เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 241

โพสต์

บันทึก
คัมภีร์ที่กล่าวถึง
พระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้า

http://www.84000.org/one/1/18.html
ชีวิตในบั้นปลาย
ในคัมภีร์พระสาวกนิพพานกล่าว่า พระมหากัสสปะเถระ เมื่อทำหน้าที่เป็นประธานใน
การทำปฐมสังคายนาแล้ว ได้พักอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ดำรงอยู่ถึง ๑๒๐ ปี
ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ๑ วัน ท่านได้ตรวจดูอายุสังขารของท่านแล้วทราบว่าจะอยู่ได้อีกเพียงวัน
เดียวเท่านั้น ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่านแล้วให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย สั่งสอน
ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนมิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามทำความเพียรและอย่าประมาท
แล้วพระเถระก็เข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรู จากนั้นท่านได้พาหมู่ภิกษุไปยัง
ภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต แสดงอิทธิปาฏิหาริยิ์ และให้โอวาทแก่พุทธบริษัทแล้ว อธิษฐานจิต
ขอให้ภูเขาทั้ง ๓ ลูกมารวมเป็นลูกเดียวกัน ซึ่งในภูขาทั้ง ๓ ลูกนั้นมีภูเขาเวภารบรรพตสถานที่ทำ
ปฐมสังคายนารวมอยู่ด้วย แล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ณ ที่นั้น
ท่านยังอธิษฐาน ขอให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกระทั่งพระศาสนา
พระศรีอริยเมตไตร ซึ่งพระองค์จะพาหมู่ภิกษุสงฆ์มายังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตแล้ว ยกสรีระ
ของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวาชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิด
ขึ้นเผาสรีระของท่านบนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้านั้น


..
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 242

โพสต์

ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระพุทธองค์
ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็
คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง”
ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้
ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้
เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป
สาระสำคัญของปฐมสังคายนา
http://www.84000.org/one/1/18.html


...
ขอข้าพเจ้าพึงเกิดเป็นมนุษย์
แล้วไซร์ พึงเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ
เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
....

:8)
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 243

โพสต์

แก้ สะกด
สัมมาทิฏฐิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 244

โพสต์

imerlot เขียน:เป็นมนุษย์นี้แสนยาก
เป็นธรรมะที่ลึกซึ้งมากครับ เกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก ทำให้นึกถึงพระธรรมเทศนา
ของหลวงปู่มั่น ที่ท่านกล่าวว่า

"ตัวของเรานี้แล อันได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นชาติสูงสุด เป็นผู้เลิศตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศ...
ฉะนั้นจึงไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจว่า ตนมีบุญวาสนาน้อย เพราะมนุษย์ทำได้ เมื่อไม่มี ทำให้มีได้ เมื่อมีแล้วทำให้ยิ่งได้."


ยิ่งมีโอกาสได้เกิดในบวรพระพุทธศาสนา ยิ่งต้องเร่งสะสมความเพียร
สะสมจากเล็กน้อย จนกลายเป็นมากมายมหาศาล

แย่หน่อย ก็ยังได้เกิดมาเป็นมนุษย์สะสมความดีต่อ ดีขึ้นไปหน่อยก็ได้เป็นเทวดา พรหม
สุดท้ายก็ไม่ต้องกลับมาวนเวียนถือกำเนิดเกิดขึ้นมาอีก

ปัจจุบันนั้นดีที่สุด อดีตผ่านไปแล้วทำอะไรไม่ได้อีก ส่วนอนาคตก็ยังมาไม่ถึง
จึงสมดังคำว่า ทำวันนี้ให้ดีที่สุดครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 245

โพสต์

คำถามอยากถามว่า ถ้าเกิดภัยธรรมชาติร้ายแรงในประเทศไทย และสุดท้ายชีวิตของคุณจะต้องดับสูญในวันที่เกิดภัยธรรมชาตินั้น

ในฐานะที่เป็นนักลงทุนแนววีไอจะทำอย่างไร แล้วเส้นทางธรรมที่ศึกษามานั้นจะใช้บทไหนที่จะรับมือกับการเดินทางจากโลก
นี้ไปครับ

ขอเจริญธรรมและอนุโมทนาความเห็นดีๆ ที่แบ่งปันครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 246

โพสต์

koko8889 เขียน:คำถามอยากถามว่า ถ้าเกิดภัยธรรมชาติร้ายแรงในประเทศไทย และสุดท้ายชีวิตของคุณจะต้องดับสูญในวันที่เกิดภัยธรรมชาตินั้น

ในฐานะที่เป็นนักลงทุนแนววีไอจะทำอย่างไร แล้วเส้นทางธรรมที่ศึกษามานั้นจะใช้บทไหนที่จะรับมือกับการเดินทางจากโลก
นี้ไปครับ

ขอเจริญธรรมและอนุโมทนาความเห็นดีๆ ที่แบ่งปันครับ
สติปัฎฐาน 4 ครับ กำหนดรู้ดูทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น ดูความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น จนถึงขณะจิตสุดท้ายที่กำลังขาดจากชาติภพนี้ครับ

มีหลายเคสที่เกิดขึ้นในการดูเวทนา ขณะที่กำลังจะตายจากโรค สภาพธรรมชาติ หรือโดนสัตว์ทำร้าย ตามปกติการตายจากความเจ็บปวด จิตมักจะตกลงไปสู่อกุศลได้ง่ายมาก และทำให้หลงทำกาละได้ง่าย ดังนั้นการเจริญสติ ยกจิตออกจากอกุศลจึงเป็นคำตอบสุดท้ายของสิ่งที่ควรกระทำ ขณะดับจากชาติภพนี้ครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 247

โพสต์

koko8889 เขียน:คำถามอยากถามว่า ถ้าเกิดภัยธรรมชาติร้ายแรงในประเทศไทย และสุดท้ายชีวิตของคุณจะต้องดับสูญในวันที่เกิดภัยธรรมชาตินั้น

ในฐานะที่เป็นนักลงทุนแนววีไอจะทำอย่างไร แล้วเส้นทางธรรมที่ศึกษามานั้นจะใช้บทไหนที่จะรับมือกับการเดินทางจากโลก
นี้ไปครับ

ขอเจริญธรรมและอนุโมทนาความเห็นดีๆ ที่แบ่งปันครับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เอาจิตอยู่กับอานาปานสติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกายคตาสติครับ
คืออยู่กับลมหายใจ ไปจนสุดปลายทางของชีวิต

เพราะอะไร? เมื่อเราเอาจิตอยู่กับลมหายใจ ส่วนของวิญญาณขันธ์ (จิต, ผู้รู้) จะตั้งอยู่กับรูป (ลมหายใจ)
เมื่อวิญญาณขันธ์จับอยู่กับลมหายใจ จะไม่รับรู้ขันธ์ที่เหลือ คือ เวทนา สัญญา สังขาร

เมื่อรูปแตกดับ (ร่างกายแตกดับ) วิญญาณขันธ์จะไม่มีที่จับให้เกิดภพอีก คือไม่มีความเกิดอีก
เมื่อไม่มีความเกิด จิตจึงหลุดพ้น ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้


ชีวิตนั้นประกอบด้วยขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

วิญญาณ (จิต, ตัวที่รับรู้) ปกติทำหน้าที่จับกับขันธ์ที่เหลือ คือ รูปนาม
ซึ่งต้องพึ่งพิงอาศัยกัน เพราะมี วิญญาณ จึงมี รูปนาม เพราะมี รูปนาม จึง มีวิญญาณ

จิตนั้นเมื่อรับรู้อารมณ์ แล้วเพลินไปกับอารมณ์นั้น จะเกิดภพ (สถานที่เกิด) เมื่อยังเพลินไปกับ
อารมณ์นั้น จะเกิดชาติ (การเกิด) เมื่อมีชาติเป็นปัจจัย ชรา - มรณะ ก็มีตามมาด้วย

การเพลินไปกับอารมณ์ คือ เพลิน พอใจ ในขันธ์ห้านั่นเอง เช่น จิต (วิญญาณขันธ์) ไปจับกับ สังขารขันธ์
เกิดความคิดปรุงแต่งนั่นนี่ นั่นคือ เกิดภพแล้ว หรือ จิต ไปจับกับ สัญญาขันธ์ จำได้ถึงอดีต นั่นคือ เกิดภพแล้วอีกเหมือนกัน
หรือ จิต ไปจับกับเวทนา เกิดความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ นั่นคือเกิดภพแล้วเช่นกัน หรือ จิต ไปจับกับรูป เกิดความรับรู้ว่านี้ๆคือรูป
ก็คือเกิดภพแล้วอีกเหมือนกัน เมื่อเกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ กองทุกข์ทั้งหลายจึงเกิดขึ้น

(เพิ่มเติมว่า ที่พระพุทธเจ้าท่านให้ เจริญ กายคตาสติ หรือ อานาปนาสติ หรือ สติปัฏฐานสี่ นั้นก็เพื่อให้มี หลักในการมองเห็นการเกิด-ดับ
หรือการทำงานของขันธ์ที่เหลือว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง โดยท่านเน้นให้อยู่กับ กาย หรือ ลมหายใจ ก่อน
เพราะจะเห็นได้ง่ายกว่าว่า รูปไม่เที่ยง เช่น เป็นเด็กแล้วโตเป็นผู้ใหญ่ สุดท้ายก็แก่ชราไป และเพราะว่า รูปนั้น แตกดับไปช้า
จึงเหมาะเป็นที่ตั้งอาศัยของจิตไปก่อน (สมถะ) ทำให้จิตสงบ เพื่อที่จะใช้ในการเห็นการเกิด-ดับ การมา-ไป ของสิ่งต่างๆได้ชัดเจน (วิปัสสนา)
การตั้งจิตไว้ที่กายจึงเหมาะสำหรับใช้เป็นหลัก แล้วพิจารณาขันธ์ที่เหลือ เพราะในเรื่องของนามนั้นเกิดขึ้นและดับไปเร็วมากกว่ารูปนั่นเอง
ส่วนลมหายใจนั้น มีอยู่กับเราอยู่ตลอดเวลา เป็นเนื่องในกายอย่างนึง ทำให้สะดวกไม่ลำบากในการระลึกถึง)


เมื่อบุคคลคิดถึงสิ่งใดอยู่(เจตนา) ดำริถึงสิ่งใดอยู่ และมีใจฝังลงไปในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่ของวิญญาณ เมื่อวิญญาณตั้งขึ้นเฉพาะแล้ว การก้าวลงสู่ภพย่อมมี



พระศาสดาทรงอุปมาไว้ว่า

เมล็ดพืช เปรียบเหมือน วิญญาณ
ผืนนา เปรียบเหมือน ภพ
น้ำเปรียบเหมือน นันทิและราคะ
เมื่อเมล็ดพืชตกลงไปบนผืนนา
เปรียบเหมือน วิญญาณเข้าไปตั้งอาศัยในภพ
เมล็ดพืชย่อมถึงความเจริญงอกงามได้ด้วยน้ำ
เปรียบเหมือน วิญญาณเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ด้วย ความกำหนัดและความเพลิน

ส่วนอีกอุปมาหนึ่ง เมล็ดพืช เปรียบเหมือนวิญญาณ
เนื้อนาเปรียบเหมือน กรรม
ยางในเมล็ดพืชเปรียบเหมือน ตัณหา
เมล็ดพืชตกลงไปบนเนื้อนา
เปรียบได้กับ วิญญาณตั้งอาศัยอยู่ในกรรม
เมล็ดพืชถึงความเจริญงามไพบูลย์ได้ด้วยยางในเมล็ดพืช
เปรียบเหมือนกับ ตัณหาเป็นเชื้อแห่งการเกิดขึ้น(ใหม่) ชื่อว่าความมีภพเกิดขึ้น
ดังนั้น กรรม อันเป็นที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ ก็คือ ภพ อันเป็นที่ที่วิญญาณตั้งอาศัยอยู่ได้ (กรรม = ภพ)

เช่น ตาไปเห็นรูป วิญญาณทางตาเข้าไปเกลือกกลั้วอยู่ในรูป อันเป็นวิสัยที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยตาแล้ว กล่าวว่า
วิญญาณอาศัยรูปตั้งอยู่ รูปคือภพของวิญญาณ และ การเกิดขึ้นใหม่ของภพ ชื่อว่ากรรม(ใหม่)ได้เกิดขึ้น


กรรม นั้นแบ่งได้เป็น

กรรมเก่า อันได้แก่ ตา หุ จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เป็นกรรมเก่า
เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งได้ เป็นสิ่งที่มีปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้

กรรมใหม่ อันได้แก่ ผัสสะ เป็นเหตุเกิดของกรรมใหม่
การประจวบพร้อมด้วยองค์ 3 นี้เรียกว่า ผัสสะ เช่น
ตา ไป เห็น รูป หากจักขุวิญญาณ(เข้าไปตั้งอาศัย) เข้าไปเกลือกกลั้วอยู่ในรูป
อันเป็นวิสัยที่จะรู้ได้ด้วยตาแล้ว ผัสสะทางตาย่อมถึงการเกิดขึ้น ฯลฯ


ปฏิปทาเพื่อบรรลุมรรคผลของคนเจ็บไข้

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้า ธรรม ๕ ประการ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพคนใด

ข้อนี้เป็นสิ่งที่เข้าผู้นั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ต่อกาลไม่นานเทียว.


ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ : -

เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่
(อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ)

เป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่
(อาหาเร ปฏิกฺกูลสญฺญี)

เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่
(สพฺพโลเก อนภิรตสญฺญี)

เป็นผู้มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง อยู่
(สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี)

มรณสัญญาอันเขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่
(มรณสญฺญา โข ปนสฺส อชฺฌตฺตํ สูปฏฺฐิตา โหติ)


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพคนใด
ข้อนี้เป็นสิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้ คือเขาจักกระทำให้แจ้งได้ ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ต่อกาลไม่นานเทียว

(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๒๘/๑๒๑
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 248

โพสต์

koko8889 เขียน:คำถามอยากถามว่า ถ้าเกิดภัยธรรมชาติร้ายแรงในประเทศไทย และสุดท้ายชีวิตของคุณจะต้องดับสูญในวันที่เกิดภัยธรรมชาตินั้น

ในฐานะที่เป็นนักลงทุนแนววีไอจะทำอย่างไร แล้วเส้นทางธรรมที่ศึกษามานั้นจะใช้บทไหนที่จะรับมือกับการเดินทางจากโลก
นี้ไปครับ

ขอเจริญธรรมและอนุโมทนาความเห็นดีๆ ที่แบ่งปันครับ
มรณานุสติครับ เพราะความตายนั้นเป็นของเที่ยง
ไม่มีใครในโลกที่บ้านไหน ไม่มีคนไม่เคยตายเลย

จะยากดีมีจน มียศถาบรรดาศักดิ์ขนาดไหน ก็ตายเหมือนกันครับ
แม้แต่พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นถึงกษัตริย์ ก็ยังมิอาจหลีกหนี จากความตายไปได้เลยเช่นกันครับ

ถ้าทุกวันเรามีสุข ไม่ยึดติด
จวบจนถึงวันตาย เราก็ไม่ยึดติดเช่นกันครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 249

โพสต์

ผมคิดว่าอย่าไปรอชาติหน้าเลยครับ ไม่รู้ว่าจะเกิดเป็นตัวอะไรเลยครับ
ดังนั้นทุกๆ บุญกุศลที่เราทำแล้ว เราควรอธิษฐานว่า

ขอให้ผลบุญที่ข้าพเจ้าทำมาแล้วทั้งหมดทุกภพชาติจนถึงผลบุญที่ได้ทำแล้วในวันนี้
ทำให้ข้าพเจ้าสามารถทำที่สุดแห่งกองทุกข์ได้ในปัจจุบันชาตินี้เทอญ

หรือถ้าสั้นๆ ก็บอกว่า
ขอให้ข้าพเจ้าทำพระนิพพานให้แจ้งในปัจจุบันชาตินี้เทอญ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 250

โพสต์

Dech เขียน:ผมคิดว่าอย่าไปรอชาติหน้าเลยครับ ไม่รู้ว่าจะเกิดเป็นตัวอะไรเลยครับ
ดังนั้นทุกๆ บุญกุศลที่เราทำแล้ว เราควรอธิษฐานว่า

ขอให้ผลบุญที่ข้าพเจ้าทำมาแล้วทั้งหมดทุกภพชาติจนถึงผลบุญที่ได้ทำแล้วในวันนี้
ทำให้ข้าพเจ้าสามารถทำที่สุดแห่งกองทุกข์ได้ในปัจจุบันชาตินี้เทอญ

หรือถ้าสั้นๆ ก็บอกว่า
ขอให้ข้าพเจ้าทำพระนิพพานให้แจ้งในปัจจุบันชาตินี้เทอญ
การกระทำนิพพานให้แจ้งในปัจจุบันชาตินี่... บุญบารมีต้องเต็มเปี่ยมมากๆ... เคยอ่านเรื่องราชรถสู่พระนิพพาน พระภิกษุรูปหนึ่งในสมัยพุทธกาลความเพียรแก่กล้ามาก แต่บารมียังไม่ถึง มรณะภาพขณะเดินจงกรม และได้อุบัติเป็นเทวดา พอรู้เข้าว่าไม่ถึงพระนิพพาน เศร้าโศกเสียใจมาก จึงลงมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงโปรดสั่งสอนตามเนื้อหาใน Link

อ่านแล้วก็รู้ถึงความยากลำบากในการเอามรรคเอาผลจริงๆ นี่ขนาดได้เกิดร่วมพระชาติกับพระพุทธองค์ บวชใต้ร่มพระพุทธศาสนา ทำความเพียรอย่างยิ่งยวด ถึงขนาดตายคาบัลลังค์ยังไม่ถึงพระนิพพาน มาพิจารณาถึงตัวเองแล้ว... รู้ชัดเลยว่า ตัวเองยังกิเลสหนา ปัญญาน้อย อินทรีย์อ่อนย้วบย้าบอยู่มาก... ยังคงต้องสร้างความเพียร สั่งสมบุญบารมีอีกนาน ดังนั้นในตั้งเป้า ก็ตั้งเป้าแค่ทำสุดความสามารถเท่าที่ทำได้ กำหนดรู้ เจริญสติอยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด ส่วนการอธิษฐานก็อธิษฐานแค่ ขอให้ได้มรรคผลนิพพานในอนาคตกาลโดยเร็ว หากแม้ยังไม่ถึงพระนิพพานในชาติภพนี้ ก็ขอให้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ ในครอบครัวที่มีสัมมาทิฎฐิ ที่มีโอกาสปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และได้มรรคในชาติต่อๆ ไป อะไรประมาณนั้นครับ

อนุโมทนาสาธุกับคุณ Dech จะครับ ขอให้ได้มรรคผลนิพพานในชาตินี้ตามที่คุณ Dech หวังเอาไว้... ส่วนของผม คงต้องนั่งรถฉิ่งฉับไปอีกนาน... 55
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nanjeng
Verified User
โพสต์: 102
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 251

โพสต์

ด้วยแต่ละคนมีเป้าหมายต่างกัน
บางท่านเบื่อหน่ายก็อยากจะทำให้สิ้นชาติขาดภพ ในชาตินี้
บางท่านยังไม่ได้หวังนิพพานในชาตินี้ อาจจะด้วยยังไม่เบื่อหน่ายในวัฏฏสงสาร หรืออาจจะได้อธิษฐานเป็นอะไรไว้หรือเปล่า
เช่น เป็นสาวกหรืออัครสาวกของพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือบางท่านอาจสร้างบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

การทำนิพพานให้แจ้งนั้น ไม่ได้ใช้เวลาเป็นชาติๆ พระพุทธเจ้าก็ยืนยันในมหาสติปัฏฐานสูตรแล้ว
ว่าบารมีอย่างอ่อน ใช้เวลา 7 ปี เขาพึงหวังผล 2 ประการ คือ ไม่อนาคามีก็อรหัตผล

แต่ไม่ใช่ทำเหยาะๆ แหยะๆ แล้วพอครบ 7 ปี จะเห็นนิพพานนะ
ทำแบบไหน ยังไง อย่างไร เพียรแค่ไหน ก็ไปหาดูในมหาสติปัฏฐานสูตรเถิด
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 252

โพสต์

koko8889 เขียน:คำถามอยากถามว่า ถ้าเกิดภัยธรรมชาติร้ายแรงในประเทศไทย และสุดท้ายชีวิตของคุณจะต้องดับสูญในวันที่เกิดภัยธรรมชาตินั้น

ในฐานะที่เป็นนักลงทุนแนววีไอจะทำอย่างไร แล้วเส้นทางธรรมที่ศึกษามานั้นจะใช้บทไหนที่จะรับมือกับการเดินทางจากโลก
นี้ไปครับ

ขอเจริญธรรมและอนุโมทนาความเห็นดีๆ ที่แบ่งปันครับ
รู้ลมหายใจเข้าออก ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ ได้นิพพานครับ

ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็น
สิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ... ตถาคต

มีสติ มีสัมปชัญญะ รอคอยการตาย

ภิกษุ ท. !
ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ
เมื่อรอคอยการทำกาละ :
นี้เป็นอนุสาสนีของเรา สำหรับพวกเธอทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ตามเห็น
กายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ออกเสียได้ ; เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
เป็นประจำ... ; เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ... ;
เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
อย่างนี้แล ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็น
อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบ
ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง,
การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรง
สังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม,
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด, การนั่ง
การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง.
อย่างนี้แล ภิกษุ ท. ! เรียกว่าภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.
ภิกษุ ท. !
ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะ
เมื่อรอคอยการทำกาละ :
นี้แล เป็นอนุสาสนีของเราสำหรับพวกเธอทั้งหลาย... ตถาคต


[๒๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่า
นั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ ฯ
[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่บริโภคแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชน
เหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว ฯ
[๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะ
ของชนเหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดไม่
เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว ฯ
[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะ
ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดชอบใจ
แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว ฯ
[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้น
ชื่อว่าประมาทอมตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชน
เหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ ฯ
[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อ
ว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืม
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม ฯ
[๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ซ่องเสพแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ซ่องเสพแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชน
เหล่าใดซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นซ่องเสพแล้ว ฯ
[๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่า
ใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว ฯ
[๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้มากแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชน
เหล่าใดทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว ฯ
[๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วยปัญญาอัน
ยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติ
อันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
[๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่กำหนดรู้แล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชน
เหล่าใดกำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว ฯ
[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้แจ้งแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชน
เหล่าใดทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว ฯ... ตถาคต
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 253

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:กว่า 20 ปีที่ผมสนใจแนวทางธรรม
แต่ได้แต่ทำๆหยุดๆมานาน
จน10ปีก่อน ได้เริ่มให้เวลากับการปฏิบัติ
แม้ว่ายังต้องอยู่ในโลกที่มีภาระกิจส่วนตัวและชีวิตการงาน
เพียงแต่ได้จัดสรรแบ่งเวลามากขึ้น
จนเมื่อ7-8ปีก่อน ได้เอาจริงเอาจังอย่างมาก

สำหรับการลงทุนของผม
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นคือ
port ของผมไม่ได้เติบโตอย่างที่ผมคิดว่าควรจะเป็น
เพราะผมแทบไม่มีเวลาไปติดตามหุ้น
ไม่มีเวลาไปพบปะเพื่อนนักลงทุน เยี่ยมชมกิจการ
ไม่ได้ประชุมผู้ถือหุ้น หรือ ไปพบผู้บริหาร

ประกอบกับแนวคิดส่วนตัวที่เชื่อว่าเราต้องเคร่งศีล
หากไม่มีศีลเป็นพื้นฐาน การเจริญทางธรรมจะทำได้ยาก
ทำให้ต้องทำความรู้จักกับหุ้นที่ลงทุนอยู่และจะลงทุนอย่างจริงจัง
ว่ากิจกรรมของบริษัทเหล่านี้
มีโอกาสทำให้ศีลพร่องหรือไม่
หรือไม่สอดคล้องกับสัมมาอาชีวะในมรรค8
จึงทำให้ไม่ได้ลงทุนในบางหุ้นที่แม้ว่าจะเห็นโอกาสดีมากในทางโลกก็ตาม

มาเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมกลับมาให้เวลากับทางโลกมากขึ้น
โดยเฉพาะเวลาสำหรับการดูแลการลงทุนในหุ้น
ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนทางโลกที่เป็นตัวเลขเงินทองที่ดีมาก
แต่ความคืบหน้าทางธรรมกลับถดถอยครับ

ระยะนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
อยู่ในทางหลายแพรก ว่าจะเดินต่ออย่างไร
เวลาก็เหลือน้อยลง สุขภาพก็ถดถอยหลัง
จะทำอย่างไรดีกับเส้นทางธรรม ที่ดูเหมือนเส้นขนานกับการลงทุนวีไอ
ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ด้วยนะครับ
ใช้มรรควิธีง่ายตามคำสอนพระศาสดา ที่แนะนำสำหรับคนมีอายุครับ

ภิกษุ ท ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ.
พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การลุ
นิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เห็นซึ่ง จักษุว่า ไม่เที่ยง; ย่อมเห็น ซึ่ง รูป
ทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง ;ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า ไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส
ว่า ไม่เที่ยง ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยว่า ไม่เที่ยง.
(ในกรณีแห่ง โสตะ มานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อ ความอย่างเดียวกัน ทุก
ตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).
ภิกษุ ท ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.

ภิกษุ ท ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ.
พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ
บรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เห็นซึ่งจักษุว่า เป็นทุกข์ ; ย่อม เห็นซึ่งรูป
ทั้งหลายว่า เป็นทุกข์; ย่อมเห็นซึ่งจักขุวิญญาณว่า เป็นทุกข์ ; ย่อมเห็นซึ่งจักขุ
สัมผัสว่า เป็นทุกข์ ;ย่อมเห็นซึ่งเวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่
เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นทุกข์.

(ในกรณีแห่ง โสตะ มานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อ ความอย่างเดียวกัน ทุก
ตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น

ภิกษุ ท ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ
พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ
บรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นซึ่งจักษุว่า เป็นอนัตตา; ย่อม เห็นซึ่งรูป
ทั้งหลายว่า เป็นอนัตตา ; ย่อมเห็นซึ่งจักษขุวิญญาณว่า เป็นอนัตตา ; ย่อมเห็นซึ่ง
จักขุสัมผัสว่า เป็นอนัตตา ย่อมเห็นซึ่งเวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขม
สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นอนัตตา.

(ในกรณีแห่ง โสตะ มานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อ ความอย่างเดียวกัน ทุก
ตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น


กษุ ท ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ.
พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ
บรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? นั้นเป็นอย่างนี้ คือ :-

ภิกษุ ท ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : จักษุ เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง?
"ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า!" สิ่งใดไม่เที่ยง,สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า? "เป็นทุกข์ พระ
เจ้าข้า!" สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา, ควรหรือหนอที่
จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า "นั่นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็นอัตตาของเรา" ดังนี้? "ไม่
ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !"

(ต่อไป ได้ตรัสถามและภิกษุตอบ เกี่ยวกับ รูป...จักษุวิญญาณ...จักษุสัมผัส... จักษุสัมผัสสชาเวทนา,
ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุนั้นทุกประการต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น
เมื่อตรัสข้อความในกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุ จบลงดังนี้แล้ว ได้ ตรัสข้อความในกรณีแห่ง
อายตนิกธรรมหมวดโสตะ หมวดฆานะ หมวดชิวหา หมวดกายะ และหมวดมนะ ต่อไปอีก ซึ่งมีข้อความที่
ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุนั้นทุกประการ ต่างกันแต่เพียงชื่อเท่านั้น ผู้ศึกษา
ฟังเทียบเคียงได้เอง).

ภิกษุ ท ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
สัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ; (ในกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดโสตะ-มานะ-ชิวหา-กายะ-มนะ ก็ได้
ตรัสต่อไปอีก โดยนัยอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุนี้); เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย
กำหนัด; เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่
ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้มิได้มีอีก".

ภิกษุ ท ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น... ตถาคต
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 254

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:
ระยะนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
อยู่ในทางหลายแพรก ว่าจะเดินต่ออย่างไร
เวลาก็เหลือน้อยลง สุขภาพก็ถดถอยหลัง
จะทำอย่างไรดีกับเส้นทางธรรม ที่ดูเหมือนเส้นขนานกับการลงทุนวีไอ
ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ด้วยนะครับ
ใช้มรรควิธีที่ตรัสสอนกับมาลุงกายบุตร หรือ ท่านพาหิยะ ก็ได้ครับ บรรลุเร็ว


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษา
อย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็น
สักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกร
พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อ
ทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มี-
*พระภาค ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วย
พระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป ฯ

....


มาลุงก๎ยบุตร ! ในบรรดาสิ่งที่ท่าน พึงเห็น
พึงฟัง พึงรู้สึก พึงรู้แจ้งเหล่านั้น ;
ใน สิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่า
เห็น ;
ใน สิ่งที่ท่านฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่า
ได้ยิน ;
ใน สิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว (ทางจมูก, ลิ้น, กาย)
จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก ;
ใน สิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว (ทางวิญญาณ) ก็จัก
เป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง.
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรม
เหล่านั้น : เมื่อ สิ่งที่เห็นแล้วสักว่าเห็น, สิ่งที่ฟังแล้ว
สักว่าได้ยิน, สิ่งที่รู้สึกแล้วสักว่ารู้สึก, สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว
สักว่ารู้แจ้ง, ดังนี้แล้ว ;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น;

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีเพราะ
เหตุนั้น, เมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้น ๆ ;
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้น ๆ,
เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น
ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง :
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้.
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 255

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:
ระยะนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
อยู่ในทางหลายแพรก ว่าจะเดินต่ออย่างไร
เวลาก็เหลือน้อยลง สุขภาพก็ถดถอยหลัง
จะทำอย่างไรดีกับเส้นทางธรรม ที่ดูเหมือนเส้นขนานกับการลงทุนวีไอ
ขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ด้วยนะครับ
รีบมารู้ อริยสัจสี่ตามที่เป็นจริงครับ

ภิกษุ ท. ! เมื่อไฟลุกโพลงๆอยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้น
ควรจะทำอย่างไร ?

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี, เพื่อจะ
ดับเสียซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะ
อุสสาหะ อุสโสฬ๎xx อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ (เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย).”

ภิกษุ ท. ! (แม้กระนั้นก็ดี) วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับ
เสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่ ; แต่จะรู้สึกว่า สิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่ง
ก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎xx (ขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง)
สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้
เฉพาะ.

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้
เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้
ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน
เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.... ตถาคต

เพราะอะไรครับ เพราะว่า

[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่
ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔สิ่งไหนจะ
มากกว่ากัน ฯ

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบธรรมตามที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญ
ร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจเพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้
แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ
[๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้
ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯโดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน
น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ
ประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร
ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา ... ของพี่ชายน้องชาย พี่สาว
น้องสาว ... ของบุตร ... ของธิดา ... ความเสื่อมแห่งญาติ ...ความเสื่อมแห่งโภคะ ... ได้ประ
สบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความ
เสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ
นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียว
เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัดพอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 256

โพสต์

kritar เขียน:
เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:
มาเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมกลับมาให้เวลากับทางโลกมากขึ้น
โดยเฉพาะเวลาสำหรับการดูแลการลงทุนในหุ้น
ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนทางโลกที่เป็นตัวเลขเงินทองที่ดีมาก
แต่ความคืบหน้าทางธรรมกลับถดถอยครับ
ขอเรียนถามอาจารย์ด้วยความเคารพครับ

อาจารย์ใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัดว่าความคืบหน้าทางธรรมมีการถดถอยลงหรือเจริญขึ้นหรือครับ

ขอบคุณครับ
ขอตอบนะครับ มีเครื่องวัดที่พระศาสดากำหนดไว้ครับ

ผู้ได้ชื่อว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา. ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต) เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน); แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้. (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.

(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ทรงตรัสอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ, กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว, กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง, กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง, กรณีธรรมารมณ์ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 257

โพสต์

kritar เขียน:
เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:
มาเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมกลับมาให้เวลากับทางโลกมากขึ้น
โดยเฉพาะเวลาสำหรับการดูแลการลงทุนในหุ้น
ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนทางโลกที่เป็นตัวเลขเงินทองที่ดีมาก
แต่ความคืบหน้าทางธรรมกลับถดถอยครับ
ขอเรียนถามอาจารย์ด้วยความเคารพครับ

อาจารย์ใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัดว่าความคืบหน้าทางธรรมมีการถดถอยลงหรือเจริญขึ้นหรือครับ

ขอบคุณครับ
ขอแอบตอบต่อครับ

[๑๔๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพ
แล้ว คติของเธอเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเธอเป็นอย่างไร? ภิกษุณีชื่อนันทามรณภาพแล้ว ...
อุบาสกชื่อสุทัตตะกระทำกาละแล้ว ... อุบาสิกาชื่อสุชาดากระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร
สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร?
[๑๔๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพแล้ว กระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุณีชื่อนันทามรณภาพแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน
ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
อุบาสกชื่อว่าสุทัตตะกระทำกาละแล้ว เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะ
ราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวหนึ่งแล้ว จักกระทำที่สุดทุกข์ได้ อุบาสิกา
ชื่อว่าสุชาดากระทำกาละแล้ว เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกต่ำเป็น
ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[๑๔๗๑] ดูกรอานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วพึงกระทำกาละ มิใช่เป็นของ
น่าอัศจรรย์ ถ้าเมื่อผู้นั้นๆ กระทำกาละแล้ว เธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วสอบถามเนื้อความ
นั้น ข้อนี้เป็นความลำบากของตถาคต เพราะฉะนั้นแหละ เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส
(แว่นส่องธรรม) ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามี
นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
[๑๔๗๒] ดูกรอานนท์ ก็ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว ... จะ
ตรัสรู้ในเบื้องหน้านั้น เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า
ใคร่แล้ว ... เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้แล คือ ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบแล้ว ...
จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 258

โพสต์

imerlot เขียน:เป็นมนุษย์นี้แสนยาก
ภิกษุทั้งหลาย ! สมมติว่ามหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำทั่วถึงเป็นอันเดียวกันทั้งหมด; บุรุษคนหนึ่งทิ้งแอก(ไม้ไผ่ !) ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น; ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก, ลมตะวันตกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้, ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนืออยู่ดังนี้. ในน้ำนั้นมีเต่าตัวหนึ่งตาบอด ล่วงไปร้อยๆปีมันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : จะเป็นไปได้ไหมที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ?
“ข้อนี้ ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ! ที่เต่าตาบอดนั้นร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ใครๆจะพึงได้ความเป็นมนุษย์;
ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้นในโลก;
ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองไปทั่วโลก.


ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ว่าบัดนี้ ความเป็นมนุษย์ ก็ได้แล้ว;
ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว;
และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ว่า “นี้ ทุกข์; นี้ เหตุให้เกิดทุกข์;นี้ ความดับแห่งทุกข์; นี้ หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 259

โพสต์

เห็นที่นี้คุยเรื่องธรรมะกันลองอ่านๆดูแล้วก็ยังงงๆ
เลยอยากจะถามว่า จริงๆแล้ว
"คำสอนของศาสนาพุทธ คืออะไรหรอครับ"
ขอสั้นๆนะครับ อยากได้แก่นจริงๆ
แก่นของพระพุทธศาสนา ตามคำพระพุทธเจ้า
...ดูกรพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์จึงมิใช่มีลาภสักการะและความ
สรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิ
เป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็น
ประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด
...ตถาคต

พระพุทธเจ้าเกิดมาแก้ปัญหา เกิด แก่ ตาย ครับ

ภิกษุ ท. ! ถ้าธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ ไม่พึงมีอยู่ในโลกแล้วไซร้ ;
ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลก เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ, และธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว ก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไปในโลก. ธรรมชาติ ๓ อย่างนั้น คือ
อะไรเล่า ? คือ ชาติ ชรา และ มรณะ (ทุกขอริยสัจ). ภิกษุ ท. ! ธรรมชาติ ๓
อย่างเหล่านี้แล ถ้าไม่มีอยู่ในโลกแล้วไซร้, ตถาคตก็ไม่ต้องเกิดขึ้นในโลกเป็น
อรหันตสัมมาสัมพุทธะ และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็ไม่ต้องรุ่งเรืองไป
ในโลก.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุใดแล ที่ ธรรมชาติ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ใน
โลก, เพราะเหตุนั้น ตถาคตจึงต้องเกิดขึ้นในโลกเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ
และ ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วจึงต้องรุ่งเรืองไปในโลก.
... ตถาคต
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 260

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:ขอถามทุกท่านครับ

ในสมัยพุทธกาลหรือหลังจากนั้น มี ฆราวาส หรือ อุบาสก หรือ อุบาสิกา พ่อค้าวานิช หรือ นักธุรกิจ ท่านใด บรรลุธรรมบ้างครับ?
พระพุทธเจ้า หรือ ผู้ที่เหมือนพระพุทธเจ้า เท่านั้นที่จะตอบได้ครับ

“เพราะกระแสธรรมนั้นย่อมถูกต้องบุคคล ใครเล่าจะพึงรู้ได้นอกจากตถาคต”
“อานนท์ เธออย่าพอใจการประมาณบุคคล และถือประมาณในบุคคล เพราะการถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษในตัวเอง เราหรือผู้เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้” ... ตถาคต

หรือ ตัวของท่านคนนั้นที่ประเมินตนเอง ตามหลักพระธรรมครับ
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 261

โพสต์

Nevercry.boy เขียน:ขอถามทุกท่านครับ

เวลาเราโดนด่าและตอกย้ำในจุดที่เป็นความผิดของเราจริง ๆ

เช่นเราทำงานพลาดเซ็นสัญญาผิดบริษัทเสียหาย หัวหน้า กรรมการบริษัทเรียกไปต่อว่าแรง ๆ ไอ้โง่ ไอ้ชุ่ย ไอ้สับเพร่า

ทำอย่างไรถึงจะไม่โกรธ ไม่เสียใจ ครับ

ละความเพลิน ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ เจริญอานาปานสติ ครับ

....
เมื่อเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้
เฉพาะหน้าในภายใน ธรรมเป็นที่มานอนแห่งวิตก
ทั้งหลาย (มิจฉาวิตก) ในภายนอก อันเป็นไปในฝักฝ่าย
แห่งความคับแค้น ย่อมไม่มี;
....ตถาคต
ไม่ประมาท
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 262

โพสต์

peerawit เขียน:
kritar เขียน:
เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:
มาเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมกลับมาให้เวลากับทางโลกมากขึ้น
โดยเฉพาะเวลาสำหรับการดูแลการลงทุนในหุ้น
ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนทางโลกที่เป็นตัวเลขเงินทองที่ดีมาก
แต่ความคืบหน้าทางธรรมกลับถดถอยครับ
ขอเรียนถามอาจารย์ด้วยความเคารพครับ

อาจารย์ใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัดว่าความคืบหน้าทางธรรมมีการถดถอยลงหรือเจริญขึ้นหรือครับ

ขอบคุณครับ
ขอตอบนะครับ มีเครื่องวัดที่พระศาสดากำหนดไว้ครับ

ผู้ได้ชื่อว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ

อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา. ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต) เป็นของหยาบ ๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน); แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้. (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.

(ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ทรงตรัสอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้น ๆ, คือ กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ, กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว, กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้ำลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง, กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง, กรณีธรรมารมณ์ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็ก ที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน)
อนุโมทนาคับ ในการอุปมาอุปมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นเกณฑ์วัดความคืบหน้าทางธรรมที่เห็นภาพได้ชัดเจนมาก

เมื่อละความเพลินความพอใจในผัสสะได้เร็ว เวทนา ตัญหา อุปทาน ภพ
ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย ก็สิ้นไปด้วย

เมื่อความเกิดละไป กองทุกข์ก็ดับไป สัตว์จึงหลุดพ้นได้

กรณีเสียง เปรียบด้วย ความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ,
กรณีกลิ่น เปรียบด้วย ความเร็วแห่งหยดน้ำตกจากใบบัว,
กรณีรส เปรียบด้วย ความเร็วแห่งน้ำลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง,
กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วย ความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง,
กรณีธรรมารมณ์ เปรียบด้วย ความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้ำบนกระทะเหล็กที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 263

โพสต์

อ้อ ลืมรูปที่เห็นทางตาอีกอันคับ

อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ - ทั้งเป็นที่ชอบใจ และไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำรงอยู่.

อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 264

โพสต์

สาธุๆ ครับ

ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ อย่างไหนโหดร้ายกว่ากันครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 265

โพสต์

Dech เขียน:สาธุๆ ครับ

ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ อย่างไหนโหดร้ายกว่ากันครับ
ถ้ามองในแง่ของพระอริยเจ้า ท่านก็จะว่า ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ สุดท้ายก็ดับไป ไม่มีอย่างไหนโหดร้ายกว่ากัน

ถ้ามองในแง่บุคคลที่เสวยอารมณ์ ผมว่าไม่ดีทั้งสองอย่าง ทุกข์กาย ก็ทำให้ทุกข์ใจตามมาได้
ทุกข์ใจ ก็ทำให้ทุกข์กายตามมาได้ โหดร้ายพอกัน

พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้

กรรมเก่า ได้แก่ ตา หุ จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เป็นกรรมเก่า อันหมายถึงขันธ์ห้าด้วย
ซึ่งเป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งได้ เป็นสิ่งที่มีปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้

กรรมใหม่ อันได้แก่ ผัสสะ เป็นเหตุเกิดของ กรรมใหม่

การประจวบพร้อมด้วยองค์ 3 นี้เรียกว่า ผัสสะ เช่น
ตา ไป เห็น รูป หากจักขุวิญญาณ(เข้าไปตั้งอาศัย) เข้าไปเกลือกกลั้วอยู่ในรูป
อันเป็นวิสัยที่จะรู้ได้ด้วยตาแล้ว ผัสสะทางตาย่อมถึงการเกิดขึ้น ฯลฯ

มันเป็นเพราะกรรมเก่าของเรา ที่ทำให้ได้เสวยความทุกข์กาย ทุกข์ใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง
รวมถึงความเคยชินต่างๆ ทั้งจากผลที่สะสมมาของกรรมจากกุศลหรืออกุศล เช่น เรื่องบางเรื่อง ทำไมคนถึงมีการรับรู้ไม่เท่ากัน
บางท่านเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย กลับไม่รู้สึกทุกข์ใจมากมาย บางท่านเป็นแค่หวัดธรรมดา กลับทุกข์ใจ ฉุนเฉียว อยากรีบหาย
บางท่านทุกข์ใจมาก จนล้มป่วยทุกข์กายไป นั่นแหละคับ เวลามีผัสสะ กรรมเก่าจะตามมา สัตว์ที่มีความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า
กรรมเก่าก็จะมีอยู่ ( มีความพอใจ(ฉันทะ) ความกำหนัด(ราคะ) ความเพลิน(นันทิ) ความอยาก(ตัณหา) ในขันธ์ห้า )

เรื่องของกรรม ก็มีการให้ผลในปัจจุบัน ในเวลาต่อมา และในเวลาต่อๆมาอีก

ทางสิ้นกรรม ทางแก้กรรม พระพุทธเจ้า ท่านก็บอกไว้แล้ว คือ มรรคมีองค์แปด จะได้ไม่ต้องมา ทุกข์ใจ ทุกข์กายกันอีกต่อไป

ก็รอ คุณ peerawit มาขยายความ จากพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีกว่าคับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 266

โพสต์

Dech เขียน:สาธุๆ ครับ

ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ อย่างไหนโหดร้ายกว่ากันครับ
กายใจเป็นของเนื่องกัน ความยึดมั่นแต่ละคนต่างกัน ร่องจิต ฐานจิต สภาวะจิตที่แตกต่างกันแต่ละขณะ ทำให้การรับรู้สภาวะทุกข์แตกต่างกันไป โดยส่วนตัวไม่ว่าทุกข์อะไรก็กำหนดรู้ไปตามความเป็นจริง รับรู้ได้แค่ไหนก็แค่นั้น การเปรียบเทียบสภาวะทุกข์แต่ละอย่าง อาจทำให้เกิดการยึดมั่นถือมั่นใหม่ๆ ได้ และเป็นช่องว่างให้กิเลสเล่นงานได้ ผมคิดว่ารับรู้ เรียนรู้มันตรงๆ น่าจะดีกว่าการเอาไปเปรียบเทียบครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 267

โพสต์

Dech เขียน:สาธุๆ ครับ

ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ อย่างไหนโหดร้ายกว่ากันครับ
ทุกข์หมายถึงทุกขเวทนา หรือเปล่าครับ?.. :arrow: :arrow:

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ อันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมโศกเศร้า ร่ำไร รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู พึงยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรลูกที่สองอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศร ๒ อย่างคือ ทางกายและทางใจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้เรียนรู้ แล้วอันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่โศกเศร้า ไม่ร่ำไร รำพัน ไม่ทุบอก คร่ำครวญ เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ เปรียบเหมือนนายขมังธนู ยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่สองผิดไป ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียวฉันนั้นเหมือนกัน...ตถาคต
Dech เขียน:สาธุๆ ครับ

ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ อย่างไหนโหดร้ายกว่ากันครับ
ทุกข์หมายถึงขันธ์ห้า หรือเปล่าครับ ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง พึง
คลายกำหนัดได้บ้าง พึงปล่อยวางได้บ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้.
ข้อนั้นเพราะเหตุใดเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดี
การสลายลงก็ดี การถูกยึดครองก็ดี การทอดทิ้งซากไว้ก็ดี แห่งกายอันเป็นที่ประชุม
แห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฏอยู่. เพราะเหตุนั้นปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงเบื่อหน่าย
ได้บ้าง จึงคลายกำหนัดได้บ้าง จึงปล่อยวางได้บ้าง ในกายนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี; ปุถุชนผู้มิได้สดับ
แล้ว ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งนั้น.ข้อนั้น
เพราะเหตุไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่า จิตเป็นต้น
นี้ เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ได้ถึงทับแล้วด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดย
ความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านาน ว่า "นั่นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็นตัวตนของ
เรา" ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงไม่อาจจะเบื่อหน่ายไม่อาจจะ
คลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งที่เรียกว่า จิต เป็นต้นนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า. แต่จะเข้าไปยึดถือ
เอาจิต โดยความเป็นตัวตนไม่ดีเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปี
บ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง
ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วน
สิ่งทีเรียกกันว่า "จิต" บ้าง ว่า "มโน" บ้าง ว่า "วิญญาณ" บ้างนั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น
ดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน
. .. ตถาคต
Dech เขียน:สาธุๆ ครับ

ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ อย่างไหนโหดร้ายกว่ากันครับ
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย โรคสองอย่างนี้คือโรคทางกาย โรคทางใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคด้วยโรคทางกาย ตลอดปีหนึ่งมีปรากฏ ผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคตลอดสองปีบ้างสามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยีสิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคแม้ยิ่งกว่า ร้อยปีบ้างมีปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดปฏิญาณความไม่มีโรคทางใจแม้ครู่หนึ่ง สัตว์เหล่านั้นหาได้ยากในโลก เว้นจากพระขีณาสพ”...ตถาคต

ตอบไม่ตรงคำถามขออภัยนะครับ
ไม่ประมาท
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 268

โพสต์

หลายวันที่ผ่านมา ผมฝันไปว่าเกิดภัยธรรมชาติและหรือภัยมนุษย์ร้ายแรงในประเทศไทย หลายสิ่งหลายอย่างเสียหายหนัก จึงเกิดเป็นคำถามกับ พระปฏิบัติดีรูปหนึ่งว่า เหตุภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ใกล้ประเทศไทยนั้น ประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ ซึ่งแปรปรวนตลอดและรุนแรง หลวงพ่อมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร คำตอบคือ โลกคือร่างกาย ร่างกายคือโลก ถ้าธาตุอื่นมีมากและรุนแรง ธาตุอื่นจะไม่กระทบเลยหรือ แล้วท่านชี้ไปที่รูปมีข้อความว่า ภัยธรรมชาติที่รุนแรงให้แก่โลก ก็ยังไม่เท่าอุปกิเลสเมื่อหมู่มนุษย์ในโลกประมาทขาดปัญญา จะสร้างความเสียหายกับตนเอง มาจนหมู่คณะและสังคมเดือนร้อน ที่เห็นๆ สุจริตชนเดือนร้อนกันทั้งนั้น
คำถามผมนั้นเป็นเรื่องฝันหรือจะเป็นเรื่องจริงไม่สำคัญ แต่วิธีและหลักการของพระพุทธเจ้าที่หลวงพ่อนำมาสอนผมนั้นไม่ขึ้นกับกาละเวลา ดังนั้น ถ้าชีวิตท่านเมื่อประสบพบสิ่งดังกล่าว ขอให้ท่านใช้คำสอนและหลักการให้เท่าทันเวลาด้วยครับ ถ้าเป็นไปได้การมีประสบการณ์ในเรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดีและสำคัญ ตัวอย่าง กัลยาณมิตรท่านหนึ่งของผมเล่าว่า ถ้าคุณไม่มีประสบการณ์เรื่องงู เวลาคุณเจองู คุณก็จะไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ซึ่งสิ่งนี้สำคัญมาก เพราะที่เรียนและศึกษามาทั้งหมดอาจเปิดตำราไม่ทันได้ และเรื่องที่ต้องการใช้จริงก็มีไม่กี่เรื่องครับ ขอขอบคุณครับผู้อ่านทุกท่าน ถ้าบังเอิญอ่านแล้วไม่ถูกใจก็อโหสิกรรมให้ผมด้วยครับ
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 269

โพสต์

สาธุกับทุกๆ คำตอบนะครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 270

โพสต์

f.escape เขียน:
chatchai เขียน:
ในความคิดของผม ที่ยังมีภาระต้องดูแลคนในครอบครัวอีกหลายคน

ขนาดของพอร์ตเป็นเรื่องของคนหลายคนในครอบครัว แต่การเจริญสติเป็นเรื่องของเราคนเดียว

แม้จะต้องเสียสละการพัฒนาของตัวเองไป เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ผมก็คิดว่าสมควรครับ

คงต้องสะสมผลบุญให้มากพอที่จะเกิดมาใหม่ โดยที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะ
ลองคิดเล่นๆว่า ชาติที่แล้วเราก็คิดแบบนี้หรือเปล่า
ความจริงการพัฒนาตัวเองเป็นหน้าที่หลักเลยนะ ถ้ารอเกิดใหม่ไปเรื่อยๆ เมื่อไหร่เราจะได้เห็นความจริงล่ะ
:bow: :bow: :bow:

เธอมาจากไหน ไม่ทราบค่ะ
แล้วเธอจะไปไหน ไม่ทราบค่ะ
เธอไม่ทราบหรือ ทราบค่ะ
เธอทราบหรือ ไม่ค่ะ

ให้เห็นความจริงแค่นี้ก็พอแล้วครับ
เห็นว่าชีวิตของเราเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง
เปสการีธิดาหรือว่าลูกสาวนายช่างหูก วันทั้งวันก็คิดแค่นี้เอง
ก็เป็นการเจริญสติที่ถูกต้องแล้วของคนๆ เดียว ระหว่างที่ทำงานต่างๆไปด้วย
ไม่ได้ยากอะไรเลย ไม่ต้องเสียสละอะไรเลย
ให้พิจารณาบ่อยๆ แค่นี้แหละ พอแล้ว
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์