เห็นอะไรมั้ย?
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 33
"...เงินกำลังจะหมุนไปกำลังจะหมุนไป..."
ทุกคนยังจำประโยคข้างบนได้หรือไม่
ในโฆษณาบอกเลยว่า คนหนึ่งตาย ไม่มีเงินจ่ายหนี้มันจะกระทบเป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆๆ
ในเมื่อคราวนี้เป็นรัฐบาลถังแตกแล้วไซร้ ภาคไหนจะรองรับได้ ดูกันที่ภาคประชาชนผู้ช่วยชีวิตตอนต้มยำกุ้ง
ตอนนี้ภาคประชาชนมีเงินออมมากขนาดที่จะพยุงเศรษฐกิจได้หรือ ตอบเลยว่า ตอนนี้ภาคนี้ก็เหมือนรัฐบาลคือถังแตก ทำไมล่ะ เพราะว่า โดนการกดดอกเบี้ยทั้งภาครัฐบาลและธนาคาร รวมไปถึงหุ้นกู้ด้วย เอามาใช้จ่ายเพื่อความโลภ หรือแสดงสถานะของตนเองหมด
มาดูต่อที่ภาคเอกชน ภาคนี้เพิ่งจะฟื้นไข้จากต้มยำกุ้งได้ไม่นาน เป็นคนก็เพิ่งฟื้นไข้แล้วมันจะเจอเหตุการณ์เดิมอีก ก็ไม่ไหวเหมือนกัน
สรุปงานนี้ต้องพึ่งการออมอีกแล้ว รัดเข็มขัดเหมือนยุคป๋าเปรม คือยอมกัดฟันลดค่าเงินบาท จัดการทำให้คนในชาติรู้จักคำว่าเพียงพอ แล้วทำแบบอย่างประเทศที่แข็งแรงด้วยความเพียงพอ
และที่สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลไม่ต้องอ้างถึงการเติบโตด้วยGDPมาเป็นผลงาน ต้องอ้างถึงความสุขของประชาชนเป็นสำคัญ ประชาชนต้องมีข้าวสามมื้อตกถึงท้องทุกคน อันนี้สิ่งรัฐที่ดีที่สุด
ทุกคนยังจำประโยคข้างบนได้หรือไม่
ในโฆษณาบอกเลยว่า คนหนึ่งตาย ไม่มีเงินจ่ายหนี้มันจะกระทบเป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆๆ
ในเมื่อคราวนี้เป็นรัฐบาลถังแตกแล้วไซร้ ภาคไหนจะรองรับได้ ดูกันที่ภาคประชาชนผู้ช่วยชีวิตตอนต้มยำกุ้ง
ตอนนี้ภาคประชาชนมีเงินออมมากขนาดที่จะพยุงเศรษฐกิจได้หรือ ตอบเลยว่า ตอนนี้ภาคนี้ก็เหมือนรัฐบาลคือถังแตก ทำไมล่ะ เพราะว่า โดนการกดดอกเบี้ยทั้งภาครัฐบาลและธนาคาร รวมไปถึงหุ้นกู้ด้วย เอามาใช้จ่ายเพื่อความโลภ หรือแสดงสถานะของตนเองหมด
มาดูต่อที่ภาคเอกชน ภาคนี้เพิ่งจะฟื้นไข้จากต้มยำกุ้งได้ไม่นาน เป็นคนก็เพิ่งฟื้นไข้แล้วมันจะเจอเหตุการณ์เดิมอีก ก็ไม่ไหวเหมือนกัน
สรุปงานนี้ต้องพึ่งการออมอีกแล้ว รัดเข็มขัดเหมือนยุคป๋าเปรม คือยอมกัดฟันลดค่าเงินบาท จัดการทำให้คนในชาติรู้จักคำว่าเพียงพอ แล้วทำแบบอย่างประเทศที่แข็งแรงด้วยความเพียงพอ
และที่สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลไม่ต้องอ้างถึงการเติบโตด้วยGDPมาเป็นผลงาน ต้องอ้างถึงความสุขของประชาชนเป็นสำคัญ ประชาชนต้องมีข้าวสามมื้อตกถึงท้องทุกคน อันนี้สิ่งรัฐที่ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 190
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 35
คนคำนวณ ไม่เท่าฟ้าลิขิตครับmiracle เขียน: ในเมื่อคราวนี้เป็นรัฐบาลถังแตกแล้วไซร้ ภาคไหนจะรองรับได้ ดูกันที่ภาคประชาชนผู้ช่วยชีวิตตอนต้มยำกุ้ง
ตอนนี้ภาคประชาชนมีเงินออมมากขนาดที่จะพยุงเศรษฐกิจได้หรือ ตอบเลยว่า ตอนนี้ภาคนี้ก็เหมือนรัฐบาลคือถังแตก ทำไมล่ะ เพราะว่า โดนการกดดอกเบี้ยทั้งภาครัฐบาลและธนาคาร รวมไปถึงหุ้นกู้ด้วย เอามาใช้จ่ายเพื่อความโลภ หรือแสดงสถานะของตนเองหมด
มาดูต่อที่ภาคเอกชน ภาคนี้เพิ่งจะฟื้นไข้จากต้มยำกุ้งได้ไม่นาน เป็นคนก็เพิ่งฟื้นไข้แล้วมันจะเจอเหตุการณ์เดิมอีก ก็ไม่ไหวเหมือนกัน
สรุปงานนี้ต้องพึ่งการออมอีกแล้ว รัดเข็มขัดเหมือนยุคป๋าเปรม คือยอมกัดฟันลดค่าเงินบาท จัดการทำให้คนในชาติรู้จักคำว่าเพียงพอ แล้วทำแบบอย่างประเทศที่แข็งแรงด้วยความเพียงพอ
และที่สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลไม่ต้องอ้างถึงการเติบโตด้วยGDPมาเป็นผลงาน ต้องอ้างถึงความสุขของประชาชนเป็นสำคัญ ประชาชนต้องมีข้าวสามมื้อตกถึงท้องทุกคน อันนี้สิ่งรัฐที่ดีที่สุด
ที่ผ่านมารัฐยอมทุ่มทุกอย่าง
เพื่อรอวันที่ภาคเอกชนฟื้นขึ้นมาอย่างแข็งแรงและรับช่วงต่อ
สี่ปีแรก ดูเหมือนว่าทุกอย่างเดินไปตามแผน
ตั้งแต่ปีแรกๆ ท่านนายก พยายามพูดตลอดว่า
รัฐบาลไปเปิดตลาดให้ท่านแล้ว
ต่อไปเป็นหน้าที่ของภาคเอกชนที่จะต้องรับช่วงสานต่อ
แต่คนคำนวณ ไม่เท่าฟ้าลิขิต
... สึนามิ
... ไข้หวัดนก
ทำให้เอกชนไม่สามารถฟื้นขึ้นมาได้ตามที่คำนวณไว้
ทำให้รัฐจำเป็นต้องอุ้มต่อ จนตัวเลขมันฟ้อง
ยิ่งถูกซ้ำเติมด้วย
... แปรรูปรัฐวิสาหกิจใหญ่พลาด
ทำให้หน้าตักไม่เหลือ
จนล่าสุดรัฐ ก็ยังวิ่งสู้ฟัด
ด้วยการเดินหน้า ประมูลเมกกะโปรเจกท์
เพื่อเอาเงินอัดเข้าสู่ระบบ ไม่ให้ขาดสภาพคล่อง
ซื้อเวลาให้ภาคเอกชน
ให้กระโดดข้าม กับดักอันนี้ ที่จะวนไปสู่
ยุคการรัดเข็มขัดเหมือนสมัยก่อน
สุดท้าย คนคำนวณ ไม่เท่าฟ้าลิขิตเศรษฐกิจแย่ คนไม่มีกำลังซื้อ ผู้ประกอบการไม่ลงทุน ทุกคนเริ่มกลัว ใช้จ่ายน้อยลง ทรัพย์สินถาวรเริ่มขายไม่ออก ธุรกิจลดต้นทุน คนเริ่มตกงาน ดอกเบี้ยเริ่มทรงตัว
เศรษฐกิจแย่ ทุกคนเริ่มกลัว ใช้จ่ายน้อยลง ธุรกิจลดต้นทุน ลดกำลังการผลิต คนยิ่งตกงาน ดอกเบี้ยเริ่มลด
เศรษฐกิจแย่ ทุกอย่างหยุกชงัก ค่าเงินเริ่มอ่อน ดอกเบี้ยลงต่อ เงินล้นระบบ ไม่มีใครลงทุน ราคาพันธบัตรสูงขึ้น
ตอนนี้เราไม่มีรัฐบาลแล้ว
ผมไม่คิดว่าจะมีใครต่อจิ๊กซอว์ที่เหลืออยู่
ได้ดีเท่ากับคนเล่นคนเดิม
เห็นด้วยกับท่านสุมาอี้อย่างยิ่งครับผมคิดว่าทักษิโนมิคน่าจะ collapse ภายในปีนี้ เพราะมองแล้วไม่เห็นทางที่จะไปต่อได้
...แต่ก็น่าจะมีแรงเฉื่อยไปได้อีกระยะหนึ่ง
และก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศจะ collapse ไปด้วย
แต่อาจจะกลายเป็นทางออกที่ดีกว่าก็ได้
ความหมายของ dual track อาจจะถูกตีความใหม่
ได้รับการถ่วงน้ำหนักกันให้สมดุลย์ได้ดีกว่าที่ผ่านมา
ระหว่าง GDP กับ ความสุข
ไม่ใช่ด้านใดด้านหนึ่ง ถึงจะเป็นรัฐบาลที่ดี
... อยากรู้ทันทักษิณจังเลยแฮะ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 36
คนคำนวณ ไม่เท่าฟ้าลิขิตครับ
นี่คือสิ่งที่ผมกลัวเมื่อ 5 ปีที่แล้ว
ดังนั้น นโยบายเชิงอนุรักษ์ หรือ conservative approaches
จึงน่าจะดีกว่านโยบายเชิงรุก เพราะ "คนคำนวณไม่สู้ฟ้าลิขิต"
นานน๊านที เราจึงจะเห็นทีมกีฬาที่บุกเก่งๆ ได้เป็นแชมป์ในลีก
ทีมรับที่แข็งแกร่ง ปราศจากรูโหว่ มักจะชนะได้ในที่สุด
Hope for the best, Expect for the worst
เมื่อคุณทักษิณไม่ "Expect for the worst"
จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้นำ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 37
คงต้องเตรียมช้อนรอไว้หลังเทศกาล XD และ ประชุมผู้ถือหุ้น
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 38
เห็นด้วยครับ ... ผมกลับคิดว่า คนใน TVI หลายคน กลับสังหรณ์ตั้งแต่แรกๆที่มีการใช้นโยบายอัดฉีดแบบนี้แล้วCK เขียน:
นี่คือสิ่งที่ผมกลัวเมื่อ 5 ปีที่แล้ว
ดังนั้น นโยบายเชิงอนุรักษ์ หรือ conservative approaches
จึงน่าจะดีกว่านโยบายเชิงรุก เพราะ "คนคำนวณไม่สู้ฟ้าลิขิต"
นานน๊านที เราจึงจะเห็นทีมกีฬาที่บุกเก่งๆ ได้เป็นแชมป์ในลีก
ทีมรับที่แข็งแกร่ง ปราศจากรูโหว่ มักจะชนะได้ในที่สุด
Hope for the best, Expect for the worst
เมื่อคุณทักษิณไม่ "Expect for the worst"
จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้นำ
ส่วนตัวแล้วผมเอง เห็นแววจากการ Bet ของคุณทักษิณมาแต่แรกครับ ... ผมเองไม่ชอบคุณทักษิณ เพราะว่าคุณทักษิณแก้ปัญหาทุกสรรพสิ่งด้วย "เงิน"
แต่ โครงสร้างระบบ และ ทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้ถูกปรับ ... สำหรับผมมองว่า ต่อให้ไม่มีหวัดนก ไม่มีซึนามิ และ น้ำมันไม่แพง ... เศรษฐกิจแบบนี้ ก็เป้นการเติบโตแบบฉาบฉวยมากครับ
เปรียบแก่นไม่ดี เหมือนบ้านเสารากไม่ดี โครงสร้างไม่แข็งแรง.. เจอแค่พายุเบาๆ บ้านก็พังได้ครับ
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 39
ปีที่แล้วมีซึนามิ รายได้ท่องเที่ยวลดลงเท่าไร แล้วจะเกิดขึ้นอีกไหม
ปีที่แล้วราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ในปีต่อๆไป จะเพิ่มสูงขึ้นมากเท่าหรือไม่
ปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มขาขึ้น และจะขึ้นต่อไปอีกนานหรือไม่
รัฐบาลจะใช้จ่ายมากหรือไม่ ก็คงต้องไปดูว่างบประมาณขาดดุลหรือไม่
ฐานะของรัฐมั่นคงเพียงพอหรือไม่ เครดิตดีหรือไม่
ถ้ารัฐไม่ใช้จ่ายเพิ่มในปีก่อน จะดีกว่าใช้จ่ายหรือ
ถ้าเศรษฐกิจโตน้อย ความมั่นใจของเอกชนจะลดลงหรือไม่ การจ้างงานจะลดลงหรือไม่
ถ้ารัฐบาลมีความสามารถที่จะใช้จ่ายเพิ่มเพื่อพยุงเศรษฐกิจให้รอดพ้นจากวิกฤตชั่วคราวได้
แต่ไม่ทำ จะมีคนกล่าวหาว่ารัฐบาลบริหารงานไม่เป็นได้หรือไม่
ปีที่แล้วราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ในปีต่อๆไป จะเพิ่มสูงขึ้นมากเท่าหรือไม่
ปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มขาขึ้น และจะขึ้นต่อไปอีกนานหรือไม่
รัฐบาลจะใช้จ่ายมากหรือไม่ ก็คงต้องไปดูว่างบประมาณขาดดุลหรือไม่
ฐานะของรัฐมั่นคงเพียงพอหรือไม่ เครดิตดีหรือไม่
ถ้ารัฐไม่ใช้จ่ายเพิ่มในปีก่อน จะดีกว่าใช้จ่ายหรือ
ถ้าเศรษฐกิจโตน้อย ความมั่นใจของเอกชนจะลดลงหรือไม่ การจ้างงานจะลดลงหรือไม่
ถ้ารัฐบาลมีความสามารถที่จะใช้จ่ายเพิ่มเพื่อพยุงเศรษฐกิจให้รอดพ้นจากวิกฤตชั่วคราวได้
แต่ไม่ทำ จะมีคนกล่าวหาว่ารัฐบาลบริหารงานไม่เป็นได้หรือไม่
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 40
พี่ CK ก็น่าจะชอบการบริหารของ WG นะครับCK เขียน: ดังนั้น นโยบายเชิงอนุรักษ์ หรือ conservative approaches
จึงน่าจะดีกว่านโยบายเชิงรุก เพราะ "คนคำนวณไม่สู้ฟ้าลิขิต"
นานน๊านที เราจึงจะเห็นทีมกีฬาที่บุกเก่งๆ ได้เป็นแชมป์ในลีก
ทีมรับที่แข็งแกร่ง ปราศจากรูโหว่ มักจะชนะได้ในที่สุด
เพราะบริษัทนี้ Consevative มากจริงไหมครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 44
เพราะตัวเลขที่นำมาฝาก เป็นผลลัพธ์ของนโยบายงบประมาณของรัฐ
1.เศรษกิจดี ไปได้ด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่รัฐก็ใช้นโยบายงบประมาณสมดุล
2.เศรษกิจไม่ดี รัฐก็กระตุ้นเศรษกิจ ด้วยนโยบายขาดดุล
3.เศรษกิจร้อนแรงเกินไป รัฐก็ควรใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล
ก่อนวิกฤติเศรษกิจ เศรษกิจร้อนแรงเกิดฟองสบู่ จำได้ว่ารัฐบาลบรรหาร คุณบดี ผอ.งบประมาณ คุณวิจิตร ผู้ว่าธนาคารชาติ ใช้นโยบายสมดุล หรือขาดดุลไม่แน่ใจ ยิ่งเร่งให้ฟองสบู่แตกเร็วขึ้น แทนที่จะใช้นโยบายเกินดุล (ตอนนั้นคงไม่มีใครคิดออก) และต่อมาหลังวิกฤติรัฐบาลคุณชวนก็ใช้นโยบายขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษกิจ
1.เศรษกิจดี ไปได้ด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่รัฐก็ใช้นโยบายงบประมาณสมดุล
2.เศรษกิจไม่ดี รัฐก็กระตุ้นเศรษกิจ ด้วยนโยบายขาดดุล
3.เศรษกิจร้อนแรงเกินไป รัฐก็ควรใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล
ก่อนวิกฤติเศรษกิจ เศรษกิจร้อนแรงเกิดฟองสบู่ จำได้ว่ารัฐบาลบรรหาร คุณบดี ผอ.งบประมาณ คุณวิจิตร ผู้ว่าธนาคารชาติ ใช้นโยบายสมดุล หรือขาดดุลไม่แน่ใจ ยิ่งเร่งให้ฟองสบู่แตกเร็วขึ้น แทนที่จะใช้นโยบายเกินดุล (ตอนนั้นคงไม่มีใครคิดออก) และต่อมาหลังวิกฤติรัฐบาลคุณชวนก็ใช้นโยบายขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษกิจ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 45
ถ้าทุกรัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณเหมาะสมกับเศรษกิจทุกอย่างก็ไม่มีปัญหา แล้วรัฐบาลชุดนี้ใช้นโยบายที่เหมาะสมหรือเปล่า
ภาวะเศรษกิจตอนนี้ เรียกได้ว่าทรงๆ นโยบายงบประมาณของรัฐเป็นแบบสมดุลหรือขาดดุลนิดหน่อย ผมไม่ค่อยแน่ใจ ดูโดยรวมก็ไม่มีอะไร ถ้าหากจะมีปัญหาน่าจะเป็นอย่างนี้ครับ
1.ใช้นโยบายขาดดุลอย่างอย่างนานเพื่อกระตุ้นเศรษกิจ ทำให้หนี้รัฐบาลสูงขึ้น เหมือนหารายได้ไม่พอรายจ่าย ติดต่อกันหลายๆปี อย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีแน่ครับ
แล้วรัฐบาลยุคนี้เป็นอย่างนี้หรือเปล่า ผมเข้าใจว่าก็เป็นงบประมาณสมดุลหรือขาดดุลนิดหน่อยนะครับ การกระตุ้นผ่านเมกะโปรเจค เช่นสนามบินสุวรรณภูมิ อาจจะทำให้ตัวเลขที่คุณ สุมาอี้ นำมาฝากสูงขึ้น แต่ตราบใดที่รัฐยังหารายได้ พอค่าใช้จ่าย ผมก็ไม่เห็นว่าเราจะไปวิตกทำไม
และตัวเลขแค่ 2 ปี ก็ไม่ได้บอกอะไรเรามาก เพราะรัฐบาลชุดนี้ก็บริหารงานมาหลายปีแล้ว หากเราไปดูตัวเลขนี้หลายๆปี น่าจะมองภาพได้ชัดเจนกว่าครับ อย่างตัวเลขปี 2004 ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรนี่ครับ ปี 2005 อาจจะมีการสร้างสนามบินหรือเปล่า ทำให้ตัวเลขสูงขึ้นมา
ภาวะเศรษกิจตอนนี้ เรียกได้ว่าทรงๆ นโยบายงบประมาณของรัฐเป็นแบบสมดุลหรือขาดดุลนิดหน่อย ผมไม่ค่อยแน่ใจ ดูโดยรวมก็ไม่มีอะไร ถ้าหากจะมีปัญหาน่าจะเป็นอย่างนี้ครับ
1.ใช้นโยบายขาดดุลอย่างอย่างนานเพื่อกระตุ้นเศรษกิจ ทำให้หนี้รัฐบาลสูงขึ้น เหมือนหารายได้ไม่พอรายจ่าย ติดต่อกันหลายๆปี อย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีแน่ครับ
แล้วรัฐบาลยุคนี้เป็นอย่างนี้หรือเปล่า ผมเข้าใจว่าก็เป็นงบประมาณสมดุลหรือขาดดุลนิดหน่อยนะครับ การกระตุ้นผ่านเมกะโปรเจค เช่นสนามบินสุวรรณภูมิ อาจจะทำให้ตัวเลขที่คุณ สุมาอี้ นำมาฝากสูงขึ้น แต่ตราบใดที่รัฐยังหารายได้ พอค่าใช้จ่าย ผมก็ไม่เห็นว่าเราจะไปวิตกทำไม
และตัวเลขแค่ 2 ปี ก็ไม่ได้บอกอะไรเรามาก เพราะรัฐบาลชุดนี้ก็บริหารงานมาหลายปีแล้ว หากเราไปดูตัวเลขนี้หลายๆปี น่าจะมองภาพได้ชัดเจนกว่าครับ อย่างตัวเลขปี 2004 ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรนี่ครับ ปี 2005 อาจจะมีการสร้างสนามบินหรือเปล่า ทำให้ตัวเลขสูงขึ้นมา
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 47
ส่วนเรื่องรัฐบาลถังแตกหรือเปล่า มีกระแสพูดกันมากมาย
ผมมีข้อสังเกตุอย่างนี้นะครับ
ปกติไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือบริษัทที่เราลงทุน มีโอกาสมากที่รายได้กับรายจ่ายเข้ามาไม่พร้อมกัน ทำให้เกิดเงินส่วนเกิน หรือ short เงิน ถ้าเป็นรัฐบาลขาดเงินก็ต้องไปกู้ ออกพันธบัตร หากเป็นกิจการเอกชน ก็ต้องเบิก OD
แต่สุดท้ายแล้วสิ้นงวดหรือสิ้นปีงบประมาณ รายรับ-รายจ่ายเหล่านี้ ก็ต้องสมดุลหรือเป็นไปตามงบประมาณที่ตั้งกรอบไว้ หากมีแนวโน้มว่ารายรับจะไม่พอ ก็ต้องหาสาเหตุและเร่งรัดการจัดเก็บครับ
ผมเข้าใจว่าหากเราไม่ได้อยู่ในกระแสการเมืองขณะนี้ ประเด็นเหล่านี้คงไม่เป็นที่สนใจ หรือหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง เราในฐานะของนักลงทุน vi ซึ่งใช้หลักเหตุและผลในการเลือกลงทุน คงต้องใช้วิจารณญานในการพิจารณาประเด็นเหล่านี้ครับ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนถนัดอยู่แล้ว
ผมมีข้อสังเกตุอย่างนี้นะครับ
ปกติไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือบริษัทที่เราลงทุน มีโอกาสมากที่รายได้กับรายจ่ายเข้ามาไม่พร้อมกัน ทำให้เกิดเงินส่วนเกิน หรือ short เงิน ถ้าเป็นรัฐบาลขาดเงินก็ต้องไปกู้ ออกพันธบัตร หากเป็นกิจการเอกชน ก็ต้องเบิก OD
แต่สุดท้ายแล้วสิ้นงวดหรือสิ้นปีงบประมาณ รายรับ-รายจ่ายเหล่านี้ ก็ต้องสมดุลหรือเป็นไปตามงบประมาณที่ตั้งกรอบไว้ หากมีแนวโน้มว่ารายรับจะไม่พอ ก็ต้องหาสาเหตุและเร่งรัดการจัดเก็บครับ
ผมเข้าใจว่าหากเราไม่ได้อยู่ในกระแสการเมืองขณะนี้ ประเด็นเหล่านี้คงไม่เป็นที่สนใจ หรือหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง เราในฐานะของนักลงทุน vi ซึ่งใช้หลักเหตุและผลในการเลือกลงทุน คงต้องใช้วิจารณญานในการพิจารณาประเด็นเหล่านี้ครับ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนถนัดอยู่แล้ว
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 857
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 48
ลูกอิสาน เขียน: ผมเข้าใจว่าหากเราไม่ได้อยู่ในกระแสการเมืองขณะนี้ ประเด็นเหล่านี้คงไม่เป็นที่สนใจ หรือหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง เราในฐานะของนักลงทุน vi ซึ่งใช้หลักเหตุและผลในการเลือกลงทุน คงต้องใช้วิจารณญานในการพิจารณาประเด็นเหล่านี้ครับ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนถนัดอยู่แล้ว
อยากให้วิเคราะห์รายละเอียดเหมือนกันครับ ดูตัวเลขสุดท้ายแล้ววิจารณ์เลยมันแปลก ๆ เหมือนซื้อหรือไม่ซื้อหุ้นโดยดู P/E ตอนสิ้นปี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 50
ผมเคยพูดไว้ตั้งหลายปีแล้วครับ เรื่องนี้ลูกอิสาน เขียน:ผมเข้าใจว่าหากเราไม่ได้อยู่ในกระแสการเมืองขณะนี้ ประเด็นเหล่านี้คงไม่เป็นที่สนใจ หรือหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง เราในฐานะของนักลงทุน vi ซึ่งใช้หลักเหตุและผลในการเลือกลงทุน คงต้องใช้วิจารณญานในการพิจารณาประเด็นเหล่านี้ครับ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนถนัดอยู่แล้ว
ตั้งแต่ตอนที่คนทั้งประเทศยังชื่นชมนายกทักษิณอยู่
เคยทำนายไว้ด้วยว่า น่าจะเริ่มเกิดปัญหา
เร็วสุดปลายปี 2005 - ช้าสุดกลางปี 2008
หลักการลงทุนของผม -- ถ้าภาพรวมไม่ได้ ก็ไม่ต้องลงรายละเอียด
อย่าง N-PARK เห็นนโยบายการขยายงานแล้ว ก็ไม่ต้องดูหรอกครับ
ว่าแต่ละโครงการ แต่ละรายการเป็นยังไง เสียเวลา
เล่นตามกราฟยังกำไรซะกว่า
แล้วงบซับซ้อนอย่าง SCC มี VI คนไหนดูรายละเอียดได้หมดครับ
แต่เห็น VI ทุกคนพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่า ภาพรวมระยะยาวดี
ราคาถูกหรือแพงไม่รู้
งบประเทศไทย ซับซ้อนกว่า SCC ตั้งกี่เท่าครับ
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 51
คิดดูกันดีๆซิครับ สมัยก่อนฟองสบู่แตก เงินเข้ามาในระบบมากมาย
มันหายไปไหน ?
มันหายไปไหน ?
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 52
ผมก็สนับสนุนการมองภาพรวม ภาพใหญ่มาตลอดนะครับCK เขียน:ผมเคยพูดไว้ตั้งหลายปีแล้วครับ เรื่องนี้
ตั้งแต่ตอนที่คนทั้งประเทศยังชื่นชมนายกทักษิณอยู่
เคยทำนายไว้ด้วยว่า น่าจะเริ่มเกิดปัญหา
เร็วสุดปลายปี 2005 - ช้าสุดกลางปี 2008
หลักการลงทุนของผม -- ถ้าภาพรวมไม่ได้ ก็ไม่ต้องลงรายละเอียด
อย่าง N-PARK เห็นนโยบายการขยายงานแล้ว ก็ไม่ต้องดูหรอกครับ
ว่าแต่ละโครงการ แต่ละรายการเป็นยังไง เสียเวลา
เล่นตามกราฟยังกำไรซะกว่า
แล้วงบซับซ้อนอย่าง SCC มี VI คนไหนดูรายละเอียดได้หมดครับ
แต่เห็น VI ทุกคนพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่า ภาพรวมระยะยาวดี
ราคาถูกหรือแพงไม่รู้
งบประเทศไทย ซับซ้อนกว่า SCC ตั้งกี่เท่าครับ
ดังนั้นผมไม่ได้คิดว่าตัวเลขที่คุณสุมาอี้ยกมา จะเป็น sign ว่าเศรษกิจของประเทศกำลังจะมีปัญหาครับ
เหมือนการมองรัฐบาลชุดนี้ หากมองในจุดปลีกย่อยที่เป็นข้อเสีย ก็จะเป็นว่า
-สอนให้คนจนเสียคน งอมืองอเท้า
-อาจจะทุจริตเชิงนโยบาย
-ปากเสีย โอหัง
ส่วนข้อดีปลีกย่อย
-ลดรายจ่าย --ดอกเงินกู้ เงินมาเฟีย เงินซื้อยาเสพติด เงินซื้อหวย
-เพิ่มรายได้ --ให้เงินทุน กองทุนหมู่บ้าน otop
-ให้คุณภาพชีวิต-- 30 บาทรักษาทุกโรค สารพัดเอื้ออาทร
ผมก็แค่เอาข้อด้อย มา weight กับข้อดี แล้วเลือกครับ เพราะทุกอย่างไม่มีอะไรดีพร้อม 10%
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 53
เพิ่งทราบว่าที่นี่มี neo-classical economists อยู่ด้วยหลายท่าน :cheers: :cheers:CK เขียน: นี่คือสิ่งที่ผมกลัวเมื่อ 5 ปีที่แล้ว
ดังนั้น นโยบายเชิงอนุรักษ์ หรือ conservative approaches
จึงน่าจะดีกว่านโยบายเชิงรุก เพราะ "คนคำนวณไม่สู้ฟ้าลิขิต"
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 54
เมื่อเย็นฟังข่าวเห็นว่ากระทรวงต่างประเทศ ได้เข้าไปหารือกับ World Bank เรื่องความเป็นไปได้ว่าอาจจะขอเงินมาทำเมกกะโปรเจ็ค
ผมว่า ณ วินาทีนี้ วิธีนี้เป็นวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีที่สุดครับ เพราะการกู้เงินจากต่างประเทศจะไม่กดดันอัตราดอกเบี้ยในประเทศ และทำให้เงินทุนไหลเข้า
การกระตุ้นการใช้จ่ายที่ผมคิดว่าเลวน้อยที่สุดก็คือ เมกกะโปรเจ็ค นี่แหละครับ เพราะเมกกะโปรเจ็คอย่างน้อยก็ทำให้ประเทศมีต้นทุน logistic ที่ต่ำลงได้ในอนาคต เหมือนกับบริษัทกู้เงินมาเพื่อปรับปรุงสายการผลิตทำให้มีกำไรมากขึ้นในอนาคต ทำให้สามารถนำกำไรนั้นมาชำระคืนเงินกู้ได้ ในขณะเดียวกันประเทศก็ได้ productivity เพิ่มขึ้นด้วย ต่างกับการกระตุ้นการใช้จ่ายด้วยการบริโภคที่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย
แต่ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือ ทักษิณ ต้องกลืนน้ำลายตัวเอง จากที่เคยสร้างกระแสชาตินิยมด้วยการบอกว่าเราไม่ต้องพึ่ง IMF แล้ว แต่ผมว่าถ้าเห็นแก่ชาติจริงๆ ก็น่าจะยอมเสียหน้าได้นะครับ เรื่องเสียหน้าเรื่องเล็กครับ
หมายเหตุ : นี่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีที่เสียดายเงินหน้าตักที่ได้ถมไปแล้วก่อนหน้านี้นะครับ แต่ถ้าจะแก้ปัญหาแบบ u-turn เลยจริงๆ ต้องเลิกครับ กลับไปเริ่มต้นใหม่ เหมือนกับคนเสียพนันจนหน้ามืดแล้ว ต้องรู้จัก cutloss ครับ เพราะลงเงินใหม่ไปเรื่อยๆ จะยิ่งเป็นหนี้ครับ
ผมว่า ณ วินาทีนี้ วิธีนี้เป็นวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีที่สุดครับ เพราะการกู้เงินจากต่างประเทศจะไม่กดดันอัตราดอกเบี้ยในประเทศ และทำให้เงินทุนไหลเข้า
การกระตุ้นการใช้จ่ายที่ผมคิดว่าเลวน้อยที่สุดก็คือ เมกกะโปรเจ็ค นี่แหละครับ เพราะเมกกะโปรเจ็คอย่างน้อยก็ทำให้ประเทศมีต้นทุน logistic ที่ต่ำลงได้ในอนาคต เหมือนกับบริษัทกู้เงินมาเพื่อปรับปรุงสายการผลิตทำให้มีกำไรมากขึ้นในอนาคต ทำให้สามารถนำกำไรนั้นมาชำระคืนเงินกู้ได้ ในขณะเดียวกันประเทศก็ได้ productivity เพิ่มขึ้นด้วย ต่างกับการกระตุ้นการใช้จ่ายด้วยการบริโภคที่ไม่ได้อะไรกลับมาเลย
แต่ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือ ทักษิณ ต้องกลืนน้ำลายตัวเอง จากที่เคยสร้างกระแสชาตินิยมด้วยการบอกว่าเราไม่ต้องพึ่ง IMF แล้ว แต่ผมว่าถ้าเห็นแก่ชาติจริงๆ ก็น่าจะยอมเสียหน้าได้นะครับ เรื่องเสียหน้าเรื่องเล็กครับ
หมายเหตุ : นี่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีที่เสียดายเงินหน้าตักที่ได้ถมไปแล้วก่อนหน้านี้นะครับ แต่ถ้าจะแก้ปัญหาแบบ u-turn เลยจริงๆ ต้องเลิกครับ กลับไปเริ่มต้นใหม่ เหมือนกับคนเสียพนันจนหน้ามืดแล้ว ต้องรู้จัก cutloss ครับ เพราะลงเงินใหม่ไปเรื่อยๆ จะยิ่งเป็นหนี้ครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 56
CK เขียน: ข้อนี้ ไม่ใช่ปัญหาแน่นอนครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- redvdox
- Verified User
- โพสต์: 94
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 57
อาการคลังถังแตกไม่ได้เกิดในวันสองวัน
ผมเห็นแล้วว่ามันสะสมมาเรื่อยๆตั้งแต่ปีที่แล้วตอนอนุมัติเพิ่มวงเงินตั๋วเงินคลัง, การออกพันธบัตรกองทุนน้ำมัน
แล้วนักการเมืองก็นะ 'ถ้าไม่พังจนแก้ไขไม่ได้แล้วไม่มีทางยอบรับว่ามีปัญหา'
ถ้ายังใช้นโยบายเอาเงินอนาคตมาใช้ต่อไปเรื่อยๆตราบใดที่คุณทักษิณยังอยู่รับรองไม่มีปัญหา แต่คุณทักษิณออกเมื่อไรเจ๊งทันที
เดาว่าไม่เกิน5ปี
ผมเห็นแล้วว่ามันสะสมมาเรื่อยๆตั้งแต่ปีที่แล้วตอนอนุมัติเพิ่มวงเงินตั๋วเงินคลัง, การออกพันธบัตรกองทุนน้ำมัน
แล้วนักการเมืองก็นะ 'ถ้าไม่พังจนแก้ไขไม่ได้แล้วไม่มีทางยอบรับว่ามีปัญหา'
ถ้ายังใช้นโยบายเอาเงินอนาคตมาใช้ต่อไปเรื่อยๆตราบใดที่คุณทักษิณยังอยู่รับรองไม่มีปัญหา แต่คุณทักษิณออกเมื่อไรเจ๊งทันที
เดาว่าไม่เกิน5ปี
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 58
chatchai เขียน: ถ้ารัฐบาลมีความสามารถที่จะใช้จ่ายเพิ่มเพื่อพยุงเศรษฐกิจให้รอดพ้นจากวิกฤตชั่วคราวได้
แต่ไม่ทำ จะมีคนกล่าวหาว่ารัฐบาลบริหารงานไม่เป็นได้หรือไม่
ขอเรียนพี่ chatchai และพี่ ลูกอิสาน ดังนี้ครับลูกอิสาน เขียน: 1.เศรษกิจดี ไปได้ด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่รัฐก็ใช้นโยบายงบประมาณสมดุล
2.เศรษกิจไม่ดี รัฐก็กระตุ้นเศรษกิจ ด้วยนโยบายขาดดุล
3.เศรษกิจร้อนแรงเกินไป รัฐก็ควรใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล
ถ้าทุกรัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณเหมาะสมกับเศรษกิจทุกอย่างก็ไม่มีปัญหา แล้วรัฐบาลชุดนี้ใช้นโยบายที่เหมาะสมหรือเปล่า
แนวความคิดเรื่อง เวลาเศรษฐกิจหดตัว รัฐมีหน้าที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ออกจาก recession นั้น เป็นแนวความคิดแบบ Keynesian ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลมีหน้าที่ smooth out business cycles ซึ่งปัจจุบันนี้เหลือนักเศรษฐศาสตร์จำนวนไม่มากแล้วที่ยังคิดแบบนี้อยู่
Business cycles คือ ธรรมชาติของเศรษฐกิจ ไม่ใช่ปัญหาเศรษฐกิจ เราไม่มีทางกำจัด Business cycles ออกไปได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่หน้าทีของรัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ วิธีการที่ดีที่สุดคือการปล่อยให้กลไกตลาดเป็นผู้จัดการเอง เวลาที่โรงงานขยายกำลังการผลิตมากเกินไป กักตุนสินค้ามากเกินไป ของจะขายไม่ออก ทำให้เกิดภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจขึ้น ราคาสินค้าที่ตกต่ำลงจะทำให้ธุรกิจขาดทุน เป็นเหตุทำให้ธุรกิจส่วนเกินต้องม้วนเสื่อออกไปจากตลาด เมื่อม้วนเสื่อออกไประดับหนึ่งจนสินค้าเริ่มขาดแคลนอีกครั้ง ราคาสินค้าจะเริ่มขยับขึ้นใหม่ เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวได้เอง
แต่ถ้ารัฐบาลพยายามเข้าไปช่วย โดยการใช้จ่ายเพิ่มเพื่ออุ้มธุรกิจเหล่านั้นไว้ให้มีกำไรต่อไป กำลังการผลิตส่วนเกินจะไม่ออกไปจากตลาด แต่กำลังการผลิตส่วนเกินนั้นไม่มีความต้องการที่แท้จริงอยู่ มีแต่ความต้องการเทียมของรัฐ รัฐบาลจึงต้องอุ้มไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุดถ้าอยากให้ธุรกิจเหล่านั้นอยู่ได้ แทนที่จะปล่อยให้ธุรกิจนั้นเจ๊ง เพื่อให้ทรัพยากรที่ธุรกิจนั้นใช้อยู่วิ่งเข้าสู่อุตสาหกรรมอื่นที่ยังขาดแคลนทรัพยากรการผลิต ก็ทำไม่ได้ ตรงนี้ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างมหาศาล
สมัยนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า รัฐบาลควรดำเนินนโยบายปล่อยมือ (hand-off pocily) เพราะกลไกตลาดเป็นตัวปรับสมดุลธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพที่สุด พวก monetarist เชื่อว่ารัฐบาลไม่ควรทำอะไรเลย พวก supply-sider ก็เชื่อว่ารัฐบาลไม่ควรทำอะไรเลยยกเว้นการดัน long-run supply curve ของประเทศ ไปทางด้านขวาอย่างเดียว อย่าไปยุ่งกับ demand curve เป็นอันขาด
ทุกวันนี้นโยบาย Keynesian ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ แต่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการเรียกคะแนนนิยมมากกว่า รัฐบาลที่เห็นแก่การพัฒนาจริงๆ ต้อง bite the bullet
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 59
เรียนคุณสุมาอี้ครับ
อ่านความเห็นของสุมาอี้มาโดยตลอด ต้องขอขอบคุณสำหรับความเห็นดี ๆ นะครับ และความเห็นของท่านอื่น ๆ ด้วยครับ
ขอแจมด้วยคนก็แล้วกัน ที่คุณสุมาอี้แสดงความเห็นว่า ควรปล่อยให้เป้นกลไกตลาดนั้น ผมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า
ผมเชื่อว่ากลไกตลาดในที่สุดจะปรับสมดุลย์ของการซื้อการขาย และนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเหมือนกัน
แต่ความเห็นเพิ่มเติมคือ เราต้องยอมรับข้อจำกัดหนึ่งของประเทศกำลังพัฒนา ที่ยังมี Gap ข้อจำกัดการพัฒนาหลายเรื่อง เช่น โครงสร้างระบบและอุตสาหกรรม การเรียน ความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐานเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ความรู้ความสามารถของคนในระบบยังไม่เท่าเทียมกัน นอกจากนี้การแข่งขันในโลกทุกวันนี้ มันไม่ใช่แข่งขันเฉพาะภายในประเทศ แต่เป็นการมองโลกทั้งระบบเป็นหนึ่งเดียว ตัวอย่างการปรับดอกเบี้ย Fed มันกระทบ Fund Flow ไปทั่วโลก ไม่ใช่แต่ที่อเมริกา ทำให้ค่าเงินแต่ละประเทศก็ได้รับผลกระทบครับ หรือเรื่องน้ำมัน ที่ประเทศของเรายังเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมัน ซึ่งส่งผลกระทบกับต้นทุนสินค้าขาย และที่สำคัญเรายังมีคนพื้นฐานของประเทศเป็นภาคการเกษตร ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนเป็นโครงสร้างอุตสาหกรรมและบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก แต่ประเด็นคือทั้งหมดต้องใช้เวลา ใช้เงิน การลงทุนในการพัฒนาคนและโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างนี้ในระยะยาวครับ
ดังนั้น ผมคิดว่ารัฐบาลที่ดีต้องเชื่อกลไกตลาด แต่ต้องบริหารนะครับ กรณีเช่นค่าเงิน เราถึงได้ใช้คำว่า Manage Float เพราะเราต้องบริหารครับ
เวลาเศรษฐกิจตกต่ำ ก็ต้องพยายามบริหารให้ลงให้น้อยสุด ชะลอมัน แต่ต้องไม่ฝืน Cycle ของมันโดยไม่จำเป็น
เวลาเศรษฐกิจเฟื่องฟุจนหน้ากลัว ต้องบริหารเช่นกันไม่ให้เกิดเป็นฟองสบู่เร็วเก็นไป
การบริหารเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ดังนั้น เราวิจารณ์ได้แต่เวลาปฏิบัติจริง รัฐบาลมี Stakeholder ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายด้วย ทำอย่างไรจึงจะบริหารให้เหมาะสมเพื่อสร้างความสมดุลย์ในระบบให้ได้
ตัวอย่าง Gap ในเรื่องการแข่งขันนะครับ คนตัวใหญ่และตัวเล็กคงมีศักยภาพการแข่งขันแตกต่างกัน ปล่อยกลไกตลาดจัดการ ซักพักตัวเล็กตายหมด เราคงสร้างผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ลำบาก
ต้องเล่นตามกติกา แต่ต้องมีการให้ Handycap เหมือนกับการเล่นกอฟท์นะครับ ต้องให้คนเล็กมี Handycap เพื่อให้เขาได้เติบโต เพิ่มศักยภาพ แล้วจึงค่อยลด Handycap ลงนะครับ แบบนี้ก็เป็นเรื่องการบริหารนะครับ โดยเชื่อในกลไกตลาด
สินค้าเกษตร บางครั้งควบคุม Su;;ly ระยะสั้นลำบาก เพราะความยืดหยุ่นในการปรับการผลิตไม่ง่ายนัก ตามทฤษฎ๊เศรษฐศาสตร์คือใยแมงมุมนะครับ ดังนั้นอาจต้องบริหาร Demand บ้าง แต่ต้องไม่ไปทำให้กลไกมันบิดเบือนจนหน้าเกียจนะครับ
ตัวอย่างที่บิดเบือนจนทำให้กลไกตลาดจัดสรรทรัพยากรผิดพลาดนะครับ เช่น กรณีเราไปบิดเบือนก๊าซหุงต้ม ให้ราคาถูกลง ผลกระทบก็คือ รถแท๊กซี่ ปรับเปลี่ยน กลไกไปปรับใช้ก๊าซหุงต้มกันมากขึ้น เพราะรัฐบาลไป Subsidize จนราคามันบิดเบือนมาก ต้นทุนมันถูกกว่าต้นทุนพลังงานอื่นโดยเปรียบเทียบนะครับ ซึ่งทำให้กลไกพลังงานมันบิดเบือนไปอย่างมาก เพราะถ้าระยะยาวรัฐบาลไม่พยุงและปล่อยให้ก๊าซหุงต้มปรับราคาตามตลาด รัฐบาลก็จะเผชิญกับผลกระทบของกลุ่มแท๊กซ๊ต่อไปในอนาคตนะครับ เหมือนกับตอนนี้ไงครับเมื่อเราไปบิดเบือนน้ำมันดีเซล ผลคือทำให้รถยนต์หันมาใช้ดีเซลกันมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีของประเทศในที่สุดหรือไม่ก็เป็นเรื่องน่าคิด แต่ที่แน่ ๆ ตอนนี้คนในประเทศทั้งหมดก็ต้องมารับภาระต้นทุนน้ำมันในปีนี้ที่สูงกว่าปกติ เพราะต้องนำเงินมาชดเชยกับราคาน้ำมันถูกในอดีต ทำให้ต้นทุนพลังงานในประเทศของเราจะสูงกว่าปกติครับ
อ่านความเห็นของสุมาอี้มาโดยตลอด ต้องขอขอบคุณสำหรับความเห็นดี ๆ นะครับ และความเห็นของท่านอื่น ๆ ด้วยครับ
ขอแจมด้วยคนก็แล้วกัน ที่คุณสุมาอี้แสดงความเห็นว่า ควรปล่อยให้เป้นกลไกตลาดนั้น ผมมีความเห็นเพิ่มเติมว่า
ผมเชื่อว่ากลไกตลาดในที่สุดจะปรับสมดุลย์ของการซื้อการขาย และนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเหมือนกัน
แต่ความเห็นเพิ่มเติมคือ เราต้องยอมรับข้อจำกัดหนึ่งของประเทศกำลังพัฒนา ที่ยังมี Gap ข้อจำกัดการพัฒนาหลายเรื่อง เช่น โครงสร้างระบบและอุตสาหกรรม การเรียน ความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐานเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ความรู้ความสามารถของคนในระบบยังไม่เท่าเทียมกัน นอกจากนี้การแข่งขันในโลกทุกวันนี้ มันไม่ใช่แข่งขันเฉพาะภายในประเทศ แต่เป็นการมองโลกทั้งระบบเป็นหนึ่งเดียว ตัวอย่างการปรับดอกเบี้ย Fed มันกระทบ Fund Flow ไปทั่วโลก ไม่ใช่แต่ที่อเมริกา ทำให้ค่าเงินแต่ละประเทศก็ได้รับผลกระทบครับ หรือเรื่องน้ำมัน ที่ประเทศของเรายังเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมัน ซึ่งส่งผลกระทบกับต้นทุนสินค้าขาย และที่สำคัญเรายังมีคนพื้นฐานของประเทศเป็นภาคการเกษตร ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนเป็นโครงสร้างอุตสาหกรรมและบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก แต่ประเด็นคือทั้งหมดต้องใช้เวลา ใช้เงิน การลงทุนในการพัฒนาคนและโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างนี้ในระยะยาวครับ
ดังนั้น ผมคิดว่ารัฐบาลที่ดีต้องเชื่อกลไกตลาด แต่ต้องบริหารนะครับ กรณีเช่นค่าเงิน เราถึงได้ใช้คำว่า Manage Float เพราะเราต้องบริหารครับ
เวลาเศรษฐกิจตกต่ำ ก็ต้องพยายามบริหารให้ลงให้น้อยสุด ชะลอมัน แต่ต้องไม่ฝืน Cycle ของมันโดยไม่จำเป็น
เวลาเศรษฐกิจเฟื่องฟุจนหน้ากลัว ต้องบริหารเช่นกันไม่ให้เกิดเป็นฟองสบู่เร็วเก็นไป
การบริหารเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ดังนั้น เราวิจารณ์ได้แต่เวลาปฏิบัติจริง รัฐบาลมี Stakeholder ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายด้วย ทำอย่างไรจึงจะบริหารให้เหมาะสมเพื่อสร้างความสมดุลย์ในระบบให้ได้
ตัวอย่าง Gap ในเรื่องการแข่งขันนะครับ คนตัวใหญ่และตัวเล็กคงมีศักยภาพการแข่งขันแตกต่างกัน ปล่อยกลไกตลาดจัดการ ซักพักตัวเล็กตายหมด เราคงสร้างผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ลำบาก
ต้องเล่นตามกติกา แต่ต้องมีการให้ Handycap เหมือนกับการเล่นกอฟท์นะครับ ต้องให้คนเล็กมี Handycap เพื่อให้เขาได้เติบโต เพิ่มศักยภาพ แล้วจึงค่อยลด Handycap ลงนะครับ แบบนี้ก็เป็นเรื่องการบริหารนะครับ โดยเชื่อในกลไกตลาด
สินค้าเกษตร บางครั้งควบคุม Su;;ly ระยะสั้นลำบาก เพราะความยืดหยุ่นในการปรับการผลิตไม่ง่ายนัก ตามทฤษฎ๊เศรษฐศาสตร์คือใยแมงมุมนะครับ ดังนั้นอาจต้องบริหาร Demand บ้าง แต่ต้องไม่ไปทำให้กลไกมันบิดเบือนจนหน้าเกียจนะครับ
ตัวอย่างที่บิดเบือนจนทำให้กลไกตลาดจัดสรรทรัพยากรผิดพลาดนะครับ เช่น กรณีเราไปบิดเบือนก๊าซหุงต้ม ให้ราคาถูกลง ผลกระทบก็คือ รถแท๊กซี่ ปรับเปลี่ยน กลไกไปปรับใช้ก๊าซหุงต้มกันมากขึ้น เพราะรัฐบาลไป Subsidize จนราคามันบิดเบือนมาก ต้นทุนมันถูกกว่าต้นทุนพลังงานอื่นโดยเปรียบเทียบนะครับ ซึ่งทำให้กลไกพลังงานมันบิดเบือนไปอย่างมาก เพราะถ้าระยะยาวรัฐบาลไม่พยุงและปล่อยให้ก๊าซหุงต้มปรับราคาตามตลาด รัฐบาลก็จะเผชิญกับผลกระทบของกลุ่มแท๊กซ๊ต่อไปในอนาคตนะครับ เหมือนกับตอนนี้ไงครับเมื่อเราไปบิดเบือนน้ำมันดีเซล ผลคือทำให้รถยนต์หันมาใช้ดีเซลกันมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีของประเทศในที่สุดหรือไม่ก็เป็นเรื่องน่าคิด แต่ที่แน่ ๆ ตอนนี้คนในประเทศทั้งหมดก็ต้องมารับภาระต้นทุนน้ำมันในปีนี้ที่สูงกว่าปกติ เพราะต้องนำเงินมาชดเชยกับราคาน้ำมันถูกในอดีต ทำให้ต้นทุนพลังงานในประเทศของเราจะสูงกว่าปกติครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
เห็นอะไรมั้ย?
โพสต์ที่ 60
ผมยังเห็น Keynesian อยู่ทั่วโลก ดังนั้นผมไม่เห็นด้วยครับ
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสหภาพยุโรบ กรีนสแปน เบอร์นันเก้ หรือที่หนักกว่าคือกลุ่มเอเชียตะวันออก
ประเทศเหล่านี้ยังใช้นโยบายการเงิน(ดอกเบี้ย) การคลัง (นโยบายงบประมาณ) ในการควบคุมทิศทางเศรษกิจทั้งสิ้น แม้แต่ประเทศที่ได้เชื่อว่ามีเศรษกิจเสรีที่สุดอย่างอเมริกา ก็ยังใช้นโยบายดอกเบี้ยในการควบคุมภาวะเศรษกิจอย่างที่เราได้ข่าวบ่อยๆ
- เศรษกิจร้อนแรง ส่อเค้าฟองสบู่ ก็ใช้ขึ้นดอกเบี้ยทำให้ความต้องการลดลง ส่งผลให้ supply ลดลงตาม
-เศรษกิจซบเซา ก็กระตุ้นด้วยการลดดอกเบี้ย เพิ่มความต้องการ ลดต้นทุนธุรกิจ
จะเห็นได้ว่าประเทศเหล่านี้ manage เศรษกิจตลอดเวลา ไม่ได้ปล่อยให้เป็นเรือที่ไร้ทิศทาง
ดังนั้นนักเศรษศาสตร์ Keynesian ยังอยู่ครับ
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสหภาพยุโรบ กรีนสแปน เบอร์นันเก้ หรือที่หนักกว่าคือกลุ่มเอเชียตะวันออก
ประเทศเหล่านี้ยังใช้นโยบายการเงิน(ดอกเบี้ย) การคลัง (นโยบายงบประมาณ) ในการควบคุมทิศทางเศรษกิจทั้งสิ้น แม้แต่ประเทศที่ได้เชื่อว่ามีเศรษกิจเสรีที่สุดอย่างอเมริกา ก็ยังใช้นโยบายดอกเบี้ยในการควบคุมภาวะเศรษกิจอย่างที่เราได้ข่าวบ่อยๆ
- เศรษกิจร้อนแรง ส่อเค้าฟองสบู่ ก็ใช้ขึ้นดอกเบี้ยทำให้ความต้องการลดลง ส่งผลให้ supply ลดลงตาม
-เศรษกิจซบเซา ก็กระตุ้นด้วยการลดดอกเบี้ย เพิ่มความต้องการ ลดต้นทุนธุรกิจ
จะเห็นได้ว่าประเทศเหล่านี้ manage เศรษกิจตลอดเวลา ไม่ได้ปล่อยให้เป็นเรือที่ไร้ทิศทาง
ดังนั้นนักเศรษศาสตร์ Keynesian ยังอยู่ครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว