PE ของตลาด
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 1
สืบเนื่องจากคำถามของคุณคัดท้ายว่าผมให้ PE ตลาดไทยเท่าไร
ตอนนี้ 10y Treasury yield พุ่งไป 6.04%
BBB-rated Corporate bond spread 2.16%
ให้ equity risk premium 4%
รวมแล้ว cost of equity 12.2% หรือเท่ากับ PE 8.2 เท่าครับ
หุ้นที่กำไรในอนาคตน่าจะเท่าเดิมตลอด ผมให้ PE 8.2
หุ้นที่กำไรน่าจะตกลงในอนาคตอันใกล้ ผมให้ PE < 8.2
หุ้นที่กำไรน่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ผมให้ PE > 8.2
เท่าที่ดูกำไรตลาดปีหน้าน่าจะเติบโตประมาณ 0% ผมจึงให้ PE เฉลี่ยทั้งตลาด 8.2% เช่นกันครับ
ถ้าดูตอนนี้ก็รู้สึกจะแพงไปนิดหนึ่งครับ
ตอนนี้ 10y Treasury yield พุ่งไป 6.04%
BBB-rated Corporate bond spread 2.16%
ให้ equity risk premium 4%
รวมแล้ว cost of equity 12.2% หรือเท่ากับ PE 8.2 เท่าครับ
หุ้นที่กำไรในอนาคตน่าจะเท่าเดิมตลอด ผมให้ PE 8.2
หุ้นที่กำไรน่าจะตกลงในอนาคตอันใกล้ ผมให้ PE < 8.2
หุ้นที่กำไรน่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ผมให้ PE > 8.2
เท่าที่ดูกำไรตลาดปีหน้าน่าจะเติบโตประมาณ 0% ผมจึงให้ PE เฉลี่ยทั้งตลาด 8.2% เช่นกันครับ
ถ้าดูตอนนี้ก็รู้สึกจะแพงไปนิดหนึ่งครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 2
ท่านแม่ทัพสุมาอี้ แย้มผะอบแล้วนะครับ
ใครถือหุ้น PE ต่ำกว่า 8.2 ระวังหน่อยก็ดีครับ !!!
ใครถือหุ้น PE ต่ำกว่า 8.2 ระวังหน่อยก็ดีครับ !!!
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- Verified User
- โพสต์: 45
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 3
แย่แล้ว ท่านสุมาอี้ยังเกี่ยงราคาณ ตอนนี้ว่ายังแพงอยู่
ผมว่ามันถูกแล้วนา โดนมรสุมซัดมาหลายลูกแล้ว
แต่เชื่อท่านสุมาอี้ เก็บเงินไว้ก่อนดีกว่าใช่ไหมครับ เอาไว้ช่วง PE ตลาดรวมต่ำกว่า 8.2 ค่อยมาดูใหม่สำหรับหุ้นปันผล
ส่วนหุ้น growth หลายตัว PE มากกว่า 15 แล้ว ถ้าดูสถานการณ์ตลาดรวมตามที่ท่านสุมาอี้ว่าไว้ ก็คงต้องชะลอการซื้อไว้ก่อน
ผมว่ามันถูกแล้วนา โดนมรสุมซัดมาหลายลูกแล้ว
แต่เชื่อท่านสุมาอี้ เก็บเงินไว้ก่อนดีกว่าใช่ไหมครับ เอาไว้ช่วง PE ตลาดรวมต่ำกว่า 8.2 ค่อยมาดูใหม่สำหรับหุ้นปันผล
ส่วนหุ้น growth หลายตัว PE มากกว่า 15 แล้ว ถ้าดูสถานการณ์ตลาดรวมตามที่ท่านสุมาอี้ว่าไว้ ก็คงต้องชะลอการซื้อไว้ก่อน
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 4
ผมได้ลองทดสอบสมมติฐานของผมโดยเลือกหุ้นที่ทุกคนมองว่ากำไรค่อนข้างมั่นคงมากๆ คือไม่มีโอกาสเพิ่มมากหรือลดลงมากแต่ปลอดภัยสูง (หุ้นที่น่าเบื่อถือแล้วราคาไม่ไป) ดูแล้ว ส่วนใหญ่ก็มี PE ประมาณ 8 ทั้งนั้น ตัวอย่างเช่น
RATCH (มีสัญญาระยะยาวที่กฟผ.ชดเชย ROE ให้, อุปทานไฟฟ้าของประเทศโตค่อยๆ โตปีละนิด) ตอนนี้มี PE 8.11
TF (ของตายยังไงก็กิน แต่ตลาดอิ่มตัวแล้ว) ตอนนี้มี PE 9.49
APRINT (กำไรสม่ำเสมอมา 3 ปี แล้ว ไม่มี growth story ใดๆ รออยู่) ตอนนี้ PE 8.83
SAUCE (20 ปีก่อนขายน้ำปลา ปีที่แล้วขายน้ำปลา ปีนี้ขายน้ำปลา ปีหน้าขายน้ำปลา อีก 20 ปีข้างหน้าก็คงจะขายน้ำปลาต่อไป) ตอนนี้ PE 13.6
ดูแบบนี้ SAUCE แพง แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องไปตรวจดูให้ละเอียดอีกทีในงบการเงินว่ากำไรสุทธิในปีที่ผ่านมาเป็นกำไรที่มีคุณภาพหรือไม่ (มีรายการพิเศษเยอะมั้ย) ถ้าปรับปรุงกำไรสุทธิแล้วอาจจะพบว่าไม่แพงก็ได้ (ขี้เกียจไปดู)
สรุปแล้วหุ้นที่น่าจะมีกำไรเท่าเดิมปีหน้ามี PE ประมาณ 8-9 ซึ่งมองได้ 2 อย่างก็คือ ยังแพงไปนิดหนึ่ง หรือไม่ก็เพราะสมมติฐานเรื่อง equity risk premium ของผมค่อนข้างโหดเกินไป
RATCH (มีสัญญาระยะยาวที่กฟผ.ชดเชย ROE ให้, อุปทานไฟฟ้าของประเทศโตค่อยๆ โตปีละนิด) ตอนนี้มี PE 8.11
TF (ของตายยังไงก็กิน แต่ตลาดอิ่มตัวแล้ว) ตอนนี้มี PE 9.49
APRINT (กำไรสม่ำเสมอมา 3 ปี แล้ว ไม่มี growth story ใดๆ รออยู่) ตอนนี้ PE 8.83
SAUCE (20 ปีก่อนขายน้ำปลา ปีที่แล้วขายน้ำปลา ปีนี้ขายน้ำปลา ปีหน้าขายน้ำปลา อีก 20 ปีข้างหน้าก็คงจะขายน้ำปลาต่อไป) ตอนนี้ PE 13.6
ดูแบบนี้ SAUCE แพง แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นต้องไปตรวจดูให้ละเอียดอีกทีในงบการเงินว่ากำไรสุทธิในปีที่ผ่านมาเป็นกำไรที่มีคุณภาพหรือไม่ (มีรายการพิเศษเยอะมั้ย) ถ้าปรับปรุงกำไรสุทธิแล้วอาจจะพบว่าไม่แพงก็ได้ (ขี้เกียจไปดู)
สรุปแล้วหุ้นที่น่าจะมีกำไรเท่าเดิมปีหน้ามี PE ประมาณ 8-9 ซึ่งมองได้ 2 อย่างก็คือ ยังแพงไปนิดหนึ่ง หรือไม่ก็เพราะสมมติฐานเรื่อง equity risk premium ของผมค่อนข้างโหดเกินไป
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 5
ทีนี้ลองมามองหุ้นเติบโตดูบ้าง ตอนนี้หุ้นที่ดูแล้วกำไรปีหน้าน่าจะเพิ่มมีน้อยมาก นับตัวได้เลย
ตัวหนึ่งที่ยังชูคอได้อยู่คือ PTTEP ซึ่ง output จะเพิ่มขึ้น 65% ภายใน 4 ปีข้างหน้า จากแหล่งอาทิตย์และแหล่งที่ซื้อต่อโปโกมา
ถ้าอยากให้อีก 4 ปีข้างหน้า PTTEP มี PE สัก 8 ตอนนี้ก็ควรจะมี PE สัก 13.2 แต่ตอนนี้มี PE 12.85 ดังนั้นผมว่า PTTEP จะ undervalue ไปหน่อย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสมมติฐานราคากาซในอนาคตด้วยว่าจะยังคงเท่าเดิมต่อไปหรือไม่ แต่ส่วนใหญ่แล้วกาซซื้อขายระยะยาวตามสํญญาราคาจึงไม่ผันผวนอย่างน้ำมัน อีกอย่างคือต้องคิดเรื่อง time value of money ด้วย เพราะมันอีกตั้ง 4 ปีข้างหน้า ดังนั้นราคานี้อาจจะเป็น fair value แล้วก็ได้
ไม่รู้สิ ผมว่าถ้าเรามีข้อมูลเรื่องอนาคตของบริษัทมากพอ แล้วลองคิดแบบนี้ดู ส่วนใหญ่แล้วหุ้นจะมีราคาค่อนข้าง fair ทั้งนั้น แต่ถ้าค้นดูดีๆ 10 ตัวอาจจะเจอสักตัวหนึ่งที่ undervalue มากๆ แบบมี margin of safety เวลาผมเจอ ผมใส่เลย
ตัวหนึ่งที่ยังชูคอได้อยู่คือ PTTEP ซึ่ง output จะเพิ่มขึ้น 65% ภายใน 4 ปีข้างหน้า จากแหล่งอาทิตย์และแหล่งที่ซื้อต่อโปโกมา
ถ้าอยากให้อีก 4 ปีข้างหน้า PTTEP มี PE สัก 8 ตอนนี้ก็ควรจะมี PE สัก 13.2 แต่ตอนนี้มี PE 12.85 ดังนั้นผมว่า PTTEP จะ undervalue ไปหน่อย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสมมติฐานราคากาซในอนาคตด้วยว่าจะยังคงเท่าเดิมต่อไปหรือไม่ แต่ส่วนใหญ่แล้วกาซซื้อขายระยะยาวตามสํญญาราคาจึงไม่ผันผวนอย่างน้ำมัน อีกอย่างคือต้องคิดเรื่อง time value of money ด้วย เพราะมันอีกตั้ง 4 ปีข้างหน้า ดังนั้นราคานี้อาจจะเป็น fair value แล้วก็ได้
ไม่รู้สิ ผมว่าถ้าเรามีข้อมูลเรื่องอนาคตของบริษัทมากพอ แล้วลองคิดแบบนี้ดู ส่วนใหญ่แล้วหุ้นจะมีราคาค่อนข้าง fair ทั้งนั้น แต่ถ้าค้นดูดีๆ 10 ตัวอาจจะเจอสักตัวหนึ่งที่ undervalue มากๆ แบบมี margin of safety เวลาผมเจอ ผมใส่เลย
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 6
เดาว่า คุณสุมาอี้ ต้องเป็นศิษสำนัก William O' Neil แน่ๆเลยแบบนี้ อิอิ ..
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 7
ตอนนี้ port ผม pe < 7 แต่ growth ของกำไร เกือบเป็น 0
ใช้วิธีคิดแบบคุณสุมาอี้ คงนอนหลับสบาย :D
ใช้วิธีคิดแบบคุณสุมาอี้ คงนอนหลับสบาย :D
I do not sleep. I dream.
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: PE ของตลาด
โพสต์ที่ 8
น่าสนใจมากท่านแม่ทัพสุมาอี้ เขียน: ตอนนี้ 10y Treasury yield พุ่งไป 6.04%
BBB-rated Corporate bond spread 2.16%
ให้ equity risk premium 4%
รวมแล้ว cost of equity 12.2% หรือเท่ากับ PE 8.2 เท่าครับ
เพื่อให้ข้อคิดของท่านแม่ทัพเป็นที่กระจ่างแกข้าน้อยด้วย จึงขอถามบ้างนะครับ
ตรงที่equity risk premium 4% หามาได้อย่างไรครับ หรือกำหนดขึ้นมาจากสมมุติฐานอะไรอะไรครับ
ส่วนcost of equity ทำไมถึงจึงเอาค่าทั้งหมดมาบวกกันอย่างนั้นละครับ มีสมมุติฐานอย่างไร
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 9
BBB-rated corporate bond เป็น fixed income ระดับ investment grade ตัวต่ำสุด
ดังนั้น ระหว่างการซื้อ BBB bond ซึ่งมี future cash flow ที่ fixed แน่นอน กับการซื้อ equity ที่กำไรเท่าเดิมทุกปี การซื้อ BBB bond ย่อมน่าสนใจมากกว่า เพราะ equity ไม่ได้สัญญากับผู้ซื้อว่าจะต้องนำส่งผลตอบแทนเท่าไร
yield ของ BBB bond จึงเป็น benchmark ที่ดีของ equity ที่คาดว่าจะมีกำไรเท่าเดิมทุกปีครับ ถ้าตอนนี้ yield ของ BBB bond เท่ากับ 6.04+2.16 หรือ 8.2% equity ที่คาดว่าจะมีกำไรเท่าเดิมทุกปีจะต้องให้ผลตอบแทนมากกว่า 8.2% มิฉะนั้นจะไม่น่าสนใจครับ
แต่จะต้องมากกว่าเท่าไรถึงจะดึงดูดก็คือ equity risk premium นั้นเองครับ น่าเสียดายที่ตัวนี้หา benchmark ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของความรู้สึกของนักลงทุน แต่ในอดีตที่ผ่านมาในอเมริกาพบว่า equity risk premium อยู่ระหว่าง 2-5% ครับ ผมชอบใช้ 4%
equity risk premium จึงเป็น assumption ที่มี error มากที่สุดครับ
ดังนั้น ระหว่างการซื้อ BBB bond ซึ่งมี future cash flow ที่ fixed แน่นอน กับการซื้อ equity ที่กำไรเท่าเดิมทุกปี การซื้อ BBB bond ย่อมน่าสนใจมากกว่า เพราะ equity ไม่ได้สัญญากับผู้ซื้อว่าจะต้องนำส่งผลตอบแทนเท่าไร
yield ของ BBB bond จึงเป็น benchmark ที่ดีของ equity ที่คาดว่าจะมีกำไรเท่าเดิมทุกปีครับ ถ้าตอนนี้ yield ของ BBB bond เท่ากับ 6.04+2.16 หรือ 8.2% equity ที่คาดว่าจะมีกำไรเท่าเดิมทุกปีจะต้องให้ผลตอบแทนมากกว่า 8.2% มิฉะนั้นจะไม่น่าสนใจครับ
แต่จะต้องมากกว่าเท่าไรถึงจะดึงดูดก็คือ equity risk premium นั้นเองครับ น่าเสียดายที่ตัวนี้หา benchmark ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของความรู้สึกของนักลงทุน แต่ในอดีตที่ผ่านมาในอเมริกาพบว่า equity risk premium อยู่ระหว่าง 2-5% ครับ ผมชอบใช้ 4%
equity risk premium จึงเป็น assumption ที่มี error มากที่สุดครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 10
ท่านแม่ทัพ ใช้แค่ cost of equity ประเมิณ PEตลาดเห็นจะยังไม่ค่อยครบสักเท่าไร ยังขาดcost of debt ไป ผมว่าบริษัททั้งหลายในบ้านเรากว่า70%(อันนี้คิดเอง)ใช้เงินกู้กันทั้งนั้น ไม่ทราบว่า DEของทั้งตลาดประมาณเท่าไร น่าจะสูงเอาการโดยเฉพาะพวกbig cap มักจะมีDEสูงทั้งนั้น
ถ้าเอา Cost of debt มารวมด้วย PEตลาดน่าจะสูงกว่านี้นะครับ(ผมกะว่าน่าจะอยู่ราว 10 นิดๆ) ถ้านึกสนุกจะลองคิดดูก็น่าจะดี จะได้เป็นตัวอ้างอิงได้
ตรงนี้เอาความเสี่ยงที่สามารถกระจายได้มาคิดเท่านั้นมังครับ ส่วนความเสี่ยงที่ไม่สามารถกระจายได้ยังไม่ได้เอามาคิดนะครับ
ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของ security market line ครับ
ถ้าเอา Cost of debt มารวมด้วย PEตลาดน่าจะสูงกว่านี้นะครับ(ผมกะว่าน่าจะอยู่ราว 10 นิดๆ) ถ้านึกสนุกจะลองคิดดูก็น่าจะดี จะได้เป็นตัวอ้างอิงได้
หุ้นที่กำไรในอนาคตน่าจะเท่าเดิมตลอด ผมให้ PE 8.2
หุ้นที่กำไรน่าจะตกลงในอนาคตอันใกล้ ผมให้ PE < 8.2
หุ้นที่กำไรน่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ผมให้ PE > 8.2
ตรงนี้เอาความเสี่ยงที่สามารถกระจายได้มาคิดเท่านั้นมังครับ ส่วนความเสี่ยงที่ไม่สามารถกระจายได้ยังไม่ได้เอามาคิดนะครับ
ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของ security market line ครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 13
ไม่ต้องคิด cost of debt ครับ เพราะเรากำลังซื้อ "หุ้น" หรือซื้อ "กำไรสุทธิ" ในอนาคตของบริษัท มิใช่ซื้อ "EBIT"
ถ้าจะคิด cost of debt ด้วย หรือก็คือใช้ WACC เป็น discount rate ก็ได้ แต่สิ่งที่ได้จะเป็น EV/EBITDA ครับ มิใช่ P/E เราต้องมาหักผลของ debt อีกที ปวดหัวน่าดู
ถ้าจะคิด cost of debt ด้วย หรือก็คือใช้ WACC เป็น discount rate ก็ได้ แต่สิ่งที่ได้จะเป็น EV/EBITDA ครับ มิใช่ P/E เราต้องมาหักผลของ debt อีกที ปวดหัวน่าดู
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 14
งงครับ อธิบายหน่อยว่าทำไม ไม่ต้องใช้cost of debt ครับ
PE หรือ Earning power Value มักจะใช้ Cost of fund มาคิด เมื่อที่มาของFund มีสองส่วนเอาแค่ส่วนเดียวมาคิดย่อมไม่ครบแน่ อีกประการหนึ่ง(บางบริษัท)ลำพังequityไม่พอเอามาสร้างearningได้แน่นอน จึงยอมจ่ายต้นทุนที่เป็นdebt คือ ดอกเบี้ย
แต่ถ้าบางบริษัทใช้equityอย่างเดียว ผมคงไม่แย้งแน่นอน
PE หรือ Earning power Value มักจะใช้ Cost of fund มาคิด เมื่อที่มาของFund มีสองส่วนเอาแค่ส่วนเดียวมาคิดย่อมไม่ครบแน่ อีกประการหนึ่ง(บางบริษัท)ลำพังequityไม่พอเอามาสร้างearningได้แน่นอน จึงยอมจ่ายต้นทุนที่เป็นdebt คือ ดอกเบี้ย
แต่ถ้าบางบริษัทใช้equityอย่างเดียว ผมคงไม่แย้งแน่นอน
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 15
Mon money เขียน: ตรงนี้เอาความเสี่ยงที่สามารถกระจายได้มาคิดเท่านั้นมังครับ ส่วนความเสี่ยงที่ไม่สามารถกระจายได้ยังไม่ได้เอามาคิดนะครับ
ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของ security market line ครับ
ผมต้องทบทวนความจำ modern finance theory พอสมควร ก็จะนึกออกว่าตรงนี้หมายถึงอะไร
คืองี้ครับ หลักของ modern finance theory บอกว่า ความเสี่ยงที่กระจายได้ ไม่น่ากลัว ดังนั้นนักลงทุนจึงไม่สมควรได้รับผลตอบแทนใดๆ เพิ่มเติมจากการเข้ามารับความเสียงที่กระจายได้ พูดง่ายๆ ก็คือ ความเสี่ยงที่กระจายไม่ได้เท่านั้นที่ควรคิดผลตอบแทนให้
ความเสี่ยงที่กระจายไม่ได้ วัดด้วย เบต้า ครับ ดังนั้น modern finance theory จึงพิจารณาว่าหุ้นตัวไหน undervalue หรือ overvalue โดยการวัดว่าใครมี expected return มาก เมื่อเทียบกับ เบต้า ของมัน จะเป็น undervalue stock ซึ่งควรซื้อเก็บเข้าพอร์ต หุ้นพวกนี้จะวิ่งอยู่เหนือเส้น security market line
...................
แต่สิ่งที่ผมบอกว่า หุ้นที่กำไรกำลังเพิ่ม ควรมี PE สูงกว่า 8.2 นั้น เป็นเพราะเมื่อปีหน้ากำไรของบริษัทเพิ่มขึ้น PE จะต่ำลง ทำให้ PE วิ่งกลับมาที่ 8.2 ดั
เดิมเท่านั้นเอง มิใช่เพราะมันมี expected return มากจึงควรมีเบต้าสูงอะไรแบบนั้น
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปีหน้าหุ้น A ถูกคาดหวังว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้น 30% แล้วทรงอยู่ในระดับนั้นในปีต่อๆ ไป แบบนี้ ปีนี้หุ้น A ควรมี PE 8.2*1.3 = 10.66 เรียกว่า PE วิ่งไปรอไว้ก่อนล่วงหน้า เพราะเมื่อปีหน้า E เพิ่มขึ้น 30% โดยที่ราคาต้องไม่เปลี่ยนแปลง PE จะวิ่งกลับไปที่ 10.66/(1.3E) = 8.2 ได้เองโดยอัตโนมัติ ง่ายๆ แบบนี้แหละ
(ในความเป็นจริง พอถึงปีหน้า PE จะไม่กลับไป 8.2 จริงๆ หรือครับ เพราะความคาดหวังเกี่ยวกับ E ในปีถัดไปก็จะเข้ามาใหม่ทำให้ PE วิ่งหนี 8.2 ไปอีก อย่างนี้เรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุดครับ เขาถึงบอกว่าค่าของหุ้นขึ้นกับอนาคต)
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 16
ไม่คิด Cost of Debt แล้วเกิดดอกเบี้ยมันขึ้นลงจะไม่ส่งผลกับกำไรสุทธิเหรอ
ผิดหลักความจริงไปหรือเปล่าครับ มิฉะนั้นบริษัทจะหาเงินกู้ถูกๆทำไมล่ะ
ผิดหลักความจริงไปหรือเปล่าครับ มิฉะนั้นบริษัทจะหาเงินกู้ถูกๆทำไมล่ะ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 17
Mon money เขียน:งงครับ อธิบายหน่อยว่าทำไม ไม่ต้องใช้cost of debt ครับ
PE หรือ Earning power Value มักจะใช้ Cost of fund มาคิด เมื่อที่มาของFund มีสองส่วนเอาแค่ส่วนเดียวมาคิดย่อมไม่ครบแน่ อีกประการหนึ่ง(บางบริษัท)ลำพังequityไม่พอเอามาสร้างearningได้แน่นอน จึงยอมจ่ายต้นทุนที่เป็นdebt คือ ดอกเบี้ย
แต่ถ้าบางบริษัทใช้equityอย่างเดียว ผมคงไม่แย้งแน่นอน
คืองี้ครับ การตีราคาหุ้น มี 2 วิธี
1. หา Firm Value ให้ได้ก่อน แล้วหักออกด้วย Debt Value ก็จะได้ Equity Value
2. หา Equity Value โดยตรง
สิ่งที่คุณ mon money กำลังทำคือการใช้วิธีแรก คือการหา Firm Value ครับ วิธีนี้จะใช้ WACC เป็น discount rate ซึ่งต้องหา cost of debt ด้วย แต่ nominator จะต้องเป็น EBIT(1-T) ครับ มิใช่ Earnings เพราะ EBIT(1-T) เป็นผลตอบแทนของ debtholder + equityholder ซึ่งคนทั้งสองกลุ่มเป็นเจ้าของ Firm ครับ
แต่ถ้าใช้ Earnings อย่างที่ผมทำ Earnings หรือ E คือผลตอบแทนของ equityholder คนเดียว ดังนั้นต้องใช้ cost of equity เป็น discount rate อย่างเดียว
ลองคิดดูสิครับ EBIT(1-T) มี ดอกเบี้ย ซึ่งเป็นผลตอบแทนของ debt อยู่ แต่ Earnings หักดอกเบี้ยออกไปแล้ว เป็นผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นอย่างเดียว
ไม่รู้ผมอธิบายไม่รู้เรื่องหรือเปล่า?
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 18
ไม่ผิดหลักความจริงแน่นอนครับ เพราะดอกเบี้ยขึ้นลงทำให้กำไรสุทธิเปลี่ยนไป นั้นแหละที่เพิ่มหรือลดผลตอบแทนของ ผู้ถือหุ้น ให้แล้วเสร็จสรรพjaychou เขียน:ไม่คิด Cost of Debt แล้วเกิดดอกเบี้ยมันขึ้นลงจะไม่ส่งผลกับกำไรสุทธิเหรอ
ผิดหลักความจริงไปหรือเปล่าครับ มิฉะนั้นบริษัทจะหาเงินกู้ถูกๆทำไมล่ะ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 20
เข้าใจว่า วิธีนี้ใช้เพื่อหา Expected Return หรือก็คือ ส่วนกลับของ PE
Expected Return = ราคาของเวลา + ราคาของความเสี่ยง x จำนวนความเสี่ยง
การที่ไม่เอา cost of debt มาก็เป็นอย่างที่ท่านแม่ทัพว่า เราไม่ได้หาว่า กิจการมีมูลค่าเท่าไร แต่เรากำลังหาว่า นักลงทุนคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ (expected return)
เนื้อหาน่าจะอยู่ในเรื่อง Moden Portfolio Theory
ไม่แน่ใจว่าตอบตรงไหมเนี่ย เรื่องนี้ต้องรื้อกลับมาจากสมัยเรียน
Expected Return = ราคาของเวลา + ราคาของความเสี่ยง x จำนวนความเสี่ยง
การที่ไม่เอา cost of debt มาก็เป็นอย่างที่ท่านแม่ทัพว่า เราไม่ได้หาว่า กิจการมีมูลค่าเท่าไร แต่เรากำลังหาว่า นักลงทุนคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ (expected return)
เนื้อหาน่าจะอยู่ในเรื่อง Moden Portfolio Theory
ไม่แน่ใจว่าตอบตรงไหมเนี่ย เรื่องนี้ต้องรื้อกลับมาจากสมัยเรียน
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 21
ลงทุนมันซับซ้อนขนาดนี้เลยเหรอครับ :shock:
ผมก็เรียนมานะ แต่พอลงทุนจริงๆไม่ได้ใช้เลยซักนิดเดียว
ทุกวันนี้บอกตรงๆว่าดูงบสวยๆ กระแสเงินสดดีๆ ธุรกิจเจ๋งๆ คาดเดากำไรได้ไม่ยาก ผู้บริหารเก่ง และซื่อสัตย์
ถ้าผ่าน 3 ข้อดีก็ถือว่าผ่านเกณฑ์
ที่เหลือมาดู pe ถ้าถูกก็ซื้อถ้าแพงก็ไม่เอา
หรือวิธีผมมันง่ายไป
ผมก็เรียนมานะ แต่พอลงทุนจริงๆไม่ได้ใช้เลยซักนิดเดียว
ทุกวันนี้บอกตรงๆว่าดูงบสวยๆ กระแสเงินสดดีๆ ธุรกิจเจ๋งๆ คาดเดากำไรได้ไม่ยาก ผู้บริหารเก่ง และซื่อสัตย์
ถ้าผ่าน 3 ข้อดีก็ถือว่าผ่านเกณฑ์
ที่เหลือมาดู pe ถ้าถูกก็ซื้อถ้าแพงก็ไม่เอา
หรือวิธีผมมันง่ายไป
- redvdox
- Verified User
- โพสต์: 94
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 22
เมื่อสงสัยแล้วก็ต้องมาถามครับ
ขอบคุณคับ
ช่วยยกตัวอย่างของความเสี่ยงที่กระจายได้-ความเสี่ยงที่กระจายไม่ได้หน่อยคับ อันใหนควรเอามาคิดผลตอบแทนอันใหนไม่ควรเอามาคิดสุมาอี้ เขียน: คืองี้ครับ หลักของ modern finance theory บอกว่า ความเสี่ยงที่กระจายได้ ไม่น่ากลัว ดังนั้นนักลงทุนจึงไม่สมควรได้รับผลตอบแทนใดๆ เพิ่มเติมจากการเข้ามารับความเสียงที่กระจายได้ พูดง่ายๆ ก็คือ ความเสี่ยงที่กระจายไม่ได้เท่านั้นที่ควรคิดผลตอบแทนให้
ขอบคุณคับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 24
ความเสี่ยงที่กระจายได้คือความเสี่ยงเฉพาะตัวของหุ้นนั้นๆ เช่น ผู้บริหารแก่มากแล้วเจ็บออดๆ แอดๆ หรือว่าโรงงานตั้งอยู่ใกล้โรงเก็บระเบิด เป็นต้น ความเสี่ยงพวกนี้เป็นของบริษัทใครบริษัทมัน ถ้าพอร์ตของนักลงทุนมีการกระจายมากเพียงพอ ความเสี่ยงเหล่านี้จะทำอันตรายพอร์ตไม่ได้ เพราะหุ้นแต่ละตัวคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับพอร์ตทั้งพอร์ต มิหน่ำซ้ำยังช่วยลดความเสี่ยงของทั้งพอร์ตได้อีกถ้าหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตมี correlation ต่ำกว่า 1 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแบบนั้น
พอร์ตของนักลงทุนที่มีการกระจายมากพอจึงเหลือแต่เพียงความเสี่ยงที่กระจายไม่ได้ ได้แก่ความเสี่ยงที่กระทบทั่วทั้งตลาด เช่น เงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย เกิดหดตัวของ GDP ความเสี่ยงพวกนี้ทำร้ายหุ้นทุกตัวในพอร์ต จึงเป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนควรได้รับผลตอบแทนจากการแบกความเสี่ยงเหล่านี้ไว้
ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ประหลาดมาก และทำให้ Harry Markovitz มีชื่อเสียงขึ้นมา เพราะสมัยก่อนเราเชื่อกันว่า หลักการลงทุนที่ถูกต้องคือการซื้อแต่หุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำๆ แต่ Harry Markovitz ออกมาบอกว่าผิด หลักการลงทุนที่ถูกต้องคือการ maximize expected return และ minimize risk การซื้อหุ้นที่มีความเสี่ยงมากๆ ไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากหุ้นนั้นส่งผลทำให้พอร์ตมี expected return สูงขึ้นมากกว่า risk ที่เพิ่มขึ้นมาครับ
ถ้าจะเอาเรื่องนี้มาใช้ประโยชน์ในเรื่องการเล่นหุ้นก็ได้ครับ เช่น ความเสี่ยงของหุ้น WORK ที่ขึ้นอยู่กับสุขภาพของเสี่ยตากับพี่จิกสองคนมากเกินไป จริงๆ แล้วอาจเสี่ยงน้อยกว่าความเสี่ยงของหุ้น EGAT ที่ขึ้นอยู่กับการเติบโตของ GDP ก็ได้ ถ้าพอร์ตของคุณเป็นพอร์ตที่มีกระจายมาพออยู่แล้ว (WORKน่าจะมี เบต้าต่ำกว่า EGAT) ซึ่งอันนี้ค่อนข้างขัดกับความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ครับ
พอร์ตของนักลงทุนที่มีการกระจายมากพอจึงเหลือแต่เพียงความเสี่ยงที่กระจายไม่ได้ ได้แก่ความเสี่ยงที่กระทบทั่วทั้งตลาด เช่น เงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย เกิดหดตัวของ GDP ความเสี่ยงพวกนี้ทำร้ายหุ้นทุกตัวในพอร์ต จึงเป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนควรได้รับผลตอบแทนจากการแบกความเสี่ยงเหล่านี้ไว้
ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ประหลาดมาก และทำให้ Harry Markovitz มีชื่อเสียงขึ้นมา เพราะสมัยก่อนเราเชื่อกันว่า หลักการลงทุนที่ถูกต้องคือการซื้อแต่หุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำๆ แต่ Harry Markovitz ออกมาบอกว่าผิด หลักการลงทุนที่ถูกต้องคือการ maximize expected return และ minimize risk การซื้อหุ้นที่มีความเสี่ยงมากๆ ไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป หากหุ้นนั้นส่งผลทำให้พอร์ตมี expected return สูงขึ้นมากกว่า risk ที่เพิ่มขึ้นมาครับ
ถ้าจะเอาเรื่องนี้มาใช้ประโยชน์ในเรื่องการเล่นหุ้นก็ได้ครับ เช่น ความเสี่ยงของหุ้น WORK ที่ขึ้นอยู่กับสุขภาพของเสี่ยตากับพี่จิกสองคนมากเกินไป จริงๆ แล้วอาจเสี่ยงน้อยกว่าความเสี่ยงของหุ้น EGAT ที่ขึ้นอยู่กับการเติบโตของ GDP ก็ได้ ถ้าพอร์ตของคุณเป็นพอร์ตที่มีกระจายมาพออยู่แล้ว (WORKน่าจะมี เบต้าต่ำกว่า EGAT) ซึ่งอันนี้ค่อนข้างขัดกับความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 25
อันนี้ถึงเดี๋ยวนี้นักวิชาการยังเถียงกันอยู่เลยครับ บางสำนักบอกว่า risk free rate จะต้องเป็น T-bill ระยะสั้นที่สุด บางสำนักบอกว่า risk free rate ต้องเป็น Treasury ที่มีระยะเวลาการลงทุนเท่ากับระยะเวลาการลงทุนของเราอองตวน เขียน:ฝากถามคุสุมาอี้ ว่าถ้าscopeลงทุน1ปี
เราใช้ treasury yield 1 ปีได้ไหมครับ
สำหรับ equity risk premium พอเข้าใจครับ ต่างคนก็ต่างตัวเลขกันเพราะมีมุมมอง expected return ของตลาดต่างกัน เบต้าของพอ์ตลงทุนก็ต่างกัน
modern finance theory เอาไปใช้ประโยชน์ได้แต่ concept ครับ การมานั่งคำนวนเป๊ะๆ ไม่ค่อยได้อะไรครับ เพราะ equity investment มี error เยอะอยู่แล้วจากธรรมชาติของมันที่มีความแน่นอนต่ำ ไม่เหมือน fixed income
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1211
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 26
อืม
ใครบางคนบอกว่า การลงทุนเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีทักษะหรือความรู้สูงส่ง ยากๆ มากมายอะไร
แต่ที่ผมอ่านในนี้ มันเป็นทฤษฎีเฉพาะอย่างที่ โอ้โห สุดๆครับ เฉพาะผู้เยี่ยมยุทธจริงๆ
ทำให้ผมฉุกคิดว่า ตอนที่เจ้าสัวซีพี สร้างธุรกิจ เขามีความรู้เรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน
ตอนที่ Buffett ลงทุน เขาต้องใช้ความรู้ขนาดนี้เลยหรือไม่
ท่านที่ประสบความสำเร็จกับการลงทุนหุ้นในไทย นำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณามากน้อยขนาดไหน เช่น ดร.นิเวศน์ ฯลฯ
ถ้าคำตอบคือ ใช่ และอย่างมาก
ผมว่า ตอนนี้ผมคงยังไม่เหมาะกับตลาดหุ้นและธุรกิจแน่ๆ
มีหวังได้กลับบ้านไปเลี้ยงควายชัวร์ๆเลยครับพี่น้อง
ใครบางคนบอกว่า การลงทุนเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีทักษะหรือความรู้สูงส่ง ยากๆ มากมายอะไร
แต่ที่ผมอ่านในนี้ มันเป็นทฤษฎีเฉพาะอย่างที่ โอ้โห สุดๆครับ เฉพาะผู้เยี่ยมยุทธจริงๆ
ทำให้ผมฉุกคิดว่า ตอนที่เจ้าสัวซีพี สร้างธุรกิจ เขามีความรู้เรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน
ตอนที่ Buffett ลงทุน เขาต้องใช้ความรู้ขนาดนี้เลยหรือไม่
ท่านที่ประสบความสำเร็จกับการลงทุนหุ้นในไทย นำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณามากน้อยขนาดไหน เช่น ดร.นิเวศน์ ฯลฯ
ถ้าคำตอบคือ ใช่ และอย่างมาก
ผมว่า ตอนนี้ผมคงยังไม่เหมาะกับตลาดหุ้นและธุรกิจแน่ๆ
มีหวังได้กลับบ้านไปเลี้ยงควายชัวร์ๆเลยครับพี่น้อง
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 27
ผมไม่ได้กระจายความเสี่ยงเลย อ่าน Modern Portfolio Theory แล้ว งงๆ เพราะ เบต้า มันคิดจากความผันผวนของราคา ซึ่งเอามาใช้ทำไมก็ไม่รู้ มันเป็นเรื่องของอดีตนี่หว่า เลยไม่เคยให้ Credit วิธีนี้เลยครับ
I do not sleep. I dream.
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 28
ผมเข้าใจท่านแม่ทัพแล้วละ แต่ว่าวิธีนี้เนี่ยผมเคยเถียงจนอาจารย์ที่สอบออรอลผมยอมแพ้มาทีแล้ว(ไม่รู้ว่าลำคาญผม หรือ ขี้เกียจเถียงกับผมแล้ว) มันมีอะไรที่ขัดๆพอควร ครับ
ทฤษฎีนี้ยังต้องปรับปรุงอีกมากครับ เพราะพวกเล่นใช้ตัวแปรน้อยตัว จึงเกิดการพัฒนาmodelที่มีตัวแปรมากขึ้นเพื่อให้สะท้อนภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
สรุปว่าถ้าจะใช้ต้องระวัง และต้องเข้าใจข้อด้อยของมัน
สรุปสุดท้ายคนอ่านและทำความเข้าใจจะได้ประโยชน์ และนี่คือสิ่งที่ผมอยากให้มี คุยเรื่องยากๆกันบ้าง คิดกันบ้าง สนุกออก
ขอบคุณท่านแม่ทัพสุมาอี้มากครับ
นักลงทุนคาดหวังผลตอบแทนจาก มูลค่าของกิจการนะครับการที่ไม่เอา cost of debt มาก็เป็นอย่างที่ท่านแม่ทัพว่า เราไม่ได้หาว่า กิจการมีมูลค่าเท่าไร แต่เรากำลังหาว่า นักลงทุนคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ (expected return)
ทฤษฎีนี้ยังต้องปรับปรุงอีกมากครับ เพราะพวกเล่นใช้ตัวแปรน้อยตัว จึงเกิดการพัฒนาmodelที่มีตัวแปรมากขึ้นเพื่อให้สะท้อนภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
สรุปว่าถ้าจะใช้ต้องระวัง และต้องเข้าใจข้อด้อยของมัน
yoyo ความรู้มีประโยชน์ทั้งนั้น เพียงแต่ว่าเราจะเข้าใจเอาไปประยุกต์ใช้ได้หรือไม่ ท่านแม่ทัพสุมาอี้นั้น กำลังประยุกต์ความรู้มาประยุกต์ใช้จริง ก็ยังมีความคิดต่างกันอยู่ จึงต้องตอบและต้องศึกษามาตอบ ท่านแม่ทัพกลับไปค้นตำราแน่นอน เพราะเห็นมาตอบเป็นช่วงๆเพราะต้องค้นไม่อยากให้มั่วลงทุนมันซับซ้อนขนาดนี้เลยเหรอครับ
ผมก็เรียนมานะ แต่พอลงทุนจริงๆไม่ได้ใช้เลยซักนิดเดียว
ทุกวันนี้บอกตรงๆว่าดูงบสวยๆ กระแสเงินสดดีๆ ธุรกิจเจ๋งๆ คาดเดากำไรได้ไม่ยาก ผู้บริหารเก่ง และซื่อสัตย์
ถ้าผ่าน 3 ข้อดีก็ถือว่าผ่านเกณฑ์
ที่เหลือมาดู pe ถ้าถูกก็ซื้อถ้าแพงก็ไม่เอา
หรือวิธีผมมันง่ายไป
สรุปสุดท้ายคนอ่านและทำความเข้าใจจะได้ประโยชน์ และนี่คือสิ่งที่ผมอยากให้มี คุยเรื่องยากๆกันบ้าง คิดกันบ้าง สนุกออก
ขอบคุณท่านแม่ทัพสุมาอี้มากครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
PE ของตลาด
โพสต์ที่ 29
ผมเองก็ไม่ได้ใช้ครับ modern finance theory แต่ต้องรู้ไว้ เพราะถ้าไม่รู้จริงจะวิจารณ์ไม่ได้เต็มปากครับว่ามันดีหรือไม่ดีอย่างไร
เบต้าที่แท้จริงที่ Markovitz นิยามไว้ ต้องเป็นเบต้าในอนาคตครับ แต่เบต้าในอนาคต unobservable ทำให้ต้องหันกลับไปใช้เบต้าในอดีต ซึ่งอาจแตกต่างจากเบต้าในอนาคตอย่างมากก็ได้ เพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นี่จึงเป็นข้อเสียของ MFT คือนำมาประยุกต์ใช้ได้ยากเนื่องจากปัญหาเรื่อง input ครับ
ผมชอบ classical finance theory มากกว่า โดยเฉพาะแนวคิดเรื่อง NPV คือผมไม่ชอบปืนกลครับ ชอบปืนลูกซองมากกว่า กระสุนน้อยแต่ยิงแม่น
เบต้าที่แท้จริงที่ Markovitz นิยามไว้ ต้องเป็นเบต้าในอนาคตครับ แต่เบต้าในอนาคต unobservable ทำให้ต้องหันกลับไปใช้เบต้าในอดีต ซึ่งอาจแตกต่างจากเบต้าในอนาคตอย่างมากก็ได้ เพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นี่จึงเป็นข้อเสียของ MFT คือนำมาประยุกต์ใช้ได้ยากเนื่องจากปัญหาเรื่อง input ครับ
ผมชอบ classical finance theory มากกว่า โดยเฉพาะแนวคิดเรื่อง NPV คือผมไม่ชอบปืนกลครับ ชอบปืนลูกซองมากกว่า กระสุนน้อยแต่ยิงแม่น
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ