ใกล้ฟองสบู่ ?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
jeatsada
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 362
ผู้ติดตาม: 0

ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เราดูได้จากไหนครับว่าใกล้ถึงฟองสบู่ ...
patongpa
Verified User
โพสต์: 1904
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ฟองสบู่ซิดีครับ หุ้นขึ้นเร็วทันใจ. หาหุ้นที่กำไรได้ประโยชน์จากมันเช่นพวกอสังหา แบงค์ แต่ที่ต้องระวังมากๆคือตอนฟองสบู่แตก ควรหนีให้ทัน
saichon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1223
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ผมรู้เรื่องฟองสบู่น้อยมาก
แต่เคยดูรายการคู่หูนักลงทุน เค้าเคยเอาPEตลาดหุ้น แล้วก็อัตราเงินเฟ้อเทียบกับGDPก่อนฟองสบู่รอบก่อนมาให้ดู
ทำให้พอมองเห็นภาพคร่าวๆ

ไม่แน่ใจว่าเทปนี้หรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ลองหาดูย้อนหลังเอาเองอีกทีน๊ะครับ
http://www.youtube.com/watch?v=gOyue1pF ... detailpage

สำหรับผมเองก็ดูพอเป็นไอเดีย เพราะคิดว่าการคาดการเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับผม
ผมจึงมุ่งเน้นที่มูลค่ากิจการที่ผมลงทุนมากกว่า ถ้าธุรกิจผมยังไปได้ดี ราคายังไม่ได้เกินมูลค่าในอนาคต
ผมก็ยังคงถือหุ้นลงทุนของผมต่อไปครับ แต่เมื่อไหร่ที่ราคาหุ้นในพอร์ตผมเกินมูลค่าไปมากๆ
เมื่อนั้นผมค่อยพิจารณาออกจากตลาดครับ
ผมคิดง่ายๆแค่นี้แหละครับ :wink:
ซื้อหุ้นตัวที่เมื่อมองไปในอนาคตแล้ว ที่ปัจจุบันราคายัง undervalue ที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
Verified User
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ภาวะฟองสบู่นั้น เมื่อเข้าสู่ฟองสบู่ เราส่วนใหญ่จะมักไม่ค่อยรู้สึกตัว
เพราะผู้คนก็ทำให้รู้สึกว่า "เออมันเป็นแบบนั้น"

เล่าแบบบ้าน ๆ นะ อย่าไปอ้างอิงนะครับ

เฟสหนึ่ง ฟองสบู่ก่อตัว

เช่น ฟองสบู่อสังหา ตามจริงตั้งแต่สมัยนายกชาติชาย ช่วงนั้น ราคาที่ดินก็เริ่มมีการปรับตัวสูงขึ้น และมันก็สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น บวกกับกระแสไทยจะเป็นนิกส์ เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า แต่นั้นปี 2531 ชาติชาย-1 ต้องยอมรับว่า ช่วงนั้นเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง

หลังจากนั้นสักสองสามปี หลังสงครามอ่าว วิศวะจบใหม่ ได้รับเงินเดือนประมาณ อย่างต่ำ สตาร์ท หมื่นสาม ทำไปสามเดือน หมื่นหก ถ้าผ่านไปหนึ่งปี ไม่ถึง หมื่นแปด หรือสองหมื่น ก็จะเริ่มอายเพื่อนแล้ว รถก็ต้องมีใช้ โตโยต้า 16 วาล์ว ยืนพื้น มีเบนซ์ราคาไม่ถึงล้านด้วย 190E รึเปล่าไม่แน่ใจ แม้จะมีภาวะปฎิวัติตามมาด้วยพฤษภาทมิฬ การสื่อสารก็เติบโต มือถือต้องมี แม้ม๊อบพฤษภาจะได้ชื่อเล่นว่า ม็อบมือถือ ด้วยซ้ำ ก็ต้องมีไม่มีก็ต้องผ่อน และหลายคนก็เริ่มเข้าสู่วงการไฟแนนซ์

วิศวะโยธาบูมมาก การได้เป็นโฟร์แมนหรือโปรเจ๊ค เมเนอเจอร์ นั่นหมายถึงว่าสามารถพาลูกน้องและลูกค้าไปดื่มได้ทุกคืน สมัยนั้น ก็ต้อง ไรโน อาร์ซีเอ อยากจีบสาวก็แนะนำ แจ๊สผับศาลาแดง ส่วนตัวผมชอบ อิมแมจินารี่ ผับ

เงินสะพัด สะพัด สะพัด ที่ดิน เศรษฐีหุ้น เศรษฐีที่ดิน คนทำงานโบนัสสูง ๆ การที่มีวิกฤตการเมือง ถูกมองเป็นการ แขวนภาวะเศรษฐกิจ คนไม่ได้มองว่าราคาที่ดินมันสูงแล้ว อสังหามันล้นแล้ว อะไรแล้ว แต่คนมองว่า หลังวิกฤตพฤษภา บ้านเมืองจะดีขึ้น คือผิดประเด็นนะในความเห็นผมเพราะฟองสบู่มันฟอกตัวแล้ว พอวิกฤตการเมืองจบ สถาบันการเงินเรียกได้ว่าแย่งกันปล่อยสินเชื่อ และ เกิดภาวการณ์ซื้อที่ดินเพื่อกักตุนไว้เป็นแลนด์แบงก์ (คล้าย ๆ บ้านมือสอง และหนี้บ้านในอเมริกามั๊ย - มองเทียบเคียงผมว่ามันใช่เลย) BIF เป็นมาตรการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีที่ดินหรือทรัพย์สินค้ำประกัน ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง 50% จากเดิมที่ให้เป็นความเสี่ยง 100% ยิ่งทำให้สินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์มีมากขึ้น ด้านการเมืองมี สสร. เอย อะไรเอย ก็เห็นการพัฒนาหลังวิกฤต ฟองสบู่ก็บวม บวม บวม คนก็ร่าเริง ร่าเริง ร่าเริง

มีเงินก็ต้องใช้ ต้องหา จนกระทั่ง 2538 หลังเลือกตั้งท่านบรรหารขึ้นมาเป็นนายก พร้อม ๆ กับ ท่านเนวิน มาเป็น รมว. คลัง แอ๊ดคาราบาว ร้องเพลง รมต. เต้าหู้ยี้ และช่วงนั้นก็ปลิ่ม ๆ เข้าสู่ภาวะที่สองคือ ลูกโป่งพอง ท่านบรรหารออกกลางสภา

ทุกคนมีส่วนพากันเดินไปสู่จุดนั้นทั้งนั้น นักศึกษา ป.โท ค่อนข้างจะรู้จัก พ่อมดการเงิน และความสำเร็จ ร่ำรวยอย่างรวดเร็วของพวกเขา

ท่านบรรหารลง บิ๊กจิ๋วมาพร้อม ๆ กับคุณอำนวย พฤศจิกา 39-พฤศจิกา 40 มีม็อบสีลม และท่านบิ๊กจิ๋ว ก็ลาออก

วันนั้นผมอยู่บนเครื่องบินกำลังเดินทางกลับประเทศไทย หลังจากไปทำงาน ปั๊บหยิบหนังสือพิมพ์มาอ่าน อ้าวลอยตัวค่าเงินบาท (ถ้าจำไม่ผิด คุณทนง เป็น รมว.คลัง ถ้าจำผิดขออภัยอย่างสูง ท่านผู้รู้ช่วยมาแก้) เพื่อนผมหนักกว่าผมอีกเพราะก่อนหน้านั้นเพิ่งไปกู้เงิน USD มา บริษัททั้งบริษัทหายวับไปกับตา ต้องขายครับ

หลังจากนั้นเกิดความโกลาหลครับ ค่าเงินในการขายสินค้านำเข้าต้องคำนวณกับแทบทุกวัน

คุณชวนพร้อม ๆ คุณธารินทร์ คุณพิสิฐเข้ามาปลายปี 40 ต้นปี 41 และคนไทยก็รู้จัก ไอเอ็มเอฟ ตลาดหุ้นไม่ต้องพูดถึง ปลายปี 40 ประมาณ 3xx จุดหรือเปล่า? อันนี้ไม่แน่ใจ

.....................

กลับมาที่คำถามของเจ้าของกระทู้ ส่วนตัวผมสังเกตุอะไรว่าจะเกิดวิกฤต ผมจะให้ความสำคัญกับ สภาพคล่องอย่างมากครับ

สภาพคล่อง ไม่เหลือ และช่วงนั้นทุกครั้งที่ผมไปบรรยาย คำว่า liquidity คือสิ่งที่ผมจะต้องเน้นย้ำทุกครั้ง รพ. คอนโด สมัยนั้น utilization ต่ำมาก ๆ พวกคุณก็สร้างกันขึ้นไป สะสม assets แต่สุดท้ายขาดสภาพคล่อง แล้วเป็นไงกลายเป็น NPL ต้องขายทอดตลาด

สิ่งเหล่านั้นผมจำเข้ากระดูก จนปี 2007-2008 เมื่ออ่านหนังสือพิมพ์ ได้เห็นคำว่า credit crunch หรือสภาวะตึงตัวทางการเงิน หรือภาวะความต้องการเงินสดสูงกว่าปกติ ผมจะระมัดระวังอย่างสูงครับ สุดท้ายก็มี Bubble จริง ๆ

ปัจจุบัน (ส่วนตัว) ผมก็จะใช้ liquidity เป็น indicator สำคัญในการเฝ้าระวังครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณครับ
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อ้าว... นี่เราไม่ได้อยู่ในฟองสบู่หรอกเหรอ?

ผมเข้าใจว่าตลาดแบบนี้แหละที่เรียกว่าฟองสบู่ เป็นฟองสบู่ที่ drive ด้วยสภาพคล่องที่ถูกอัดฉีดเข้ามาล้นโลก ส่วนจะแตกเมื่อไหร่นี่ไม่รู้เหมือนกันครับ รู้แต่ก่อนแตกนี่สนุ้กสนุก แต่หลังแตกนี่เซ็งเป็ดมากมาย
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
The Kop 71
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 7

โพสต์

มองอดีตอย่างเข้าใจ.... ไม่คาดการอนาคต.... อยู่ปัจจุบันอย่างมีสติ....
แนบไฟล์

เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
harikung
Verified User
โพสต์: 2236
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เรื่องฟองสบู่ว่าใกล้เมื่อไหร่ ส่วนตัวคิดว่าเราจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมันแตกแล้ว แล้วมองย้อนย้อนกลับมาถึงจะเห็น ทางที่ดีที่สุดคือการลงทุนอย่างมีสติ ซื้อหุ้นในราคาที่สมเหตุสมผล กิจการที่คุณภาพสูงก็อาจจะต้องซื้อแพงหน่อยแต่ก็ต้องไม่โอเว่อร์มากเกิน ลองนึกถึงความเป็นว่าถ้ามีคนชวนคุณเอาเงินไปลงทุน30-40คืนทุน คุณจะกล้าเอาเงินไปลงมั้ย ผมคิดง่ายๆแค่นี้
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
อินทรีย์ทองแดง
Verified User
โพสต์: 513
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 9

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:


ทุกคนมีส่วนพากันเดินไปสู่จุดนั้นทั้งนั้น นักศึกษา ป.โท ค่อนข้างจะรู้จัก พ่อมดการเงิน และความสำเร็จ ร่ำรวยอย่างรวดเร็วของพวกเขา

ท่านบรรหารลง บิ๊กจิ๋วมาพร้อม ๆ กับคุณอำนวย พฤศจิกา 39-พฤศจิกา 40 มีม็อบสีลม และท่านบิ๊กจิ๋ว ก็ลาออก

วันนั้นผมอยู่บนเครื่องบินกำลังเดินทางกลับประเทศไทย หลังจากไปทำงาน ปั๊บหยิบหนังสือพิมพ์มาอ่าน อ้าวลอยตัวค่าเงินบาท (ถ้าจำไม่ผิด คุณทนง เป็น รมว.คลัง ถ้าจำผิดขออภัยอย่างสูง ท่านผู้รู้ช่วยมาแก้) เพื่อนผมหนักกว่าผมอีกเพราะก่อนหน้านั้นเพิ่งไปกู้เงิน USD มา บริษัททั้งบริษัทหายวับไปกับตา ต้องขายครับ

หลังจากนั้นเกิดความโกลาหลครับ ค่าเงินในการขายสินค้านำเข้าต้องคำนวณกับแทบทุกวัน

คุณชวนพร้อม ๆ คุณธารินทร์ คุณพิสิฐเข้ามาปลายปี 40 ต้นปี 41 และคนไทยก็รู้จัก ไอเอ็มเอฟ ตลาดหุ้นไม่ต้องพูดถึง ปลายปี 40 ประมาณ 3xx จุดหรือเปล่า? อันนี้ไม่แน่ใจ

.....................

กลับมาที่คำถามของเจ้าของกระทู้ ส่วนตัวผมสังเกตุอะไรว่าจะเกิดวิกฤต ผมจะให้ความสำคัญกับ สภาพคล่องอย่างมากครับ

สภาพคล่อง ไม่เหลือ และช่วงนั้นทุกครั้งที่ผมไปบรรยาย คำว่า liquidity คือสิ่งที่ผมจะต้องเน้นย้ำทุกครั้ง รพ. คอนโด สมัยนั้น utilization ต่ำมาก ๆ พวกคุณก็สร้างกันขึ้นไป สะสม assets แต่สุดท้ายขาดสภาพคล่อง แล้วเป็นไงกลายเป็น NPL ต้องขายทอดตลาด

สิ่งเหล่านั้นผมจำเข้ากระดูก จนปี 2007-2008 เมื่ออ่านหนังสือพิมพ์ ได้เห็นคำว่า credit crunch หรือสภาวะตึงตัวทางการเงิน หรือภาวะความต้องการเงินสดสูงกว่าปกติ ผมจะระมัดระวังอย่างสูงครับ สุดท้ายก็มี Bubble จริง ๆ

ปัจจุบัน (ส่วนตัว) ผมก็จะใช้ liquidity เป็น indicator สำคัญในการเฝ้าระวังครับ
พี่NBครับ ช่วยเล่าเหตุการณ์ตลาดหุ้นก่อนปี40ให้ฟังหน่อยสิครับ เห็นเพื่อนบอกว่าหุ้นอย่างMDXแต่ก่อนยิ่งใหญ่มาก หุ้นจำนวนมากเทรดกันบนpe เป็นร้อยเท่า บนความคาดหวังของเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเป็นเสือตัวใหม่แห่งเอเชีย
ช่วงก่อนหน้าปี40นี่จำได้ว่าดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นไปอยู่10กว่า% ยิ่งถ้าเป็นทรัสต์ วิ่งไป10ปลายๆ
อันนี้สะท้อนความต้องการสภาพคล่องได้ไหมครับ
บนกองซากศพย่อมมีฝูงแร้ง หลังวิกฤตมีบริษัทองค์กรจำนวนมากเจ๊ง คนที่กำเงินสดไว้เยอะ และไม่มีหนี้
น่าจะเปรียบดั่งฝูงแร้ง ที่เข้ามาเลือกกินซากศพนับไม่ถ้วน อย่างสบายใจไม่ต้องรีบ
ถ้าพี่NBหรือท่านใดพอจะรู้ความเรื่องนี้ รบกวนช่วยถ่ายทอดเป็นวิทยาทานให้น้องๆเป็นการเปิดกะลาความคิดได้ไหมครับ
ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ยินดีลงทุนทั้งในและนอกตลาดหุ้น ด้วยความที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจที่น่าสนใจ
ก็จะเตรียมตัวให้พร้อมถ้าเผื่อโอกาสผ่านเข้ามาครับ
ได้เวลาเหล่าอินทรีย์ ผงาดบนฟากฟ้า
kortoy
Verified User
โพสต์: 47
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมเป็นเจอสารคดีอันนึงที่คนไทยทำ
น่าจะทำให้พอมองภาพสมัยนั้นออกนะครับ
มีสัมภาษณ์คนสำคัญๆ หลายๆ คน รวมถึง คุณทนง พิทยะ ด้วยครับ

http://www.youtube.com/watch?v=QmaU-CTpMLk

http://www.youtube.com/watch?v=21EsQ7o95fY
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 11

โพสต์

อินทรีย์ทองแดง เขียน: ช่วงก่อนหน้าปี40นี่จำได้ว่าดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นไปอยู่10กว่า% ยิ่งถ้าเป็นทรัสต์ วิ่งไป10ปลายๆ
อันนี้สะท้อนความต้องการสภาพคล่องได้ไหมครับ
อัตราดอกเบี้ยในไทยมันสะท้อนเงินเฟ้อครับ
เนื่องจากนโยบายinflation targetของธปท.
ทำให้ปริมาณเงินจะถูกควบคุมผ่านพันธบัตรและตั๋วเงินคลังครับ
หากจะดูสภาพคล่องในไทย คงต้องดูผ่านLoan-To-Deposit Ratioของแบงค์พานิชย์แทน
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BeSmile
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1178
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ยืนยันความร้อนแรงของตลาดอีกคน

วันนี้พาลูกไปกิน Mister Donut

เด็กโต๊ะข้าง ๆ ตอนแรกคิดว่า ติวหนังสือ คนหนึ่งมหาลัย คนหนึ่งมัธยม

ปรากฎว่าคุยกันเรื่องหุ้น แถม เด็กมหาลัย ชวน เด็กมัธยม เปิด Port

ยังดี น่ะ ที่บอกว่า ต้องอ่านหนังสือก่อน

เมื่อก่อนเฉย ๆ แต่ตอนนี้ก็เริ่มรู้สึก หนาว ๆ แล้ว เหมือนกัน :mrgreen:
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
ภาพประจำตัวสมาชิก
nam
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1437
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 13

โพสต์

วันนี้เดินเล่นที่se-ed
เห็นหนังสือหุ้นลดราคาหลายเล่ม
คล้ายจะเลหลังแล้ว
หรือว่า ลุยแบบนอกตำรากันแล้ว?
ตถตา
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ผมพอจะทันในยุคนั้นอยู่บ้างเพราะเป็นช่วงใกล้ ๆ เรียนจบ

ครั้งแรกที่รู้จักตลาดหุ้นน่าจะเป็นตอนราว ๆ ปี 36 ตอนนั้นจำได้ว่าหุ้นขึ้นเยอะ คนในครอบครัวก็เล่นหุ้น นอกจากนั้นเรื่องที่ดินก็ได้ยินมาก่อนหน้านั้นหลายปีว่าใครอยากรวยให้เล่นที่ดิน ตอนนั้นเคยไปดูบ้านแถวชานเมือง ชาวบ้านแถวนั้นบอกว่าบ.อสังหาฯรายหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์มากว้านซื้อที่ แถมยังถามคนที่บ้านว่าสนใจบ้างหรือเปล่า บ.อสังหาฯรายนั้นล้มหายไปหลังจากปี 40

ปี 37 ตลาดหุ้นไทยเปิดปีใหม่ขึ้นไปทำจุดสูงสุด 1700 กว่าจุด ตอนนั้นนลท.รายย่อย "อย่างมั่นใจ" พอหลังปีใหม่ถ้าผมจำไม่ผิดวันที่ 4 ม.ค. ฝรั่งเริ่มทิ้งกระหน่ำ ตอนนั้นรายย่อยคิดว่าแค่ตลาดปรับฐาน เข้าไปรับหวังได้ของถูก แต่สุดท้ายมันไหลลงอย่างไม่มีลิมิต ผมจำได้ว่าตอนผมเข้าไปดูห้องค้าหุ้นครั้งแรกตอนราว ๆ เดือนเม.ย. ตอนนั้น SET เหลือประมาณ 1000 จุดแล้ว ช่วงตลาดหุ้นร้อนแรง ปริมาณการซื้อขาย 1 หมื่นล้านต่อวัน (ตอนนั้นถือว่าสูง) ตอนซบเซาเหลือ 3 พันล้าน ตอนนั้นได้ยินบ่อย ๆ ว่ามีคนเล่นหุ้นจนหมดตัว

หลังจากนั้นพอมายุคบรรหารตลาดก็ผันผวน แต่ก็เริ่มออกอาการ มาหนักสุดตอนยุคชวลิต ตอนนั้นผมยังไม่ค่อยรู้เรื่อง รู้แต่ว่ามันมีข่าวลือว่าจะลดค่าเงินบาท รัฐบาลก็พยายามออกมาปฎิเสธ แต่หุ้นมันก็ไหลลง ยิ่งตอนมีข่าวว่าแบงค์เล็ก ๆ จะล้ม ตอนนั้นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารเล็ก ๆ อย่างธ.แหลมทองคือ 16% ต่อปี!!!!! คนแห่ถอนเงินธนาคารศรีนครสาขาใหญ่ ธนาคารต้องสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าโดยการเอาเงินสดจำนวนมากมาตั้งให้ดูว่ามีเงินอยู่จริง ตอนแรกกระทรวงการคลังยังเอาเงินในคลังไปสกัดการเก็งกำไรของคนที่ทุบค่าเงินบาทด้วยซ้ำ แรก ๆ เหมือนจะสำเร็จคนชมเชยกันใหญ่

พอประกาศลดค่าเงินบาท ผมยังจำได้ว่าตลาดหุ้นแดงเถือก ฟลอร์ตกตลาดติดต่อกัน น่ากลัวกว่าวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์มาก ๆ ที่แสบที่สุดคือกว่ารัฐบาลจะประกาศลดค่าเงินบาทก็รออีกหลายวัน มีคนจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์จากการขนเงินออกไปก่อน

คนที่เคยผ่านช่วงนั้นมาจะรับรู้ถึงความสิ้นหวังของคนไทย คนตกงานจำนวนมาก ใครที่ยังทำงานต่อได้ถือว่าโชคดีมาก ใครที่หางานใหม่ทำได้ถือว่าเป็นที่สุดของความโชคดี ไปที่ไหนก็มีแต่การเปิดท้ายขายของเอาของที่บ้านที่ไม่ใช้แล้วมาขาย รณรงค์กันให้ประหยัด หลายครอบครัวบ้านแตก คนฆ่าตัวตาย บางคนเรียนอยู่ต่างประเทศต้องกลับเมืองไทยเพราะค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็นเท่าตัวครอบครัวไม่มีเงินส่งเรียนต่อ

จอร์จ โซรอส หลายคนอาจจะยกย่องนะ แต่ผมคนหนึ่งที่เคยเห็นประเทศชาติโดนแบบนี้ ผมบอกตามตรงว่ารับไม่ได้ครับ จริงอยู่ผมไม่เถียงว่าต้นตอของปัญหามันเกิดจากรัฐบาลบริหารงานห่วยแตก แต่ก็ต้องยอมรับว่าโซรอสเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ปัญหามันเกิดเร็วขึ้น มีอยู่ปีหนึ่งมีคนคิดจะเชิญโซรอสมาเล็คเชอร์ที่เมืองไทย แต่โดนต่อต้านจะเอา "อึ" ปาใส่จนต้องเลิกการมาเมืองไทย แนวทางการลงทุนของโซรอส ผมไม่คิดจะศึกษาเอามาใช้ เพราะเคยหากินบนความทุกข์ของคนไทย (ขออภัยที่ผมอาจจะพูดไม่ถูกใจสาวกของโซรอส)

เลย์แมน บราเธอร์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาปรส. แล้วก็อาศัยข้อมูลที่รู้ว่าทรัพย์สินตรงไหนดีตรงไหนไม่ดี สุดท้ายตั้งบ.มาซื้อทรัพย์สินตรงนั้นเสียเอง แล้วก็ให้ตีราคาต่ำ ๆ ตึกสวย ๆ บนถนนสุขุมวิทหลายแห่งนั่นแหละครับ สุดท้ายโดนเอาคืนตอนวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์

นายธนาคารทั้งหลาย ที่บริหารงานจนเกิดหนี้ NPL ก่อนปี 40 ตระกูลใหญ่ ๆ เป็นเจ้าของธนาคาร ได้รับการยกย่องเป็นเจ้าสัว มีหน้ามีตาทางสังคม แต่พอบริหารธุรกิจจนเจ๊ง NPL งอก กลับเอาเงินภาษีของ "คนไทย" ไปอุ้ม มันไม่ผิดหรอกครับ ที่คนเค้าบอกว่า "ล้มบนฟูก" สุดท้ายก็ยังเป็นเศรษฐีถึงบางตระกูลจะเสียธุรกิจธนาคารไปบ้าง ยุคปัจจุบันพอธนาคารแข็งแกร่ง เก็บค่าธรรมเนียมไม่ยั้ง ให้ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ ๆ เงินกู้สูง ๆ

สมัยนั้นธุรกิจสื่อสารบูมมาก โครงการในกระดาษเป็นหมื่น ๆ ล้านก็ขอกู้เงินได้ หุ้น IPO เข้าตลาดไม่ต้องพูดครับ ยกตัวอย่าง JAS 350 บาท TT&T ร้อยกว่าบาท

บางครั้งผมนึกถึงเรื่องสิ้นหวังที่คนไทยได้รับในครั้งนั้น มันเหมือนเกิดขึ้นไม่นาน บางเรื่องนึกแล้วก็เจ็บปวดไม่หาย แต่เวลาที่มันผ่านไปคนก็ค่อย ๆ ลืมเรื่องเหล่านี้ไปเหมือนมันไม่มีอะไรเกิดขึ้นครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
JIJ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 14
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 15

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:ภาวะฟองสบู่นั้น เมื่อเข้าสู่ฟองสบู่ เราส่วนใหญ่จะมักไม่ค่อยรู้สึกตัว
เพราะผู้คนก็ทำให้รู้สึกว่า "เออมันเป็นแบบนั้น"

เล่าแบบบ้าน ๆ นะ อย่าไปอ้างอิงนะครับ

เฟสหนึ่ง ฟองสบู่ก่อตัว

เช่น ฟองสบู่อสังหา ตามจริงตั้งแต่สมัยนายกชาติชาย ช่วงนั้น ราคาที่ดินก็เริ่มมีการปรับตัวสูงขึ้น และมันก็สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น บวกกับกระแสไทยจะเป็นนิกส์ เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า แต่นั้นปี 2531 ชาติชาย-1 ต้องยอมรับว่า ช่วงนั้นเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง

หลังจากนั้นสักสองสามปี หลังสงครามอ่าว วิศวะจบใหม่ ได้รับเงินเดือนประมาณ อย่างต่ำ สตาร์ท หมื่นสาม ทำไปสามเดือน หมื่นหก ถ้าผ่านไปหนึ่งปี ไม่ถึง หมื่นแปด หรือสองหมื่น ก็จะเริ่มอายเพื่อนแล้ว รถก็ต้องมีใช้ โตโยต้า 16 วาล์ว ยืนพื้น มีเบนซ์ราคาไม่ถึงล้านด้วย 190E รึเปล่าไม่แน่ใจ แม้จะมีภาวะปฎิวัติตามมาด้วยพฤษภาทมิฬ การสื่อสารก็เติบโต มือถือต้องมี แม้ม๊อบพฤษภาจะได้ชื่อเล่นว่า ม็อบมือถือ ด้วยซ้ำ ก็ต้องมีไม่มีก็ต้องผ่อน และหลายคนก็เริ่มเข้าสู่วงการไฟแนนซ์

วิศวะโยธาบูมมาก การได้เป็นโฟร์แมนหรือโปรเจ๊ค เมเนอเจอร์ นั่นหมายถึงว่าสามารถพาลูกน้องและลูกค้าไปดื่มได้ทุกคืน สมัยนั้น ก็ต้อง ไรโน อาร์ซีเอ อยากจีบสาวก็แนะนำ แจ๊สผับศาลาแดง ส่วนตัวผมชอบ อิมแมจินารี่ ผับ

เงินสะพัด สะพัด สะพัด ที่ดิน เศรษฐีหุ้น เศรษฐีที่ดิน คนทำงานโบนัสสูง ๆ การที่มีวิกฤตการเมือง ถูกมองเป็นการ แขวนภาวะเศรษฐกิจ คนไม่ได้มองว่าราคาที่ดินมันสูงแล้ว อสังหามันล้นแล้ว อะไรแล้ว แต่คนมองว่า หลังวิกฤตพฤษภา บ้านเมืองจะดีขึ้น คือผิดประเด็นนะในความเห็นผมเพราะฟองสบู่มันฟอกตัวแล้ว พอวิกฤตการเมืองจบ สถาบันการเงินเรียกได้ว่าแย่งกันปล่อยสินเชื่อ และ เกิดภาวการณ์ซื้อที่ดินเพื่อกักตุนไว้เป็นแลนด์แบงก์ (คล้าย ๆ บ้านมือสอง และหนี้บ้านในอเมริกามั๊ย - มองเทียบเคียงผมว่ามันใช่เลย) BIF เป็นมาตรการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีที่ดินหรือทรัพย์สินค้ำประกัน ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง 50% จากเดิมที่ให้เป็นความเสี่ยง 100% ยิ่งทำให้สินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์มีมากขึ้น ด้านการเมืองมี สสร. เอย อะไรเอย ก็เห็นการพัฒนาหลังวิกฤต ฟองสบู่ก็บวม บวม บวม คนก็ร่าเริง ร่าเริง ร่าเริง

มีเงินก็ต้องใช้ ต้องหา จนกระทั่ง 2538 หลังเลือกตั้งท่านบรรหารขึ้นมาเป็นนายก พร้อม ๆ กับ ท่านเนวิน มาเป็น รมว. คลัง แอ๊ดคาราบาว ร้องเพลง รมต. เต้าหู้ยี้ และช่วงนั้นก็ปลิ่ม ๆ เข้าสู่ภาวะที่สองคือ ลูกโป่งพอง ท่านบรรหารออกกลางสภา

ทุกคนมีส่วนพากันเดินไปสู่จุดนั้นทั้งนั้น นักศึกษา ป.โท ค่อนข้างจะรู้จัก พ่อมดการเงิน และความสำเร็จ ร่ำรวยอย่างรวดเร็วของพวกเขา

ท่านบรรหารลง บิ๊กจิ๋วมาพร้อม ๆ กับคุณอำนวย พฤศจิกา 39-พฤศจิกา 40 มีม็อบสีลม และท่านบิ๊กจิ๋ว ก็ลาออก

วันนั้นผมอยู่บนเครื่องบินกำลังเดินทางกลับประเทศไทย หลังจากไปทำงาน ปั๊บหยิบหนังสือพิมพ์มาอ่าน อ้าวลอยตัวค่าเงินบาท (ถ้าจำไม่ผิด คุณทนง เป็น รมว.คลัง ถ้าจำผิดขออภัยอย่างสูง ท่านผู้รู้ช่วยมาแก้) เพื่อนผมหนักกว่าผมอีกเพราะก่อนหน้านั้นเพิ่งไปกู้เงิน USD มา บริษัททั้งบริษัทหายวับไปกับตา ต้องขายครับ

หลังจากนั้นเกิดความโกลาหลครับ ค่าเงินในการขายสินค้านำเข้าต้องคำนวณกับแทบทุกวัน

คุณชวนพร้อม ๆ คุณธารินทร์ คุณพิสิฐเข้ามาปลายปี 40 ต้นปี 41 และคนไทยก็รู้จัก ไอเอ็มเอฟ ตลาดหุ้นไม่ต้องพูดถึง ปลายปี 40 ประมาณ 3xx จุดหรือเปล่า? อันนี้ไม่แน่ใจ

.....................

กลับมาที่คำถามของเจ้าของกระทู้ ส่วนตัวผมสังเกตุอะไรว่าจะเกิดวิกฤต ผมจะให้ความสำคัญกับ สภาพคล่องอย่างมากครับ

สภาพคล่อง ไม่เหลือ และช่วงนั้นทุกครั้งที่ผมไปบรรยาย คำว่า liquidity คือสิ่งที่ผมจะต้องเน้นย้ำทุกครั้ง รพ. คอนโด สมัยนั้น utilization ต่ำมาก ๆ พวกคุณก็สร้างกันขึ้นไป สะสม assets แต่สุดท้ายขาดสภาพคล่อง แล้วเป็นไงกลายเป็น NPL ต้องขายทอดตลาด

สิ่งเหล่านั้นผมจำเข้ากระดูก จนปี 2007-2008 เมื่ออ่านหนังสือพิมพ์ ได้เห็นคำว่า credit crunch หรือสภาวะตึงตัวทางการเงิน หรือภาวะความต้องการเงินสดสูงกว่าปกติ ผมจะระมัดระวังอย่างสูงครับ สุดท้ายก็มี Bubble จริง ๆ

ปัจจุบัน (ส่วนตัว) ผมก็จะใช้ liquidity เป็น indicator สำคัญในการเฝ้าระวังครับ
pakhakorn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ความทรงจำที่เหลือน้อยแล้ว
ยังเหลือเรื่องหนึ่งที่จดจำไว้
วันหนึ่งผมขับทำงานอยู่ทางภาคตะวันออก ได้ฟังข่าวทางวิทยุ เปิดเสรีทางการเงิน จำไม่ได้แล้ว แถลงเป็นกี่ข้อ
ผมถึงกับอุทานออกมาเองดังๆ ในรถว่า ตายแน่ ยังไม่พร้อม ทำตามคำ บ้ายอ ของต่างประเทศ ไม่รู้จักตัวเองจริงๆ

ขนาดผมซึ่งไม่เรียนทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน หรือการธนาคารมาก่อน ยังรับความรู้สึกได้ว่า เดินเกมส์การเงินผิดพลาด และการค้าขายปลีกย่อย ยอดขายแต่ละเดือนเริ่มสาละวันเตี้ยลง แล้วไม่กี่ปีถัดมา ก็ได้รู้ว่า ประเทศไทย หมดตูด หมดตัว เพราะเกมส์การเงินที่ผมเคยต้องอุทานขึ้นมาเมื่อได้ฟังข่าวทางวิทยุจริงๆ

การเติบโตของประเทศ ความคาดหวังของคนในประเทศ และคนจากต่างประเทศ ว่า เราจะเป็น เสือตัวที่ 5 มาถึงวันนี้ผมก็ยังเห็นว่าเป็น โอกาสที่ดีมากๆของประเทศไทยที่ผ่านเข้ามา แต่การบริหารการเงินการคลังไม่สอดคล้อง ทำโดยไม่ดูสถานะตัวเองว่า มีความพร้อม หรือมีสามารถจะรับมือได้แค่ไหน ในสิ่งตนเอง เลือกทำ แก้ไข หรือส่งเสริม ตามความต้องการของต่างชาติ โดยขาดซึ่งการเตรียมพร้อมก่อนใช้ หรือภาษาบ้านๆก็ บ้ายอ โดยไม่รูจักตัวเอง เราจึง เจ๊ง ครับ หรือไม่ต่างอะไรกับคำที่ว่า สามล้อถูกหวย เพราะบริหารโอกาสที่ดีๆที่ได้รับเข้ามาไม่ถูกนั่ันเอง

วันนี้ก็น่าคิดอยู่ ครับ
ทำไมผมเริ่มรับความรู้สึกได้ว่า เหมือนเราอาจกำลังเดินเกมส์ การเงินการคลัง ในภาวะเงินท่วมโลกนี้ ผิดพลาด ซึ่งอาจจะทำให้โอกาสที่ดีๆของประเทศที่กำลังเข้ามาอย่างมากๆอีกครั้ง กลายเป็น ฝันร้าย ได้ แทนที่จะเป็น ฝันดี

จากความรู้สึกและความทรงจำที่เลือนลาง อาจไม่ตรงกับความจริงก็ได้ .
อินทรีย์ทองแดง
Verified User
โพสต์: 513
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ขอบคุณพี่lekyที่มาแชร์ประสบการณ์และความรู้ครับ มันมีค่ามากๆสำหรับการลงทุนครับ
:bow: :bow: :bow:
ได้เวลาเหล่าอินทรีย์ ผงาดบนฟากฟ้า
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ขอบคุณทั้งท่าน NB และ leky ครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
dr1
Verified User
โพสต์: 874
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 19

โพสต์

อ่านเรื่องเมกา ยุโรป ญี่ปุ่น พิมพ์เงินถล่มโลกแล้วนึกถึงป๋าเหนาะ
จำได้ลางๆว่าช่วงนั้นป๋าตอบคำถามนักข่าว
ประมาณ เงินไม่พอก็พิมพ์เพิ่มสิ
นักวิชาการ ฝ่านค้านออกมาด่าแหลก
ตอนนี้ ดูเหมือนป๋าจะมีวิสัยทัศน์ยาวไกลนะฮะ
samatah
valueboy
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 69
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ผมสงสัยว่าสภาพตลาดหุ้นตอนนี้เป็นสัญญานฟองสบู่
เหมือนกับตอนก่อนเกิดวิกฤติ40 มากน้อยยังไงครับ
ตลาดหุ้นเราตอนนี้รายย่อยมีสัดส่วนลงทุนถึง60%
ซึ่งก็ชัดเจนว่า นักลงทุนรายย่อยมีอิทธิพลอย่างมาก
ต่อตลาดหุ้น ไม่ทราบว่าก่อนยุค40 นั้นรายย่อยมี
สัดส่วนมากเท่านี้หรือป่าวครับ? อีกอย่าง ตอนนี้
บ.ของเราก็ไม่ได้กู้เงินจากต่างประเทศเหมือนตอนนั้น
ผมเลยสงสัยว่าแล้วถ้าตอนนี้เป็นสัญญานฟองสบู่จริงๆ
อะไรที่เป็นปัจจัยหลักทำให้เกิดฟองสบู่ล่ะครับ

อีกอย่างครับ(อันนี้เดาเอานะครับ) ช่วงหลังๆการลง
ทุนในหุ้นได้เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก มีนักลงทุนแนว
พื้นฐานเพิ่มมากขึ้นจากยุคก่อน แต่ก็ยังคงมีพวกนักปั่นหุ้นอยู่
ผมเลยคิดว่า นักลงทุนพื้นฐานพวกนี้จะเป็นคนช่วยค้ำ
ตลาดหุ้นเราไม่ให้แคลชหนักๆเมื่อเกิดวิกฤติต่างๆ ไม่รู้ว่า
เข้าใจถูกรึป่าวครับ
yojira
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 76
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ผมจำได้ว่าสมัยนั้น เงินดอลล์จากต่างประเทศหากู้ได้ง่าย มีแบงค์ต่างชาติเสนอให้บริษัทฯ
ในไทยกู้อย่างง่าย ๆ โดยผ่านระบบสิ่งที่เรียกว่า BIBF มีการกู้กันขนานใหญ่ เงินที่เข้ามาก็นำไปปล่อยกู้ซื้อหุ้น ซื้อที่ดิน ราคาที่ดินขึ้นเป็นว่าเล่น ปั่นกันสนุก เช้าราคาหนึ่ง ตอนเย็นขายอีกราคาหนึ่ง เงินท่วม แต่การส่งออกกลับลดลง ตอนนั้นประเทศขาดดุลการค้า พวกนักเศรษฐศาตร์จำนวนหนึ่งบอกไม่เป็นไปไร เพราะเราเอาเงินกู้มาขยายโรงงานซื้อเครื่องจักรเพื่อการผลิต รัฐบาลสมัยนั้นส่งเสริมให้นำเงินเข้ามามาก เพราะมีการลงทุนสูงเพื่อการผลิต จนจอร์จ โชรอจเข้ามาโจมตีค่าเงิน เพราะเราเอาเงินบาทผูกติดกับเงินดอลล์ที่ 25 บาท โดยที่รัฐบาลยืนยันว่าจะไม่มีการลดค่าเงิน แต่ฐานะการคลังบักโกรก จนเป็นช่องทางให้โซรอจ เข้ามาโจมตีค่าเงิน เท่าที่จำได้ในตอนปลายของวิกฤติครับ
maymekung
Verified User
โพสต์: 217
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ขอบคุณพี่ leky พี่ Nevercry boy มากครับ สำหรับประสบการณ์ที่นำมาแชร์ :bow: :bow: :bow:
ปัจจุบันรายใหม่เต็มตลาด เพื่อนๆที่ไม่เคยเล่นหุ้น ก็โทรมาถามกันมากขึ้นเรื่อยๆว่าต้องทำอย่างไร ข่าวเล็กข่าวน้อยราคาก็วิ่งกันไปซะทุกตัว ipo ไม่ทันดูว่ากิจการเป็นอย่างไร ตอนเช้ารอกด ATO กันเพียบ ราคาบ้านราคาที่ดินก็สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ในขณะที่รากหญ้ารายได้โตไม่ทัน แถมยังต้องมาผ่อนรถคันแรกอีก คนใช้เงินเกินตัวกันเยอะ มีเพียงเส้นบางๆกลั้นระหว่างคำว่า เศรษฐกิจเฟื่องฟู กับฟองสบู่กำลังจะแตก ได้แต่ภาวนาให้ตัวเองเอาตัวรอดได้โดยไม่เจ็บตัวมากเกินไปถ้าเกิดฟองสบู่แตกจริงๆ :D
Freedom
ภาพประจำตัวสมาชิก
Poohva
Verified User
โพสต์: 36
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 23

โพสต์

รัฐบาลเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท พร้อมร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 เข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญนิติบัญญัติ ภายในเดือน มี.ค.นี้...


เหมือนมนุษย์เงินเดือนเลย กู้มาก่อน ค่อยผ่อนทีหลัง

ส่งสัญญาณอะไรบ้างหรือเปล่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4366
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 24

โพสต์

เพื่อนๆ ทราบมั้ยครับว่าสัดส่วนเงินลงทุนในตลาดหุ้นเทียบกับเงินออมของคนไทยมันอยู่ที่กี่ %

ผมกำลังคิดว่า การที่คนรุ่นใหม่ๆ นำโดย GEN-X และตามด้วย GEN-Y บางส่วน เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นยุคนี้ มันอาจไม่ใช่แค่ Fashion แต่มันอาจเป็นอีกหนึ่ง Megatrend โดยพิจารณาจากทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรม

ใครจะไปคิดว่า วันนี้ ห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ คอนโดฯ จะแห่ขึ้นตามหัวเมืองใหญ่ๆ

เกมอาจจะเปลี่ยนไปจากเดิมแล้วครับ
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ผมว่าประวัติศาสตร์ทางการเงิน การล่มสลายของเศรษฐกิจ โดยเนื้อหาย่อย ๆ หรือเรื่องราวอาจจะต่างกันไปบ้าง แต่ภาพใหญ่ ๆ มันไม่ต่างกันหรอกครับ วิกฤติราชาเงินทุนปี 22 เท่าที่เคยได้ยินมาจากตลาดหุ้น เล่นหุ้นเหมือนเล่นแชร์ดันขึ้นไปเรื่อย ๆ โบรกปล่อยกู้ให้คนไปซื้อหุ้น พอความจริงเปิดเผย ใครที่ถือไม้สุดท้ายก็ตาย สุดท้ายโบรกที่ปล่อยกู้ก็หนีไม่พ้นตายด้วยเช่นกัน

ผมไม่ได้มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มากมายอะไรนะครับ แต่ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า มูลค่าของอะไรก็ตามถ้ามันเป็นการ "ดันขึ้นไป" เพราะเพียงแต่มีปริมาณเงินมาก เหมือนอย่างความคลั่งดอกทิวลิป จตุคาม หุ้น ที่ดิน โดยที่สิ่ง ๆ นั้นมันไม่ได้มีค่าอะไรมากมายไปกว่านั้น มันก็พร้อมจะเป็นฟองสบู่ได้ทั้งนั้น

ผมเชื่อว่าถ้ามูลค่าของอะไรก็ตามมันขึ้นตามความเป็นจริง เช่น ถ้าหุ้นที่คุณซื้อมีสินทรัพย์จริง สร้างกำไรได้จริง ที่ดินที่ราคามันขึ้นเพราะมันมีสิ่งปลูกสร้างมาทำให้มูลค่ามันเพิ่มจริง แบบนั้นมันก็คือ "ของจริง" โดยการเพิ่มขึ้นมันต้องไม่มากจนเกินความเป็นจริง แบบที่มีการเก็งกำไรของน้ำมัน

ตอนปี 40 ที่ประเทศไทยรอดมาได้เพราะมีธุรกิจการส่งออกที่ทำให้ไทยค่อย ๆ ฟื้น แต่วิกฤติในต่างประเทศทั้งยุโรปและอเมริกา ผมก็ยังไม่เข้าใจว่าเค้าจะสร้างงานหรือผลิตภัณฑ์อะไรมาขายได้มากขึ้น เพราะผมเห็นเพียงการพิมพ์เงินออกมาแล้วก็เอาไปลงทุนในหุ้น ตราสารในประเทศที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า จริงอยู่คุณได้กำไรได้ผลตอบแทน แต่ประชาชนของคนมีงานทำเพิ่มขึ้นหรือไม่ มีผลผลิตทางอุตสาหกรรมหรือทางการเกษตรเพิ่มขึ้นหรือไม่ อันนี้ผมไม่แน่ใจ

สำหรับคำถามที่มีคนสงสัยว่าตลาดหุ้นทุกวันนี้เปลี่ยนไปจากยุคปี 40 ผลลัพธ์มันไม่น่าจะเหมือนกัน ผมเห็นด้วยว่าเดี๋ยวนี้นลท.มีความรู้มากขึ้น หน่วยงานที่กำกับดูแลดีขึ้น นลท.รายย่อยพอร์ตใหญ่ขึ้น แต่ผมยังเชื่อว่ารายย่อยก็ยังหนีไม่พ้นความเป็นรายย่อย เพราะแม้อาจจะมีปริมาณเงินมาก แต่วิธีลงทุนหลากหลาย "ทัพแตกกระเจิง" ได้ง่าย และก็อย่าลืมว่าตอนวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หุ้นไทยลงไปใกล้ ๆ ตอนปี 40 เอาเข้าจริง ๆ ตอนนั้นก็แหยงกันหมด กลัวว่าวิกฤติมันจะลามไปเป็นปี ๆ เพียงแต่ครั้งนั้นผมว่ามันโชคดีที่มันเป็นเรื่องนอกประเทศมันเลยไม่เห็นผลกระทบรุนแรงแบบปี 40 และก็โชคดีอีกเช่นกันที่ตลาดหุ้นมันแย่แค่ 1-2 ปี ต่างจากปี 40 ที่กว่าจะกลับมาได้ก็กินเวลา 5-6 ปี และก็อย่าลืมว่าสัดส่วนของต่างชาติในปัจจุบันอาจจะน้อยกว่าเมื่อก่อน นั่นแปลว่าเวลาฝรั่งขายอาจจะ "ทุบ" ไม่ง่ายกว่าในสมัยก่อน แต่ในสมัยนี้มันมีทั้งอนุพันธ์ทั้งหุ้น เค้าเล่นได้สองขา ไม่ใช่สิ สามขารวมทั้งฟันกำไรค่าเงินยามขนเงินออกด้วย ผมกำลังจะบอกว่าหุ้นขึ้นแรงหรือลงแรงก็ยากที่จะเอาชนะเค้าครับเพราะเค้าสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง แล้วรายย่อยละครับ มีความสามารถบริหารเงินได้แบบนั้นหรือไม่ ถึงมีคนทำได้ก็ไม่น่าจะมากครับ อันนี้ผมมองในแง่ภาพรวมนะครับ

ตอนนี้ผมเชื่อว่าที่เค้ายังอยู่เพราะผลตอบแทนในประเทศเค้ายังไม่ดี ดอกเบี้ยยังต่ำ ถ้าวันหนึ่งประเทศเค้าดีขึ้นเค้าคงจะกลับแน่ครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 26

โพสต์

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมรู้สึกกลัวจริง ๆ คือนโยบายประชานิยมที่มากมาย แต่ละอย่างล้วนแต่ใช้เงินมากทั้งสิ้น ในขณะที่การจัดเก็บรายได้เหมือนจะถูกลดลง เช่นการลดภาษี เพียงแต่กว่าจะเห็นผลว่ามันดีหรือแย่คงต้องใช้ระยะเวลา เอาที่ดูเหมือนเริ่มจะมีปัญหาก็โครงการจำนำข้าว กระทรวงและแบงค์ที่เป็นคนปล่อยกู้เริ่มจะมีปัญหากันแล้ว อันนี้อีกไม่นานก็คงเห็นว่าจะดีหรือร้าย สิ่งที่ผมเห็นได้คือบ.ที่ขายข้าวหลายบ.ในตลาดหลักทรัพย์มีผลการดำเนินงานที่ขาดทุน
"Become a risk taker, not a risk maker"
ภาพประจำตัวสมาชิก
neuhiran
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 817
ผู้ติดตาม: 1

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 27

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:ภาวะฟองสบู่นั้น เมื่อเข้าสู่ฟองสบู่ เราส่วนใหญ่จะมักไม่ค่อยรู้สึกตัว
เพราะผู้คนก็ทำให้รู้สึกว่า "เออมันเป็นแบบนั้น"

เล่าแบบบ้าน ๆ นะ อย่าไปอ้างอิงนะครับ

เฟสหนึ่ง ฟองสบู่ก่อตัว

เช่น ฟองสบู่อสังหา ตามจริงตั้งแต่สมัยนายกชาติชาย ช่วงนั้น ราคาที่ดินก็เริ่มมีการปรับตัวสูงขึ้น และมันก็สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น บวกกับกระแสไทยจะเป็นนิกส์ เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า แต่นั้นปี 2531 ชาติชาย-1 ต้องยอมรับว่า ช่วงนั้นเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง

หลังจากนั้นสักสองสามปี หลังสงครามอ่าว วิศวะจบใหม่ ได้รับเงินเดือนประมาณ อย่างต่ำ สตาร์ท หมื่นสาม ทำไปสามเดือน หมื่นหก ถ้าผ่านไปหนึ่งปี ไม่ถึง หมื่นแปด หรือสองหมื่น ก็จะเริ่มอายเพื่อนแล้ว รถก็ต้องมีใช้ โตโยต้า 16 วาล์ว ยืนพื้น มีเบนซ์ราคาไม่ถึงล้านด้วย 190E รึเปล่าไม่แน่ใจ แม้จะมีภาวะปฎิวัติตามมาด้วยพฤษภาทมิฬ การสื่อสารก็เติบโต มือถือต้องมี แม้ม๊อบพฤษภาจะได้ชื่อเล่นว่า ม็อบมือถือ ด้วยซ้ำ ก็ต้องมีไม่มีก็ต้องผ่อน และหลายคนก็เริ่มเข้าสู่วงการไฟแนนซ์

วิศวะโยธาบูมมาก การได้เป็นโฟร์แมนหรือโปรเจ๊ค เมเนอเจอร์ นั่นหมายถึงว่าสามารถพาลูกน้องและลูกค้าไปดื่มได้ทุกคืน สมัยนั้น ก็ต้อง ไรโน อาร์ซีเอ อยากจีบสาวก็แนะนำ แจ๊สผับศาลาแดง ส่วนตัวผมชอบ อิมแมจินารี่ ผับ

เงินสะพัด สะพัด สะพัด ที่ดิน เศรษฐีหุ้น เศรษฐีที่ดิน คนทำงานโบนัสสูง ๆ การที่มีวิกฤตการเมือง ถูกมองเป็นการ แขวนภาวะเศรษฐกิจ คนไม่ได้มองว่าราคาที่ดินมันสูงแล้ว อสังหามันล้นแล้ว อะไรแล้ว แต่คนมองว่า หลังวิกฤตพฤษภา บ้านเมืองจะดีขึ้น คือผิดประเด็นนะในความเห็นผมเพราะฟองสบู่มันฟอกตัวแล้ว พอวิกฤตการเมืองจบ สถาบันการเงินเรียกได้ว่าแย่งกันปล่อยสินเชื่อ และ เกิดภาวการณ์ซื้อที่ดินเพื่อกักตุนไว้เป็นแลนด์แบงก์ (คล้าย ๆ บ้านมือสอง และหนี้บ้านในอเมริกามั๊ย - มองเทียบเคียงผมว่ามันใช่เลย) BIF เป็นมาตรการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีที่ดินหรือทรัพย์สินค้ำประกัน ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง 50% จากเดิมที่ให้เป็นความเสี่ยง 100% ยิ่งทำให้สินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์มีมากขึ้น ด้านการเมืองมี สสร. เอย อะไรเอย ก็เห็นการพัฒนาหลังวิกฤต ฟองสบู่ก็บวม บวม บวม คนก็ร่าเริง ร่าเริง ร่าเริง

มีเงินก็ต้องใช้ ต้องหา จนกระทั่ง 2538 หลังเลือกตั้งท่านบรรหารขึ้นมาเป็นนายก พร้อม ๆ กับ ท่านเนวิน มาเป็น รมว. คลัง แอ๊ดคาราบาว ร้องเพลง รมต. เต้าหู้ยี้ และช่วงนั้นก็ปลิ่ม ๆ เข้าสู่ภาวะที่สองคือ ลูกโป่งพอง ท่านบรรหารออกกลางสภา

ทุกคนมีส่วนพากันเดินไปสู่จุดนั้นทั้งนั้น นักศึกษา ป.โท ค่อนข้างจะรู้จัก พ่อมดการเงิน และความสำเร็จ ร่ำรวยอย่างรวดเร็วของพวกเขา

ท่านบรรหารลง บิ๊กจิ๋วมาพร้อม ๆ กับคุณอำนวย พฤศจิกา 39-พฤศจิกา 40 มีม็อบสีลม และท่านบิ๊กจิ๋ว ก็ลาออก

วันนั้นผมอยู่บนเครื่องบินกำลังเดินทางกลับประเทศไทย หลังจากไปทำงาน ปั๊บหยิบหนังสือพิมพ์มาอ่าน อ้าวลอยตัวค่าเงินบาท (ถ้าจำไม่ผิด คุณทนง เป็น รมว.คลัง ถ้าจำผิดขออภัยอย่างสูง ท่านผู้รู้ช่วยมาแก้) เพื่อนผมหนักกว่าผมอีกเพราะก่อนหน้านั้นเพิ่งไปกู้เงิน USD มา บริษัททั้งบริษัทหายวับไปกับตา ต้องขายครับ

หลังจากนั้นเกิดความโกลาหลครับ ค่าเงินในการขายสินค้านำเข้าต้องคำนวณกับแทบทุกวัน

คุณชวนพร้อม ๆ คุณธารินทร์ คุณพิสิฐเข้ามาปลายปี 40 ต้นปี 41 และคนไทยก็รู้จัก ไอเอ็มเอฟ ตลาดหุ้นไม่ต้องพูดถึง ปลายปี 40 ประมาณ 3xx จุดหรือเปล่า? อันนี้ไม่แน่ใจ

.....................

กลับมาที่คำถามของเจ้าของกระทู้ ส่วนตัวผมสังเกตุอะไรว่าจะเกิดวิกฤต ผมจะให้ความสำคัญกับ สภาพคล่องอย่างมากครับ

สภาพคล่อง ไม่เหลือ และช่วงนั้นทุกครั้งที่ผมไปบรรยาย คำว่า liquidity คือสิ่งที่ผมจะต้องเน้นย้ำทุกครั้ง รพ. คอนโด สมัยนั้น utilization ต่ำมาก ๆ พวกคุณก็สร้างกันขึ้นไป สะสม assets แต่สุดท้ายขาดสภาพคล่อง แล้วเป็นไงกลายเป็น NPL ต้องขายทอดตลาด

สิ่งเหล่านั้นผมจำเข้ากระดูก จนปี 2007-2008 เมื่ออ่านหนังสือพิมพ์ ได้เห็นคำว่า credit crunch หรือสภาวะตึงตัวทางการเงิน หรือภาวะความต้องการเงินสดสูงกว่าปกติ ผมจะระมัดระวังอย่างสูงครับ สุดท้ายก็มี Bubble จริง ๆ

ปัจจุบัน (ส่วนตัว) ผมก็จะใช้ liquidity เป็น indicator สำคัญในการเฝ้าระวังครับ
ขอบคุณมากครับที่เก็บมาเล่าให้ฟัง แต่ผมแอบเดาอายุคุณNevercry.boyได้เลยนะนั่น :D :D
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1523
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ตามที่พี่ ตี่ ว่าครับ

ขณะนี้ เรากำลังอยู่บนฟองสบู่ที่เกิดจากการอัดฉีดเงินเข้ามาในระบบ

มันจะต่างจากฟองสบู่ที่เกิดจากการขยายตัวของ GDP ในยุค40 เพราะ สิ่งที่ทำให้มัน

เกิดฟอง คือ เงินมหาศาล ที่ไหลทะลักเข้ามา ในสินทรัพย์ที่สามารถให้ผลตอบแทนได้

ไม่ได้เกิดจากการ ที่บริโภคมีกำลังการซื้อมากแบบอดีต

ฟองจะแตก ก้เมื่อ หยุดพิมพ์เงิน หรือ เมื่อประเทศที่พิมพ์เงิน เศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว

ก้จะเกิดการขนย้ายเงินทุนกลับไป แบบฝูงตั๊กแตน

เมื่อไหร่ประเทศไทย หมดเส่นห์ เมื่อนั้นก้ระวังโดนมันเช๊คบิล
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1523
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ข้อสังเกตุสำคัญ หลังปี40 2ปี ปี42-43 ตลาดหุ้นUSA ดัชนีไปไกลเลย

พอมันเกาะแล้วกินเสร็จ ก้จะพากันจากไปแบบฝูงตั๊กแตน

เหลือไว้ก้แต่ ซาก และคนที่สิ้นหวัง

ตั๊กแตนที่อิ่มแล้ว ย่อมกำไรไม่น้อย ไม่แปลกที่ปี40 บ้านเรามีคนจนและคิดจบชีวิต

แต่จากนั้น2-3ปี ที่เมกากลับมีแต่คนรวย

โอกาศที่เงินไหลกลับก้ มี

1.เศรษฐกิจประเทศพิมพ์เงินดีขึ้น นวธนกิจที่กู้มา 0% รู้ดีว่า อีกไม่นานจะขึ้นดอกเบี้ยก้

ทยอยขายเพื่อนเงินไปคืน

2.เศรษฐกิจ ประเทศพิมพ์เงิน พังพาบ แน่นอน พวกนี้ก้ขนกลับไปโปะ

3.เมื่อพวกนวธนกิจ รู้ว่า ประเทศนี้ไม่มีอะไรให้ปล้นแล้ว พวกเค้าก้จะย้ายรังไป

ปล้นประเทศอื่นต่อ


จากประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ปี40 สถาบันและรายย่อย ไม่สามารถต้านแรงขายฝรั่งได้เลย

เมื่อใดที่ มัน จะออกไป หุ้นทุกตัวจะลง โดยเฉพาะ หุ้นบลูชิบ

สำหรับประเทศไทย ในสายตา Manager Fund หรือ พวกต่างชาติ ก้คือ แหล่งปลาชุกชุม

แหล่งอาหารที่ มีมาก เมื่อใดหมดแหล่งอาหาร


เสือหรือสิงห์โตก้จะย้าย รังของมันไปเพื่อหาแหล่งที่อุดมสมบูรณ์กว่าต่อไป
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: ใกล้ฟองสบู่ ?

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ขออนุญาตเอาบทความล่าสุดของดร.นิเวศน์มาแปะไว้หน่อยครับ เท่าที่ผมสังเกตมุมมองของคนที่เคยผ่านวิกฤติปี 40 กับคนที่ไม่เคยสัมผัสบรรยากาศในสมัยนั้น อาจจะแตกต่างกันนะครับ ไม่รู้ผมคิดไปเองหรือเปล่า เคยคุยกับหลาย ๆ คนที่เคยเจอแบบที่ผมเคยเจอ การมองตลาดหุ้นว่ายังไงมันก็มีความไม่แน่นอน มองว่าหลายปีที่ผ่านมาตลาดมันดีจริง ๆ เทียบกับก่อนหน้านั้น ภาพหลอนของปี 40 หรือหลังปี 40 ที่ตลาดไม่ไปไหน ยังทำให้คิดถึงตลอดว่าซักวันหนึ่งมันก็อาจจะกลับมาได้อีก ผมเองพยายามไม่มองผลตอบแทนรายปีว่าจะทำได้เท่าไหร่ แต่ผมจะพยายามมองว่าผลตอบแทนแบบทบต้นที่ผมจะได้รับมากกว่า ในบางครั้งผมก็มองแบบ conservative ว่าอย่าตกจากที่ผมตั้งไว้ก็พอครับ
Thai VI Article เขียน:

โค้ด: เลือกทั้งหมด

[b]ก้าวเล็ก ๆ ในตลาดหุ้น-ก้าวที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต/ดร. นิเวศน์[/b]

ในช่วงประมาณปี 2539 ถึงปี 2540 ซึ่งเป็นปีวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในประเทศไทยนั้น ผมเองเป็นหนึ่งในผู้บริหารสถาบันการเงินที่ตกอยู่ในท่ามกลาง “มรสุม” ที่พัดกระหน่ำสถาบันการเงินและกิจการธุรกิจเกือบจะทุกแห่งของประเทศไม่เว้นแม้แต่บริษัทที่ใหญ่และแข็งแรงที่สุด แต่ละวันเราต้องหาทาง “เอาตัวรอด” นั่นก็คือ หาเงินจากทุกแหล่งที่ทำได้เพื่อนำมาคืนผู้ฝากเงินที่กำลังขาดความมั่นใจและทยอยถอนเงินออกเมื่อตั๋วเงินครบกำหนดอายุการฝาก ทุกวันพนักงานที่ดูแลการฝากเงินจะรายงานว่าวันนั้นมีคนมาถอนออก “สุทธิ” เป็นจำนวนเท่าไร ตัวเลขสามสี่ร้อยล้านบาทดูเหมือนจะเป็นตัวเลขที่ “ปกติ” เราเรียกมันว่า Bleeding หรือเลือดไหลไม่หยุดและในไม่ช้าเราอาจจะต้อง “ตาย” เราพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะหยุดมัน วิธีหนึ่งก็คือ การรวมกิจการสถาบันการเงินหลายๆ  แห่งแล้วก็อาจจะหาทุนมาเพิ่ม แต่ในยามนั้นไม่มีใครต้องการถือหุ้นบริษัทที่ทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงิน ดูเหมือนว่าธุรกิจกำลังล้มละลายทั้งประเทศ และแล้วเมื่อมีการประกาศลอยค่าเงินบาทในกลางปี 2540 บริษัทจำนวนมาก และเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงินเกือบทั้งหมดก็ “ล้ม” กันจริงๆ

​ผมต้องถูกให้ออกจากงาน ด้วยวัย 44 ปี และวุฒิการศึกษาปริญญาเอกทางด้านการเงิน  โอกาสที่จะหางานใหม่ในธุรกิจการเงินไม่มีเพราะสถาบันต่างๆ ถูกปิดหรือลดขนาดลง มีลูกเล็กที่ยังเรียนอยู่ในโรงเรียนอินเตอร์ที่มีค่าเล่าเรียนแพงลิ่วปีละหลายแสนบาท และภรรยาทำงานพาร์ทไทม์ในฐานะครูเปียโนผมย่อมต้องกังวลว่าจะ “ทำอย่างไรกับชีวิต” หรือถ้าจะพูดกันให้ตรงที่สุดก็คือ จะจัดการเรื่องการเงินอย่างไรจึงจะสามารถอยู่รอดได้ในภาวะที่ธุรกิจต่างๆ กำลัง “ล่มสลาย” โชคยังดีที่ผมพอจะมีเงินเก็บอยู่บ้าง ตัวเลขน่าจะอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาทบวกลบ เงินจำนวนนี้ผมคิดดูแล้วไม่เพียงพอที่จะส่งลูกเรียนตลอดจนจบปริญญาตรีในสายที่เป็นการเรียนอินเตอร์ได้ถ้าผมไม่ทำอะไรซักอย่างนอกจากการฝากเงินกินดอกเบี้ย ​การบริหารการเงินส่วนบุคคล “มาตรฐาน” ที่บอกว่า ถ้าอายุมากและโอกาสทำงานหาเงินในอนาคตมีน้อยเราก็ไม่ควรลงทุนในอะไรที่ “เสี่ยง” เช่น หุ้น เพราะถ้าเรา “พลาด” เราจะไม่สามารถหาเงินมาใช้จ่ายได้อีก แต่ถ้าไม่ลงทุนในหุ้นเพราะ “เสี่ยงเกินไป” และการฝากเงินก็ไม่ใช่ทางออก การ “ทำธุรกิจ” เองก็ยิ่งเสี่ยง โดยเฉพาะในยามที่ความต้องการของประชาชนลดลงมากมาย แล้วผมจะต้องทำอย่างไรที่จะสามารถรักษามาตรฐานการดำรงชีวิตแบบเดิมได้?

​ทางออกที่ผมค้นพบก็คือ Value Investment! ลงทุนในหุ้นเหมือนกับการทำธุรกิจ ว่าที่จริงจุดเริ่มต้นจริงๆ ควรจะเป็นว่าผม “ทำธุรกิจ” โดยการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยเงิน 10 ล้านบาท ผมสามารถเริ่มทำธุรกิจได้ ไม่ใช่ธุรกิจเดียว แต่หลายๆ ธุรกิจ ธุรกิจที่ผมเลือกนั้นจะต้อง “ปลอดภัย” ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำอย่างแรง เช่น อาหารราคาถูก หรือกิจการส่งออกที่ประเทศไทยกำลังได้เปรียบในเรื่องของค่าเงินบาทที่ลดลงมาก ผมวิเคราะห์แล้วพบว่ามีบริษัทจดทะเบียนที่ยังมีผลประกอบการที่ดี มีฐานะการเงินยอดเยี่ยมแทบจะ “ปลอดหนี้” ละบริษัทนั้นปลอดภัยดีทีเดียวในแง่ของการดำเนินการ ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านั้น “ถูกเหลือเชื่อ” ค่า PE มักไม่เกิน 10 เท่า หลายบริษัทเพียง 6-7 เท่า เฉพาะปันผลที่ผมจะได้เมื่อเทียบกับราคาหุ้นก็ประมาณปีละ 10% ซึ่งแปลว่า ด้วยเงิน 10 ล้านบาท ผมจะได้รับปันผลถึงปีละ 1 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่ผมจะใช้จ่ายได้โดยไม่กินเงินต้นเลย อาจจะมีประเด็นว่า หุ้นเหล่านั้นแทบไม่มีสภาพคล่องในการซื้อขาย คือซื้อได้ แต่อย่าหวังที่จะขายได้ราคา ถ้าจะว่าไป ตลาดหุ้นโดยรวมก็มีการซื้อขายน้อยมาก วันละประมาณ 2-3 พันล้านบาทเท่านั้น แต่ผมก็ไม่แคร์เลย เพราะผมลงทุนโดยมีสมมุติฐานว่าผม “ทำธุรกิจ” ผมพร้อมที่จะถือมันไปตลอดชีวิต

​แน่นอน ผมไม่ได้เพิ่งเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงปี 2540 หลังวิกฤติเศรษฐกิจ  ผม “เล่นหุ้น” มานานก่อนหน้านั้นเป็นสิบปี การเล่นหุ้นของผมนั้นเป็นเรื่องของการ “เสี่ยงโชค” โดยอาศัยฝีมือในการวิเคราะห์ผลประกอบการระยะสั้นๆ ของกิจการประกอบกับภาวะตลาดหุ้น ผมเล่นหุ้นเพราะต้องการได้กำไรเร็วๆ เงินที่ได้กำไรนั้นผมก็จะเก็บเข้ามาในบัญชีเงินฝากรวมเข้ากับเงินเดือนและรายได้อื่นๆ ที่ผมได้รับ สำหรับผม มันคล้ายๆ กับเงินโบนัสที่จะทำให้ผมมีเงินเก็บเพิ่มเร็วขึ้นและมากขึ้น แต่มันไม่เคยเป็น “ชีวิต” ของผม ผมไม่ต้องการ “เสี่ยง” เงินจำนวนมากในตลาดหุ้น ผมไม่เคยคิดที่จะ “รวย” จากหุ้นหรือตลาดหุ้น ผมคิดว่าถ้าจะรวยก็ต้องมาจากการทำงาน ว่าที่จริงผมไม่เคยคิดที่จะรวยอย่างจริงๆ จังๆ ด้วยซ้ำเพราะผมรู้สึกว่าเวลาของการที่จะร่ำรวยของผมมันผ่านไปแล้วหลังจากที่ผมไปเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา การจบปริญญาเอกนั้นผมคิดว่ามันเป็นปัจจัยที่ลดโอกาสของการที่จะเป็นคนรวยไปมากเนื่องจากข้อแรก มันเสียเวลากับการเรียนมาก และข้อสอง มันทำให้เราไม่กล้าเสี่ยง

​ผมเป็น Value Investor โดยความจำเป็น การเปลี่ยนแปลงจากคนเล่นหุ้นเป็น VI ในช่วงปี 2539-40 นั้นเพื่อความอยู่รอด ไม่ได้หวังรวยเร็วและก็ไม่คิดว่าจะรวย แม้ว่าต่อมาเมื่อเริ่มเห็นผลว่าสามารถทำผลตอบแทนได้ดีโดยมีความเสี่ยงต่ำผมจะเริ่มตั้ง “ความฝัน” ว่าจะรวย แต่ทั้งหมดนั้นก็อิงอยู่กับผลตอบแทนประมาณ 10% ต่อปีเท่านั้น ความรวยที่ผมหวังนั้น มาจากระยะเวลาของการลงทุนที่ยาวมาก คือผมคิดที่จะลงทุนไปจนตายที่ประมาณ 80 ปี ซึ่งโดยวิธีแบบนี้ ทุกคนสามารถรวยได้ถ้ามีความตั้งใจพอและรักษาหลักการลงทุนแบบปลอดภัยสไตล์ VI อย่างมั่นคง

​“ก้าวเล็ก ๆ” ที่ผมเริ่มเดินเข้าไปในตลาดหุ้นโดยเปลี่ยนวิธีการลงทุนเป็นแบบ VI ในปี 2540 นั้น ได้ส่งผลที่ยิ่งใหญ่กับชีวิตของผม ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนนั้นสูงอย่างไม่น่าเชื่อ ผมคิดว่าโชคคงมีส่วนอยู่ไม่น้อย ผมบรรลุเป้าหมายความมั่งคั่งในชีวิตที่เคยตั้งไว้ก่อนเวลา 20 ปี ที่จริงมากกว่าที่ตั้งไว้หลายเท่า นอกจากเงินแล้ว แนวความคิดเรื่อง Value Investment ที่ผมเผยแพร่มาตลอดกว่า 15 ปีได้กลายเป็นแนวความคิดหลักอย่างหนึ่งในตลาดหุ้นไทย คนที่ใช้แนวทางนี้ในการลงทุนต่างก็ทำกำไรได้มากมาย หลายๆ คนนั้นรวยเป็นเศรษฐีตั้งแต่อายุไม่ถึง 40 ปีจากการลงทุนแบบ VI และนั่นทำให้คนจำนวนมากต่างก็มุ่งหน้าสู่ตลาดหุ้น

​ประเด็นก็คือ คนที่เพิ่งเริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงนี้ต่างก็มักจะก้าวเข้ามาด้วย “ก้าวที่ยิ่งใหญ่” เพียงไม่กี่เดือนหรืออาจจะเพียงปีหรือสองปีเขาก็คิดไปถึงวันที่ตนเองจะรวยเป็นเศรษฐีที่คนทำงานหรือผู้ประกอบการอาจจะต้องใช้เวลาเป็นหลายสิบปี พวกเขาคงคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเร็วๆ นี้และผลตอบแทนที่เขาทำได้ในช่วงสั้นๆ ที่ผ่านมาจะดำเนินต่อไปอีกนานเท่านานซึ่งทำให้เขารวยได้แม้ว่าจะเริ่มด้วยเงินลงทุนที่ไม่มาก แต่นี่จะเป็นจริงหรือ? ส่วนตัวผมเองคิดว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา อาจจะซักประมาณ 10 ปีที่ผ่านมานี้เป็นช่วงเวลา “พิเศษ” สำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น VI ไทยที่สามารถสร้างผลตอบแทนในระดับที่นักลงทุนทั้งโลก “อิจฉา” แต่สิ่งนี้คงไม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ และต่อเนื่องยาวนาน ผมเชื่อว่าช่วงเวลาพิเศษนี้น่าจะใกล้จบลงและตลาดหุ้นไทยและ VI จะกลับมาสู่ภาวะปกติ ดังนั้น ผมคิดว่าคนที่กำลังเข้ามาในตลาดหุ้นควรที่จะรักษา “ก้าว” ที่จะเข้ามาในตลาดให้เป็น “ก้าวเล็ก ๆ” คืออย่าหวังผลเลิศเกินไป และถ้าทำได้แบบนี้ มันก็จะกลายเป็น “ก้าวที่ยิ่งใหญ่” ในชีวิตในอนาคต 
[/size]
"Become a risk taker, not a risk maker"
โพสต์โพสต์