"ปิ่นจักกะพาก"อดีตพ่อมดการเงิน กลับเมืองไทยแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
"ปิ่นจักกะพาก"อดีตพ่อมดการเงิน กลับเมืองไทยแล้ว
โพสต์ที่ 1
คดีหมดอายุความ'ปิ่น'กลับไทยฉลุย
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Thursday, August 30, 2012 05:11
"ปิ่น จักกะพาก" ราชานักเทคโอเวอร์ ซุ่มเงียบกลับไทย หลังต้องลี้ภัยอยู่อังกฤษนานกว่า 15 ปี ผลพวงอาณาจักรฟินวันมูลค่ากว่าแสนล้านบาทต้องล่มสลายจากฟองสบู่ "ตลาดหุ้น-อสังหาฯ" แตก ด้านแบงก์ชาติยอมรับคดีหมดอายุความ ไม่สามารถเอาผิดได้ ขณะที่ผู้บริหารคนอื่นๆ ใน บง.เอกธนกิจ คดีสิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์ เหตุอัยการตัดสินใจไม่ส่งฟ้อง แต่ยังมีสำนวนคดีค้างอีกมาก แต่หลายคดีต้องจำหน่ายออกไปเพราะนำ ผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีไม่ได้
นายปิ่น จักกะพาก อดีตกรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัทเงินทุน (บง.) เอกธนกิจ ฉายา "พ่อมดการเงิน" ในยุคฟองสบู่ ได้เดินทางกลับมาประเทศไทยได้ราว 1 สัปดาห์ หลังจากต้องลี้ภัยจากคดีความไปอยู่อังกฤษเป็นเวลาเกือบ 20 ปี เนื่องจากคดีหมดอายุความ
นายสาทร โตโพธิ์ไทย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าคดีที่ ธปท. กล่าวโทษต่อ นายปิ่น ได้หมดอายุความไประยะหนึ่งแล้ว ดังนั้นแม้ว่า นายปิ่น จะกลับมาประเทศไทย ธปท.ก็ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดกับนายปิ่นได้
ส่วนผู้บริหารคนอื่นๆ ของ บง.เอกธนกิจ ที่ ธปท. กล่าวโทษไปนั้น ในอดีตศาลชั้นต้นตัดสินให้ ธปท. เป็นผู้ชนะคดี แต่ต่อมาผู้บริหารเหล่านี้ขอยื่นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ตัดสินให้คดีตกไป ในขณะที่อัยการเองก็ตัดสินใจไม่ส่งฟ้องต่อศาลฎีกา ทำให้คดีความสิ้นสุดลงไปตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
สำหรับคดีความอื่นๆ ที่ ธปท. อยู่ระหว่างฟ้องร้องนั้น ปัจจุบันมีหลายคดี โดยส่วนใหญ่เป็นคดีที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่อยู่ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ขณะเดียวกันก็มีหลายคดีที่ยังไม่เริ่มดำเนินการฟ้องร้อง เนื่องจากไม่สามารถนำตัวผู้บริหารที่กระทำความผิดมาดำเนินคดีได้ จึงต้องมีการจำหน่ายคดีออกไปก่อน
ทั้งนี้คดีนายปิ่น หมดอายุความเมื่อต้นปี 2555
ย้อนอาณาจักรแสนล้าน "ราชาเทคโอเวอร์"
ปิ่น ถือเป็นตำนานที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ เพราะได้รับฉายา "ราชานักเทคโอเวอร์" โดยได้สร้างสีสันให้กับวงการตลาดทุนในยุคเฟื่องฟูเมื่อก่อนปี 2540 ซึ่งช่วงนั้นตลาดหลักทรัพย์บูมสุดขีด ดัชนีทะยานขึ้นไปถึง 1,700 จุด
ปิ่น จักกะพาก ถือว่าเป็นนักการเงินที่รุ่งสุดๆ ในยุคก่อนฟองสบู่แตก หลังจากที่เขาเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย จากประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เดินทางกลับประเทศไทยในปี 2516 ทำงานที่ธนาคารเชสแมนฮัตตัน กรุงเทพฯ ตำแหน่งรองประธาน ตั้งแต่ปี 2516-2522 นาน 7 ปี
หลังจากนั้นก็เข้ามาทำงานที่บริษัทเงินทุนยิบอินซอย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือญาติทางมารดา ที่กำลังเกิดปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง ปิ่นจึงถูกทาบทามให้เป็นกรรมการผู้จัดการ ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นก็ชื่อจาก บริษัทเงินทุนยิบอินซอย เป็น บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ หรือที่เรียกติดปากกันในยุคนั้นว่า "ฟินวัน " ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่ที่แวดวงการเงิน-การลงทุนในช่วงนั้นต้องจับตามอง เพราะยุทธศาสตร์การสยายปีกของกลุ่ม ฟินวัน ภายใต้การนำของ ปิ่น จักกะพาก นั้นจะใช้วิธีการครอบงำกิจการหรือเทคโอเวอร์ กิจการที่มีปัญหา จนทำให้ขนาดสินทรัพย์ของฟินวันในช่วงนั้นสูงสุดในระบบบริษัทเงิน จนปิ่นได้ฉายาว่าเป็น "พ่อมดการเงิน" ในเวลาต่อมา
การขยายกิจการของกลุ่มเอก ในยุคนั้น เริ่มต้นจากการเข้าซื้อ บล.โกลด์ฮิลล์ ที่กำลังประสบปัญหาการเงิน ด้วยราคาหุ้นละ 25 บาท ใช้เงินทั้งสิ้น 10 ล้านบาท ซึ่งถูกวิจารณ์กันมากว่าสูงเกินความจำเป็น แต่หลังจากนั้นเพียง 3 ปี เมื่อนำหุ้น บล.โกลด์ฮิลล์ ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น บล.เอกธำรง เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ราคาหุ้นได้พุ่งสูงสุดถึงหุ้นละ 500 บาท ในปี 2529
หลังจากนั้นก็เข้าเทคโอเวอร์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ และเปลี่ยนชื่อให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มเอกด้วยกัน เช่น บริษัทหลักทรัพย์ ศรีไทย ถูกเปลี่ยนเป็น บริษัทหลักทรัพย์เอกเอเชีย, บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงทอง เปลี่ยนเป็น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกสิน และ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ ถูกเปลี่ยนเป็น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกธนา รวมถึงสถาบันการเงินอื่น ๆ ฯลฯ โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินที่ถูกเทกโอเวอร์เหล่านี้เป็นสถาบันการเงินที่กำลังมีปัญหาฐานะการเงิน
สยายปีกยกระดับอาณาจักรฟินวัน
การสยายปีกของฟินวัน ในยุคนั้นไม่ได้หยุดเพียงแค่กลุ่มไฟแนนซ์ เท่านั้น แต่ปิ่น ยังมองไกลไปกว่านั้น ด้วยการยกระดับ บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ เป็นธนาคารพาณิชย์ ซึ่งช่วงนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดช่องให้บริษัทเงินทุนที่มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ยกระดับขึ้นเป็นธนาคารได้ ช่วงนั้นแม้ "ปิ่น" จะบริหารกิจการฟินวันจนประสบความสำเร็จ มีการขยายสร้างอาณาจักรอย่างรวดเร็ว มีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง แต่ ปิ่น รู้ดีว่า หากยังไม่สามารถเข้าซื้อกิจการธนาคารให้ได้สักแห่ง กิจการก็ยังถือว่าอยู่แนวหลังของธุรกิจธนาคารไทย
ดังนั้น เขาจึงพุ่งเป้าไปที่ธนาคารไทยทนุ ซึ่งเป็นธนาคารอันดับ 12 ของประเทศ โดยอาศัยสายสัมพันธ์กับ นายพรสนอง ตู้จินดา กรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารไทยทนุ ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนและเป็นอดีตผู้บริหารของซิตี้แบงก์ ในช่วงนั้น ผู้บริหารหนุ่มไฟแรง ทั้งปิ่นและพรสนอง ต่างก็มีความเชื่อเหมือนกันว่า "ฟินวัน" จะทำให้ ธนาคาร ไทยทนุ ที่บริหารแบบอนุรักษนิยมกลับมีพลังขึ้นมาได้
โดยในเดือนม.ค. 2539 ทั้ง 2 สถาบันการเงินก็มีความตกลงร่วมกัน จนสร้างความฮือฮาให้กับแวดวงการเงิน โดยฟินวันจะเข้าซื้อหุ้น 20% ของธนาคารไทยทนุเป็นมูลค่า 3.4 พันล้านบาท นับเป็นข้อตกลง ที่ได้รับการสนับสนุนไปทั่ว แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังผ่อนปรนข้อกำหนด ที่จำกัดสัดส่วนการถือครองหุ้นของธนาคารให้กับเอกชนเพียง 5% โดยถือว่าสถาบันการเงินของไทยจะต้องเติบโตมากขึ้นก่อน ที่เปิดเสรีการเงิน ซึ่งการเข้าไปถือหุ้นดังกล่าว ดูเหมือนว่า พ่อมดทางการเงิน กำลังจะผงาดขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจการเงินของเมืองไทย แต่สุดท้ายก็ต้องล่มสลายในที่สุด
หลังจากเกิดเหตุการณ์เงินบาทถูกโจมตีเป็นระลอกใหญ่จากภายนอกประเทศ ในช่วงเดือนก.พ. 2540 จนส่งผลกระทบภาพรวมระบบสถาบันการเงินไทย จนในที่สุดธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งปิดแค่ 16 สถาบันการเงิน ในเดือนมี.ค. 2540 โดยมีรัฐค้ำประกันเงินฝาก แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของบริษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่อย่าง บง.เอกธนกิจ ของนายปิ่น จักกะพาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นฐานะการเงินสำรองของประเทศอ่อนแอลงเรื่อยๆ จากการถูกโจมตีค่าเงิน จนสุดท้ายก็ต้องประกาศลดค่าเงินบาทในวันที่ 2 ก.ค. 2540
ล่มสลายพร้อมวิกฤติเศรษฐกิจ
ข่าวลือการสั่งปิดกิจการสถาบันการเงินเกิดขึ้นเป็นระลอกหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ตามด้วยการถอนเงินจากสถาบันการเงินใหญ่ๆ จนขาดสภาพคล่อง และลุกลามสู่การแห่ถอนเงินครั้งใหญ่ ในระบบสถาบันการเงิน จนกระทั่งคลอนแคลน และนำไปสู่การต้องปิดสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอีก 42 แห่ง รวมเป็น 58 แห่ง ในเดือนส.ค. 2540 ตามข้อเสนอของ ไอเอ็มเอฟ เพื่อตัดทิ้งเนื้อร้ายและเพื่อหยุดการแห่ถอนเงิน DEPOSIT RUN ในระบบสถาบันการเงินไทย
เวลานั้นอาณาจักรของ "เอกธนกิจ" ขยายตัวใหญ่จนเกือบจะก้าวกระโดดขึ้นเป็น "MEGA FINANCE COMPANY" กลับต้องล่มสลายลงไป กับสินทรัพย์ที่เสียหายกว่าแสนล้านบาท รวมทั้งความล้มเหลวของแผนการควบกิจการ กับธนาคารไทยทนุ ต่อมาได้ส่งผลเป็นโดมิโน ให้การหาผู้ร่วมทุนจากธนาคารต่างชาติของธนาคารไทยอีก 4 แห่ง ถึงกับล้มเหลวตามไปด้วย
ผลพวงที่ตามมาธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เป็นโจทก์กล่าวโทษอดีตผู้บริหารบง.เอกธนกิจเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2541 ต่อมาพนักงานอัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งฟ้องนายปิ่น เป็นผู้ต้องหาที่ 1 นาย เติมชัย ภิญญาวัฒน์ ผู้ต้องหาที่ 2 นายสำราญ กนกวัฒนาวรรณ ผู้ต้องหาที่ 3 ซึ่งนายปิ่นได้เดินทางออกนอกประเทศก่อนที่จะมีการกล่าวโทษ ขณะที่ ผู้ต้องหาอีก 2 รายได้เข้ามอบตัวและประกันตัวออกมา สุดท้ายศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ฟ้อง ผู้ต้องหา 2 คนหลัง สู้คดีในต่างแดน
อย่างไรก็ตาม เมื่อวัน ที่ 12 ธ.ค. 2542 ตำรวจอังกฤษจับกุมตัว "ปิ่น" ผู้ต้องหาคดีความผิดฐานร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์และความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 วงเงินค่าเสียหาย 2,127 ล้านบาท โดย "ปิ่น" หลบหนีออกจากประเทศไทยตั้งแต่ปลายปี 2541
ต่อมา วันที่ 27 ก.ค. 2544 ศาลอุทธรณ์ประเทศอังกฤษพิพากษาให้ "ปิ่น" พ้นจากการควบคุมตัวในคดีที่ทางการไทยขอให้ส่งตัวกลับประเทศ ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อดำเนินคดีข้อหายักยอกทุจริตและฉ้อโกงทรัพย์ในประเทศไทย
วันที่ 14 ส.ค. 2544 อัยการอังกฤษแจ้งว่าในคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน "ปิ่น" ไม่สามารถจะอุทธรณ์ไปยังศาลสูงอังกฤษได้ เนื่องจากในชั้นศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาพิจารณาแต่ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งตามกฎหมายอังกฤษการจะอุทธรณ์ไปยังศาลสูงสุดได้ต้องเป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญต่อคดีเท่านั้น คดีนี้จึงถือว่ายุติลง
ปัจจุบันประกอบอาชีพเป็นที่ปรึกษาให้แก่นักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์ต่างๆ ในอังกฤษและยุโรป เขาได้รับการยอมรับพอควรหลังจากการหลุดพ้นข้อกล่าวหา และล่าสุดมีข่าวว่านายปิ่นเดินทางกลับประเทศไทยได้ราว 1 สัปดาห์ หลังคดีหมดอายุความ
บรรยายใต้ภาพ
ปิ่น จักกะพาก--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Thursday, August 30, 2012 05:11
"ปิ่น จักกะพาก" ราชานักเทคโอเวอร์ ซุ่มเงียบกลับไทย หลังต้องลี้ภัยอยู่อังกฤษนานกว่า 15 ปี ผลพวงอาณาจักรฟินวันมูลค่ากว่าแสนล้านบาทต้องล่มสลายจากฟองสบู่ "ตลาดหุ้น-อสังหาฯ" แตก ด้านแบงก์ชาติยอมรับคดีหมดอายุความ ไม่สามารถเอาผิดได้ ขณะที่ผู้บริหารคนอื่นๆ ใน บง.เอกธนกิจ คดีสิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์ เหตุอัยการตัดสินใจไม่ส่งฟ้อง แต่ยังมีสำนวนคดีค้างอีกมาก แต่หลายคดีต้องจำหน่ายออกไปเพราะนำ ผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีไม่ได้
นายปิ่น จักกะพาก อดีตกรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัทเงินทุน (บง.) เอกธนกิจ ฉายา "พ่อมดการเงิน" ในยุคฟองสบู่ ได้เดินทางกลับมาประเทศไทยได้ราว 1 สัปดาห์ หลังจากต้องลี้ภัยจากคดีความไปอยู่อังกฤษเป็นเวลาเกือบ 20 ปี เนื่องจากคดีหมดอายุความ
นายสาทร โตโพธิ์ไทย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าคดีที่ ธปท. กล่าวโทษต่อ นายปิ่น ได้หมดอายุความไประยะหนึ่งแล้ว ดังนั้นแม้ว่า นายปิ่น จะกลับมาประเทศไทย ธปท.ก็ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดกับนายปิ่นได้
ส่วนผู้บริหารคนอื่นๆ ของ บง.เอกธนกิจ ที่ ธปท. กล่าวโทษไปนั้น ในอดีตศาลชั้นต้นตัดสินให้ ธปท. เป็นผู้ชนะคดี แต่ต่อมาผู้บริหารเหล่านี้ขอยื่นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ตัดสินให้คดีตกไป ในขณะที่อัยการเองก็ตัดสินใจไม่ส่งฟ้องต่อศาลฎีกา ทำให้คดีความสิ้นสุดลงไปตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
สำหรับคดีความอื่นๆ ที่ ธปท. อยู่ระหว่างฟ้องร้องนั้น ปัจจุบันมีหลายคดี โดยส่วนใหญ่เป็นคดีที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่อยู่ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ขณะเดียวกันก็มีหลายคดีที่ยังไม่เริ่มดำเนินการฟ้องร้อง เนื่องจากไม่สามารถนำตัวผู้บริหารที่กระทำความผิดมาดำเนินคดีได้ จึงต้องมีการจำหน่ายคดีออกไปก่อน
ทั้งนี้คดีนายปิ่น หมดอายุความเมื่อต้นปี 2555
ย้อนอาณาจักรแสนล้าน "ราชาเทคโอเวอร์"
ปิ่น ถือเป็นตำนานที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ เพราะได้รับฉายา "ราชานักเทคโอเวอร์" โดยได้สร้างสีสันให้กับวงการตลาดทุนในยุคเฟื่องฟูเมื่อก่อนปี 2540 ซึ่งช่วงนั้นตลาดหลักทรัพย์บูมสุดขีด ดัชนีทะยานขึ้นไปถึง 1,700 จุด
ปิ่น จักกะพาก ถือว่าเป็นนักการเงินที่รุ่งสุดๆ ในยุคก่อนฟองสบู่แตก หลังจากที่เขาเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย จากประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เดินทางกลับประเทศไทยในปี 2516 ทำงานที่ธนาคารเชสแมนฮัตตัน กรุงเทพฯ ตำแหน่งรองประธาน ตั้งแต่ปี 2516-2522 นาน 7 ปี
หลังจากนั้นก็เข้ามาทำงานที่บริษัทเงินทุนยิบอินซอย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือญาติทางมารดา ที่กำลังเกิดปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง ปิ่นจึงถูกทาบทามให้เป็นกรรมการผู้จัดการ ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นก็ชื่อจาก บริษัทเงินทุนยิบอินซอย เป็น บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ หรือที่เรียกติดปากกันในยุคนั้นว่า "ฟินวัน " ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่ที่แวดวงการเงิน-การลงทุนในช่วงนั้นต้องจับตามอง เพราะยุทธศาสตร์การสยายปีกของกลุ่ม ฟินวัน ภายใต้การนำของ ปิ่น จักกะพาก นั้นจะใช้วิธีการครอบงำกิจการหรือเทคโอเวอร์ กิจการที่มีปัญหา จนทำให้ขนาดสินทรัพย์ของฟินวันในช่วงนั้นสูงสุดในระบบบริษัทเงิน จนปิ่นได้ฉายาว่าเป็น "พ่อมดการเงิน" ในเวลาต่อมา
การขยายกิจการของกลุ่มเอก ในยุคนั้น เริ่มต้นจากการเข้าซื้อ บล.โกลด์ฮิลล์ ที่กำลังประสบปัญหาการเงิน ด้วยราคาหุ้นละ 25 บาท ใช้เงินทั้งสิ้น 10 ล้านบาท ซึ่งถูกวิจารณ์กันมากว่าสูงเกินความจำเป็น แต่หลังจากนั้นเพียง 3 ปี เมื่อนำหุ้น บล.โกลด์ฮิลล์ ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น บล.เอกธำรง เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ราคาหุ้นได้พุ่งสูงสุดถึงหุ้นละ 500 บาท ในปี 2529
หลังจากนั้นก็เข้าเทคโอเวอร์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ และเปลี่ยนชื่อให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มเอกด้วยกัน เช่น บริษัทหลักทรัพย์ ศรีไทย ถูกเปลี่ยนเป็น บริษัทหลักทรัพย์เอกเอเชีย, บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กรุงทอง เปลี่ยนเป็น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกสิน และ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ ถูกเปลี่ยนเป็น บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกธนา รวมถึงสถาบันการเงินอื่น ๆ ฯลฯ โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินที่ถูกเทกโอเวอร์เหล่านี้เป็นสถาบันการเงินที่กำลังมีปัญหาฐานะการเงิน
สยายปีกยกระดับอาณาจักรฟินวัน
การสยายปีกของฟินวัน ในยุคนั้นไม่ได้หยุดเพียงแค่กลุ่มไฟแนนซ์ เท่านั้น แต่ปิ่น ยังมองไกลไปกว่านั้น ด้วยการยกระดับ บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ เป็นธนาคารพาณิชย์ ซึ่งช่วงนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดช่องให้บริษัทเงินทุนที่มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ยกระดับขึ้นเป็นธนาคารได้ ช่วงนั้นแม้ "ปิ่น" จะบริหารกิจการฟินวันจนประสบความสำเร็จ มีการขยายสร้างอาณาจักรอย่างรวดเร็ว มีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง แต่ ปิ่น รู้ดีว่า หากยังไม่สามารถเข้าซื้อกิจการธนาคารให้ได้สักแห่ง กิจการก็ยังถือว่าอยู่แนวหลังของธุรกิจธนาคารไทย
ดังนั้น เขาจึงพุ่งเป้าไปที่ธนาคารไทยทนุ ซึ่งเป็นธนาคารอันดับ 12 ของประเทศ โดยอาศัยสายสัมพันธ์กับ นายพรสนอง ตู้จินดา กรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารไทยทนุ ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนและเป็นอดีตผู้บริหารของซิตี้แบงก์ ในช่วงนั้น ผู้บริหารหนุ่มไฟแรง ทั้งปิ่นและพรสนอง ต่างก็มีความเชื่อเหมือนกันว่า "ฟินวัน" จะทำให้ ธนาคาร ไทยทนุ ที่บริหารแบบอนุรักษนิยมกลับมีพลังขึ้นมาได้
โดยในเดือนม.ค. 2539 ทั้ง 2 สถาบันการเงินก็มีความตกลงร่วมกัน จนสร้างความฮือฮาให้กับแวดวงการเงิน โดยฟินวันจะเข้าซื้อหุ้น 20% ของธนาคารไทยทนุเป็นมูลค่า 3.4 พันล้านบาท นับเป็นข้อตกลง ที่ได้รับการสนับสนุนไปทั่ว แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังผ่อนปรนข้อกำหนด ที่จำกัดสัดส่วนการถือครองหุ้นของธนาคารให้กับเอกชนเพียง 5% โดยถือว่าสถาบันการเงินของไทยจะต้องเติบโตมากขึ้นก่อน ที่เปิดเสรีการเงิน ซึ่งการเข้าไปถือหุ้นดังกล่าว ดูเหมือนว่า พ่อมดทางการเงิน กำลังจะผงาดขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจการเงินของเมืองไทย แต่สุดท้ายก็ต้องล่มสลายในที่สุด
หลังจากเกิดเหตุการณ์เงินบาทถูกโจมตีเป็นระลอกใหญ่จากภายนอกประเทศ ในช่วงเดือนก.พ. 2540 จนส่งผลกระทบภาพรวมระบบสถาบันการเงินไทย จนในที่สุดธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งปิดแค่ 16 สถาบันการเงิน ในเดือนมี.ค. 2540 โดยมีรัฐค้ำประกันเงินฝาก แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของบริษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่อย่าง บง.เอกธนกิจ ของนายปิ่น จักกะพาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นฐานะการเงินสำรองของประเทศอ่อนแอลงเรื่อยๆ จากการถูกโจมตีค่าเงิน จนสุดท้ายก็ต้องประกาศลดค่าเงินบาทในวันที่ 2 ก.ค. 2540
ล่มสลายพร้อมวิกฤติเศรษฐกิจ
ข่าวลือการสั่งปิดกิจการสถาบันการเงินเกิดขึ้นเป็นระลอกหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ตามด้วยการถอนเงินจากสถาบันการเงินใหญ่ๆ จนขาดสภาพคล่อง และลุกลามสู่การแห่ถอนเงินครั้งใหญ่ ในระบบสถาบันการเงิน จนกระทั่งคลอนแคลน และนำไปสู่การต้องปิดสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอีก 42 แห่ง รวมเป็น 58 แห่ง ในเดือนส.ค. 2540 ตามข้อเสนอของ ไอเอ็มเอฟ เพื่อตัดทิ้งเนื้อร้ายและเพื่อหยุดการแห่ถอนเงิน DEPOSIT RUN ในระบบสถาบันการเงินไทย
เวลานั้นอาณาจักรของ "เอกธนกิจ" ขยายตัวใหญ่จนเกือบจะก้าวกระโดดขึ้นเป็น "MEGA FINANCE COMPANY" กลับต้องล่มสลายลงไป กับสินทรัพย์ที่เสียหายกว่าแสนล้านบาท รวมทั้งความล้มเหลวของแผนการควบกิจการ กับธนาคารไทยทนุ ต่อมาได้ส่งผลเป็นโดมิโน ให้การหาผู้ร่วมทุนจากธนาคารต่างชาติของธนาคารไทยอีก 4 แห่ง ถึงกับล้มเหลวตามไปด้วย
ผลพวงที่ตามมาธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เป็นโจทก์กล่าวโทษอดีตผู้บริหารบง.เอกธนกิจเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2541 ต่อมาพนักงานอัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งฟ้องนายปิ่น เป็นผู้ต้องหาที่ 1 นาย เติมชัย ภิญญาวัฒน์ ผู้ต้องหาที่ 2 นายสำราญ กนกวัฒนาวรรณ ผู้ต้องหาที่ 3 ซึ่งนายปิ่นได้เดินทางออกนอกประเทศก่อนที่จะมีการกล่าวโทษ ขณะที่ ผู้ต้องหาอีก 2 รายได้เข้ามอบตัวและประกันตัวออกมา สุดท้ายศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ฟ้อง ผู้ต้องหา 2 คนหลัง สู้คดีในต่างแดน
อย่างไรก็ตาม เมื่อวัน ที่ 12 ธ.ค. 2542 ตำรวจอังกฤษจับกุมตัว "ปิ่น" ผู้ต้องหาคดีความผิดฐานร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์และความผิดตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 วงเงินค่าเสียหาย 2,127 ล้านบาท โดย "ปิ่น" หลบหนีออกจากประเทศไทยตั้งแต่ปลายปี 2541
ต่อมา วันที่ 27 ก.ค. 2544 ศาลอุทธรณ์ประเทศอังกฤษพิพากษาให้ "ปิ่น" พ้นจากการควบคุมตัวในคดีที่ทางการไทยขอให้ส่งตัวกลับประเทศ ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อดำเนินคดีข้อหายักยอกทุจริตและฉ้อโกงทรัพย์ในประเทศไทย
วันที่ 14 ส.ค. 2544 อัยการอังกฤษแจ้งว่าในคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน "ปิ่น" ไม่สามารถจะอุทธรณ์ไปยังศาลสูงอังกฤษได้ เนื่องจากในชั้นศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาพิจารณาแต่ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งตามกฎหมายอังกฤษการจะอุทธรณ์ไปยังศาลสูงสุดได้ต้องเป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญต่อคดีเท่านั้น คดีนี้จึงถือว่ายุติลง
ปัจจุบันประกอบอาชีพเป็นที่ปรึกษาให้แก่นักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์ต่างๆ ในอังกฤษและยุโรป เขาได้รับการยอมรับพอควรหลังจากการหลุดพ้นข้อกล่าวหา และล่าสุดมีข่าวว่านายปิ่นเดินทางกลับประเทศไทยได้ราว 1 สัปดาห์ หลังคดีหมดอายุความ
บรรยายใต้ภาพ
ปิ่น จักกะพาก--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ปิ่นจักกะพาก"อดีตพ่อมดการเงิน กลับเมืองไทยแล้ว
โพสต์ที่ 2
ย้อนรอยคดียักยอก2พันล้าน
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Thursday, August 30, 2012 05:12
52174 XTHAI XFRONT XECON DAS V%NETNEWS P%WKT
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้กล่าวหา นายปิ่น จักกะพาก ผู้ต้องหาที่ 1 นายเติมชัย ภิญญาวัฒน์ ผู้ต้องหาที่ 2 และนายสำราญ กนกวัฒนาวรรณ ผู้ต้องหาที่ 3 เรื่อง ร่วมกันฝ่าฝืนประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการซึ่งรับผิดชอบในการ ดำเนินการของบริษัทกระทำผิดหน้าที่ โดยทุจริต เอาไปซึ่งทรัพย์สินของบริษัท กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองและ ผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่บริษัท และ ร่วมกันยักยอกทรัพย์ คดีนี้สำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร สำนักงานอัยการสูงสุด ได้รับรายงานการสอบสวนคดีจากพนักงานสอบสวนเพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2542 ซึ่งต่อมาพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 3 (กรุงเทพใต้) พิจารณาแล้วได้ความว่า บริษัท เอกภาค จำกัด และบริษัท ร่วมบริหารธุรกิจ จำกัด เป็นบริษัทในเครือของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกธนกิจ จำกัด
เมื่อ ธ.ค. 2539 - ม.ค. 2540 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกธนกิจ จำกัด โดยผู้ต้องหาทั้งสามได้รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งออกโดยบริษัท เอกภาค จำกัด และบริษัท ร่วมบริหารธุรกิจ จำกัด โดยผ่านธนาคาร อินโดสุเอช จำกัด จำนวน 6 ครั้ง ตั๋วเงิน 31 ฉบับ จำนวนเงิน 966 ล้านบาท ผ่านธนาคารนครหลวงไทย จำกัด จำนวน 4 ครั้ง ตั๋วเงิน 17 ฉบับ จำนวน 418 ล้านบาท และผ่านธนาคารนครธน จำกัด จำนวน 3 ครั้ง ตั๋วเงิน 16 ฉบับ จำนวนเงิน 382 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 1,766 ล้านบาท ขณะที่บริษัท เอกภาค จำกัด ขาดทุน 1,699 ล้านบาทเศษ บริษัท ร่วมบริหารธุรกิจ จำกัด ขาดทุน 92 ล้านบาท ซึ่งไม่อยู่ในสภาพที่จะชำระหนี้หรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ธนาคารทั้ง 3 รายดังกล่าว ได้ร่วมกระทำเป็นผู้ผ่านธุรกรรมการรับซื้อและขายตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนดังกล่าว ในลักษณะผิดปกติธุรกิจของธนาคารอันพึงปฏิบัติโดยสุจริต ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทำการตรวจสอบพบการออกตั๋วเงินของบริษัทในเครือทำการซื้อขายกันเองได้อันเป็นการป้องกันการทุจริต ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันกระทำความผิด เบียดบัง ยักยอกเอาเงินของบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เอกธนกิจ จำนวน 1, 766 ล้านบาทใช้เป็นประโยชน์ส่วนตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต
ขณะเดียวกันผู้ต้องหาทั้ง 3 ยังได้ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัททั้งสองโดยตรงอีกหลายครั้ง รวมเป็นเงิน 361 ล้านบาท
อัยการจึงสั่งฟ้องนายปิ่น ผู้ต้องหาที่ 1 นายเติมชัย ผู้ต้องหาที่ 2 นายสำราญผู้ต้องหาที่ 3 ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2542 ส่วนนายปิ่น ผู้ต้องหาที่ 1 หลบหนีไปนับตั้งแต่วันเกิดเหตุ (ระหว่างวันที่ 29 พ.ย.2539 ถึง 24 ก.พ.2540) โดยมีอายุความคดี 15 ปีนับตั้งแต่วันเกิดเหตุ และได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Thursday, August 30, 2012 05:12
52174 XTHAI XFRONT XECON DAS V%NETNEWS P%WKT
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้กล่าวหา นายปิ่น จักกะพาก ผู้ต้องหาที่ 1 นายเติมชัย ภิญญาวัฒน์ ผู้ต้องหาที่ 2 และนายสำราญ กนกวัฒนาวรรณ ผู้ต้องหาที่ 3 เรื่อง ร่วมกันฝ่าฝืนประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการซึ่งรับผิดชอบในการ ดำเนินการของบริษัทกระทำผิดหน้าที่ โดยทุจริต เอาไปซึ่งทรัพย์สินของบริษัท กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองและ ผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่บริษัท และ ร่วมกันยักยอกทรัพย์ คดีนี้สำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร สำนักงานอัยการสูงสุด ได้รับรายงานการสอบสวนคดีจากพนักงานสอบสวนเพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2542 ซึ่งต่อมาพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 3 (กรุงเทพใต้) พิจารณาแล้วได้ความว่า บริษัท เอกภาค จำกัด และบริษัท ร่วมบริหารธุรกิจ จำกัด เป็นบริษัทในเครือของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกธนกิจ จำกัด
เมื่อ ธ.ค. 2539 - ม.ค. 2540 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกธนกิจ จำกัด โดยผู้ต้องหาทั้งสามได้รับช่วงซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งออกโดยบริษัท เอกภาค จำกัด และบริษัท ร่วมบริหารธุรกิจ จำกัด โดยผ่านธนาคาร อินโดสุเอช จำกัด จำนวน 6 ครั้ง ตั๋วเงิน 31 ฉบับ จำนวนเงิน 966 ล้านบาท ผ่านธนาคารนครหลวงไทย จำกัด จำนวน 4 ครั้ง ตั๋วเงิน 17 ฉบับ จำนวน 418 ล้านบาท และผ่านธนาคารนครธน จำกัด จำนวน 3 ครั้ง ตั๋วเงิน 16 ฉบับ จำนวนเงิน 382 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 1,766 ล้านบาท ขณะที่บริษัท เอกภาค จำกัด ขาดทุน 1,699 ล้านบาทเศษ บริษัท ร่วมบริหารธุรกิจ จำกัด ขาดทุน 92 ล้านบาท ซึ่งไม่อยู่ในสภาพที่จะชำระหนี้หรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ธนาคารทั้ง 3 รายดังกล่าว ได้ร่วมกระทำเป็นผู้ผ่านธุรกรรมการรับซื้อและขายตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนดังกล่าว ในลักษณะผิดปกติธุรกิจของธนาคารอันพึงปฏิบัติโดยสุจริต ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทำการตรวจสอบพบการออกตั๋วเงินของบริษัทในเครือทำการซื้อขายกันเองได้อันเป็นการป้องกันการทุจริต ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันกระทำความผิด เบียดบัง ยักยอกเอาเงินของบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เอกธนกิจ จำนวน 1, 766 ล้านบาทใช้เป็นประโยชน์ส่วนตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต
ขณะเดียวกันผู้ต้องหาทั้ง 3 ยังได้ซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัททั้งสองโดยตรงอีกหลายครั้ง รวมเป็นเงิน 361 ล้านบาท
อัยการจึงสั่งฟ้องนายปิ่น ผู้ต้องหาที่ 1 นายเติมชัย ผู้ต้องหาที่ 2 นายสำราญผู้ต้องหาที่ 3 ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2542 ส่วนนายปิ่น ผู้ต้องหาที่ 1 หลบหนีไปนับตั้งแต่วันเกิดเหตุ (ระหว่างวันที่ 29 พ.ย.2539 ถึง 24 ก.พ.2540) โดยมีอายุความคดี 15 ปีนับตั้งแต่วันเกิดเหตุ และได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 32
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ปิ่นจักกะพาก"อดีตพ่อมดการเงิน กลับเมืองไทยแล้ว
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณมากครับสำหรับบทความ
(อยากกดlike ให้ แต่กดไม่ได้ )
(อยากกดlike ให้ แต่กดไม่ได้ )
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ปิ่นจักกะพาก"อดีตพ่อมดการเงิน กลับเมืองไทยแล้ว
โพสต์ที่ 5
Thanks a lot.
-
- Verified User
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 1
Re: "ปิ่นจักกะพาก"อดีตพ่อมดการเงิน กลับเมืองไทยแล้ว
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณ
คุณปิ่น
สำหรับบทเรียน fin one ที่ผมจำไปจนตาย
อาจารย์วิชาชีพที่มีนามสกุลเหมือนชื่อบ.
ที่ผมเคารพรักมาก(ท่านจากไปแล้ว)
สำหรับวิชาชีพและจริยธรรมที่ท่านสอนและเป็นตัวอย่าง
ท่านเจ้าของกระทู้
ที่มาเตือนความจำครับ
คุณปิ่น
สำหรับบทเรียน fin one ที่ผมจำไปจนตาย
อาจารย์วิชาชีพที่มีนามสกุลเหมือนชื่อบ.
ที่ผมเคารพรักมาก(ท่านจากไปแล้ว)
สำหรับวิชาชีพและจริยธรรมที่ท่านสอนและเป็นตัวอย่าง
ท่านเจ้าของกระทู้
ที่มาเตือนความจำครับ
samatah
- romee
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 1
Re: "ปิ่นจักกะพาก"อดีตพ่อมดการเงิน กลับเมืองไทยแล้ว
โพสต์ที่ 8
อีกมุมมองนึงครับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
วรวรรณ ธาราภูมิ
29 สิงหาคม 2555
ก่อนช่วงต้มยำกุ้ง 2540 ไม่มีใครยิ่งใหญ่เท่าคุณปิ่น จักกะพาก แห่งอาณาจักร Fin1 ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนที่ใหญ่และ Aggressive ที่สุดในการควบรวมกิจการ
แม้หลายคนมองว่า คุณปิ่น เป็น "พ่อมดการเงิน" ที่เล่นเกมการเงินอย่างซับซ้อนเพราะมีการถือหุ้นไขว้กิจการกันอย่างมากมาย แต่ก็มีอีกหลายคนที่มองว่า คุณปิ่น เป็นคนรุ่นใหม่คนเดียวในยุคนั้นที่กล้าท้าทายการผูกขาดของสถาบันการเงินเก่าแก่อย่างธนาคารพาณิชย์ จนก่อให้เกิดคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้โลกธุรกิจการเงินพลิกโฉมครั้งใหญ่
จุดเริ่มต้นของ Fin1 เกิดจากในปี 2523 ที่คุณปิ่น จักกะพาก กับ คุณเติมชัย ภิญญาวัฒน์ ซึ่งทำงานที่ธนาคาร เชส แมนฮัตตัน ด้วยกัน ร่วมมือกันสร้างบริษัทเงินทุนไทยสไตล์ฝรั่ง โดยลาออกจากธนาคาร แล้วมาบริหาร บริษัทยิบอินซอยเงินทุนและค้าหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจการเงินของครอบครัว จูตระกูล สายทางคุณแม่ของคุณปิ่น ที่ก่อตั้งบริษัทในปี 2513
ในปีแรก คุณปิ่นขยายงานโดยเพิ่มทีมงานตามฐานธุรกิจ ได้ คุณสำราญ กนกวัฒนาวรรณ มาดูแลสายสินเชื่อและการตลาด บุคคล 3 คนนี้ได้สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ต่างจากบริษัทเงินทุนอื่นๆ ตรงที่มีเป้าหมายและทิศทางในการทำธุรกิจวาณิชธนกิจ หรือ อินเวสแมนต์แบงกิ้งอย่างชัดเจน
จากจุดเริ่มต้นของบริษัทเงินทุนเล็กๆ ชื่อ "ยิบอินซอยเงินทุนและค้าหลักทรัพย์" ที่ก่อตั้งในปี 2513 ทำอยู่ 10 ปี มีสินทรัพย์รวมแค่ 167 ล้านบาท แต่พอ คุณปิ่น เข้าไปบริหาร ใน 15 ปีต่อมา ก็กลายเป็นบริษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่ง ที่มีขนาดสินทรัพย์นับ 2 แสนล้านบาท
การแจ้งเกิดของคุณปิ่นในฐานะนายแบงก์ใหม่ย่อมเป็นที่จับตาของมิตรและศัตรู เพราะบทบาทอันทรงอิทธิพลในอนาคตของคุณปิ่นย่อมสูงขึ้น และจะทำให้ทั้งตลาดเงินตลาดทุนสั่นสะเทือนได้
คุณปิ่นได้รับการลงมติให้เป็นประธานสมาคมบริษัทเงินทุนเป็นสมัยที่สอง เพราะกล้าคิดและกล้าพูดไม่เห็นด้วยกับแผนแม่บทการเงินสมัย รมว. คลัง ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ที่ไม่ยอมปรึกษาภาคเอกชน ทั้งๆ ที่ภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากแผนนี้โดยตรง
คุณปิ่น กลายเป็นราชาไฟแนนซ์รุ่นใหม่ที่ใช้แนวทางการลงทุนมาผนวกกับการทำกิจการธนาคารจนมีสินทรัพย์รวมกันไม่ต่ำกว่าสองแสนล้าน เป็นบริษัทเงินทุนยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งจนกระทั่งผงาดเป็นคู่แข่งที่สู้กับธนาคารที่เป็นกิจการผูกขาดมานาน
ในปี 2538 ที่ Fin1 ครบรอบ 25 ปี คุณปิ่นได้กำหนดยุทธศาสตร์การเติบโตที่จะก้าวไปสู่ยูนิเวอร์แซลแบงกิงให้ได้ เพื่อรองรับการขยายฐานธุรกิจในอนาคตของกลุ่ม จึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายแบงก์สนับสนุน
คุณปิ่น บอกว่า ไม่ต้องการเป็นนายแบงก์เลย แต่ต้องการช่องทางบริการทางการเงินของแบงก์ให้ครบวงจร เพื่อช่วงชิงโอกาสที่เปิด และการที่บริษัทเงินทุนจะโตได้ก็ต้องอาศัยฐานสาขาของแบงก์
คุณปิ่น เรียนลัดด้วยวิธีการ "ต่อยอด" จากฐานเดิมของไทยทนุ ด้วยวิธีแลกหุ้น วิธีนี้ทำให้ฟินวันซื้อไทยทนุได้ และเติบโตต่อไปได้ โดยไม่ต้องใช้เงินซื้อ และยังสามารถซื้อกิจการอื่นไปได้เรื่อยๆ แม้กิจการที่ซื้ออาจจะใหญ่กว่าตัวเองมากอย่างธนาคารพาณิชย์ เช่น ไทยทนุ ในยุคนั้น
แต่ไม่มีใครเติบโตไปได้เรื่อยๆ โดยไม่มีขาลง
ช่วงต้นปี 2539 มีสัญญาณไม่ดีทางเศรษฐกิจแม้ว่าตลาดหุ้นยังคงทะยานขึ้น แต่คุณปิ่นก็พลาดได้เหมือนกับนักธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่เชื่อว่าวันเวลาที่ดีจะจบลงอย่างรวดเร็ว
หลังจากที่ไทยขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างหยุดไม่อยู่ วันดีๆ ก็จบลง การส่งออกซึ่งเป็น 40% ของจีดีพีมีอัตราการเติบโตที่ดิ่งลงจาก 22% ในปี 2538 ลงมาเหลือ 3% ในปี 2539 เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกลดลง และต้นทุนการผลิตของไทยเพิ่มขึ้น อสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่ถูกทิ้งร้างเนื่องจากสร้างขึ้นเพื่อการเก็งกำไรเป็นส่วนใหญ่ ทำให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้เงินกู้อสังหาริมทรัพย์และธุรกิจเช่าซื้อของฟินวันเพิ่มขึ้น
นักลงทุนเริ่มขายหุ้นต่างๆ ในตลาดฯ ทิ้ง ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับลดลง 30% ในปีนั้น
ดัชนีหุ้นที่ลดลง ฉุดให้รายได้จากการเป็นโบรกเกอร์และอันเดอร์ไรเตอร์ลดลงด้วย ยิ่งมีการโจมตีเงินบาทซึ่งผูกโยงอยู่กับเงินดอลลาร์สหรัฐ อัตราดอกเบี้ยก็ยิ่งสูงขึ้น เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายด้านการเงินให้กับฟินวันตามไปด้วย
ในเดือนสิงหาคม 2539 กระทรวงการคลังจึงเพิกถอนการอนุญาตให้ฟินวันเข้าถือหุ้นในธนาคารไทยทนุเกิน 5% เนื่องจากเกรงว่าบริษัทที่มีปัญหาจะฉุดให้กิจการอื่นๆ ย่ำแย่ตามไปด้วย
หลังจากนั้น ไม่นานก็มีข่าวลือหนาหูว่าฟินวันมีปัญหาสภาพคล่อง ทำให้เริ่มมีคนไปถอนเงินฝาก ราคาหุ้นลดลงจาก 170 บาทในปี 2539 เหลือ 23 บาทในตอนต้นปี 2540
ในเดือนมีนาคม 2540 Fin1 กับ ไทยทนุ ก็ประกาศข้อตกลงใหม่ คราวนี้ไทยทนุเป็นฝ่ายเทกโอเวอร์ฟินวัน เพื่อกอบกู้กิจการที่กำลังล้มละลาย
หลังวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 คุณปิ่น ถูกชูให้เป็นตัวการ Fin1 กลายเป็นบริษัทไฟแนนซ์ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม 56 บริษัทไฟแนนซ์ที่ถูกรัฐบาลสั่งปิด ทั้งนี้ เนื่องจากฟินวันได้ปล่อยกู้จำนวน 55 ล้านดอลลาร์ให้กับกิจการในเครือ 2 แห่งโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และไม่มีแนวโน้มว่าจะชำระคืนได้ คุณปิ่น ยืนยันว่ารัฐบาลไทยต้องการแค่แพะรับบาปเพื่อปัดความรับผิดชอบปัญหาความวุ่นวายทางการเงิน
คุณปิ่น บอกว่า การที่ฟินวันให้เงินกู้กับบริษัทในเครือ เพื่อนำไปลงทุนต่อนั้น แม้จะทำไม่ได้ในอังกฤษ แต่ในไทย เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แต่สิ่งที่แย่กว่านั้น ก็คือ ในเดือนพฤษภาคม 2540 ไทยทนุก็ยกเลิกแผนการเข้าช่วยฟื้นกิจการฟินวัน เนื่องจากพบว่ามีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์อันยุ่งเหยิงของฟินวัน และระบบการเงินไทยทั้งหมดก็ซวนเซ
ต่อมา วันที่ 2 กรกฎาคม รัฐบาลไทยประกาศลดค่าเงินบาท ฉุดให้เงินสกุลอื่นในเอเชียดิ่งลงจนนำไปสู่วิกฤติการเงินเอเชีย คุณปิ่นตัดสินใจลาออก แต่สถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลงไปอีกเมื่อรัฐบาลสั่งปิดกิจการไฟแนนซ์ของเขาและอีก 32 แห่งในวันที่ 7 ธันวาคม
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ฟินวันล้มก็คือ การปล่อยกู้ให้กับบริษัทในเครือ
ทางการพิจารณาว่าเงินกู้ดังกล่าวผิดกฎหมายเพราะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และไม่มีการทบทวนถึงภาระการชำระคืน ดังนั้น คุณปิ่น และคุณเติมชัย ซึ่งเป็นผู้บริหารของฟินวันจึงมีความผิดฐานละเลยผลประโยชน์ของบริษัท
วันที่ 29 กันยายน 2541 มีการออกหมายจับ คุณปิ่น คุณเติมชัย และคุณสำราญ ซึ่งเป็นผู้บริหารของฟินวัน ในข้อหายักยอกเงิน 55 ล้านดอลลาร์ โดยคุณเติมชัย และคุณสำราญได้รับการประกันตัว แต่ถูกสั่งอายัดทรัพย์สิน และห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ส่วนคุณปิ่นได้เดินทางออกจากประเทศไทยไปก่อนตั้งแต่เดือนกันยายน 2540 ก่อนที่จะถูกตั้งข้อหา
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เคยกล่าวว่า "ฟินวันเป็นบริษัท ที่โปร่งใสที่สุด เติบโตขึ้นมาตามระบบและโตเพราะเศรษฐกิจบูม แต่ระบบผิดพลาด ถ้าหากเขาจะรู้สึกผิด ก็เป็นเพราะไม่มีการป้องกันที่ดี"
คุณปิ่น ไม่ได้เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในแง่ที่ว่าธุรกิจก็เป็นเกมเกมหนึ่ง มีแพ้ มีชนะ แต่เขาเสียใจที่ฟินวันถูกปิด ซึ่งเขาเห็นว่าไม่จำเป็นต้องถูกปิด เขายืนยันว่าเขาไม่ใช่คนโกง ไม่ได้ขโมยเงินใคร ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย และรู้สึกโกรธมากเมื่อถูกเหมารวมไปกับกรณีของ ราเกซ สักเสนา ซึ่งถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินจากธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ เพราะคุณปิ่นถือว่าเป็นการดูถูกเขาที่ทำให้คนอื่นคิดว่าเขาลดตัวลงไปขโมยเงินธนาคาร
สิ่งชวนคิดก็คือ ในความเชื่อที่ว่าธุรกิจหากไม่โตก็ต้องตายนั้น มันขัดกับหลักธรรมชาติหรือไม่ และความเชื่อในเรื่องการโตไปเรื่อยๆ ไม่ใช่หรือ ที่กำลังทำร้ายประเทศในตะวันตกอยู่จนถึงทุกวันนี้ และยังไม่มีทางที่จะแก้ไขได้เลย
การลงทุนแนวvi ไม่ได้แปลว่า นักลงทุนคนนั้นดีกว่า หรือมีวรรณะสูงกว่าคนที่ลงทุนแนวอื่นๆหรอก
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: "ปิ่นจักกะพาก"อดีตพ่อมดการเงิน กลับเมืองไทยแล้ว
โพสต์ที่ 10
ผมไม่รู้ข้อมูลตื้นลึกหนาบางในคดีนี้มากนัก
แต่การปล่อยสินเชื่อโดยไม่มีหลักประกัน หรือที่เรียกว่า Clean Loan นั้น การปล่อยสินเชื่อลักษณะนี้พบเห็นได้ทั่วไปในสถาบันการเงินต่างๆ
แต่การปล่อยสินเชื่อโดยไม่มีหลักประกัน หรือที่เรียกว่า Clean Loan นั้น การปล่อยสินเชื่อลักษณะนี้พบเห็นได้ทั่วไปในสถาบันการเงินต่างๆ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ปิ่นจักกะพาก"อดีตพ่อมดการเงิน กลับเมืองไทยแล้ว
โพสต์ที่ 11
ผมเห็นว่าปัจจุบันก็ทำกันเป็นปกติ แต่แทนที่จะไปลงทุนในบริษัทลูกผ่านการให้กู้เงินจนเกิดปัญหา ก็ให้บริษัทบลจ.ในเครือตั้งกองทุนขึ้นมาแล้วก็เอาเงินไปลงในกองทุนของบลจ.นั้น แบบนี้ก็ไม่ผิดในฐานะผู้ให้กู้ ส่วนบริษัทลูกก็ยังได้เงินทุนหรือเงินกู้ไปใช้
Vi IMrovised
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1575
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ปิ่นจักกะพาก"อดีตพ่อมดการเงิน กลับเมืองไทยแล้ว
โพสต์ที่ 14
ปกติ ลักษณะที่เป็นกึ่งๆกลางๆ
ต้องถกเถียงกัน และสร้างความขัดแย้งได้
รายการ moneytalk จะหลีกเลี่ยงครับ
เนื่องจากเราเน้นการให้ความรู้ที่ถูกต้อง
มีสื่ออื่นๆเขาคงเตรียมทำกันอยู่แล้วครับ
ต้องถกเถียงกัน และสร้างความขัดแย้งได้
รายการ moneytalk จะหลีกเลี่ยงครับ
เนื่องจากเราเน้นการให้ความรู้ที่ถูกต้อง
มีสื่ออื่นๆเขาคงเตรียมทำกันอยู่แล้วครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV