รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 871

โพสต์

คอลัมน์: สัมภาษณ์พิเศษ: 'โกลบอลฯ'แต่งตัวเกาะขบวนประมูลไอพีพี
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Saturday, January 19, 2013
ศรัญญา ทองทับ


การเปิดประมูลแข่งขันตามโครงการกรับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือไอพีพี ซึ่งกำหนดยื่นแบบฟอร์มลงทะเบียนซื้อเอกสารรายละเอียดการยื่นประมูล (RFP) ระหว่างวันที่ 20 ธ.ค. 2555 - 21 ม.คฟ. 2556 จะมีชื่อของ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด หรือ จีพีเอสซี ในเครือปตท.เข้าร่วมประมูลครั้งนี้ด้วย หลังจากบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ซุ่มแต่งตัว รวบรวมการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าที่อยู่กระจัดกระจายในบริษัทต่างๆ ทั้งในและนอกเครือ กระทั่งควบรวมบริษัทที่ทำธุรกิจผลิตไฟฟ้า และสาธารณูปโภคพื้นฐานหลักในเครือ ระหว่างบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด (ไอพีที) ที่มีการลงทุนโรงไฟฟ้า กำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ตามโครงการไอพีพี ครั้งที่ 1 ระยะที่ 1 สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออก เมื่อ 12 ปีก่อน มีฐานการลงทุนในศรีราชา จังหวัดชลบุรี และบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กตามโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ เอสพีพี ที่ลงทุนผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมในเขตมาบตาพุด

น้องใหม่ในเครือปตท. บริษัทนี้ เปิดตัวก่อนปิดระยะเวลาซื้อเอกสารการประมูล ไอพีพีเพียงไม่กี่วัน มีทุนจดทะเบียนถึง 8,630 ล้านบาท และประกาศตัวชัดเจนที่จะรุกธุรกิจผลิตไฟฟ้าทั้งใหญ่และเล็กทุกเชื้อเพลิง รวมถึงพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ พร้อมตั้งเป้าหมายเติบโต กว่า 6 เท่าตัวภายใน 10 ปี หรือภายในปี 2565 จะมีกำลังผลิตให้ถึงระดับ 6,000 เมกะวัตต์

นายจักรชัย บาลี ลูกหม้อปตท.ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลฯ กล่าวว่า สิ่งที่กำลังเร่งดำเนินการในขณะนี้ เป็นการศึกษาข้อกฎหมาย ว่าบริษัทโกลบอลฯ สามารถเข้าร่วมประมูล ไอพีพี ครั้งนี้ได้หรือไม่ โดยจะต้องให้ได้ข้อสรุปภายใน 1-2 วัน หรืออย่างช้าภายในวันที่ 20 ม.ค. นี้ ก่อนสิ้นสุดวันซื้อเอกสารรายละเอียดการประมูลวันที่ 21 ม.ค. นี้ ประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เป็นเรื่องเพดานสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจในบริษัทที่จะเข้าร่วมประมูล เนื่องจากบริษัทโกลบอลฯ มี ปตท. ถือหุ้น แม้จะไม่เกิน 50% แต่ต้องศึกษาในรายละเอียดว่า การถือหุ้นในสัดส่วน 30.10% ของ ปตท.นั้น ไม่ผิดเงื่อนไขข้อห้ามเข้าประมูล "หากไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้เอง มีแนวทางที่จะจับมือกับพันธมิตรเอกชน เพื่อร่วมประมูลต่อไป โดยมีพื้นที่พร้อมสำหรับการประมูลอย่างน้อย 1 โรง ขนาด 700- 900 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับโรงไฟฟ้าของไอพีทีที่เดินเครื่องในปัจจุบัน ขณะเดียวกันพื้นที่ของบริษัทพีทีทียูทิลิตี้ ในมาบตาพุดก็สามารถนำมาพัฒนาโรงไฟฟ้าได้บางส่วน ส่วนจะนำพื้นที่ใดเข้าประมูลไอพีพีครั้งนี้ ยังมีเวลาศึกษา เนื่องจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดระยะเวลายื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและด้านราคาในวันที่ 29 เม.ย. 2556 " สำหรับโครงการลงทุนระยะยาวนั้น บริษัทอยู่ระหว่างทำแผนระยะ 10 ปี (2556- 2565) ตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิต 6 เท่าตัว เป็น 6,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2565 จากปัจจุบันที่มีกำลังผลิต 1,357 เมกะวัตต์ จากการควบรวมบริษัท ไอพีที ขนาด 700 เมกะวัตต์ และบริษัท พีทีทียูที กำลังผลิต 338 เมกะวัตต์ กำลังผลิตไอน้ำ 1,340 ตันต่อชั่วโมง รวม 657 เมกะวัตต์ โดยกำลังผลิตตามเป้าหมาย ดังกล่าว กำหนดให้เป็นพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 5% และมาจากสัดส่วนการลงทุน โรงไฟฟ้าในต่างประเทศ 30% ในประเทศ 70% ส่วนของพลังงานหมุนเวียนนั้น ยอมรับว่าอาจพัฒนาไม่ได้มากนัก เนื่องจากต้นทุนสูง และต้องมีพื้นที่พัฒนาที่เหมาะสม นอกจากนี้รัฐยังต้องเข้ามาสนับสนุนค่าไฟฟ้าในรูปการให้อัตราส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (แอดเดอร์) ซึ่งตกเป็นภาระค่าไฟฟ้าของทั้งระบบ

ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น จะมีหลายโมเดล แนวทางหลักๆ ประกอบด้วย 1.ลงทุนเอง หรือ 2.ร่วมลงทุนกับพันธมิตร แต่สำหรับการลงทุนนอกประเทศนั้น จะไม่ทิ้งหลักการสำคัญของปตท. คือ สร้างพลังร่วมกับกลุ่มปตท. อาทิ ในกรณีที่บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.เข้าไปสำรวจและผลิตแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสามารถเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าได้ ก็มีโอกาสที่บริษัทโกลบอลฯ จะเข้าไปลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าที่นั่น แต่ในระยะแรกจะเน้นการลงทุนในอาเซียนก่อน

"ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของบริษัท รวมถึงศักยภาพในการผนึกกำลังกับกลุ่มปตท. ที่มีธุรกิจหลากหลายตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จึงมั่นใจว่าจะสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่อื่นๆ ได้ เพราะอย่างน้อยก็มีโรงไฟฟ้าตามโครงการไอพีพี ครั้งที่ 1 ที่ทำให้มีประสบการณ์ในธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่มา 12 ปี"

ขั้นตอนต่อไปหลังจากควบรวมไอพีทีและพีทีทียูทิลิตี้แล้ว จะดึงสินทรัพย์ที่ ปตท.ไปลงทุนในบริษัทอื่นๆ นอกเครือมารวมอยู่ภายใต้บริษัทโกลบอล ฯ ด้วย โดยจะทยอยดำเนินการ เพราะการถือหุ้นของ ปตท.ในโรงไฟฟ้านอกเครือเป็นเพียงผู้ลงทุน ไม่ได้เข้าไปบริหารจัดการ

’กำลังเร่งศึกษา’ข้อกฎหมาย หากสามารถเข้าร่วมประมูลได้ จะดำเนินการทันที

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 872

โพสต์

เร่งสรุป กม.ต่อสัญญาผลิตก๊าซ
Source - บ้านเมือง (Th), Monday, January 21, 2013

นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่แปลงสัมปทาน แหล่งปลาทอง ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และแหล่งบงกช ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานภายในปี 2565 หลังจากขอต่ออายุสัมปทานมาครั้งหนึ่งแล้วเป็นระยะเวลา 10 ปี หากจะต่ออายุอีกครั้ง กฎหมายปิโตรเลียมระบุว่าไม่สามารถดำเนินการได้

"กรมฯ เห็นว่าภายในปี 2565 แหล่งปลาทองของเชฟรอนจะหมดอายุสัมปทานแล้ว แต่คาดว่าจะยังมีปริมาณสำรองประมาณ 4-6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตก๊าซอยู่ที่ 1.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่ในส่วนของแหล่งบงกชของ ปตท.สผ. ก็จะมีปริมาณสำรองก๊าซใกล้เคียงกัน แต่ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขได้ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้ ปตท.สผ.ดำเนินการขุดเจาะสำรวจเพิ่มเติมภายใน 2 ปีนี้ เพื่อให้ทราบปริมาณสำรองที่ชัดเจน"

ทั้งนี้ ในแง่ของการจัดหาก๊าซจึงมีความจำเป็นที่จะนำปริมาณสำรองก๊าซที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างไร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการขาดแคลนก๊าซในอนาคต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษากฎหมายใหม่ เพื่อพิจารณาว่าผู้รับสัมปทานเดิมสามารถดำเนินการต่อได้หรือไม่ เพราะทั้ง 2 แหล่ง มีกำลังการผลิตก๊าซคิดเป็นประมาณ 50% ของปริมาณการผลิตก๊าซทั้งประเทศที่ 3.8 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน อย่างไรก็ตาม การที่ต้องเร่งศึกษาข้อกฎหมายใหม่นี้ ทั้งที่อายุของสัมปทานทั้ง 2 แหล่งยังเหลืออีก 9 ปี เนื่องจากการศึกษากฎหมายใหม่ต้องใช้ระยะเวลานาน ขณะเดียวกันหากไม่เจรจากับผู้รับสัมปทานเดิมแต่เนิ่นๆ จะทำให้ผู้รับสัมปทานเดิมจะไม่ลงทุนในช่วง 5 ปีสุดท้ายของอายุสัมปทาน จะส่งผลให้ปริมาณก๊าซขาดแคลน และกระทบต่อภาคการผลิตไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ในต่างประเทศก็มีกรณีดังกล่าวให้เห็น เมื่อเปลี่ยนผู้รับสัมปทานเป็นรายใหม่ ทำให้ก๊าซในระบบขาดแคลนได้

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 873

โพสต์

PTTEP ship sinks off Dawei coast
Source - The Nation (Eng), Monday, January 21, 2013

A support vessel laying a natural gas pipeline for the offshore Zawtika field operated by PTTEP of Thailand sunk on Saturday after hitting a coral reef, Bloomberg said yesterday, quoting New Light of Myanmar.

All 42 crewmembers, of nationalities not immediately known, were rescued.

According to PTTEP’s public relation division, the unnamed ship belonged to a contractor of unknown nationality hired to survey pipeline paths.

The accident has not hampered or delayed the progress of work under PTTEP’s responsibility.

The damage caused by the vessel capsizing would be shouldered by the contractor.

PTTEP did not know the details of the vessel or its nationality.

According to New Light of Myanmar’s website, the ship was named Penrith Hallin.

It said the Zawtika Development Project was being implemented by Myanmar’s Energy Ministry at the Mottama Offshore area.

The ship hit coral reefs off Mawgyi village in Yebyu township in Dawei district at 7pm last Thursday before it sank on Saturday morning.



Source: The Nation
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 874

โพสต์

ยอดใช้เอทานอลพุ่งหลังปั๊มเลิกขาย'เบนซิน91'คาดปีนี้ผลิต1,000ล้านลิตร
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, January 21, 2013

โพสต์ทูเดย์ -ผู้ผลิตเอทานอลชะลอส่งออก หลังยอดใช้ในประเทศพุ่ง-ราคาดี หลังเลิกขายเบนซิน 91 คาดยอดใช้พุ่ง 2 ล้านลิตรต่อวัน

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอล เปิดเผยว่าขณะนี้ผู้ผลิตเอทานอลเริ่มชะลอการส่งออกเอทานอลไปต่างประเทศเนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ในประเทศสูงขึ้นจากเดิมวันละ 1.2-1.3 ล้านลิตร เป็นวันละ 1.6 ล้านลิตร ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 91 ทำให้รถยนต์หันมาเติมน้ำมันประเภทแก๊สโซฮอล์ ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอลเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ราคาเอทานอลตลาดโลกอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายในประเทศ จึงไม่จูงใจให้มีการส่งออกเท่าใดนัก สภาพตลาดเอทานอลเปลี่ยนแปลงไปหลังยกเลิกการใช้เบนซิน 91 ก่อนหน้านี้เอทานอลมีกำลังการผลิตล้นตลาดจนต้องหาตลาดส่งออก เพื่อระบายสต๊อกที่มีอยู่

"ในช่วง 1-2 เดือนนี้จะติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้รถยนต์ ว่าหันมาเติมแก๊สโซฮอล์มากขึ้นแค่ไหน แต่เบื้องต้นคาดการณ์ความต้องการใช้เอทานอลจะพุ่งถึงวันละ 2 ล้านลิตร เพราะขณะนี้ผู้ใช้รถยนต์คลายความกังวลผลกระทบจากการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของอุตสาหกรรมผลิตเอทานอลที่จะมีความต้องการในตลาดมากขึ้น" นายสิริวุทธิ์ กล่าว

ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานเอทานอลอยู่ 21 แห่ง มีกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ที่วันละ 4 ล้านลิตร โดยในปี 2555 ผลิตเอทานอลได้รวม800 ล้านลิตร แยกเป็นใช้ในประเทศ 500 ล้านลิตร และส่งออก 300 ล้านลิตร สำหรับปีนี้คาดว่าการผลิตเอทานอลสูงสุดจะอยู่ที่ 1,000 ล้านลิตร/ปี

สำหรับการเตรียมพืชวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตเอทานอลรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นนั้นคาดว่าไม่น่ามีปัญหา แม้ผลผลิตอ้อยปีนี้จะต่ำกว่าปี 2555 แต่ก็ยังมีการผลิตจากมันสำปะหลังอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งขณะนี้มันสำปะหลังรัฐบาล

มีนโยบายรับซื้อ เพื่อพยุงราคาไม่ให้ตกต่ำ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเอทานอลสูงบ้างเฉลี่ย 25-26 บาท/ลิตร เมื่อเทียบกับการผลิตเอทานอลจากโมลาสเฉลี่ยอยู่ที่ 21 บาท/ลิตร แต่ในภาพรวมราคายังดีกว่าเอทานอลในตลาดโลก

นายสิริวุทธิ์ กล่าวว่าแนวโน้มธุรกิจเอทานอลในปี 2556 จะปรับตัวดีขึ้นกว่าหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีอัตราการเติบโตของยอดใช้ ซึ่งจะทำให้โรงเอทานอลที่มีใบอนุญาตแล้วเริ่มเดินหน้าเปิดโรงงานมากขึ้น โดยขณะนี้มีอีก 2-3 แห่ง ที่เตรียมรอเปิดเดินเครื่องขณะเดียวกันโรงงานเอทานอลที่เปิดกิจการอยู่แล้วก็มีโอกาสขยายในเฟส 2 ตามมาด้วย

รายงานข่าวจากวงการค้าน้ำมันแจ้งว่า ปีนี้ผู้ค้าน้ำมันทั้ง ปตท.และบางจากจะมีการปรับหัวจ่ายน้ำมันในสถานีบริการน้ำมันจากเบนซิน91 เป็นแก๊สโซฮอล์ อี10 และ อี20 เพิ่มมากขึ้นให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

ขณะที่บริษัทน้ำมันต่างชาติทั้งเชลล์ คาลเท็กซ์ และเอสโซ่ ก็มีแผนที่จะเปิดสถานีบริการน้ำมันที่มีหัวจ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี20 เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพราะรถยนต์รุ่นใหม่ในโครงการรถยนต์คันแรกที่จะออกสู่ตลาดมีประมาณ 1.2 ล้านคัน ซึ่งรถยนต์จำนวนนี้สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ทั้งหมด จึงน่าจะทำให้ยอดการใช้แก๊สโซฮอล์และเอทานอลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 875

โพสต์

TTA หวังแผนเพิ่มทุนใหม่ฉลุย-รุกประมูลโรงไฟฟ้า IPP ที่อินโดฯโดย ASTVผู้จัดการออนไลน์, 17 มกราคม 2556 17:01 น.

“โทรีเซนไทย” เชื่อรายได้ปีนี้เติบโตเพิ่ม 20% พลิกกลับมามีกำไรจากธุรกิจเรือขุดเจาะ ลอจิสติกส์ที่เวียดนาม และการเปิดโรงงาน จ.สมุทรสาคร ของยูนิคไมนิ่ง ส่วนธุรกิจเดินเรือภาพรวมแค่ทรงตัว ล่าสุด รุกประมูลโรงไฟฟ้า IPP ที่อินโดนีเซีย 200 เมกะวัตต์ เหตุติดพื้นที่ที่ได้รับสัมปทานถ่านหิน ด้านผู้บริหารหวังแผนเพิ่มทุนรอบนี้ฉลุย! หลังปรับใหม่ และเดินสายชี้แจงผู้ถือหุ้นที่เคยค้าน

ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA เปิดเผยว่า ในปี 2556 บริษัทตั้งเป้ารายได้จะเติบโต 20% จากปีก่อนซึ่งมีรายได้ราว 1.6 หมื่นล้านบาท โดยในงวด 1 ปี สิ้นสุดเดือน ก.ย.2555 บริษัทขาดทุนสุทธิ 4.62 พันล้านบาท

สำหรับภาพรวมธุรกิจในปีนี้ ประเมินว่า ธุรกิจเดินเรื่อสินค้ายังไม่ดีเท่าที่ควร โดยค่าระวางเรือในปี 2556 น่าจะอยู่ที่ระดับ 9-9.5 พันเหรียญสหรัฐ/วัน/ลำ ลดลงจากปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 1.07 หมื่นเหรียญสหรัฐ/วัน/ลำ ขณะเดียวกัน เชื่อว่า บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจให้บริการวิศวกรรมโยธาใต้น้ำ จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น 100% เช่นเดียวกับธุรกิจลอจิสติกส์ และปุ๋ยในเวียดนาม (Baconco)

ขณะที่ธุรกิจถ่านหินของ บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส น่าจะมีข่าวดีในช่วงมีนาคม คือ สามารถเปิดใช้โรงงานใน จ.สุมทรสาคร ได้อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้บริษัทรับรู้รายได้จากธุรกิจพลังงานประมาณ 50% ของรายได้ทั้งหมด

“ค่าระวางเรือตอนนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่เราก็หวังว่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณบริษัท (เม.ย.-ก.ย.2556) จุดนี้ทำให้ราคาเรือมือสองปรับตัวต่ำลง และเรามองว่านี่คือโอกาสในการเข้าซื้อเรือในราคาที่ถูก ซึ่งอาจซื้อแบบเป็นล็อต หรือทยอยซื้อ เพื่อเสริมศักยภาพกองเรือรับการฟื้นตัวของธุรกิจที่ใกล้จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เรายังไม่คิดที่จะทำธุรกิจเรือเดินทะเลเข้าจดทะเบียนในตลาดสิงคโปร์ช่วง 2-3 ปีนี้ เพราะโอกาสยังไม่เหมาะ ด้านเมอร์เมดฯ ปีนี้ถือว่าจะเติบโต100% แต่เราของเราทั้ง 2 ลำเก่าแล้ว จำเป็นต้องซื้อเรือใหม่อีก 2 ลำ หามือสองไม่ได้ เพราะมีน้อย และทุกลำก็มีงาน”

ม.ล.จันทรจุฑา กล่าวว่า สำหรับธุรกิจถ่านหินในอินโดนีเซีย ที่ลงทุนผ่านบริษํทลูกร่วมกับพันธมิตรอีก 3 ราย ด้วยงบลงทุน 9 ล้านเหรียญสหรัฐ (TTA ลงทุน 3ล้านเหรียญ) ขณะนี้ได้รับใบอนุญาตสัมปทานแล้ว แต่เนื่องจากการไฟฟ้าของอินโดนีเซีย กำลังจะเปิดประมูลโรงไฟฟ้า IPP ขนาด 200-300 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ติดกับพื้นที่สัมปทานของบริษัท ทำให้ TTA มีแผนที่จะเข้าประมูลโรงไฟฟ้าดังกล่าวด้วยจุดเด่นในการขนส่งถ่านหินจากแหล่งสัมปทานได้ง่าย ซึ่งบริษัทจะส่งเอกสารร่วมประมูลในช่วงกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ และคาดว่าน่าจะมีความชัดเจนในช่วงปลายปี

“เราสนใจเข้าร่วมประมูล ถ้าชนะก็จะง่ายต่อเราเพราะไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนขนส่งถ่านหินมาชายหาด แต่จะลำเลียงไปผลิตไฟฟ้าต่อเลย หรือไม่เราก็จะติดต่อผู้ชนะการประมูลการนำเสนอขายถ่ายหินเนื่องจากสะดวก และรวดเร็วกว่ารายอื่น”

สำหรับการเพิ่มทุนของบริษัทนั้น ทางผู้บริหารเชื่อว่าในการประชุมผู้ถือหุ้น 30 ม.ค.นี้ ผู้ถือหุ้นจะมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนได้ เนื่องจากมีการปรับสัดส่วนการจัดสรรหุ้นใหม่ และทำความเข้าใจกับผู้ถือหุ้นที่คัดค้านในครั้งก่อนไปได้แล้วบางส่วน ซึ่งหากสำเร็จบริษัทจะได้รับเงินจากการเพิ่มทุนประมาณ 3.9 พันล้านบาท ในช่วงวันที่ 21-28 ก.พ. และหากผู้ถือหุ้นใช้สิทธิแปลงสภาพวอร์แรนต์ก็จะทำให้บริษัทได้รับเงินเพิ่มเติมอีกประมาณ 2.4 พันล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 876

โพสต์

'ESSO' เปิดแผนรุกขยายสถานีน้ำมันชู 'โปรตอน เทรดดิ้ง' เป็นคู่ค้าธุรกิจ
21 ม.ค. 56

นายยอดพงษ์ สุตธรรม กรรมการและผู้จัดการการตลาดขายปลีก บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เอสโซ่ได้ขยายเครือข่ายการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนที่จะเปิดสถานีให้
บริการน้ำมันอีกกว่า 100 สถานี ภายใน 3 ปีข้างหน้านี้ เพื่อเป็นการรับประกันความพึงพอใจด้านความสะดวกสบายและการเข้าถึงของลูกค้าให้ได้เต็ม 100% เราได้ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ และเพิ่มความสดใหม่ให้กับภาพลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการตัดสินใจเพิ่มร้านค้าปลีกและการบริการด้านคาร์แคร์ ซึ่งรวมถึงศูนย์โมบิล 1 เซ็นเตอร์ ผ่านคู่ค้าทางธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 877

โพสต์

PTT presents long-term goals to House
Source - The Nation (Eng), Tuesday, January 22, 2013

Panel informed coal, power targets as giant stresses overseas investment

PTT has set a target of annual production of 70 million tonnes of coal by 2020, while owning power plants with combined capacity of 2,000 megawatts according to its shareholding in the plants, and producing 4 million tonnes of liquefied natural gas per year.

Chodechai Suwanaporn, PTT’s executive vice president for energy economics and policy, presented these targets to the House of Representatives energy committee recently, saying it was a must for the giant oil company to invest overseas to ensure national energy security and bring revenue back home.

The company has invested in a coal mine in Indonesia and conducted feasibility studies on coal-mining investments in Mozambique, Madagascar and Brunei.

PTT owns a 25-per-cent stake in Laos’ Xaiyaburi hydropower project and has conducted a feasibility study on investing in a hydropower and a natural-gas-fuelled power plant in Myanmar.

PTT Exploration and Production and PTT International have invested in petroleum fields in Mozambique, Kenya and Australia.

The company has also studied investing in the petrochemical and refinery business in Malaysia, Indonesia and Vietnam.

Chodechai said PTT had adjusted its operating strategy to fit with its overseas business expansion. It also set up a team to manage the risk from raw-material costs and seek ways to boost product prices.

Another special team analyses legal and investment-support policies and taxation measures related to all the company’s investment projects.

He said the government should exert a greater role in encouraging Thai firms to go overseas and help them deal with the obstacles they face.

Chodechai said the tax rate Thailand charges local companies on their foreign incomes was still high at 23 per cent, compared with 17 per cent in Taiwan and 10-22 per cent in South Korea.

Some Asean countries even waive the tax on foreign income.

Thailand’s tax-refund process is also complicated.

Therefore the government should reduce or waive tax on income gained from overseas investment, he said.

He also urged local companies to take advantage of the baht’s current strength to invest or expand overseas.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 878

โพสต์

ปตท.สผ.ทุ่มลงทุน5ปี7แสนล.ยอดขายปี57พุ่ง3.4แสนบาร์เรล
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, January 22, 2013

ปตท.สผ.เปิดแผนลงทุน 5 ปี ทุ่มงบกว่า 7.4 แสนล้านบาท ลุย 44 โครงการ ยังไม่รวมเงินลงทุนสำหรับการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ พร้อมคาดการณ์ตัวเลขยอดขายปิโตรเลียม 5 ปีข้างหน้า เผยปี 2557 ยอดขายเติบโตมากที่สุด ทะลุ 3.4 แสนบาร์เรลต่อวัน

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือปตท.สผ. (PTTEP) เปิดเผยว่า ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2556-2560) บริษัทและบริษัทย่อย มีแผนใช้งบในการลงทุน และงบการดำเนินงานรวม 2.46 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7.4 แสนล้านบาท ยังไม่รวมประมาณการเงินลงทุนที่ปตท.สผ.อาจต้องใช้เพิ่มสำหรับโอกาสทางธุรกิจ โดยการลงทุนส่วนใหญ่ปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ และแผนงานล่าสุด โดยปัจจุบันปตท.สผ.มีโครงการทั้งหมด44โครงการ ประกอบด้วยโครงการที่อยู่ในระหว่างการผลิต 19 โครงการ ระยะพัฒนา 3 โครงการ และระยะสำรวจ 22 โครงการ

งบสำหรับแผนงานใน 5 ปีแยกเป็น งบสำหรับลงทุน 1.47 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ หรือ 4.42 แสนล้านบาท งบดำเนินงาน 2.97 แสนล้านบาท โดยใช้ในปี 2556 รวม 5.08 พันล้านดอลลาร์ ปี 2557 รวม 4.98 พันล้านดอลลาร์ ปี 2558 รวม 4.7 พันล้านดอลลาร์ ปี 2559 รวม 4.2 พันล้านดอลลาร์ และปี 2560 รวม 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับประมาณการรายจ่ายของ ปตท.สผ. ในปี 2556 เป็นจำนวน 5.08 พันล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายสำหรับ กิจกรรมการผลิต เพื่อรักษาระดับการผลิต โดยมีโครงการหลักที่สำคัญได้แก่โครงการอาทิตย์ ,โครงการบงกช, โครงการเอส 1, โครงการคอนแทร็ค 4 และโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียบี17

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพัฒนา เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตจากแหล่งปิโตรเลียมใหม่ โดยมีโครงการหลักที่สำคัญได้แก่ โครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย (แหล่งมอนทารา) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2556, โครงการพม่าซอติก้า ซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในต้นปี 2557 ,โครงการแอลจีเรีย คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ภายในปี 2557 , โครงการ แคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี (แหล่งส่วนขยาย LEISMER และ CORNER) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 2559 ,และโครงการโมซัมบิก โรวูม่า ออฟชอร์ แอเรีย วัน

รวมถึงกิจกรรมสำรวจ เพื่อค้นหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ที่มีศักยภาพที่จะนำมาพัฒนาใน เชิงพาณิชย์ โดยมีโครงการหลักที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพม่าเอ็ม 3 และ เอ็ม 11 โครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคซ , และโครงการสำรวจในประเทศ ออสเตรเลีย โมซัมบิก และเคนย่า

ทั้งนี้ ปตท.สผ. คาดการณ์ตัวเลขประมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยต่อวัน (จากโครงการปัจจุบัน) ระหว่างปี 2556 -2560 ว่า ในปี 2556 จะมียอดขาย 3.1 แสนบาร์เรลต่อวัน ปี 2557 มียอดขาย 3.4 แสนบาร์เรลต่อวัน ปี 2558 มียอดขาย 3.35 แสนบาร์เรลต่อวัน ปี 2559 มียอดขาย 3.25 แสนบาร์เรลต่อวัน และปี 2560 มียอดขาย 3.39 แสนบาร์เรลต่อวัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 879

โพสต์

คืนสังเวียนรอบนี้ ขอ “ใหญ่” กว่าเดิม BY “สมโภชน์ อาหุนัย”
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 21 มกราคม 2556
เปิดก้นบึ้งหัวใจ ชายผู้ไม่มีชื่อเล่น “สมโภชน์ อาหุนัย” เจ้าของ “พลังงานบริสุทธิ์” หุ้นไอพีโอน้องใหม่ กลับมาคราวนี้ “ต้องเด่น-ดัง”

“ปูมหลัง” ที่มี “ตำนิ” ถือเป็น “จุดบอด” ที่ทำให้นักลงทุน “แคลงใจ” จนไม่กล้าควักเงินลงทุน แม้หุ้นตัวนั้นจะมีอนาคต “สวยหรู” ก็ตาม บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) หุ้นไอพีโอน้องใหม่ของ “สมโภชน์ อาหุนัย” ที่ “กดบัตรคิว” ขอเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ตัวแรกของปีมะเส็ง (2556) ในวันที่ 23 ม.ค.2556 หลังประกาศขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนครั้งแรก 560 ล้านหุ้น ราคา 5.50 บาท กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เห็นได้จากการพร้อมใจ “ขุดประวัติ” ของ “สมโภชน์” มาโพสต์ตามกระทู้ต่างๆ

ครั้งหนึ่ง “สมโภชน์ อาหุนัย” อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ธุรกิจโบรกเกอร์สัญชาติไต้หวัน อดีต “ลูกน้องสุดเลิฟ” ของ “ศิริธัช โรจนพฤกษ์” เจ้าของ “คอม-ลิงค์” ผู้ถือหุ้น 22.88% “อีเทอเนิล เอนเนอยี” หรือ EE (ตัวเลข ณ วันที่ 2 มี.ค.2555) เคยประสานมือกับเจ้าพ่อคอม-ลิงค์ และ "วรเจตน์ อินทามระ" เพื่อร่วมกัน “เนรมิต” “อีเทอเนิล เอนเนอยี” ให้กลายเป็นธุรกิจพลังงานทดแทน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ จากบริษัทผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ ภายใต้ชื่อ "ซีฮอร์ส" (SH)

ด้วยการเข้าซื้อ “บุญเอนก” บริษัทคนสนิทของ “ศิริธัช โรจนพฤกษ์” เพื่อนำที่ดินของ “บุญเอนก” มาสร้างเป็นโรงผลิตเอทานอล ขนาดกำลังการผลิต 1.5 ล้านลิตรต่อวัน โดยการขายหุ้นเพิ่มทุนให้นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง 370 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ราคาหุ้นละ 3.40 บาท การประกาศขายหุ้นเพิ่มทุนล็อตนี้ ห่างจากการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับ “วรเจตน์ อินทามระ” จำนวน 2,179 ล้านหุ้น และ “สมโภชน์ อาหุนัย” จำนวน 421 ล้านหุ้นหุ้น ราคา 0.63 บาท ไม่นาน

จากนั้น ก็มี “ข่าวลือสะพัด” ว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง “สมโภชน์” กับ“เสี่ยศิริรัช” เดินมาถึง “ทางตัน” จำต้องสวมคอนเวิร์ส “ทางใครทางมัน” แต่ “สมโภชน์” ยังคงถือหุ้น EE อันดับ 8 จำนวน 66.88 ล้านหุ้น คิดเป็น 2.41% (ณ วันที่ 2 มี.ค.2555) ด้วยความมุ่งมั่นอยากทำธุรกิจพลังงานทดแทน เพราะเห็นแวว “รุ่งเรือง” ทำให้ “สมโภชน์” โทรไปชวนเพื่อนสนิท 3-4 คน ให้มาร่วมลงขันเฉลี่ยคนละ 10-20 ล้านบาท เพื่อไปซื้อโรงงานผลิตไบโอดีเซล 1 แห่ง พร้อมก่อตั้งบริษัทภายใต้ชื่อ “ซันเทคปาล์มออยล์” ในปี 2549 ถัดมา 2 ปี เปลี่ยนชื่อเป็น “พลังงานบริสุทธ์” และดึง “ปลัดแป๋ง” สมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง มานั่งเป็นประธานกรรมการ

ก่อน “สมโภชน์” แอนด์เดอะแกงค์ จะลงมือแต่งตัวสวยๆดันบริษัทเข้าเป็นสมาชิกตลาดหุ้น “สมโภชน์” ยกหูโทรไปเชิญชวน เจ้าของฉายา “นาย ช.หนวดงาม” ชำนิ จันทร์ฉาย ประธานกรรมการ บจก.ซี.เจ.มอร์แกน บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินปรับโครงสร้างหนี้ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการบริหาร สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ให้มาร่วมลงทุน แต่ “พ่อมดวงการปรับโครงสร้างหนี้” กับตอบ “ปฏิเสธ” โดยให้เหตุผลกับคนรอบข้างว่า “ไม่ใช่กลัวธุรกิจไม่ดี แต่กลัวใจเจ้าของ”

แม้ “นาย ช. หนวดงาม” จะเมินหน้าหนี แต่ “มล.ทองมกุฎ ทองใหญ่” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS) ในฐานะแกนนำการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย กลับเดินปรี่เข้ามาสะกิด “สมโภชน์” กลางงานแถลงข่าวเคาะราคาไอพีโอ “มีหุ้นอีกมั้ย นักลงทุนอยากได้หุ้นคุณเยอะมาก !!!” (ลากเสียง)

“ผมอยากมีกิจการของตัวเองตั้งแต่เด็กๆ ลูกคนจีนโดนปลูกฝังมาแบบนี้ มันฝังอยู่ใน “สายเลือด” เมื่อโตขึ้นมามีโอกาสต้องรีบคว้า “สมโภชน์ อาหุนัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “พลังงานบริสุทธิ์” เล่าความคิดวัยเยาว์ให้ “กรุงเทพธุรกิจ BizWeek” ฟัง

ก่อนจะพูดถึงสิ่งที่ต้องการจะทำ หลังนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นสำเร็จ “สมโภชน์” เล่าว่า ผมมีพี่น้อง 3 คน ผมเป็นคนกลาง คนโตอายุห่างจากผม 1 รอบ (ตกใจละสิ) ส่วนน้องสาวคนสุดท้องห่างกัน 9 ปี เหมือนพี่ชายคนโตเป็นพ่อน้องสาว (หัวเราะ) พี่น้องมีชื่อเล่นกันหมดเลย เว้นแต่ผมคนเดียว “งง” เหมือนกัน หรือนี่จะ “จุดกำเนิด” อะไรบางอย่าง ?
ผมใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่ในตึกแถวร้านทำผม ใจกลางถนนราชดำเนินที่มีคุณแม่เป็นเจ้าของ ร้านอยู่ติดถนนทุกครั้งที่เขาเดินขบวนประท้วง ทหารปฏิวัติ ผมเห็นจนกลายเป็นเรื่อง “ชินตา” ส่วนคุณพ่อท่านทำงานบริษัททั่วไป ที่ผ่านมาท่าน 2 คน ไม่เคยบังคับผมว่าโตขึ้นมาต้องทำอะไร แต่จะปลูกฝังตลอดว่า “สมบัติที่พ่อแม่มีให้มีเพียงความรู้” ท่านจะสนับสนุนให้พวกเราเรียนให้สูงที่สุด

หลังจากเรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วศ.69) ผมก็ออกไปหาประสบการณ์ด้านการทำงานชนิด “ไม่เกี่ยง” เรื่องเงินเดือน ด้วยการเข้าไปทำตำแหน่งเซลล์ในบมจ.ล็อกซเล่ย์ (LOXLEY) ทำไปสักพักเริ่มเห็นเพื่อนๆที่พ่อแม่เขามีสตางค์ ส่งลูกไปเรียนเมืองนอก ทำให้เกิด “ความอยาก” อย่างน้อยการเรียนต่อเมืองนอก ก็เป็นเครื่องมือเบิกทางที่ดีในชีวิต

ผมตัดสินใจไปเรียนปริญญาโท MBA University of Pittsburgh ,USA ใช้เวลาเพียง 11 เดือน ก็จบการศึกษา ที่นี่สอนให้วิเคราะห์ ทำแบบฝึกหัด แตกต่างจากการเรียนในเมืองไทย เมื่อเรียนจบผมดันไปเข้าตา “ซิตี้แบงก์ นิวยอร์ก” เขารับให้มาทำงานใน “ซิตี้แบงก์ ประเทศไทย” แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำ (หัวเราะ) เพราะขั้นตอนการทำงานที่ทาง “ซิตี้แบงก์ นิวยอร์ก” บอกเรามันไม่เหมือนที่ “ซิตี้แบงก์ ประเทศไทย” อธิบาย ฉะนั้นถ้าฝืนทำต่อก็ “เสียดายเวลาชีวิต”
สุดท้ายไปได้งานใน “ดับบลิว.ไอ.คาร์” โบรกเกอร์อันดับ 1 ของต่างชาติ เป็น “นักวิเคราะห์หลักทรัพย์” อยู่ได้ 1 ปี ก็มี “ยูบีเอส” แบงก์ต่างชาติมาซื้อตัว เพราะเขาจะมาทำบทรีเสิร์ชในเมืองไทย ทำได้ 3 ปี ก็ลาออกมาทำตำแหน่งผู้อำนวยการผ่ายวิจัยใน “บงล.บุคคลัภย์” เชื่อหรือไม่ ผมมาอยู่ที่นี่เงินเดือนลดลงเยอะมาก (ลากเสียงยาว) “หลักแสนบาท” (หัวเราะ)

ถามว่า ทำไมถึงยอม!!! ช่วงนั้นเพิ่งแต่งงานด้วย ผมทำงานแบงก์มานานเห็นวัฎจักรขึ้นลงตลอด ช่วงไหนบทรีเสิร์ชที่เรารับผิดชอบมันไม่บูม ผู้บริหารจะเดินถือซองขาวมาที่โต๊ะตอนเช้าแล้ว “เชิญออก” หน้าตาเฉย พนักงานนั่ง “งง” กันเป็นแถว ไล่ออกแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว (โหดร้ายมาก) ผมกลับมานั่งคิดความมั่นคงทางอาชีพอยู่ตรงไหน !!!
ทำงานใน “บงล.บุคคลัภย์” ได้ 1 ปี รู้สึกไม่ชอบเรื่องระบบ ระเบียบ ในการทำงาน ทุกอย่างมันดูช้า กว่าจะอนุมัติแต่ละงาน ไม่ทันใจ ไม่เหมือนอยู่บริษัทต่างชาติ เมื่อรู้สึกเริ่มลำบาก ผมตัดสินใจลาออกไปทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายสถาบันต่างประเทศ ในบริษัทหลักทรัพย์ นวธนกิจ จำกัด

เข้าไปทำงานแรกๆไม่รู้เรื่องเลย ถึงขนาดลูกน้องเอ่ยปาก “พี่นั่งเฉยๆเถอะ” ผมหันไปบอก “สอนงานพี่หน่อย” ผมขอผู้บริหารระดับสูงเวียนฝึกงานตามแผนกต่างๆ 1-2 สัปดาห์ต่อแผนก กว่าคนเก่าๆจะยอมรับก็ใช้เวลานาน 2-3 เดือน เมื่อมีความรู้ ผมก็ขอผู้บริหารไปหาลูกค้าที่ฮ่องกง เขาถามว่า “รู้จักลูกค้าหรอ” ผม “ส่ายหัว” แล้วตอบไปว่า “ไปหาเอาดาบหน้า มีที่อยู่ในมือแล้วจะกลัวอะไร"

แต่สุดท้าย “บงล.บุคคลัภย์” ก็โดนเทคโอเวอร์ เพราะมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ผู้บริหารเขาจะให้ผมลดพนักงาน ตอนนั้นเครียดมาก คิดในใจ คนเหล่านี้ผิดอะไร บางคนมีลูกมีเมียต้องดูแล ผมก็ไปบ่นกับรุ่นพี่คนหนึ่ง เขาสวนกลับมาว่า..
“เดี๋ยวเขาก็ต้องเอาโบรกเกอร์มาขายถูกๆ ต่างชาติก็ต้องอยากได้ คุณรู้จัก ผู้บริหารต่างชาติเยอะแยะ ไปชวนเขามาลงทุนสิ”

สุดสิ้นคำแนะนำ ผมคิดในใจ “จะบ้าหรอ” แต่เมื่อคิดไปคิดมา “ลองดูสักตั้งก็ได้ว่ะ” ทันทีที่ทำแผนธุรกิจเสร็จ ก็บินไปนำเสนอกับบล.หยวนต้า (ไต้หวัน) เขาให้เงินผมมา 500 ล้านบาท แต่ผมใช้ซื้อบล.คาเธ่ย์ แคปปิตอล แค่ 250 ล้านบาทเท่านั้น !!!

ทำได้ 3 ปี จำต้อง “อัปเปหิ” ตัวเองออกมา รู้สึก “เฮิร์ท” เหมือนคนอกหัก โดน ก.ล.ต.กล่าวหาว่า บล.หยวนต้า สาขาหาดใหญ่ ปั่นหุ้น ไทยธนาคาร (BT) “เราไม่ได้ทำรู้อยู่แก่ใจ” ผมทำงานตั้งแต่เช้าตรู่กลับบ้านเที่ยงคืนทุกวันนี้ แต่ได้ผลลัพธ์แบบนี้มันไม่แฟร์!!!

ในใจมีแต่คำว่า “กูผิดอะไรว่ะ” วนเวียนอยู่ในหัวตลอด ที่ผ่านมาไม่เคยได้อธิบายให้สังคมรับรู้ รุ่งเช้าผมเดินไปขอลาออกเลย “ออกไปเป็นนักลงทุนถือหุ้นบริษัทโน่นนี่ ได้ผลตอบแทนดีกว่าเยอะ”

ถามว่าเดินทางมาถึง “จุดกำเนิด” ของ “พลังงานบริสุทธิ์” แล้วใช่มั้ย เขาหัวเราะ ทันทีที่ได้ยินคำถาม เมื่อก่อนไม่มีประสบการณ์เรื่องพลังงานทดแทน แต่เห็นอนาคตท่าจะดี ผมเป็นพวกชอบคิดใหม่ ทำใหม่ วิเคราะห์ใหม่ “สนุกดี”
ผมตัดสินใจยกหูโทรหาเพื่อน 3-4 คน ชวนมาลงขันทำบริษัทด้วยกัน ตอนนั้นโชว์วิสัยทัศน์กับเพื่อนว่า “กำไรขั้นต้น10% สุดยอดมากสำหรับธุรกิจนี้ โอกาสมากกว่านี้มีแน่ เพราะรัฐบาลตอนโน่น (ปี 2550) เขาส่งเสริมกัน “สุดฤทธิ์”
วันนี้ผมโชว์ “จุดเด่น” ได้เพียงว่า ภายในปี 2558 เราจะมีกำไรสุทธิ 3,000 ล้านบาท “เฮ้ย!!” เอ็งจะเอาอะไรมากำไร หลายคนคงคิดแบบนั้นใช่มั้ย ผมจะแจกแจงให้ฟัง ช่วงเดือนต.ค.2555 เราจะผลิตโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดกำลังการผลิต 8 เมกะวัตต์ จังหวัดลพบุรี

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขาให้ค่าไฟพิเศษ (ADDER) 10 ปีแรก จากอายุสัมปาน 25 ปี จำนวน 8 บาทต่อหน่วยกับเรา ฉะนั้นเราก็จะรับรู้กำไรจากโครงการนี้ในปี 2556 เต็มปีประมาณ 64 ล้านบาท ถัดมาช่วงเดือนธ.ค.2556 เราจะเดินเครื่องในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดกำลังการผลิต 90 เมกะวัตต์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งบริษัทจะรับกำไรเต็มปีในปี 2557 จำนวน 915 ล้านบาท จากนั้นสิ้นปี 2557 จะผลิตโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 90 เมกะวัตต์ จังหวัดลำปาง โดยจะบุ๊คกำไร 915 ล้านบาท ในปี 2558

สุดท้าย คือ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดกำลังการผลิต 90 เมกะวัตต์ จังหวัดพิษณุโลก ตอนนี้กำลังหาที่ดินอยู่ แต่เราเชื่อว่าสิ้นปี 2558 จะเดินเครื่องผลิตได้ และจะรับรู้กำไร 915 ล้านบาทในปี 2559 ซึ่งทั้ง 3 โครงการ กฟผ.เขาให้ค่าไฟฟ้าพิเศษกับเรา 10 ปีแรก จำนวน 6.50 บาทต่อหน่วย

เขา เล่าต่อว่า แผนงานในอนาคตยังไม่จบแค่นี้นะ ผมเพิ่งได้รับการตอบรับจาก กฟผ.ให้ดำเนินการโครงการพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลม 126 เมกะวัตต์ แต่เราขอไป 761 เมกะวัตต์ คิดเป็น 16 โครงการ เชื่อว่าที่เหลือจะได้รับการตอบรับเช่นกัน คุณลองคิดดูสิ หากเราได้โครงการพลังงานลมสมดั่งใจ ผลประกอบการหลังปี 2558 ของเราจะ “ดีมาก” ขนาดไหน อย่าให้พูดเลย (หัวเราะ) บอกได้เพียงว่าอนาคตสัดส่วนรายได้จะมาจากสายไบโอดีเซล 50% พลังงานทดแทน 50%

“สมโภชน์” ทิ้งท้ายว่า ธุรกิจเราคงไม่หยุดนิ่งเพียงเท่านี้ มันต้องมี “ไดนามิค” ผมจะทำทุกอย่างให้ดีที่สุด เราไม่ได้เป็นเพียงบริษัทขายไฟฟ้าธรรมดา แต่เป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถพัฒนาให้ธุรกิจมีความโดดเด่น เราจะพยายามผลักดัน “ตัวเลขการเงิน” ทุกตัวให้เติบโตอย่างยั่งยืน ณ 9 เดือนแรก เรามี “กำไรสุทธิ” 69.61 ล้านบาท กำไรขั้นต้น 5.50% อัตรากำไรสุทธิ 1.91% และรายได้ 3,653 ล้านบาท
 
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."