CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้างแบรน
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้างแบรน
โพสต์ที่ 1
CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้างแบรนด์ตัวเอง โกอินเตอร์ $$$$
“วัตถุดิบทั่วโลกเป็นของซีพี คนทั่วโลกเป็นของซีพี เงินทั่วโลกก็เป็นของซีพี อยู่ที่จะไปเอาเมื่อไหร่ วัตถุดิบไม่จำเป็นต้องเอาจากเมืองไทย ไปทำที่โน่นให้เป็นของซีพี ไปแต่กระเป๋าและความคิด ทำได้แล้ว”
แนวคิดของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งตอกย้ำอยู่เสมอในที่ประชุมผู้บริหารของเครือซีพี ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือนและถ่ายทอดไปยังผู้บริหารในเครือข่าย 60 ประเทศทั่วโลก สามารถสะท้อนเป้าหมายสำคัญของซีพีที่ไม่ใช่การยึดครองตลาดเมืองไทย ตลาดอาเซียน หรือเอเชีย แต่ขยายกว้างขวางออกไปทั่วโลกและมีนัยสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่การสร้างยอดขายรายได้ แต่หมายถึงเงินกำไรที่มีสัดส่วนมากขึ้นกว่าการทำธุรกิจต้นน้ำแบบเดิมๆ
ล่าสุด ธนินท์เร่งปรับกระบวนทัพกลุ่มธุรกิจค้าปลีก เพื่อขยายรูปแบบร้านค้าหลากหลายและบุกทุกช่องทางการตลาด โดยโครงสร้างใหม่จัดแบ่งร้านต่างๆ ในเครือเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มร้านอาหาร(Restuarant) ได้แก่ เชสเตอร์กริลล์ ธุรกิจห้าดาว ร้านอาหารจานด่วน “ซีพีคิทเช่น” ร้านเดอะกริลล์ ร้านสเต๊กหมูคูโรบูตะ สเต๊กปลา ร้านสแน็กทูโก
อีกกลุ่ม คือ ค้าปลีกอาหาร (Food Retail) ได้แก่ ร้านซีพีเฟรชมาร์ท ซึ่งรวมถึงตู้เย็นชุมชน ร้านซีพีฟู้ดมาร์เก็ต และซีพีฟู้ดเวิลด์ โดยเฉพาะซีพีฟู้ดมาร์เก็ตถือเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่เจ้าสัววางหมากไว้แก้โจทย์การขยายสาขาในต่างประเทศ หลังจากการเจรจาขอไลเซนส์กับ “เซาท์แลนด์” บริษัทแม่ของเซเว่นอีเลฟเว่น มักติดขัดเงื่อนไขและใช้เวลานานหลายปีก็ยังไม่สำเร็จ
แม้ล่าสุด บริษัทเซาท์แลนด์มีแนวโน้มจะอนุมัติใบอนุญาตให้บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ขยายสาขาในประเทศจีนปลายปีนี้และวางแผนต่อยอดไปยังตลาดอินโดจีน ทั้งลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า แต่ยังต้องเจรจาอีกหลายรอบ
การสร้างร้านค้าแบรนด์ “ซีพี” จึงเป็นคำตอบที่มีโอกาสมากกว่า ไม่ต้องเจรจาเงื่อนไข สามารถปรับขนาดและวางจำหน่ายสินค้าในเครือได้ทั้งหมด
ที่สำคัญยังเป็นช่องทางการเพิ่มสัดส่วนธุรกิจปลายน้ำที่มีส่วนต่างกำไรมากกว่าธุรกิจต้นน้ำอย่างโรงงานเลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าหมู ไก่ ปลา ที่เจอต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้นต่อเนื่อง หรือธุรกิจกลางน้ำ การจำหน่ายเนื้อสัตว์ การจำหน่ายอาหารสัตว์ ปุ๋ย เนื่องจากสินค้าทุกตัวล้วนถูกหน่วยงานรัฐควบคุมราคา หรือแม้กระทั่งการแปรรูปสินค้า อาหารพร้อมปรุงและอาหารพร้อมทาน เพราะการวางขายในโมเดิร์นเทรด ไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์เซ็นเตอร์ ถูกเรียกเก็บค่าแรกเข้า ค่าวางสินค่า ค่าเปิดบูธ ทำให้ส่วนต่างกำไรถูกตัดตอนไปอีก
วิรัตน์ เตชะนิรัติศัย รองกรรมการผู้จัดการสายธุรกิจค้าปลีก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเริ่มทำเอาต์เล็ต เปิดซีพีเฟรชมาร์ท บางส่วนแปรรูปส่งเชสเตอร์กริลล์ ห้าดาว และคิดว่ามาถูกทาง จึงริเริ่มโปรเจกต์ใหม่แบบเดียวกับเซเว่นอีเลฟเว่น แต่ติดเงื่อนไขสัญญา ห้ามทำขนาดร้านต่ำกว่า 300 ตารางเมตรและขายสินค้าเหมือนเซเว่นฯ
ขณะที่ร้านซีพีเฟรชมาร์ทที่มีอยู่เดิมเน้นสินค้ากลุ่มแช่แข็ง ทั้งผลิตภัณฑ์พร้อมปรุงและผลิตภัณฑ์พร้อมทาน ไม่สามารถขายขนมขบเคี้ยวและมีขนาดใกล้เคียงกับเซเว่นฯ การขยายหมวดหมู่สินค้าจึงติดเงื่อนไขสัญญาของเซเว่นฯ อีก
“เราจึงตั้งคอนเซ็ปต์ใหม่เป็นซีพีฟู้ดมาร์เก็ต ขนาด 300 ตร.ม. ขายสินค้าได้ทั้งหมด ทั้งนอกเครือ ในเครือ ซึ่งประธานธนินท์คิดว่า นี่คือเซเว่นฯ คนไทยที่โกอินเตอร์ได้ ไม่ต้องง้อเซเว่นฯ เพราะซีพีขอไลเซนส์เซเว่นฯ เพื่อไปขยายประเทศอื่นถูกกีดกันมาตลอดหลายปี บริษัทแม่เคยระบุว่า ถ้าขยายในไทยได้จะให้ไลเซนส์ที่เวียดนามก็ไม่ได้ ขอที่จีนก็ให้ญี่ปุ่นทำเอง ท่านหงุดหงิดทำไมไม่ได้ ทั้งที่ซีพีบริหารจัดการดี ก็คิดว่า สู้ทำเองไม่ได้หรือ จึงคิดโมเดลนี้ ถ้าทำสำเร็จในไทย โกอินเตอร์ทันที”
สำหรับโมเดล “ซีพีฟู้ดมาร์เก็ต” เน้นจุดขาย 3 คอนวีเนียน คือ “คอนวีเนียนทูบาย” มีสินค้าจำหน่ายเหมือนร้านเซเว่นอีเลฟเว่น “คอนวีเนียนทูคุ้ก” มีผลิตภัณฑ์แช่แข็งเหมือนร้านซีพีเฟรชมาร์ท และ “คอนวีเนียนทูอีท” มีรายการอาหารเหมือนร้านอาหารจานด่วน โดยเจาะพื้นที่เป้าหมายใน 3 ทำเลหลัก คือ ชุมชนที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงานและถนนสายหลัก ซึ่งล่าสุดเปิดแล้ว 5 สาขาที่ซีพีทาวเวอร์ 3 ฟอร์จูนทาวเวอร์ ธัญญะช้อปปิ้งพาร์ค ทาวน์อินทาวน์ และสาขาวังน้อย ที่จับมือกับค่ายน้ำมันเชลล์
ทั้งนี้ ซีพีเอฟกำลังศึกษาศักยภาพและจะสรุปผลไม่เกินกลางปีนี้ เพื่อลุยขยายในช่องทางที่มีโอกาสมากที่สุด แต่ตามแผนเบื้องต้นตั้งเป้าขยายฟู้ดมาร์เก็ต 50 สาขา ภายใน 3 ปี โดยเฉพาะการขยายตามปั๊มน้ำมันเชลล์แทนที่ร้านสะดวกซื้อ “ซีเล็ค” เดิม
ส่วน “ซีพีฟู้ดเวิลด์” ซึ่งเป็นโมเดลใหม่ที่เกิดขึ้นแบบสายฟ้าแลบ จากเดิมการเจรจาเช่าพื้นที่อาคารปิยมหาราชการุณย์กับโรงพยาบาลศิริราช ซีพีเอฟวางแผนเปิด “ซีพีฟู้ดมาร์เก็ต” แต่ผู้บริหารโรงพยาบาลต้องการร้านรูปแบบฟู้ดคอร์ท รวมทั้งอาคารแห่งใหม่ดังกล่าวใช้รูปแบบบริการแบบเอกชน ค่าบริการระดับเดียวกับโรงพยาบาลเอกชนชื่อดัง เช่น บำรุงราษฎร์ สมิติเวช กลุ่มลูกค้ามีกำลังซื้อต่างจากเดิมมาก พื้นที่รอบตึกมีร้านอาหารสไตล์ใหม่ ทั้งเอ็มเคเรสโตรองต์ แมคโดนัลด์ สตาร์บัคส์ สีฟ้า
ธนินท์ ซึ่งในเวลานั้นอยู่ระหว่างการเดินทางไปดูงานที่เกาหลี ได้เห็นธุรกิจฟู้ดเซ็นเตอร์ของ “ซีเจฟู้ดคอร์ท” ซึ่งสร้างเชนร้านอาหารมากกว่าสิบแบรนด์ และเห็นช่องว่างในตลาดไทย เขาสั่งเปลี่ยนแผนขยายค้าปลีกรูปแบบฟู้ดเซ็นเตอร์ เกิดโมเดล “ซีพีฟู้ดเวิลด์” โดยมีสาขาศิริราชเป็นต้นแบบแห่งแรก
ลักษณะกึ่งฟู้ดเซอร์วิสและใช้วิธีย่อขนาดร้านในเครือซีพี เช่น เชสเตอร์กริลล์ ร้านเดอะกริลล์ ร้านสเต๊กหมูคูโรโบตะ สเต๊กปลา ร้านอีซี่สแน็คส์ ร้านซีพีคิทเช่น เสริมด้วยร้านอาหารชื่อดังนอกเครือเข้ามาให้บริการ
“ฟู้ดเวิลด์ทดลองสาขาแรกที่ศิริราชเกือบ 2 เดือน ถือเป็น New Standard ของฟู้ดรีเทลที่เข้าถึงผู้บริโภคและเจาะได้หลายช่องทาง ทั้งโรงพยาบาล อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงงานขนาดใหญ่ เราไปคุยกับโรงพยาบาลรามาธิบดีและเจรจาเช่าพื้นที่ในโรงพยาบาลจุฬาฯ ขนาด 2,400 ตร.ม. ซึ่งจะเป็นแฟลกชิปสโตร์เต็มรูปแบบ รวมถึงฟิวเจอร์พาร์ครังสิต เพื่อทดลองกับช่องทางศูนย์การค้าและปั๊มน้ำมัน เช่น ปตท. เพื่อเริ่มโมเดลฟู้ดเซ็นเตอร์ที่ไม่มีผู้ประกอบการเจ้าไหนทำและจับตลาดกลาง ขณะที่ฟู้ดรีพับลิคและฟู้ดลอฟท์จับไฮเอนด์ ตรงนี้ถือเป็นช่องว่างทางการตลาด ถ้าโมเดลนี้สำเร็จ จะย่อหรือขยายขนาด ทำได้หมด ขึ้นอยู่กับทำเล” วิรัตน์กล่าว
ดังนั้น “ฟู้ดเวิลด์” สามารถปูพรมสาขาได้รวดเร็วและสามารถเจาะกลุ่มศูนย์การค้าที่มีซูเปอร์มาร์เก็ตในเครือ แต่ไม่ได้บริหารฟู้ดคอร์ทเอง และปั๊มน้ำมันที่ส่วนใหญ่แข่งขันกันเฉพาะร้านค้าสะดวกซื้อ ทำให้ธนินท์เริ่มมุ่งทิศทางการบุกตลาดฟู้ดเซ็นเตอร์ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงต่างประเทศ ซึ่งคาดการณ์ว่า จะดีเดย์สาขาแรกได้ภายใน 2 ปี
การปรับกระบวนทัพกลุ่มค้าปลีกครั้งนี้จึงถือเป็นการผลักดันเครือข่ายแบบยกแผงและพยายามรุกต่างประเทศแบบครอบคลุมลูกค้าทุกระดับ ทุกทำเล เหมือนการเดินเกมในตลาดเมืองไทย ซึ่งปัจจุบัน เครือข่ายค้าปลีกของซีพีเข้าไปฝังตัวอยู่ในพื้นที่แทบทุกตารางนิ้ว เริ่มตั้งแต่ชุมชนเล็กๆใช้ “ตู้เย็นชุมชน” พื้นที่หน้าตลาดสด หมู่บ้านระดับกลางและตึกแถวใช้ “ซีพีเฟรชมาร์ท” เป็นตัวบุก
ทำเลชุมชนขนาดใหญ่ ที่พักอาศัย คอนโดมิเนียม และปั๊มน้ำมัน ใช้ “ซีพีฟู้ดมาร์เก็ต” เข้าไปขยายตลาด ส่วน “ซีพีฟู้ดเวิลด์” มีพื้นที่ทำเลมากมาย เรียกว่าสามารถเข้าไปทดแทนฟู้ดคอร์ทและฟู้ดเซ็นเตอร์ทุกแห่ง
ขณะที่กลุ่มร้านอาหาร เช่น เชสเตอร์กริลล์ เน้นเจาะพื้นที่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ คอมมูนิตี้มอลล์ กลุ่มธุรกิจห้าดาว ซึ่งมีทั้งไก่ย่าง ไก่ทอด ข้าวมันไก่ สามารถรุกเข้าไปในชุมชนทุกแห่ง ส่วนร้าน “อีซี่สแน็คส์”ซึ่งเป็นโมเดลใหม่ที่ต่อยอดจากการเช่าบูธชวนชิมสินค้าในดิสเคาต์สโตร์และปรับขึ้นมาเป็นคีออส โดยยึดพื้นที่ทำเลในโมเดิร์นเทรด กลุ่มดิสเคาต์สโตร์และอาจขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีเชนร้านอาหารอีกหลายตัวที่ซีพีกำลังปลุกปั้นขึ้นมาเป็นช่องทางกระจายสินค้า เช่น ร้านข้าวไข่เจียว ร้านบะหมี่ราเมน
ที่ผ่านมา ธนินท์พยายามทดลองและผลักดันธุรกิจค้าปลีกโกอินเตอร์ เริ่มจากซีพีเฟรชมาร์ทและห้าดาว โดยนำร่องในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม กัมพูชา พม่า ลาว มาเลเซีย บังกลาเทศ ล่าสุด ไก่ทอดห้าดาว ซึ่งถือเป็นเชนร้านอาหารที่ใช้ต้นทุนไม่สูง กำลังรุกเข้าสู่ตลาดอินเดียที่มีขนาดประชากรมากถึง 1,200 ล้านคน เป็นอันดับสองรองจากจีนและมีการเติบโตของธุรกิจฟาสต์ฟู้ดสูงถึง 30% มีแบรนด์ดังระดับโลก เช่น แมคโดนัลด์ เคเอฟซี ซับเวย์ เข้าไปแข่งขันกับแบรนด์ท้องถิ่น
ตามแผนของห้าดาวจะเริ่มเปิดจุดจำหน่ายในเมืองบังกาลอร์ ช่วงปี 2556-2557 จำนวน 100 จุด เพื่อสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ก่อนบุกตลาดเมืองภาคเหนือทั้งมุมไบและนิวเดลี โดยตั้งเป้าอีก 5 ปี มีจุดขายไม่ต่ำกว่า 500 แห่ง
แน่นอนว่า ยุทธศาสตร์ของเจ้าสัวต้องการส่งออกร้านค้าปลีกทุกแบรนด์ของซีพีไปปักธงในตลาดทั่วโลก ซึ่งล่าสุด เชสเตอร์กริลล์มีแผนขยายสาขาในพม่า ส่วนซีพีฟู้ดมาร์เก็ตจะเริ่มในเมืองหลักๆ ของจีน เช่น ปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจว และเวียดนาม รวมถึง “ซีพีฟู้ดเวิลด์” ซึ่งเป็นโมเดลน้องใหม่ที่ธนินท์ต้องการทำเป็น “หน้าร้าน” สร้างแบรนด์ให้สินค้าทุกตัวของซีพี
เพราะการเปิด “ซีพีฟู้ดเวิลด์” สาขาเดียว หมายถึงการขยายสาขาให้สินค้าแบรนด์ซีพีทุกตัว หากสำเร็จ แผนยิงปืนนัดเดียว จะกวาดนกนับไม่ถ้วนได้อย่างแท้จริง
“วัตถุดิบทั่วโลกเป็นของซีพี คนทั่วโลกเป็นของซีพี เงินทั่วโลกก็เป็นของซีพี อยู่ที่จะไปเอาเมื่อไหร่ วัตถุดิบไม่จำเป็นต้องเอาจากเมืองไทย ไปทำที่โน่นให้เป็นของซีพี ไปแต่กระเป๋าและความคิด ทำได้แล้ว”
แนวคิดของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งตอกย้ำอยู่เสมอในที่ประชุมผู้บริหารของเครือซีพี ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือนและถ่ายทอดไปยังผู้บริหารในเครือข่าย 60 ประเทศทั่วโลก สามารถสะท้อนเป้าหมายสำคัญของซีพีที่ไม่ใช่การยึดครองตลาดเมืองไทย ตลาดอาเซียน หรือเอเชีย แต่ขยายกว้างขวางออกไปทั่วโลกและมีนัยสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่การสร้างยอดขายรายได้ แต่หมายถึงเงินกำไรที่มีสัดส่วนมากขึ้นกว่าการทำธุรกิจต้นน้ำแบบเดิมๆ
ล่าสุด ธนินท์เร่งปรับกระบวนทัพกลุ่มธุรกิจค้าปลีก เพื่อขยายรูปแบบร้านค้าหลากหลายและบุกทุกช่องทางการตลาด โดยโครงสร้างใหม่จัดแบ่งร้านต่างๆ ในเครือเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มร้านอาหาร(Restuarant) ได้แก่ เชสเตอร์กริลล์ ธุรกิจห้าดาว ร้านอาหารจานด่วน “ซีพีคิทเช่น” ร้านเดอะกริลล์ ร้านสเต๊กหมูคูโรบูตะ สเต๊กปลา ร้านสแน็กทูโก
อีกกลุ่ม คือ ค้าปลีกอาหาร (Food Retail) ได้แก่ ร้านซีพีเฟรชมาร์ท ซึ่งรวมถึงตู้เย็นชุมชน ร้านซีพีฟู้ดมาร์เก็ต และซีพีฟู้ดเวิลด์ โดยเฉพาะซีพีฟู้ดมาร์เก็ตถือเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่เจ้าสัววางหมากไว้แก้โจทย์การขยายสาขาในต่างประเทศ หลังจากการเจรจาขอไลเซนส์กับ “เซาท์แลนด์” บริษัทแม่ของเซเว่นอีเลฟเว่น มักติดขัดเงื่อนไขและใช้เวลานานหลายปีก็ยังไม่สำเร็จ
แม้ล่าสุด บริษัทเซาท์แลนด์มีแนวโน้มจะอนุมัติใบอนุญาตให้บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ขยายสาขาในประเทศจีนปลายปีนี้และวางแผนต่อยอดไปยังตลาดอินโดจีน ทั้งลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า แต่ยังต้องเจรจาอีกหลายรอบ
การสร้างร้านค้าแบรนด์ “ซีพี” จึงเป็นคำตอบที่มีโอกาสมากกว่า ไม่ต้องเจรจาเงื่อนไข สามารถปรับขนาดและวางจำหน่ายสินค้าในเครือได้ทั้งหมด
ที่สำคัญยังเป็นช่องทางการเพิ่มสัดส่วนธุรกิจปลายน้ำที่มีส่วนต่างกำไรมากกว่าธุรกิจต้นน้ำอย่างโรงงานเลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าหมู ไก่ ปลา ที่เจอต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้นต่อเนื่อง หรือธุรกิจกลางน้ำ การจำหน่ายเนื้อสัตว์ การจำหน่ายอาหารสัตว์ ปุ๋ย เนื่องจากสินค้าทุกตัวล้วนถูกหน่วยงานรัฐควบคุมราคา หรือแม้กระทั่งการแปรรูปสินค้า อาหารพร้อมปรุงและอาหารพร้อมทาน เพราะการวางขายในโมเดิร์นเทรด ไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์เซ็นเตอร์ ถูกเรียกเก็บค่าแรกเข้า ค่าวางสินค่า ค่าเปิดบูธ ทำให้ส่วนต่างกำไรถูกตัดตอนไปอีก
วิรัตน์ เตชะนิรัติศัย รองกรรมการผู้จัดการสายธุรกิจค้าปลีก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเริ่มทำเอาต์เล็ต เปิดซีพีเฟรชมาร์ท บางส่วนแปรรูปส่งเชสเตอร์กริลล์ ห้าดาว และคิดว่ามาถูกทาง จึงริเริ่มโปรเจกต์ใหม่แบบเดียวกับเซเว่นอีเลฟเว่น แต่ติดเงื่อนไขสัญญา ห้ามทำขนาดร้านต่ำกว่า 300 ตารางเมตรและขายสินค้าเหมือนเซเว่นฯ
ขณะที่ร้านซีพีเฟรชมาร์ทที่มีอยู่เดิมเน้นสินค้ากลุ่มแช่แข็ง ทั้งผลิตภัณฑ์พร้อมปรุงและผลิตภัณฑ์พร้อมทาน ไม่สามารถขายขนมขบเคี้ยวและมีขนาดใกล้เคียงกับเซเว่นฯ การขยายหมวดหมู่สินค้าจึงติดเงื่อนไขสัญญาของเซเว่นฯ อีก
“เราจึงตั้งคอนเซ็ปต์ใหม่เป็นซีพีฟู้ดมาร์เก็ต ขนาด 300 ตร.ม. ขายสินค้าได้ทั้งหมด ทั้งนอกเครือ ในเครือ ซึ่งประธานธนินท์คิดว่า นี่คือเซเว่นฯ คนไทยที่โกอินเตอร์ได้ ไม่ต้องง้อเซเว่นฯ เพราะซีพีขอไลเซนส์เซเว่นฯ เพื่อไปขยายประเทศอื่นถูกกีดกันมาตลอดหลายปี บริษัทแม่เคยระบุว่า ถ้าขยายในไทยได้จะให้ไลเซนส์ที่เวียดนามก็ไม่ได้ ขอที่จีนก็ให้ญี่ปุ่นทำเอง ท่านหงุดหงิดทำไมไม่ได้ ทั้งที่ซีพีบริหารจัดการดี ก็คิดว่า สู้ทำเองไม่ได้หรือ จึงคิดโมเดลนี้ ถ้าทำสำเร็จในไทย โกอินเตอร์ทันที”
สำหรับโมเดล “ซีพีฟู้ดมาร์เก็ต” เน้นจุดขาย 3 คอนวีเนียน คือ “คอนวีเนียนทูบาย” มีสินค้าจำหน่ายเหมือนร้านเซเว่นอีเลฟเว่น “คอนวีเนียนทูคุ้ก” มีผลิตภัณฑ์แช่แข็งเหมือนร้านซีพีเฟรชมาร์ท และ “คอนวีเนียนทูอีท” มีรายการอาหารเหมือนร้านอาหารจานด่วน โดยเจาะพื้นที่เป้าหมายใน 3 ทำเลหลัก คือ ชุมชนที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงานและถนนสายหลัก ซึ่งล่าสุดเปิดแล้ว 5 สาขาที่ซีพีทาวเวอร์ 3 ฟอร์จูนทาวเวอร์ ธัญญะช้อปปิ้งพาร์ค ทาวน์อินทาวน์ และสาขาวังน้อย ที่จับมือกับค่ายน้ำมันเชลล์
ทั้งนี้ ซีพีเอฟกำลังศึกษาศักยภาพและจะสรุปผลไม่เกินกลางปีนี้ เพื่อลุยขยายในช่องทางที่มีโอกาสมากที่สุด แต่ตามแผนเบื้องต้นตั้งเป้าขยายฟู้ดมาร์เก็ต 50 สาขา ภายใน 3 ปี โดยเฉพาะการขยายตามปั๊มน้ำมันเชลล์แทนที่ร้านสะดวกซื้อ “ซีเล็ค” เดิม
ส่วน “ซีพีฟู้ดเวิลด์” ซึ่งเป็นโมเดลใหม่ที่เกิดขึ้นแบบสายฟ้าแลบ จากเดิมการเจรจาเช่าพื้นที่อาคารปิยมหาราชการุณย์กับโรงพยาบาลศิริราช ซีพีเอฟวางแผนเปิด “ซีพีฟู้ดมาร์เก็ต” แต่ผู้บริหารโรงพยาบาลต้องการร้านรูปแบบฟู้ดคอร์ท รวมทั้งอาคารแห่งใหม่ดังกล่าวใช้รูปแบบบริการแบบเอกชน ค่าบริการระดับเดียวกับโรงพยาบาลเอกชนชื่อดัง เช่น บำรุงราษฎร์ สมิติเวช กลุ่มลูกค้ามีกำลังซื้อต่างจากเดิมมาก พื้นที่รอบตึกมีร้านอาหารสไตล์ใหม่ ทั้งเอ็มเคเรสโตรองต์ แมคโดนัลด์ สตาร์บัคส์ สีฟ้า
ธนินท์ ซึ่งในเวลานั้นอยู่ระหว่างการเดินทางไปดูงานที่เกาหลี ได้เห็นธุรกิจฟู้ดเซ็นเตอร์ของ “ซีเจฟู้ดคอร์ท” ซึ่งสร้างเชนร้านอาหารมากกว่าสิบแบรนด์ และเห็นช่องว่างในตลาดไทย เขาสั่งเปลี่ยนแผนขยายค้าปลีกรูปแบบฟู้ดเซ็นเตอร์ เกิดโมเดล “ซีพีฟู้ดเวิลด์” โดยมีสาขาศิริราชเป็นต้นแบบแห่งแรก
ลักษณะกึ่งฟู้ดเซอร์วิสและใช้วิธีย่อขนาดร้านในเครือซีพี เช่น เชสเตอร์กริลล์ ร้านเดอะกริลล์ ร้านสเต๊กหมูคูโรโบตะ สเต๊กปลา ร้านอีซี่สแน็คส์ ร้านซีพีคิทเช่น เสริมด้วยร้านอาหารชื่อดังนอกเครือเข้ามาให้บริการ
“ฟู้ดเวิลด์ทดลองสาขาแรกที่ศิริราชเกือบ 2 เดือน ถือเป็น New Standard ของฟู้ดรีเทลที่เข้าถึงผู้บริโภคและเจาะได้หลายช่องทาง ทั้งโรงพยาบาล อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงงานขนาดใหญ่ เราไปคุยกับโรงพยาบาลรามาธิบดีและเจรจาเช่าพื้นที่ในโรงพยาบาลจุฬาฯ ขนาด 2,400 ตร.ม. ซึ่งจะเป็นแฟลกชิปสโตร์เต็มรูปแบบ รวมถึงฟิวเจอร์พาร์ครังสิต เพื่อทดลองกับช่องทางศูนย์การค้าและปั๊มน้ำมัน เช่น ปตท. เพื่อเริ่มโมเดลฟู้ดเซ็นเตอร์ที่ไม่มีผู้ประกอบการเจ้าไหนทำและจับตลาดกลาง ขณะที่ฟู้ดรีพับลิคและฟู้ดลอฟท์จับไฮเอนด์ ตรงนี้ถือเป็นช่องว่างทางการตลาด ถ้าโมเดลนี้สำเร็จ จะย่อหรือขยายขนาด ทำได้หมด ขึ้นอยู่กับทำเล” วิรัตน์กล่าว
ดังนั้น “ฟู้ดเวิลด์” สามารถปูพรมสาขาได้รวดเร็วและสามารถเจาะกลุ่มศูนย์การค้าที่มีซูเปอร์มาร์เก็ตในเครือ แต่ไม่ได้บริหารฟู้ดคอร์ทเอง และปั๊มน้ำมันที่ส่วนใหญ่แข่งขันกันเฉพาะร้านค้าสะดวกซื้อ ทำให้ธนินท์เริ่มมุ่งทิศทางการบุกตลาดฟู้ดเซ็นเตอร์ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงต่างประเทศ ซึ่งคาดการณ์ว่า จะดีเดย์สาขาแรกได้ภายใน 2 ปี
การปรับกระบวนทัพกลุ่มค้าปลีกครั้งนี้จึงถือเป็นการผลักดันเครือข่ายแบบยกแผงและพยายามรุกต่างประเทศแบบครอบคลุมลูกค้าทุกระดับ ทุกทำเล เหมือนการเดินเกมในตลาดเมืองไทย ซึ่งปัจจุบัน เครือข่ายค้าปลีกของซีพีเข้าไปฝังตัวอยู่ในพื้นที่แทบทุกตารางนิ้ว เริ่มตั้งแต่ชุมชนเล็กๆใช้ “ตู้เย็นชุมชน” พื้นที่หน้าตลาดสด หมู่บ้านระดับกลางและตึกแถวใช้ “ซีพีเฟรชมาร์ท” เป็นตัวบุก
ทำเลชุมชนขนาดใหญ่ ที่พักอาศัย คอนโดมิเนียม และปั๊มน้ำมัน ใช้ “ซีพีฟู้ดมาร์เก็ต” เข้าไปขยายตลาด ส่วน “ซีพีฟู้ดเวิลด์” มีพื้นที่ทำเลมากมาย เรียกว่าสามารถเข้าไปทดแทนฟู้ดคอร์ทและฟู้ดเซ็นเตอร์ทุกแห่ง
ขณะที่กลุ่มร้านอาหาร เช่น เชสเตอร์กริลล์ เน้นเจาะพื้นที่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ คอมมูนิตี้มอลล์ กลุ่มธุรกิจห้าดาว ซึ่งมีทั้งไก่ย่าง ไก่ทอด ข้าวมันไก่ สามารถรุกเข้าไปในชุมชนทุกแห่ง ส่วนร้าน “อีซี่สแน็คส์”ซึ่งเป็นโมเดลใหม่ที่ต่อยอดจากการเช่าบูธชวนชิมสินค้าในดิสเคาต์สโตร์และปรับขึ้นมาเป็นคีออส โดยยึดพื้นที่ทำเลในโมเดิร์นเทรด กลุ่มดิสเคาต์สโตร์และอาจขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีเชนร้านอาหารอีกหลายตัวที่ซีพีกำลังปลุกปั้นขึ้นมาเป็นช่องทางกระจายสินค้า เช่น ร้านข้าวไข่เจียว ร้านบะหมี่ราเมน
ที่ผ่านมา ธนินท์พยายามทดลองและผลักดันธุรกิจค้าปลีกโกอินเตอร์ เริ่มจากซีพีเฟรชมาร์ทและห้าดาว โดยนำร่องในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม กัมพูชา พม่า ลาว มาเลเซีย บังกลาเทศ ล่าสุด ไก่ทอดห้าดาว ซึ่งถือเป็นเชนร้านอาหารที่ใช้ต้นทุนไม่สูง กำลังรุกเข้าสู่ตลาดอินเดียที่มีขนาดประชากรมากถึง 1,200 ล้านคน เป็นอันดับสองรองจากจีนและมีการเติบโตของธุรกิจฟาสต์ฟู้ดสูงถึง 30% มีแบรนด์ดังระดับโลก เช่น แมคโดนัลด์ เคเอฟซี ซับเวย์ เข้าไปแข่งขันกับแบรนด์ท้องถิ่น
ตามแผนของห้าดาวจะเริ่มเปิดจุดจำหน่ายในเมืองบังกาลอร์ ช่วงปี 2556-2557 จำนวน 100 จุด เพื่อสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ก่อนบุกตลาดเมืองภาคเหนือทั้งมุมไบและนิวเดลี โดยตั้งเป้าอีก 5 ปี มีจุดขายไม่ต่ำกว่า 500 แห่ง
แน่นอนว่า ยุทธศาสตร์ของเจ้าสัวต้องการส่งออกร้านค้าปลีกทุกแบรนด์ของซีพีไปปักธงในตลาดทั่วโลก ซึ่งล่าสุด เชสเตอร์กริลล์มีแผนขยายสาขาในพม่า ส่วนซีพีฟู้ดมาร์เก็ตจะเริ่มในเมืองหลักๆ ของจีน เช่น ปักกิ่ง เซียงไฮ้ กวางโจว และเวียดนาม รวมถึง “ซีพีฟู้ดเวิลด์” ซึ่งเป็นโมเดลน้องใหม่ที่ธนินท์ต้องการทำเป็น “หน้าร้าน” สร้างแบรนด์ให้สินค้าทุกตัวของซีพี
เพราะการเปิด “ซีพีฟู้ดเวิลด์” สาขาเดียว หมายถึงการขยายสาขาให้สินค้าแบรนด์ซีพีทุกตัว หากสำเร็จ แผนยิงปืนนัดเดียว จะกวาดนกนับไม่ถ้วนได้อย่างแท้จริง
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 2
ผมว่าถ้าทำได้จริง เราคนไทยน่าจะภูมิใจน่ะครับ ที่จะมีแบรนด์ของคนไทยไปบุก และไปดังในระดับโลกเหมือนอย่างแบรนด์ทางด้านอาหาร หรือ ค้าปลีกในต่างประเทศ อาทิพวก 7-11 mcdonald kfc และอื่นๆอีกมากมาย โดยตัวอย่างมีให้เห็นอย่าง mint หันมาทำพิซซ่าของตัวเองคือ the pizza company จนสำเร็จมาร์เก็ตแชร์แซงหน้า pizza hut ไปเรียบร้อย หรือ กรณีของ เสริมสุขก้อหันมาทำน้ำอัดลม est ของตัวเอง ดังนั้น การยืนด้วยลำแข้งของตัวเองน่าจะดีกว่า เพราะอีกอย่าง CP ก้อมีความพร้อมทุกอย่างทั้งเรื่องบุคลากร เงิน เทคโนโลยี และการไปมีเครือข่ายลงทุนในอีกหลายประเทศทั่วโลก ด้วยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ไม่ยากเลยที่ CP จะหันมาทำแบรนด์ของตัวเองเสียที
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
-
- Verified User
- โพสต์: 314
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 5
พูดยากครับ เพราะ 7-11 เขาก็ไม่ได้ขาย brand ให้เรา แค่ตราบใดที่ยังไม่มีการผิดสัญญาระหว่างกันผมว่าก็ยังถือว่าบริษัททั้งคู่ยังมี business ethic อยู่นะ แต่พอจบสัญญาแล้วก็ไม่มีใครการันตีได้ว่าเจ้าของ brand 7-11 เขาจะอย่างไรอย่างที่เห็นหลายๆบริษัทต่างชาติทำกับไทย (pizza, pepsi, ..) มิฉะนั้นผมว่านี่ถือเป็น defensive strategy ที่ดีนะ ถึงจะ Conniecannibalize market share ไปบ้าง แต่สุดท้ายไม่ว่าลูกค้าจะเข้า 7-11 หรือ CP fresh mart, food world, .. เรือล่มในหนองทองจะไปไหนnaphas12 เขียน:อย่างนี้จะไม่ Conflict of Interest เหรอครับ เพราะ CP เองก็ทำ 7-11 นี่จะมาทำร้านสะดวกซื้อแข่งกันเองอีก
Invincible MOS is knowing what you're doing
-
- Verified User
- โพสต์: 314
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 7
เท่าที่ผมเข้าใจนะครับ (อาจผิดเป็นคนละเรื่อง โปรดใช้วิจารณญาณ) CP มีการวางแผนเรื่องสืบทอดความรู้มานานพอสมควรแล้ว รวมถึง ร.ร.ปัญญาภิวัฒน์ ที่ปั้นกันตั้งแต่เด็ก บวกกับลักษณะธุรกิจที่มีระบบจัดการมากพอสมควร บวกกับ CEO ท่านก็เก่งนะครับ ผมว่าความเสี่ยงเรื่องนี้จึงมีแต่ค่อนข้างน้อย ต่างกับ Apple ที่พึ่งพา creativity ส่วนตัวของท่าน Steve ซึ่งผมว่าถ่ายทอดกันยาก .. ขออภัยสาวก Apple ที่พาดพิงค้าบrerkit เขียน:ผมสงสัยอยู่อย่างนึงว่าจุดอ่อนของบริษัท cpf คือคุณธนินท์รึเปล่าครับ? หากวันไหนที่ขาดท่านไป จะมีผู้สืบทอดที่มองภาพระดับโลกแบบแกและดูแลต่อไปได้มั๊ย?
Invincible MOS is knowing what you're doing
-
- Verified User
- โพสต์: 483
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 8
ผมคิดว่าถ้าจะแตกหักจริงๆ คงไม่ได้ทำตีคู่กันไปหรอกครับ น่าจะปลดป้าย 7-11 ออกแล้วเปลี่ยนเป็น แบรนด์ ของ CP เองnaphas12 เขียน:อย่างนี้จะไม่ Conflict of Interest เหรอครับ เพราะ CP เองก็ทำ 7-11 นี่จะมาทำร้านสะดวกซื้อแข่งกันเองอีก
มากกว่า
7-11 ก็กั๊กมตลอด CP เองมีศักยภาพเพียงพอที่จะไปต่างประเทศสบายๆ โนหาว ก็รู้ใส้รู้พุงหมดแล้ว เทคโนโลยีหลายๆอย่าง
CP คิดเองด้วยซ้ำ
อีกนัยนึง ก็คงปล่อยข่าวบีบ 7-11 ให้เลิกกั๊กซักที และถ้า CP เองจะทำเอง ก็ไม่ถือว่าหักหลังอะไร เพราะ CP เองก็อดทนมาหลายปีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 483
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 9
ผมคิดว่าถ้าจะแตกหักจริงๆ คงไม่ได้ทำตีคู่กันไปหรอกครับ น่าจะปลดป้าย 7-11 ออกแล้วเปลี่ยนเป็น แบรนด์ ของ CP เองnaphas12 เขียน:อย่างนี้จะไม่ Conflict of Interest เหรอครับ เพราะ CP เองก็ทำ 7-11 นี่จะมาทำร้านสะดวกซื้อแข่งกันเองอีก
มากกว่า
7-11 ก็กั๊กมตลอด CP เองมีศักยภาพเพียงพอที่จะไปต่างประเทศสบายๆ โนหาว ก็รู้ใส้รู้พุงหมดแล้ว เทคโนโลยีหลายๆอย่าง
CP คิดเองด้วยซ้ำ
อีกนัยนึง ก็คงปล่อยข่าวบีบ 7-11 ให้เลิกกั๊กซักที และถ้า CP เองจะทำเอง ก็ไม่ถือว่าหักหลังอะไร เพราะ CP เองก็อดทนมาหลายปีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 10
yakjabon เขียน:เท่าที่ผมเข้าใจนะครับ (อาจผิดเป็นคนละเรื่อง โปรดใช้วิจารณญาณ) CP มีการวางแผนเรื่องสืบทอดความรู้มานานพอสมควรแล้ว รวมถึง ร.ร.ปัญญาภิวัฒน์ ที่ปั้นกันตั้งแต่เด็ก บวกกับลักษณะธุรกิจที่มีระบบจัดการมากพอสมควร บวกกับ CEO ท่านก็เก่งนะครับ ผมว่าความเสี่ยงเรื่องนี้จึงมีแต่ค่อนข้างน้อย ต่างกับ Apple ที่พึ่งพา creativity ส่วนตัวของท่าน Steve ซึ่งผมว่าถ่ายทอดกันยาก .. ขออภัยสาวก Apple ที่พาดพิงค้าบrerkit เขียน:ผมสงสัยอยู่อย่างนึงว่าจุดอ่อนของบริษัท cpf คือคุณธนินท์รึเปล่าครับ? หากวันไหนที่ขาดท่านไป จะมีผู้สืบทอดที่มองภาพระดับโลกแบบแกและดูแลต่อไปได้มั๊ย?
บารมีส่วนบุคคล ก็น่าจะถ่ายทอดกันยากนะคับ
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 950
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 11
CP น่าจะใช้ CPALL เปิด ร้านสะดวกซื้อแบนด์ใหม่คู่กับ 7-11 และใช้ Facility เดียวกัน เพื่อสร้าง Brand Awareness ว่า
นี่คือ บริษัท เดียวกัน พร้อม ๆ กับใช้ Brand นี้รุกตลาดต่างประเทศ หากวันไหน เจ้าของ 7-Eleven (ไม่รู้ใช่ Seven and I Holding ไหม) เกิดไม่ต่อสัญญา อยากจะมาทำเอง จะได้ปลดป้ายเดิมขึ้นป้ายใหม่ทันที อย่างให้เหมือน กรณี Pepsi กับ
เสริมสุข เพราะหลัง ๆ มานี้ Seven มักจะเปิดตลาดเองในต่างประเทศ มากว่าจะให้ License แบบก่อน (ไม่รู้ว่า Seven and I ไปแทรกโอเว่อร์) 7-Eleven, Inc. ตั้งแต่เมื่อไหร่
นี่คือ บริษัท เดียวกัน พร้อม ๆ กับใช้ Brand นี้รุกตลาดต่างประเทศ หากวันไหน เจ้าของ 7-Eleven (ไม่รู้ใช่ Seven and I Holding ไหม) เกิดไม่ต่อสัญญา อยากจะมาทำเอง จะได้ปลดป้ายเดิมขึ้นป้ายใหม่ทันที อย่างให้เหมือน กรณี Pepsi กับ
เสริมสุข เพราะหลัง ๆ มานี้ Seven มักจะเปิดตลาดเองในต่างประเทศ มากว่าจะให้ License แบบก่อน (ไม่รู้ว่า Seven and I ไปแทรกโอเว่อร์) 7-Eleven, Inc. ตั้งแต่เมื่อไหร่
-
- Verified User
- โพสต์: 314
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 12
จริงครับ ทุกการเปลี่ยนแปลง มีทั้งโอกาสและความเสี่ยงขึ้นอยู่กับวิจารณญาณแต่ละคนครับnut776 เขียน:บารมีส่วนบุคคล ก็น่าจะถ่ายทอดกันยากนะคับ
Invincible MOS is knowing what you're doing
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 13
แต่เท่าที่ทราบ ทาง CPF เริ่มบุกทางด้านอาหาร+ค้าปลีกเองมากขึ้น โดยเริ่มลุยเปิด ซีพีเฟรสมาร์ท ซีพีฟู๊ดมาร์เก็ต ซีพีฟู๊ดเวริด์ และอีกมากมาย โดยทั้งหมดผ่านทาง CPF มากกว่าทาง CPALLน่ะครับ เพราะทาง CPF รู้ดีว่าธุรกิจต้นน้ำและกลางน้ำ กำไรน้อยและไม่แน่นอนnaphas12 เขียน:CP น่าจะใช้ CPALL เปิด ร้านสะดวกซื้อแบนด์ใหม่คู่กับ 7-11 และใช้ Facility เดียวกัน เพื่อสร้าง Brand Awareness ว่า
นี่คือ บริษัท เดียวกัน พร้อม ๆ กับใช้ Brand นี้รุกตลาดต่างประเทศ หากวันไหน เจ้าของ 7-Eleven (ไม่รู้ใช่ Seven and I Holding ไหม) เกิดไม่ต่อสัญญา อยากจะมาทำเอง จะได้ปลดป้ายเดิมขึ้นป้ายใหม่ทันที อย่างให้เหมือน กรณี Pepsi กับ
เสริมสุข เพราะหลัง ๆ มานี้ Seven มักจะเปิดตลาดเองในต่างประเทศ มากว่าจะให้ License แบบก่อน (ไม่รู้ว่า Seven and I ไปแทรกโอเว่อร์) 7-Eleven, Inc. ตั้งแต่เมื่อไหร่
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 14
อีกทางหนึง CP อาจจะใช้ CPALL ดำเนินธุรกิจ7-11ในไทยต่อไป แต่จะใช้ CPF ดำเนินธุรกิจค้าปลีกภายใต้แบรนด์ที่คิดมาสู้กับ 7-11 เองในอนาคต เพราะติดขัดเรื่องไลเซ่น เพราะธนินท์ต้องการขยายสัดส่วนรายได้ของ CPF จาก feed 50% farm 40% food 10% เป็นสัดส่วนที่เท่าๆกันในอนาคต และท้ายที่สุดสัดส่วน food(ซึ่งรวมค้าปลีกของตัวเองที่ทำแบรนด์ขึ้นมาเอง) สัดส่วนตรงนี้จะมากที่สุด เพราะจะสร้างมาร์จิ้นเพิ่มมูลค่าให้ทาง CPF ให้ได้กำไรมากขึ้นและยั่งยืน
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
-
- Verified User
- โพสต์: 97
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 16
น่าคิดดีเหมือนกัน
ถ้าอยู่ๆ เปลี่ยนขึ้นมาปุ๊บ 7-11 ทุกสาขา เปลี่ยนชื่อเป็น cp-all จะเกิดอะไรขึ้น
1. ซัพพลาย กระทบไหม
2. ระบบบริหารจัดการ ต้องเปลี่ยนไหม
3. ลูกค้าจะสนใจไหมว่าร้านนั้นชื่ออะไร
ถ้า 3 อย่างนั้นไม่กระทบ ก็ไม่รู้ว่าจะต้องเสียค่าไลเซนส์ ต่อไปทำไม
ถ้าอยู่ๆ เปลี่ยนขึ้นมาปุ๊บ 7-11 ทุกสาขา เปลี่ยนชื่อเป็น cp-all จะเกิดอะไรขึ้น
1. ซัพพลาย กระทบไหม
2. ระบบบริหารจัดการ ต้องเปลี่ยนไหม
3. ลูกค้าจะสนใจไหมว่าร้านนั้นชื่ออะไร
ถ้า 3 อย่างนั้นไม่กระทบ ก็ไม่รู้ว่าจะต้องเสียค่าไลเซนส์ ต่อไปทำไม
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 17
ผมคิดว่า เอาจริงนะคับJeng เขียน:CP แค่กวนๆ ให้ 7-11 สะดุ้ง
ถ้าคิดจะทำ คงทำไปนานแล้ว
ที่ทำอยู่ก็ทำไปงั้นๆ ไม่ใช่หรือ หมายถึงที่ทำเอง มีกี่สาขาเองครับ
ไม่รู้เมืองนอกเป็นยังไง แต่ 7-11ในไทย
เริ่มเป็น life style conve store มากกว่า conve store ธรรมดา
อาหารเวฟที่ขายใน cp กับ 7-11เริ่มคนละเกรด
ในอนาคต habbit change คำว่า 7-11ก็ไม่มีผล
แต่ตอนนี้ มันอยู่ในช่วงทดลองการเปลี่ยนผ่าน
ก็ไม่จำเป็นต้องแหย่ไปสุดขา
เกมนี้น่าจะลึกเกินปัญญาเม่าอย่างผม
แต่ผมสงสัยว่า ถ้าได้ loyal fee เหมือนๆกัน
ทำไม 7-11 ไม่ให้ cp all ทำใน aec
ทำไมต้องเสี่ยงกับ ผู้ประกอบการรายใหม่
ที่ยังไม่มีอะไร back up ทั้งระบบ ทั้ง logistic
ซึ่งโอกาสโต มันน่าจะน้อยกว่าเห็นๆ
เหตุผลเดียวที่คิดได้คือ กลัวโดนกลืน
แต่เจ้าสัว ก็น่าจะเริ่มแสดงความเขี้ยวลากดินให้เห็นละ
ด้วยความเคารพคับพี่เจ๋ง
show me money.
- todsapon
- Verified User
- โพสต์: 1137
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 18
สัญญาหมดตอนไหนครับyakjabon เขียน:พูดยากครับ เพราะ 7-11 เขาก็ไม่ได้ขาย brand ให้เรา แค่ตราบใดที่ยังไม่มีการผิดสัญญาระหว่างกันผมว่าก็ยังถือว่าบริษัททั้งคู่ยังมี business ethic อยู่นะ แต่พอจบสัญญาแล้วก็ไม่มีใครการันตีได้ว่าเจ้าของ brand 7-11 เขาจะอย่างไรอย่างที่เห็นหลายๆบริษัทต่างชาติทำกับไทย (pizza, pepsi, ..) มิฉะนั้นผมว่านี่ถือเป็น defensive strategy ที่ดีนะ ถึงจะ Conniecannibalize market share ไปบ้าง แต่สุดท้ายไม่ว่าลูกค้าจะเข้า 7-11 หรือ CP fresh mart, food world, .. เรือล่มในหนองทองจะไปไหนnaphas12 เขียน:อย่างนี้จะไม่ Conflict of Interest เหรอครับ เพราะ CP เองก็ทำ 7-11 นี่จะมาทำร้านสะดวกซื้อแข่งกันเองอีก
ผลตอบแทน 15% ต่อปีก็พอ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
กำไรเมื่อซื้อ มิใช่กำไรเมื่อขาย
การได้ทำอะไรที่ตนเองชอบและมีปัจจัยสี่พร้อมเพียงคือสุดยอดแห่งความสุข
ขอยืมเงินหน่อยครับ
- ronnachai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 167
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 19
ผมก็พึ่งจะทราบนะครับว่า 7-11 มี License ด้วย แต่เกมนี้ผมว่า CPF น่าจะกำลังเปิด CP freshmart มากกว่าเดิม เพราะพักหลังผมเห็นร้านอาหารของ CPF แบบปรุงสำเร็จเปิดเยอะขึ้นและงานออกบูทต่างๆ ผมไปเดินก็พบการขายอาหารของ CP freshmart เยอะเหลือเกิน ถ้าไม่มีแบนรด์เซเว่นในเมืองไทย แต่เป็น CPALL shop ผมก็ยังเชื่อว่าคนก็ยังไปอุดหนุนเหมือนเดิมเพราะของในร้านที่เจอก็ของ CPF เยอะซะด้วย ไม่ว่าจะอาหาร แฮม ไก่ หรือขนมปังเลอแปง
ความรู้สำคัญ แต่ความเข้าใจสำคัญกว่า
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 20
ผมเข้าใจว่าเจ้าของลิขสิทธิ์กั๊กไว้เผื่อเปิดเองครับnut776 เขียน: แต่ผมสงสัยว่า ถ้าได้ loyal fee เหมือนๆกัน
ทำไม 7-11 ไม่ให้ cp all ทำใน aec
ทำไมต้องเสี่ยงกับ ผู้ประกอบการรายใหม่
ที่ยังไม่มีอะไร back up ทั้งระบบ ทั้ง logistic
ซึ่งโอกาสโต มันน่าจะน้อยกว่าเห็นๆ
เหตุผลเดียวที่คิดได้คือ กลัวโดนกลืน
แต่เจ้าสัว ก็น่าจะเริ่มแสดงความเขี้ยวลากดินให้เห็นละ
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 21
vim เขียน:ผมเข้าใจว่าเจ้าของลิขสิทธิ์กั๊กไว้เผื่อเปิดเองครับnut776 เขียน: แต่ผมสงสัยว่า ถ้าได้ loyal fee เหมือนๆกัน
ทำไม 7-11 ไม่ให้ cp all ทำใน aec
ทำไมต้องเสี่ยงกับ ผู้ประกอบการรายใหม่
ที่ยังไม่มีอะไร back up ทั้งระบบ ทั้ง logistic
ซึ่งโอกาสโต มันน่าจะน้อยกว่าเห็นๆ
เหตุผลเดียวที่คิดได้คือ กลัวโดนกลืน
แต่เจ้าสัว ก็น่าจะเริ่มแสดงความเขี้ยวลากดินให้เห็นละ
555 ลืมไปเลยคับ
นึกว่า พี่แกจะเสือ หมอบอรื่อยๆ55
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 22
ผมว่าเจ้าสัวธนินทร์ คงจะเห็นเจ้าสัวเจริญ ทำกะเป๊ปซี่ เลยนึกขึ้นได้ว่าช่องทางจัดจำหน่ายและระบบต่างๆเป็นของเราแล้ว วันนึงหมดสัญญา 7-11 อาจจะเด้งเหมือนเป๊ปซี่รึเปล่าไม่รู้ แต่ผมว่า CP food market น่าจะเสริมช่องว่างของ 7-11 ที่ต้องแข่งกับ lotus ที่กำลังขยายสาขาแบบ aggressive ในส่วนของ โลตัสตลาด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 7-11 เท่ากับว่าเจ้าสัวยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว คือ 1.ได้ขู่ 7-11 บริษัมแม่ 2.ได้สร้างช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าในเครือได้เต็มที่สมใจอยาก 3.ได้อุดช่องว่างให้ 7-11 เพื่อแข่งกับ lotus ได้ทุกขนาด 4.ได้ความครบวงจรของธุรกิจของ CPF และลดความเป็นวัฏจักรของรายได้อย่างที่เป็นอยู่ 5.ได้ตอบสนองเทรนด์ที่คนเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและจะเปลี่ยนพฤติกรรมการจ่ายตลาดแบบเดิมๆ ส่วนที่ต้องกระทบบ้าง ก็คงเป็น 7-11 ที่น่าจะมีสินค้าทดแทนหรือคาบเกี่ยวกัน แต่ผมว่าเรื่องนี้ ทั้ง CPF กับ 7-11 น่าจะมีการคุยกันถึงมาตรการที่ไม่ให้ส่งผลเสียต่อกันมากเกินไป แต่สุดท้ายแล้วยังไงๆ CPF ก็เป็นแม่ของ 7-11
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 23
ยอดขาย 7 แสนล้านบาท "ซีพีเอฟ" ตั้งเป้า 5 ปีผงาดผู้นำอาหารโลก
ซีพีเอฟเร่งสร้างห่วงโซ่มูลค่าการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเน้นความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาค หวังให้ประชาชนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สามารถเข้าถึงอาหารประเภทเนื้อสัตว์คุณภาพในราคาที่เหมาะสม พร้อมกับปั้นแบรนด์ซีพีให้ติดตลาดมากขึ้นและวางเวียดนามเป็นตลาดรองจากไทย
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) เปิดเผยว่า บริษัทฯวางยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ประการ ในการขยายตลาดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คือ 1.การสร้างห่วงโซ่มูลค่าการผลิตให้กับการกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำคือโรงงานอาหารสัตว์, กลางน้ำคือฟาร์มและปลายน้ำคือการผลิตอาหารสำเร็จรูป และ 2.การผลิตเนื้อสัตว์และอาหารด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคสามารถบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้ในราคาเหมาะสมและคุณภาพดี ยุทธศาสตร์นี้ยังจะช่วยสนับสนุนให้ซีพีเอฟสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าทั้งในประเทศและสินค้าส่งออกด้วย โดยตั้งเป้าว่าในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ซีพีเอฟต้องก้าวสู่การเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้และเป็นผู้นำของโลกในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอาหาร
“เราให้ความสำคัญในเรื่องของการผลิตอาหารปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร เพื่อผู้บริโภคได้บริโภคสินค้าคุณภาพในราคาที่สมเหตุผล และอีก 5 ปีข้างหน้า ผมตั้งเป้าว่าซีพีเอฟจะสามารถสร้างการเติบโตไม่ต่ำกว่า 100% ด้วยรายได้กว่า 700,000 ล้านบาท ภายใต้ผลกำไรที่เหมาะสม รวมทั้งผลักดันให้ซีพีเอฟก้าวเข้าไปอยู่ในดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ในฐานะที่ซีพีเอฟเป็นผู้นำธุรกิจระดับโลก” นายอดิเรกกล่าว
รายได้ของซีพีเอฟจากกิจการในต่างประเทศคิดเป็นประมาณ 55% ของรายได้รวม และในปี 2556 นี้ เตรียมเงินลงทุนในต่างประเทศไว้ประมาณ 12,000 ล้านบาท ปัจจุบันเออีซีเป็นตลาดในภูมิภาคที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญในอันดับต้นและเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิกมากกว่า 10 ปีแล้ว โดยเป็นการลงทุนในธุรกิจปศุสัตว์ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น โรงงานอาหารสัตว์, ฟาร์มไก่, ไข่ไก่, กุ้ง, หมูและปลา รวมไปถึงโรงงานแปรรูปและโรงงานอาหารสำเร็จรูป เพื่อกระจายผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายรูปแบบใหม่ๆที่ซีพีเอฟกำลังพัฒนาในตลาดดังกล่าว เช่น ไก่ย่างห้าดาวและร้านซีพี เฟรชมาร์ท การลงทุนของซีพีเอฟในประเทศสมาชิกเออีซี ประกอบด้วย ประเทศเขมรถือหุ้นผ่านบริษัท ซีพี กัมพูชา จำกัด ในสัดส่วน 25% ซีพีเอฟถือหุ้น 100% ของธุรกิจในลาวและฟิลิปปินส์, และลงทุน 100% ในธุรกิจสัตว์น้ำในมาเลเซีย
สำหรับธุรกิจในเวียดนามหลังจากการซื้อหุ้นของบริษัท ซีพี โภคภัณฑ์ (CP Pokphand) ซึ่งเป็นบริษัทฯจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ซีพีเอฟถือหุ้นในบริษัทซีพี เวียดนาม การลงทุนของซีพีเอฟในเวียดนามมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 จากประเทศไทย โดยธุรกิจอาหารสัตว์บกและอาหารกุ้ง รวมถึงธุรกิจฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มหมูของซีพีเอฟมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในเวียดนาม
ทั้งนี้ ซีพีเอฟไม่มีการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียและบรูไน ส่วนในสิงคโปร์ดำเนินธุรกิจการค้าและกระจายสินค้าผ่านสำนักงานแต่ไม่มีการลงทุน สำหรับตลาดในภูมิภาคนี้ในช่วงต่อไป ซีพีเอฟจะให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อความปลอดภัยทางอาหาร เพื่อสร้างความรับรู้และรู้จักสินค้าตรา “ซีพี” มากขึ้น
ปัจจุบันธุรกิจในเวียดนามมีรายได้กว่า 90% มาจากธุรกิจอาหารสัตว์, ฟาร์มและธุรกิจสัตว์น้ำ ที่เหลือมาจากธุรกิจแปรรูปอาหารและธุรกิจค้าปลีกเวียดนามมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีประชากรกว่า 90 ล้านคน โดยคาดว่าจำนวนประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านคน ในปี 2563 ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของชนชั้นกลางเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยและเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อธุรกิจหลักและช่องทางการตลาดที่สำคัญในเวียดนามของบริษัทฯประกอบด้วย ร้านซีพี เฟรชมาร์ท, ร้านซีพี (CP Shop) และไก่ย่างห้าดาว ขณะนี้ซีพีเอฟเปิดบริการร้านซีพี เฟรชมาร์ท แล้ว 55 ร้าน และจะเพิ่มจำนวนร้านเฉลี่ยปีละ 20%, ร้านซีพี 530 ร้าน และจุดบริการไก่ย่างห้าดาว 110 จุด
ซีพีเอฟมีโรงงานแปรรูปอาหาร 2 แห่งในเวียดนามทางตอนเหนือและตอนใต้ที่ละ 1 แห่ง และในปีนี้ยังมีแผนจะสร้างโรงงานใหม่อีก 1 โรงทางตอนใต้ และอีก 1 โรงในภาคกลาง
นายอดิเรกกล่าวว่า การเข้าไปลงทุนทำธุรกิจของซีพีเอฟในต่างประเทศ จะยึดหลักปรัชญา 3 ประโยชน์เป็นสำคัญ คือ ประโยชน์ต่อประเทศ ประชาชนและบริษัทฯ พร้อมกับการสร้างภาพลักษณ์และความภักดีในตราสินค้า ภายใต้แบรนด์ “ซีพี” ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในประเทศที่เข้าไปลงทุน
นอกจากการลงทุนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว ซีพีเอฟ ยังมีการลงทุนในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง เช่น อินเดีย, จีนและรัสเซีย โดยในประเทศเหล่านี้จะเริ่มจากธุรกิจโรงงานอาหารสัตว์และฟาร์มปศุสัตว์ ทั้งนี้ บริษัทฯยังมีโรงงานแปรรูปไก่ในตุรกีด้วย, ศูนย์จัดจำหน่ายและโรงงานแช่แข็ง ในประเทศอังกฤษและโรงงานอาหารสัตว์บก, ฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารในไต้หวัน
การลงทุนของซีพีเอฟในปัจจุบันเป็นการดำเนินการเพื่อผลิตอาหารป้อนประชาชน 3,000 ล้านคนในตลาดเป้าหมายดังกล่าว.
http://www.thairath.co.th/content/eco/322170
ซีพีเอฟเร่งสร้างห่วงโซ่มูลค่าการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเน้นความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาค หวังให้ประชาชนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สามารถเข้าถึงอาหารประเภทเนื้อสัตว์คุณภาพในราคาที่เหมาะสม พร้อมกับปั้นแบรนด์ซีพีให้ติดตลาดมากขึ้นและวางเวียดนามเป็นตลาดรองจากไทย
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) เปิดเผยว่า บริษัทฯวางยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ประการ ในการขยายตลาดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คือ 1.การสร้างห่วงโซ่มูลค่าการผลิตให้กับการกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำคือโรงงานอาหารสัตว์, กลางน้ำคือฟาร์มและปลายน้ำคือการผลิตอาหารสำเร็จรูป และ 2.การผลิตเนื้อสัตว์และอาหารด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคสามารถบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้ในราคาเหมาะสมและคุณภาพดี ยุทธศาสตร์นี้ยังจะช่วยสนับสนุนให้ซีพีเอฟสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าทั้งในประเทศและสินค้าส่งออกด้วย โดยตั้งเป้าว่าในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ซีพีเอฟต้องก้าวสู่การเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้และเป็นผู้นำของโลกในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอาหาร
“เราให้ความสำคัญในเรื่องของการผลิตอาหารปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร เพื่อผู้บริโภคได้บริโภคสินค้าคุณภาพในราคาที่สมเหตุผล และอีก 5 ปีข้างหน้า ผมตั้งเป้าว่าซีพีเอฟจะสามารถสร้างการเติบโตไม่ต่ำกว่า 100% ด้วยรายได้กว่า 700,000 ล้านบาท ภายใต้ผลกำไรที่เหมาะสม รวมทั้งผลักดันให้ซีพีเอฟก้าวเข้าไปอยู่ในดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ในฐานะที่ซีพีเอฟเป็นผู้นำธุรกิจระดับโลก” นายอดิเรกกล่าว
รายได้ของซีพีเอฟจากกิจการในต่างประเทศคิดเป็นประมาณ 55% ของรายได้รวม และในปี 2556 นี้ เตรียมเงินลงทุนในต่างประเทศไว้ประมาณ 12,000 ล้านบาท ปัจจุบันเออีซีเป็นตลาดในภูมิภาคที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญในอันดับต้นและเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิกมากกว่า 10 ปีแล้ว โดยเป็นการลงทุนในธุรกิจปศุสัตว์ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น โรงงานอาหารสัตว์, ฟาร์มไก่, ไข่ไก่, กุ้ง, หมูและปลา รวมไปถึงโรงงานแปรรูปและโรงงานอาหารสำเร็จรูป เพื่อกระจายผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายรูปแบบใหม่ๆที่ซีพีเอฟกำลังพัฒนาในตลาดดังกล่าว เช่น ไก่ย่างห้าดาวและร้านซีพี เฟรชมาร์ท การลงทุนของซีพีเอฟในประเทศสมาชิกเออีซี ประกอบด้วย ประเทศเขมรถือหุ้นผ่านบริษัท ซีพี กัมพูชา จำกัด ในสัดส่วน 25% ซีพีเอฟถือหุ้น 100% ของธุรกิจในลาวและฟิลิปปินส์, และลงทุน 100% ในธุรกิจสัตว์น้ำในมาเลเซีย
สำหรับธุรกิจในเวียดนามหลังจากการซื้อหุ้นของบริษัท ซีพี โภคภัณฑ์ (CP Pokphand) ซึ่งเป็นบริษัทฯจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ซีพีเอฟถือหุ้นในบริษัทซีพี เวียดนาม การลงทุนของซีพีเอฟในเวียดนามมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 จากประเทศไทย โดยธุรกิจอาหารสัตว์บกและอาหารกุ้ง รวมถึงธุรกิจฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มหมูของซีพีเอฟมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในเวียดนาม
ทั้งนี้ ซีพีเอฟไม่มีการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียและบรูไน ส่วนในสิงคโปร์ดำเนินธุรกิจการค้าและกระจายสินค้าผ่านสำนักงานแต่ไม่มีการลงทุน สำหรับตลาดในภูมิภาคนี้ในช่วงต่อไป ซีพีเอฟจะให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อความปลอดภัยทางอาหาร เพื่อสร้างความรับรู้และรู้จักสินค้าตรา “ซีพี” มากขึ้น
ปัจจุบันธุรกิจในเวียดนามมีรายได้กว่า 90% มาจากธุรกิจอาหารสัตว์, ฟาร์มและธุรกิจสัตว์น้ำ ที่เหลือมาจากธุรกิจแปรรูปอาหารและธุรกิจค้าปลีกเวียดนามมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีประชากรกว่า 90 ล้านคน โดยคาดว่าจำนวนประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านคน ในปี 2563 ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของชนชั้นกลางเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยและเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อธุรกิจหลักและช่องทางการตลาดที่สำคัญในเวียดนามของบริษัทฯประกอบด้วย ร้านซีพี เฟรชมาร์ท, ร้านซีพี (CP Shop) และไก่ย่างห้าดาว ขณะนี้ซีพีเอฟเปิดบริการร้านซีพี เฟรชมาร์ท แล้ว 55 ร้าน และจะเพิ่มจำนวนร้านเฉลี่ยปีละ 20%, ร้านซีพี 530 ร้าน และจุดบริการไก่ย่างห้าดาว 110 จุด
ซีพีเอฟมีโรงงานแปรรูปอาหาร 2 แห่งในเวียดนามทางตอนเหนือและตอนใต้ที่ละ 1 แห่ง และในปีนี้ยังมีแผนจะสร้างโรงงานใหม่อีก 1 โรงทางตอนใต้ และอีก 1 โรงในภาคกลาง
นายอดิเรกกล่าวว่า การเข้าไปลงทุนทำธุรกิจของซีพีเอฟในต่างประเทศ จะยึดหลักปรัชญา 3 ประโยชน์เป็นสำคัญ คือ ประโยชน์ต่อประเทศ ประชาชนและบริษัทฯ พร้อมกับการสร้างภาพลักษณ์และความภักดีในตราสินค้า ภายใต้แบรนด์ “ซีพี” ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในประเทศที่เข้าไปลงทุน
นอกจากการลงทุนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว ซีพีเอฟ ยังมีการลงทุนในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง เช่น อินเดีย, จีนและรัสเซีย โดยในประเทศเหล่านี้จะเริ่มจากธุรกิจโรงงานอาหารสัตว์และฟาร์มปศุสัตว์ ทั้งนี้ บริษัทฯยังมีโรงงานแปรรูปไก่ในตุรกีด้วย, ศูนย์จัดจำหน่ายและโรงงานแช่แข็ง ในประเทศอังกฤษและโรงงานอาหารสัตว์บก, ฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารในไต้หวัน
การลงทุนของซีพีเอฟในปัจจุบันเป็นการดำเนินการเพื่อผลิตอาหารป้อนประชาชน 3,000 ล้านคนในตลาดเป้าหมายดังกล่าว.
http://www.thairath.co.th/content/eco/322170
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 196
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 25
คำบอกเล่า : วันนี้เข้า fresh mart บอกว่าช่วงนี้ขายดีขึ้น วันละ 15,000-16,000 บาท (เดิม 14,000) ค่าไฟเดือนละ 20,000 บาท
ขายมา 7 ปี เพิ่งได้กำไรมาปีเศษ ไม่ได้ถามเพิ่มพอดีมีลูกค้าเข้าร้าน
คำถาม : ส่วน cp fresh mart plus ค่อนข้างใช้พื้นที่มาก 300 ตรม up, ขายได้วันละ 1 แสนต้นๆ (เทียบกับ 7-11 ยอดขายพอๆ กัน แต่ใช้พื้นที่น้อยกว่า, ขยายสาขาได้ง่ายกว่า) โอกาสที่จะขยายตัวได้มากๆ รายได้ ต้นทุน และ กำไร ดูแล้ว กูรูทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ
ขายมา 7 ปี เพิ่งได้กำไรมาปีเศษ ไม่ได้ถามเพิ่มพอดีมีลูกค้าเข้าร้าน
คำถาม : ส่วน cp fresh mart plus ค่อนข้างใช้พื้นที่มาก 300 ตรม up, ขายได้วันละ 1 แสนต้นๆ (เทียบกับ 7-11 ยอดขายพอๆ กัน แต่ใช้พื้นที่น้อยกว่า, ขยายสาขาได้ง่ายกว่า) โอกาสที่จะขยายตัวได้มากๆ รายได้ ต้นทุน และ กำไร ดูแล้ว กูรูทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 276
- ผู้ติดตาม: 0
Re: CP รุกค้าปลีกเอง (ผ่าน cpf) อนาคตไม่ง้อเซเว่น !!!! สร้าง
โพสต์ที่ 26
ล่าสุดทางบริษัทได้มีการเปลี่ยนชื่อ ร้านซีพีฟู๊ดมาร์เก็ต เป็น cp fresh mart plus แล้ว และคงจะใช้แบรนด์นี้ในการบุกตลาดในประเทศและรุกตลาดต่างประเทศเป็นลำดับต่อไป (เนื่องจากติดปัญหาไลเซ่นกับทาง7-11 ทางบริษัทจึงหันมาทำแบรนด์เองผ่านทาง CPF เองดีกว่า โดยร้าน cp fresh mart plus มีรูปแบบดังนี้คือKHOBJAI เขียน:คำบอกเล่า : วันนี้เข้า fresh mart บอกว่าช่วงนี้ขายดีขึ้น วันละ 15,000-16,000 บาท (เดิม 14,000) ค่าไฟเดือนละ 20,000 บาท
ขายมา 7 ปี เพิ่งได้กำไรมาปีเศษ ไม่ได้ถามเพิ่มพอดีมีลูกค้าเข้าร้าน
คำถาม : ส่วน cp fresh mart plus ค่อนข้างใช้พื้นที่มาก 300 ตรม up, ขายได้วันละ 1 แสนต้นๆ (เทียบกับ 7-11 ยอดขายพอๆ กัน แต่ใช้พื้นที่น้อยกว่า, ขยายสาขาได้ง่ายกว่า) โอกาสที่จะขยายตัวได้มากๆ รายได้ ต้นทุน และ กำไร ดูแล้ว กูรูทั้งหลายมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ
“เราจึงตั้งคอนเซ็ปต์ใหม่เป็นซีพีฟู้ดมาร์เก็ต ขนาด 300 ตร.ม. ขายสินค้าได้ทั้งหมด ทั้งนอกเครือ ในเครือ ซึ่งประธานธนินท์คิดว่า นี่คือเซเว่นฯ คนไทยที่โกอินเตอร์ได้ ไม่ต้องง้อเซเว่นฯ เพราะซีพีขอไลเซนส์เซเว่นฯ เพื่อไปขยายประเทศอื่นถูกกีดกันมาตลอดหลายปี บริษัทแม่เคยระบุว่า ถ้าขยายในไทยได้จะให้ไลเซนส์ที่เวียดนามก็ไม่ได้ ขอที่จีนก็ให้ญี่ปุ่นทำเอง ท่านหงุดหงิดทำไมไม่ได้ ทั้งที่ซีพีบริหารจัดการดี ก็คิดว่า สู้ทำเองไม่ได้หรือ จึงคิดโมเดลนี้ ถ้าทำสำเร็จในไทย โกอินเตอร์ทันที”
สำหรับโมเดล “ซีพีฟู้ดมาร์เก็ต” เน้นจุดขาย 3 คอนวีเนียน คือ “คอนวีเนียนทูบาย” มีสินค้าจำหน่ายเหมือนร้านเซเว่นอีเลฟเว่น “คอนวีเนียนทูคุ้ก” มีผลิตภัณฑ์แช่แข็งเหมือนร้านซีพีเฟรชมาร์ท และ “คอนวีเนียนทูอีท” มีรายการอาหารเหมือนร้านอาหารจานด่วน โดยเจาะพื้นที่เป้าหมายใน 3 ทำเลหลัก คือ ชุมชนที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงานและถนนสายหลัก ซึ่งล่าสุดเปิดแล้ว 5 สาขาที่ซีพีทาวเวอร์ 3 ฟอร์จูนทาวเวอร์ ธัญญะช้อปปิ้งพาร์ค ทาวน์อินทาวน์ และสาขาวังน้อย ที่จับมือกับค่ายน้ำมันเชลล์
ทั้งนี้ ซีพีเอฟกำลังศึกษาศักยภาพและจะสรุปผลไม่เกินกลางปีนี้ เพื่อลุยขยายในช่องทางที่มีโอกาสมากที่สุด แต่ตามแผนเบื้องต้นตั้งเป้าขยายฟู้ดมาร์เก็ต 50 สาขา ภายใน 3 ปี โดยเฉพาะการขยายตามปั๊มน้ำมันเชลล์แทนที่ร้านสะดวกซื้อ “ซีเล็ค” เดิม
ปล่อยให้เงินทำงาน...$$$