ยุคทองของประเทศไทย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 1
ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 1
ระยะนี้ใครไม่พูดถึงAEC คงถือว่าเชย
ผมลองจินตนาการดูว่า ถ้าไม่มีกำแพงจะเกิดอะไรขึ้น
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ยักษ์จะจับคนแคระกิน
ถามว่าใครเป็นยักษ์ ตอบว่าไทยนี้แหละ
เหตุผลที่ไทยจะเป็นยักษ์ในอาเชี่ยนคือ
1 ภูมิศาสตร์
ไทยอยู่ศูนย์กลางของถูมิภาค
กิจการระดับโลกเช่นรถยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้าจึงใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก
2 กำลังเงิน
ทุนไทยระดับหมื่นล้านแสนล้านหรือแม้แต่ล้านล้านมีจำนวนมาก
ประเทศใกล้เคียงโดยเฉพาะแถบอินโดจีนไม่มีทุนมากเท่าไทย
3 ความสามารถในการบริหารธุรกิจ
ทุนไทยโดยเฉพาะที่อยู่ในตลาดหุ้น
ต่อสู้มามากและยาวนานจนเป็นผู้ชนะ
หลายรายเป็นผู้เล่นระดับโลกเช่น cp scc เบียร์สิงห์เบียร์ช้าง ฯลฯ
ใครจะทำห้างหรูเก่งกว่าเซ็นทรัล
ใครจะทำร้านค้าย่อยเก่งกว่าcpall
ใครจะทำวัสดุก่อสร้างเก่งกว่าปูนใหญ่ ฯลฯ
โดยสรุป ผมมองเห็นภาพ ร้านเซเว่น เซ็นทรัล โลตัส บิ๊กซี รพ กรุงเทพ
ปั๊มปตท โฮมโปร ฯลฯ จะกระจายไปทั่วอินโดจีน
ขณะเดียวกันธุรกิจใช้แรงงานมากเช่นทอผ้าถ้วยชาม
กิจการไทยก็จะไปตั้งโรงงานและใช้แรงงานเพื่อนบ้านที่ถูกกว่า
ส่งออกสู่ตลาดโลก
ผมมองว่าถ้าไม่มีความรุนแรงทางการเมือง
ในระยะสิบปีนี้จะเป็นยุคทองของประเทศไทยในประวัติศาสตร์
ผมอาจมองในแง่ดีเกินจริง
อยากฟังความเห็นจากท่านอื่นๆบ้าง
ผมลองจินตนาการดูว่า ถ้าไม่มีกำแพงจะเกิดอะไรขึ้น
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ยักษ์จะจับคนแคระกิน
ถามว่าใครเป็นยักษ์ ตอบว่าไทยนี้แหละ
เหตุผลที่ไทยจะเป็นยักษ์ในอาเชี่ยนคือ
1 ภูมิศาสตร์
ไทยอยู่ศูนย์กลางของถูมิภาค
กิจการระดับโลกเช่นรถยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้าจึงใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก
2 กำลังเงิน
ทุนไทยระดับหมื่นล้านแสนล้านหรือแม้แต่ล้านล้านมีจำนวนมาก
ประเทศใกล้เคียงโดยเฉพาะแถบอินโดจีนไม่มีทุนมากเท่าไทย
3 ความสามารถในการบริหารธุรกิจ
ทุนไทยโดยเฉพาะที่อยู่ในตลาดหุ้น
ต่อสู้มามากและยาวนานจนเป็นผู้ชนะ
หลายรายเป็นผู้เล่นระดับโลกเช่น cp scc เบียร์สิงห์เบียร์ช้าง ฯลฯ
ใครจะทำห้างหรูเก่งกว่าเซ็นทรัล
ใครจะทำร้านค้าย่อยเก่งกว่าcpall
ใครจะทำวัสดุก่อสร้างเก่งกว่าปูนใหญ่ ฯลฯ
โดยสรุป ผมมองเห็นภาพ ร้านเซเว่น เซ็นทรัล โลตัส บิ๊กซี รพ กรุงเทพ
ปั๊มปตท โฮมโปร ฯลฯ จะกระจายไปทั่วอินโดจีน
ขณะเดียวกันธุรกิจใช้แรงงานมากเช่นทอผ้าถ้วยชาม
กิจการไทยก็จะไปตั้งโรงงานและใช้แรงงานเพื่อนบ้านที่ถูกกว่า
ส่งออกสู่ตลาดโลก
ผมมองว่าถ้าไม่มีความรุนแรงทางการเมือง
ในระยะสิบปีนี้จะเป็นยุคทองของประเทศไทยในประวัติศาสตร์
ผมอาจมองในแง่ดีเกินจริง
อยากฟังความเห็นจากท่านอื่นๆบ้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 1187
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 5
พี่ miracle มองภาพอย่างไรครับ..miracle เขียน:ภาพไม่ใช่ภาพนี้ผิด
ลองเดินออกไปข้างนอกแล้วมองกลับเข้ามา
เหมือน ดาวเทียมที่อยู่ในอวกาศ ถ่ายรูปโลกที่เราอยู่
ขอมุมมองเป็นวิทยาทานหน่อยครับ...
ควรทุ่มเทเจริญให้มาก..ในงานที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง..
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 6
ไปอ่าน research ของ scbeic ก่อนละกันเกล้า เขียน:พี่ miracle มองภาพอย่างไรครับ..miracle เขียน:ภาพไม่ใช่ภาพนี้ผิด
ลองเดินออกไปข้างนอกแล้วมองกลับเข้ามา
เหมือน ดาวเทียมที่อยู่ในอวกาศ ถ่ายรูปโลกที่เราอยู่
ขอมุมมองเป็นวิทยาทานหน่อยครับ...
กลายอันอ่านแล้วเปิดโลกทัศน์
- kabu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 7
7-11 เจ้าของสิทธิ์ยังคงเป็นญี่ปุ่นนะครับ
อาจจะยากอยู่เหมือนกันที่เค้าจะให้ CPALL เมืองไทยเป็นคนทำตลาดให้
ล่าสุดผมเห็นไม่ใช่แค่ 7-11 แต่ก็ยักษ์ใหญ่อย่าง Lawson, Family Mart ต่างก็บุกไปแต่ละประเทศเองโดยไปจับมือกับบริษัทที่แข็งแกร่งในประเทศนั้นๆ
นอกจากซะว่าเจ้าสัวจะถอดป้าย7-11ออก ติดแบรนด์ตัวเอง ไปลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า CPALL มีเงื่อนไขกับ Seven&I Holding ของญี่ปุ่นยังไงบ้าง
ส่วน CPN, SCG, PTT BGH อันนี้มีโอกาสอยู่ เพราะเป็นแบรนด์ตัวเอง
อาจจะยากอยู่เหมือนกันที่เค้าจะให้ CPALL เมืองไทยเป็นคนทำตลาดให้
ล่าสุดผมเห็นไม่ใช่แค่ 7-11 แต่ก็ยักษ์ใหญ่อย่าง Lawson, Family Mart ต่างก็บุกไปแต่ละประเทศเองโดยไปจับมือกับบริษัทที่แข็งแกร่งในประเทศนั้นๆ
นอกจากซะว่าเจ้าสัวจะถอดป้าย7-11ออก ติดแบรนด์ตัวเอง ไปลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า CPALL มีเงื่อนไขกับ Seven&I Holding ของญี่ปุ่นยังไงบ้าง
ส่วน CPN, SCG, PTT BGH อันนี้มีโอกาสอยู่ เพราะเป็นแบรนด์ตัวเอง
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 8
สมัยก่อนเมื่ออดีตประเทศไทยก็เคยมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งครับที่มีการคาดหมายว่าไทยจะเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชีย ต่อจาก เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน ครับ
ช่วงนั้น ตลาดหุ้นและราคาที่ดินพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วครับ มึคนหลายคนที่รวยจากหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ คนทำงานไฟแนนซ์ช่วงนั้นเงินเดือนสูงมากครับ
ช่วงนั้น ตลาดหุ้นและราคาที่ดินพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วครับ มึคนหลายคนที่รวยจากหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ คนทำงานไฟแนนซ์ช่วงนั้นเงินเดือนสูงมากครับ
"สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
-
- Verified User
- โพสต์: 2236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 9
1.ไทยอยู่ศูนย์กลางก็จริง แต่ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างพม่าหรือเวียดนามก็ไม่ได้จากเรานักหรอกมั้งถ้าพิจารณาด้านภูมศาสตร์อย่างเดียวdrsp เขียน:ระยะนี้ใครไม่พูดถึงAEC คงถือว่าเชย
ผมลองจินตนาการดูว่า ถ้าไม่มีกำแพงจะเกิดอะไรขึ้น
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ยักษ์จะจับคนแคระกิน
ถามว่าใครเป็นยักษ์ ตอบว่าไทยนี้แหละ
เหตุผลที่ไทยจะเป็นยักษ์ในอาเชี่ยนคือ
1 ภูมิศาสตร์
ไทยอยู่ศูนย์กลางของถูมิภาค
กิจการระดับโลกเช่นรถยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้าจึงใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก
2 กำลังเงิน
ทุนไทยระดับหมื่นล้านแสนล้านหรือแม้แต่ล้านล้านมีจำนวนมาก
ประเทศใกล้เคียงโดยเฉพาะแถบอินโดจีนไม่มีทุนมากเท่าไทย
3 ความสามารถในการบริหารธุรกิจ
ทุนไทยโดยเฉพาะที่อยู่ในตลาดหุ้น
ต่อสู้มามากและยาวนานจนเป็นผู้ชนะ
หลายรายเป็นผู้เล่นระดับโลกเช่น cp scc เบียร์สิงห์เบียร์ช้าง ฯลฯ
ใครจะทำห้างหรูเก่งกว่าเซ็นทรัล
ใครจะทำร้านค้าย่อยเก่งกว่าcpall
ใครจะทำวัสดุก่อสร้างเก่งกว่าปูนใหญ่ ฯลฯ
โดยสรุป ผมมองเห็นภาพ ร้านเซเว่น เซ็นทรัล โลตัส บิ๊กซี รพ กรุงเทพ
ปั๊มปตท โฮมโปร ฯลฯ จะกระจายไปทั่วอินโดจีน
ขณะเดียวกันธุรกิจใช้แรงงานมากเช่นทอผ้าถ้วยชาม
กิจการไทยก็จะไปตั้งโรงงานและใช้แรงงานเพื่อนบ้านที่ถูกกว่า
ส่งออกสู่ตลาดโลก
ผมมองว่าถ้าไม่มีความรุนแรงทางการเมือง
ในระยะสิบปีนี้จะเป็นยุคทองของประเทศไทยในประวัติศาสตร์
ผมอาจมองในแง่ดีเกินจริง
อยากฟังความเห็นจากท่านอื่นๆบ้าง
2.ทราบได้อย่งไรว่าประเทศอื่นทุนน้อยกว่าเรา
3.ตรงนี้เห็นด้วยส่วนนึงครับที่บริษัทของไทยเก่งๆมีเยอะ แต่อย่าลืมว่าด้านต้นทุนประเทศรอบๆเราก็ได้เปรียบเราเช่นกัน บวก ลบ คูณ หารแล้ว ผมว่าไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกันมากนัก
ผมว่าถ้าจะสรุปอะไรเราต้องรู้ลึกรู้จริงๆในเรื่องนั้น ถ้ายังไม่รู้ไม่ควรด่วนสรุปครับ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
-
- Verified User
- โพสต์: 1904
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 11
คนที่ได้ประโยชน์จากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียนไม่ใช่คนไทยทั้งหมด ผมว่าเป็นต่างชาติซะมากกว่า ประเทศรอบๆเราได้ประโยชน์มากกว่าตัวของเราเอง เพราะคนไทยส่วนมากพอใจกับอาชีพเกษตร ทำนา ได้ราคาตันละหมื่นกว่าก็พอแล้ว ไม่คิดต่อยอดฐานะตัวเอง ไม่คิดว่าไอ้เงินที่มาซื้อข้าวไปขายขาดทุนมันเงินภาษีของประเทศ นักการเมืองไทยแสวงหาอำนาจใช้ประชานิยมบังหน้า เอาแต่กอบโกยทรัพย์สมบัติของชาติมาเป็นของตัวสนแต่ว่าโครงการนี้ให้เค้าเท่าไหร่ไม่ได้สนใจว่าประเทศจะเสียเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ต่างชาติก็เลยเข้ามาอยู่กันเต็มเมืองจนคอนโดบางแห่งขายปุ๊บหมด ถามไปคนที่ซื้อเป็นต่างชาติซะเกินครึ่ง นานๆไปผมว่ากรุงเทพคงกลายเป็นเมืองที่มีคนไทยอยู่จริงไม่ถึง30%. นานไปอีกประเทศไทยคงมีคนไทยไม่ถึง50%. ตกลงมันยุคทองของไทยหรือของต่างชาติกันแน่
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 433
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 12
กลุ่มธุรกิจไทยใหญ่ล้วนเกิดมากจากการผูกขาดหรืออำนาจรัฐไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ลองไล่ตาม market cap ไ้ด้เลยครับ
กลุ่มปตท. ก็มาจากรัฐวิสาหกิจ
กลุ่มธนาคาร ก็ต้องมีใบอนุญาต
กลุ่มสื่อสาร ก็สัมปทาน
กลุ่มTHBEV ก็มาจากผูกขาดเหล้า
ที่ผ่านๆมาบริษัทไทยไปต่างประเทศส่วนใหญ่ มักเจ็บกลับมาเป็นประจำ (ส่วนใหญ่นะครับไม่ทั้งหมด)
ผมล่ะหวั่นใจว่าถ้าไม่อยู่ในบ้าน บริษัทไทยจะไหวหรือเปล่า
ลองไล่ตาม market cap ไ้ด้เลยครับ
กลุ่มปตท. ก็มาจากรัฐวิสาหกิจ
กลุ่มธนาคาร ก็ต้องมีใบอนุญาต
กลุ่มสื่อสาร ก็สัมปทาน
กลุ่มTHBEV ก็มาจากผูกขาดเหล้า
ที่ผ่านๆมาบริษัทไทยไปต่างประเทศส่วนใหญ่ มักเจ็บกลับมาเป็นประจำ (ส่วนใหญ่นะครับไม่ทั้งหมด)
ผมล่ะหวั่นใจว่าถ้าไม่อยู่ในบ้าน บริษัทไทยจะไหวหรือเปล่า
-
- Verified User
- โพสต์: 428
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 13
สมัย พลเอกเปรม ไทยดีกว่ามาเลเซีย
สัมยนี้ ไทยสู้มาเลเซียไม่ได้เลย
การคอรัปชั่นของนักการเมืองไทย
ตั้งแต่สัมยพลเอกชาติชายเป็นต้นมา
หนัก และเพิ่มขึ้นจนน่ากลัว
นโยบาย ของรัฐบาลหลายรัฐบาล
และสิ่งที่รัฐบาลทำ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของ คนไทยและประเทศไทย
ในเร็วๆนี้ไทยจะแพ้เวียตนาม
อีกไม่นานเราจะแพ้พม่า
คนไทยและประเทศไทย จะแพ้ลาวและกัมพูชาในที่สุด
คำว่าแพ้นั้น แปลว่า มาตราฐานการดำรงค์ชีวิตของไทยทั้งประเทศโดยเฉลี่ย
สัมยนี้ ไทยสู้มาเลเซียไม่ได้เลย
การคอรัปชั่นของนักการเมืองไทย
ตั้งแต่สัมยพลเอกชาติชายเป็นต้นมา
หนัก และเพิ่มขึ้นจนน่ากลัว
นโยบาย ของรัฐบาลหลายรัฐบาล
และสิ่งที่รัฐบาลทำ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของ คนไทยและประเทศไทย
ในเร็วๆนี้ไทยจะแพ้เวียตนาม
อีกไม่นานเราจะแพ้พม่า
คนไทยและประเทศไทย จะแพ้ลาวและกัมพูชาในที่สุด
คำว่าแพ้นั้น แปลว่า มาตราฐานการดำรงค์ชีวิตของไทยทั้งประเทศโดยเฉลี่ย
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 14
อ่านแล้วดูเหมือนว่า ไม่มีใครเชื่อมั่นประเทศไทยเลย
..............เศร้าจัง
..............เศร้าจัง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 106
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 16
เว็บไซต์บลูมเบิร์ก ระบุทุนไทยทุ่มฮุบกิจการต่างประเทศสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองญี่ปุ่นและจีน
เว็บไซต์บลูมเบิร์ก เปิดเผยว่า ในปีนี้ (พ.ศ.2555) กิจการของประเทศไทย ได้ประกาศซื้อกิจการต่างชาติแล้ว 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 7.75 แสนล้านบาท มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และมากกว่า 12 ปีที่ผ่านมารวมกัน ทำให้มหาเศรษฐีไทยติดอันดับนักซื้อรองจากญี่ปุ่นและจีน
บลูมเบิร์ก ระบุว่า บริษัทไทยกำลังฟื้นตัวจากเหตุมหาอุทกภัยปีที่ผ่านมา และเริ่มนำเงินสดที่สะสมมาตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินในเอเชีย เมื่อ 15 ปีก่อน ไปกระจายการลงทุน
โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ (กลุ่มซีพี) จะซื้อหุ้นที่ธนาคาร HSBC ของอังกฤษ ถือครองอยู่ในผิงอันชัวรันส์ บริษัทประกันชีวิตใหญ่ อันดับสองของจีน
ขณะที่กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ พยายามจะซื้อกิจการของเอฟแอนด์เอ็น ของสิงค์โปร์ ขณะที่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท.สผ.) เอาชนะบริษัท รอยัล ดัช เชลล์ ซื้อ โคฟ เอ็นเนอร์จี
เว็บไซต์บลูมเบิร์ก เปิดเผยว่า ในปีนี้ (พ.ศ.2555) กิจการของประเทศไทย ได้ประกาศซื้อกิจการต่างชาติแล้ว 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 7.75 แสนล้านบาท มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และมากกว่า 12 ปีที่ผ่านมารวมกัน ทำให้มหาเศรษฐีไทยติดอันดับนักซื้อรองจากญี่ปุ่นและจีน
บลูมเบิร์ก ระบุว่า บริษัทไทยกำลังฟื้นตัวจากเหตุมหาอุทกภัยปีที่ผ่านมา และเริ่มนำเงินสดที่สะสมมาตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินในเอเชีย เมื่อ 15 ปีก่อน ไปกระจายการลงทุน
โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ (กลุ่มซีพี) จะซื้อหุ้นที่ธนาคาร HSBC ของอังกฤษ ถือครองอยู่ในผิงอันชัวรันส์ บริษัทประกันชีวิตใหญ่ อันดับสองของจีน
ขณะที่กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ พยายามจะซื้อกิจการของเอฟแอนด์เอ็น ของสิงค์โปร์ ขณะที่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท.สผ.) เอาชนะบริษัท รอยัล ดัช เชลล์ ซื้อ โคฟ เอ็นเนอร์จี
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 17
ผมว่าอาจไม่ถูกซะทีเดียวว่าเกี่ยวกับเรื่อง คอรัปชั่น ทั้งหมด ถ้าลองสักเกตุดูว่า มาเลย์ กับ สิงค์โปร์ พัฒนาอย่างรวดเร็วได้อย่างไร ที่เห็นชัดๆคือ นโยบายมีความต่อเนื่องและสร้างความสามารถในระยะยาวอย่างชัดเจน ส่วนของไทยไม่ค่อยจะมีรัฐบาลทีต่อเนื่องกันยาวนาน ทำให้การดำเนินนโยบายไม่ต่อเนื่องทิศทางประเทศเลยมั่วไปหมด เหมือนใหม่มาก็เปลี่ยนทิศทางไปทำให้สิ่งที่สร้างเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันไม่ได้ดำเนินต่อเนื่องกันCARPENTER เขียน:สมัย พลเอกเปรม ไทยดีกว่ามาเลเซีย
สัมยนี้ ไทยสู้มาเลเซียไม่ได้เลย
การคอรัปชั่นของนักการเมืองไทย
ตั้งแต่สัมยพลเอกชาติชายเป็นต้นมา
หนัก และเพิ่มขึ้นจนน่ากลัว
นโยบาย ของรัฐบาลหลายรัฐบาล
และสิ่งที่รัฐบาลทำ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของ คนไทยและประเทศไทย
ในเร็วๆนี้ไทยจะแพ้เวียตนาม
อีกไม่นานเราจะแพ้พม่า
คนไทยและประเทศไทย จะแพ้ลาวและกัมพูชาในที่สุด
คำว่าแพ้นั้น แปลว่า มาตราฐานการดำรงค์ชีวิตของไทยทั้งประเทศโดยเฉลี่ย
คหสต.
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 18
รวมที่ SSI ไปซื้อโรงเหล็กที่อังกฤษด้วยหรือเปล่าforward เขียน:เว็บไซต์บลูมเบิร์ก ระบุทุนไทยทุ่มฮุบกิจการต่างประเทศสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองญี่ปุ่นและจีน
เว็บไซต์บลูมเบิร์ก เปิดเผยว่า ในปีนี้ (พ.ศ.2555) กิจการของประเทศไทย ได้ประกาศซื้อกิจการต่างชาติแล้ว 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 7.75 แสนล้านบาท มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และมากกว่า 12 ปีที่ผ่านมารวมกัน ทำให้มหาเศรษฐีไทยติดอันดับนักซื้อรองจากญี่ปุ่นและจีน
บลูมเบิร์ก ระบุว่า บริษัทไทยกำลังฟื้นตัวจากเหตุมหาอุทกภัยปีที่ผ่านมา และเริ่มนำเงินสดที่สะสมมาตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินในเอเชีย เมื่อ 15 ปีก่อน ไปกระจายการลงทุน
โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ (กลุ่มซีพี) จะซื้อหุ้นที่ธนาคาร HSBC ของอังกฤษ ถือครองอยู่ในผิงอันชัวรันส์ บริษัทประกันชีวิตใหญ่ อันดับสองของจีน
ขณะที่กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ พยายามจะซื้อกิจการของเอฟแอนด์เอ็น ของสิงค์โปร์ ขณะที่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท.สผ.) เอาชนะบริษัท รอยัล ดัช เชลล์ ซื้อ โคฟ เอ็นเนอร์จี
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1284
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 19
ส่วนตัว ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับ จขกท ครับ ผมไปเที่ยวมาหลายประเทศ แล้วกลับมามองดูประเทศไทย จะพบว่าจุดแข็งของประเทศไทย แท้จริงแล้วคือคนไทยนั่นเองครับ
1 คนไทยจัดเป็นกลุ่มคนที่เข้ากับชาติอื่นได้ง่าย การลงทุนต่าง ๆ จึงไหลเข้าประเทศไทยมากโดยเฉพาะจากญี่ปุ่น ที่ผ่านมา 30 ปี การเข้ามาลงทุน ทำให้เกิดการจ้างงานในไทยเป็นจำนวนมาก ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในไทยมาก
2 ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่ คนไทยมีนิสัยนอบน้อม กตัญญู เป็นเมืองพุทธ ทำให้คนมีจิตใจดีเป็นส่วนใหญ่ อากาศดี อาหารอร่อย ค่าครองชีพไม่แพง ทำให้มีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่ในไทยเป็นจำนวนมาก อันนี้ น่าจะส่งผลให้เกิดการ consumption ในประเทศมากขึ้น
3 แนวโน้มการเข้ามาของต่างชาติ ทำให้คนไทย จะเป็นชาติที่มีการผสมผสานด้านเชื้อชาติมากขึ้นไปอีก generation ใหม่ของคนไทยแนวโน้มจะมีลูกครึ่งมากขึ้น คนไทยหน้าตาดีขึ้น เพราะโดยหลักพันธุกรรม diversity เป็นผลดีต่อการสืบทอดพันธุกรรม
หากใคร ไม่เคยไปเที่ยว Museum of Siam น่าลองไปดูครับ อยู่แถว ๆ ราชดำเนิน จะได้รู้ว่าใครคือคนไทย เรามีที่มาอย่างไร น่าจะช่วยในการมองภาพใหญ่ต่าง ๆ เกี่ยวกับประเทศไทยได้ดีขึ้น มองอดีต สะท้อนปัจจุบัน ทำให้มองแนวโน้มในอนาคตได้ดีขึ้นครับผม
1 คนไทยจัดเป็นกลุ่มคนที่เข้ากับชาติอื่นได้ง่าย การลงทุนต่าง ๆ จึงไหลเข้าประเทศไทยมากโดยเฉพาะจากญี่ปุ่น ที่ผ่านมา 30 ปี การเข้ามาลงทุน ทำให้เกิดการจ้างงานในไทยเป็นจำนวนมาก ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในไทยมาก
2 ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่ คนไทยมีนิสัยนอบน้อม กตัญญู เป็นเมืองพุทธ ทำให้คนมีจิตใจดีเป็นส่วนใหญ่ อากาศดี อาหารอร่อย ค่าครองชีพไม่แพง ทำให้มีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่ในไทยเป็นจำนวนมาก อันนี้ น่าจะส่งผลให้เกิดการ consumption ในประเทศมากขึ้น
3 แนวโน้มการเข้ามาของต่างชาติ ทำให้คนไทย จะเป็นชาติที่มีการผสมผสานด้านเชื้อชาติมากขึ้นไปอีก generation ใหม่ของคนไทยแนวโน้มจะมีลูกครึ่งมากขึ้น คนไทยหน้าตาดีขึ้น เพราะโดยหลักพันธุกรรม diversity เป็นผลดีต่อการสืบทอดพันธุกรรม
หากใคร ไม่เคยไปเที่ยว Museum of Siam น่าลองไปดูครับ อยู่แถว ๆ ราชดำเนิน จะได้รู้ว่าใครคือคนไทย เรามีที่มาอย่างไร น่าจะช่วยในการมองภาพใหญ่ต่าง ๆ เกี่ยวกับประเทศไทยได้ดีขึ้น มองอดีต สะท้อนปัจจุบัน ทำให้มองแนวโน้มในอนาคตได้ดีขึ้นครับผม
In search of super stocks
- CHiNU_Vi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 631
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 20
Bubbles are often precipitated by perceptions of real improvements in the productivity and underlying profitability of the corporate economy. But as history attests, investors then too often exaggerate the extent of the improvement in economic fundamentals.
—Greenspan (2002)
—Greenspan (2002)
Always Smiling
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 22
ขอเปลี่ยนหัวข้อเป็น โอกาสทองของประเทศไทย (และทุกๆ ประเทศในแถบนี้)
ผมเห็นด้วยว่าไทยได้เปรียบด้านที่คนไทยเปิดกว้าง ยิ้มง่าย หยวนง่าย ต่างชาติชอบอยู่เมืองไทยมากกว่าที่อื่น
แต่ข้อเสียเปรียบของเราคือภาษาอังกฤษ ที่แม้แต่พม่ายังดีกว่าเรา
ภาคการเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ ภาคการเงิน และ สาธารณูปโภคพื้นฐาน เราอยู่กลางๆ ไม่ได้แย่ที่สุดหรือดีที่สุดในภูมิภาค
ค่าจ้างแรงงานต่อประสิทธิภาพแรงงานของเราค่อนข้างแย่
"คำใช้จ่ายจ้างแรงงานไทย 1 คน สามารถจ้างชาวจีนได้ 3 คน อินโดนีเซียได้ 4 คน เวียดนามและกัมพูชาได้ 5 คน พมำได้ 9 คนขณะที่คำจ้างแรงงานไทยมีความใกล้เคียงกับมาเลเซีย แตํผลิตภาพในการทำงานของแรงงานมาเลเซียมากกวำไทยกว่า2 เท่าตัว แม้วำค่าจ้างแรงงานสิงคโปร์แพงกวำแรงงานไทยกว่า 2 เทำตัวแตํผลิตภาพมากกวำเราถึง 5 เทำตัว และเมื่อเทียบกับแรงงานเวียดนาม แม้วำเราจะแพงกวำเขาถึง 5 เทำ แตํผลิตภาพของไทยนั้นดีกวำเพียง 2 เท่า เท่านั้นเอง
อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/129#ixzz2EHjTtCSV
"
โอกาสของเราอยู่ที่บริษัทของไทยจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ได้ดีแค่ไหน และใช้เงินที่มีลงทุนได้ดีมากน้อยแค่ไหน (ที่เวียดนาม มีปิโตรเคม คอมเพล็กซ์ ที่มีทั้งปตท และปูนใหญ่เข้าไปลงทุนจำนวนมาก)
สู้ๆ ประเทศไทย
ผมเห็นด้วยว่าไทยได้เปรียบด้านที่คนไทยเปิดกว้าง ยิ้มง่าย หยวนง่าย ต่างชาติชอบอยู่เมืองไทยมากกว่าที่อื่น
แต่ข้อเสียเปรียบของเราคือภาษาอังกฤษ ที่แม้แต่พม่ายังดีกว่าเรา
ภาคการเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ ภาคการเงิน และ สาธารณูปโภคพื้นฐาน เราอยู่กลางๆ ไม่ได้แย่ที่สุดหรือดีที่สุดในภูมิภาค
ค่าจ้างแรงงานต่อประสิทธิภาพแรงงานของเราค่อนข้างแย่
"คำใช้จ่ายจ้างแรงงานไทย 1 คน สามารถจ้างชาวจีนได้ 3 คน อินโดนีเซียได้ 4 คน เวียดนามและกัมพูชาได้ 5 คน พมำได้ 9 คนขณะที่คำจ้างแรงงานไทยมีความใกล้เคียงกับมาเลเซีย แตํผลิตภาพในการทำงานของแรงงานมาเลเซียมากกวำไทยกว่า2 เท่าตัว แม้วำค่าจ้างแรงงานสิงคโปร์แพงกวำแรงงานไทยกว่า 2 เทำตัวแตํผลิตภาพมากกวำเราถึง 5 เทำตัว และเมื่อเทียบกับแรงงานเวียดนาม แม้วำเราจะแพงกวำเขาถึง 5 เทำ แตํผลิตภาพของไทยนั้นดีกวำเพียง 2 เท่า เท่านั้นเอง
อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/129#ixzz2EHjTtCSV
"
โอกาสของเราอยู่ที่บริษัทของไทยจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ได้ดีแค่ไหน และใช้เงินที่มีลงทุนได้ดีมากน้อยแค่ไหน (ที่เวียดนาม มีปิโตรเคม คอมเพล็กซ์ ที่มีทั้งปตท และปูนใหญ่เข้าไปลงทุนจำนวนมาก)
สู้ๆ ประเทศไทย
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 23
เมื่อ 16ปีก่อน เราก้เคยคิดแบบนี้กันมารอบแล้วครับ
เสือตัวที่5
ต้องถามก่อนว่า เศรษฐกิจดีจริงหรือ ที่จะเป็นยุคทอง
ผมเห็นแต่่ภาวะก่อหนี้ทั้งภาคครัวเรือนและภาครัฐ มันเหมือนผลไม้ที่ถูกบ่ม
หลายคนอาจจะมองว่าเหลืองอร่าม แต่สำหรับผม
ของไม่ธรรมชาติ ไม่นานก้ต้องแห้งไป
เหมือนปี39 เข้าไปทุกที ทั้งการเก็งกำไรใบจองคอนโด ทั้งคนไม่มีรายได้แต่อยากมีรถ
และก้คนที่ไม่ไหวแต่อยากผ่อนบ้าน
ถ้าไม่ตกงานก้คงไม่น่าห่วง ถ้าตกงาน กันหล่ะก้
บรรยากาศเก่าๆแบบ16ปีที่แล้ว คงมาเยือน
เสือตัวที่5
ต้องถามก่อนว่า เศรษฐกิจดีจริงหรือ ที่จะเป็นยุคทอง
ผมเห็นแต่่ภาวะก่อหนี้ทั้งภาคครัวเรือนและภาครัฐ มันเหมือนผลไม้ที่ถูกบ่ม
หลายคนอาจจะมองว่าเหลืองอร่าม แต่สำหรับผม
ของไม่ธรรมชาติ ไม่นานก้ต้องแห้งไป
เหมือนปี39 เข้าไปทุกที ทั้งการเก็งกำไรใบจองคอนโด ทั้งคนไม่มีรายได้แต่อยากมีรถ
และก้คนที่ไม่ไหวแต่อยากผ่อนบ้าน
ถ้าไม่ตกงานก้คงไม่น่าห่วง ถ้าตกงาน กันหล่ะก้
บรรยากาศเก่าๆแบบ16ปีที่แล้ว คงมาเยือน
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 24
ลองมองด้วยตาและใจสิครับ
ณ วันนี้ มีสัมนาที่ไหน แทบจะล้นห้อง สัมนาเสียเงินหมื่นเงินแสนก้มีคนไปเรียน
talk show หุ้นก้มีแต่คนแห่ไปดู
พวกรายได้น้อยๆ เห็นคนสำเร็จในหุ้น ก้หวังจะนำเงินมาลงทุน หวังจะรวย หวังจะปลดหนี้
พวกเป็นหนี้ ก้หวังหาเงินมาผ่อนชำระหนี้
ตลาดแห่งความหวัง อนิจจา ตลาดหุ้นเหมือนที่ชาล์ ดาวิน ว่าไว้
natural selection
ณ วันนี้ มีสัมนาที่ไหน แทบจะล้นห้อง สัมนาเสียเงินหมื่นเงินแสนก้มีคนไปเรียน
talk show หุ้นก้มีแต่คนแห่ไปดู
พวกรายได้น้อยๆ เห็นคนสำเร็จในหุ้น ก้หวังจะนำเงินมาลงทุน หวังจะรวย หวังจะปลดหนี้
พวกเป็นหนี้ ก้หวังหาเงินมาผ่อนชำระหนี้
ตลาดแห่งความหวัง อนิจจา ตลาดหุ้นเหมือนที่ชาล์ ดาวิน ว่าไว้
natural selection
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 25
เมื่อเลือกเดินในวิถีทุนนิยมก็ควรรู้ให้ซึ้งถึงธาตุแท้ของทุนนิยม
ประเทศหรือบริษัทจะเติบโตมั่นคงแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนได้ ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
ชีวิตคนแต่ละคนก็เช่นกัน
เคยมีผู้รู้พยายามอธิบายสภาวะปัจจุบันไว้
"ที่จริง ปัญหาของระบอบทุนนิยม เป็นปัญหาที่เกิดจาก โครงสร้างของตัวระบอบเอง นั่นคือ โครงสร้างการผลิตที่อาศัยมหาชนทั่วทั้งโลกร่วมกันผลิต โดยระบบการแบ่งงานทางสากลที่ละเอียดยิบย่อย แต่ระบอบกรรมสิทธิ์และผลประโยชน์กลับตกเป็นของนายทุนจำนวนน้อยมาก
โดยธาตุแท้แล้ว ระบอบทุนนิยมเป็น ระบอบที่ไม่มีหัวใจ เพราะมุ่งถือเอากำไรและประโยชน์สูงสุดของนายทุนจำนวนน้อยเป็นหลัก เรื่องอื่นๆ แม้แต่ แนวคิดเรื่องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (stake holders) แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ (corporate social responsibility : CSR) แนวคิดการลงทุนเพื่อสังคม (socially responsible investment : SRI) การจ้างงาน ภาษีของรัฐ สังคมสงเคราะห์ ฯลฯ ล้วนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ อยู่หลังกำไรและประโยชน์สูงสุดของนายทุนจำนวนน้อยทั้งสิ้น"
ค้นมาให้อ่าน ส่วนหนึ่งของผู้คนยุคนั้นมีมุมมองอย่างไร
"ทุนนิยมวิกฤติ : ทางรอดอยู่ที่ไหน?"
บทเรียนบทหนึ่งจากวิกฤติที่ว่า บางครั้งบางขณะคนฝ่ายข้างมากไม่ได้คิดถูกเสมอไป ประชาธิปไตยอาจบอกว่าเสียงข้างมากเป็นฝ่ายชนะ แต่บางเหตุการณ์โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดวิกฤติ คนข้างมากใช่ว่าจะคิดถูก หลายคนอาจจะเป็นเพียงกบในกะลาครอบของตัวเอง มีความลำพอง นี่เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นชัดว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน แท้จริงแล้วมันเป็นวิกฤติแห่งภูมิปัญญาของสังคมไทย และหลังจากเกิดวิกฤติมาปีกว่าก็แทบไม่เห็นว่ามีการปรับปรุงสักเท่าไรเลย
วิกฤติในครั้งนี้มี 2 มิติที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งต้องพิจารณาควบคู่กันไป จะมองแค่ด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ อันแรกคือวิกฤติของทุนนิยมไทยโดยตัวของมันเอง อีกมิติหนึ่งก็คือวิกฤติของระบบโลกโดยตัวของมันเองเช่นกัน
วิกฤติอันแรกคือสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2540 ในรอบ 40 ปีแห่งการพัฒนาทุนนิยม ไม่เคยมีครั้งไหนที่ทุนนิยมไทยประสบกับความหายนะมากเท่าครั้งนี้ นั่นคือมีการล่มสลายของสถาบันการเงินซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจของเศรษฐกิจมีการล้มทรุดของภาคเศรษฐกิจจริงซึ่งลามไปดุจโรคมะเร็ง และภาระหนี้สินมากมายมหาศาลที่ยากจะใช้ได้หมดในชั่วชีวิตของเรา สามอย่างนี้ชี้ให้เห็นถึงการพังทลายของกลไกการสะสมทุนภายในประเทศ และถ้าจะหาทางออก ก่อนอื่นก็ต้องยอมรับความจริงว่า ปัจจุบันนี้กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่เคยทำงานมาตลอด 40 ปีนั้น ใช้ไม่ได้แล้ว
ส่วนวิกฤติของระบบโลก เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1980 แรกๆออกมาในรูปที่เราไม่เคยเผชิญมาก่อน คือ ภาคการเงินกลายเป็นภาคที่มีฐานะครอบงำเศรษฐกิจโลกแทนที่ภาคเศรษฐกิจก็จริง พอผนวกเข้ากับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศก็ทำให้ระบบโลกกลายเป็นบ่อนคาสิโนขนาดใหญ่หรือเราเรียกว่า ระบบโลกแบบทุนนิยมฟองสบู่ ซึ่งเต็มรูปตั้งแต่ประมาณปี 1985 และมาสู่ขั้นสุดยอดราวปี 1995 ที่เกิดวิกฤติการณ์เม็กซิโก ตรงนี้เป็นจุดที่นำมาสู่หายนะ
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนธาตุแท้ไปอย่างสิ้นเชิง คือ การเคลื่อนไหวของกระแสเงินทุนได้กลายมาเป็นปัจจัยทีใหญ่ที่สุดในการกำหนดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แทนที่นโยบายมหภาคของรัฐบาลดังที่เคยมีมาตลอดช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นี่คือข้อเท็จจริงที่กระทรวงการคลังและแบงค์ชาติของประเทศกำลังพัฒนาหรือแม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วมองข้ามไปจริงๆ ตัวชี้ขาดไม่ใช่เรื่องการดำเนินนโยบาย แต่เป็นกระแสการไหลของเงินที่มันเข้ามาเร็วและก็แรงจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปของความเฟื่องฟู ประมาณหลังเปิด BIBF จนถึงปี 1996 แล้วนำมาสู่ภาวะฟองสบู่แตกซึ่งเป็นแบบเดียวกันคือ มาแรงและก็ไปแรง
จุดเปลี่ยนที่รุนแรงที่สุดในแง่ผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ ออกมาในรูปของการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงของกระแสเงินทุนไหลเข้าไหลออกนี้ มันทำให้วิถีชีวิตของคนจำนวนมากหันมาพึ่งพาระบบการสร้างความมั่งคั่งแบบใหม่โดยการเก็งกำไร ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมาเพราะเราเปลี่ยนวิถีชีวิตไปแล้ว ไม่ว่าเราจะอ้างว่าสังคมไทยมีวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างไรก็ตาม แต่ความเป็นจริงคือมันเปลี่ยนไปแล้ว ถ้าพูดศัพท์ภาษาวรรณกรรมหน่อยก็คือ เราขายวิญญาณให้กับซาตานไปแล้ว และตอนนี้เรากำลังเสียดอกเบี้ยราคาแพง ทั้งในเชิงจิตวิญญาณและในเชิงสังคม ให้กับสิ่งที่เราทำไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว นี่คือต้นตอของปัญหาทั้งปวงที่เกิดขึ้น
สิ่งที่ทุนนิยมไทยและประเทศพัฒนาอื่นๆเผชิญอยู่ในปัจจุบัน มันเหมือนทางสามแพร่ง และหลายทางเดินเหล่านั้นอาจจะนำไปสู่ทางตัน อาจจะตกเหว ฯลฯ ถ้าเลือกทางผิดชะตาชีวิตหรือชะตากรรมของประเทศก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้น ในภาวะเช่นนี้ข้อมูลในรายละเอียดคือสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด ถ้าเราได้ข้อมูลล่วงหน้าก่อนที่เราจะตัดสินใจเดินทางแบบรวมหมู่ ถ้าเรารู้ว่าจะต้องเผชิญกับอะไรในช่วงไม่กี่ปีหลังนี้ เราก็จะสามารถเลือกทางที่เราจะรอดได้หรือมีโอกาสรอดได้มากที่สุด เราก็จะหาคำตอบได้
และสิ่งที่ว่าเราจะเผชิญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็คือ ภาวะความปั่นป่วนไร้เสถียรภาพในอัตราเร่งที่มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งระบบโลก พูดให้ง่ายๆเป็นรูปธรรมก็คือ ความล่มสลายของระบบเศรษฐกิจคาสิโนระดับโลกจะเกิดที่ศูนย์กลางทุนนิยมโลก คือ สหรัฐอเมริกา ในราวๆปี 1999 และถึงจุดสุดยอดของความรุนแรงหรือความสั่นสะเทือนราวๆปี 2000 - 2002 คือจากนี้ไปอีกประมาณ 4 ปี ภาวะความรุนแรงที่สุดสามารถอุปมาดังการเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นครั้งแรกเป็นวิกฤติเม็กซิโก แล้วต่อมาก็ที่เมืองไทย แต่นั่นเป็นเพียงการไหวเตือน ยังไม่ใช่ The big one แผ่นดินไหวจริงๆจะเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางคาดว่าอยู่ในช่วงปี 1999 - 2002 ซึ่งอาจจะเกิดหลายลูก แล้วจะมีผลกระทบตามมาอีก สิ่งนี้คงนำมาซึ่งจุดจบของระบบทุนนิยมฟองสบู่ ในราวๆไม่เกินปี 2012 หรืออีก 14 ปีหลังจากนี้ไป
ภาพการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ในปี 1990 เป็นบทแรกภาพต่อมาประมาณปี 2012 เป็นภาพที่คงหลีกเลี่ยงได้ยากแล้วในตอนนี้ คือการล่มสลายของระบบทุนนิยม เราคงไม่ต้องมากังวลเรื่องการฟื้นฟูทุนนิยมอีกต่อไป เพราะหลังจากนั้นเราคงต้องพูดถึงระบบใหม่ แต่การพูดถึงระบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังทุนนิยมในตอนนี้มันเร็วไป ตอนนี้คงสรุปได้เพียงว่า ตัวแปรที่เร่งให้เกิดการล่มสลายของระบบทุนนิยมคือจุดจบของระบบคอมมิวนิสต์ที่เกิดขึ้นในปี 1990 และอีกประมาณสิบกว่าปีเราคงจะได้เห็นการล่มสลายของระบบทุนนิยม มันคงจะใกล้ตัวเรามากกว่าคนในค่ายคอมมิวนิสต์ ส่วนสิ่งที่จะต้องเผชิญต่อจากนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบคือ สงครามโลกครั้งที่ 3 หรือสงครามโลกาวินาศ แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ได้เกิดสงครามย่อยขึ้นมา 3 รูปแบบแล้ว ได้แก่ 1) สงครามระหว่างชนชาติเดียวกัน ในบางประเทศรู้สึกตอนนี้เกิดขึ้นหลายจุดแล้ว 2) อันนี้ประเทศไทยเราโดนด้วย คือ สงครามเศรษฐกิจที่ต่อสู้อย่างรุนแรงมาก เอาชีวิตเอาชะตากรรมประเทศชาติเป็นเดิมพัน และ 3) ที่ส่วนใหญ่มองข้ามไปก็คือ สงครามที่ต่อสู้กับภัยธรรมชาติประเภทต่างๆ แผ่นดินไหว พายุเฮอริเคน ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม ภัยแล้ง จะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับในอัตราเร่ง อันนี้โดนกันทุกประเทศทั่วโลก ยากจะหลีกเลี่ยงได้ สามอันนี้จะเป็นตัวบั่นทอนระบบทุนนิยมให้อ่อนล้าแล้วก็ถึงจุดจบในเวลาที่เราคาดการณ์กันไว้
สมมุติเราเชื่อว่า ข้อมูลหรือสิ่งที่เราได้จากปัญญาญาณอันนี้ในการที่จะประเมิณสถานการณ์ว่า นี่คือภาพที่เห็นข้างหน้า ในประมาณ 10 กว่าปีข้างหน้ามันจะเกิดแบบนี้ แล้วประเทศไทยของเราจะนำพาตัวเองรอดจากมรสุมแห่งยุคสมัยนี้ได้อย่างไร คนทุกระดับหรือคนที่มีอำนาจ ควรเตรียมการหรือประเมิณความรุนแรงของปัญหานี้ในระดับเดียวกับภาวะสงคราม ในระดับสงครามโลก เพราะเราหมดยุคแห่งสันติแล้ว เราอาจจะต้องเผชิญอย่างสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือ สงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเราคงได้เห็นวันนั้น พอคิดแบบนี้แล้วจึงมองหาทางออก
ทางออก อันดับแรก คือ เศรษฐกิจพอเพียง ตอนนี้เศรษฐกิจพอเพียงยังไม่เป็น sub-system หรือ sector หนึ่งของสังคมไทย เราจะต้องรีบทำให้ได้ เพราะสิ่งนี้คือหลักประกันการเกิดกลียุค ที่เกิดขึ้นแล้วในอินโดนีเซีย ถ้าไม่อยากให้เกิดกลียุคในสังคมไทยแบบอินโดนีเซีย เราต้องเร่งทำเศรษฐกิจ พอเพียงโดยเร็วที่สุดเพื่อรองรับปัญหาวิกฤติทางสังคมและการว่างงาน
อันที่สอง จะต้องเร่งทำทีสุดคือ การฝึกฝนคนเพื่อรองรับระบบใหม่ที่ไม่ใช่การแก้ปัญหาวันต่อวัน หรือปีต่อปี พอมีคนประท้วงหน่อยหรือมีชาวนาผูกคอตายก็มาลนลานแก้ปัญหา
อันที่สาม เป็นเรื่องระดับปัจเจกชน พอเศรษฐกิจล่มสลายสิ่งที่เราได้คืนมาคือเวลา บางคนมีเวลามากอาจจะฟุ้งซ่านแล้วออกมาในรูปขอ่งการฆ่าตัวตาย บางคนตกงานก็อาจจะมาค้ายาบ้าหรือใช้ชีวิตที่สุ่มเสี่ยงแทน บางคนอาจจะไปปฏิบัติธรรม แต่ถ้าอยากจะรอด เราต้องสถาปนาความสัมพันธ์กันใหม่ คือ หนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเราเองกับผู้คนทั้งหลาย ไม่ใช่เป็นแบบที่นักศึกษาถูกจี้ทำอนาจารบนรถเมล์แล้วก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ นั่นเป็นด้านที่เลวร้ายมากของความสัมพันธ์ที่เรามีต่อผู้คน สอง ความสัมพันธ์ทางสังคม ก็คงในเชิงของชุมชน ความสัมพันธ์กับโลก จักรวาล และธรรมชาติ ถ้าหากเราไม่มีอันนี้ก็จะมองไม่เห็นเลยว่าในแง่ปัจเจกเราจะอยู่รอดได้อย่างไร เพราะเราอาจจะเป็นตัวบิดเบือนและทำลายองค์รวมนี้ก็ได้
อันที่สี่ เราต้องมีการทำใหม่ สร้างใหม่ คือต้องสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่โดยการเปลี่ยนวิถีที่เป็นอยู่ อุปมาดังรถเสียข้างทาง เราจะเดินไปตัวเปล่ามันก็กระไรอยู่ เราสามารถเปลี่ยนแปลงรถเสียนั้นให้กลายเป็นเกวียนหรือเอาบางส่วนของมันมาใช่ต่อไปได้หรือไม่ คือ เอาชิ้นส่วนบางอันของระบบเก่าที่มันพังไปแล้วกลับมาใช้กับระบบใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นมาได้หรือไม่ ซึ่งอันนี้มันต้องใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
และอันสุดท้าย เป็นการตัดสินใจทางกลยุทธ์ที่ยากที่สุด ผุ้นำส่วนใหญ่จะไม่กล้าทำ คือ เราต้องกล้าทิ้งวิธีคิดแบบเก่าที่เคยประสบความสำเร็จมา โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องการเป็นเจ้าของ (ownership) เราต้องกล้าปฏิรูปสถาบันการเงิน ให้เถ้าแก่ทั้งหมดที่เคยมีอำนาจทางการเงินกลายเป็นลูกจ้างเหมือนคนทั่วไปได้หรือไม่ ปฏิรูปที่ดินการเกษตรของพวกที่เอาโซ่ไปล่ามแผ่นดินไว้ด้วยการเก็งกำไรให้กลายเป็นที่ดินเพื่อรองรับเศรษฐกิจพอเพียงได้หรือไม่ สองเรื่องนี้ถ้าไม่กล้าทำก็คงยากที่จะแก้ปัญหาจนถึงขั้นรากเหง้าได้
โดยสรุปจากนำเสนอวิกฤติการณ์ทุนนิยมจากตะวันตกด้วยท่วงทำนองของวรรณกรรมจากตะวันออก จนอาจทำให้หลายคนคิดถึงนอสตราดามุส มีเพียงสั้นๆคือ วิกฤติการณ์คราวนี้ไม่มีทางรอดสำหรับระบบทุนนิยม แต่ถ้าคนในระบบทุนนิยมจะอยู่รอดก็ต้องปรับตัวให้เป็นอย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่อยู่ในความสัมพันธ์แบบทุนนิยมอย่างที่เคยเป็นมา
(จากเศรษฐกิจไทยตายแล้วฟื้น พิมพ์ครั้งที่ 3, ดร.สุวินัย ภรณวลัย, สำนักพิมพ์วิชั่น แวนควิช)
ประเทศหรือบริษัทจะเติบโตมั่นคงแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนได้ ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
ชีวิตคนแต่ละคนก็เช่นกัน
เคยมีผู้รู้พยายามอธิบายสภาวะปัจจุบันไว้
"ที่จริง ปัญหาของระบอบทุนนิยม เป็นปัญหาที่เกิดจาก โครงสร้างของตัวระบอบเอง นั่นคือ โครงสร้างการผลิตที่อาศัยมหาชนทั่วทั้งโลกร่วมกันผลิต โดยระบบการแบ่งงานทางสากลที่ละเอียดยิบย่อย แต่ระบอบกรรมสิทธิ์และผลประโยชน์กลับตกเป็นของนายทุนจำนวนน้อยมาก
โดยธาตุแท้แล้ว ระบอบทุนนิยมเป็น ระบอบที่ไม่มีหัวใจ เพราะมุ่งถือเอากำไรและประโยชน์สูงสุดของนายทุนจำนวนน้อยเป็นหลัก เรื่องอื่นๆ แม้แต่ แนวคิดเรื่องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (stake holders) แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ (corporate social responsibility : CSR) แนวคิดการลงทุนเพื่อสังคม (socially responsible investment : SRI) การจ้างงาน ภาษีของรัฐ สังคมสงเคราะห์ ฯลฯ ล้วนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ อยู่หลังกำไรและประโยชน์สูงสุดของนายทุนจำนวนน้อยทั้งสิ้น"
ค้นมาให้อ่าน ส่วนหนึ่งของผู้คนยุคนั้นมีมุมมองอย่างไร
"ทุนนิยมวิกฤติ : ทางรอดอยู่ที่ไหน?"
บทเรียนบทหนึ่งจากวิกฤติที่ว่า บางครั้งบางขณะคนฝ่ายข้างมากไม่ได้คิดถูกเสมอไป ประชาธิปไตยอาจบอกว่าเสียงข้างมากเป็นฝ่ายชนะ แต่บางเหตุการณ์โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดวิกฤติ คนข้างมากใช่ว่าจะคิดถูก หลายคนอาจจะเป็นเพียงกบในกะลาครอบของตัวเอง มีความลำพอง นี่เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นชัดว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน แท้จริงแล้วมันเป็นวิกฤติแห่งภูมิปัญญาของสังคมไทย และหลังจากเกิดวิกฤติมาปีกว่าก็แทบไม่เห็นว่ามีการปรับปรุงสักเท่าไรเลย
วิกฤติในครั้งนี้มี 2 มิติที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งต้องพิจารณาควบคู่กันไป จะมองแค่ด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ อันแรกคือวิกฤติของทุนนิยมไทยโดยตัวของมันเอง อีกมิติหนึ่งก็คือวิกฤติของระบบโลกโดยตัวของมันเองเช่นกัน
วิกฤติอันแรกคือสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2540 ในรอบ 40 ปีแห่งการพัฒนาทุนนิยม ไม่เคยมีครั้งไหนที่ทุนนิยมไทยประสบกับความหายนะมากเท่าครั้งนี้ นั่นคือมีการล่มสลายของสถาบันการเงินซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจของเศรษฐกิจมีการล้มทรุดของภาคเศรษฐกิจจริงซึ่งลามไปดุจโรคมะเร็ง และภาระหนี้สินมากมายมหาศาลที่ยากจะใช้ได้หมดในชั่วชีวิตของเรา สามอย่างนี้ชี้ให้เห็นถึงการพังทลายของกลไกการสะสมทุนภายในประเทศ และถ้าจะหาทางออก ก่อนอื่นก็ต้องยอมรับความจริงว่า ปัจจุบันนี้กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่เคยทำงานมาตลอด 40 ปีนั้น ใช้ไม่ได้แล้ว
ส่วนวิกฤติของระบบโลก เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1980 แรกๆออกมาในรูปที่เราไม่เคยเผชิญมาก่อน คือ ภาคการเงินกลายเป็นภาคที่มีฐานะครอบงำเศรษฐกิจโลกแทนที่ภาคเศรษฐกิจก็จริง พอผนวกเข้ากับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศก็ทำให้ระบบโลกกลายเป็นบ่อนคาสิโนขนาดใหญ่หรือเราเรียกว่า ระบบโลกแบบทุนนิยมฟองสบู่ ซึ่งเต็มรูปตั้งแต่ประมาณปี 1985 และมาสู่ขั้นสุดยอดราวปี 1995 ที่เกิดวิกฤติการณ์เม็กซิโก ตรงนี้เป็นจุดที่นำมาสู่หายนะ
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนธาตุแท้ไปอย่างสิ้นเชิง คือ การเคลื่อนไหวของกระแสเงินทุนได้กลายมาเป็นปัจจัยทีใหญ่ที่สุดในการกำหนดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แทนที่นโยบายมหภาคของรัฐบาลดังที่เคยมีมาตลอดช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นี่คือข้อเท็จจริงที่กระทรวงการคลังและแบงค์ชาติของประเทศกำลังพัฒนาหรือแม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วมองข้ามไปจริงๆ ตัวชี้ขาดไม่ใช่เรื่องการดำเนินนโยบาย แต่เป็นกระแสการไหลของเงินที่มันเข้ามาเร็วและก็แรงจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปของความเฟื่องฟู ประมาณหลังเปิด BIBF จนถึงปี 1996 แล้วนำมาสู่ภาวะฟองสบู่แตกซึ่งเป็นแบบเดียวกันคือ มาแรงและก็ไปแรง
จุดเปลี่ยนที่รุนแรงที่สุดในแง่ผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ ออกมาในรูปของการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงของกระแสเงินทุนไหลเข้าไหลออกนี้ มันทำให้วิถีชีวิตของคนจำนวนมากหันมาพึ่งพาระบบการสร้างความมั่งคั่งแบบใหม่โดยการเก็งกำไร ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมาเพราะเราเปลี่ยนวิถีชีวิตไปแล้ว ไม่ว่าเราจะอ้างว่าสังคมไทยมีวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างไรก็ตาม แต่ความเป็นจริงคือมันเปลี่ยนไปแล้ว ถ้าพูดศัพท์ภาษาวรรณกรรมหน่อยก็คือ เราขายวิญญาณให้กับซาตานไปแล้ว และตอนนี้เรากำลังเสียดอกเบี้ยราคาแพง ทั้งในเชิงจิตวิญญาณและในเชิงสังคม ให้กับสิ่งที่เราทำไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว นี่คือต้นตอของปัญหาทั้งปวงที่เกิดขึ้น
สิ่งที่ทุนนิยมไทยและประเทศพัฒนาอื่นๆเผชิญอยู่ในปัจจุบัน มันเหมือนทางสามแพร่ง และหลายทางเดินเหล่านั้นอาจจะนำไปสู่ทางตัน อาจจะตกเหว ฯลฯ ถ้าเลือกทางผิดชะตาชีวิตหรือชะตากรรมของประเทศก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้น ในภาวะเช่นนี้ข้อมูลในรายละเอียดคือสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด ถ้าเราได้ข้อมูลล่วงหน้าก่อนที่เราจะตัดสินใจเดินทางแบบรวมหมู่ ถ้าเรารู้ว่าจะต้องเผชิญกับอะไรในช่วงไม่กี่ปีหลังนี้ เราก็จะสามารถเลือกทางที่เราจะรอดได้หรือมีโอกาสรอดได้มากที่สุด เราก็จะหาคำตอบได้
และสิ่งที่ว่าเราจะเผชิญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็คือ ภาวะความปั่นป่วนไร้เสถียรภาพในอัตราเร่งที่มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งระบบโลก พูดให้ง่ายๆเป็นรูปธรรมก็คือ ความล่มสลายของระบบเศรษฐกิจคาสิโนระดับโลกจะเกิดที่ศูนย์กลางทุนนิยมโลก คือ สหรัฐอเมริกา ในราวๆปี 1999 และถึงจุดสุดยอดของความรุนแรงหรือความสั่นสะเทือนราวๆปี 2000 - 2002 คือจากนี้ไปอีกประมาณ 4 ปี ภาวะความรุนแรงที่สุดสามารถอุปมาดังการเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นครั้งแรกเป็นวิกฤติเม็กซิโก แล้วต่อมาก็ที่เมืองไทย แต่นั่นเป็นเพียงการไหวเตือน ยังไม่ใช่ The big one แผ่นดินไหวจริงๆจะเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางคาดว่าอยู่ในช่วงปี 1999 - 2002 ซึ่งอาจจะเกิดหลายลูก แล้วจะมีผลกระทบตามมาอีก สิ่งนี้คงนำมาซึ่งจุดจบของระบบทุนนิยมฟองสบู่ ในราวๆไม่เกินปี 2012 หรืออีก 14 ปีหลังจากนี้ไป
ภาพการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ในปี 1990 เป็นบทแรกภาพต่อมาประมาณปี 2012 เป็นภาพที่คงหลีกเลี่ยงได้ยากแล้วในตอนนี้ คือการล่มสลายของระบบทุนนิยม เราคงไม่ต้องมากังวลเรื่องการฟื้นฟูทุนนิยมอีกต่อไป เพราะหลังจากนั้นเราคงต้องพูดถึงระบบใหม่ แต่การพูดถึงระบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังทุนนิยมในตอนนี้มันเร็วไป ตอนนี้คงสรุปได้เพียงว่า ตัวแปรที่เร่งให้เกิดการล่มสลายของระบบทุนนิยมคือจุดจบของระบบคอมมิวนิสต์ที่เกิดขึ้นในปี 1990 และอีกประมาณสิบกว่าปีเราคงจะได้เห็นการล่มสลายของระบบทุนนิยม มันคงจะใกล้ตัวเรามากกว่าคนในค่ายคอมมิวนิสต์ ส่วนสิ่งที่จะต้องเผชิญต่อจากนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบคือ สงครามโลกครั้งที่ 3 หรือสงครามโลกาวินาศ แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ได้เกิดสงครามย่อยขึ้นมา 3 รูปแบบแล้ว ได้แก่ 1) สงครามระหว่างชนชาติเดียวกัน ในบางประเทศรู้สึกตอนนี้เกิดขึ้นหลายจุดแล้ว 2) อันนี้ประเทศไทยเราโดนด้วย คือ สงครามเศรษฐกิจที่ต่อสู้อย่างรุนแรงมาก เอาชีวิตเอาชะตากรรมประเทศชาติเป็นเดิมพัน และ 3) ที่ส่วนใหญ่มองข้ามไปก็คือ สงครามที่ต่อสู้กับภัยธรรมชาติประเภทต่างๆ แผ่นดินไหว พายุเฮอริเคน ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม ภัยแล้ง จะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับในอัตราเร่ง อันนี้โดนกันทุกประเทศทั่วโลก ยากจะหลีกเลี่ยงได้ สามอันนี้จะเป็นตัวบั่นทอนระบบทุนนิยมให้อ่อนล้าแล้วก็ถึงจุดจบในเวลาที่เราคาดการณ์กันไว้
สมมุติเราเชื่อว่า ข้อมูลหรือสิ่งที่เราได้จากปัญญาญาณอันนี้ในการที่จะประเมิณสถานการณ์ว่า นี่คือภาพที่เห็นข้างหน้า ในประมาณ 10 กว่าปีข้างหน้ามันจะเกิดแบบนี้ แล้วประเทศไทยของเราจะนำพาตัวเองรอดจากมรสุมแห่งยุคสมัยนี้ได้อย่างไร คนทุกระดับหรือคนที่มีอำนาจ ควรเตรียมการหรือประเมิณความรุนแรงของปัญหานี้ในระดับเดียวกับภาวะสงคราม ในระดับสงครามโลก เพราะเราหมดยุคแห่งสันติแล้ว เราอาจจะต้องเผชิญอย่างสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือ สงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเราคงได้เห็นวันนั้น พอคิดแบบนี้แล้วจึงมองหาทางออก
ทางออก อันดับแรก คือ เศรษฐกิจพอเพียง ตอนนี้เศรษฐกิจพอเพียงยังไม่เป็น sub-system หรือ sector หนึ่งของสังคมไทย เราจะต้องรีบทำให้ได้ เพราะสิ่งนี้คือหลักประกันการเกิดกลียุค ที่เกิดขึ้นแล้วในอินโดนีเซีย ถ้าไม่อยากให้เกิดกลียุคในสังคมไทยแบบอินโดนีเซีย เราต้องเร่งทำเศรษฐกิจ พอเพียงโดยเร็วที่สุดเพื่อรองรับปัญหาวิกฤติทางสังคมและการว่างงาน
อันที่สอง จะต้องเร่งทำทีสุดคือ การฝึกฝนคนเพื่อรองรับระบบใหม่ที่ไม่ใช่การแก้ปัญหาวันต่อวัน หรือปีต่อปี พอมีคนประท้วงหน่อยหรือมีชาวนาผูกคอตายก็มาลนลานแก้ปัญหา
อันที่สาม เป็นเรื่องระดับปัจเจกชน พอเศรษฐกิจล่มสลายสิ่งที่เราได้คืนมาคือเวลา บางคนมีเวลามากอาจจะฟุ้งซ่านแล้วออกมาในรูปขอ่งการฆ่าตัวตาย บางคนตกงานก็อาจจะมาค้ายาบ้าหรือใช้ชีวิตที่สุ่มเสี่ยงแทน บางคนอาจจะไปปฏิบัติธรรม แต่ถ้าอยากจะรอด เราต้องสถาปนาความสัมพันธ์กันใหม่ คือ หนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเราเองกับผู้คนทั้งหลาย ไม่ใช่เป็นแบบที่นักศึกษาถูกจี้ทำอนาจารบนรถเมล์แล้วก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ นั่นเป็นด้านที่เลวร้ายมากของความสัมพันธ์ที่เรามีต่อผู้คน สอง ความสัมพันธ์ทางสังคม ก็คงในเชิงของชุมชน ความสัมพันธ์กับโลก จักรวาล และธรรมชาติ ถ้าหากเราไม่มีอันนี้ก็จะมองไม่เห็นเลยว่าในแง่ปัจเจกเราจะอยู่รอดได้อย่างไร เพราะเราอาจจะเป็นตัวบิดเบือนและทำลายองค์รวมนี้ก็ได้
อันที่สี่ เราต้องมีการทำใหม่ สร้างใหม่ คือต้องสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่โดยการเปลี่ยนวิถีที่เป็นอยู่ อุปมาดังรถเสียข้างทาง เราจะเดินไปตัวเปล่ามันก็กระไรอยู่ เราสามารถเปลี่ยนแปลงรถเสียนั้นให้กลายเป็นเกวียนหรือเอาบางส่วนของมันมาใช่ต่อไปได้หรือไม่ คือ เอาชิ้นส่วนบางอันของระบบเก่าที่มันพังไปแล้วกลับมาใช้กับระบบใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นมาได้หรือไม่ ซึ่งอันนี้มันต้องใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
และอันสุดท้าย เป็นการตัดสินใจทางกลยุทธ์ที่ยากที่สุด ผุ้นำส่วนใหญ่จะไม่กล้าทำ คือ เราต้องกล้าทิ้งวิธีคิดแบบเก่าที่เคยประสบความสำเร็จมา โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องการเป็นเจ้าของ (ownership) เราต้องกล้าปฏิรูปสถาบันการเงิน ให้เถ้าแก่ทั้งหมดที่เคยมีอำนาจทางการเงินกลายเป็นลูกจ้างเหมือนคนทั่วไปได้หรือไม่ ปฏิรูปที่ดินการเกษตรของพวกที่เอาโซ่ไปล่ามแผ่นดินไว้ด้วยการเก็งกำไรให้กลายเป็นที่ดินเพื่อรองรับเศรษฐกิจพอเพียงได้หรือไม่ สองเรื่องนี้ถ้าไม่กล้าทำก็คงยากที่จะแก้ปัญหาจนถึงขั้นรากเหง้าได้
โดยสรุปจากนำเสนอวิกฤติการณ์ทุนนิยมจากตะวันตกด้วยท่วงทำนองของวรรณกรรมจากตะวันออก จนอาจทำให้หลายคนคิดถึงนอสตราดามุส มีเพียงสั้นๆคือ วิกฤติการณ์คราวนี้ไม่มีทางรอดสำหรับระบบทุนนิยม แต่ถ้าคนในระบบทุนนิยมจะอยู่รอดก็ต้องปรับตัวให้เป็นอย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่อยู่ในความสัมพันธ์แบบทุนนิยมอย่างที่เคยเป็นมา
(จากเศรษฐกิจไทยตายแล้วฟื้น พิมพ์ครั้งที่ 3, ดร.สุวินัย ภรณวลัย, สำนักพิมพ์วิชั่น แวนควิช)
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 27
ใช่ Link นี้หรือเปล่าครับ ภาพรวมเศรษฐกิจปลายปี 2012 และปี 2013miracle เขียน: ไปอ่าน research ของ scbeic ก่อนละกัน
กลายอันอ่านแล้วเปิดโลกทัศน์
http://www.scbeic.com/stocks/extra/3657 ... 164746.pdf
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ยุคทองของประเทศไทย
โพสต์ที่ 29
สนุกดีครับ ผมว่า พอระเบียบมันผ่อนคลายลง
เราคงได้เห็นสงครามทางธุรกิจ ทางการเงินกันมากขึ้น
แต่เราจะบุกเค้าหรือเค้าจะบุกเรา
ส่วนไหนเราอาจจะแพ้ ส่วนไหนเราจะชนะ
น่าสนใจนะครับ
เราคงได้เห็นสงครามทางธุรกิจ ทางการเงินกันมากขึ้น
แต่เราจะบุกเค้าหรือเค้าจะบุกเรา
ส่วนไหนเราอาจจะแพ้ ส่วนไหนเราจะชนะ
น่าสนใจนะครับ
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting