สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
TLSS
Verified User
โพสต์: 616
ผู้ติดตาม: 0

สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 1

โพสต์

แชร์ที่ไปฟังงานสัมมนาวันนี้ครับ อาจจะไม่ครบถ้วนหรือผิดพลาดไปบ้างนะครับ รอติดตามชมจาก youtube เต็มๆ อีกทีนะครับ

กลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

วิธีการเลือกหุ้น
พี่ลูกอิสาน : เลือกหุ้นโดยเน้นที่กำไรเติบโต ยิ่งโตมากยิ่งดี และเป็นกำไรที่โตอย่างสม่ำเสมอ ยั่งยืน โดยจะพิจารณาซื้อ หากราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ปัจจุบันมีหุ้น 21 ตัว ตัวหลัก 7-8 ตัว

นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ : เน้นหุ้นขั้นเทพ มีความสามารถในการแข่งขันที่โดดเด่น โดยบริษัทลักษณะนี้มักจะมีผลการดำเนินงานดีกว่าที่เราคาดไว้ เน้นที่ Durable Competitive Advantage สามารถขึ้นราคาได้โดยที่ลูกค้าจำยอม มีอำนาจต่อรองกับ supplier และลูกค้าสูงมาก ปัจจัยที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง คือ ตัวเร่ง Catalyst ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นผลประกอบการที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการมอง time value for money (จังหวะซื้อที่เหมาะสมควรซื้อในจังหวะที่มีตัวเร่ง) หุ้นดีจริงๆ แล้วดูไม่ยาก ก็พวกบริษัทชั้นนำ รู้ๆ กันอยู่ แต่ที่สำคัญคือ จังหวะซื้อขาย ให้ดู Catalyst ประกอบ

พี่วิบูลย์ : พูดถึงทฤษฎีการลงทุนอย่างมีความสุข ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือจะลง เวลาหุ้นขึ้นก็เป็นสิ่งดี เวลาหุ้นลงก็มีความสุขที่จะได้ซื้อหุ้นเพิ่ม (ไม่ทุกข์เนื่องจากประเมินมูลค่าหุ้น ก่อนซื้อแล้ว) เน้นหลักการเลือกหุ้นดังนี้ 1. หุ้นที่เรารู้จัก (ปีเตอร์ ลินซ์) 2. ปัจจัยเชิงปริมาณ (เบนจามิน เกรแฮม) 3.ปัจจัยเชิงคุณภาพ (ฟิลลิป ฟิชเชอร์)

ดร.นิเวศน์ : ปัจจุบันเลือกยาก หุ้นดี แต่แพง หุ้นที่มีในพอร์ตส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นหุ้นชั้นดี (ขั้นเทพ) โดยจะเน้นดูที่มองยาว ไม่มีกำหนดเวลาในการถือครอง ถือตลอดชีวิต มอง trend อนาคตที่ยาวมาก หุ้นอีกส่วนที่มีแต่มีปริมาณไม่มาก คือ คุณภาพอาจไม่ดีเท่าแบบแรก แต่ราคาถูก แบบนี้จะถือไม่นาน ขึ้นระดับนึงแล้วจะขาย

สไตล์หุ้นที่ชอบ
นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ : หุ้นแข็งแกร่ง โดดเด่น อยู่ในเทรนด์ขาขึ้นระยะยาว ลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เน้นถือยาว (ไม่ต้องทำงานมาก) ไม่ต้องหาหุ้นบ่อยๆ ซื้อปีละครั้งโดยประมาณ

พี่ลูกอิสาน : หุ้นเติบโต กำไรโต ดูประวัติย้อนหลัง 4-5 ปี กำไรโตต่อเนื่อง ให้ระวังหุ้นวัฎจักร ตัวอย่าง ถ้ากำไรโต 20% อาจจะให้ PE ได้ประมาณ 20-25% ก็ถือว่าเหมาะสม จังหวะซื้อดู MOS ประกอบ

พี่วิบูลย์ : ถ้าเลือกหุ้นโดยดูที่ 1. หุ้นที่เรารู้จัก (ปีเตอร์ ลินซ์) 2. ปัจจัยเชิงปริมาณ (เบนจามิน เกรแฮม) 3.ปัจจัยเชิงคุณภาพ (ฟิลลิป ฟิชเชอร์) โอกาสที่ลงทุนผิดพลาดจะน้อยลงมาก หลักการที่ใช้ได้เสมอ คือ จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ (วอร์เรน บัฟเฟตต์)

ดร.นิเวศน์ : ชอบการลงทุนระยะยาว มองแบบสนามรบ ในสนามรบใครที่มีโอกาสชนะ โดยสามารถชิงพื้นที่ได้มาก และมีกำลังอำนาจเหนือคู่แข่ง ชอบธุรกิจที่เป็นผู้ที่ชนะชัดเจน ชนะแบบขาดลอย และกำลังอำนาจยังคงเพิ่มขึ้น เลือกหุ้นในอุตสาหกรรมที่เติบโต เลือกเบอร์1 ของอุตสาหกรรม หลักการสงคราม ผู้ชนะ คือ ผู้ที่มีทรัพยากรเหนือกว่าศัตรู ชอบหุ้นที่ market share มากกว่าคู่แข่งมากๆ

ประสบการณ์ที่ผิดพลาดและประสบการณ์ที่สำเร็จ
นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้นฟิตเนสชื่อดัง แรกๆ ไปดูที่สาขาแรกสีสม คนเยอะมาก ดูเทรนด์ก็น่าจะไปได้ดี เลยตัดสินใจลงทุน แต่หลังๆ ผู้บริหารเริ่มมีการหาสมาชิกด้วยวิธีแปลกๆ เลยตัดสินใจขายหุ้น ขาดทุนประมาณ 20% ข้อคิดที่ได้คือ อย่ารีบตัดสินใจซื้อหุ้น ยังไม่ต้องรีบ หากธุรกิจยังไม่ proof ตัวเอง
- ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ สนใจหุ้น super stock เกี่ยวกับค้าปลีกเกี่ยวกับบ้าน เล็งไว้นานมาก แต่ราคายังแพง ก็เลย รอ รอ จนถึงวันที่หุ้นเริ่มตก สังเกตจังหวะที่หุ้นเริ่มมีแรงขายน้อย (แสดงว่าจะเป็น bottom แล้ว) จากนั้นหุ้นตัวนี้ก็เติบโตจากการขยายสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

พี่ลูกอิสาน :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้น commodity ตัวนึงเกี่ยวกับเหล็ก เดิมทำกลางน้ำ แต่บริษัทจะขยายไปทำต้นน้ำ โดยไปซื้อโรงงานแห่งนึง แต่มันไม่ดีอย่างที่คาด เนื่องจากโรงงานที่ไปซื้อเดิมขาดทุนมาก กว่าจะฟื้นก็ยาก จุดที่ควรดูสำหรับหุ้นฟื้นตัว ถ้าฟื้นตามคาดก็ดี แต่ถ้าไม่ฟื้นต้องประเมินว่าจะเป็นอย่างไร รับมืออย่างไร
- ประการณ์ที่ประสบความสำเร็จ หุ้นลิซซิ่ง ตัวนึง ตอนนั้นมีปัญหามาก ผู้บริหารลาออก น้ำท่วมใหญ่อีก ทำให้ไม่มีรถใหม่สู่ท้องตลาด สินเชื่อก็ปล่อยไม่ได้ ต่อมาผู้บริหารมีแผนงานที่ชัดเจนออกมา ตั้งเป้ารายได้ 10 เท่า ในอีก 5 ปี ตอนนั้นหุ้นนี้ PE 7 ปันผล 9 % ก็ถือว่าน่าสนใจ เลยตัดสินใจลงทุน

พี่วิบูลย์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้นอสังหาฯ ตัวนึง สมัยนั้นบริษัททั่วไปสร้างบ้านใช้เวลา 90 วัน แต่บริษัทนี้นำเทคโนโลยีจากเยอรมันมาใช้เป็นรายแรกใช้เวลาสร้างบ้านเสร็จเพียง 45 วัน ไปดูงบ ตัวเลขก็ดี หนี้น้อย ความสามารถในการแข่งขันก็สูงจากเทคโนโลยีใหม่ และบริษัทตั้งเป้าหมายเป็นเบอร์ 1 (ถ้าเทียบ market cap กับเบอร์ 1 ขณะนั้นห่างกันมาก แสดงว่า ถ้าเป็นไปตามแผนโอกาสที่ราคาขึ้นก็จะมีมาก) ตอนนั้นซื้อ 4 บาท แต่ไปขาย 8 บาท (ตามมูลค่าที่ได้ประเมินไว้) แต่หุ้นก็ขึ้นไปที่ 25 บาท .. เป็นการผิดพลาดเรื่องการขายหมู
- ประการณ์ที่ประสบความสำเร็จ หุ้นอสังหาตัวเดิม ช่วงน้ำท่วมใหญ่ บริษัทนี้โดนกระทบมาก โครงการส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมหมด ราคาหุ้นลงเหลือ 10 บาท ตอนนั้นนักวิเคราะห์ทั้งหลายก็เชียร์ให้ขาย ราคามีโอกาสลงไป 8-9 บาท แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจซื้อที่ 10 บาทกว่า เพราะประเมินว่า ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาชั่วคราว บริษัทนี้เคยผ่านวิกฤตปี 40 มาแล้ว หนักยิ่งกว่านี้ ตอนนั้นหนี้เยอะมาก แต่ก็ผ่านมาได้ และประเมินพฤติกรรมคนไทยชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่คุ้นเคย ไม่ชอบย้ายบ่อย ปัจจุบัน 1 ปีผ่านไป ราคาหุ้นก็ขึ้นมา 80%

ดร.นิเวศน์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด 1. เคยซื้อหุ้นเกี่ยวกับเครื่องดื่ม ก็สังเกตว่ากำไรมันคงที่ไม่โตหลายปี ทั้งๆ ที่บริษัทก็แข็งแกร่งมาก อดทนรอไม่ไหวเลยตัดสินใจขาย สุดท้ายพอมีเจ้าของรายใหม่มาเทคโอเวอร์ราคาขึ้นไปไกล มาวิเคราะห์ทีหลังพบว่า ที่กำไรไม่โต เพราะเกี่ยวกับ ปัญหาจากบริษัทแม่ ที่มา control มากเกินไป 2. หุ้นพิซซ่า ตอนนั้นบริษัทแม่เจ้าของแบรนด์จะนำกลับไปทำเอง บริษัทนี้เลยทำแบรนด์ใหม่มาแข่งโดยตรง แล้วต่อมาก็ชนะ ข้อคิดที่ได้คือ แบรนด์ไม่ใช่หัวใจทั้งหมด อย่าคิดว่า เสียแบรนด์ไปแล้วบริษัทจะเจ๊ง ให้ดูปัจจัยอื่นๆ เช่น knowhow ระบบ แผนงาน ผู้บริหารด้วย

ดร.นิเวศน์ ยังเสริม ประเด็นหุ้นอสังหาฯ ของพี่วิบูลย์ คู่แข่ง(เบอร์ 1 ตอนนั้น) มีอำนาจพอๆ กัน ถ้าใช้เทคโนโลยีสร้างบ้านเดียวกัน อะไรก็เกิดขึ้นได้ เหมือนสงครามที่ไม่สามารถชิงพื้นที่ได้ ระยะยาวยังมองยากว่า ใครจะชนะหรือแพ้

อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา / อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน
พี่วิบูลย์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา AEC ซื้อขายระหว่างประเทศสมาชิกไม่ต้องเสียภาษี การเคลื่อนย้ายสายอาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลน่าสนใจ เพราะอาจจ้าง พยาบาล แพทย์จากต่างประเทศ ด้วยค่าจ้างที่ถูกลง เป็นการลดต้นทุน
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุนพวกรับเหมา ผู้บริหารยังไม่รู้เลยว่าจะได้งานหรือไม่ ประเมินรายได้ยาก รายได้ไม่แน่นอน

พี่ลูกอิสาน :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา จริงๆ ไม่ได้เน้นที่อุตสาหกรรม แต่เน้นตัวบริษัทที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (วิเคราะห์ 5 forces) และถ้าบริษัทสามารถขายสินค้าถึง end user ได้จะน่าลงทุน เพราะจะเพิ่มอำนาจต่อรองกับลูกค้า กำหนดราคาได้
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน พวกรับเหมา ผู้บริหารยังไม่รู้เลยว่าจะได้งานหรือไม่ ประเมินรายได้ยาก รายได้ไม่แน่นอน

นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา ไทยกำลังจะเข้ายุคเปลี่ยนแปลงรายได้ประชากรที่ดีขึ้น ธุรกิจที่ขายสินค้าให้ชนชั้นกลางจะได้ประโยชน์ พวกเกี่ยวกับสุขภาพ โรงพยาบาล หรือ บริษัทค้าปลีกที่ Hi End มากขึ้น ลูกค้ามีโอกาสจะเข้าห้างแนวนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน พวกรับจ้างผลิต OEM ไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง อำนาจต่อรองกับลูกค้าต่ำ โดนกดราคา กำไรน้อย

ดร.นิเวศน์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา จริงๆ ประเทศไทยเริ่มมองยาก เริ่มสนใจลงทุนต่างประเทศ ถ้าให้แนะนำก็หุ้นพวกไม่กระทบกับปัจจัยภายนอก เช่น กลุ่ม สาธารณูปโภค เช่น ผลิตน้ำ
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน ได้แก่ Pure Comodity เช่น เหล็ก ปิโตร ถ่านหิน ราคา control ไม่ได้ และ ดร.ตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงนี้ มีนักลงทุนหน้าใหม่เยอะขึ้นมาก อาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่าง ให้ระมัดระวังให้มาก
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 2

โพสต์

TLSS เขียน:แชร์ที่ไปฟังงานสัมมนาวันนี้ครับ อาจจะไม่ครบถ้วนหรือผิดพลาดไปบ้างนะครับ รอติดตามชมจาก youtube เต็มๆ อีกทีนะครับ

กลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

วิธีการเลือกหุ้น
พี่ลูกอิสาน : เลือกหุ้นโดยเน้นที่กำไรเติบโต ยิ่งโตมากยิ่งดี และเป็นกำไรที่โตอย่างสม่ำเสมอ ยั่งยืน โดยจะพิจารณาซื้อ หากราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ปัจจุบันมีหุ้น 21 ตัว ตัวหลัก 7-8 ตัว

นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ : เน้นหุ้นขั้นเทพ มีความสามารถในการแข่งขันที่โดดเด่น โดยบริษัทลักษณะนี้มักจะมีผลการดำเนินงานดีกว่าที่เราคาดไว้ เน้นที่ Durable Competitive Advantage สามารถขึ้นราคาได้โดยที่ลูกค้าจำยอม มีอำนาจต่อรองกับ supplier และลูกค้าสูงมาก ปัจจัยที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง คือ ตัวเร่ง Catalyst ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นผลประกอบการที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการมอง time value for money (จังหวะซื้อที่เหมาะสมควรซื้อในจังหวะที่มีตัวเร่ง) หุ้นดีจริงๆ แล้วดูไม่ยาก ก็พวกบริษัทชั้นนำ รู้ๆ กันอยู่ แต่ที่สำคัญคือ จังหวะซื้อขาย ให้ดู Catalyst ประกอบ

พี่วิบูลย์ : พูดถึงทฤษฎีการลงทุนอย่างมีความสุข ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือจะลง เวลาหุ้นขึ้นก็เป็นสิ่งดี เวลาหุ้นลงก็มีความสุขที่จะได้ซื้อหุ้นเพิ่ม (ไม่ทุกข์เนื่องจากประเมินมูลค่าหุ้น ก่อนซื้อแล้ว) เน้นหลักการเลือกหุ้นดังนี้ 1. หุ้นที่เรารู้จัก (ปีเตอร์ ลินซ์) 2. ปัจจัยเชิงปริมาณ (เบนจามิน เกรแฮม) 3.ปัจจัยเชิงคุณภาพ (ฟิลลิป ฟิชเชอร์)

ดร.นิเวศน์ : ปัจจุบันเลือกยาก หุ้นดี แต่แพง หุ้นที่มีในพอร์ตส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นหุ้นชั้นดี (ขั้นเทพ) โดยจะเน้นดูที่มองยาว ไม่มีกำหนดเวลาในการถือครอง ถือตลอดชีวิต มอง trend อนาคตที่ยาวมาก หุ้นอีกส่วนที่มีแต่มีปริมาณไม่มาก คือ คุณภาพอาจไม่ดีเท่าแบบแรก แต่ราคาถูก แบบนี้จะถือไม่นาน ขึ้นระดับนึงแล้วจะขาย

สไตล์หุ้นที่ชอบ
นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ : หุ้นแข็งแกร่ง โดดเด่น อยู่ในเทรนด์ขาขึ้นระยะยาว ลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เน้นถือยาว (ไม่ต้องทำงานมาก) ไม่ต้องหาหุ้นบ่อยๆ ซื้อปีละครั้งโดยประมาณ

พี่ลูกอิสาน : หุ้นเติบโต กำไรโต ดูประวัติย้อนหลัง 4-5 ปี กำไรโตต่อเนื่อง ให้ระวังหุ้นวัฎจักร ตัวอย่าง ถ้ากำไรโต 20% อาจจะให้ PE ได้ประมาณ 20-25% ก็ถือว่าเหมาะสม จังหวะซื้อดู MOS ประกอบ

พี่วิบูลย์ : ถ้าเลือกหุ้นโดยดูที่ 1. หุ้นที่เรารู้จัก (ปีเตอร์ ลินซ์) 2. ปัจจัยเชิงปริมาณ (เบนจามิน เกรแฮม) 3.ปัจจัยเชิงคุณภาพ (ฟิลลิป ฟิชเชอร์) โอกาสที่ลงทุนผิดพลาดจะน้อยลงมาก หลักการที่ใช้ได้เสมอ คือ จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ (วอร์เรน บัฟเฟตต์)

ดร.นิเวศน์ : ชอบการลงทุนระยะยาว มองแบบสนามรบ ในสนามรบใครที่มีโอกาสชนะ โดยสามารถชิงพื้นที่ได้มาก และมีกำลังอำนาจเหนือคู่แข่ง ชอบธุรกิจที่เป็นผู้ที่ชนะชัดเจน ชนะแบบขาดลอย และกำลังอำนาจยังคงเพิ่มขึ้น เลือกหุ้นในอุตสาหกรรมที่เติบโต เลือกเบอร์1 ของอุตสาหกรรม หลักการสงคราม ผู้ชนะ คือ ผู้ที่มีทรัพยากรเหนือกว่าศัตรู ชอบหุ้นที่ market share มากกว่าคู่แข่งมากๆ

ประสบการณ์ที่ผิดพลาดและประสบการณ์ที่สำเร็จ
นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้นฟิตเนสชื่อดัง แรกๆ ไปดูที่สาขาแรกสีสม คนเยอะมาก ดูเทรนด์ก็น่าจะไปได้ดี เลยตัดสินใจลงทุน แต่หลังๆ ผู้บริหารเริ่มมีการหาสมาชิกด้วยวิธีแปลกๆ เลยตัดสินใจขายหุ้น ขาดทุนประมาณ 20% ข้อคิดที่ได้คือ อย่ารีบตัดสินใจซื้อหุ้น ยังไม่ต้องรีบ หากธุรกิจยังไม่ proof ตัวเอง
- ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ สนใจหุ้น super stock เกี่ยวกับค้าปลีกเกี่ยวกับบ้าน เล็งไว้นานมาก แต่ราคายังแพง ก็เลย รอ รอ จนถึงวันที่หุ้นเริ่มตก สังเกตจังหวะที่หุ้นเริ่มมีแรงขายน้อย (แสดงว่าจะเป็น bottom แล้ว) จากนั้นหุ้นตัวนี้ก็เติบโตจากการขยายสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

พี่ลูกอิสาน :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้น commodity ตัวนึงเกี่ยวกับเหล็ก เดิมทำกลางน้ำ แต่บริษัทจะขยายไปทำต้นน้ำ โดยไปซื้อโรงงานแห่งนึง แต่มันไม่ดีอย่างที่คาด เนื่องจากโรงงานที่ไปซื้อเดิมขาดทุนมาก กว่าจะฟื้นก็ยาก จุดที่ควรดูสำหรับหุ้นฟื้นตัว ถ้าฟื้นตามคาดก็ดี แต่ถ้าไม่ฟื้นต้องประเมินว่าจะเป็นอย่างไร รับมืออย่างไร
- ประการณ์ที่ประสบความสำเร็จ หุ้นลิซซิ่ง ตัวนึง ตอนนั้นมีปัญหามาก ผู้บริหารลาออก น้ำท่วมใหญ่อีก ทำให้ไม่มีรถใหม่สู่ท้องตลาด สินเชื่อก็ปล่อยไม่ได้ ต่อมาผู้บริหารมีแผนงานที่ชัดเจนออกมา ตั้งเป้ารายได้ 10 เท่า ในอีก 5 ปี ตอนนั้นหุ้นนี้ PE 7 ปันผล 9 % ก็ถือว่าน่าสนใจ เลยตัดสินใจลงทุน

พี่วิบูลย์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้นอสังหาฯ ตัวนึง สมัยนั้นบริษัททั่วไปสร้างบ้านใช้เวลา 90 วัน แต่บริษัทนี้นำเทคโนโลยีจากเยอรมันมาใช้เป็นรายแรกใช้เวลาสร้างบ้านเสร็จเพียง 45 วัน ไปดูงบ ตัวเลขก็ดี หนี้น้อย ความสามารถในการแข่งขันก็สูงจากเทคโนโลยีใหม่ และบริษัทตั้งเป้าหมายเป็นเบอร์ 1 (ถ้าเทียบ market cap กับเบอร์ 1 ขณะนั้นห่างกันมาก แสดงว่า ถ้าเป็นไปตามแผนโอกาสที่ราคาขึ้นก็จะมีมาก) ตอนนั้นซื้อ 4 บาท แต่ไปขาย 8 บาท (ตามมูลค่าที่ได้ประเมินไว้) แต่หุ้นก็ขึ้นไปที่ 25 บาท .. เป็นการผิดพลาดเรื่องการขายหมู
- ประการณ์ที่ประสบความสำเร็จ หุ้นอสังหาตัวเดิม ช่วงน้ำท่วมใหญ่ บริษัทนี้โดนกระทบมาก โครงการส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมหมด ราคาหุ้นลงเหลือ 10 บาท ตอนนั้นนักวิเคราะห์ทั้งหลายก็เชียร์ให้ขาย ราคามีโอกาสลงไป 8-9 บาท แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจซื้อที่ 10 บาทกว่า เพราะประเมินว่า ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาชั่วคราว บริษัทนี้เคยผ่านวิกฤตปี 40 มาแล้ว หนักยิ่งกว่านี้ ตอนนั้นหนี้เยอะมาก แต่ก็ผ่านมาได้ และประเมินพฤติกรรมคนไทยชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่คุ้นเคย ไม่ชอบย้ายบ่อย ปัจจุบัน 1 ปีผ่านไป ราคาหุ้นก็ขึ้นมา 80%

ดร.นิเวศน์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด 1. เคยซื้อหุ้นเกี่ยวกับเครื่องดื่ม ก็สังเกตว่ากำไรมันคงที่ไม่โตหลายปี ทั้งๆ ที่บริษัทก็แข็งแกร่งมาก อดทนรอไม่ไหวเลยตัดสินใจขาย สุดท้ายพอมีเจ้าของรายใหม่มาเทคโอเวอร์ราคาขึ้นไปไกล มาวิเคราะห์ทีหลังพบว่า ที่กำไรไม่โต เพราะเกี่ยวกับ ปัญหาจากบริษัทแม่ ที่มา control มากเกินไป 2. หุ้นพิซซ่า ตอนนั้นบริษัทแม่เจ้าของแบรนด์จะนำกลับไปทำเอง บริษัทนี้เลยทำแบรนด์ใหม่มาแข่งโดยตรง แล้วต่อมาก็ชนะ ข้อคิดที่ได้คือ แบรนด์ไม่ใช่หัวใจทั้งหมด อย่าคิดว่า เสียแบรนด์ไปแล้วบริษัทจะเจ๊ง ให้ดูปัจจัยอื่นๆ เช่น knowhow ระบบ แผนงาน ผู้บริหารด้วย

ดร.นิเวศน์ ยังเสริม ประเด็นหุ้นอสังหาฯ ของพี่วิบูลย์ คู่แข่ง(เบอร์ 1 ตอนนั้น) มีอำนาจพอๆ กัน ถ้าใช้เทคโนโลยีสร้างบ้านเดียวกัน อะไรก็เกิดขึ้นได้ เหมือนสงครามที่ไม่สามารถชิงพื้นที่ได้ ระยะยาวยังมองยากว่า ใครจะชนะหรือแพ้

อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา / อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน
พี่วิบูลย์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา AEC ซื้อขายระหว่างประเทศสมาชิกไม่ต้องเสียภาษี การเคลื่อนย้ายสายอาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลน่าสนใจ เพราะอาจจ้าง พยาบาล แพทย์จากต่างประเทศ ด้วยค่าจ้างที่ถูกลง เป็นการลดต้นทุน
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุนพวกรับเหมา ผู้บริหารยังไม่รู้เลยว่าจะได้งานหรือไม่ ประเมินรายได้ยาก รายได้ไม่แน่นอน

พี่ลูกอิสาน :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา จริงๆ ไม่ได้เน้นที่อุตสาหกรรม แต่เน้นตัวบริษัทที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (วิเคราะห์ 5 forces) และถ้าบริษัทสามารถขายสินค้าถึง end user ได้จะน่าลงทุน เพราะจะเพิ่มอำนาจต่อรองกับลูกค้า กำหนดราคาได้
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน พวกรับเหมา ผู้บริหารยังไม่รู้เลยว่าจะได้งานหรือไม่ ประเมินรายได้ยาก รายได้ไม่แน่นอน

นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา ไทยกำลังจะเข้ายุคเปลี่ยนแปลงรายได้ประชากรที่ดีขึ้น ธุรกิจที่ขายสินค้าให้ชนชั้นกลางจะได้ประโยชน์ พวกเกี่ยวกับสุขภาพ โรงพยาบาล หรือ บริษัทค้าปลีกที่ Hi End มากขึ้น ลูกค้ามีโอกาสจะเข้าห้างแนวนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน พวกรับจ้างผลิต OEM ไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง อำนาจต่อรองกับลูกค้าต่ำ โดนกดราคา กำไรน้อย

ดร.นิเวศน์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา จริงๆ ประเทศไทยเริ่มมองยาก เริ่มสนใจลงทุนต่างประเทศ ถ้าให้แนะนำก็หุ้นพวกไม่กระทบกับปัจจัยภายนอก เช่น กลุ่ม สาธารณูปโภค เช่น ผลิตน้ำ
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน ได้แก่ Pure Comodity เช่น เหล็ก ปิโตร ถ่านหิน ราคา control ไม่ได้ และ ดร.ตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงนี้ มีนักลงทุนหน้าใหม่เยอะขึ้นมาก อาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่าง ให้ระมัดระวังให้มาก



รู้สึกเหมือนกันครับ ว่าเดี๋ยวนี้หนังสือการลงทุนและนักลงทุนใหม่ๆมีเยอะมาก จนน่าตกใจ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3750
ผู้ติดตาม: 1

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ :bow:
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <⁠(⁠ ̄⁠︶⁠ ̄⁠)⁠> ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
champ_st
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 533
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ต้องขอบคุณด้วยครับ มีคนช่วยๆกันจด ดีใจๆ
"สิ่งที่ถูกต้องก็คือถูกต้อง แม้ไม่มีใครทำสิ่งนั้น สิ่งที่ผิดก็คือผิด แม้ทุกคนจะทำสิ่งนั้น" ศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย
ภาพประจำตัวสมาชิก
kissme
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1311
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 5

โพสต์

นักลงทุนรุ่นใหม่นี่. เจ๋งจริง ขยันจด vi ไทย เจ๋ง :mrgreen:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Giroro
Verified User
โพสต์: 107
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ :D
Leesak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 123
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณ :B ครับสำหรับข้อมูลที่แบ่งปัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
kissme
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1311
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 8

โพสต์

นักลงทุนรุ่นใหม่นี่. เจ๋งจริง ขยันจด vi ไทย เจ๋ง :mrgreen:
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณครับ คุณTLSS
Blueplanet
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4562
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 10

โพสต์

จดได้ยอดเยี่ยมมากครับ ขอบคุณแชมป์ครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
skyearth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 490
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณครับไปฟังมาเหมือนกัน ชอบแนวคิดพี่วิบูลย์มากครับ ของ ดร.นิเวศน์ฟังเข้าใจยากหน่อย เพราะแกเน้นแนวสนามรบ และการรบบนหลังม้าไปซะมาก ผมเลยแอบฮาตลอดงาน และจับใจความสรุปแกไม่ได้ซะที ส่วนพี่หมอพงศ์ศักดิ์ พี่ลูกอีสาน ก็ขอขอบคุณมากครับที่ช่วยประสบการณ์ และแนวคิดในการเลือกหุ้น ขอบคุณครับ
hatehate
Verified User
โพสต์: 100
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณมากครับ สำหรับน้ำใจ :D
pornchal
Verified User
โพสต์: 1070
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 13

โพสต์

สุดยอด คนสรุป เร็วมากกกกก
The One
TLSS
Verified User
โพสต์: 616
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 14

โพสต์

TLSS เขียน: กลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

วิธีการเลือกหุ้น
พี่ลูกอิสาน : เลือกหุ้นโดยเน้นที่กำไรเติบโต ยิ่งโตมากยิ่งดี และเป็นกำไรที่โตอย่างสม่ำเสมอ ยั่งยืน โดยจะพิจารณาซื้อ หากราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ปัจจุบันมีหุ้น 21 ตัว ตัวหลัก 7-8 ตัว

นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ : เน้นหุ้นขั้นเทพ มีความสามารถในการแข่งขันที่โดดเด่น โดยบริษัทลักษณะนี้มักจะมีผลการดำเนินงานดีกว่าที่เราคาดไว้ เน้นที่ Durable Competitive Advantage สามารถขึ้นราคาได้โดยที่ลูกค้าจำยอม มีอำนาจต่อรองกับ supplier และลูกค้าสูงมาก ปัจจัยที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง คือ ตัวเร่ง Catalyst ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นผลประกอบการที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการมอง time value for money (จังหวะซื้อที่เหมาะสมควรซื้อในจังหวะที่มีตัวเร่ง) หุ้นดีจริงๆ แล้วดูไม่ยาก ก็พวกบริษัทชั้นนำ รู้ๆ กันอยู่ แต่ที่สำคัญคือ จังหวะซื้อขาย ให้ดู Catalyst ประกอบ

พี่วิบูลย์ : พูดถึงทฤษฎีการลงทุนอย่างมีความสุข ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือจะลง เวลาหุ้นขึ้นก็เป็นสิ่งดี เวลาหุ้นลงก็มีความสุขที่จะได้ซื้อหุ้นเพิ่ม (ไม่ทุกข์เนื่องจากประเมินมูลค่าหุ้น ก่อนซื้อแล้ว) เน้นหลักการเลือกหุ้นดังนี้ 1. หุ้นที่เรารู้จัก (ปีเตอร์ ลินซ์) 2. ปัจจัยเชิงปริมาณ (เบนจามิน เกรแฮม) 3.ปัจจัยเชิงคุณภาพ (ฟิลลิป ฟิชเชอร์)

ดร.นิเวศน์ : ปัจจุบันเลือกยาก หุ้นดี แต่แพง หุ้นที่มีในพอร์ตส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นหุ้นชั้นดี (ขั้นเทพ) โดยจะเน้นดูที่มองยาว ไม่มีกำหนดเวลาในการถือครอง ถือตลอดชีวิต มอง trend อนาคตที่ยาวมาก หุ้นอีกส่วนที่มีแต่มีปริมาณไม่มาก คือ คุณภาพอาจไม่ดีเท่าแบบแรก แต่ราคาถูก แบบนี้จะถือไม่นาน ขึ้นระดับนึงแล้วจะขาย

สไตล์หุ้นที่ชอบ
นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ : หุ้นแข็งแกร่ง โดดเด่น อยู่ในเทรนด์ขาขึ้นระยะยาว ลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เน้นถือยาว (ไม่ต้องทำงานมาก) ไม่ต้องหาหุ้นบ่อยๆ ซื้อปีละครั้งโดยประมาณ

พี่ลูกอิสาน : หุ้นเติบโต กำไรโต ดูประวัติย้อนหลัง 4-5 ปี กำไรโตต่อเนื่อง ให้ระวังหุ้นวัฎจักร ตัวอย่าง ถ้ากำไรโต 20% อาจจะให้ PE ได้ประมาณ 20-25 ก็ถือว่าเหมาะสม จังหวะซื้อดู MOS ประกอบ

พี่วิบูลย์ : ถ้าเลือกหุ้นโดยดูที่ 1. หุ้นที่เรารู้จัก (ปีเตอร์ ลินซ์) 2. ปัจจัยเชิงปริมาณ (เบนจามิน เกรแฮม) 3.ปัจจัยเชิงคุณภาพ (ฟิลลิป ฟิชเชอร์) โอกาสที่ลงทุนผิดพลาดจะน้อยลงมาก หลักการที่ใช้ได้เสมอ คือ จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ (วอร์เรน บัฟเฟตต์)

ดร.นิเวศน์ : ชอบการลงทุนระยะยาว มองแบบสนามรบ ในสนามรบใครที่มีโอกาสชนะ โดยสามารถชิงพื้นที่ได้มาก และมีกำลังอำนาจเหนือคู่แข่ง ชอบธุรกิจที่เป็นผู้ที่ชนะชัดเจน ชนะแบบขาดลอย และกำลังอำนาจยังคงเพิ่มขึ้น เลือกหุ้นในอุตสาหกรรมที่เติบโต เลือกเบอร์1 ของอุตสาหกรรม หลักการสงคราม ผู้ชนะ คือ ผู้ที่มีทรัพยากรเหนือกว่าศัตรู ชอบหุ้นที่ market share มากกว่าคู่แข่งมากๆ

ประสบการณ์ที่ผิดพลาดและประสบการณ์ที่สำเร็จ
นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้นฟิตเนสชื่อดัง แรกๆ ไปดูที่สาขาแรกสีสม คนเยอะมาก ดูเทรนด์ก็น่าจะไปได้ดี เลยตัดสินใจลงทุน แต่หลังๆ ผู้บริหารเริ่มมีการหาสมาชิกด้วยวิธีแปลกๆ เลยตัดสินใจขายหุ้น ขาดทุนประมาณ 20% ข้อคิดที่ได้คือ อย่ารีบตัดสินใจซื้อหุ้น ยังไม่ต้องรีบ หากธุรกิจยังไม่ proof ตัวเอง
- ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ สนใจหุ้น super stock เกี่ยวกับค้าปลีกเกี่ยวกับบ้าน เล็งไว้นานมาก แต่ราคายังแพง ก็เลย รอ รอ จนถึงวันที่หุ้นเริ่มตก สังเกตจังหวะที่หุ้นเริ่มมีแรงขายน้อย (แสดงว่าจะเป็น bottom แล้ว) จากนั้นหุ้นตัวนี้ก็เติบโตจากการขยายสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

พี่ลูกอิสาน :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้น commodity ตัวนึงเกี่ยวกับเหล็ก เดิมทำกลางน้ำ แต่บริษัทจะขยายไปทำต้นน้ำ โดยไปซื้อโรงงานแห่งนึง แต่มันไม่ดีอย่างที่คาด เนื่องจากโรงงานที่ไปซื้อเดิมขาดทุนมาก กว่าจะฟื้นก็ยาก จุดที่ควรดูสำหรับหุ้นฟื้นตัว ถ้าฟื้นตามคาดก็ดี แต่ถ้าไม่ฟื้นต้องประเมินว่าจะเป็นอย่างไร รับมืออย่างไร
- ประการณ์ที่ประสบความสำเร็จ หุ้นลิซซิ่ง ตัวนึง ตอนนั้นมีปัญหามาก ผู้บริหารลาออก น้ำท่วมใหญ่อีก ทำให้ไม่มีรถใหม่สู่ท้องตลาด สินเชื่อก็ปล่อยไม่ได้ ต่อมาผู้บริหารมีแผนงานที่ชัดเจนออกมา ตั้งเป้ารายได้ 10 เท่า ในอีก 5 ปี ตอนนั้นหุ้นนี้ PE 7 ปันผล 9 % ก็ถือว่าน่าสนใจ เลยตัดสินใจลงทุน

พี่วิบูลย์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้นอสังหาฯ ตัวนึง สมัยนั้นบริษัททั่วไปสร้างบ้านใช้เวลา 90 วัน แต่บริษัทนี้นำเทคโนโลยีจากเยอรมันมาใช้เป็นรายแรกใช้เวลาสร้างบ้านเสร็จเพียง 45 วัน ไปดูงบ ตัวเลขก็ดี หนี้น้อย ความสามารถในการแข่งขันก็สูงจากเทคโนโลยีใหม่ และบริษัทตั้งเป้าหมายเป็นเบอร์ 1 (ถ้าเทียบ market cap กับเบอร์ 1 ขณะนั้นห่างกันมาก แสดงว่า ถ้าเป็นไปตามแผนโอกาสที่ราคาขึ้นก็จะมีมาก) ตอนนั้นซื้อ 4 บาท แต่ไปขาย 8 บาท (ตามมูลค่าที่ได้ประเมินไว้) แต่หุ้นก็ขึ้นไปที่ 25 บาท .. เป็นการผิดพลาดเรื่องการขายหมู
- ประการณ์ที่ประสบความสำเร็จ หุ้นอสังหาตัวเดิม ช่วงน้ำท่วมใหญ่ บริษัทนี้โดนกระทบมาก โครงการส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมหมด ราคาหุ้นลงเหลือ 10 บาท ตอนนั้นนักวิเคราะห์ทั้งหลายก็เชียร์ให้ขาย ราคามีโอกาสลงไป 8-9 บาท แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจซื้อที่ 10 บาทกว่า เพราะประเมินว่า ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาชั่วคราว บริษัทนี้เคยผ่านวิกฤตปี 40 มาแล้ว หนักยิ่งกว่านี้ ตอนนั้นหนี้เยอะมาก แต่ก็ผ่านมาได้ และประเมินพฤติกรรมคนไทยชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่คุ้นเคย ไม่ชอบย้ายบ่อย ปัจจุบัน 1 ปีผ่านไป ราคาหุ้นก็ขึ้นมา 80%

ดร.นิเวศน์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด 1. เคยซื้อหุ้นเกี่ยวกับเครื่องดื่ม ก็สังเกตว่ากำไรมันคงที่ไม่โตหลายปี ทั้งๆ ที่บริษัทก็แข็งแกร่งมาก อดทนรอไม่ไหวเลยตัดสินใจขาย สุดท้ายพอมีเจ้าของรายใหม่มาเทคโอเวอร์ราคาขึ้นไปไกล มาวิเคราะห์ทีหลังพบว่า ที่กำไรไม่โต เพราะเกี่ยวกับ ปัญหาจากบริษัทแม่ ที่มา control มากเกินไป 2. หุ้นพิซซ่า ตอนนั้นบริษัทแม่เจ้าของแบรนด์จะนำกลับไปทำเอง บริษัทนี้เลยทำแบรนด์ใหม่มาแข่งโดยตรง แล้วต่อมาก็ชนะ ข้อคิดที่ได้คือ แบรนด์ไม่ใช่หัวใจทั้งหมด อย่าคิดว่า เสียแบรนด์ไปแล้วบริษัทจะเจ๊ง ให้ดูปัจจัยอื่นๆ เช่น knowhow ระบบ แผนงาน ผู้บริหารด้วย

ดร.นิเวศน์ ยังเสริม ประเด็นหุ้นอสังหาฯ ของพี่วิบูลย์ คู่แข่ง(เบอร์ 1 ตอนนั้น) มีอำนาจพอๆ กัน ถ้าใช้เทคโนโลยีสร้างบ้านเดียวกัน อะไรก็เกิดขึ้นได้ เหมือนสงครามที่ไม่สามารถชิงพื้นที่ได้ ระยะยาวยังมองยากว่า ใครจะชนะหรือแพ้

อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา / อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน
พี่วิบูลย์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา AEC ซื้อขายระหว่างประเทศสมาชิกไม่ต้องเสียภาษี การเคลื่อนย้ายสายอาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลน่าสนใจ เพราะอาจจ้าง พยาบาล แพทย์จากต่างประเทศ ด้วยค่าจ้างที่ถูกลง เป็นการลดต้นทุน
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุนพวกรับเหมา ผู้บริหารยังไม่รู้เลยว่าจะได้งานหรือไม่ ประเมินรายได้ยาก รายได้ไม่แน่นอน

พี่ลูกอิสาน :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา จริงๆ ไม่ได้เน้นที่อุตสาหกรรม แต่เน้นตัวบริษัทที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (วิเคราะห์ 5 forces) และถ้าบริษัทสามารถขายสินค้าถึง end user ได้จะน่าลงทุน เพราะจะเพิ่มอำนาจต่อรองกับลูกค้า กำหนดราคาได้ ส่วนเรื่องบริษัทที่ผลิตสินค้า comodity ... ไม่น่าสนใจ

นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา ไทยกำลังจะเข้ายุคเปลี่ยนแปลงรายได้ประชากรที่ดีขึ้น ธุรกิจที่ขายสินค้าให้ชนชั้นกลางจะได้ประโยชน์ พวกเกี่ยวกับสุขภาพ โรงพยาบาล หรือ บริษัทค้าปลีกที่ Hi End มากขึ้น ลูกค้ามีโอกาสจะเข้าห้างแนวนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน พวกรับจ้างผลิต OEM ไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง อำนาจต่อรองกับลูกค้าต่ำ โดนกดราคา กำไรน้อย

ดร.นิเวศน์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา จริงๆ ประเทศไทยเริ่มมองยาก เริ่มสนใจลงทุนต่างประเทศ ถ้าให้แนะนำก็หุ้นพวกไม่กระทบกับปัจจัยภายนอก เช่น กลุ่ม สาธารณูปโภค เช่น ผลิตน้ำ
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน ได้แก่ Pure Comodity เช่น เหล็ก ปิโตร ถ่านหิน ราคา control ไม่ได้ และ ดร.ตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงนี้ มีนักลงทุนหน้าใหม่เยอะขึ้นมาก อาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่าง ให้ระมัดระวังให้มาก
แก้ไขตรงที่ขีดเส้นใต้นะครับ :D
TLSS
Verified User
โพสต์: 616
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 15

โพสต์

กลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

วิธีการเลือกหุ้น
พี่ลูกอิสาน : เลือกหุ้นโดยเน้นที่กำไรเติบโต ยิ่งโตมากยิ่งดี และเป็นกำไรที่โตอย่างสม่ำเสมอ ยั่งยืน โดยจะพิจารณาซื้อ หากราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ปัจจุบันมีหุ้น 21 ตัว ตัวหลัก 7-8 ตัว

นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ : เน้นหุ้นขั้นเทพ มีความสามารถในการแข่งขันที่โดดเด่น โดยบริษัทลักษณะนี้มักจะมีผลการดำเนินงานดีกว่าที่เราคาดไว้ เน้นที่ Durable Competitive Advantage สามารถขึ้นราคาได้โดยที่ลูกค้าจำยอม มีอำนาจต่อรองกับ supplier และลูกค้าสูงมาก ปัจจัยที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง คือ ตัวเร่ง Catalyst ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นผลประกอบการที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการมอง time value for money (จังหวะซื้อที่เหมาะสมควรซื้อในจังหวะที่มีตัวเร่ง) หุ้นดีจริงๆ แล้วดูไม่ยาก ก็พวกบริษัทชั้นนำ รู้ๆ กันอยู่ แต่ที่สำคัญคือ จังหวะซื้อขาย ให้ดู Catalyst ประกอบ

พี่วิบูลย์ : พูดถึงทฤษฎีการลงทุนอย่างมีความสุข ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือจะลง เวลาหุ้นขึ้นก็เป็นสิ่งดี เวลาหุ้นลงก็มีความสุขที่จะได้ซื้อหุ้นเพิ่ม (ไม่ทุกข์เนื่องจากประเมินมูลค่าหุ้น ก่อนซื้อแล้ว) เน้นหลักการเลือกหุ้นดังนี้ 1. หุ้นที่เรารู้จัก (ปีเตอร์ ลินซ์) 2. ปัจจัยเชิงปริมาณ (เบนจามิน เกรแฮม) 3.ปัจจัยเชิงคุณภาพ (ฟิลลิป ฟิชเชอร์)

ดร.นิเวศน์ : ปัจจุบันเลือกยาก หุ้นดี แต่แพง หุ้นที่มีในพอร์ตส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นหุ้นชั้นดี (ขั้นเทพ) โดยจะเน้นดูที่มองยาว ไม่มีกำหนดเวลาในการถือครอง ถือตลอดชีวิต มอง trend อนาคตที่ยาวมาก หุ้นอีกส่วนที่มีแต่มีปริมาณไม่มาก คือ คุณภาพอาจไม่ดีเท่าแบบแรก แต่ราคาถูก แบบนี้จะถือไม่นาน ขึ้นระดับนึงแล้วจะขาย

สไตล์หุ้นที่ชอบ
นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ : หุ้นแข็งแกร่ง โดดเด่น อยู่ในเทรนด์ขาขึ้นระยะยาว ลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เน้นถือยาว (ไม่ต้องทำงานมาก) ไม่ต้องหาหุ้นบ่อยๆ ซื้อปีละครั้งโดยประมาณ

พี่ลูกอิสาน : หุ้นเติบโต กำไรโต ดูประวัติย้อนหลัง 4-5 ปี กำไรโตต่อเนื่อง ให้ระวังหุ้นวัฎจักร ตัวอย่าง ถ้ากำไรโต 20% อาจจะให้ PE ได้ประมาณ 20-25 ก็ถือว่าเหมาะสม จังหวะซื้อดู MOS ประกอบ

พี่วิบูลย์ : ถ้าเลือกหุ้นโดยดูที่ 1. หุ้นที่เรารู้จัก (ปีเตอร์ ลินซ์) 2. ปัจจัยเชิงปริมาณ (เบนจามิน เกรแฮม) 3.ปัจจัยเชิงคุณภาพ (ฟิลลิป ฟิชเชอร์) โอกาสที่ลงทุนผิดพลาดจะน้อยลงมาก หลักการที่ใช้ได้เสมอ คือ จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ (วอร์เรน บัฟเฟตต์)

ดร.นิเวศน์ : ชอบการลงทุนระยะยาว มองแบบสนามรบ ในสนามรบใครที่มีโอกาสชนะ โดยสามารถชิงพื้นที่ได้มาก และมีกำลังอำนาจเหนือคู่แข่ง ชอบธุรกิจที่เป็นผู้ที่ชนะชัดเจน ชนะแบบขาดลอย และกำลังอำนาจยังคงเพิ่มขึ้น เลือกหุ้นในอุตสาหกรรมที่เติบโต เลือกเบอร์1 ของอุตสาหกรรม หลักการสงคราม ผู้ชนะ คือ ผู้ที่มีทรัพยากรเหนือกว่าศัตรู ชอบหุ้นที่ market share มากกว่าคู่แข่งมากๆ

ประสบการณ์ที่ผิดพลาดและประสบการณ์ที่สำเร็จ
นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้นฟิตเนสชื่อดัง แรกๆ ไปดูที่สาขาแรกสีสม คนเยอะมาก ดูเทรนด์ก็น่าจะไปได้ดี เลยตัดสินใจลงทุน แต่หลังๆ ผู้บริหารเริ่มมีการหาสมาชิกด้วยวิธีแปลกๆ เลยตัดสินใจขายหุ้น ขาดทุนประมาณ 20% ข้อคิดที่ได้คือ อย่ารีบตัดสินใจซื้อหุ้น ยังไม่ต้องรีบ หากธุรกิจยังไม่ proof ตัวเอง
- ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ สนใจหุ้น super stock เกี่ยวกับค้าปลีกเกี่ยวกับบ้าน เล็งไว้นานมาก แต่ราคายังแพง ก็เลย รอ รอ จนถึงวันที่หุ้นเริ่มตก สังเกตจังหวะที่หุ้นเริ่มมีแรงขายน้อย (แสดงว่าจะเป็น bottom แล้ว) จากนั้นหุ้นตัวนี้ก็เติบโตจากการขยายสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

พี่ลูกอิสาน :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้น commodity ตัวนึงเกี่ยวกับเหล็ก เดิมทำกลางน้ำ แต่บริษัทจะขยายไปทำต้นน้ำ โดยไปซื้อโรงงานแห่งนึง แต่มันไม่ดีอย่างที่คาด เนื่องจากโรงงานที่ไปซื้อเดิมขาดทุนมาก กว่าจะฟื้นก็ยาก จุดที่ควรดูสำหรับหุ้นฟื้นตัว ถ้าฟื้นตามคาดก็ดี แต่ถ้าไม่ฟื้นต้องประเมินว่าจะเป็นอย่างไร รับมืออย่างไร
- ประการณ์ที่ประสบความสำเร็จ หุ้นลิซซิ่ง ตัวนึง ตอนนั้นมีปัญหามาก ผู้บริหารลาออก น้ำท่วมใหญ่อีก ทำให้ไม่มีรถใหม่สู่ท้องตลาด สินเชื่อก็ปล่อยไม่ได้ ต่อมาผู้บริหารมีแผนงานที่ชัดเจนออกมา ตั้งเป้ารายได้ 10 เท่า ในอีก 5 ปี ตอนนั้นหุ้นนี้ PE 7 ปันผล 9 % ก็ถือว่าน่าสนใจ เลยตัดสินใจลงทุน

พี่วิบูลย์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด หุ้นอสังหาฯ ตัวนึง สมัยนั้นบริษัททั่วไปสร้างบ้านใช้เวลา 90 วัน แต่บริษัทนี้นำเทคโนโลยีจากเยอรมันมาใช้เป็นรายแรกใช้เวลาสร้างบ้านเสร็จเพียง 45 วัน ไปดูงบ ตัวเลขก็ดี หนี้น้อย ความสามารถในการแข่งขันก็สูงจากเทคโนโลยีใหม่ และบริษัทตั้งเป้าหมายเป็นเบอร์ 1 (ถ้าเทียบ market cap กับเบอร์ 1 ขณะนั้นห่างกันมาก แสดงว่า ถ้าเป็นไปตามแผนโอกาสที่ราคาขึ้นก็จะมีมาก) ตอนนั้นซื้อ 4 บาท แต่ไปขาย 8 บาท (ตามมูลค่าที่ได้ประเมินไว้) แต่หุ้นก็ขึ้นไปที่ 25 บาท .. เป็นการผิดพลาดเรื่องการขายหมู
- ประการณ์ที่ประสบความสำเร็จ หุ้นอสังหาตัวเดิม ช่วงน้ำท่วมใหญ่ บริษัทนี้โดนกระทบมาก โครงการส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมหมด ราคาหุ้นลงเหลือ 10 บาท ตอนนั้นนักวิเคราะห์ทั้งหลายก็เชียร์ให้ขาย ราคามีโอกาสลงไป 8-9 บาท แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจซื้อที่ 10 บาทกว่า เพราะประเมินว่า ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาชั่วคราว บริษัทนี้เคยผ่านวิกฤตปี 40 มาแล้ว หนักยิ่งกว่านี้ ตอนนั้นหนี้เยอะมาก แต่ก็ผ่านมาได้ และประเมินพฤติกรรมคนไทยชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่คุ้นเคย ไม่ชอบย้ายบ่อย ปัจจุบัน 1 ปีผ่านไป ราคาหุ้นก็ขึ้นมา 80%

ดร.นิเวศน์ :
- ประสบการณ์ที่ผิดพลาด 1. เคยซื้อหุ้นเกี่ยวกับเครื่องดื่ม ก็สังเกตว่ากำไรมันคงที่ไม่โตหลายปี ทั้งๆ ที่บริษัทก็แข็งแกร่งมาก อดทนรอไม่ไหวเลยตัดสินใจขาย สุดท้ายพอมีเจ้าของรายใหม่มาเทคโอเวอร์ราคาขึ้นไปไกล มาวิเคราะห์ทีหลังพบว่า ที่กำไรไม่โต เพราะเกี่ยวกับ ปัญหาจากบริษัทแม่ ที่มา control มากเกินไป 2. หุ้นพิซซ่า ตอนนั้นบริษัทแม่เจ้าของแบรนด์จะนำกลับไปทำเอง บริษัทนี้เลยทำแบรนด์ใหม่มาแข่งโดยตรง แล้วต่อมาก็ชนะ ข้อคิดที่ได้คือ แบรนด์ไม่ใช่หัวใจทั้งหมด อย่าคิดว่า เสียแบรนด์ไปแล้วบริษัทจะเจ๊ง ให้ดูปัจจัยอื่นๆ เช่น knowhow ระบบ แผนงาน ผู้บริหารด้วย

ดร.นิเวศน์ ยังเสริม ประเด็นหุ้นอสังหาฯ ของพี่วิบูลย์ คู่แข่ง(เบอร์ 1 ตอนนั้น) มีอำนาจพอๆ กัน ถ้าใช้เทคโนโลยีสร้างบ้านเดียวกัน อะไรก็เกิดขึ้นได้ เหมือนสงครามที่ไม่สามารถชิงพื้นที่ได้ ระยะยาวยังมองยากว่า ใครจะชนะหรือแพ้

อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา / อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน
พี่วิบูลย์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา AEC ซื้อขายระหว่างประเทศสมาชิกไม่ต้องเสียภาษี การเคลื่อนย้ายสายอาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลน่าสนใจ เพราะอาจจ้าง พยาบาล แพทย์จากต่างประเทศ ด้วยค่าจ้างที่ถูกลง เป็นการลดต้นทุน
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุนพวกรับเหมา ผู้บริหารยังไม่รู้เลยว่าจะได้งานหรือไม่ ประเมินรายได้ยาก รายได้ไม่แน่นอน

พี่ลูกอิสาน :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา จริงๆ ไม่ได้เน้นที่อุตสาหกรรม แต่เน้นตัวบริษัทที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (วิเคราะห์ 5 forces) และถ้าบริษัทสามารถขายสินค้าถึง end user ได้จะน่าลงทุน เพราะจะเพิ่มอำนาจต่อรองกับลูกค้า กำหนดราคาได้ ส่วนเรื่องบริษัทที่ผลิตสินค้า comodity ถ้าเป็นประเภททรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถสร้างเพิ่มได้ คิดว่าระยะยาวยังน่าสนใจ
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน พวกที่วิเคราะห์ 5 forces แล้วพบว่าอ่อนแอ ไม่น่าสนใจ


นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา ไทยกำลังจะเข้ายุคเปลี่ยนแปลงรายได้ประชากรที่ดีขึ้น ธุรกิจที่ขายสินค้าให้ชนชั้นกลางจะได้ประโยชน์ พวกเกี่ยวกับสุขภาพ โรงพยาบาล หรือ บริษัทค้าปลีกที่ Hi End มากขึ้น ลูกค้ามีโอกาสจะเข้าห้างแนวนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน พวกรับจ้างผลิต OEM ไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง อำนาจต่อรองกับลูกค้าต่ำ โดนกดราคา กำไรน้อย

ดร.นิเวศน์ :
- อุตสาหกรรมที่กำลังจะมา จริงๆ ประเทศไทยเริ่มมองยาก เริ่มสนใจลงทุนต่างประเทศ ถ้าให้แนะนำก็หุ้นพวกไม่กระทบกับปัจจัยภายนอก เช่น กลุ่ม สาธารณูปโภค เช่น ผลิตน้ำ
- อุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุน ได้แก่ Pure Comodity เช่น เหล็ก ปิโตร ถ่านหิน ราคา control ไม่ได้ และ ดร.ตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงนี้ มีนักลงทุนหน้าใหม่เยอะขึ้นมาก อาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่าง ให้ระมัดระวังให้มาก



**** แก้ไขตรงที่ขีดเส้นใต้ครับ :D
notty
Verified User
โพสต์: 11
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ สำหรับ sharing ข้อมูล
KittipongS
Verified User
โพสต์: 206
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับที่นำมาฝาก
stevejob
Verified User
โพสต์: 100
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ฟังดร.นิเวศน์แล้วขำมาก. แนวความคิดลึกซึ้งมาก แต่โดนเบรกตลอด 555
roek09
Verified User
โพสต์: 147
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีๆที่สรุปมาให้อ่าน เสียดายที่ไม่สามารถจองที่นั่งได้ แต่ยังมีโอกาศได้อ่านข้อมูลดีๆ
boat_09
Verified User
โพสต์: 18
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ขอบคุณครับ สำหรับการแบ่งปันความรู้ที่เป็นประโยชน์ครับ
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4254
ผู้ติดตาม: 1

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณครับ
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
xinza
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ขอบคุณมากครับ สรุปได้ใจความดี
BUTONG
Verified User
โพสต์: 16
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Lastpun
Verified User
โพสต์: 819
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ข้อมูลดีมากครับได้ประโยชน์มากๆจากเทพทั้งหลาย
Principle_me
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 50
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ขอบคุณมากคะ
Invest in the good timeS!!!!....
ภาพประจำตัวสมาชิก
HENDRIX
Verified User
โพสต์: 135
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ขอบคุณมากครับ

คนอ่านรับรู้ได้ถึงความพยายามในการพิมพ์โดยไม่ให้ผิดเลย :cheers:
ชนะตลาดหรือเปล่าไม่สน ชนะใจตนเป็นพอ
teerasak.moo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 144
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 27

โพสต์

skyearth เขียน:ขอบคุณครับไปฟังมาเหมือนกัน ชอบแนวคิดพี่วิบูลย์มากครับ ของ ดร.นิเวศน์ฟังเข้าใจยากหน่อย เพราะแกเน้นแนวสนามรบ และการรบบนหลังม้าไปซะมาก ผมเลยแอบฮาตลอดงาน และจับใจความสรุปแกไม่ได้ซะที ส่วนพี่หมอพงศ์ศักดิ์ พี่ลูกอีสาน ก็ขอขอบคุณมากครับที่ช่วยประสบการณ์ และแนวคิดในการเลือกหุ้น ขอบคุณครับ
ผมกับมองว่าที่ อ.นิเวศน์ พูดนั้นเป็นสุดยอดเคล็ดวิชา สามารถนำไปใช้ได้จริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
wanchaiid
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 205
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ขอบคุณคับ
LEK2555
Verified User
โพสต์: 10
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 29

โพสต์

Thanks
audipresso
Verified User
โพสต์: 27
ผู้ติดตาม: 0

Re: สรุป สัมมนากลยุทธ์เลือกหุ้นแบบวีไอ 9/9/12

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ขอบคุณมากครับสำหรับน้ำใจที่สรุปเนื้อหามาแบ่งปันเพื่อนๆ ที่ไม่ได้ไปงาน
โพสต์โพสต์