที่กัมพูชาเป็นช่วงของการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเท่านั้น ไม่ใช่ระดับผู้นำ อย่างมากก็มีแค่นายกรัฐมนตรีฮุนเซน เท่านั้นในฐานะเจ้าภาพเปิดการประชุม ส่วนประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ จีน ก็ล้วนแล้วแต่ส่งรัฐมนตรีต่างประเทศไปร่วม มีเพียงไทยที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษที่ นายกรัฐมนตรีต้องเดินทางไปด้วยตัวเองและร่วมวงนักธุรกิจดังกล่าว
หากจะบอกว่าเป็นการโรดโชว์ดึงดูดการลงทุนแต่ดูแล้วมันไม่ถูกกาลเทศะเท่าใดนัก ไม่สมศักดิ์ศรีพิกลนอกเหนือจากมี "วาระซ่อนเร้น" อะไรบางอย่าง โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนที่เชื่อมโยงไปถึงพี่ชายคือ ทักษิณชินวัตร ซึ่งแทบทุกคนที่ติดตามมานานย่อมเข้าใจดีว่ามีความสนใจร่วมลงทุนในธุรกิจพลังงานในพื้นที่ดังกล่าว และที่ผ่านมาก็ได้มีการเจรจาปูทางกัน มาอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าจะมีขาดช่วง ไม่ต่อเนื่อง แต่ในที่สุดเมื่อรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของ ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นมามีอำนาจข่าวการเจรจาก็เดินหน้าไปเรื่อยๆ ทั้งในเรื่องแหล่งพลังงานในพม่าจนมาถึงพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย และแน่นอนว่าทุกครั้งจะมีความเคลื่อนไหวของบริษัทพลังงานอย่างเชฟรอนของสหรัฐฯ และปตท.เข้ามาเกี่ยวข้องทุกครั้ง คราวนี้ก็เช่นเดียวกัน
เพราะจู่ๆ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึงกับเดินทางไปกัมพูชาโดยกะทันหันเพื่อเข้าร่วมประชุมกับนักธุรกิจของสหรัฐฯที่มีบริษัทเชฟรอนรวมอยู่ด้วย และในท่ามกลางความสัมพันธ์กับ ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกระดับดีเยี่ยมมีการออกวีซ่าให้เข้าประเทศ เมื่อปะติดปะต่อกันแล้วมันก็มองได้ว่าเป็นการเดินทางไปแสตมป์ในฐานะนายกรัฐมนตรีเหมือนกับก่อนหน้านี้เมื่อครั้งไปเยือนพม่าไม่มีผิด
คราวนี้ก็เช่นเดียวกันรับรองว่าจะต้องมีเรื่องธุรกิจพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้องแน่นอน ส่วนจะเกี่ยวข้องแบบไหนและเข้ากระเป๋าใคร ห้ามกะพริบตาเป็นอันขาด !!
"เพราะจู่ๆ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรถึงกับเดินทางไปกัมพูชาโดยกะทันหันเพื่อเข้าร่วมประชุมกับนักธุรกิจของสหรัฐฯ ที่มีบริษัทเชฟรอนรวมอยู่ด้วยและในท่ามกลางความสัมพันธ์กับทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกระดับดีเยี่ยม มีการออกวีซ่าให้เข้าประเทศ เมื่อปะติดปะต่อกันแล้วมันก็มองได้ว่าเป็นการเดินทางไปแสตมป์ในฐานะนายกรัฐมนตรีเหมือนกับก่อนหน้านี้เมื่อครั้งไปเยือนพม่าไม่มีผิด"
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Wednesday, July 11, 2012
จู่ๆ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็บินด่วนไปกัมพูชาในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคมตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาฮิลลารี คลินตัน เพื่อเข้าร่วมประชุมและกล่าวสุนทรพจน์ในงานฟอรัมธุรกิจอาเซียน ซึ่งมีนักธุรกิจของสหรัฐฯเข้าร่วม โดยเฉพาะผู้บริหารจาก บริษัทเชฟรอน ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯเข้าร่วมด้วย
ทั้งที่ตามความเป็นจริง นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์น่าจะอยู่ในประเทศไทย เพราะในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคมดังกล่าวเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำพิพากษาคดีล้มล้างการปกครองหรือไม่จากการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การยกร่างฉบับใหม่ เธอน่าจะติดตามอย่างใกล้ชิด
สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะเห็นว่าตัวเองลอยตัวเพราะไม่ว่าคำพิพากษาจะออกมาทางลบเลวร้ายแค่ไหนก็มั่นใจว่าไม่กระทบต่อตัวเอง เนื่องจากไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย อีกทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยืนยันมาตลอดแล้วว่าเป็นเรื่องของสภาตัวเองไม่เกี่ยว
ดังนั้น ในประเด็นเรื่องคดีล้มล้างการปกครองเฉพาะตัวเองคงไม่มีผลกระทบมาถึงการดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เป็นอยู่
ทีนี้ก็ยังเหลือแต่เรื่องประเด็นการเดินทางไปเขมรในช่วงที่น่าหวาดเสียว แสดงว่าต้องเป็นเรื่องเร่งด่วน จำเป็นที่สำคัญต้องใช้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป "แสตมป์" ด้วยหรือไม่ มันก็เป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถาม เพราะถ้าปะติดปะต่อกันรับรองว่ามันเชื่อมโยงกันแบบมีพิรุธให้เห็นอย่างชัดเจน
เริ่มมาจากความสัมพันธ์เรื่องที่สหรัฐอเมริกาในนามของนาซาจะขอมาใช้สนามบินอู่ตะเภาอ้างว่ามาขอใช้สถานที่ขนอุปกรณ์ดูลมฟ้าอากาศในภูมิภาคนี้ แต่เมื่อความแตกถูกต่อต้านหนักข้อก็ถอยกลับไปชั่วคราว แต่ขณะเดียวกันน่าจับตาก็คือความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับ ทักษิณชินวัตร กลับดีเกินคาด และเป็นช่วงเวลาที่สัมพันธ์กันพอดีนั่นคือ เมื่อไม่กี่วันก่อน นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาทักษิณก็มาเปิดเผยว่าเจ้านายของเขาได้รับวีซ่าให้เข้าประเทศสหรัฐฯ แล้ว และได้มา "สองสามเดือน" แล้วขณะเดียวกัน ก่อนหน้านั้นในราวกลางสัปดาห์บริษัท ปตท.ก็ได้แถลงความพร้อมที่จะลงทุนสำรวจน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยโดยเร่งรัดให้รัฐบาลเร่งเจรจากับรัฐบาลกัมพูชา
น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือเวลานี้ที่กัมพูชาเป็นช่วงของการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเท่านั้น ไม่ใช่ระดับผู้นำ อย่างมากก็มีแค่นายกรัฐมนตรีฮุนเซน เท่านั้นในฐานะเจ้าภาพเปิดการประชุม ส่วนประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ จีน ก็ล้วนแล้วแต่ส่งรัฐมนตรีต่างประเทศไปร่วม มีเพียงไทยที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษที่ นายกรัฐมนตรีต้องเดินทางไปด้วยตัวเองและร่วมวงนักธุรกิจดังกล่าว
หากจะบอกว่าเป็นการโรดโชว์ดึงดูดการลงทุนแต่ดูแล้วมันไม่ถูกกาลเทศะเท่าใดนัก ไม่สมศักดิ์ศรีพิกลนอกเหนือจากมี "วาระซ่อนเร้น" อะไรบางอย่าง โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนที่เชื่อมโยงไปถึงพี่ชายคือ ทักษิณชินวัตร ซึ่งแทบทุกคนที่ติดตามมานานย่อมเข้าใจดีว่ามีความสนใจร่วมลงทุนในธุรกิจพลังงานในพื้นที่ดังกล่าว และที่ผ่านมาก็ได้มีการเจรจาปูทางกัน มาอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าจะมีขาดช่วง ไม่ต่อเนื่อง แต่ในที่สุดเมื่อรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของ ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นมามีอำนาจข่าวการเจรจาก็เดินหน้าไปเรื่อยๆ ทั้งในเรื่องแหล่งพลังงานในพม่าจนมาถึงพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย และแน่นอนว่าทุกครั้งจะมีความเคลื่อนไหวของบริษัทพลังงานอย่างเชฟรอนของสหรัฐฯ และปตท.เข้ามาเกี่ยวข้องทุกครั้ง คราวนี้ก็เช่นเดียวกัน
เพราะจู่ๆ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึงกับเดินทางไปกัมพูชาโดยกะทันหันเพื่อเข้าร่วมประชุมกับนักธุรกิจของสหรัฐฯที่มีบริษัทเชฟรอนรวมอยู่ด้วย และในท่ามกลางความสัมพันธ์กับ ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกระดับดีเยี่ยมมีการออกวีซ่าให้เข้าประเทศ เมื่อปะติดปะต่อกันแล้วมันก็มองได้ว่าเป็นการเดินทางไปแสตมป์ในฐานะนายกรัฐมนตรีเหมือนกับก่อนหน้านี้เมื่อครั้งไปเยือนพม่าไม่มีผิด
คราวนี้ก็เช่นเดียวกันรับรองว่าจะต้องมีเรื่องธุรกิจพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้องแน่นอน ส่วนจะเกี่ยวข้องแบบไหนและเข้ากระเป๋าใคร ห้ามกะพริบตาเป็นอันขาด !!
"เพราะจู่ๆ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรถึงกับเดินทางไปกัมพูชาโดยกะทันหันเพื่อเข้าร่วมประชุมกับนักธุรกิจของสหรัฐฯ ที่มีบริษัทเชฟรอนรวมอยู่ด้วยและในท่ามกลางความสัมพันธ์กับทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกระดับดีเยี่ยม มีการออกวีซ่าให้เข้าประเทศ เมื่อปะติดปะต่อกันแล้วมันก็มองได้ว่าเป็นการเดินทางไปแสตมป์ในฐานะนายกรัฐมนตรีเหมือนกับก่อนหน้านี้เมื่อครั้งไปเยือนพม่าไม่มีผิด"
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 349
ปตท.สยายปีกทะลุเป้าใหญ่อันดับ95ของโลก
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Wednesday, July 11, 2012
โพสต์ทูเดย์ -ปตท.ประสบความสำเร็จเกินเป้าหมาย ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 100 ของโลกเป็นครั้งแรก
"ฟอร์จูน" นิตยสารธุรกิจชื่อดังของสหรัฐ เปิดเผยรายชื่อ500 บริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2555 ปรากฏว่าบริษัท ปตท.ติด 100 อันดับแรกได้ในปีนี้ ปรับขึ้นจากที่ 128 ในปีก่อนมาอยู่ในอันดับที่ 95
นอกจากนี้ ฟอร์จูนรายงานข้อมูลรายได้ของบริษัท ปตท. อยู่ที่7.9690 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ(ราว 2.3 ล้านล้านบาท) โดยมีกำไรสุทธิที่ 3,456 ล้านเหรียญสหรัฐ(ราว 1.03 แสนล้านบาท)
ขณะที่บริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกประจำปีนี้เป็นของ เชลล์บริษัทพลังงานสัญชาติอังกฤษ-ดัตช์มีรายได้รวมอยู่ที่ 4.84489 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 14.5 ล้านล้านบาท) และมีกำไรสุทธิที่ 3.0918 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ(ราว 9.2 แสนล้านบาท) แซงแชมป์เก่าอย่างเอ็กซอนโมบิล ซึ่งตกไปอยู่อันดับ 2 โดยมีรายได้รวมที่ 4.52950 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.40 ล้านล้านบาท) และมีกำไรสุทธิที่ 4.1060 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ(ราว 1.27 ล้านล้านบาท)
ทั้งนี้ จาก 500 บริษัทนั้นมีบริษัทสัญชาติสหรัฐอยู่มากที่สุดคือ 132 บริษัท จีน 73 บริษัทแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นอันดับ 2 โดยมีบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นรวมอยู่ที่68 บริษัท
ปัจจุบัน บริษัท ปตท. ยังคงเป็นบริษัทไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ1 ใน 500 ของการจัดอันดับบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจากนิตยสารฟอร์จูน โดย ปตท. สามารถไต่อันดับดีขึ้นเรื่อยๆนับตั้งแต่ปี2547 อยู่อันดับที่ 456 ปี 2548 อยู่ที่ 373 ปี 2549 อยู่ที่ 265 ปี 2550 อยู่ที่ 207 ปี 2551 อยู่ที่ 135 ปี2552 ดีขึ้น โดยมาอยู่อันดับที่ 118 แต่ปี 2553 อันดับกลับร่วงลงมาอยู่ที่ 155 เป็นเพราะบริษัทลูกได้รับผลกระทบจากการขาดทุนสต๊อก หลังจากราคาน้ำมันมีความผันผวนมาก
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า ปตท.ประกาศนโยบายชัดเจนและมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ ปตท. เป็นบริษัทพลังงานที่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศ และมีความสามารถแข่งขันในตลาดโลกซึ่งก็ไม่ผิดหวังเพราะสามารถทำกำไรสุทธิได้ถึงเป้าหมาย 1 แสนล้านบาท และยังได้รับรางวัลบริษัทที่มีการกำกับดูแลที่ดีติดอันดับเอเชีย
ทั้งนี้ปตท.ต้องใหญ่เพื่อแข่งขันกับโลก และต้องแข็งแกร่งด้วยผลประกอบการที่ดี และมีเสถียรภาพ
--จบ--
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Wednesday, July 11, 2012
โพสต์ทูเดย์ -ปตท.ประสบความสำเร็จเกินเป้าหมาย ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 100 ของโลกเป็นครั้งแรก
"ฟอร์จูน" นิตยสารธุรกิจชื่อดังของสหรัฐ เปิดเผยรายชื่อ500 บริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2555 ปรากฏว่าบริษัท ปตท.ติด 100 อันดับแรกได้ในปีนี้ ปรับขึ้นจากที่ 128 ในปีก่อนมาอยู่ในอันดับที่ 95
นอกจากนี้ ฟอร์จูนรายงานข้อมูลรายได้ของบริษัท ปตท. อยู่ที่7.9690 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ(ราว 2.3 ล้านล้านบาท) โดยมีกำไรสุทธิที่ 3,456 ล้านเหรียญสหรัฐ(ราว 1.03 แสนล้านบาท)
ขณะที่บริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกประจำปีนี้เป็นของ เชลล์บริษัทพลังงานสัญชาติอังกฤษ-ดัตช์มีรายได้รวมอยู่ที่ 4.84489 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 14.5 ล้านล้านบาท) และมีกำไรสุทธิที่ 3.0918 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ(ราว 9.2 แสนล้านบาท) แซงแชมป์เก่าอย่างเอ็กซอนโมบิล ซึ่งตกไปอยู่อันดับ 2 โดยมีรายได้รวมที่ 4.52950 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.40 ล้านล้านบาท) และมีกำไรสุทธิที่ 4.1060 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ(ราว 1.27 ล้านล้านบาท)
ทั้งนี้ จาก 500 บริษัทนั้นมีบริษัทสัญชาติสหรัฐอยู่มากที่สุดคือ 132 บริษัท จีน 73 บริษัทแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นอันดับ 2 โดยมีบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นรวมอยู่ที่68 บริษัท
ปัจจุบัน บริษัท ปตท. ยังคงเป็นบริษัทไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับ1 ใน 500 ของการจัดอันดับบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจากนิตยสารฟอร์จูน โดย ปตท. สามารถไต่อันดับดีขึ้นเรื่อยๆนับตั้งแต่ปี2547 อยู่อันดับที่ 456 ปี 2548 อยู่ที่ 373 ปี 2549 อยู่ที่ 265 ปี 2550 อยู่ที่ 207 ปี 2551 อยู่ที่ 135 ปี2552 ดีขึ้น โดยมาอยู่อันดับที่ 118 แต่ปี 2553 อันดับกลับร่วงลงมาอยู่ที่ 155 เป็นเพราะบริษัทลูกได้รับผลกระทบจากการขาดทุนสต๊อก หลังจากราคาน้ำมันมีความผันผวนมาก
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กล่าวว่า ปตท.ประกาศนโยบายชัดเจนและมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ ปตท. เป็นบริษัทพลังงานที่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศ และมีความสามารถแข่งขันในตลาดโลกซึ่งก็ไม่ผิดหวังเพราะสามารถทำกำไรสุทธิได้ถึงเป้าหมาย 1 แสนล้านบาท และยังได้รับรางวัลบริษัทที่มีการกำกับดูแลที่ดีติดอันดับเอเชีย
ทั้งนี้ปตท.ต้องใหญ่เพื่อแข่งขันกับโลก และต้องแข็งแกร่งด้วยผลประกอบการที่ดี และมีเสถียรภาพ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 350
PTT makes it to 95th in Fortune 500
Source - Bangkok Post (Eng), Thursday, July 12, 2012
PTT Plc, the national oil conglomerate, saw its annual ranking in Fortune Global 500, a list of the world’s largest companies, surge sharply to 95th from 128th thanks to huge revenue and a profit increase last year.
It is the only Thai firm on the list.
Chief executive Pailin Chuchottaworn said the increase demonstrates PTT’s potential in strengthening national energy security, and it assures local and foreign investors of Thailand’s economic strength.
"This ranking reflects that PTT has become a truly international corporation," he said.
Last year, PTT’s consolidated revenue grew by 33% to US$79.7 billion, while net profit rose by 31.9% to $3.46 billion.
Topping the list is Royal Dutch Shell, whose revenue last year totalled $484 billion for a net profit of $30.9 billion.
Exxon Mobil, which topped the list last year, came in second with revenue of $453 billion and a net profit of $41.1 billion.
Among the top 500 companies, the US led the pack with 132, followed by 73 from China and 68 from Japan.
Former chief executive Prasert Bunsumpun said a clear business plan was the key factor that enabled the company to reach the Fortune 100.
"The higher we climb up the list, the more trust we’ll earn from other people," he said.
Source - Bangkok Post (Eng), Thursday, July 12, 2012
PTT Plc, the national oil conglomerate, saw its annual ranking in Fortune Global 500, a list of the world’s largest companies, surge sharply to 95th from 128th thanks to huge revenue and a profit increase last year.
It is the only Thai firm on the list.
Chief executive Pailin Chuchottaworn said the increase demonstrates PTT’s potential in strengthening national energy security, and it assures local and foreign investors of Thailand’s economic strength.
"This ranking reflects that PTT has become a truly international corporation," he said.
Last year, PTT’s consolidated revenue grew by 33% to US$79.7 billion, while net profit rose by 31.9% to $3.46 billion.
Topping the list is Royal Dutch Shell, whose revenue last year totalled $484 billion for a net profit of $30.9 billion.
Exxon Mobil, which topped the list last year, came in second with revenue of $453 billion and a net profit of $41.1 billion.
Among the top 500 companies, the US led the pack with 132, followed by 73 from China and 68 from Japan.
Former chief executive Prasert Bunsumpun said a clear business plan was the key factor that enabled the company to reach the Fortune 100.
"The higher we climb up the list, the more trust we’ll earn from other people," he said.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 351
ปตท.เล็งตั้งโต๊ะซื้อหุ้น'แทปไลน์'ก.ค.นี้เดินหน้าท่อส่งนามันสายเหนือ-อีสาน
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, July 12, 2012
ชี้ท่อส่งน้ำมันสำย "เหนืออีสำน" ผลตอบแทนลงทุนแค่ 10-12%
ปตท.เตรียมเคาะมูลค่าหุ้นแทปไลน์และความเป็น ไปได้โครงการท่อส่งน้ำมันสายเหนือ-อีสาน มูลค่า 15,000 ล้านบาทเดือน ก.ค.นี้ก่อนตั้งโต๊ะเจรจาซื้อหุ้น หวังเดินหน้าโครงการโดยเร็ว
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.นี้ ปตท. จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการลงทุนในโครงการก่อสร้าง ท่อขนส่งน้ำมันเชื่อมต่อภาคเหนือ ได้แก่ จ.นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา และขอนแก่น ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือ แทปไลน์
ทั้งนี้ผลสรุปทำให้มีความชัดเจนหลายประเด็น ทั้ง 1. มูลค่าหุ้นของบริษัทแทปไลน์ในปัจจุบัน 2.โมเดลการลงทุน 3.แนวทางการบริหารจัดการท่อเส้น เดิมและเส้นใหม่ และค่าใช้ท่อ เนื่องจากการขยายท่อส่งน้ำมัน จะทำให้ปริมาณน้ำมันที่เข้าทั้งท่อเส้นเดิมและท่อใหม่มีมากขึ้น ทำให้ต้องศึกษาค่าผ่านท่อน้ำมันใหม่
ส่วนของข้อสรุปมูลค่าหุ้นของแทปไลน์นั้น จะนำไปสู่ตั้งโต๊ะเจรจาซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นอื่นของแทปไลน์ โดย ปตท.มีแนวทางจะขอซื้อเพื่อถือหุ้นในสัดส่วน ที่ทำให้มีอำนาจในการบริหารงาน หรือ 3 ใน 4 ของสัดส่วนหุ้นทั้งหมด จากปัจจุบันที่ ปตท. ถือหุ้น 33.19% บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 9.19% เอสโซ่ 20.66% เชลล์ 14.87% เชฟรอน 9.91% คูเวตปิโตรเลียม 4.96% ปิโตรนาส 3.97% และ บีพี 3.24%
ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างท่อน้ำมัน จะใช้เวลาในการคืนทุนนาน และผลตอบแทนการลงทุนไม่มากหากคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ แต่หากรวมต้นทุนทางสังคม ทั้งเรื่องความปลอดภัยของการขนส่งทางรถ และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงถนน จะคุ้มค่าในระยะยาว
นายถวัลย์ศักดิ์ กราพงษ์ กรรมการผู้จัดการ แทปไลน์ กล่าวว่า โครงการท่อส่งน้ำมันสายเหนือและอีสานนั้น ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 15,000 ล้านบาท ผลตอบแทนการลงทุน 10-12% ซึ่งผู้ถือหุ้นเห็นว่าไม่คุ้มที่จะลงทุน เพราะโดยปกติของธุรกิจต้องการผลตอบแทนมากกว่า 15%
อย่างไรก็ตามโครงการนี้ก็เป็นโครงการที่รัฐต้องการผลักดัน เพื่อลดการขนส่งน้ำมันโดยรถยนต์ ซึ่งมีความเสี่ยงภัยมากกว่า ดังนั้นจึงเห็นว่า รัฐจะต้องออกมาตรการสนับสนุน อาทิ มาตรการทางภาษี หรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น
ทั้งนี้ปัจจุบันระบบท่อส่งน้ำมันแทปไลน์ประกอบด้วย 3 โครงการหลักคือ ระบบท่อส่งน้ำมันศรีราชา-สระบุรี ความยาว 255 กม. สามารถขนส่งน้ำมันได้ 26,000 ล้านลิตรต่อปี มีเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีส่งน้ำมันต้นทางศรีราชา จ.ชลบุรี ไปยัง คลังปลายทางที่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี และที่ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี โดยมีท่อแยกไปยังคลังบาฟส์ ที่สนามบินดอนเมือง
ระบบท่อส่งน้ำมันอากาศยานสุวรรณภูมิ จากคลังน้ำมันลำลูกกาไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทางประมาณ 38 กม. ระบบท่อส่งน้ำมันมาบตาพุด - ศรีราชา ซึ่งขยายระบบท่อส่งไปเชื่อมต่อยังโรงกลั่นน้ำมันระยอง และโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียม ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 67 กม.
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท.กล่าวว่า โครงการขยายท่อส่งน้ำมันไปยังภาคเหนือและอีสานล่าช้า เพราะผู้ถือหุ้นหาข้อยุติไม่ได้ เนื่องจากผลตอบแทนการลงทุนต่ำ จึงต้องขอซื้อหุ้นจากรายอื่น เพื่อให้ ปตท.มีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งรัฐต้องออกมาตรการสนับสนุน เพื่อให้ผลตอบแทนการลงทุนสูงขึ้น
--จบ--
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, July 12, 2012
ชี้ท่อส่งน้ำมันสำย "เหนืออีสำน" ผลตอบแทนลงทุนแค่ 10-12%
ปตท.เตรียมเคาะมูลค่าหุ้นแทปไลน์และความเป็น ไปได้โครงการท่อส่งน้ำมันสายเหนือ-อีสาน มูลค่า 15,000 ล้านบาทเดือน ก.ค.นี้ก่อนตั้งโต๊ะเจรจาซื้อหุ้น หวังเดินหน้าโครงการโดยเร็ว
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.นี้ ปตท. จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการลงทุนในโครงการก่อสร้าง ท่อขนส่งน้ำมันเชื่อมต่อภาคเหนือ ได้แก่ จ.นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา และขอนแก่น ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือ แทปไลน์
ทั้งนี้ผลสรุปทำให้มีความชัดเจนหลายประเด็น ทั้ง 1. มูลค่าหุ้นของบริษัทแทปไลน์ในปัจจุบัน 2.โมเดลการลงทุน 3.แนวทางการบริหารจัดการท่อเส้น เดิมและเส้นใหม่ และค่าใช้ท่อ เนื่องจากการขยายท่อส่งน้ำมัน จะทำให้ปริมาณน้ำมันที่เข้าทั้งท่อเส้นเดิมและท่อใหม่มีมากขึ้น ทำให้ต้องศึกษาค่าผ่านท่อน้ำมันใหม่
ส่วนของข้อสรุปมูลค่าหุ้นของแทปไลน์นั้น จะนำไปสู่ตั้งโต๊ะเจรจาซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นอื่นของแทปไลน์ โดย ปตท.มีแนวทางจะขอซื้อเพื่อถือหุ้นในสัดส่วน ที่ทำให้มีอำนาจในการบริหารงาน หรือ 3 ใน 4 ของสัดส่วนหุ้นทั้งหมด จากปัจจุบันที่ ปตท. ถือหุ้น 33.19% บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 9.19% เอสโซ่ 20.66% เชลล์ 14.87% เชฟรอน 9.91% คูเวตปิโตรเลียม 4.96% ปิโตรนาส 3.97% และ บีพี 3.24%
ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างท่อน้ำมัน จะใช้เวลาในการคืนทุนนาน และผลตอบแทนการลงทุนไม่มากหากคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ แต่หากรวมต้นทุนทางสังคม ทั้งเรื่องความปลอดภัยของการขนส่งทางรถ และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงถนน จะคุ้มค่าในระยะยาว
นายถวัลย์ศักดิ์ กราพงษ์ กรรมการผู้จัดการ แทปไลน์ กล่าวว่า โครงการท่อส่งน้ำมันสายเหนือและอีสานนั้น ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 15,000 ล้านบาท ผลตอบแทนการลงทุน 10-12% ซึ่งผู้ถือหุ้นเห็นว่าไม่คุ้มที่จะลงทุน เพราะโดยปกติของธุรกิจต้องการผลตอบแทนมากกว่า 15%
อย่างไรก็ตามโครงการนี้ก็เป็นโครงการที่รัฐต้องการผลักดัน เพื่อลดการขนส่งน้ำมันโดยรถยนต์ ซึ่งมีความเสี่ยงภัยมากกว่า ดังนั้นจึงเห็นว่า รัฐจะต้องออกมาตรการสนับสนุน อาทิ มาตรการทางภาษี หรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น
ทั้งนี้ปัจจุบันระบบท่อส่งน้ำมันแทปไลน์ประกอบด้วย 3 โครงการหลักคือ ระบบท่อส่งน้ำมันศรีราชา-สระบุรี ความยาว 255 กม. สามารถขนส่งน้ำมันได้ 26,000 ล้านลิตรต่อปี มีเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีส่งน้ำมันต้นทางศรีราชา จ.ชลบุรี ไปยัง คลังปลายทางที่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี และที่ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี โดยมีท่อแยกไปยังคลังบาฟส์ ที่สนามบินดอนเมือง
ระบบท่อส่งน้ำมันอากาศยานสุวรรณภูมิ จากคลังน้ำมันลำลูกกาไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทางประมาณ 38 กม. ระบบท่อส่งน้ำมันมาบตาพุด - ศรีราชา ซึ่งขยายระบบท่อส่งไปเชื่อมต่อยังโรงกลั่นน้ำมันระยอง และโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียม ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 67 กม.
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท.กล่าวว่า โครงการขยายท่อส่งน้ำมันไปยังภาคเหนือและอีสานล่าช้า เพราะผู้ถือหุ้นหาข้อยุติไม่ได้ เนื่องจากผลตอบแทนการลงทุนต่ำ จึงต้องขอซื้อหุ้นจากรายอื่น เพื่อให้ ปตท.มีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งรัฐต้องออกมาตรการสนับสนุน เพื่อให้ผลตอบแทนการลงทุนสูงขึ้น
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 352
“Oil & Gas Thailand 2012 and Petrochemical Asia 2012”
งานมหกรรมปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุด งาน Oil & Gas Thailand (OGET) 2012 ครั้งที่ 2 และ Petrochemical Asia 2012
เป็นงานแสดงเทคโนโลยีเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซโดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งได้รวมเอาบริษัทธุรกิจน้ำมันและก๊าซทั้งกลุ่มธุรกิจขั้นต้นและ
ขั้นปลายระดับนานาชาติเข้าไว้ด้วยกัน รวมทั้งธุรกิจสนับสนุนที่รวมตัวกันอยู่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยเพื่อแสดงพัฒนาการล่าสุด
ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ
จุดเด่นของงาน Oil & Gas Thailand (OGET) 2012 และปิโตรเคมีคัลเอเชีย แห่งประเทศไทย:
• พื้นที่แสดงสินค้าจากประเทศสิงคโปร์กว่า 500 ตารางเมตรและจากประเทศจีนกว่า 200 ตารางเมตรซึ่งแสดงเทคโนโลยีเกี่ยวกับ
น้ำมันและก๊าซจากประเทศนั้นๆ
• งานเลี้ยงพบปะสังสรรค์สำหรับเจ้าของธุรกิจน้ำมันและก๊าซ
• สัมมนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซ
• การประชุมเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซ
*รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.oilgasthai.com
งานมหกรรมปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุด งาน Oil & Gas Thailand (OGET) 2012 ครั้งที่ 2 และ Petrochemical Asia 2012
เป็นงานแสดงเทคโนโลยีเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซโดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งได้รวมเอาบริษัทธุรกิจน้ำมันและก๊าซทั้งกลุ่มธุรกิจขั้นต้นและ
ขั้นปลายระดับนานาชาติเข้าไว้ด้วยกัน รวมทั้งธุรกิจสนับสนุนที่รวมตัวกันอยู่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยเพื่อแสดงพัฒนาการล่าสุด
ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ
จุดเด่นของงาน Oil & Gas Thailand (OGET) 2012 และปิโตรเคมีคัลเอเชีย แห่งประเทศไทย:
• พื้นที่แสดงสินค้าจากประเทศสิงคโปร์กว่า 500 ตารางเมตรและจากประเทศจีนกว่า 200 ตารางเมตรซึ่งแสดงเทคโนโลยีเกี่ยวกับ
น้ำมันและก๊าซจากประเทศนั้นๆ
• งานเลี้ยงพบปะสังสรรค์สำหรับเจ้าของธุรกิจน้ำมันและก๊าซ
• สัมมนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซ
• การประชุมเกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซ
*รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.oilgasthai.com
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 353
"ปตท.สผ."โชว์แนวรุกแหล่งน้ำมันพม่า-เวียดนาม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า เดินหน้าสานต่อแผนใช้งบฯลงทุนปี 2555-2559 รวม 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นในประเทศ 55% และต่างประเทศ 45% ปีนี้จะใช้ 5,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายการลงทุนเพื่อคงศักยภาพการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
ในส่วนการลงทุนแหล่งก๊าซธรรมชาติจะทำได้ทันที ขณะที่แหล่งน้ำมันดิบใหม่จะต้องพิจารณาจากแนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลก จะไม่คุ้มทุนหากตลาดดับเบิลยูทีไอต่ำกว่า 70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งตอนนี้เป็นการประเมินระยะสั้น หากระยะยาวอาจจะคุ้มค่าเมื่อต้องลงทุนเพิ่มขึ้น
โดย ปตท.สผ.ตั้งเป้าหมายภายในปี 2563 จะมีกำลังการผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งผลิตทั่วโลก 9 แสนบาร์เรลต่อวัน เพิ่มจากปัจจุบันผลิตได้ 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยได้ให้ความสำคัญในการลงทุนในพม่ามากที่สุด เนื่องจากยังมีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอีกมากภายหลังการเปิดประเทศ ทำให้ทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามามากมาย ส่งผลให้การบริโภคพลังงานเพิ่มขึ้นมาก
"คาดพม่าจะมีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มปีละ 7-8% ต่อปี ทาง ปตท.สผ.ได้เข้าไปลงทุนในพม่า 5 โครงการ ดำเนินการเองซึ่งอยู่ในระหว่างสำรวจ 4 โครงการ คือ พม่า เอ็ม 3 และเอ็ม 11 พม่าพีเอสซีจี และอีพี 2 และอยู่ระหว่างพัฒนา 1 โครงการ คือ ซอติก้า รวมทั้งมีโครงการร่วมลงทุนอยู่ระหว่างการผลิตอีกคือ ยาดานา เยตากุน"
จากการสำรวจเบื้องต้น ปตท.สผ.พบว่าแหล่งเอ็ม 3 มีปริมาณสำรองจำนวนมาก และมีปริมาณก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือแอลพีจีอยู่บ้าง สามารถต่อยอดผลิตเป็นปิโตรเคมีได้ โดยจะผลิตขายให้พม่าเป็นหลัก ส่วนเอ็ม 11 จะเริ่มเจาะสำรวจต้นปี 2556 ซึ่งจะผลิตเพื่อส่งให้พม่าเช่นกัน ถ้ามีปริมาณเหลือก็จะส่งให้ไทย"
นายเทวินทร์กล่าวเพิ่มเติมว่า ปตท.สผ.เตรียมหารือกับกระทรวงพลังงาน เรื่องความชัดเจนของนโยบายขยายสัมปทานปิโตรเลียมในแหล่งผลิตเดิม เนื่องจากแหล่งสัมปทานบงกช และแหล่งสัมปทานร่วมทุนกับบริษัท เชฟรอน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือเชฟรอน อีกหลายแห่งจะหมดอายุอีก 10 ปีข้างหน้านี้
ส่วนนโยบายสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ของชาติตามนโยบาย 90 วัน มีความเห็นว่าเป็นนโยบายที่ดี เพราะจะช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ แต่ส่วนใหญ่ในต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น
และเกาหลี รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุน เนื่องจากหากให้ผู้ค้าน้ำมันเป็นผู้ดำเนินการ ต้นทุนจะเพิ่มขึ้น รัฐบาลควรจะจัดตั้งกองทุนเพื่อจัดสรรเงินเข้าไปลงทุน และหากมีการบริหารจัดการที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงจากการสำรองน้ำมัน และก่อให้เกิดกำไรได้
นอกจากนี้ ปตผ.สผ.ยังประสบความสำเร็จ โครงการ เวียดนาม 16-1 ในการติดตั้งแท่นหลุมผลิตที่ 2 (Wellhead Platfrom) ของแหล่งเทจั๊กจั๋ง (Te Glac Trang Field) คาดการณ์จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้เป็นต้นไป เพิ่มเป็นวันละ 55,000 บาร์เรล จากปัจจุบัน 41,000 บาร์เรล
สำหรับโครงการนี้ดำเนินการโดยบริษัท Hoang Joint Operating Company จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มผู้ร่วมทุน 4 บริษัท ได้แก่ บริษัทย่อยของ ปตท.สผ. คือ บริษัท PTTEP Hoang Long Company Limited ถือหุ้น 28.5% บริษัท PetroViednam Exploration and Prodution Coporation ถือหุ้น 41% บริษัท SOCO Vietnam Ltd ถือหุ้น 28.5 % และ OPECO Vietnam ถือหุ้น 2%
ปัจจุบัน ปตท.สผ.ลงทุนสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมในเวียดนามแล้ว 4 โครงการ เช่น เวียดนาม 16-1, 9-2 เวียดนาม บี 48/95, เวียดนาม 52/97
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า เดินหน้าสานต่อแผนใช้งบฯลงทุนปี 2555-2559 รวม 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นในประเทศ 55% และต่างประเทศ 45% ปีนี้จะใช้ 5,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายการลงทุนเพื่อคงศักยภาพการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
ในส่วนการลงทุนแหล่งก๊าซธรรมชาติจะทำได้ทันที ขณะที่แหล่งน้ำมันดิบใหม่จะต้องพิจารณาจากแนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลก จะไม่คุ้มทุนหากตลาดดับเบิลยูทีไอต่ำกว่า 70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งตอนนี้เป็นการประเมินระยะสั้น หากระยะยาวอาจจะคุ้มค่าเมื่อต้องลงทุนเพิ่มขึ้น
โดย ปตท.สผ.ตั้งเป้าหมายภายในปี 2563 จะมีกำลังการผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งผลิตทั่วโลก 9 แสนบาร์เรลต่อวัน เพิ่มจากปัจจุบันผลิตได้ 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน โดยได้ให้ความสำคัญในการลงทุนในพม่ามากที่สุด เนื่องจากยังมีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอีกมากภายหลังการเปิดประเทศ ทำให้ทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามามากมาย ส่งผลให้การบริโภคพลังงานเพิ่มขึ้นมาก
"คาดพม่าจะมีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มปีละ 7-8% ต่อปี ทาง ปตท.สผ.ได้เข้าไปลงทุนในพม่า 5 โครงการ ดำเนินการเองซึ่งอยู่ในระหว่างสำรวจ 4 โครงการ คือ พม่า เอ็ม 3 และเอ็ม 11 พม่าพีเอสซีจี และอีพี 2 และอยู่ระหว่างพัฒนา 1 โครงการ คือ ซอติก้า รวมทั้งมีโครงการร่วมลงทุนอยู่ระหว่างการผลิตอีกคือ ยาดานา เยตากุน"
จากการสำรวจเบื้องต้น ปตท.สผ.พบว่าแหล่งเอ็ม 3 มีปริมาณสำรองจำนวนมาก และมีปริมาณก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือแอลพีจีอยู่บ้าง สามารถต่อยอดผลิตเป็นปิโตรเคมีได้ โดยจะผลิตขายให้พม่าเป็นหลัก ส่วนเอ็ม 11 จะเริ่มเจาะสำรวจต้นปี 2556 ซึ่งจะผลิตเพื่อส่งให้พม่าเช่นกัน ถ้ามีปริมาณเหลือก็จะส่งให้ไทย"
นายเทวินทร์กล่าวเพิ่มเติมว่า ปตท.สผ.เตรียมหารือกับกระทรวงพลังงาน เรื่องความชัดเจนของนโยบายขยายสัมปทานปิโตรเลียมในแหล่งผลิตเดิม เนื่องจากแหล่งสัมปทานบงกช และแหล่งสัมปทานร่วมทุนกับบริษัท เชฟรอน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือเชฟรอน อีกหลายแห่งจะหมดอายุอีก 10 ปีข้างหน้านี้
ส่วนนโยบายสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ของชาติตามนโยบาย 90 วัน มีความเห็นว่าเป็นนโยบายที่ดี เพราะจะช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ แต่ส่วนใหญ่ในต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น
และเกาหลี รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุน เนื่องจากหากให้ผู้ค้าน้ำมันเป็นผู้ดำเนินการ ต้นทุนจะเพิ่มขึ้น รัฐบาลควรจะจัดตั้งกองทุนเพื่อจัดสรรเงินเข้าไปลงทุน และหากมีการบริหารจัดการที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงจากการสำรองน้ำมัน และก่อให้เกิดกำไรได้
นอกจากนี้ ปตผ.สผ.ยังประสบความสำเร็จ โครงการ เวียดนาม 16-1 ในการติดตั้งแท่นหลุมผลิตที่ 2 (Wellhead Platfrom) ของแหล่งเทจั๊กจั๋ง (Te Glac Trang Field) คาดการณ์จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้เป็นต้นไป เพิ่มเป็นวันละ 55,000 บาร์เรล จากปัจจุบัน 41,000 บาร์เรล
สำหรับโครงการนี้ดำเนินการโดยบริษัท Hoang Joint Operating Company จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มผู้ร่วมทุน 4 บริษัท ได้แก่ บริษัทย่อยของ ปตท.สผ. คือ บริษัท PTTEP Hoang Long Company Limited ถือหุ้น 28.5% บริษัท PetroViednam Exploration and Prodution Coporation ถือหุ้น 41% บริษัท SOCO Vietnam Ltd ถือหุ้น 28.5 % และ OPECO Vietnam ถือหุ้น 2%
ปัจจุบัน ปตท.สผ.ลงทุนสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมในเวียดนามแล้ว 4 โครงการ เช่น เวียดนาม 16-1, 9-2 เวียดนาม บี 48/95, เวียดนาม 52/97
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 354
ก๊าซหุงต้มขึ้นอีก6-7บาท/กก. ภาคขนส่ง 3-4 บาท เริ่ม16สค.-รื้อบัตรพลังงาน
ก๊าซหุงต้มขึ้นอีก6-7บาท/กก. ภาคขนส่ง 3-4 บาท เริ่ม16สค.-รื้อบัตรพลังงาน
16 ส.ค. ดีเดย์ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มครัวเรือนอีก 6-7 บาท/กก. และภาคขนส่ง 3-4 บาท ให้เท่ากับราคาภาคอุตฯ พร้อมหาทางช่วยผู้มีรายได้น้อยและร้านอาหาร เล็งเก็บเงินคนใช้ตั้งกองทุนดูแลเสถียรภาพราคาแอลพีจี
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานเตรียมปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ทั้งระบบในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ โดยจะครบกำหนดระยะเวลาตรึงราคา 3 เดือน ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ส่งผลให้ราคาแอลพีจีครัวเรือนและภาคขนส่ง ต้องปรับราคาที่สะท้อนราคาตลาดหรือเท่ากับราคาแอลพีจีในภาคอุตสาหกรรม เพื่อไม่ให้เป็นภาระกองทุนพลังงานเชื้อเพลิงที่ต้องเข้าไปอุดหนุนราคา โดยปัจจุบันราคานำเข้าแอลพีจีเฉลี่ย 700 เหรียญต่อตัน คิดเป็นภาระอุดหนุนวันละ 40 ล้านบาท
"กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างหามาตรการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย รวมถึงจำกัดขอบเขตผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหารว่ามีรายใดบ้างที่เข้าข่ายต้องได้รับการอุดหนุนราคา เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินตัวเลขออกมาได้ เพราะยังมีการใช้แอลพีจีข้ามกลุ่ม ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ แต่เมื่อมีการปรับราคาจะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่ากลุ่มไหนได้รับผลกระทบ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือได้ถูกกลุ่ม และกลุ่มไหนไม่ควรช่วยเหลือ ทั้งหมดจะต้องได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 16 สิงหาคมนี้" นายอารักษ์กล่าว
นายอารักษ์กล่าวว่า ปัจจุบันราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนอยู่ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ภาคขนส่งอยู่ที่ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม หากปรับให้ราคาเท่ากับภาคอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 24.86 บาทต่อกิโลกรัม เท่ากับว่าราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนจะปรับขึ้นอีก 6-7 บาทต่อกิโลกรัม แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้ามาก เพราะจากสมมติฐานราคาแอลพีจีครัวเรือนหากปรับขึ้นไปถึง 30 บาทต่อกิโลกรัม จะส่งผลให้ต้นทุนราคาอาหารเพิ่มขึ้นประมาณ 0.25 บาท
"หากปรับราคาแอลพีจีเป็นราคาเดียวกันแล้ว ในระยะยาวอาจต้องตั้งกองทุนแอลพีจีขึ้นมา เพื่อเก็บเงินจากผู้ใช้แอลพีจีมาใช้ดูแลราคาแอลพีจีให้มีเสถียรภาพ เช่นเดียวกับกองทุนน้ำมัน เนื่องจากราคาแอลพีจีคงไม่สามารถประกาศปรับราคาทุกวันได้ อาจจะปรับราคาเดือนละครั้งทำให้ในระหว่างเดือนจะต้องมีกองทุนเข้ามาดูแลเสถียรภาพราคา" นายอารักษ์กล่าว
นายอารักษ์กล่าวว่า นอกจากนี้ ในวันที่ 16 สิงหาคม จะปรับราคาก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) หลังตรึงราคามา 3 เดือนเช่นกัน ขณะนี้ตัวเลขที่กระทรวงพิจารณาร่วมกับผู้ประกอบการขนส่งใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว แต่ต้องดูว่าจะสามารถปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีได้ทั้งหมดภายในครั้งเดียว หรือจะทยอยปรับขึ้น ต้องขอดูส่วนต่างระหว่างราคาเอ็นจีวีในขณะนั้น กับราคาขายปัจจุบันที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ว่ามีส่วนต่างมากน้อยแค่ไหน
นายอารักษ์กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับนโยบายบัตรเครดิตพลังงานว่า ล่าสุดสั่งทีมงานให้ไปทำโครงการใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง เพราะที่ผ่านมามีการสื่อสารผิดพลาด ทำให้มีผู้เข้าร่วมโครงการใช้บัตรเครดิตแค่ 4 พันราย รวมทั้งยังเข้าใจผิดว่าวงเงิน 3 พันบาทต่อบัตร เป็นการให้เปล่า ซึ่งการทำโครงการบัตรเครดิตพลังงานรอบใหม่ จะใช้ธนาคารของรัฐเป็นตัวเดินหน้าแทนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และให้สามารถใช้บัตรกับปั๊มน้ำมันได้ทุกแห่ง ไม่ใช่เฉพาะของ ปตท.เท่านั้น
(ที่มา:มติชนรายวัน 13 ก.ค.2555)
ก๊าซหุงต้มขึ้นอีก6-7บาท/กก. ภาคขนส่ง 3-4 บาท เริ่ม16สค.-รื้อบัตรพลังงาน
16 ส.ค. ดีเดย์ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มครัวเรือนอีก 6-7 บาท/กก. และภาคขนส่ง 3-4 บาท ให้เท่ากับราคาภาคอุตฯ พร้อมหาทางช่วยผู้มีรายได้น้อยและร้านอาหาร เล็งเก็บเงินคนใช้ตั้งกองทุนดูแลเสถียรภาพราคาแอลพีจี
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานเตรียมปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ทั้งระบบในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ โดยจะครบกำหนดระยะเวลาตรึงราคา 3 เดือน ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ส่งผลให้ราคาแอลพีจีครัวเรือนและภาคขนส่ง ต้องปรับราคาที่สะท้อนราคาตลาดหรือเท่ากับราคาแอลพีจีในภาคอุตสาหกรรม เพื่อไม่ให้เป็นภาระกองทุนพลังงานเชื้อเพลิงที่ต้องเข้าไปอุดหนุนราคา โดยปัจจุบันราคานำเข้าแอลพีจีเฉลี่ย 700 เหรียญต่อตัน คิดเป็นภาระอุดหนุนวันละ 40 ล้านบาท
"กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างหามาตรการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย รวมถึงจำกัดขอบเขตผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหารว่ามีรายใดบ้างที่เข้าข่ายต้องได้รับการอุดหนุนราคา เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินตัวเลขออกมาได้ เพราะยังมีการใช้แอลพีจีข้ามกลุ่ม ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ แต่เมื่อมีการปรับราคาจะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่ากลุ่มไหนได้รับผลกระทบ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือได้ถูกกลุ่ม และกลุ่มไหนไม่ควรช่วยเหลือ ทั้งหมดจะต้องได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 16 สิงหาคมนี้" นายอารักษ์กล่าว
นายอารักษ์กล่าวว่า ปัจจุบันราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนอยู่ที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ภาคขนส่งอยู่ที่ 21.13 บาทต่อกิโลกรัม หากปรับให้ราคาเท่ากับภาคอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 24.86 บาทต่อกิโลกรัม เท่ากับว่าราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนจะปรับขึ้นอีก 6-7 บาทต่อกิโลกรัม แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้ามาก เพราะจากสมมติฐานราคาแอลพีจีครัวเรือนหากปรับขึ้นไปถึง 30 บาทต่อกิโลกรัม จะส่งผลให้ต้นทุนราคาอาหารเพิ่มขึ้นประมาณ 0.25 บาท
"หากปรับราคาแอลพีจีเป็นราคาเดียวกันแล้ว ในระยะยาวอาจต้องตั้งกองทุนแอลพีจีขึ้นมา เพื่อเก็บเงินจากผู้ใช้แอลพีจีมาใช้ดูแลราคาแอลพีจีให้มีเสถียรภาพ เช่นเดียวกับกองทุนน้ำมัน เนื่องจากราคาแอลพีจีคงไม่สามารถประกาศปรับราคาทุกวันได้ อาจจะปรับราคาเดือนละครั้งทำให้ในระหว่างเดือนจะต้องมีกองทุนเข้ามาดูแลเสถียรภาพราคา" นายอารักษ์กล่าว
นายอารักษ์กล่าวว่า นอกจากนี้ ในวันที่ 16 สิงหาคม จะปรับราคาก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) หลังตรึงราคามา 3 เดือนเช่นกัน ขณะนี้ตัวเลขที่กระทรวงพิจารณาร่วมกับผู้ประกอบการขนส่งใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว แต่ต้องดูว่าจะสามารถปรับขึ้นราคาเอ็นจีวีได้ทั้งหมดภายในครั้งเดียว หรือจะทยอยปรับขึ้น ต้องขอดูส่วนต่างระหว่างราคาเอ็นจีวีในขณะนั้น กับราคาขายปัจจุบันที่ 10.50 บาทต่อกิโลกรัม ว่ามีส่วนต่างมากน้อยแค่ไหน
นายอารักษ์กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับนโยบายบัตรเครดิตพลังงานว่า ล่าสุดสั่งทีมงานให้ไปทำโครงการใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง เพราะที่ผ่านมามีการสื่อสารผิดพลาด ทำให้มีผู้เข้าร่วมโครงการใช้บัตรเครดิตแค่ 4 พันราย รวมทั้งยังเข้าใจผิดว่าวงเงิน 3 พันบาทต่อบัตร เป็นการให้เปล่า ซึ่งการทำโครงการบัตรเครดิตพลังงานรอบใหม่ จะใช้ธนาคารของรัฐเป็นตัวเดินหน้าแทนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และให้สามารถใช้บัตรกับปั๊มน้ำมันได้ทุกแห่ง ไม่ใช่เฉพาะของ ปตท.เท่านั้น
(ที่มา:มติชนรายวัน 13 ก.ค.2555)
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 355
Column: EXECUTIVE BRIEFCASE: RETURN OF THE VISIONARY LEADER: PTTEP BOSS KNOWS HIS MISSION
Source - Bangkok Post (Eng), Thursday, July 12, 2012
SORAYUTH VATHANAVISUTH
’I have adopted the concept of "mission before vision" because an organisation needs to know the vision on which it was founded," says Tevin Vongvanich."Since our company
For this reason, PTTEP Vision 2020:has two roles, as a state-owned enterprise and a public listed company,we have a mission to ensure continuity of oil and gas supply while taking good care of all stakeholders, especially social and national interest."
After working for eight years at PTT Plc, the parent company of PTTEP, with his most recent post as chief financial officer, Mr Tevin returned to PTTEP,where he had been based previously for 15 years, as its chief executive in May.
"In the holistic picture of oil and gas, we import most of the required energy to be used in Thailand," he says."Thais also consume at a higher rate per capita than in many countries. As well, price of all energy sources are climbing.
"These three critical factors place us at great risk of energy shortages. If we can have a supply of more than the 800,000 barrels per day of oil we currently import, then we can ensure sustainability of supply in the long term."purpose of its existence before the is aiming high to reach production of 900,000 bpd."This ’Vision 2020’ can help create energy and dedication among our team and also getting support from the others, as we cannot do it alone," he says.
"It took us more than 20 years to reach the current level of 300,000 bpd,while we plan to achieve another three-fold increase within just the next eight years. This is a truly inspirational target together with the national interest in mind. We are committed wholeheartedly to this stretch target, as it will be a good thing for our country, not only for ourselves."
A veteran in the petroleum industry,Mr Tevin worked with Unocal for five years after graduating with first-class honours in chemical engineering from Chulalongkorn University. He later received two master’s degrees in chemical engineering (Rice University in Houston, Texas) and petroleum engineering (the University of Houston).He started his career at PTTEP in 1989.
"Since I’m an engineer by training,I’ve been taught to think in terms of process. I typically prefer to use logic for my decision-making," he says."Normally it begins with a clear vision,objective and target, something that can be interpreted to form a logical strategy and direction.
"If our team members understand the ultimate goal, they will help to correct the action plan or fill the gap with what is missing from the plan. In this regard,I considered myself a visionary leader.After we decide on an agreeable target,we must communicate and engage with our team members in order to encourage understanding, alignment, commitment and ownership. They can help to inspire people to achieve the target as well."
Role of leadership:In his career Mr Tevin has had some outstanding mentors, and he gives them a lot of credit."The advantage of not being No.1[in an organisation] is we can learn from the people above us," he explains."I continuously learned good things from my previous bosses such as Khun Prasert Bunsumpun, a former PTT chief executive, and Dr Thongchat Hongladarom, a former PTT CEO and PTTEP’s founder and its first CEO.
"Each leader at PTT and PTTEP has a different style. I’m not afraid to change and tell myself to keep improving since I don’t believe the status quo is best. If we believe that, we’ll stop improving."
Since 2006, under the initials of ABCD,PTTEP has been basing its beliefs on four pillars of corporate values:Adaptability, Boundaryless, Clear Thinking and Communication, and Determination and Dedication.
"I also think of the leader’s role in terms of ABCDE," Mr Tevin adds."The first one the leader must encourage alignment in the organisation.Differences in thinking are acceptable,but we must clearly communicate our ideas first. As a team player, one must share the same vision and direction in which the company wishes to go.Providing feedback can also help create unity among team members.
With great power comes great responsibility :"The ’B’, for Buy-in, is an important task on which leader must focus. Once buy-in happens,commitment and dedication will follow.People will have ownership of the direction forward.
"The leader has to concentrate as well on building Capability in a team.Therefore, they can effectively perform whatever they have been assigned. I strongly believe the role of a leader today is concerned mainly with this point. Capability also broadly covers resources an organisation needs, which are manpower, money and time.
"Discipline is the fourth function of a leader which relates to the system,rules for working together, ethics and integrity. Since we’re in the oil and gas business, it is important to address this element, especially under what I call the SSHE practice because it involves human beings.
Wearing a company shirt with SSHE embroidered on the sleeve, Mr Tevin further elaborates that it stands for Safety, Security, Health and Environment.
"The last but not least is Empowerment. We have to delegate with authority to our people. In this regard, I think of Spider-Man when he said:’With great power, comes great responsibility.’ It is interesting to see management principles expressed via a famous movie. This empowerment concept can also be referred to as accountability, which is an integral part of corporate governance."
Sorayuth Vathanavisuth, a former chief executive of the Thailand Management Association, teaches at Mahidol University’s College of Management. His areas of interest are leadership development, executive coaching and strategic business planning.He can be reached at [email protected]
"Each leader at PTT and PTTEP has a different style. I’m not afraid to change and tell myself to keep improving since I don’t believe the status quo is best. If we believe that, we’ll stop improving".
TEVIN VONGVANICH CEO, PTT Exploration and Production Plc
Source: Bangkok Post
Source - Bangkok Post (Eng), Thursday, July 12, 2012
SORAYUTH VATHANAVISUTH
’I have adopted the concept of "mission before vision" because an organisation needs to know the vision on which it was founded," says Tevin Vongvanich."Since our company
For this reason, PTTEP Vision 2020:has two roles, as a state-owned enterprise and a public listed company,we have a mission to ensure continuity of oil and gas supply while taking good care of all stakeholders, especially social and national interest."
After working for eight years at PTT Plc, the parent company of PTTEP, with his most recent post as chief financial officer, Mr Tevin returned to PTTEP,where he had been based previously for 15 years, as its chief executive in May.
"In the holistic picture of oil and gas, we import most of the required energy to be used in Thailand," he says."Thais also consume at a higher rate per capita than in many countries. As well, price of all energy sources are climbing.
"These three critical factors place us at great risk of energy shortages. If we can have a supply of more than the 800,000 barrels per day of oil we currently import, then we can ensure sustainability of supply in the long term."purpose of its existence before the is aiming high to reach production of 900,000 bpd."This ’Vision 2020’ can help create energy and dedication among our team and also getting support from the others, as we cannot do it alone," he says.
"It took us more than 20 years to reach the current level of 300,000 bpd,while we plan to achieve another three-fold increase within just the next eight years. This is a truly inspirational target together with the national interest in mind. We are committed wholeheartedly to this stretch target, as it will be a good thing for our country, not only for ourselves."
A veteran in the petroleum industry,Mr Tevin worked with Unocal for five years after graduating with first-class honours in chemical engineering from Chulalongkorn University. He later received two master’s degrees in chemical engineering (Rice University in Houston, Texas) and petroleum engineering (the University of Houston).He started his career at PTTEP in 1989.
"Since I’m an engineer by training,I’ve been taught to think in terms of process. I typically prefer to use logic for my decision-making," he says."Normally it begins with a clear vision,objective and target, something that can be interpreted to form a logical strategy and direction.
"If our team members understand the ultimate goal, they will help to correct the action plan or fill the gap with what is missing from the plan. In this regard,I considered myself a visionary leader.After we decide on an agreeable target,we must communicate and engage with our team members in order to encourage understanding, alignment, commitment and ownership. They can help to inspire people to achieve the target as well."
Role of leadership:In his career Mr Tevin has had some outstanding mentors, and he gives them a lot of credit."The advantage of not being No.1[in an organisation] is we can learn from the people above us," he explains."I continuously learned good things from my previous bosses such as Khun Prasert Bunsumpun, a former PTT chief executive, and Dr Thongchat Hongladarom, a former PTT CEO and PTTEP’s founder and its first CEO.
"Each leader at PTT and PTTEP has a different style. I’m not afraid to change and tell myself to keep improving since I don’t believe the status quo is best. If we believe that, we’ll stop improving."
Since 2006, under the initials of ABCD,PTTEP has been basing its beliefs on four pillars of corporate values:Adaptability, Boundaryless, Clear Thinking and Communication, and Determination and Dedication.
"I also think of the leader’s role in terms of ABCDE," Mr Tevin adds."The first one the leader must encourage alignment in the organisation.Differences in thinking are acceptable,but we must clearly communicate our ideas first. As a team player, one must share the same vision and direction in which the company wishes to go.Providing feedback can also help create unity among team members.
With great power comes great responsibility :"The ’B’, for Buy-in, is an important task on which leader must focus. Once buy-in happens,commitment and dedication will follow.People will have ownership of the direction forward.
"The leader has to concentrate as well on building Capability in a team.Therefore, they can effectively perform whatever they have been assigned. I strongly believe the role of a leader today is concerned mainly with this point. Capability also broadly covers resources an organisation needs, which are manpower, money and time.
"Discipline is the fourth function of a leader which relates to the system,rules for working together, ethics and integrity. Since we’re in the oil and gas business, it is important to address this element, especially under what I call the SSHE practice because it involves human beings.
Wearing a company shirt with SSHE embroidered on the sleeve, Mr Tevin further elaborates that it stands for Safety, Security, Health and Environment.
"The last but not least is Empowerment. We have to delegate with authority to our people. In this regard, I think of Spider-Man when he said:’With great power, comes great responsibility.’ It is interesting to see management principles expressed via a famous movie. This empowerment concept can also be referred to as accountability, which is an integral part of corporate governance."
Sorayuth Vathanavisuth, a former chief executive of the Thailand Management Association, teaches at Mahidol University’s College of Management. His areas of interest are leadership development, executive coaching and strategic business planning.He can be reached at [email protected]
"Each leader at PTT and PTTEP has a different style. I’m not afraid to change and tell myself to keep improving since I don’t believe the status quo is best. If we believe that, we’ll stop improving".
TEVIN VONGVANICH CEO, PTT Exploration and Production Plc
Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 356
3ยักษ์พลังงานถกเอทานอลเปิดไทยแลนด์ไพรซ์ปลายปี
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, July 14, 2012
3 ค่ายใหญ่ "ปตท.-บางจาก-มิตรผล" กระทุ้งรัฐปลดล็อกอุตสาหกรรม "เอทานอล" ปูพรมก่อนยกเลิกเบนซิน 91 หนุนน้ำมันแก๊สโซฮอล์อีก 85 และอี 20 โต เอกชนลั่นเปิด Thailand Price ตั้งตลาดกลางราคาได้ภายในปี’55
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธาน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มการหาวัตถุดิบมาผลิตพลังงานจะเปลี่ยนจากแหล่งฟอสซิลซึ่งลดลงเป็นพลังงานทดแทนมากขึ้น โดยเฉพาะเอทานอลที่นำมาใช้ผลิตแก๊สโซฮอล์ สามารถใช้พืชซึ่งปลูกเพื่อผลิตได้ แต่ปัจจุบันปริมาณการใช้ยังไม่เพิ่มเท่าที่ควร เนื่องจากยังมีประชาชนบางส่วนไม่มั่นใจในคุณภาพ รวมไปถึงกลไกการกำหนดราคาเอทานอลยังไม่มีกลไกราคาอ้างอิงที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ดังนั้น จึงเห็นว่ารัฐบาลควรผลักดันให้เกิดตลาดกลางเอทานอลขึ้น เพื่อให้มีราคาอ้างอิง จนนำไปสู่การซื้อขายในตลาดล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรกรวางแผนการผลิตอย่างได้ผล
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงพลังงานวางเป้าหมายการใช้เอทานอล 9 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้น หากยกเลิกเบนซิน 91 จริง จะช่วยเพิ่มยอดการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นต่ำกว่าเป้า นั่นคือได้เพียง 8 ล้านลิตรต่อวัน ทางบางจากยอดขายเอทานอลโดยเพิ่มหัวจ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 85 ก็ทำได้ยากเช่นกัน เพราะถ้าเพิ่มยอดขายอี 85 มาก ต้นทุนจะสูงขึ้นรวมถึงขายน้ำ ไม่ได้ด้วย จึงขยายสถานีได้ช้า
จากการที่บางจากสนับสนุนการขายอี 85 และ อี 20 จำนวนมาก ทำให้ต้องแบกภาระขาดทุนกว่าปีละ 100 ล้านบาท และการจะพัฒนาเอทานอลอย่างยั่งยืนต้องเพิ่มปริมาณการใช้ในสัดส่วนที่บริษัทน้ำมันกับผู้ผลิตเอทานอลสามารถอยู่ได้ทั้งคู่ ตรงข้ามกับการที่รัฐบาลใช้วิธีนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาอุดหนุนให้โรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังที่มีต้นทุนการผลิตสูงกว่ากากน้ำตาล เป็นวิธีแก้ที่ไม่ยั่งยืน ควรจะผลักภาระนี้ไปให้ผู้ใช้น้ำมันจะดีกว่า เพราะจะช่วยให้ราคาแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นเพียง 20 สตางค์ต่อลิตร เป็นอัตราที่ประชาชนยอมรับได้ และยังเพิ่มการซื้อมันสำปะหลังจากเกษตรกรได้ถึง 1 ล้านตันต่อปี
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการพลังงานคาดการณ์แผนยกเลิกการขายเบนซิน 91 เดือนตุลาคมนี้ คงเป็นไปได้ยาก หากจะยกเลิกจริงต้องให้บริษัทน้ำมันและประชาชนเตรียมตัวไม่น้อยกว่า 6 เดือน และทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะยอดขายเบนซิน 91 มีถึง 8-9 ล้านลิตรต่อวัน คิดเป็น 40% ของการใช้น้ำมันเบนซินทั้งหมด
ด้านนายประวิทย์ ประกฤตศรี กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจพลังงาน บริษัท มิตรผล ไบโอฟูเอล จำกัด กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรรมเอทานอลให้เข้มแข็ง จะต้องสร้างเสถียรภาพด้านราคา เพื่อให้เกษตรกร โรงงาน และผู้ซื้อสามารถคาดการณ์ แนวโน้มของราคาได้ ขณะนี้กลุ่มมิตรผลร่วมมือกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ผลักดันให้เกิดตลาดกลางเอทานอล หรือ Thailand Price ขึ้นให้ได้ภายในปีนี้ ดึง ผู้ซื้อและขายต่างประเทศเข้ามาใช้บริการ
ระหว่างนี้รัฐบาลควรจะเร่งแก้กฎหมายเอทานอลที่ยังถูกกำหนดไว้ในหมวดสุราหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นอุปสรรคด้านการส่งออก รวมถึงการกำหนดสัดส่วนพื้นที่ปลูกพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม โดยต้องศึกษาเปรียบเทียบพืชที่สามารถทำราคาได้สูงเพื่อประโยชน์ของภาคการเกษตรโดยตรง
ปัจจุบันกลุ่มมิตรผลส่งออกเอทานอลไปตลาดต่างประเทศ 45% และขายในประเทศ 55% มีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศกว่า 30%
--จบ--
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, July 14, 2012
3 ค่ายใหญ่ "ปตท.-บางจาก-มิตรผล" กระทุ้งรัฐปลดล็อกอุตสาหกรรม "เอทานอล" ปูพรมก่อนยกเลิกเบนซิน 91 หนุนน้ำมันแก๊สโซฮอล์อีก 85 และอี 20 โต เอกชนลั่นเปิด Thailand Price ตั้งตลาดกลางราคาได้ภายในปี’55
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธาน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มการหาวัตถุดิบมาผลิตพลังงานจะเปลี่ยนจากแหล่งฟอสซิลซึ่งลดลงเป็นพลังงานทดแทนมากขึ้น โดยเฉพาะเอทานอลที่นำมาใช้ผลิตแก๊สโซฮอล์ สามารถใช้พืชซึ่งปลูกเพื่อผลิตได้ แต่ปัจจุบันปริมาณการใช้ยังไม่เพิ่มเท่าที่ควร เนื่องจากยังมีประชาชนบางส่วนไม่มั่นใจในคุณภาพ รวมไปถึงกลไกการกำหนดราคาเอทานอลยังไม่มีกลไกราคาอ้างอิงที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ดังนั้น จึงเห็นว่ารัฐบาลควรผลักดันให้เกิดตลาดกลางเอทานอลขึ้น เพื่อให้มีราคาอ้างอิง จนนำไปสู่การซื้อขายในตลาดล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรกรวางแผนการผลิตอย่างได้ผล
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงพลังงานวางเป้าหมายการใช้เอทานอล 9 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้น หากยกเลิกเบนซิน 91 จริง จะช่วยเพิ่มยอดการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นต่ำกว่าเป้า นั่นคือได้เพียง 8 ล้านลิตรต่อวัน ทางบางจากยอดขายเอทานอลโดยเพิ่มหัวจ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 85 ก็ทำได้ยากเช่นกัน เพราะถ้าเพิ่มยอดขายอี 85 มาก ต้นทุนจะสูงขึ้นรวมถึงขายน้ำ ไม่ได้ด้วย จึงขยายสถานีได้ช้า
จากการที่บางจากสนับสนุนการขายอี 85 และ อี 20 จำนวนมาก ทำให้ต้องแบกภาระขาดทุนกว่าปีละ 100 ล้านบาท และการจะพัฒนาเอทานอลอย่างยั่งยืนต้องเพิ่มปริมาณการใช้ในสัดส่วนที่บริษัทน้ำมันกับผู้ผลิตเอทานอลสามารถอยู่ได้ทั้งคู่ ตรงข้ามกับการที่รัฐบาลใช้วิธีนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาอุดหนุนให้โรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังที่มีต้นทุนการผลิตสูงกว่ากากน้ำตาล เป็นวิธีแก้ที่ไม่ยั่งยืน ควรจะผลักภาระนี้ไปให้ผู้ใช้น้ำมันจะดีกว่า เพราะจะช่วยให้ราคาแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นเพียง 20 สตางค์ต่อลิตร เป็นอัตราที่ประชาชนยอมรับได้ และยังเพิ่มการซื้อมันสำปะหลังจากเกษตรกรได้ถึง 1 ล้านตันต่อปี
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการพลังงานคาดการณ์แผนยกเลิกการขายเบนซิน 91 เดือนตุลาคมนี้ คงเป็นไปได้ยาก หากจะยกเลิกจริงต้องให้บริษัทน้ำมันและประชาชนเตรียมตัวไม่น้อยกว่า 6 เดือน และทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะยอดขายเบนซิน 91 มีถึง 8-9 ล้านลิตรต่อวัน คิดเป็น 40% ของการใช้น้ำมันเบนซินทั้งหมด
ด้านนายประวิทย์ ประกฤตศรี กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจพลังงาน บริษัท มิตรผล ไบโอฟูเอล จำกัด กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรรมเอทานอลให้เข้มแข็ง จะต้องสร้างเสถียรภาพด้านราคา เพื่อให้เกษตรกร โรงงาน และผู้ซื้อสามารถคาดการณ์ แนวโน้มของราคาได้ ขณะนี้กลุ่มมิตรผลร่วมมือกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ผลักดันให้เกิดตลาดกลางเอทานอล หรือ Thailand Price ขึ้นให้ได้ภายในปีนี้ ดึง ผู้ซื้อและขายต่างประเทศเข้ามาใช้บริการ
ระหว่างนี้รัฐบาลควรจะเร่งแก้กฎหมายเอทานอลที่ยังถูกกำหนดไว้ในหมวดสุราหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นอุปสรรคด้านการส่งออก รวมถึงการกำหนดสัดส่วนพื้นที่ปลูกพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม โดยต้องศึกษาเปรียบเทียบพืชที่สามารถทำราคาได้สูงเพื่อประโยชน์ของภาคการเกษตรโดยตรง
ปัจจุบันกลุ่มมิตรผลส่งออกเอทานอลไปตลาดต่างประเทศ 45% และขายในประเทศ 55% มีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศกว่า 30%
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 357
ปตท. คาดอีก 13 ปี ก๊าซในอ่าวไทยหมด
Source - ไทยรัฐ (Th), Sunday, July 15, 2012
ปตท.เร่งหาพื้นที่สร้างคลังก๊าซแห่งใหม่ หลังความต้องการใช้ก๊าซทั้งแอลพีจี-เอ็นจีวีพุ่ง ในขณะที่พม่าประกาศไม่ส่งออกก๊าซเพิ่ม และก๊าซอ่าวไทยเริ่มหมดใน 13 ปีข้างหน้า ด้านเชลล์พร้อมซัพพลาย และเข้ามาบริการแอลเอ็นจีในไทย หากภาครัฐกำกับกลไกให้เปิดเสรี
15 ก.ค. นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขั้นปลาย บมจ.ปตท. กล่าวว่า กลุ่ม ปตท.กำลังจัดหาที่ปรึกษา เพื่อจัดหาพื้นที่สำหรับสร้างคลังก๊าซแอลเอ็นจีแห่งที่ 2 และคลังก๊าซแอลพีจีแห่งใหม่ เพื่อรองรับความต้องที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแอลเอ็นจีเริ่มมีความต้องการเพิ่มเพิ่มสูงขึ้นมากในอนาคต แต่การผลิตในประเทศเริ่มมีข้อจำกัดจากปริมาณก๊าซฯ ในอ่าวไทย แนวโน้มจะผลิตในระดับคงที่และลดลง เนื่องจากในปัจจุบันได้ผลิตถึงเพดานสูงสุด 3,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากนี้ไปปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้รองรับความต้องการผลิตได้เพียง 13 ปีข้างหน้าเท่านั้น ขณะที่แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติจากเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นทำได้ยาก นอกเหนือจากจะมีข้อตกลงในพื้นที่ทับซื้อไทย-กัมพูชา หากเจรจากันได้จะต้องใช้เวลาพัฒนาอย่างน้อย 10 ปี ในขณะที่ทางรัฐบาลพม่าแจ้งแล้วว่าไม่มีนโยบายส่งออกก๊าซเพิ่มเติม
“พื้นที่คลังแอลเอ็นจีที่มาบตาพุด จ.ระยอง รองรับ 10 ล้านตัน จึงต้องหาแห่งที่ 2 อีก 10 ล้านตันจะสร้างที่ไหน ส่วนคลังแอลพีจีนำเข้าที่บ้านโรงโป๊ะ จ.ชลบุรี ในขณะนี้เตรียมขยายเพิ่มและจะเต็ม ดังนั้นก็ต้องศึกษาสร้างแห่งใหม่เช่นกัน โดยแอลพีจีจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลจะลอยตัวราคาอย่างไร ซึ่งจะช่วยลดปริมาณนำเข้าลงได้”
นายณัฐชาติ กล่าวอีกว่า ยอมรับว่าการจำหน่ายแอลเอ็นจีและก๊าซธรรมชาติของไทยเป็นแบบกึ่งเสรี โดยทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ.ได้เข้ามาดูแลกำกับอัตราค่าบริการใช้คลังแอลเอ็นจี ค่าขนส่งก๊าซทางท่อ แต่หากดูภาพรวมแล้วยังไม่มีเอกชนรายอื่นเข้ามาให้บริการ เพราะสภาพการลงทุน เมื่อ ปตท.เป็นแขนขาของรัฐในการดูแลความมั่นคงด้านพลังงานจึงต้องเป็นผู้ลงทุนหลักทั้งหมด เช่น คลังแอลเอ็นจีลงทุนประมาณ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น การคิดค่าบริการก็ต้องคุมทุน จึงเห็นได้ว่าในปัจจุบันรายอื่นไม่มาใช้บริการ ซึ่งหากรายอื่นๆ จะเข้ามา ปตท.ก็พร้อมแข่งขัน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค??
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เชลล์ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายแอลเอ็นจีรายใหญ่ที่สุดของโลกให้ความสนใจที่จะเข้ามาจำหน่ายแอลเอ็นจีในไทย เพราะเห็นตลาดใน 5-6 ปีข้างหน้าความต้องการแอลเอ็นจีของไทยจะพุ่งสูงขึ้นจากข้อจำกัดเรื่องปริมาณก๊าซในอ่าวไทยที่จะลดลง โดยในขณะนี้รอดูว่ากระทรวงพลังงานจะเปิดเสรีการจำหน่ายก๊าซทั้งระบบหรือไม่ เพราะปัจจุบันยังกึ่งเสรี โดยหลักเกณฑ์ของเชลล์ จะเข้ามาทำธุรกิจใดๆ ก็ควรเปิดเสรี เพื่อเชลล์จะได้บริหารจัดการเองได้ เพราะคำนึงถึงคุณภาพบริการเป็นหลัก เช่นเดียวกัน ธุรกิจเอ็นจีวีที่เชลล์จะเข้ามาให้บริการก็ต่อเมื่อเชลล์สามารถเข้ามาดูแลการบริการด้านคุณภาพและให้มีก๊าซฯ บริการผู้ใช้ได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดแคลน
“หากเชลล์ไม่ได้เข้ามาจำหน่ายแอลเอ็นจี เชลล์ก็พร้อมจะแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่ประเทศไทย และการที่เชลล์เป็นผู้นำด้านแอลเอ็นจีและยังเห็นเทรนด์ของโลกที่มุ่งเน้นเชื้อเพลิงสะอาดความต้องการแอลเอ็นจีจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น เชลล์จึงเข้าเสนอราคาซื้อ COVE ENERGY ที่ลงทุนในโมซัมบิก เพราะมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการระดมทุนถึง 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ”??
ทั้งนี้ เชลล์ และ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นคู่แข่งขันที่เสนอซื้อหุ้นของ COVE ENERGY ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาแหล่งแอลเอ็นจีนอกชายฝั่งโมซัมบิก การแข่งขันรุนแรงเพราะมีการตรวจพบแหล่งก๊าซขนาด 100 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต นอกชายฝั่งโมซัมบิกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นก๊าซในปริมาณสูงมาก และจะส่งผลให้โมซัมบิกกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซแก่เอเชีย ซึ่งมีความต้องการบริโภคพลังงานสูง.
Source - ไทยรัฐ (Th), Sunday, July 15, 2012
ปตท.เร่งหาพื้นที่สร้างคลังก๊าซแห่งใหม่ หลังความต้องการใช้ก๊าซทั้งแอลพีจี-เอ็นจีวีพุ่ง ในขณะที่พม่าประกาศไม่ส่งออกก๊าซเพิ่ม และก๊าซอ่าวไทยเริ่มหมดใน 13 ปีข้างหน้า ด้านเชลล์พร้อมซัพพลาย และเข้ามาบริการแอลเอ็นจีในไทย หากภาครัฐกำกับกลไกให้เปิดเสรี
15 ก.ค. นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขั้นปลาย บมจ.ปตท. กล่าวว่า กลุ่ม ปตท.กำลังจัดหาที่ปรึกษา เพื่อจัดหาพื้นที่สำหรับสร้างคลังก๊าซแอลเอ็นจีแห่งที่ 2 และคลังก๊าซแอลพีจีแห่งใหม่ เพื่อรองรับความต้องที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแอลเอ็นจีเริ่มมีความต้องการเพิ่มเพิ่มสูงขึ้นมากในอนาคต แต่การผลิตในประเทศเริ่มมีข้อจำกัดจากปริมาณก๊าซฯ ในอ่าวไทย แนวโน้มจะผลิตในระดับคงที่และลดลง เนื่องจากในปัจจุบันได้ผลิตถึงเพดานสูงสุด 3,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากนี้ไปปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้รองรับความต้องการผลิตได้เพียง 13 ปีข้างหน้าเท่านั้น ขณะที่แผนจัดหาก๊าซธรรมชาติจากเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นทำได้ยาก นอกเหนือจากจะมีข้อตกลงในพื้นที่ทับซื้อไทย-กัมพูชา หากเจรจากันได้จะต้องใช้เวลาพัฒนาอย่างน้อย 10 ปี ในขณะที่ทางรัฐบาลพม่าแจ้งแล้วว่าไม่มีนโยบายส่งออกก๊าซเพิ่มเติม
“พื้นที่คลังแอลเอ็นจีที่มาบตาพุด จ.ระยอง รองรับ 10 ล้านตัน จึงต้องหาแห่งที่ 2 อีก 10 ล้านตันจะสร้างที่ไหน ส่วนคลังแอลพีจีนำเข้าที่บ้านโรงโป๊ะ จ.ชลบุรี ในขณะนี้เตรียมขยายเพิ่มและจะเต็ม ดังนั้นก็ต้องศึกษาสร้างแห่งใหม่เช่นกัน โดยแอลพีจีจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลจะลอยตัวราคาอย่างไร ซึ่งจะช่วยลดปริมาณนำเข้าลงได้”
นายณัฐชาติ กล่าวอีกว่า ยอมรับว่าการจำหน่ายแอลเอ็นจีและก๊าซธรรมชาติของไทยเป็นแบบกึ่งเสรี โดยทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ.ได้เข้ามาดูแลกำกับอัตราค่าบริการใช้คลังแอลเอ็นจี ค่าขนส่งก๊าซทางท่อ แต่หากดูภาพรวมแล้วยังไม่มีเอกชนรายอื่นเข้ามาให้บริการ เพราะสภาพการลงทุน เมื่อ ปตท.เป็นแขนขาของรัฐในการดูแลความมั่นคงด้านพลังงานจึงต้องเป็นผู้ลงทุนหลักทั้งหมด เช่น คลังแอลเอ็นจีลงทุนประมาณ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น การคิดค่าบริการก็ต้องคุมทุน จึงเห็นได้ว่าในปัจจุบันรายอื่นไม่มาใช้บริการ ซึ่งหากรายอื่นๆ จะเข้ามา ปตท.ก็พร้อมแข่งขัน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค??
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เชลล์ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายแอลเอ็นจีรายใหญ่ที่สุดของโลกให้ความสนใจที่จะเข้ามาจำหน่ายแอลเอ็นจีในไทย เพราะเห็นตลาดใน 5-6 ปีข้างหน้าความต้องการแอลเอ็นจีของไทยจะพุ่งสูงขึ้นจากข้อจำกัดเรื่องปริมาณก๊าซในอ่าวไทยที่จะลดลง โดยในขณะนี้รอดูว่ากระทรวงพลังงานจะเปิดเสรีการจำหน่ายก๊าซทั้งระบบหรือไม่ เพราะปัจจุบันยังกึ่งเสรี โดยหลักเกณฑ์ของเชลล์ จะเข้ามาทำธุรกิจใดๆ ก็ควรเปิดเสรี เพื่อเชลล์จะได้บริหารจัดการเองได้ เพราะคำนึงถึงคุณภาพบริการเป็นหลัก เช่นเดียวกัน ธุรกิจเอ็นจีวีที่เชลล์จะเข้ามาให้บริการก็ต่อเมื่อเชลล์สามารถเข้ามาดูแลการบริการด้านคุณภาพและให้มีก๊าซฯ บริการผู้ใช้ได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดแคลน
“หากเชลล์ไม่ได้เข้ามาจำหน่ายแอลเอ็นจี เชลล์ก็พร้อมจะแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่ประเทศไทย และการที่เชลล์เป็นผู้นำด้านแอลเอ็นจีและยังเห็นเทรนด์ของโลกที่มุ่งเน้นเชื้อเพลิงสะอาดความต้องการแอลเอ็นจีจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น เชลล์จึงเข้าเสนอราคาซื้อ COVE ENERGY ที่ลงทุนในโมซัมบิก เพราะมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและการระดมทุนถึง 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ”??
ทั้งนี้ เชลล์ และ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นคู่แข่งขันที่เสนอซื้อหุ้นของ COVE ENERGY ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาแหล่งแอลเอ็นจีนอกชายฝั่งโมซัมบิก การแข่งขันรุนแรงเพราะมีการตรวจพบแหล่งก๊าซขนาด 100 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต นอกชายฝั่งโมซัมบิกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นก๊าซในปริมาณสูงมาก และจะส่งผลให้โมซัมบิกกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซแก่เอเชีย ซึ่งมีความต้องการบริโภคพลังงานสูง.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 358
เชลล์จี้รัฐวางกฎรับเปิดเสรีการค้าแอลเอ็นจี
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, July 16, 2012
"เชลล์" กระตุ้นรัฐเร่งวางกติกาเปิดเสรีการค้าแอลเอ็นจี มั่นใจไทยเป็นศูนย์กลางการค้าแอลเอ็นจีหลังเปิดเออีซี ย้ำเดินหน้าซื้อโคฟ เหตุสนใจพัฒนาแหล่งโมซัมบิก หลังพบสำรองแอลเอ็นจีสูง
พร้อมขอผ่อนผันระยะเวลาการเก็บสำรองน้ำมันเพิ่มเป็น 6% ระบุต้นทุนน้ำมันพุ่ง 5-10 สตางค์ต่อลิตร ยันเป็นภาระผู้บริโภค
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า เชลล์ สนใจเข้าทำธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ในไทย เพราะไทยได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งเป็นตลาด และศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งเศรษฐกิจกำลังเติบโตสูงกว่าภูมิภาคอื่น และใกล้แหล่งผลิตก๊าซที่ยังมีศักยภาพ อาทิเช่น พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา หรือในพม่า ซึ่งเชลล์กำลังติดตามกฎกติกาที่จะออกมารองรับการเปิดเสรีการค้าแอลเอ็นจีในไทย
"การตัดสินใจทำธุรกิจแอลเอ็นจีในไทย ขึ้นอยู่กับกฎกติกาเปิดเสรีนำเข้า และการทำตลาดแอลเอ็นจี แม้ไทยจะไม่มีข้อห้ามชัดเจน แต่ยังไม่มีกฎกติการองรับที่จะเปิดให้เอกชนรายอื่นเข้ามาลงทุนนอกจาก ปตท. โดยเฉพาะกฎกติกาการค้าก๊าซผ่านท่อ"
เธอกล่าวต่อว่า เชลล์พร้อมทำธุรกิจแอลเอ็นจีตลอดเส้นทาง จนถึงค้าปลีกก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในรถยนต์ หรือซีเอ็นจี เพราะมีการลงทุนอยู่แล้วทั่วโลก ตั้งแต่สำรวจขุดเจาะ จนถึงการจัดจำหน่ายซีเอ็นจีในหลายประเทศ แต่การจะตัดสินใจลงทุนในไทยต่อเมื่อมีความมั่นใจว่าจะมีก๊าซฯ รองรับในสถานีบริการน้ำมันเพียงพอ
นางพิศวรรณ กล่าวอีกว่า เชลล์พร้อมทำการค้าแอลเอ็นจี เพราะเชลล์ลงทุนพัฒนาแอลเอ็นจีต่อเนื่องทั่วโลก รวมถึงแหล่งใหม่ๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ล่าสุดการประมูลซื้อ บริษัท Cove Energy PLC. ที่เป็นเจ้าของแหล่งสัมปทานแอลเอ็นจีในโมซัมบิก ซึ่งเป็นแหล่งแอลเอ็นจีที่มีศักยภาพสูง ล่าสุดประเมินใหม่ คาดมีแอลเอ็นจีถึง 10 TRAIN (กำลังการผลิตจาก 1 TRAIN หรือ 1 รถไฟ เป็น 3 ล้านเมตริกตันต่อปี (MMTPA)) จากการประเมินศักยภาพก่อนหน้านี้อยู่ระดับ 1-2 TRAIN
"แหล่งนี้ต้องใช้เงินลงทุนพัฒนาสูงกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเชลล์มีเงินลงทุนพร้อม และแหล่งนี้อยู่ใกล้แหล่งแทนซาเนีย ที่เชลล์ลงทุนอยู่แล้ว" เธอกล่าว
นางพิศวรรณ กล่าวถึงการเปิดประชาคมอาเซียน หรือเออีซี ว่า จะทำให้ตลาดใหญ่ ซึ่งไทยถือเป็นผู้นำของพลังงานทางเลือก และมีแผนชัดเจน ขณะที่ประเทศอื่นยังไม่ก้าวหน้าเท่าไทย โดยเฉพาะเอทานอลที่ไทยสามารถเป็นศูนย์กลางพลังงานได้
การสำรองน้ำมันเพิ่มนั้น นางพิศวรรณ กล่าวว่า กระทรวงพลังงานเตรียมประกาศเพิ่มสำรองจาก 5% เป็น 6% หรือเพิ่มการสำรองไว้เพื่อจำหน่ายจาก 36 วันเป็น 43 วัน ซึ่งเชลล์ และผู้ประกอบการได้เสนอให้ขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปจากที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับจากประกาศ เพราะคาดจะดำเนินการไม่ทัน โดยผู้ค้าน้ำมันรายอื่นๆ ขอยื่นผ่อนผันเป็นเวลา 2 ปี เพราะต้องเช่าคลัง ซึ่งค่าเช่าคลังเพิ่มขึ้น เพราะมีความต้องการเพิ่มสำรอง ส่วนเชลล์การเพิ่มสำรองทำให้ต้นทุนเพิ่ม 5-10 สตางค์ต่อลิตร จากปริมาณยอดขายรวม 2,500 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งสุดท้ายก็ต้องเป็นภาระผู้บริโภค
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, July 16, 2012
"เชลล์" กระตุ้นรัฐเร่งวางกติกาเปิดเสรีการค้าแอลเอ็นจี มั่นใจไทยเป็นศูนย์กลางการค้าแอลเอ็นจีหลังเปิดเออีซี ย้ำเดินหน้าซื้อโคฟ เหตุสนใจพัฒนาแหล่งโมซัมบิก หลังพบสำรองแอลเอ็นจีสูง
พร้อมขอผ่อนผันระยะเวลาการเก็บสำรองน้ำมันเพิ่มเป็น 6% ระบุต้นทุนน้ำมันพุ่ง 5-10 สตางค์ต่อลิตร ยันเป็นภาระผู้บริโภค
นางพิศวรรณ อัชนะพรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า เชลล์ สนใจเข้าทำธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ในไทย เพราะไทยได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งเป็นตลาด และศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งเศรษฐกิจกำลังเติบโตสูงกว่าภูมิภาคอื่น และใกล้แหล่งผลิตก๊าซที่ยังมีศักยภาพ อาทิเช่น พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา หรือในพม่า ซึ่งเชลล์กำลังติดตามกฎกติกาที่จะออกมารองรับการเปิดเสรีการค้าแอลเอ็นจีในไทย
"การตัดสินใจทำธุรกิจแอลเอ็นจีในไทย ขึ้นอยู่กับกฎกติกาเปิดเสรีนำเข้า และการทำตลาดแอลเอ็นจี แม้ไทยจะไม่มีข้อห้ามชัดเจน แต่ยังไม่มีกฎกติการองรับที่จะเปิดให้เอกชนรายอื่นเข้ามาลงทุนนอกจาก ปตท. โดยเฉพาะกฎกติกาการค้าก๊าซผ่านท่อ"
เธอกล่าวต่อว่า เชลล์พร้อมทำธุรกิจแอลเอ็นจีตลอดเส้นทาง จนถึงค้าปลีกก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในรถยนต์ หรือซีเอ็นจี เพราะมีการลงทุนอยู่แล้วทั่วโลก ตั้งแต่สำรวจขุดเจาะ จนถึงการจัดจำหน่ายซีเอ็นจีในหลายประเทศ แต่การจะตัดสินใจลงทุนในไทยต่อเมื่อมีความมั่นใจว่าจะมีก๊าซฯ รองรับในสถานีบริการน้ำมันเพียงพอ
นางพิศวรรณ กล่าวอีกว่า เชลล์พร้อมทำการค้าแอลเอ็นจี เพราะเชลล์ลงทุนพัฒนาแอลเอ็นจีต่อเนื่องทั่วโลก รวมถึงแหล่งใหม่ๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ล่าสุดการประมูลซื้อ บริษัท Cove Energy PLC. ที่เป็นเจ้าของแหล่งสัมปทานแอลเอ็นจีในโมซัมบิก ซึ่งเป็นแหล่งแอลเอ็นจีที่มีศักยภาพสูง ล่าสุดประเมินใหม่ คาดมีแอลเอ็นจีถึง 10 TRAIN (กำลังการผลิตจาก 1 TRAIN หรือ 1 รถไฟ เป็น 3 ล้านเมตริกตันต่อปี (MMTPA)) จากการประเมินศักยภาพก่อนหน้านี้อยู่ระดับ 1-2 TRAIN
"แหล่งนี้ต้องใช้เงินลงทุนพัฒนาสูงกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเชลล์มีเงินลงทุนพร้อม และแหล่งนี้อยู่ใกล้แหล่งแทนซาเนีย ที่เชลล์ลงทุนอยู่แล้ว" เธอกล่าว
นางพิศวรรณ กล่าวถึงการเปิดประชาคมอาเซียน หรือเออีซี ว่า จะทำให้ตลาดใหญ่ ซึ่งไทยถือเป็นผู้นำของพลังงานทางเลือก และมีแผนชัดเจน ขณะที่ประเทศอื่นยังไม่ก้าวหน้าเท่าไทย โดยเฉพาะเอทานอลที่ไทยสามารถเป็นศูนย์กลางพลังงานได้
การสำรองน้ำมันเพิ่มนั้น นางพิศวรรณ กล่าวว่า กระทรวงพลังงานเตรียมประกาศเพิ่มสำรองจาก 5% เป็น 6% หรือเพิ่มการสำรองไว้เพื่อจำหน่ายจาก 36 วันเป็น 43 วัน ซึ่งเชลล์ และผู้ประกอบการได้เสนอให้ขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปจากที่ต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับจากประกาศ เพราะคาดจะดำเนินการไม่ทัน โดยผู้ค้าน้ำมันรายอื่นๆ ขอยื่นผ่อนผันเป็นเวลา 2 ปี เพราะต้องเช่าคลัง ซึ่งค่าเช่าคลังเพิ่มขึ้น เพราะมีความต้องการเพิ่มสำรอง ส่วนเชลล์การเพิ่มสำรองทำให้ต้นทุนเพิ่ม 5-10 สตางค์ต่อลิตร จากปริมาณยอดขายรวม 2,500 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งสุดท้ายก็ต้องเป็นภาระผู้บริโภค
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 359
Cove battle nears showdown Process could move to auction tomorrow
Source - Bangkok Post (Eng), Monday, July 16, 2012
SARAH YOUNG
LONDON:The oil giant Royal Dutch Shell and Thai rival PTT Plc could be heading into the first formal takeover auction for a listed UK company since 2008 as they battle for Cove Energy and its stakes in huge new East African gas finds.
Britain’s takeover watchdog ruled on Friday that if neither suitor declares its current offer final before 1600 GMT today (11pm in Thailand), then an auction will start tomorrow that could see them submit bids to daily deadlines until a winner is found.
The ball is in Shell’s court after its US$1.8-billion or 220-pence-a-share bid for Cove was trumped by a $1.9-billion or 240-pence offer from PTT Exploration and Production Plc (PTTEP) in May.
Investors are betting the Anglo-Dutch group will raise its bid before the next deadline at 1600 GMT tomorrow and believe it has the firepower to win the five-month battle.
East Africa is set to become one of the world’s largest gas exporters, supplying energy-hungry Asia with liquefied natural gas (LNG), a gas market in which Shell is one of the world’s biggest and most experienced players.
"Both Shell and PTT really need Cove very badly. But Shell has more firepower than PTT, which is quite leveraged and has less means than Shell. We think there’s a good chance [Shell will come back with a higher offer]," said AnneSophie D’Andlau, a co-founder of the Paris-based hedge fund firm Ciam and a small shareholder in Cove.
The battle has encouraged investors to expect a higher offer, with shares in Cove for the last month consistently trading 10-15%higher than PTT’s 240-pence-a-share bid.
Cove shares closed on the London Stock Exchange on Friday up by 0.73%to 276 pence, valuing the firm at ฃ1.36 billion (66.83 billion baht).
However, some analysts sounded a note of caution, saying that while Shell is keen to gain a foothold in gas fields off the coast of East Africa, Cove is not its only option.
If Shell and PTT do not submit revised offers tomorrow, then their current bids will be regarded as final, and there will be no auction.
"The key thing here is to remember the big picture. Shell will be looking at this from multiple points of entry. They won’t just be thinking about getting into this area from the point of view of Cove alone," said Richard Griffith, an analyst at Oriel Securities in London.
Another analyst who declined to be named said the increase in Cove’s gas reserves from discoveries made since Shell made its offer means a higher bid is possible.
"If Shell want to make an argument,they can get to 260 pence without breaking sweat. Is Cove the only option? No,but it is an option," said the analyst.
Cove owns an 8.5% stake in a Mozambican licence containing some of the big gas discoveries, while the US explorer Anadarko has a 36.5% stake in the licence.
That means Shell could turn its attention to a deal with Anadarko should it decide against the Cove deal.
Other points of entry to East Africa for Shell could include tie-ups with Italy’s ENI, which has also found gas in Mozambique, or the BG Group and Exxon Mobil, which have discoveries off the coast of Tanzania.
PTT is seen by analysts as not having as many options as Shell to access East Africa’s gas reserves.
"The financial firepower Shell can bring in terms of LNG project development should not be underestimated relative to other company’s abilities to borrow money to build LNG plants," said Oriel’s Mr Griffith.
Building LNG facilities requires multibillion-dollar investments, meaning Shell could be seen as a more attractive partner than PTT by other companies with gas discoveries in the region.
Shareholders had until 1200 GMT on Friday (7pm Friday in Thailand) to accept PTT’s offer, but few did so given the current price level, plus analysts are expecting the Thai firm to extend its offer as it waits to see Shell’s next move.
PTTEP shares closed on the Stock Exchange of Thailand at 172.50 baht on Friday, down 0.29%, in trade worth 540.77 million baht.REUTERS
Source: Bangkok Post
Source - Bangkok Post (Eng), Monday, July 16, 2012
SARAH YOUNG
LONDON:The oil giant Royal Dutch Shell and Thai rival PTT Plc could be heading into the first formal takeover auction for a listed UK company since 2008 as they battle for Cove Energy and its stakes in huge new East African gas finds.
Britain’s takeover watchdog ruled on Friday that if neither suitor declares its current offer final before 1600 GMT today (11pm in Thailand), then an auction will start tomorrow that could see them submit bids to daily deadlines until a winner is found.
The ball is in Shell’s court after its US$1.8-billion or 220-pence-a-share bid for Cove was trumped by a $1.9-billion or 240-pence offer from PTT Exploration and Production Plc (PTTEP) in May.
Investors are betting the Anglo-Dutch group will raise its bid before the next deadline at 1600 GMT tomorrow and believe it has the firepower to win the five-month battle.
East Africa is set to become one of the world’s largest gas exporters, supplying energy-hungry Asia with liquefied natural gas (LNG), a gas market in which Shell is one of the world’s biggest and most experienced players.
"Both Shell and PTT really need Cove very badly. But Shell has more firepower than PTT, which is quite leveraged and has less means than Shell. We think there’s a good chance [Shell will come back with a higher offer]," said AnneSophie D’Andlau, a co-founder of the Paris-based hedge fund firm Ciam and a small shareholder in Cove.
The battle has encouraged investors to expect a higher offer, with shares in Cove for the last month consistently trading 10-15%higher than PTT’s 240-pence-a-share bid.
Cove shares closed on the London Stock Exchange on Friday up by 0.73%to 276 pence, valuing the firm at ฃ1.36 billion (66.83 billion baht).
However, some analysts sounded a note of caution, saying that while Shell is keen to gain a foothold in gas fields off the coast of East Africa, Cove is not its only option.
If Shell and PTT do not submit revised offers tomorrow, then their current bids will be regarded as final, and there will be no auction.
"The key thing here is to remember the big picture. Shell will be looking at this from multiple points of entry. They won’t just be thinking about getting into this area from the point of view of Cove alone," said Richard Griffith, an analyst at Oriel Securities in London.
Another analyst who declined to be named said the increase in Cove’s gas reserves from discoveries made since Shell made its offer means a higher bid is possible.
"If Shell want to make an argument,they can get to 260 pence without breaking sweat. Is Cove the only option? No,but it is an option," said the analyst.
Cove owns an 8.5% stake in a Mozambican licence containing some of the big gas discoveries, while the US explorer Anadarko has a 36.5% stake in the licence.
That means Shell could turn its attention to a deal with Anadarko should it decide against the Cove deal.
Other points of entry to East Africa for Shell could include tie-ups with Italy’s ENI, which has also found gas in Mozambique, or the BG Group and Exxon Mobil, which have discoveries off the coast of Tanzania.
PTT is seen by analysts as not having as many options as Shell to access East Africa’s gas reserves.
"The financial firepower Shell can bring in terms of LNG project development should not be underestimated relative to other company’s abilities to borrow money to build LNG plants," said Oriel’s Mr Griffith.
Building LNG facilities requires multibillion-dollar investments, meaning Shell could be seen as a more attractive partner than PTT by other companies with gas discoveries in the region.
Shareholders had until 1200 GMT on Friday (7pm Friday in Thailand) to accept PTT’s offer, but few did so given the current price level, plus analysts are expecting the Thai firm to extend its offer as it waits to see Shell’s next move.
PTTEP shares closed on the Stock Exchange of Thailand at 172.50 baht on Friday, down 0.29%, in trade worth 540.77 million baht.REUTERS
Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 360
คอลัมน์: Mission CEO ภารกิจพิชิตเป้า
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, July 16, 2012
[email protected]
Mission CEO ฉบับที่ 422 วันที่ 16-22 กรกฎาคม 2555
อนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล เปิดเผยว่า แม้เศรษฐกิจยุโรปจะชะลอตัวลงแต่ในระยะยาวบริษัทยังคงเป้าหมายมีรายได้เติบโต 2 เท่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า หรือจาก 17,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 34,000-35,000 ล้านดอลลาร์ โดยจะเน้นธุรกิจ Green ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตร หรือไบโอพลาสติก ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้ธุรกิจดังกล่าวเป็น 30-40% ภายในปี 2563 จากปัจจุบันไม่ถึง 10% ขณะนี้บริษัทติดตามเศรษฐกิจในยุโรปอย่างใกล้ชิด หากราคาน้ำมันดิบตกต่ำลงมาใกล้เคียง ระดับ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล บริษัทจะทบทวนแผนการลงทุนระยะ 8 ปี (2555-2563) วงเงิน 11,000 ล้านดอลลาร์ใหม่ อย่างไรก็ตามบริษัทได้ทำประกันความเสี่ยงล่วงหน้า 1 ปี เพื่อล็อกกำไร คิดเป็นปริมาณน้ำมัน 7 ล้านบาร์เรล เทียบกับกำลังการกลั่นทั้งหมด 40-50 ล้านบาร์เรล รวมทั้งมีการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.แสนสิริ เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 แสนสิริเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ 23 โครงการ สามารถสร้างยอดขาย (พรีเซล) ได้สูงถึง 20,600 ล้านบาท หรือคิดเป็น 57% ของเป้าหมายยอดขายทั้งปี 2555 ที่ตั้งไว้ 36,000 ล้านบาท โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สามารถขยายฐาน รายได้จากตลาดต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นประมาณ 22% จากยอดขาย 20,600 ล้านบาท สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 บริษัทจะเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่อีก 21 โครงการ มูลค่ารวม 26,600 ล้านบาท รวมทั้งปีจะเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่รวมทั้งสิ้น 44 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 46,000 ล้านบาท และเชื่อมั่นว่าในปีนี้กลุ่มบริษัทแสนสิริจะสามารถสร้างยอดขายจากโครงการที่อยู่อาศัยได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน
อรัญ อภิจารี ประธานกรรมการ บมจ.ทรีซิกตี้ไฟว์เปิดเผยว่า บริษัทได้แตกไลน์ธุรกิจเข้าสู่งานสื่อโทรทัศน์เพิ่มเติมจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่โดยได้เวลาร่วมผลิตรายการประเภทแบ่งพื้นที่การขายโฆษณา (Time Sharing) กับบมจ.อสมท โดยเป็นผู้ผลิตรายการ "ห้องทดลองหมายเลข 9" เป็นรายการเชิงวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและครอบครัว ออกอากาศทุกเย็นวันจันทร์เวลา 16.30-17.00 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกในวันที่ 2 กรกฎาคม ทั้งนี้ บริษัทได้ เซ็นสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม- 31 ธันวาคม 2555 ซึ่งมีความยาวตอนละ 30 นาที รวมเวลาโฆษณา ก่อนหน้านี้ ทรีซิกตี้ไฟว์ ได้รับสัมปทานสิทธิ์การใช้ประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์ในโครงการ Airport Rail Link รวมทั้งสิ้น 6,837 ตารางเมตร ในพื้นที่โฆษณาจำนวน 8 สถานี ซึ่งได้ร่วมทุนกับบริษัท ญี่ปุ่น เข้าบริหารพื้นที่โฆษณาดังกล่าว
ร.อ.กรี เดชชัย ประธานเจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการ บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ภาพรวม ธุรกิจครึ่งปีแรกของเอสซี แอสเสท มียอดขายรวมประมาณ 4,500 ล้านบาท เติบโตกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาประมาณ 26% เมื่อถึงสิ้นปีน่าจะปิดยอดขายได้ ที่ 11,000 ล้านบาท ตามเป้าหมาย โดยปีนี้ บริษัทมีแผนเปิดโครงการใหม่ 16 โครงการ รวมมูลค่า 17,000 ล้านบาท ครึ่งปีแรกเปิดแล้ว 5 โครงการ เดือนนี้เปิดอีก 2 โครงการ หลังจากนี้จะเปิดใหม่อีก 9 โครงการ มูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท โดยในช่วงปลายปีบริษัทมีแผนการโอนคอนโดมิเนียม 2 โครงการ คือ เซ็นทริค รัชดา-สุทธิสาร กับ เดอะเครสท์ พหลโยธิน 11 ซึ่งปัจจุบันโครงการแรกปิดการขายไปแล้ว ส่วนโครงการหลังขายไปกว่า 75% ด้านการก่อสร้างโครงการคืบหน้าใกล้แล้วเสร็จ
ณัฐชนัญ เก่งลือชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานช่องทางจัดจำหน่าย บมจ.บัตรกรุงไทย เปิดเผยว่า ปีนี้ เคทีซีจะให้ความสำคัญกับสินเชื่อบุคคลมากขึ้น โดยจะเน้นกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ในส่วนของบัตรเครดิตนั้นเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัวแต่เคทีซี ตั้งเป้าสิ้นปีนี้จะมีสมาชิกสินเชื่อบุคคลใหม่และสมาชิกบัตรเครดิตใหม่เพิ่มขึ้นประเภทละ 100,000 ราย จากปี 2554 ที่มียอดสมาชิกบัตรเครดิตใหม่ 145,000 ราย และสินเชื่อบุคคล 97,000 ราย ขณะที่ช่วงครึ่งปีแรกฐานลูกค้าสินเชื่อบุคคล เพิ่มขึ้น 4.5 หมื่นรายถือว่าต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ส่วนการขยายฐานบัตรเครดิตในครึ่งปีแรกมี 5.5 หมื่นรายสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ แต่บริษัทต้องการเร่งการใช้จ่ายผ่านบัตรของลูกค้าให้เพิ่มขึ้น ดังนั้นช่วงครึ่งปีหลังเคทีซี จะเน้นอัดกลยุทธ์บริหารช่องทางจัดจำหน่ายเต็มอัตราผ่านไดเร็กเซลส์ สาขาธนาคารกรุงไทย เคทีซี ทัช และออนไลน์ รวมถึงพันธมิตรธนาคารที่ออกบัตรร่วม ได้แก่ ธนาคารออมสิน
สัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผู้จัดการ บมจ.ถิรไทย เปิดเผยว่า บริษัทได้เข้าประมูลงานและได้รับความเชื่อถือจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้ชนะการประมูลงานเพื่อผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า กำลัง ขนาด 300 MVA ซึ่งเป็นหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ผลิตได้ในประเทศจำนวน 5 ชุด มูลค่า 270 ล้านบาท เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 โดยจะส่งมอบในไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ปี 2556 นอกจากนี้ ตามที่บริษัทได้ออกหุ้นกู้มูลค่า 600 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตหม้อแปลงและเพิ่มธุรกิจใหม่รองรับแผนธุรกิจระยะยาว ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทได้เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยรวม 5 ปีข้างหน้า จะมีผลประกอบการทะลุ 5,000 ล้านบาทและเป็นผู้นำในธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
สุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สยามแม็คโคร เปิดเผยว่า แผนธุรกิจในปีนี้ แม็คโครจะมีการลงทุนเปิดสาขาใหม่ทั้งในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด รวม 5 สาขา โดยช่วงครึ่งปีแรกเปิดดำเนินการแล้ว 3 สาขา ได้แก่ หัวหิน คลองหลวง ปทุมธานี และเลย ช่วงครึ่งปีหลังเตรียมขยายอีก 2 แห่ง ได้แก่ เพชรบูรณ์ และบางพลี โดยสาขาบางพลีอยู่ระหว่างเร่งก่อสร้างคาดว่าจะเสร็จในต้นปีหน้า ปัจจุบัน แม็คโครมีสาขาให้บริการ 55 แห่งทั่วประเทศ สิ้นปีนี้จะมีสาขาให้บริการอย่างน้อย 56 แห่ง ล่าสุดได้พัฒนาสาขารูปแบบใหม่ "แม็คโคร ฟู้ดเซอร์วิส" เปิดบริการที่หัวหินเป็นแห่งแรก ทั้งนี้ ธุรกิจศูนย์ค้าส่งแม็คโครยังมีอัตราการเติบโตที่ดีตามแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ และชุมชน ซึ่งเป้าหมายระยะยาวมองโอกาสทางธุรกิจในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
ปัญจะ เสนาดิสัย กรรมการ บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ เปิดเผยว่า แนวโน้มยอดขายไตรมาส 2/2555 คาดว่าสูงกว่าไตรมาส 1/2555 ที่มียอดขาย 43.6 ล้านดอลลาร์ หลังบริษัทย่อยกลับมาเดินเครื่องการผลิต 60-70% และคาดว่าผลประกอบการไตรมาส 2/2555 จะมีกำไรได้ ทั้งปีนี้ บริษัทคาดการณ์กำไรสุทธิจะดีกว่าปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งมาจากเงินชดเชยประกันเหตุน้ำท่วมโรงงานที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2554 ที่จะบันทึกเข้ามาทั้งหมดภายในปีนี้ พร้อมกันนั้น บริษัทได้เริ่มทยอยปรับราคาขายขึ้น 5-10% จะมีผลในไตรมาส 3 และ 4 ทั้งนี้ การใช้กำลังการผลิตรวมช่วงครึ่งปีหลังน่าจะเพิ่มขึ้นมามากกว่า 80% จากช่วงไตรมาส 2/2555 อยู่ที่ 60-70% ในปี 2555 บริษัทตั้งเป้ายอดขายที่ 240-250 ล้านดอลลาร์ หรือราว 7,750 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะนี้ มีออเดอร์ไปถึงสิ้นเดือน ส.ค. 2555 แล้ว
สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซินเน็ค (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ในครึ่งปีหลังสถานการณ์ตลาดไอทียังมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง หลังจากภาครัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนธุรกิจไอที อย่างชัดเจน ขณะที่กระแสสมาร์ทโฟนยังคงเติบโตในอัตราที่ดีหลังจากที่มีสินค้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ลงสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับบริษัทได้มุ่งผลักดันสินค้าในกลุ่มใหม่ ที่สามารถสร้างผลกำไรได้ดีอย่างกลุ่มอุปกรณ์เสริม (Accessories) โดยคาดว่าในปีนี้ธุรกิจไอทีทั้งระบบจะขยายตัวไม่น้อยกว่า 12% และบริษัทได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้ไว้ในอัตราสูงกว่าการเติบโตของตลาดที่อัตราไม่ต่ำกว่า 15% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีรายได้รวม 20,268 ล้านบาท
วิรัตน์ เอี้ยวอักษร รักษาการกรรมการผู้จัดการ บมจ.กฤษดามหานคร เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนเปลี่ยนชื่อ และเปลี่ยนแบรนด์ใหม่ เพื่อฉีกออกจากภาพลักษณ์เดิมที่ทำให้หลายคนมองว่าเคเอ็มซี ยังเป็นของกลุ่มกฤษดาธานนท์ที่แทบไม่หุ้นเหลือแล้ว ปัจจุบันฐานะการเงินของบริษัทเริ่มมีความแข็งแกร่งมากขึ้น หลังได้รับเงินเพิ่มทุนรวมประมาณ 900 ล้านบาท ซึ่งได้นำไปชำระหนี้ให้ธนาคารเกียรตินาคิน 300 ล้านบาท ทำให้บริษัทอยู่ในฐานะปลอดหนี้ มีเพียงหนี้สินหมุนเวียนในแต่ละโครงการประมาณ 400-500 ล้านบาทเท่านั้น ในปี 2556 จะถือเป็นก้าวใหม่ของเคเอ็มซี ทั้งในแง่ภาพลักษณ์และการทำธุรกิจ เพราะบริษัทยังมีเงินเหลือจากการเพิ่มทุนประมาณ 600 ล้านบาท ไว้รองรับการพัฒนาโครงการในอนาคต ปีนี้ บริษัทประมาณการว่าจะมียอดขายเพียง 500-600 ล้านบาท ปี 2556 จะก้าวกระโดดเป็น 1 พันล้านบาท
เจริญ รุจิราโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ส. ขอนแก่นฟู้ดส์ เปิดเผยว่า หลังจากบริษัทประสบความสำเร็จในการทำตลาดผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวอบกรอบ ภายใต้แบรนด์ อองเทร่ สามารถสร้างยอดขายเติบโตถึง 30% บริษัทได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวใหม่ ภายใต้แบรนด์ มูชิ ทำจากวัตถุดิบเนื้อหมูและเนื้อไก่ 100% โดยได้เตรียมใช้งบ 20 ล้านบาท ในการสื่อสารจุดเด่นของผลิตภัณฑ์แบรนด์ มูชิ ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นอายุ 15-22 ปี ขณะเดียวกัน ได้เซ็นสัญญาแต่งตั้งให้บริษัท เพนส์มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั่วประเทศ บริษัทคาดว่า ภายในสิ้นปีนี้ แบรนด์มูชิ จะสามารถทำยอดขายได้ 50 ล้านบาท และจะส่งผลให้บริษัทมียอดขายโดยรวมในกลุ่มขนมขบเคี้ยวที่ 250 ล้านบาท ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ศุภวัส พันธุ์วัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บมจ.ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้การแข่งขันของตลาดแบตเตอรี่ค่อนข้างดุเดือด โดยในประเทศคู่แข่งบางรายใช้กลยุทธ์หั่นราคาขาย 10-15% ส่วนในต่างประเทศก็มีผู้ประกอบการรายใหม่ขายตัดราคาถึง 30% อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่มีนโยบายตัดราคาเพื่อสู้กับการแข่งขันที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่ต้องการให้กระทบกับความสามารถในการทำกำไร ทั้งนี้ บริษัทหวังว่าจะรักษาอัตรากำไรสุทธิไว้ที่ระดับ 3-4% ได้เท่ากับปีที่แล้ว โดยปีนี้ บริษัทยังคงเป้ารายได้โต 10% เช่นเดิม ทั้งนี้ สัดส่วน รายได้บริษัทมาจากยอดขายแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ 40% และแบตเตอรี่รถยนต์ 60% ส่วนแนวโน้มธุรกิจใน ครึ่งปีหลัง เชื่อว่าภาพรวมธุรกิจแบตเตอรี่จะยังขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมรถยนต์
นายแพทย์เฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล ผู้บริหารกลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ เปิดเผยว่า กรณีที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทสัดส่วน 24.99% จะไม่ส่งผลกระทบกับการบริหารงานแต่อย่างใด ครอบครัวหาญพาณิชย์ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 เช่นเดิม สำหรับผลประกอบการในไตรมาส 2/2555 คาดว่าทั้งรายได้และกำไรสุทธิจะดีกว่าไตรมาสแรก ที่ผ่านมา และดีกว่างวดเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ ยังจะเริ่มรับรู้รายได้จากการเปิดโรงพยาบาลใหม่ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ภายใต้แบรนด์ "The World Medical Center" ซึ่งเจาะกลุ่มลูกค้าผู้มีรายได้สูงโดยมีแผนเปิดให้บริการในเดือน ต.ค.นี้ ขณะเดียวกันบริษัทอยู่ระหว่างศึกษาแผนการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจจะจับกลุ่มลูกค้าผู้มีรายได้น้อย
อัญรัตน์ พรประกฤต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บมจ.ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทได้รับคำเชิญจากทางยูโอบี เคย์เฮียน ให้เข้าร่วมกิจกรรมการให้ข้อมูลกับนักลงทุนสถาบัน จำนวน 15-20 ราย เพื่อให้บริษัทได้นำเสนอข้อมูลการดำเนินงาน รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้จัดการกองทุนได้ซักถาม ในประเด็นต่างๆ ที่สนใจ โดยปัจจุบัน เพชรยูบิลลี่มี ทั้งสิ้น 86 สาขาครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งบริษัทยังมีนโยบายลงทุนขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง โดย ในปี 2555 มีแผนการขยายสาขาเพิ่มอีก 12-15 สาขา พร้อม ปรับภาพลักษณ์เคาน์เตอร์จำหน่ายเพชรอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม เรามั่นใจว่าหลังจากนักลงทุนสถาบันได้รับทราบ ข้อมูลของบริษัทแล้ว ก็น่าจะทำให้นักลงทุนเหล่านี้สนใจลงทุนในหุ้น JUBILE มากขึ้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, July 16, 2012
[email protected]
Mission CEO ฉบับที่ 422 วันที่ 16-22 กรกฎาคม 2555
อนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล เปิดเผยว่า แม้เศรษฐกิจยุโรปจะชะลอตัวลงแต่ในระยะยาวบริษัทยังคงเป้าหมายมีรายได้เติบโต 2 เท่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า หรือจาก 17,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 34,000-35,000 ล้านดอลลาร์ โดยจะเน้นธุรกิจ Green ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตร หรือไบโอพลาสติก ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้ธุรกิจดังกล่าวเป็น 30-40% ภายในปี 2563 จากปัจจุบันไม่ถึง 10% ขณะนี้บริษัทติดตามเศรษฐกิจในยุโรปอย่างใกล้ชิด หากราคาน้ำมันดิบตกต่ำลงมาใกล้เคียง ระดับ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล บริษัทจะทบทวนแผนการลงทุนระยะ 8 ปี (2555-2563) วงเงิน 11,000 ล้านดอลลาร์ใหม่ อย่างไรก็ตามบริษัทได้ทำประกันความเสี่ยงล่วงหน้า 1 ปี เพื่อล็อกกำไร คิดเป็นปริมาณน้ำมัน 7 ล้านบาร์เรล เทียบกับกำลังการกลั่นทั้งหมด 40-50 ล้านบาร์เรล รวมทั้งมีการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.แสนสิริ เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 แสนสิริเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ 23 โครงการ สามารถสร้างยอดขาย (พรีเซล) ได้สูงถึง 20,600 ล้านบาท หรือคิดเป็น 57% ของเป้าหมายยอดขายทั้งปี 2555 ที่ตั้งไว้ 36,000 ล้านบาท โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สามารถขยายฐาน รายได้จากตลาดต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นประมาณ 22% จากยอดขาย 20,600 ล้านบาท สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 บริษัทจะเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่อีก 21 โครงการ มูลค่ารวม 26,600 ล้านบาท รวมทั้งปีจะเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่รวมทั้งสิ้น 44 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 46,000 ล้านบาท และเชื่อมั่นว่าในปีนี้กลุ่มบริษัทแสนสิริจะสามารถสร้างยอดขายจากโครงการที่อยู่อาศัยได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน
อรัญ อภิจารี ประธานกรรมการ บมจ.ทรีซิกตี้ไฟว์เปิดเผยว่า บริษัทได้แตกไลน์ธุรกิจเข้าสู่งานสื่อโทรทัศน์เพิ่มเติมจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่โดยได้เวลาร่วมผลิตรายการประเภทแบ่งพื้นที่การขายโฆษณา (Time Sharing) กับบมจ.อสมท โดยเป็นผู้ผลิตรายการ "ห้องทดลองหมายเลข 9" เป็นรายการเชิงวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและครอบครัว ออกอากาศทุกเย็นวันจันทร์เวลา 16.30-17.00 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกในวันที่ 2 กรกฎาคม ทั้งนี้ บริษัทได้ เซ็นสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม- 31 ธันวาคม 2555 ซึ่งมีความยาวตอนละ 30 นาที รวมเวลาโฆษณา ก่อนหน้านี้ ทรีซิกตี้ไฟว์ ได้รับสัมปทานสิทธิ์การใช้ประโยชน์พื้นที่เชิงพาณิชย์ในโครงการ Airport Rail Link รวมทั้งสิ้น 6,837 ตารางเมตร ในพื้นที่โฆษณาจำนวน 8 สถานี ซึ่งได้ร่วมทุนกับบริษัท ญี่ปุ่น เข้าบริหารพื้นที่โฆษณาดังกล่าว
ร.อ.กรี เดชชัย ประธานเจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการ บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ภาพรวม ธุรกิจครึ่งปีแรกของเอสซี แอสเสท มียอดขายรวมประมาณ 4,500 ล้านบาท เติบโตกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาประมาณ 26% เมื่อถึงสิ้นปีน่าจะปิดยอดขายได้ ที่ 11,000 ล้านบาท ตามเป้าหมาย โดยปีนี้ บริษัทมีแผนเปิดโครงการใหม่ 16 โครงการ รวมมูลค่า 17,000 ล้านบาท ครึ่งปีแรกเปิดแล้ว 5 โครงการ เดือนนี้เปิดอีก 2 โครงการ หลังจากนี้จะเปิดใหม่อีก 9 โครงการ มูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท โดยในช่วงปลายปีบริษัทมีแผนการโอนคอนโดมิเนียม 2 โครงการ คือ เซ็นทริค รัชดา-สุทธิสาร กับ เดอะเครสท์ พหลโยธิน 11 ซึ่งปัจจุบันโครงการแรกปิดการขายไปแล้ว ส่วนโครงการหลังขายไปกว่า 75% ด้านการก่อสร้างโครงการคืบหน้าใกล้แล้วเสร็จ
ณัฐชนัญ เก่งลือชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานช่องทางจัดจำหน่าย บมจ.บัตรกรุงไทย เปิดเผยว่า ปีนี้ เคทีซีจะให้ความสำคัญกับสินเชื่อบุคคลมากขึ้น โดยจะเน้นกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ในส่วนของบัตรเครดิตนั้นเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัวแต่เคทีซี ตั้งเป้าสิ้นปีนี้จะมีสมาชิกสินเชื่อบุคคลใหม่และสมาชิกบัตรเครดิตใหม่เพิ่มขึ้นประเภทละ 100,000 ราย จากปี 2554 ที่มียอดสมาชิกบัตรเครดิตใหม่ 145,000 ราย และสินเชื่อบุคคล 97,000 ราย ขณะที่ช่วงครึ่งปีแรกฐานลูกค้าสินเชื่อบุคคล เพิ่มขึ้น 4.5 หมื่นรายถือว่าต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ส่วนการขยายฐานบัตรเครดิตในครึ่งปีแรกมี 5.5 หมื่นรายสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ แต่บริษัทต้องการเร่งการใช้จ่ายผ่านบัตรของลูกค้าให้เพิ่มขึ้น ดังนั้นช่วงครึ่งปีหลังเคทีซี จะเน้นอัดกลยุทธ์บริหารช่องทางจัดจำหน่ายเต็มอัตราผ่านไดเร็กเซลส์ สาขาธนาคารกรุงไทย เคทีซี ทัช และออนไลน์ รวมถึงพันธมิตรธนาคารที่ออกบัตรร่วม ได้แก่ ธนาคารออมสิน
สัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผู้จัดการ บมจ.ถิรไทย เปิดเผยว่า บริษัทได้เข้าประมูลงานและได้รับความเชื่อถือจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้ชนะการประมูลงานเพื่อผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า กำลัง ขนาด 300 MVA ซึ่งเป็นหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ผลิตได้ในประเทศจำนวน 5 ชุด มูลค่า 270 ล้านบาท เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 โดยจะส่งมอบในไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ปี 2556 นอกจากนี้ ตามที่บริษัทได้ออกหุ้นกู้มูลค่า 600 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตหม้อแปลงและเพิ่มธุรกิจใหม่รองรับแผนธุรกิจระยะยาว ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทได้เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยรวม 5 ปีข้างหน้า จะมีผลประกอบการทะลุ 5,000 ล้านบาทและเป็นผู้นำในธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
สุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สยามแม็คโคร เปิดเผยว่า แผนธุรกิจในปีนี้ แม็คโครจะมีการลงทุนเปิดสาขาใหม่ทั้งในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด รวม 5 สาขา โดยช่วงครึ่งปีแรกเปิดดำเนินการแล้ว 3 สาขา ได้แก่ หัวหิน คลองหลวง ปทุมธานี และเลย ช่วงครึ่งปีหลังเตรียมขยายอีก 2 แห่ง ได้แก่ เพชรบูรณ์ และบางพลี โดยสาขาบางพลีอยู่ระหว่างเร่งก่อสร้างคาดว่าจะเสร็จในต้นปีหน้า ปัจจุบัน แม็คโครมีสาขาให้บริการ 55 แห่งทั่วประเทศ สิ้นปีนี้จะมีสาขาให้บริการอย่างน้อย 56 แห่ง ล่าสุดได้พัฒนาสาขารูปแบบใหม่ "แม็คโคร ฟู้ดเซอร์วิส" เปิดบริการที่หัวหินเป็นแห่งแรก ทั้งนี้ ธุรกิจศูนย์ค้าส่งแม็คโครยังมีอัตราการเติบโตที่ดีตามแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ และชุมชน ซึ่งเป้าหมายระยะยาวมองโอกาสทางธุรกิจในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
ปัญจะ เสนาดิสัย กรรมการ บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ เปิดเผยว่า แนวโน้มยอดขายไตรมาส 2/2555 คาดว่าสูงกว่าไตรมาส 1/2555 ที่มียอดขาย 43.6 ล้านดอลลาร์ หลังบริษัทย่อยกลับมาเดินเครื่องการผลิต 60-70% และคาดว่าผลประกอบการไตรมาส 2/2555 จะมีกำไรได้ ทั้งปีนี้ บริษัทคาดการณ์กำไรสุทธิจะดีกว่าปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งมาจากเงินชดเชยประกันเหตุน้ำท่วมโรงงานที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2554 ที่จะบันทึกเข้ามาทั้งหมดภายในปีนี้ พร้อมกันนั้น บริษัทได้เริ่มทยอยปรับราคาขายขึ้น 5-10% จะมีผลในไตรมาส 3 และ 4 ทั้งนี้ การใช้กำลังการผลิตรวมช่วงครึ่งปีหลังน่าจะเพิ่มขึ้นมามากกว่า 80% จากช่วงไตรมาส 2/2555 อยู่ที่ 60-70% ในปี 2555 บริษัทตั้งเป้ายอดขายที่ 240-250 ล้านดอลลาร์ หรือราว 7,750 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะนี้ มีออเดอร์ไปถึงสิ้นเดือน ส.ค. 2555 แล้ว
สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซินเน็ค (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ในครึ่งปีหลังสถานการณ์ตลาดไอทียังมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง หลังจากภาครัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนธุรกิจไอที อย่างชัดเจน ขณะที่กระแสสมาร์ทโฟนยังคงเติบโตในอัตราที่ดีหลังจากที่มีสินค้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ลงสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับบริษัทได้มุ่งผลักดันสินค้าในกลุ่มใหม่ ที่สามารถสร้างผลกำไรได้ดีอย่างกลุ่มอุปกรณ์เสริม (Accessories) โดยคาดว่าในปีนี้ธุรกิจไอทีทั้งระบบจะขยายตัวไม่น้อยกว่า 12% และบริษัทได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้ไว้ในอัตราสูงกว่าการเติบโตของตลาดที่อัตราไม่ต่ำกว่า 15% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีรายได้รวม 20,268 ล้านบาท
วิรัตน์ เอี้ยวอักษร รักษาการกรรมการผู้จัดการ บมจ.กฤษดามหานคร เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนเปลี่ยนชื่อ และเปลี่ยนแบรนด์ใหม่ เพื่อฉีกออกจากภาพลักษณ์เดิมที่ทำให้หลายคนมองว่าเคเอ็มซี ยังเป็นของกลุ่มกฤษดาธานนท์ที่แทบไม่หุ้นเหลือแล้ว ปัจจุบันฐานะการเงินของบริษัทเริ่มมีความแข็งแกร่งมากขึ้น หลังได้รับเงินเพิ่มทุนรวมประมาณ 900 ล้านบาท ซึ่งได้นำไปชำระหนี้ให้ธนาคารเกียรตินาคิน 300 ล้านบาท ทำให้บริษัทอยู่ในฐานะปลอดหนี้ มีเพียงหนี้สินหมุนเวียนในแต่ละโครงการประมาณ 400-500 ล้านบาทเท่านั้น ในปี 2556 จะถือเป็นก้าวใหม่ของเคเอ็มซี ทั้งในแง่ภาพลักษณ์และการทำธุรกิจ เพราะบริษัทยังมีเงินเหลือจากการเพิ่มทุนประมาณ 600 ล้านบาท ไว้รองรับการพัฒนาโครงการในอนาคต ปีนี้ บริษัทประมาณการว่าจะมียอดขายเพียง 500-600 ล้านบาท ปี 2556 จะก้าวกระโดดเป็น 1 พันล้านบาท
เจริญ รุจิราโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ส. ขอนแก่นฟู้ดส์ เปิดเผยว่า หลังจากบริษัทประสบความสำเร็จในการทำตลาดผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวอบกรอบ ภายใต้แบรนด์ อองเทร่ สามารถสร้างยอดขายเติบโตถึง 30% บริษัทได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวใหม่ ภายใต้แบรนด์ มูชิ ทำจากวัตถุดิบเนื้อหมูและเนื้อไก่ 100% โดยได้เตรียมใช้งบ 20 ล้านบาท ในการสื่อสารจุดเด่นของผลิตภัณฑ์แบรนด์ มูชิ ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นอายุ 15-22 ปี ขณะเดียวกัน ได้เซ็นสัญญาแต่งตั้งให้บริษัท เพนส์มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั่วประเทศ บริษัทคาดว่า ภายในสิ้นปีนี้ แบรนด์มูชิ จะสามารถทำยอดขายได้ 50 ล้านบาท และจะส่งผลให้บริษัทมียอดขายโดยรวมในกลุ่มขนมขบเคี้ยวที่ 250 ล้านบาท ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ศุภวัส พันธุ์วัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บมจ.ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้การแข่งขันของตลาดแบตเตอรี่ค่อนข้างดุเดือด โดยในประเทศคู่แข่งบางรายใช้กลยุทธ์หั่นราคาขาย 10-15% ส่วนในต่างประเทศก็มีผู้ประกอบการรายใหม่ขายตัดราคาถึง 30% อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่มีนโยบายตัดราคาเพื่อสู้กับการแข่งขันที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่ต้องการให้กระทบกับความสามารถในการทำกำไร ทั้งนี้ บริษัทหวังว่าจะรักษาอัตรากำไรสุทธิไว้ที่ระดับ 3-4% ได้เท่ากับปีที่แล้ว โดยปีนี้ บริษัทยังคงเป้ารายได้โต 10% เช่นเดิม ทั้งนี้ สัดส่วน รายได้บริษัทมาจากยอดขายแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ 40% และแบตเตอรี่รถยนต์ 60% ส่วนแนวโน้มธุรกิจใน ครึ่งปีหลัง เชื่อว่าภาพรวมธุรกิจแบตเตอรี่จะยังขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมรถยนต์
นายแพทย์เฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล ผู้บริหารกลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ เปิดเผยว่า กรณีที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทสัดส่วน 24.99% จะไม่ส่งผลกระทบกับการบริหารงานแต่อย่างใด ครอบครัวหาญพาณิชย์ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 เช่นเดิม สำหรับผลประกอบการในไตรมาส 2/2555 คาดว่าทั้งรายได้และกำไรสุทธิจะดีกว่าไตรมาสแรก ที่ผ่านมา และดีกว่างวดเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ ยังจะเริ่มรับรู้รายได้จากการเปิดโรงพยาบาลใหม่ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ภายใต้แบรนด์ "The World Medical Center" ซึ่งเจาะกลุ่มลูกค้าผู้มีรายได้สูงโดยมีแผนเปิดให้บริการในเดือน ต.ค.นี้ ขณะเดียวกันบริษัทอยู่ระหว่างศึกษาแผนการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจจะจับกลุ่มลูกค้าผู้มีรายได้น้อย
อัญรัตน์ พรประกฤต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บมจ.ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทได้รับคำเชิญจากทางยูโอบี เคย์เฮียน ให้เข้าร่วมกิจกรรมการให้ข้อมูลกับนักลงทุนสถาบัน จำนวน 15-20 ราย เพื่อให้บริษัทได้นำเสนอข้อมูลการดำเนินงาน รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้จัดการกองทุนได้ซักถาม ในประเด็นต่างๆ ที่สนใจ โดยปัจจุบัน เพชรยูบิลลี่มี ทั้งสิ้น 86 สาขาครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งบริษัทยังมีนโยบายลงทุนขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง โดย ในปี 2555 มีแผนการขยายสาขาเพิ่มอีก 12-15 สาขา พร้อม ปรับภาพลักษณ์เคาน์เตอร์จำหน่ายเพชรอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม เรามั่นใจว่าหลังจากนักลงทุนสถาบันได้รับทราบ ข้อมูลของบริษัทแล้ว ก็น่าจะทำให้นักลงทุนเหล่านี้สนใจลงทุนในหุ้น JUBILE มากขึ้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."