ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 1
19 มุมมองใหม่ประเทศไทย : ตลาดทุนไทยในอุดมคติ
ถึงยุคต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ตลาดทุนที่ดีและมีศักยภาพจะต้องมีกระบวนการ "รวบรวม-จัดสรร-ควบคุม" ทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจที่ดี กล่าวคือ มีการรวบรวมทรัพยากรมาแล้วเอาไปให้กับบุคคลที่ควรได้ ขณะเดียวกัน ต้องดูแลว่ามีการนำทรัพยากรเหล่านี้ไปใช้อย่างถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าต้องมีระบบธรรมาภิบาล และการเปิดเผยข้อมูลที่ดีตามไปด้วย
ถ้าพูดถึงเรื่อง "เศรษฐกิจ" ก็มักหนีไม่พ้นที่กล่าวอ้างถึง "ตลาดทุน" เพราะเศรษฐกิจกับตลาดทุนถือเป็นของคู่กัน และการพัฒนาเศรษฐกิจในเกือบทุกประเทศทั่วโลกมักจะถูก "วางหมาก" ให้ก้าวไปพร้อมกับการพัฒนาตลาดทุน และอาจจะต้องถึงเวลา Transform (เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่) ตลาดทุนไทยเสียที
สำหรับพัฒนาการตลาดทุนหรือตลาดหุ้นของเมืองไทยตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรนั้น โบรกเกอร์แถวหน้าของเมืองไทย นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) ซึ่งคร่ำหวอดในวงการนี้มานานกว่า 30 ปี ให้ความเห็นกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ไว้อย่างน่าคิดว่า "พัฒนาการของตลาดทุนไทย ในส่วนคุณภาพผู้ลงทุน ถือว่ามีทิศทางดีขึ้น แต่เป็นไปอย่างเชื่องช้า"
เขากล่าวว่า ตลาดทุนที่พัฒนาแล้ว ผู้ลงทุนที่เข้ามาลงทุนควรเป็นนักลงทุนสถาบัน ส่วนนักลงทุนรายบุคคลนั้นไม่ควรมีสัดส่วนเกิน 15% ของจำนวนผู้ลงทุนทั้งหมด อย่างประเทศแถบยุโรปนั้นตลาดหุ้นเขามีนักลงทุนรายบุคคลไม่ถึง 5% ด้วยซ้ำ เพราะส่วนใหญ่หันไปลงทุนผ่านกองทุนรวมหรือนักลงทุนสถาบันประเภทอื่น ขณะที่ประเทศไทยปัจจุบันยังมีสัดส่วนของผู้ลงทุนกลุ่มนี้สูงถึง 65%
เหตุผลที่ผู้ลงทุนรายบุคคลไม่ควรเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเองโดยตรง "บรรยง" เห็นว่า ถ้าพูดถึงการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกแล้ว ปัจจุบันมีหุ้นให้เลือกลงทุนถึง 150,000 หุ้น ดังนั้น ผู้ลงทุนธรรมดาจะเลือกลงทุนอย่างไร เอาเครื่องมือจากไหนมาวิเคราะห์ ขณะที่กองทุนรวมเขามีเครื่องมือทุกอย่างพร้อม และยังได้เปรียบในเรื่อง อีโคโนมีออฟสเกล ด้วย
"สมมติว่ามีผู้ลงทุน 1,000 คน มีเงินคนละ 10 ล้านบาท แต่ละคนก็ต้องทำงานมีเวลาดูหุ้นเฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง เท่ากับว่าทั้งหมดนี้ใช้เวลาในการดูหุ้นถึง 3,000 ชั่วโมงต่อวัน แต่ถ้าผู้ลงทุนกลุ่มนี้เอาเงินไปลงทุนผ่านกองทุนรวม กองทุนนี้จะมีเงินถึง 10,000 ล้านบาท แถมใช้ผู้จัดการกองทุนแค่ 1 คน มีการฝึกฝนมาอย่างดี และก็ใช้เวลาเพียง 12 ชั่วโมงต่อวันในการดูแลหุ้นเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ อีโคโนมีออฟสเกล มันต่างกันมาก อีกอย่างการที่จะได้ข้อมูลเชิงลึกทั้งจากนักวิเคราะห์และผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ผู้จัดการกองทุนก็อยู่ในสภาพที่ได้เปรียบกว่าอย่างมาก"
เขากล่าวเสริมว่า ในอนาคตเชื่อได้แน่ว่าตลาดทุนไทยจะเห็นสัดส่วนของผู้ลงทุนสถาบันที่มากกว่าผู้ลงทุนบุคคลธรรมดา เพราะถ้าผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาลงทุนเองโดยตรงและได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง เขาก็จะหันไปลงทุนผ่านกองทุนรวมเอง
นักลงทุนต่างชาติสนใจตัวเลือกหุ้นไทยแค่ 70 บริษัท
นายบรรยงให้ความเห็นว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทย ณ ปัจจุบันผู้ลงทุนรายบุคคลยังสามารถลงทุนโดยตรงได้เอง เนื่องจากตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันมีหุ้นขนาดใหญ่ให้เลือกลงทุนได้จริงเพียงประมาณ 70 หุ้นเท่านั้น ไม่นับที่เหลืออีก 400 บริษัท ซึ่งมีขนาดเล็ก
อีกประเด็นคือ เขาไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มปริมาณบริษัทจดทะเบียนโดยไม่คำนึงถึงขนาดของบริษัท เพราะถึงแม้กิจการจะดีแค่ไหนแต่ถ้ามีขนาดเล็กนักลงทุนสถาบันเขาก็ไม่ลงทุน เพราะมันไม่คุ้ม มันไม่มี อีโคโนมีออฟสเกล เขาจึงไม่เห็นด้วยกับการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีขนาดเล็ก
"ถ้าคุณเป็นบริษัทเล็กและเอาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คุณก็ต้องขายหุ้นให้กับผู้ลงทุนรายย่อย ซึ่งผู้ลงทุนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ซื้อก็เพื่อขาย ดังนั้น ถ้าไม่มีคนซื้อต่อ ราคาหุ้นก็ต้องลงมาเรื่อยๆ ยกเว้นจะมีกระบวนการอะไรแปลกๆ ซึ่งทางการไม่เคยรับรอง และกระบวนการแปลกๆ เหล่านี้ทำกันเต็มที่ก็ไม่เกิน 3 เดือน พอเลิกราคาหุ้นก็ไหลลงทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงมาก ที่ผ่านมามันมีให้เห็นอยู่ตลอด"
บทความจากกรุงเทพธุรกิจวันนี้
มิน่าถึงไม่มีใครสนใจให้ความรู้แก่นักลงทุนรายย่อย ตัวเองคบค้ากับแต่สถาบัน เลยดูถูกนักลงทุนรายย่อย
ถึงยุคต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ตลาดทุนที่ดีและมีศักยภาพจะต้องมีกระบวนการ "รวบรวม-จัดสรร-ควบคุม" ทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจที่ดี กล่าวคือ มีการรวบรวมทรัพยากรมาแล้วเอาไปให้กับบุคคลที่ควรได้ ขณะเดียวกัน ต้องดูแลว่ามีการนำทรัพยากรเหล่านี้ไปใช้อย่างถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าต้องมีระบบธรรมาภิบาล และการเปิดเผยข้อมูลที่ดีตามไปด้วย
ถ้าพูดถึงเรื่อง "เศรษฐกิจ" ก็มักหนีไม่พ้นที่กล่าวอ้างถึง "ตลาดทุน" เพราะเศรษฐกิจกับตลาดทุนถือเป็นของคู่กัน และการพัฒนาเศรษฐกิจในเกือบทุกประเทศทั่วโลกมักจะถูก "วางหมาก" ให้ก้าวไปพร้อมกับการพัฒนาตลาดทุน และอาจจะต้องถึงเวลา Transform (เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่) ตลาดทุนไทยเสียที
สำหรับพัฒนาการตลาดทุนหรือตลาดหุ้นของเมืองไทยตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรนั้น โบรกเกอร์แถวหน้าของเมืองไทย นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) ซึ่งคร่ำหวอดในวงการนี้มานานกว่า 30 ปี ให้ความเห็นกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ไว้อย่างน่าคิดว่า "พัฒนาการของตลาดทุนไทย ในส่วนคุณภาพผู้ลงทุน ถือว่ามีทิศทางดีขึ้น แต่เป็นไปอย่างเชื่องช้า"
เขากล่าวว่า ตลาดทุนที่พัฒนาแล้ว ผู้ลงทุนที่เข้ามาลงทุนควรเป็นนักลงทุนสถาบัน ส่วนนักลงทุนรายบุคคลนั้นไม่ควรมีสัดส่วนเกิน 15% ของจำนวนผู้ลงทุนทั้งหมด อย่างประเทศแถบยุโรปนั้นตลาดหุ้นเขามีนักลงทุนรายบุคคลไม่ถึง 5% ด้วยซ้ำ เพราะส่วนใหญ่หันไปลงทุนผ่านกองทุนรวมหรือนักลงทุนสถาบันประเภทอื่น ขณะที่ประเทศไทยปัจจุบันยังมีสัดส่วนของผู้ลงทุนกลุ่มนี้สูงถึง 65%
เหตุผลที่ผู้ลงทุนรายบุคคลไม่ควรเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเองโดยตรง "บรรยง" เห็นว่า ถ้าพูดถึงการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกแล้ว ปัจจุบันมีหุ้นให้เลือกลงทุนถึง 150,000 หุ้น ดังนั้น ผู้ลงทุนธรรมดาจะเลือกลงทุนอย่างไร เอาเครื่องมือจากไหนมาวิเคราะห์ ขณะที่กองทุนรวมเขามีเครื่องมือทุกอย่างพร้อม และยังได้เปรียบในเรื่อง อีโคโนมีออฟสเกล ด้วย
"สมมติว่ามีผู้ลงทุน 1,000 คน มีเงินคนละ 10 ล้านบาท แต่ละคนก็ต้องทำงานมีเวลาดูหุ้นเฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง เท่ากับว่าทั้งหมดนี้ใช้เวลาในการดูหุ้นถึง 3,000 ชั่วโมงต่อวัน แต่ถ้าผู้ลงทุนกลุ่มนี้เอาเงินไปลงทุนผ่านกองทุนรวม กองทุนนี้จะมีเงินถึง 10,000 ล้านบาท แถมใช้ผู้จัดการกองทุนแค่ 1 คน มีการฝึกฝนมาอย่างดี และก็ใช้เวลาเพียง 12 ชั่วโมงต่อวันในการดูแลหุ้นเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ อีโคโนมีออฟสเกล มันต่างกันมาก อีกอย่างการที่จะได้ข้อมูลเชิงลึกทั้งจากนักวิเคราะห์และผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ผู้จัดการกองทุนก็อยู่ในสภาพที่ได้เปรียบกว่าอย่างมาก"
เขากล่าวเสริมว่า ในอนาคตเชื่อได้แน่ว่าตลาดทุนไทยจะเห็นสัดส่วนของผู้ลงทุนสถาบันที่มากกว่าผู้ลงทุนบุคคลธรรมดา เพราะถ้าผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาลงทุนเองโดยตรงและได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง เขาก็จะหันไปลงทุนผ่านกองทุนรวมเอง
นักลงทุนต่างชาติสนใจตัวเลือกหุ้นไทยแค่ 70 บริษัท
นายบรรยงให้ความเห็นว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทย ณ ปัจจุบันผู้ลงทุนรายบุคคลยังสามารถลงทุนโดยตรงได้เอง เนื่องจากตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันมีหุ้นขนาดใหญ่ให้เลือกลงทุนได้จริงเพียงประมาณ 70 หุ้นเท่านั้น ไม่นับที่เหลืออีก 400 บริษัท ซึ่งมีขนาดเล็ก
อีกประเด็นคือ เขาไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มปริมาณบริษัทจดทะเบียนโดยไม่คำนึงถึงขนาดของบริษัท เพราะถึงแม้กิจการจะดีแค่ไหนแต่ถ้ามีขนาดเล็กนักลงทุนสถาบันเขาก็ไม่ลงทุน เพราะมันไม่คุ้ม มันไม่มี อีโคโนมีออฟสเกล เขาจึงไม่เห็นด้วยกับการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีขนาดเล็ก
"ถ้าคุณเป็นบริษัทเล็กและเอาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คุณก็ต้องขายหุ้นให้กับผู้ลงทุนรายย่อย ซึ่งผู้ลงทุนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ซื้อก็เพื่อขาย ดังนั้น ถ้าไม่มีคนซื้อต่อ ราคาหุ้นก็ต้องลงมาเรื่อยๆ ยกเว้นจะมีกระบวนการอะไรแปลกๆ ซึ่งทางการไม่เคยรับรอง และกระบวนการแปลกๆ เหล่านี้ทำกันเต็มที่ก็ไม่เกิน 3 เดือน พอเลิกราคาหุ้นก็ไหลลงทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงมาก ที่ผ่านมามันมีให้เห็นอยู่ตลอด"
บทความจากกรุงเทพธุรกิจวันนี้
มิน่าถึงไม่มีใครสนใจให้ความรู้แก่นักลงทุนรายย่อย ตัวเองคบค้ากับแต่สถาบัน เลยดูถูกนักลงทุนรายย่อย
-
- Verified User
- โพสต์: 424
- ผู้ติดตาม: 0
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 2
ความคิดนักลงทุนรายเล็ก ๆ อย่างผมนะ
ผมเกลียดบริษัทที่ไร้ประสิทธิภาพและแกล้งไรประสิทธิภาพ
บางเวลาเพื่อดึงให้ราคาหุ้นตก
อย่างที่ข้างบนบอกมีแค่ 70 ที่น่าสนใจ
อยากเห็นบริษัทมีประสิทธิภาพและมีธรรมมาภิบาลมากกว่านี้ครับ
แล้วความมั่งคั่งจะมาสู่นักลงทุน
ไม่ใช่มาเปิดบ่อน เพื่อให้เจ้ามือรวย
ผมเกลียดบริษัทที่ไร้ประสิทธิภาพและแกล้งไรประสิทธิภาพ
บางเวลาเพื่อดึงให้ราคาหุ้นตก
อย่างที่ข้างบนบอกมีแค่ 70 ที่น่าสนใจ
อยากเห็นบริษัทมีประสิทธิภาพและมีธรรมมาภิบาลมากกว่านี้ครับ
แล้วความมั่งคั่งจะมาสู่นักลงทุน
ไม่ใช่มาเปิดบ่อน เพื่อให้เจ้ามือรวย
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 3
เป็นมุมมองที่เห็นแก่ตัวครับ
คือคุณบรรยงค์แกมีลูกค้าสถาบันเท่านั้น และนักลงทุนสถาบันก็มักลงในหุ้นขนาดใหญ่ เพราะสามารถซื้อขายได้คล่อง และอาจจะมองไปว่าที่ตลาดหุ้นเมืองไทยไปไม่ไกล เพราะมีมาร์เก็ตแค็ปน้อยมาก ฝรั่งไม่สนใจ ทำให้หุ้นมักเทรดที่พีอีต่ำๆ ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ก็เป็นความจริง
แต่ถามว่าตลาดหุ้นตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร
เพื่อเป็นแหล่างระดุมทุน(ต้นทุนต่ำ)มิใช่หรือ กิจการใหญ่ๆหลายแห่งทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ หลายบริษัทก็เคยเป็นบริษัทขนาดเล็กมาก่อน และใช้ตลาดหุ้นเป็นแหล่งระดมทุน ขยายกิจการ จนกลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่
หรือประเด็นนี้ไม่เป็นความจริง
นอกจากนี้ การเข้าตลาดยังทำให้มาตฐานทางบัญชี การเสียภาษี ของบริษัทเล็กๆ มีความโปร่งใสมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
เดี๋ยวมาต่อ..
คือคุณบรรยงค์แกมีลูกค้าสถาบันเท่านั้น และนักลงทุนสถาบันก็มักลงในหุ้นขนาดใหญ่ เพราะสามารถซื้อขายได้คล่อง และอาจจะมองไปว่าที่ตลาดหุ้นเมืองไทยไปไม่ไกล เพราะมีมาร์เก็ตแค็ปน้อยมาก ฝรั่งไม่สนใจ ทำให้หุ้นมักเทรดที่พีอีต่ำๆ ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ก็เป็นความจริง
แต่ถามว่าตลาดหุ้นตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร
เพื่อเป็นแหล่างระดุมทุน(ต้นทุนต่ำ)มิใช่หรือ กิจการใหญ่ๆหลายแห่งทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ หลายบริษัทก็เคยเป็นบริษัทขนาดเล็กมาก่อน และใช้ตลาดหุ้นเป็นแหล่งระดมทุน ขยายกิจการ จนกลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่
หรือประเด็นนี้ไม่เป็นความจริง
นอกจากนี้ การเข้าตลาดยังทำให้มาตฐานทางบัญชี การเสียภาษี ของบริษัทเล็กๆ มีความโปร่งใสมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
เดี๋ยวมาต่อ..
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 4
ถ้ากองทุนในเมืองไทยเก่งเท่ากองทุนของบัฟเฟตต์หรือปีเตอร์ ลินช์ ผมก็ยินดีที่จะลงทุนในกองทุน แต่ว่าผลงานของกองทุนในเมืองไทยไม่ได้เก่งกาจ อะไรเลย ผลการดำเนินงานยังแพ้ตลาดด้วยซ้ำ แล้วจะให้เราหลับหูหลับตาไปซื้อกองทุนรวมได้อย่างไร ขำกลิ้ง กิ๊วๆๆ น่าไม่อาย
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 113
- ผู้ติดตาม: 0
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 5
ผมเห็นด้วยกับคุณสามัญชน ว่าถ้ากองทุนของเราทำได้ดี ก็คงจะมีคนแห่กันไปซื้อกองทุนเองแหละ แต่ผลงานที่ผ่านมามันฟ้องถึงความสามารถของกองทุน ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมของนักลงทุน ผมว่าคุณอะไรนั่นน่ะหันไปปรับปรุงคุณภาพของผู้บริหารกองทุนให้ดูดีซะก่อน เดี๋ยวชาวบ้านก็แห่กันไปหาเองแหละ [แห่กันไปซื้อกองทุนนะครับ ไม่ใช่แห่กันเอาอึไปราด]
-
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 6
ถูกต้องนะคร้าบบบบบบ..... กองทุนไทย ห่วยแตก ไล่ดูได้เลยในกรุงเทพธุรกิจ มีกี่กองทุนกันที่ตัวเลข NAV งาม ๆ มีแต่กองทุน RMF เสียทั้งนั้นที่ดูได้หน่อย ซึ่งผมก็ไม่เอาหรอก ลงทุนแบบนั้น จะตายก่อนใช้หรือเปล่าก็ไม่รู้ ลูกเมียก็ยังไม่มี 555 ขอลงทุนแบบ อยากถอนก็ถอนดีกว่า :lol: :lol: :lol:ผลงานของกองทุนในเมืองไทยไม่ได้เก่งกาจ อะไรเลย
มนุษย์เห่อลูก :lol:
http://tyakon.multiply.com
http://tyakon.multiply.com
-
- Verified User
- โพสต์: 777
- ผู้ติดตาม: 0
กองทุนไทย (แลนเดอร์)
โพสต์ที่ 7
กองทุนเมืองไทย มีเยอะแยะ จนตาลายไปหมด บางกองทุนตั้งมาตั้งแต่สมัย
ดัชนีหุ้น สูงปรี๊ด ราว 16-1700 จุด คนซื้อล่มจมไปหมด แต่ก็ยังนำมาเร่ขาย
ของ หาเงินจาก นักลงทุนชาวบ้านในบ้านเรา!!!
ถ้าใครอยากลงทุน ในกองทุนต่างๆ ก็ต้อง ทำการบ้าน แบบเดียวกับ
การวิเคราะห์หุ้น แต่ละตัวในตลาดหลักทรัพย์ทีเดียว เพราะ กองทุน
เหล่านี้ ราคา ขึ้นนิด...ลงหน่อย อยู่อย่างนั้น!!!
ใครตาดี ก็เจอกองทุนที่ มีมูลค่าเพิ่ม และ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย เป็น
เปอร์เซ็นต์สูงๆได้เหมือนกัน (ถ้าโชคดี!) :lol:
ดัชนีหุ้น สูงปรี๊ด ราว 16-1700 จุด คนซื้อล่มจมไปหมด แต่ก็ยังนำมาเร่ขาย
ของ หาเงินจาก นักลงทุนชาวบ้านในบ้านเรา!!!
ถ้าใครอยากลงทุน ในกองทุนต่างๆ ก็ต้อง ทำการบ้าน แบบเดียวกับ
การวิเคราะห์หุ้น แต่ละตัวในตลาดหลักทรัพย์ทีเดียว เพราะ กองทุน
เหล่านี้ ราคา ขึ้นนิด...ลงหน่อย อยู่อย่างนั้น!!!
ใครตาดี ก็เจอกองทุนที่ มีมูลค่าเพิ่ม และ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย เป็น
เปอร์เซ็นต์สูงๆได้เหมือนกัน (ถ้าโชคดี!) :lol:
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 9
ไม่จริงหรอกครับ หากรายย่อยเลือกลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า ในระยะยาวผมคิดว่าน่าจะมีผลตอบแทนชนะกองทุนครับ มาดูกันว่ากองทุนได้เปรียบจริงหรือเปล่าเหตุผลที่ผู้ลงทุนรายบุคคลไม่ควรเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเองโดยตรง "บรรยง" เห็นว่า ถ้าพูดถึงการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกแล้ว ปัจจุบันมีหุ้นให้เลือกลงทุนถึง 150,000 หุ้น ดังนั้น ผู้ลงทุนธรรมดาจะเลือกลงทุนอย่างไร เอาเครื่องมือจากไหนมาวิเคราะห์ ขณะที่กองทุนรวมเขามีเครื่องมือทุกอย่างพร้อม และยังได้เปรียบในเรื่อง อีโคโนมีออฟสเกล ด้วย
1.ต้นทุนค่าคอม กองทุนจะถูกกว่ารายย่อยเล็กน้อย ไม่เป็นสาระสำคัญ
2.กองทุนต้องเลือกหุ้นขนาดใหญ่ เพื่อจะได้ขาย(ขาดทุน)ได้ทัน :lovl: :lovl: ในขณะที่รายย่อยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น ดังนั้นจึงสามารถเลือกหุ้นขนาดเล็กที่คุณภาพดีกว่า ราคาถูกกว่า ก็เพราะเหตุผลข้อนี้ครับ คือความได้เปรียบอย่างแท้จริงของรายย่อย
3.การเข้าถึงข้อมูล ในอดีตเป็นเรื่องจริง แต่ในปัจจุบันรายย่อยสามารถเข้าถึงผ่านอินเตอร์เนตได้พอๆกับรายใหญ่ การเข้าถึงผู้บริหารก็ทำได้ง่ายกว่าสมัยก่อน นอกจากนั้นยังสามารถติดตามผ่านสื่อหนังสือพิมพ์หุ้น ที่มีการสัมภาษณ์
บริษัทขนาดเล็กสม่ำเสมอ
4.กองทุนไม่สามารถลงทุนในหุ้นแต่ละตัวสัดส่วนเกินที่กฎหมายกำหนด เข้าใจว่า 10% แต่รายย่อยหากเจอหุ้นที่ดีหรือดีมาก สามารถถือได้ถึง 100%
5.พอร์ตของเราเอง ไม่มีใครมากดดัน ไม่มีใครมาติดตาม ในขณะที่กองทุนไม่เป็นอย่างนั้น ทำให้ผู้จัดการกองทุนมีแนวโน้มที่จะลงทุนแบบไม่เสี่ยง ผลตอบแทนมักไม่สูง
6.กองทุนรวมต้องเสียค่าธรรมเนียม แม้จะไม่สูงมาก แต่ในระยะยาวจะมีผลต่อเงินลงทุน ในขณะที่รายย่อยเสียแค่เวลา ชั่วโมงอินเตอร์เนตและคอมเท่านั้น
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ผมคิดว่านักลงทุนรายย่อยที่ลงทุนในแนวทางเน้นคุณค่า น่าจะมีผลตอบแทนในระยะยาวชนะกองทุนแน่นอนครับ ผมมั่นใจ อย่างน้อยผลงานส่วนตัวผมยืนยันอย่างนั้น
คำถามต่อมาคือนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไทยไม่ได้ลงทุนอย่างนี้ แนวทางที่น่าจะทำอย่างยิ่งคือการให้การศึกษา ให้ความรู้ ให้การสนับสนุนทางภาษี เพื่อสนับสนุนนักลงทุนเหล่านั้น ไม่ใช่แก้ปัญหาง่ายๆโดยให้ไปซื้อกองทุนรวม หรือสนับสนุ้นให้ตลาดหุ้นมีแต่บริษัทขนาดใหญ่ เหตผลข้อหลังนี้ดูไม่เข้าท่ามากๆครับ เหมือนคุณเห็นคุณเก่ง คนดี (บริษัทเล็กๆที่ดี)แทนที่จะสนับสนุนให้ใหญ่โต กลับจะไปบอนไซเค้าซะอีก ฟังดูไม่เข้าท่ามากๆ
ถ้าเค้าเจ๊งหุ้น เค้าจะกลับไปฝากเงินธนาคาร ไม่ไปซื้อกองทุนหุ้นหรอกครับ ดูอดีตซิครับว่าเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ไม่อย่างนั้นเมืองไทยคงไม่มีคนฝากเงินธนาคารมากขนาดนี้ครับเขากล่าวเสริมว่า ในอนาคตเชื่อได้แน่ว่าตลาดทุนไทยจะเห็นสัดส่วนของผู้ลงทุนสถาบันที่มากกว่าผู้ลงทุนบุคคลธรรมดา เพราะถ้าผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาลงทุนเองโดยตรงและได้รับบาดเจ็บบ่อยครั้ง เขาก็จะหันไปลงทุนผ่านกองทุนรวมเอง
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 1
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 10
" แถมใช้ผู้จัดการกองทุนแค่ 1 คน มีการฝึกฝนมาอย่างดี และก็ใช้เวลาเพียง 12 ชั่วโมงต่อวันในการดูแลหุ้นเท่านั้น "
แต่ในความเป็นจริง ผู้จัดการกองทุน 1 คน จะใช้เวลาแต่ละวันประชุม ทั้งเกี่ยวกับหุ้นและงานที่ไม่เกี่ยวกับหุ้น เช่น งานระบบ งาน back office ทำ KPI ต้องไป present ให้ลูกค้าที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บ.ประกัน ฟัง ฟังเจ้านายบ่น ลูกค้าบ่น ไปออกงาน SET หรือสัมมนาต่างๆ ให้สัมภาษณ์นักข่าว บางวันอาจจะเหลือเวลาทำงานจริงๆ ไม่ถึง 3 ชั่วโมงก็ได้ครับ
ถ้ากองทุนรวมน่าสนใจขนาดนั้นทำไมเวลาจัด perfomance กองทุนทีไร กองทุนรวม SET50 และ SET25 Jumbo ของบลจ. ทหารไทยอยู่ในระดับต้นๆ ประจำ แสดงว่ากองทุนส่วนใหญ่กำลังแพ้ตลาดอยู่นะครับ
แต่ในความเป็นจริง ผู้จัดการกองทุน 1 คน จะใช้เวลาแต่ละวันประชุม ทั้งเกี่ยวกับหุ้นและงานที่ไม่เกี่ยวกับหุ้น เช่น งานระบบ งาน back office ทำ KPI ต้องไป present ให้ลูกค้าที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บ.ประกัน ฟัง ฟังเจ้านายบ่น ลูกค้าบ่น ไปออกงาน SET หรือสัมมนาต่างๆ ให้สัมภาษณ์นักข่าว บางวันอาจจะเหลือเวลาทำงานจริงๆ ไม่ถึง 3 ชั่วโมงก็ได้ครับ
ถ้ากองทุนรวมน่าสนใจขนาดนั้นทำไมเวลาจัด perfomance กองทุนทีไร กองทุนรวม SET50 และ SET25 Jumbo ของบลจ. ทหารไทยอยู่ในระดับต้นๆ ประจำ แสดงว่ากองทุนส่วนใหญ่กำลังแพ้ตลาดอยู่นะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 11
ลองสังเกตดู
ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้มักจะบอกว่า ลงทุนหุ้นนั้นเสี่ยง ถือตราสารหนี้กินดอกดีกว่า
ผู้จัดการกองทุนหุ้นมักจะบอกว่า จากสถิติในระยะยาวแล้ว การลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนดีกว่าตราสารหนี้
ผู้ขายหน่วยลงทุนมักจะบอกว่า รายย่อยอย่าไปเล่นเองเลย ความรู้ความเชี่ยวชาญสู้กองทุนไม่ได้หรอก ให้ผู้เชี่ยวชาญลงทุนแทนผ่านกองทุนดีกว่า
มาร์เก็ตติ้งมักจะบอกว่า เงินเราเองเล่นเองดีกว่า จะขาดทุน/กำไรก็น้ำมือเราเอง ดีกว่าไปให้ใครก็ไม่รู้จัดการกับเงินเรา
ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้มักจะบอกว่า ลงทุนหุ้นนั้นเสี่ยง ถือตราสารหนี้กินดอกดีกว่า
ผู้จัดการกองทุนหุ้นมักจะบอกว่า จากสถิติในระยะยาวแล้ว การลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนดีกว่าตราสารหนี้
ผู้ขายหน่วยลงทุนมักจะบอกว่า รายย่อยอย่าไปเล่นเองเลย ความรู้ความเชี่ยวชาญสู้กองทุนไม่ได้หรอก ให้ผู้เชี่ยวชาญลงทุนแทนผ่านกองทุนดีกว่า
มาร์เก็ตติ้งมักจะบอกว่า เงินเราเองเล่นเองดีกว่า จะขาดทุน/กำไรก็น้ำมือเราเอง ดีกว่าไปให้ใครก็ไม่รู้จัดการกับเงินเรา
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 12
:lovl: :lovl: :lovl:Financial Engineer เขียน:ลองสังเกตดู
ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้มักจะบอกว่า ลงทุนหุ้นนั้นเสี่ยง ถือตราสารหนี้กินดอกดีกว่า
ผู้จัดการกองทุนหุ้นมักจะบอกว่า จากสถิติในระยะยาวแล้ว การลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนดีกว่าตราสารหนี้
ผู้ขายหน่วยลงทุนมักจะบอกว่า รายย่อยอย่าไปเล่นเองเลย ความรู้ความเชี่ยวชาญสู้กองทุนไม่ได้หรอก ให้ผู้เชี่ยวชาญลงทุนแทนผ่านกองทุนดีกว่า
มาร์เก็ตติ้งมักจะบอกว่า เงินเราเองเล่นเองดีกว่า จะขาดทุน/กำไรก็น้ำมือเราเอง ดีกว่าไปให้ใครก็ไม่รู้จัดการกับเงินเรา
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- ผู้ติดตาม: 0
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 15
ผมดีใจที่กองทุนเป็นอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะหากเกิดผจก.ที่ลงทุนแบบปีเตอร์ลินช์ ขึ้นมาจริงๆ พวกเราคงจะลงทุนได้ยากกว่าทุกวันนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 129
- ผู้ติดตาม: 0
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 17
ลงทุนในหุ้นไม่ต้องใช้เวลาดูหุ้นเฉลี่ยถึงวันละ 3 ชั่วโมงมังครับ ผมเชื่อว่าหลายๆคนโดยเฉพาะในเวบนี้ใช้เวลาเฉลี่ย วันละ 3 ชั่วโมงในการคุยกันในเวบเอาหนุกๆมากกว่า ผมคิดว่าถ้าลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เราพึงพอใจ อาทิตย์ละ 3 ชั่วโมงก็เยอะแล้วละครับ เอาเวลาไปเที่ยวป่าดีกว่า หรือไม่ก็คุยกันในเวบหนุกๆ เอามัน ดูหุ้นเฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมงก็ถือเป็นอาชีพได้แล้วล่ะครับ เพราะทำงานวันละ 8 ชั่วโมงเอง
ให้ลงทุนในกองทุนผมคงไม่เอาหรอก ผมอยากลงทุนในบริษัทที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประเทศไทย ยกเว้นกองทุนจะทำผลงานได้ดีกว่าบริษัทในตลาด ผมคงไม่รีรอที่จะซื้อกองทุนแน่ๆ ขอให้ผู้จัดการกองทุนพัฒนาตัวเองให้เก่งกว่าผู้บริหารบริษัทในตลาด คงมีนักลงทุนเข้าซื้อหน่วยลงทุนเยอะกว่านี้แน่ๆ
ให้ลงทุนในกองทุนผมคงไม่เอาหรอก ผมอยากลงทุนในบริษัทที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประเทศไทย ยกเว้นกองทุนจะทำผลงานได้ดีกว่าบริษัทในตลาด ผมคงไม่รีรอที่จะซื้อกองทุนแน่ๆ ขอให้ผู้จัดการกองทุนพัฒนาตัวเองให้เก่งกว่าผู้บริหารบริษัทในตลาด คงมีนักลงทุนเข้าซื้อหน่วยลงทุนเยอะกว่านี้แน่ๆ
- ลุงขวด
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2448
- ผู้ติดตาม: 0
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 18
เห็นด้วยกับคุณลูกอิสาน........เอา ลูกอิสาน สู้ ๆ ผมเป็นกองหนุนเต็มที่ นั่นเขาบริหารเงินมาก ๆ ก็ ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริษัทใหญ่ ๆ เท่านั้นเอง.......พวกเรารายย่อย เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริษัทฯ ใหญ่ ๆ บางทีเจอตอนไหนเขาจะออกจากตลาดก็ต้องรับกรรมไปเท่านั้นเอง.............ตลาดทุนเป็นตลาดหาเงินลงทุน ถามหน่อย มีใครที่โต ขึ้นมาได้เลย โดยไม่ผ่านระยะเด็ก ๆ บ้าง ต้นไม้ยังค่อย ๆ เติบโตเป็นต้นใหญ่ที่แข็งแรงจากต้นกล้า เล็ก ๆ บริษัทฯ ก็เช่นกัน เข้าตลาดหาทุนเพื่อการเติบโต วันหนึ่งบริษัทฯ เล็ก ๆ ถ้าพยายาม มุ่งมั่นจริง ๆ ก็เป็นบริษัท ที่ใหญ่โตได้เหมือนกัน ผมเริ่มเห็นบริษัทฯ เล็ก ที่พยายามตั้งใจทำงานเพื่อการเติบโตของบริษัทฯ สร้างชื่อเสียงแก่ตนเอง และ บริษัทฯ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี่แหละเป็นบริษัทฯ ที่เราควรจะไปลงทุนด้วย........สองวรรคสุดท้ายที่ขีดเส้นใต้ ผมว่าเป็นความคิดที่ผิดมากเลยครับ .... ผมครับสนใจและคงมีนักลงทุนรายย่อยหลายคนที่สนใจเช่นกัน และพร้อมจะถือยาวด้วย เมื่อสองวันก่อน ผมก็ไปลงทุน LTF ของไทยพาณิชย์ เป็น SCBLT3 ที่จะลงทุนในหุ้น ตลาด MAI และ ตลาดหลักด้วย แต่เป็นหุ้นกลางและเล็กที่ไม่มีสภาพคล่องเท่าไหร่ แต่มีการเติบโต ผมว่า เป็นทางออกที่ตรงกับเป้าหมายของผม ก็ต้องลองดูว่า SCBLT3 จะประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ถ้าเขาบริหารอย่างซื่อสัตย์ ผมเชื่อว่า น่าจะได้ผลตอบแทนดีกว่าไปลงทุนในหุ้นตัวใหญ่ ๆ ที่อยู่ในการควบคุมของต่างชาติและสถาบันในขณะนี้
หุ้นจะขึ้นหรือลง อยู่ที่ผลประกอบการ ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถของผู้บริหารกับ ธรรมาภิบาล.........ใหญ่ในเล็กย่อม ดีกว่าเล็กในใหญ่
-
- Verified User
- โพสต์: 424
- ผู้ติดตาม: 0
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 25
[quote="chatchai"]ปัจจุบันนี้
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 26
สเกลใหญ่แต่ประสิทธิภาพ ไม่ค่อยดีมั้งครับ
คนในเวปนี้ดูหุ้นวันละ 3 ชม ยังชนะพวก... ทีดูวันละ 12 ชมเลยครับ
-----------------------------------------------------------------
ใหญ่กว่าได้เปรียบแต่ไม่ได้หมายความว่าชนะทุกครั้งนะครับ
คนในเวปนี้ดูหุ้นวันละ 3 ชม ยังชนะพวก... ทีดูวันละ 12 ชมเลยครับ
-----------------------------------------------------------------
ใหญ่กว่าได้เปรียบแต่ไม่ได้หมายความว่าชนะทุกครั้งนะครับ
- Raphin Phraiwal
- Verified User
- โพสต์: 1342
- ผู้ติดตาม: 0
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 27
[quote="สามัญชน"]ถ้ากองทุนในเมืองไทยเก่งเท่ากองทุนของบัฟเฟตต์หรือปีเตอร์ ลินช์ ผมก็ยินดีที่จะลงทุนในกองทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 920
- ผู้ติดตาม: 0
ความคิดของคนใหญ่โตในวงการตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 28
โดยส่วนตัวผมก็คิดว่าคนที่มีงานประจำที่ตนเองยังรู้สึกรักและท้าทายก็ถือได้ว่าการลงทุนในกองทุนรวมเป็นทางเลือกในการออมที่น่าสนใจทางหนึ่ง เพียงแต่ต้องลงทุนด้วยจำนวนเงินที่เหมาะสม ณ. เวลาที่เหมาะสม คือพิจารณา PE ของตลาดควบคู่กับภาพรวมของประเทศ เลือกกองทุนที่มีประวัติการบริหารพอใช้ได้...คนทีเลือกซื้อกองทุนหลังฟองสบู่แตกซัก 2-3 ปี ก็คงได้ผลตอบแทนไม่น้อยเช่นกัน และยังได้ทำงานที่ตนเองรักด้วย...ผมยังจินตนาการไม่ออกเหมือนกันว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร...หากทุกคนที่ทำงานประจำหันมาสนใจลงทุนในตลาดเองหมด