การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้างครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 950
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 5
หา Growth นี่แหละยากที่สุดแล้ว
อีกประเด็นคือ พวก Growth ต่ำ P/E ก็ต่ำ เช่น Growth 10% P/E 10 ได้ 1
ส่วนอีกตัว Growth 20, P/E 20 PEG ได้ 1 เหมือนกันแต่ Break Even ตัวที่สองจะเร็วกว่า
อีกประเด็นคือ พวก Growth ต่ำ P/E ก็ต่ำ เช่น Growth 10% P/E 10 ได้ 1
ส่วนอีกตัว Growth 20, P/E 20 PEG ได้ 1 เหมือนกันแต่ Break Even ตัวที่สองจะเร็วกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 950
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 6
ดังนั้น ผมจึงคิดว่าสูตร Break Even น่าจะเหมาะสมกว่า และได้ทำสูตร Plug-In สำหรับ Excel ไว้แล้วnaphas12 เขียน:หา Growth นี่แหละยากที่สุดแล้ว
อีกประเด็นคือ พวก Growth ต่ำ P/E ก็ต่ำ เช่น Growth 10% P/E 10 ได้ 1
ส่วนอีกตัว Growth 20, P/E 20 PEG ได้ 1 เหมือนกันแต่ Break Even ตัวที่สองจะเร็วกว่า
ใครต้องการไว้ศึกษาก็แจ้งมาได้ครับ
=BreakEven(Price,EPS,Growth) ค่าที่ได้คือจำนวนปีที่จะคืนทุน (แต่ไม่ได้คำนวณมูลค่าปัจจุบัน)
- SI Freedom
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 174
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 7
ในหนังสือ ลงทุนสวนกระแส ของแอนโทนี โบลตัน พูดถึงเรื่องนี้เหมือนกัน
ตัวแอนโทนี เองไม่นิยมใช้ PEG เพราะหาเหตุผลไม่เจอว่า ทำไมหุ้น 2 ตัว
ถึงมีความน่าลงทุนเท่ากัน เพราะ PEG เท่ากัน
ตัวแรก PE 5 G=5 ตัวที่สอง PE 10 G =10 .. แต่ถ้าต้องเลือกเค้าจะเลือกตัวแรก
ซึ่งส่วนตัวผมก็คิดว่า หาโอกาสในการเพิ่ม G ในอนาคต ง่ายกว่า การรักษา G ให้คงอยู่ในระดับสูงๆ เพราะถ้าโตสะดุดเมื่อไร อาจเจอ 2 เด้ง ซึ่งเราอาจจะกำลังได้เห็นจากค้าปลีกบางตัว แต่ประเด็นเรื่องการคืนทุน ก็สำคัญเช่นกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบโมเดลธุรกิจด้วยครับ
ตัวแอนโทนี เองไม่นิยมใช้ PEG เพราะหาเหตุผลไม่เจอว่า ทำไมหุ้น 2 ตัว
ถึงมีความน่าลงทุนเท่ากัน เพราะ PEG เท่ากัน
ตัวแรก PE 5 G=5 ตัวที่สอง PE 10 G =10 .. แต่ถ้าต้องเลือกเค้าจะเลือกตัวแรก
ซึ่งส่วนตัวผมก็คิดว่า หาโอกาสในการเพิ่ม G ในอนาคต ง่ายกว่า การรักษา G ให้คงอยู่ในระดับสูงๆ เพราะถ้าโตสะดุดเมื่อไร อาจเจอ 2 เด้ง ซึ่งเราอาจจะกำลังได้เห็นจากค้าปลีกบางตัว แต่ประเด็นเรื่องการคืนทุน ก็สำคัญเช่นกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบโมเดลธุรกิจด้วยครับ
เพราะแสวงหา..มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ..มิใช่เพราะโอกาส
เพราะสามารถ..มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน
เพราะสามารถ..มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 8
น่าจะเหมาะกับ บ. ที่กำไรค่อนข้างเสถียร
ไม่ขึ้นๆ ลงๆ หรือบางครั้งก็ต้องแยกแยะ
ระหว่างกำไรปกติ กับกำไรพิเศษที่ทำให้
ภาพของ eps บิดเบี้ยว
ไม่ขึ้นๆ ลงๆ หรือบางครั้งก็ต้องแยกแยะ
ระหว่างกำไรปกติ กับกำไรพิเศษที่ทำให้
ภาพของ eps บิดเบี้ยว
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
-
- Verified User
- โพสต์: 168
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 9
G เป็นแค่สมมุติฐานของเราที่ยังไม่เกิดขึ้นเท่านั้นครับ
แต่ PE เป็นของจริงที่เกิดขึ้นแล้วและเป็นเงินของเราที่เราต้องจ่ายออกไปจริงๆ
และก็พึงระวังบริษัทที่เราตั้งGไว้สูงมากๆให้ดีครับ
มีบทความนึงของดร.นิเวศน์บอกว่า บริษัทที่เติบโต10%ในระยะยาวถือว่าใช้ได้
บริษัทที่เติบโต15%ถือว่าเยี่ยม บริษัทที่เติบโต20%นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในระยะยาวๆถ้าทำได้ก็ทำได้แค่ข่วงหนึ่งเท่านั้น
แต่ PE เป็นของจริงที่เกิดขึ้นแล้วและเป็นเงินของเราที่เราต้องจ่ายออกไปจริงๆ
และก็พึงระวังบริษัทที่เราตั้งGไว้สูงมากๆให้ดีครับ
มีบทความนึงของดร.นิเวศน์บอกว่า บริษัทที่เติบโต10%ในระยะยาวถือว่าใช้ได้
บริษัทที่เติบโต15%ถือว่าเยี่ยม บริษัทที่เติบโต20%นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในระยะยาวๆถ้าทำได้ก็ทำได้แค่ข่วงหนึ่งเท่านั้น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 152
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 10
สนใจครับ แนวคิดเป็นยังไงเหรอครับnaphas12 เขียน:ดังนั้น ผมจึงคิดว่าสูตร Break Even น่าจะเหมาะสมกว่า และได้ทำสูตร Plug-In สำหรับ Excel ไว้แล้วnaphas12 เขียน:หา Growth นี่แหละยากที่สุดแล้ว
อีกประเด็นคือ พวก Growth ต่ำ P/E ก็ต่ำ เช่น Growth 10% P/E 10 ได้ 1
ส่วนอีกตัว Growth 20, P/E 20 PEG ได้ 1 เหมือนกันแต่ Break Even ตัวที่สองจะเร็วกว่า
ใครต้องการไว้ศึกษาก็แจ้งมาได้ครับ
=BreakEven(Price,EPS,Growth) ค่าที่ได้คือจำนวนปีที่จะคืนทุน (แต่ไม่ได้คำนวณมูลค่าปัจจุบัน)
มีเหตุผล, พอประมาณ, มีภูมิคุ้มกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 11
ระวังการใช้ค่า g ที่มากเกินไป
เช่น ค้าปลีกบางตัว pe 30 หาก g ปีที่แล้วคือ 30 แม้ peg จะได้เท่ากับ 1 แต่ก็ยังมีความเสี่ยงว่าการเติบโตปีละ 30% นั้นมันเป็นการคาดหวังที่มากเกินไปหรือปล่าว
เช่น ค้าปลีกบางตัว pe 30 หาก g ปีที่แล้วคือ 30 แม้ peg จะได้เท่ากับ 1 แต่ก็ยังมีความเสี่ยงว่าการเติบโตปีละ 30% นั้นมันเป็นการคาดหวังที่มากเกินไปหรือปล่าว
- Wongratt
- Verified User
- โพสต์: 498
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 12
เห็นด้วยครับ เห็นบทวิเคราะห์ใช้ Growth ปีเดียวบ่อยมากครับ เคยเห็นบางบทวิเคราะห์ให้เป้าบริษัท PEG 0.8 (โดย PE 40, Growth 50% ปีหน้าปีเดียว) ตกใจเลยtodto เขียน:ระวังว่า Growth ต้องเป็น growth เฉลี่ยระยะยาวครับ ไม่ใช่แค่ปีนี้ปีหน้าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 168
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 14
ไม่ควรเกิน5ปีครับ ผมว่ายาวเกินไปก็คาดเดายากเช่นกันนะครับ อุตสาหกรรม,การแข่งขัน เปลี่ยนได้ตลอด
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 15
ตรงนี้น่าสนใจมากครับ เพราะ Peter Lynch เขียนในหนังสือ One Up on Wall Street ไว้ว่าเขาจะเลือกตัวที่ PE สูงกว่า เพราะเมื่อเวลาผ่านไป PE จะลดลงอย่างรวดเร็วเพราะ G สูง ผมเดาว่านี่น่าจะเป็นสไตล์ที่แตกต่างกันของสองท่านนี้SI Freedom เขียน:ในหนังสือ ลงทุนสวนกระแส ของแอนโทนี โบลตัน พูดถึงเรื่องนี้เหมือนกัน
ตัวแอนโทนี เองไม่นิยมใช้ PEG เพราะหาเหตุผลไม่เจอว่า ทำไมหุ้น 2 ตัว
ถึงมีความน่าลงทุนเท่ากัน เพราะ PEG เท่ากัน
ตัวแรก PE 5 G=5 ตัวที่สอง PE 10 G =10 .. แต่ถ้าต้องเลือกเค้าจะเลือกตัวแรก
ซึ่งส่วนตัวผมก็คิดว่า หาโอกาสในการเพิ่ม G ในอนาคต ง่ายกว่า การรักษา G ให้คงอยู่ในระดับสูงๆ เพราะถ้าโตสะดุดเมื่อไร อาจเจอ 2 เด้ง ซึ่งเราอาจจะกำลังได้เห็นจากค้าปลีกบางตัว แต่ประเด็นเรื่องการคืนทุน ก็สำคัญเช่นกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบโมเดลธุรกิจด้วยครับ
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 153
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 16
บางครั้งเห็นบทวิเคราะห์ใช้ fwd PE ลงในสูตร PEG
กลายเป็นหลอกว่า PEG ต่ำซะงั้น
กลายเป็นหลอกว่า PEG ต่ำซะงั้น
Someday We will be Great Swan...
ถือหุ้นที่ดี ไม่แพง แล้วก็รอ แค่นั้นแหละ
เค้าว่าล้านแรกจะไ้ด้มายากที่สุด ล้านต่อ ๆ ไปจะไ้ด้มาง่ายขึ้น หวังว่าคำพูดนี้จะเป็นความจริงนะ
ถือหุ้นที่ดี ไม่แพง แล้วก็รอ แค่นั้นแหละ
เค้าว่าล้านแรกจะไ้ด้มายากที่สุด ล้านต่อ ๆ ไปจะไ้ด้มาง่ายขึ้น หวังว่าคำพูดนี้จะเป็นความจริงนะ
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 17
ถ้าเราคิดว่า ธุรกิจที่เราสนใจ
ควรมี pe ไม่ควรเกิน g
ถ้าเราอนุรักษ์นิยมสักหน่อย
g ที่ใช้ก็ควรสมเหตุสมผล
อันนี้ บอกไม่ได้ ต้องทำการบ้านเยอะๆ
จะ 3 ปี 5 ปี 10 ปี
คล้ายๆ เวลาขับรถ
ต้องมองให้ไกลเข้าไว้
แต่สายตาคนเรามองไกลได้ไม่เท่ากัน
ทักษะก็ไม่เท่ากัน (ประสบการณ์)
รถสภาพก็ต่างกัน (ข้อมูล)
มุมมองทัศนะก็ต่างกัน (ความรู้ในธุรกิจที่เราสนใจ)
แต่ที่แน่ๆ
ถ้าคุณเห็นข้างหน้าได้ไม่ไกล
คุณก็ควรขับรถให้ช้าลง
จริงไหม ?
ควรมี pe ไม่ควรเกิน g
ถ้าเราอนุรักษ์นิยมสักหน่อย
g ที่ใช้ก็ควรสมเหตุสมผล
อันนี้ บอกไม่ได้ ต้องทำการบ้านเยอะๆ
จะ 3 ปี 5 ปี 10 ปี
คล้ายๆ เวลาขับรถ
ต้องมองให้ไกลเข้าไว้
แต่สายตาคนเรามองไกลได้ไม่เท่ากัน
ทักษะก็ไม่เท่ากัน (ประสบการณ์)
รถสภาพก็ต่างกัน (ข้อมูล)
มุมมองทัศนะก็ต่างกัน (ความรู้ในธุรกิจที่เราสนใจ)
แต่ที่แน่ๆ
ถ้าคุณเห็นข้างหน้าได้ไม่ไกล
คุณก็ควรขับรถให้ช้าลง
จริงไหม ?
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
- SI Freedom
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 174
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 18
ผมเข้าใจว่า ปีเตอร์ ลินช์ ก็เป็นนักลงทุนในหุ้นเติบโตครับ และหุ้นเติบโตก้อมักจะตามมาด้วย PE สูงๆ แต่ผมว่า ลินช์ คงไม่เลือกลงทุนในหุ้นที่ PE มากกว่า G นะครับ ในหนังสือ One up on Wall street ลินช์ก็เป็นคนสรุปไว้เอง ด้วยเหตุผลที่ว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะโต 20-30% ไปตลอดสิบปีหน้า เอาแค่โต 10-15% คู่แข่งก้อเริ่มเข้ามาแล้ว และเข้าข่ายเป็นบริษัทโตร้อนแรงซึ่งมักจะลงเอยด้วย .... และบริษัทยังจะต้องหาวิธีจัดการกับกำไรที่ได้มาว่าทำอย่างไร ถึงจะไป re-invest ต่อให้ได้ roe สูงกว่าการปันผลออกมาสูงๆให้ ผถห. ซึ่งก็ไม่พ้นการขยายกิจการ ลงทุนเพิ่ม ซึ่งบางครั้งก็เจ็บตัวไปเองvim เขียน:ตรงนี้น่าสนใจมากครับ เพราะ Peter Lynch เขียนในหนังสือ One Up on Wall Street ไว้ว่าเขาจะเลือกตัวที่ PE สูงกว่า เพราะเมื่อเวลาผ่านไป PE จะลดลงอย่างรวดเร็วเพราะ G สูง ผมเดาว่านี่น่าจะเป็นสไตล์ที่แตกต่างกันของสองท่านนี้SI Freedom เขียน:ในหนังสือ ลงทุนสวนกระแส ของแอนโทนี โบลตัน พูดถึงเรื่องนี้เหมือนกัน
ตัวแอนโทนี เองไม่นิยมใช้ PEG เพราะหาเหตุผลไม่เจอว่า ทำไมหุ้น 2 ตัว
ถึงมีความน่าลงทุนเท่ากัน เพราะ PEG เท่ากัน
ตัวแรก PE 5 G=5 ตัวที่สอง PE 10 G =10 .. แต่ถ้าต้องเลือกเค้าจะเลือกตัวแรก
ซึ่งส่วนตัวผมก็คิดว่า หาโอกาสในการเพิ่ม G ในอนาคต ง่ายกว่า การรักษา G ให้คงอยู่ในระดับสูงๆ เพราะถ้าโตสะดุดเมื่อไร อาจเจอ 2 เด้ง ซึ่งเราอาจจะกำลังได้เห็นจากค้าปลีกบางตัว แต่ประเด็นเรื่องการคืนทุน ก็สำคัญเช่นกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบโมเดลธุรกิจด้วยครับ
สุดท้ายผมว่าการลงทุนหุ้น PE 30 G 30 มันเป็นอะไรที่ aggressive มากเกินไปกว่าคำว่า Value Investment ครับ
เพราะแสวงหา..มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ..มิใช่เพราะโอกาส
เพราะสามารถ..มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน
เพราะสามารถ..มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 19
ในหนังสือเล่มนั้นเขายกตัวอย่างระหว่างหุ้นสองตัวที่มี PEG 1 เหมือนกันSI Freedom เขียน:
ผมเข้าใจว่า ปีเตอร์ ลินช์ ก็เป็นนักลงทุนในหุ้นเติบโตครับ และหุ้นเติบโตก้อมักจะตามมาด้วย PE สูงๆ แต่ผมว่า ลินช์ คงไม่เลือกลงทุนในหุ้นที่ PE มากกว่า G นะครับ ในหนังสือ One up on Wall street ลินช์ก็เป็นคนสรุปไว้เอง ด้วยเหตุผลที่ว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะโต 20-30% ไปตลอดสิบปีหน้า เอาแค่โต 10-15% คู่แข่งก้อเริ่มเข้ามาแล้ว และเข้าข่ายเป็นบริษัทโตร้อนแรงซึ่งมักจะลงเอยด้วย .... และบริษัทยังจะต้องหาวิธีจัดการกับกำไรที่ได้มาว่าทำอย่างไร ถึงจะไป re-invest ต่อให้ได้ roe สูงกว่าการปันผลออกมาสูงๆให้ ผถห. ซึ่งก็ไม่พ้นการขยายกิจการ ลงทุนเพิ่ม ซึ่งบางครั้งก็เจ็บตัวไปเอง
สุดท้ายผมว่าการลงทุนหุ้น PE 30 G 30 มันเป็นอะไรที่ aggressive มากเกินไปกว่าคำว่า Value Investment ครับ
ตัวแรก PE 10 G 10
ตัวต่อมา PE 30 G 30
เมื่อเวลาผ่านไปค่า PE ของสองตัวนี้ก็จะค่อยๆลดลง หากคิดค่า PE ล่วงหน้าเป็นรายปีแล้ว เราก็จะได้
ตัวแรก PE 10 -> 9.09 -> 8.26 -> 7.51 -> 6.83 -> 6.20 -> 5.64 -> 5.13
ตัวที่สอง PE 30 -> 23.08 -> 17.75 -> 13.65 -> 10.50 -> 8.08 -> 6.22 -> 4.78
จะเห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไป 7 ปี หุ้นตัวที่สองจะโตจน PE ลงต่ำกว่าหุ้นตัวแรก ทั้งๆที่ราคาตั้งต้นสูงกว่า ดังนั้นหากหุ้นนั้นเติบโตได้ที่ G สูงจริงๆ การลงทุนก็จะคุ้มในระยะยาว
ตรงนี้เองที่ Lynch ให้ข้อระวังไว้เหมือนที่คุณ SI Freedom ว่าไว้ คือเราต้องถามตัวเองว่าการเติบโตของบริษัทนั้นจะโตไปได้นานอีกเท่าไหร่ หากการเติบโตลดลงกว่าที่คาดก็อาจเป็นปัญหา การลงทุนในหุ้นเติบโตจะต้องระวังประเด็นนี้
แต่ Lynch ก็ยกตัวอย่างหุ้นที่เติบโตไปได้โดยไม่มีหยุดอยู่ตัวหนึ่ง คือหุ้น McDonald's ซึ่งมีช่วงเติบโตอยู่หลายช่วง ตั้งแต่ช่วงแรกที่ขยายสาขา พอถึงจุดหนึ่งผู้คนก็คิดว่าบริษัทนี้เริ่มอิ่มตัว ราคาหุ้นเลยลงมา ซึ่งหารู้ไม่ว่าบริษัทนั้นหันไปเปิดร้าน Drive-Through ซึ่งทำให้เติบโตได้อีกรอบใหญ่ๆ หลังจากนั้นก็ซาๆลงไป มาเติบโตรอบที่สามด้วยการขายอาหารเช้า และเติบโตอีกรอบด้วยการเปิด McCafe หุ้นเติบโตแบบนี้ Lynch จะชอบมาก
นอกจากนั้นขอเสริมเรื่อง PEG ของ Lynch ที่เขาจะใช้สูตร PEG = PE / (Growth + Dividend) ซึ่งอาจไม่ตรงกับแนวคิดนักการเงินสายหลักเท่าไหร่ เพราะเขาถือว่าการเติบโตของกำไรของบริษัท ต้องชดเชยด้วยปันผลที่ปันมาด้วย
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การวัดคุณค่าหุ้นโดยดูที่ PEG Ratio มีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
โพสต์ที่ 20
อะไรที่เกี่ยวข้องกับPEให้ระวังวัฏจักร
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.