เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
โพสต์ที่ 1
อยากอ่านไว้เป็นแนวทางครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
โพสต์ที่ 5
หาอ่านได้ครับManey เขียน:กรณีปล่อยกู้ไรคับmiracle เขียน:ข้อมูลหายากมากครับ
เคสนี้ต้องรอหนังสือพิมพ์เจาะให้เห็นเหมือน เคสก่อนหน้านี้
ที่เป็นกรณีปล่อยกู้ของนก... ครับ
ว่าเส้นทางเป็นเช่นไร
อยากตามไปดู
จำปีไม่ได้ครับ
เคสนี้ มันเน่าใน
แต่แปลก ว่า อาการมีตอน ศก แย่
ทุกรอบ
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
โพสต์ที่ 6
เพื่อนที่แบงค์ เค้าบอกว่ารายนี้เหนี่ยวหนี้มานานแล้วครับ
ดึงเรื่องจ่ายหนี้ช้าตลอด
จนแบงค์เดิมทนไม่ไหว ไม่อยากปล่อยกู้
พอแบงค์เดิมทนไม่ไหว ก็หาแบงค์ใหม่มา refinance หนี้เก่า แล้วก็ยืดหนี้ต่อ
อาศัยว่าตัวเองเป็นธุรกิจใหญ่
สุดท้าย แจ็คพอต มาแตกที่แบงค์กรุงไทย
ส่วนฐานะทางครอบครัว กับฐานะทางธุรกิจนั้น แตกต่างกันโดนสิ้นเชิงครับ
ก็น่าจะเดากันออก ว่าทำไม
ดึงเรื่องจ่ายหนี้ช้าตลอด
จนแบงค์เดิมทนไม่ไหว ไม่อยากปล่อยกู้
พอแบงค์เดิมทนไม่ไหว ก็หาแบงค์ใหม่มา refinance หนี้เก่า แล้วก็ยืดหนี้ต่อ
อาศัยว่าตัวเองเป็นธุรกิจใหญ่
สุดท้าย แจ็คพอต มาแตกที่แบงค์กรุงไทย
ส่วนฐานะทางครอบครัว กับฐานะทางธุรกิจนั้น แตกต่างกันโดนสิ้นเชิงครับ
ก็น่าจะเดากันออก ว่าทำไม
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3419
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
โพสต์ที่ 7
จากที่เคยคุยกับเพื่อนคนที่ขายของให้สหฟาร์ม เค้าบอกว่าเครไม่ดีเลย ของที่ขายให้จะบวกค่าความเสี่ยงเข้าไปด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ในวงการจะรู้กันภายในเพราะมีการคุยกัน แต่สหฟาร์มก็ต้องซื้อของแพงกว่าท้องตลาด เนื่องจากทางเลือกมีไม่มาก เห็นว่าเป็นมาได้2-3ปี มาแล้ว
ในเกมการเงิน อะไรที่ไม่รู้ คือ ความเสี่ยง
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
โพสต์ที่ 8
เพิ่งเห็นในกรุงเทพธุรกิจขออนุญาตนำมาแชร์ครับ
ที่มากรุงเทพธุรกิจ 2/9/13
จากสหฟาร์ม ถึง แพนเอเซีย ถอดบทเรียน How to survive
โดย : ประกายดาว แบ่งสันเทียะ
ความไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยถูกขยายวงกว้าง เมื่อสื่อยักษ์ใหญ่แห่งสหราชอาณาจักร อย่าง "บีบีซี" นำเสนอบทความของหัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐศาสตร์ของรอยัลแบงก์ออฟสกอตแลนด์ (อาร์บีเอส) เรื่อง Thailand's economy enters recession หรือเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย (recession) โดยระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทย "หดตัว" ถึง "สองไตรมาส" ติดต่อกัน
โดยไตรมาสแรกของปีหดตัว 1.7% ขณะที่ไตรมาสที่สองยังคงหดตัวที่ 0.3% โดยก่อนหน้านี้เศรษฐกิจไทยเติบโตแซงหน้าประเทศอื่นในภูมิภาค โดยเมื่อปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจขยายตัวถึง 6%
ทันทีที่บทความนี้ถูกเผยแพร่ออกไป จะมีคนของรัฐบาลออกมาแก้ข่าวพัลวัน ขณะที่เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" ระบุว่า ครึ่งปีแรกของปีนี้ เศรษฐกิจไทยยังเติบโต 4.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไตรมาสแรกเติบโต 5.4% ไตรมาสสองเติบโต 2.8%)
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ เรียกว่าเป็น "ภาวะถดถอยทางเทคนิค" หรือ Technical recession เนื่องมา GDP ไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ของปีนี้ เมื่อปรับฤดูกาลและเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ติดลบติดต่อกันสองไตรมาส
สำทับด้วยความเห็นของ "ธนวรรธน์ พลวิชัย" ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถึงขั้นถดถอย โดยหยิบยก GDP ในปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งว่า GDP ติดลบมากถึง 10.4% ขณะที่ในช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในปี 2552 GDP เศรษฐกิจไทยติดลบไป 2.3% ซึ่ง "มากกว่า" ตัวเลขเศรษฐกิจไทยตามบทความที่เสนอผ่าน บีบีซี
ทว่า เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยโดยรวม "ผ่านมา 8 เดือน" ข้อเท็จจริงยังคงอยู่ในสถานการณ์ "น่าวิตก" อยู่ไม่น้อย แม้แต่สภาพัฒน์ฯ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต่างออกมาปรับลงประมาณการ GDP ทั้งปีลง
โดยสภาพัฒน์ปรับแนวโน้ม GDP ปีนี้ใหม่ เหลือ 3.8-4.3% ลดลงจากที่เคยประเมินไว้ที่ 4.2-5.2% เช่นเดียวกับ ธปท.ที่ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ใหม่เหลือ 4.2% จากประมาณการเดิมที่ 5.1%
สำทับด้วยตัวเลขส่งออก 7 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ค.) ของปีที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.6% เฉพาะยอดส่งออกเดือนก.ค. ติดลบ 1.48% ,ดุลการค้า ในระยะ 7 เดือนขาดดุลการค้ามาทุกเดือน ยอดสะสมขาดดุลรวมไปแล้ว 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์หรือ 5.9 แสนล้านบาท ,สัดส่วนหนี้ครัวเรือน ที่เข้าใกล้ระดับ 80 % ของ GDP
นอกจากนี้ยังเกิดภาวะเงินทุนไหลออก กดตลาดหุ้นไทยเมื่อ 28 สิงหาคม เวลา 15.39 น. ดัชนีหลุดแนวต้านที่ 1,300 จุด มาอยู่ที่ 1,296.21 จุด จากความไม่แน่นอนของมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE) ของสหรัฐ โดยในช่วงที่ผ่านมาที่มีการขายสุทธิต่อเนื่องแล้วมากกว่า 1 แสนล้านบาท
ที่ชัดขึ้นไปอีก กับการ "ปิดตัวลง" สังเวยพิษเศรษฐกิจ กับการ "ตั้งรับไม่ทัน" ต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ของสองบิ๊กธุรกิจ ได้แก่ "สหฟาร์ม" ธุรกิจของนพ.ปัญญา โชติเทวัญ ที่ถูกระบุว่าเป็น "ผู้ส่งออกไก่เบอร์ 1 ของไทย" หลังทำธุรกิจมากว่า 45 ปี มีการจ้างงานมากกว่า 10,000 อัตรา เป็นแรงงานในโรงงาน จ.ลพบุรี 5,400 คน และจ.เพชรบูรณ์อีก 3,800 คน ที่ประกาศ "ปิดตัวชั่วคราว" และมีหนี้ค้างไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท
จนถึงของ บมจ.แพนเอเซียฟุตแวร์ (PAF) ผู้รับจ้างผลิตรองเท้า (OEM) รายใหญ่ของไทย ผู้บุกเบิกรับจ้างผลิตรองเท้ายี่ห้อไนกี้ รายแรกในไทย ธุรกิจในเครือสหพัฒน์ฯ ซึ่งประกาศ "ปิดตัวถาวร" ในส่วนของโรงงานรับจ้างผลิตรองเท้า กระเป๋า ตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา มีพนักงาน 2,000 คน หลังเผชิญภาวะขาดทุนสะสมกว่า 2,000 ล้านบาท
ขณะที่สายการผลิตสำหรับการผลิตสินค้าจำหน่ายในประเทศนั้นยังคงดำเนินการอยู่ ซึ่งเน้นผลิตสินค้าป้อนให้แก่บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือสหพัฒน์ฯ เป็นหลัก
ธุรกิจยักษ์ยังล้ม !!! น่าตั้งคำถามถึง "ความอยู่รอด" ของธุรกิจในขนาดที่เล็กลงมา พวกเขาจะปรับตัวรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจขาลงอย่างไร และยังมีรายใดกำลังจะปิดตัวตามมา
อะไรคือ "บทเรียน" ที่ได้จากสององค์กรยักษ์ที่ปิดตัวลงนี้
ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ให้ความเห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมหลายสาขาที่ใช้แรงงานมาก มักเป็นกลุ่มแรกๆที่ต้องเผชิญวิกฤติ เมื่อเศรษฐกิจขาลง ยิ่งหากเป็นธุรกิจที่ไปผูกติดกับ "การส่งออก" มากเกินไป
เริ่มจากอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากค่าแรงและวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้รับคำสั่งซื้อลดลง แข่งขันลำบาก จึงต้องหาทางลดต้นทุนด้วยการลดค่าจ้าง หรือตัดค่าล่วงเวลา (OT) ผลก็ตกมาสู่ภาคครัวเรือนที่มีรายรับลดลง แต่ของแพงขึ้น รวมกับหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงกำลังซื้อในประเทศเริ่มมีปัญหา จึงเป็นเหตุให้การลงทุนใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากภาคประชาชน และรัฐบาลเริ่มหดตัวตามไปด้วย
นี่คือผลกระทบเป็นลูกโซ่ ที่นักอุตสาหกรรมรุ่นลายครามอย่างธนิต พยายามฉายให้เห็น
เขาระบุว่า กรณีของสหฟาร์ม ที่ประกาศปิดโรงงานชั่วคราวที่ จ.เพชรบูรณ์ และจ.ลพบุรี รวมถึงการปิดตัวล่าสุดของแพนเอเซียฟุตแวร์
เป็นหนึ่งในผลกระทบจากวิกฤติภายในและภายนอก ที่มีกำลังซื้อลดลงตามสภาวะการแข่งขัน จึงทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน
หนึ่งต้นตอที่อาจจะกระเพื่อมให้คนตกงาน รายได้หาย กำลังซื้อตก ภาคการลงทุนชะลอตัว เรียกว่า ครบองค์ประกอบ Recession
"หากบริษัทใหญ่ล้ม หมายถึงการกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงแรงงาน และเกษตรกร ดังนั้นแบงก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่จะปล่อยให้กิจการล้มไม่ได้ เพราะหากกลายเป็นหนี้สูญต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น กระทบต่อระบบเศรษฐกิจ จึงต้องเข้ามาอุ้ม"
ด้าน ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ถอดกรณีศึกษาของบริษัทสหฟาร์ม และ แพนเอเซีย ว่า ทั้งคู่ผจญกับตัวเร่งปัจจัยลบจากภายนอก ผสมโรงกับการบริหารจัดการภายในได้ไม่ทันท่วงทีต่อความผันแปรของโจทย์ธุรกิจ
อาการโคม่าของสหฟาร์มเกิดจากการมีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนแพนเอเซียฯสุดท้ายเป็นเรื่องของการปรับตัวไม่ทันกับการแข่งขัน
ทว่า วิกฤติเศรษฐกิจ ยังไม่จำกัดเฉพาะรายใหญ่ แต่กิจการขนาดเล็กลงมาไปก่อนหน้าแล้ว
ตามผลสำรวจของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โชว์ให้เห็นว่า ตัวเลข 6 เดือนมีบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทยอยปิดกิจการ ประมาณ 50,000 - 60,000 ราย เพราะได้รับผลพวงอันหนักหน่วงจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทซึ่งปัจจัยภายใน รวมกันกับปัจจัยภายนอกจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก
เขายังวิเคราะห์โครงสร้างของทั้ง 2 บริษัท สหฟาร์มและแพนเอเซียว่า สิ่งที่เหมือนกันคือ "การพึ่งพาตลาดส่งออก" ในสัดส่วนสูงสหฟาร์มมีสัดส่วนการส่งออกสัดส่วน 50% ส่วนแพนพึ่งพาตลาดส่งออกเกือบทั้งหมดที่ 98%
เมื่อภาวะส่งออกโดยรวมของประเทศเข้าสู่ขาลงในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทส่งออกในประเทศก็หนีไม่พ้นลูกค้าและรายได้ต้องหายไปตามด้วย
ชีพจรธุรกิจขาลง ยังเป็นผลมาจากการจัดการประสิทธิภาพใน 3 ส่วน ได้แก่ 1.โมเดลธุรกิจ หรือกลยุทธ์ไม่สอดคล้องกับสภาพการแข่งขัน (Model) 2.ฐานะทางการเงิน ขาดสภาพคล่อง (Finance) และ 3.การบริหารจัดการ ไม่ทันรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและสภาพการแข่งขันของตลาด (Operation)
เขาวิเคราะห์ต่อไปถึงสภาพธุรกิจที่เริ่มสะดุดของสหฟาร์ม แม้จะเป็นธุรกิจส่งออกไก่อันดับ 1 ของประเทศ เริ่มต้นจากการออกแบบกลยุทธ์ของธุรกิจ ที่พึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนสูง เมื่อวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติทั้งยุโรป สหรัฐ และญี่ปุ่นเกิดขึ้น สหฟาร์มก็ต้องเจ็บตาม
โมเดลธุรกิจที่ออกแบบมายังไม่สอดรับกับสภาพการแข่งขัน โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาสหฟาร์มมีการขยายการลงทุนค่อนข้างมาก ขัดกับสภาพโดยรวมเศรษฐกิจขาลง ส่วนแพนก็เช่นเดียวกันออกแบบกลยุทธ์ที่รับจ้างการผลิต เติบโตมาด้วยการพึ่งพาตลาดส่งออก เมื่อลูกค้าเจ้าของแบรนด์ย้ายฐานการผลิตไปสั่งซื้อประเทศคู่แข่งที่มีฐานการผลิตที่ถูกกว่าไทย แพนก็ต้องปิดตัวไปตามสภาพ
ผู้รู้คนหนึ่งบอกว่า อุตสาหกรรมรองเท้าของไทยแข่งขันแต่ต้นทุนค่าแรง ไม่มีการวิจัยพัฒนาคิดค้นพื้นรองเท้า ยางรองเท้า ส่วนประกอบรองเท้าที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนเลือด เพื่อให้รับกับกิจกรรมไม่ว่ากีฬา เต้นลีลาศ รองเท้าเพื่อสุขภาพ หรือใช้ทำงาน ขณะที่ทางสหรัฐอเมริกา หรืออิตาลี มีการวิจัยเชิงลึกในเรื่องนี้
“หากแบรนด์มีการออกแบบกลยุทธ์ธุรกิจที่หลากหลาย ไม่เน้นพึ่งพาออเดอร์จากรับจ้างผลิตเพื่อส่งออก แต่เน้นผลิตเพื่อขายทำตลาดในประเทศรวมถึงสร้างแบรนด์รองเท้าของตัวเองต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่มีให้มากขึ้น วันนี้อาจจะขยับกลายเป็นผู้บริหารแบรนด์ตัวเองมากกว่าเป็นผู้รับจ้างผลิต” ดร.พิพัฒน์ ถอดบทเรียน
หลังจากออเดอร์ลดลง บริษัทแม่อย่างสหพัฒน์เข้ามาช่วยซื้อกิจการอุ้มไว้บางส่วนแต่ในเมื่อกิจการรองเท้าไม่ใช่ธุรกิจหลัก ขณะที่ธุรกิจอยู่ในภาวะขาลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็ต้องปล่อยให้ “Game Over” ไม่ต่างจากเครือซิเมนต์ไทย หรือ SGC ที่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ยอมตัดขายธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไปเป็นจำนวนมาก (Non Core Business)
“จะให้บริษัทแม่อุ้มกันจนไม่เห็นหน้าเห็นหลังทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมขาลงคงไม่ได้ จึงต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะไม่มีทางออกที่ดีกว่านี้ จะย้ายฐานการผลิตก็ไม่สามารถแข่งกับเจ้าถิ่นได้”
ดร.สารสิน วีระผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พ.) ซึ่งแม้จะอยู่ธุรกิจเดียวกันกับสหฟาร์ม แต่เขาขอวิเคราะห์กรณีนี้ไม่ใช่อย่างคู่แข่งขัน แต่เป็นอย่างเพื่อนร่วมธุรกิจ โดยระบุว่า การเติบโตของสหฟาร์มจนกลายเป็นผู้ส่งออกไก่อันดับต้นๆของประเทศ เป็นการขายอาณาจักรธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการกู้เงินมาขยายกิจการเป็นส่วนใหญ่
สหฟาร์มเติบโตโดยการใช้เงินคนอื่น หรือการกู้เงิน เมื่อกิจการใหญ่ขึ้นก็ยิ่งมีหนี้สะสมมากขึ้น ไม่ต่างกับคนตัวใหญ่ที่เต็มไปด้วยไขมันแทนกล้ามเนื้อ ทำให้การขยายกิจการสะดุด จากต้นทุนการเงินที่สูง รวมกับค่าจ้างแรงงานสูง ราคาวัตถุดิบขยับตัว ทำให้ยากต่อการบริหารจัดการ
นอกจากนี้ จังหวะที่สหฟาร์มลงทุนใหม่ แต่กลับขายของได้น้อยลง เพราะคู่แข่งที่ผลิตไก่ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นบราซิล อินเดีย ก็ผลิตมาแข่งในตลาดโลก เมื่อสภาพตลาดเล็กลง เพราะลูกค้าเจอปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ในเวลาเดียวกันกลับแบกภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นมาตลอด รวมกันกับราคาไก่ตกต่ำ นั่นจึงกลายเป็นที่มาของปัญหา
ดร.สารสิน สรุปบทเรียนของการเติบโตของสหฟาร์มได้ว่า "ยิ่งใหญ่ยิ่งล้มง่าย ไม่ใช่โตแล้วจะไปรอดจากวิกฤติ" หากโตแบบฝืนกฎธรรมชาติ
โดยเฉพาะในยุคนี้เป็นติดอยู่ในโลกาภิวัฒน์ที่ผันผวนสูง จึงต้องปรับตัวให้ทัน !!
ทฤษฎีปลาใหญ่กินปลาเล็กอาจจะไม่ได้ผลเท่ากับทฤษฎีใหม่ที่ว่าด้วย "ปลาเร็ว กินปลาช้า" แม้ตัวเล็ก หากปรับตัวว่องไวก็รอดได้ในสภาวการณ์โลกใหม่ที่เต็มไปด้วยความผันผวน
เขายังเห็นว่า แม้สหฟาร์มจะเป็นธุรกิจที่บริหารในแบบกิจการครอบครัว แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นหลัก ที่จะกล่าวโทษเรื่องการบริหารระบบครอบครัว (Family Business) ว่าเป็นตัวฉุดธุรกิจให้เดินอย่างอุ้ยอ้ายไม่ทันพลวัต โดยเขาระบุว่า มีธุรกิจครอบครัวหลายแห่งเช่นกันที่มีการวางแผนดี เป็นระบบ หรือว่าจ้างมืออาชีพที่ไว้วางใจให้คุมกิจการได้แทนครอบครัว รวมไปถึงการสร้างเทคโนโลยีและวัฒนธรรมของตัวเอง มีความยืดหยุ่นไม่เน้นใช้กลยุทธ์แบบเดียวตลอดกาล ก็ยังสามารถยืนอยู่ได้
-------------------------------------------------
อาทิตย์อัศดง ที่ "OEM"
ในภาวะเศรษฐกิจขาลงทั่วโลก ทำให้ผู้ประกอบต้องเผชิญภาวะโอเวอร์ซัพพลาย "อำนาจการต่อรอง" เกือบทั้งหมดจึงอยู่กับลูกค้า กลายเป็นความอยู่ยากของธุรกิจรับจ้างผลิต (Original Equipment Manufacturer -OEM) ที่ล้มหายตายจาก ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวก็มาก ล้วนตกเป็นเหยื่อของการไม่ปรับตัว
ชาญวิทย์ น้อยทรง ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ไฮโดร-เทค และจีวรกันยุงสมุนไพรเมตตาคุณ อดีตเขาเคยรับจ้างเป็นผู้ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ G2000 ในธุรกิจส่งออกเสื้อผ้า 100% ก่อนจะผันตัวเองมาผลิตเสื้อผ้าในแบรนด์ของตัวเองและจับตลาดในประเทศเป็นหลัก เล่าว่า
ผู้บริหารของบริษัทเล็งเห็นทิศทาง "ขาลง" ของธุรกิจ OEM ล่วงหน้าหลายปี จึงมีแนวคิดที่จะลดสัดส่วนการผลิตในส่วนนี้ลงอย่างต่อเนื่อง โดยทำมา 8-9 ปี ย่างเข้าสู่ปีที่ 10 บริษัท ปัจจุบันจึงไม่เหลือเค้าการเป็นผู้รับจ้างผลิตเลยแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว
เขาเล่าให้ฟังอีกว่า ขณะนี้บริษัทหันมาทำตลาดในประเทศเป็นหลัก เน้นการทำเสื้อผ้าในแบรนด์ของบริษัท ซึ่งเป็นชุดยูนิฟอร์ม โดยมองว่าตลาดอาเซียนคือตลาดใหม่ที่มีอนาคตมากกว่า และหลังจากที่มีการเปิดเออีซีในช่วงปลายปี 2558 จะทำให้เปิดตลาดได้อีกมาก เนื่องจากจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเปิดบริษัทในอาเซียนเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความต้องการใช้ชุดยูนิฟอร์มมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตเข้าไปในกัมพูชาและพม่ามากขึ้น
บริษัทเรามองตลาดอาเซียนมากกว่า OEM เศรษฐกิจโลกมีส่วนที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวมาก เราไม่ควรไปส่งออกแข่งกับรายใหญ่ที่มีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนที่ถูกกว่าอย่างจีน หรือเวียดนาม บ้านเราเจอ 300 บาทก็นิ่งแล้ว แข่งขันก็ไม่ได้ เขาระบุ
“ค่าแรงขั้นต่ำในกรุงพนมเปญที่รัฐบาลกัมพูชากำหนดคือเดือนละประมาณ 120 ดอลลาร์ หรือราวๆ 3,000 บาทต่อเดือน หากรวมค่าสวัสดิการต่างๆ อีก 3,000-4,000 บาทรวมแล้วก็ประมาณ 6,000-8,000 บาทต่อเดือน ยังไงก็ถูกกว่าไทยที่ตอนนี้ขยับไประดับหมื่นกว่าแล้ว”
ส่วนความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่มห่ม ข้อมูลจากสมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย ระบุว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการปรับตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว ด้วยการย้ายฐานไปประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่จัดอยู่ในกลุ่มแรกๆ ที่จะได้รับผลกระทบจากการส่งออก เพราะผู้ผลิตส่วนใหญ่เน้นรับจ้างผลิตให้กับอินเตอร์แบรนด์ที่แข่งขันค่าแรงกับคู่แข่งอย่างจีน เวียดนาม ลำบาก
ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องหนัง "ธวัฒน์ จิว" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มบีพี เลเธอร์ อินดัสทรีส์ จำกัด ผู้ผลิตกระเป๋าแบรนด์ "อัลเบโด้" เขายังเป็นอดีตนายกสมาคมเครื่องหนังไทย บอกว่า กลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องหนังส่วนใหญ่ทำแบรนด์สินค้าของตัวเอง แต่มีบางส่วนที่ยังคงผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์อื่นๆ แต่ในระยะ 8-9 ปีมานี้ ต้องบอกว่าอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง
“เรียกได้ว่าเลยจุดที่ต้องมาปรับตัวมาแล้ว !!" เขาบอก พร้อมขยายความว่า ถ้าใครพึ่งการทำ OEM มากๆ ก็อยู่ลำบาก ในยุคนี้ถ้าจะเป็น OEM จะต้องพุ่งเป้าไปที่ "งานคุณภาพ และราคาที่คุ้มค่ากับต้นทุน”
“สมัยนี้ผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างชาติ หมดยุคที่มานั่งแข่งกันเรื่องต้นทุนต่ำแล้ว เพราะประเทศไทยมันเลยจุดที่ต้องทำให้ต้นทุนต่ำมากๆ แล้ว เหมือนในเพื่อนบ้าน เราแข่งยังไงก็สู้ไม่ได้ แต่สิ่งที่เราสู้ได้คือ ต้องทำสินค้าให้มีคุณภาพ ต้องแข่งกันที่ฝีมือเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ไทยได้เปรียบอยู่แล้ว”
ในส่วนของการบริหารจัดการของบริษัท มีการพัฒนาแบรนด์สินค้ามานาน 18-19 ปี เพราะมองเห็นแล้วว่า การทำ OEM ไม่ใช่แนวทางทื่ทำให้บริษัทยั่งยืน หากพึ่งพาการส่งออกมากๆ ไม่วันใดวันหนึ่งก็ต้องเกิดปัญหา
เขายังให้แง่คิดในการปรับตัวว่า “ทำโออีเอ็มต้องเป็นแบรนด์แฟชั่นถึงจะรอด และที่สำคัญต้องไฮเอนด์จริงๆ หากเป็นแบรนด์ระดับกลาง-ล่าง รับรองอยู่ลำบาก"
ธวัฒน์ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้มีแบรนด์ต่างชาติเช่น แบรนด์จากญี่ปุ่น อยากย้ายฐานการผลิตมายังไทย เพราะมีปัญหากับทางจีน รวมทั้งบางยี่ห้อจากยุโรป ที่มีฐานในจีนก็เตรียมจะย้ายมาไทยเช่นกัน
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นไปได้ นักธุรกิจไทยเชื้อสายจีนรายนี้ บอกว่า “ทางญี่ปุ่นหรือยุโรปมองว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งในจีนก็ไม่ใช่สิ่งที่ใช่สำหรับเขาแล้ว มันเหมือนเป็นอารมณ์มากกว่า เขาอาจจะรู้สึกดีกับทางไทยมากกว่าจีน มันเป็นเรื่องของบรรยากาศการลงทุน”
ที่มากรุงเทพธุรกิจ 2/9/13
จากสหฟาร์ม ถึง แพนเอเซีย ถอดบทเรียน How to survive
โดย : ประกายดาว แบ่งสันเทียะ
ความไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยถูกขยายวงกว้าง เมื่อสื่อยักษ์ใหญ่แห่งสหราชอาณาจักร อย่าง "บีบีซี" นำเสนอบทความของหัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐศาสตร์ของรอยัลแบงก์ออฟสกอตแลนด์ (อาร์บีเอส) เรื่อง Thailand's economy enters recession หรือเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย (recession) โดยระบุว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทย "หดตัว" ถึง "สองไตรมาส" ติดต่อกัน
โดยไตรมาสแรกของปีหดตัว 1.7% ขณะที่ไตรมาสที่สองยังคงหดตัวที่ 0.3% โดยก่อนหน้านี้เศรษฐกิจไทยเติบโตแซงหน้าประเทศอื่นในภูมิภาค โดยเมื่อปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจขยายตัวถึง 6%
ทันทีที่บทความนี้ถูกเผยแพร่ออกไป จะมีคนของรัฐบาลออกมาแก้ข่าวพัลวัน ขณะที่เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" ระบุว่า ครึ่งปีแรกของปีนี้ เศรษฐกิจไทยยังเติบโต 4.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไตรมาสแรกเติบโต 5.4% ไตรมาสสองเติบโต 2.8%)
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ เรียกว่าเป็น "ภาวะถดถอยทางเทคนิค" หรือ Technical recession เนื่องมา GDP ไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ของปีนี้ เมื่อปรับฤดูกาลและเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ติดลบติดต่อกันสองไตรมาส
สำทับด้วยความเห็นของ "ธนวรรธน์ พลวิชัย" ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถึงขั้นถดถอย โดยหยิบยก GDP ในปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งว่า GDP ติดลบมากถึง 10.4% ขณะที่ในช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในปี 2552 GDP เศรษฐกิจไทยติดลบไป 2.3% ซึ่ง "มากกว่า" ตัวเลขเศรษฐกิจไทยตามบทความที่เสนอผ่าน บีบีซี
ทว่า เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยโดยรวม "ผ่านมา 8 เดือน" ข้อเท็จจริงยังคงอยู่ในสถานการณ์ "น่าวิตก" อยู่ไม่น้อย แม้แต่สภาพัฒน์ฯ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต่างออกมาปรับลงประมาณการ GDP ทั้งปีลง
โดยสภาพัฒน์ปรับแนวโน้ม GDP ปีนี้ใหม่ เหลือ 3.8-4.3% ลดลงจากที่เคยประเมินไว้ที่ 4.2-5.2% เช่นเดียวกับ ธปท.ที่ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ใหม่เหลือ 4.2% จากประมาณการเดิมที่ 5.1%
สำทับด้วยตัวเลขส่งออก 7 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ค.) ของปีที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.6% เฉพาะยอดส่งออกเดือนก.ค. ติดลบ 1.48% ,ดุลการค้า ในระยะ 7 เดือนขาดดุลการค้ามาทุกเดือน ยอดสะสมขาดดุลรวมไปแล้ว 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์หรือ 5.9 แสนล้านบาท ,สัดส่วนหนี้ครัวเรือน ที่เข้าใกล้ระดับ 80 % ของ GDP
นอกจากนี้ยังเกิดภาวะเงินทุนไหลออก กดตลาดหุ้นไทยเมื่อ 28 สิงหาคม เวลา 15.39 น. ดัชนีหลุดแนวต้านที่ 1,300 จุด มาอยู่ที่ 1,296.21 จุด จากความไม่แน่นอนของมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE) ของสหรัฐ โดยในช่วงที่ผ่านมาที่มีการขายสุทธิต่อเนื่องแล้วมากกว่า 1 แสนล้านบาท
ที่ชัดขึ้นไปอีก กับการ "ปิดตัวลง" สังเวยพิษเศรษฐกิจ กับการ "ตั้งรับไม่ทัน" ต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ของสองบิ๊กธุรกิจ ได้แก่ "สหฟาร์ม" ธุรกิจของนพ.ปัญญา โชติเทวัญ ที่ถูกระบุว่าเป็น "ผู้ส่งออกไก่เบอร์ 1 ของไทย" หลังทำธุรกิจมากว่า 45 ปี มีการจ้างงานมากกว่า 10,000 อัตรา เป็นแรงงานในโรงงาน จ.ลพบุรี 5,400 คน และจ.เพชรบูรณ์อีก 3,800 คน ที่ประกาศ "ปิดตัวชั่วคราว" และมีหนี้ค้างไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท
จนถึงของ บมจ.แพนเอเซียฟุตแวร์ (PAF) ผู้รับจ้างผลิตรองเท้า (OEM) รายใหญ่ของไทย ผู้บุกเบิกรับจ้างผลิตรองเท้ายี่ห้อไนกี้ รายแรกในไทย ธุรกิจในเครือสหพัฒน์ฯ ซึ่งประกาศ "ปิดตัวถาวร" ในส่วนของโรงงานรับจ้างผลิตรองเท้า กระเป๋า ตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา มีพนักงาน 2,000 คน หลังเผชิญภาวะขาดทุนสะสมกว่า 2,000 ล้านบาท
ขณะที่สายการผลิตสำหรับการผลิตสินค้าจำหน่ายในประเทศนั้นยังคงดำเนินการอยู่ ซึ่งเน้นผลิตสินค้าป้อนให้แก่บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือสหพัฒน์ฯ เป็นหลัก
ธุรกิจยักษ์ยังล้ม !!! น่าตั้งคำถามถึง "ความอยู่รอด" ของธุรกิจในขนาดที่เล็กลงมา พวกเขาจะปรับตัวรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจขาลงอย่างไร และยังมีรายใดกำลังจะปิดตัวตามมา
อะไรคือ "บทเรียน" ที่ได้จากสององค์กรยักษ์ที่ปิดตัวลงนี้
ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ให้ความเห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมหลายสาขาที่ใช้แรงงานมาก มักเป็นกลุ่มแรกๆที่ต้องเผชิญวิกฤติ เมื่อเศรษฐกิจขาลง ยิ่งหากเป็นธุรกิจที่ไปผูกติดกับ "การส่งออก" มากเกินไป
เริ่มจากอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากค่าแรงและวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้รับคำสั่งซื้อลดลง แข่งขันลำบาก จึงต้องหาทางลดต้นทุนด้วยการลดค่าจ้าง หรือตัดค่าล่วงเวลา (OT) ผลก็ตกมาสู่ภาคครัวเรือนที่มีรายรับลดลง แต่ของแพงขึ้น รวมกับหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึงกำลังซื้อในประเทศเริ่มมีปัญหา จึงเป็นเหตุให้การลงทุนใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากภาคประชาชน และรัฐบาลเริ่มหดตัวตามไปด้วย
นี่คือผลกระทบเป็นลูกโซ่ ที่นักอุตสาหกรรมรุ่นลายครามอย่างธนิต พยายามฉายให้เห็น
เขาระบุว่า กรณีของสหฟาร์ม ที่ประกาศปิดโรงงานชั่วคราวที่ จ.เพชรบูรณ์ และจ.ลพบุรี รวมถึงการปิดตัวล่าสุดของแพนเอเซียฟุตแวร์
เป็นหนึ่งในผลกระทบจากวิกฤติภายในและภายนอก ที่มีกำลังซื้อลดลงตามสภาวะการแข่งขัน จึงทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน
หนึ่งต้นตอที่อาจจะกระเพื่อมให้คนตกงาน รายได้หาย กำลังซื้อตก ภาคการลงทุนชะลอตัว เรียกว่า ครบองค์ประกอบ Recession
"หากบริษัทใหญ่ล้ม หมายถึงการกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงแรงงาน และเกษตรกร ดังนั้นแบงก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่จะปล่อยให้กิจการล้มไม่ได้ เพราะหากกลายเป็นหนี้สูญต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น กระทบต่อระบบเศรษฐกิจ จึงต้องเข้ามาอุ้ม"
ด้าน ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ถอดกรณีศึกษาของบริษัทสหฟาร์ม และ แพนเอเซีย ว่า ทั้งคู่ผจญกับตัวเร่งปัจจัยลบจากภายนอก ผสมโรงกับการบริหารจัดการภายในได้ไม่ทันท่วงทีต่อความผันแปรของโจทย์ธุรกิจ
อาการโคม่าของสหฟาร์มเกิดจากการมีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนแพนเอเซียฯสุดท้ายเป็นเรื่องของการปรับตัวไม่ทันกับการแข่งขัน
ทว่า วิกฤติเศรษฐกิจ ยังไม่จำกัดเฉพาะรายใหญ่ แต่กิจการขนาดเล็กลงมาไปก่อนหน้าแล้ว
ตามผลสำรวจของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โชว์ให้เห็นว่า ตัวเลข 6 เดือนมีบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทยอยปิดกิจการ ประมาณ 50,000 - 60,000 ราย เพราะได้รับผลพวงอันหนักหน่วงจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทซึ่งปัจจัยภายใน รวมกันกับปัจจัยภายนอกจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก
เขายังวิเคราะห์โครงสร้างของทั้ง 2 บริษัท สหฟาร์มและแพนเอเซียว่า สิ่งที่เหมือนกันคือ "การพึ่งพาตลาดส่งออก" ในสัดส่วนสูงสหฟาร์มมีสัดส่วนการส่งออกสัดส่วน 50% ส่วนแพนพึ่งพาตลาดส่งออกเกือบทั้งหมดที่ 98%
เมื่อภาวะส่งออกโดยรวมของประเทศเข้าสู่ขาลงในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทส่งออกในประเทศก็หนีไม่พ้นลูกค้าและรายได้ต้องหายไปตามด้วย
ชีพจรธุรกิจขาลง ยังเป็นผลมาจากการจัดการประสิทธิภาพใน 3 ส่วน ได้แก่ 1.โมเดลธุรกิจ หรือกลยุทธ์ไม่สอดคล้องกับสภาพการแข่งขัน (Model) 2.ฐานะทางการเงิน ขาดสภาพคล่อง (Finance) และ 3.การบริหารจัดการ ไม่ทันรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและสภาพการแข่งขันของตลาด (Operation)
เขาวิเคราะห์ต่อไปถึงสภาพธุรกิจที่เริ่มสะดุดของสหฟาร์ม แม้จะเป็นธุรกิจส่งออกไก่อันดับ 1 ของประเทศ เริ่มต้นจากการออกแบบกลยุทธ์ของธุรกิจ ที่พึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนสูง เมื่อวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติทั้งยุโรป สหรัฐ และญี่ปุ่นเกิดขึ้น สหฟาร์มก็ต้องเจ็บตาม
โมเดลธุรกิจที่ออกแบบมายังไม่สอดรับกับสภาพการแข่งขัน โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาสหฟาร์มมีการขยายการลงทุนค่อนข้างมาก ขัดกับสภาพโดยรวมเศรษฐกิจขาลง ส่วนแพนก็เช่นเดียวกันออกแบบกลยุทธ์ที่รับจ้างการผลิต เติบโตมาด้วยการพึ่งพาตลาดส่งออก เมื่อลูกค้าเจ้าของแบรนด์ย้ายฐานการผลิตไปสั่งซื้อประเทศคู่แข่งที่มีฐานการผลิตที่ถูกกว่าไทย แพนก็ต้องปิดตัวไปตามสภาพ
ผู้รู้คนหนึ่งบอกว่า อุตสาหกรรมรองเท้าของไทยแข่งขันแต่ต้นทุนค่าแรง ไม่มีการวิจัยพัฒนาคิดค้นพื้นรองเท้า ยางรองเท้า ส่วนประกอบรองเท้าที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนเลือด เพื่อให้รับกับกิจกรรมไม่ว่ากีฬา เต้นลีลาศ รองเท้าเพื่อสุขภาพ หรือใช้ทำงาน ขณะที่ทางสหรัฐอเมริกา หรืออิตาลี มีการวิจัยเชิงลึกในเรื่องนี้
“หากแบรนด์มีการออกแบบกลยุทธ์ธุรกิจที่หลากหลาย ไม่เน้นพึ่งพาออเดอร์จากรับจ้างผลิตเพื่อส่งออก แต่เน้นผลิตเพื่อขายทำตลาดในประเทศรวมถึงสร้างแบรนด์รองเท้าของตัวเองต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่มีให้มากขึ้น วันนี้อาจจะขยับกลายเป็นผู้บริหารแบรนด์ตัวเองมากกว่าเป็นผู้รับจ้างผลิต” ดร.พิพัฒน์ ถอดบทเรียน
หลังจากออเดอร์ลดลง บริษัทแม่อย่างสหพัฒน์เข้ามาช่วยซื้อกิจการอุ้มไว้บางส่วนแต่ในเมื่อกิจการรองเท้าไม่ใช่ธุรกิจหลัก ขณะที่ธุรกิจอยู่ในภาวะขาลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็ต้องปล่อยให้ “Game Over” ไม่ต่างจากเครือซิเมนต์ไทย หรือ SGC ที่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ยอมตัดขายธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไปเป็นจำนวนมาก (Non Core Business)
“จะให้บริษัทแม่อุ้มกันจนไม่เห็นหน้าเห็นหลังทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมขาลงคงไม่ได้ จึงต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะไม่มีทางออกที่ดีกว่านี้ จะย้ายฐานการผลิตก็ไม่สามารถแข่งกับเจ้าถิ่นได้”
ดร.สารสิน วีระผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พ.) ซึ่งแม้จะอยู่ธุรกิจเดียวกันกับสหฟาร์ม แต่เขาขอวิเคราะห์กรณีนี้ไม่ใช่อย่างคู่แข่งขัน แต่เป็นอย่างเพื่อนร่วมธุรกิจ โดยระบุว่า การเติบโตของสหฟาร์มจนกลายเป็นผู้ส่งออกไก่อันดับต้นๆของประเทศ เป็นการขายอาณาจักรธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการกู้เงินมาขยายกิจการเป็นส่วนใหญ่
สหฟาร์มเติบโตโดยการใช้เงินคนอื่น หรือการกู้เงิน เมื่อกิจการใหญ่ขึ้นก็ยิ่งมีหนี้สะสมมากขึ้น ไม่ต่างกับคนตัวใหญ่ที่เต็มไปด้วยไขมันแทนกล้ามเนื้อ ทำให้การขยายกิจการสะดุด จากต้นทุนการเงินที่สูง รวมกับค่าจ้างแรงงานสูง ราคาวัตถุดิบขยับตัว ทำให้ยากต่อการบริหารจัดการ
นอกจากนี้ จังหวะที่สหฟาร์มลงทุนใหม่ แต่กลับขายของได้น้อยลง เพราะคู่แข่งที่ผลิตไก่ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นบราซิล อินเดีย ก็ผลิตมาแข่งในตลาดโลก เมื่อสภาพตลาดเล็กลง เพราะลูกค้าเจอปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ในเวลาเดียวกันกลับแบกภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นมาตลอด รวมกันกับราคาไก่ตกต่ำ นั่นจึงกลายเป็นที่มาของปัญหา
ดร.สารสิน สรุปบทเรียนของการเติบโตของสหฟาร์มได้ว่า "ยิ่งใหญ่ยิ่งล้มง่าย ไม่ใช่โตแล้วจะไปรอดจากวิกฤติ" หากโตแบบฝืนกฎธรรมชาติ
โดยเฉพาะในยุคนี้เป็นติดอยู่ในโลกาภิวัฒน์ที่ผันผวนสูง จึงต้องปรับตัวให้ทัน !!
ทฤษฎีปลาใหญ่กินปลาเล็กอาจจะไม่ได้ผลเท่ากับทฤษฎีใหม่ที่ว่าด้วย "ปลาเร็ว กินปลาช้า" แม้ตัวเล็ก หากปรับตัวว่องไวก็รอดได้ในสภาวการณ์โลกใหม่ที่เต็มไปด้วยความผันผวน
เขายังเห็นว่า แม้สหฟาร์มจะเป็นธุรกิจที่บริหารในแบบกิจการครอบครัว แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นหลัก ที่จะกล่าวโทษเรื่องการบริหารระบบครอบครัว (Family Business) ว่าเป็นตัวฉุดธุรกิจให้เดินอย่างอุ้ยอ้ายไม่ทันพลวัต โดยเขาระบุว่า มีธุรกิจครอบครัวหลายแห่งเช่นกันที่มีการวางแผนดี เป็นระบบ หรือว่าจ้างมืออาชีพที่ไว้วางใจให้คุมกิจการได้แทนครอบครัว รวมไปถึงการสร้างเทคโนโลยีและวัฒนธรรมของตัวเอง มีความยืดหยุ่นไม่เน้นใช้กลยุทธ์แบบเดียวตลอดกาล ก็ยังสามารถยืนอยู่ได้
-------------------------------------------------
อาทิตย์อัศดง ที่ "OEM"
ในภาวะเศรษฐกิจขาลงทั่วโลก ทำให้ผู้ประกอบต้องเผชิญภาวะโอเวอร์ซัพพลาย "อำนาจการต่อรอง" เกือบทั้งหมดจึงอยู่กับลูกค้า กลายเป็นความอยู่ยากของธุรกิจรับจ้างผลิต (Original Equipment Manufacturer -OEM) ที่ล้มหายตายจาก ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวก็มาก ล้วนตกเป็นเหยื่อของการไม่ปรับตัว
ชาญวิทย์ น้อยทรง ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ไฮโดร-เทค และจีวรกันยุงสมุนไพรเมตตาคุณ อดีตเขาเคยรับจ้างเป็นผู้ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ G2000 ในธุรกิจส่งออกเสื้อผ้า 100% ก่อนจะผันตัวเองมาผลิตเสื้อผ้าในแบรนด์ของตัวเองและจับตลาดในประเทศเป็นหลัก เล่าว่า
ผู้บริหารของบริษัทเล็งเห็นทิศทาง "ขาลง" ของธุรกิจ OEM ล่วงหน้าหลายปี จึงมีแนวคิดที่จะลดสัดส่วนการผลิตในส่วนนี้ลงอย่างต่อเนื่อง โดยทำมา 8-9 ปี ย่างเข้าสู่ปีที่ 10 บริษัท ปัจจุบันจึงไม่เหลือเค้าการเป็นผู้รับจ้างผลิตเลยแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว
เขาเล่าให้ฟังอีกว่า ขณะนี้บริษัทหันมาทำตลาดในประเทศเป็นหลัก เน้นการทำเสื้อผ้าในแบรนด์ของบริษัท ซึ่งเป็นชุดยูนิฟอร์ม โดยมองว่าตลาดอาเซียนคือตลาดใหม่ที่มีอนาคตมากกว่า และหลังจากที่มีการเปิดเออีซีในช่วงปลายปี 2558 จะทำให้เปิดตลาดได้อีกมาก เนื่องจากจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเปิดบริษัทในอาเซียนเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความต้องการใช้ชุดยูนิฟอร์มมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตเข้าไปในกัมพูชาและพม่ามากขึ้น
บริษัทเรามองตลาดอาเซียนมากกว่า OEM เศรษฐกิจโลกมีส่วนที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวมาก เราไม่ควรไปส่งออกแข่งกับรายใหญ่ที่มีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนที่ถูกกว่าอย่างจีน หรือเวียดนาม บ้านเราเจอ 300 บาทก็นิ่งแล้ว แข่งขันก็ไม่ได้ เขาระบุ
“ค่าแรงขั้นต่ำในกรุงพนมเปญที่รัฐบาลกัมพูชากำหนดคือเดือนละประมาณ 120 ดอลลาร์ หรือราวๆ 3,000 บาทต่อเดือน หากรวมค่าสวัสดิการต่างๆ อีก 3,000-4,000 บาทรวมแล้วก็ประมาณ 6,000-8,000 บาทต่อเดือน ยังไงก็ถูกกว่าไทยที่ตอนนี้ขยับไประดับหมื่นกว่าแล้ว”
ส่วนความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่มห่ม ข้อมูลจากสมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย ระบุว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการปรับตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว ด้วยการย้ายฐานไปประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่จัดอยู่ในกลุ่มแรกๆ ที่จะได้รับผลกระทบจากการส่งออก เพราะผู้ผลิตส่วนใหญ่เน้นรับจ้างผลิตให้กับอินเตอร์แบรนด์ที่แข่งขันค่าแรงกับคู่แข่งอย่างจีน เวียดนาม ลำบาก
ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องหนัง "ธวัฒน์ จิว" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มบีพี เลเธอร์ อินดัสทรีส์ จำกัด ผู้ผลิตกระเป๋าแบรนด์ "อัลเบโด้" เขายังเป็นอดีตนายกสมาคมเครื่องหนังไทย บอกว่า กลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องหนังส่วนใหญ่ทำแบรนด์สินค้าของตัวเอง แต่มีบางส่วนที่ยังคงผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์อื่นๆ แต่ในระยะ 8-9 ปีมานี้ ต้องบอกว่าอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง
“เรียกได้ว่าเลยจุดที่ต้องมาปรับตัวมาแล้ว !!" เขาบอก พร้อมขยายความว่า ถ้าใครพึ่งการทำ OEM มากๆ ก็อยู่ลำบาก ในยุคนี้ถ้าจะเป็น OEM จะต้องพุ่งเป้าไปที่ "งานคุณภาพ และราคาที่คุ้มค่ากับต้นทุน”
“สมัยนี้ผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างชาติ หมดยุคที่มานั่งแข่งกันเรื่องต้นทุนต่ำแล้ว เพราะประเทศไทยมันเลยจุดที่ต้องทำให้ต้นทุนต่ำมากๆ แล้ว เหมือนในเพื่อนบ้าน เราแข่งยังไงก็สู้ไม่ได้ แต่สิ่งที่เราสู้ได้คือ ต้องทำสินค้าให้มีคุณภาพ ต้องแข่งกันที่ฝีมือเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ไทยได้เปรียบอยู่แล้ว”
ในส่วนของการบริหารจัดการของบริษัท มีการพัฒนาแบรนด์สินค้ามานาน 18-19 ปี เพราะมองเห็นแล้วว่า การทำ OEM ไม่ใช่แนวทางทื่ทำให้บริษัทยั่งยืน หากพึ่งพาการส่งออกมากๆ ไม่วันใดวันหนึ่งก็ต้องเกิดปัญหา
เขายังให้แง่คิดในการปรับตัวว่า “ทำโออีเอ็มต้องเป็นแบรนด์แฟชั่นถึงจะรอด และที่สำคัญต้องไฮเอนด์จริงๆ หากเป็นแบรนด์ระดับกลาง-ล่าง รับรองอยู่ลำบาก"
ธวัฒน์ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้มีแบรนด์ต่างชาติเช่น แบรนด์จากญี่ปุ่น อยากย้ายฐานการผลิตมายังไทย เพราะมีปัญหากับทางจีน รวมทั้งบางยี่ห้อจากยุโรป ที่มีฐานในจีนก็เตรียมจะย้ายมาไทยเช่นกัน
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นไปได้ นักธุรกิจไทยเชื้อสายจีนรายนี้ บอกว่า “ทางญี่ปุ่นหรือยุโรปมองว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งในจีนก็ไม่ใช่สิ่งที่ใช่สำหรับเขาแล้ว มันเหมือนเป็นอารมณ์มากกว่า เขาอาจจะรู้สึกดีกับทางไทยมากกว่าจีน มันเป็นเรื่องของบรรยากาศการลงทุน”
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณมากครับ คุณนายมานะ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
โพสต์ที่ 10
ได้แนวคิดดี ๆ เพียบเลยครับ
อุตสาหกรรมเดียวกัน ต้นทุนทางการเงินหรือที่รุ่นเตี่ยสอนว่า "สายป่าน" นี่มีความสำคัญมาก กรณีที่สองคือให้ใช้ "เงินกู" อย่าใช้ "เงินกู้" นี่หลักการมาก ๆ
ถ้าคำนึงถึงความแข็งแกร่งบริษัทที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำ WACC ต่ำเข้าไว้ สำคัญมากครับ
อุตสาหกรรมเดียวกัน ต้นทุนทางการเงินหรือที่รุ่นเตี่ยสอนว่า "สายป่าน" นี่มีความสำคัญมาก กรณีที่สองคือให้ใช้ "เงินกู" อย่าใช้ "เงินกู้" นี่หลักการมาก ๆ
ถ้าคำนึงถึงความแข็งแกร่งบริษัทที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำ WACC ต่ำเข้าไว้ สำคัญมากครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
โพสต์ที่ 11
แบงก์ทาบซีพีเอฟซื้อสหฟาร์ม สกัดต่างชาติฮุบส่งออก ชี้ปัญหาเยอะปิดดีลยาก
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1378746437
updated: 10 ก.ย. 2556 เวลา 10:01:32 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
แบงก์เจ้าหนี้ดอดจีบ "ซีพีเอฟ" เข้าเทกโอเวอร์ "สหฟาร์ม" เคลียร์หนี้ 3 หมื่นล้านบาท ต่อยอดธุรกิจส่งออกไก่ ได้เครือข่ายซัพพลายเออร์-เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ หวังสกัดคู่แข่งยักษ์ข้ามชาติ ดอดฮุบกิจการ วงการปศุสัตว์หวั่นครองมาร์เก็ตแชร์สูงสุด ผู้ประกอบการรายกลาง-รายเล็กเสียเปรียบ ขณะที่วงในชี้ปิดดีลยาก "ดร.ปัญญา โชติเทวัญ" ยื้อสุดฤทธิ์ ด้าน "ไอแบงก์" ใจป้ำเล็งปล่อยกู้เพิ่มอีก 1 พันล้าน
แหล่งข่าวจากวงการธนาคารพาณิชย์เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ธนาคารเจ้าหนี้ของกลุ่มบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ต่างพยายามหาทางออกในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินและการขาดสภาพคล่องทางทางเงินของบริษัทสหฟาร์ม แนวทางหนึ่งที่ดำเนินการคือช่วยเจรจาหาบริษัทผู้ประกอบการรายใหม่ทั้งภายในและต่างประเทศที่อยู่ในวงการส่งออกไก่ เข้ามาช่วยฟื้นฟูกิจการของบริษัท ล่าสุดได้มีการเจรจาทาบทามบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ ให้เข้าซื้อกิจการ ซึ่งทางซีพีเอฟแสดงความสนใจ แต่ยังต้องพิจารณาในเรื่องรายละเอียดอีกมาก
เจ้าหนี้ลุ้นซีพีเอฟเทกฯสหฟาร์ม
เนื่องจากมูลหนี้กว่า 30,000 ล้านบาทของสหฟาร์ม ถูกผูกโยงกับบริษัทในเครือเกือบ 50 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทมีเจ้าหนี้สถาบันการเงินและซัพพลายเออร์มากมาย ที่สำคัญแต่ละบริษัทบริหารงานโดย
เครือญาติ ขณะเดียวกัน จากที่ธนาคารเจ้าหนี้เข้าตรวจสอบพบว่าบัญชีรายรับรายจ่ายหลายบริษัทมีการเบิกจ่ายเงินระหว่างกันโดยไม่มีการออกใบเสร็จ จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณา ดังนั้น แม้เจ้าหนี้ต้องการให้ซีพีเอฟเข้าซื้อกิจการสหฟาร์ม และขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาและพิจารณาเงื่อนไขและความเป็นไปได้หลาย ๆ ด้าน บทสรุปสุดท้ายซีพีเอฟจะตกลงใจซื้อบริษัทสหฟาร์มและบริษัทในเครือที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่หรือไม่ ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ชัดเจน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ซีพีเอฟถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการปศุสัตว์ มีศักยภาพสูงไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นบริษัทระดับโลก แต่ทางธนาคารเจ้าหนี้ไม่รู้ว่าหลังจากพิจารณารายละเอียดทุกอย่างแล้ว จะตัดสินใจซื้อกิจการในลักษณะไหน อย่างไรก็ตาม คงต้องใช้เวลานานพอสมควร ไม่น่าจะจบภายใน 1-2 เดือน ที่สำคัญคือเรื่องราคาขาย ทั้งนี้ การเข้าฟื้นฟูกิจการ ถ้าได้ซีพีเอฟเข้ามาก็น่าจะเข้าใจปัญหาได้ดีกว่าบริษัทต่างชาติรายอื่น
ไม่ต้องการถือหุ้นใหญ่
"ส่วนบริษัทเกาหลีที่ก่อนหน้านี้มีธนาคารเจ้าหนี้รายหนึ่งทาบทามมานั้น บริษัทดังกล่าวเป็นเพียงบริษัทเทรดเดอร์รายเล็ก ๆ ที่สั่งซื้อสินค้าไก่จากผู้ส่งออกไทยหลายบริษัทเท่านั้น เรื่องศักยภาพในการเข้าไปบริหารกิจการของสหฟาร์มคงเป็นเรื่องลำบากและไม่ใช่เรื่องง่าย เท่าที่ทราบเบื้องต้นซีพีเอฟไม่ต้องการเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่สนใจซื้อกิจการทรัพย์สินและเครือข่ายที่มีอยู่ของสหฟาร์ม ตอนนี้แบงก์เจ้าหนี้ต่างรอลุ้น อยากให้ทุกอย่างจบ เพื่อจะได้เงินมาใช้หนี้ และธุรกิจส่งออกไก่ยังมีอนาคตมีโอกาสเติบโต" แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวในวงการปศุสัตว์กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ข่าวซีพีเอฟสนใจเข้าซื้อกิจการของบริษัทสหฟาร์ม ได้ยินมาตั้งแต่ช่วงแรกที่สหฟาร์มเริ่มส่อเค้าปัญหาขาดสภาพคล่อง โดยมีข่าวว่าทางบริษัทซีพีเอฟไม่ต้องการให้บริษัทสหฟาร์มตกไปอยู่ในมือของบริษัทข้ามชาติที่เป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดส่งออกไก่ของไทย เช่น บราซิล สหรัฐอเมริกา เพราะบริษัทสหฟาร์มถือเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการรายใหญ่ มีกำลังการผลิตในระดับใกล้เคียงกับซีพีเอฟ หากตกไปอยู่ในมือคู่แข่งจะทำให้การควบคุมเกมในด้านทิศทางราคาตลาดปศุสัตว์ทั้งภายในและส่งออกยาก และอาจส่งผลกระทบต่อซีพีเอฟเองในอนาคต
ต่อยอดขายพันธุ์สัตว์-อาหารสัตว์
ในทางกลับกัน หากซีพีเอฟซื้อกิจการของสหฟาร์มได้ ผู้ประกอบการในวงการปศุสัตว์ไทยรายอื่นคงจะอยู่ลำบากเหมือนกัน เพราะเท่ากับครองสัดส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด ที่สำคัญการซื้อกิจการทางซีพีเอฟจะได้เครือข่ายซัพพลายเออร์และเกษตรกรในเครือข่ายของสหฟาร์มที่มีอยู่หลายร้อยราย ซีพีเอฟสามารถขายพันธุ์สัตว์และอาหารสัตว์ได้อีกมหาศาล
"แต่คนในวงการที่รู้จัก ดร.ปัญญา (ดร.ปัญญา โชติเทวัญ ประธานบริหารเครือสหฟาร์ม) คงจะไม่ยอมง่าย ๆ ที่จะให้ซีพีเอฟมาฮุบกิจการที่สร้างมากับมือ เพราะที่ผ่านมาถือเป็นคู่แข่งสำคัญ ฟาดฟันกันมาพอสมควร เคยถึงกับมีคนในสหฟาร์มพูดว่า ทรัพย์สินของสหฟาร์ม แบงก์เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์จะนำไปเร่ขายให้ใครก็ได้ หากแบงก์ต้องการอย่างนั้น ต้องไปฟ้องร้องศาลล้มละลาย เพื่อยึดทรัพย์เอาเอง ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี หรืออาจจะ 5-10 ปี ดังนั้น ถ้าซีพีเอฟต้องการ ก็ต้องรอ" แหล่งข่าวกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ธนาคารเจ้าหนี้ได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้สหฟาร์ม พบว่าสหฟาร์มมีมูลหนี้ทั้งหมดประมาณ 30,000 กว่าล้านบาท จากเจ้าหนี้ทั้งหมด 50 ราย เป็นหนี้สถาบันการเงินประมาณ 14,000 ล้านบาท จาก 8 สถาบันการเงินรายใหญ่ อาทิ ธนาคารกรุงไทย มูลหนี้ 6,900 ล้านบาท, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) 1,600 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,000 ล้านบาท และธนาคารธนชาต 3,000 ล้านบาท ส่วนอีก 4 สถาบันการเงินที่มีมูลหนี้หลักร้อยล้านบาท ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์), ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) และธนาคารกรุงเทพ นอกจากนี้ ยังมีหนี้ซัพพลายเออร์ทางการค้าต่าง ๆ อีกกว่า 10,000 ล้านบาท รวมถึงหนี้กับเกษตรกร เป็นต้น
แบงก์เจ้าหนี้แจงไม่รู้เรื่อง
ขณะที่นายปริญญา พัฒนภักดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ของสหฟาร์ม เปิดเผยว่า ยังไม่ทราบกรณีมีธนาคารเจ้าหนี้บางรายติดต่อให้ซีพีเอฟเข้ามาร่วมทุน หรือเทกฯสหฟาร์ม เนื่องจากแนวทางการหาพันธมิตรร่วมลงทุนถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ส่วนตัวแล้วมองว่ายังไม่มีความจำเป็น
สิ่งที่สหฟาร์มต้องการอย่างเร่งด่วนในตอนนี้คือการเติมเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องในการเดินหน้าธุรกิจที่หยุดชะงัก เพราะโดยภาพรวมของธุรกิจยังขยายตัวได้ดี และขณะนี้ราคาไก่ก็ปรับตัวสูงขึ้น
"การร่วมทุนกับพันธมิตรใหม่เป็นแนวทางหนึ่งในการทำธุรกิจที่ต้องการเพิ่มความรู้ในองค์กร แต่ตอนนี้หากไม่นับรวมการบริหารงาน ธุรกิจฟาร์มไก่ของสหฟาร์ม ก็ยังทำได้ค่อนข้างดี แต่ไม่มีเงินเพียงพอเท่านั้น วิธีง่าย ๆ ก็คือเติมเงินเข้าไปก่อน เพื่อให้ธุรกิจเดินต่อได้ ยังไม่มีความจำเป็นต้องหาพันธมิตรใหม่ แต่ถ้าเลือกหาพันธบัตรเลย อาจใช้เวลานานขึ้น ยุ่งยากขึ้น และทำให้ธุรกิจชะงักยิ่งกว่าเดิม เพราะต้องดำเนินการตั้งแต่การคัดเลือกพันธมิตร กระทั่งการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรับทุนใหม่ ซึ่งวิธีการนี้ค่อยว่ากันใหม่ในอนาคต"
ไอแบงก์เล็งปล่อยกู้เพิ่ม
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยกล่าวถึงความคืบหน้าการแก้หนี้ของสหฟาร์มว่า ล่าสุดเจ้าหนี้ธนาคารแต่ละรายได้แยกแก้ปัญหาหนี้เป็นรายแบงก์ เนื่องจากการประชุมเมื่อเดือน ก.ค. 2556 ที่ผ่านมา หลังมีการขีดเส้นให้สหฟาร์มส่งแผนฟื้นฟูภายใต้ 3 เงื่อนไข แต่ทางสหฟาร์มไม่ได้ส่งแผนฟื้นฟูตามกำหนดให้แบงก์เจ้าหนี้ทั้ง 4 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารอิสลามฯ, ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารธนชาต จึงได้หารือในที่ประชุมเจ้าหนี้ โดยให้แต่ละธนาคารไปหาทางออกในการแก้หนี้ดังกล่าวเป็นรายธนาคาร
ล่าสุดไอแบงก์นำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุมบอร์ดแล้ว ช่วงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา มีข้อสรุปให้การช่วยเหลือสหฟาร์มต่อไป เนื่องจากมองว่า หากบริษัทสามารถฟื้นฟูกิจการกลับมาได้ ก็จะเป็นผลดีต่อธนาคารในระยะยาว เพราะสินทรัพย์ที่สหฟาร์มนำมาค้ำประกันสินเชื่อของไอแบงก์มีมูลค่า 2,000 ล้านบาท ขณะที่สหฟาร์มขอสินเชื่อจากไอแบงก์ในช่วงที่ผ่านมาเพียง 1,600 ล้านบาท ดังนั้น การให้สินเชื่อใหม่สำหรับสหฟาร์มยังสามารถทำได้
อย่างไรก็ตาม ถ้าขอสินเชื่อรอบใหม่ ต้องนำสินทรัพย์ใหม่มาค้ำประกันเพิ่ม เพื่อการันตีว่าจะฟื้นฟูกิจการตามแผน ล่าสุดได้เจรจากับสหฟาร์มเบื้องต้นแล้ว ได้รับการยืนยันว่าจะนำที่ดินใน จ.เพชรบูรณ์ มาเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินราคาที่ดิน พิจารณาจากสินทรัพย์ค้ำประกัน การปล่อยสินเชื่อรอบใหม่จะอยู่ที่ 500 ล้านบาท หรืออาจถึง 1,000 ล้านบาท หากมีสินทรัพย์ค้ำประกันสูง
ที่มีข่าวว่าแบงก์เจ้าหนี้บางรายทาบทามกลุ่มซีพีเข้าซื้อสหฟาร์มนั้น เชื่อว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และเป็นแนวทางหนึ่งที่แบงก์เจ้าหนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาให้กับลูกหนี้ได้ แต่สหฟาร์มค่อนข้างทำธุรกิจแบบครอบครัว อีกทั้งซีพีก็เหมือนคู่แข่งทางธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ การทำธุรกิจของสหฟาร์มยังมีความเป็นเอกเทศ ดังนั้น การควบรวมกิจการกับคู่แข่ง แม้เป็นไปได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1378746437
updated: 10 ก.ย. 2556 เวลา 10:01:32 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
แบงก์เจ้าหนี้ดอดจีบ "ซีพีเอฟ" เข้าเทกโอเวอร์ "สหฟาร์ม" เคลียร์หนี้ 3 หมื่นล้านบาท ต่อยอดธุรกิจส่งออกไก่ ได้เครือข่ายซัพพลายเออร์-เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ หวังสกัดคู่แข่งยักษ์ข้ามชาติ ดอดฮุบกิจการ วงการปศุสัตว์หวั่นครองมาร์เก็ตแชร์สูงสุด ผู้ประกอบการรายกลาง-รายเล็กเสียเปรียบ ขณะที่วงในชี้ปิดดีลยาก "ดร.ปัญญา โชติเทวัญ" ยื้อสุดฤทธิ์ ด้าน "ไอแบงก์" ใจป้ำเล็งปล่อยกู้เพิ่มอีก 1 พันล้าน
แหล่งข่าวจากวงการธนาคารพาณิชย์เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ธนาคารเจ้าหนี้ของกลุ่มบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ต่างพยายามหาทางออกในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินและการขาดสภาพคล่องทางทางเงินของบริษัทสหฟาร์ม แนวทางหนึ่งที่ดำเนินการคือช่วยเจรจาหาบริษัทผู้ประกอบการรายใหม่ทั้งภายในและต่างประเทศที่อยู่ในวงการส่งออกไก่ เข้ามาช่วยฟื้นฟูกิจการของบริษัท ล่าสุดได้มีการเจรจาทาบทามบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ ให้เข้าซื้อกิจการ ซึ่งทางซีพีเอฟแสดงความสนใจ แต่ยังต้องพิจารณาในเรื่องรายละเอียดอีกมาก
เจ้าหนี้ลุ้นซีพีเอฟเทกฯสหฟาร์ม
เนื่องจากมูลหนี้กว่า 30,000 ล้านบาทของสหฟาร์ม ถูกผูกโยงกับบริษัทในเครือเกือบ 50 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทมีเจ้าหนี้สถาบันการเงินและซัพพลายเออร์มากมาย ที่สำคัญแต่ละบริษัทบริหารงานโดย
เครือญาติ ขณะเดียวกัน จากที่ธนาคารเจ้าหนี้เข้าตรวจสอบพบว่าบัญชีรายรับรายจ่ายหลายบริษัทมีการเบิกจ่ายเงินระหว่างกันโดยไม่มีการออกใบเสร็จ จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณา ดังนั้น แม้เจ้าหนี้ต้องการให้ซีพีเอฟเข้าซื้อกิจการสหฟาร์ม และขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาและพิจารณาเงื่อนไขและความเป็นไปได้หลาย ๆ ด้าน บทสรุปสุดท้ายซีพีเอฟจะตกลงใจซื้อบริษัทสหฟาร์มและบริษัทในเครือที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไก่หรือไม่ ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ชัดเจน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ซีพีเอฟถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการปศุสัตว์ มีศักยภาพสูงไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นบริษัทระดับโลก แต่ทางธนาคารเจ้าหนี้ไม่รู้ว่าหลังจากพิจารณารายละเอียดทุกอย่างแล้ว จะตัดสินใจซื้อกิจการในลักษณะไหน อย่างไรก็ตาม คงต้องใช้เวลานานพอสมควร ไม่น่าจะจบภายใน 1-2 เดือน ที่สำคัญคือเรื่องราคาขาย ทั้งนี้ การเข้าฟื้นฟูกิจการ ถ้าได้ซีพีเอฟเข้ามาก็น่าจะเข้าใจปัญหาได้ดีกว่าบริษัทต่างชาติรายอื่น
ไม่ต้องการถือหุ้นใหญ่
"ส่วนบริษัทเกาหลีที่ก่อนหน้านี้มีธนาคารเจ้าหนี้รายหนึ่งทาบทามมานั้น บริษัทดังกล่าวเป็นเพียงบริษัทเทรดเดอร์รายเล็ก ๆ ที่สั่งซื้อสินค้าไก่จากผู้ส่งออกไทยหลายบริษัทเท่านั้น เรื่องศักยภาพในการเข้าไปบริหารกิจการของสหฟาร์มคงเป็นเรื่องลำบากและไม่ใช่เรื่องง่าย เท่าที่ทราบเบื้องต้นซีพีเอฟไม่ต้องการเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่สนใจซื้อกิจการทรัพย์สินและเครือข่ายที่มีอยู่ของสหฟาร์ม ตอนนี้แบงก์เจ้าหนี้ต่างรอลุ้น อยากให้ทุกอย่างจบ เพื่อจะได้เงินมาใช้หนี้ และธุรกิจส่งออกไก่ยังมีอนาคตมีโอกาสเติบโต" แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวในวงการปศุสัตว์กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ข่าวซีพีเอฟสนใจเข้าซื้อกิจการของบริษัทสหฟาร์ม ได้ยินมาตั้งแต่ช่วงแรกที่สหฟาร์มเริ่มส่อเค้าปัญหาขาดสภาพคล่อง โดยมีข่าวว่าทางบริษัทซีพีเอฟไม่ต้องการให้บริษัทสหฟาร์มตกไปอยู่ในมือของบริษัทข้ามชาติที่เป็นคู่แข่งสำคัญในตลาดส่งออกไก่ของไทย เช่น บราซิล สหรัฐอเมริกา เพราะบริษัทสหฟาร์มถือเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการรายใหญ่ มีกำลังการผลิตในระดับใกล้เคียงกับซีพีเอฟ หากตกไปอยู่ในมือคู่แข่งจะทำให้การควบคุมเกมในด้านทิศทางราคาตลาดปศุสัตว์ทั้งภายในและส่งออกยาก และอาจส่งผลกระทบต่อซีพีเอฟเองในอนาคต
ต่อยอดขายพันธุ์สัตว์-อาหารสัตว์
ในทางกลับกัน หากซีพีเอฟซื้อกิจการของสหฟาร์มได้ ผู้ประกอบการในวงการปศุสัตว์ไทยรายอื่นคงจะอยู่ลำบากเหมือนกัน เพราะเท่ากับครองสัดส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุด ที่สำคัญการซื้อกิจการทางซีพีเอฟจะได้เครือข่ายซัพพลายเออร์และเกษตรกรในเครือข่ายของสหฟาร์มที่มีอยู่หลายร้อยราย ซีพีเอฟสามารถขายพันธุ์สัตว์และอาหารสัตว์ได้อีกมหาศาล
"แต่คนในวงการที่รู้จัก ดร.ปัญญา (ดร.ปัญญา โชติเทวัญ ประธานบริหารเครือสหฟาร์ม) คงจะไม่ยอมง่าย ๆ ที่จะให้ซีพีเอฟมาฮุบกิจการที่สร้างมากับมือ เพราะที่ผ่านมาถือเป็นคู่แข่งสำคัญ ฟาดฟันกันมาพอสมควร เคยถึงกับมีคนในสหฟาร์มพูดว่า ทรัพย์สินของสหฟาร์ม แบงก์เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์จะนำไปเร่ขายให้ใครก็ได้ หากแบงก์ต้องการอย่างนั้น ต้องไปฟ้องร้องศาลล้มละลาย เพื่อยึดทรัพย์เอาเอง ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี หรืออาจจะ 5-10 ปี ดังนั้น ถ้าซีพีเอฟต้องการ ก็ต้องรอ" แหล่งข่าวกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ธนาคารเจ้าหนี้ได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้สหฟาร์ม พบว่าสหฟาร์มมีมูลหนี้ทั้งหมดประมาณ 30,000 กว่าล้านบาท จากเจ้าหนี้ทั้งหมด 50 ราย เป็นหนี้สถาบันการเงินประมาณ 14,000 ล้านบาท จาก 8 สถาบันการเงินรายใหญ่ อาทิ ธนาคารกรุงไทย มูลหนี้ 6,900 ล้านบาท, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) 1,600 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,000 ล้านบาท และธนาคารธนชาต 3,000 ล้านบาท ส่วนอีก 4 สถาบันการเงินที่มีมูลหนี้หลักร้อยล้านบาท ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์), ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) และธนาคารกรุงเทพ นอกจากนี้ ยังมีหนี้ซัพพลายเออร์ทางการค้าต่าง ๆ อีกกว่า 10,000 ล้านบาท รวมถึงหนี้กับเกษตรกร เป็นต้น
แบงก์เจ้าหนี้แจงไม่รู้เรื่อง
ขณะที่นายปริญญา พัฒนภักดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ของสหฟาร์ม เปิดเผยว่า ยังไม่ทราบกรณีมีธนาคารเจ้าหนี้บางรายติดต่อให้ซีพีเอฟเข้ามาร่วมทุน หรือเทกฯสหฟาร์ม เนื่องจากแนวทางการหาพันธมิตรร่วมลงทุนถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้ แต่ส่วนตัวแล้วมองว่ายังไม่มีความจำเป็น
สิ่งที่สหฟาร์มต้องการอย่างเร่งด่วนในตอนนี้คือการเติมเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องในการเดินหน้าธุรกิจที่หยุดชะงัก เพราะโดยภาพรวมของธุรกิจยังขยายตัวได้ดี และขณะนี้ราคาไก่ก็ปรับตัวสูงขึ้น
"การร่วมทุนกับพันธมิตรใหม่เป็นแนวทางหนึ่งในการทำธุรกิจที่ต้องการเพิ่มความรู้ในองค์กร แต่ตอนนี้หากไม่นับรวมการบริหารงาน ธุรกิจฟาร์มไก่ของสหฟาร์ม ก็ยังทำได้ค่อนข้างดี แต่ไม่มีเงินเพียงพอเท่านั้น วิธีง่าย ๆ ก็คือเติมเงินเข้าไปก่อน เพื่อให้ธุรกิจเดินต่อได้ ยังไม่มีความจำเป็นต้องหาพันธมิตรใหม่ แต่ถ้าเลือกหาพันธบัตรเลย อาจใช้เวลานานขึ้น ยุ่งยากขึ้น และทำให้ธุรกิจชะงักยิ่งกว่าเดิม เพราะต้องดำเนินการตั้งแต่การคัดเลือกพันธมิตร กระทั่งการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรับทุนใหม่ ซึ่งวิธีการนี้ค่อยว่ากันใหม่ในอนาคต"
ไอแบงก์เล็งปล่อยกู้เพิ่ม
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยกล่าวถึงความคืบหน้าการแก้หนี้ของสหฟาร์มว่า ล่าสุดเจ้าหนี้ธนาคารแต่ละรายได้แยกแก้ปัญหาหนี้เป็นรายแบงก์ เนื่องจากการประชุมเมื่อเดือน ก.ค. 2556 ที่ผ่านมา หลังมีการขีดเส้นให้สหฟาร์มส่งแผนฟื้นฟูภายใต้ 3 เงื่อนไข แต่ทางสหฟาร์มไม่ได้ส่งแผนฟื้นฟูตามกำหนดให้แบงก์เจ้าหนี้ทั้ง 4 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารอิสลามฯ, ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารธนชาต จึงได้หารือในที่ประชุมเจ้าหนี้ โดยให้แต่ละธนาคารไปหาทางออกในการแก้หนี้ดังกล่าวเป็นรายธนาคาร
ล่าสุดไอแบงก์นำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุมบอร์ดแล้ว ช่วงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา มีข้อสรุปให้การช่วยเหลือสหฟาร์มต่อไป เนื่องจากมองว่า หากบริษัทสามารถฟื้นฟูกิจการกลับมาได้ ก็จะเป็นผลดีต่อธนาคารในระยะยาว เพราะสินทรัพย์ที่สหฟาร์มนำมาค้ำประกันสินเชื่อของไอแบงก์มีมูลค่า 2,000 ล้านบาท ขณะที่สหฟาร์มขอสินเชื่อจากไอแบงก์ในช่วงที่ผ่านมาเพียง 1,600 ล้านบาท ดังนั้น การให้สินเชื่อใหม่สำหรับสหฟาร์มยังสามารถทำได้
อย่างไรก็ตาม ถ้าขอสินเชื่อรอบใหม่ ต้องนำสินทรัพย์ใหม่มาค้ำประกันเพิ่ม เพื่อการันตีว่าจะฟื้นฟูกิจการตามแผน ล่าสุดได้เจรจากับสหฟาร์มเบื้องต้นแล้ว ได้รับการยืนยันว่าจะนำที่ดินใน จ.เพชรบูรณ์ มาเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินราคาที่ดิน พิจารณาจากสินทรัพย์ค้ำประกัน การปล่อยสินเชื่อรอบใหม่จะอยู่ที่ 500 ล้านบาท หรืออาจถึง 1,000 ล้านบาท หากมีสินทรัพย์ค้ำประกันสูง
ที่มีข่าวว่าแบงก์เจ้าหนี้บางรายทาบทามกลุ่มซีพีเข้าซื้อสหฟาร์มนั้น เชื่อว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และเป็นแนวทางหนึ่งที่แบงก์เจ้าหนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาให้กับลูกหนี้ได้ แต่สหฟาร์มค่อนข้างทำธุรกิจแบบครอบครัว อีกทั้งซีพีก็เหมือนคู่แข่งทางธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ การทำธุรกิจของสหฟาร์มยังมีความเป็นเอกเทศ ดังนั้น การควบรวมกิจการกับคู่แข่ง แม้เป็นไปได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
โพสต์ที่ 12
ยาก ด้วย เหตุ ธรรมาภิบาล และ การบริหารแบบ ไดโน
แต่ คำว่า ล้ม บน ฟูก
ยังคง เป็น บทสรุปแห่งทุกยุคสมัย
แต่ คำว่า ล้ม บน ฟูก
ยังคง เป็น บทสรุปแห่งทุกยุคสมัย
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
โพสต์ที่ 13
'ซีพีเอฟ'ไม่สนซื้อสหฟาร์ม
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ฟาร์ม.html
ธุรกิจ
วันที่ 11 กันยายน 2556 16:55
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"เจริญโภคภัณฑ์อาหาร" ปฏิเสธข่าวซื้อกิจการสหฟาร์ม แม้มองโอกาสลงทุนต่อยอดธุรกิจ
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) เปิดเผยว่า ตามที่มีรายงานข่าวว่า CPF จะเข้าซื้อธุรกิจของสหฟาร์มนั้น ยืนยันว่าบริษัทไม่มีแผนเข้าซื้อกิจการของสหฟาร์มแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม CPF ยังมองหาโอกาสการลงทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจมาโดยตลอด แต่จะพิจารณาปัจจัยการลงทุนหลายด้าน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถสนับสนุนธุรกิจหลักได้เป็นอย่างดี
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ฟาร์ม.html
ธุรกิจ
วันที่ 11 กันยายน 2556 16:55
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"เจริญโภคภัณฑ์อาหาร" ปฏิเสธข่าวซื้อกิจการสหฟาร์ม แม้มองโอกาสลงทุนต่อยอดธุรกิจ
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) เปิดเผยว่า ตามที่มีรายงานข่าวว่า CPF จะเข้าซื้อธุรกิจของสหฟาร์มนั้น ยืนยันว่าบริษัทไม่มีแผนเข้าซื้อกิจการของสหฟาร์มแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม CPF ยังมองหาโอกาสการลงทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจมาโดยตลอด แต่จะพิจารณาปัจจัยการลงทุนหลายด้าน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถสนับสนุนธุรกิจหลักได้เป็นอย่างดี
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เคสสหฟาร์ม มีใครทำเป็นกรณีศึกษามั๊ยครับ?
โพสต์ที่ 14
แบงก์ปล่อยฟรีทาบCPFซื้อสหฟาร์ม หมอปัญญาฮึดสู้เปิดเชือดไก่ใหม่50,000ตัว/วัน
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1378919412
updated: 12 ก.ย. 2556 เวลา 00:09:21 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
แบงก์เจ้าหนี้สหฟาร์มเสียงแตก วงการปศุสัตว์วิพากษ์ปัญหาหนี้ 30,000 ล้านบาทใช้เวลาเคลียร์อีกยาว เหตุหลักทรัพย์ค้ำประกันแต่ละแบงก์มีทั้งคุ้มมูลหนี้และไม่คุ้มมูลหนี้ แค่ผู้สนใจซื้อกิจการขอ Haircut ให้ได้เท่าไหร่ยังคุยกันอีกยาวเป็นรายแบงก์ เผยสหฟาร์มดิ้นเปิดโรงเชือดเพชรบูรณ์ 50,000 ตัวส่งป้อนโรงไส้กรอกทั้งที่ไม่คุ้มค่าเปิดเครื่อง
แหล่งข่าวจากวงการปศุสัตว์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรณีที่ธนาคารเจ้าหนี้ของกลุ่มบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ต่างพยายามหาทางออกในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินและการขาดสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทสหฟาร์ม แนวทางหนึ่งที่ดำเนินการ คือ ช่วยเจรจาหาบริษัทผู้ประกอบการรายใหม่ทั้งภายในและต่างประเทศที่อยู่ในวงการส่งออกไก่เข้ามาช่วยฟื้นฟูกิจการของบริษัท ล่าสุดได้มีการเจรจาทาบทามบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ให้เข้าซื้อกิจการนั้น เท่าที่วิเคราะห์กันคิดว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เจ้าหนี้แต่ละแห่งมีวงเงินมูลหนี้ และหลักทรัพย์ค้ำประกันมูลหนี้แตกต่างกัน ทำให้ทิศทางและนโยบายการแก้ปัญหาแต่ละธนาคารยังเห็นแตกต่างกัน บางรายยังต้องการให้สหฟาร์มดำเนินการกิจการเอง ขณะที่บางรายต้องการให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามา เพราะเห็นว่าการบริหารธุรกิจแบบครอบครัวที่ผ่านมาไปไม่รอด แต่การที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะเข้ามาไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะการขอปรับลดหนี้ (Haircut) เป็นเรื่องที่ต้องเจรจารายธนาคาร
"เมื่อผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจเข้าซื้อกิจการของสหฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นซีพีเอฟหรือใครก็ตาม ต้องเจรจาขอต่อรองเพื่อให้แบงก์เจ้าหนี้ตัดหนี้เสียบางส่วนออกไป เป็นไปไม่ได้ที่ใครจะเข้าซื้อกิจการบวกวงเงินมูลหนี้เต็มราคา แต่การขอลดหนี้ (Haitcut) อาจจะต้องต่อรอง เช่น อาจจะขอลดทั้งต้นหรือดอกเบี้ย แต่การตัดสินใจดังกล่าวของแต่ละแบงก์จะเจรจาพร้อมกันไม่ได้ เพราะบางแบงก์มีหลักทรัพย์ค้ำประกันคุ้มกับวงเงินมูลหนี้ก็อาจจะไม่เดือดร้อนมากนัก อาจจะยอมตัดหนี้ให้มากหน่อยได้ แต่แบงก์ไหนที่หลักทรัพย์ค้ำประกันไม่คุ้มกับวงเงินมูลหนี้จะเดือดร้อนมาก การต่อรองให้แบงก์ยอมตัดหนี้เสียออกไปจะปรับลดเฉพาะเงินต้นหรือดอกเบี้ยหรือทั้งสองอย่าง เท่ากับเฉือนเนื้อตัวเองแล้วยังต้องตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีก จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้การเจรจาที่ไม่จบง่ายทีเดียว"
ยกตัวอย่าง กรณีธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) บอกจะปล่อยวงเงินสินเชื่อเพิ่มใหม่ให้สหฟาร์มอีก 1,000 ล้านบาท เพราะสินทรัพย์ที่สหฟาร์มนำมาค้ำประกันสินเชื่อของไอแบงก์มีมูลค่า 2,000 ล้านบาท ขณะที่สหฟาร์มขอสินเชื่อจากไอแบงก์ในช่วงที่ผ่านมาเพียง 1,600 ล้านบาท ดังนั้น การให้สินเชื่อใหม่สำหรับสหฟาร์มยังสามารถทำได้ เป็นต้น
แต่วงเงินกู้เพิ่มเพียง 1,000 ล้านบาท คงไม่ได้ช่วยสภาพคล่องของบริษัทได้มากนัก เนื่องจากวงเงินมูลหนี้ของสหฟาร์มมหาศาลกว่า 30,000 ล้านบาท ยังไม่รวมหนี้ของซัพพลายเออร์ที่ขายพันธุ์สัตว์ ขายยา ขายวัตถุดิบอาหารสัตว์ อาหารเสริม ซึ่งมีวงเงินมูลหนี้กว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป หนี้เกษตรกรอีก 50 กว่าล้านบาท และเท่าที่ทราบตอนนี้สหฟาร์มเริ่มเปิดโรงเชือดที่เพชรบูรณ์วันละประมาณ 50,000 ตัว เพื่อส่งเนื้อไก่เข้าโรงงานแปรรูปเป็นไส้กรอก เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนพอเลี้ยงพนักงานบริษัทไปได้บ้าง แต่การเปิดเครื่องจักรในไลน์การผลิตของโรงงานที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีกำลังการผลิตเต็มที่ถึง 600,000 ตัว/วัน
ขณะที่โรงเชือดไก่ที่ จ.ลพบุรี ที่มีกำลังการผลิตประมาณ 400,000 ตัว/วัน ต้นทุนไม่คุ้มกับการเดินเครื่อง สหฟาร์มทราบข้อนี้ดี และพยายามไปว่าจ้างโรงเชือดรายอื่นดำเนินการให้ แต่ไม่มีใครรับงาน บอกต้องมีเงินสดมาวางเท่านั้นถึงจะทำงานให้ เพราะทุกคนกลัวจะหนี้สูญเพราะหนี้เก่ามากมายยังไม่ได้จ่าย
"เท่าที่ทราบตอนนี้ทางสหฟาร์มพยายามจะฟื้นตัวเองกลับมา แต่เป็นเรื่องยากอีกเหมือนกัน เพราะหนี้ท่วมตัวจะไปซื้อลูกไก่ ซื้ออาหาร ซื้อเวชภัณฑ์ยาต่าง ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย จะไปซื้อเจ้าเก่าที่ติดหนี้ค้างอยู่ เขาก็บอกเงินที่เอามาจ่ายต้องใช้หนี้เก่าก่อน ส่วนจะหันไปซื้อรายใหม่ทุกคนเรียกเงินสดกันหมด ไม่มีใครกล้าให้ติดหนี้แล้ว" แหล่งข่าวกล่าว
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ธนาคารเจ้าหนี้ได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้สหฟาร์ม พบว่าสหฟาร์มมีมูลหนี้ทั้งหมดประมาณ 30,000 กว่าล้านบาท จากเจ้าหนี้ทั้งหมด 50 ราย เป็นหนี้สถาบันการเงินประมาณ 14,000 ล้านบาท จาก 8 สถาบันการเงินรายใหญ่ อาทิ ธนาคารกรุงไทย มูลหนี้ 6,900 ล้านบาท, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) 1,600 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,000 ล้านบาท และธนาคารธนชาต 3,000 ล้านบาท ส่วนอีก 4 สถาบันการเงินที่มีมูลหนี้หลักร้อยล้านบาท
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1378919412
updated: 12 ก.ย. 2556 เวลา 00:09:21 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
แบงก์เจ้าหนี้สหฟาร์มเสียงแตก วงการปศุสัตว์วิพากษ์ปัญหาหนี้ 30,000 ล้านบาทใช้เวลาเคลียร์อีกยาว เหตุหลักทรัพย์ค้ำประกันแต่ละแบงก์มีทั้งคุ้มมูลหนี้และไม่คุ้มมูลหนี้ แค่ผู้สนใจซื้อกิจการขอ Haircut ให้ได้เท่าไหร่ยังคุยกันอีกยาวเป็นรายแบงก์ เผยสหฟาร์มดิ้นเปิดโรงเชือดเพชรบูรณ์ 50,000 ตัวส่งป้อนโรงไส้กรอกทั้งที่ไม่คุ้มค่าเปิดเครื่อง
แหล่งข่าวจากวงการปศุสัตว์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรณีที่ธนาคารเจ้าหนี้ของกลุ่มบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ต่างพยายามหาทางออกในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินและการขาดสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทสหฟาร์ม แนวทางหนึ่งที่ดำเนินการ คือ ช่วยเจรจาหาบริษัทผู้ประกอบการรายใหม่ทั้งภายในและต่างประเทศที่อยู่ในวงการส่งออกไก่เข้ามาช่วยฟื้นฟูกิจการของบริษัท ล่าสุดได้มีการเจรจาทาบทามบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ให้เข้าซื้อกิจการนั้น เท่าที่วิเคราะห์กันคิดว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เจ้าหนี้แต่ละแห่งมีวงเงินมูลหนี้ และหลักทรัพย์ค้ำประกันมูลหนี้แตกต่างกัน ทำให้ทิศทางและนโยบายการแก้ปัญหาแต่ละธนาคารยังเห็นแตกต่างกัน บางรายยังต้องการให้สหฟาร์มดำเนินการกิจการเอง ขณะที่บางรายต้องการให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามา เพราะเห็นว่าการบริหารธุรกิจแบบครอบครัวที่ผ่านมาไปไม่รอด แต่การที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะเข้ามาไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะการขอปรับลดหนี้ (Haircut) เป็นเรื่องที่ต้องเจรจารายธนาคาร
"เมื่อผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจเข้าซื้อกิจการของสหฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นซีพีเอฟหรือใครก็ตาม ต้องเจรจาขอต่อรองเพื่อให้แบงก์เจ้าหนี้ตัดหนี้เสียบางส่วนออกไป เป็นไปไม่ได้ที่ใครจะเข้าซื้อกิจการบวกวงเงินมูลหนี้เต็มราคา แต่การขอลดหนี้ (Haitcut) อาจจะต้องต่อรอง เช่น อาจจะขอลดทั้งต้นหรือดอกเบี้ย แต่การตัดสินใจดังกล่าวของแต่ละแบงก์จะเจรจาพร้อมกันไม่ได้ เพราะบางแบงก์มีหลักทรัพย์ค้ำประกันคุ้มกับวงเงินมูลหนี้ก็อาจจะไม่เดือดร้อนมากนัก อาจจะยอมตัดหนี้ให้มากหน่อยได้ แต่แบงก์ไหนที่หลักทรัพย์ค้ำประกันไม่คุ้มกับวงเงินมูลหนี้จะเดือดร้อนมาก การต่อรองให้แบงก์ยอมตัดหนี้เสียออกไปจะปรับลดเฉพาะเงินต้นหรือดอกเบี้ยหรือทั้งสองอย่าง เท่ากับเฉือนเนื้อตัวเองแล้วยังต้องตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีก จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้การเจรจาที่ไม่จบง่ายทีเดียว"
ยกตัวอย่าง กรณีธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) บอกจะปล่อยวงเงินสินเชื่อเพิ่มใหม่ให้สหฟาร์มอีก 1,000 ล้านบาท เพราะสินทรัพย์ที่สหฟาร์มนำมาค้ำประกันสินเชื่อของไอแบงก์มีมูลค่า 2,000 ล้านบาท ขณะที่สหฟาร์มขอสินเชื่อจากไอแบงก์ในช่วงที่ผ่านมาเพียง 1,600 ล้านบาท ดังนั้น การให้สินเชื่อใหม่สำหรับสหฟาร์มยังสามารถทำได้ เป็นต้น
แต่วงเงินกู้เพิ่มเพียง 1,000 ล้านบาท คงไม่ได้ช่วยสภาพคล่องของบริษัทได้มากนัก เนื่องจากวงเงินมูลหนี้ของสหฟาร์มมหาศาลกว่า 30,000 ล้านบาท ยังไม่รวมหนี้ของซัพพลายเออร์ที่ขายพันธุ์สัตว์ ขายยา ขายวัตถุดิบอาหารสัตว์ อาหารเสริม ซึ่งมีวงเงินมูลหนี้กว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป หนี้เกษตรกรอีก 50 กว่าล้านบาท และเท่าที่ทราบตอนนี้สหฟาร์มเริ่มเปิดโรงเชือดที่เพชรบูรณ์วันละประมาณ 50,000 ตัว เพื่อส่งเนื้อไก่เข้าโรงงานแปรรูปเป็นไส้กรอก เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนพอเลี้ยงพนักงานบริษัทไปได้บ้าง แต่การเปิดเครื่องจักรในไลน์การผลิตของโรงงานที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีกำลังการผลิตเต็มที่ถึง 600,000 ตัว/วัน
ขณะที่โรงเชือดไก่ที่ จ.ลพบุรี ที่มีกำลังการผลิตประมาณ 400,000 ตัว/วัน ต้นทุนไม่คุ้มกับการเดินเครื่อง สหฟาร์มทราบข้อนี้ดี และพยายามไปว่าจ้างโรงเชือดรายอื่นดำเนินการให้ แต่ไม่มีใครรับงาน บอกต้องมีเงินสดมาวางเท่านั้นถึงจะทำงานให้ เพราะทุกคนกลัวจะหนี้สูญเพราะหนี้เก่ามากมายยังไม่ได้จ่าย
"เท่าที่ทราบตอนนี้ทางสหฟาร์มพยายามจะฟื้นตัวเองกลับมา แต่เป็นเรื่องยากอีกเหมือนกัน เพราะหนี้ท่วมตัวจะไปซื้อลูกไก่ ซื้ออาหาร ซื้อเวชภัณฑ์ยาต่าง ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย จะไปซื้อเจ้าเก่าที่ติดหนี้ค้างอยู่ เขาก็บอกเงินที่เอามาจ่ายต้องใช้หนี้เก่าก่อน ส่วนจะหันไปซื้อรายใหม่ทุกคนเรียกเงินสดกันหมด ไม่มีใครกล้าให้ติดหนี้แล้ว" แหล่งข่าวกล่าว
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ธนาคารเจ้าหนี้ได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้สหฟาร์ม พบว่าสหฟาร์มมีมูลหนี้ทั้งหมดประมาณ 30,000 กว่าล้านบาท จากเจ้าหนี้ทั้งหมด 50 ราย เป็นหนี้สถาบันการเงินประมาณ 14,000 ล้านบาท จาก 8 สถาบันการเงินรายใหญ่ อาทิ ธนาคารกรุงไทย มูลหนี้ 6,900 ล้านบาท, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) 1,600 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,000 ล้านบาท และธนาคารธนชาต 3,000 ล้านบาท ส่วนอีก 4 สถาบันการเงินที่มีมูลหนี้หลักร้อยล้านบาท