ทั้งบัวหลวง และ กสิกร ไม่รับเปิดพอร์ทเด็กอายุ 12 ปี

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
investor9000
Verified User
โพสต์: 297
ผู้ติดตาม: 0

ทั้งบัวหลวง และ กสิกร ไม่รับเปิดพอร์ทเด็กอายุ 12 ปี

โพสต์ที่ 1

โพสต์

พยายามจะสอนลูกให้รู้จักการลงทุน และการออม โดยจะเปิดพอร์ทให้เขา

แต่ทั้ง บัวหลวง และ กสิกร ไม่ยอมเปิดให้ บอกว่าต้องอายุ 18 ปี กับ 20 ปี

ไม่ทราบว่ามีที่ไหนรับเปิดพอร์ทสำหรับเด็กอายุ 12 ปี บ้างครับ
flyingcatz
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทั้งบัวหลวง และ กสิกร ไม่รับเปิดพอร์ทเด็กอายุ 12 ปี

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คงไม่มีหรอกครับ
richierich
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 560
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทั้งบัวหลวง และ กสิกร ไม่รับเปิดพอร์ทเด็กอายุ 12 ปี

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ลองดูลิ้งค์นี้ครับ เค้าว่า บัวหลวงเปิดได้

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 13892.html
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทั้งบัวหลวง และ กสิกร ไม่รับเปิดพอร์ทเด็กอายุ 12 ปี

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เปิดไม่ได้ก็ไม่เห็นเป็นไรเลยนี่ครับ ใช้เป็นชื่อคุณผมกลับว่าการทำธุรกรรมมันจะง่ายกว่าด้วยซ้ำ ไม่งั้นก็ต้องมีผู้ปกครองเซ็นต์ยินยอมตลอด ยกเว้นจะหวังผลเรื่องขอคืนภาษีครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
birthboro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 458
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทั้งบัวหลวง และ กสิกร ไม่รับเปิดพอร์ทเด็กอายุ 12 ปี

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เรื่องขอคืนภาษี ในเด็ก ถึงแม้จะใช้ชื่อเด็ก แต่ถ้าเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายได้ปันผลของเด็ก จะถูกนำไปรวมกับของพ่อนะครับ :D
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทั้งบัวหลวง และ กสิกร ไม่รับเปิดพอร์ทเด็กอายุ 12 ปี

โพสต์ที่ 6

โพสต์

birthboro เขียน:เรื่องขอคืนภาษี ในเด็ก ถึงแม้จะใช้ชื่อเด็ก แต่ถ้าเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายได้ปันผลของเด็ก จะถูกนำไปรวมกับของพ่อนะครับ :D
แล้วเวลารวมมันจะเอาไปใส่ช่องไหนครับ เพราะว่ามันคนละชื่อ อย่างภรรยานี่ยังมีช่องให้กรอกใบเดียวกัน ผมเข้าใจว่าถึงไม่บรรลุนิติภาวะก็สามารถขอเลขการเสียภาษีได้นะครับ อันนี้เคยเห็นคนทำแต่เป็นการขอคืนภาษีของดอกเบี้ยที่โดนหัก ณ ที่จ่าย
"Become a risk taker, not a risk maker"
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทั้งบัวหลวง และ กสิกร ไม่รับเปิดพอร์ทเด็กอายุ 12 ปี

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ถ้าจะโอนหุ้นให้เด็กจริงๆ ก็จะต้องออกเป็นใบหุ้นออกมา แล้วไปติดต่อ TSD ว่ามีการโอนหุ้นให้กับบุตรของตนครับ แต่ส่วนใหญ่ก็จะยุ่งยากครับ นอกจากเป็นลูกของเจ้าของกิจการ หรือ ผู้บริหารในตลาดหลัีกทรัพย์ที่จะโอนหุ้นให้กับบุตรหลานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะครับ ดังนั้น เปิดชื่อของผู้ปกครองดีกว่านะครับ เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วค่อยโอนให้เขาก็ได้เหมือนกัน แต่ถ้าสนใจจริงๆต้องสอบถามทาง TSD ดูนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทั้งบัวหลวง และ กสิกร ไม่รับเปิดพอร์ทเด็กอายุ 12 ปี

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เปิดในชื่อผู้ปกครองครับ

Lynch ก็เคยเขียนเกี่ยวกับกรณีสอนให้ด็กลงทุนไว้ใน Learn to Earn มีส่วนเกี่ยวกับการเปิดพอร์ทด้วย ลองอ่านดูนะครับ
Vi IMrovised
birthboro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 458
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทั้งบัวหลวง และ กสิกร ไม่รับเปิดพอร์ทเด็กอายุ 12 ปี

โพสต์ที่ 9

โพสต์

leky เขียน:
birthboro เขียน:เรื่องขอคืนภาษี ในเด็ก ถึงแม้จะใช้ชื่อเด็ก แต่ถ้าเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายได้ปันผลของเด็ก จะถูกนำไปรวมกับของพ่อนะครับ :D
แล้วเวลารวมมันจะเอาไปใส่ช่องไหนครับ เพราะว่ามันคนละชื่อ อย่างภรรยานี่ยังมีช่องให้กรอกใบเดียวกัน ผมเข้าใจว่าถึงไม่บรรลุนิติภาวะก็สามารถขอเลขการเสียภาษีได้นะครับ อันนี้เคยเห็นคนทำแต่เป็นการขอคืนภาษีของดอกเบี้ยที่โดนหัก ณ ที่จ่าย
เอาไปรวมเป็นรายรับของพ่อเลยครับ ไม่ต้องแยก ปกติลูกที่มีรายได้เกิน 15,000 บาท พ่อไม่สามารถเอาลูกไปลดหย่อนภาษี 15,000 บาทได้นะครับ แต่ถ้าเป็น 40(4)ข นี่เกินเท่าไหร่ก็เอาไปลดหย่อนได้ครับ เพราะเขาถือเป็นรายได้พ่อไม่ใช่ของลูก

ส่วนรายรับอื่นๆ เช่นสมมุติลูกไปแสดงหนังได้เงินมา อันนี้เป็นรายรับลูกครับ แต่ถ้าลูกรายรับเกิน 15,000 บาท พ่อไม่สามารถเอาลูกไปลดหย่อนภาษีได้ครับ :D
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทั้งบัวหลวง และ กสิกร ไม่รับเปิดพอร์ทเด็กอายุ 12 ปี

โพสต์ที่ 10

โพสต์

birthboro เขียน:
leky เขียน:
birthboro เขียน:เรื่องขอคืนภาษี ในเด็ก ถึงแม้จะใช้ชื่อเด็ก แต่ถ้าเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายได้ปันผลของเด็ก จะถูกนำไปรวมกับของพ่อนะครับ :D
แล้วเวลารวมมันจะเอาไปใส่ช่องไหนครับ เพราะว่ามันคนละชื่อ อย่างภรรยานี่ยังมีช่องให้กรอกใบเดียวกัน ผมเข้าใจว่าถึงไม่บรรลุนิติภาวะก็สามารถขอเลขการเสียภาษีได้นะครับ อันนี้เคยเห็นคนทำแต่เป็นการขอคืนภาษีของดอกเบี้ยที่โดนหัก ณ ที่จ่าย
เอาไปรวมเป็นรายรับของพ่อเลยครับ ไม่ต้องแยก ปกติลูกที่มีรายได้เกิน 15,000 บาท พ่อไม่สามารถเอาลูกไปลดหย่อนภาษี 15,000 บาทได้นะครับ แต่ถ้าเป็น 40(4)ข นี่เกินเท่าไหร่ก็เอาไปลดหย่อนได้ครับ เพราะเขาถือเป็นรายได้พ่อไม่ใช่ของลูก

ส่วนรายรับอื่นๆ เช่นสมมุติลูกไปแสดงหนังได้เงินมา อันนี้เป็นรายรับลูกครับ แต่ถ้าลูกรายรับเกิน 15,000 บาท พ่อไม่สามารถเอาลูกไปลดหย่อนภาษีได้ครับ :D
ขอบคุณครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
โพสต์โพสต์