เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 271

โพสต์

การเจริญมรณานุสสติ


มีพระคาถาบทหนึ่งใน ขุททกนิกาย ทสรถชาดก กล่าว่า

“ทหรา จ หิ เย วุฑฺฒา เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา
อทฺธา เจว ทลิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปราายนา”

ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งคนโง่และคนฉลาด
ทั้งคนจนและคนรวย ล้วนบ่ายหน้าไปหามฤตยูทั้งสิ้น



ครั้งหนึ่งพระบรมศาสดา ได้เทศนาโปรดชาวเมืองอาฬวี ให้เจริญมรณานุสสติว่า “ท่านทั้งหลายจงพิจารณาว่าชีวิตของเราไม่หยั่งยืนแต่ความ ตาย เป็นของแน่นอน ตัวเราก็จะต้องตายในที่สุด” ในจำนวนมหาชนที่ฟังธรรมอยู่นั้น มีธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่ง ได้ตั้งใจปฏิบัติตาม พุทธโอวาท ด้วยการเจริญมรณานุสสติทุกวัน ไม่ว่านางจะทำภารกิจ หรือทำการงานอะไร ก็จะนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ทำอยู่อย่างนี้ถึง ๓ ปีทีเดียว

วัน หนึ่งพระบรมศาสดา ทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่ง ได้เห็นกุมาริกานั้นเข้ามา ในข่ายพระญาณ ทรงทาบว่ากุมาริกามีอินทรีแก่กล้า พอที่จะบรรลุธรรม แต่วันนี้นางจะไม่สามารถรอดพ้น จากความตาย เพราะการตายของปุถุชนย่อมมีคติไม่แน่นอน ถ้านางได้ฟังธรรมแล้ว จะได้บรรลุธรรม ละโลกแล้วจะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต

ด้วย พระมหากรุณาธิคุณอันไม่มีประมาณ พระองค์จึงเสด็จไปโปรดนางที่เมืองอาฬวี ฝ่านกุมาริกาเอง เมื่อทราบว่าพระองค์จะเสด็จมา ก็เกิดความปีติปราโมทย์ใจ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะไปฟังธรรม แต่เนื่องจากวันนั้น พ่อของนางได้สั่งให้ทอหูกให้เสร็จเสียก่อน นางจึงต้องรีบทอหูกให้เสร็จตามที่พ่อบอก เพื่อจะได้ไปฟังธรรม ชาวเมืองอาฬวีได้ถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาดาแล้ว ยืนรอคอยการอนุโมทนาจากพระองค์อยู่ แต่พระองค์กลับประทับนิ่ง ไม่ตรัสอะไรเลย เพราะทรงดำริว่า “เราเสด็จมาไกลถึง ๓๐ โยชน์ เพื่อโปรดกุลธิดาช่างหูก แต่นางยังไม่มา เราจะรอจนกว่านางจะมา”
ฝ่าย กุมาริกาทอหูกไป ก็นึกถึงแต่พระบรมศาดา อยากจะฟังธรรมเป็นอย่างยิ่ง หลังจากทอหูกเสร็จแล้ว ก็รีบเดินทางมายังที่ฟังธรรม ได้ยืนอยู่ด้านหลังของพุทธบริษัท แลดูพระพุทธองค์ด้วยจิตอันเลื่อมใส นางทราบว่าพระองค์กำลังรอนางอยู่ จึงรีบเดินเข้าไปในท่ามกลางพุทธบริษัท แล้วก้มลงกราบพระพุทธองค์


พระองค์ทรงถามกุมาริกาว่า “กุมาริกา เธอมาจากไหน?”

กุมาริกาตอบว่า “ไม่ทราบ พระเจ้าข้า”

“เธอจักไป ณ ที่ไหน?” “ไม่ทราบพระเจ้าข้า”

“เธอไม่ทราบหรือ?” “ทราบ พระเจ้าข้า”

“เธอทราบหรือ?” “ไม่ทราบพระเจ้าข้า”



เมื่อ มหาชนได้ยินธิดาช่างหูกพูดเช่นนี้ ก็นึกว่านางพูดเล่นลิ้นพระบรมศสาดา จึงเกิดเสียงฮือฮา วิพากษ์วิจารณ์กัน พระบรมศาสดาทรงรู้ข้อกังขาของมหาชน จึงตรัสถามอีกครั้งว่า “กุมาริกา เมื่อเราถามว่าเธอมาจากไหน ทำไมจึงตอบว่า ไม่ทราบ” กุมาริกาจึงทูลว่า “พระองค์ ย่อมทรงทราบว่า หม่อมฉันมาจากเรือนช่างหูก แต่ที่พระองค์ตรัสถามนั้น ย่อมประสงค์ว่า ก่อนมาเกิดหม่อมฉันมาจากที่ไหน? แต่หม่อนฉันไม่ทราบว่า ตัวเองเกิดมาจากไหน จึงตอบว่าไม่ทราบ พระเจ้าข้า”

พระบรมศาสดาได้ประทานสาธุการ แก่กุมาริกานั้นว่า “ดีละ ๆ เธอตอบได้ถูกแล้ว” จากนั้นจึงตรัสถามข้อต่อไป “เมื่อเราถามว่าเธอจะไปไหน แล้วทำไมจึงตอบว่าไม่ทราบ” “พระองค์ทรงทราบ หม่อมฉันผู้ถือกระเช้าด้ายหลอดเดินไปยังเรือนช่างหูก พระองค์ย่อมประสงค์ถามว่า หม่อมฉันจากโลกนี้ไปแล้ว จะเกิดในที่ใด?” ก็หม่อมฉันไม่ทราบว่า ตายแล้วจะไปเกิดในที่แห่งใด จึงตอบว่าไม่ทราบพระเจ้าข้า”

พระบรมศาสดา ได้ประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๒ อีก แล้วตรัสถามต่อไปว่า “ที่ เราถามเธอไม่ทราบหรือ เพราะเหตุไรจึงตอบว่า ทราบ” “หม่อมฉันทราบว่าตัวเองจะต้องตายแน่นอน ไม่สามารถรอดพ้นความตายไปได้ จึงกราบทูลอย่างนั้นพระเจ้าข้า”

แม้ครั้งที่ ๓ พระบรมศาสดาก็ประทานสาธุการแก่นาง แล้วตรัสถามถึงข้อต่อไปว่า “ที่ เราถามว่า เธอทราบหรือ ทำไมจึงตอบว่า ไม่ทราบ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันย่อมทราบว่าตัวเองต้องตายแน่นอน แต่ไม่ทราบจะตายในเวลาไหน เพราะเหตุนั้น จึงทูลอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

แม้ ครั้งที่ ๔ พระบรมศาสดาทรงให้สาธุการแก่นางว่า ตอบได้ถูกต้องแล้ว เธอแก้ปัญหาที่เราถามได้ถูกแล้ว จากนั้นได้ตรัสเตือนพุทธบริษัทให้หมั่นเจริญมรณานุสสติ นึกถึงความตายเนืองๆ จะได้ไม่ประมาทในวัยและชีวิต แล้วให้เร่งรีบสั่งสมความดี เพราะไม่มีใครรู้ว่าความตายจะเกิดขึ้นเมื่อไร จึงตรัสเตือนให้หมั่นทำความเพียรว่า


“อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชรา มรณํ สุเว
น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา”

พึงรีบทำความเพียรในนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในพรุ่ง
เพราะว่าความผัดเพี้ยน ต่อมฤตยูผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย



เมื่อ จบพระธรรมเทศนา มหาชนได้บรรลุธรรมาภิสมัยเป็นจำนวนมาก ต่างก็ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ส่วนกุมาริกาได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน แล้วนางได้ถวายบังคมพระบรมศาสดา

ฝ่าย บิดาของนางกำลังนั่งหลับอยู่ เมื่อนางกลับถึงบ้านแล้ง ก็ได้น้อมกระเช้าด้ายหลอดส่งให้บิดา กระเช้าด้ายหลอดกระทบที่ฟืม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องทอผ้า ทำให้เกิดเสียงดัง ส่งผลให้บิดาตกใจ เลยเผลอไปกระตุกฟืมอย่างแรง ปลายฟืมกระแทกหน้าอกของนาง ทำให้นางเสียชีวิตในทันที และได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต


ดังนั้น การเจริญมรณานุสสติ หมั่นระลึกนึกถึงความตายบ่อยๆ จึงมีอานิสงส์มาก นึกถึงแล้วเราจะได้ไม่ประมาทในชีวิต จะได้ตั้งใจทำความดีสร้างบุญสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ถึงเวลาจะละโลก เราจะไม่เกิดความกลัว จะไม่หวาดหวั่นต่อมรณภัยที่กำลังเกิดขึ้น เหมือนบุคคลเห็นงูพิษขวางอยู่ข้างหน้าในที่ไกล ก็สามารถตั้งสติเอาไว้ได้ แล้วหาไม้เขี่ยให้พ้นออกจากทาง
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 272

โพสต์

Dech เขียน:สาธุๆ ครับ

ทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ อย่างไหนโหดร้ายกว่ากันครับ
ขอยกพระพุทธพจน์ ที่ว่า

"ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ"

เมื่อตาแลไปเห็น ใจก็กำเริบ สั่งให้กาย ทำตามที่ต้องการไปต่างๆนาๆ
เฉกเช่นเดียวกับการนอนหลับ ใจเข้าสู่ภวัง กายก็หยุดนิ่ง ทำอะไรไม่ได้เลยครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 273

โพสต์

Dech เขียน:
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้"


-----------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไร....

แล้วคำถามคือ ตอนนี้พวกเรารู้มากกว่าพระสารีบุตรก่อนเจอพระอัสสชิอีก ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน

แล้วเราก็เคยได้อ่าน ได้ฟัง ได้เขียน ได้พิจารณา ประโยคเดียวกับที่อุปติสสะปริพาชกได้ฟัง
ไม่รู้กี่รอบแล้ว ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน
เหตุเพราะอินทรีย์้ห้าไม่เท่ากันครับ

[๘๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
๑. สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา]
๒. วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ]
๓. สตินทรีย์ [อินทรีย์คือสติ]
๔. สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ]
๕. ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา]

[๙๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็ม
บริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์
เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตรา
ปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระ
อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า
อินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะ
อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระสกทาคามี เพราะ
อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นพระโสดาบันผู้เอก
พิชี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้โกลังโกละ เพราะ
อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้เอกพิชี เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้โกลังโกละ เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี
เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี. ... ตถาคต
ไม่ประมาท
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 274

โพสต์

ถกเรื่อง กาย-จิต ทุกข์
...
ข้อความ
ต่อไปนี้ไม่ได้มาจาก
ตำรา
เป้นความเห็น จากการพิจารณาล้วน
ของผมเอง ซึ่งอาจจะมีความรู้ทางธรรมไม่พอ
และอาจจะผิดได้ โปรดใช้วิจารณญาณ

....

1. กายนั้น ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ
ดังนั้น ดินน้ำลม ไฟ ไม่น่า จะรู้จักทุกข์
เวลาเราบอกว่า ทุกข์กาย จริงแล้ว มันเป็น สัมผัส

2. ตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส + ใจ สัมผัส กับ รูป รส กลิ่น เสียง
ทำให้เราเกิดทุกข์ เช่นเห็นน้ำหนองไหล ได้กลิ่นเหม็นของน้ำหนอง

3. แต่ จิต นั้น มันไม่คงที่ มันแปรปรวนเร็วมาก
ตอนเด็ก เรากลัวเข็มฉีดยา เพราะเราไปดูมัน เราขยายความเจ็บเล็กให้เป็นความเจ็บใหญ่
พอโต ขึ้น สมมติเวลาเราถูกฉีดยา เราไม่มองเข็ม เราหันไปคุยกับลูก คุยเรื่องที่สบายๆ
เผอแปล็บเดียวฉีดเสร็จแล้ว ไม่ทันรู้สึกด้วย เพราะ จิตมันไปอยู่ที่อื่น
จิต มัน คล้ายหลัก ฟิสิก คือ ของสองสิ่งจะอยู่ที่เดียวกันในเวลาเดียวกันไม่ได้

4. กายนี้มีพลังน้อย อย่างมากแค่ ยกน้ำหนักได้ 200-300กิโล แต่จิตมีพลังมาก
ไปได้ไกล ไปได้เร็ว ว่ากันว่า จิตของคนที่กำลังปฎิบัติเพื่อให้บรรลุโสดาอยู่นั้น
สามารถป้องกันไฟไหม้กัลป์ได้ คือต้องรอให้ท่านบรรลุก่อน(โปรดตรวจสอบความถูกต้อง)
กาย-ดิน น้ำ ลมไ ฟ นี้ อยู่ใต้ อำนาจจิต แต่จิต มันแปรปรวน มันไม่เที่ยง
มันเป็นไป ตาม สภาวะปรุงแต่ง ดังนั้นคำว่า"กายทุกข์" จริงแล้วน่าจะมาจาก"ใจทุกข์ "
นักรบจีนโบราณทำสงครามกันมาก คนที่เก่งๆบางทีรบอยู่ถูกฟันแขนขาดขาขาดเขาก็ไม่รู้สึกทุกข์เลย
เพราะตอนนั้นจิตมุ่งแต่รบให้พวกตัวรอด จนรบกันจบแล้วค่อยมารู้สึกเจ็บบาดแผล

5. สิ่งที่เราไม่เห็น ไม่ใช้ไม่มีหรือพลังน้อย อย่างเวลาเราไม่เห็น แต่เวลาเป็นองค์ประกอบสำคัญของ
e=mc2 หรือwifi ความเร็ว 100m มันมีข้อมูลในอากาศ เดียวนี้ไปถึง drone เป็นอากาศยานไร้คนขับ
ถูกควบคุมด้วย wifi บางอย่างเข้ารหัสอยู่ ถ้าใครมีรหัสนั้น ก็ควบคุม drone นั้นได้ drone ที่ไม่มีสัญญาณจากศูนย์ควบคุม
ก็จะเป็น เศษเหล็ก ไม่มีทิศทางหรือเป้าหมาย กาย-ก็เหมือน drone ส่วนจิตก็เหมือน ศูนย์ควบคุม
ถ้าเราถอดรหัสจิตได้เราก็อาจ ระลึกชาติได้ แล้วข้อมูลของชาติก่อนมันไม่หายไม่แล้วหรือ เช่นกัลป์ก่อน
ที่ไฟไหม้ไปหมดแล้ว แสดงว่ามันบันทึกอยู่ในจิต

6. เวลาเราขายบ้านไป 20ปี ให้หลังกับไปดูบ้านนี้เคยเป็นของเรา เดี๋ยวนี้เป็นของ
คนอื่นแล้ว บ้านก็เหมือนกาย เราย้ายจาก กายหนึ่งไปกายหนึ่ง กายเก่าก็ไม่ใช่ของเราแล้ว
แต่จิตมันยังอันเดิม(ถูกไหมหนอ) กายนี้แปลกเราบอกว่า อย่าแก่มันก็แก่ เช่นบ้านอย่าพังมันก็พัง
อย่าตายมันก็ตาย อย่าเจ็บป่วยมันก็เจ็บป่วย
สุดท้ายแล้วกายนี้แตกสลาย
แต่จิตซิ กัลป์ไหม้แล้วมันไม่ศูนย์ไปกับกัลป์ เรายัง
เวียนว่ายตายเกิดในกัลป์ใหม่อีก
การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย การพลัดพรากจากของรักของชอบ การประสบกับของที่ไม่ปรารถนา
นั้นมันทุกข์กายหรือทุกข์จิต??
สมมติว่าเกิดมาเป็น สุนัขพิการตาบอดข้างขาง่อยข้างนึง คือเกิดไม่ดี ก็เลยทุกข์ เหมือนว่าเป็นทุกข์กายเลยนะ
ตอนมันเกิดมาตัวเดียว มันยังไม่ทุกข์เท่าไหร่ แต่พอเริ่มรู้ความเห็น
โกลเด้นหน้าหล่อขาครบตาครบ รู้สึกว่าอย่างนั้นมันสุข อย่างตัวเองมันทุกข์
สุนัขก็อยากเกิดเป็นโกลเด้นขนงานหน้าหล่อบ้าง ส่วนตัวโกลเด้นเองตามพระไปใส่บาตร ก็อาจจะอยากเกิดเป็น
คนใส่บาตร..นานาจิตตัง นี้แหละคือความแปรปรวนของจิต เห็นอะไรเข้าก็อยาก ไม่ได้ดังใจก็ทุกข์..

7. วันก่อนที่สิงค์โปรค์เขามีแข่ง ใครเอามือแตะรถคันงามได้นานสุดท้ายคนนั้นได้รถคันนั้นไป ปรากฏว่า 15ชมกว่าก็ได้ผู้ชนะ
และคนนี้เขาก็ชนะปีก่อน กายนี้แลบังคับให้อยู่นิ่งๆยากนัก จะนั่งใต้ต้นไม้ 7 วันไม่ลุกเลย จิต/กายนี้ ต้องอย่างสุดยอด
เพราะทรมานกายมาอย่ายิ่งยวดแล้วถึง 6ปี นั่งใต้ต้นไม้นิ่งๆ 7 วัน จึงธรรมดาไป ฟังว่าอภิธรรมแสดงที่โปรดพระมารดา
บนสวรรค์ใช้เวลาถึง 3 เดือน แสดงว่าใน 7 วัน จิตได้รวบรวมสุดยอดความรู้นี้ไว้ แถมทบทวนหลายรอบ
..
8. จิตฝึกแล้วจึงนำสุขมาให้ เป็นมนุษย์จึงควรฝึกตน.
กายฝึกแล้วก็มีแรงมาไม่ป่วยง่าย แต่สุดท้าย80-90 ก็ไม่ไหวอยู่ดี ดูน้าแอ๊ตหรืออาโนแต่ก่อนชายงามเลย
แต่อายุมาขึ้นโรคภัยก็ถามหา อาโนนั้นเขาต้อง ออกกำลังถึง2ชมต่อวัน เพียงเพื่อรักษาหุ่นเดิมไว้ แหมถ้าได้ฝึกจิตวันละ
2 ช.ม. คงได้อะไรมากกว่านะ
..

ประมาณนี้ ไม่ยืนยันว่าถูกต้อง
เอาไว้ คิดต่อ เพิ่มพูน ปัญญา โยนิโส..
..
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 275

โพสต์

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 5&i=13&p=2
๒. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [๒๕]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน” เป็นต้น.

อุบาสิกาจัดที่อยู่ถวายภิกษุ ๖๐ รูป
ได้ยินว่า ได้มีบ้านตำบลหนึ่ง ชื่อมาติกคาม ใกล้เชิงเขา ในแว่นแคว้นของพระเจ้าโกศล. ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปทูลอาราธนาให้ตรัสบอกพระกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัต ในสำนักของพระศาสดาแล้ว ไปสู่บ้านนั้น เข้าไปเพื่อบิณฑบาต.
ลำดับนั้น เจ้าของบ้านนั้นชื่อมาติกะใด มารดาของเจ้าของบ้านนั้น เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว นิมนต์ให้นั่งในเรือน จึงอังคาสด้วยข้าวยาคูและภัตอันมีรสเลิศต่างๆ ถามว่า “พวกท่านประสงค์จะไป ณ ที่ไหน? เจ้าข้า.”
ภิกษุเหล่านั้นบอกว่า “พวกฉันมีความประสงค์จะไปสู่ที่ตามความผาสุก มหาอุบาสิกา.”
นางทราบว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ชะรอยจะแสวงหาสถานที่สำหรับจำพรรษา จึงหมอบลงที่ใกล้เท้าแล้วกล่าวว่า “ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักอยู่ในที่นี้ตลอด ๓ เดือนนี้ไซร้, ดิฉันจักรับสรณะ ๓ ศีล ๕ (และ) ทำอุโบสถกรรม.”
ภิกษุทั้งหลายปรึกษากันว่า “เราทั้งหลาย เมื่ออาศัยอุบาสิกานี้ ไม่มีความลำบากด้วยภิกษา จักสามารถทำการสลัดออกจากภพได้” ดังนี้ แล้วจึงรับคำ.
นางได้ชำระวิหารอันเป็นที่อยู่ถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น.

ภิกษุ ๖๐ รูปทำกติกากัน
ภิกษุเหล่านั้นเมื่ออยู่ในที่นั้น วันหนึ่งได้ประชุมกันแล้วตักเตือนกันและกันว่า
“ผู้มีอายุ พวกเราไม่ควรประพฤติโดยความประมาท เพราะว่ามหานรก ๘ ขุม๑- มีประตูเปิด (คอยท่า) พวกเราเหมือนอย่างเรือนของตนทีเดียว. ก็แลพวกเราได้เรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ยังทรงพระชนม์อยู่แล้วจึงมา.
ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันใครๆ ผู้โอ้อวด แม้เที่ยวไปตามรอยพระบาท ก็ไม่สามารถให้ทรงโปรดปรานได้. (แต่) บุคคลผู้มีอัธยาศัยเป็นปกติเท่านั้น สามารถให้ทรงโปรดปรานได้ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด.
พวกเราไม่ควรยืน ไม่ควรนั่งในที่แห่งเดียวกัน ๒ รูป แต่ว่าในกาลเป็นที่บำรุงพระเถระในเวลาเย็นแล และในกาลเป็นที่ภิกษาจารในเวลาเช้าเท่านั้น พวกเราจักรวมกัน, (แต่) ในกาลที่เหลือจักไม่อยู่รวมกัน ๒ รูป.
ก็อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อภิกษุผู้ไม่มีความผาสุก มาตีระฆังในท่ามกลางวิหารขึ้นแล้ว พวกเราจึงจักมาตามสัญญาแห่งระฆังแล้ว ทำยาให้แก่ภิกษุนั้น”
____________________________
๑- มหานรก ๘ ขุม คือ ๑. สัญชีวะ. ๒. กาลสุตะ. ๓. สังฆาฏะ. ๔. โรรุวะ ๕. มหาโรรุวะ. ๖. ตาปะ. ๗. มหาตาปะ. ๘. อเวจี.

ภิกษุมาประชุมกันด้วยเสียงระฆัง
เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำกติกากันอย่างนี้อยู่, วันหนึ่ง อุบาสิกานั้นให้บุคคลถือเภสัชทั้งหลาย มีเนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น อันชนทั้งหลายมีทาสและกรรมกรเป็นต้น แวดล้อมเดินไปสู่วิหารนั้นในเวลาเย็น ไม่เห็นภิกษุทั้งหลายในท่ามกลางวิหารแล้ว จึงถามพวกบุรุษว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไปเสีย ณ ที่ไหนหนอแล?”
เมื่อพวกเขาบอกว่า “แม่คุณ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักเป็นผู้นั่งอยู่ในที่พักกลางคืน และที่พักกลางวันของตนๆ (เท่านั้น)” จึงกล่าว (ต่อไป) ว่า “ฉันทำอย่างไรเล่าหนอ จึงจักสามารถพบ (พวกพระผู้เป็นเจ้า) ได้.”
ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายที่รู้กติกวัตรของภิกษุสงฆ์ จึงบอกกะอุบาสิกานั้นว่า “คุณแม่ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักประชุมกัน ในเมื่อบุคคลมาตีระฆัง.”
นางจึงให้ตีระฆัง ภิกษุทั้งหลายได้ยินเสียงระฆังแล้ว ออกจากที่ของตนๆ ด้วยสำคัญว่า “ภิกษุบางรูปจักไม่มีความผาสุก.” จึงประชุมกันในท่ามกลางวิหาร. ภิกษุชื่อว่า เดินมาโดยทางเดียวกันแม้ ๒ รูป ย่อมไม่มี.

อุบาสิกาเจริญสมณธรรมตามที่ภิกษุบอก
อุบาสิกาเห็นภิกษุรูปหนึ่งๆ เท่านั้นเดินมาจากที่แห่งหนึ่งๆ จึงคิดว่า “(ชะรอย) พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเรา จักทำความทะเลาะวิวาทแก่กันและกัน” ดังนี้แล้ว ไหว้ภิกษุสงฆ์กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายได้ทำความทะเลาะกันหรือ?”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “พวกฉันหาได้ทำความทะเลาะวิวาทกันไม่ มหาอุบาสิกา.”
อุบาสิกา. ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่านไม่มีความทะเลาะวิวาทกันไซร้, เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรพวกท่านจึงไม่มา เหมือนเมื่อมาสู่เรือนของดิฉันมาโดยรวมกันทั้งหมด, (นี่กลับ) มาทีละองค์ๆ จากที่แห่งหนึ่งๆ.
ภิกษุ. มหาอุบาสิกา พวกฉันนั่งทำสมณธรรมในที่แห่งหนึ่งๆ.
อุบาสิกา. พ่อคุณทั้งหลาย ชื่อว่าสมณธรรมนั้นคืออะไร?
ภิกษุ. มหาอุบาสิกา พวกฉันทำการสาธยายอาการ ๓๒ เริ่มตั้ง ซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพอยู่.
อุบาสิกา. ท่านเจ้าขา การทำการสาธยายอาการ ๓๒#- และการเริ่มตั้งความสิ้นความเสื่อมในอัตภาพ ย่อมสมควรแก่พวกท่านเท่านั้น หรือย่อมสมควรแก่พวกดิฉันด้วยเล่า?
____________________________
#- คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ถ้าเติมมัตถลุงคัง มันสมองเข้าด้วย เป็น ๓๒ ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ธรรมนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงห้ามแก่ใครๆ.
อุบาสิกา. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านจงให้อาการ ๓๒ และขอจงบอกการเริ่มตั้ง ซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ แก่ดิฉันบ้าง.
ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนเอา. แล้วให้เรียนเอาทั้งหมด.

อุบาสิกาบรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนภิกษุ
จำเดิมแต่นั้น อุบาสิกานั้นก็ได้ทำการสาธยายซึ่งอาการ ๓๒ (และ) เริ่มตั้งไว้ซึ่งความสิ้นไปและความเสื่อมไปในตน ได้บรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนกว่าภิกษุเหล่านั้นทีเดียว. ปฏิสัมภิทา ๔ และโลกิยอภิญญา ได้มาถึงแก่อุบาสิกานั้นโดยมรรคนั่นแล.
นางออกจากสุขอันเกิดแต่มรรคและผลแล้ว ตรวจดูด้วยทิพยจักษุใคร่ครวญอยู่ว่า “เมื่อไรหนอแล? พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเราจึงจักบรรลุธรรมนี้” แล้วรำพึง (ต่อไป) ว่า “พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ทั้งหมด ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ, พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นมิได้มีคุณธรรมแม้สักว่าฌานและวิปัสสนาเลย อุปนิสัยแห่งพระอรหัตของพระผู้เป็นเจ้าผู้บุตรของเรา มีอยู่หรือไม่หนอ?” เห็นว่า “มี” ดังนี้แล้ว จึงรำพึง (ต่อไป) ว่า “เสนาสนะเป็นที่สบาย จะมีหรือไม่มีหนอ?” เห็นแม้เสนาสนะเป็นที่สบายแล้ว จึงรำพึง (ต่อไปอีก) ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของเรายังไม่ได้บุคคลเป็นที่สบายหรือหนอ? เห็นแม้บุคคลเป็นที่สบายแล้ว จึงใคร่ครวญอยู่ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้อาหารเป็นที่สบายหรือหนอ?” ก็ได้เห็นว่า “อาหารเป็นที่สบายยังไม่มีแก่พวกเธอ.”
จำเดิมแต่นั้นมา ก็จัดแจงข้าวยาคู๑- อันมีอย่างต่างๆ และของขบเคี้ยวเป็นอเนกประการ และโภชนะมีรสต่างๆ อันเลิศแล้ว นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้นั่งแล้ว จึงถวายน้ำทักษิโณทก๒- แล้ว มอบถวายด้วยคำว่า “ท่านผู้เจริญ พวกท่านชอบใจสิ่งใดๆ ขอจงถือเอาสิ่งนั้นๆ ฉันเถิด.”
ภิกษุเหล่านั้น รับเอาวัตถุทั้งหลายมีข้าวยาคูเป็นต้นแล้ว บริโภคตามความชอบใจ.
____________________________
๑- แปลตามพยัญชนะว่า …ยังข้าวยาคูมีอย่างต่างๆ ด้วย ยังของเคี้ยวมีประการมิใช่น้อยด้วย ยังโภชนะมีรสอันเลิศต่างๆ ด้วย ให้ถึงพร้อมแล้ว.
๒- แปลว่า น้ำเพื่อทักษิณา.

ภิกษุ ๖๐ รูปบรรลุพระอรหัต
เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้อาหารอันเป็นที่สบาย จิตก็เป็นธรรมชาติ มีอารมณ์เดียว (แน่วแน่). พวกเธอมีจิตแน่วแน่เจริญวิปัสสนา ต่อกาลไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย แล้วคิดว่า
“น่าขอบคุณ! มหาอุบาสิกาเป็นที่พึ่งของพวกเรา; ถ้าพวกเราไม่ได้อาหารอันเป็นที่สบายแล้วไซร้, การแทงตลอดมรรคและผล คงจักไม่ได้มีแก่พวกเรา (เป็นแน่), บัดนี้ พวกเราอยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว จักไปสู่สำนักของพระศาสดา”
พวกเธออำลามหาอุบาสิกาว่า “พวกฉันใคร่จะเฝ้าพระศาสดา.”
มหาอุบาสิกากล่าวว่า “ดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย” แล้วตามไปส่งภิกษุเหล่านั้น, กล่าวคำอันเป็นที่รักเป็นอันมากว่า “ขอท่านทั้งหลาย พึง (มา) เยี่ยมดิฉันแม้อีก” ดังนี้เป็นต้น แล้วจึงกลับ.

พระศาสดาตรัสถามสุขทุกข์กะภิกษุเหล่านั้น
ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นแล ถึงเมืองสาวัตถีแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง อันพระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย (สรีรยนต์มีจักร ๔ มีทวาร ๙) พวกเธอพออดทนได้ดอกหรือ? พวกเธอพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ดอกหรือ? อนึ่ง พวกเธอไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ?”
จึงกราบทูลว่า “พออดทนได้ พระเจ้าข้า พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ พระเจ้าข้า, อนึ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้ลำบากด้วยบิณฑบาตเลย, เพราะว่า อุบาสิกาคนหนึ่งชื่อมาติกมาตา ทราบวาระจิตของพวกข้าพระองค์. เมื่อพวกข้าพระองค์คิดว่า ‘ไฉนหนอ มหาอุบาสิกาจะพึงจัดแจงอาหารชื่อเห็นปานนี้เพื่อพวกเรา.’ (นาง) ก็ได้จัดแจงอาหารถวายตามที่พวกข้าพระองค์คิดแล้ว” ดังนี้แล้ว ก็กล่าวสรรเสริญคุณของมหาอุบาสิกานั้น.

อุบาสิกาจัดของถวายตามที่ภิกษุต้องการ
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งสดับถ้อยคำสรรเสริญคุณของมหาอุบาสิกานั้นแล้ว เป็นผู้ใคร่จะไปในที่นั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว ทูลลาพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไปยังบ้านนั้น” แล้วออกจากพระเชตวัน ถึงบ้านนั้นโดยลำดับ ในวันที่ตนเข้าไปสู่วิหาร คิดว่า “เขาเล่าลือว่า อุบาสิกานี้ย่อมรู้ถึงเหตุอันบุคคลอื่นคิดแล้วๆ. ก็เราเหน็ดเหนื่อยแล้วในหนทาง จักไม่สามารถกวาดวิหารได้, ไฉนหนอ อุบาสิกานี้จะพึงส่งคนผู้ชำระวิหารมาเพื่อเรา.”
อุบาสิกานั่งในเรือนนั่นเองรำพึงอยู่ ทราบความนั้นแล้ว จึงส่งคนไปด้วยคำว่า “เจ้าจงไป, ชำระวิหารแล้วจึงมา.”
ฝ่ายภิกษุนอกนี้อยากดื่มน้ำ จึงคิดว่า “ไฉนหนอ อุบาสิกานี้จะพึงทำน้ำดื่มละลายน้ำตาลกรวดส่งมาให้แก่เรา.” อุบาสิกาก็ได้ส่งน้ำนั้นไปให้. เธอคิด (อีก) ว่า “ขออุบาสิกา จงส่งข้าวยาคูมีรสสนิทและแกงอ่อมมาเพื่อเรา ในวันพรุ่งนี้แต่เช้าตรู่เถิด.” อุบาสิกาก็ได้ทำอย่างนั้น. ภิกษุนั้นดื่มข้าวยาคูแล้ว คิดว่า “ไฉนหนอ อุบาสิกาพึงส่งของขบเคี้ยวเห็นปานนี้มาเพื่อเรา.” อุบาสิกาก็ได้ส่งของเคี้ยวแม้นั้นไปแล้ว เธอคิดว่า “อุบาสิกานี้ส่งวัตถุที่เราคิดแล้วๆ ทุกๆ สิ่งมา, เราอยากจะพบอุบาสิกานั่น, ไฉนหนอ นางพึงให้คนถือโภชนะมีรสเลิศต่างๆ เพื่อเรา มาด้วยตนเองทีเดียว.”
อุบาสิกาคิดว่า “ภิกษุผู้บุตรของเราประสงค์จะเห็นเราหวังการไปของเราอยู่”, ดังนี้แล้ว จึงให้คนถือโภชนะไปสู่วิหารแล้วได้ ถวายแก่ภิกษุนั้น.
ภิกษุนั้นทำภัตกิจแล้ว ถามว่า “มหาอุบาสิกา ท่านหรือ? ชื่อว่ามาติกมาตา.”
อุบาสิกา. ถูกแล้ว พ่อ.
ภิกษุ. อุบาสิกา ท่านทราบจิตของคนอื่นหรือ?
อุบาสิกา. ถามดิฉันทำไม? พ่อ.
ภิกษุ. ท่านได้ทำวัตถุทุกๆ สิ่งที่ฉันคิดแล้วๆ, เพราะฉะนั้น ฉันจึงถามท่าน.
อุบาสิกา. พ่อ ภิกษุที่รู้จิตของคนอื่น ก็มีมาก.
ภิกษุ. ฉันไม่ได้ถามถึงคนอื่น, ถาม (เฉพาะตัว) ท่านอุบาสิกา.
แม้เป็นอย่างนั้น อุบาสิกาก็มิได้บอก (ตรงๆ) ว่า “ดิฉันรู้จิตของคนอื่น” (กลับ) กล่าวว่า “ลูกเอ๋ย ธรรมดาคนทั้งหลายผู้รู้จิตของคนอื่น ย่อมทำอย่างนั้นได้.”

ภิกษุลาอุบาสิกากลับไปเฝ้าพระศาสดา
ภิกษุนั้นคิดว่า “กรรมนี้หนักหนอ, ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึงอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง, ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้วไซร้, อุบาสิกานี้ ก็พึงยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมด้วยของกลางฉะนั้น, เราควรหนีไปเสียจากที่นี้” แล้วกล่าวว่า “อุบาสิกา ฉันจักลาไปละ.”
อุบาสิกา. ท่านจักไปที่ไหน? พระผู้เป็นเจ้า.
ภิกษุ. ฉันจักไปสู่สำนักพระศาสดา อุบาสิกา.
อุบาสิกา. ขอท่านจงอยู่ในที่นี้ก่อนเถิด เจ้าข้า.
ภิกษุนั้นกล่าวว่า “ฉันจักไม่อยู่ อุบาสิกา จักต้องไปอย่างแน่นอน” แล้วได้เดินออก (จากที่นั้น) ไปสู่สำนักของพระศาสดา.

พระศาสดาแนะให้รักษาจิตอย่างเดียว
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า “ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้นไม่ได้หรือ?”
ภิกษุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่สามารถอยู่ในที่นั้นได้.
พระศาสดา. เพราะเหตุไร? ภิกษุ.
ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เพราะว่า) อุบาสิกานั้นย่อมรู้ถึงเรื่องอันคนอื่นคิดแล้วๆ ทุกประการ, ข้าพระองค์คิดว่า “ก็ธรรมดา ปุถุชนย่อมคิดอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง, ถ้าเราจักคิดสิ่งบางอย่างอันไม่สมควรแล้วไซร้, อุบาสิกานั้นก็จักยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมทั้งของกลางฉะนั้น” ดังนี้แล้ว จึงได้มา.
พระศาสดา. ภิกษุ เธอควรอยู่ในที่นั้นแหละ.
ภิกษุ. ข้าพระองค์ไม่สามารถ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอยู่ในที่นั้นไม่ได้.
พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจักอาจรักษาสิ่งหนึ่งเท่านั้นได้ไหม?
ภิกษุ. รักษาอะไร? พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า “เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ ธรรมดาจิตนี้บุคคลรักษาได้ยาก, เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้ อย่าคิดถึงอารมณ์ อะไรๆ อย่างอื่น, ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก” ดังนี้แล้ว
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
๒. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตก
ไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า)
จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.

...
บทนี้ น่าเป็น ต.ย.
มหาอุบาสิกาเรียนธรรม
จากภิกษุที่ยังไม่บรรลุธรรมก็มาสามารถบรรลุได้ก่อน
....


นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก
ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น
จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกาม
คุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อ
จะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้ว
จากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น การ
ฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์
อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคล
ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก
ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคล
คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปใน
ที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย
ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มี
จิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว
ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่า
เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร

พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา
ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว
มีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจ
ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคน
มีเวรเห็นคนผู้คู่เวรกันพึงทำความฉิบหาย
และความทุกข์ใดให้
จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดพึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย
และความทุกข์นั้นมารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติ
เหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว
พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... =366&Z=394
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 276

โพสต์

peerawit เขียน:
Dech เขียน:
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้"


-----------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไร....

แล้วคำถามคือ ตอนนี้พวกเรารู้มากกว่าพระสารีบุตรก่อนเจอพระอัสสชิอีก ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน

แล้วเราก็เคยได้อ่าน ได้ฟัง ได้เขียน ได้พิจารณา ประโยคเดียวกับที่อุปติสสะปริพาชกได้ฟัง
ไม่รู้กี่รอบแล้ว ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน
เหตุเพราะอินทรีย์ห้าไม่เท่ากันครับ

[๘๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
๑. สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา]
๒. วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ]
๓. สตินทรีย์ [อินทรีย์คือสติ]
๔. สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ]
๕. ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา]
ขอรบกวนขยายความด้วยคับ คุณ peerawit เรื่องอินทรีย์ห้า
ว่ามีพระสูตรไหนที่อธิบายความหมายของแต่ละอย่างว่าประกอบด้วยอะไรบ้างคับ

ขอบคุณมากคับ
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 277

โพสต์

Tibular เขียน:
peerawit เขียน:
Dech เขียน:
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้"


-----------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไร....

แล้วคำถามคือ ตอนนี้พวกเรารู้มากกว่าพระสารีบุตรก่อนเจอพระอัสสชิอีก ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน

แล้วเราก็เคยได้อ่าน ได้ฟัง ได้เขียน ได้พิจารณา ประโยคเดียวกับที่อุปติสสะปริพาชกได้ฟัง
ไม่รู้กี่รอบแล้ว ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน
เหตุเพราะอินทรีย์ห้าไม่เท่ากันครับ

[๘๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
๑. สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา]
๒. วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ]
๓. สตินทรีย์ [อินทรีย์คือสติ]
๔. สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ]
๕. ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา]
ขอรบกวนขยายความด้วยคับ คุณ peerawit เรื่องอินทรีย์ห้า
ว่ามีพระสูตรไหนที่อธิบายความหมายของแต่ละอย่างว่าประกอบด้วยอะไรบ้างคับ

ขอบคุณมากคับ

[๘๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
[๘๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ใน
โสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๔] ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๕] ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็น
สตินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๖] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในฌาน ๔ พึงเห็น
สมาธินทรีย์ในธรรมนี้.
[๘๕๗] ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในอริยสัจ ๔ พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ในธรรมนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.


.....


[๘๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
[๘๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.
[๘๗๒] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ย่อมได้ความเพียร
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.
[๘๗๓] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้สติ นี้เรียกว่า
สตินทรีย์.
[๘๗๔] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วงนิพพานให้เป็น
อารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
[๘๗๕] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบ
ด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 278

โพสต์

Tibular เขียน:
peerawit เขียน:
Dech เขียน:
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้"


-----------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไร....

แล้วคำถามคือ ตอนนี้พวกเรารู้มากกว่าพระสารีบุตรก่อนเจอพระอัสสชิอีก ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน

แล้วเราก็เคยได้อ่าน ได้ฟัง ได้เขียน ได้พิจารณา ประโยคเดียวกับที่อุปติสสะปริพาชกได้ฟัง
ไม่รู้กี่รอบแล้ว ทำไมเราถึงยังไม่แจ้งกัน
เหตุเพราะอินทรีย์ห้าไม่เท่ากันครับ

[๘๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
๑. สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา]
๒. วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ]
๓. สตินทรีย์ [อินทรีย์คือสติ]
๔. สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ]
๕. ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา]
ขอรบกวนขยายความด้วยคับ คุณ peerawit เรื่องอินทรีย์ห้า
ว่ามีพระสูตรไหนที่อธิบายความหมายของแต่ละอย่างว่าประกอบด้วยอะไรบ้างคับ

ขอบคุณมากคับ
อินทรีย์ห้า ก้อ วัดกันที่ โสตาปัตติยังคะสี่, สัมมัปปทานสี่, สติปัฎฐานสี่, ฌานทั้งสี่ และ อริยสัจสี่ครับ
....
[๘๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
[๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.
[๘๖๖] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภ
ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้มั่น เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่บังเกิดขึ้น
เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่บังเกิดขึ้น
เพื่อความถึงพร้อม เพื่อความไม่หลงลืม เพื่อเจริญยิ่งขึ้น เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ
เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.
[๘๖๗] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำพูด
แม้นานได้ อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิต
ในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสีย นี้เรียกว่า สตินทรีย์.
[๘๖๘] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำ
นิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่
เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส
ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
[๘๖๙] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกข-
*นิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการ
นี้แล. ... ตถาคต
ไม่ประมาท
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 279

โพสต์

กาย-จิต ทุกข์ (ต่อ)

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=0&Z=105
พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ขันธสังยุต
มูลปัณณาสก์
นกุลปิตวรรคที่ ๑
๑. นกุลปิตาสูตร
ว่าด้วยกายเปรียบด้วยฟองไข่
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน (ป่าเป็นที่นางยักษ์ชื่อเภสกฬา
อยู่อาศัย) อันเป็นสถานที่ให้อภัยแก่หมู่มฤค ใกล้เมืองสุงสุมารคิระในภัคคชนบท ฯลฯ
ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนกุลบิดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่า
เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วโดยลำดับ มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยเนืองๆ พระพุทธเจ้าข้า
ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคและภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดพร่ำสอนข้าพระองค์ ด้วยธรรมที่เป็น
ไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นั่น
ถูกแล้วๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังว่าฟองไข่
อันผิวหนังหุ้มไว้ ดูกรคฤหบดี
ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรับรองความเป็นผู้ไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไร
เล่า นอกจากความเป็นคนเขลา
ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูกรคฤหบดี ท่านพึงศึกษา
อย่างนี้แล.

[๒] ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนกุลบิดา ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุก
จากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวกะนกุลปิตคฤหบดีว่า
คฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง วันนี้ ท่านได้ฟัง
ธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคหรือ?


นกุลปิตคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ไฉนจะไม่เป็นอย่างนี้เล่า พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมฤตธรรมรดข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถา.

ส. ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมฤตธรรมรดท่านด้วยธรรมีกถาอย่างไรเล่า?

น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (ข้าพเจ้าจะเล่าถวาย) ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวาย
อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วโดยลำดับ มีกายกระสับกระส่าย
เจ็บป่วยเนืองๆ พระพุทธเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคและภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้
เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดพร่ำ
สอนข้าพระองค์ด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด.

เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นั่น ถูกแล้วๆ คฤหบดี อันที่จริง
กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังว่าฟองไข่ อันผิวหนังหุ้มไว้ ดูกรคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่
พึงรับรองความเป็นผู้ไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว
จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูกร
คฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของ
เราจักไม่กระสับกระส่าย

ดูกรคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคทรงหลั่งอมฤตธรรมรดข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถาอย่างนี้แล.

[๓] ส. ดูกรคฤหบดี ก็ท่านมิได้ทูลสอบถามพระผู้มีพระภาคต่อไปว่า พระพุทธเจ้าข้า
ด้วยเหตุเท่าไรหนอ?
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายและเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย
และก็ด้วยเหตุเท่าไรหนอ?
บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย
ไม่.

น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาแม้แต่ที่ไกล เพื่อจะทราบเนื้อความแห่งภาษิตนั้นใน
สำนักท่านพระสารีบุตร ดีละหนอ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด.
ส. ดูกรคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
นกุลปิตคฤหบดีรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว. ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวว่า



....
สักกายทิฏฐิ ๒๐

[๔] ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า?
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายด้วย จึง
ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย.

ดูกรคฤหบดี คือ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้
เห็นพระอริยะทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม

ย่อมเห็นรูปโดย
ความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมเห็นรูปในตน ๑
ย่อมเห็นตนในรูป ๑
เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา.

เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา
รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
เพราะรูปแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
จึงเกิดขึ้น.


ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑
ย่อมเห็นเวทนาในตน ๑
ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑
เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา.
เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา
เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น
.

ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีสัญญา ๑
ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑
ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑
เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา.

เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา
สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.


ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑
ย่อมเห็นสังขารในตน ๑
ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นสังขาร สังขารของเรา.
เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา
สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.


ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา
เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณ
ของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.


ดูกรคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย.

[๕] ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า?
บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย
แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.

ดูกรคฤหบดี คือ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้
ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย
ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม

ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑
ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนในรูป ๑
ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา.


เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น.

ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมไม่เห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เป็นผู้ตั้ง
อยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา.
เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปร
ปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น.

ย่อมไม่เห็น
สัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑
ย่อมไม่เห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑
ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสัญญา สัญญาของเรา. เมื่ออริยสาวก
นั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา. สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็น
อย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ
อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น.

ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมไม่
เห็นสังขารในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร
สังขารของเรา. เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา
สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น.

ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็น
ตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วย
ความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา. เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณ
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น. ดูกร
คฤหบดี
อย่างนี้แล บุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำเช่นนี้แล้ว นกุลปิตคฤหบดี ชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน
พระสารีบุตร ฉะนี้แล.


...***...
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 280

โพสต์

เป็น ๒๐ อย่างไร
ก็คือ เห็นว่าขันธ์ ๕
เป็นตน คือเห็นว่า
รูปเป็นตน
เวทนาเป็นตน
สัญญาเป็นตน
สังขารเป็นตน
วิญญาณเป็นตน
ก็ได้ ๕ ข้อ

เห็นว่าตนมีขันธ์ ๕ คือเห็นว่า
ตนมีรูป
ตนมีเวทนา
ตนมีสัญญา
ตนมีสังขาร
ตนมีวิญญาณ ก็ได้อีก ๕

เห็นขันธ์ ๕ ในตน
คือเห็นรูปในตน
เห็นเวทนาในตน
เห็นสัญญาในตน
เห็นสังขารในตน
เห็นวิญญาณในตน
ก็เป็นอีก ๕

เห็นตนในขันธ์ ๕
คือเห็นตนในรูป
เห็นตนในเวทนา
เห็นตนในสัญญา
เห็นตนในสังขาร
เห็นตนในวิญญาณ ก็เป็นอีก ๕

ห้าสี่หนก็เป็น ๒๐ จึงเรียกว่าสักกายทิฏฐิ ๒๐ ความเห็นว่ากายของตน ๒๐

http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sd-084.htm

....
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 281

โพสต์

ขอบคุณ คุณ imerlot มากครับ

จิตนี้ก้อมิใช่เราสินะคับ T_T
ไม่ประมาท
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 282

โพสต์

อันนี้
ของท่านจิตตคฤหบดี
(ข้าพเจ้าปัญญาน้อย..ยังไม่สามารถเข้าใจ)

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 456&Z=7524
กามภูสูตรที่ ๒
[๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์
ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมี
เท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูกรคฤหบดี
สังขารมี ๓ คือ

กายสังขาร
วจีสังขาร
จิตตสังขาร


[๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม
อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน ฯ

กา. ดูกรคฤหบดี
(1) ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่ากายสังขาร
(2)วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร
(3) สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร


[๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
จึงชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตต-
*สังขาร ฯ


(1) กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กาย
ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากาย

(2) สังขาร บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตกวิจาร
จึงชื่อว่าวจีสังขาร


(3)สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต
ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ


[๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร ฯ

กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิด
อย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง โดยที่ถูกก่อนแต่จะเข้า ท่านได้อบรมจิตที่
จะน้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม) ฯ

[๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรม
เหล่าไหนดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารดับก่อน ฯ

กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
วจีสังขารดับก่อน
ต่อจากนั้นกายสังขารดับ
ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ ฯ

[๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร ฯ

กา. ดูกรคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบ
มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์
แตกกระจาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ กายสังขารดับสงบ วจีสังขาร
ดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ (แต่) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์
ผ่องใส ดูกรคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
มีความต่างกันอย่างนี้ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=18&i=560

ต่อจากนั้น จิตตสังขาร จึงดับในภายในนิโรธสมาบัติ.
บทว่า อายุ คือ รูปชีวิตินทรีย์. บทว่า วิปริภินฺนานิ คือ ถูกกำจัดพินาศไปแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น อาจารย์บางพวกย่อมกล่าวว่า เมื่อเข้านิโรธแล้ว จิตย่อมไม่ดับ เพราะบาลีว่า จิตตสังขารดับ เพราะฉะนั้น ก็สมาบัตินี้ก็ยังมีจิตอยู่.
อาจารย์บางพวกเหล่านั้นพึงถูกท้วงว่า วาจาก็ไม่ดับ เพราะบาลีว่า วจีสังขารของเขาต่างหากดับ เพราะฉะนั้น ผู้เข้านิโรธแล้วพึงนั่งกล่าวธรรมอยู่ก็มี พึงนั่งสาธยายอยู่ก็มี. จิตก็ไม่ดับ เพราะบาลีว่า คนนี้ตายแล้ว ทำกาละแล้ว จิตตสังขารของเขาต่างหากดับ เพราะฉะนั้น เมื่อเผามารดาบิดาก็ดี พระอรหันต์ก็ดีที่ตายแล้ว จึงเป็นอนันตริยกรรม ไม่พึงยึดพยัญชนะจนเกินไป ดำรงอยู่ในข้อแนะนำของอาจารย์ทั้งหลาย พิจารณาถึงเนื้อความด้วยประการฉะนี้. ด้วยว่า เนื้อความเป็นที่พึ่งได้ พยัญชนะไม่ได้.
บทว่า อินฺทฺริยานิ วิปฺปสนฺนานิ ความว่า ก็เมื่อความประพฤติสำเร็จด้วยกิริยาเป็นไปอยู่ อารมณ์ทั้งหลายในภายนอกกระทบอยู่ที่ประสาททั้งหลาย อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเหน็ดเหนื่อย. อินทรีย์ทั้งหลายอันถูกกระทบแล้ว ย่อมเป็นเหมือนเปื้อน, เหมือนกระจกอันเขาตั้งไว้ในทางใหญ่ ๔ แพร่งย่อมเปื้อนด้วยธุลีเกิดแต่ลมเป็นต้นฉะนั้น. เปรียบเหมือนกระจก อันเขาใส่ไว้ในถุงเก็บไว้ในหีบเป็นต้น ย่อมใสแจ๋วอยู่ภายในเท่านั้นฉันใด เมื่อภิกษุเข้านิโรธแล้ว ประสาท ๕ ย่อมรุ่งเรืองยิ่งนักในภายในนิโรธฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อินฺทฺริยานิ วิปฺปสนฺนานิ อินทรีย์ผ่องใส.
ท่านกล่าวถึงเวลาอยู่ภายในนิโรธ ด้วยสองบทว่า วุฏฺฐหิสฺสนฺติ วา วุฏฺฐหามิ วา. ท่านกล่าวถึงเวลาผลสมาบัติเกิด ด้วยบทว่า วุฏฺฐิโต. ท่านกล่าวถึงเวลาไม่มีจิตด้วยสองบทก่อนนั้น. ด้วยบทหลังท่านกล่าวถึงเวลามีจิต.
บทว่า ปุพฺเพ จ ตถา จิตฺตํ โหติ ความว่า ท่านได้อบรมจิตอันกำหนดเวลาได้ว่า เราเป็นผู้ไม่มีจิต จักอยู่ได้ตลอดเวลาประมาณเท่านี้ ต่อแต่นั้นจักเป็นผู้มีจิต ในเวลาก่อนแต่จะออกจากนิโรธสมาบัติ ก็กำหนดเวลาได้.
บทว่า ยนฺตํ ตถตฺตาย อุปเนติ ความว่า จิตที่ท่านอบรมอย่างนี้แล้ว ย่อมนำบุคคลนั้นเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น คือความเป็นผู้มีจิต. ท่านกล่าวเวลาเข้านิโรธไว้ในหนหลังแล้วด้วยประการฉะนี้. ในที่นี้ ท่านกล่าวเวลาออกจากนิโรธ.
บัดนี้ ท่านพึงกล่าวนิโรธกถาว่า วาทะเพื่อจะกล่าวนิโรธกถา. ก็นิโรธกถานี้นั้น ท่านตั้งเป็นหัวข้อว่า ปัญญาที่อบรมจนชำนาญด้วยการสงบระงับสังขาร ๓ เพราะประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความประพฤติในญาณ (ญาณจริยา) ๑๖ ด้วยความประพฤติในสมาธิ (สมาธิจริยา) ๙ เป็นญาณในนิโรธสมาบัติ ซึ่งกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวงแล้ว เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยนัยอันกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นแล.
ถามว่า ชื่อว่านิโรธนี้ อย่างไร.
ตอบว่า การพิจารณาขันธ์ ๔ แล้ว ไม่เป็นไป.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกภิกษุย่อมเข้านิโรธนั้น เพื่อประโยชน์อะไร.
ตอบว่า ย่อมเข้าเพื่อประโยชน์นี้ว่า พวกเรา (เคย) เป็นผู้กระสันในความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย (บัดนี้) จักเป็นผู้ไม่มีจิตอยู่เป็นสุขตลอด ๗ วัน. นิโรธนี้ ชื่อว่าทิฏฐธรรมนิพพาน - นิพพานในปัจจุบัน.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 283

โพสต์

ขอบคุณคับ คุณ peerawit สำหรับพระสูตรเรื่องอินทรีย์ห้า เข้าใจแจ่มแจ้งเลยคับ
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 284

โพสต์

ขอแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้เคยสนทนาธรรมกับหลวงพ่อรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าในชีวิตที่มีโอกาสได้รับการแบ่งปันประสบการณ์จากท่าน

หลวงพ่อ : โยมคิดว่าคนเราตายไปแล้วหิวไหม
โยม : ไม่หิว ครับ (จะหิวได้อย่างไร ร่างกาย -- > ศพ ---- > ธาตุทั้งสี่กลับคืนสู่ธรรมชาติ)
หลวงพ่อ : ใช่ร่างกายมันสลายไปแล้ว แต่ถ้าใจยังหิวอยู่ ก็ยังต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก

อีกซักเรื่องครับ
โยม : หลวงพ่อครับ ช่วงนี้อ้วนมากน้ำหนักลดไม่ลงเลย มีสูตรเด็ดเคล็ดลับไหมครับ
หลวงพ่อ : โยมไปดูน่ะ ตัวหิว หรือ ใจหิว
โยม : จริงด้วย ร่างกายมันอิ่มแล้ว แต่ใจมันยังไม่อิ่มเลย ยังคงเสาะแสวงหาเพื่อมาบำรุงใจที่หิวไม่รู้จักอิ่มซะที

มีกัลยาณมิตรท่านหนึ่งกล่าวกับผมว่า ลำพังการกินเพื่อบำรุงร่างกายนั้นไม่เท่าไหร่ แต่การกินเพื่อบำรุงอัตตานั้นมีราคาสูงมากมาย (จ่ายน้อยแต่ได้ผลมาก จ่ายมากได้ผลน้อย)

เพื่อนชาววีไอ ลองไปดูว่าการลงทุนของท่านนั้นตอบสนอง ตัวหิว หรือ ใจหิว น่ะครับ เมื่อท่านประสบผลสำเร็จแล้วสิ่งที่ท่านทำ
อยู่นั้นท่านบำรุงสิ่งใดอยู่

สุดท้ายนี้อย่าลืม กฎธรรมชาติข้อหนึ่งที่พึงระลึกไว้เสมอคือ สามัญไปสู่สูงสุด สูงสุดคืนสู่สามัญ ซึ่งเป็นมรดกติดตัวทุกท่านทุกคคนรวมทั้งผมด้วยครับ ขอท่านทั้งหลายเจริญในธรรมครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 285

โพสต์

Tibular เขียน:ขอบคุณคับ คุณ peerawit สำหรับพระสูตรเรื่องอินทรีย์ห้า เข้าใจแจ่มแจ้งเลยคับ
ผมอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจอ่ะครับ รบกวนช่วยขยายความหน่อยได้ไหมครับ?
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 286

โพสต์

ขอบคุณ คุณ peerawit คุณ imerlot คุณ Tibular คุณ koko8889 คุณ picatos และทุกๆ ท่านมากๆครับ
ขออนุโมทนาด้วยครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 287

โพสต์

picatos เขียน:
Tibular เขียน:ขอบคุณคับ คุณ peerawit สำหรับพระสูตรเรื่องอินทรีย์ห้า เข้าใจแจ่มแจ้งเลยคับ
ผมอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจอ่ะครับ รบกวนช่วยขยายความหน่อยได้ไหมครับ?
1.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ใน
โสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.

ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็น
วิริยินทรีย์ในธรรมนี้.

ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็น
สตินทรีย์ในธรรมนี้.

ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในฌาน ๔ พึงเห็น
สมาธินทรีย์ในธรรมนี้.

ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในอริยสัจ ๔ พึงเห็น
ปัญญินทรีย์ในธรรมนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

2.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.

ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสัมมัปปธาน ๔ ย่อมได้ความเพียร
นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

ก็สตินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๔ ย่อมได้สติ นี้เรียกว่า
สตินทรีย์.

ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วงนิพพานให้เป็น
อารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.

ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบ
ด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.


ทั้งสองพระสูตรก็บอกละเอียดแล้วนะคับ ผมก็ไม่สามารถอธิบายได้ดีไปกว่านี้อีก แต่จะลองสรุปความดู

เรามีศรัทธาเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาจริง เป็นผู้ที่ไม่หลง เห็นในความจริงทั้งหลาย
ท่านสอนธรรมจริง และธรรมที่ท่านสอน มีพระสงฆ์ปฏิบัติตามจริง และเราสามารถเข้าใจตามได้ ปฏิบัติ และเห็นผลได้จริงไม่ว่าตอนไหน

แล้วก็เรื่องศรัทธาก็จะมีนัยอีกในเรื่องของ โสตาปัตติยังคะ ๔ ซึ่งก็มีสองนัยอีก

1. ข้อนี้จากพระสูตร

องค์แห่งพระโสดาบัน ๔ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนายสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มี
ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี
พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก-
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ว่า
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ
คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของบูชา
เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นบุญเขตของชาวโลก ไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่า ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย
อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิ ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ

2. ข้อนี้จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

โสตาปัตติยังคะ 4 (องค์คุณเครื่องบรรลุโสดา, องค์ประกอบของการบรรลุโสดา, คุณสมบัติที่ทำให้เป็นพระโสดาบัน)
1. สัปปุริสสังเสวะ (เสวนาสัตบุรุษ, คบหาท่านผู้ทรงธรรมทรงปัญญาเป็นกัลยาณมิตร)
2. สัทธัมมัสสวนะ (สดับสัทธรรม, ใส่ใจเล่าเรียนฟังอ่านหาความรู้ให้ได้ธรรมที่แท้)
3. โยนิโสมนสิการ (ทำในใจโดยแยบคาย, รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี)
4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม, ปฏิบัติธรรมถูกหลัก)


ส่วนมีวิริยะ ก็คือ สัมมัปปธานสี่ หรือ สัมมาวิริยะ ก็ได้นัยยะเหมือนกัน

สติ คือ การเจริญสติปัฏฐานสี่ หรือ สัมมาสติ ก็ได้นัยยะเหมือนกัน

สมาธิ คือ ฌานทั้งสี่ หรือ สัมมาสมาธิ ก็ได้นัยะเหมือนกัน

ปัญญา คือ เห็นอริยสัจสี่ หรือ เห็นการเกิด-ดับของขันธ์ทั้งห้า หรือ การเกิด-ดับทางอยาตนะ
หรือ เห็นการเกิด-ดับของสายปฏิจจสมุปบาท หรือ เห็นความไม่เที่ยง ความแตกสลาย ความไม่มีตัวตนถาวร ก็ได้นัยะเหมือนกัน
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 288

โพสต์

นัย..แห่ง.. คัมภีร์วิสุทธิมรรค ..อินทรีย์ 5 เสมอกัน


ถ้ายังไม่สำเร็จอัปปนาฌาน ต้องบำเพ็ญอัปปนาโกศล ๑๐ ประการ

ก็แหละ โยคีบุคคลใดแม้จะได้ปฏิบัติอย่างนั้นแล้ว ก็ยังไม่ได้สำเร็จอัปปนาฌาน โยคีบุคคลนั้นพึงบำเพ็ญอัปปนาโกศล (คือวิธีที่จะให้มีความฉลาดในอัปปนา) ให้เกิดขึ้นโดยบริบูรณ์ต่อไป

ในอัปปนาโกศลนั้น มีนัยดังนี้ - อันโยคีบุคคลจำต้องปรารถนาวิธีที่จะให้มีความฉลาดในอัปปนาสมาธิ โดยประการ ๑๐ อย่าง คือ –

๑. วตฺถุวิสทกิริยโต โดยทำวัตถุให้สะอาด

๒. อินฺทริยสมตฺตปฏิปาทนโต โดยทำอินทรีย์ให้ถึงความเสมอกัน

๓. นิมิตฺตกุสลโต โดยฉลาดในนิมิต

๔. จิตฺตปคฺคหโต โดยยกจิตในสมัยที่ควรยก

๕. จิตฺตนิคฺคหโต โดยข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม

๖. จิตฺตสมฺปหํสโต โดยพยุงจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง

๗. จิตฺตอชฺฌุเปกฺขโต โดยเพ่งดูจิตเฉยในสมัยที่ควรเพ่งดูเฉย

๘. อสมาหิตปุคฺคลปริวชฺชนโต โดยเว้นบุคคลผู้ไม่มีสมาธิ

๙. สมาหตปุคฺคลเสวนโต โดยสมาคมกับบุคคลผู้มีสมาธิ และ

๑๐. ตทธิมุตฺตโต โดยน้อมจิตไปในสมาธินั้น


อธิบาย อัปปนาโกศล ๑๐ ประการ


....
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7 ... 1%E0%B9%95

...

อธิบาย อัปปนาโกศล ๑๐ ประการ

๒. โดยทำอินทรีย์ให้ถึงความเสมอกัน

การทำอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นให้มีความสม่ำเสมอกันโดยหน้าที่ ชื่อว่า ทำอินทรีย์ให้ถึงความเสมอกัน อธิบายว่า ถ้าแหละ อินทรีย์คือศรัทธาของโยคีบุคคลนั้นมีกำลังมาก อินทรีย์ ๔ นอกนี้มีกำลังน้อยแล้วไซร้ เพราะเหตุนั้น อินทรีย์คือวีริยะ ย่อมไม่สามารถเพื่อทำหน้าที่คือการประคอง อินทรีย์คือสติ ย่อมไม่สามารถเพื่อทำหน้าที่คือการปรากฏ อินทรีย์คือสมาธิ ย่อมไม่สามารถเพื่อทำหน้าที่คือความไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์คือปัญญาย่อมไม่สามารถทำหน้าที่คือการเห็นแจ้ง

เพราะฉะนั้น ต้องลดสัทธินทรีย์นั้นลง

ด้วยการพิจารณาถึงสภาวธรรมคือภาวะที่เป็นจริงของสัทธินทรีย์นั้น
หรือด้วยไม่มนสิการถึงโดยวิธีที่มนสิการถึงแล้วสัทธินทรีย์เกิดมีกำลังมากขึ้น แหละในอธิการนี้ มีเรื่องพระวักกลิเถระ เป็นตัวอย่าง


เรื่องพระวักกลิเถระ

ก็แหละ ท่านวักกลิเถระนั้น เป็นผู้มีบุญญาธิการอันได้สั่งสมไว้ในสัทธาธิมุต คือ ความเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า จึงเป็นผู้ขวนขวายในอันจะได้เห็นพระรูปพระโฉมของพระศาสดาอยู่อย่างไม่รู้สร่าง แม้พระบรมศาสดาจะได้ทรงโอวาทแล้วทรงประกอบไว้ในกัมมัฏฐาน โดยนัยมีอาทิว่า วักกลิ เธอต้องการอะไรด้วยอันเห็นกายอันเปื่อยเน่านี้เล่า วักกลิ

(หน้าที่ 215)

ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นจึงชื่อว่าเห็นเรา ฉะนี้แล้วก็ตาม เธอก็มิได้สนใจประกอบพระกัมมัฏฐานนั้น กลับเสียใจ ได้ขึ้นไปยังทีปากเหวเพื่อทำตนให้ตกลงไป ทันใดนั้น พระบรมศาสดาซึ่งเสด็จประทับนั่งอยู่อย่างปกตินั่นเทียว ได้ทรงเปล่งพระรัศมีไปทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ตรัสพระพุทธนิพนธคาถาว่า “ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมช เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามีหวังได้บรรลุสันติบท คือความสุขอันเป็นที่ระงับดับเสียซึ่งสังขารธรรมทั้งหลาย” ฉะนี้แล้ว ได้ทรงเรียกพระวักกลิเถระว่า “มานี่แน่ วักกลิ” ท่านวักกลิเถระนั้น อันพระบรมศาสดาได้ทรงประพรมด้วยน้ำพระพุทธมนต์อมฤตรสนั้นแล้ว กลับมีความร่าเริงยินดี จึงได้เริ่มลงมือเจริญวิปัสสนา แต่ก็ไม่อาจหยั่งลงสู่วิปัสสนาวิถีได้ เพราะเหตุที่ศรัทธามีกำลังมากเกินไป
พระผู้มีพระภาคทรงทราบเช่นนั้น
จึงทรงแก้ไขให้ท่านถึงความเป็นผู้มีอินทรีย์สม่ำเสมอกัน ทรงสอบชำระพระกัมมัฏฐานประทานให้
แล้วท่านวักกลิเถระปฏิบัติวิปัสสนาให้ก้าวหน้าขึ้นไป โดยนัยที่พระพุทธองค์ทรงประทานให้นั้น ก็ได้บรรลุถึงซึ่งพระอรหัตโดยลำดับแห่งอริยมรรคขึ้นไป ฉะนี้แล

แหละถ้าวีริยินทรีย์มีกำลังมาก แต่นั้น สัทธินทรีย์ก็จะไม่สามารถทำหน้าที่คือการตัดสินอารมณ์ได้ อินทรีย์อื่นนอกนี้ก็จะไม่สามารถทำหน้าที่ที่ต่างกันนอกนี้ได้ เพราะฉะนั้น ต้องลดวีริยินทรีย์นั้นลง ด้วยการเจริญสัมโพชฌงค์ ๓ ประการ คือ ปัสสัทธิ, สมาธิ และอุเบกขา แม้ในอธิการนี้
.........................................................................................
ก็ควรแสดงเรื่องพระโสณเถระผู้ละเอียดอ่อนเป็นตัวอย่าง ดังนี้ –
เรื่องพระโสณเถระ

ก็แหละ ท่านโสณเถระนั้น เรียนเอาพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระบรมศาสดาแล้วไปอยู่ ณ ป่าสีเสียด ท่านคิดว่า “ร่างกายเราละเอียดอ่อนมาก และเราไม่สามารถจะบรรลุถึงสุขได้โดยง่ายเลย เราจึงควรบำเพ็ญสมณธรรมแม้อย่างที่ทรมานกายให้ลำบาก” ฉะนี้แล้ว ได้อธิษฐานเอาอิริยาบถยืนและเดินเพียง ๒ อย่างเท่านั้น พยายามประกอบความเพียรอยู่แม้ที่ฝ่าเท้าที่ข้อเท้าจะมีเวทนาปรากฏเกิดขึ้น ก็ไม่เอาใจใส่ พยายามทำความเพียรอย่างมุ่งมั่น

(หน้าที่ 216)


แต่กระนั้น ก็ไม่สามารถจะทำคุณวิเศษให้บังเกิดขึ้นได้ เพราะปรารถความเพียรแรงกล้าเกินไป พระบรมศาสดาจึงได้เสด็จไป ณ ที่นั้น ทรงประทานพระพุทธโอวาทด้วยวีโณวาท คือโอวาทเปรียบด้วยพิณสามสาย ทรงแสดงวิธีปรับวีริยะให้สม่ำเสมอ ทรงสอบชำระพระกัมมัฏฐานแล้ว จึงเสด็จกลับยังภูเขาคิชฌกูฏ ฝ่ายพระเถระปรับวีริยะให้สม่ำเสมอ โดยนัยที่ทรงประทานแล้วเจริญวิปัสสนาให้ก้าวหน้าขึ้นไป ดำรงตนไว้ในพระอรหัตแล้ว ฉะนี้แล

การอธิบายความสม่ำเสมอกันแม้ในอินทรีย์ที่เหลือ คือ สติ, สมาธิ และปัญญา ก็พึงทราบเหมือนกันนี้ กล่าวคือ เมื่ออินทรีย์แต่ละประการมีกำลังมาก ก็จงทราบเถิดว่า อินทรีย์นอกนี้ไม่สม่ำเสมอกันในหน้าที่ของตน ๆ



..

:arrow: :arrow: :arrow:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 289

โพสต์

ศรัทธากับปัญญาเสมอกัน

ก็แหละ ในอินทรีย์ ๕ นี้ เมื่อกล่าวโดยที่แปลกกันแล้ว ปราชญ์ทั้งหลายย่อมรับรองต้องกันว่า ศรัทธาเสมอกันกับปัญญา และสมาธิเสมอกันกับวีริยะ อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธามาก แต่มีปัญญาน้อย ย่อมเป็นคนมีความเลื่อมใสอย่างเซ่อ ๆ คือไม่เลื่อมใสอย่างแน่วแน่ ย่อมเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ใช่เรื่อง บุคคลผู้มีปัญญามากแต่มีศรัทธาน้อย ย่อมแหกแนวไปสู่ทางฝ่ายเกเรโอ้อวด เป็นผู้มีอันใคร ๆ จะแก้ไขไม่ได้ เหมือนกับโรคที่เกิดขึ้นจากยาเอง ยากที่จะรักษาให้หายได้ แต่เพราะศรัทธากับปัญญาสม่ำเสมอกัน บุคคลย่อมเลื่อมใสถูกเรื่องเสมอ



สมาธิกับวีริยะเสมอกัน

ส่วนบุคคลผู้มีสมาธิมากแต่มีวีริยะน้อย ความเกียจคร้านย่อมครอบงำ เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายของความเกียจคร้าน บุคคลผู้มีวีริยะมากแต่มีสมาธิน้อย อุทธัจจะความฟุ้งซ่านย่อมครอบงำ เพราะวีริยะเป็นฝักฝ่ายของอุทธัจจะ แต่สมาธิที่ประกอบเข้ากับวีริยะแล้วย่อมไม่ได้เพื่อตกไปในความเกียจคร้าน วีริยะที่ประกอบเข้ากับสมาธิแล้ว ก็ไม่ได้เพื่อตกไปในอุทธัจจะ เพราะฉะนั้น จึงจำต้องวีริยะกับสมาธิทั้งสองนั้นให้สม่ำเสมอกัน เพราะจะสำเร็จอัปปนาสมาธิได้ ด้วยวีริยะสมาธิทั้งสองสม่ำเสมอกัน


(หน้าที่ 217)

การปรับอินทรีย์ให้เสมอกันอีกนัยหนึ่ง

อีกประการหนึ่ง สำหรับโยคีบุคคลผู้เจริญสมถกัมมัฏฐานนั้น แม้จะมีศรัทธาชนิดที่มีกำลังมาก ก็สมควร เพราะเมื่อศรัทธามีกำลังมากอย่างนี้ โยคีบุคคลเชื่อมั่นอยู่ มุ่งหมายอยู่ ก็จักได้บรรลุถึงซึ่งอัปปนาสมาธิ

แหละ ในสมาธิกับปัญญานั้น สมาธิมีกำลังมากย่อมสมควรสำหรับผู้ที่เจริญสมถกัมมัฏฐาน เพราะโยคีบุคคลผู้เจริญสมถกัมมัฏฐานนั้นจะบรรลุอัปปนาสมาธิได้ก็ด้วยสมาธิที่มีกำลังมากอย่างนี้ ปัญญาที่มีกำลังมากย่อมสมควรสำหรับผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะโยคีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนานั้น ย่อมจะบรรลุถึงซึ่งการแทงตลอดลักษณะของสังขารธรรม ก็ด้วยปัญญาที่มีกำลังมากนี้ แต่เพราะเหตุที่สมาธิกับปัญญาทั้งสองสมดุลย์กัน จึงจะสำเร็จอัปปนาสมาธินั่นเทียว


สติจำปรารถนาในอินทรีย์ทั้ง ๕

ส่วนสตินั้นมีกำลังมากในอินทรีย์ ๕ ทุกประการยิ่งดี เพราะสติย่อมรักษา กุศลจิตให้พ้นจากการตกไปในอุทธัจจะ ด้วยอำนาจแห่งศรัทธา, วีริยะ และปัญญาอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น สติจึงจำปรารถนาในอินทรีย์ ๕ ทุกประการ เหมือนเกลือป่นจำปรารถนาในกับข้าวทุกชนิด และเหมือนอำมาตย์ผู้ชำนาญในกิจทั้งปวง จำปรารถนาในราชกิจทุกอย่างฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวไว้ว่า ก็แหละ สตินั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จำปรารถนาในกิจทุกอย่าง เพราะเหตุไร ? เพราะจิตมีสติเป็นเครื่องเตือนให้ระลึก และสติมีการอารักขาเป็นอาการปรากฏ การยกจิตและการข่มจิต เว้นจากสติแล้ว หาเป็นไปได้ไม่ ฉะนี้



%%%

........สติ สติ สติ.............
*** ศรัทธา=ปัญญา***
*** วิริยะ=สมาธิ ****
........สติ สติ สติ.............

http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7 ... 2%E0%B9%90


:idea: :idea: :idea:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 290

โพสต์

โดย นัยแห่ง มิลินทปัณหา..โดย พระนาคเสน ...อินทรีย์ 5

ปัญหาที่ ๑๐ ถามลักษณะศรัทธา

“ ข้าแต่พระนาคเสน ศรัทธา เป็นลักษณะอย่างไร ? ”
“ มหาราชะ ศรัทธามีความผ่องใส เป็นลักษณะ และ มีการแล่นไป เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร ”

ศรัทธามีความผ่องใส

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ที่ว่า ศรัทธามีความผ่องใส เป็นลักษณะนั้น เป็นประการใด ? ”
“ มหาราชะ ศรัทธา เมื่อเกิดขึ้นก็ข่ม นิวรณ์ ไว้ ทำจิตให้ปราศจากนิวรณ์ ทำจิตให้ผ่องใสไม่ขุ่นมัว อย่างนี้แหละ เรียกว่า มีความผ่องใส เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย พระผู้เป็นเจ้า ”

อุปมาพระเจ้าจักรพรรดิ

“ มหาราชะ พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จพระราชดำเนินทางไกล พร้อมด้วยจตุรงคเสนาต้องข้ามแม่น้ำน้อยไป น้ำในแม่น้ำน้อยนั้น ย่อมขุ่นไปด้วยช้าง ม้า รถ พลเดินเท้า เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จข้ามไปแล้ว ได้ตรัสสั่งพวกอำมาตย์ว่า
“ จงนำน้ำดื่มมาเราจะดื่มน้ำ ”
แก้วมณีสำหรับทำน้ำให้ใส ของพระเจ้าจักรพรรดินั้นมีอยู่ พวกอำมาตย์รับพระราชโองการแล้ว ก็นำแก้วมณีนั้นไปกดลงในน้ำ พอวางแก้วมณีนั้นลงไปในน้ำ สาหร่าย จอก แหนทั้งหลายก็หายไป โคลนตมก็จมลงไป น้ำก็ใสไม่ขุ่นมัว พวกอำมาตย์ก็ตักน้ำนั้นไปถวายพระเจ้าจักรพรรดิ กราบทูลว่า
“ เชิญเสวยเถิด พระเจ้าข้า ”
น้ำที่ไม่ขุ่นมัวฉันใด ก็ควรเห็นจิต ฉันนั้น พวกอำมาตย์ ฉันใด ก็ควรเห็นพระโยคาวจร ฉันนั้น สาหร่าย จอก แหน โคลนตมนั้น ฉันใด ก็ควรเห็นกิเลส ฉันนั้น แก้วมณีอันทำน้ำให้ใส ฉันใด ก็ควรเห็นศรัทธา ฉันนั้น
ฉะนั้น พอวางแก้วมณีอันทำน้ำให้ใสลงไปในน้ำ สาหร่ายจอกแหนก็หายไป โคลนตมก็จมลงไป น้ำก็ใสไม่ขุ่นมัว ฉันใด เมื่อศรัทธาเกิดขึ้นก็ข่มนิวรณ์ไว้ ทำให้จิตผ่องใส ไม่ขุ่นมันจาก ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ การไม่ชอบใจ ฟุ้งซ่าน ง่วงและสงสัย ฉันนั้น อย่างนี้แหละเรียกว่า ศรัทธามีความผ่องใส เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร”

ศรัทธามีการแล่นไป

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้อว่า ศรัทธามีการแล่นไป เป็นลักษณะนั้น คืออย่างไร ? ”
“ ขอถวายพระพร พระโยคาวจรเลื่อมใสในปฏิปทาของพระอริยเจ้าแล้ว จิตของพระโยคาวจรเหล่านั้น ก็แล่นไปในโสดาปัตติผลสกิทาคามีผล อนาคามีผล อรหัตผล เป็นลำดับไปแล้วพระโยคาวจรนั้นก็กระทำความเพียรเพื่อให้ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อให้บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง อย่างนี้แหละมหาบพิตร เรียกว่า ศรัทธามีการแล่นไป เป็นลักษณะ ”
“ นิมนต์อุปมาให้แจ้งด้วย ”

อุปมาบุรุษผู้ข้ามแม่น้ำ

“ มหาราชะ เมฆใหญ่ตกลงบนภูเขาแล้วก็มีน้ำไหลลงไปสู่ที่ต่ำ ทำซอกเขาระแหงห้วยให้เต็มแล้ว ก็ล้นไหลไปสู่แม่น้ำเซาะฝั่งทั้งสองไป เมื่อฝูงคนมาถึงไม่รู้ที่ตื้นที่ลึกแห่งแม่น้ำนั้นก็กลัว จึงยืนอยู่ริมฝั้งอันกว้าง ลำดับนั้น ก็มีบุรุษคนหนึ่งมาถึง เขาเป็นผู้มีกำลังเรี่ยวแรงมาก ได้เหน็บชายผ้านุ่งให้แน่น แล้วกระโดดลงไปในน้ำว่ายข้ามน้ำไป มหาชนได้เห็นบุรุษนั้นข้ามน้ำไปได้ ก็พากันว่ายข้ามตาม ฉันใด ”
พระโยคาวจรได้เห็นปฏิปทาของพระอริยะเหล่าอื่นแล้ว ก็มีจิตแล่นไปในโสดาปัตติผล สกิทาคามีผล อนาคามีผล อรหัตผล แล้วก็กระทำความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ไม่ยังถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ฉันนั้น อย่างนี้แหละเรียกว่า ศรัทธามีการแล่นไป เป็นลักษณะ
ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระชินสีห์ตรัสไว้ว่า
“ บุคคลย่อมข้ามห้วงน้ำได้ด้วยศรัทธา ย่อมข้ามมหาสมุทรได้ด้วยความไม่ประมาท ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา” ดังนี้ ขอถวายพระพร
“ ชอบแล้ว พระนาคเสน ”
อธิบาย

บุคคลมีศรัทธาต่อสิ่งใด เมื่อระลึกถึงสิ่งนั้น หรือบุคคลนั้น จิตใจย่อมผ่องใส และจิตใจของเขาย่อมแล่นไปยังสิ่งนั้น หรือบุคคลนั้นเสมอ ๆ

ผู้ศรัทธาในพระนิพพาน หรือผู้ถึงนิพพานแล้ว จิตย่อมแล่นไปในนิพพานเนืองๆ มีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่เสมอ ย่อมทำความเพียรเพื่อบรรลุพระนิพพานนั้น

....................................................
ปัญหาที่ ๑๑ ถามลักษณะวิริยะ

“ ข้าแต่พระนาคเสน วิริยะ คือความเพียร มีลักษณะอย่างไร? ”
“ มหาราชะ ความเพียร มีการ ค้ำจุนไว้ เป็นลักษณะ กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งสิ้น อันความเพียรค้ำจุนไว้แล้วย่อมไม่เสื่อม”
“ ขอนิมนต์อุปมาก่อน ”อุปมาเรือนที่จะล้ม
“ ขอถวายพระพร เมื่อเรือนจะล้มบุคคลค้ำไว้ด้วยไม้อื่น เรือนที่ถูกค้ำไว้นั้น ก็ไม่ล้ม ฉันใด ความเพียรก็มีการค้ำจุนไว้เป็นลักษณะ กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งสิ้นก็ไม่เสื่อม ฉันนั้น ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”

อุปมาพวกเสนา

“ มหาราชะ พวกเสนาจำนวนน้อย ต้องพ่ายแพ้แก่เสนาหมู่มาก หากพระราชาทรงกำชับไปให้ดี ทั้งเพิ่มกองหนุนส่งไปให้เสนาจำนวนน้อยกับกองหนุนนั้น ต้องชนะเสนาหมู่มากได้ ฉันใด ความเพียรก็มีการค้ำจุนไว้เป็นลักษณะกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งสิ้น อันความเพียรอุดหนุนแล้ว ก็ไม่เสื่อม ฉันนั้น ”
ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระทรงธรรม์ตรัสไว้ว่า
“ อริยสาวกผู้มีความเพียรเป็นกำลัง ย่อมละอกุศล เจริญกุศลได้ ละสิ่งที่มีโทษ เจริญสิ่งที่ไม่มีโทษได้ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม” ดังนี้ ขอถวายพระพร
“ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวแก้ถูกต้องดีแล้ว ”
อธิบาย

การทำความเพียรนั้น คือไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ถ้าหย่อนเกินไป ก็จะเอียงไปทางเกียจคร้าน ถ้าตึงเกินไปก็จะฟุ้งซ่านจึงควรทำความเพียรแต่พอดี

...........................................
ปัญหาที่ ๑๒ ถามลักษณะสติ

“ ข้าแต่พระนาคเสน สติ มีลักษณะอย่างไร ? ”
“ มหาราชะ สติ มีลักษณะ ๒ ประการ คือ ๑. มีการเตือน เป็นลักษณะ ๒. มีการถือไว้ เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร ”

สติมีการเตือน

“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้อว่า สติมีการเตือน เป็นลักษณะนั้น คืออย่างไร ? ”
“ ขอถวายพระพร สติเมื่อเกิดขึ้น ก็เตือนให้รู้จักสิ่งที่เป็นกุศล อกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เลวดี ดำขาว ว่าเหล่านี้เป็นสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้เป็นสัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้เป็นอิทธิบาท ๔ เหล่านี้เป็นอินทรีย์ ๕ เหล่านี้เป็นพละ ๕ เหล่านี้เป็นโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้เป็นอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อันนี้เป็นสมถะ อันนี้เป็นวิปัสสนา อันนี้เป็นวิชชา อันนี้เป็นวิมุตติ เหล่านี้เป็นเจตสิกธรรม ดังนี้
ลำดับนั้น พระโยคาวจรก็เกี่ยวข้องธรรมที่ควรเกี่ยวข้อง ไม่เกี่ยวข้องธรรมที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง คบหาธรรมที่ควรคบหา ไม่คบหาธรรมที่ไม่ควรคบหา อย่างนี้แหละมหาบพิตร เรียกว่า สติมีการเตือน เป็นลักษณะ”
“ ขอได้โปรดอุปมาด้วย ”

อุปมานายคลังของพระราชา

“ มหาราชะ นายคลังของพระราชา ย่อมทูลเตือนพระเจ้าจักรพรรดิ ให้ทรงระลึกถึงราชสมบัติในเวลาเช้าเย็นว่า
“ ข้าแต่สมมุติเทพ ช้างของพระองค์มีเท่านี้ ม้ามีเท่านี้ รถมีเท่านี้ พลเดินเท้ามีเท่านี้ เงินมีเท่านี้ ทองมีเท่านี้ สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เจ้าของมีเท่านี้ ขอพระองค์จงทรงระลึกเถิด พระเจ้าข้า ”
ข้อนี้มีอุปมาฉันใด สติเมื่อเกิดขึ้น ก็เตือนให้ระลึกถึงธรรมที่เป็นกุศล อกุศล มีโทษไม่มีโทษ เลวดี ดำขาว ว่าเหล่านี้เป็นสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้เป็นสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ลำดับนั้น พระโยคาวจรก็เกี่ยวข้องกับธรรมที่ควรเกี่ยวข้อง ไม่เกี่ยวข้องกับธรรมที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง คบกับธรรมที่ควรคบ ไม่คบกับธรรมที่ไม่ควรคบ อย่างนี้แหละมหาบพิตร ชื่อว่า สติมีการเตือน เป็นลักษณะ
“ ชอบแล้ว พระนาคเสน ”

สติมีการถือไว้

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามต่อไปว่า
“ ข้าแต่พระนาคเสน ข้อว่า สติมีการถือไว้ เป็นลักษณะนั้น เป็นประการใด ? ”
“ มหาราชะ สติเมื่อเกิดขึ้น ก็ชักชวนให้ถือเอาซึ่งคติแห่งธรรมทั้งหลายว่า ธรรมเหล่านี้มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้มีอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่มีอุปการะ ลำดับนั้น พระโยคาวจรก็ละธรรมอันไม่มีประโยชน์เสีย ถือเอาธรรมที่มีประโยชน์ ละธรรมที่ไม่มีอุปการะเสีย ถือเอาแต่ธรรมที่มีอุปการะ อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่า สติมีการถือเอาไว้ เป็นลักษณะ ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ทราบด้วย ”

อุปมานายประตูของพระราชา

“มหาราชะ นายประตูของพระราชาย่อมต้องรู้จักผู้ที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์แก่พระราชา ผู้ที่มีอุปการะ หรือไม่มีอุปการะแก่พระราชา เป็นต้น ลำดับนั้น นายประตูก็กำจัดพวกที่ไม่มีประโยชน์เสีย รับให้เข้าไปเฉพาะพวกที่มีประโยชน์ กำจัดพวกที่ไม่มีอุปการะเสีย ให้เข้าไปแต่พวกที่มีอุปการะ ฉันใด สติเมื่อเกิดขึ้น ก็ชักชวนให้ถือเอาคติแห่งธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นว่า ธรรมเหล่านี้มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ ธรรมเหล่านี้มีอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่มีอุปการะ ลำดับนั้น พระโยคาวจรก็กำจัดธรรมอันไม่มีประโยชน์เสีย ถือเอาแต่ธรรมที่มีประโยชน์ ละธรรมอันไม่มีอุปการะเสีย ถือเอาแต่ธรรมอันมีอุปการะ อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่า สติมีการถือไว้ เป็นลักษณะ
ข้อนี้สมกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
“สติ จะ โข อะหัง ภิกขเว สัพพัตถิกัง วทามิ… ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสติประกอบด้วยประโยชน์ทั้งปวง” ดังนี้ ขอถวายพระพร

ฏีกามิลินท์
อธิบายคำว่า ซึ่งคติแห่งธรรมทั้งหลาย ได้แก่ถึงซึ่งความสำเร็จผลที่ต้องการ และไม่ต้องการแห่งธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศลและอกุศล ส่วนคำว่า “ ดำขาว ” มีความหมายว่า ดำนั้นได้แก่สิ่งที่ไม่ดี ส่วนขาวนั้นได้แก่สิ่งที่ดี

.................................................
ปัญหาที่ ๑๓ ถามลักษณะสมาธิ

“ ข้าแต่พระนาคเสน สมาธิ มีลักษณะอย่างไร ? ”
“ มหาราชะ สมาธิมีการเป็น หัวหน้า เป็นลักษณะ กุศลธรรมทั้งหลาย มีสมาธิเป็นหัวหน้าน้อมไปในสมาธิ โน้มไปในสมาธิ เงื้อมไปในสมาธิ ขอถวายพระพร ”
“ ขอนิมนต์อุปมา พระผู้เป็นเจ้า ”

อุปมากลอนแห่งเรือนยอด

“ ขอถวายพระพร เช่นเดียวกับกลอนแห่งเรือนยอดทั้งหลาย ย่อมไปรวมอยู่ที่ยอด น้อมไปที่ยอด โน้มไปที่ยอด เงื้อมไปที่ยอด ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย ก็มีสมาธิเป็นหัวหน้า น้อมไปในสมาธิ โน้มไปในสมาธิ เงื้อมไปในสมาธิ ฉันนั้น ”
“ นิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”

อุปมาพระราชา

“ มหาราชะ เวลาพระราชาเสด็จออกสงคราม พร้อมด้วยจตุรงคเสนานั้น เสนาทั้งหลาย เสนาบดีทั้งหลาย ช้าง ม้า รถ พลเดินเท้าทั้งหลาย ก็มีพระราชาเป็นหัวหน้า น้อมไปในพระราชา โน้มไปในพระราชา เงื้อมไปในพระราชา ห้อมล้อมพระราชา ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลาย ก็มีสมาธิเป็นหัวหน้า น้อมไปในสมาธิ โน้มไปในสมาธิ เงื้อมไปในสมาธ ิฉันนั้น อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่า สมาธิ มีความเป็น หัวหน้า เป็นลักษณะ
ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระมหามุนีตรัสไว้ว่า
“ สมาธิ ภิกขเว ภาเวถะ สมาธิโก ภิกขุ ยถาภูตัง ปชานาติ… ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงอบรมสมาธิ ภิกษุผู้ได้สมาธิย่อมรู้ตามความเป็นจริง ” ดังนี้ ขอถวายพระพร”
“ ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน ”

....................................................
ปัญหาที่ ๑๔ ถามลักษณะปัญญา

“ ข้าแต่พระนาคเสน ปัญญา มีลักษณะอย่างไร ? ”
“ มหาราชะ ปัญญา มีการ ตัด เป็นลักษณะ ตามที่อาตมภาพได้ถวายวิสัชนาไว้แล้ว อีกประการหนึ่ง ปัญญา มีการ ทำให้สว่าง เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ปัญญามีการทำให้สว่าง เป็นลักษณะอย่างไร? ”
“ มหาราชะ ปัญญาเมื่อเกิดขึ้น ก็กำจัดเครื่องทำให้มืด คือ อวิชชา ทำให้เกิดความสว่าง คือ วิชชา ทำให้เกิดความแจ่มแจ้ง คือ ญาณ ทำให้อริยสัจปรากฏ ลำดับนั้น พระโยคาวจรก็เห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขอถวายพระพร ”
“ ขอพระคุณเจ้าได้โปรดอุปมา ”

อุปมาผู้ส่องประทีป

“ มหาราชะ เปรียบปานบุรุษส่องประทีปเข้าไปในเรือนที่มืด แสงประทีปย่อมกำจัดความมืด ทำให้เกิดแสงสว่าง ทำให้รูปทั้งหลายปรากฏ ฉันใด ปัญญาเมื่อเกิดขึ้น ก็กำจัดความมืดคือ อวิชชา ทำให้เกิดแสงสว่างคือ วิชชา ทำให้เกิดความแจ่มแจ้งคือ ญาณ ทำให้อริยสัจทั้งหลายปรากฏ ลำดับนั้น พระโยคาวจรก็เห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฉันนั้น อย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่า ปัญญา มีการ ทำให้สว่าง เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร”
“ ถูกแล้ว พระนาคเสน ”

ฏีกามิลินท์
อธิบายคำว่า “ ปัญญาอันชอบ ” ได้แก่ปัญญาอันเกิดจากวิปัสสนาญาณ



:idea: :idea: :idea:
http://www.dhammathai.org/milin/milin05.php
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 291

โพสต์

ต่ออีกนิด...
ปัญหาที่ ๑๕ ถามหน้าที่แห่งธรรมต่าง ๆ กัน

“ ข้าแต่พระนาคเสน ธรรมเหล่านี้มีอยู่ต่าง ๆ กัน แต่ให้สำเร็จประโยชน์อย่างเดียวกันหรือ? ”
“ อย่างนั้น มหาบพิตร ธรรมเหล่านี้มีอยู่ต่าง ๆ กัน แต่ให้สำเร็จประโยชน์อย่างเดียวกัน คือฆ่ากิเลสเหมือนกัน ขอถวายพระพร ”
“ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”

อุปมาเสนาต่าง ๆ

“ มหาราชะ เสนามีหน้าที่ต่าง ๆ กันคือ เสนาช้าง เสนาม้า เสนารถ เสนาพลเดินเท้า เสนาเหล่านั้น ย่อมให้สำเร็จสงครามอย่างเดียวกัน ย่อมชนะเสนาฝ่ายอื่นในสงครามอย่างเดียวกัน ฉันใด ธรรมเหล่านี้ ถึงมีอยู่ต่าง ๆ กัน ก็ให้สำเร็จประโยชน์อย่างเดียวกัน คือฆ่ากิเลสอย่างเดียวกัน ขอถวายพระพร”
“ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาสมควรแล้ว ”

จบวรรคที่ ๑

สรุปความ


คำว่า “ ธรรมเหล่านี้ ” หมายถึงธรรมที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือ
มนสิการ มีลักษณะ ถือไว้

กุศลธรรมอื่น ๆ ได้แก่ ศีล และ อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มีลักษณะดังนี้
ศีล มีลักษณะ เป็นที่ตั้ง
ศรัทธา มีลักษณะ ผ่องใส และ แล่นไป
วิริยะ มีลักษณะ ค้ำจุนไว้
สติ มีลักษณะ เตือน และ ถือไว้
สมาธิ มีลักษณะเป็น หัวหน้า
ปัญญา มัลักษณะ ตัด และ ทำให้สว่าง


จึงขอลำดับความสัมพันธ์ของธรรมเหล่านี้ว่า มีหน้าที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

พระโยคาวจรหวังที่จะปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์นั้น จะต้องประกอบไปด้วยธรรมเหล่านี้ คือ
๑. มนสิการ คือคิดไว้เสมอว่า ชีวิตนี้จะต้องตายเป็นธรรมดา
๒. ศีล จะรักษาให้บริสุทธิ์ไว้เสมอ
๓. ศรัทธา มีความเลื่อมใสในคุณพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ หวังปฏับัติตนเพื่อความพ้นทุกข์ คือ พระนิพพานต่อไป
๔. วิริยะ ทำความเพียรแต่พอดี
๕. สติ นึกเตือนตนเองไว้เสมอว่า เราจะต้องตาย จะมีศีลบริสุทธิ์ จะเคารพในพระรัตนตรัย และมีนิพพานเป็นอารมณ์
๖. สมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกหรือภาวนาตามอัธยาศัย
๗. ปัญญา พิจารณา สักกายทิฏฐิ ไม่ยึดถือว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา แล้วตัด อวิชชา เราไม่มี ฉันทะ คือความพอใจ และ ราคะ คือความยินดีในมนุษยโลก เทวโลกและพรหมโลก เราต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพาน


ธรรมเหล่านี้จึงมีหน้าที่ต่าง ๆ กัน แต่มุ่งประโยชน์อย่างเดียวกัน คือฆ่ากิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน ตามที่ท่านได้อุปมาไว้ ฉันใด เสนาช้าง ม้า รถ พลเดินเท้า เสนาเหล่านั้น ย่อมช่วยกันทำสงคราม เพื่อที่จะมีชัยชนะต่อข้าศึกศัตรู ก็มีอุปมา ฉันนั้น


รวมความว่า ปัญหาทั้งหมดที่ผ่านมานี้เป็นปัญหาที่พระเจ้ามิลินท์ถามพระนาคเสนถึง วิธีปฏิบัติที่จะไม่เกิดอีก ว่าจะต้องประกอบด้วยธรรมอะไรบ้าง หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจ ตามที่ได้สรุปความมาให้ทราบนี้
http://www.dhammathai.org/milin/milin05.php

:idea: :idea: :idea:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 292

โพสต์

ปัญหาที่ ๓ ถามที่ดับปัญญา

“ ข้าแต่พระนาคเสน ญาณ เกิดแก่ผู้ใด ปัญญา เกิดแก่ผู้นั้นหรือ ? ”
“ เกิด…มหาราชะ คือ ญาณ เกิดแก่ผู้ใด ปัญญา ก็เกิดแก่ผู้นั้น”
“ ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งใดเป็นญาณสิ่งนั้นหรือเป็นปัญญา? ”
“ ถูกแล้ว…มหาราชะ คือสิ่งใดเป็นญาณก็สิ่งนั้นแหละเป็นปัญญา”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ญาณได้เกิดแก่ผู้ใดปัญญานั้นได้เกิดแก่ผู้นั้น ผู้นั้นหลงหรือไม่หลง ? ”
“ มหาราชะ ผู้มีปัญญาหลงในบางสิ่งบางอย่าง ไม่หลงในบางสิ่งบางอย่าง”
“ หลงในสิ่งไหน ไม่หลงในสิ่งไหน ? ”
“ ขอถวายพระพร หลงในศิลปะที่ไม่ชำนาญก็มี ในทิศที่ไม่เคยไปก็มี ในชื่อหรือสถานที่ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังก็มี ”
“ อ๋อ…แล้วไม่หลงในอะไร พระผู้เป็นเจ้า ? ”
“ ไม่หลงในสิ่งที่ตนรู้แล้วว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็โมหะ คือความหลงของผู้นั้นไปอยู่ที่ไหนล่ะ? ”
“ มหาราชะ พอ ญาณ เกิดแล้ว โมหะ คือความหลงก็ดับไปในญาณนั้นเอง”
“ ขอนิมนต์อุปมาเถิด ”

อุปมาผู้จุดประทีป

“ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง จุดประทีปเข้าไปในเรือนที่มืด ในขณะนั้นความมืดก็ดับไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้น ฉันใด เมื่อ ญาณ เกิดขึ้นแล้ว โมหะ ก็ดับไปในที่นั้น ฉันนั้นแหละ”
“ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็ปัญญานั้นเล่า…ไปอยู่ที่ไหน? ”
“ มหาราชะ ปัญญา ทำหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไปในที่นั้นเอง สิ่งใดที่ทำด้วยปัญญานั้นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งนั้นไม่ดับ ”
“ ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไป แต่สิ่งใดที่ทำด้วยปัญญานั้นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งนั้นไม่ดับ ดังนี้ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาด้วย”

อุปมาการเขียนเลข

“ มหาราชะ เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้ใดรู้หนึ่ง อยากดูตัวเลขในกลางคืน จัดแจงให้จุดประทีปขึ้นเขียนเลข เมื่อประทีปดับแล้วเลขก็ยังไม่หายไป ข้อนี้มีอุปมา ฉันใด ปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วดับไป แต่สิ่งที่รู้ด้วยปัญญาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น มิได้ดับไป ฉันนั้น ”
” ขอพระผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ยิ่งขึ้น ”
-----------------------------------------------------
อุปมาโอ่งน้ำ

“ ขอถวายพระพร เปรียบประดุจพวกมนุษย์ในชนบทตะวันออก จัดตั้งโอ่งน้ำไว้ ๕ โอ่งข้างประตู เพื่อดับไฟที่จะไหม้เรือน เมื่อไฟไหม้เรือนแล้ว โอ่งน้ำ ๕ โอ่งนั้นเขาก็นำไปเก็บไว้ในละแวกบ้าน ไฟก็ดับไป ชาวบ้านคิดหรือไม่ว่า เราจักต้องทำสิ่งที่จำเป็นด้วยโอ่งน้ำเหล่านั้นอีก?
“ ไม่คิด พระผู้เป็นเจ้า เพราะไม่มีความจำเป็นกับโอ่งน้ำเหล่านั้นอีกแล้ว ด้วยว่าไฟก็ดับแล้วเขาจึงนำไปเก็บไว้อย่างนั้น ”
“ มหาราชะ ควรเห็น อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นว่า เปรียบเหมือนกับโอ่งน้ำทั้ง ๕ พระโยคาวจรเปรียบเหมือนชาวบ้าน กิเลสเปรียบเหมือนไฟ กิเลสดับไปด้วยอินทรีย์ ๕ เปรียบเหมือนกับไฟดับไปด้วยน้ำทั้ง ๕ โอ่งนั้น กิเลสที่ดับไปแล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีก ฉันใด เมื่อปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไป แต่สิ่งที่รู้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นมิได้ดับไป ฉันนั้น ”
“ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”

อุปมารากยา

“ มหาราชะเปรียบปานประหนึ่งว่าแพทย์ผู้ถือเอารากยา ๕ รากไปหาคนไข้ บดรากยาทั้ง ๕ นั้น แล้วละลายน้ำให้คนไข้ดื่ม โรคนั้นก็หายไปด้วยรากยาทั้ง ๕ รากนั้น แพทย์นั้นคิดหรือไม่ว่า เราจักต้องทำกิจที่ควรทำด้วยรากยาเหล่านั้นอีก ? ”
“ ไม่คิด พระผู้เป็นเจ้า ”
“ มหาราชะ รากยาทั้ง ๕ นั้น เหมือน อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น แพทย์นั้นเหมือนพระโยคาวจร ความเจ็บไข้เหมือนกิเลส บุรุษผู้เจ็บไข้เหมือนปุถุชน ไข้หายไปด้วยยาทั้ง ๕ รากนั้นแล้ว ผู้เจ็บไข้นั้น ก็หายโรค ฉันใด เมื่อกิเลสออกไปด้วยอินทรีย์ ๕ แล้วกิเลสก็ไม่เกิดอีก อย่างนี้แหละ มหาบพิตรชื่อว่าปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วดับไป แต่สิ่งนั้นหามิได้ดับไป ฉันนั้น ”
“ นิมนต์อุปมาให้ยิ่งกว่านี้อีก ”

อุปมาผู้ถือลูกธนู

“ มหาราชะ เหมือนกับบุรุษผู้จะเข้าสู่สงคราม ถือเอาลูกธนู ๕ ลูก แล้วเข้าสู่สงคราม เพื่อต่อสู้กับข้าศึก เขาเข้าสู่สงครามแล้วก็ยิงลูกธนูไป ข้าศึกก็แตกพ่ายไป บุรุษนั้นคิดหรือไม่ว่า เราจักต้องทำกิจด้วยลูกธนูเหล่านั้นอีก ? ”
“ ไม่คิด พระผู้เป็นเจ้า ”
“ มหาราชะ ควรเห็น อินทรีย์ ๕ เหมือนลูกธนูทั้ง ๕ พระโยคาวจรเหมือนกับผู้เข้าสู่สงคราม กิเลสเหมือนกับข้าศึก กิเลสแตกหักไปเหมือนกับข้าศึกพ่ายแพ้กิเลสดับไปแล้ว ไม่เกิดขึ้นอีกอย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่าปัญญาทำหน้าที่ของตนแล้วดับไป แต่สิ่งที่รู้ด้วยปัญญาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นหามิได้ดับไป ขอถวายพระพร”
“ แก้ดีแล้ว พระนาคเสน ”



......
บทนี้...
อ่านหลายรอบ
แล้ว
ก็ยังไม่สามารถเข้าใจได้

...
:?: :?: :?:
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 293

โพสต์

picatos เขียน:
Tibular เขียน:ขอบคุณคับ คุณ peerawit สำหรับพระสูตรเรื่องอินทรีย์ห้า เข้าใจแจ่มแจ้งเลยคับ
ผมอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจอ่ะครับ รบกวนช่วยขยายความหน่อยได้ไหมครับ?

คุณ Tibular เป๊ะครับ คล่องจริงๆ

โสตาปัตติยังคะ

.สารีบุตร!
โสตาปัตติยงคะ เป็นอย่างไรเล่า?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ คืือ
การคบสัตบุรุษ 1
การฟังพระสัทธรรม 1
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย 1
การปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม 1
ถูกแล้ว สารีบุตร! ... ตถาคต


......
ดูก่อนคหบดี! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งโสดาบัน๔ ประการ เหล่าไหนเล่า?
(๑)ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า(พุทธอเวจจัปปสาท)ว่า "เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกคนที่ควรฝึกอย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์"ดังนี้.
(๒)ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
ไม่หวั่นไหวในพระธรรม (ธัมมอเวจจัปปสาท) ว่า"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะ
ผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน" ดังนี้.
(๓)ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว
ในพระสงฆ์ (สังฆอเวจจัปปสาท) ว่า"สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่
นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี
เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า" ดังนี้.
(๔)ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่พอใจ
ของพระอริยเจ้า(อริยกันตศีล): เป็นศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา วิญญูชนสรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิลูบคลำ เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.
ดูก่อนคหบดี! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการ เหล่านี้แล.


.....

การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นแบบนี้ครับ

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควร
เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว".

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชาติ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ
เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว".

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งภพ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก
ภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว".

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ
เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว".

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งตัณหา อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ
เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว".

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ
เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว".

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งผัสสะ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ
เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว".

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อ
จะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว".

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งนามรูป อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ
เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว".

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณ อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ
เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว".

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งสังขารทั้งหลาย อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควร
เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว".

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความ
คลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งอวิชชา อยู่ไซร้, ก็เป็นการสมควรเพื่อจะ
เรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว", ดังนี้ แล... ตถาคต


การทำไว้ในใจโดยแยบคาย 1

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว
ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ :


เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี ;
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้,สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ;
เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี ;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ , สิ่งนี้จึงดับไป :
ข้อนี้ได้แกสิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.


เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว,
จึงมีความดับแห่งสังขาร,
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; .....ฯลฯ ..... ฯลฯ ..... ฯลฯ .....
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ แล.... ตถาคต
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 294

โพสต์

ขยายความต่อ จากข้อด้านบนนะครับ

๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณ ะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็
ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
(ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้
สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้
พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้
ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้
กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะชาติเป็น
ปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น
อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็น
อย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน
เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯ ล ฯ …
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ…
…..ฯลฯ …..
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานชาติย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณ หาย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ.. …
ฯลฯ …
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพ ราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อม มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,..ฯลฯ..
…ฯลฯ …
(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลาย
ย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,
จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่
แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือความที่
เมื่อสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).
ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้
พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้ง
ขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ
และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงดู: เพราะ
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใดในกรณีนั้น
อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็น
อย่างนั้น, เป็นอนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน
เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).... ตถาคต


ถ้าแจกแจงต่อไป ก็อธิบายว่าอวิชชาคืออะไร ไปเรื่อยๆ ครับ ศึกษาได้จาก ปฏิจจสมุปปบาทจากพระโอษฐ์ นะครับ
ไม่ประมาท
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 295

โพสต์

picatos เขียน:
Tibular เขียน:ขอบคุณคับ คุณ peerawit สำหรับพระสูตรเรื่องอินทรีย์ห้า เข้าใจแจ่มแจ้งเลยคับ
ผมอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจอ่ะครับ รบกวนช่วยขยายความหน่อยได้ไหมครับ?

ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! สารีบุตร ! อริยสาวกใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตถึงที่สุดโดยส่วนเดียว, เขาย่อมไม่สงสัยหรือลังเลในตถาคตหรือคำสอนในตถาคต. สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธาแล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. สารีบุตร ! ความเพียรเช่นนั้นของอริยสาวกนั้นย่อมเป็น วิริยินทรีย์ ของเธอนั้น.

( สาธุ สาธุ สารีปุตฺต โย โส สารีปุตฺต อริยสาวโก ตถาคเต เอกนฺตคโตอภิปฺปสนฺโน น โส ตถาคเต วา ตถาคตสาสเน วา กงฺเขยฺย วา วิจิกิจฺเฉยฺย วา ฯสทฺธสฺส หิ สารีปุตฺต อริยสาวกสฺส เอตํ ปาฏิกงฺขํ ยํ อารทฺธวิริโย วิหริสฺสติอกุสลานํ ธมฺมานํ ปหานาย กุสลานํ ธมฺมานํ อุปสมฺปทาย ถามวา ทฬฺหปรกฺกโมอนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเมสุ ฯ (บาลี) มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙/๑๐๑๗ )

สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้มีสติ ประกอบพร้อมด้วยสติเป็นเครื่องระวังรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้. สารีบุตร ! ความระลึกเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สตินทรีย์ ของเธอนั้น.

สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้กระทำแล้วได้ซึ่ง โวสสัคคารมณ์ จักได้ซึ่งความตั้งมั่นแห่งจิต กล่าวคือ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว. สารีบุตร ! ความตั้งมั่นแห่งจิตเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สมาธินทรีย์ ของเธอนั้น.

สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งที่มีที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้, ที่สุดฝ่ายข้างต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไป ท่องเที่ยวไป. ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้นเสียได้ มีอยู่ : นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็นบทที่ประณีต กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”. สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น ปัญญินทรีย์ ของเธอนั้น.

สารีบุตร ! อริยสาวกนั้นนั่นแหละ ตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้แล้ว (ซึ่งวิริยะ) ด้วยอาการอย่างนี้, ระลึกแล้ว ระลึกแล้ว (ด้วยสติ) ด้วยอาการอย่างนี้, ตั้งมั่นแล้ว ตั้งมั่นแล้ว (ด้วยสมาธิ) ด้วยอาการอย่างนี้, รู้ชัดแล้ว รู้ชัดแล้ว (ด้วยปัญญา) ด้วยอาการอย่างนี้, เขาย่อมเชื่ออย่างยิ่ง อย่างนี้ว่า “ธรรมเหล่าใด เป็นธรรมที่เราเคยฟังแล้วในกาลก่อน, ในบัดนี้ เราถูกต้องธรรมเหล่านั้นด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ด้วย และแทงตลอดธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาแล้วเห็นอยู่ด้วย” ดังนี้. สารีบุตร ! ความเชื่อเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สัทธินทรีย์ ของเธอนั้น, ดังนี้แล. ... ตถาคต
ไม่ประมาท
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 296

โพสต์

สาธุครับ คุณ peerawit

เมื่อมีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็จะละอกุศล เจริญกุศล เกิดความเพียรขึ้นมา
เมื่อมีความเพียรอยู่เสมอ ก็มีสติอยู่เสมอ มีสติอยู่เสมอ จิตจึงตั้งมั่นเป็นสมาธิ
เมื่อจิตตั่งมั่นเป็นสมาธิ จะเกิดปัญญาเห็นจริงในสังสารวัฏฏ์ เมื่อเกิดปัญหาเห็นจริงในสังสารวัฏฏ์
ศรัทธายิ่งเข้มแข็ง วิริยะยิ่งเข้มแข็ง สติยิ่งเข้มแข็ง สมาธิยิ่งเข้มแข็ง ปัญญายิ่งเข้มแข็ง
เกิดความเบื่อหน่ายต่อความไม่สิ้นสุดของสังสารวัฏฏ์ และเข้าถึงธรรมอันเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง
และมุ่งไปสู่การสลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวงต่อไปอีก จนสุดท้ายหมดจบ สงบ ปราณึต ไม่มีคำพูดใดๆ

มันทำได้จริงๆนะครับเนี๊ย "ธรรมอันเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง"

ผมว่าเพราะเหตุนี้พุทธ ไม่ควรเป็นแค่ศาสนา
แต่ควรเป็นศาสตร์อย่างนึงเลย เป็นศาสตร์ที่ทุกคนต้องเรียนรู้และปฏิบัติอย่างยิ่ง
และควรสืบสานต่อมิให้สูญหายตลอดกาล

นั่นทำให้เราลงทุนได้โดยที่ไม่ต้องเร่าร้อน ไปกับความอยาก
เราลงทุนเพื่อหาเลี้ยงชีพได้อย่างไม่ต้องถูกจูงไปกับความอยาก
และไม่ใช่แค่เรื่องการลงทุน แต่รวมถึงเรื่องการใช้ชีวิตในทุกด้านด้วย

ดีจริงๆที่ได้เรียนรู้และเข้าใจคำสอน ก่อนที่อายุจะล่วงเลยสู่วัยชรา ขอบคุณ คุณ peerawit มากคับ

ผมเองเริ่มศึกษาธรรมเพื่อดับทุกข์ในใจตนเองจริงๆจังๆก็สามสิบกว่าๆแล้ว
ตอนแรกก็น่าจะเหมือนคนไทยทั่วๆไปที่นับถือศาสนาพุทธตามครอบครัว
สนใจบ้าง เคยได้ยินได้ฟังบ้าง ก็เรื่องพระเทศน์ให้เป็นคนดี มีศึลธรรม
ก่อนนอนก็สวดมนต์ ขอพร กันผี ก็ว่ากันไป ก็โดนสอนมาอย่างนี้ตั้งแต่เด็กๆ
เราก็คิดว่า เราก็ทำได้ ใช้ชีวิตปกติ ไม่เบียดเบียนใคร และไม่เคยคิดจะบวช

ต่อมาชีวิตเริ่มมีปัญหา มันแปลกใจอยู่เหมือนกัน ว่าเพราะอะไร
ตอนแรกก็อ่านหนังสือธรรมเล่มเล็กๆ สวดมนต์
ไหว้พระ อธิษฐาน ขอพร ให้หลุดพ้นจาก ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
ไปวัดนั้น วัดนี้ บนนั่น บนนี่ แต่ก็ไม่เป็นผลอะไร ได้แค่ความสบายใจ แต่ไม่หลุดพ้นความทุกข์ไปได้

ต่อมาด้วยว่าคงเห็นว่าผมแย่แล้ว เพื่อน(ซึ่งผมคิดว่าสำคัญมากเลยถ้าได้เพื่อนดี)ได้บอกให้ไปบวชดู
เผื่ออะไรๆจะดีขึ้น ผมก็คิดว่าไหนๆก็ไหนๆแล้ว มันอาจจะดีขึ้นก็ได้ ด้วยความที่คิดแค่ว่า
ศักดิ์สิทธิ์ ได้บุญ อาจดลบันดาลให้เกิดสิ่งดีๆ แก้ปัญหาต่างๆได้ เคยคิดว่าจะไม่บวชเลย แต่ก็ต้องทำและ
เพราะรู้สึกตัวเองหมดหนทางจริงๆ ความคิดวกวนอยู่ในหัวในเรื่องที่กลุ้มใจต่างๆนาๆ

พอได้ใช้ชีวิตในฐานะนักบวชถึงจะไม่มากแค่หนึ่งเดือน และได้มีโอกาสไปปฏิบัติที่ต่างจังหวัด
แล้วก็ด้วยความโชคร้าย ไปติดโรคระบาดพอดี เป็นไข้ชิกุนทุนย่า(คล้ายไข้เลือดออก)
นอนอยู่ รพ. สองสามคืน เลยไม่ได้ปฏิบัติจนครบจำนวนวัน แต่ก็ได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการบวชครั้งนั้น

พอสึกออกมา ก็ยังสงบอยู่บ้าง แต่ก็มีฟุ้งซ่านอยู่อีก
ก็ได้ศึกษาคำสอนของท่านปัญญา ท่านพุทธทาส ต่อเนื่องกันไป
ปฏิบัติบ้างเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็นั่งสมาธิ เดินจงกรม ตามที่ได้บวชเรียนมา ต่อจากนั้นก็ได้อ่านหนังสือธรรม ฟังเทศน์จาก
หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ และพระอาจารย์ทางสายพระป่า(จริงๆผมไม่รู้หรอกว่าพระเค้าแบ่งสายกันด้วย 55 งงเหมือนกัน)
อ่านไปเรื่อยๆ ท่าน ว.วชิรเมธี หลวงพ่อเทียน หลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่เทศน์ หลวงตามหาบัว ฯลฯ

ต่อมาอยากรู้ให้ลึกซึ้งขึ้น เกิดความคิดที่ว่า เอ... ทำไมเราไม่ลองศึกษาจากอาจารย์ใหญ่เลยดีไหม
นั่นคืออยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่าอย่างไรบ้างจากปากท่านเลย อ่านจากพระไตรปิฏก
ยอมรับว่ามะรู้เรื่องเลย T T ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน แต่โชคดี ได้เห็นแวบๆ หนังสือที่ท่านพุทธทาส
ทำออกมาห้าเล่ม ชุดจากพระโอษฐ์ อ่านๆไปๆ เออ...เข้าท่าดี

ช่วงที่หลวงพ่อปราโมทย์สอน ก็ฟังท่าน ก็เข้าใจการปฏิบัติมากขึ้น
ในเรื่องการเจริญสติ เริ่มแยกอารมณ์ เห็นเวทนา เห็นจิตไปเกาะนั่นนี่ แต่ก็ยังเหมือนว่าเราไม่มีแรงสู้
ก็นึกสงสัยว่าทำไมแค่รู้เฉยๆคงไม่ไหวและ ก็ใช้การเจริญสติแบบหลวงพ่อเทียน ขยับมือ
ต่อมาใช้เดินเรื่อยๆไม่กำหนดอะไรตามที่ท่านสอน ให้มีสติรู้อยู่กับการเคลือนไหว
แล้วก็ฝึกอานาปานสติ จากที่ใช้พุทโธเป็นคำบริกรรม ก็ลองไม่ใช้ดู แค่รู้ลมหายใจ
ก็ปรากฏว่า ก็ดีนะ ฝึกไปฝึกมา ก็อยู่กับลมได้ เห็นลมหายใจเข้าออก ตอนแรกตกใจมาก
จะรู้สึกถึงลมหายใจเข้าออกได้ยังไง แต่อยู่ๆก็เห็นร่างกายมันหายใจเข้าออกเอง มันก็สงบดี
แต่ก่อน รู้สึกว่า ไม่เคยรู้สึกถึงลมหายใจเลย ไปรู้สึกถึงมันทำไม มันเป็นหน้าที่อัตโนมัติของร่างกายนี่

ต่อมาได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์คึกฤทธิ์ เลยยิ่งเข้าใจการปฏิบัติมากขึ้น
จากที่แค่ใช้การนั่งสมาธิ มีสติ รู้กาย เวทนา จิต ซึ่ง ธรรม(ไม่เข้าใจเลยว่าคืออะไร)
ท่านก็ว่า ให้ละต้นตอไปเลย คือ ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา โดยการให้กลับมาอยู่กับ
ลมหายใจเลย อ้อ... เท่านั่นแหละ เข้าใจธรรม เลย ว่าเกิดดับ อริยสัจสี่คืออะไร มาไปคืออะไร
ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร เห็นความไม่เที่ยง แตกสลาย ไม่ใช่ตัวตนถาวรของสิ่งต่างๆได้ชัดเจนขึ้น

สุดท้ายก็เลยรู้ว่าความทุกข์มันเกิดจากตัวเรานี่เอง ความเข้าใจผิดในเรื่องตัวเรา
และเป็นเพราะจิตที่ไม่ได้ฝึกนี่เอง ทำให้ไม่มีโยนิโสมนสิการ หลงอยู่มานานตั้งสามสิบกว่าปี
กลับมาคิดว่าที่ผ่านมาใช้ชีวิต ใช้ชีวิตลอยไปมา โดยที่อะไรก็ไม่รู้ พาเราไปทำนั่นทำนี่ ไอ้อะไรก็ไม่รู้นี่แหละ
ทำให้ เกิดสุขบ้าง ทุกข์บ้าง เกิดกรรมดี ไม่ดี โดยรู้ตัวบ้าง ไม่รู้บ้าง เป็นผลดีบ้าง ผลร้ายบ้าง
สุดท้ายก็พลาดเสียหายในเรื่องใหญ่ๆ เพราะเราทำโดยปราศจากสติ และความคิดที่มีเหตุผล
และก็ด้วยหันมาลงทุนนี่แหละ ได้มีโอกาสอ่านหนังสือมากมาย จึงเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้นไปอีก ไม่โง่แล้ว

สุดท้ายของสุดท้ายของที่เขียนมายืดยาว
ก็เพื่อบอกทุกท่านว่า โชคดีมากที่สุดที่เกิดมาแล้วได้ศึกษาธรรมจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
รวมถึงได้ศึกษาการลงทุนแบบเน้นคุณค่าอีกด้วย

พุทธเป็นศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่จริงๆ
happymom
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 108
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 297

โพสต์

"สุดท้ายของสุดท้ายของที่เขียนมายืดยาว
ก็เพื่อบอกทุกท่านว่า โชคดีมากที่สุดที่เกิดมาแล้วได้ศึกษาธรรมจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
รวมถึงได้ศึกษาการลงทุนแบบเน้นคุณค่าอีกด้วย"


เห็นด้วยอย่างยิ่ง ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 298

โพสต์

จริงๆ ไม่ค่อยอยากจะโพสต์อะไรมาก เพราะ กลัวว่าจะยิ่งทำให้เนื้อหาออกทะเลไปจากหัวข้อยิ่งขึ้น

แต่อ่านประสบการณ์ทางธรรมของพี่ Tibular รวมไปถึงปริยัติที่เกี่ยวกับอินทรีย์ 5 ที่เพื่อนๆ แชร์กันเข้ามา ก็ต้องขอขอบคุณและขออนุโมทนาทุกท่านด้วยจริงๆ โดยส่วนตัวอินทรีย์ 5 ที่ผมเรียนรู้จะเป็นการเรียนรู้ในการปฎิบัติธรรมจริงเสียมากกว่า รู้จักอินทรีย์ 5 โดยสภาวะที่เกิดขึ้นกับจิต ไม่มีความรู้ในทางปริยัติสักเท่าไหร่ จะรู้แค่ว่าจะกำหนดสติ จัดการกับตัวเองอย่างไร เมื่ออินทรีย์ไม่สมส่วน พอได้อ่านเนื้อหาที่เพื่อนๆ แชร์ รวมทั้งประสบการณ์ทางธรรม ก็ได้ประโยชน์มากๆ

ขอบคุณเพื่อนๆ ที่ช่วยแชร์ความรู้มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 299

โพสต์

ธรรมะของพระพุทธเจ้า ยิ่งได้ฟัง ยิ่งเพลิดเพลินบรรเทิงใจ
จะฟังสักพันหนหมื่นครั้งก็ไม่รู้เบื่อ ยิ่งฟังมากกำลังใจก็มากขึ้นเรื่อยๆ
และเมื่อเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยะเจ้าแล้วไซร้ ยิ่งเป็นของไม่ลบเลือน

อานิสงค์จากการปฎิบัติตามคำสอนขององค์พระบรมศาสดา ดังความว่า

"เมื่อให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ บางพวกทำน้อยก็ได้ไปสู่สวรรค์ บางพวกแล ขยันทำจริง
พร้อมทั้งบุญบารมีแต่หนหลังเกื้อหนุน ก็ย่อมเข้าสู่พระนิพพาน โดยไม่ต้องสงสัยเลยทีเดียว"


เมื่อได้ฟัง ศึกษา และ ได้นำไปปฏิบัติ ก็จะหายสงสัย
เพราะความทุกข์จากการปฎิบัตินั้นเกิดขึ้นจริง และสุขจากการปฎิบัติก็เกิดขึ้นจริงเช่นกัน

เฉกเช่นเดียวกับพระบรมศาสดา ที่ทรงทรมานพระองค์ จนสุดท้ายก็เปลี่ยนมาพิจารณาลม
ลมก็คือการพิจารณากายนั่นเอง

พระองค์จึงทรงเป็นต้นแบบ ดังคำว่า พุทโธ และ ภควา
พระองค์ทรงเป็นผู้รู้ก่อน จึงเป็นผู้จำแนกแจกธรรมตาม

กล่าวคือ
"ฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ได้ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า"
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 300

โพสต์

.......
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า

ดูก่อนเจ้าลิจฉวี
ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ หาได้ยากในโลก รัตนะ ๕ เป็นไฉน คือ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑
บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ๑
บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑

ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งรัตนะ ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก
..........

ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รู้จักกับมิตรดีสหายดีนะครับ ไม่ได้หาง่ายๆเลยครับ เป็นลาภของผมจริงๆครับ ^_^
ไม่ประมาท