OFM จิราธิวัฒน์ และ ตลาดทุนไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
OFM จิราธิวัฒน์ และ ตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 1
OFM จิราธิวัฒน์ และ ตลาดทุนไทย
Source - ข่าวหุ้น (Th)
Wednesday, October 24, 2012 04:06
กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--ข่าวหุ้น
การรุกคืบเข้าฮุบกิจการฉันมิตรทางประตูหลังโดยไม่ใช้เงินสดของกลุ่มจิราธิวัฒน์ ในนามของบริษัทโฮลดิ้งทางด้านการค้าปลีก เซ็นทรัล รีเทล ต่อบริษัท ออฟฟิศเมท จำกัด (มหาชน) หรือ OFM สะท้อนให้เห็นถึงข้อเท็จจริงว่า ตลาดทุน ได้กลายเป็นที่พึ่งอย่างเข้มข้นของกลุ่มทุนไทยที่ต้องการระดมทุนเพื่อสร้างกิจการให้มีความคึกคักเข้มแข็งชนิดที่ยากจะปฏิเสธ
ในอดีตก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง กลุ่มจิราธิวัฒน์ขยายธุรกิจห้างสรรพสินค้าและค้าปลีกอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยแหล่งทุน 2 ทางคือ กระแสเงินสดจากทุนหมุนเวียนในธุรกิจค้าปลีก และการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน แต่หลังจากที่ได้ผ่านบททดสอบอย่างรุนแรงในกรณีของวิกฤตต้มยำกุ้ง กลุ่มนี้ ซึ่งในขณะนั้นได้มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยไม่กี่ราย ได้เรียนรู้ว่า การเป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนนั้น ให้คำตอบในเรื่องของการระดมทุน ทั้งเพื่อกอบกู้สถานการณ์ยามวิกฤต และการขยายงานในอนาคตได้ดีเบ็ดเสร็จ
การเติบใหญ่ในยุคหลังของกลุ่มจิราธิวัฒน์ที่ใช้ฐานการระดมทุนจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์จดทะเบียนในตลาดอย่าง บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ซึ่งเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดในต้นปี 2538 ทำให้ยึดครองพื้นที่พัฒนาโครงการคอมเพลกซ์ธุรกิจ (รวมศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน พื้นที่บันเทิง-สันทนาการ และโรงแรม) เป็นผู้นำในด้านนี้ในเขตเมืองใหญ่ของประเทศ
ตัวอย่างความโดดเด่นในการระดมทุนผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่ม CPN (ได้แก่ของเก่าอย่าง CPNRF และของใหม่อย่าง CPNCG) เพื่อรองรับเป้าหมายใหญ่ในแผนการลงทุนครั้งใหญ่เปิดตัว 7 โครงการใหม่ในปี 2555-2556 ที่มีมูลค่าการลงทุนกว่า 25,300 ล้านบาท ยืนยันถึงกลยุทธ์วิศวกรรมการเงินที่สอดรับกับยุทธศาสตร์การสร้างคอมเพล็กซ์ธุรกิจเพื่อสร้างรายได้หลากรูปแบบ
ยิ่งมีการแข่งขันที่รุนแรงมากเท่าใด ความจำเป็นต้องพึ่งพาตลาดทุน เพื่อลดต้นทุนการแข่งขันก็ยิ่งจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น เป็นบทเรียนที่กลุ่มจิราธิวัฒน์น่าจะได้รับจากประสบการณ์เช่นเดียวกับกลุ่มทุนอื่นของไทยอย่างกลุ่มเจียรวนนท์ กลุ่มอัศวโภคิน กลุ่มสิริวัฒนภักดี กลุ่มเนชั่น และกลุ่มทุนโดยรัฐอย่างเครือ ปตท.
3 ปีมานี้ นักลงทุนจึงได้เริ่มคุ้นเคยการเคลื่อนไหวของหุ้นที่อยู่ในการครอบครองของกลุ่มจิราธิวัฒน์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย (ดูตารางประกอบ) ซึ่งจะเห็นชัดเจนว่า มีความโดดเด่นมากขึ้นเป็นระยะๆหมุนเวียนกัน นับตั้งแต่หุ้นที่เคยเป็นหลักอยู่เดิมอย่าง CPN หรือ เซ็นทรัล พลาซ่า โฮเทล (CENTEL) ได้ขยายตัวไปสู่บริษัทจดทะเบียนอื่นๆ มากขึ้น
ตัวอย่างที่โดดเด่นได้แก่ การขยายตัวอย่างก้าวกระโดดของบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน (ROBINS) ที่ถูกขับเคลื่อนให้เป็นแนวหน้าของการค้าปลีกของกลุ่มเซ็นทรัล รีเทล ในเซ็นทรัลพลาซ่าที่ผุดขึ้นมาใหม่ทั่วประเทศ แทนห้างเซ็นทรัล อันเป็นเครื่องหมายการค้าเดิมที่ดูเหมือนจะขยายตัวช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
ตัวเลขยอดขายของ ROBINS จากสิ้นปี 2551 ที่ระดับ 1.37 หมื่นล้านบาท มีมาร์เก็ตแคปของบริษัทแค่เพียง 6.3 พันล้านบาท ที่ราคาหุ้น 5.70 บาท มาอยู่ที่ยอดขาย 1.92 หมื่นล้านบาทในปี 2554 มีมาร์เก็ตแคปที่ 4.72 หมื่นล้านบาท มีราคาหุ้นอยู่ที่ 42.50 บาท โดยสิ้นปีนี้ คาดว่าจะมียอดขายมากกว่า 2 หมื่นล้าน โดยมาร์เก็ตแคปจะมากกว่า 7 หมื่นล้านบาท และราคาหุ้นที่เหนือ 60 บาท ยืนยันได้ชัดถึงการขับเคลื่อนธุรกิจโดยอาศัยตลาดทุนเป็นเครื่องมือสำคัญ
ปัจจุบัน ROBINS มีเครือข่ายห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ 29 สาขา และสิ้นปีนี้ คาดว่าจะมี 30 สาขาทั่วประเทศ เติบโตแซงหน้าห้างเซ็นทรัลที่ปัจจุบันมีอยู่ที่ 19 สาขา และสิ้นปีนี้คาดว่าจะเป็น 20 สาขา สะท้อนให้เห็นทิศทางการขับเคลื่อนพอร์ตโฟลิโอของธุรกิจของกลุ่มจิราธิวัฒน์ได้ดียิ่ง
ก้าวย่างที่ชัดเจนอีกกรณีหนึ่งคือ การที่บริษัทเอบิโก้ โฮลดิ้งส์ จำกัด(ABICO) ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มนี้ และมีสภาพย่ำแย่ทางการเงินมายาวนาน ต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ ได้เข้าซื้อบริษัทหนึ่งที่มีฐานะทางการเงินเลวร้ายเท่าเทียมกับหลายปีก่อนคือ บริษัทมาลีสามพราน จำกัด (MALEE) แล้วนำกลับเข้ามาเทรดครั้งใหม่ในตลาดในกลางปี 2554 หลังจากทำการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว
ความโดดเด่นของราคาหุ้นมาลี ที่มากกว่าผลประกอบการหลายเท่า ซึ่งนักลงทุนในตลาดหุ้นได้ประจักษ์ชัดในกว่า 1 ปีที่ราคาขยับตัวจากตอนเริ่มกลับมาเทรดครั้งใหม่ที่ระดับ 15 บาท จนปัจจุบันอยู่ที่ระดับเหนือ 95 บาท
ผลลัพธ์ของความสำเร็จในการกลับมาเทรดระลอกใหม่ของ MALEE ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้บริษัทสามารถล้างขาดทุนสะสมเพื่อรอจ่ายปันผลได้รวดเร็วเท่านั้น หากยังส่งผลให้มูลค่าตลาดและฐานะการเงินของบริษัทโฮลดิ้งอย่าง ABICO ดูดีขึ้นมาทันตาเห็น และคาดว่า อีกไม่นาน ก็จะสามารถกลับมาเทรดรอบใหม่ได้เช่นเดียวกัน เป็นการเอื้อประโยชน์ทางอ้อมโดยอาศัยตลาดหลักทรัพย์
ตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จากตลาดทุนได้อย่างคล่องมือในยามที่จำต้องเร่งรับมือกับการแข่งขันที่จะยิ่งเข้มข้นมากขึ้น ทำให้การรุกคืบเข้าเทกโอเวอร์กิจการของOFM บริษัทที่จำหน่ายเครื่องเขียน และอุปกรณ์สำนักงานรายแรกที่จำหน่ายผ่านระบบแคตตาล็อกและอินเทอร์เน็ต ขณะนี้บริษัทเปิดตัวธุรกิจใหม่ เทรนดี้เดย์ ดอทคอม ช้อป ร้านขายสินค้าอินเทรนด์ นำสมัย ของคนรุ่นใหม่ โดยกลุ่มจิราธิวัฒน์ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
OFM เข้าจดทะเบียนในตลาดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 หลังจากวิกฤตการเมือง 19 พฤษภาคม ปีเดียวกันผ่านไปเพียงแค่เดือนเศษด้วยราคาวันแรกเข้าประมาณ 7 บาทเท่านั้น ล่าสุด ราคาอยู่ที่ประมาณ 50 บาท มีรายได้รวมปีละประมาณ 1,000-1,200 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นหุ้นที่รอวันเติบโต
การเสนอตัวของกลุ่มจิราธิวัฒน์ ในนามของเซ็นทรัล รีเทล เข้าเจรจาฮุบกิจการฉันมิตรเกิดขึ้น และลงเอยด้วยข้อยุติกับผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมของบริษัท OFM นำโดยนายวรวุฒิ อุ่นใจ เข้าฮุบกิจการโดยไม่ใช้เงินแม้แต่บาทเดียว จึงเกิดขึ้น
กระบวนการประกอบด้วย การที่ OFM ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 240 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 75% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการออกหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ให้แก่ บริษัท ปราณพร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มจิราธิวัฒน์ ภายใต้เซ็นทรัล รีเทล แลกกับการโอนหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในบริษัทออฟฟิซ คลับ (ไทย) จำกัด ซึ่งในขณะนี้เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจภายใต้ชื่อออฟฟิศ ดีโป และบริษัท บีทูเอส จำกัด ในสัดส่วน 99.99% โดยตีราคา OFM หุ้นละ 37.50 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 9,000 ล้านบาท
ผลของการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน 240 ล้านหุ้น และรวมกับทุนจดทะเบียนเดิม 80 ล้านบาท นอกจากทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของตระกูลอุ่นใจปรับลดเหลือกว่า 15% จากเดิมที่ถือกว่า 60% แล้วจะเป็นประโยชน์ทำให้ OFM มีทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 320 ล้านบาท เพื่อยกระดับให้สามารถขอย้ายการซื้อขายจากตลาดหลักทรัพย์ mai ที่มีวอลุ่มเทรดน้อยกว่า เข้าไปในตลาดหลักภายในสิ้นปีนี้
หลังจากกระบวนการดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จ กลุ่มจิราธิวัฒน์จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ซึ่งคาดว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด (tender offer) ของบริษัทจะเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2556 โดยในเบื้องต้นของดีลที่เกิดขึ้น คาดว่าในระยะแรก จะทำให้ยอดขายของ OFM มีอัตราการเติบโตประมาณ 15-20% ต่อปี จากความสามารถในการขยายฐานของตลาดให้ใหญ่ขึ้น มีสินค้าหลากหลายมากขึ้น การจัดส่งสินค้าดีขึ้น รวมถึงยังทำให้สินค้าในกลุ่มเซ็นทรัลเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์อย่างเต็มตัว ซึ่งเส้นทางนี้ กลุ่มค้าปลีกอื่นๆ อย่าง CPALL (เซเว่น-อีเลฟเว่น) TESCO LOTUS และ BIGC ก็กำลังดำเนินการสร้างความสามารถอยู่ โดยอาศัยตลาดหลักทรัพย์ระดมทุนเช่นเดียวกัน
กรณีที่เกิดขึ้น นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า โดยประมาณการ สินทรัพย์บีทูเอส และ ออฟฟิซ คลับ (ไทย) ณ สิ้นปี 2555 มีมูลค่ารวมกันกว่า 3,400 ล้านบาท และมียอดขายรวมกว่า 6,700 ล้านบาท ดังนั้น ภายหลังการควบรวมกิจการในครั้งนี้ จะส่งผลให้ออฟฟิศเมทมีสินทรัพย์รวมกว่า 4,000 ล้านบาท และคาดว่าจะมียอดขายรวมกว่า 8,000 ล้านบาทต่อปี
การเติบใหญ่ทั้งทุนจดทะเบียน สินทรัพย์ ยอดขาย (และส่วนที่ยังไม่ได้พูดถึงคือ มาร์เก็ตแคป) ของ OFM สะท้อนข้อเท็จจริงที่ปิดไม่มิดว่า นี่คือการยกระดับของเกมการตลาดขายสินค้า เป็นวิศวกรรมการเงินที่กลุ่มจิราธิวัฒน์ เริ่มรุกเข้ามาชัดเจนเต็มตัวแล้ว
เกมรุกครั้งนี้ ของจิราธิวัฒน์ น่ายังไม่จบง่ายๆ เพราะยังมีบริษัทค้าปลีกและอื่นๆ ในเครืออีกหลายรายการที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ที่ต้องการใช้ประโยชน์อีกมาก (อาทิ ไทยวัสดุ โฮมเวิร์กส์ หรือ เพาเวอร์บาย) เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดทางลัดเช่นนี้ จึงเป็นทางสะดวกที่รวดเร็วกว่า และตอบสนองเป้าหมายของกลุ่มจิราธิวัฒน์ซึ่งมีรากฐานหลากหลายอยู่เดิมได้ดีกว่าการเริ่มต้นใหม่
ส่วนจะดีกว่ากลุ่มทุนอื่นๆ ของไทยหรือไม่ เป็นเรื่องของอนาคต เพียงแต่ในชั้นนี้ ประสบการณ์ของกลุ่มนี้ในการปักธงธุรกิจค้าปลีกแบบครบวงจรด้วยโมเดลบูรณาการ ที่ผสมผสานระหว่างวิถีชีวิต ระบบการจัดการของตะวันตกกับความเป็นท้องถิ่นก็โชกโชนหลายทศวรรษ จนคู่แข่งขันไม่อาจประเมินต่ำได้
กรณีฮุบกิจการโดยไม่ใช้เงินของ OFM เป็นแค่ตัวอย่างเล็กๆ ในภาพใหญ่เท่านั้น--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th)
Wednesday, October 24, 2012 04:06
กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--ข่าวหุ้น
การรุกคืบเข้าฮุบกิจการฉันมิตรทางประตูหลังโดยไม่ใช้เงินสดของกลุ่มจิราธิวัฒน์ ในนามของบริษัทโฮลดิ้งทางด้านการค้าปลีก เซ็นทรัล รีเทล ต่อบริษัท ออฟฟิศเมท จำกัด (มหาชน) หรือ OFM สะท้อนให้เห็นถึงข้อเท็จจริงว่า ตลาดทุน ได้กลายเป็นที่พึ่งอย่างเข้มข้นของกลุ่มทุนไทยที่ต้องการระดมทุนเพื่อสร้างกิจการให้มีความคึกคักเข้มแข็งชนิดที่ยากจะปฏิเสธ
ในอดีตก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง กลุ่มจิราธิวัฒน์ขยายธุรกิจห้างสรรพสินค้าและค้าปลีกอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยแหล่งทุน 2 ทางคือ กระแสเงินสดจากทุนหมุนเวียนในธุรกิจค้าปลีก และการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน แต่หลังจากที่ได้ผ่านบททดสอบอย่างรุนแรงในกรณีของวิกฤตต้มยำกุ้ง กลุ่มนี้ ซึ่งในขณะนั้นได้มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยไม่กี่ราย ได้เรียนรู้ว่า การเป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนนั้น ให้คำตอบในเรื่องของการระดมทุน ทั้งเพื่อกอบกู้สถานการณ์ยามวิกฤต และการขยายงานในอนาคตได้ดีเบ็ดเสร็จ
การเติบใหญ่ในยุคหลังของกลุ่มจิราธิวัฒน์ที่ใช้ฐานการระดมทุนจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์จดทะเบียนในตลาดอย่าง บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ซึ่งเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดในต้นปี 2538 ทำให้ยึดครองพื้นที่พัฒนาโครงการคอมเพลกซ์ธุรกิจ (รวมศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน พื้นที่บันเทิง-สันทนาการ และโรงแรม) เป็นผู้นำในด้านนี้ในเขตเมืองใหญ่ของประเทศ
ตัวอย่างความโดดเด่นในการระดมทุนผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่ม CPN (ได้แก่ของเก่าอย่าง CPNRF และของใหม่อย่าง CPNCG) เพื่อรองรับเป้าหมายใหญ่ในแผนการลงทุนครั้งใหญ่เปิดตัว 7 โครงการใหม่ในปี 2555-2556 ที่มีมูลค่าการลงทุนกว่า 25,300 ล้านบาท ยืนยันถึงกลยุทธ์วิศวกรรมการเงินที่สอดรับกับยุทธศาสตร์การสร้างคอมเพล็กซ์ธุรกิจเพื่อสร้างรายได้หลากรูปแบบ
ยิ่งมีการแข่งขันที่รุนแรงมากเท่าใด ความจำเป็นต้องพึ่งพาตลาดทุน เพื่อลดต้นทุนการแข่งขันก็ยิ่งจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น เป็นบทเรียนที่กลุ่มจิราธิวัฒน์น่าจะได้รับจากประสบการณ์เช่นเดียวกับกลุ่มทุนอื่นของไทยอย่างกลุ่มเจียรวนนท์ กลุ่มอัศวโภคิน กลุ่มสิริวัฒนภักดี กลุ่มเนชั่น และกลุ่มทุนโดยรัฐอย่างเครือ ปตท.
3 ปีมานี้ นักลงทุนจึงได้เริ่มคุ้นเคยการเคลื่อนไหวของหุ้นที่อยู่ในการครอบครองของกลุ่มจิราธิวัฒน์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย (ดูตารางประกอบ) ซึ่งจะเห็นชัดเจนว่า มีความโดดเด่นมากขึ้นเป็นระยะๆหมุนเวียนกัน นับตั้งแต่หุ้นที่เคยเป็นหลักอยู่เดิมอย่าง CPN หรือ เซ็นทรัล พลาซ่า โฮเทล (CENTEL) ได้ขยายตัวไปสู่บริษัทจดทะเบียนอื่นๆ มากขึ้น
ตัวอย่างที่โดดเด่นได้แก่ การขยายตัวอย่างก้าวกระโดดของบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน (ROBINS) ที่ถูกขับเคลื่อนให้เป็นแนวหน้าของการค้าปลีกของกลุ่มเซ็นทรัล รีเทล ในเซ็นทรัลพลาซ่าที่ผุดขึ้นมาใหม่ทั่วประเทศ แทนห้างเซ็นทรัล อันเป็นเครื่องหมายการค้าเดิมที่ดูเหมือนจะขยายตัวช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
ตัวเลขยอดขายของ ROBINS จากสิ้นปี 2551 ที่ระดับ 1.37 หมื่นล้านบาท มีมาร์เก็ตแคปของบริษัทแค่เพียง 6.3 พันล้านบาท ที่ราคาหุ้น 5.70 บาท มาอยู่ที่ยอดขาย 1.92 หมื่นล้านบาทในปี 2554 มีมาร์เก็ตแคปที่ 4.72 หมื่นล้านบาท มีราคาหุ้นอยู่ที่ 42.50 บาท โดยสิ้นปีนี้ คาดว่าจะมียอดขายมากกว่า 2 หมื่นล้าน โดยมาร์เก็ตแคปจะมากกว่า 7 หมื่นล้านบาท และราคาหุ้นที่เหนือ 60 บาท ยืนยันได้ชัดถึงการขับเคลื่อนธุรกิจโดยอาศัยตลาดทุนเป็นเครื่องมือสำคัญ
ปัจจุบัน ROBINS มีเครือข่ายห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศ 29 สาขา และสิ้นปีนี้ คาดว่าจะมี 30 สาขาทั่วประเทศ เติบโตแซงหน้าห้างเซ็นทรัลที่ปัจจุบันมีอยู่ที่ 19 สาขา และสิ้นปีนี้คาดว่าจะเป็น 20 สาขา สะท้อนให้เห็นทิศทางการขับเคลื่อนพอร์ตโฟลิโอของธุรกิจของกลุ่มจิราธิวัฒน์ได้ดียิ่ง
ก้าวย่างที่ชัดเจนอีกกรณีหนึ่งคือ การที่บริษัทเอบิโก้ โฮลดิ้งส์ จำกัด(ABICO) ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มนี้ และมีสภาพย่ำแย่ทางการเงินมายาวนาน ต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ ได้เข้าซื้อบริษัทหนึ่งที่มีฐานะทางการเงินเลวร้ายเท่าเทียมกับหลายปีก่อนคือ บริษัทมาลีสามพราน จำกัด (MALEE) แล้วนำกลับเข้ามาเทรดครั้งใหม่ในตลาดในกลางปี 2554 หลังจากทำการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว
ความโดดเด่นของราคาหุ้นมาลี ที่มากกว่าผลประกอบการหลายเท่า ซึ่งนักลงทุนในตลาดหุ้นได้ประจักษ์ชัดในกว่า 1 ปีที่ราคาขยับตัวจากตอนเริ่มกลับมาเทรดครั้งใหม่ที่ระดับ 15 บาท จนปัจจุบันอยู่ที่ระดับเหนือ 95 บาท
ผลลัพธ์ของความสำเร็จในการกลับมาเทรดระลอกใหม่ของ MALEE ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้บริษัทสามารถล้างขาดทุนสะสมเพื่อรอจ่ายปันผลได้รวดเร็วเท่านั้น หากยังส่งผลให้มูลค่าตลาดและฐานะการเงินของบริษัทโฮลดิ้งอย่าง ABICO ดูดีขึ้นมาทันตาเห็น และคาดว่า อีกไม่นาน ก็จะสามารถกลับมาเทรดรอบใหม่ได้เช่นเดียวกัน เป็นการเอื้อประโยชน์ทางอ้อมโดยอาศัยตลาดหลักทรัพย์
ตัวอย่างของการใช้ประโยชน์จากตลาดทุนได้อย่างคล่องมือในยามที่จำต้องเร่งรับมือกับการแข่งขันที่จะยิ่งเข้มข้นมากขึ้น ทำให้การรุกคืบเข้าเทกโอเวอร์กิจการของOFM บริษัทที่จำหน่ายเครื่องเขียน และอุปกรณ์สำนักงานรายแรกที่จำหน่ายผ่านระบบแคตตาล็อกและอินเทอร์เน็ต ขณะนี้บริษัทเปิดตัวธุรกิจใหม่ เทรนดี้เดย์ ดอทคอม ช้อป ร้านขายสินค้าอินเทรนด์ นำสมัย ของคนรุ่นใหม่ โดยกลุ่มจิราธิวัฒน์ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
OFM เข้าจดทะเบียนในตลาดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 หลังจากวิกฤตการเมือง 19 พฤษภาคม ปีเดียวกันผ่านไปเพียงแค่เดือนเศษด้วยราคาวันแรกเข้าประมาณ 7 บาทเท่านั้น ล่าสุด ราคาอยู่ที่ประมาณ 50 บาท มีรายได้รวมปีละประมาณ 1,000-1,200 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นหุ้นที่รอวันเติบโต
การเสนอตัวของกลุ่มจิราธิวัฒน์ ในนามของเซ็นทรัล รีเทล เข้าเจรจาฮุบกิจการฉันมิตรเกิดขึ้น และลงเอยด้วยข้อยุติกับผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมของบริษัท OFM นำโดยนายวรวุฒิ อุ่นใจ เข้าฮุบกิจการโดยไม่ใช้เงินแม้แต่บาทเดียว จึงเกิดขึ้น
กระบวนการประกอบด้วย การที่ OFM ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 240 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 75% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการออกหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ให้แก่ บริษัท ปราณพร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มจิราธิวัฒน์ ภายใต้เซ็นทรัล รีเทล แลกกับการโอนหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในบริษัทออฟฟิซ คลับ (ไทย) จำกัด ซึ่งในขณะนี้เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจภายใต้ชื่อออฟฟิศ ดีโป และบริษัท บีทูเอส จำกัด ในสัดส่วน 99.99% โดยตีราคา OFM หุ้นละ 37.50 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 9,000 ล้านบาท
ผลของการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน 240 ล้านหุ้น และรวมกับทุนจดทะเบียนเดิม 80 ล้านบาท นอกจากทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของตระกูลอุ่นใจปรับลดเหลือกว่า 15% จากเดิมที่ถือกว่า 60% แล้วจะเป็นประโยชน์ทำให้ OFM มีทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 320 ล้านบาท เพื่อยกระดับให้สามารถขอย้ายการซื้อขายจากตลาดหลักทรัพย์ mai ที่มีวอลุ่มเทรดน้อยกว่า เข้าไปในตลาดหลักภายในสิ้นปีนี้
หลังจากกระบวนการดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จ กลุ่มจิราธิวัฒน์จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ซึ่งคาดว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด (tender offer) ของบริษัทจะเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2556 โดยในเบื้องต้นของดีลที่เกิดขึ้น คาดว่าในระยะแรก จะทำให้ยอดขายของ OFM มีอัตราการเติบโตประมาณ 15-20% ต่อปี จากความสามารถในการขยายฐานของตลาดให้ใหญ่ขึ้น มีสินค้าหลากหลายมากขึ้น การจัดส่งสินค้าดีขึ้น รวมถึงยังทำให้สินค้าในกลุ่มเซ็นทรัลเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์อย่างเต็มตัว ซึ่งเส้นทางนี้ กลุ่มค้าปลีกอื่นๆ อย่าง CPALL (เซเว่น-อีเลฟเว่น) TESCO LOTUS และ BIGC ก็กำลังดำเนินการสร้างความสามารถอยู่ โดยอาศัยตลาดหลักทรัพย์ระดมทุนเช่นเดียวกัน
กรณีที่เกิดขึ้น นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า โดยประมาณการ สินทรัพย์บีทูเอส และ ออฟฟิซ คลับ (ไทย) ณ สิ้นปี 2555 มีมูลค่ารวมกันกว่า 3,400 ล้านบาท และมียอดขายรวมกว่า 6,700 ล้านบาท ดังนั้น ภายหลังการควบรวมกิจการในครั้งนี้ จะส่งผลให้ออฟฟิศเมทมีสินทรัพย์รวมกว่า 4,000 ล้านบาท และคาดว่าจะมียอดขายรวมกว่า 8,000 ล้านบาทต่อปี
การเติบใหญ่ทั้งทุนจดทะเบียน สินทรัพย์ ยอดขาย (และส่วนที่ยังไม่ได้พูดถึงคือ มาร์เก็ตแคป) ของ OFM สะท้อนข้อเท็จจริงที่ปิดไม่มิดว่า นี่คือการยกระดับของเกมการตลาดขายสินค้า เป็นวิศวกรรมการเงินที่กลุ่มจิราธิวัฒน์ เริ่มรุกเข้ามาชัดเจนเต็มตัวแล้ว
เกมรุกครั้งนี้ ของจิราธิวัฒน์ น่ายังไม่จบง่ายๆ เพราะยังมีบริษัทค้าปลีกและอื่นๆ ในเครืออีกหลายรายการที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ที่ต้องการใช้ประโยชน์อีกมาก (อาทิ ไทยวัสดุ โฮมเวิร์กส์ หรือ เพาเวอร์บาย) เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดทางลัดเช่นนี้ จึงเป็นทางสะดวกที่รวดเร็วกว่า และตอบสนองเป้าหมายของกลุ่มจิราธิวัฒน์ซึ่งมีรากฐานหลากหลายอยู่เดิมได้ดีกว่าการเริ่มต้นใหม่
ส่วนจะดีกว่ากลุ่มทุนอื่นๆ ของไทยหรือไม่ เป็นเรื่องของอนาคต เพียงแต่ในชั้นนี้ ประสบการณ์ของกลุ่มนี้ในการปักธงธุรกิจค้าปลีกแบบครบวงจรด้วยโมเดลบูรณาการ ที่ผสมผสานระหว่างวิถีชีวิต ระบบการจัดการของตะวันตกกับความเป็นท้องถิ่นก็โชกโชนหลายทศวรรษ จนคู่แข่งขันไม่อาจประเมินต่ำได้
กรณีฮุบกิจการโดยไม่ใช้เงินของ OFM เป็นแค่ตัวอย่างเล็กๆ ในภาพใหญ่เท่านั้น--จบ--
-
- Verified User
- โพสต์: 348
- ผู้ติดตาม: 0
Re: OFM จิราธิวัฒน์ และ ตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 3
Tamจัง เขียน:งงนิดนึงตรงจ่ายค่าหุ้นด้วยการโอนหุ้นออฟฟิสคลับ
โอนให้ใครครับ ให้ OFM ใช่ไหม ถ้างั้นคุณวรวุฒิได้ไรล่ะครับ
ดูเหมือนแกไม่ได้อะไรเลย ซับซ้อนจัง
ได้ขายให้กลุ่มจิราธิวัฒน์ ตอนเขาประกาศเทนเดอร์ หุ้น ofm ที่คาดว่าน่าจะราคา 37.50 บาท ถ้าเขาพอใจราคานั้น แต่ถ้าไม่พอใจเขาก็จะถือหุ้นเป็นอันดับ 2 ในธุรกิจที่ใหญ่กว่าเดิม มีศักยภาพมากกว่าเดิม
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: OFM จิราธิวัฒน์ และ ตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 4
ถามหน่อยครับ
การทำ tender offer ไม่จำเป็นว่า จะต้องเอาออกจากตลาด ใช่มั้ยครับ?
ผมคลับคล้ายคลับคลาอย่างกรณี scblif ที่ทำtenderเพื่อให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ของตลาด ไม่ได้เอาออกจากตลาด
แล้วในกรณีของofmนี้ เค้าไม่ได้บอกว่าจะเอาออกจากตลาด ใช่มั้ยครับ?
การทำ tender offer ไม่จำเป็นว่า จะต้องเอาออกจากตลาด ใช่มั้ยครับ?
ผมคลับคล้ายคลับคลาอย่างกรณี scblif ที่ทำtenderเพื่อให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ของตลาด ไม่ได้เอาออกจากตลาด
แล้วในกรณีของofmนี้ เค้าไม่ได้บอกว่าจะเอาออกจากตลาด ใช่มั้ยครับ?
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 348
- ผู้ติดตาม: 0
Re: OFM จิราธิวัฒน์ และ ตลาดทุนไทย
โพสต์ที่ 5
กลุ่มเซ็นทรัลคงไม่ออกจากตลาดหรอกครับ ไม่งั้นดีลนี้คงไม่เกิดหรอกครับsakkaphan เขียน:ถามหน่อยครับ
การทำ tender offer ไม่จำเป็นว่า จะต้องเอาออกจากตลาด ใช่มั้ยครับ?
ผมคลับคล้ายคลับคลาอย่างกรณี scblif ที่ทำtenderเพื่อให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ของตลาด ไม่ได้เอาออกจากตลาด
แล้วในกรณีของofmนี้ เค้าไม่ได้บอกว่าจะเอาออกจากตลาด ใช่มั้ยครับ?