ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เอ  

วิธีการบริหารแบบหนึ่งใช้ความชำนาญ  พิเศษ
ทำให้เกิดกำไร  ขึ้นทันตา

วิธี การบริหาร แบบรัดกุม ไม่ก้าวกระโดด ถ้ายังไม่พร้อม


แบบนี้  จะเลือกกันอย่างไงดีละคับ
Tiger
Verified User
โพสต์: 593
ผู้ติดตาม: 0

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

พี่ hot ครับ

ผมว่าเรื่องความเสี่ยงก็ไม่น้อยหน้ากันนะ

UEC ลุ้นงานใหม่ ๆ

MCS ลุ้นการใช้เงินทุน 500 ล้านที่มีอยู่

ถ้าสร้างกำไรก็จะทำให้ก้าวกระโดดทั้งคู่

แต่ถ้าพลาด ก็ฝืดทั้งคู่นะครับ
ต้องเรียนรู้ให้ได้
Li .. Zhi .. Ren
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เสี่ยงยังไง ที่ระดับราคานึงก็น่าสนใจนะเสือ
Tiger
Verified User
โพสต์: 593
ผู้ติดตาม: 0

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ก็น่านนะสิ   :lol:

ผมก็ชอบไปหมด เลยกลายเป็นเบี้ยหัวแตก

ชอบธุรกิจก็ซื้อ ไม่นึกถึง Margin of Safety

พอหุ้นลงก็เข้าข่าย VI จำเป็นซะ  8)
ต้องเรียนรู้ให้ได้
Li .. Zhi .. Ren
Tiger
Verified User
โพสต์: 593
ผู้ติดตาม: 0

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เปรียบมวยกันเล่น ๆ

UEC  ราคา 6.05 เงินสดต่อหุ้นหลัง ipo คร่าว ๆ (134+330) /143 = 3.2 บาท

MCS ราคา 2.7 เงินสดต่อหุ้นหลัง ipo 532/500 = 1 บาท

หมายเหตุ เงินสดส่วนนึงมีพันธะอยู่นะครับ


UEC กำไร 9 เดือน 118/143 = 0.82 ได้ P/E = 7.4 เติบโตจากปีที่แล้ว 100 %

MCS กำไร 9 เดือน 207/500 = 0.41 ได้ P/E = 6.6 เติบโตจากปีที่แล้ว 93 %


UEC ถ้าหักเงินสดออกจากราคา แล้วค่อยคิดได้ P/E = 3.5

MCS ถ้าหักเงินสดออกจากราคา แล้วค่อยคิดได้ P/E = 4.1



UEC ขยายพื้นที่การผลิตปี 48 ประมาณ 30 % ปี 49 ยังเพิ่มอะไรไม่ได้มาก

MCS ขยายพื้นที่การผลิตปี 48 ประมาณ 13 % ปี 49 เพิ่มพื้นที่ผลิตอีก 11 %


ความเห็นจากผู้คว่ำหวอดในวงการ

UEC น่าเชื่อถือเรื่องทิศทาง และธรรมาภิบาล เพราะมีคุณไพบูลย์เป็นประธาน

MCS การจัดวาง Layout โรงงาน และการดำเนินงาน well organized กว่าโรงเหล็กอื่นๆ มาก


UEC ฝีมือมาตรฐานอเมริกา

MCS ฝีมือมาตรฐานญี่ปุ่น


พูดแต่แง่ดี อิ อิ คือผมมีทั้งสองตัวนิครับ  :lol:  

ความเสี่ยงที่เห็นง่าย ๆ ก็คือ การโตพรวดพราดของกำไร แล้วเข้าตลาดหุ้นครับ

ยั่งยืนแค่ไหน คงต้องไปดูเอาเอง
ต้องเรียนรู้ให้ได้
Li .. Zhi .. Ren
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ดูเหมือนเรื่อง P/E จะพาคนตกหลุมพรางได้เยอะ ในหุ้นวัฎจักรและกำไรพิเศษแล้ว

เรื่องเงินสดต่อหุ้นจะเป็นหลุมพรางที่ใหญ่ ไม่แพ้กัน

ในฐานะผู้ถือหุ้นรายย่อย เราไม่สามารถกำหนดทิศทางของเงินได้

ครั้งหนึ่ง WG เคยเอาไปซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนอสังหา เพิ่มรายได้ให้มากกว่าดอกเบี้ยแบงค์ -> หุ้นตก

WG เอาเงินไปซื้อที่ดินจากบริษัทลูก ให้บริษัทลูกเช่า ลดดอกเบี้ยจ่าย-> หุ้นขึ้นเล็กน้อย

ความเห็นผม เงินสดจะมีความหมายต่อเมื่อมีโครงการดีๆที่ขยายไปแล้วได้ผลตอบแทนสูงๆ --> Super Stock อย่างหุ้นเรือในอดีต

ถ้าไม่มีโครงการ ผลตอบแทนเท่าสินทรัพย์ลงทุน
ถ้าโครงการแย่ ยิ่งทำยิ่งขาดทุน หรืออุดหนุนบริษัทลูกที่ขาดทุน ยิ่งไปกันใหญ่

มันเป็นไปได้ทั้งหมดแหละ ท่านที่เล่นหุ้นมานานพอควร น่าจะพอจำได้นะ

การหักลดเงินสด จากราคาหุ้น เป็นการประเมินทีแม่นยำเมื่อ
1. ประกาศปันผลออกมาแล้ว
2. ซื้อหุ้นคืน
3. คุณกำลังจะ Take Over กิจการเค้า

หุ้นที่เงินสดต่อหุ้นเยอะกว่านี้ก็มีครับ แต่หลายรายเอาเงินไปทำขาดทุนซะงั้น
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ทั้งนี้ทั้งนั้น ธรรมาภิบาลของ "เขา" เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ที่ช่วยให้บอกได้ว่า "เงินเรา" ที่อยู่ใน "บริษัทเรา"
จะได้รับการดูแลอย่างดี เพื่อ "เรา" หรือเพื่อ "เขา"
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

สรุปได้ชัดเจนครับ :B
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ปัจจุบัน UEC มีเงินสด 202 ลบ.
รับเงิน ipo 342 ลบ. (ลบค่าใช้จ่ายประมาณ 7 ลบ.)
กำไรไตรมาส 4 ประมาณ 30 ลบ.
เงินสดต่อหุ้นไตรมาส 4 ประมาณ 4บ./หุ้นครับ
หรือ 3 บ. ปลายๆ หากต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม


ส่วน MCS มีเงินสดที่บางส่วนรอชำระหนี้ครับ

นอกจากนั้น MCS ยังมีความเสี่ยงด้านการพึ่งพิงผู้บริหาร, ความเสี่ยงการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่ รวมถึงความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่า

แต่ MCS ก็ชดเชยด้วย พีอีที่ต่ำกว่าครับ

สรุปว่าผมคิดว่าน่าสนใจทั้งคู่ทั้ง MCS UEC อยู่ที่ใครชอบตัวไหน
 :D  :D
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

การหักลดเงินสด จากราคาหุ้น เป็นการประเมินทีแม่นยำเมื่อ
1. ประกาศปันผลออกมาแล้ว
2. ซื้อหุ้นคืน
3. คุณกำลังจะ Take Over กิจการเค้า

หุ้นที่เงินสดต่อหุ้นเยอะกว่านี้ก็มีครับ แต่หลายรายเอาเงินไปทำขาดทุนซะงั้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น ธรรมาภิบาลของ "เขา" เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ที่ช่วยให้บอกได้ว่า "เงินเรา" ที่อยู่ใน "บริษัทเรา"
จะได้รับการดูแลอย่างดี เพื่อ "เรา" หรือเพื่อ "เขา"
ประเด็นนี้ชัดเจนมากครับ
ผมเห็นด้วยเต็มร้อย

ถึงแม้บริษัทจะมีเงินสด/หุ้น สูงมาก
แต่ก็ยังไม่ใช่เงินสดของผู้ถือหุ้น
ตราบใดที่เงินสดนั้นยังไม่ได้จ่ายออกมา

ดังนั้นสำหรับบริษัทอย่างนี้ ผู้บริหารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ว่าเห็นแก่ประโยชน์ผู้ถือหุ้นหรือ ผลประโยชน์ของตัวเอง

1.บางบริษัทมีเงินสดมาก แต่ขาดธรรมภิบาล นำไปปล่อยกู้ให้บริษัทที่เกี่ยวข้อง อย่างนี้เป็นสิ่งที่แย่ที่สุด เช่นบริษัทนึง ในหมวดบรรจุภัณฑ์

แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่ 2

2.คือการทำลายคุณค่าเงินทุนของผู้ถือหุ้น ปกติเมื่อบริษัทมีเงินทุนส่วนเกิน มีทางเลือกไม่มาก

-นำไปลงทุนในกิจการต่อไป
-หากไม่สามารถนำเงินลงทุนไปหาผลตอบแทนที่ดีได้ ก็ควรคืนให้ผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มปันผล ซื้อหุ้นคืน

แต่หลายๆบริษัทแทนที่จะทำอย่างนั้น กลับดันทุรัง นำไปลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้น  เพราะปกติผู้ถือหุ้นย่อมคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนต่อเงินลงทุนประมาณ 10% ขึ้นไป

แต่บางบริษัทกลับนำเงินเหล่านี้ไปฝากเงินได้ผลตอบแทน 2-3% หรือนำไปลงทุนในโครงการที่ได้ผลตอบแทนต่ำกว่า 10%

แทนที่จะนำไปซื้อหุ้นคืน ซึ่งบางบริษัทพีอี 7 เท่า หรือให้ผลตอบแทนประมาณ 15% แล้วทำไมไม่ซื้อหุ้นบริษัทตัวเองครับ :?  :?

เท่าที่ผมคิดออกมีเหตุผลคือ..

1.มีเงินสดเยอะ ทำให้บริหารง่าย ผู้ถือหุ้นจะเป็นอย่างไร ช่างเผือก

2.การขยายกิจการ ทำให้ผู้บริหาร ได้รับเงินเดือนมากขึ้น เพราะมีกิจการต้องดูแลมากขึ้น การมีตำแหน่งในบริษัทย่อย นอกจากนั้นการขยายกิจการ ทำให้ภาพพจน์ผู้บริหารดูดี

3.ผู้บริหาร ไม่เข้าใจด้านการเงิน ไม่รู้ว่าเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นมีต้นทุน เช่นเดียวกับหนี้(ที่ต้องชำระเงินกู้)

:evil:  :evil:
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
redvdox
Verified User
โพสต์: 94
ผู้ติดตาม: 0

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอแสดงความเห็นด้วยครับ

บางบริษัทขายของอย่างเดิมมา20-30ปี ผลงานก็สม่ำเสมอ เงินสดก็ล้นบริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นโตปีละ10%ทุกปี แต่จ่ายปันผลปีละ3% จะเรียกว่าเจ้าของขี้ตืดดีหรือป่าวครับ  :wink:

แต่UEC คาดว่าคงจะจ่ายหนัก

เจ้าของเค้าFair ดีเหมือนกันนะผมว่า ขายIPO 8.10, ESOP 6.07 หรือได้ส่วนลดแค่ 25% แสดงว่าราคาIPOที่ตั้งไม่แพงเท่าไรถ้าเทียบกับที่ขายให้พนักงาน/ผู้บริหาร

ณ วันนี้(16/12/2548) สามารถซื้อได้ในราคาESOPแล้วครับ ไม่รู้เจ้าของตอนนี้กำลังคิดอะไรในใจหรือป่าว  :lol:
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ทั้ง MCS และ UEC บริหารบริษัทกันคนละแนวกันเลยนะ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

3.ผู้บริหาร ไม่เข้าใจด้านการเงิน ไม่รู้ว่าเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นมีต้นทุน เช่นเดียวกับหนี้(ที่ต้องชำระเงินกู้)
ขอแก้เป็น (ที่ต้องชำระดอกเบี้ย)


ป๋า CK  คิดถึงปุ่ม edit ครับ :lol:
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
ล็อคหัวข้อ