"น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 156
- ผู้ติดตาม: 0
"น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
โพสต์ที่ 1
updated: 18 มี.ค. 2556 เวลา 14:36:34 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีข่าวใหญ่ในแวดวงพลังงานข่าวหนึ่ง นั่นคือถ้อยแถลงของ "จ็อกเม็ค" หรือ "บรรษัทน้ำมันก๊าซและโลหะแห่งญี่ปุ่น" ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบด้านพลังงานของประเทศว่า ประสบความสำเร็จในการแยกก๊าซธรรมชาติออกมาจากแหล่ง "มีเทน ไฮเดรท" บริเวณนอกชายฝั่งของประเทศญี่ปุ่นเอง
ข่าวนี้เป็นข่าวสำคัญไม่เพียงแต่เฉพาะต่อญี่ปุ่นที่จะมีแหล่งพลังงานเป็นของตัวเองเป็นครั้งแรกเท่านั้น แต่ยังเป็นข่าวสำคัญของวงการพลังงานโลก เพราะอุตสาหกรรมพลังงานพยายามคิดค้นหาวิธีการแยกก๊าซจากมีเทน ไฮเดรท มานานแ
ล้วแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในระดับอุตสาหกรรม
หลายคนอาจรับรู้ข่าวนี้ด้วยความงุนงง เนื่องจากเทคโนโลยีในการแยกก๊าซธรรมชาตินั้นมีใช้กันมาเนิ่นนานแล้ว ข้อเท็จจริงก็คือ "มีเทน ไฮเดรท" นั้นไม่ได้อยู่ในสภาวะ "ก๊าซ" ในธรรมชาติ แต่อยู่ในสภาพพิเศษกว่าก๊าซธรรมชาติที่พบและใช้กันอยู่ในเวลานี้
"มีเทน ไฮเดรท" มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง บ้างเรียกว่า "น้ำแข็งไฟ" บางทีก็ใช้คำว่า "ไฮโดรมีเทน" หรือ "มีเทน ไอซ์" เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติของก๊าซมีเทน ก๊าซติดไฟ ไร้สี ไร้กลิ่น (สูตรทางเคมีคือ ซีเอช 4) กระบวนการเกิดก็เป็นเช่นเดียวกันกับพลังงานฟอสซิลทั้งหลาย คือ เริ่มต้นจากการล้มตายของสัตว์และพืชในทะเลแล้วตกตะกอนทับถมกันบริเวณพื้นมหาสมุทร ปิดทับด้วยโคลนเลนและอื่นๆ ขณะเน่าเปื่อย ที่จะเพิ่มแรงกดดันต่ออินทรียสารที่เน่าเปื่อยไปตามกาลเวลานี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประกอบกับอุณหภูมิที่เพิ่มมากขึ้นทำให้คาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต แตกตัวออก กลายเป็นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
แต่ "มีเทน ไฮเดรท" จะเกิดขึ้นในสภาพที่ตะกอนที่สะสมมีความหนาพอเหมาะ คือราว 500 เมตร วัดจากพื้นผิวของมหาสมุทร ซึ่งนอกจากจะมีแรงดันสูงแล้วยังมีอุณหภูมิต่ำในระดับใกล้ศูนย์องศาตลอดเวลา ทำให้โมเลกุลของมีเทนถูกกักอยู่ในโมเลกุลของน้ำที่จับตัวเป็นของแข็ง
การนำเอา "มีเทน ไฮเดรท" ขึ้นมาใช้งานจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในทันทีที่แรงดันเปลี่ยนแปลง หรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง น้ำแข็งจะละลาย ก๊าซก็จะหลุดรอดออกมาหนีหายไปในทันที ผู้เชี่ยวชาญบางคนเคยเปรียบเทียบเอาไว้ว่า เหมือนกับการตักน้ำจากบ่อด้วยถังรั่วนั่นเอง
โดยหลักการแล้ว การนำเอาก๊าซมีเทนที่อยู่ในรูปของ มีเทน ไฮเดรท ขึ้นมาใช้ทำได้ 2 ทาง ทางหนึ่งคือ เพิ่มอุณหภูมิของพื้นที่นั้นๆ ขึ้น อีกทางหนึ่งก็คือ ลดแรงกดดัน (หรือที่เรียกกันว่า ดีคอมเพรสชั่น) ลง ที่จะทำให้ก๊าซหนีออกจากก้อนน้ำแข็ง แล้วรวบรวมเข้าสู่โรงแยก เพื่อส่งต่อผ่านท่อไปใช้งานอีกต่อหนึ่ง
จ็อกเม็ค แถลงสั้นๆ เพียงว่า ผู้เชี่ยวชาญของตนใช้วิธีการดีคอมเพรสชั่นแต่ไม่ได้ให้รายละเอียดมากมายไปกว่านั้น
ในทางปฏิบัติแล้ว ความยุ่งยากและอันตรายของการนำเอา มีเทน ไฮเดรท มาใช้ ไม่ได้มีปัญหาแค่เรื่องการนำก๊าซออกมาเท่านั้น แต่ยังมีอันตรายอีกหลายอย่างที่ต้องพิจารณาควบคู่ไปด้วย แรกสุดคือ มีเทน ไฮเดรท เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยหนุนให้พื้นทะเลมั่นคง การเปลี่ยนสภาพของมันอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นทำให้เกิด "แลนด์สไลด์" ขึ้นกับพื้นมหาสมุทร ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอย่างรุนแรงแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อภาวะนิเวศวิทยาทางทะเลอย่างรุนแรงด้วย
ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันว่าในกรรมวิธีของ จ็อกเม็ค นั้น นอกจากจะใช้วิธีลดแรงกดดันเพื่อนำก๊าซออกมาใช้งานแล้วยังต้องมีกรรมวิธีบางประการในการอัด "คาร์บอนไดออกไซด์" เข้าไปแทนที่ "มีเทน ไฮเดรท" เหมือนอย่างที่เคยทดลองร่วมกับสหรัฐอเมริกา เมื่อต้นปี 2012 ที่ผ่านมาด้วย
ถัดมา กระบวนการนำก๊าซจากมีเทน ไฮเดรท มาใช้นั้น ต้องมีประสิทธิภาพสูงมาก เพื่อลดปริมาณก๊าซที่จะรั่วไหลสู่บรรยากาศให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ เพราะมีเทนในชั้นบรรยากาศนั้น กลายเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์เสียอีก และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เป็นกังวลกันว่าการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก อาจเร่งให้โลกร้อนขึ้นเร็วกว่าที่คาดหมายไว้มากอีกด้วย
ความสำเร็จของญี่ปุ่นหากได้รับการยืนยันประสิทธิภาพจริงๆ จะทำให้มีเทน ไฮเดรท กลายเป็นอนาคตพลังงานของมนุษยชาติได้ เพราะมีเทน ไฮเดรท มีความเข้มข้นของมีเทนสูง ถ้าละลายมีเทน ไฮเดรท 1 คิวบิกเมตร จะได้ก๊าซมีเทนถึง 160 คิวบิกเมตร
ทั่วโลกมีมีเทนที่อยู่ในสภาพก๊าซตามธรรมชาติอยู่ 368 ล้านล้านคิวบิกเมตร แต่มี มีเทน ไฮเดรท อยู่มากถึง "8.5 ล้านล้านล้าน" คิวบิกเมตรเลยทีเดียว
ที่มานสพ.มติชน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีข่าวใหญ่ในแวดวงพลังงานข่าวหนึ่ง นั่นคือถ้อยแถลงของ "จ็อกเม็ค" หรือ "บรรษัทน้ำมันก๊าซและโลหะแห่งญี่ปุ่น" ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบด้านพลังงานของประเทศว่า ประสบความสำเร็จในการแยกก๊าซธรรมชาติออกมาจากแหล่ง "มีเทน ไฮเดรท" บริเวณนอกชายฝั่งของประเทศญี่ปุ่นเอง
ข่าวนี้เป็นข่าวสำคัญไม่เพียงแต่เฉพาะต่อญี่ปุ่นที่จะมีแหล่งพลังงานเป็นของตัวเองเป็นครั้งแรกเท่านั้น แต่ยังเป็นข่าวสำคัญของวงการพลังงานโลก เพราะอุตสาหกรรมพลังงานพยายามคิดค้นหาวิธีการแยกก๊าซจากมีเทน ไฮเดรท มานานแ
ล้วแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในระดับอุตสาหกรรม
หลายคนอาจรับรู้ข่าวนี้ด้วยความงุนงง เนื่องจากเทคโนโลยีในการแยกก๊าซธรรมชาตินั้นมีใช้กันมาเนิ่นนานแล้ว ข้อเท็จจริงก็คือ "มีเทน ไฮเดรท" นั้นไม่ได้อยู่ในสภาวะ "ก๊าซ" ในธรรมชาติ แต่อยู่ในสภาพพิเศษกว่าก๊าซธรรมชาติที่พบและใช้กันอยู่ในเวลานี้
"มีเทน ไฮเดรท" มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง บ้างเรียกว่า "น้ำแข็งไฟ" บางทีก็ใช้คำว่า "ไฮโดรมีเทน" หรือ "มีเทน ไอซ์" เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติของก๊าซมีเทน ก๊าซติดไฟ ไร้สี ไร้กลิ่น (สูตรทางเคมีคือ ซีเอช 4) กระบวนการเกิดก็เป็นเช่นเดียวกันกับพลังงานฟอสซิลทั้งหลาย คือ เริ่มต้นจากการล้มตายของสัตว์และพืชในทะเลแล้วตกตะกอนทับถมกันบริเวณพื้นมหาสมุทร ปิดทับด้วยโคลนเลนและอื่นๆ ขณะเน่าเปื่อย ที่จะเพิ่มแรงกดดันต่ออินทรียสารที่เน่าเปื่อยไปตามกาลเวลานี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อประกอบกับอุณหภูมิที่เพิ่มมากขึ้นทำให้คาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต แตกตัวออก กลายเป็นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
แต่ "มีเทน ไฮเดรท" จะเกิดขึ้นในสภาพที่ตะกอนที่สะสมมีความหนาพอเหมาะ คือราว 500 เมตร วัดจากพื้นผิวของมหาสมุทร ซึ่งนอกจากจะมีแรงดันสูงแล้วยังมีอุณหภูมิต่ำในระดับใกล้ศูนย์องศาตลอดเวลา ทำให้โมเลกุลของมีเทนถูกกักอยู่ในโมเลกุลของน้ำที่จับตัวเป็นของแข็ง
การนำเอา "มีเทน ไฮเดรท" ขึ้นมาใช้งานจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในทันทีที่แรงดันเปลี่ยนแปลง หรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง น้ำแข็งจะละลาย ก๊าซก็จะหลุดรอดออกมาหนีหายไปในทันที ผู้เชี่ยวชาญบางคนเคยเปรียบเทียบเอาไว้ว่า เหมือนกับการตักน้ำจากบ่อด้วยถังรั่วนั่นเอง
โดยหลักการแล้ว การนำเอาก๊าซมีเทนที่อยู่ในรูปของ มีเทน ไฮเดรท ขึ้นมาใช้ทำได้ 2 ทาง ทางหนึ่งคือ เพิ่มอุณหภูมิของพื้นที่นั้นๆ ขึ้น อีกทางหนึ่งก็คือ ลดแรงกดดัน (หรือที่เรียกกันว่า ดีคอมเพรสชั่น) ลง ที่จะทำให้ก๊าซหนีออกจากก้อนน้ำแข็ง แล้วรวบรวมเข้าสู่โรงแยก เพื่อส่งต่อผ่านท่อไปใช้งานอีกต่อหนึ่ง
จ็อกเม็ค แถลงสั้นๆ เพียงว่า ผู้เชี่ยวชาญของตนใช้วิธีการดีคอมเพรสชั่นแต่ไม่ได้ให้รายละเอียดมากมายไปกว่านั้น
ในทางปฏิบัติแล้ว ความยุ่งยากและอันตรายของการนำเอา มีเทน ไฮเดรท มาใช้ ไม่ได้มีปัญหาแค่เรื่องการนำก๊าซออกมาเท่านั้น แต่ยังมีอันตรายอีกหลายอย่างที่ต้องพิจารณาควบคู่ไปด้วย แรกสุดคือ มีเทน ไฮเดรท เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยหนุนให้พื้นทะเลมั่นคง การเปลี่ยนสภาพของมันอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นทำให้เกิด "แลนด์สไลด์" ขึ้นกับพื้นมหาสมุทร ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอย่างรุนแรงแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อภาวะนิเวศวิทยาทางทะเลอย่างรุนแรงด้วย
ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันว่าในกรรมวิธีของ จ็อกเม็ค นั้น นอกจากจะใช้วิธีลดแรงกดดันเพื่อนำก๊าซออกมาใช้งานแล้วยังต้องมีกรรมวิธีบางประการในการอัด "คาร์บอนไดออกไซด์" เข้าไปแทนที่ "มีเทน ไฮเดรท" เหมือนอย่างที่เคยทดลองร่วมกับสหรัฐอเมริกา เมื่อต้นปี 2012 ที่ผ่านมาด้วย
ถัดมา กระบวนการนำก๊าซจากมีเทน ไฮเดรท มาใช้นั้น ต้องมีประสิทธิภาพสูงมาก เพื่อลดปริมาณก๊าซที่จะรั่วไหลสู่บรรยากาศให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ เพราะมีเทนในชั้นบรรยากาศนั้น กลายเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์เสียอีก และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เป็นกังวลกันว่าการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก อาจเร่งให้โลกร้อนขึ้นเร็วกว่าที่คาดหมายไว้มากอีกด้วย
ความสำเร็จของญี่ปุ่นหากได้รับการยืนยันประสิทธิภาพจริงๆ จะทำให้มีเทน ไฮเดรท กลายเป็นอนาคตพลังงานของมนุษยชาติได้ เพราะมีเทน ไฮเดรท มีความเข้มข้นของมีเทนสูง ถ้าละลายมีเทน ไฮเดรท 1 คิวบิกเมตร จะได้ก๊าซมีเทนถึง 160 คิวบิกเมตร
ทั่วโลกมีมีเทนที่อยู่ในสภาพก๊าซตามธรรมชาติอยู่ 368 ล้านล้านคิวบิกเมตร แต่มี มีเทน ไฮเดรท อยู่มากถึง "8.5 ล้านล้านล้าน" คิวบิกเมตรเลยทีเดียว
ที่มานสพ.มติชน
แรงผลักดันราคาหุ้น
1.โดยปัจจัยพื้นฐานความก้าวหน้าของกิจการ
2.จากปัจจัยทางด้านอารมณ์ของนักลงทุนในตลาด
การเข้าใจแรงผลักดันประเด็นแรก การลงทุนก็ประสบความสำเร็จ
แต่การเข้าใจทั้งสองประเด็น จะทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จยิ่งกว่า by โจลูกอีสาน
1.โดยปัจจัยพื้นฐานความก้าวหน้าของกิจการ
2.จากปัจจัยทางด้านอารมณ์ของนักลงทุนในตลาด
การเข้าใจแรงผลักดันประเด็นแรก การลงทุนก็ประสบความสำเร็จ
แต่การเข้าใจทั้งสองประเด็น จะทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จยิ่งกว่า by โจลูกอีสาน
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: "น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
โพสต์ที่ 2
ที่อยู่ของมีเทนรอบนี้
มันอยู่ใต้ทะเลลึกมิใช่หรือ
ถ้าไม่ลึก มีเทน จะละเหยเป็นก๊าซ ไม่มีวันที่รวมกับน้ำได้
ที่รวมได้อยู่ภายใต้แรงกดดันอันมหาศาลจากน้ำทะเลลึก
เดี๋ยวจะเป็นแบบหินน้ำมันที่เจอปัญหาขุดเจาะไม่ได้เพราะขาดแคลน้ำ
อันนี้ขุดมิได้ เพราะลึกเกินไป
มันอยู่ใต้ทะเลลึกมิใช่หรือ
ถ้าไม่ลึก มีเทน จะละเหยเป็นก๊าซ ไม่มีวันที่รวมกับน้ำได้
ที่รวมได้อยู่ภายใต้แรงกดดันอันมหาศาลจากน้ำทะเลลึก
เดี๋ยวจะเป็นแบบหินน้ำมันที่เจอปัญหาขุดเจาะไม่ได้เพราะขาดแคลน้ำ
อันนี้ขุดมิได้ เพราะลึกเกินไป
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
โพสต์ที่ 3
ไม่ลึกไปหรอกครับ ไม่เกิน 2km ของ Petrobras มี pre salt deepwater น่าจะมากกว่า 10 km ครับ หลักๆพวกนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนครับ ถ้าราคาน้ำมันหรือ gas ไม่ถึงจุดคุ้มทุนก็ไม่มีคนทำอยู่ดีครับmiracle เขียน:ที่อยู่ของมีเทนรอบนี้
มันอยู่ใต้ทะเลลึกมิใช่หรือ
ถ้าไม่ลึก มีเทน จะละเหยเป็นก๊าซ ไม่มีวันที่รวมกับน้ำได้
ที่รวมได้อยู่ภายใต้แรงกดดันอันมหาศาลจากน้ำทะเลลึก
เดี๋ยวจะเป็นแบบหินน้ำมันที่เจอปัญหาขุดเจาะไม่ได้เพราะขาดแคลน้ำ
อันนี้ขุดมิได้ เพราะลึกเกินไป
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: "น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
โพสต์ที่ 4
มีการ์ตูนเรื่องหนึ่ง คือ "ยุทธการหยุดตะวัน" เขียนเกี่ยวกับญี่ปุ่นมีพลังงานอันหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ทะเล แต่ยังไม่เอาออกมาใช้งานSumotin เขียน:ไม่ลึกไปหรอกครับ ไม่เกิน 2km ของ Petrobras มี pre salt deepwater น่าจะมากกว่า 10 km ครับ หลักๆพวกนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนครับ ถ้าราคาน้ำมันหรือ gas ไม่ถึงจุดคุ้มทุนก็ไม่มีคนทำอยู่ดีครับmiracle เขียน:ที่อยู่ของมีเทนรอบนี้
มันอยู่ใต้ทะเลลึกมิใช่หรือ
ถ้าไม่ลึก มีเทน จะละเหยเป็นก๊าซ ไม่มีวันที่รวมกับน้ำได้
ที่รวมได้อยู่ภายใต้แรงกดดันอันมหาศาลจากน้ำทะเลลึก
เดี๋ยวจะเป็นแบบหินน้ำมันที่เจอปัญหาขุดเจาะไม่ได้เพราะขาดแคลน้ำ
อันนี้ขุดมิได้ เพราะลึกเกินไป
แต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดคือ แผ่นดินไหวทำให้ญี่ปุ่นแยกเป็นสองประเทศ โดยทางเหนือควบคุมโดยรัสเซีย ทางใต้ควบคุมโดยอเมริกา
ลองไปหาอ่านดูครับ ผมรอภาคสองอยู่ละครับ
เข้าเรื่องต่อ อันนี้เป็นความรู้ใหม่เลยว่า อยู่ลึกแค่ 2km แต่จริงๆมันอยู่ลึกเท่าไรหนอ
ถ้า 2km แล้วขุดลงไปต่อก็ต้องพิจารณาต่อละ
-
- Verified User
- โพสต์: 1904
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
โพสต์ที่ 5
ข่าวร้ายของพวกกลุ่มพลังงานฟอสซิล
แต่ผมว่าถ้ามันลำบากนักก็หันมาเร่งพลังงานจากพืชหมุนเวียนหรือโซล่าหรือลม จะดีกว่ามั้ยครับ ลดประชากรกันลงบ้างก็ดี คนมากก็ใช้ทรัพยากรมากแค่นี้โลกก็อากาศแปรปรวนซะร้อนตับแตกแล้ว
แต่ผมว่าถ้ามันลำบากนักก็หันมาเร่งพลังงานจากพืชหมุนเวียนหรือโซล่าหรือลม จะดีกว่ามั้ยครับ ลดประชากรกันลงบ้างก็ดี คนมากก็ใช้ทรัพยากรมากแค่นี้โลกก็อากาศแปรปรวนซะร้อนตับแตกแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: "น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
โพสต์ที่ 6
ข่าวนี้ไปซ้ำเติมถ่านหินมากกว่า
แต่อย่าไง ถ้ามองคือ มีเทน ไอซ์ ยังคงเพิ่งเริ่ม
หินน้ำมันเริ่มไปแล้ว แต่ได้เพราะพื้นที่มีน้ำ ไม่มีน้ำยังคงต้องหาทางทำกันต่อไป
เพื่อไม่กระทบต่อพื้นดินข้างบน
ส่วนพลังงานลม ได้แค่บางพื้นที่
พลังงานแดด เครื่องหมายคำถามอยู่ ถึงความยั่งยืนของตัวแผงที่ใช้
พลังงานน้ำ อันนี้ได้แต่เขื่อน ส่วนที่ได้จากการขึ้นลงของน้ำทะเล ข้อจำกัดที่บริเวณที่สามารถผลิตได้
รอดูกันต่อไป
แต่อย่าไง ถ้ามองคือ มีเทน ไอซ์ ยังคงเพิ่งเริ่ม
หินน้ำมันเริ่มไปแล้ว แต่ได้เพราะพื้นที่มีน้ำ ไม่มีน้ำยังคงต้องหาทางทำกันต่อไป
เพื่อไม่กระทบต่อพื้นดินข้างบน
ส่วนพลังงานลม ได้แค่บางพื้นที่
พลังงานแดด เครื่องหมายคำถามอยู่ ถึงความยั่งยืนของตัวแผงที่ใช้
พลังงานน้ำ อันนี้ได้แต่เขื่อน ส่วนที่ได้จากการขึ้นลงของน้ำทะเล ข้อจำกัดที่บริเวณที่สามารถผลิตได้
รอดูกันต่อไป
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: "น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
โพสต์ที่ 7
^^^
ตกรายการใหญ่ไปหนึ่งรายการครับ. Shale Gas
เรื่องนี้ มีขึ้นปก ของ the Economists ด้วยนะครับ
ปีที่แล้วมั้ง
ตกรายการใหญ่ไปหนึ่งรายการครับ. Shale Gas
เรื่องนี้ มีขึ้นปก ของ the Economists ด้วยนะครับ
ปีที่แล้วมั้ง
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
โพสต์ที่ 8
[แนะนำ] มีเทนไฮเดรต (Methane hydrate) ตัวเลือกพลังงานในอนาคต แต่ต้องคิดถึงสิ่งแวดล้อม
มีเทนไฮเดรต เป็นสารประกอบมีเทนลักษณะคล้ายน้ำแข็งแห้ง พบบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำและมีแรงกดดันสูง เช่น ใต้ทะเลลึก หรือบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก
ก้อนมีเทนไฮเดรตที่พบจะเย็นจัดเหมือน้ำแข็ง และสามารถจุดติดไฟ ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงได้
ญี่ปุ่น (2556) ประสบความสำเร็จในการสกัดแก๊สธรรมชาติจากผลึกมีเทนไฮเดรต "นอกชายฝั่ง" ภาคกลางของประเทศได้เป็นครั้งแรกของโลก
คาดการณ์ว่าน่าจะมีปริมาณมีเทนไฮเดรตจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วโลก แต่ถ้านำมาใช้เผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้
ข้อมูลเพิ่มเติม
1) http://woodshole.er.usgs.gov/project-pa ... rimer.html
2) http://www.npr.org/2013/03/15/174336812 ... w-gas-boom
[แนะนำ] เยี่ยมชมห้องทดลองก๊าซไฮเดรต (gas hydrates) ก๊าซธรรมชาติจากก้อนน้ำแข็งจากใต้พื้นมหาสมุทรและใต้ชั้นดินที่เย็นมาก ก้อนน้ำแข็งที่เต็มไปด้วยก๊าซมีเทนนี้อาจเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ให้ความอบอุ่นภายในบ้านเรือน และแหล่งพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม ในอนาคต - USGS
http://www.youtube.com/watch?v=U46XOoU0DrM
สนใจรับชมข้อมูลทางธรณีวิทยา การสำรวจแหล่งพลังงาน และแร่ธาตุได้ที่ http://geothai.net/gneiss/ หรือที่
http://www.facebook.com/GeoThai ครับ
Cr. Geothai.net
มีเทนไฮเดรต เป็นสารประกอบมีเทนลักษณะคล้ายน้ำแข็งแห้ง พบบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำและมีแรงกดดันสูง เช่น ใต้ทะเลลึก หรือบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก
ก้อนมีเทนไฮเดรตที่พบจะเย็นจัดเหมือน้ำแข็ง และสามารถจุดติดไฟ ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงได้
ญี่ปุ่น (2556) ประสบความสำเร็จในการสกัดแก๊สธรรมชาติจากผลึกมีเทนไฮเดรต "นอกชายฝั่ง" ภาคกลางของประเทศได้เป็นครั้งแรกของโลก
คาดการณ์ว่าน่าจะมีปริมาณมีเทนไฮเดรตจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วโลก แต่ถ้านำมาใช้เผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้
ข้อมูลเพิ่มเติม
1) http://woodshole.er.usgs.gov/project-pa ... rimer.html
2) http://www.npr.org/2013/03/15/174336812 ... w-gas-boom
[แนะนำ] เยี่ยมชมห้องทดลองก๊าซไฮเดรต (gas hydrates) ก๊าซธรรมชาติจากก้อนน้ำแข็งจากใต้พื้นมหาสมุทรและใต้ชั้นดินที่เย็นมาก ก้อนน้ำแข็งที่เต็มไปด้วยก๊าซมีเทนนี้อาจเป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ให้ความอบอุ่นภายในบ้านเรือน และแหล่งพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม ในอนาคต - USGS
http://www.youtube.com/watch?v=U46XOoU0DrM
สนใจรับชมข้อมูลทางธรณีวิทยา การสำรวจแหล่งพลังงาน และแร่ธาตุได้ที่ http://geothai.net/gneiss/ หรือที่
http://www.facebook.com/GeoThai ครับ
Cr. Geothai.net
" ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา....
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินให้ไปถึงฝัน เท่านั้นพอ"
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินให้ไปถึงฝัน เท่านั้นพอ"
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
โพสต์ที่ 9
Methane hydrate ผมว่ายังเป็นอนาคตอีกไกลครับต้องดูต้นทุนว่า competitive หรือเปล่าด้วย เพราะจริงๆอเมริกาก็มีเยอะเหมือนกัน ตัวที่สำคัญและมาในไม่เกิน 3 ปีนี้ก็คือ Shale Gas แหละครับ โดยประเทศที่ได้รับผลดีสุดคือ USA เพราะมีโครงสร้างของท่อก๊าซที่พร้อมที่สุด จริงๆจีนมีเยอะเหมือนกันแต่โครงสร้างพื้นฐานสู้ไม่ได้ครับต้องขยายให้ครอบคลุมอีกเยอะ และการมาของ Shale gas จะทำให้ราคาก๊าซในประเทศ US ต่ำต่อไป จริงๆแล้วราคาก๊าซใน US เริ่มต่ำลงตั้งแต่ปี 2005 แล้วจากการเริ่มของ shale gas ในบ้างพื้นที่ นอกจากก๊าซที่เพิ่มขึ้นนี้ยังไปช่วงอุตสหกรรมต่อเนื่องของ US พวก Petrochem ต่างๆด้วย ถ้าตามข่าวดูมีหลายๆบริษัทไปลงทุนใน US แล้ว เพราะต้นทุนมันจะถูกกว่าที่อื่นยกเว้น middle east ที่ยังเป็นที่ที่ถูกที่สุดอยู่ดี
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- Verified User
- โพสต์: 79
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
โพสต์ที่ 10
แต่ผมว่ากว่าจะได้ใช้งานจริงคงอีกหลายปีอยู่อะครับ
เพราะความรู้สึกอคติของผมคือ บริษัทพลังงานปัจจุบันคงไม่ยอมเสียผลประโยชน์จากปิโตเลียมที่ตัวเองกุมอยู่
คงรอจนใช้ได้เกือบหมดแล้วค่อยไปกดดันครอบครองพลังงานทางเลือกอื่นๆต่อไป
เพราะความรู้สึกอคติของผมคือ บริษัทพลังงานปัจจุบันคงไม่ยอมเสียผลประโยชน์จากปิโตเลียมที่ตัวเองกุมอยู่
คงรอจนใช้ได้เกือบหมดแล้วค่อยไปกดดันครอบครองพลังงานทางเลือกอื่นๆต่อไป
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 156
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "น้ำแข็งไฟ" อนาคตพลังงานของมนุษยชาติ
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณครับสำหรับทุกคอมเม้นท์
ทึ่งกับความรู้ของแต่ละท่านมากครับ
ทึ่งกับความรู้ของแต่ละท่านมากครับ
แรงผลักดันราคาหุ้น
1.โดยปัจจัยพื้นฐานความก้าวหน้าของกิจการ
2.จากปัจจัยทางด้านอารมณ์ของนักลงทุนในตลาด
การเข้าใจแรงผลักดันประเด็นแรก การลงทุนก็ประสบความสำเร็จ
แต่การเข้าใจทั้งสองประเด็น จะทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จยิ่งกว่า by โจลูกอีสาน
1.โดยปัจจัยพื้นฐานความก้าวหน้าของกิจการ
2.จากปัจจัยทางด้านอารมณ์ของนักลงทุนในตลาด
การเข้าใจแรงผลักดันประเด็นแรก การลงทุนก็ประสบความสำเร็จ
แต่การเข้าใจทั้งสองประเด็น จะทำให้การลงทุนประสบความสำเร็จยิ่งกว่า by โจลูกอีสาน