ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 1
สวัสดีพ่อแม่พี่น้องทุกท่านครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบเรื่องการลงทุน เรื่อยไปจนถึงทุกเรื่องทุกราวที่เกี่ยวข้องกับ Wealth วันนี้ผมมีเรื่องเกี่ยวกับ "ภาษีคนตาย" ที่จะมาแบ่งปันให้กับทุกท่าน
ภาษีคนตาย เราทุกคนรู้จักดีในชื่อ ภาษีมรดก ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีของสินทรัพย์ทั้งหมดของผู้ตาย ก่อนจะตกทอดไปยังลูกๆหลานๆ ในแต่ละ gen... ต่างประเทศมีการบังคับใช้ภาษีคนตายมาหลายสิบปีแล้วครับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ สหรัฐอเมริกา รู้มั้ยครับว่าอเมริกาเนี่ย มีการจัดเก็บภาษีมรดกโดยมี rate สูงสุดที่ 46% ของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดเลยทีเดียว คิดเป็บเกือบๆครึ่งนึงของมรดก นับว่าเยอะมว๊ากก !!! ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงมักได้ยินข่าวบ่อยๆว่า เศรษฐีคนนู้นน คนนี้ของอเมริกา ประกาศบริจาคทรัพย์สินมากมายให้แก่การกุศล ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากกลไกด้านภาษีของอเมริกานี่แหละครับ ยกตัวอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ อภิมหาเศรษฐีอันดับต้นๆของโลก จะบริจาคเงินร้อยละ 85 จากที่มีอยู่ทั้งหมด 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่องค์กรการกุศล ซึ่งเงินบริจาคส่วนใหญ่จะตกไปเป็นของมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ (Bill amp; Melinda Gates Foundation) มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก ที่เป็นเพื่อนสนิทของบัฟเฟตต์ เพื่อใช้ในการสนับสนุนการค้นคว้าทางการแพทย์และการให้ทุนการศึกษา
ประเทศไทยนั้นเคยมีการจัดเก็บภาษีมรดกบตั้งแต่ปีพ.ศ. 2476 แต่ภายหลังได้ยกเลิกภาษีดังกล่าวในปี พ.ศ. 2487 โดยเหตุผลในการยกภาษีเนื่องจากมีความซ้ำซ้อน และมีการหลีกเลี่ยงภาษีครับ
โดยการยกเลิกการจัดเก็บภาษีตอนปีนั้น มีประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่หลักๆคือ ภาษีมรดกทำให้การออมและการลงทุนลดลง ประเด็นนี้ถูกมองว่า การที่มีภาษีมรดกจะทำให้เกิดแรงจูงใจในการใช้จ่ายมากกว่าที่จะเก็บออมไว้เนื่องจากการเก็บออมไว้ในท้ายที่สุดจะถูกเก็บภาษีมรดก ดังนั้นหากไม่มีการเก็บภาษีมรดก จะส่งผลให้ประชาชนมีการเก็บออมไว้มากขึ้น เช่นเดียวกับการลงทุนที่ประชาชนจะมีแนวโน้มที่จะลดการลงทุน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์
นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆเช่น ภาษีมรดกทำให้ส่งผลเสียต่อภาคธุรกิจขนาดเล็ก และมีการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้ ซึ่งประเด็นต่างๆที่ผมบอกไป เป็นประเด็นที่ฝ่ายคัดค้านภาษีมรดกกล่าวไว้
ในส่วนของผู้ที่สนับสนุนภาษีมรดกนั้น ก็ได้ให้ความเห็นว่าภาษีมรดกมีข้อดีมากกว่าข้อเสียคือ
(1)ช่วยให้ประชาชนในสังคมมีโอกาสทางเศรษฐกิจเสมอภาคและลดความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ
(2)เป็นภาษีทางตรง ผู้เสียภาษีจะผลักภาษีไม่ได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน
(3)ทำให้เกิดการกระจายความมั่งคั่ง โดยกระจายทรัพย์สินให้แก่ญาติพี่น้องหรือสาธารณะกุศล ซึ่งเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนร่ำรวยกับผู้มีรายได้น้อย
(4)เป็นเหตุจูงใจให้เจ้าของมรดกทำงานหรือขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมเงินไว้ให้ทายาทเสียภาษีมรดก
(5)เป็นเหตุจูงใจให้ผู้รับมรดกมีความรู้สึกว่าต้องพึ่งตนเองในการทำงานหรือลงทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่มุ่งมรดกอย่างเดียว เนื่องจากต้องเสียภาษีมรดก
ซึ่งผมเองก็เห็นด้วยกับหลายๆข้อ หากประเทศไทยจะมีการจัดเก็บภาษีนี้ โดยมีภาษีมรดกที่จัดเก็บในอัตราภาษีและมีเงื่อนไขการจัดเก็บที่เหมาะสม อาจจะช่วยให้เกิดสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ผมเห็นด้วยกับภาษีมรดกนั้นคือการลดความเลื่อมล้ำทางสังคม อย่างที่เห็นจากตัวอย่างที่ผมได้บอกไว้ตอนต้น เรื่องของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ด้วยการที่บริจาคเงินให้แก่สาธารณะกุศล ผมว่ามันสามารถนำเงินส่วนนั้น ไปช่วยเหลือผู้อื่นที่ยังขาดโอกาสได้อีกมาก นอกจากนี้ยังเป็นกลไก ที่ทำให้คนเราอยากจะสร้าง wealth ด้วยตัวเองมากขึ้น #
0 0
ภาษีคนตาย เราทุกคนรู้จักดีในชื่อ ภาษีมรดก ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีของสินทรัพย์ทั้งหมดของผู้ตาย ก่อนจะตกทอดไปยังลูกๆหลานๆ ในแต่ละ gen... ต่างประเทศมีการบังคับใช้ภาษีคนตายมาหลายสิบปีแล้วครับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ สหรัฐอเมริกา รู้มั้ยครับว่าอเมริกาเนี่ย มีการจัดเก็บภาษีมรดกโดยมี rate สูงสุดที่ 46% ของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดเลยทีเดียว คิดเป็บเกือบๆครึ่งนึงของมรดก นับว่าเยอะมว๊ากก !!! ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงมักได้ยินข่าวบ่อยๆว่า เศรษฐีคนนู้นน คนนี้ของอเมริกา ประกาศบริจาคทรัพย์สินมากมายให้แก่การกุศล ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากกลไกด้านภาษีของอเมริกานี่แหละครับ ยกตัวอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ อภิมหาเศรษฐีอันดับต้นๆของโลก จะบริจาคเงินร้อยละ 85 จากที่มีอยู่ทั้งหมด 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่องค์กรการกุศล ซึ่งเงินบริจาคส่วนใหญ่จะตกไปเป็นของมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ (Bill amp; Melinda Gates Foundation) มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก ที่เป็นเพื่อนสนิทของบัฟเฟตต์ เพื่อใช้ในการสนับสนุนการค้นคว้าทางการแพทย์และการให้ทุนการศึกษา
ประเทศไทยนั้นเคยมีการจัดเก็บภาษีมรดกบตั้งแต่ปีพ.ศ. 2476 แต่ภายหลังได้ยกเลิกภาษีดังกล่าวในปี พ.ศ. 2487 โดยเหตุผลในการยกภาษีเนื่องจากมีความซ้ำซ้อน และมีการหลีกเลี่ยงภาษีครับ
โดยการยกเลิกการจัดเก็บภาษีตอนปีนั้น มีประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่หลักๆคือ ภาษีมรดกทำให้การออมและการลงทุนลดลง ประเด็นนี้ถูกมองว่า การที่มีภาษีมรดกจะทำให้เกิดแรงจูงใจในการใช้จ่ายมากกว่าที่จะเก็บออมไว้เนื่องจากการเก็บออมไว้ในท้ายที่สุดจะถูกเก็บภาษีมรดก ดังนั้นหากไม่มีการเก็บภาษีมรดก จะส่งผลให้ประชาชนมีการเก็บออมไว้มากขึ้น เช่นเดียวกับการลงทุนที่ประชาชนจะมีแนวโน้มที่จะลดการลงทุน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์
นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆเช่น ภาษีมรดกทำให้ส่งผลเสียต่อภาคธุรกิจขนาดเล็ก และมีการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้ ซึ่งประเด็นต่างๆที่ผมบอกไป เป็นประเด็นที่ฝ่ายคัดค้านภาษีมรดกกล่าวไว้
ในส่วนของผู้ที่สนับสนุนภาษีมรดกนั้น ก็ได้ให้ความเห็นว่าภาษีมรดกมีข้อดีมากกว่าข้อเสียคือ
(1)ช่วยให้ประชาชนในสังคมมีโอกาสทางเศรษฐกิจเสมอภาคและลดความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ
(2)เป็นภาษีทางตรง ผู้เสียภาษีจะผลักภาษีไม่ได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน
(3)ทำให้เกิดการกระจายความมั่งคั่ง โดยกระจายทรัพย์สินให้แก่ญาติพี่น้องหรือสาธารณะกุศล ซึ่งเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนร่ำรวยกับผู้มีรายได้น้อย
(4)เป็นเหตุจูงใจให้เจ้าของมรดกทำงานหรือขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมเงินไว้ให้ทายาทเสียภาษีมรดก
(5)เป็นเหตุจูงใจให้ผู้รับมรดกมีความรู้สึกว่าต้องพึ่งตนเองในการทำงานหรือลงทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่มุ่งมรดกอย่างเดียว เนื่องจากต้องเสียภาษีมรดก
ซึ่งผมเองก็เห็นด้วยกับหลายๆข้อ หากประเทศไทยจะมีการจัดเก็บภาษีนี้ โดยมีภาษีมรดกที่จัดเก็บในอัตราภาษีและมีเงื่อนไขการจัดเก็บที่เหมาะสม อาจจะช่วยให้เกิดสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ผมเห็นด้วยกับภาษีมรดกนั้นคือการลดความเลื่อมล้ำทางสังคม อย่างที่เห็นจากตัวอย่างที่ผมได้บอกไว้ตอนต้น เรื่องของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ด้วยการที่บริจาคเงินให้แก่สาธารณะกุศล ผมว่ามันสามารถนำเงินส่วนนั้น ไปช่วยเหลือผู้อื่นที่ยังขาดโอกาสได้อีกมาก นอกจากนี้ยังเป็นกลไก ที่ทำให้คนเราอยากจะสร้าง wealth ด้วยตัวเองมากขึ้น #
0 0
-
- Verified User
- โพสต์: 428
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 4
ถูกต้องแล้ว ที่มนุษย์ต้องเห็นแก่ตัว
การศึกษาและความรู้ที่มี ทำให้มนุษย์ทีเห็นแก่ตัวนั้น
มีความเห็นแก่ตัวที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง และลูกหลานจริงๆ
ผมเชื่อว่า การคอรัปชั่น การเห็นแก่ตัวของคนโง่
เป็นอันตรายต่อตัวผม เป็นอันตรายต่อลูกหลานผม
ภาษีนี้ ไม่มีผลต่อคนรวยเลย แต่อาจจะมีผลบ้างต่อผู้รับ
ซึ่งผู้รับ ที่ทำตัวดีต่อเรานั้น อาจจะเพียงแค่หวัง มรดกก็ได้
เพราะเมื่อตายไป และคนที่ตายไปมองกลับมา(ได้)
จะรู้ว่าสมบัติ อำนาจ และ การยกย่องของคนขี้ประจบ
เป็นสิ่งไร้สาระ พอๆกับ ไข่เจียวลาดข้าวอร่อยๆมื้อนึง
การศึกษาและความรู้ที่มี ทำให้มนุษย์ทีเห็นแก่ตัวนั้น
มีความเห็นแก่ตัวที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง และลูกหลานจริงๆ
ผมเชื่อว่า การคอรัปชั่น การเห็นแก่ตัวของคนโง่
เป็นอันตรายต่อตัวผม เป็นอันตรายต่อลูกหลานผม
ภาษีนี้ ไม่มีผลต่อคนรวยเลย แต่อาจจะมีผลบ้างต่อผู้รับ
ซึ่งผู้รับ ที่ทำตัวดีต่อเรานั้น อาจจะเพียงแค่หวัง มรดกก็ได้
เพราะเมื่อตายไป และคนที่ตายไปมองกลับมา(ได้)
จะรู้ว่าสมบัติ อำนาจ และ การยกย่องของคนขี้ประจบ
เป็นสิ่งไร้สาระ พอๆกับ ไข่เจียวลาดข้าวอร่อยๆมื้อนึง
- draco
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 6
สุดท้ายคนรวยมากๆจะหลบได้ครับ โดยการไปตั้ง offshore company (OFC) ที่ประเทศที่ปลอดภาษีแบบ Tax Heaven เช่น British Virgin แล้วเอา OFC มาถือหุ้นทรัพย์สินที่มีอยู่ เสร็จแล้วค่อยโอนหุ้นใน OFC ให้ลูก เจ้าของทรัพย์สินเป็นบริษัทต่างชาติ โอนกรรมสิทธิ์ก็เป็นการโอนหุ้นต่างชาติ ผู้ถือหุ้นก็ไม่ต้องเปิดเผย แต่ระบบจริงๆเป็นยังไงผมไม่แน่ใจนะครับ เคยไปฟังสัมมนาเรื่องนี้เค้าพูดเรื่องประโยชน์ของ OFC หากมีภาษีมรดกครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 8
สรรพากร เผยกำลังพิจารณาเพิ่มหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายเพิ่มจาก 6 หมื่น หลังค่าครองชีพสูง
นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรกำลังพิจารณาที่จะเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายในการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากปัจจุบันที่ให้หักค่าลดหย่อนได้ 40% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคน
ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เพราะทุกคนต่างใช้จ่ายมากกว่าที่ได้รับสิทธิ ขณะเดียวกัน ยังเป็นการกระตุ้นให้มีการออกใบกำกับภาษีมากขึ้นด้วย เพื่อให้ผู้ที่ยังอยู่นอกระบบเข้ามาในระบบภาษี เพื่อจะได้สิทธิในการหักค่าใช้จ่าย สอดคล้องกับนโยบายการขยายฐานผู้เสียภาษีที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี
อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากร ยังพิจารณาเรื่องค่าลดหย่อนอื่นๆ ที่จะปรับให้เหลือน้อยลง โดยเฉพาะสิทธิที่กระตุ้นการลงทุนต่างๆ เช่น ประเภทกองทุนต่างๆ หากกองทุนแข็งแรงพอแล้ว ควรจะยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือไม่. เช่นกองทุน. RMF. และ LTF. เป็นสำคัญ
นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรกำลังพิจารณาที่จะเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายในการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากปัจจุบันที่ให้หักค่าลดหย่อนได้ 40% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคน
ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เพราะทุกคนต่างใช้จ่ายมากกว่าที่ได้รับสิทธิ ขณะเดียวกัน ยังเป็นการกระตุ้นให้มีการออกใบกำกับภาษีมากขึ้นด้วย เพื่อให้ผู้ที่ยังอยู่นอกระบบเข้ามาในระบบภาษี เพื่อจะได้สิทธิในการหักค่าใช้จ่าย สอดคล้องกับนโยบายการขยายฐานผู้เสียภาษีที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี
อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากร ยังพิจารณาเรื่องค่าลดหย่อนอื่นๆ ที่จะปรับให้เหลือน้อยลง โดยเฉพาะสิทธิที่กระตุ้นการลงทุนต่างๆ เช่น ประเภทกองทุนต่างๆ หากกองทุนแข็งแรงพอแล้ว ควรจะยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือไม่. เช่นกองทุน. RMF. และ LTF. เป็นสำคัญ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 11
เนื่องด้วยผมทำงานใกล้เคียงกับด้านภาษีนี้ ไปสรรพากรก็หลายครั้ง สำหรับผมไม่เห็นด้วยแน่นอนครับกับการเก็บภาษีมรดกของคนที่ทำมาหากินอย่างสุจริต เพราะหลักภาษีปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าไม่เป็นธรรม มีอคติ(ธงในใจ)ต่อผู้เสียภาษีครับ
ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ มีความคิดในแง่ลบกับคนร่ำรวย(อิจฉา) เขาจะรวยจะจน จะเสียภาษีมาก จะเสียภาษีน้อย(ไม่นับรวมพวกเลี่ยงภาษี) มันก็เป็นเรื่องของเขา สนใจเรื่องของเราดีกว่าว่าจะพาครอบครัวฝ่าวิกฤติต่างๆ ไปได้อย่างไร หันมาพัฒนาตัวเองให้ร่ำรวยจากทรัพย์สินสุจริตของเราแล้วมาเสียภาษีอย่างสุจริตดีที่สุดครับ
ทุกวันนี้ก็เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทางตรงมากอยู่แล้ว(รายได้จัดเก็บอัตราก้าวหน้า ค่าใช้จ่ายให้สิทธิ์หักในอัตราถดถอย) ปีนึงก็แสนกว่าบาท ไม่เคยคิดแม้แต่เลี่ยงภาษี มีเงินออมฝากประจำก็เก็บภาษีดอกเบี้ย มีหุ้นก็เก็บภาษีเงินปันผล ตายไปยังจะตามมาเก็บภาษีมรดก แถมยังมีแนวความคิดแปลกๆ ที่จะเก็บภาษีคนโสดอีก (ดีนะเนี่ยที่เพิ่งแต่งงานเลยรอดตัวไป) สิทธิ์เสรีภาพของพลเมืองก็ไม่ได้ต่างกับคนอื่น (ทุกวันนี้นั่งรถเมล์ นั่งเรือไปทำงานทุกวัน ส่วนรถก็จอดทิ้งไว้ที่บ้านตั้งแต่ได้มา 3 ปีกว่าแล้ว) แต่เวลาจ่ายภาษีกลับเป็นอีกเรื่อง ผมคิดว่าหากประเทศใดก็ตามเน้นเรื่องการเก็บภาษี หรือชูเรื่องนี้เป็นเรื่องหลัก ประเทศนั้นเตรียมแย่ได้เลยครับksiritha เขียน:ในส่วนของผู้ที่สนับสนุนภาษีมรดกนั้น ก็ได้ให้ความเห็นว่าภาษีมรดกมีข้อดีมากกว่าข้อเสียคือ
(1)ช่วยให้ประชาชนในสังคมมีโอกาสทางเศรษฐกิจเสมอภาคและลดความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ
ช่วยตรงไหนครับ มีกลไกอื่นอีกมากที่ไม่ใช่ระบบภาษีแก้ไขได้ เช่น การปฏิรูปการศึกษา สาธารณสุข การสร้างงานสร้างอาชีพตามภูมิภาคต่างๆ
(2)เป็นภาษีทางตรง ผู้เสียภาษีจะผลักภาษีไม่ได้ ทำให้เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน
แน่นอนครับภาษีทางตรง ของใครของมัน แต่ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจกับการเสียภาษีทางตรง ทำไมถึงโยงเป็นเรื่องเดียวกันได้ ทำมากเสียภาษีมาก ทำน้อยเสียภาษีน้อย แล้วพวกที่ไม่ทำงานแต่ได้ภาษีคนอื่นไปใช้ฟรีๆล่ะ สำหรับคนที่ทำงานมากเสียภาษีมาก คิดบ้างไหมว่าพวกเขามีความสุขสบายจริง มันก็ต้องแลกเปลี่ยนกัน เช่น เวลา ความเครียด ความเสี่ยงฯลฯ มีระบบภาษีใดช่วยพวกเหลือพวกเขาอย่างเต็มใจได้บ้างครับ
(3)ทำให้เกิดการกระจายความมั่งคั่ง โดยกระจายทรัพย์สินให้แก่ญาติพี่น้องหรือสาธารณะกุศล ซึ่งเป็นการลดช่องว่างระหว่างคนร่ำรวยกับผู้มีรายได้น้อย
ใช้ระบบภาษีมากระจายความมั่งคั่ง ผมยังไม่เห็นว่าประเทศใดจะใช้ระบบภาษีนี้แก้ได้ มีแต่สร้างความเชื่อเท่านั้นว่าจะแก้ไขปัญหากระจายได้ (ดูตัวอย่างประเทศซิมบับเว่เทียบเคียง) ส่วนเรื่องยกให้ใครบริจาคให้ใคร มันเป็นสิทธิ์ส่วนตัวของผู้มอบเพราะเขาลำบากหาทรัพย์สุจริตได้
(4)เป็นเหตุจูงใจให้เจ้าของมรดกทำงานหรือขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมเงินไว้ให้ทายาทเสียภาษีมรดก
คนที่มีมรดกยกให้ทายาท แสดงว่าส่วนใหญ่รู้จักทำงานขวนขวาย สร้างเนื้อสร้างตัว เก็บเงินเก็บทองถึงเหลือให้ลูกหลาน เพื่อมิให้ลูกหลานลำบากเป็นภาระของสังคมไม่ดีหรือครับ แล้วไม่สงสารคนรุ่นก่อนๆ บ้างหรือครับว่าเหนื่อยยากเพียงใด จะมาสบายตอนแก่ก็ไม่ได้ ต้องทำงานอีก สำหรับตระกูลใดที่รวยอยู่แล้วก็เป็นเรื่องของเขาที่จะรักษาทรัพย์สมบัติ เพราะเราเองก็เห็นตัวอย่างหลายตระกูลรุ่นลูกรุ่นหลานแทบสิ้นเนื้อประดาตัวหลายตระกูลเช่นกัน
(5)เป็นเหตุจูงใจให้ผู้รับมรดกมีความรู้สึกว่าต้องพึ่งตนเองในการทำงานหรือลงทุนเพิ่มขึ้นโดยไม่มุ่งมรดกอย่างเดียว เนื่องจากต้องเสียภาษีมรดก
ข้อนี้ไม่มีความเห็นครับ เพราะขึ้นอยู่กับการอบรมของแต่ละครอบครัวครับ
ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ มีความคิดในแง่ลบกับคนร่ำรวย(อิจฉา) เขาจะรวยจะจน จะเสียภาษีมาก จะเสียภาษีน้อย(ไม่นับรวมพวกเลี่ยงภาษี) มันก็เป็นเรื่องของเขา สนใจเรื่องของเราดีกว่าว่าจะพาครอบครัวฝ่าวิกฤติต่างๆ ไปได้อย่างไร หันมาพัฒนาตัวเองให้ร่ำรวยจากทรัพย์สินสุจริตของเราแล้วมาเสียภาษีอย่างสุจริตดีที่สุดครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 12
มองในแง่จิตวิทยานะครับ
คนที่ขยันขันแข็งอดออมเพื่อส่งผ่านความมั่งคั่งไปยังครอบครัวลูกหลาน
กลับได้รับการลงโทษจากการเก็บภาษีมรดก
ส่วนคนขี้เกียจ สุรุ่ยสุร่ายกลับได้รับผลตอบแทน
เพราะรัฐบาลเอาภาษีมาเลี้ยงดูคนเหล่านี้ผ่านสวัสดิการต่างๆ
มันยุติธรรมแล้วหรือ???
ต่อไปคงไม่มีคนรุ่นใหม่ออกมาทำธุรกิจให้ใหญ่โตแล้ว เพราะส่งผ่านไปลูกหลานลำบาก
เช่นมีมรดกเป็นบ้านโซนปทุมวัน ดินแดง ลูกหลานก็ต้องหาเงินก้อนใหญ่มาจ่ายภาษีมรดกตามราคาประเมิน
หาไม่ได้ก็โดนรัฐยึด ขายทอดตลาดราคาถูกๆ
เพราะไม่มีใครอยากมาซื้อบ้านกลางเมืองแพงๆเพื่อมาจ่ายภาษีมรดกภายหลัง
หรือพ่อแม่เป็นผถห.ใหญ่บ.หนึ่ง บ.มีแต่่cap gain ปันผลน้อยมากๆ
เมื่อลูกรับมรดก หาเงินสดมาจ่ายไม่ได้ ก็ต้องเอามาโยนในตลาด
กระทบราคาหุ้นบ.นั้นให้ผันผวนขึ้นอีก
สุดท้ายหุ้นในบ.ต่างๆก็เป็นของต่างชาติหมด เพราะไม่มีใครอยากถือหุ้น ถือไปก็โดนภาษี
ภาษีมรดก ทำให้มรดกเป็นทุขลาภสำหรับคนรับ
นอกจากนั้น ก็ส่งเสริมให้คนทำงานแค่พออยู่กินเพราะไงลูกๆก็ต้องหาใหม่
หรือส่งเสริมให้สุรุ่ยสุร่าย จะอดออมให้โดนภาษีทำไม
วิธีหลบของคนจนก็ง่ายมาก ซื้อเพชรซื้อทองฝังตุ่มหลังบ้าน จบ!!!
ในด้านภาษี ภาษีมรดกเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ซึ่งแนวคิดภาษีสมัยใหม่ต้องลดภาระให้ประชาชน ไม่เก็บภาษีซ้ำซ้อน
ส่งเสริมให้คนทำงาน ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
คนที่ขยันขันแข็งอดออมเพื่อส่งผ่านความมั่งคั่งไปยังครอบครัวลูกหลาน
กลับได้รับการลงโทษจากการเก็บภาษีมรดก
ส่วนคนขี้เกียจ สุรุ่ยสุร่ายกลับได้รับผลตอบแทน
เพราะรัฐบาลเอาภาษีมาเลี้ยงดูคนเหล่านี้ผ่านสวัสดิการต่างๆ
มันยุติธรรมแล้วหรือ???
ต่อไปคงไม่มีคนรุ่นใหม่ออกมาทำธุรกิจให้ใหญ่โตแล้ว เพราะส่งผ่านไปลูกหลานลำบาก
เช่นมีมรดกเป็นบ้านโซนปทุมวัน ดินแดง ลูกหลานก็ต้องหาเงินก้อนใหญ่มาจ่ายภาษีมรดกตามราคาประเมิน
หาไม่ได้ก็โดนรัฐยึด ขายทอดตลาดราคาถูกๆ
เพราะไม่มีใครอยากมาซื้อบ้านกลางเมืองแพงๆเพื่อมาจ่ายภาษีมรดกภายหลัง
หรือพ่อแม่เป็นผถห.ใหญ่บ.หนึ่ง บ.มีแต่่cap gain ปันผลน้อยมากๆ
เมื่อลูกรับมรดก หาเงินสดมาจ่ายไม่ได้ ก็ต้องเอามาโยนในตลาด
กระทบราคาหุ้นบ.นั้นให้ผันผวนขึ้นอีก
สุดท้ายหุ้นในบ.ต่างๆก็เป็นของต่างชาติหมด เพราะไม่มีใครอยากถือหุ้น ถือไปก็โดนภาษี
ภาษีมรดก ทำให้มรดกเป็นทุขลาภสำหรับคนรับ
นอกจากนั้น ก็ส่งเสริมให้คนทำงานแค่พออยู่กินเพราะไงลูกๆก็ต้องหาใหม่
หรือส่งเสริมให้สุรุ่ยสุร่าย จะอดออมให้โดนภาษีทำไม
วิธีหลบของคนจนก็ง่ายมาก ซื้อเพชรซื้อทองฝังตุ่มหลังบ้าน จบ!!!
ในด้านภาษี ภาษีมรดกเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ซึ่งแนวคิดภาษีสมัยใหม่ต้องลดภาระให้ประชาชน ไม่เก็บภาษีซ้ำซ้อน
ส่งเสริมให้คนทำงาน ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 428
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 13
ภาษีมรดก แปลกมากที่ประเทศไทยไม่มี
คนไทยนับถือพุทธ แต่กับยึดติดกับทรัพย์สิน
มากกว่าคนยุโรป และคนอเมริกา
หรือว่าคนไทย ไม่ใช่พุทธแท้ แต่ เป็นพุทธฮินดู
เราว่ายพิคเนศร ว่ายรูปเคารพทุกชนิด ว่ายแม้แต่สัตว์เดรฉานที่พิการ
หลายๆเรื่อง เราอ้างฝรั่ง และคิดว่าการทำตามฝรั่งเป็นสิ่งที่ดี
แต่เรื่องที่ทำยากๆแบบฝรั่ง เช่น หน้าที่ความรับผิดชอบแบบฝรั่ง เรากับไม่อยากทำตาม
ภาษีแบบฝรั่งเราก็ไม่ค่อยชอบ ถ้าคนรวยมากๆและค้านภาษีมรดก ผมพอเข้าใจ
แต่ถ้าไม่รวยมากและค้านนี่ ก็ออกจะแปลกๆ
ผมงงมาก มีคนกลุ่มหนึ่งเรียกร้องให้ ปตท ไม่ให้ขึ้นราคาแก๊สหุงต้ม
แต่คนอีกกกลุ่มหนึ่ง สนับสนุนให้ ปตท ขึ้นราคาแก๊ส
คนที่อยากให้ ปตท ขึ้นราคาแก๊ส ก็เป็นชาวบ้านธรรมดา
ทำไมจึงยินดีให้ ปตท ขายแก๊สแพง ทั้งๆที่ตัวเองเป็นผู้เสียผลประโยชน์
ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน ต้องมี เพื่อลดความรวยของคนรวยให้รวยน้อยลงหน่อย
ฝรั่งมันก็รวย และตั้งตาทำงาน สะสมทรัพย์สิน ทั้งที่มีภาษีมรดก
ดังนั้นตรรกะ ทีอ้างว่าภาษีมรดกจะทำให้คนขี้เกียจ และฟุ่มเฟือยจึงผิด
ภาษีมรดก อาจจะเริ่มที่ 10% ซึ่งอัตรานี้ ก็ไม่น่าทำให้ใครเดือดร้อน
ดังนั้นถ้าใครได้รับมรดก เป็นที่ 10ไร่ ที่ทองหล่อ
และไม่มีปัญญาจ่ายภาษี และคิดว่าเป็นทุกขลาภ
ผมว่า ใครๆก็อยากได้ทุกขลาภแบบนี้
แก้ง่ายๆ ก็ขายไปบางส่วน เพื่อเสียภาษีก็แค่นั้น
เพียงแต่ต้องเสียไปบางส่วนบ้าง ความมั่งคั่งลดไปนิดเดียวแค่นั้น
คนไทยนับถือพุทธ แต่กับยึดติดกับทรัพย์สิน
มากกว่าคนยุโรป และคนอเมริกา
หรือว่าคนไทย ไม่ใช่พุทธแท้ แต่ เป็นพุทธฮินดู
เราว่ายพิคเนศร ว่ายรูปเคารพทุกชนิด ว่ายแม้แต่สัตว์เดรฉานที่พิการ
หลายๆเรื่อง เราอ้างฝรั่ง และคิดว่าการทำตามฝรั่งเป็นสิ่งที่ดี
แต่เรื่องที่ทำยากๆแบบฝรั่ง เช่น หน้าที่ความรับผิดชอบแบบฝรั่ง เรากับไม่อยากทำตาม
ภาษีแบบฝรั่งเราก็ไม่ค่อยชอบ ถ้าคนรวยมากๆและค้านภาษีมรดก ผมพอเข้าใจ
แต่ถ้าไม่รวยมากและค้านนี่ ก็ออกจะแปลกๆ
ผมงงมาก มีคนกลุ่มหนึ่งเรียกร้องให้ ปตท ไม่ให้ขึ้นราคาแก๊สหุงต้ม
แต่คนอีกกกลุ่มหนึ่ง สนับสนุนให้ ปตท ขึ้นราคาแก๊ส
คนที่อยากให้ ปตท ขึ้นราคาแก๊ส ก็เป็นชาวบ้านธรรมดา
ทำไมจึงยินดีให้ ปตท ขายแก๊สแพง ทั้งๆที่ตัวเองเป็นผู้เสียผลประโยชน์
ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน ต้องมี เพื่อลดความรวยของคนรวยให้รวยน้อยลงหน่อย
ฝรั่งมันก็รวย และตั้งตาทำงาน สะสมทรัพย์สิน ทั้งที่มีภาษีมรดก
ดังนั้นตรรกะ ทีอ้างว่าภาษีมรดกจะทำให้คนขี้เกียจ และฟุ่มเฟือยจึงผิด
ภาษีมรดก อาจจะเริ่มที่ 10% ซึ่งอัตรานี้ ก็ไม่น่าทำให้ใครเดือดร้อน
ดังนั้นถ้าใครได้รับมรดก เป็นที่ 10ไร่ ที่ทองหล่อ
และไม่มีปัญญาจ่ายภาษี และคิดว่าเป็นทุกขลาภ
ผมว่า ใครๆก็อยากได้ทุกขลาภแบบนี้
แก้ง่ายๆ ก็ขายไปบางส่วน เพื่อเสียภาษีก็แค่นั้น
เพียงแต่ต้องเสียไปบางส่วนบ้าง ความมั่งคั่งลดไปนิดเดียวแค่นั้น
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 14
การเอาเรื่องภาษีมาพูดพร้อมเรื่องศาสนา เรื่องปตท.ก็ออกทะเลไปไกลนะครับ
จับเรื่องไม่เกี่ยวกันมาโยงกันได้
ที่บ้านผมไม่มีมรดกมาก แต่ผมค้านภาษีมรดกเพราะผมมองว่า
ทรัพย์สินที่ตกทอดถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้เพราะบรรพบุรุษหามา
หากบรรพบุรุษไม่หา เราก็ทำตัวเป็น setter/founder เป็นผู้ก่อตั้งซะเอง
มันต้องมีคนนับหนึ่งเสมอ เพื่อให้คนต่อไปมาสานต่อ
แต่หากมีภาษีมรดก แรงจูงใจในการก่อตั้งก็ลดลง
เพราะเป็นทุขลาภดังที่อธิบาย
สำหรับภาษีที่ดิน แม้จะเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน แต่ผมสนับสนุนเพราะ
แนวคิดภาษีที่ดินคือการส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด
จึงเก็บภาษีที่ดินที่มีการใช้ประโยชน์ในจำนวนน้อย
แต่เก็บภาษีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จำนวนมาก และมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี
(ที่อยู่อาศัย0.1% ที่รกร้าง0.5% และเสียเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าในทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน2%)
http://www.fpo.go.th/land_tax/provide.html
ต่างจากภาษีมรดกที่เก็บภาษีอัตราที่สูงและมีอัตราก้าวหน้า
เพราะแนวคิดคือไม่สนับสนุนให้คนเก็บออม ต้องการให้คนใช้จ่าย(สุรุ่ยสุร่าย) เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียน
คนที่ขยัน อดออมโดนลงโทษโดยการเก็บภาษี ฉนั้นใครจะอยากขยัน อดออมหล่ะครับ
แล้วช่วยยกตัวอย่างที่ใกล้เคียงความจริงด้วยครับ
คนทั่วไปจะมีที่ดินทองหล่อเป็น10ไร่เชียวหรือ???
ส่วนมากก็ 20-50 ตร.ว. บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์
คุณCARPENTERจะตัดขายทีละ 2-5 ตรว.มั้ยครับ
คงตลกน่าดู ประกาศขายที่ทองหล่อ 5 ตร.ว. เอาไว้กางเต้นนอน จอดรถได้มั้ง
จับเรื่องไม่เกี่ยวกันมาโยงกันได้
ที่บ้านผมไม่มีมรดกมาก แต่ผมค้านภาษีมรดกเพราะผมมองว่า
ทรัพย์สินที่ตกทอดถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้เพราะบรรพบุรุษหามา
หากบรรพบุรุษไม่หา เราก็ทำตัวเป็น setter/founder เป็นผู้ก่อตั้งซะเอง
มันต้องมีคนนับหนึ่งเสมอ เพื่อให้คนต่อไปมาสานต่อ
แต่หากมีภาษีมรดก แรงจูงใจในการก่อตั้งก็ลดลง
เพราะเป็นทุขลาภดังที่อธิบาย
สำหรับภาษีที่ดิน แม้จะเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน แต่ผมสนับสนุนเพราะ
แนวคิดภาษีที่ดินคือการส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด
จึงเก็บภาษีที่ดินที่มีการใช้ประโยชน์ในจำนวนน้อย
แต่เก็บภาษีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จำนวนมาก และมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี
(ที่อยู่อาศัย0.1% ที่รกร้าง0.5% และเสียเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าในทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน2%)
http://www.fpo.go.th/land_tax/provide.html
ต่างจากภาษีมรดกที่เก็บภาษีอัตราที่สูงและมีอัตราก้าวหน้า
เพราะแนวคิดคือไม่สนับสนุนให้คนเก็บออม ต้องการให้คนใช้จ่าย(สุรุ่ยสุร่าย) เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียน
คนที่ขยัน อดออมโดนลงโทษโดยการเก็บภาษี ฉนั้นใครจะอยากขยัน อดออมหล่ะครับ
แล้วช่วยยกตัวอย่างที่ใกล้เคียงความจริงด้วยครับ
คนทั่วไปจะมีที่ดินทองหล่อเป็น10ไร่เชียวหรือ???
ส่วนมากก็ 20-50 ตร.ว. บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์
คุณCARPENTERจะตัดขายทีละ 2-5 ตรว.มั้ยครับ
คงตลกน่าดู ประกาศขายที่ทองหล่อ 5 ตร.ว. เอาไว้กางเต้นนอน จอดรถได้มั้ง
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 428
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 15
การเก็บภาษี (มรดก) ต้องมีรายละเอีด
1.มรดกมูลค่าเท่าไหร่ จึงเริ่มเสียภาษี
2.อัตราภาษีเท่าไหร่(ต่ำก็ได้) จะก้าวหน้าหรือคงที่ แล้วแต่เหมาะสม
3.วิธีการประเมิน มูลค่าทรัพย์สิน
หลักการณ์ มีอีกเยอะ คนที่จะออก พรบ ก็ ต้องศึกษาให้ดี
จริงๆแล้ว ไม่มีรัฐบาลไหน ออก ภาษีมรดก ไม่ว่า จะเป็นรัฐบาลทหาร หรือ รัฐบาลนักเลือกตั้ง
เพราะ นักการเมืองไม่ต้องการให้ออก เหตุที่ไม่ให้ออก ก็เพราะนักการเมืองเค้างก
และกลัวว่าเค้าจะถูกเปิดเผยถึงความร่ำรวยอันผิดปกติ
ถ้ามีภาษีมรดก ทรัพย์สินทั้งหมดจะต้องถูกรวบรวม เหมือนกับการแสดงทรัพย์สิน
และจะถูกเปิดเผยเมื่อมีการตายเกิดขึ้น ทรัพย์สินทั้งหมดจะต้องถูกรวบรวม
สรรพกรต้องรับรู้ คนในสังคมจะรับรู้ เราจะมีคนร่ำรวยผิดปกติเต็มไปหมด
ดังนั้น นี่คือสิ่งที่นักการเมือง หรือ คนที่รวยจากรายได้นอกระบบกลัว
ภาษีมรดก เป็น สิ่งที่ช่วยในการปราบและลดคอรัปชั่นอย่างได้ผล
โดยเฉพาะนักการเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เศรษฐีจากเศรษฐกิจนอกระบบ
วิธีการตรวจว่านักการเมืองคนไหนดี หรือ เลว ก็ดูจากการสนับสนุนการเก็บภาษีนี้
1.มรดกมูลค่าเท่าไหร่ จึงเริ่มเสียภาษี
2.อัตราภาษีเท่าไหร่(ต่ำก็ได้) จะก้าวหน้าหรือคงที่ แล้วแต่เหมาะสม
3.วิธีการประเมิน มูลค่าทรัพย์สิน
หลักการณ์ มีอีกเยอะ คนที่จะออก พรบ ก็ ต้องศึกษาให้ดี
จริงๆแล้ว ไม่มีรัฐบาลไหน ออก ภาษีมรดก ไม่ว่า จะเป็นรัฐบาลทหาร หรือ รัฐบาลนักเลือกตั้ง
เพราะ นักการเมืองไม่ต้องการให้ออก เหตุที่ไม่ให้ออก ก็เพราะนักการเมืองเค้างก
และกลัวว่าเค้าจะถูกเปิดเผยถึงความร่ำรวยอันผิดปกติ
ถ้ามีภาษีมรดก ทรัพย์สินทั้งหมดจะต้องถูกรวบรวม เหมือนกับการแสดงทรัพย์สิน
และจะถูกเปิดเผยเมื่อมีการตายเกิดขึ้น ทรัพย์สินทั้งหมดจะต้องถูกรวบรวม
สรรพกรต้องรับรู้ คนในสังคมจะรับรู้ เราจะมีคนร่ำรวยผิดปกติเต็มไปหมด
ดังนั้น นี่คือสิ่งที่นักการเมือง หรือ คนที่รวยจากรายได้นอกระบบกลัว
ภาษีมรดก เป็น สิ่งที่ช่วยในการปราบและลดคอรัปชั่นอย่างได้ผล
โดยเฉพาะนักการเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เศรษฐีจากเศรษฐกิจนอกระบบ
วิธีการตรวจว่านักการเมืองคนไหนดี หรือ เลว ก็ดูจากการสนับสนุนการเก็บภาษีนี้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 16
มันไม่เกี่ยวกับศาสนาพุทธแท้ หรือพุทธฮินดู หรือศาสนาใดๆทั้งนั้น การยึดติดทรัพย์ในทรัพย์สินจะตีความตามตัวอักษรตรงๆนั้นไม่ได้ ยุโรป อเมริกา จะเป็นยังไงนั้นผมไม่ทราบ แต่ที่รู้คือตอนนี้เกิดปัญหาเหมือนๆกันคือเรียกร้องให้เก็บภาษีจากคนรวยมากขึ้น ซึ่งเมื่อก่อนเขาก็จ่ายอยู่แล้ว ปัญหาคือคนที่เรียกร้องมากกว่า ว่าได้จ่ายบ้างหรือเปล่า
การออกนโยบายต่างๆ ต้องคำนึงถึงหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งศาสนา
การเก็บภาษีมรดก ต้องจำกัดขอบเขตว่าเก็บยังไง เก็บจากทรัพย์สินที่ระบุชื่อทั้งหมด หรือเก็บจาก NAV แล้วถ้าหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน จะเก็บยังไง สามารถนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสะสมของผู้ตายทั้งหมดมาเครดิตได้ไหม แล้วรายจ่ายงานอวมงคลนี้ นำมาหักค่าใช้จ่ายได้หมดหรือไม่ และที่สำคัญจะต้องแก้ประมวลรัษฎากร เงินได้เสน่หา มาตรา 42
ผมเห็นด้วยกับคุณ anubist ทุกประการครับ หลักภาษีสมัยใหม่ต้องพยายามลดการจัดเก็บภาษีทางตรงลง พยายามให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้น
แค่ตายจากการทำงาน(เกษียณ) ยังโดนเก็บภาษีจากเงินที่นายจ้างจ่ายครั้งเดียวอานเลย เงินสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทไม่ตรงหลักสรรพากรก็โดนอานอีกเหมือนกัน แม่บ้านที่ออฟฟิศ ทำงานมา30 กว่าปี เงินเดือนสุดท้ายราว 13000 เงินก้อนสุดท้ายของชีวิตที่จะนำกลับไปประกอบอาชีพที่บ้านเกิด ยังโดนภาษีจุดนี้ไปหลายหมื่น แม้จะใช้ใบแนบคำนวณอย่างถูกที่สุดแล้วก็ตาม
การออกนโยบายต่างๆ ต้องคำนึงถึงหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งศาสนา
การเก็บภาษีมรดก ต้องจำกัดขอบเขตว่าเก็บยังไง เก็บจากทรัพย์สินที่ระบุชื่อทั้งหมด หรือเก็บจาก NAV แล้วถ้าหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน จะเก็บยังไง สามารถนำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสะสมของผู้ตายทั้งหมดมาเครดิตได้ไหม แล้วรายจ่ายงานอวมงคลนี้ นำมาหักค่าใช้จ่ายได้หมดหรือไม่ และที่สำคัญจะต้องแก้ประมวลรัษฎากร เงินได้เสน่หา มาตรา 42
ผมเห็นด้วยกับคุณ anubist ทุกประการครับ หลักภาษีสมัยใหม่ต้องพยายามลดการจัดเก็บภาษีทางตรงลง พยายามให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้น
แค่ตายจากการทำงาน(เกษียณ) ยังโดนเก็บภาษีจากเงินที่นายจ้างจ่ายครั้งเดียวอานเลย เงินสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทไม่ตรงหลักสรรพากรก็โดนอานอีกเหมือนกัน แม่บ้านที่ออฟฟิศ ทำงานมา30 กว่าปี เงินเดือนสุดท้ายราว 13000 เงินก้อนสุดท้ายของชีวิตที่จะนำกลับไปประกอบอาชีพที่บ้านเกิด ยังโดนภาษีจุดนี้ไปหลายหมื่น แม้จะใช้ใบแนบคำนวณอย่างถูกที่สุดแล้วก็ตาม
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 17
ขออนุญาตนอกเรื่องภาษีมรดกอีกนิด เห็นกระทู้เกี่ยวกับภาษีหรือกรมสรรพากรไม่ได้ (ของขึ้น)
ผมติดใจเรื่องการเก็บภาษีเงินฝากประจำ คือ เมื่อก่อนรัฐบาลค้ำประกันเงินต้นเต็มจำนวน จวบจนพรบ.ปี 51ที่ทยอยลดการคุ้มครองลงแล้วโอนไปให้สถาบันประกันเงินฝาก ส่วนที่ยังค้ำประกัน ผมคิดว่ายังมีความชอบธรรมที่จัดเก็บส่วนนี้ ส่วนที่เกินผมคิดว่าไม่ควรเก็บ 15 % หรือเก็บในอัตราที่น้อยลง เพราะถือว่าผู้ฝากมีความเสี่ยงแล้ว การเก็บทั้งหมดเสมือนรัฐบาลยังค้ำอยู่หรือไม่ คล้ายกับหุ้นกู้เมื่อจ่ายดอกเบี้ยก็เก็บ แต่เวลาเจ๊ง เช่น หุ้นกู้ปิคนิค ผู้ลงทุนสูญเงินต้นทั้งหมด ไม่เห็นมีมาตรการเยียวยาคืนภาษีที่เก็บไปแล้วให้
ผมติดใจเรื่องการเก็บภาษีเงินฝากประจำ คือ เมื่อก่อนรัฐบาลค้ำประกันเงินต้นเต็มจำนวน จวบจนพรบ.ปี 51ที่ทยอยลดการคุ้มครองลงแล้วโอนไปให้สถาบันประกันเงินฝาก ส่วนที่ยังค้ำประกัน ผมคิดว่ายังมีความชอบธรรมที่จัดเก็บส่วนนี้ ส่วนที่เกินผมคิดว่าไม่ควรเก็บ 15 % หรือเก็บในอัตราที่น้อยลง เพราะถือว่าผู้ฝากมีความเสี่ยงแล้ว การเก็บทั้งหมดเสมือนรัฐบาลยังค้ำอยู่หรือไม่ คล้ายกับหุ้นกู้เมื่อจ่ายดอกเบี้ยก็เก็บ แต่เวลาเจ๊ง เช่น หุ้นกู้ปิคนิค ผู้ลงทุนสูญเงินต้นทั้งหมด ไม่เห็นมีมาตรการเยียวยาคืนภาษีที่เก็บไปแล้วให้
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 18
"If one does not know to which port one is sailing, no wind is favorable." - Lucius Annaeus Seneca
มาว่ากันเรื่องหลักการและเหตุผลก่อนดีมั้ยครับ ก่อนลงรายละเอียด
ถ้าไม่มีหลักการและเหตุผลที่แน่ชัด จะหลงทางเอานะครับ
ไม่งั้นการลงรายละเอียดจะผิดพลาด ทำให้การบังคับใช้ไม่ตรงกับจุดประสงค์
ภาษ๊มรดกไม่ช่วยต้านคอรัปชั่น เพราะมีวิธีหนีง่ายมาก คนทั่วไปทำได้
ซื้อทองฝังตุ่มหลังบ้าน แค่นี้ก็ตรวจสอบไม่ได้แล้ว
ส่วนคนรวยอาจไปฝากเซฟที่แบงค์ในสวิสก็ได้
ที่ยุโรป เมกาเก็บภาษีเหล่านี้จริงๆแล้วเพราะรัฐบาลถังแตก
ไม่มีเงินไปจ่ายค่าสวัสดิการต่างหากหล่ะครับ จึงต้องรีดภาษีทุกทาง
มาว่ากันเรื่องหลักการและเหตุผลก่อนดีมั้ยครับ ก่อนลงรายละเอียด
ถ้าไม่มีหลักการและเหตุผลที่แน่ชัด จะหลงทางเอานะครับ
ไม่งั้นการลงรายละเอียดจะผิดพลาด ทำให้การบังคับใช้ไม่ตรงกับจุดประสงค์
ภาษ๊มรดกไม่ช่วยต้านคอรัปชั่น เพราะมีวิธีหนีง่ายมาก คนทั่วไปทำได้
ซื้อทองฝังตุ่มหลังบ้าน แค่นี้ก็ตรวจสอบไม่ได้แล้ว
ส่วนคนรวยอาจไปฝากเซฟที่แบงค์ในสวิสก็ได้
ที่ยุโรป เมกาเก็บภาษีเหล่านี้จริงๆแล้วเพราะรัฐบาลถังแตก
ไม่มีเงินไปจ่ายค่าสวัสดิการต่างหากหล่ะครับ จึงต้องรีดภาษีทุกทาง
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 19
ผมเห็นด้วยกับคุณ anubist นะครับว่าภาษีมรดกไม่ได้ช่วยต้านการคอรัปชั่น มันเป็นข้ออ้างมากกว่า ผมกลับมองว่าจะเป็นการเพิ่มปัญหาคอรัปชั่นมากกว่า เพราะต้องหาเงินนอกระบบมาจ่ายภาษีส่วนนี้ ซึ่งก็ผลักเป็นต้นทุนไม่มีประสิทธิภาพทางสังคมอีก
ผมขอแบ่งประเภทผู้รับมรดกเอง ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ดังนี้ครับ
1 ผู้รับฯ ทำมาหาเลี้ยงชีพเองได้
2 ผู้รับฯ ทำมาหาเลี้ยงชีพเองไม่ได้ หรือยังไม่ได้ เช่น
2.1 บุตรหลานที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน
2.2 บุพพาการีวัยเกษียณ อายุมาก ทำงานหนักๆ ไม่ได้แล้ว
2.3 ผู้พิการทุพพลภาพ หรือเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นประจำ
สำหรับผู้รับมรดกของผม คือ แม่ที่อายุเกือบ 70 ครับ ผมต้องการเก็บทรัพย์สมบัติที่หาได้จากน้ำพักน้ำแรงมาเลี้ยงบุพพาการียามผมไม่มีชีวิตอยู่ ไม่ต้องการให้แม่เป็นภาระสังคม ไม่พึ่งพาเบี้ยผู้สูงอายุ มันเป็นเรื่องผิด เห็นแก่ตัวมากงั้นหรือ
ที่ผมย้ำเรื่องสุจริตนั้น ใช้กับสรรพากรไม่ได้นะครับ (ประชดครับ) เพราะอ้างแต่เก็บภาษีจากรายได้ จากกำไร ไม่ได้มีหน้าที่ตรวจสอบว่าทรัพย์สินว่าชอบหรือมิชอบประการใด เป็นหน้าที่ปปง.เหมือนกับการปราบคอรัปชั่นครับ
ส่วนวิธีเลี่ยง ผมคิดออก 3 วิธีครับ
1 แปลงทรัพย์สินที่ระบุชื่อ เป็นทรัพย์สินที่ไม่ระบุชื่อ เช่น ทอง เพชร อัญมณี พระเครื่อง งานศิลปะ จัดเก็บให้ดี (อย่าใส่ตุ่มฝังดินที่บ้าน หรืตูเซฟที่คอนโดนะครับ เดี๊ยวต้องหาเงินจ่ายค่าภาษีบ้านคอนโดอีก)
2 ใช้วิธีของคุณ draco ครับ สร้างนอมินีจดทะเบียนแถวเกาะเคย์แมน หรือบริติช เวอร์จิน ไอแลนด์
3 ถือสองสัญชาติ หรือแปลงสัญชาติไปยังประเทศที่ยังไม่มีการจัดเก็บ
ผมคิดว่าข้อ 2 และ 3 ถือเป็นความเสียหายใหญ่หลวงทางเศรษฐกิจของประเทศครับ เสมือนเงินไหลออก ขณะที่ประเทศเราควรพึ่งพาเงินลงทุนจากคนสัญชาติไทยโดยตรงมากกว่า ลดการพึ่งพาเงินลงทุนข้ามชาติ(เอ เป็นวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าล่ะเนี่ย 555 )
ดังนั้นต้องเข้าใจทั้งภาพใหญ่ภาพย่อยเสียก่อน ถึงจะชั่งใจได้ว่าจะเก็บภาษีมรดกส่วนนี้หรือไม่ อย่างไรครับ
ผมขอแบ่งประเภทผู้รับมรดกเอง ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ดังนี้ครับ
1 ผู้รับฯ ทำมาหาเลี้ยงชีพเองได้
2 ผู้รับฯ ทำมาหาเลี้ยงชีพเองไม่ได้ หรือยังไม่ได้ เช่น
2.1 บุตรหลานที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน
2.2 บุพพาการีวัยเกษียณ อายุมาก ทำงานหนักๆ ไม่ได้แล้ว
2.3 ผู้พิการทุพพลภาพ หรือเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นประจำ
สำหรับผู้รับมรดกของผม คือ แม่ที่อายุเกือบ 70 ครับ ผมต้องการเก็บทรัพย์สมบัติที่หาได้จากน้ำพักน้ำแรงมาเลี้ยงบุพพาการียามผมไม่มีชีวิตอยู่ ไม่ต้องการให้แม่เป็นภาระสังคม ไม่พึ่งพาเบี้ยผู้สูงอายุ มันเป็นเรื่องผิด เห็นแก่ตัวมากงั้นหรือ
ที่ผมย้ำเรื่องสุจริตนั้น ใช้กับสรรพากรไม่ได้นะครับ (ประชดครับ) เพราะอ้างแต่เก็บภาษีจากรายได้ จากกำไร ไม่ได้มีหน้าที่ตรวจสอบว่าทรัพย์สินว่าชอบหรือมิชอบประการใด เป็นหน้าที่ปปง.เหมือนกับการปราบคอรัปชั่นครับ
ส่วนวิธีเลี่ยง ผมคิดออก 3 วิธีครับ
1 แปลงทรัพย์สินที่ระบุชื่อ เป็นทรัพย์สินที่ไม่ระบุชื่อ เช่น ทอง เพชร อัญมณี พระเครื่อง งานศิลปะ จัดเก็บให้ดี (อย่าใส่ตุ่มฝังดินที่บ้าน หรืตูเซฟที่คอนโดนะครับ เดี๊ยวต้องหาเงินจ่ายค่าภาษีบ้านคอนโดอีก)
2 ใช้วิธีของคุณ draco ครับ สร้างนอมินีจดทะเบียนแถวเกาะเคย์แมน หรือบริติช เวอร์จิน ไอแลนด์
3 ถือสองสัญชาติ หรือแปลงสัญชาติไปยังประเทศที่ยังไม่มีการจัดเก็บ
ผมคิดว่าข้อ 2 และ 3 ถือเป็นความเสียหายใหญ่หลวงทางเศรษฐกิจของประเทศครับ เสมือนเงินไหลออก ขณะที่ประเทศเราควรพึ่งพาเงินลงทุนจากคนสัญชาติไทยโดยตรงมากกว่า ลดการพึ่งพาเงินลงทุนข้ามชาติ(เอ เป็นวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าล่ะเนี่ย 555 )
ดังนั้นต้องเข้าใจทั้งภาพใหญ่ภาพย่อยเสียก่อน ถึงจะชั่งใจได้ว่าจะเก็บภาษีมรดกส่วนนี้หรือไม่ อย่างไรครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 20
กลับจากไปทำหน้าที่ในแดนไกล มาช่วยออกความเห็นแบบง่ายๆ หน่อย
เราเป็นคนแบบเอเชีย มีความผูกพันกับลูกหลาน การสืบทอด ชอบอยากจะให้ลูกหลาน สายเลือด มากกว่าจะยกให้คนอื่น บางทีลูกหลานไม่เอาไหน ไม่ว่าจะรักความสบายเพราะนั่งกินนอนกินไม่ปากกัดตีนถีบเหมือนรุ่นพ่อรุ่นปู่ (แบบที่เขาบอกว่าตระกูลใหญ่ๆ มักจะไปได้แค่ 3 generations แล้วล้มหรือกิจการตกเป็นของคนอื่น) หรืออาจเพราะความด้อยของลูกหลานเอง (อย่างอาเต๊าลูกเล่าปี่ ต้องการพี่เลี้ยงแบบขงเบ้งคอยประคบประหงมถึงจะไปรอด)
แต่ยังไง ไม่มีเงื่อนไขอะไร ในการรักลูก ไม่ว่าเป็นชาวนามีที่แค่ 2-3 ไร่ หรืออภิมหาเศรษฐีเจ้าพระยานาหมื่นก็ตาม.... ซึ่งแก่นของความคิดด้านนี้คือ ก็เราอุตส่าห์ทำมาหากินด้วยความเหนื่อยากมาทั้งชีวิต เราก็ต้องมอบให้คนที่เรารัก หรือคนที่เป็นเหมือนตัวเรา เป็นตัวแทนที่อยู่ในโลกต่อไปหลังเราตายตาหลับ ไม่เห็นต้องมีเหตุผลอะไรที่จะเอาไปแบ่งโอนให้คนอื่น
ส่วนตะวันตก วัฒนธรรมเขามุ่งให้ลูกหลานออกจากครอบครัวพึ่งลำแข้งตั้งแต่เด็กกว่าเมื่อเทียบกับเอเชีย การยึดโยงหรือทางตรงข้ามคือความห่างเหินจึงมากกว่าเรา พ่อแม่ลูกที่โตแล้วคุยกันยังกะเพื่อน
แก่นของเรื่องที่เขาพูดถึงคือ ทุกคนต้องทำงานเลี้ยงตัวเอง.... กฎหมายทางด้านนี้จึงออกมานานแล้ว
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะตัดขาดลูกหลานเลยหรือมีคนเห็นด้วยกับกฎหมายนี้ทั้งหมด ยังไงก็รักลูกหลานตามสัญชาติญานของมนุษย์
และก็อย่างที่เพื่อนข้างบนว่า มันดูไม่ค่อยยุติธรรมเลย เอามรดกที่ที่มาหาได้ ไปให้ให้กับคนขึี้เกียจในสังคม ดูๆ ไป มันเป็นหลักการที่ขัดแย้งกับระบบทุนนิยมอย่างร้ายกาจ ทำไมทีหลักการคอมมิวนิสต์บอกไม่ยุติธรรมที่จะแบ่งเอาผลผลิตมากอง แล้วแบ่งให้ทุกคนเท่ากัน อันภาษีมรดกนี้น่าจะเป็นความไม่ยุติธรรมในมุมกลับที่สนับสนุนความคิดหลักการด้านคอมมิวนิสต์ ที่แบ่งให้ผลผลิตกับคนที่ขยัน เอาไปให้กับคนขี้เกียจในรูปสวัสดิการสังคม ... ถึงแม้มันจะไม่สุดขั้ว เพราะสินทรัพย์ก็ไม่ได้เอาไปใช้กับสวัสดิการสังคมทั้งหมดก็ตามที แต่ทำไมต้องเอาไปให้คนอื่นด้วย มันควรเป็นสิทธิ์ ที่จะแบ่งให้ใครก็ได้ตามใจของเจ้าของทรัพย์สินที่หามาได้ ตามหลักทุนนิยม ใครทำมาก ย่อมได้มาก เสียภาษีตามหลักการก็เสียไปแล้ว
แม้แต่ buffett เองมรดกส่วนหนึ่งก็ยังตั้งมูลนิธิให้กับลูกทุกคน โดยโอนเป็นหุ้นออกเป็น step แต่ละปี (จำนวนค่อยๆ ลดลง 5% ทุกปี โดยคาดการณ์ว่ามูลค่าจะค่อยๆ เพิ่ม) หลักการเดียวกับโอนให้มูลนิธิบิลล์&เมลินดา เกตต์
ในความเป็นจริงทางกฎหมาย มูลนิธิคือการกุศล แต่คนดูแลมูลนิธิ ก็ย่อมมีเงินเดือนใช้จ่ายด้วย เพิ่มเติมจากอาชีพแต่ละคน (ลูกชายคนโตเจ้าของฟาร์ม ลูกคนเล็กนักดนตรี ลูกสาวจากภรรยาคนแรก ดูมูลนิธิอย่างเดียว)
ถึงจะไม่ให้แบบอู้ฟู่เกินเหตุ ถือว่ามากพอควรที่จะอยู่ในโลกนี้โดยไม่อดตาย .... เข้าใจ compromise หาทางออก สมกับอัจฉริยะทางการเงินตัวจริง...
อันนี้เป็นจม. สิงหาปีที่แล้ว เพิ่ม double เข้าไปอีก ลงท้ายด้วย "ด้วยรัก จากพ่อ" http://www.berkshirehathaway.com/donate/shpltr.pdf
เราเป็นคนแบบเอเชีย มีความผูกพันกับลูกหลาน การสืบทอด ชอบอยากจะให้ลูกหลาน สายเลือด มากกว่าจะยกให้คนอื่น บางทีลูกหลานไม่เอาไหน ไม่ว่าจะรักความสบายเพราะนั่งกินนอนกินไม่ปากกัดตีนถีบเหมือนรุ่นพ่อรุ่นปู่ (แบบที่เขาบอกว่าตระกูลใหญ่ๆ มักจะไปได้แค่ 3 generations แล้วล้มหรือกิจการตกเป็นของคนอื่น) หรืออาจเพราะความด้อยของลูกหลานเอง (อย่างอาเต๊าลูกเล่าปี่ ต้องการพี่เลี้ยงแบบขงเบ้งคอยประคบประหงมถึงจะไปรอด)
แต่ยังไง ไม่มีเงื่อนไขอะไร ในการรักลูก ไม่ว่าเป็นชาวนามีที่แค่ 2-3 ไร่ หรืออภิมหาเศรษฐีเจ้าพระยานาหมื่นก็ตาม.... ซึ่งแก่นของความคิดด้านนี้คือ ก็เราอุตส่าห์ทำมาหากินด้วยความเหนื่อยากมาทั้งชีวิต เราก็ต้องมอบให้คนที่เรารัก หรือคนที่เป็นเหมือนตัวเรา เป็นตัวแทนที่อยู่ในโลกต่อไปหลังเราตายตาหลับ ไม่เห็นต้องมีเหตุผลอะไรที่จะเอาไปแบ่งโอนให้คนอื่น
ส่วนตะวันตก วัฒนธรรมเขามุ่งให้ลูกหลานออกจากครอบครัวพึ่งลำแข้งตั้งแต่เด็กกว่าเมื่อเทียบกับเอเชีย การยึดโยงหรือทางตรงข้ามคือความห่างเหินจึงมากกว่าเรา พ่อแม่ลูกที่โตแล้วคุยกันยังกะเพื่อน
แก่นของเรื่องที่เขาพูดถึงคือ ทุกคนต้องทำงานเลี้ยงตัวเอง.... กฎหมายทางด้านนี้จึงออกมานานแล้ว
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะตัดขาดลูกหลานเลยหรือมีคนเห็นด้วยกับกฎหมายนี้ทั้งหมด ยังไงก็รักลูกหลานตามสัญชาติญานของมนุษย์
และก็อย่างที่เพื่อนข้างบนว่า มันดูไม่ค่อยยุติธรรมเลย เอามรดกที่ที่มาหาได้ ไปให้ให้กับคนขึี้เกียจในสังคม ดูๆ ไป มันเป็นหลักการที่ขัดแย้งกับระบบทุนนิยมอย่างร้ายกาจ ทำไมทีหลักการคอมมิวนิสต์บอกไม่ยุติธรรมที่จะแบ่งเอาผลผลิตมากอง แล้วแบ่งให้ทุกคนเท่ากัน อันภาษีมรดกนี้น่าจะเป็นความไม่ยุติธรรมในมุมกลับที่สนับสนุนความคิดหลักการด้านคอมมิวนิสต์ ที่แบ่งให้ผลผลิตกับคนที่ขยัน เอาไปให้กับคนขี้เกียจในรูปสวัสดิการสังคม ... ถึงแม้มันจะไม่สุดขั้ว เพราะสินทรัพย์ก็ไม่ได้เอาไปใช้กับสวัสดิการสังคมทั้งหมดก็ตามที แต่ทำไมต้องเอาไปให้คนอื่นด้วย มันควรเป็นสิทธิ์ ที่จะแบ่งให้ใครก็ได้ตามใจของเจ้าของทรัพย์สินที่หามาได้ ตามหลักทุนนิยม ใครทำมาก ย่อมได้มาก เสียภาษีตามหลักการก็เสียไปแล้ว
แม้แต่ buffett เองมรดกส่วนหนึ่งก็ยังตั้งมูลนิธิให้กับลูกทุกคน โดยโอนเป็นหุ้นออกเป็น step แต่ละปี (จำนวนค่อยๆ ลดลง 5% ทุกปี โดยคาดการณ์ว่ามูลค่าจะค่อยๆ เพิ่ม) หลักการเดียวกับโอนให้มูลนิธิบิลล์&เมลินดา เกตต์
ในความเป็นจริงทางกฎหมาย มูลนิธิคือการกุศล แต่คนดูแลมูลนิธิ ก็ย่อมมีเงินเดือนใช้จ่ายด้วย เพิ่มเติมจากอาชีพแต่ละคน (ลูกชายคนโตเจ้าของฟาร์ม ลูกคนเล็กนักดนตรี ลูกสาวจากภรรยาคนแรก ดูมูลนิธิอย่างเดียว)
ถึงจะไม่ให้แบบอู้ฟู่เกินเหตุ ถือว่ามากพอควรที่จะอยู่ในโลกนี้โดยไม่อดตาย .... เข้าใจ compromise หาทางออก สมกับอัจฉริยะทางการเงินตัวจริง...
อันนี้เป็นจม. สิงหาปีที่แล้ว เพิ่ม double เข้าไปอีก ลงท้ายด้วย "ด้วยรัก จากพ่อ" http://www.berkshirehathaway.com/donate/shpltr.pdf
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 21
http://www.oknation.net/blog/talkwithMe ... 30/entry-2
มีบทความที่น่าสนใจเรื่องภาษีมรดก
จากย่อหน้าที่สอง
"ไม่ผิด ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ได้แบกรับการพัฒนา ไม่ผิด ถ้ามูลค่านั้นมาจากส่วนเกินทางสังคม ไม่ผิด ถ้ารายได้ที่มากขึ้นนั้นมาจากหยาดเหงื่อแรงงานและการลงทุนที่ใช้ความสามารถ หากแต่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ ทรัพย์สินที่สั่งสมเพิ่มขึ้นจากการรีดมูลค่าจากคนสังคม สมควรแบ่งปันคืนสู่สังคม โดยให้รัฐจัดการในส่วนเสี้ยวหนึ่งเพื่อการพัฒนาสังคม สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และความสะดวกปลอดภัยของชีวิต.. แน่นอน รายได้ที่เพิ่มขึ้น ย่อมมาจากการกอบโกยจากสังคมส่วนหนึ่ง การคืนบางส่วนเพื่อไปพัฒนาแก้ไขปัญหาย่อมเป็นหน้าที่พลเมืองที่ดีมีคุณภาพของรัฐ และรัฐต้องเป็นรัฐที่ดีด้วยเช่นกัน ในการใช้ส่วนนั้นกลับไปพัฒนาสังคม ตลอดจนคุณภาพชีวิตและสวัสดิการที่ดีจากรัฐ"
เราจะเห็นแนวคิดว่าทำไมคนบางส่วนถึงสนับสนุนภาษีมรดก เนื่องจากคนกลุ่มนี้มองว่า
รายได้ที่มากขึ้นนั้นมาจาก "การรีดมูลค่าจากสังคม" อาจยกตัวอย่างเช่น
การกดค่าแรงพนักงาน การฮั้วราคาสินค้า การค้ากำไรเกินควร ....
ซึ่งเป็นความจริงแค่ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญของอีกส่วนซึ่งเป็นกระแสหลัก
ตั้งแต่การปฏิวัติเขียว การปฏิวัติอุตสาหกรรม การกำเนิดคอมพิวเตอร์ นาโนเทคโนโลยี ไบโอเทคโนโลยี etc.
อย่างการลงทุนวิจัยพัฒนา การคิดค้นนวัตกรรม การวางแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุน
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่ เป็นการเพิ่มcompetitive advantageให้บ.
เป็นการเิ่พิ่มvalue addedให้สินค้า ผู้ใช้ยอมจ่ายมากขึ้น ส่งผลให้เกิด"การทะลุทะลวงของกำไร"
ฉนั้นแนวคิด"การรีดมูลค่าจากสังคม"จึงเป็นแนวคิดที่แคบและไม่เป็นธรรมต่อผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆครับ
มีบทความที่น่าสนใจเรื่องภาษีมรดก
จากย่อหน้าที่สอง
"ไม่ผิด ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ได้แบกรับการพัฒนา ไม่ผิด ถ้ามูลค่านั้นมาจากส่วนเกินทางสังคม ไม่ผิด ถ้ารายได้ที่มากขึ้นนั้นมาจากหยาดเหงื่อแรงงานและการลงทุนที่ใช้ความสามารถ หากแต่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ ทรัพย์สินที่สั่งสมเพิ่มขึ้นจากการรีดมูลค่าจากคนสังคม สมควรแบ่งปันคืนสู่สังคม โดยให้รัฐจัดการในส่วนเสี้ยวหนึ่งเพื่อการพัฒนาสังคม สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และความสะดวกปลอดภัยของชีวิต.. แน่นอน รายได้ที่เพิ่มขึ้น ย่อมมาจากการกอบโกยจากสังคมส่วนหนึ่ง การคืนบางส่วนเพื่อไปพัฒนาแก้ไขปัญหาย่อมเป็นหน้าที่พลเมืองที่ดีมีคุณภาพของรัฐ และรัฐต้องเป็นรัฐที่ดีด้วยเช่นกัน ในการใช้ส่วนนั้นกลับไปพัฒนาสังคม ตลอดจนคุณภาพชีวิตและสวัสดิการที่ดีจากรัฐ"
เราจะเห็นแนวคิดว่าทำไมคนบางส่วนถึงสนับสนุนภาษีมรดก เนื่องจากคนกลุ่มนี้มองว่า
รายได้ที่มากขึ้นนั้นมาจาก "การรีดมูลค่าจากสังคม" อาจยกตัวอย่างเช่น
การกดค่าแรงพนักงาน การฮั้วราคาสินค้า การค้ากำไรเกินควร ....
ซึ่งเป็นความจริงแค่ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญของอีกส่วนซึ่งเป็นกระแสหลัก
ตั้งแต่การปฏิวัติเขียว การปฏิวัติอุตสาหกรรม การกำเนิดคอมพิวเตอร์ นาโนเทคโนโลยี ไบโอเทคโนโลยี etc.
อย่างการลงทุนวิจัยพัฒนา การคิดค้นนวัตกรรม การวางแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุน
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่ เป็นการเพิ่มcompetitive advantageให้บ.
เป็นการเิ่พิ่มvalue addedให้สินค้า ผู้ใช้ยอมจ่ายมากขึ้น ส่งผลให้เกิด"การทะลุทะลวงของกำไร"
ฉนั้นแนวคิด"การรีดมูลค่าจากสังคม"จึงเป็นแนวคิดที่แคบและไม่เป็นธรรมต่อผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆครับ
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 428
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 22
คนไทยที่รวยนั้น ส่วนมากไม่ได้มาจากความสามาถ แต่มาจากการวิ่งเต้น
ส่วนมากมาจาก อำนาจรัฐ เช่น สัมประทานจากรัฐ การผูกขาดจากรัฐ
เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ 3 5 7 9 11 TPBS วิทยุ ใบอนุญาติธนาคาร ทางด่วน โทรลเวย์
ขายพลังงานทดแทนให้การไฟฟ้าราคาแพงเว่อ โรงเหล้าสมัยก่อน
สัมประทานแก๊ส นำมัน แร่มีค่า ค้าขายกับรัฐ เช่น ขายยางมะตอย ขายคอรีน ให้โกดังรัฐเช่าเก็บข้าว
รับจ้างสีข้าวให้รัฐ ได้ BOI ให้รัฐออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจตน
เช่าที่เช่าพื้นที่ถูกๆจากรัฐ สัมประทานดิวตี้ฟรี สัมประทานสลากกินแบ่ง
หนังสือพิมพ์ที่เชียร์รัฐบาลก็จะได้โฆษณา ได้การจัดอีเว้น มีอีกเยอะ
ช่วงนี้ โรงสี บริษัทตรวจสอบข้าว ที่ทำมาหากินกับรัฐรวยเละ
พวกนี้มันยิ่งรวยก็ยิ่งงก มันก็คิดจะเก็บความร่ำรวยให้ลูกหลานมันเรื่อยๆ
ไม่คิดแม้แต่จะเสียภาษีมรดกเล็กๆน้อย
ภาษีมรดก เป็น จิีกซอตัวนึงในการลดคอรัปชั่น ของประเทศอันเป็นสุดที่รักของผม
ส่วนมากมาจาก อำนาจรัฐ เช่น สัมประทานจากรัฐ การผูกขาดจากรัฐ
เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ 3 5 7 9 11 TPBS วิทยุ ใบอนุญาติธนาคาร ทางด่วน โทรลเวย์
ขายพลังงานทดแทนให้การไฟฟ้าราคาแพงเว่อ โรงเหล้าสมัยก่อน
สัมประทานแก๊ส นำมัน แร่มีค่า ค้าขายกับรัฐ เช่น ขายยางมะตอย ขายคอรีน ให้โกดังรัฐเช่าเก็บข้าว
รับจ้างสีข้าวให้รัฐ ได้ BOI ให้รัฐออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจตน
เช่าที่เช่าพื้นที่ถูกๆจากรัฐ สัมประทานดิวตี้ฟรี สัมประทานสลากกินแบ่ง
หนังสือพิมพ์ที่เชียร์รัฐบาลก็จะได้โฆษณา ได้การจัดอีเว้น มีอีกเยอะ
ช่วงนี้ โรงสี บริษัทตรวจสอบข้าว ที่ทำมาหากินกับรัฐรวยเละ
พวกนี้มันยิ่งรวยก็ยิ่งงก มันก็คิดจะเก็บความร่ำรวยให้ลูกหลานมันเรื่อยๆ
ไม่คิดแม้แต่จะเสียภาษีมรดกเล็กๆน้อย
ภาษีมรดก เป็น จิีกซอตัวนึงในการลดคอรัปชั่น ของประเทศอันเป็นสุดที่รักของผม
- PGsoulmate
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 94
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 23
โดยส่วนตัวแล้วผมเข้าใจทั้งในมุมมองของ คุณanubist และ คุณcapenter เกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวกะภาษีมรดก
ส่วนตัวผมคิดว่าการใช้ภาษีมรดกในการลดการคอรัปชั่น ยังไม่ใช่การแก้ปัญหาทางตรงสักเท่าไหร่
เพราะ เท่าที่ดูก็ยังมีช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงหลายวิธีพอสมควร(ในกรณีที่ ผู้เสียภาษีตั้งใจจะเลี่ยงหรือเสียภาษีให้น้อยที่สุด) ถ้ามีการใช้นโยบายภาษีมรดกขึ้นมาจริงๆ เลยดูว่ามันไม่ค่อยยุติธรรมกับผู้ที่ตั้งใจทำมาหากินอย่างสุจริตธรรมเท่าไหร่คับ ถ้าจะเพื่อลดการคอรัปชั่นจริงๆ ควรจะมีการกำหนดนโยบายป้องกันการคอรัปชั่น อย่างเข้มงวดเหมือนกับในหลายๆ ประเทศไปเลยคงจะน่ายินดีกว่า
ส่วนตัวผมคิดว่าการใช้ภาษีมรดกในการลดการคอรัปชั่น ยังไม่ใช่การแก้ปัญหาทางตรงสักเท่าไหร่
เพราะ เท่าที่ดูก็ยังมีช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงหลายวิธีพอสมควร(ในกรณีที่ ผู้เสียภาษีตั้งใจจะเลี่ยงหรือเสียภาษีให้น้อยที่สุด) ถ้ามีการใช้นโยบายภาษีมรดกขึ้นมาจริงๆ เลยดูว่ามันไม่ค่อยยุติธรรมกับผู้ที่ตั้งใจทำมาหากินอย่างสุจริตธรรมเท่าไหร่คับ ถ้าจะเพื่อลดการคอรัปชั่นจริงๆ ควรจะมีการกำหนดนโยบายป้องกันการคอรัปชั่น อย่างเข้มงวดเหมือนกับในหลายๆ ประเทศไปเลยคงจะน่ายินดีกว่า
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 24
กระทู้นี้ เป็นเรื่องภาษีมรดก อย่าพยายามโยงเรื่องคอรัปชั่น หรือแหล่งที่มาของทรัพย์สินหรือเหตุของความรวยครับ ถ้าสงสัยให้แจ้ง ปปง ตรวจสอบครับ
เมื่อกี้พิมพ์มา 1 ชั่วโมงพอจะส่งข้อความ ข้อความดันหายหมด
ผมได้ตามไปอ่านที่คุณ anubist post ไว้ มันอยู่ในหมวดการเมืองนะครับ เห็นด้วยว่าเป็นแนวคิดส่วนตัวที่คับแคบมาก กล่าวเรื่องภาษีมรดกนิดหน่อย แต่โยงเรื่องนักการเมือง คอรัปชั่น สังคมที่ไม่เป็นธรรม และสร้างบรรทัดฐานเองว่าหากคนหมู่มากไม่ได้รับการพัฒนา เป็นเรื่องไม่ผิดถ้าจะรีดภาษีที่เกิดจากส่วนเกินทางสังคม
(แล้วอะไรล่ะคือส่วนเกินทางสังคม) แต่ไม่ได้เสนอแนวคิดการแก้ปัญหาใดๆเลย
ต้องกลับมาดูปัญหาข้างบนแล้วว่า เกิดจากสาเหตุใด เช่น จนโอกาสเข้าไม่ถึงทรัพยากร อย่างนี้ต้องเข้าไปช่วยเหลือเร่งด่วน แต่ถ้าจนความคิด เช่น ขี้เกียจ อิจฉาริษยา ชอบเบียดเบียน อยากได้ของคนอื่นฟรีๆ หรือข้องเกี่ยวกับอบายมุข ยาเสพติด ถ้าเป็นประเภทนี้คงต้องวางอุเบกขาเพียงอย่างเดียว
การแก้ไขปัญหาด้วยระบบภาษีต่างๆ ทุกประเภทเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ คือ อ้างความไม่เท่าเทียมกันในสังคม อ้างความเหลื่อมล้ำ ดึงทุกคนให้อยู่ในระดบเดียวกันมากที่สุด แต่เนื้อแท้แล้วต้องดูว่าคนที่เสียภาษีเยอะๆ นั้นว่าทำอะไร ถ้าหากคอรัปชั่นก็ให้แจ้งปปงครับ มิใช่ทำตัวเป็นศาลเตี้ยชี้ถูกผิดเอง แต่ถ้าทำมาหากินสุจริตต้องเข้าไปพิจารณาดูว่า คนเหล่านั้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวเองอย่างไร เป็นเรื่องน่าศึกษา มิใช่แค่สนใจว่าปีนี้คนนั้นคนโน้นเสียภาษีเท่าไร ต้องมากกว่าเดิมนะ หรือทำไมเสียน้อยกว่าปีกลาย หมกเม็ด ซ่อนอะไรหรือเปล่า และหากทุกคนให้มาเท่าเทียมกัน แล้วเก็บภาษีได้น้อยลง ส่วนที่ขาดหายไปจะกล้าเก็บพวกที่ได้รับยกเว้นหรือไม่เคยจ่ายไหม จะได้เท่าเทียมกันทั้งสังคม (ตัวอย่างเห็นได้ชัด คือ การเพิ่มอัตรา VAT ครับ)
ผมกังวลเองว่า คนที่โดนภาษีมรดกจะเป็นชนชั้นกลาง และชนชั้นแรงงานตามหัวเมืองใหญ่ๆ มากกว่า เพราะคนที่มั่งมีจริงๆ คงมีวิธีเลี่ยงได้ บุคคลธรรมดาทั่วประเทศต้องจ่ายทั้งหมด แค่คิดเรื่องรถยนต์ รถรับจ้าง มอเตอร์ไซค์ ปศุสัตว์ สังหาริมทรัพย์พิเศษ และอสังหาริมทรัพย์ เป็นฐานภาษีที่ใหญ่และเม็ดเงินเป็นจำนวนมาก พร้อมกับความโกลาหลในสังคมหากมีการประกาศใช้
อย่าลืมความเป็นนิติรัฐ หลัก 6 ประการนะครับ ภาษีมรดกมิใช่ภาษีรายได้ คนในสังคมไม่ว่าจะจนจะรวยทุกคนย่อมมีทรัพย์สินมรดก ซึ่งต้องเสียเหมือนกันหมด จะยกเหตุเสน่หา ความจนมาอ้างนั้นเพื่อไม่เสียนั้นคงไม่ได้ ทุกคนต้องเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขครับตามหลักภราดรภาพครับ ถึงผมไม่เห็นด้วย แต่ก็ยอมรับครับ
เมื่อกี้พิมพ์มา 1 ชั่วโมงพอจะส่งข้อความ ข้อความดันหายหมด
ผมได้ตามไปอ่านที่คุณ anubist post ไว้ มันอยู่ในหมวดการเมืองนะครับ เห็นด้วยว่าเป็นแนวคิดส่วนตัวที่คับแคบมาก กล่าวเรื่องภาษีมรดกนิดหน่อย แต่โยงเรื่องนักการเมือง คอรัปชั่น สังคมที่ไม่เป็นธรรม และสร้างบรรทัดฐานเองว่าหากคนหมู่มากไม่ได้รับการพัฒนา เป็นเรื่องไม่ผิดถ้าจะรีดภาษีที่เกิดจากส่วนเกินทางสังคม
(แล้วอะไรล่ะคือส่วนเกินทางสังคม) แต่ไม่ได้เสนอแนวคิดการแก้ปัญหาใดๆเลย
ต้องกลับมาดูปัญหาข้างบนแล้วว่า เกิดจากสาเหตุใด เช่น จนโอกาสเข้าไม่ถึงทรัพยากร อย่างนี้ต้องเข้าไปช่วยเหลือเร่งด่วน แต่ถ้าจนความคิด เช่น ขี้เกียจ อิจฉาริษยา ชอบเบียดเบียน อยากได้ของคนอื่นฟรีๆ หรือข้องเกี่ยวกับอบายมุข ยาเสพติด ถ้าเป็นประเภทนี้คงต้องวางอุเบกขาเพียงอย่างเดียว
การแก้ไขปัญหาด้วยระบบภาษีต่างๆ ทุกประเภทเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ คือ อ้างความไม่เท่าเทียมกันในสังคม อ้างความเหลื่อมล้ำ ดึงทุกคนให้อยู่ในระดบเดียวกันมากที่สุด แต่เนื้อแท้แล้วต้องดูว่าคนที่เสียภาษีเยอะๆ นั้นว่าทำอะไร ถ้าหากคอรัปชั่นก็ให้แจ้งปปงครับ มิใช่ทำตัวเป็นศาลเตี้ยชี้ถูกผิดเอง แต่ถ้าทำมาหากินสุจริตต้องเข้าไปพิจารณาดูว่า คนเหล่านั้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวเองอย่างไร เป็นเรื่องน่าศึกษา มิใช่แค่สนใจว่าปีนี้คนนั้นคนโน้นเสียภาษีเท่าไร ต้องมากกว่าเดิมนะ หรือทำไมเสียน้อยกว่าปีกลาย หมกเม็ด ซ่อนอะไรหรือเปล่า และหากทุกคนให้มาเท่าเทียมกัน แล้วเก็บภาษีได้น้อยลง ส่วนที่ขาดหายไปจะกล้าเก็บพวกที่ได้รับยกเว้นหรือไม่เคยจ่ายไหม จะได้เท่าเทียมกันทั้งสังคม (ตัวอย่างเห็นได้ชัด คือ การเพิ่มอัตรา VAT ครับ)
ผมกังวลเองว่า คนที่โดนภาษีมรดกจะเป็นชนชั้นกลาง และชนชั้นแรงงานตามหัวเมืองใหญ่ๆ มากกว่า เพราะคนที่มั่งมีจริงๆ คงมีวิธีเลี่ยงได้ บุคคลธรรมดาทั่วประเทศต้องจ่ายทั้งหมด แค่คิดเรื่องรถยนต์ รถรับจ้าง มอเตอร์ไซค์ ปศุสัตว์ สังหาริมทรัพย์พิเศษ และอสังหาริมทรัพย์ เป็นฐานภาษีที่ใหญ่และเม็ดเงินเป็นจำนวนมาก พร้อมกับความโกลาหลในสังคมหากมีการประกาศใช้
อย่าลืมความเป็นนิติรัฐ หลัก 6 ประการนะครับ ภาษีมรดกมิใช่ภาษีรายได้ คนในสังคมไม่ว่าจะจนจะรวยทุกคนย่อมมีทรัพย์สินมรดก ซึ่งต้องเสียเหมือนกันหมด จะยกเหตุเสน่หา ความจนมาอ้างนั้นเพื่อไม่เสียนั้นคงไม่ได้ ทุกคนต้องเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขครับตามหลักภราดรภาพครับ ถึงผมไม่เห็นด้วย แต่ก็ยอมรับครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
-
- Verified User
- โพสต์: 428
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 25
ก็เห็นโพสต์ ในทำนองว่า ร่ำรวยมาจาก ความขยัน ประหยัด วิจัยพัฒนา ร่ำเรียนศึกษาอบรม
ผมก็โพสต์ให้เห็นว่า คนในประเทศนี้ร่ำรวยมาจากอำนาจ ผลประโยชน์ของรัฐ การร่วมมือทำมาหากินกับรัฐ
โดยเฉพาะ บริษัทรับเหมารับงานจากรัฐ
ความเห็นผม ถูกต้องแล้ว ความเห็นของคุณ เป็นความเห็นประเภท ไม่รับความจริงในประเทศนี้
ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ว่าคน จนๆ และชนชั้นกลางระดับล่างจะลำบากจากภาษีมรดก
เพราะตอนนี้ และตอนไหนๆ คน 70%-80% ไม่มีมรดก มีก็เล็กน้อย
ซึ่งรายละเอียดในการเสียภาษี สามารถไม่เก็บได้ โดยการกำหนด ว่าภาษีแค่ไหนขึ้นไปจึงเสีย
ผมว่า คุณPekko ดูเหมือนรู้มากแต่เรื่องง่าย ในการเก็บภาษีกับทำเป็นงง
การไม่มีภาษีมรดก เป็นการสนับสนุนให้ ลูกหลานของคำร่ำรวยสนับสนุนให้
พ่อแม่ปูย่าตายาย เร่งหาเงินให้มากที่สุด ด้วยวิธีไหนก็ได้ เพราะตนจะได้รับเต็มๆ
แทนทีจะบอกให้ พ่อแม่ปู่ย่าตายาย หยุดกอบโกยได้แล้ว
คุณ Pekko anubist ลองไปศึกษาทัศนะคติ ของวอเรนบัฟเฟต ว่าเค้าคิดอย่างไรเกี่ยวกับภาษี
นั่นแหละ คนรวยที่แท้จริง คนรวยที่สนับสนุนให้รัฐเก็บภาษีคนรวยเยอะๆ
ผมก็โพสต์ให้เห็นว่า คนในประเทศนี้ร่ำรวยมาจากอำนาจ ผลประโยชน์ของรัฐ การร่วมมือทำมาหากินกับรัฐ
โดยเฉพาะ บริษัทรับเหมารับงานจากรัฐ
ความเห็นผม ถูกต้องแล้ว ความเห็นของคุณ เป็นความเห็นประเภท ไม่รับความจริงในประเทศนี้
ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ว่าคน จนๆ และชนชั้นกลางระดับล่างจะลำบากจากภาษีมรดก
เพราะตอนนี้ และตอนไหนๆ คน 70%-80% ไม่มีมรดก มีก็เล็กน้อย
ซึ่งรายละเอียดในการเสียภาษี สามารถไม่เก็บได้ โดยการกำหนด ว่าภาษีแค่ไหนขึ้นไปจึงเสีย
ผมว่า คุณPekko ดูเหมือนรู้มากแต่เรื่องง่าย ในการเก็บภาษีกับทำเป็นงง
การไม่มีภาษีมรดก เป็นการสนับสนุนให้ ลูกหลานของคำร่ำรวยสนับสนุนให้
พ่อแม่ปูย่าตายาย เร่งหาเงินให้มากที่สุด ด้วยวิธีไหนก็ได้ เพราะตนจะได้รับเต็มๆ
แทนทีจะบอกให้ พ่อแม่ปู่ย่าตายาย หยุดกอบโกยได้แล้ว
คุณ Pekko anubist ลองไปศึกษาทัศนะคติ ของวอเรนบัฟเฟต ว่าเค้าคิดอย่างไรเกี่ยวกับภาษี
นั่นแหละ คนรวยที่แท้จริง คนรวยที่สนับสนุนให้รัฐเก็บภาษีคนรวยเยอะๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 26
ผมไม่ได้บอกว่าตัวเองร่ำรวย มรดกของพ่อก็แค่บ้านเล็กๆ 1 หลังพร้อมกับส่งให้เรียนก็เท่านั้น ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่าประเทศไทยยังมีผู้มีฐานะดี ที่ประกอบสัมมาขีพอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ปริมาณทรัพย์สินอาจจะเทียบคนรวยๆเพียงไม่กี่ตระกูลไม่ได้ และผมก็เชื่อว่าหลายๆครอบครัวที่ฐานะปานกลาง มีความสุขมากกว่าตระกูลดังดังหลายตะกูลเสียอีก
ส่วนความคิดใดของใครถูกผิดนั้น คงไม่สามารถบอกได้แน่ชัด ผมมิได้บอกว่าความคิดความเห็นของผมถูก ของคนอื่นผิด เพียงแต่มาแชร์มุมมองแลกเปลี่ยนกัน และผมพยายามหลีกเลี่ยงการวิจารณ์กล่าวหาให้ผู้อื่นเสียหายโดยไร้หลักฐานครับ ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าผมไม่ยอมรับว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นจริง แต่การที่โยงมาเรื่องภาษีมรดก ผมคิดว่าไม่เกี่ยวกันครับ
สวนเรื่องภาษี ถึงผมทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ ก็ยอมรับว่ารู้ไม่หมด และไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมด รู้เพียงใช้งานเอาตัวรอดให้ลึกให้ถุกต้องก็เพียงพอแล้ว ส่วนที่ยังไม่รู้ไม่ได้ใช้งาน ตามไปศึกษาต่อได้
สำหรับการกอบโกย มันเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล ถ้าไม่ได้ทำให้สังคมตกต่ำ หรือใครเดือดร้อนผมก็ไม่มีสิทธิ์ต่อว่าครับ
สำหรับผม ผมนับถือพี่ IH ครับ (แต่ยังมีพี่รุ่นเก่าๆในเว็บนี้อีกหลายคนนะครับ) เพราะพี่เขาเป็นคนไทยให้ข้อคิดการทำงานที่เฉียบคม นอกเหนือจากการลงทุน พี่ IH สอนว่า ถึงมีอันจะกิน แต่ถ้าอายุน้อยมีแรงทำงานก็ทำเถิด เพราะประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าได้ ก็มาจากพลังทำงานของคนทุกคน ทุกวันนี้พี่เขาก็ทำงานอยู่ ส่วนคุณปู่บัฟเฟต์ ณ ประเทศอเมริกา เฉพาะเรื่องนี้ผมไม่สนใจครับ เพราะคุณปู่บัฟเฟต์ไม่ได้จ่ายภาษีทางตรงหรือบริจาคให้ประเทศไทย และก็ไม่เห็นว่าจะหยุดรวย(กอบโกย)จากการทำมาหากินของเขาเองเมื่อไรเหมือนกันครับ
ส่วนความคิดใดของใครถูกผิดนั้น คงไม่สามารถบอกได้แน่ชัด ผมมิได้บอกว่าความคิดความเห็นของผมถูก ของคนอื่นผิด เพียงแต่มาแชร์มุมมองแลกเปลี่ยนกัน และผมพยายามหลีกเลี่ยงการวิจารณ์กล่าวหาให้ผู้อื่นเสียหายโดยไร้หลักฐานครับ ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าผมไม่ยอมรับว่ามีการทุจริตคอรัปชั่นจริง แต่การที่โยงมาเรื่องภาษีมรดก ผมคิดว่าไม่เกี่ยวกันครับ
สวนเรื่องภาษี ถึงผมทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ ก็ยอมรับว่ารู้ไม่หมด และไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมด รู้เพียงใช้งานเอาตัวรอดให้ลึกให้ถุกต้องก็เพียงพอแล้ว ส่วนที่ยังไม่รู้ไม่ได้ใช้งาน ตามไปศึกษาต่อได้
สำหรับการกอบโกย มันเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล ถ้าไม่ได้ทำให้สังคมตกต่ำ หรือใครเดือดร้อนผมก็ไม่มีสิทธิ์ต่อว่าครับ
สำหรับผม ผมนับถือพี่ IH ครับ (แต่ยังมีพี่รุ่นเก่าๆในเว็บนี้อีกหลายคนนะครับ) เพราะพี่เขาเป็นคนไทยให้ข้อคิดการทำงานที่เฉียบคม นอกเหนือจากการลงทุน พี่ IH สอนว่า ถึงมีอันจะกิน แต่ถ้าอายุน้อยมีแรงทำงานก็ทำเถิด เพราะประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าได้ ก็มาจากพลังทำงานของคนทุกคน ทุกวันนี้พี่เขาก็ทำงานอยู่ ส่วนคุณปู่บัฟเฟต์ ณ ประเทศอเมริกา เฉพาะเรื่องนี้ผมไม่สนใจครับ เพราะคุณปู่บัฟเฟต์ไม่ได้จ่ายภาษีทางตรงหรือบริจาคให้ประเทศไทย และก็ไม่เห็นว่าจะหยุดรวย(กอบโกย)จากการทำมาหากินของเขาเองเมื่อไรเหมือนกันครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 27
ผมไม่ทราบว่าบทความที่ยกมาอยู่หมวดการเมือง
เพราะอ่านแต่บทความนี้ ไม่ได้อ่านทั้งบล๊อค
และไม่เห็นว่าบทความนี้พูดเรื่องการเมือง คอรัปชั่นตรงไหน
แม้ว่าจะพูดเรื่องภาษีที่ดินมากหน่อย แต่คิดว่าส่วนของภาษีมรดกสามารถนำมาศึกษาได้ครับ
เรื่องที่มาของทรัพย์สิน เราต้องมองคนส่วนใหญ่ที่มีรายได้สุจริตก่อนสิครับ
คนเหล่านี้ทำอะไรผิดถึงโดนลงโทษเหมือนคนที่ทำทุจริต ผิดกฏหมาย
การแก้เรื่องทุจริต ผิดกฏหมายต้องแก้ที่ต้นเหตุ ไม่ใช่เอาภาษีมรดกมาแก้ที่ปลายเหตุ
ส่วนทัศนะคติของปู่บัฟเรื่องภาษีนั้น เป็นเรื่องภาษีรายได้
ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับภาษีมรดกเลย ฉนั้นขอไม่พูดแล้วกันครับ
ส่วนการบริจาคก็เป็นเรื่องส่วนตัวของปู่ ซึ่งอาจต้องการredemtionตัวเองก็ได้
เพราะอ่านแต่บทความนี้ ไม่ได้อ่านทั้งบล๊อค
และไม่เห็นว่าบทความนี้พูดเรื่องการเมือง คอรัปชั่นตรงไหน
แม้ว่าจะพูดเรื่องภาษีที่ดินมากหน่อย แต่คิดว่าส่วนของภาษีมรดกสามารถนำมาศึกษาได้ครับ
เรื่องที่มาของทรัพย์สิน เราต้องมองคนส่วนใหญ่ที่มีรายได้สุจริตก่อนสิครับ
คนเหล่านี้ทำอะไรผิดถึงโดนลงโทษเหมือนคนที่ทำทุจริต ผิดกฏหมาย
การแก้เรื่องทุจริต ผิดกฏหมายต้องแก้ที่ต้นเหตุ ไม่ใช่เอาภาษีมรดกมาแก้ที่ปลายเหตุ
ส่วนทัศนะคติของปู่บัฟเรื่องภาษีนั้น เป็นเรื่องภาษีรายได้
ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับภาษีมรดกเลย ฉนั้นขอไม่พูดแล้วกันครับ
ส่วนการบริจาคก็เป็นเรื่องส่วนตัวของปู่ ซึ่งอาจต้องการredemtionตัวเองก็ได้
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 17
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ภาษีกาฝาก แบ่งกันกิน
โพสต์ที่ 29
อยากเสริมด้วยคนครับ ด้วยเรื่องบาป 7 ประการของมหาตมะ คานธี
มหาตมะ คานธี เขียนบาป 7 ประการไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติของท่านเรื่อง ข้าพเจ้าทดลองความจริง (The Story of My Experiments with Truth) ซึ่งอาจารย์กรุณา - เรืองอุไร กุศลาสัย ได้ถอดความไว้อย่างงดงาม ดังนี้
1. เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ
2. หาความสุขสำราญโดยไม่ยั้งคิด
3. ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน
4. มีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี
5. ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลธรรม
6. วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์
7. บูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ
เกี่ยวกับภาษีมรดก อย่างไร?
สมมุติว่าผมเป็นเซียนหุ้น เล่นหุ้นอย่างสุจริต มีพอร์ตอยู่ 1,000 ล้านบาท (ฝันจริงๆ เลยตู ) ปันผล 3% ตกปีละ 30 ล้านกว่าบาท ผมแบ่งมาใช้สักเดือนละ 500,000 ก็ตกปีละ 6 ล้าน ใช้ยังไงตังค์ก็ไม่หมด เงินเฟ้อคืออะไร ไม่รู้จัก
ถ้าลูกเรารู้ว่าพ่อรวยขนาดนี้ จะอบรมสั่งสอนลูกอย่างไร ให้ขยัน ประหยัด มัธยัธย์ ตั้งใจใฝ่เรียนรู้ ฯลฯ มันไม่สนหรอก มันรู้ว่าบ้านเรารวย ไม่ต้องทำอะไร ถ้าพ่อแม่เป็นอะไรไป มันก็มีกินมีใช้ไปตลอดชีพ กลายเป็นบาปข้อ 3 ไปแล้ว ความเสื่อมของลูกหลานและวงศ์ตระกูลจะเริ่มเกิดขึ้น
ถ้ามีการเก็บภาษีมรดก พอผมตายไป สมมุติรัฐหักไป 60% เลย เหลือให้ลูกแค่ 400 ล้านกว่าบาท ลูกจะได้ปันผลปีละ 12 ล้านบาท ให้ใช้จ่ายเดือนละ หนึ่งล้านบาทเลย ถ้าลูกประหยัดใช้เท่าพ่อ เดือนละ 500,000 ก็ยังเหลือตังค์ทุกปีนะ ชาตินี้ก็ยังไม่ต้องทำงานอยู่ดี
มหาตมะ คานธี เขียนบาป 7 ประการไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติของท่านเรื่อง ข้าพเจ้าทดลองความจริง (The Story of My Experiments with Truth) ซึ่งอาจารย์กรุณา - เรืองอุไร กุศลาสัย ได้ถอดความไว้อย่างงดงาม ดังนี้
1. เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ
2. หาความสุขสำราญโดยไม่ยั้งคิด
3. ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน
4. มีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี
5. ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลธรรม
6. วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์
7. บูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ
เกี่ยวกับภาษีมรดก อย่างไร?
สมมุติว่าผมเป็นเซียนหุ้น เล่นหุ้นอย่างสุจริต มีพอร์ตอยู่ 1,000 ล้านบาท (ฝันจริงๆ เลยตู ) ปันผล 3% ตกปีละ 30 ล้านกว่าบาท ผมแบ่งมาใช้สักเดือนละ 500,000 ก็ตกปีละ 6 ล้าน ใช้ยังไงตังค์ก็ไม่หมด เงินเฟ้อคืออะไร ไม่รู้จัก
ถ้าลูกเรารู้ว่าพ่อรวยขนาดนี้ จะอบรมสั่งสอนลูกอย่างไร ให้ขยัน ประหยัด มัธยัธย์ ตั้งใจใฝ่เรียนรู้ ฯลฯ มันไม่สนหรอก มันรู้ว่าบ้านเรารวย ไม่ต้องทำอะไร ถ้าพ่อแม่เป็นอะไรไป มันก็มีกินมีใช้ไปตลอดชีพ กลายเป็นบาปข้อ 3 ไปแล้ว ความเสื่อมของลูกหลานและวงศ์ตระกูลจะเริ่มเกิดขึ้น
ถ้ามีการเก็บภาษีมรดก พอผมตายไป สมมุติรัฐหักไป 60% เลย เหลือให้ลูกแค่ 400 ล้านกว่าบาท ลูกจะได้ปันผลปีละ 12 ล้านบาท ให้ใช้จ่ายเดือนละ หนึ่งล้านบาทเลย ถ้าลูกประหยัดใช้เท่าพ่อ เดือนละ 500,000 ก็ยังเหลือตังค์ทุกปีนะ ชาตินี้ก็ยังไม่ต้องทำงานอยู่ดี