เงินกำลังจะหมุนไป กำลังหมุนไป สู่ประชาชน (Soft Loan)
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
เงินกำลังจะหมุนไป กำลังหมุนไป สู่ประชาชน (Soft Loan)
โพสต์ที่ 1
ถ้าใครจำได้ว่าตอนวิกฤติเศรษฐกิจมีโฆษณาชุดหนึ่งของธนาคารสีฟ้า ออกมาในชุดที่เรียกว่า
อัศวินม้าขาว ทำนองนี้ และมีเนื้อเพลง ว่าเงินกำลังจะหมุนไป เงินกำลังหมุนไป สู่ประชาชน
ซึ่งเป็นวลีเด็ดของภาพยนต์โฆษณาชุดนี้ มันย้ำุึถึงตอนห่วงเวลานั้น ประเทศไทยอยู่ในมาตราการ IMF
รัฐต้องรัดเข็มขัดทุกอย่าง ขึ้นภาษี ลดค่าใช้จ่ายลง ส่วนภาคเอกชน โดนกำจัด OD ไม่มีการปล่อยกู้
หนี้ดีกลายเป็นหนี้เน่า ต้องขายสินทรัพย์ที่ยึดมาได้ในราคาต่ำ ตอนนั้นมีวาทะดังว่า เจ้าสัว Yesterday เกิดขึ้น
ภายในวันนั้นคือ รัฐไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจอะไรได้เลย เพราะโดน IMF บีบ จนกระทั่ง เริ่มออกมาตราการหลายต่อหลายอย่างออกมาจนกระทั่งออกมาตราการให้ธนาคารรัฐและธนาคารัฐวิสาหกิจเป็นมือไม้ในการปล่อยกู้ เบื้องหลังเรื่องเหล่านี้ในปัจจุบันได้เดินย้อนรอยในอดีต แต่รอบนี้เป็นในชื่อของ Soft Load สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ จากน้ำท่วม หรือ นอกเหนือจากนั้น (ไม่ขอนับเรื่องสินเชื่อการเกษตรและอื่นๆ)
การที่สามารถปล่อยกู้เงินได้ในตอนนี้ (ตามกฏของบาเซิล 2) ธนาคารต้องมีทุนเพียงพอในการทำธุรกรรม และกั้นเงินฝากบ้างส่วนไว้ เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีที่มีคนถอนเงิน (แต่มาตราการนี้ได้โดนท้าทายไปแล้วในช่วงที่เกิด แฮมเบอร์เกอร์ไครซิสที่ผ่านมา)
ดังนั้น ถ้าหากธนาคารของรัฐหรือธนาคารรัฐวิสาหกิจต้องการปล่อยกู้เพิ่ม ต้องระดมทุนจากช่องทางต่างๆ ถ้าระดมเงินผ่านช่องทางต่างๆไม่ได้ก็พึ่งพาการเิ่พิ่มทุนจากรัฐ แล้วหากรัฐไม่ได้เตรียมทำงบประมาณไว้ก่อนล่วงหน้าในการเพิ่มทุนธนาคารดังกล่าวแล้ว งานนี้ต้องหางบมาลงให้ได้ แล้วยิ่งถ้าหากรายรับของรัฐบาล(จากภาษี จากอากรต่างๆ จากภาษีสรรพาสามิตต่างๆ จากค่าบริการต่างๆของรัีฐ) ต่ำกว่ารายจ่ายของรัฐบาล (ทั้งรายจ่ายประจำและรายการลงทุน) ก็ต้องออกพันธบัตรรัฐบาลออกมาดูดสภาพคล่อง นั้นคือ เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐบาลโดยทางอ้อม จากรัฐ สู่ ธนาคารของรัฐหรือธนาคารัฐวิสาหกิจ สู่มือประชาชน โดยที่ข้ออ้างที่สมเหตุสมผล
เมื่อรัฐบาลออกพันธบัตรออกมาชดเชย ใครหนอเป็นผู้ซื้อ ใครหนอเป็นผู้ที่สามารถเพิ่มปริมาณเงินในระบบได้ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็จำเป็นต้องเิพิ่มตัวเลขในระบบการเงินเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยก็ลดลง แต่ทำไมหนอดอกเบี้ยไม่ลดลง เพราะว่า รัฐยิ่งกู้ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ตัวเอง(ระดับความน่าเชื่อถือก็จะลดลงในอนาคต หากการเติบโตของประเทศไม่แข็งแกร่ง กู้มาแล้วไม่ได้สร้างความยั่งยืนในอนาคต) ไม่เีพียงเท่านั้น เงินในระบบมีคนระดมทุนไม่เพียงแค่รัฐเท่านั้นยังมี บริษัทเอกชนที่ออกพวกหุ้นกู้ ธนาคารที่ระดมเงินฝาก เป็นต้น ที่แบ่งส่วนเงินก้อนนี้ออกไปด้วย
ตัดภาพกลับมาที่ประชาชนที่ได้เงินสินเชื่อนั้น ประชาชนเองก็มีสินทรัพย์ที่เป็นตัวตนคือ ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างแล้ว มีความเสียหายจากน้ำท่วมหรือ ต้องการกู้เพื่อ refinance ดอกเบี้ย ดังนั้นเงินกู้นี้ก็จะหมุนเวียนในระบบ ยิ่งทำธุรกรรมบ่อยแค่ไหน จากเงิน 1 บาท ถ้าหากทำธุรกรรม 10 ครั้ง ก็ทำให้เกิดเงินไหลเวียนในระบบเป็นจำนวนเงิน 10 บาท เกิดขึ้น ยิ่งทำให้เงินหมุนเวียนคล่องแค่ไหน ก็ยิ่งทำให้ประชาชนรู้สึกว่าตัวเองสามารถหามาและใช้ไปง่ายขึ้น สภาพความเป็นอยู่ก็ดีขึ้นได้
แต่สิ่งที่ต้องระวังในอนาคตคืออะไร
ผมกังวลเรื่องของ การตั้งสำรองหนี้ ของธนาคารที่ปล่อยกู้
เรื่องต่อมาที่กังวลคือ ถ้าหากเกิดการใช้มาตราการ บาเซิล 3 เกิดขึ้นในปีหน้านี้ ธนาคารที่สนองนโยบายดังกล่าวต้องเพิ่มทุนเท่าไร
สิ่งที่กลัวคือ โปร่งใสหรือไม่ในการทำธุรกรรมต่างๆ
สิ่งสุดท้ายที่ผมกังวลคือ อาจจะทำให้เกิดการใช้จ่ายที่มากเกินไปกว่าที่ระบบเศรษฐกิจสามารถรองรับได้ เกินพื้นฐานของประเทศที่รองรับได้ (ฟองสบู่นั้นเอง)
ส่งท้าย
ผมหาหมวกกันน็อคก่อนละกัน
อัศวินม้าขาว ทำนองนี้ และมีเนื้อเพลง ว่าเงินกำลังจะหมุนไป เงินกำลังหมุนไป สู่ประชาชน
ซึ่งเป็นวลีเด็ดของภาพยนต์โฆษณาชุดนี้ มันย้ำุึถึงตอนห่วงเวลานั้น ประเทศไทยอยู่ในมาตราการ IMF
รัฐต้องรัดเข็มขัดทุกอย่าง ขึ้นภาษี ลดค่าใช้จ่ายลง ส่วนภาคเอกชน โดนกำจัด OD ไม่มีการปล่อยกู้
หนี้ดีกลายเป็นหนี้เน่า ต้องขายสินทรัพย์ที่ยึดมาได้ในราคาต่ำ ตอนนั้นมีวาทะดังว่า เจ้าสัว Yesterday เกิดขึ้น
ภายในวันนั้นคือ รัฐไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจอะไรได้เลย เพราะโดน IMF บีบ จนกระทั่ง เริ่มออกมาตราการหลายต่อหลายอย่างออกมาจนกระทั่งออกมาตราการให้ธนาคารรัฐและธนาคารัฐวิสาหกิจเป็นมือไม้ในการปล่อยกู้ เบื้องหลังเรื่องเหล่านี้ในปัจจุบันได้เดินย้อนรอยในอดีต แต่รอบนี้เป็นในชื่อของ Soft Load สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ จากน้ำท่วม หรือ นอกเหนือจากนั้น (ไม่ขอนับเรื่องสินเชื่อการเกษตรและอื่นๆ)
การที่สามารถปล่อยกู้เงินได้ในตอนนี้ (ตามกฏของบาเซิล 2) ธนาคารต้องมีทุนเพียงพอในการทำธุรกรรม และกั้นเงินฝากบ้างส่วนไว้ เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีที่มีคนถอนเงิน (แต่มาตราการนี้ได้โดนท้าทายไปแล้วในช่วงที่เกิด แฮมเบอร์เกอร์ไครซิสที่ผ่านมา)
ดังนั้น ถ้าหากธนาคารของรัฐหรือธนาคารรัฐวิสาหกิจต้องการปล่อยกู้เพิ่ม ต้องระดมทุนจากช่องทางต่างๆ ถ้าระดมเงินผ่านช่องทางต่างๆไม่ได้ก็พึ่งพาการเิ่พิ่มทุนจากรัฐ แล้วหากรัฐไม่ได้เตรียมทำงบประมาณไว้ก่อนล่วงหน้าในการเพิ่มทุนธนาคารดังกล่าวแล้ว งานนี้ต้องหางบมาลงให้ได้ แล้วยิ่งถ้าหากรายรับของรัฐบาล(จากภาษี จากอากรต่างๆ จากภาษีสรรพาสามิตต่างๆ จากค่าบริการต่างๆของรัีฐ) ต่ำกว่ารายจ่ายของรัฐบาล (ทั้งรายจ่ายประจำและรายการลงทุน) ก็ต้องออกพันธบัตรรัฐบาลออกมาดูดสภาพคล่อง นั้นคือ เป็นการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐบาลโดยทางอ้อม จากรัฐ สู่ ธนาคารของรัฐหรือธนาคารัฐวิสาหกิจ สู่มือประชาชน โดยที่ข้ออ้างที่สมเหตุสมผล
เมื่อรัฐบาลออกพันธบัตรออกมาชดเชย ใครหนอเป็นผู้ซื้อ ใครหนอเป็นผู้ที่สามารถเพิ่มปริมาณเงินในระบบได้ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็จำเป็นต้องเิพิ่มตัวเลขในระบบการเงินเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยก็ลดลง แต่ทำไมหนอดอกเบี้ยไม่ลดลง เพราะว่า รัฐยิ่งกู้ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ตัวเอง(ระดับความน่าเชื่อถือก็จะลดลงในอนาคต หากการเติบโตของประเทศไม่แข็งแกร่ง กู้มาแล้วไม่ได้สร้างความยั่งยืนในอนาคต) ไม่เีพียงเท่านั้น เงินในระบบมีคนระดมทุนไม่เพียงแค่รัฐเท่านั้นยังมี บริษัทเอกชนที่ออกพวกหุ้นกู้ ธนาคารที่ระดมเงินฝาก เป็นต้น ที่แบ่งส่วนเงินก้อนนี้ออกไปด้วย
ตัดภาพกลับมาที่ประชาชนที่ได้เงินสินเชื่อนั้น ประชาชนเองก็มีสินทรัพย์ที่เป็นตัวตนคือ ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างแล้ว มีความเสียหายจากน้ำท่วมหรือ ต้องการกู้เพื่อ refinance ดอกเบี้ย ดังนั้นเงินกู้นี้ก็จะหมุนเวียนในระบบ ยิ่งทำธุรกรรมบ่อยแค่ไหน จากเงิน 1 บาท ถ้าหากทำธุรกรรม 10 ครั้ง ก็ทำให้เกิดเงินไหลเวียนในระบบเป็นจำนวนเงิน 10 บาท เกิดขึ้น ยิ่งทำให้เงินหมุนเวียนคล่องแค่ไหน ก็ยิ่งทำให้ประชาชนรู้สึกว่าตัวเองสามารถหามาและใช้ไปง่ายขึ้น สภาพความเป็นอยู่ก็ดีขึ้นได้
แต่สิ่งที่ต้องระวังในอนาคตคืออะไร
ผมกังวลเรื่องของ การตั้งสำรองหนี้ ของธนาคารที่ปล่อยกู้
เรื่องต่อมาที่กังวลคือ ถ้าหากเกิดการใช้มาตราการ บาเซิล 3 เกิดขึ้นในปีหน้านี้ ธนาคารที่สนองนโยบายดังกล่าวต้องเพิ่มทุนเท่าไร
สิ่งที่กลัวคือ โปร่งใสหรือไม่ในการทำธุรกรรมต่างๆ
สิ่งสุดท้ายที่ผมกังวลคือ อาจจะทำให้เกิดการใช้จ่ายที่มากเกินไปกว่าที่ระบบเศรษฐกิจสามารถรองรับได้ เกินพื้นฐานของประเทศที่รองรับได้ (ฟองสบู่นั้นเอง)
ส่งท้าย
ผมหาหมวกกันน็อคก่อนละกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินกำลังจะหมุนไป กำลังหมุนไป สู่ประชาชน (Soft Loan)
โพสต์ที่ 2
ได้เกิด BBC ภาคสอง กันบ้างล่ะครับ งานนี้ เริ่มเห็นฟองสบู่พองตัวขึ้นลางๆ แล้ว
- i-salmon
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินกำลังจะหมุนไป กำลังหมุนไป สู่ประชาชน (Soft Loan)
โพสต์ที่ 3
นึกว่าจะชวนคุยเรื่อง loan ตอนนี้กำลังสนใจ flexi loan อยู่ครับ
ผมว่าตอนนี้สารพัน loan คงวิ่งมาหาประชาชน
ถึงแม้จะเสี่ยงเพิ่ม แต่ก็ธุรกิจก็มีรายได้เพิ่ม
ยังไงก็ต้องลงทุนต่อไปอยู่ดีครับ
ผมว่าตอนนี้สารพัน loan คงวิ่งมาหาประชาชน
ถึงแม้จะเสี่ยงเพิ่ม แต่ก็ธุรกิจก็มีรายได้เพิ่ม
ยังไงก็ต้องลงทุนต่อไปอยู่ดีครับ
Go against and stay alive.
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เงินกำลังจะหมุนไป กำลังหมุนไป สู่ประชาชน (Soft Loan)
โพสต์ที่ 4
ยังไม่ถึงระดับนั้นครับ ณ ตอนนี้ แค่เรียงบาลีWorriedInvestor เขียน:ได้เกิด BBC ภาคสอง กันบ้างล่ะครับ งานนี้ เริ่มเห็นฟองสบู่พองตัวขึ้นลางๆ แล้ว
ข้อแรกคือ อัดฉีดภาค อสังหาริมทรัพย์ จากน้ำท่วม ขั้นแรกคือ ไม่ให้กรมธนารักษ์ประกาศราคาที่ดินใหม่
ที่ปรับปรุงน้ำท่วมลงไปเมื่อต้นปีให้คงราคาเดิมไว้ ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ไม่ลดลง
ขั้นที่สอง ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับผู้ที่น้ำท่วม
ขั้นที่สาม ปล่อยกู้ดอกเบี้ยสูงกว่าขั้นที่ 2 แต่ไม่สนใจว่า ลูกค้าเป็นเขตน้ำท่วมหรือไม่
โดยไม่อัดฉีดลงมาให้ประชาชนตรงๆ แต่อัดฉีดโดยใช้ธนาคารเฉพาะกิจแทน
งานนี้ต้องดูว่า เงินที่อัดฉีดเข้ามานั้น หมุนไปสร้างงานใหม่เท่าไร หมุนไปก่อให้เกิดการเติบโตที่ฐานรากของประเทศไทย
ในด้านการลงทุนเพิ่มเติมต่างๆ ถ้าฐานราคาไม่เติบโตดีพอก็เป็นตัวเพาะปัญหาในอนาคต
แต่ความโชคร้ายบนความโชคดี คือ AEC ทำให้สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นในระยะนี้
เพราะว่าการรวมกลุ่มนี้เป็นการรวมกลุ่มขั้นตอนที่ 1-2 เหมือนของ EU แต่ไม่ได้ใช้เงินสกุลเดียวกันเท่านั้น
เนื่องจากว่า วิกฤติของกรีซเป็นบทเรียนที่สำคัญทำให้ไม่สามารถเดินไปถึงจุดนั้นประการหนึ่ง
ประการต่อมาคือ การเลื่อมล้ำของการพัฒนาประเทศที่ยังไม่เท่าเทียมกัน
สิ่งที่ทดแทนไม่ให้เกิดคือการเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยไม่มีพรมแดนกีดกันแล้วล่ะ
งานนี้เลยเป็นสิ่งที่กลบปัญหาอยู่ได้
นอกเรื่องยาวๆ
สินเชื่อตัวที่ว่า ทำให้ผู้ประกอบการในกลุ่มของกิจการสร้างบ้าน รวมถึง ซัพพลายในกิจการดังกล่าวยังเติบโตได้อีก
สิ่งที่ต้องดูต่อไปคือ กำลังซื้อของประชาชนที่ได้จากรัฐนั้น เป็นกำลังซื้อแท้หรือเทียม
ไล่ตั้งแต่การเพิ่มรายได้จากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ (แต่ผมไม่เห็นรายงานเรื่องอัตราการว่างงานว่าเพิ่มเท่าไร เพราะมีมาตราการเรื่องชะลอการเลิกจ้างออกมาเหมือนกัน) การออกมาตราการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ การหยุดพักหนี้ดี (เรื่องนี้ทำให้เครดิตบูโรทังปวดหัวเลย เป็นแพะในเรื่องนี้เลย) เป็นต้น
นักลงทุนในภาวะแบบนี้ยิ้ม แต่เครื่องมือของรัฐในช่วงต่อไปถ้าหาก EU หรือ US เกิดเหตุการณ์ที่คิดไว้แล้ว แต่ไม่อยากให้เป็นจริงเกิดขึ้น เครื่องที่สามารถใช้งานได้ก็จะน้อยลงทันที
ปล.
เรื่องซุกหนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว
คือ โอนหนี้สินเน่า ไปไว้ที่พวก บริษัทบริหารสินทรัพย์ ทำให้ไม่สามารถติดตามยอดหนี้เสียได้
ไม่มีรายงานปรากฏออกมาในสาธารณะ ทำให้หนี้สินก้อนหนี้หายไปจากระบบการเงินของประเทศ
แต่จริงๆ ก็ยังคงมีอยู่ แล้วลดหรือเพิ่มไม่สามารถบอกได้ ซึ่งตอนนี้บ้างแห่งก็ต้องปิดตัวลงตามกฏหมายออกมา
สิ่งต่อไปที่น่าจับตาของหนี้เน่าตั้งแต่ต้มยำกุ้งคือ มันเน่าจริงเท่าไร มีหน่วยงานไหนเก็บไว้บ้างละ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เงินกำลังจะหมุนไป กำลังหมุนไป สู่ประชาชน (Soft Loan)
โพสต์ที่ 5
ปํญหาของ Soft Load คือ ดอกเบี้ยที่ได้รับจากลูกค้า เป็นดอกเบี้ยคงที่ในระยะเวลา....ปี
ซึ่งถ้าให้ดี ก็นั่งวาด time line ว่าเงินต้นและดอกเบี้ย จ่ายงวดละเท่าไร
จากนั้น ก็คาดคะเนดอกเบี้ยในอนาคตว่าเป็นเช่นไร ผลออกมาในระยะแรกที่ดอกเบี้ยคงที่
ควรที่จ่ายให้มากๆ เพราะเมืื่อพ้นระยะดอกเบี้ยคงที่ ดอกเบี้ยจะเพิ่มจนบ้างคนไม่สามารถส่งเงินต้นได้
จากสาเหตุต่างๆนานาๆ
ดังนั้นดูดีในช่วงแรก แต่สุดท้ายอาจจะเกิดปัญหา หรือไม่เกิดก็ได้ขึ้นอยู่กับว่า ควบคุมลูกค้าสินเชื่ออย่างไง
ปล.
ระวังนิดหน่อย ว่าถ้าหากค้ำเป็นกลุ่ม อันนี้ต้องระวังว่า คนหนึ่งชักดาบ ทำให้คนทั้งกลุ่มชักดาบเลย
ทำให้หนี้ไม่สามารถหาคนรับผิดชอบในการจ่ายได้ละครับ
ซึ่งถ้าให้ดี ก็นั่งวาด time line ว่าเงินต้นและดอกเบี้ย จ่ายงวดละเท่าไร
จากนั้น ก็คาดคะเนดอกเบี้ยในอนาคตว่าเป็นเช่นไร ผลออกมาในระยะแรกที่ดอกเบี้ยคงที่
ควรที่จ่ายให้มากๆ เพราะเมืื่อพ้นระยะดอกเบี้ยคงที่ ดอกเบี้ยจะเพิ่มจนบ้างคนไม่สามารถส่งเงินต้นได้
จากสาเหตุต่างๆนานาๆ
ดังนั้นดูดีในช่วงแรก แต่สุดท้ายอาจจะเกิดปัญหา หรือไม่เกิดก็ได้ขึ้นอยู่กับว่า ควบคุมลูกค้าสินเชื่ออย่างไง
ปล.
ระวังนิดหน่อย ว่าถ้าหากค้ำเป็นกลุ่ม อันนี้ต้องระวังว่า คนหนึ่งชักดาบ ทำให้คนทั้งกลุ่มชักดาบเลย
ทำให้หนี้ไม่สามารถหาคนรับผิดชอบในการจ่ายได้ละครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินกำลังจะหมุนไป กำลังหมุนไป สู่ประชาชน (Soft Loan)
โพสต์ที่ 8
เค้าว่า ห้ามโปะ นิคับmiracle เขียน:ปํญหาของ Soft Load คือ ดอกเบี้ยที่ได้รับจากลูกค้า เป็นดอกเบี้ยคงที่ในระยะเวลา....ปี
ซึ่งถ้าให้ดี ก็นั่งวาด time line ว่าเงินต้นและดอกเบี้ย จ่ายงวดละเท่าไร
จากนั้น ก็คาดคะเนดอกเบี้ยในอนาคตว่าเป็นเช่นไร ผลออกมาในระยะแรกที่ดอกเบี้ยคงที่
ควรที่จ่ายให้มากๆ เพราะเมืื่อพ้นระยะดอกเบี้ยคงที่ ดอกเบี้ยจะเพิ่มจนบ้างคนไม่สามารถส่งเงินต้นได้
จากสาเหตุต่างๆนานาๆ
ดังนั้นดูดีในช่วงแรก แต่สุดท้ายอาจจะเกิดปัญหา หรือไม่เกิดก็ได้ขึ้นอยู่กับว่า ควบคุมลูกค้าสินเชื่ออย่างไง
ปล.
ระวังนิดหน่อย ว่าถ้าหากค้ำเป็นกลุ่ม อันนี้ต้องระวังว่า คนหนึ่งชักดาบ ทำให้คนทั้งกลุ่มชักดาบเลย
ทำให้หนี้ไม่สามารถหาคนรับผิดชอบในการจ่ายได้ละครับ
show me money.
- kubo
- Verified User
- โพสต์: 249
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินกำลังจะหมุนไป กำลังหมุนไป สู่ประชาชน (Soft Loan)
โพสต์ที่ 9
โฆษณา ชุดเงินกำลังจะหมุนไป ครับ เคยดูตอนเด็กๆไม่คิดว่าจะได้มาดูอีกครั้ง
ขอบคุณพี่ miracle มากครับ
ขอบคุณพี่ miracle มากครับ
“It is only with the heart that one can see rightly; what is essential is invisible to the eye.”
~ Antoine de Saint-Exupery, "The Little Prince"
~ Antoine de Saint-Exupery, "The Little Prince"
- ilekis
- Verified User
- โพสต์: 205
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินกำลังจะหมุนไป กำลังหมุนไป สู่ประชาชน (Soft Loan)
โพสต์ที่ 10
น่าจะไม่ห้ามโปะนะครับ แค่ห้ามปิดในช่วงดอกคงที่nut776 เขียน:เค้าว่า ห้ามโปะ นิคับmiracle เขียน:ปํญหาของ Soft Load คือ ดอกเบี้ยที่ได้รับจากลูกค้า เป็นดอกเบี้ยคงที่ในระยะเวลา....ปี
ซึ่งถ้าให้ดี ก็นั่งวาด time line ว่าเงินต้นและดอกเบี้ย จ่ายงวดละเท่าไร
จากนั้น ก็คาดคะเนดอกเบี้ยในอนาคตว่าเป็นเช่นไร ผลออกมาในระยะแรกที่ดอกเบี้ยคงที่
ควรที่จ่ายให้มากๆ เพราะเมืื่อพ้นระยะดอกเบี้ยคงที่ ดอกเบี้ยจะเพิ่มจนบ้างคนไม่สามารถส่งเงินต้นได้
จากสาเหตุต่างๆนานาๆ
ดังนั้นดูดีในช่วงแรก แต่สุดท้ายอาจจะเกิดปัญหา หรือไม่เกิดก็ได้ขึ้นอยู่กับว่า ควบคุมลูกค้าสินเชื่ออย่างไง
ปล.
ระวังนิดหน่อย ว่าถ้าหากค้ำเป็นกลุ่ม อันนี้ต้องระวังว่า คนหนึ่งชักดาบ ทำให้คนทั้งกลุ่มชักดาบเลย
ทำให้หนี้ไม่สามารถหาคนรับผิดชอบในการจ่ายได้ละครับ
ส่วนเรื่องการก่อหนี้
ความเข้าใจของคนทั่วไปในเรื่องการเงินยังต่ำมาก ๆ เลยอะครับ
บางคนเรียนปริญญาตรี แต่ไม่เข้าใจความน่ากลัวของหนี้ทบต้นเลย
ทำจนหนี้ lock การเงินของตนเอง
How much can you know about yourself, you've never been in a fight?
Tyler Durden
Tyler Durden