การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 428
ผู้ติดตาม: 0

การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

นโยบายรัฐบาลที่มีผลกระทบอย่างแรง ต่อการบริโภคในประเทศ มี 3 นโยบาย
1.รถคันแรก น่าจะมีการซื้อรถเพราะนโยบายนี้ประมาณ 5-6 แสนคัน (คนจะไม่ซื้อถ้าไม่มีนโยบายนี้)
รถ 5-6แสนคัน ผ่อน ประมาณ 4 ปี ค่าน้ำมัน ดอกเบี้ย ประกัน รายจ่ายประมาณเดือนละ 1 หมื่นล้านบาท
เป็นอย่างต่ำ สรุป นโยบายนี้มีผลทำให้ คนไทยใช้เงินไปกับนโยบายนี้ เดือนละ ประมาณ 1หมืนล้านบาท
2.จำเนาข้าวทุกเม็ด เงินน่าจะอยู่ในสต๊อคข้าวประมาณ 6 แสนล้านบาท นโยบายนี้ทำให้ประเทศ
มีข้าวเต็มโกดัง แทนจะส่งออกเปลี่ยนเป็นเงิน ดูเผินๆ ไม่น่ามีผลกระทบต่อเงินของเอกชน
แต่จริงๆมีผลกระทบแล้ว เพราะ เงินรัฐบาลไปจมกับสต๊อคข้าว ประมาณ 6 แสนล้านบาท
และยังต้องมีรายจ่าย ค่าเช่าโกดัง ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมของข้าว อีก ปีละไม่น้อยกว่าแสนล้านบาท
ทำให้รัฐบาลมีเงินใช้จ่ายน้อยลงไป ปีละมากกว่าแสนล้านบาท ส่วนรายได้ ของชาวนานั้น
เพิ่มขึ้นมานิดเดียว แม้โครงการนี้จะไม่มีการโกงเลย และชาวนาได้เต็มๆ เงิน ก็ยังหายไปจากระบบอยู่ดี
จาก ค่าเสื่อมข้าว ค่าเก็บรักษาค่าบริหาร ดอกเบี้ย เพราะถ้าไม่มีนโยบายนี้ ข้าวทุกเม็ดก็จะถูกส่งออกไปหมดแล้ว
3. ค่าแรงวันละ 300 บาท ผมเห็นด้วยกับนโยบายนี้
การบริโภคในประเทศจึงลดลงอย่าน่ากลัว และน่าจะมีผลกระทบต่อหุ้นประเภทโดเมสติคเพล์
ซึ่งผลประกอบการ bigc makro cpall ไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น
ภาพประจำตัวสมาชิก
Jazzman
Verified User
โพสต์: 388
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมขอเพิ่มข้อ 4
4.หุ้นลง น่าจะทำให้การบริโภคลดลง อันนี้พูดจริงนะครับ เพราะจะเห็นว่าตลาดหุ้นในตอนนี้ไม่ได้มีแต่วัยดึกๆแล้ว
ตอนนี้มีทั้งเด็ก นักเรียน นักศึกษา พี่ป้าน้าอา พ่อแม่ อากง อาม่า หันมาลงทุนในตลาดหุ้นเยอะ ยิ่งในช่วงตลาดบูม
นะตอนนี้ผลตอบแทนหลายๆคนน่าจะลดไปมาก คนขาดทุนก็เยอะฺกำลังซื้อหายไปแน่นอนครับ คอยดูถ้าตลาดเป็นหมี น่าจะเห็น effect เยอะขึ้น และน่าจะฉุดกำลังซื้อลงไปส่วนนึงเลยทีเดียวครับ
ลงทุนในสิ่งที่เพิ่ม " ค่า " ไปเรื่อยๆ
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 428
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อย่าว่าอย่างโน้นอย่างนี้เลย
ตอนนี้ ผมเริ่มกลัวเรื่องข้าว มีสารปนเปื้อน
เพราะ ตอนนี้ประเทศมีสต๊อคข้าวสูงมาก
ยาฆ่ามอด ฆ่ารา จึงใช้มากกว่าปกติ
เพราะเราต้องเก็บข้าวไว้นาน
และปริมาณข้าวมีมหาศาลในไซโล
มีมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน จะเห็นว่าข้าวนั้น
ต้องกองเป็นเพนินสูงมาก
ถ้าใช้ยาในปริมาณปกติ ข้าวที่อยู่ล่างๆ ก็จะเน่า
ถ้าไม่ให้ข้าวทั้งไซโลเน่า ก็ต้องใช้ยามากกว่าปกติมาก
ซึ่งก็เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ปัญหานี้ อาจจะใหญ่กว่า มีต้นทุนสูงกว่า ข้าวทั้งหมดที่มี คือ 6แสนล้านบาท (40ล้านตัน)ก็ได้
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4254
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 4

โพสต์

^^
เรื่องจริงครับ ระมัดระวังกันหน่อย ...
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ดีแล้วที่มีคนตั้งกระทู้นี้
ผลเห็นมาระยะหนึ่ง ภาพค่อยๆชัดขึ้นๆเรื่อยๆ
1 ยอดการใช้บัตรเครดิตลดลง เดือน มีค-เมย 2556
2 yield ของผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ตอนต้นเดือนนี้ (มิย 2556)
3 เมื่อสองวันก่อน ยอดเช็คเด้ง
4 บริษัทประกันปิดตัว เมื่อ 16 พค 2556 ถึงจะเล็ก ก็เป็นตัวบ่งชี้
5 ธนาคารมีปัญหา ทั้ง ibank กับอีกแห่งของรัฐ
และอีกแห่งที่เกี่ยวกับจำนำข้าว
6 การลดเงินจำนำข้าวลง เหลือ 12,000 บาทต่อตัน และครอบครัวละไม่เกิน 500,000 บาท
7 ค่าเงินบาทที่อ่อนแบบรวดเร็ว ขนาดลดดอดเบี้ยท0.25% จาก 28-29 บาทต่อดอลล่าี์ ตอนนี้ไป 30-31 บาทต่อดอลล่าร์
8 การลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (new low แล้ว new low อีก)
9 นายธนาคาร มองว่า ดอกเบี้ยควรเพิ่มไม่ควรลด ทำให้การส่งผ่านนโยบายการเงินไม่ทำงาน

ที่ผมมีข้อมูลอยู่ในมือ ณ ตอนนี้
บางตัวบ่งชี้ว่า พายุขนาดใหญ่ก่อตัวมาซักพักแล้ว
แต่ มองไม่เห็นกัน มุ่งแต่ ภาพสวยงาม จนละเลย
ดูอีกด้าน เชียร์ให้ลดดอกเบี้ย สุดท้าย มันม่ายช่ายทางออก
แถมโดนพญาอินทรีย์ ลด QE จนตั้งเงื่อนไขจนโครงการ
ซึ่งเงิน QE นั้น ออกสร้างกำไรให้แก่ มนุษย์ทองคำในย่าน wall street
โดยเอาเงินซื้อกด yield curve ตรงๆ ทำให้ คนที่ถือครองมีทิซทางเดียว คือราคาขึ้นตลอด
ราคาลดลงก็มีคนรับตลอดทาง ขายเวลาไหนก็กำไร ภาพนี้ตอนออก
ตอนนี้ เมื่องานเลี้ยงเลิก มันจะเป็นภาพจาการเทกระจาด คือ คนซื้อคือใคร คนขายก็ขายตลอด
เกิดการตายหมู่ ในตลาดพันธบัตร

ส่วน ทองคำ เมื่อไรที่ ศก ของ พญาอินทรีย์ดี เมื่อนั้น ทองคำเป็นสินทรัพย์ไม่น่าลงทุน
กลับไปเป็น funtional เดิมคือ เครื่องประดับ เท่านั้น

จนแค่นี้ ได้เห็นภาพทั้งในและนอก
:)
:)
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อันนี้ลืม
10 ค่ายรถยนต์ ลดกำลังการผลิต มุ่งทำตลาดส่งออกทดแทนในประเทศ หลังจาก
โครฃการรถคันแรก ที่ทำทางด่วนเป็นที่จอดรถลอยฟ้า
11 ราคาขายของรถมือสองที่ลดลงอย่างน่าใจหาย เนื่องจาก ผลกระทบโครงการรถคันแรก
12 การเพิ่มขึ้นของราคาคอนโดมิเนี่ยม และ ราคาที่ดิน อย่างรวดเร็ว ซึ่งบางคนบอกว่าไม่ใช่ฟองสบู่
แต่ถ้าอะไรที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เวลามันลงก็ดิ่งเหว ซึ่งเป็นฟองสบู่หรือไม่ นั้นตอบเลยไม่มีใครตอบได้ ตอบกันได้เมื่อมันแตกโพร้ง แล้วเท่านั้นในตลาดอสังหาริมทรัพย์

ที่ยังรอดูตัวเลข ซึ่งตัวเลขที่น่ากลัวที่สุด
คือ NPL ถ้า ตัวนี้มา ละก็ คุณ ช้าไปแล้ว เพราะตัวนี้เป็นล่าช้า มิใช่ตัวนำ
แสดงว่า มันแตกไปแล้ว
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
draco
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 230
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ดอกเบี้ยนโยบายสูง ธนาคารจะได้ประโยชน์หรือครับ ผมเข้าใจมาตลอดว่าธนาคารกินส่วนต่าง Spread ระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้ กับดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้ก็น่าจะขึ้นลงตามดอกเบี้ยนโยบาย ดั้งนั้นถ้าดอกเบี้ยนโยบายขึ้น ดอกเบี้ยเงินฝากก็ขึ้น ดอกเบี้ยเงินกู้ก็ขึ้น ถ้าดอกเบี้ยนโยบายลง ดอกเบี้ยเงินฝากก็ลง ดอกเบี้ยเงินกู้ก็ลง ธนาคารควรจะกินส่วนต่างเท่าเดิม แต่ถ้าดอกเบี้ยเงินฝากลง ดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ลง อันนี้ธนาคารกำไรมากขึ้น และถ้าดอกเบี้ยเงินฝากขึ้น ดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ขึ้น อันนี้ธนาคารกำไรน้อยลง (แต่ธนาคารคงไม่ยอมกำไรน้อยลงมั้ง) ผิดถูกยังไงช่วยชี้แนะนะครับ
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 428
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ถ้าประเทศไทย ดอกเบี้ยสูง การหาแหล่งเงินที่ ดอกเบี้ยต่ำกว่าประเทศไทยก็หาง่ายขึ้น
ถ้าดอกเบี้ยต่ำๆ การหาเงินเพื่อจะมาปล่อยต่อก็ยากขึ้นเรื่อยๆ
จะเห็นชัดมากในสมัย เอกยุทธ์ หนุ่มๆ สมัยนั้น ดอกเบี้ย ประเทศไทย 15%-20%
อัตราดอกเบี้ย ในอเมริกา และลอนดอน แค่ 3%-5%
อาชีพ ที่รวยที่สุดคือ นักการเงิน กินส่วนต่างของดอกเบี้ย
เป็นยุคที่ คนที่รวยที่สุดของประเทศไทย 10อันดับแรก คือนายธนาคาร
จะเห็นว่า นายธนาคารทุกคนเชียร์ ให้ bot คงดอกเบี้ยสูงๆไว้
แล้ว หาเหตุมาอธิบาย เป็นตุเป็นตะ ล้วนแต่โกหก
ถ้าลดดอกเบี้ย แล้วธนาคารไม่เสียประโยชน์ นายธนาคารคงไม่มาพูดอะไร
รวมทั้งพวกนักวิชาการด้วย ที่อาจจะได้รับประโยชน์จากธนาคารทางอ้อม
ภาพประจำตัวสมาชิก
neuhiran
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 817
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 9

โพสต์

CARPENTER เขียน:ถ้าประเทศไทย ดอกเบี้ยสูง การหาแหล่งเงินที่ ดอกเบี้ยต่ำกว่าประเทศไทยก็หาง่ายขึ้น
ถ้าดอกเบี้ยต่ำๆ การหาเงินเพื่อจะมาปล่อยต่อก็ยากขึ้นเรื่อยๆ
จะเห็นชัดมากในสมัย เอกยุทธ์ หนุ่มๆ สมัยนั้น ดอกเบี้ย ประเทศไทย 15%-20%
อัตราดอกเบี้ย ในอเมริกา และลอนดอน แค่ 3%-5%
อาชีพ ที่รวยที่สุดคือ นักการเงิน กินส่วนต่างของดอกเบี้ย
เป็นยุคที่ คนที่รวยที่สุดของประเทศไทย 10อันดับแรก คือนายธนาคาร
จะเห็นว่า นายธนาคารทุกคนเชียร์ ให้ bot คงดอกเบี้ยสูงๆไว้
แล้ว หาเหตุมาอธิบาย เป็นตุเป็นตะ ล้วนแต่โกหก
ถ้าลดดอกเบี้ย แล้วธนาคารไม่เสียประโยชน์ นายธนาคารคงไม่มาพูดอะไร
รวมทั้งพวกนักวิชาการด้วย ที่อาจจะได้รับประโยชน์จากธนาคารทางอ้อม
เห็นด้วยอย่างยิ่ง :D :D
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 10

โพสต์

แล้วทำไมรอบนี้ ไม่ลดดอกเบี้ย ตามธปท ละ
มีแค่บางธนาคารลดดอกเบี้ย รายใหญ่เท่านั้น
ตอบหน่อยละกัน

ดุลการค้า เดือน เมย 2556 มีปัญหา
ธปท ใช้ตัวเลขจากหน่วยงานต้นทางผิด
ทำให้ กนง ลดดอกเบี้ย ถ้าตัวเลขถูกจะลดหรือเปล่า

แล้วทำไมอินโดนีเซีย จากลดดอกเบี้ย ทำก่อนเราเป็นเพิ่มดอกเบี้ย

By the way
ก่อนปี 2540 ก่อนจาก LIBOR มาใช้ในประเทศ
ทำไมดอกเบี้ยในประเทศสูง เพราะว่า ศก ดี ขยายตัวมาก อัตราการออมสูง
บริษัทแห่งกู้นอกดอกเบี้ยถูกก็กู้ซิ ใครๆก็ชอบดอกเบี้ยถูก ตอนนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบตระกร้าเงิน แล้วก็ fix rate เปลี่ยนน้อยมาก ทำให้บริษัทที่กู้นอกไม่มีคำว่า ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
มองอีกด้าน ในช่วงนั้น ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซื้อของเข้ามากกว่าขายของออกไป ถ้าเป็นบริษัทเจอแบบนี้ทำอย่างไงละ คำตอบบริษัทก็กู้ซิ เงินสดขาดมือ กู้ในแพงก็กู้นอก

เรื่องนี้อธิบายมากกว่า 5 รอบ หลายกระทู้
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
draco
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 230
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 11

โพสต์

CARPENTER เขียน:ถ้าประเทศไทย ดอกเบี้ยสูง การหาแหล่งเงินที่ ดอกเบี้ยต่ำกว่าประเทศไทยก็หาง่ายขึ้น
ถ้าดอกเบี้ยต่ำๆ การหาเงินเพื่อจะมาปล่อยต่อก็ยากขึ้นเรื่อยๆ
จะเห็นชัดมากในสมัย เอกยุทธ์ หนุ่มๆ สมัยนั้น ดอกเบี้ย ประเทศไทย 15%-20%
อัตราดอกเบี้ย ในอเมริกา และลอนดอน แค่ 3%-5%
อาชีพ ที่รวยที่สุดคือ นักการเงิน กินส่วนต่างของดอกเบี้ย
เป็นยุคที่ คนที่รวยที่สุดของประเทศไทย 10อันดับแรก คือนายธนาคาร
จะเห็นว่า นายธนาคารทุกคนเชียร์ ให้ bot คงดอกเบี้ยสูงๆไว้
แล้ว หาเหตุมาอธิบาย เป็นตุเป็นตะ ล้วนแต่โกหก
ถ้าลดดอกเบี้ย แล้วธนาคารไม่เสียประโยชน์ นายธนาคารคงไม่มาพูดอะไร
รวมทั้งพวกนักวิชาการด้วย ที่อาจจะได้รับประโยชน์จากธนาคารทางอ้อม
แปลว่าถ้าดอกเบี้ยนโยบายลด ธนาคารจะกำไรลดลง ถ้าดอกเบี้ยนโยบายเพิ่ม ธนาคารจะกำไรมากขึ้น ดังนั้น หากเราคิดว่าดอกเบี้ยนโยบายกำลังจะขึ้น หุ้นธนาคารก็น่าจะขึ้นเพราะธนาคารจะกำไรมากขึ้น ใครอยู่ธนาคารช่วยคอนเฟิร์มด้วยครับ
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 12

โพสต์

draco เขียน:
CARPENTER เขียน:ถ้าประเทศไทย ดอกเบี้ยสูง การหาแหล่งเงินที่ ดอกเบี้ยต่ำกว่าประเทศไทยก็หาง่ายขึ้น
ถ้าดอกเบี้ยต่ำๆ การหาเงินเพื่อจะมาปล่อยต่อก็ยากขึ้นเรื่อยๆ
จะเห็นชัดมากในสมัย เอกยุทธ์ หนุ่มๆ สมัยนั้น ดอกเบี้ย ประเทศไทย 15%-20%
อัตราดอกเบี้ย ในอเมริกา และลอนดอน แค่ 3%-5%
อาชีพ ที่รวยที่สุดคือ นักการเงิน กินส่วนต่างของดอกเบี้ย
เป็นยุคที่ คนที่รวยที่สุดของประเทศไทย 10อันดับแรก คือนายธนาคาร
จะเห็นว่า นายธนาคารทุกคนเชียร์ ให้ bot คงดอกเบี้ยสูงๆไว้
แล้ว หาเหตุมาอธิบาย เป็นตุเป็นตะ ล้วนแต่โกหก
ถ้าลดดอกเบี้ย แล้วธนาคารไม่เสียประโยชน์ นายธนาคารคงไม่มาพูดอะไร
รวมทั้งพวกนักวิชาการด้วย ที่อาจจะได้รับประโยชน์จากธนาคารทางอ้อม
แปลว่าถ้าดอกเบี้ยนโยบายลด ธนาคารจะกำไรลดลง ถ้าดอกเบี้ยนโยบายเพิ่ม ธนาคารจะกำไรมากขึ้น ดังนั้น หากเราคิดว่าดอกเบี้ยนโยบายกำลังจะขึ้น หุ้นธนาคารก็น่าจะขึ้นเพราะธนาคารจะกำไรมากขึ้น ใครอยู่ธนาคารช่วยคอนเฟิร์มด้วยครับ
ผิด
กลับกัน ดอกเบี้ยนโยบาย คือ pr1 วัน ซึ่งไม่มี
มีแต่ overnight interest คือ ดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคาร
มันคือ ยิ่งดอกเบี้ยถูก ต้นทุนต่ำ กว่า ดอกเบี้ยขึ้น ต้นทุนธนาคารเพิ่ม
อันนี้คือ ภาพในประเทศ
:)
:)
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 428
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 13

โพสต์

draco เขียน:
CARPENTER เขียน:ถ้าประเทศไทย ดอกเบี้ยสูง การหาแหล่งเงินที่ ดอกเบี้ยต่ำกว่าประเทศไทยก็หาง่ายขึ้น
ถ้าดอกเบี้ยต่ำๆ การหาเงินเพื่อจะมาปล่อยต่อก็ยากขึ้นเรื่อยๆ
จะเห็นชัดมากในสมัย เอกยุทธ์ หนุ่มๆ สมัยนั้น ดอกเบี้ย ประเทศไทย 15%-20%
อัตราดอกเบี้ย ในอเมริกา และลอนดอน แค่ 3%-5%
อาชีพ ที่รวยที่สุดคือ นักการเงิน กินส่วนต่างของดอกเบี้ย
เป็นยุคที่ คนที่รวยที่สุดของประเทศไทย 10อันดับแรก คือนายธนาคาร
จะเห็นว่า นายธนาคารทุกคนเชียร์ ให้ bot คงดอกเบี้ยสูงๆไว้
แล้ว หาเหตุมาอธิบาย เป็นตุเป็นตะ ล้วนแต่โกหก
ถ้าลดดอกเบี้ย แล้วธนาคารไม่เสียประโยชน์ นายธนาคารคงไม่มาพูดอะไร
รวมทั้งพวกนักวิชาการด้วย ที่อาจจะได้รับประโยชน์จากธนาคารทางอ้อม
แปลว่าถ้าดอกเบี้ยนโยบายลด ธนาคารจะกำไรลดลง ถ้าดอกเบี้ยนโยบายเพิ่ม ธนาคารจะกำไรมากขึ้น ดังนั้น หากเราคิดว่าดอกเบี้ยนโยบายกำลังจะขึ้น หุ้นธนาคารก็น่าจะขึ้นเพราะธนาคารจะกำไรมากขึ้น ใครอยู่ธนาคารช่วยคอนเฟิร์มด้วยครับ
ดอกเบี้ยนโยบาย ต้องมีอัตราที่เหมาะสมกับความแข็งแรงของ ศก ของประเทศนั้น
ถ้า ดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% แล้วมีเงินไหลเข้ามาอย่างมหาศาลและเกินความต้องการ อัตราดอกเบี้ยนี้ก็สูงเกินไป
ถ้าดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% มีแต่เงินไหลออกและเรามีความต้องการเงิน อัตราดอกเบี้ยนี้ก็ต่ำเกินไป
ธนาคารพาณิชย์ ชอบมาก ที่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทสสูงกว่าที่ควรยิ่งมากยิ่งดี
สิ่งที่ธนาคารพาณิชย์จะได้ คือ
1.ทำแครี่เทรดดอลล่า
2.ดอกเบี้ยนโยบายที่สูงกว่าที่ควรจะดึงให้บาทแข็งค่าขึ้น ธนาคารที่เอา us$ เข้ามาก็จะกำไรอัตราแลกเปลี่ยน
ดังนั้น นายธนาคาร ตั้งแต่เสมียน ไป ถึง CEO จึงเชียร์ให้ botให้ดอกเบี้ยสูงๆ
แต่สภาวะปัจจุบัน ที่ รัฐบาลขาดทุนจากการจำนำข้าว 2-3แสนล้าน ตลาดเงินในโลกมีมุมมองเป็นลบต่อประเทศไทย
อัตราดอกเบี้ยตอนนี้ ไม่ได้สูงไปแล้ว ถ้าประเทศไทยขาดความเชื่อมั่นไปเรื่อยๆ และมีเงินไหลออกมากขึ้นเรื่อย
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ใช้ก็ต่ำเกินไป ก็ควรจะปรับขึ้น และดูการไหลเข้าไหลออกของเงิน ปรับอัตราดอกเบี้ย
ให้เหมาะสมไปตามสภาพ ความน่าเเชื่อถือของประเทศ
harikung
Verified User
โพสต์: 2236
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ที่บอกว่ายอดใช้บัตรเครดิตลดลง ทำไมผมดูในเวป
http://www2.bot.or.th/statistics/Report ... anguage=th

ถ้าเทียบดูของเดือนมีนาและเมษา ปริมาณการใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบyoyกับปี2555
ส่วน4เดือนแรกของปีเทียบกันQOQก็ยังไม่เห็นtrendที่ชัดเจนว่าจะลดลง
ผมดูผิดหรือเข้าใจอะไรผิดรึป่าวครับ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
วรันศ์ บัฟเฟต
Verified User
โพสต์: 1679
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 15

โพสต์

^^ ต่อ 1 บัตร กลุ่ม non-bank หดตัว yoy ครับ
value trap
รูปภาพ
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 16

โพสต์

จับเอายอดการใช้จ่ายบัตรหารด้วยจำนวนบัตรดูครับ
แล้วมา Plot Graph ดูเลย
ว่าเป็นเช่นไร

By the way
เรื่องดอกเบี้ย นักลงทุนไม่อยากให้ขึ้นดอกเบี้ย
เพราะ 1. ทำให้ธุรกิจมีภาระมาก
2. ชะลอการลงทุน
3. เงินหายไปจากระบบ

แต่จริงๆ การเพิ่มขึ้นดอกเบี้ย นั้น
1. เพิ่มเงินออมในประเทศ
2. ลดความร้อนแรงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางตัวลง ไมให้เกิดฟองสบู่จากภาระที่ดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน

เรื่องภาระของดอกเบี้ยนั้น ถ้าหากมองในตัวงบประมาณที่รัฐบาลเสนอให้สภาผ่านวาระที่ 1,2 และ 3 เพื่อนำไปสู่กฏหมายงบประมาณในปีต่างๆนั้น เรื่องภาระดอกเบี้ย และการใช้คืนเงินต้นของพันธบัตรรัฐบาล /การ refunding พันธบัตรรัฐบาล นั้นทำอยู่ในแผนอยู่แล้วมิใช่หรือครับ ไม่อย่างนั้น รัฐจะสร้าง ขาดดุลงบประมาณ สมดุลงบประมาณ และเกินดุลงบประมาณ ในตอนวาระ 1,2 และ 3 แล้วอีกเรื่องคือเรื่องของความยั่งยืนการคลังของประเทศด้วย
มีกำหนดอยู่แล้ว ว่ากี่ปี จากขาดทุนงบประมาณ เป็น สมดุลงบประมาณ และได้ดุลงบประมาณมีแผนในระยะยาวอยู่แล้วนิ
มากังวลเรื่องดอกเบี้ยที่รัฐบาลจ่ายทำไมหนอ

ผมบอกกี่ครั้งว่า ดอกเบี้ยมัน Fix Rate มาตั้งแต่ตอนที่มันออกพันธบัตร
ตอนนี้ก็ยังมี ดอกเบี้ยที่แพง เช่น
Name (Thai) : พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ครั้งที่ 3
Issuer : Ministry of Finance
ISIN Code : Local:TH062303T104 Foreign:TH062303T120
Bond Type : [ Fixed ]
Issue Rating :
Rating Agency Issue Rating
Short Term Long Term Rating Date
Initial Par : THB 1,000.0000
Current Par : THB 1,000.0000
Issue Size : THB 46,000.00mln.
Outstanding Size : THB 46,000.00 mln.
Issue Date : 12 January 2007
Maturity Date : 12 January 2019
Issue Term : 12.0 Yrs.
Coupon :
Reference Max. Min. From To
Fixed: 5.625000% 12-Jan-07 12-Jan-19
Payment Frequency : Semi-annually
Calculation Method : 30/360
Put/ Call Option : -
Distribution : Government debt security offering (Check with registrar if there is any transfer limitation)
Registrar : Bank of Thailand
Lead Underwriter(s) : -

-------------------------------------------------------
ตัวนี้ออกมา ตั้งแต่ 12 มค 2007 จ่ายดอกบี้ย 5.625%
อายุของพันธบัตรคือ 12 ปี
ณ วันที่ออก Yield อยู่ที่ 5.26% ต่อปี
แล้วทำไมรัฐบาลจ่ายแพงกว่า Yield ที่ซื้อขายในตลาดละ ตั้ง 0.365% ต่อปี
อันนี้คือเหตุการณ์ในอดีต มีตัวอย่างเต็มไปหมดที่ www.thaibma.or.th
หาคำตอบให้ผมหน่อยว่าประเด็นที่ว่า ทำไมลดดอกเบี้ยแล้วรัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลถูก ?
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ปัจจัยลบพวกนี้ต้องเรียกว่า ทำให้การบริโภคเติบโตแบบชะลอตัวลงหรือเปล่าครับ
ถึงแนวโน้มดูแย่ลง แต่ก็ยังเติบโตกันอยู่ แต่ความเร่งในการโต น่าจะชะลอลง
สมมุติ เมื่อก่อนโตกัน 10-15% อาจจะเหลือโตแค่ 5-10% อะไรประมาณนี้

อีกตัวที่จะบอกว่า เศรษฐกิจ จะมีแนวโน้มไปทางไหน ลองดูพวกดัชนีความเชื่อมั่นต่างๆ + Loan growth ของกลุ่มแบงค์ได้ครับ
ถ้าจะเจาะลงมา เพื่อดูในส่วนการบริโภคในประเทศ ก็ focus ไปที่สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ สินเชื่อส่วนบุคคล
ถ้าแนวโน้มเศรษฐกิจแย่ แบงค์จะเริ่มระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อโดนธรรมชาติ ก็จะไปลดการเติบโตในส่วนนั้นๆเอง

ตัวอย่างตอน subprime ที่แบงค์เกิดกลัวกระทันหัน ทำให้เข้มการปล่อยสินเชื่อบ้านอย่างมาก ผลคือ demand การซื้อบ้านหดตัวทันทีเลย + นอกจากแบงค์เข้ม มนุษย์เงินเดือนเองก็ไม่กล้าก่อหนี้ เพราะไม่มั่นใจว่าตัวเองจะตกงานหรือเปล่า ก็ระมัดระวังตัวในการกู้ซื้อบ้าน


ฝั่ง supply ก็โดนหนัก อสังรายเล็กๆ แบงค์ปล่อยกู้ยากมาก (รายใหญ่แบงค์ก็เข้ม) ทำให้โครงการจากผู้ประกอบการรายเล็กแทบไม่เกิดเลย
ผลคือ ตลาดอสังหาในช่วงนั้นหดตัวทันที (รู้สึกจะประมาณ20-30% ถ้าจำไม่ผิด)
ทั้งๆที่ รายได้ของคนในประเทศในตอนนั้นไม่ได้กระทบอะไรมากขนาดนั้นๆ
หรืออาจจะเรียกได้ว่า ความเชื่อมั่นเอง ก็มีผลกับการบริโภคอยู่ไม่น้อย
Yaiba123
Verified User
โพสต์: 423
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 18

โพสต์

เป็นกระทู้ที่ตั้งมาได้ถูกจังหวะมากๆครับ เมื่อวานพี่ผมพึ่งเล่าให้ฟังว่า มีเพื่อนพี่ขายเสื้อผ้าอยู่ที่ จตุจักร และ เอเชียทีค ก่อนหน้านี้ซักปีนึง มีรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1แสนบาท ปัจจุบันรายได้เหลือแค่ หลักหมื่นบาท

ที่สำคัญคือ ไม่ได้เป็นแค่ร้านของเพื่อนพี่ร้านเดียว ร้านละแวกนั้นรายได้ลดลงกันแทบทุกร้าน เพื่อนพี่ผมบอกว่าทุกคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า นโยบายรถคันแรกเป็นตัวดึงเงินออกไปจริงๆ ตอนนี้เห็นบอกว่าอาจจะปิดร้านแล้ว เพราะทำต่อไปก็ไม่คุ้มค่าเช่าแล้วครับ

ตอนผมฟัง ความคิดแรกที่ผมคิดเลยคือ เห้ย เสื้อผ้านี่มันเป็นสินค้าอันดับต้นๆที่ผมว่าผู้หญิงแทบทุกคนจะซื้อทุกๆเดือนเมื่อเงินเดือนออกเลยนะ ถ้าขนาดเสื้อผ้ายังขายไม่ดี ผมว่าสินค้าฟุ้มเฟือยอื่นๆนี่ไม่ต้องพูดถึงเลย ที่สำคัญผมถือหุ้นที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมit บางตัวอยู่ด้วย ทำให้ผมคิดหนักเลยทีเดียวหลังจากได้ยินเรื่องที่พี่ผมพูด (แถมดันมาเห็นกระทู้นี้อีกซึ่งแสดงว่าไม่ใช่แค่ผมคนเดียวที่คิดแบบนี้) :wall:

ผมมีคำถามที่อยากถามครับ พี่ๆคิดว่า ถ้าสมมติฐานที่คิดๆกันอยู่นี้เป็นจริง พี่ๆคิดว่าอัตราการบริโภคในประเทศจะกลับมาสู่ภาวะปกติเมื่อไหร่ ต้องรอให้คนผ่อนรถกันจนหมดเลยหรือเปล่า ถ้าเป็นงั้นจริงผมว่ามันนานพอสมควรเลยนะ อย่างน้อยๆก็ต้อง3ปี ในระยะเวลานี้ เราอาจจะได้เห็นบริษัทหลายๆบริษัทกิจการแย่ลงอย่างน่าใจหายเลยก็เป็นได้ โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ :cry:
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเดินทางสายนี้คือ จิตใจที่มั่นคงและแน่วแน่.....ส่วนความรู้เป็นสิ่งที่สามารถไขว่คว้าเพื่อตามให้ทันผู้อื่นได้ สู้ต่อไป...
cobain_vi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 19

โพสต์

อ่านคอมเมนต์ข้างบนน่าจะจริงนะครับ ผมไปตจว ถามคนทำงานชาวบ้านทั่วไปเกือบร้อยเปอร์เซนต์เดือดร้อนกับเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แถมมีเรื่องเงินกู้นอกระบบด้วยอีก ผมว่าวิกฤติต่างๆภาพคงเริ่มชัดเจนขึ้นมาเรื่อยๆแล้วครับ
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
Saran
Verified User
โพสต์: 2377
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 20

โพสต์

เมื่อเงินในอนาคตถูกใช้มากเกินไป ปัจจุบันก็ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นเป็นธรรมดาครับ
หากใครไม่รู้ตัว ไปกู้เงินมาใช้บริโภคเพิ่มอีกต่อ อันนี้น่าห่วงจริงๆ

ปัจจุบันอย่าว่าแต่ชาวบ้านธรรมดาเลยครับ เพื่อนผมบางคนที่การศึกษาสูงๆเป็นอาจารย์ หมอ นักวิชาการ
ยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องอัตราดอกเบี้ยทบต้นเลยด้วยซ้ำ อย่างผมเคยถามว่าซื้อบ้าน 5 ล้าน ผ่อน 30 ปี หากแบงค์คิดดอก 8%
กว่าจะผ่อนหมดต้องใช้เงินเกือบ 13 ลบ. เงิน 8 ลบ.เป็นค่าดอก มีแต่คนบอกว่า จริงดี๊ เพิ่งรู้

ยิ่งเป็นหนี้บัตรเครดิต ดอกทบต้น 20% ใครเคยโดนคงไม่ต้องพูดถึง กว่าจะชดใช้หมดนี่มันยากขนาดไหน

ตอนนี้ผมมองว่าเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเยอะๆนั้น ยังอยู่แค่ในส่วนของคนในตลาดหุ้นนะ คนที่เดือดร้อนก็คือนักลงทุน คนเล่นหุ้นอย่างพวกเราล่ะครับ
เปิดบัญชีกันทั้งประเทศยังมีไม่ถึงล้านคนเลย

ผมยังมองเหมือนคุณ leaderinshadow นะครับว่ากลุ่มคนในแถบเอเชีย หรือในประเทศเราเอง ยังเติบโตอยู่แต่เติบโตน้อยลง

ข้อสังเกตอีกเล็กน้อย เมื่อเดือนที่แล้วผมเพิ่งไปเช่าคอนโดให้แฟนครับ แฟนเพิ่งย้ายที่ทำงานเลยไม่อยากให้เดินทางไกล
อยู่เส้นเจริญนคร ห้องขนาด 50 ตร.ม. 1 ห้องนอน 1 ห้องนั่งเล่น ปล่อยเช่า 16,000 บาท/เดือน จากเมื่อตอนต้นปีผมเคยไปลองเช็ค
ราคาดูตอนนั้นเฉลี่ยยังอยู่ที่ 22,000-24,000 อยู่เลยครับ
วรันศ์ บัฟเฟต
Verified User
โพสต์: 1679
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ข่าวสด
รูปภาพ

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... เรือน.html

ธุรกิจ
วันที่ 24 มิถุนายน 2556 10:09

ภาคธุรกิจรับศึกหนักครึ่งปีหลัง "ปัจจัยลบ" ฉุดกำลังซื้อหดตัว ผลพวง "รถคันแรก-หนี้ครัวเรือนพุ่ง" ชะลอการใช้จ่าย

สินค้าและบริการทุกแขนงธุรกิจเผชิญ "ปัจจัยลบ" รอบด้าน ทั้งภาวะเศรษฐกิจทั้งในและทั่วโลกชะลอตัว ปัญหาค่าเงิน ตลาดหุ้น ทองคำ ผันผวนอย่างหนัก พืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ การส่งออกขยายตัวช้า นโยบายรถคันแรกส่งผลกระทบลามเป็นลูกโซ่ ส่งผลกระทบเชิงจิตวิทยาผู้บริโภค "ระมัดระวังการใช้จ่าย" มากขึ้น บางธุรกิจยอดขายเริ่มสะดุด ทำให้กำลังซื้อในระบบ "ชะลอตัว" อย่างต่อเนื่อง

นางสาวบุษบา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า ปัจจัยเสี่ยงในตลาดขณะนี้กระทบธุรกิจค้าปลีกอยู่ในภาวะชะลอตัวทั้งด้านยอดขายและการลงทุน โดยภาพรวมคาดการณ์ขยายตัว 8-10% จากช่วงต้นปีตั้งเป้าหมายการเติบโต 10-12% ซึ่งช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาเห็นชัดเจนว่าตลาดค่อนข้าง "ซบเซา" ต่างจากไตรมาสแรกธุรกิจค้าปลีกเติบโตในเกณฑ์ที่ดี

ในปีนี้ ราคาพืชผลทางการเกษตรไม่ดีมากนัก ทั้งยาง ปาล์ม ข้าว มีราคาลดลง ผลไม้ต่างๆ มีผลผลิตออกมาทับซ้อนกัน และมีปริมาณมากทำให้ราคาต่ำ ทำให้เกษตรกร ชาวสวนมีรายได้น้อยลง อำนาจซื้อย่อมน้อยลงตามไปด้วย ขณะที่นโยบายรถคันแรกสร้างปัญหากระทบเป็นลูกโซ่ จะเห็นว่าปริมาณการขายรถที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการ "เร่งผลิต" เพื่อส่งมอบ พนักงานมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจาก "ค่าล่วงเวลา" ในช่วงเร่งผลิตดังกล่าว เมื่อกำลังผลิตทยอยกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติ ภาคแรงงานไม่มีรายได้เพิ่มจากค่าล่วงเวลา ทำให้รายได้ลดน้อยลง อำนาจซื้อย่อมลดลง

"กำลังซื้อคนระดับล่างได้รับผลกระทบมากที่สุด ระดับกลางและบนชะลอ หรือ นิ่งขึ้น แต่เชื่อว่ายังไม่หยุดซื้อ เพียงแต่จะซื้อที่ไหนอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง สะท้อนได้จากตัวเลขของโกลบอลบลูพบว่านักท่องเที่ยวจากไทยซื้อสินค้าปลอดภาษีเพิ่มขึ้น 38% โดยกลไกของธุรกิจค้าปลีกเมื่อมีปัจจัยลบผู้ประกอบการจะพยายามกระตุ้นตลาดมากขึ้น"

จี้รัฐกระตุ้นใช้จ่ายในประเทศ

นอกเหนือจากการกระตุ้นตลาดของภาคเอกชนในรูปแบบต่างๆ รัฐต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2556 ซึ่ง 8 เดือนที่ผ่านมา มีการเบิกจ่ายไปเพียงกว่า 50% เหลืออีก 40% ใน 4 เดือนสุดท้ายสิ้นสุดงบประมาณนั้น ต้องสร้างเงินสะพัดในประเทศให้เร็วที่สุด

"ไม่อยากให้เงินออกนอกประเทศ ในเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ จะมีกิจกรรมลดราคาครั้งใหญ่ของฟากยุโรป รัฐจะสกัดนักชอปไทยออกนอกประเทศได้อย่างไร ต้องกลับมาพิจารณาในเรื่องของภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ดึงต่างชาติมาไทย และสกัดคนไทยออกนอกประเทศ เชื่อว่ามาตรการด้านภาษีจะแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นอย่างดี" นางสาวบุษบากล่าวและว่า

การที่รัฐต้องการช่วยบางอุตสาหกรรมทำให้ละเลยที่จะพิจารณาในเรื่องนี้ เพราะเกรงว่าจะเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะเป็นเรื่อง "ไม่ถูกต้อง" ทั้งที่การส่งเสริมการชอปปิงทำได้หลากหลายรูปแบบ จะเห็นว่าประเทศโดยรอบไทยทั้งฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย มุ่งโปรโมทและขับเคลื่อนประเทศด้วยจุดขายด้านการ "ชอปปิง" ทั้งสิ้น

"ไทยมีโอกาสสูง แต่กลับปล่อยโอกาสหายไปเฉยๆ แล้วเลือกที่จะปกป้องเพียงบางกลุ่ม ทั้งที่ชอปปิงทำได้ง่าย ทำได้เร็ว และเห็นผลในทันที หากทำได้เชื่อว่าเศรษฐกิจจะสะพัดอีกมาก แต่รัฐกลับไม่แน่ใจและไม่กล้าที่จะทำหรือให้การสนับสนุนเพราะเกรงว่าจะเอื้อบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เวลานี้เราดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาได้มาก แต่คนไทยออกไปมากก็ไม่บาลานซ์ รัฐต้องส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ให้มีการเดินทางทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ เพราะจะสร้างเม็ดเงินสะพัดได้ตั้งแต่ระดับรากหญ้า"

รัฐต้องสนับสนุนภาคเอกชนที่ "ลงทุน" ในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะค้าปลีก เป็น 1 ใน 4 อุตสาหกรรมหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

วูบแสนล้านฉุดจีดีพี 0.5-1%

นักวิชาการในธุรกิจค้าปลีก ประเมินว่า การชะลอตัวของภาคธุรกิจค้าปลีกจากเป้าหมายการเติบโต 10-12% เหลือ 8-10% ทำให้ตัวเลขการบริโภคภายในประเทศมูลค่า 2.4 ล้านล้านบาท หายไปเกือบ "แสนล้านบาท" ในอัตราดังกล่าวจะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) 0.5-1% รัฐต้องเร่งกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น

ทั้งนี้ภาวการณ์เงินบาทอ่อนค่า หรือมาตรการลดดอกเบี้ย ไม่มีผลกับการบริโภคโดยตรง วงจรนี้กว่าจะหมุนกลับมาสร้างเม็ดเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจใช้เวลาอย่างน้อย 8 เดือน แต่สถานการณ์ขณะนี้ต้องกระตุ้นโดยตรง เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวผลักดันให้มีการเดินทางในประเทศจะเกิดการใช้จ่ายในหลายแขนงธุรกิจเชื่อมโยงเป็นลูกโซ่

"ภาพรวมการเติบโตลดลง 4-5% ค่อนข้างสูงและน่าเป็นห่วงไม่น้อย ปีนี้ ผิดคาด พลิกล็อก จากต้นปีที่ยังมองกันว่าสวยหรู แต่หลังเดือน มี.ค.เป็นต้นมา เริ่มมีสัญญาณไม่ดี มีแนวโน้มลากยาวไปในครึ่งปีหลัง เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจค่อนข้างกังวล"

ผู้ประกอบการต้องกระตุ้นตลาดมากขึ้นกว่าเดิม ขณะที่ภาครัฐจะมีมาตรการยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้นได้อย่างไร ทั้งยาง ปาล์ม พร้อมกับการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ผ่านการขับเคลื่อนเมกะโปรเจคต่างๆ เพื่อเกิดการจ้างงาน

มอลล์-โรบินสัน อัดแคมเปญหนัก

นายชำนาญ เมธปรีชากุล รองประธานกรรมการบริหารการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า การทำตลาดในครึ่งปีหลังนี้ต้อง "ตั้งรับ" มากขึ้น เช่น ลงรายละเอียดในเรื่องของสินค้ามากขึ้น วิธีการนำเสนอสินค้าให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย การกระจายสินค้า รวมถึงการหาพื้นที่ขายใหม่ๆ โดยครึ่งปีแรกยอดขายเติบโต 4-5% ตั้งเป้าปีนี้เติบโต 5-6%

สำหรับห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ยอมรับว่ากังวลกับตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ประเมินว่าครึ่งปีหลังไม่ค่อยสดใส จากการที่ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม โรบินสัน จะใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาส 3 จัดสรรงบกว่า 100 ล้านบาททำกิจกรรมการตลาด ส่งเสริมการขายทุกสาขาอย่างหนักทั่วประเทศ โดยรวมปีนี้มีแคมเปญเพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อนกระจายการจัดกิจกรรมครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้ากระตุ้นกำลังซื้อผลักดันยอดขายปีนี้เติบโต 18%

รถค้างจองดันยอดต้นปีพุ่ง

ทางด้าน ตลาดรถยนต์เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ยอดขายลดลง 3.5% เทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ส่วนยอดรวมเดือน ม.ค.-พ.ค. เติบโต 30% อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่ายอดขายในปีนี้ลดลงประมาณ 10% จาก 1.4 ล้านคัน เหลือ 1.2 ล้านคัน เนื่องจากหมดแรงกระตุ้นจากโครงการรถคันแรก

นายชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ยอดขายเดือน พ.ค.ลดลง เป็นผลมาจากการส่งมอบรถคันแรกเกือบเสร็จสิ้น ทำให้ยอดที่เข้าไปรวมในตัวเลขรายงานการขายมีไม่มาก เชื่อว่าครึ่งปีหลังจะดีขึ้นหลังจากจากตลาดเข้าสู่ภาวะปกติ

"ตัวเลขการส่งมอบส่วนใหญ่มาจากยอดค้างจองรถคันแรก แต่การจองใหม่ มีน้อยมาก เพราะกำลังซื้อถูกดึงไปใช้ล่วงหน้า เชื่อว่าในครึ่งปีหลังจะมียอดซื้อใหม่ๆ เข้ามาจากผู้ที่ต้องการใช้รถจริง"

นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การที่ช่วงต้นปียอดจองใหม่หายไปเป็นเพราะคันแรกดึงกำลังซื้อล่วงหน้า เมื่อจบโครงการตลาดจึงอยู่ในภาวะ "ช็อก"

"บางคนปีที่แล้วไม่พร้อมซื้อรถ แต่ปีนี้อาจพร้อมหรือต้องการใช้ แต่ก็ทำใจยากเหมือนกันที่จะซื้อรถที่เคยได้ส่วนลดภาษีจากโครงการ และเพิ่งจะจบลงไป ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของอารมณ์"

นายโนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าช่วงต้นปี หรือสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะภาพรวมการส่งออกที่ลดลง ทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจและระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ดีลเลอร์หลอกโรงงานทำล้นสต็อก

กำลังซื้อที่ลดลง ยังส่งผลให้เกิดภาวะรถ "ล้นสต็อก" ในบางโชว์รูม ทำให้ผู้ผลิตต้องจัดแคมเปญรุนแรง เช่น ดอกเบี้ย 0% ยาว 4 ปี ชิงรางวัลท่องเที่ยวต่างประเทศ ขับก่อนผ่อนปีหน้า หรือผ่อนระยะยาว 84 เดือน เป็นต้น เพื่อเร่งการขายในช่วงนี้

นายชาญวิทย์ กล่าวว่า การที่รถล้นสต็อกเกิดจาก 2 ส่วนคือ การสั่งซื้อล่วงหน้าแต่ยกเลิกการรับรถ และการเกิดอุปทานหมู่ เนื่องจากหลายคนตัดสินใจซื้อรถคันแรกเพื่อให้ได้สิทธิ์ลดภาษีเหมือนคนอื่นๆ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นใช้จริง ขณะที่บริษัทรถยนต์ก็ต้องรองรับคำสั่งซื้อแล้วก็ต้องผลิต

"ปีที่แล้วแม้กระทั่งรถตัวโชว์ก็ถูกขอซื้อ ผู้ค้าแทบไม่มีสต็อกครึ่งปีหลัง และคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาทางโรงงานก็ต้องเดินหน้าผลิตทำให้เกิดภาวะล้นสต็อก แต่การมีแคมเปญส่งเสริมการขาย จะทำให้ปริมาณสต็อกลดลง และกลับสู่ภาวะปกติในเร็วๆนี้"

แหล่งข่าวจากบริษัทรถยนต์กล่าวว่า โรงงานจำเป็นต้องวางแผนผลิตล่วงหน้า ขณะที่ฝ่ายขายต้องการตัวเลขยอดจำหน่าย และมีไม่น้อยที่ต้องการส่งรถให้ลูกค้าได้เร็วเนื่องจากยอดค้างจองมาก ทำให้รายงานตัวเลขสูงกว่าจริงให้บริษัทแม่ ส่งผลให้โรงงานผลิตออกมามากกว่าปกติ และเมื่อปีนี้เกิดเหตุการณ์ยกเลิกการของ หรือขอเลื่อนรับรถไม่มีกำหนด ทำให้เกิดปัญหาล้นสต็อก

"เท่าที่รู้มา มีเหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่น้อย เรียกว่าที่ดีลเลอร์หลอกบริษัทแม่"

หวั่นทำเลรถไฟฟ้าโอเวอร์ซัพพลาย


นายศุภชัย แจ่มมโนวงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท เซ็นจูรี่ 21 เรียลตี้ แอฟฟิลิเอทส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า กำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ไตรมาส 2 ชะลอตัว จากเดิมขายเฉลี่ยเดือนละ 30 ยูนิต เหลือ 20 ยูนิต รวมถึงทำเลสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและส่วนต่อขยาย ที่ผู้ประกอบการเข้ามาพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมจำนวนมาก ทำให้เกิดภาวะ "เหลือขาย" โดยเฉพาะอ่อนนุช-แบริ่ง ที่มีหน่วยขาย 1 หมื่นยูนิตจาก 10 โครงการ เหลือขาย 5,000 ยูนิต คาดว่าไม่เกิน 2 ปี จะเกิดภาวะโอเวอร์ซัพพลาย

นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต รองประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาธุรกิจ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค กล่าวว่า การขาดแคลนแรงงาน มีผลให้ตลาดชะลอตัวเพราะส่งมอบไม่ได้ ขณะที่ต้นทุนวัสดุ ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาคอนโดเพิ่มขึ้น 20% ในระยะ 12 เดือน แต่รายได้ผู้บริโภคตามไม่ทัน

นายกิตติพล ปราโมช ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความสามารถในการขอกู้ซื้อบ้านของลูกค้าลดลง สัดส่วนกู้ไม่ผ่านเพิ่มขึ้นกว่า 10% จากปกติ 5% เพราะมีหนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากรถคันแรก หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อบุคคล ส่วนรายที่กู้ผ่านบางรายได้วงเงินลดลง

รายได้หด-ชูนวัตกรรมใหม่


นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รถคันแรกดึงกำลังซื้อคนวัยทำงานที่เป็นฐานใหญ่ของการซื้อสินค้าไอที หรือโน้ตบุ๊คในระดับราคา 1-2 หมื่นบาทที่นิยมเปลี่ยนเครื่องภายใน 6-18 เดือน ทำให้ตลาดชะลอตัวและอาจไม่มีการเติบโตในปีนี้ แต่ครึ่งปีหลังจะมีสินค้าใหม่เปิดตลาดจำนวนมากน่าจะกระตุ้นตลาดได้

นายถกล นิยมไทย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ กล่าวว่า สัดส่วนรายได้จากกลุ่มไอทีของโตชิบาในปีนี้คาดว่าจะลดเหลือ 20-25% จากเดิม 30-35% ของรายได้รวม 1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากสินค้าโน้ตบุ๊คหดตัวลงมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ซึ่งผู้ขายต้องปรับตัวตามสภาพ คือ เร่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ช่วยกระตุ้นตลาด

นายจีรวุฒิ วงศ์พิมลพร กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เลอโนโว (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาพรวมกำลังซื้อในตลาดอาจไม่ตกลงมาก แต่จะเริ่มแชร์ยอดขายกับผลิตภัณฑ์นอกเหนือจากพีซีและโน้ตบุ๊ค ที่เคยเป็นสินค้าหลักสร้างยอดขายให้ตลาดไอที โดยเฉพาะกระแสของสมาร์ทโฟนและแทบเล็ต

ขณะที่โครงการภาครัฐ ส่งผลกระทบต่อตลาด โดยเฉพาะโครงการประมูลคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊คสำหรับภาคการศึกษาที่หายไปกลายเป็นประมูลแทบเล็ตแทน ในไตรมาส 2 บริษัทจะเริ่มนำสินค้านวัตกรรมเข้ามากระตุ้นตลาดทั้งกลุ่มองค์กรและผู้ใช้งานทั่วไป

นายวงศ์สมรรถ สรรเพชุดาญาณ ผู้อำนวยการธุรกิจโมบาย บริษัท คอมพิวเตอร์ ซิสเต็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ซีเอสซี) กล่าวว่า ภาพรวมตลาดไอทีในครึ่งปีแรก โดยเฉพาะโน้ตบุ๊คตลาดหดตัว 10-20% เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปซื้อแทบเล็ต และสมาร์ทโฟนมากขึ้น ขณะที่อีกกลุ่มรอเทคโนโลยี ดีไวซ์ ชิพประมวลผลใหม่ คาดว่าจะออกสู่ตลาดมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

หนี้ครัวเรือนพุ่งกระทบกำลังซื้อครึ่งหลัง


นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี กล่าวว่า กำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัวลงตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา แม้เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวแต่กลับพบว่าไม่มีเม็ดเงินกระจายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เป็นผลพวงจากประชาชนมีภาระต่างๆ เช่น การผ่อนชำระสินค้า เมื่อเงินหายไปแต่รายรับที่ไม่มากเช่นเดิม ทำให้กำลังซื้อชะลอตัว

กำลังซื้อที่ซบเซาเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว ขณะที่ภาพรวมไตรมาสแรกที่ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตสูงถึง 23% เป็นผลจากการใช้จ่ายตั้งแต่ปลายปีก่อน แต่พอเข้าเดือนเม.ย. เงินหายไปจากระบบเศรษฐกิจ แม้กระทั่งในต่างจังหวัด
value trap
รูปภาพ
WaayVI
Verified User
โพสต์: 234
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 22

โพสต์

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมาไอเอ็มเอฟออกแถลงข่าวสรุปผลการประเมินเศรษฐกิจไทยร่วมกับทางการของไทยโดยเป็นการประชุมปรึกษาหารือตามปกติทุกปี (Article IV consultations) ซึ่งมีข้อมูลและการประเมินเศรษฐกิจไทยที่ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์จึงขอนำมาสรุปและวิจารณ์ในครั้งนี้ครับ

1. ปัจจัยพื้นฐานดี มีความเสี่ยงจากปัจจัยต่างประเทศ ไอเอ็มเอฟมองว่าเศรษฐกิจไทยมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง (impressive resilience) 4 ด้านคือ ก) การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ข) ภาครัฐมีวินัยทางการคลังและหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ค) ระบบธนาคารและธุรกิจมีความมั่นคงทางการเงิน และ ง) มีทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ 4.75% ในปี 2013 และ 5.25% ในปี 2014 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสภาวะทางการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ดังนั้น ความเสี่ยงจึงจะมาจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก ในส่วนนี้บางคนอาจไม่เห็นด้วยมากนัก เพราะตัวเลขเศรษฐกิจภายในกำลังชะลอตัวลงและประเด็นถกเถียงทางการเมืองน่าจะมีเพิ่มขึ้นใน 3-4 เดือนข้างหน้า ดังนั้น เศรษฐกิจภายในจึงอาจไม่แข็งแกร่งดังที่ไอเอ็มเอฟคิด

2. ควรหาลู่ทางรัดเข็มขัดทางการคลัง ไอเอ็มเอฟมองว่าการฟื้นตัวที่เข้าที่แล้วของเศรษฐกิจไทยเปิดโอกาสให้รัฐบาลปรับลดการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการคลัง (opportunity to gradually withdraw fiscal stimulus) ทั้งนี้ เพื่อให้มีงบประมาณเหลือสำหรับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเพื่อ “เก็บกระสุน” เอาไว้ใช้หากเกิดภาวะฉุกเฉินทางเศรษฐกิจในอนาคต

3. ในส่วนของนโยบายการเงินนั้นไอเอ็มเอฟชมเชยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่านโยบายตั้งเป้าเงินเฟ้อและความน่าเชื่อถือของธปท.เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง (served Thailand well) ในสภาวะที่เกิดความผันผวนของการไหลเวียนของเงินทุนและนโยบายของธปท. คือการปล่อยให้ค่าเงินปรับตัวและเตรียมการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ก็เป็นการบริหารจัดการที่เหมาะสม (ตรงนี้ตีความว่าต้องยอมให้อัตราแลกเปลี่ยนแกว่งตัวขึ้นและลงได้มาก แต่หากมากเกินไปก็อาจแทรกแซงได้ ปัญหาคือไม่มีใครทราบว่าจะต้อง “แกว่ง” มากน้อยเพียงใด จึงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าจะประเมิน) แต่ส่วนที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดคือการที่ไอเอ็มเอฟแนะนำให้ธปท. ติดตามสภาวะแรงกดดันจากอุปสงค์และปรับขึ้นของเงินเดือน (be vigilant to demand and wage pressures) และพร้อมจะปรับดอกเบี้ยขึ้นหากเห็นสภาวะร้อนแรงทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น (stand ready to normalize interest rates if overheating pressures emerge or inflation picks up) ตรงนี้เป็นไปตามตำราของนโยบายตั้งเป้าเงินเฟ้อ แต่ผมไม่เห็นด้วยมากนักเพราะผมเชื่อว่าหากเงินเฟ้อของประเทศพัฒนาแล้วต่ำ เงินเฟ้อไทยก็ต่ำไปด้วยและหากเงินเฟ้อประเทศพัฒนาแล้วสูง เงินเฟ้อของไทยก็จะสูงไปด้วยเพราะเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจเปิดยากที่ไทยจะกำหนดอัตราเงินเฟ้อของตัวเองเป็นอิสระจากเงินเฟ้อของประเทศขนาดใหญ่ได้ แต่ประเด็นคือ ไอเอ็มเอฟกำลังแนะนำให้มองดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นมากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไอเอ็มเอฟเห็นว่าเศรษฐกิจภายในมีความแข็งแกร่งอย่างมาก

4. ภาคการเงินการธนาคารแข็งแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยง ไอเอ็มเอฟมองว่าภาคการธนาคารได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ความเสี่ยงก็กำลังเพิ่มขึ้นเช่นกันจาก 2 ปัจจัยคือ การขยายตัวของธนาคารที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ (State-owmed Financial Institution หรือ SFI) และหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในส่วนของ SFI (ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเอสเอ็มอี ธนาคารอิสลาม ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า) นั้นไอเอ็มเอฟแนะนำให้ปรับมาตรฐานการกำกับดูแล (รวมทั้งการตั้งสำรองหนี้เสีย ฯลฯ) ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสอย่างค่อยเป็นค่อยไปให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ โดยมิได้แนะนำว่าจะต้องปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ทางสังคมของ SFI ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันแต่อย่างใด อีกปัจจัยความเสี่ยงที่ไอเอ็มเอฟกล่าวถึงคือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินครัวเรือน ซึ่งทางการไทยกำลังติดตามดูแลอยู่แล้วในขณะนี้

5. สนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ไอเอ็มเอฟสนับสนุนความตั้งใจของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงขึ้นและกระจายผลพวงของการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง (make growth more inclusive) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบขนส่งน่าจะทำให้ผลิตภาพของเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวสูงขึ้น (raise economy-wide productivity) ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟเสนอแนะอีกด้วยว่า ในระยะกลาง (3-5 ปี) ควรจัดทำกรอบทางการคลังที่มิได้ดูแต่งบประมาณรายปีตามปกติเพียงอย่างเดียว แต่ควรเพิ่มความโปร่งใสโดยรวมรายจ่ายนอกงบประมาณ การดำเนินการและสภาวะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจและธนาคารของรัฐด้วย ซึ่งจะส่งเสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเศรษฐกิจไทย ในส่วนของการดำเนินนโยบายประชานิยมนั้นไอเอ็มเอฟแนะนำให้จ่ายเงินโดยตรงอย่างมีเงื่อนไขให้ประชาชนสามารถเข้าสู่การศึกษาและการรักษาพยาบาล (ซึ่งผมตีความว่ามาตรการประชานิยมอื่นๆ เช่นการลดภาษีน้ำมันดีเซลและการให้ใช้น้ำ ไฟ รถไฟและรถโดยสารฟรีนั้น ควรยกเลิกไปในที่สุด) ไอเอ็มเอฟมิได้กล่าวถึงโครงการจำนำข้าวในเอกสารสรุป แต่เท่าที่ผมทราบไอเอ็มเอฟได้ติดตามและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและการขาดทุนของโครงการข้าวอย่างละเอียดครับ

ที่มา นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 24/6/56

มองว่า

- การบริโภคน้อยมาก ก็แปรผันกับความเสี่ยงการเมืองด้วย ถ้าไม่ใช้ bias จนทำให้วุ่นวายกันมากมาย ก็น่าจะมีเสถียรภาพตามไทยๆ แต่ผมว่าความ bias ห้ามกันยาก คงหาเรื่องมาด่า ตีกันจนได้แหละสุดท้าย ผมว่าดัชนีการเมืองติดตามได้จากยอดอ่านนสพ.บางฉบับนะ ถ้าเยอะมาก ก็คือคนเข้าไปอ่านและปลุกระดมได้มากตามทั้งสองฝั่ง ไม่ได้เจาะจงสีไหน แต่มันมีทั้งสองฝั่ง ถ้าพีคจริงๆ ก็อาจจะนำไปสู่ความวุ่นวาย
- ไทยพื้นฐานดี ก็แกร่งจริงนะคับ ถ้าไม่เอาความเชื่อผิดๆว่าเมืองไทยไม่น่าอยู่อะไรแบบนั้นมาใช้โดยไม่ดูตัวเลขอะไร แต่นโยบายอาจทำร้ายกันเองได้
- หนี้ครัวเรือนเยอะ แต่มันเยอะถึงขั้นต้องวิตกกันรุนแรงมากๆๆๆ จริงหรือไม่ อันนี้ต้องดูตัวเลขจริงๆ ถามเพื่อนบ้านไม่ได้ เพื่อนผมรวยๆ มันก็ยังมีความสุขอยู่ ไม่มีใครทุกข์ อันนี้แล้วแต่

- กระทู้แบบนี้มีเมื่อหุ้นตกเป็นของธรรมดา
WaayVI
Verified User
โพสต์: 234
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 23

โพสต์

บทความข้างต้นจาก

เศรษฐกิจไทยในมุมมองของไอเอ็มเอฟ ของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ นะครับ

คำว่าผมในที่นั้นคือ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ไม่ใช่คนตอบกระทู้ครับ

โทษทีครับลืมเขียนให้ชัดเจน
วรันศ์ บัฟเฟต
Verified User
โพสต์: 1679
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ไม่ได้ค้าน IMF หรืออะไรนะครับ แต่อย่าลืมว่า IMF นี่วิเคราะห์บางองค์ประกอบของ ศก หรือนโยบายของ หลายประเทศผิดมาแล้วนะครับ อย่างเช่น กรีซ ที่มองดีเกินไป เกือบทำตายกันทั้งภูมิภาคครับ ก่อนหน้านี้โดนวิพากษ์วิจารณ์หนักพอควรและตัว IMF เองก็ออกมายอมรับด้วยครับ
อีกอย่างเห็น IMF ตั้งเป้าสูงแล้วปรับเป้าลงตลอดอะครับ ศก โลก
ส่วนนี้ควรคำนึงถึงไว้ด้วย IMF ก็ไม่ใช่อภินิหารนักวิเคราะห์ครับ มองผิดถูกได้เหมือนกัน

http://www.guardian.co.uk/business/2013 ... -to-greece
value trap
รูปภาพ
Yaiba123
Verified User
โพสต์: 423
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 25

โพสต์

วรันศ์ บัฟเฟต เขียน:ไม่ได้ค้าน IMF หรืออะไรนะครับ แต่อย่าลืมว่า IMF นี่วิเคราะห์บางองค์ประกอบของ ศก หรือนโยบายของ หลายประเทศผิดมาแล้วนะครับ อย่างเช่น กรีซ ที่มองดีเกินไป เกือบทำตายกันทั้งภูมิภาคครับ ก่อนหน้านี้โดนวิพากษ์วิจารณ์หนักพอควรและตัว IMF เองก็ออกมายอมรับด้วยครับ
อีกอย่างเห็น IMF ตั้งเป้าสูงแล้วปรับเป้าลงตลอดอะครับ ศก โลก
ส่วนนี้ควรคำนึงถึงไว้ด้วย IMF ก็ไม่ใช่อภินิหารนักวิเคราะห์ครับ มองผิดถูกได้เหมือนกัน

http://www.guardian.co.uk/business/2013 ... -to-greece
เห็นด้วยครับ คนนอกบ้านจะรู้ดีกว่าคนในบ้านได้ยังไงครับ เพียงแต่ว่าคนในบ้านจะยอมรับความจริงรึเปล่าแค่นั้นเอง :twisted:

ตอนนี้ผมถือคติ อะไรที่ไม่แน่ใจก็อยู่เฉยๆ รอดูงบQ2แล้วค่อยตัดสินใจอีกทีว่าจะtake action ยังไงดี
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเดินทางสายนี้คือ จิตใจที่มั่นคงและแน่วแน่.....ส่วนความรู้เป็นสิ่งที่สามารถไขว่คว้าเพื่อตามให้ทันผู้อื่นได้ สู้ต่อไป...
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ดักคอไว้ก่อนว่า
Q3/2556
กลุ่มแบงค์ลดค่าธรรมเนี่ยมในการโอนเงิน ข้ามเขต
สามารถทำได้ 1 ครั้งต่อเดือน ทำให้ค่าธรรมเนี่ยมหายไปจากระบบฯ
อันนี้อาจจะมองว่าไตรมาสสองจะดี แต่ไตรมาสสามเป็นอีกเรื่อง

ตามด้วยไตรมาสสามเป็นช่วงที่ต้องลุ้นเรื่องพายุ และน้ำท่วม
ว่า จะเป็นมหาอุทกภัยอีกหรือไม่ และ ลุ้นเรื่อง สงครามหน้ากาก ต่อเนื่องจาก
การพิจารณางบน้ำว่า ทำได้หรือเปล่า

และที่สำคัญที่สุดคือ
อ่านอันนี้ก่อนละกัน ค่อยว่ากันว่า มันชนเพดานเมื่อไร มี Update ทุกเดือนว่าสถานการณ์เป็นอย่างไง
http://www.fas.org/sgp/crs/misc/RL31967.pdf
:)
:)
harikung
Verified User
โพสต์: 2236
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 27

โพสต์

เรื่องมหาอุทกภัยไม่น่ากังวลมั้งครับ จากที่คุยกับพี่ๆหลายๆท่าน หลายๆพื้นที่ยังแล้งด้วยซ้ำ ปริมาณน้ำในเขื่อนก็น้อย
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
ภาพประจำตัวสมาชิก
charnengi
Verified User
โพสต์: 2395
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 28

โพสต์

รถคันแรก 1 ล้านคัน คิดเป็น 1.7 % ของประชากร เท่านั้นครับ
จริงๆ นโยบายอื่นๆ อาจจะส่งผลมากกว่าก็ได้
low PROFILE but HIGH PROFITS
ภาพประจำตัวสมาชิก
charnengi
Verified User
โพสต์: 2395
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 29

โพสต์

แต่ถ้าคิดดู ผ่อนเดือนละ 8k/เดือน/คัน จะดูดเงินออกจากระบบถึง แสนล้านบาทต่อปี ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ยอดขายอุปกรณ์ it จะลดลงครับ
low PROFILE but HIGH PROFITS
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

Re: การบริโภคในประเทศ แนวโน้มไม่ดีเลย

โพสต์ที่ 30

โพสต์

อีกจุดสังเกตที่อาจจะทำให้ การบรโภคดูชะลอตัวลงนะครับ
คือเมื่อสองปีที่แล้วน้ำท่วมใหญ่ ปีต่อมาคนซ่อมบ้านกันมาก ทำให้ยอดขายอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน ของตกแต่งจะโตผิดหูผิดตา
ส่วนปีนี้ ทุกอย่างก็น่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้การบริโภคดูชะลอตัวลง

แต่ความเสียหายที่เกิดจากการต้องเสียเงินซ่อมบ้าน
ก็ไม่แน่ใจว่าจะทำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคลงหรือเปล่า ต้องประหยัดขึ้นหรือเปล่า
ส่วนบางกลุ่มที่ฐานะไม่ดี อาจจะต้องประหยัด เพิ่มขึ้น
แต่สำหรับคนที่มีฐานะหน่อย เท่าที่เห็นก็ยังใช้จ่ายกันเหมือนเดิม