ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
richierich
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 560
ผู้ติดตาม: 0

ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ก่อนหน้านี้ก็ซื้อ KBS ล่าสุด


สองยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นจับมือทุ่ม 2.6 พันล้านบาทลงทุนใน JV Holding เข้าซื้อหุ้น KTIS 25% ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น และนิสชิน ชูการ์ ทุ่มเงิน 2.6 พันล้านร่วมลงทุนกับกลุ่มคุณหทัย ศิริวิริยะกุล ตั้ง JV Holding เข้าซื้อหุ้น 25% ในบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ (KTIS) บริษัทน้ำตาลยักษ์ใหญ่อันดับสามของประเทศไทย มิสเตอร์ คูนิฮารุ นากามูระ ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น และ มิสเตอร์ โยอิชิ ฮิกูชิ ประธานกรรมการ นิสชิน ชูการ์ เปิดเผยว่า บริษัทร่วมทุนของซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น นิสชิน ชูการ์ และกลุ่มคุณหทัย ศิริวิริยะกุลจะเข้ามาถือหุ้นในบริษัทเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (KTIS) ในสัดส่วนร้อยละ 25 เมื่อบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยยอดเงินลงทุนของสองยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 2.6 พันล้านบาท ทั้งนี้บริษัทร่วมทุน ประกอบด้วยผู้ถือหุ้นได้แก่ ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น ร้อยละ 25 นิสชิน ชูการ์ ร้อยละ 5 และกลุ่มคุณหทัย ศิริวิริยะกุล ร้อยละ 70 บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับสามของประเทศไทย และโรงงานเกษตรไทยเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในโลก โดยกลุ่มบริษัทฯ ผลิตอ้อยที่ใช้ในกระบวนการผลิตและในการหีบประมาณ 10 ล้านตันหรือคิดเป็นร้อยละ 10ของจำนวนอ้อยที่ผลิตได้ในประเทศไทย ทั้งนี้ผลผลิตทั้งหมดมาจากโรงงานของกลุ่มบริษัทฯที่ตั้งอยู่ที่ภาคเหนือของประเทศไทยที่จังหวัดนครสวรรค์ และอุตรดิตถ์ โดยบริษัทเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นอกจากดำเนินธุรกิจผลิตน้ำตาลเป็นหลักแล้ว บริษัทได้ขยายไปยังธุรกิจผลิตเอทานอล และเยื่อกระดาษจากชานอ้อย รวมถึงมีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลอีกด้วย “ด้วยศักยภาพของประเทศไทยที่เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากบราซิล และความได้เปรียบจากทำเลที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น และนิสชิน ชูการ์ มองว่าประเทศไทยจะเป็นพันธมิตรที่สำคัญยิ่งในการขยายธุรกิจน้ำตาลในภูมิภาคนี้ ซึ่งการเข้าร่วมทุนกับบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่นในครั้งนี้ บริษัทร่วมทุนของซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น และนิสชิน ชูการ์ จะนำความชำนาญในการบริหารจัดการธุรกิจ ข้ามชาติ และประสบการณ์ในการเป็นบริษัทเทรดดิ้งชั้นนำของโลก รวมถึง Know How ของนิสชิน ชูการ์ มาส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารของเกษตรไทย และเพื่อเป็นฐานขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป” อนึ่งกลุ่ม KTIS เดิมรู้จักในนามกลุ่มน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ ก่อตั้งโดยคุณจรูญ และคุณหทัย ศิริวิริยะกุล ในช่วงปีพ.ศ. 2500 โดยเริ่มจากการเป็น ผู้กระจาย สินค้าน้ำตาลและก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตน้ำตาลในเวลาต่อมา จากความสำเร็จของกิจการโรงงานน้ำตาลแห่งแรก กลุ่ม KTIS ได้ขยายกิจการ อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน กลุ่ม KTIS ได้ก้าวสู่การเป็นกลุ่มบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลและผลพลอยได้จากน้ำตาล แบบครบวงจร โดยมีบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) เป็นบริษัทแม่ ดำเนินธุรกิจในเครือ ประกอบด้วยโรงงานน้ำตาลจำนวน 3 แห่ง ธุรกิจ Bio Product และ Bio Energy ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาล ได้แก่ โรงงานเยื่อกระดาษฟอกขาวจากชานอ้อย โรงงานเอทานอลจากกากน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลจากชานอ้อย


เรียบเรียง โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]




ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 17/09/13 เวลา 15:53:07
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2547
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ลองดูภาพนี้ครับ
รูปภาพ

จากภาพจะเห็นกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ ได้แก่
ธุรกิจน้ำตาลทราย อาหารสำหรับคน
ธุรกิจพลังงานเชื้อเพลิง เอทานอลสำหรับพลังงานเชื้อเพลิงสะอาด
ธุรกิจพลังงานไฟฟ้า คือ โรงไฟฟ้าชีวมวล
ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ทำปุ๋ย

เรียกได้ว่า มีทั้ง ผลิตภัณฑ์หลัก by product และแม้แต่ซากหรือ watse คือชานอ้อยและน้ำเสียจากการผลิตก็ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทำปุ๋ยได้อีกด้วย

ยังไม่รวมไปทำอุตสาหกรรมกระดาษ และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ อีกด้วยครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
ภาพประจำตัวสมาชิก
kabu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2149
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ญี่ปุ่นไม่ได้ชอบแค่บริษัทน้ำตลาลครับ เค้าชอบไปหมดถ้ามองเห็นโอกาสในบริษัทนั้นๆ และสามารถร่วมมือด้วยกันได้อย่างสนิทใจ(อันนี้แล้วแต่ผู้บริหาร)

หลังๆบริษัทยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น หันหน้ามาแถวเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างประเทศไทย ยกตัวอย่าง
- สถาบันการเงิน Mitsubishi Tokyo UFJ Bank แบงค์อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ก็เข้ามาทำเรื่องขอเสนอซื้อหุ้น Bay
- บริษัทประกันอย่าง Nippon Seimei, Daiichi Seimei, Meiji Yasuda, Tokyo Marine ที่เข้ามาร่วมหุ้นกับไทย
- เครือ Sumitomo ที่เข้ามาร่วมมือทำ TV Shopping
- กลุ่ม Mitsui Fudosan ยักษ์ใหญ่ด้านอสังหา ที่มาร่วมหุ้นกับ Anan
- Rakuten ที่เข้ามาซื้อ talad.com
และอีกหลายๆบริษัท
และผมเชื่อว่ายังจะมีเคสอย่างงี้เกิดขึ้นอีกเยอะ เพราะญี่ปุ่น หลายๆธุรกิจในประเทศเริ่มอิ่มตัวแล้ว จะโตต้องไปโตในต่างประเทศแทน
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
PLUSLOVE
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1523
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 4

โพสต์

chaitorn เขียน:ลองดูภาพนี้ครับ
รูปภาพ

จากภาพจะเห็นกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ ได้แก่
ธุรกิจน้ำตาลทราย อาหารสำหรับคน
ธุรกิจพลังงานเชื้อเพลิง เอทานอลสำหรับพลังงานเชื้อเพลิงสะอาด
ธุรกิจพลังงานไฟฟ้า คือ โรงไฟฟ้าชีวมวล
ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ทำปุ๋ย

เรียกได้ว่า มีทั้ง ผลิตภัณฑ์หลัก by product และแม้แต่ซากหรือ watse คือชานอ้อยและน้ำเสียจากการผลิตก็ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทำปุ๋ยได้อีกด้วย

ยังไม่รวมไปทำอุตสาหกรรมกระดาษ และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ อีกด้วยครับ
+1ธุรกิจนี้ ใช้ได้ตั้งแต่ หัวยันหางครับ เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ก้อาจจะมีของเสีย

ที่นำไปใช้ไม่ได้เยอะ ญี่ปุ่นฉลาดครับ เล่นเทคโรงงานไปเรื่อยๆ อีกหน่อยจะเหมือน

อินเดียในยุคท่านคานที ที่เกลือแพง เค้ากุมน้ำตาลทรายได้ อีกหน่อยเราจะลำบาก

เพราะน้ำตาลเป็นวัตถุดิบในอาหารทุกอย่าง น้ำอัดลม และในเครื่องปรุงที่เราต้องใช้ทุกวัน
richierich
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 560
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 5

โพสต์

kabu เขียน:ญี่ปุ่นไม่ได้ชอบแค่บริษัทน้ำตลาลครับ เค้าชอบไปหมดถ้ามองเห็นโอกาสในบริษัทนั้นๆ และสามารถร่วมมือด้วยกันได้อย่างสนิทใจ(อันนี้แล้วแต่ผู้บริหาร)

หลังๆบริษัทยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น หันหน้ามาแถวเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างประเทศไทย ยกตัวอย่าง
- สถาบันการเงิน Mitsubishi Tokyo UFJ Bank แบงค์อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ก็เข้ามาทำเรื่องขอเสนอซื้อหุ้น Bay
- บริษัทประกันอย่าง Nippon Seimei, Daiichi Seimei, Meiji Yasuda, Tokyo Marine ที่เข้ามาร่วมหุ้นกับไทย
- เครือ Sumitomo ที่เข้ามาร่วมมือทำ TV Shopping
- กลุ่ม Mitsui Fudosan ยักษ์ใหญ่ด้านอสังหา ที่มาร่วมหุ้นกับ Anan
- Rakuten ที่เข้ามาซื้อ talad.com
และอีกหลายๆบริษัท
และผมเชื่อว่ายังจะมีเคสอย่างงี้เกิดขึ้นอีกเยอะ เพราะญี่ปุ่น หลายๆธุรกิจในประเทศเริ่มอิ่มตัวแล้ว จะโตต้องไปโตในต่างประเทศแทน
ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ คุณ kabu แสดงว่าเริ่มเห็นภาพชัดขึ้นใช่ไหมครับ

ว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจะเข้ามาประเทศไทยเยอะขึ้น เนื่องจากเห็นการเติบโตจาก aec และการที่ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้ ตัว I ใน GDP ยังคงไหลเข้า ถึงแม้ C จะชะลอ G ก็กำลังจะเกิดขึ้นจาก 2 ล้านๆ เศรฐกิจโลกเริ่มกลับมา ค่าเงินเราเริ่มอ่อนค่า X-M ก็คงจะเริ่มฟื้น สิ่งที่คนกลัวๆเรื่อง GDP กันคงจะดีขึ้นในไม่ช้า
richierich
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 560
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 6

โพสต์

chaitorn เขียน:ลองดูภาพนี้ครับ
รูปภาพ

จากภาพจะเห็นกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ ได้แก่
ธุรกิจน้ำตาลทราย อาหารสำหรับคน
ธุรกิจพลังงานเชื้อเพลิง เอทานอลสำหรับพลังงานเชื้อเพลิงสะอาด
ธุรกิจพลังงานไฟฟ้า คือ โรงไฟฟ้าชีวมวล
ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ทำปุ๋ย

เรียกได้ว่า มีทั้ง ผลิตภัณฑ์หลัก by product และแม้แต่ซากหรือ watse คือชานอ้อยและน้ำเสียจากการผลิตก็ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทำปุ๋ยได้อีกด้วย

ยังไม่รวมไปทำอุตสาหกรรมกระดาษ และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ อีกด้วยครับ
ดูแล้วมันน่าลงทุนจริงๆ ครับ ถ้าคนเลิกมองว่ามันเป็นคอมมอดิตี้ และให้น้ำหนัก by product มากขึ้น คงจะดีครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nevercry.boy
Verified User
โพสต์: 4641
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 7

โพสต์

มีบริษัทไหนบ้างครับที่ลงทุนและบริหารด้วยเช่น กันยง อิออน
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
kabu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2149
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 8

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:มีบริษัทไหนบ้างครับที่ลงทุนและบริหารด้วยเช่น กันยง อิออน
ส่วนใหญ่พวกนี้มักเป็นบริษัท manufacturing ครับ เพราะไม่ต้องติดเงื่อนไขเรื่องสัดส่วนการลงทุน (service company ต้องมี majority thai capital 51%) เอาแบบที่ผมนึกออกเลยก็มี alucon, tapac, tmw, metco, tiw, ttcl คงมีอีกหลายๆบริษัทครับ อย่าง ttcl นี่บริษัทแม่เป็นญี่ปุ่น toyo engineering หลังจากที่ chiyoda construction เข้ามาถือหุ้น งานด้าน power plant ยิ่งแกร่งขึ้นไปอีก
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
kabu
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2149
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 9

โพสต์

richierich เขียน:
kabu เขียน:ญี่ปุ่นไม่ได้ชอบแค่บริษัทน้ำตลาลครับ เค้าชอบไปหมดถ้ามองเห็นโอกาสในบริษัทนั้นๆ และสามารถร่วมมือด้วยกันได้อย่างสนิทใจ(อันนี้แล้วแต่ผู้บริหาร)

หลังๆบริษัทยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น หันหน้ามาแถวเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างประเทศไทย ยกตัวอย่าง
- สถาบันการเงิน Mitsubishi Tokyo UFJ Bank แบงค์อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ก็เข้ามาทำเรื่องขอเสนอซื้อหุ้น Bay
- บริษัทประกันอย่าง Nippon Seimei, Daiichi Seimei, Meiji Yasuda, Tokyo Marine ที่เข้ามาร่วมหุ้นกับไทย
- เครือ Sumitomo ที่เข้ามาร่วมมือทำ TV Shopping
- กลุ่ม Mitsui Fudosan ยักษ์ใหญ่ด้านอสังหา ที่มาร่วมหุ้นกับ Anan
- Rakuten ที่เข้ามาซื้อ talad.com
และอีกหลายๆบริษัท
และผมเชื่อว่ายังจะมีเคสอย่างงี้เกิดขึ้นอีกเยอะ เพราะญี่ปุ่น หลายๆธุรกิจในประเทศเริ่มอิ่มตัวแล้ว จะโตต้องไปโตในต่างประเทศแทน
ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ คุณ kabu แสดงว่าเริ่มเห็นภาพชัดขึ้นใช่ไหมครับ

ว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจะเข้ามาประเทศไทยเยอะขึ้น เนื่องจากเห็นการเติบโตจาก aec และการที่ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้ ตัว I ใน GDP ยังคงไหลเข้า ถึงแม้ C จะชะลอ G ก็กำลังจะเกิดขึ้นจาก 2 ล้านๆ เศรฐกิจโลกเริ่มกลับมา ค่าเงินเราเริ่มอ่อนค่า X-M ก็คงจะเริ่มฟื้น สิ่งที่คนกลัวๆเรื่อง GDP กันคงจะดีขึ้นในไม่ช้า
ถูกต้องครับ เมื่อก่อนเค้ามองว่า FDI คือเจาะไปที่ประเทศนั้นๆ แต่หลังๆ เค้ามองเป็นลักษณะภูมิภาคมากขึ้น
โดนใช้ไทยเป็นศูนย์กลางเพื่อเจาะประเทศอื่นๆข้างเคียง ความกังวลหลักๆ ที่คนญี่ปุ่นกลัวคือ อัตราการว่างงานในไทย 0.7% ซึ่งต่ำมาก หาคนงานค่อนข้างยาก ผมว่าเค้ากังวลมากกว่าเรื่องอุทกภัยและค่าแรงขั้นต่ำซะอีก

อย่างไรก็ตาม ไทยยังได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้่านในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างครบ ถนนหนทง ท่าเรือ สนามบิน ไฟฟ้า น้ำ นิคมอุตสาหกรรม รวมไปถึงชิวิตความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างเอื้อต่อคนญี่ปุ่น
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมมีญาติผู้ใหญ่ที่นับถือเป็นที่ปรึกษาของบริษัทส่งออกน้ำตาลในไทยนะครับ เข้าใจว่าแม้ธุรกิจน้ำตาลจะมี by product มาก แต่น้ำตาลซึ่งเป็นสินค้าหลักมีแนวโน้มไม่ค่อยดี อันมาจาก supply ของบราซิลที่มากขึ้นครับ
Chaoyang
Verified User
โพสต์: 89
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 11

โพสต์

นายมานะ เขียน:ผมมีญาติผู้ใหญ่ที่นับถือเป็นที่ปรึกษาของบริษัทส่งออกน้ำตาลในไทยนะครับ เข้าใจว่าแม้ธุรกิจน้ำตาลจะมี by product มาก แต่น้ำตาลซึ่งเป็นสินค้าหลักมีแนวโน้มไม่ค่อยดี อันมาจาก supply ของบราซิลที่มากขึ้นครับ
แถมเจอค่าเงิน Brazilian Real ที่อ่อนค่าจาก 1.6-1.7 /USD ในช่วงปี 2011 เป็น 2.2-2.3 ยิ่งไปกันใหญ่เลย จากต้นทุนราวๆ 0.2-0.19 USD/lb เลยเหลือแค่ประมาณ 0.14-0.15 USD/lb นอกเหนือจากนั้นก็ India ดันส่งออกเพิ่มจากที่แต่ก่อนไม่ได้ส่งออกในปริมาณมาก เพราะสภาพฝนเอื้ออำนวย

แต่โอกาสก็ยังมีเนื่องจากจีน ที่มีต้นทุนผลิตประมาณ 0.3 USD/lb และมีผลผลิตประมาณ 12-14 ล้านตัน (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ) นำเข้าประมาณ 2-3 ล้านต้น และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะการบริโภคที่เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นนิยมตะวันตกมากขึ้น ถ้าคนจีนแค่กินหวานเท่ากับคนอินเดีย ซึ่งบริโภคประมาณ 22-23 ล้านตันต่อปี ก็มากเพียงพอที่จะกลืนซัพพลายที่ล้นโลกอยู่ตอนนี้ทั้งหมด ยิ่งถ้าชอบกินรสหวานเหมือนคนไทย เจ้าของโรงงานน้ำตาล ร้องไห้เลยครับ รวยเละ เพราะจะบริโภคประมาณ >40 ล้านตันต่อปี คิดว่าคงจะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะผมยังไม่ค่อยเห็นคนจีน ติดรสหวานเท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะว่าแพงกว่า (ราคาขายปลีก น่าจะตกประมาณ 11-12 หยวนต่อ กก เนื่องจากต้องการคุ้มครองผู้ผลิตใน ปท) รสเผ็ด และ มันก็ได้

ปล ตัวเลขทั้งหมด ผมจำเอานะครับ ฉะนั้นอาจจะคลาดเคลื่อนได้
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2547
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 12

โพสต์

Chaoyang เขียน:
นายมานะ เขียน:ผมมีญาติผู้ใหญ่ที่นับถือเป็นที่ปรึกษาของบริษัทส่งออกน้ำตาลในไทยนะครับ เข้าใจว่าแม้ธุรกิจน้ำตาลจะมี by product มาก แต่น้ำตาลซึ่งเป็นสินค้าหลักมีแนวโน้มไม่ค่อยดี อันมาจาก supply ของบราซิลที่มากขึ้นครับ
แถมเจอค่าเงิน Brazilian Real ที่อ่อนค่าจาก 1.6-1.7 /USD ในช่วงปี 2011 เป็น 2.2-2.3 ยิ่งไปกันใหญ่เลย จากต้นทุนราวๆ 0.2-0.19 USD/lb เลยเหลือแค่ประมาณ 0.14-0.15 USD/lb นอกเหนือจากนั้นก็ India ดันส่งออกเพิ่มจากที่แต่ก่อนไม่ได้ส่งออกในปริมาณมาก เพราะสภาพฝนเอื้ออำนวย

แต่โอกาสก็ยังมีเนื่องจากจีน ที่มีต้นทุนผลิตประมาณ 0.3 USD/lb และมีผลผลิตประมาณ 12-14 ล้านตัน (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ) นำเข้าประมาณ 2-3 ล้านต้น และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะการบริโภคที่เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นนิยมตะวันตกมากขึ้น ถ้าคนจีนแค่กินหวานเท่ากับคนอินเดีย ซึ่งบริโภคประมาณ 22-23 ล้านตันต่อปี ก็มากเพียงพอที่จะกลืนซัพพลายที่ล้นโลกอยู่ตอนนี้ทั้งหมด ยิ่งถ้าชอบกินรสหวานเหมือนคนไทย เจ้าของโรงงานน้ำตาล ร้องไห้เลยครับ รวยเละ เพราะจะบริโภคประมาณ >40 ล้านตันต่อปี คิดว่าคงจะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะผมยังไม่ค่อยเห็นคนจีน ติดรสหวานเท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะว่าแพงกว่า (ราคาขายปลีก น่าจะตกประมาณ 11-12 หยวนต่อ กก เนื่องจากต้องการคุ้มครองผู้ผลิตใน ปท) รสเผ็ด และ มันก็ได้

ปล ตัวเลขทั้งหมด ผมจำเอานะครับ ฉะนั้นอาจจะคลาดเคลื่อนได้
ดูจากกราฟราคาน้ำตาลแล้ว ค่อนข้างสวิงครับ
http://finviz.com/fut_chart.ashx?t=SB&cot=080732&p=d1

และคงเป็นเหตุผลหลักของการบริหารความเสี่ยงที่ต้องมุ่งเน้นไปที่ by product มากขึ้น ประเภทรายได้ที่ค่อนข้างแน่นอนเช่น โรงไฟฟ้า เป็นต้น หรือการ hedge โดยการขาย เอทานอล หากน้ำตาลถูก ก็เป็นวัตถุดิบให้เอทานอลขายทำให้ต้นทุนถูกลง

นอกจากนี้ ด้วยระบบแบ่งผลประโยชน์โควตา ก ขายในประเทศ โควตา ข ส่งออกผ่าน สอน. ของภาครัฐ และ โควตา ค.ส่วนที่เหลือจาก ก และ ข ที่บริษัทส่งออกเอง โดยแบ่งผลประโยชน์ 70 ต่อ 30 ระหว่างชาวไร่ กับโรงงานน้ำตาล พอราคาน้ำตาลโลกตก ก็จำหน่ายในประเทศมากขึ้น และรัฐบาลขยับราคาในประเทศให้ด้วย ทำให้ downsize risk ลดลงได้บ้างครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2547
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ตัวอย่างการ hedge การใช้ครับ
ตอนนี้ น้ำมันดิบราคาสูงประมาณ 100$ รถรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เอทานอล ราคาถูก ปัจจุบันถูกกว่าเบนซิน 95 ประมาณ 10 กว่าบาท แถมยังช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม

ตอนนี้ยอดการใช้ new high ครับ
ยอดใช้เอทานอลนิวไฮ เลิกเบนซิน 91 พุ่งเท่าตัว

updated: 16 ก.ย. 2556 เวลา 13:15:44 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผยว่า การใช้เอทานอลของไทยล่าสุดเดือนกันยายนเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.69-2.7 ล้านลิตรต่อวัน จากปีที่แล้วการใช้เฉลี่ยอยู่เพียง 1.2 ล้านลิตรต่อวันเท่านั้น ถือเป็นการใช้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากรัฐได้ส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ด้วยการยกเลิกจำหน่ายเบนซิน 91 ประกอบกับทิศทางราคาน้ำมันเริ่มแพงขึ้นและปริมาณรถยนต์ของไทยเพิ่มขึ้น หากการใช้ยังคงเติบโตในระดับนี้ต่อไป คาดว่าจะทำให้การใช้เอทานอลปี 2556 เฉลี่ยจะอยู่ในระดับ 2.8-3 ล้านลิตรต่อวันได้

"เป้าหมายจริงๆ ปีนี้มองว่าจะอยู่ราว 2 ล้านลิตรต่อวัน แต่ปริมาณที่มากขึ้นเชื่อว่ามาจากประชาชนเริ่มไว้วางใจในการใช้แก๊สโซฮอล์ มากขึ้น เพราะประหยัด โดยเฉพาะอี 85 และอี 20 ที่มีการใช้เพิ่มขึ้นมาก" นายสิริวุทธิ์กล่าว

รายงานข่าวจากกรมธุรกิจพลังงานแจ้งว่า ยอดการใช้น้ำมันเดือนกรกฎาคม 2556 พบว่า การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินรวมอยู่ที่ 22.61 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ซึ่งอยู่ที่ 22.58 ล้านลิตรต่อวัน และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนถึง 2.09 ล้านลิตรต่อวัน



ที่มา : นสพ.มติชน
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2547
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 14

โพสต์

จากข้อมูลนี้
http://www.energysavingmedia.com/news/p ... 50&cno=818

ยิ่งชี้ให้เห็นว่า โรงไฟฟ้าชีวมวลมีศักยภาพแค่ไหน จากการสนับสนุน adder ค่าไฟ 0.30 บาทต่อหน่วยเพิ่มจากค่าไฟฟ้าฐานที่คิดปกติ

รูปภาพ

รูปภาพ

ดังนั้นโรงไฟฟ้าที่มาจากการผลิตอ้อยเป็นน้ำตาลจึงมีศักยภาพจ่ายไฟในอนาคตที่สูงรองจากพลังงานแสงอาทิตย์
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
firstee
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1741
ผู้ติดตาม: 1

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ถ้าภาครัฐสร้างแรงจูงใจจ่ายค่าadder เพิ่มมาขึ้นกว่านี้แล้วและลองรวมกากอ้อยทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศ ผมว่าในอนาคตอาจจะสามารถเพิ่งพิงไฟฟ้าได้ทางหนึ่งเลยครับ
แลกเปลี่ยนมุมมองการลงทุนได้ครับ
https://www.facebook.com/%E0%B8%84%E0%B ... you_manage
JoSePhInZ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 274
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ความเห็นผมมีดังนี้ครับ
1 การจุดชนวนน่าจะมาจากการที่มิตซุยเข้าถือหุ้น KBS ทั้งๆที่มิตซุยเองก็มีโรงงานน้ำตาลของตัวเองอยู่แล้ว 2 โรงคือกุมภวาปีและเกษตรผล ซึ่งในด้านของ synergy ก็ยังมองไม่ค่อยเห็นนักแต่ปัจจุบัน มิตซุยก็ส่งผบห เข้ามาเพื่อศึกษาหาความร่วมมือที่เป็นไปได้ในอนาคต
จุดนี้ทำให้ ซูมิโตโม ซึ่งเป็นเทรดดิ้ง คอมปะนี ชั้นนำของญี่ปุ่นเหมือนกัน คงพยายามหาที่ยืนของตัวเอง เพราะอย่างไรก็ตามในอนาคตระยะกลางและใกล้ ไทยก็ยังน่าจะเป็น ประเทศเดียวในตะวันออกไกลที่เป็น net exporter น้ำตาล ส่วนญี่ปุ่นเอง ซึ่งมีการปกป้องอุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศ ก็ยังคงต้องนำเข้าน้ำตาลทรายดิบจากไทยเป็นหลัก เนื่องจากอยู่ใกล้ที่สุด

2 อุตสาหกรรมน้ำตาลมีการใช้กากอ้อยเพื่อให้พลังงานภายในมาสักพักแล้ว แต่เพิ่งมาเริ่มจริงจังตอนที่มีการสนับสนุนพลังงานชีวมวลโดยการให้แอดเดอร์เพิ่ม ศักยภาพที่มีอยู่อีกเยอะจะเป็นส่วนของการเพิ่มประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำเนื่องจากโรงงานอีกหลายโรงงานยังใช้หม้อไอน้ำเก่าซึ่งใช้กากอ้อยเปลืองมาก ตัวอย่างที่ดีคือ KBS ที่กำลังสร้างโรงงานไฟฟ้าใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมมาก

3 เอทานอลเป็นธูรกิจที่ดีมากในช่วงปีที่ผ่านมาจากการเฟสเอาท์ 91 แต่เนื่องจากยังมีเอทานอลจากมันซึ่งถึงจะมีต้นทุนการผลิตที่แพงกว่าแต่รัฐก็มีนโยบายให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันรับซื้อเอทานอลจากมันเช่นกัน ดังนั้นบริษัทน้ำตาลจะได้รับผลดีแต่ไม่ใช่ทั้ง 100% แต่ต้องไม่ลืมว่า เอทานอลเป็นตลาดที่มีผู้ซื้อรายใหญ่น้อยรายดังนั้นอำนาจต่อรองจะไปตกอยู่กับผู้ซื้อซะมากกว่า ดังนั้นในช่วงก่อนหน้านี้ เอทานอลจะไม่ใช่ธุรกิจที่ดีนัก

4 ตลาดน้ำตาลโลก เหมือน ตลาดโภคภัณฑ์ทั่วไปที่ราคาขึ้นกับอุปสงค์และอุปทานเป็นหลัก โดยอุปทานโตปีละประมาณ 2% หรือ3 กว่าๆ ล้านตัน ถ้าโตด้วยอัตรานี้แค่ 4 ปีก็มากกว่ากำลังผลิตของประเทศไทยในปัจจุบันแล้ว ดังนั้นในปี 2020 ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าจะมีอุปสงค์จากที่ใดมาเพิ่มเพื่อเลี้ยงปากท้องชาวโลกเนื่องจากประเทศไทยเองก็เริ่มตันในการขยายพื้นที่ ส่วนบราซิล Center south แหล่งปลูกอ้อยหลักของโลกก็เต็มแล้วเหมือนกัน ทั้งนี้ ปีหน้าก็ยังจะมีอุปทานมากกว่าอุปสงค์อยู่ดี ดังนั้นราคาน้ำตาลคงยังไม่ขึ้นไปในเร็ววันนี้ครับ
Aim high and be there!!
so simple
Verified User
โพสต์: 334
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 17

โพสต์

Direct Investment จากญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาเรื่อยๆ นะครับ ต้องคอยจับตาดูกรณี TMB ว่า
จะเป็น Mizuho หรือ Maybank จะได้ไป LH Bank เองก็หาพันธมิตรอยู่ แต่สงสัยเกี่ยว
กับธุรกิจสือสารว่าทำไมไม่มีญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนเลย หรือเขาไม่ค่อยชอบธุรกิจนี้ จากที่เห็น
ญี่ปุ่นเองก็มียักษ์ใหญ่อยู่เยอะ เช่น Softbank หรือ Docomo ผิดกับทางจีน เช่น Huawai
หรือ ZTE ที่รุกหนักมากในหลายๆ ทาง หรือว่าญี่ปุ่นจะชอบการลงทุนด้านการผลิตต่างๆ
หรือจำพวก Bank หรือ Financial Services เป็นหลัก อีกโครงการที่น่าจับตารถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตนะครับ ว่าจะเป็นเทคโนโลยีของชาติไหน ญี่ปุ่น, จีน, เยอรมัน หรือฝรั่งเศส กัน
แต่ที่รู้ๆ อสังหาที่ทองหล่อ กับ ศรีราชา นี่บูมมากเลยครับ สำหรับให้คนญี่ปุ่นเช่านี่ ค่าเช่าดีมาก
so simple
Verified User
โพสต์: 334
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 18

โพสต์

Direct Investment จากญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาเรื่อยๆ นะครับ ต้องคอยจับตาดูกรณี TMB ว่า
จะเป็น Mizuho หรือ Maybank จะได้ไป LH Bank เองก็หาพันธมิตรอยู่ แต่สงสัยเกี่ยว
กับธุรกิจสือสารว่าทำไมไม่มีญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนเลย หรือเขาไม่ค่อยชอบธุรกิจนี้ จากที่เห็น
ญี่ปุ่นเองก็มียักษ์ใหญ่อยู่เยอะ เช่น Softbank หรือ Docomo ผิดกับทางจีน เช่น Huawai
หรือ ZTE ที่รุกหนักมากในหลายๆ ทาง หรือว่าญี่ปุ่นจะชอบการลงทุนด้านการผลิตต่างๆ
หรือจำพวก Bank หรือ Financial Services เป็นหลัก อีกโครงการที่น่าจับตารถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตนะครับ ว่าจะเป็นเทคโนโลยีของชาติไหน ญี่ปุ่น, จีน, เยอรมัน หรือฝรั่งเศส กัน
แต่ที่รู้ๆ อสังหาที่ทองหล่อ กับ ศรีราชา นี่บูมมากเลยครับ สำหรับให้คนญี่ปุ่นเช่านี่ ค่าเช่าดีมาก
richierich
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 560
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณทุกๆความเห็นนะครับ

เท่าที่ผมพอจะรวบรวมได้คือ การเข้ามาของญี่ปุ่นน่าจะเป็นเรื่องการขยายการลงทุนทางยุทธศาสตร์ มากกว่าผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินเป็นหลัก การไหลของการลงทุนเกิดจากความไม่แน่นอนทางภัยธรรมชาติและปัญหาทางการเมืองจากจีน

ธุรกิจน้ำตาลมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องเยอะ และเป็นธุรกิจการเมืองด้วย การที่จะทำให้กลุ่มนี้มีความน่าสนใจมากขึ้นคือการนำ by product มาใช้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุดเพื่อลดความผันผวนของราคาน้ำตาลโลก ราคาน้ำตาลโลกก็เป็นสินค้าคอมโมดิตี้ที่ผันผวน ขึ้นอยู่กับอุปสงค์อุปทาน หุ้นกลุ่มนี้จะขึ้นได้ต้องให้น้ำมันขยับขึ้น คอมโมดิตี้ขยับขึ้น อาหารราคาสูงขึ้น
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1735
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 20

โพสต์

มาแอบเก็บเกี่ยวความรู้....ด้วยความขอบคุณค่ะ :D
richierich
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 560
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 21

โพสต์

Fund Comment : บลจ. บัวหลวง
2 ตุลาคม 2556

ภาพรวมภาวะตลาดในช่วงที่ผ่านมา และมุมมองต่อการลงทุน

ในเดือนกันยายน 2556 ตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังปรับฐานมาตลอด 3 เดือนนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม โดยดัชนี SET Index ได้ลดลงไปต่ำสุดที่ 1,260 จุด และรีบาวด์ขึ้นมาเหนือระดับ 1,400 จุด ได้ เนื่องด้วยราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงมากนั้นได้สะท้อนความกังวลต่อปัจจัยต่างๆ ไปพอสมควรแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยหรือการลดปริมาณการอัดฉีดเศรษฐกิจของเฟด (QE Tapering) ซึ่งในที่ประชุม FOMC วันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา เฟดยังไม่ลดปริมาณ QE แต่อย่างใด ต่างจากที่ตลาดคาดค่อนข้างมาก

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยังได้ปัจจัยบวกเสริมจากการถอนตัวของ ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส จากการชิงตำแหน่งประธานเฟดคนใหม่ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะ ลอร์เรนซ์ ซัมเมอร์ส ไม่สนับสนุนนโยบายผ่อนคลายการเงิน

ดังนั้น การที่ราคาหุ้นลดลงมามาก จึงทำให้มูลค่าหุ้นไทยมีความน่าสนใจลงทุนมากขึ้น และน่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติกลับมาสะสมหุ้นไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเงินทุนจากจีนและญี่ปุ่นที่ต้องการลงทุนระยะยาวในภูมิภาคนี้ทั้งในแง่ของผลประโยชน์จากการลงทุนระยะยาวกับในแง่ของภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเงินเหล่านี้จะทยอยกันเข้ามาเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนของต่างชาติในส่วนที่เป็นเงินร้อนเพราะมีต้นทุนดอกเบี้ยต่ำก็จะยังคงฉวยโอกาสเข้าๆ ออกๆ ในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ต่อไป

ส่วนปัจจัยลบต่างๆ ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย อาทิเช่น หนี้ครัวเรือนระดับสูง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และการชะลอตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ก็จะยังคงกดดันเศรษฐกิจไทยให้อยู่ในภาวะชะลอตัว ซึ่งส่งผลต่อ GDP ในไตรมาส 2/56 ที่หดตัว 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม โอกาสที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงไปอีกมากๆ นั้นมีน้อย เนื่องจากปัจจัยลบต่างๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้นไม่ได้เร่งตัวขึ้นเท่าใดนัก

ดังนั้น ในช่วงที่เหลือของปี 2556 หากผลกระทบจากน้ำท่วมอยู่ในวงจำกัดและแก้ไขได้ในเร็ววัน และไม่มีปัญหารุนแรงของความขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจไทยก็น่าจะค่อยๆ ดีขึ้นจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีและเป็นช่วง High Season รวมทั้งภาคการส่งออกที่ควรจะค่อยๆ ฟื้นตัวตามแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ สหภาพยุโรป หรือจีนที่มีสัญญาณดีขึ้น

ทั้งนี้ หากเป็นตามที่คาดหวัง เศรษฐกิจไทยน่าจะกลับไปขยายตัวระดับปกติได้ในปี 2557

อย่างไรก็ตาม เรื่องดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่กำลังอ่อนแอลงก็เป็นประเด็นที่ต้องจับตา แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่น่ากังวลมากนัก เพราะสถานะการคลังยังคงแข็งแกร่งอยู่มาก ดังนั้น ประเทศไทยจึงไม่ได้มีปัญหาด้านเสถียรภาพทางการเงิน ต่างกับอินโดนีเซียและอินเดียที่เรื่องดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของการถูกลดน้ำหนักลงทุนทั้งหุ้นและพันธบัตรในภูมิภาคเมื่อช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้ อินโดนีเซียและอินเดียต่างมีปัญหาจากเงินสกุลท้องถิ่นที่อ่อนค่าลงเพราะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการคลังอย่างต่อเนื่อง มีปัญหาจากอัตราเงินเฟ้อสูง และมีปัญหาจากเงินทุนสำรองต่างประเทศที่ลดน้อยลง ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

ส่วนโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพมากกว่า จึงเชื่อว่าในที่สุดนักลงทุนต่างชาติจะสนใจกลับมาลงทุนในไทย เพียงแต่หุ้นไทยอาจจะมีความน่าสนใจลดน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะกลับเข้าสู่ระดับปกติเพราะไม่มีแรงกระตุ้นจากนโยบายรัฐบาล ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วมีการขยายตัวที่ฟื้นตัวขึ้น

ประเด็นการลด QE (QE Tapering) ครั้งแรกของสหรัฐนั้นน่าจะส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนน้อยลงเพราะนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้แล้วว่าไม่ช้าก็เร็วเฟดก็จะต้องลด QE อยู่ดี และแม้ว่าเฟดจะลดประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐลง แต่เศรษฐกิจสหรัฐก็ยังคงฟื้นตัวในระดับค่อยเป็นค่อยไป ซึ่ง ณ ขณะนี้ มีหลายฝ่ายคาดว่าน่าจะมีการ Tapering QE ในการประชุมเฟดครั้งถัดไปในวันที่ 29-30 ตุลาคมนี้ และมีบางฝ่ายคาดว่าเฟดไม่มีทางลด QE ได้เลย

ทั้งนี้ การ Tapering QE นั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินของเฟดเพื่อปรับทุกอย่างให้เข้าสู่ภาวะปกติ (Normalization) แต่ไม่น่าจะถึงกับหักด้ามพร้าด้วยเข่า (Tightening) เรื่องนี้จึงยังมีประเด็นที่จะติดตามมาได้อีก ซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาวะการลงทุนได้ รวมไปถึงเรื่อง US Government Shutdown ที่เกิดขึ้นเพราะสภาคองเกรสสหรัฐตกลงกันเรื่องงบประมาณไม่ทัน 1 ตุลาคม 2556 กับการพิจารณาเพิ่มเพดานหนี้ในวันที่ 17 ตุลาคม ที่ต้องติดตามดูผล ซึ่งจะส่งผลทางจิตวิทยาต่อผู้ลงทุนในระยะสั้น

มุมมองต่อการลงทุน
---------------------

เราเชื่อว่าตลาดหุ้นในขณะนี้ได้สะท้อนความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจไปมากแล้ว ซึ่งช่วงที่ผ่านมาหลายฝ่ายได้ปรับลดการคาดการณ์ทั้งอัตราการขยายตัวของ GDP ไทย และกำไรของบริษัทจดทะเบียนไปพอสมควร ถึงจะมีการปรับลดการคาดการณ์ลงอีก ก็คงจะปรับลดลงไม่มาก

ส่วนด้านต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงครึ่งปีแรกนั้นก็ได้เริ่มชะลอตัวแล้วในครึ่งปีหลัง ดังนั้น ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อรายได้และต้นทุนของบริษัทจดทะเบียนจึงน่าจะบรรเทาลง ซึ่งน่าจะช่วยลดความเสี่ยงด้านลบของการลงทุนในหุ้นไทยได้ แม้ในช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้บรรยากาศการลงทุนจะถูกกดดันจากเรื่อง US Government Shutdown กับการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐอเมริกาก็ตาม

ด้านการลงทุนภาคเอกชนในประเทศแม้จะยังมีแนวโน้มอ่อนแอในระยะสั้น แต่เชื่อว่าในระยะยาว ประเทศไทยยังมีความน่าลงทุนในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ ด้วยโครงสร้างของประเทศไทยที่มีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค ทำเลที่ตั้งใกล้เคียงกับประเทศลาว เวียดนาม พม่าและกัมพูชา (LVMC) ซึ่งมีศักยภาพในการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ประกอบกับโครงการลงทุนของภาครัฐที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้ดีขึ้นในอนาคต จึงเชื่อว่าภาคการลงทุนของไทยจะยังคงขยายตัวได้ในระยะยาว

ความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ และมักทำให้เกิดความกังวลต่อการลงทุน แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ระดับปกตินักลงทุนก็จะคลายความกังวลลง และตลาดหุ้นจะสามารถกลับเป็นแนวโน้มขาขึ้นได้ แต่ถึงแม้การชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวมจะกินระยะเวลายาวนานกว่าที่หลายฝ่ายคาด ก็ยังมีบางอุตสาหกรรมที่ยังมีแนวโน้มดี เช่น กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งกองทุนบัวหลวงได้เลือกลงทุนโดยดูจากปัจจัยพื้นฐานของหุ้นรายตัวเป็นหลักอยู่แล้ว ซึ่งน่าจะช่วยลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงสั้นๆ นี้ได้บ้าง

ภาวะตลาดตราสารหนี้และมุมมองต่อการลงทุน
------------------------------------------------

ในวันที่ 21 สิงหาคม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังอยู่ในช่วงปรับตัว ซึ่งอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกน่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ในไม่ช้า อีกทั้งมีมุมมองเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นจากการค่อยๆ ฟื้นตัวของจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป อันจะเป็นผลดีต่อการส่งออกไทย อย่างไรก็ตาม หากการบริโภคภายในประเทศยังคงชะลอตัวอาจจะทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยง และอาจทำให้ กนง. ลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ได้

ตลอดเดือนสิงหาคม ตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงเผชิญกับแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติกว่า 43,000 ล้านบาทด้วยความกังวลจากปัจจัยภายนอกประเทศ ทั้งเรื่องการลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ภายใต้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินของสหรัฐ หรือ QE Tapering และความตึงเครียดของสถานการณ์ซีเรีย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยเฉพาะรุ่นระยะยาวปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีที่ 4.41%

อย่างไรก็ตาม มติการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐ ในวันที่ 17-18 กันยายนที่ผ่านมาได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักลงทุน ด้วยการตัดสินใจไม่ชะลอมาตรการซื้อพันธบัตร 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (หรือ QE3) ต่างจากที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะชะลอการซื้อพันธบัตรในวงเงิน 1 ถึง 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของพอร์ตการลงทุน (Portfolio Rebalancing) ในระยะสั้น โดยกระแสเงินทุนต่างชาติที่ได้ไหลออกจากบรรดาตลาดเกิดใหม่หลังเฟดประกาศแนวคิด QE Tapering เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมาไหลกลับเข้าตลาดเกิดใหม่อีกครั้งรวมถึงประเทศไทย โดยทันทีที่เฟดประกาศผลการประชุม FOMC อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับลดลงมาที่ระดับ 2.69% จาก 2.86% ในวันก่อนหน้า ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยในวันถัดมาปรับตัวลงตาม และยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เงินทุนต่างชาติที่ไหลกลับเข้ามานั้นนอกจากเป็นไปเพื่อแสวงหากำไรจากราคาพันธบัตรที่ปรับตัวลงมาอย่างมากในช่วงที่ผ่านมาแล้ว ยังได้รับประโยชน์จากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มเปลี่ยนทิศทางกลับมาเป็นแข็งค่าขึ้น หลังจากที่ได้อ่อนค่ามาแล้วกว่า 3-5% ในระยะ 3 เดือนย้อนหลัง

สำหรับการคงมาตรการ QE นั้น กองทุนบัวหลวงมองว่าไม่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากไทยไม่ได้พึ่งพาเงินทุนภายนอกในสัดส่วนที่มาก แต่อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากความเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินและตลาดทุน

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปน่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะจากการที่สภาผ่านร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาทซึ่งจะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้มากในช่วงหลายปีข้างหน้า

ส่วนปัจจัยสำคัญต่อตลาดตราสารหนี้ไทยอีกประเด็นคือแผนระดมเงินในปีงบประมาณ 2557 ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ซึ่งประกาศว่าจะออกพันธบัตรรัฐบาลทั้งสิ้น 5.1 แสนล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณก่อน 18% แต่มีจุดน่าสนใจคือ งดการออกพันธบัตรอายุ 3 ปี และ 7 ปี เพื่อจะส่งเสริมให้พันธบัตรอายุ 5 ปีมีสภาพคล่องสูง และสามารถเป็น Benchmark ที่ชัดเจนขึ้น อีกทั้งได้เพิ่มอุปทานพันธบัตรระยะยาวรุ่นอายุ 15 ปี และ 20 ปีมากขึ้นเพื่อสนับสนุนอุปสงค์จากธุรกิจประกันภัยและกองทุนบำเหน็จบำนาญในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีความไม่แน่นอนในแผนการออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation-Linked Bond) หลังจากมีการยกเลิกการประมูลพันธบัตร ILB เมื่อกลางเดือนกันยายน เนื่องจากความต้องการซื้อของนักลงทุนลดลง และนักลงทุนหลักในพันธบัตร ILB มากกว่า 50% ก็เป็นนักลงทุนต่างชาติ

ทั้งนี้ กองทุนบัวหลวงมองว่า การส่งเสริมให้พันธบัตรอายุ 5 ปีให้มีสภาพคล่องสูงจะทำให้ตลาดตราสารหนี้ไทยในปี 2557 มีความน่าสนใจต่อนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น

สำหรับช่วงที่เหลือของปี 2556 กองทุนบัวหลวงมีมุมมองว่าตลาดตราสารหนี้ไทยจะมีความผันผวนจากการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างชาติ และ Yield curve มีโอกาสปรับตัวขึ้นลงตามเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญที่เข้ามากระทบ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ QE Tapering แต่การปรับตัวขึ้นจะเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องด้วยปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลที่ลดลง จากการที่ไม่มีการออกพันธบัตรรัฐบาลในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2557
Sent from my iPhone
hirochi
Verified User
โพสต์: 21
ผู้ติดตาม: 0

Re: ทำไมบริษัทญี่ปุ่นถึงชอบบริษัทน้ำตาลไทย??

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ขอเสนอความเห็นบ้างนะครับ
คือว่าการที่กลุ่มมิตรซุยซื้อหุ้นโรงงานน้ำตาลเพิ่มอาจจะเป็นเพราะว่า
.-ธุรกิจนี้ผูกขาด(รายใหญ่ไม่กี่เจ้า)ถ้าจำไม่ผิดกลุ่มมิตรผลเบอร์1กล่มkslเบอร4
สว่นกลุ่มของมิตซุยคือโรงงานเกษตรผลและกุมภวาปีถือว่ามีขนาดเล็กมากๆๆๆ
เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นทำให้เสียเปรียบด้านการแข่งขัน(น้ำตาล)
ยิ่งในอนาคตเปิดเสรีน้ำตาลด้วยแล้วกลุ่มโรงงานน้ำตาลเล็กๆน่าจะอยู่ลำบากครับ
..และนี่ก็น่าจะเป็นเหตผลหลักที่การตกลงเรื่องเปิดเสรีน้ำตาลในประเทศยังตกลงกันไม่ได้
เพราะกลุ่มๆโรงงานใหญ่ๆยอมแต่กลุ่มโรงงานเล็กๆไม่ยอม
โพสต์โพสต์