คนไทยหนี้ท่วม พุ่ง 12% สูงสุดรอบ 5 ปี ...

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4254
ผู้ติดตาม: 1

คนไทยหนี้ท่วม พุ่ง 12% สูงสุดรอบ 5 ปี ...

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คนไทยหนี้ท่วม พุ่ง 12% สูงสุดรอบ 5 ปี กลุ่มรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นกู้หนี้นอกระบบเพิ่ม อ้างของแพง-ค่าครองชีพอ่วม ส่วนคนชั้นกลางก่อหนี้บัตรเครดิต จ่ายแค่ขั้นต่ำ หวั่นดันยอดเอ็นพีแอลกระฉูด ฉุดจีดีพีหดตัวต่ำกว่า 5%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือน จำนวนประชาชนทั่วประเทศ 1,200 ราย ระหว่างวันที่ 18-23 มิถุนายน 2556 พบว่าประชาชน 71.5% ระบุเคยมีปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย เนื่องจากภาระใช้จ่ายเพิ่ม จากราคาสินค้าแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูง และราคาน้ำมันแพง ทำให้ต้องกู้ยืมเพิ่มขึ้น ซึ่ง 47.8% ระบุเพื่อมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และการลงทุน อีก 19.7% ระบุเพื่อชำระเงินกู้นอกระบบ

นายธนวรรธน์กล่าวว่า สัดส่วนประชาชน 64.6% ระบุมีภาระหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มต่อเนื่องและสูงสุดในรอบ 7 ปี ทำให้มูลค่าหนี้ครัวเรือนปี 2556 เพิ่มเป็น 1.88 แสนบาท จากปีก่อน 1.68 แสนบาท หรือขยายตัว 12% ทำสถิติมูลค่าและขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ปี นับจากปี 2552 โดยครัวเรือนจะเป็นหนี้นอกระบบเพิ่มต่อเนื่องถึง 49.6% สูงสุดในรอบ 8 ปีจากที่ได้ทำสำรวจมา และประชาชน 35% ระบุเป็นหนี้นอกระบบเพิ่มขึ้น และ 29% ระบุหนี้นอกระบบลดลง ขณะที่ครัวเรือนเป็นหนี้ในระบบลดลงต่อเนื่องเหลือ 50.4%

นายธนวรรธน์กล่าวว่า ในการสำรวจพบว่าประชาชนมียอดหนี้ผ่อนชำระเฉลี่ยต่อครัวเรือนเดือนละ 11,672 บาท ขยายตัวจากปีก่อน 6.3% แยกเป็นยอดหนี้ในระบบ 10,990 บาท ขยายตัว 5.1% ยอดหนี้นอกระบบ 6,378 บาท ขยายตัว 13.6% ซึ่งสาเหตุการเป็นหนี้เพิ่ม 23.3% ระบุค่าครองชีพสูง รองลงมา 22% ระบุจ่ายค่าเรียนบุตรหลาน 13.5% ซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นเช่น บ้านและรถ อีก 10.3% ระบุมีการก่อหนี้ใหม่ ซึ่งประชาชน 70% ระบุเคยมีปัญหาการชำระหนี้ โดยเฉพาะผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่มีการก่อหนี้นอกระบบมากขึ้น และความสามารถในการผ่อนชำระหนี้น้อย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อถูกข่มขู่ ทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน แม้การปรับเพิ่มค่าแรงงานวันละ 300 บาท ประชาชน 41% เห็นว่าการบริโภคและใช้หนี้มากขึ้น แต่การออมลดลง

ส่วนประชาชนที่มีรายได้เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ก็มีการกู้หนี้มากขึ้นและกู้หนี้ผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นสัดส่วนถึง 89.9% จำนวนนี้ 80% เป็นหนี้บัตรเครดิตสูงกว่ารายได้และมีมูลหนี้ 2-4 เท่าของรายได้ เฉลี่ยต่อคนจะมีบัตรเครดิต 2 ใบ

"ที่น่าวิตกคือประชาชนที่ใช้บัตรเครดิต ชำระหนี้เงินขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 13% เป็น 17% อีก 25% ชำระบางส่วน และ 2% มีการขาดชำระหนี้แล้ว สะท้อนถึงปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น ซึ่งเอ็นพีแอลในอัตรา 2-3% ถือว่าปกติ แต่หากเกิน 5% รัฐบาลคงต้องเอามาดูแลแล้ว เพื่อไม่ให้เกิน 10% ที่เป็นอัตรายอมรับได้และไม่กระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก แต่หากถึง 20% จะน่าเป็นห่วงและเป็นอันตรายกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ" นายธนวรรธน์กล่าว

นายธนวรรธน์กล่าวว่า ผลสำรวจได้สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ซึมตัวลง และประชาชนกังวลต่อปัญหาค่าครองชีพแพง และรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีโอกาสที่จะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวไม่เกิน 5% และการซึมตัวของเศรษฐกิจไทยน่าจะคลี่คลายหลังไตรมาส 4 ปีนี้ ประชาชนจึงเสนอให้รัฐบาลลดค่าครองชีพ ลดอัตราดอกเบี้ยและดอกเบี้ยบัตรเครดิต คุมราคาสินค้าจำเป็น ดูแลราคาก๊าซและราคาน้ำมัน รวมถึงสร้างรายได้

(ที่มา:มติชนรายวัน 26 มิ.ย.2556)

http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 0&catid=00
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4254
ผู้ติดตาม: 1

Re: คนไทยหนี้ท่วม พุ่ง 12% สูงสุดรอบ 5 ปี ...

โพสต์ที่ 2

โพสต์

แบงก์ส่งสัญญาณหนี้ครัวเรือนพุ่ง กระทบปล่อยสินเชื่อบ้าน กสิกรไทยเผยยอดปฏิเสธปล่อยกู้สัดส่วน 60% คุมเข้มบ้านหลังที่ 3 กำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำ

หนี้ครัวเรือนที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากการขยายตัวของสินเชื่อบุคคลและโครงการรถยนต์คันแรก เริ่มส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับโครงการใหม่ เนื่องจากภาระหนี้สินที่มากขึ้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิเสธการขอสินเชื่อ

ปัญหาหนี้ครัวเรือน เป็นไปตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกรายงานนโยบายการเงิน แบบล่าสุดเมื่อเดือนเม.ย. 2556 ระบุว่าสินเชื่ออุปโภคบริโภคยังคงขยายตัวอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมาจากการขยายตัวของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากมาตรการรถยนต์คันแรกและสินเชื่อส่วนบุคคลจากความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังหันมาให้สินเชื่อประเภทดังกล่าวมากขึ้นเนื่องจากได้รับผลตอบแทนค่อนข้างสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในอนาคต

นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่าการปฏิเสธสินเชื่อบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพราะภาระหนี้ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก หรือมียอดการปฏิเสธลูกค้าที่มาจากภาระหนี้เพิ่มขึ้นคิดเป็นสัดส่วน 60% ของยอดการปฏิเสธทั้งหมดตามแนวโน้มหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจากการก่อหนี้สินเชื่อบุคคลและสินเชื่อเช่าซื้อจากโครงการรถคันแรก

"ยอดการปฏิเสธสินเชื่อในขณะนี้อยู่ที่ 50% ของคำขอสินเชื่อที่เข้ามา โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่า"


ส่วนผลการดำเนินงานของสินเชื่อบ้านกสิกรไทย สิ้นเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา มีสินเชื่อคงค้าง 215,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อใหม่ 17,300 ล้านบาท คิดเป็น 35% ของเป้าที่ตั้งไว้

ทั้งนี้ ธนาคารได้ตั้งเป้าสินเชื่อบ้านปีนี้ไว้ที่ 223,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อใหม่ที่ 49,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5-8% จากสิ้นปี 2555 โดยแนวโน้มสินเชื่อจากบ้านแนวราบ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในอนาคต ตามการกระจายตัวของแนวรถไฟฟ้าที่ขยายออกนอกเมืองมากขึ้น

ชี้ภาระหนี้ลูกค้าแนวโน้มสูง

ด้าน นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารเตรียมปรับลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยลง 0.25% สำหรับลูกค้าใหม่ที่กู้บ้านทั้งรูปแบบของการกู้ดอกเบี้ยลอยตัว และดอกเบี้ยคงที่ในระยะปีที่ 1-3 ปีแรก มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. นี้ เพื่อรักษาระดับการแข่งขัน

ขณะเดียวกันยอดการปฏิเสธสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น มาจากภาระหนี้ของลูกค้าที่สูงเกินระดับ 40% มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่ายอดการปฏิเสธเพราะลูกค้าเป็นหนี้เสียหรืออายุงานไม่ถึง โดยหนี้ครัวเรือนของธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศอยู่ที่ 8 ล้านล้านบาท ส่วนกลุ่มลูกค้าที่กู้ในโครงการรถคันแรกและมากู้สินเชื่อบ้านจากธนาคารไม่มากนัก เนื่องจากลูกค้าของธนาคารอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ 3 หมื่นบาทขึ้นไป ซึ่งไม่ใช่กลุ่มลูกค้ารถคันแรก

"ลูกค้ากลุ่มที่มีรายได้น้อยมีความเสี่ยงมากกว่า โดยกลุ่มนี้จะมีเอ็นพีแอลประมาณ 1.5% แต่ถ้าเป็นลูกค้าที่กู้ซื้อบ้านของบริษัทจดทะเบียนจะมีเอ็นพีแอลไม่ถึง 1% ซึ่งเอ็นพีแอลของธนาคารโดยเฉลี่ยมีประมาณ 1.4% ต่ำกว่าระบบที่ 2-3%"

เข้มปล่อยกู้บ้านหลังที่ 3

นอกจากนี้ธนาคารมีความระมัดระวังการปล่อยกู้ลูกค้าที่ซื้อบ้านหลังที่ 3 ขึ้นไป และไม่ให้สินเชื่อสำหรับบ้านหลังที่ 4 ขึ้นไป โดยปัจจุบันลูกค้าที่กู้ซื้อบ้านหลังที่ 3 มีสัดส่วน 3-4% ของพอร์ตสินเชื่อบ้าน โดยธนาคารจะลดวงเงินสินเชื่อต่อหลักประกัน (Loan to Value) ลง 15% จากปกติที่สัดส่วนสินเชื่อต่อหลักประกัน 90-95% สำหรับบ้านในโครงการของผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่หากเป็นโครงการทั่วไปจะอยู่ที่ 80% ทำให้ลูกค้าต้องเตรียมเงินดาวน์มากขึ้น

ส่วนการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ เชื่อว่า จะทำได้น้อย เพราะปัจจุบันราคาบ้านแนวราบปรับขึ้นราคาปีละ 2-3% ขณะที่คอนโดมิเนียมจะปรับขึ้นเฉลี่ย 6% ต่อปี จึงมีสภาพคล่องในการเปลี่ยนมือมากกว่าบ้านเดี่ยว โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่อยู่ตามแนวรถไฟฟ้าจะมีราคาสูงขึ้น 10.5% ต่อปี หมายความว่าการเก็งกำไรในบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์จะทำได้ยากกว่าคอนโดมิเนียม

กรุงไทยปฏิเสธสินเชื่อ 30%

ด้าน นายเวทย์ นุชเจริญ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารยังไม่มีแผนลดดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อบ้าน โดยมองว่าดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะนี้ยังเป็นระดับที่เหมาะสม โดยการขยายสินเชื่อในช่วงครึ่งแรกของปีปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 3 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปีที่ตั้งไว้ 8 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นสุทธิ 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้พอร์ตสินเชื่อบ้านของธนาคารในสิ้นปีนี้อยู่ที่ 2.5 แสนล้านบาท

สำหรับยอดปฏิเสธสินเชื่อของธนาคารมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ที่ระดับ 30% เนื่องจากในปีที่ผ่านมาธนาคารมีการปรับเกณฑ์การกลั่นกรองสินเชื่อและหันมามุ่งเน้นลูกค้าที่ซื้อบ้านในโครงการของผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ามีความกังวลกับลูกหนี้กลุ่มเดิมที่ผ่อนบ้านไปได้ประมาณ 2-3 ปี เริ่มมีสัญญาณที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะลูกหนี้ที่เพิ่งครบกำหนดช่วงปรับโครงสร้างหนี้ จากความเสียหายในเหตุการณ์น้ำท่วมมาได้ไม่นาน อาจมีปัญหาติดขัดเล็กน้อย

ประกอบกับลูกค้าบางส่วน ที่เข้าโครงการรถคันแรก ที่ทำให้ภาระหนี้เพิ่มขึ้น จึงเป็นไปได้ว่าอาจเห็นสัญญาณเอ็นพีแอลปรับเพิ่มขึ้นได้บ้าง ซึ่งธนาคารจะต้องเฝ้าระวังและติดตามใกล้ชิด

"เอพี" ชี้ลูกค้าขอกู้ไม่ผ่านมากขึ้น

นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์การตลาด บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ เอพี กล่าวว่า จากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังที่ไม่ชัดเจน อาจทำให้การตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยยากขึ้น

ขณะนี้ภาพรวมของตลาดเริ่มมีสัญญาณของการที่ลูกค้า ขอกู้แล้วไม่ผ่านการอนุมัติจากธนาคารมากขึ้น ซึ่งอาจจะไม่ใช่ผลกระทบของรถคันแรกเพียงอย่างเดียว แต่มีปัจจัยเรื่องของเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูงขึ้น แต่ในส่วนของบริษัท สัดส่วนลูกค้ากู้ไม่ผ่านอยู่ที่ 15%

ปัจจัยเสี่ยงหลักของผู้ประกอบการ ก็คือต้นทุนราคาที่ดิน มีการปรับสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 10-20% เช่น บริเวณปากซอยทองหล่อ ราคาขายแตะตารางวาละ 1.3 ล้านบาทแล้ว ย่านเพชรบุรีตัดใหม่ ราคาที่ดินขึ้นมาอยู่ที่ตารางวาละ 1.2 ล้านบาท เช่นกัน และอีกหนึ่งปัญหาคือการขาดแคลนผู้รับเหมา และขาดแรงงาน

ดังนั้น เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง บริษัทได้ปรับแผนการลงทุนในครึ่งปีหลัง โดยการเพิ่มพอร์ตลงทุนโครงการแนวราบมากขึ้น จากแผนครึ่งปีหลังจะเปิดตัวทั้งหมด 16 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 14,770 ล้านบาท โดยจะเป็นทาวน์เฮ้าส์ ถึง 9 โครงการ บ้านเดี่ยวรวมมูลค่ากว่า 9 พันล้านบาท และคอนโดมิเนียม แค่ 3 โครงการ มูลค่า 4,930 ล้านบาท

มุ่งแนวราบลดความเสี่ยงเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ จะทำให้สัดส่วนรายได้ปีนี้มาจากแนวราบ 50% และแนวสูง 50% จากเดิมมาจากแนวราบ 35% และแนวสูง 65% แต่ได้มีการทยอยปรับพอร์ตลงทุนมาแล้วในช่วง 1-2 ปี

"ยอมรับว่ากังวล เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเศรษฐกิจจะออกมาในรูปแบบไหน แต่เรายังมองในมุมบวก โดยยังคงวิ่งตามแผนงานเดิมที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปี ทั้งแง่การเปิดโครงการและยอดขาย แต่เราก็ต้องมีแผนสำรอง บริหารความเสี่ยง โดยการบาลานซ์การลงทุนทั้งแนวราบและแนวสูง มีสัดส่วนที่เท่ากัน 50:50% ทยอยปรับมาต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปี เพราะว่าเป็นแนวราบมีความเสี่ยงน้อย เหมือนน้ำซึมบ่อทราย หากมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น สามารถหยุดสร้างได้ทันที ผิดกับแนวสูง ต้องลงทุนยาว 2-3 ปี แล้วต้องสร้างให้เสร็จถึงจะโอนได้"นายวิทการ กล่าว

เอพี ตั้งเป้ายอดขายทั้งปีที่ 22,000 ล้านบาท ปัจจุบันมียอดขายแล้วประมาณ 8,000 ล้านบาท และตั้งเป้ารับรู้รายได้ทั้งปี อยู่ที่ 20,000 ล้านบาท และมีโครงการอยู่ระหว่างการขายอีกประมาณ 53 โครงการ มูลค่า 35,592 ล้านบาท มียอดขายที่รอรับรู้รายได้ (แบ็คล็อก) 32,389 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวราบมูลค่า 5,217 ล้านบาท และแนวสูง 27,172 ล้านบาท

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ้บ้าน.html
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
Thaspetch
Verified User
โพสต์: 3
ผู้ติดตาม: 0

Re: คนไทยหนี้ท่วม พุ่ง 12% สูงสุดรอบ 5 ปี ...

โพสต์ที่ 3

โพสต์

มีข้อสงสัยอยากขอคำแนะนำจากผู้มีความรู้หน่อยครับ

การที่หนี้สินภาคครับเรือน มากขนาดนี้

จะมีปัจจัยอะไรมั้ยครับที่ จะส่งผลกระทบจนสามารถทำให้การชำระหนี้ภาคครัวเรือนไม่สามารถชำระ

ได้ตามกำหนดจนส่งผลกระทบถึงภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมัยครับ
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

Re: คนไทยหนี้ท่วม พุ่ง 12% สูงสุดรอบ 5 ปี ...

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เมื่อคนในประเทศเป็นหนี้มาก
ถ้าไม่สามารถเพิ่มหนี้ได้
การบริโภคภายในประเทศก็ต้องลดลง
สินค้าและบริการในประเทศ ก็ขายได้น้อยลง
ยกเว้น แต่ว่า มีคนต่างชาติ มาเที่ยวประเทศไทยเยอะๆ
ส่วนภาคการส่งออกเช่น เตรื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ อัญมณี นั้น พึ่งไม่ได้แล้ว
เพราะ เจ้งไปเยอะตอนค่าเงินเราแข็ง ผิดปกติ
สินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว ก็หวังไม่ได้แล้ว เพราะ ข้าวไทยเก็บไว้เยอะและนานเกินไปจนคุณภาพเสื่อม
จาก 2508 มาจนสองเดือนที่แล้ว
คนไทยจากการแนะนำของนักวิชาการ และพ่อค้า 2สูง
บอกว่าประเทศไทยสามารถเจริญได้ด้วยการบริโภคภายในประเทศ
ไม่ต้องพึ่งการส่งออก ไม่ต้องส่งออกสินค้าราคาถูกอีกแล้ว
Blueplanet
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1523
ผู้ติดตาม: 0

Re: คนไทยหนี้ท่วม พุ่ง 12% สูงสุดรอบ 5 ปี ...

โพสต์ที่ 5

โพสต์

Thaspetch เขียน:มีข้อสงสัยอยากขอคำแนะนำจากผู้มีความรู้หน่อยครับ

การที่หนี้สินภาคครับเรือน มากขนาดนี้

จะมีปัจจัยอะไรมั้ยครับที่ จะส่งผลกระทบจนสามารถทำให้การชำระหนี้ภาคครัวเรือนไม่สามารถชำระ

ได้ตามกำหนดจนส่งผลกระทบถึงภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมัยครับ
ตกงานไงครับ ลองตกงานกันแบบสเปนตอนนี้ ผมว่าสาหัสกว่าสเปนแน่ครับ

ไม่มีงานก้ไม่มีเงิน ครับ ไม่มีเงินก้ไม่มีแรงจ่าย
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1523
ผู้ติดตาม: 0

Re: คนไทยหนี้ท่วม พุ่ง 12% สูงสุดรอบ 5 ปี ...

โพสต์ที่ 6

โพสต์

คนไทยจากการแนะนำของนักวิชาการ และพ่อค้า 2สูง
บอกว่าประเทศไทยสามารถเจริญได้ด้วยการบริโภคภายในประเทศ
ไม่ต้องพึ่งการส่งออก ไม่ต้องส่งออกสินค้าราคาถูกอีกแล้ว

เมืองไทยนะครับไม่ใช่เวเนซุเอล่า ที่มีน้ำมัน คนรวย80 คนจน20

เจ้าสัว CPท่านก้พูดถูก ทำไมเราต้องขายข้าวถูกๆ เอาเงินไปซื้อรถแพงๆ

ทุกวันนี้ก้เห็นแล้วนิครับ อาหารแพงขึ้นเรื่อยๆ แต่สินค้าเทคโนโลยีถูกลงเรื่อยๆ

ใครกล้าเถียงผมไหม ผมเคยกินข้าวจานละ 20-25 มาตอนนี้ 45-50

ผมเคยซื้อพลาสม่าตัวเกือบ6หมื่นเมื่อ5ปีที่แล้ว ตอนนี้ 19000 ผมก้ซื้อได้ 50 นิ้ว

จากที่สมัย15ปีที่แล้ว ใครมีรถเนี่ย ต้องมีเงินเยอะหน่อย

สมัยนี้ อีโคคาร์ก้มี 4แสนก้ออกรถได้

ชาวนาสมัยก่อน ส่วนใหญ่ส่งลูกเรียนสูงๆ ไม่ให้กลับไปทำนาแล้วลำบาก

ถ้าคนคิดแบบนี้ทุกคน

อีกหน่อยคิดว่า ข้าวจะแพงไหมครับ ถ้าsupply หดไปเรื่อยๆ


สิ่งที่ผมเห็นตอนนี้ คือ ยอดมนุษย์เงินเดือนที่ไม่รู้จะพอกินไหม ไหนจะผ่อนบ้านผ่อนรถ

หนี้สินบัตรเครดิต แต่งตัวดูดีมีเท่ห์แต่ไม่มีเงินในกระเป๋า สไตล์ดูดีไม่มีเงิน

กับชาวนา ที่บางคนมีเงินปล่อยกู้ บางคนปลูกบ้านเงินสดที่ดินอีกเป็นร้อยไร่

มีรถเงินสด

หมดยุคชาวนา บ้านกระท่อม หนี้สินรุงรัง แต่งตัวมอซอ และครับ

เค้าทำนา ภาษีก้ไม่เสีย ภาษีที่นาก้ถูก ใครกินเงินเดือน สิ้นเดือนก้หักและประกันสังคม

หักโน่นนี่นั่น

จิงดั่งคำ หลวงพ่อท่านว่า คนเมืองจะออกไปอยู่ป่า แต่คนป่าจะเข้ามาเมือง
โพสต์โพสต์