ไร้ฝีมือ มากับ"ดวง"
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ไร้ฝีมือ มากับ"ดวง"
โพสต์ที่ 1
ชำแหละนโยบายศก.แม้ว ไร้ฝีมือ มากับ"ดวง"ระวังเมกกะโปรเจ็คต์อาจเจ๊ง
"สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวและขยายตัวเร็วช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่จริงแล้วมาจากเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก และไม่ใช่ไทยประเทศเดียว ประเทศอื่นๆ ในเอเชียขยายตัวสูงเหมือนกัน เป็นการขยายตัวแทบทุกภูมิภาคของโลก ฉะนั้น เมืองไทยเศรษฐกิจดีขึ้น ไม่ได้แปลกกว่าคนอื่น"
เป็นคำวิพากษ์ต่อผลงานของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร จากคนระดับประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทยชื่อ นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ แล้วยิ่งการันตีความเผ็ดร้อน
บลจ.กสิกรไทยถือได้ว่า เป็น บลจ. ที่บริหารกองทุนที่ใหญ่ระดับต้นของเมืองไทย อาชีพหลักบริหารกองทุนประเภทต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขายหน่วยลงทุนให้กับนักลงทุนรวมทั้งเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับบริษัทต่างๆ และกองทุนส่วนบุคคล ฉะนั้น ที่นี่จึงเป็นแหล่งดูดซับข้อมูลจากทั่วทุกสารทิศ
"การส่งออกที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ไม่ได้มาจากการปรับตัวของประสิทธิภาพในการผลิตการปรับประสิทธิภาพอาจจะมีบ้างแต่ไม่มากเท่าไหร่"
เป็นอีกประโยคหนึ่งที่เหมือนบอกเป็นนัยว่า รัฐบาลทักษิณนั้นมากับ "ดวง" มากกว่า "ฝีมือ"
"หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (ปี 2540) เราลดการลงทุนเยอะ กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมเหลือ ไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ไฟฟ้า ระบบธนาคารมีสภาพคล่องเยอะ ดอกเบี้ยต่ำ เพราะฉะนั้น การนำเข้าสินค้าทุนลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และรัฐบาลกระตุ้นให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจขายตัวเร็วขึ้น"
"ครั้นมาถึงจุดที่จะต้องลงทุนใหม่ มาเจอภาวะราคาน้ำมันแพง ทำให้ดุลการค้าขาดดุล ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างรวดเร็ว จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมืองไทยจะกลับมาขาดดุล ปีนี้เป็นปีแรกหลังวิกฤตเศรษฐกิจประเทศในเอเชียยกเว้นจีน การค้าไม่เกินดุลอีกแล้ว ใกล้ๆ จะสมดุลทั้งที่ก่อนหน้านี้เกินดุลมาตลอด เนื่องจากที่ผ่านมาเราไม่ได้ปรับประสิทธิภาพการผลิต ไม่ได้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอลง น้ำมันราคาแพง ปัญหาจะกลับมาใหม่"
คำว่า "ปัญหาจะกลับมาใหม่" ในความหมายของเขาคือ การส่งสัญญาณถึงรัฐบาลทักษิณที่กำลังจะเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท และดอกเบี้ย ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในแสวงหาเงินตราต่างประเทศของเมืองไทย
แล้วอะไรคืออาการไข้ที่จะบ่งเป็นรูปธรรมว่า ปัญหาจะกลับมาใหม่
"ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเป็นอาการที่ไม่ดีแล้ว"
หากยึดถือตามคำแถลงของแบงก์ชาติ เท่ากับเมืองไทยเริ่มเจ็บป่วยมาแล้วหลายเดือน
ภูมิหลังของนายปิยะสวัสดิ์ หลายคนรับรู้ว่าเขาเป็นผู้ชำนาญที่รู้เรื่อง "น้ำมัน" ดีคนหนึ่งของเมืองไทย แต่เนื้อแท้แล้วนายปิยะสวัสดิ์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ให้การยอมรับและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสม่ำเสมอ
เขาจบปริญญาโทและเอกทางเศรษฐศาสตร์จาก London School of Economics แล้วกลับมาทำงานที่สภาพัฒน์ยุค ดร.เสนาะ อูนากูล เป็นเลขาธิการสภาพัฒน์ เป็นหนึ่งในทีมงานของรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ปลดราคาน้ำมันออกจากการเมืองโดยใช้นโยบายลอยตัวราคาน้ำมัน จากนั้นมาเป็นเลขาธิการสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก่อนที่จะถูกปลดออกจากตำแหน่งเลขาธิการสำนักนโยบายพลังงานแห่งชาติ
นายปิยะสวัสดิ์ กล่าวอีกว่า พฤติกรรมของเรายังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เรามีการออมที่ไม่เพียงพอ หากเราจะลงทุนเยอะเราต้องออมเยอะด้วย ไม่งั้นจะมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ผ่านเราเกินดุลไม่ใช่เพราะออมเยอะ แต่เราลงทุนน้อยต่างหาก สัดส่วนการออมไทยเทียบจีดีพีลดลงมาก อาจจะเพราะนโยบายรัฐ อีกส่วนเพราะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ประชาชนกู้เงินมาใช้จ่าย แต่ออมเงินน้อยลง
ทัศนะเรื่องเงินออมของนายปิยะสวัสดิ์ สอดคล้องกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติอย่างยิ่ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร บอกว่า ตอนนี้สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนเทียบกับจีดีพี เหลือ 4% ขณะที่อดีตที่ผ่านมานั้นมีสัดส่วนสูงถึง 10% ตอนนี้เขากำลังทำแผนเพื่อเพิ่มสัดส่วนการออมภาคครัวเรือน รวมทั้งแผนรณรงค์ให้บริษัทเอกชนที่มีเงินออมเยอะนำเงินกลับมาลงทุนใหม่
หนึ่งในแผนนั้นคือ การปรับนโยบายภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามแนวทางใหม่เกี่ยวกับทฤษฎีการเก็บภาษีของหลายๆ ประเทศ
ต่อนโยบายมงฟอร์ต และแนวทางการบริหารเศรษฐกิจตามทฤษฎีรักษาโรคเบาหวานของนายกฯ ทักษิณนั้น ประธานกรรมการ บลจ.กสิกรไทย กล่าวว่า นโยบายที่ดีขึ้นคือ เลิกอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล เหลือแต่เรื่องราคาแก๊สหุงต้มกับค่าไฟฟ้าที่ยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แต่นโยบายบางเรื่องที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นหากไม่มากเกินยังพอไปไหวและควรเลือกวิธีกระตุ้นให้เหมาะสม
"การลงทุน (สาธารณูปโภค) ควรเน้นเรื่องที่เกิดปัญหาขาดแคลนและเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แล้วต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพ ให้เกิดการแข่งขันเพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุด บางโครงการในเมกะโปรเจ็คต์ 1.7 ล้านล้านบาท หากไม่ชัดเจนควรยกเลิก"
"อะไรก็ตามที่กระตุ้นการบริโภคควรกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะปัจจัยบวกหายไปแล้วมีแต่ปัจจัยลบเต็มไปหมด" เป็นคำเตือนระดับประธานที่มีถึงรัฐบาล เพราะเขาเป็นคนหนึ่งที่สัมผัสกับนักลงทุนต่างประเทศระดับโลกมากหน้าหลายตัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเสร็จสิ้นจากงาน "ไทยแลนด์โฟกัส" งานขายโครงการลงทุนหรือขายฝันของรัฐบาล เขาย้ำว่า "ผมยังไม่เจอใครที่พูดในทางที่ดีขึ้นว่า เขาฟังแล้วมีความมั่นใจ มีแต่เจอในทางตรงข้าม เขาบอกว่าไปที่อื่นดีกว่า เช่น เกาหลี ผมถามว่าเกาหลีก็แย่ไม่ใช่หรือ เขาบอกว่าบรรยากาศตอนนี้ไทยไม่ต่างจากเกาหลี"
"การชี้แจงไม่ว่าเรื่องอะไรเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล อาทิ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การขายพันธบัตรรัฐบาล หรืออะไรก็แล้วแต่ ประเด็นที่ชี้แจงต้องแม่นชัดเจน หากไม่ชัดเจนอย่าชี้แจงดีกว่า"
"คุณปิยะสวัสดิ์ มองทุกอย่างในแง่ลบเกินไปหรือไม่" หากไม่ตั้งคำถามนี้แทนคนของรัฐบาล เราอาจจะไม่ได้รับฟังคำตอบนี้
"ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอมา เพียงแต่ตอนนี้มองค่อนข้างลบ อย่างราคาน้ำมันผมมองว่าจะลงเพียงแต่ไม่แน่ใจว่าจะลงเมื่อไหร่เท่านั้นเอง ไม่เชื่อว่าจะขึ้นไป 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะระดับราคาที่เกินกว่า 40 ดอลลาร์จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพลังงานทดแทนและมีการประหยัด"
เป็นคำตอบที่บ่งบอกว่า ยังมีแสงสว่างที่ปลายถ้ำ เพียงแต่รัฐบาลต้องรู้จักบริหารจัดการ ท่ามกลางปัจจัยลบที่แข่งแกร่งอย่างยิ่ง
"สาเหตุที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวและขยายตัวเร็วช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่จริงแล้วมาจากเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก และไม่ใช่ไทยประเทศเดียว ประเทศอื่นๆ ในเอเชียขยายตัวสูงเหมือนกัน เป็นการขยายตัวแทบทุกภูมิภาคของโลก ฉะนั้น เมืองไทยเศรษฐกิจดีขึ้น ไม่ได้แปลกกว่าคนอื่น"
เป็นคำวิพากษ์ต่อผลงานของรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร จากคนระดับประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทยชื่อ นายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ แล้วยิ่งการันตีความเผ็ดร้อน
บลจ.กสิกรไทยถือได้ว่า เป็น บลจ. ที่บริหารกองทุนที่ใหญ่ระดับต้นของเมืองไทย อาชีพหลักบริหารกองทุนประเภทต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขายหน่วยลงทุนให้กับนักลงทุนรวมทั้งเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับบริษัทต่างๆ และกองทุนส่วนบุคคล ฉะนั้น ที่นี่จึงเป็นแหล่งดูดซับข้อมูลจากทั่วทุกสารทิศ
"การส่งออกที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ไม่ได้มาจากการปรับตัวของประสิทธิภาพในการผลิตการปรับประสิทธิภาพอาจจะมีบ้างแต่ไม่มากเท่าไหร่"
เป็นอีกประโยคหนึ่งที่เหมือนบอกเป็นนัยว่า รัฐบาลทักษิณนั้นมากับ "ดวง" มากกว่า "ฝีมือ"
"หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (ปี 2540) เราลดการลงทุนเยอะ กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมเหลือ ไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ไฟฟ้า ระบบธนาคารมีสภาพคล่องเยอะ ดอกเบี้ยต่ำ เพราะฉะนั้น การนำเข้าสินค้าทุนลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และรัฐบาลกระตุ้นให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจขายตัวเร็วขึ้น"
"ครั้นมาถึงจุดที่จะต้องลงทุนใหม่ มาเจอภาวะราคาน้ำมันแพง ทำให้ดุลการค้าขาดดุล ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลอย่างรวดเร็ว จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมืองไทยจะกลับมาขาดดุล ปีนี้เป็นปีแรกหลังวิกฤตเศรษฐกิจประเทศในเอเชียยกเว้นจีน การค้าไม่เกินดุลอีกแล้ว ใกล้ๆ จะสมดุลทั้งที่ก่อนหน้านี้เกินดุลมาตลอด เนื่องจากที่ผ่านมาเราไม่ได้ปรับประสิทธิภาพการผลิต ไม่ได้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอลง น้ำมันราคาแพง ปัญหาจะกลับมาใหม่"
คำว่า "ปัญหาจะกลับมาใหม่" ในความหมายของเขาคือ การส่งสัญญาณถึงรัฐบาลทักษิณที่กำลังจะเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็น ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท และดอกเบี้ย ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในแสวงหาเงินตราต่างประเทศของเมืองไทย
แล้วอะไรคืออาการไข้ที่จะบ่งเป็นรูปธรรมว่า ปัญหาจะกลับมาใหม่
"ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลเป็นอาการที่ไม่ดีแล้ว"
หากยึดถือตามคำแถลงของแบงก์ชาติ เท่ากับเมืองไทยเริ่มเจ็บป่วยมาแล้วหลายเดือน
ภูมิหลังของนายปิยะสวัสดิ์ หลายคนรับรู้ว่าเขาเป็นผู้ชำนาญที่รู้เรื่อง "น้ำมัน" ดีคนหนึ่งของเมืองไทย แต่เนื้อแท้แล้วนายปิยะสวัสดิ์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ให้การยอมรับและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสม่ำเสมอ
เขาจบปริญญาโทและเอกทางเศรษฐศาสตร์จาก London School of Economics แล้วกลับมาทำงานที่สภาพัฒน์ยุค ดร.เสนาะ อูนากูล เป็นเลขาธิการสภาพัฒน์ เป็นหนึ่งในทีมงานของรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่ปลดราคาน้ำมันออกจากการเมืองโดยใช้นโยบายลอยตัวราคาน้ำมัน จากนั้นมาเป็นเลขาธิการสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก่อนที่จะถูกปลดออกจากตำแหน่งเลขาธิการสำนักนโยบายพลังงานแห่งชาติ
นายปิยะสวัสดิ์ กล่าวอีกว่า พฤติกรรมของเรายังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เรามีการออมที่ไม่เพียงพอ หากเราจะลงทุนเยอะเราต้องออมเยอะด้วย ไม่งั้นจะมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ผ่านเราเกินดุลไม่ใช่เพราะออมเยอะ แต่เราลงทุนน้อยต่างหาก สัดส่วนการออมไทยเทียบจีดีพีลดลงมาก อาจจะเพราะนโยบายรัฐ อีกส่วนเพราะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ประชาชนกู้เงินมาใช้จ่าย แต่ออมเงินน้อยลง
ทัศนะเรื่องเงินออมของนายปิยะสวัสดิ์ สอดคล้องกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติอย่างยิ่ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร บอกว่า ตอนนี้สัดส่วนการออมภาคครัวเรือนเทียบกับจีดีพี เหลือ 4% ขณะที่อดีตที่ผ่านมานั้นมีสัดส่วนสูงถึง 10% ตอนนี้เขากำลังทำแผนเพื่อเพิ่มสัดส่วนการออมภาคครัวเรือน รวมทั้งแผนรณรงค์ให้บริษัทเอกชนที่มีเงินออมเยอะนำเงินกลับมาลงทุนใหม่
หนึ่งในแผนนั้นคือ การปรับนโยบายภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามแนวทางใหม่เกี่ยวกับทฤษฎีการเก็บภาษีของหลายๆ ประเทศ
ต่อนโยบายมงฟอร์ต และแนวทางการบริหารเศรษฐกิจตามทฤษฎีรักษาโรคเบาหวานของนายกฯ ทักษิณนั้น ประธานกรรมการ บลจ.กสิกรไทย กล่าวว่า นโยบายที่ดีขึ้นคือ เลิกอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล เหลือแต่เรื่องราคาแก๊สหุงต้มกับค่าไฟฟ้าที่ยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แต่นโยบายบางเรื่องที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นหากไม่มากเกินยังพอไปไหวและควรเลือกวิธีกระตุ้นให้เหมาะสม
"การลงทุน (สาธารณูปโภค) ควรเน้นเรื่องที่เกิดปัญหาขาดแคลนและเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แล้วต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพ ให้เกิดการแข่งขันเพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุด บางโครงการในเมกะโปรเจ็คต์ 1.7 ล้านล้านบาท หากไม่ชัดเจนควรยกเลิก"
"อะไรก็ตามที่กระตุ้นการบริโภคควรกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะปัจจัยบวกหายไปแล้วมีแต่ปัจจัยลบเต็มไปหมด" เป็นคำเตือนระดับประธานที่มีถึงรัฐบาล เพราะเขาเป็นคนหนึ่งที่สัมผัสกับนักลงทุนต่างประเทศระดับโลกมากหน้าหลายตัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเสร็จสิ้นจากงาน "ไทยแลนด์โฟกัส" งานขายโครงการลงทุนหรือขายฝันของรัฐบาล เขาย้ำว่า "ผมยังไม่เจอใครที่พูดในทางที่ดีขึ้นว่า เขาฟังแล้วมีความมั่นใจ มีแต่เจอในทางตรงข้าม เขาบอกว่าไปที่อื่นดีกว่า เช่น เกาหลี ผมถามว่าเกาหลีก็แย่ไม่ใช่หรือ เขาบอกว่าบรรยากาศตอนนี้ไทยไม่ต่างจากเกาหลี"
"การชี้แจงไม่ว่าเรื่องอะไรเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล อาทิ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การขายพันธบัตรรัฐบาล หรืออะไรก็แล้วแต่ ประเด็นที่ชี้แจงต้องแม่นชัดเจน หากไม่ชัดเจนอย่าชี้แจงดีกว่า"
"คุณปิยะสวัสดิ์ มองทุกอย่างในแง่ลบเกินไปหรือไม่" หากไม่ตั้งคำถามนี้แทนคนของรัฐบาล เราอาจจะไม่ได้รับฟังคำตอบนี้
"ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอมา เพียงแต่ตอนนี้มองค่อนข้างลบ อย่างราคาน้ำมันผมมองว่าจะลงเพียงแต่ไม่แน่ใจว่าจะลงเมื่อไหร่เท่านั้นเอง ไม่เชื่อว่าจะขึ้นไป 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะระดับราคาที่เกินกว่า 40 ดอลลาร์จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพลังงานทดแทนและมีการประหยัด"
เป็นคำตอบที่บ่งบอกว่า ยังมีแสงสว่างที่ปลายถ้ำ เพียงแต่รัฐบาลต้องรู้จักบริหารจัดการ ท่ามกลางปัจจัยลบที่แข่งแกร่งอย่างยิ่ง
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
ไร้ฝีมือ มากับ"ดวง"
โพสต์ที่ 2
ถ้าว่าส่วนที่ดีเกิดจากดวงดี แล้วสิ่งที่ไม่ดีว่าเขาจัดการแย่ ผมว่ามันก็ไม่ยุติธรรม
มีหลายอย่างที่เขาทำดีก็ต้องว่าดี มีหลายอย่างที่เขาทำไม่ดีผมไม่ชอบก็เยอะ
มีหลายอย่างที่เขาก็มีดวงดีส่งเสริม แต่ก็หลายอย่างที่1-2ปีมานี้ดวงประเทศไทยเราไม่ค่อยดีจริงๆ
มีหลายอย่างที่เขาทำดีก็ต้องว่าดี มีหลายอย่างที่เขาทำไม่ดีผมไม่ชอบก็เยอะ
มีหลายอย่างที่เขาก็มีดวงดีส่งเสริม แต่ก็หลายอย่างที่1-2ปีมานี้ดวงประเทศไทยเราไม่ค่อยดีจริงๆ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
ไร้ฝีมือ มากับ"ดวง"
โพสต์ที่ 4
สร้างภาพสวย หลอกให้คนเชื่อมั่น แจกเงินชั่วคราว กระตุ้นให้รากหญ้าจับจ่ายเคยมือ แล้วอัดต่อด้วยดอกเบี้ยต่ำ ก็นิสัยเสียแล้ว จะแก้ให้รักการออมได้ไง
เมกะโปรเจค์ สร้างภาพสวยหรู หวังดึงเงินเข้าได้เร็วๆ แต่ฝรั่งไม่โง่ เสียดายเป็นรัฐบาลทีมีความมั่นคง น่าจะทำเรื่องยากๆ ที่เป็นพื้นฐาน แบบ ปรับโครงสร้างราชการ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้หลากหลาย ให้มีเทคโนโลยี่เพิ่ม ให้มีความเข้มแข็งเชิงเปรียบเทียบเพิ่ม อย่ามัวทำนโยบายประชานิยมหวังผลสั้นอยู่อีกเลย
เมกะโปรเจค์ สร้างภาพสวยหรู หวังดึงเงินเข้าได้เร็วๆ แต่ฝรั่งไม่โง่ เสียดายเป็นรัฐบาลทีมีความมั่นคง น่าจะทำเรื่องยากๆ ที่เป็นพื้นฐาน แบบ ปรับโครงสร้างราชการ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้หลากหลาย ให้มีเทคโนโลยี่เพิ่ม ให้มีความเข้มแข็งเชิงเปรียบเทียบเพิ่ม อย่ามัวทำนโยบายประชานิยมหวังผลสั้นอยู่อีกเลย
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ไร้ฝีมือ มากับ"ดวง"
โพสต์ที่ 5
อ่านความเห็นของบุคคลอื่นประกอบด้วยครับ จะได้มีความเห็นรอบด้าน ไม่มีอคติ
ดร.โอฬาร ไชยประวัติ มั่นใจปัญหาแค่ "ระยะสั้น" เชื่อการบริหารจัดการ "เอาอยู่"
ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคมายาวนาน และเป็นผู้หนึ่งที่มักเป็นผู้คาดการณ์/ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจว่าจะไปในทิศทางใด ดร.โอฬารบอกว่า "ในแง่การบริหารจัดการ อย่าหลงประเด็น ตามประเด็น มีเหตุมีผล ตามข้อมูลสนับสนุน ไม่มีใครวิเคราะห์ถูก 100% คุณก็ต้องดูประวัติของคนคนนั้นว่าที่ผ่านมาเขาวิเคราะห์ถูกกี่เปอร์เซ็นต์ สื่อต้องเป็นคนประเมิน และคุณก็ได้ยินผมมา 30 ปีแล้ว คุณก็วิเคราะห์เอาเองว่าผมถูกหรือผิด ฟังเหตุผลที่ผมเล่าแล้วมีความเป็นไปได้ไหม แต่เวลาจะเป็นเครื่องบอกว่าถูกหรือผิดกี่เปอร์เซ็นต์"
ดร.โอฬารตอบคำถามว่า ทำไมความเชื่อมั่นของประชาชน นักลงทุนลดลง ว่าความเชื่อ มั่นลดลงคงจะเชื่อมโยงเรื่องที่เกิดขึ้นในระยะสั้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และคงจะต้องมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาและความรุนแรงให้น้อยลงหรือให้หายไป ให้เข้าสู่ภาวะปกติภายใน 6 เดือนที่เหลือของปีนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา ดร. โอฬารบอกว่า "เป็นเรื่องระยะสั้นทั้งหมดในความเห็นของผม และจะต้องมีการจัดการกับมันให้ได้ภายใน 6 เดือนหลังปีนี้"
มั่นใจปัญหาที่รุมเร้า แค่ "ระยะสั้น"
ปัญหาระยะสั้นที่ว่าก็คือ 1.เรื่องสึนามิ ซึ่งกระทบกับการท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลที่จำเป็นต้องบูรณะ ซ่อมแซม เพื่อนำนักท่องเที่ยวกลับมาสู่สถานที่ท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากๆ อีก ครั้งหนึ่ง
2.ภาวะอากาศแห้งแล้ง ที่เกิดขึ้นในปลายปีที่แล้วช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม จนถึงตอนนี้ประมาณ 9 เดือนแล้วภาวะแห้งแล้งต่อภาคเกษตร การตกของฝนเริ่มปกติ แต่ผลผลิตเกษตร เช่น ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง อ้อย ทั้ง 3 ตัวนี้ถูกกระทบไปแล้วคือ ปริมาณผลผลิตลดลง กระทบการส่งออกสินค้าทั้ง 3 ตัวในปี 2548 ลดลง แม้ราคาของสินค้าทั้ง 3 จะดีขึ้นก็ตาม
แต่แนวโน้มของน้ำที่จะมาช่วยภาคเกษตรจนถึงวันนี้เป็นปกติ ไม่แล้งจนเกินไป ขณะเดียวกันผลกระทบที่น้ำในเขื่อนมีน้อยและไม่ได้เสริมไว้ ที่กระทบต่อการใช้น้ำอุตสาหกรรม ซึ่งไม่ใช่กระทบทั้งประเทศ คำว่าน้ำอุตสาหกรรมคือ ในบริเวณระยอง นิคมมาบตาพุด ซึ่งในมาบตาพุดมีโรงงานหลายประเภท โรงงานที่ผลิตของที่ไม่ใช่น้ำก็มีเยอะ เช่น โรงงานผลิตยาง โรงงานประกอบรถยนต์ แต่มีโรงงานปิโตรเคมี 10 กว่าโรง กระทบบางโรงในด้านการผลิต บางโรงก็มีเรือขนน้ำมาใช้ คงจะช่วยทุเลาความรุนแรงของน้ำขาดแคลนของโรงงานปิโตรเคมีคอลจนกว่าฝนจะตกตามปกติในหน้าฝน ซึ่งอันนั้นเป็นเรื่องระยะสั้นมากไม่ได้กระทบโรงงานอุตสาหกรรมทั้งประเทศ และแม้แต่ในมาบตาพุดก็ไม่ได้กระทบทุกโรงงาน
อันนี้เป็นบทเรียนว่าจะต้องบริหารการจัดการน้ำในภาคตะวันออก เพื่อการอุตสาหกรรม เพื่อเกษตร และอื่นๆ เป็นแผนบูรณาการและต้องมีมาตรการในการเสริมสร้าง เช่น ต่อท่อจากเขื่อนที่มีน้ำเยอะๆ ซึ่งระยะทางในภาคตะวันออกไม่เกิน 200 กิโลเมตร อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ในอีก 1 ปีข้างหน้า ขณะนี้เข้าใจว่ามีการยกร่างแผนการแก้ไขในปีต่อไป เช่น การขุดน้ำบาดาล การต่อท่อจากแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลเยอะๆ ใน จ.ตราดก็มีเยอะ เพียงแต่ไม่มีท่อ การวางท่อจึงไม่ใช่เรื่องยากแค่ 200 กิโลเมตรทำปีหนึ่งก็เสร็จ
นี่เป็นการแก้ไขปัญหาในปีต่อไป เป็นเรื่องการบริหารจัดการ รวมทั้งปัญหาการไม่มีระบบที่จะคาดคะเนการขาดแคลน และไม่มีเครื่องมือที่จะผันน้ำจากแหล่งอื่นมาใช้ได้ทันการ เพราะไม่คาดว่าความแล้งจะติดต่อกัน 2-3 ปี หากมีระบบเสริมก็น่าจะดูแลเรื่องอุตสาหกรรมได้เพียงพอ ซึ่งกระทบเฉพาะโรงงานปิโตรเคมีคอลพร้อมกับยืนยันว่า "เป็นปัญหาระยะสั้นที่มีความแห้งแล้งติดต่อกัน 2-3 ปี"
3.ปัญหาอีกเรื่องที่อาจจะเห็นด้วยหรือไม่ ไม่ทราบ แต่ผมคิดว่าน่าจะเป็นระยะสั้น แต่เวลาจะเป็นเครื่องวัดว่าประเมินถูกหรือไม่ คือการขาด แคลนน้ำมันและราคาน้ำมันแพง หากวิเคราะห์ในระดับโลกทำไมราคาน้ำมันแพงในช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา กล่าวคือ เศรษฐกิจในประเทศผู้ที่ไม่เคยใช้น้ำมันมากนัก มีการใช้น้ำมันสูงมาก ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียโดยเฉพาะจีนที่เติบโต 9.5% ต่อปี และอินเดียเติบโตในอัตราสูง ความต้องการน้ำมันดิบจากแหล่งต่างๆ ของโลกในปี 2547 ขยายตัวปริมาณ 30% ทำให้เกิดการคาดคะเนว่าจะขยายตัวสูงมาก มีคนประมาณการไว้ว่า ความต้องการน้ำมันดิบของโลกที่เพิ่มขึ้นในปีที่แล้ว ปกติจะต้องการประมาณ 80 ล้านบาร์เรล/วัน ปีที่แล้วเพิ่มขึ้นอีกวันละ 3 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งใน 83 ล้านบาร์เรล ประมาณ 44% คือประมาณ 13-14 ล้านบาร์เรลมาจาก 5 ประเทศในเอเชียคือ จีน อินเดีย เกาหลี ไต้หวัน และไทย
5 ประเทศนี้มีความต้องการน้ำมันดิบ 44% ของน้ำมันทั้งหมด และใน 3-4 เดือนแรกของปีนี้ความต้องการดังกล่าวยังเพิ่มขึ้นไปอีกเล็กน้อย เป็น 83.5 ล้านบาร์เรล/วัน แต่มีเทิร์นนิ่งพอยต์เกิดขึ้น ดร.แอนดี้ ซี แมเนจิ้งไดเร็กเตอร์ของมอร์แกน สแตนเลย์เป็นคนจีน เคยมาพูดเมืองไทยหลายครั้ง บอกว่าปีนี้ความต้องการน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นอีก 3.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน มันจริงแค่ 5 เดือนแรก ในเดือนมิถุนายนเขารายงานว่า ความต้องการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนลดลงประมาณ 3% ประเทศเกาหลี ไต้หวัน อินเดีย ไทย ลดลงประมาณ 1%
สำหรับประเทศไทยตั้งเป้าหมายนำเข้าน้ำมันดิบเข้ามาไม่เกิน 850,000 บาร์เรลต่อวัน เรานำเข้าน้ำมัน 1% ของตลาดโลก (83.5 ล้านบาร์เรล/วัน) ตัวเลขนำเข้าเริ่มลดลง สาเหตุหนึ่งเพราะการปรับราคาน้ำมันขึ้นให้สะท้อนความจริงที่มีส่วนช่วยให้น้ำมันที่รั่วไหลไปประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาวที่ขายดีเซลลิตรละ 26 บาท ที่เขมรราคาลิตรละ 28 บาท ขณะที่ก่อนปรับลอยตัวดีเซลของเราลิตรละไม่ถึง 20 บาท น้ำมันไหลออกไปอย่างไม่เป็นทางการแถวชายแดน เพราะราคาต่างกันเยอะ การปรับราคาของเราขึ้น ไม่กระทบราคาน้ำมันบ้านเขา ทั้งนี้เพราะต้นทุนดีเซลของเราต่ำจึงไหลเข้าไป ตอนนี้ปรับขึ้นเท่าบ้านเขา เขาก็ไปซื้อจากแหล่งปกติใช้
เราจึงแน่ใจว่า 850,000 บาร์เรล/วันจะเพียงพอประคับประคองให้เศรษฐกิจเราเติบโตในอัตราพอสมควร ไม่ต้องลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อไม่ให้มีการนำเข้าน้ำมันเกินกว่า 850,000 บาร์เรล/วัน เพราะราคาขึ้นไปอยู่คนจะประหยัดและลดการรั่วไหล
เชื่อนำเข้าน้ำมันลดแน่
ครั้งนี้เป็นการบริหารจัดการเรื่องราคาน้ำมันใน 6 เดือน ตอนนี้เรามีการติดตามตัวเลขการนำเข้าน้ำมันรายวัน เป็นการบริหารจัดการเป็นรายวัน ต้องไม่ให้เกิน 850,000 บาร์เรล/วัน หรือคิดเป็นเงิน 50 ล้านเหรียญ/วัน หรือ 1,500 ล้านเหรียญ/เดือน อันนี้คือการบริหารจัดการนำเข้าน้ำมันเพื่อให้การบริหารจัดการเศรษฐกิจให้เติบโตในอัตราที่ดีพอสมควร เมื่อปรับราคาลอยตัวแล้วจะต้องใช้อย่างประหยัด เพราะราคาแพงและไม่ให้รั่วไหลไปประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่ง 6 เดือนที่ผ่านมาไม่ได้บริหารจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสม แต่ครึ่งหลังของปีจะ "บริหารจัดการ"
4.สถานการณ์เหล็ก ในเดือนมิถุนายน 2548 ราคาตก 25% จนถึงวันนี้ยังไม่ฟื้น เพราะฉะนั้นการนำเข้าเหล็กมากในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมาก็น่าจะเริ่มระบายออก ก็ไม่น่าจะนำเข้าเพิ่ม นี่ก็เป็นการบริหารจัดการอีกตัวหนึ่ง ทางกระทรวงพาณิชย์ได้มีการพูดคุยกับผู้นำเข้าเหล็กแล้ว และปัจจุบันราคาก็ลดลงด้วย ก็คาดว่าครึ่งปีหลังไม่คิดว่าเพิ่มมากเหมือนครึ่งปีแรก ส่วนทองคำก็ไม่มีปัญหาแล้วว่าจะนำเข้าเท่าไร
นอกจากนี้ มีรายการนำเข้าอย่างอื่นคือ เครื่องบิน 8 ลำของการบินไทย ลำละ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ ทยอยเข้ามาเดือนละ 1 ลำหลังจากนี้ไป
โดย ดร.โอฬารเน้นว่านี่คือการลงทุน ในที่สุดจะได้เงินคืนหมด
ที่เหลือเป็นการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อการลงทุนต่างๆ ก็เติบโตในอัตราประมาณ 20% ใกล้เคียงกับปีที่แล้วซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่ใช่เมกะโปรเจ็กต์
ชี้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ไม่ใช่ผลเมกะโปรเจ็กต์
ดังนั้น โดยสรุปการขาดดุลการค้า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดใน 6 เดือนแรกมาจากน้ำมัน ทั้งปริมาณและราคา มาจากเหล็ก ทองคำที่เก็งราคา ส่วนสินค้าทุนเข้ามาปกติตามแผนการลงทุนที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเสริมสร้างศักยภาพการผลิต เป็นการเพิ่มขนาดของถังน้ำคือ supply creation มันต้องมีการลงทุนถาวร รวมทั้งเครื่องบิน หรือระบบขนส่ง และอื่นๆ ซึ่งปี 2548 ภายใต้เมกะโปรเจ็กต์ยังไม่ได้จ่ายเลยสักสตางค์แดงเดียว
เพราะฉะนั้น การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดใน 6 เดือนแรกไม่ได้มาจากเมกะโปรเจ็กต์ แต่เป็นการลงทุนต่อเนื่องมาจากของเก่า หากเป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะมีผลกระทบในปี 2549 เป็นต้นไป เพราะฉะนั้นอย่าโยงการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกับเมกะโปรเจ็กต์...ไทม์เฟรมมันคนละช่วง
และการขาดดุลบัญชีในช่วง 6 เดือนแรกเป็นระยะสั้น มาจากเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ในครึ่งปีหลังบางอย่างได้มีการบริหารจัดการ เช่น เรื่องน้ำมัน บางอย่างตลาดก็ปรับตัวของมันเอง เช่น เหล็ก บางอย่างก็ต้องหาอย่างอื่นมาเสริมคือ เรื่องน้ำในมาบตาพุด และมีธรรมชาติช่วยบ้างอย่างการปลูกข้าว
นี่เป็นด้านนำเข้า ด้านซัพพลายยอดส่งออกเพิ่มแน่
บริษัทแม่ข้ามชาติสั่งเพียบ
ส่วนด้านดีมานด์ต่อเนื่องจากฝนแล้ง มีผลผลิตข้าว อ้อย มันสำปะหลังน้อยลง การส่งออกปี 2548 ซึ่งเป็นผลผลิตที่ออกในปลายปี 2547 ปริมาณส่งออกลดลง แต่ราคาอาจจะดีขึ้น เราผลิตได้ไม่พอเพราะฝนแล้งปีที่แล้ว
การส่งออกด้านอื่นในสินค้าที่มีความต้องการน้อย หรือมีคู่แข่งที่มีค่าเงินอ่อนผิดธรรมชาติ ทำให้เราขายของได้น้อย กลุ่มนี้มีการแข่งขันจากคู่แข่งที่มีต้นทุนต่ำกว่าเราเยอะ เช่น จีน เขาก็ถูกบ่นทั่วโลกให้ปรับอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นมาสมเหตุสมผล ก็ทำให้สินค้าที่เราใช้แรงงานมาก เราผลิตของโหลขาย เราสู้เขาไม่ได้ สินค้าเหล่านี้มีปัญหา แต่ทางกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินมาตรการเพื่อเพิ่มปริมาณสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากที่ปรับตัวไม่ทันให้ทันเร็วขึ้น ส่วนสินค้าบางอย่างที่ผู้ส่งออกเป็นต่างชาติที่ผลิตขายในเน็ตเวิร์กของเขา เช่น รถยนต์ ดิสก์ไดรฟ์ อันนี้เราไปคุยกับผู้ส่งออก ของเขาดีมากเพราะมีออร์เดอร์มาจากบริษัทแม่ของเขา ผู้ประกอบการเป็นบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเป็นแหล่งการเพิ่มของปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไฮเทค คาดว่าจะเพิ่มในไตรมาส 3 ทำให้ความสามารถในการส่งออกเป็นบวก
ส่วนสินค้าที่แข่งขันไม่ได้ต้องปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มการแข่งขัน ซึ่งค่าเงินที่ไม่แข็งจนเกินไปจะช่วยอุตสาหกรรมประเภทนี้เพราะว่าประเทศคู่แข่งหลักของเรามีค่าเงินที่อ่อนจนเกินไป เราจะช่วยผู้ส่งออกประเภทนี้บ้างหากค่าเงินบาทเราไม่แข็งจนเกินไป
มั่นใจครึ่งปีหลังส่งออกโต 20%
ทั้งนี้ เพื่อให้การส่งออกครึ่งหลังของปีเติบโตเทียบกับครึ่งหลังของปีที่แล้วในระดับ 20% ผมจะตีความหมายไม่ใช่ทั้งปี 20% นะ ผมตีแค่ครึ่งหลังของปี ครึ่งแรกของปีจบไปแล้วโตแค่ 13-14% ผมจะไม่พูดเรื่องที่จบไปแล้ว แต่พูดถึงอนาคต 6 เดือนข้างหน้าถ้าการส่งออกสินค้าเราได้ 20% ก็เป็นทิศทางที่ดีสำหรับการส่งออกไทย
กลุ่มที่ critical มากคือ รายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผลมาจากสึนามิที่รู้สึกไม่เชื่อในความปลอดภัยของประเทศไทย แต่ผลกระทบหลักจากการท่องเที่ยวมาจากคนเอเชียมาเที่ยวน้อยลง ยุโรปไม่ได้มาน้อยลง ดังนั้นต้องโปรโมตให้คนไทยและคนที่ไม่กลัวผีที่อยากจะได้ของดีราคาถูกให้มาเที่ยวเยอะๆ ญี่ปุ่นยังเพิ่มขึ้น แต่เอเชียบางประเทศกลัวผี ก็คาดว่าในครึ่งปีหลังน่าจะมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น แม้ทั้งปีอาจจะไม่ได้ 13.5 ล้านคน เพราะ 6 เดือนแรกตกไปเยอะ
เชื่อมั่นการบริหารจัดการ "เอาอยู่"
โดยสรุปว่าหากมีการบริหารจัดการนำเข้า การบริหารจัดการเรื่องส่งออก การบริหารจัดการเรื่องท่องเที่ยว ก็น่าจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้อาจจะขาดดุลเล็กน้อย หรือเกินดุลได้ แม้ครึ่งปีแรกจะขาดดุลไปแล้ว 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
แต่ถ้าแนวโน้มเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น หากการบริหารจัดการมีผลพอสมควร ความเชื่อมั่นว่าบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลน้อยลงและจะสมดุลในที่สุด ความเชื่อมั่นก็จะกลับคืนมา ซึ่งคุณต้องติดตามดู ผมเพียงแต่เล่าเหตุและผลว่าทำไมความเชื่อมั่นหายไป มันมีเหตุ และเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของเศรษฐกิจ และเรื่องน้ำ ก็จะทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลง
ส่วนมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเมื่อ 12 กรกฎาคม เป็นการเพิ่มรายได้ให้ประชาชน รวมทั้งเพิ่มรายได้ให้พนักงานที่บริษัทจ่ายให้เพิ่มขึ้นและนำมาหักภาษีได้ ก็เพื่อให้มี productivity ดีขึ้น ก็ต้องช่วยกันปรับปรุงประสิทธิภาพ
นโยบายลงทุน 3-5 ปีต้องทำ
ชี้ต้องขยาย "ถังน้ำ"
การชดเชยรายได้โดยการขึ้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ค่าครองชีพ เรียกว่านโยบาย income compensation policy เติมให้คนมีรายได้ไม่ถูกกระทบมากนัก แต่ต้องปรับตัวด้วยการประหยัด อาทิ เรื่องราคาน้ำมัน และเราไม่เลิกการลงทุนถาวรที่จะสร้างขยายถังน้ำให้ใหญ่ขึ้นและมีคุณภาพเหล็กที่แข็งแกร่ง ระเบิดตกไม่แตก ต้องทำต่อไป อันนั้นหยุดไม่ได้เพราะเป็นนโยบายระยะกลาง 3-5 ปี
ส่วนเงินเฟ้อก็ต้องขึ้น นั่นเป็นนโยบายที่มาของการขึ้นเงินเดือน ขึ้นค่าจ้าง อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นมาจาก cost push ไม่ใช่ demand pull ปัญหาเงินเมืองไทยมีแต่ cost push ซึ่งมาจาก 1.ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นมา 2.ลดค่าเงินบาท 3.ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจากฝนแล้ง
ซึ่งแอนดี้ ซี บอกว่า ใครที่ว่าราคาน้ำมันจะขึ้นไป 80-90 เหรียญต่อบาร์เรลในปีนี้ โดยอ้างว่าการนำเข้าจากจีน อินเดียจะเพิ่มขึ้น อาจจะไม่เป็นไปตามที่อ้าง และมีสถาบัน IEA ที่ลอนดอนออกมาวิเคราะห์ว่า ประเทศในเอเชียจะสั่งซื้อน้ำมันดิบขึ้นเหมือนปีที่แล้วจะ "ไม่จริง"
เมื่อไรก็ตามที่ข้อมูลเริ่มประจักษ์ จากความต้องการในเอเชียเริ่มชัดเจนมากขึ้น เมื่อนั้นกระแสจะเปลี่ยน เมื่อนั้นพวกที่ซื้อกระดาษน้ำมันล่วงหน้าเขาจะต้องหากินโดยการปั่นลง คนส่วนใหญ่ในโลกตระหนักว่าดีมานด์น้ำมันไม่ได้ขยายอย่างที่ขยายเมื่อปีที่แล้ว และซัพพลายดูเหมือนจะออกมามากขึ้นๆ เมื่อนั้นจะกลับด้าน ผมไม่รู้ว่ามันเป็นวันไหน
อย่าตระหนกเรื่องขาดดุล
ณ วินาทีนี้ประเทศไทยไม่ได้มีการเกินดุลเหมือนเดิม และค่าเงินบาทไม่แข็งเหมือนจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ เพราะเราไม่ได้มีการเกินดุลมากเหมือน 6 เดือนที่ผ่านมา เมื่อไรที่เราสะวิงกลับมา (กลับมาเกินดุล) เราก็เข้ากลุ่มเดียวกับเขาได้ เราเชื่อว่าเป็นเรื่องระยะสั้นที่เกิดจาก 4 ปัจจัยที่พูดมา
ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีจริง คนที่ตระหนกมากหากเข้าใจ มีสมุทัย และมีนิโรธ และปฏิบัติให้เกิดมรรคผล หากไม่รู้สาเหตุอยู่ในห้องมืดแล้วอาการหนาว หากมีใครตะโกนว่าไฟฟ้าก็ต้องรีบวิ่งออก แต่ในห้องเดียวกันอีกคนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น รู้ว่ามีคนเปิดแอร์ลดอุณหภูมิชั่วคราว แม้คนตะโกนไฟฟ้าก็ไม่วิ่งออก ดังนั้นหากไม่รู้สาเหตุของความทุกข์ ก็ไม่รู้ทางดับทุกข์ ก็ไม่มีวิธีการดับทุกข์ ก็ต้องตกใจเป็นธรรมชาติ
ยันไม่ได้มองบวก
เมื่อถามว่ารัฐบาลมองบวกเกินไปหรือไม่... "ผมไม่ได้มองบวก ผมเล่าให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้น บางอย่างอาจจะมองผิด เดี๋ยวตัวเลขก็โผล่มาเองว่าถูกหรือผิด ถ้าผิดก็ต้องหาเหตุว่าที่เรานึกว่าเป็นสาเหตุอาจจะหลงไปหน่อยหนึ่ง สาเหตุที่แท้จริงคืออะไรก็หากันใหม่ นี่คือการบริหารจัดการธรรมดาๆ"
ในแง่การบริหารจัดการ อย่าหลงประเด็น ตามประเด็น มีเหตุมีผล ตามข้อมูลสนับสนุน ไม่มีใครวิเคราะห์ถูก 100% คุณก็ต้องดูประวัติของคนคนนั้นว่าที่ผ่านมาเขาวิเคราะห์ถูกกี่เปอร์เซ็นต์ สื่อต้องเป็นคนประเมิน และคุณก็ได้ยินผมมา 30 ปีแล้ว คุณก็วิเคราะห์เอาเองว่าผมถูกหรือผิด ฟังเหตุผลที่ผมเล่าแล้วมีความเป็นไปได้ไหม แต่เวลาจะเป็นเครื่องบอกว่าถูกหรือผิดกี่เปอร์เซ็นต์
วันนี้ปัจจัยเสี่ยงเกิดขึ้นแล้วและมีผลกระทบกับเราในทางลบ จะมีการปรับนโยบายแก้เกมอย่างไร
ดร.โอฬารมั่นใจว่ามาตรการของรัฐบาลเมื่อ 12 กรกฎาคม มีผลที่จะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลมากๆ มาขาดดุลน้อยลงเรื่อยๆ ในระยะเวลา 6-12 เดือนข้างหน้า และเมื่อดุลบัญชีเดินสะพัดดีขึ้นความมั่นใจก็จะค่อยๆ กลับมา
อย่างไรก็ตาม ให้รอดู 2-3 เดือนข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร จะถูกหรือไม่...
ถ้าจะอ่านครบถ้วนที่ http://www.matichon.co.th/prachachart/p ... tus=&show=
ดร.โอฬาร ไชยประวัติ มั่นใจปัญหาแค่ "ระยะสั้น" เชื่อการบริหารจัดการ "เอาอยู่"
ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคมายาวนาน และเป็นผู้หนึ่งที่มักเป็นผู้คาดการณ์/ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจว่าจะไปในทิศทางใด ดร.โอฬารบอกว่า "ในแง่การบริหารจัดการ อย่าหลงประเด็น ตามประเด็น มีเหตุมีผล ตามข้อมูลสนับสนุน ไม่มีใครวิเคราะห์ถูก 100% คุณก็ต้องดูประวัติของคนคนนั้นว่าที่ผ่านมาเขาวิเคราะห์ถูกกี่เปอร์เซ็นต์ สื่อต้องเป็นคนประเมิน และคุณก็ได้ยินผมมา 30 ปีแล้ว คุณก็วิเคราะห์เอาเองว่าผมถูกหรือผิด ฟังเหตุผลที่ผมเล่าแล้วมีความเป็นไปได้ไหม แต่เวลาจะเป็นเครื่องบอกว่าถูกหรือผิดกี่เปอร์เซ็นต์"
ดร.โอฬารตอบคำถามว่า ทำไมความเชื่อมั่นของประชาชน นักลงทุนลดลง ว่าความเชื่อ มั่นลดลงคงจะเชื่อมโยงเรื่องที่เกิดขึ้นในระยะสั้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และคงจะต้องมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาและความรุนแรงให้น้อยลงหรือให้หายไป ให้เข้าสู่ภาวะปกติภายใน 6 เดือนที่เหลือของปีนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา ดร. โอฬารบอกว่า "เป็นเรื่องระยะสั้นทั้งหมดในความเห็นของผม และจะต้องมีการจัดการกับมันให้ได้ภายใน 6 เดือนหลังปีนี้"
มั่นใจปัญหาที่รุมเร้า แค่ "ระยะสั้น"
ปัญหาระยะสั้นที่ว่าก็คือ 1.เรื่องสึนามิ ซึ่งกระทบกับการท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลที่จำเป็นต้องบูรณะ ซ่อมแซม เพื่อนำนักท่องเที่ยวกลับมาสู่สถานที่ท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากๆ อีก ครั้งหนึ่ง
2.ภาวะอากาศแห้งแล้ง ที่เกิดขึ้นในปลายปีที่แล้วช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม จนถึงตอนนี้ประมาณ 9 เดือนแล้วภาวะแห้งแล้งต่อภาคเกษตร การตกของฝนเริ่มปกติ แต่ผลผลิตเกษตร เช่น ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง อ้อย ทั้ง 3 ตัวนี้ถูกกระทบไปแล้วคือ ปริมาณผลผลิตลดลง กระทบการส่งออกสินค้าทั้ง 3 ตัวในปี 2548 ลดลง แม้ราคาของสินค้าทั้ง 3 จะดีขึ้นก็ตาม
แต่แนวโน้มของน้ำที่จะมาช่วยภาคเกษตรจนถึงวันนี้เป็นปกติ ไม่แล้งจนเกินไป ขณะเดียวกันผลกระทบที่น้ำในเขื่อนมีน้อยและไม่ได้เสริมไว้ ที่กระทบต่อการใช้น้ำอุตสาหกรรม ซึ่งไม่ใช่กระทบทั้งประเทศ คำว่าน้ำอุตสาหกรรมคือ ในบริเวณระยอง นิคมมาบตาพุด ซึ่งในมาบตาพุดมีโรงงานหลายประเภท โรงงานที่ผลิตของที่ไม่ใช่น้ำก็มีเยอะ เช่น โรงงานผลิตยาง โรงงานประกอบรถยนต์ แต่มีโรงงานปิโตรเคมี 10 กว่าโรง กระทบบางโรงในด้านการผลิต บางโรงก็มีเรือขนน้ำมาใช้ คงจะช่วยทุเลาความรุนแรงของน้ำขาดแคลนของโรงงานปิโตรเคมีคอลจนกว่าฝนจะตกตามปกติในหน้าฝน ซึ่งอันนั้นเป็นเรื่องระยะสั้นมากไม่ได้กระทบโรงงานอุตสาหกรรมทั้งประเทศ และแม้แต่ในมาบตาพุดก็ไม่ได้กระทบทุกโรงงาน
อันนี้เป็นบทเรียนว่าจะต้องบริหารการจัดการน้ำในภาคตะวันออก เพื่อการอุตสาหกรรม เพื่อเกษตร และอื่นๆ เป็นแผนบูรณาการและต้องมีมาตรการในการเสริมสร้าง เช่น ต่อท่อจากเขื่อนที่มีน้ำเยอะๆ ซึ่งระยะทางในภาคตะวันออกไม่เกิน 200 กิโลเมตร อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ในอีก 1 ปีข้างหน้า ขณะนี้เข้าใจว่ามีการยกร่างแผนการแก้ไขในปีต่อไป เช่น การขุดน้ำบาดาล การต่อท่อจากแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลเยอะๆ ใน จ.ตราดก็มีเยอะ เพียงแต่ไม่มีท่อ การวางท่อจึงไม่ใช่เรื่องยากแค่ 200 กิโลเมตรทำปีหนึ่งก็เสร็จ
นี่เป็นการแก้ไขปัญหาในปีต่อไป เป็นเรื่องการบริหารจัดการ รวมทั้งปัญหาการไม่มีระบบที่จะคาดคะเนการขาดแคลน และไม่มีเครื่องมือที่จะผันน้ำจากแหล่งอื่นมาใช้ได้ทันการ เพราะไม่คาดว่าความแล้งจะติดต่อกัน 2-3 ปี หากมีระบบเสริมก็น่าจะดูแลเรื่องอุตสาหกรรมได้เพียงพอ ซึ่งกระทบเฉพาะโรงงานปิโตรเคมีคอลพร้อมกับยืนยันว่า "เป็นปัญหาระยะสั้นที่มีความแห้งแล้งติดต่อกัน 2-3 ปี"
3.ปัญหาอีกเรื่องที่อาจจะเห็นด้วยหรือไม่ ไม่ทราบ แต่ผมคิดว่าน่าจะเป็นระยะสั้น แต่เวลาจะเป็นเครื่องวัดว่าประเมินถูกหรือไม่ คือการขาด แคลนน้ำมันและราคาน้ำมันแพง หากวิเคราะห์ในระดับโลกทำไมราคาน้ำมันแพงในช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา กล่าวคือ เศรษฐกิจในประเทศผู้ที่ไม่เคยใช้น้ำมันมากนัก มีการใช้น้ำมันสูงมาก ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียโดยเฉพาะจีนที่เติบโต 9.5% ต่อปี และอินเดียเติบโตในอัตราสูง ความต้องการน้ำมันดิบจากแหล่งต่างๆ ของโลกในปี 2547 ขยายตัวปริมาณ 30% ทำให้เกิดการคาดคะเนว่าจะขยายตัวสูงมาก มีคนประมาณการไว้ว่า ความต้องการน้ำมันดิบของโลกที่เพิ่มขึ้นในปีที่แล้ว ปกติจะต้องการประมาณ 80 ล้านบาร์เรล/วัน ปีที่แล้วเพิ่มขึ้นอีกวันละ 3 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งใน 83 ล้านบาร์เรล ประมาณ 44% คือประมาณ 13-14 ล้านบาร์เรลมาจาก 5 ประเทศในเอเชียคือ จีน อินเดีย เกาหลี ไต้หวัน และไทย
5 ประเทศนี้มีความต้องการน้ำมันดิบ 44% ของน้ำมันทั้งหมด และใน 3-4 เดือนแรกของปีนี้ความต้องการดังกล่าวยังเพิ่มขึ้นไปอีกเล็กน้อย เป็น 83.5 ล้านบาร์เรล/วัน แต่มีเทิร์นนิ่งพอยต์เกิดขึ้น ดร.แอนดี้ ซี แมเนจิ้งไดเร็กเตอร์ของมอร์แกน สแตนเลย์เป็นคนจีน เคยมาพูดเมืองไทยหลายครั้ง บอกว่าปีนี้ความต้องการน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นอีก 3.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน มันจริงแค่ 5 เดือนแรก ในเดือนมิถุนายนเขารายงานว่า ความต้องการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนลดลงประมาณ 3% ประเทศเกาหลี ไต้หวัน อินเดีย ไทย ลดลงประมาณ 1%
สำหรับประเทศไทยตั้งเป้าหมายนำเข้าน้ำมันดิบเข้ามาไม่เกิน 850,000 บาร์เรลต่อวัน เรานำเข้าน้ำมัน 1% ของตลาดโลก (83.5 ล้านบาร์เรล/วัน) ตัวเลขนำเข้าเริ่มลดลง สาเหตุหนึ่งเพราะการปรับราคาน้ำมันขึ้นให้สะท้อนความจริงที่มีส่วนช่วยให้น้ำมันที่รั่วไหลไปประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาวที่ขายดีเซลลิตรละ 26 บาท ที่เขมรราคาลิตรละ 28 บาท ขณะที่ก่อนปรับลอยตัวดีเซลของเราลิตรละไม่ถึง 20 บาท น้ำมันไหลออกไปอย่างไม่เป็นทางการแถวชายแดน เพราะราคาต่างกันเยอะ การปรับราคาของเราขึ้น ไม่กระทบราคาน้ำมันบ้านเขา ทั้งนี้เพราะต้นทุนดีเซลของเราต่ำจึงไหลเข้าไป ตอนนี้ปรับขึ้นเท่าบ้านเขา เขาก็ไปซื้อจากแหล่งปกติใช้
เราจึงแน่ใจว่า 850,000 บาร์เรล/วันจะเพียงพอประคับประคองให้เศรษฐกิจเราเติบโตในอัตราพอสมควร ไม่ต้องลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อไม่ให้มีการนำเข้าน้ำมันเกินกว่า 850,000 บาร์เรล/วัน เพราะราคาขึ้นไปอยู่คนจะประหยัดและลดการรั่วไหล
เชื่อนำเข้าน้ำมันลดแน่
ครั้งนี้เป็นการบริหารจัดการเรื่องราคาน้ำมันใน 6 เดือน ตอนนี้เรามีการติดตามตัวเลขการนำเข้าน้ำมันรายวัน เป็นการบริหารจัดการเป็นรายวัน ต้องไม่ให้เกิน 850,000 บาร์เรล/วัน หรือคิดเป็นเงิน 50 ล้านเหรียญ/วัน หรือ 1,500 ล้านเหรียญ/เดือน อันนี้คือการบริหารจัดการนำเข้าน้ำมันเพื่อให้การบริหารจัดการเศรษฐกิจให้เติบโตในอัตราที่ดีพอสมควร เมื่อปรับราคาลอยตัวแล้วจะต้องใช้อย่างประหยัด เพราะราคาแพงและไม่ให้รั่วไหลไปประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่ง 6 เดือนที่ผ่านมาไม่ได้บริหารจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสม แต่ครึ่งหลังของปีจะ "บริหารจัดการ"
4.สถานการณ์เหล็ก ในเดือนมิถุนายน 2548 ราคาตก 25% จนถึงวันนี้ยังไม่ฟื้น เพราะฉะนั้นการนำเข้าเหล็กมากในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมาก็น่าจะเริ่มระบายออก ก็ไม่น่าจะนำเข้าเพิ่ม นี่ก็เป็นการบริหารจัดการอีกตัวหนึ่ง ทางกระทรวงพาณิชย์ได้มีการพูดคุยกับผู้นำเข้าเหล็กแล้ว และปัจจุบันราคาก็ลดลงด้วย ก็คาดว่าครึ่งปีหลังไม่คิดว่าเพิ่มมากเหมือนครึ่งปีแรก ส่วนทองคำก็ไม่มีปัญหาแล้วว่าจะนำเข้าเท่าไร
นอกจากนี้ มีรายการนำเข้าอย่างอื่นคือ เครื่องบิน 8 ลำของการบินไทย ลำละ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ ทยอยเข้ามาเดือนละ 1 ลำหลังจากนี้ไป
โดย ดร.โอฬารเน้นว่านี่คือการลงทุน ในที่สุดจะได้เงินคืนหมด
ที่เหลือเป็นการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อการลงทุนต่างๆ ก็เติบโตในอัตราประมาณ 20% ใกล้เคียงกับปีที่แล้วซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่ใช่เมกะโปรเจ็กต์
ชี้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ไม่ใช่ผลเมกะโปรเจ็กต์
ดังนั้น โดยสรุปการขาดดุลการค้า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดใน 6 เดือนแรกมาจากน้ำมัน ทั้งปริมาณและราคา มาจากเหล็ก ทองคำที่เก็งราคา ส่วนสินค้าทุนเข้ามาปกติตามแผนการลงทุนที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเสริมสร้างศักยภาพการผลิต เป็นการเพิ่มขนาดของถังน้ำคือ supply creation มันต้องมีการลงทุนถาวร รวมทั้งเครื่องบิน หรือระบบขนส่ง และอื่นๆ ซึ่งปี 2548 ภายใต้เมกะโปรเจ็กต์ยังไม่ได้จ่ายเลยสักสตางค์แดงเดียว
เพราะฉะนั้น การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดใน 6 เดือนแรกไม่ได้มาจากเมกะโปรเจ็กต์ แต่เป็นการลงทุนต่อเนื่องมาจากของเก่า หากเป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์จะมีผลกระทบในปี 2549 เป็นต้นไป เพราะฉะนั้นอย่าโยงการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกับเมกะโปรเจ็กต์...ไทม์เฟรมมันคนละช่วง
และการขาดดุลบัญชีในช่วง 6 เดือนแรกเป็นระยะสั้น มาจากเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ในครึ่งปีหลังบางอย่างได้มีการบริหารจัดการ เช่น เรื่องน้ำมัน บางอย่างตลาดก็ปรับตัวของมันเอง เช่น เหล็ก บางอย่างก็ต้องหาอย่างอื่นมาเสริมคือ เรื่องน้ำในมาบตาพุด และมีธรรมชาติช่วยบ้างอย่างการปลูกข้าว
นี่เป็นด้านนำเข้า ด้านซัพพลายยอดส่งออกเพิ่มแน่
บริษัทแม่ข้ามชาติสั่งเพียบ
ส่วนด้านดีมานด์ต่อเนื่องจากฝนแล้ง มีผลผลิตข้าว อ้อย มันสำปะหลังน้อยลง การส่งออกปี 2548 ซึ่งเป็นผลผลิตที่ออกในปลายปี 2547 ปริมาณส่งออกลดลง แต่ราคาอาจจะดีขึ้น เราผลิตได้ไม่พอเพราะฝนแล้งปีที่แล้ว
การส่งออกด้านอื่นในสินค้าที่มีความต้องการน้อย หรือมีคู่แข่งที่มีค่าเงินอ่อนผิดธรรมชาติ ทำให้เราขายของได้น้อย กลุ่มนี้มีการแข่งขันจากคู่แข่งที่มีต้นทุนต่ำกว่าเราเยอะ เช่น จีน เขาก็ถูกบ่นทั่วโลกให้ปรับอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นมาสมเหตุสมผล ก็ทำให้สินค้าที่เราใช้แรงงานมาก เราผลิตของโหลขาย เราสู้เขาไม่ได้ สินค้าเหล่านี้มีปัญหา แต่ทางกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินมาตรการเพื่อเพิ่มปริมาณสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากที่ปรับตัวไม่ทันให้ทันเร็วขึ้น ส่วนสินค้าบางอย่างที่ผู้ส่งออกเป็นต่างชาติที่ผลิตขายในเน็ตเวิร์กของเขา เช่น รถยนต์ ดิสก์ไดรฟ์ อันนี้เราไปคุยกับผู้ส่งออก ของเขาดีมากเพราะมีออร์เดอร์มาจากบริษัทแม่ของเขา ผู้ประกอบการเป็นบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเป็นแหล่งการเพิ่มของปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไฮเทค คาดว่าจะเพิ่มในไตรมาส 3 ทำให้ความสามารถในการส่งออกเป็นบวก
ส่วนสินค้าที่แข่งขันไม่ได้ต้องปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มการแข่งขัน ซึ่งค่าเงินที่ไม่แข็งจนเกินไปจะช่วยอุตสาหกรรมประเภทนี้เพราะว่าประเทศคู่แข่งหลักของเรามีค่าเงินที่อ่อนจนเกินไป เราจะช่วยผู้ส่งออกประเภทนี้บ้างหากค่าเงินบาทเราไม่แข็งจนเกินไป
มั่นใจครึ่งปีหลังส่งออกโต 20%
ทั้งนี้ เพื่อให้การส่งออกครึ่งหลังของปีเติบโตเทียบกับครึ่งหลังของปีที่แล้วในระดับ 20% ผมจะตีความหมายไม่ใช่ทั้งปี 20% นะ ผมตีแค่ครึ่งหลังของปี ครึ่งแรกของปีจบไปแล้วโตแค่ 13-14% ผมจะไม่พูดเรื่องที่จบไปแล้ว แต่พูดถึงอนาคต 6 เดือนข้างหน้าถ้าการส่งออกสินค้าเราได้ 20% ก็เป็นทิศทางที่ดีสำหรับการส่งออกไทย
กลุ่มที่ critical มากคือ รายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผลมาจากสึนามิที่รู้สึกไม่เชื่อในความปลอดภัยของประเทศไทย แต่ผลกระทบหลักจากการท่องเที่ยวมาจากคนเอเชียมาเที่ยวน้อยลง ยุโรปไม่ได้มาน้อยลง ดังนั้นต้องโปรโมตให้คนไทยและคนที่ไม่กลัวผีที่อยากจะได้ของดีราคาถูกให้มาเที่ยวเยอะๆ ญี่ปุ่นยังเพิ่มขึ้น แต่เอเชียบางประเทศกลัวผี ก็คาดว่าในครึ่งปีหลังน่าจะมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น แม้ทั้งปีอาจจะไม่ได้ 13.5 ล้านคน เพราะ 6 เดือนแรกตกไปเยอะ
เชื่อมั่นการบริหารจัดการ "เอาอยู่"
โดยสรุปว่าหากมีการบริหารจัดการนำเข้า การบริหารจัดการเรื่องส่งออก การบริหารจัดการเรื่องท่องเที่ยว ก็น่าจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้อาจจะขาดดุลเล็กน้อย หรือเกินดุลได้ แม้ครึ่งปีแรกจะขาดดุลไปแล้ว 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
แต่ถ้าแนวโน้มเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น หากการบริหารจัดการมีผลพอสมควร ความเชื่อมั่นว่าบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลน้อยลงและจะสมดุลในที่สุด ความเชื่อมั่นก็จะกลับคืนมา ซึ่งคุณต้องติดตามดู ผมเพียงแต่เล่าเหตุและผลว่าทำไมความเชื่อมั่นหายไป มันมีเหตุ และเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของเศรษฐกิจ และเรื่องน้ำ ก็จะทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลง
ส่วนมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเมื่อ 12 กรกฎาคม เป็นการเพิ่มรายได้ให้ประชาชน รวมทั้งเพิ่มรายได้ให้พนักงานที่บริษัทจ่ายให้เพิ่มขึ้นและนำมาหักภาษีได้ ก็เพื่อให้มี productivity ดีขึ้น ก็ต้องช่วยกันปรับปรุงประสิทธิภาพ
นโยบายลงทุน 3-5 ปีต้องทำ
ชี้ต้องขยาย "ถังน้ำ"
การชดเชยรายได้โดยการขึ้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ค่าครองชีพ เรียกว่านโยบาย income compensation policy เติมให้คนมีรายได้ไม่ถูกกระทบมากนัก แต่ต้องปรับตัวด้วยการประหยัด อาทิ เรื่องราคาน้ำมัน และเราไม่เลิกการลงทุนถาวรที่จะสร้างขยายถังน้ำให้ใหญ่ขึ้นและมีคุณภาพเหล็กที่แข็งแกร่ง ระเบิดตกไม่แตก ต้องทำต่อไป อันนั้นหยุดไม่ได้เพราะเป็นนโยบายระยะกลาง 3-5 ปี
ส่วนเงินเฟ้อก็ต้องขึ้น นั่นเป็นนโยบายที่มาของการขึ้นเงินเดือน ขึ้นค่าจ้าง อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นมาจาก cost push ไม่ใช่ demand pull ปัญหาเงินเมืองไทยมีแต่ cost push ซึ่งมาจาก 1.ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นมา 2.ลดค่าเงินบาท 3.ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจากฝนแล้ง
ซึ่งแอนดี้ ซี บอกว่า ใครที่ว่าราคาน้ำมันจะขึ้นไป 80-90 เหรียญต่อบาร์เรลในปีนี้ โดยอ้างว่าการนำเข้าจากจีน อินเดียจะเพิ่มขึ้น อาจจะไม่เป็นไปตามที่อ้าง และมีสถาบัน IEA ที่ลอนดอนออกมาวิเคราะห์ว่า ประเทศในเอเชียจะสั่งซื้อน้ำมันดิบขึ้นเหมือนปีที่แล้วจะ "ไม่จริง"
เมื่อไรก็ตามที่ข้อมูลเริ่มประจักษ์ จากความต้องการในเอเชียเริ่มชัดเจนมากขึ้น เมื่อนั้นกระแสจะเปลี่ยน เมื่อนั้นพวกที่ซื้อกระดาษน้ำมันล่วงหน้าเขาจะต้องหากินโดยการปั่นลง คนส่วนใหญ่ในโลกตระหนักว่าดีมานด์น้ำมันไม่ได้ขยายอย่างที่ขยายเมื่อปีที่แล้ว และซัพพลายดูเหมือนจะออกมามากขึ้นๆ เมื่อนั้นจะกลับด้าน ผมไม่รู้ว่ามันเป็นวันไหน
อย่าตระหนกเรื่องขาดดุล
ณ วินาทีนี้ประเทศไทยไม่ได้มีการเกินดุลเหมือนเดิม และค่าเงินบาทไม่แข็งเหมือนจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ เพราะเราไม่ได้มีการเกินดุลมากเหมือน 6 เดือนที่ผ่านมา เมื่อไรที่เราสะวิงกลับมา (กลับมาเกินดุล) เราก็เข้ากลุ่มเดียวกับเขาได้ เราเชื่อว่าเป็นเรื่องระยะสั้นที่เกิดจาก 4 ปัจจัยที่พูดมา
ปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีจริง คนที่ตระหนกมากหากเข้าใจ มีสมุทัย และมีนิโรธ และปฏิบัติให้เกิดมรรคผล หากไม่รู้สาเหตุอยู่ในห้องมืดแล้วอาการหนาว หากมีใครตะโกนว่าไฟฟ้าก็ต้องรีบวิ่งออก แต่ในห้องเดียวกันอีกคนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น รู้ว่ามีคนเปิดแอร์ลดอุณหภูมิชั่วคราว แม้คนตะโกนไฟฟ้าก็ไม่วิ่งออก ดังนั้นหากไม่รู้สาเหตุของความทุกข์ ก็ไม่รู้ทางดับทุกข์ ก็ไม่มีวิธีการดับทุกข์ ก็ต้องตกใจเป็นธรรมชาติ
ยันไม่ได้มองบวก
เมื่อถามว่ารัฐบาลมองบวกเกินไปหรือไม่... "ผมไม่ได้มองบวก ผมเล่าให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้น บางอย่างอาจจะมองผิด เดี๋ยวตัวเลขก็โผล่มาเองว่าถูกหรือผิด ถ้าผิดก็ต้องหาเหตุว่าที่เรานึกว่าเป็นสาเหตุอาจจะหลงไปหน่อยหนึ่ง สาเหตุที่แท้จริงคืออะไรก็หากันใหม่ นี่คือการบริหารจัดการธรรมดาๆ"
ในแง่การบริหารจัดการ อย่าหลงประเด็น ตามประเด็น มีเหตุมีผล ตามข้อมูลสนับสนุน ไม่มีใครวิเคราะห์ถูก 100% คุณก็ต้องดูประวัติของคนคนนั้นว่าที่ผ่านมาเขาวิเคราะห์ถูกกี่เปอร์เซ็นต์ สื่อต้องเป็นคนประเมิน และคุณก็ได้ยินผมมา 30 ปีแล้ว คุณก็วิเคราะห์เอาเองว่าผมถูกหรือผิด ฟังเหตุผลที่ผมเล่าแล้วมีความเป็นไปได้ไหม แต่เวลาจะเป็นเครื่องบอกว่าถูกหรือผิดกี่เปอร์เซ็นต์
วันนี้ปัจจัยเสี่ยงเกิดขึ้นแล้วและมีผลกระทบกับเราในทางลบ จะมีการปรับนโยบายแก้เกมอย่างไร
ดร.โอฬารมั่นใจว่ามาตรการของรัฐบาลเมื่อ 12 กรกฎาคม มีผลที่จะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลมากๆ มาขาดดุลน้อยลงเรื่อยๆ ในระยะเวลา 6-12 เดือนข้างหน้า และเมื่อดุลบัญชีเดินสะพัดดีขึ้นความมั่นใจก็จะค่อยๆ กลับมา
อย่างไรก็ตาม ให้รอดู 2-3 เดือนข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร จะถูกหรือไม่...
ถ้าจะอ่านครบถ้วนที่ http://www.matichon.co.th/prachachart/p ... tus=&show=
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี