เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 421

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:ผมได้เสนอกระทู้ “วีไอกับเส้นทางธรรม”
เพื่อขอความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์
โดยเฉพาะสำหรับตัวผมเอง และอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆวีไอด้วย

ผมขอกราบขอบคุณและอนุโมทนากับการให้ความรู้ด้วยการนำข้อคิดข้อเขียนทางธรรมมาแนะนำ
แต่เนื่องจากผมมีความรู้ทางปริยัติน้อย การให้ความรู้ด้วยภาษาที่อ่านยากสำหรับผม
ก็ทำให้การอ่านได้ประโยชน์ไม่เต็มที่


แต่ผมก็ยังอยากได้คำแนะนำ อยากได้ฟังประสบการณ์ของผู้ที่เดินผ่านเส้นทางนี้ไปก่อน
แต่อยากอ่านด้วยภาษาที่ผมเข้าใจได้ง่ายกว่านี้ครับ
นึกว่าสงเคราะห์สำหรับวีไอที่อ่อนปริยัติแต่มีความปรารถนาที่จะเดินตามไปในเส้นทางธรรมครับ
เห็นด้วยครับอาจารย์
โดยเฉพาะคำศัพย์ทางบาลี ผมโง่มากๆ เลยพาลไม่อยากอ่าน
แต่ก็ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่มาแบ่งปันครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 422

โพสต์

เห็นด้วยครับ ยากเกินไปสำหรัญผมครับ ทำให้อ่านแล้วงงเป็นส่วนใหญ่ครับ
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 423

โพสต์

o
go to
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=884233
ท่านนี้ ได้อธิบายความใน
ภาษาปัจจุบัน อย่างละเอียด และดียิ่ง
จะช่วยให้ ได้พื้นฐานการเข้าใจได้ดีมากขึ้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 424

โพสต์

ผมขอแชร์ความหลง ที่เกิดขึ้นส่วนตัวหน่อยนะครับ 555

...
...
...

เมื่อก่อนเรามีความสงสัยในสมาธิว่า สมาธิคืออะไร สมาธิเป็นอย่างไร ต่อเมื่อเราได้ลงมือปฏิบัติ เราก็จะรู้และเข้าใจด้วยตัวเองว่า สมาธิเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนั้นนั่นเอง

ผลของความสงบของจิตช่วยทำให้ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลงชั่วขณะ และความสุขสงบจากความเบาบางของกิเลสเหล่านี้ จะสะสมจนติดตัวเป็นนิสัย เพราะจิตที่ถูกฝึกฝนย่อมเกิดองค์ความรู้คือปัญญา คอยเตือนสติอยู่เสมอ

อานิสงค์ของสมาธิ ทำให้จิตสุขสงบ จนเกิดความหลงเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเป็นพระอริยะเจ้า ข้อนี้ผู้ที่ได้ลงมือปฏิบัติ อาจเคยได้พบเจอหรือประสบกับตนเอง(ผมก็เคยเป็น) กล่าวคือ จิตสงบที่เกิดจากสมาธิของผู้ฝึกใหม่เป็นเพียงการระงับกิเลสได้ชั่วคราว หาได้ตัดขาดจากกิเลสโดยสิ้นเชิงไม่ ความสุขที่ทำให้จิตเบา มองไปทางไหนก็ปล่อยวาง เห็นอะไรก็เฉย ไม่สนใจ ความสวยงามถูกแทนที่ด้วยอสุภ เห็นแต่ความไม่เที่ยงเต็มไปหมด

จิตที่ถูกฝึกเป็นประจำย่อมเปรียบเหมือนมีดที่ถูกลับให้คมด้วยหินทุกวัน ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อคิดว่าตัวเองเป็นพระอริยะเจ้า ความใฝ่เพียรในการฝึกลดลง กำลังใจตกลง จนจิตถูกครอบงำด้วยเครื่องเศร้าหมองคือกิเลสอีกครั้ง เมื่อนั้นเราก็จะได้รู้ว่า มีดที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่หมั่นลับ ย่อมมีสนิมเกิดขึ้นฉันนั้น ผู้ที่รู้จักฝึกฝนตน ย่อมได้ปัญญาคือความรู้เท่าทันเกิดขึ้น เมื่อรู้ว่าผิดย่อมรู้จักแก้ไข เปรียบดังผู้ที่เริ่มฝึกสมาธิ เมื่อเกิดความหลงผิด ปัญญาที่ถูกสะสมไว้ จะเป็นเหมือนหินลับมีด ที่คอยช่วยลับสนิมที่เกาะบนใบมีด ให้มีความคมอีกครั้ง

เมื่อจิตถูกฝึกฝนย่อมเกิดความรู้เท่าทัน เกาะติดควบคู่ไปกับความยึดติดเหล่านั้น กล่าวคือเมื่อจิตหลง จะเกิดปัญญาความรู้เท่าทันขึ้นมาประกบกับความหลงนั้น ความรู้เกิดขึ้นมาให้พิจาณาคู่กับสิ่งที่เราหลง เป็นเครื่องแก้ของกันและกัน ผู้ที่ฝึกเบื้องต้นย่อมต้องพ่ายแพ้ต่อความหลง แต่ความหลงก็จะถูกความคิดเท่าทันเหล่านั้นเข้ากัดกร่อน ทำให้ลดทอนความหลงลงไปเรื่อยๆ

สุดท้ายเมื่อรู้ว่าเราหลง โอหนอนี่เราพลาดไปเสียแล้วที่คิดว่าเป็นพระอริยะเจ้า ก็จะทำให้เกิดความระอาย หันกลับมาพิจารณาตนอีกครั้ง หมุนวนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ปัญญายังคงค่อยๆสะสมเพื่อเป็นพลังงานในการเอาชนะความหลงให้ได้ในครั้งต่อๆไปครับ



:o
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nanjeng
Verified User
โพสต์: 102
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 425

โพสต์

...แต่ผมก็ยังอยากได้คำแนะนำ อยากได้ฟังประสบการณ์ของผู้ที่เดินผ่านเส้นทางนี้ไปก่อน
แต่อยากอ่านด้วยภาษาที่ผมเข้าใจได้ง่ายกว่านี้ครับ
นึกว่าสงเคราะห์สำหรับวีไอที่อ่อนปริยัติแต่มีความปรารถนาที่จะเดินตามไปในเส้นทางธรรมครับ...
ผมขอเรียนตามตรงนะครับ (อย่าโกรธผมเลยนะครับ)
ผู้ที่จะสามารถถ่ายทอดให้เราเข้าใจในภาษาที่เข้าใจได้ง่ายนั้น
1.ต้องเคยผ่านจุดนั้น "จริงๆ" มาแล้วเท่านั้น
2.นอกจากข้อ 1.แล้ว ต้องมีวิสัยเดิมหรือความปรารถนาเก่าที่ติดตัวมาช่วยหนุนช่วยเสริม ขอยกตัวอย่างอุปมาดังเช่นกับหลวงพ่อทั้งหลายนะครับ เช่น
-หลวงพ่อบางท่านสอนน้อย เทศนาน้อย หรือไม่สอนเลย อาจจะเพราะปรารถนาเป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
-หลวงพ่อบางท่านแทบจะไม่สอนเลย ชอบอยู่แบบปลีกวิเวก โดดเดี่ยวตามลำพัง อาจจะเคยปรารถนาเป็นพระปัจเจกโพธิ์
แล้วละทิ้งความปรารถนา มาเป็นสาวกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคตมแทน เช่น หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
-หลวงพ่อบางท่านปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า แต่ละทิ้งเส้นทางอันยาวนานของความเป็นพระพุทธเจ้า เช่น หลวงปู้มั่น ภูริทัตโต
ดังนั้นท่านจึงสามารถสั่งสอนศิษยานุศิษย์ได้มากกว่าพระที่ปรารถนาเป็นพระสงฆ์
3. จากข้อ 2. แม้ฆราวาสเราก็ไม่เว้นครับ บางท่านไปรู้ไปเห็นมา แต่อธิบายลำบาก บอกไม่ถูกหรือภาษาธรรมเรียกว่า ปัจจัตตัง นั่นเอง รู้เห็นได้เฉพาะตน
4.ผู้ที่จะถ่ายทอดด้วยภาษาที่เข้าใจได้ง่ายนั้น ต้องย่อยธรรมะของพระพุทธเจ้า หรือคำสอนของหลวงพ่อต่างๆมาได้ก่อน
โดยผ่านการปฏิบัติอาศัยประสบการณ์ของตนเองเป็นตัวบอกเล่า

----------------------------------------------
เรื่องพุทธศาสนานี่ผมค่อนข้างระมัดระวังครับ
จะพยายามไม่เถียงหรือชวนทะเลาะกับใคร เพราะมันไร้สาระมากๆ ชนะไปก็แค่นั้น แถมยังเป็นการพอกพูนกิเลสขึ้นไไปอีก

ก่อนที่ผมจะไปสิงที่ห้องสินธร ผมจะอยู่ที่ห้องศาสนา ซึ่งอยู่ๆไปแล้ว มีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง ของกูดี ของมึงไม่ดี เกทับ บลัฟแหลกกัน
ถามใจตัวเองว่าห้องนี้มันห้องศาสนาหรือห้องราชดำเนินกันแน่ อ่านกระทู้ไปมีแต่การทำสงครามทางความคิด สิงอยู่จนรู้ว่าจิตไม่สงบ ฟุ้งซ่าน หาประโยชน์อันใดไม่ได้ ก็เลยห่างห้องนั้นจนไม่ได้เข้าไปแฟนประจำอีกเลย

ถึงผมตรงนี้แล้วต้องถามตัวเราจริงๆ ว่าต้องการอะไรจากพุทธศานา สำหรับผม ผมต้องการแก่นจริงๆของพระพุทธศาสนาในชาตินี้

ถ้ามีเวลาผมจะมาเล่าประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ ของผม เป็นประสบการณ์ที่ไม่ได้มีถึงขั้นฌานดอก และก็ไม่ได้มีถึงขั้นโสดาบันหรอกครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Nanjeng
Verified User
โพสต์: 102
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 426

โพสต์

ธรรมะมีหลายระดับ ต้องถามตัวเราซึ่งรู้ดีที่สุดก่อนว่าอยากรู้ธรรมไปเพื่ออะไร
ถ้าต้องการมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ แค่ทาน ศีล ภาวนา ก็เพียงพอแล้ว
แต่ถ้าต้องการมากกว่านี้ ต้องมีกำลังของ ศีล สมาธิ ปัญญา เพิ่มเข้ามาอีก
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 427

โพสต์

http://www.oknation.net/blog/movie-som/ ... 10/entry-1
ผมเรียนมาทางสายแพทย์ การที่จะรู้เรื่องโรคและการรักษา อย่างแรกต้องรู้กายวิภาคคือรู้ทุกชิ้นส่วนของร่างกายก่อน รู้กลไกการทำงาน รู้หน้าที่ของแต่ละอวัยวะ รู้สภาพที่ปกติกับไม่ปกติ

ในเมื่ออยากรู้กายต้องรู้ความหมายสิ่งที่กล่าวมา เมื่ออยากรู้จิต ก็ต้องรู้ความหมายของคำเหล่านั้นเพื่อใช้ตีความเช่นกัน

ชีวิตผมไม่มีเวลาเข้าวัด ไม่มีเวลาที่จะหาอาจารย์เพื่อให้ท่านสอนท่านฝึก ทางเดียวคือต้องเรียนจากตำราอย่างเดียว ผมเริ่มจาก หนังสือ พุทธธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์(ปอ.ปยุตโต)ซึ่งเป็นอาจารย์ท่านแรก เพื่อให้เห็นทั้งเนื้อทั้งตัวของศาสนาพุทธขึ้นมาก่อน
.............
http://www.oknation.net/blog/movie-som/ ... 13/entry-1
ขยายความชั้นที่สอง
ในธาตุทั้ง 6 แบ่งออกเป็น ธาตุรู้ กับธาตุไม่รู้

ธาตุรู้ คือวิญญาณธาตุ(ไม่ใช่ความหมายแบบ ผีหรือวิญญาณ)

ธาตุไม่รู้ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ(ไม่ใช่ความหมายแบบอากาศที่เราใช้หายใจ ในที่นี้คือที่ว่าง มีที่ว่างจึงมีสิ่งตั้งอยู่ได้ เพราะจักวาลนี้มีที่ว่าง ดาวเคราะห์โลกจึงมีที่อยู่)

ธาตุรู้คือจิต ธาตุไม่รู้คือรูป เข้าใจแบบง่ายๆก็คือ ใจและกาย
.................................................................................................................
การแสดง อาการ ออกมาของธาตุไม่รู้(ดิน น้ำ ไฟ ลม ) เรียกว่า รูปขันธ์
การแสดง อาการ ออกมาของธาตุรู้(วิญญาณธาตุ) เมื่อแสดงออกมาในเรื่อง “รู้” เรียกว่า วิญญาณขันธ์
การแสดง อาการ ออกมาของธาตุรู้(วิญญาณธาตุ) เมื่อแสดงออกมาในเรื่อง”รู้สึก”เรียกว่า เวทนาขันธ์
การแสดง อาการ ออกมาของธาตุรู้(วิญญาณธาตุ) เมื่อแสดงออกมาในเรื่อง”จำ” เรียกว่า สัญญาขันธ์
การแสดง อาการ ออกมาของธาตุรู้(วิญญาณธาตุ) เมื่อแสดงออกมาในเรื่อง “คิด” เรียกว่า สังขารขันธ์
...............................................................................................................
~~~~
อย่างง่าย elearning
http://www.buddhism-online.org/ContentSect02A.htm
.....
ต.ย.
~~~
อย่าง
ก้าวหน้า
วิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ภาคปัญญา
http://bit.ly/1fpKHFx
...
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 428

โพสต์

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?i ... 9&gblog=14

ภาพนี้มีชื่อว่า “ แดนเกิดแห่งปัญญา ”
รูปภาพ
มีชายคนหนึ่งถูกโจร 5 คนไล่ฆ่า ชายคนนั้นจึงหนีไปถึงยังริมตลิ่ง
บังเอิญมีซากศพที่เน่าพองอึดลอยผ่านมาเขาจึงกระโดดขึ้นขี่ซากศพนั้น
เขาใช้ทั้งมือและเท้าพุ้ยน้ำเพื่อดันซากศพให้ลอยข้ามฟากพ้นไปจากโจรทั้ง 5
หรือพ้นจากวัฏฏสงสารเพื่อไปสู่อีกฝั่งซึ่งนิพพาน ซึ่งวัฏฏสงสารก็คือการเวียนว่ายตายเกิดนั้นเอง
ส่วนนิพพานก็คือความดับแห่งกิเลสและกองทุกข์

ปริศนาธรรมที่แฝงอยู่ในภาพนี้ก็คือโจรทั้ง 5
ที่แสดงเป็นรูปนก 5 ตัวที่บินวนเวียนอยู่ในวงกลม
ซึ่งพระท่านได้เปรียบเปรยหมายถึงตัวทุกข์ ซึ่งก็คือ
อุปาทานขันธ์ทั้ง 5
อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

คำว่าอุปาทานแปลว่า การยึดติด, การยึดมั่นถือมั่น , นึกเอาเองว่าต้องเป็นอย่างนั้น ซึ่งความหมายตามภาพปริศนาธรรมนี้ก็คือการยึดมั่นในกิเลสต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราสามารถข้ามมันไปได้ (ละกิเลสได้) เราก็จะบรรลุถึงนิพพานซึ่งก็คือการพ้นทุกข์นั้นเอง (อุปทานขันธ์ 5)

ซึ่งซากศพที่ลอยน้ำอยู่นั้น พระท่านเปรียบเปรยว่าร่างกายเราคือศพเน่าที่เป็นปฏิกูลตามธรรมชาติ ซึ่งปฏิกูลนั้นก็คือสิ่งสกปรกน่ารังเกียจ ร่างกายเราจึงต้องชำระให้สะอาดอยู่เสมอด้วยศีล ภาวนา สมาธิและชะโลมล้างกิเลสต่าง ๆ ออกด้วยธรรมะ จึงจะหนีพ้นจากทุกข์ไปสู่ห้วงแห่งนิพพานได้
............
รูปภาพ
สำหรับในภาพส่วนนี้คือภาพดอกบัวที่มีบุรุษผู้เข้มแข็งยืนถือพระขรรค์และจักรอยู่กลางดอกบัว แสดงว่าปัญหาเกิดขึ้นจากกายอันเป็นสิ่งปฏิกูลนั้น เปรียบเป็นโคลนที่เน่าเหม็นนั้นยังเป็นที่เกิดของดอกบัวที่งดงามได้ซึ่งหมายความว่า ถึงแม้เราจะอยู่ที่สถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยกิเลส แต่ถ้าเราละจากกิเลสเหล่านนั้นได้เราก็หลุดพ้นขึ้นมาเหมือนดอกบัวที่อยู่เหนือโคลนตม

ส่วนขรรค์และจักรนั้นเปรียบได้กับปัญญาที่จะใช้ตัดกิเลสอันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์

ซึ่งถ้าตีความหมายแล้วก็คือความมีสติก่อให้เกิดปัญญา ปัญญาจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ก่อขึ้นจากสิ่งปฏิกูลซึ่งก็คือกิเลสต่าง ๆ ของเรา ถ้าเรามีสติที่ก่อให้เกิดปัญญาก็เหมือนกับเรามีขรรค์และจักรที่จะเอามาตัดกิเลส(ปัญหา)เหล่านั้นได้


ส่วนภาพเด็กที่กำลังลอยเข้าหาบุรุษที่เข้มแข็งผู้ซึ่งถืออาวุธนั้นหมายถึง ความโง่ ความหลง ความมืดบอด ซึ่งเรียกว่า “อันธการ” นั้นต้องตัดเสียด้วยปัญญา การทำลายกิเลสความโง่หลงนั้นจำเป็นต้องมองเห็นกิเลสอันเป็นต้นเหตุของความทุกข์เสียก่อน เหมือนกับคำพระที่กล่าวไว้ว่า “ทุกข์อยู่ที่ดับก็สามารถดับลงได้ด้วยเหตุแห่งทุกข์นั้น”
....................
สวนโมกข์กรุงเทพ
แห่งนี้ยังมีภาพปริศนาธรรมอีกหลายภาพ
ที่ผมอยากจะให้ท่านลองไปชมไปพิจารณาและลองตีความหมายด้วยตัวเองดูครับ
ถ้าท่านชมภาพท่านได้อ่านคำบรรยายประกอบ
แล้วท่านสามารถตีความหมายรู้ซึ้งถึงธรรมะที่แฝงอยู่ในภาพนั้นได้ด้วยตัวของท่านเอง
ผมคิดว่าจิตใจของท่านก็คงจะสุขอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นระดับที่พระท่านเรียกว่า “ระดับเห็นธรรม”
ซึ่งถือว่าสูงส่งพอควรเลยนะครับ
...
peerawit
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 429

โพสต์

ขอโอกาสครับ

บรรลุธรรมนี่เป็นยังไง
ก็มีหลาย ระดับ ครับ โสดาปัตติผล สกทาคามีผล อนาคามีผล อรหัตผล นะครับ
ผู้เดินมรรคก็เรียกว่า โสดาปัตติมรรค สกทาคามีมรรค อนาคามีมรรค อรหัตมรรคนะครับ พอเดินมรรคไปถึงที่หมายก็ได้ผลครับ

คำว่าโสดาบัน โสดาบัน หมายความว่ายังไง ทำไมต้องโสดาบัน
- โสดาบันเป็นผู้ที่ไม่ต้องไปอบาย ทุคติ วินิบาตร นรก อีกแล้วครับ เกิดอีกไม่เกินเจ็ดคราว จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์
- ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยความเห็น

แล้วคุณสมบัติโสดาบันเป็นยังไง

- คุณสมบัติโสดาบัน ขอยกตัวอย่าง
1) มีความเห็นว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ อันนี้ สัทธานุสารี
2) ธรรมานุสารี เชื่อเหลือเกินว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ อันนี้เข้มขึ้นมาหน่อย
3) มีศีลห้า +เชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว+ รู้ปฏิจจสมุปบาท
4) รู้ปฏิจจสมุปปบาท
5) มีศีลห้า +เลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว
ุ6) รู้ว่ามีแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงธรรมได้แบบนี้เท่านั้น
ึ7) เลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว + มีทานการให้
8) ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยมรรคแปด
... อื่นๆๆๆๆๆๆ อีกมาก

มีมรรควิธีง่ายๆไหมที่จะบรรลุธรรม อยากเป็นโสดาบัน
มีครับ
- ละความเพลิน
- กายคตาสติ
- อานาปานสติ
- ทุกขสัจ

แล้วฌานคืออะไร เกียวอะไรกะโสดาบัน หรือ บรรลุธรรม
ฌาน คือ สัมมาสมาธิครับ มีสี่ระดับ
คนที่ได้ฌาน 1-4 ต้องเห็นการเกิดดับในสมาธินั้นๆ ก็จะได้เป็นอริยบุคคล

โสดาบันหรือพระอริยบุคคล เห็นอะไรเกิดดับ
เห็นจิตเกิดดับใน รูป(ร่างกาย) เวทนา(สุข ทุกข์ เฉยๆ) สัญญา(ความจำได้) สังขาร(ความคิดปรุงแต่ง) ครับ
ปุถุชนจะคิดว่า จิตเป็นเรา
ส่วนผู้ได้ฟังธรรมก็จะรู้ว่า จิต มโน วิญญาณ ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดวันตลอดคืนครับ

แล้วเห็นจิตเกิดดับทำไงอ่ะ
ลองรู้ลมหายใจเข้าออกดูครับ เมื่อกี้ยังไม่รู้ ว่ามีลม ตอนนี้รู้ละ แค่นี้แหละครับ เห็นรูปเกิดดับ
เห็นความคิด เกิดดับ
เห็นสุข ทุกข์ เกิดดับ

แล้วเห็นจิตเกิดดับ ไปทำไม
คนที่เห็นเกิดดับบ่อยๆ ก็จะรู้ว่า ขันธ์ทั้งห้านั่น ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเราผู้สังเกตุไม่ได้ดับไปตามสิ่งที่มันเกิดดับใช่มั้ยครับ

ความคิด ไม่ใช่เรา
รูป ร่างกายไม่ใช่เรา เราไปห้ามมันแก่ไม่ได้
ความจำไม่ใช่เรา บางทีมันก็ลืมๆ มันแว้บๆ เกิดดับ
สุข ทุกข์ ก็ไม่ใช่เรา มันดับไปได้
สิ่งที่ไปรับรู้สิ่งเหล่านี้เรียกว่า จิต มโน วิญญาณ ไงครับ

จะบรรลุธรรมไปทำไม เกิดมาก็มีความสุขดี
- มนุษย์ที่ตายแล้วกลับมาเป็นมนุษย์มีน้อย มากเท่ากับเศษดินที่ปลายเล็บ เทียบกับโลกทั้งใบ
ส่วนใหญ่ไปเที่ยวใน อบาย ทุคติ วินิบาตร นรก ครับ

นานๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ซักทีจะเป็นมนุษย์ซักทีนึง อุปมาเหมือนโลกทั้งใบโดนน้ำท่วม ร้อยๆปีมีเต่าตาบอด โผล่ขึ้น มา หายใจซักครั้ง ในน้ำนั้นมีแอกไม้ไผ่ ลอยอยู่ เต่าจะเจอแอกซักครั้งนึง ก็ยากมาก...
การได้เป็นมนุษย์ ยากกว่าครับ

ความทุกข์ในนรก เปรียบเหมือน คนโดนหอกสามร้อยเล่มแทงต่อวัน ความทุกข์นี้เหมือนแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่า่ฝ่า่มือ เทียบกับ ภูเขาหลวงหิมพานต์ คือความทุกข์ในนรกครับ ไม่ได้อยู่กันแค่ไม่กี่แสนปีนะครับ อยู่กันหลักหลายล้านปีนรกเนี่ย

ชักไม่อยากไปนรกละ ทำไงดี
ต้องเป็นพระโสดาบันครับ พ้นแล้ว จากอบายทุคติ วินิบาตร นรก

แล้วนิพพานเป็นยังไง
ไอ้ที่เราอยู่นี่เรียกว่า สังขตลักษณะ ปรุงแต่งได้ มีคุณสมบัติคือ มีการเกิดปรากฏ มีการเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
นิพพาน หรือ อสังขต ลักษณะ มีคุณสมบัติคือ ไม่มีการเกิด ไม่ปรากฏมีการเสื่อม เมื่อตั้งอยู่ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ

ทำไงจะถึงนิพพาน
วางความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ครับ วางยังไง ก็เอาจิตมารู้ลมหายใจก็พอครับ จะค่อยๆ ละอวิชชาได้
ละความเพลิน ก็ได้

ไม่อยากได้นิพพาน อยากรวยอ่ะ อยากเกิด
ก็มีสอนเกียวกับเรื่อง ทาน ความข่มใจ ความสำรวมระวัง ครับ จะไม่ตกต่ำไปยาวๆ
จะมีสอนเกียวกับเรื่องทาน ว่าเป็นทางมาแห่งโภคทรัพย์
ศีลห้า ก็เป็นทางมาแห่งโภคทรัพย์

พระพุทธเจ้าเก่งแค่ไหน ทำไมต้องคำพระพุทธเจ้า
เราอาจไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าได้ตอบคำถามคนทั้งโลกไว้หมดแล้ว เรื่องที่เกี่ยวกับนิพพานนะครับ ท่านบัญญัติ จบไปตั้งแต่ก่อนปรินิพพานแล้ว
คำว่าใบไม้นอกกำมือ คือ คำพูดที่ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ดับไม่เหลือ เพื่อนิพพาน พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนครับ

พระพุทธเจ้าพูดไม่ผิดเลยแม้แต่คำเดียวตั้งแต่ตรัสรู้ จน ปรินิพพานนะครับ

เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ พระพุทธเจ้าก็เหนือชั้นกว่าสาวกอย่างเทียบกันไม่ได้ครับ คนละชั้น
และมีเรื่องอื่นๆอีกมาก พระพุทธเจ้าเก่งมากกกกครับ เหนือชั้นกว่าพระอรหันต์ทั่วๆไปอย่างเทียบไม่ได้


ข้อความด้านบน ผมสรุปๆเอาจากความจำนะครับ ไม่เป๊ะ อาจผิดพลาดได้เป็นธรรมดาครับ พระสูตรเต็มขอได้หลังไมค์ครับ เด๋วส่งให้
ไม่ประมาท
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 430

โพสต์

ผมยอมรับครับ ว่ากระทู้นี้ยิ่งพัฒนาไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งไกลออกจากจุดมุ่งหมายของการตั้งในตอนแรก

ถ้าย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้น และเป้าหมายของกระทู้นี้น่าจะเป็นประเด็นเรื่องการเอาธรรมะมาผนวกใช้ รวมไปถึงกับใช้ชีวิตที่มีการศึกษาธรรม ไปพร้อมๆ กับการลงทุนเสียมากกว่า

ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น... ผมคิดว่า การปฏิบัติธรรม ถ้าทำอย่างถูกวิธีจะทำให้เราลงทุนได้ดีขึ้น สามารถบริหารจัดการจิตใจ ควบคุมความโลภความกลัวในการลงทุนได้ดีขึ้น เพราะ การปฏิบัติธรรม (ถ้าทำอย่างถูกต้อง) มันคือการเข้าไปศึกษาธรรมชาติของกายและใจของเราเอง และธรรมชาติหนึ่งที่เราต้องศึกษา คือ ธรรมชาติของกิเลสของเรา อย่างที่พระพุทธองค์ทรงว่าเอาไว้ กุศล ก็เป็น ธรรมะ อกุศล ก็เป็น ธรรมะ การเข้าไปเห็นกิเลสของเรานี่แหละ ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของมัน และเป็นผลที่ทำให้เราอยู่กับมัน รวมไปถึงจัดการกับมันได้ดีขึ้นเรื่อง

และเมื่อเราจัดการกับกิเลสของเราได้ดีมากขึ้น ผลที่ตามมาชีวิตเราก็จะมีความสุขในทุกๆ ด้าน ในการลงทุน เราจะสามารถจัดการกับความโลภและความกลัวได้ดีขึ้น เมื่อเราจัดการกับอารมณ์เหล่านี้ได้ดีขึ้น เราก็สามารถลงทุนโดยใช้เหตุผลได้ดีขึ้น ไม่เป็นไปตามอารมณ์ ส่งผลให้มีโอกาสการลงทุนประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

บางคนกลัวว่าปฏิบัติธรรมแล้วจะเบื่อหน่ายโลก จะทำให้เสียผู้เสียคน กลายเป็นคนแปลกๆ เสียสติ ผมว่าที่เป็นอย่างนั้นน่าจะเป็นเพราะปฏิบัติผิดหรืออะไรเสียมากกว่า โดยส่วนตัวผม ผมปฏิบัติ ผมก็ยังไปเที่ยวเล่น ใช้จ่ายเหมือนคนปกติอยู่นะครับ แต่การใช้ชีวิตเราจะใช้ด้วยความเข้าใจสิ่งต่างๆ มากยิ่งขึ้น ว่าเราทำแต่ละสิ่งแต่ละอย่างด้วยวัตถุประสงค์อะไร ใช้เพื่อสนองกิเลสก็รู้ชัดว่าใช้เพื่อสนองกิเลส เรายังมีกิเลสตัวนี้อยู่ก็รู้ชัดว่าเรายังมีกิเลสตัวนี้อยู่ การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง มันจะไม่ใช่ไปกดข่มกิเลส แต่เป็นการเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของมัน เป็นผลให้เราบริหารจัดการมันได้ดีขึ้นเรื่อยๆ เห็นทุกข์ เห็นโทษของมัน เมื่อเห็นโทษของมันใจเราก็ค่อยๆ ขัดเกลากิเลสเหล่านั้นทีละเล็กทีละน้อย จนค่อยๆ วางมันได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าปฏิบัติอย่างถูกต้อง ถึงวันหนึ่ง เราจะเข้าใจสุขทุกข์ของสิ่งต่างๆ มากขึ้น ถึงจุดหนึ่งเราก็จะเข้าใจในความละเอียดปราณีตของสุขและทุกข์แต่ละอย่าง จนทำให้เราเห็นว่าสุขทางโลกเป็นสุขที่หยาบ เป็นสุขที่เจือด้วยทุกข์ ในขณะที่สุขทางธรรม ที่เกิดจากความสงบ จากความเบาคลายของกิเลส เป็นสุขที่ละเอียดปราณีต จีรังมากกว่า จึงทำให้เราอาจจะใส่ใจในการลงทุนน้อยลง เพราะ เห็นว่ามันไม่ใช่สาระสำคัญของชีวิต โอเค เรายังคงต้องลงทุนอยู่ แต่ก็ลงทุนในขอบเขตเพื่อเป็นการหาเลี้ยงชีพ เพื่อได้เงินไปสร้างประโยชน์ แต่ไม่ได้ลงทุนเพื่อมุ่งจะสั่งสมทรัพย์สมบัติให้มีจาก 10 เป็น 100 จาก 100 เป็น 1000 ไม่จบไม่สิ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว หากเราจะโฟกัสมุ่งหาเงินต่อไป เราก็เลือกที่จะทำได้ ยังสามารถที่จะกลับไปมีสุขๆ ที่เจือด้วยทุกข์แบบเดิมๆ ได้ แต่เราไม่เห็นประเด็นที่จะทำ คล้ายๆ กับว่า เราเคยกินข้าวแกงข้างทางที่มีแมลงวันตอมมาตลอด วันหนึ่งเราได้ไปกินร้านอาหารที่สะอาด รสชาติดี สวย ปราณีต แถมราคาก็พอๆ กัน และเรามีกำลังที่จะจ่ายได้ทั้ง 2 ร้าน โดยไม่เดือนร้อนตัวเอง ตามปกติเราก็คงจะกินร้านที่ดีกว่า ซึ่งเรายังสามารถกลับไปกินร้านข้างทางที่แมลงวันตอมได้ แต่เราไม่เห็น Point ที่จะกลับไปเสี่ยงกินแล้วท้องเสียอาหารเป็นพิษ ฉันใดก็ฉันนั้น


การปฎิบัติธรรม (ถ้าทำอย่างถูกต้อง) นอกจากจะช่วยให้เราจัดการกับกิเลสได้ดีขึ้น อานิสงส์อีกอย่างหนึ่ง คือ จะทำให้เราวิเคราะห์การลงทุนได้ดีขึ้น ทั้งนี้ในการใช้สมองคิดวิเคราะห์สิ่งต่างๆ เราจะทำได้ดีที่สุดตอนที่จิตใจเราสงบ เป็นสมาธิ ไม่วุ่นวาย ฟุ้งซ่าน ซึ่งระหว่างการปฏิบัติธรรม เราจะเข้าใจธรรมชาติของสมาธิ ลักษณะ อาการ เข้าใจถึงเหตุปัจจัยในการทำให้จิตเป็นสมาธิ รวมไปถึงมีความเชี่ยวชาญ ในการเข้าสมาธิ ซึ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถคิดวิเคราะห์การลงทุนได้ดีขึ้น สามารถกำจัดขยะข้อมูลที่ถาโถมเข้ามาแต่ละวัน คัดกรองเหลือแค่สิ่งที่เป็นสาระกับการลงทุน ส่งผลให้การลงทุนทำได้ดีขึ้น

ประสบการณ์ของผมหลังจากที่ปฏิบัติธรรมครั้งแรกกลับมา พบว่า ชีวิตนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทั้งร่ายกายและจิตใจ เรื่องต่างๆ ที่ไหลเข้ามากระทบอย่างวุ่นวาย ก็สามารถจัดลำดับความสำคัญได้ดีขึ้นอย่างเหลือเชื่อ ตัดสิ่งที่ไม่เป็นสาระ รับสิ่งที่เป็นสาระเข้ามาพิจารณาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเกิดอารมณ์ความโลภความกลัวขึ้น ก็สามารถจัดการมันได้ ทำให้ไม่พลั้งเผลอซื้อขายพลาดไปตามอารมณ์อย่างที่เคยเกิดขึ้นก่อนปฏิบัติธรรม แม้กระทั่งตอนตีแบตออกกำลังกาย ความสามารถในการควบคุมร่างกายก็สูงขึ้น สามารถจดจ่อกับเล่น เห็นลูกแบตที่วิ่งเข้ามาอย่างช้าๆ รู้ถึงจิตที่คิดที่จะเข้าไปตี การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความตั้งใจที่จะควบคุมวางตำแหน่งลูก ไปจนถึงการตีลูกกระทบไม้ ซึ่งเหล่านี้เป็นอานิสงส์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้จากการปฏิบัติธรรม

สำคัญที่สุด คือ เมื่อเราเข้าใจกายใจเราเองมากขึ้น รู้จักกิเลสของเรามากขึ้น รู้ว่าจะจัดการกับมันอย่างไร ความเบาคลายจากกิเลส และความเข้าใจในธรรมชาติของกายใจของเราที่เกิดขึ้นนี้เองนั้นทำให้เราดำเนินชีวิตไปอย่างมีความสุขมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนี่เองน่าจะเป็นสาระสำคัญของการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ว่าจำเป็นต้องทำไปเพื่อบรรลุมรรคผลแต่อย่างใด แต่ทำไปก็เพื่อความสุขของเราเองและคนรอบๆ ตัวที่มีเพิ่มขึ้นๆ ทุกวันที่ผ่านพ้นไป

ปฏิบัติธรรมเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนและการใช้ชีวิตขนาดนี้ หากมีโอกาสก็อยากจะขอเชิญชวนเพื่อนๆ มาร่วมกันพิสูจน์ว่าธรรมะของพุทธองค์นี้จะช่วยให้ชีวิตของเรามีความสุขได้มากขึ้นจริงหรือ? ตามหลักกาลามาสูตรที่บอกว่าอย่าเชื่ออะไรง่ายๆ จนกว่าจะได้ ศึกษา พิจารณา ทดลองลงมือทำ จนเห็นผลจริง
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
cobain_vi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 431

โพสต์

เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:ผมได้เสนอกระทู้ “วีไอกับเส้นทางธรรม”
เพื่อขอความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์
โดยเฉพาะสำหรับตัวผมเอง และอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆวีไอด้วย

ผมขอกราบขอบคุณและอนุโมทนากับการให้ความรู้ด้วยการนำข้อคิดข้อเขียนทางธรรมมาแนะนำ
แต่เนื่องจากผมมีความรู้ทางปริยัติน้อย การให้ความรู้ด้วยภาษาที่อ่านยากสำหรับผม
ก็ทำให้การอ่านได้ประโยชน์ไม่เต็มที่

แต่ผมก็ยังอยากได้คำแนะนำ อยากได้ฟังประสบการณ์ของผู้ที่เดินผ่านเส้นทางนี้ไปก่อน
แต่อยากอ่านด้วยภาษาที่ผมเข้าใจได้ง่ายกว่านี้ครับ
นึกว่าสงเคราะห์สำหรับวีไอที่อ่อนปริยัติแต่มีความปรารถนาที่จะเดินตามไปในเส้นทางธรรมครับ
อาจารย์ไม่ต้องสนใจด้านปริยัติมากนักก็ได้ครับ บางทีเราอ่านมากๆไม่กี่วันก็ลืมแล้ว ความรู้บางอย่างมันเฝือไปคือไม่จำเป็นต่อการปฏิบัติ เช่นชวนจิตแปลว่าอะไร ศีลข้อนี้มีเหตุมาจากอะไร อะไรแบบนี้มันมากเกิน ผมอ่านหนังสือธรรมะมาเป็นร้อยเล่มสุดท้ายก็ลืมครับ ดีไม่ดีอ่านมากๆฟุ้งซ่าน บางทีจำได้มากๆพาลคิดว่ากูเก่งเข้าไปอีก
การปฏิบัติไม่จำเป็นต้องต้องรู้อะไรที่มันเยอะๆ เอาแค่ตั้งใจรักษาศีล5ให้มั่นคงก็พอแล้วครับ ศีล5สมบูรณ์แล้วการปฏิบัติมันจะง่าย จิตใจจะไม่ฟุ้งซ่าน ต่อจากนั่นเรียนเรื่องจิต(จิตสิกขา)รู้ว่าจิตแบบไหนไว้ทำสมถะ จิตแบบไหนไว้ทำวิปัสนา พอรู้แล้วก็ก็ฝึกทำสมาธิ(ทั้งสองแบบ จะทำอย่างไดอย่างนึงไม่ได้ เพราะเป็นของคู่กัน ส่วนจะแยกว่าอันไหนฌาณอันไหนสมาธิ พอทำได้บ่อยๆชำนาญแล้วมันก็รู้เอง) สุดท้ายก็ฝึกเจริญปัญญา ตอนแรกๆก็ต้องฝืนใจต้องยอมสละความสุขส่วนน้อยเพื่อสุขที่ใหญ่และไม่แปรปรวนกว่า เหล้าเบียร์ต้องเลิกเด็ดขาดครับ(ความสุข(ทุกข์)กระจอกๆแบบนั้นเรายังสละไม่ได้ แล้วจะไปทำอะไรได้ เรื่องไหนที่ทำแล้วทำให้ฟุ้งก็หลีกเลี่ยง(เช่นเล่นเฟสบุ้ค ดูหนัง คุยกับเพื่อนเป็นต้น มันทำให้เราฟุ้งจริงๆนะครับ ถ้าเรามีสติตามไม่ทัน)
พอเรามีพื้นแล้วทีนี้เราก็หัดทำบ่อยๆครับ เปรียบเหมือนจะไปเชียงใหม่ ศึกษาทางเดินไปทางไหน ให้รู้ทิศทาง ทีนี้เราก็เดินครับ การศึกษาข้อมูลก็เหมือนการปูพื้นฐานทั้งศีล สมาธิ สุดท้ายการเดินก็คือความเพียร ทำบ่อยๆ ถ้ามีของเก่ามามันไม่นานหรอกครับ ถ้าของเก่าน้อยก็อย่าท้อ ต้องยิ่งทำให้มากๆ ชาตินี้ไม่ได้ไม่เป็นไร ชาติหน้าก็ง่าย
พอเราทำไปๆความรู้ความเข้าใจมันจะมากขึ้นๆ ถึงไม่ได้มรรคได้ผล ก็ไม่ตกต่ำคือจะดีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าได้ธรรมะชาตินี้แล้วจะคุ้มแสนคุ้ม บุญใหญ่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าสมบัติของจักรพรรดิ์ยังสู้ภูมิธรรมขั้นโสดาบันไม่ได้เลยครับ
ผมขอเอาใจช่วยนะครับ เวลาอาจารย์เหลือน้อยแล้ว(ไม่ได้แช่งนะครับ อย่าโกรธผมล่ะ ผมพูดเรื่องจริง เวลาของผมและคนทั้งโลกก็เหลือน้อยแล้วเหมือนกัน) สมบัติทางโลกของอาจารย์ก็มากมาย(มากกว่าผมเป็นพันๆเท่า ^^) สุดท้ายตายไปก็เอาไปไม่ได้ ต้องเร่งความเพียรนะครับ ความตายไม่แน่นอน อย่าประมาท เวลาจะตายนี่ผมกล้าบอกได้เลยว่ามันจะดิ้น สุดท้ายจะลงอบาย ที่พูดอย่างนี้เพราะผมเคยเกือบตายมาหลายครั้งแล้ว มีอยู่ครั้งนึงสักปี2543ได้ ผมกำลังจะตาย เชื่อไหมครับ ความชั่วมันจะผุดขึ้นมา ประกอบกับร่างกายเกิดเวทนาเพราะลมหายใจจะแตกดับ ข้าศึกจะตีเข้ามาหลายด้านเลย คือทั้งเวทนา + จิตที่ไม่อยากตาย +ความชั่วที่เคยทำ มันผุดขึ้นมาพร้อมๆกัน ผมรู้เลยว่าถ้าตายไปตอนนั้นผมไปอบายแน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย ครูบาอาจารย์ท่านถึงบอกว่าคนไม่ว่ารวยหรือจนตายไปลงอบาย100% มันเป็นอย่างนั้นจริงๆนะครับ ความชั่วนี่เวลาให้ผลนี่น่ากลัวจริงๆไม่ว่าจะกรรมเล็กน้อย(ตอนนั้นความชั่วมันผุดขึ้นมา เป็นเรื่องอะไรรู้ไหมครับคือตอนผมเรียนชั้นอนุบาล มีเพื่อนวางหนังสือการ์ตูนไว้ ผมเห็นไม่รู้ว่าของใครลืมไว้เลยหยิบใส่กระเป๋า ข้อหากระจอกมากๆเลยครับแค่ขโมยหนังสือการ์ตูนราคาไม่กี่บาท ฮา ลืมไปแล้วด้วย แต่เวลาจะตายเชื่อไหมครับ มันผุดขึ้นมาเฉยๆซะอย่างนั้นแหละ ไม่น่าชื่อว่าจิตเรามันสามารถยบันทึกกรรมได้เอนกอนันต์ไม่มีวันเต็มเลย พอไม่ตายถึงได้คิดได้ว่าเราเคยขโมยหนังสือการ์ตูนมาจริงๆ ฮา) บทมันจะให้ผลนี่หนีไม่ได้เลย ถ้ายังไม่ได้พระโสดาบัน (หรือได้จุลโสดาบัน=ท่านว่าปิดอบายได้ชาตินึง แต่ผมว่าไม่จริงเพราะมันยังเสื่อมอยู่ มันไม่สมุทเฉทเหมือนพระโสดาบัน , จุลโสดาบันคือได้ตั้งแต่อุทยัพยญาณในโสฬสญาณขึ้นไป ที่ว่าไม่จริงเพราะมันยังเสื่อมอยู่ครับ ที่เค้าบอกว่าปิดอบายได้ ผมว่าน่าจะหมายถึงได้ญาณนั้นแล้วตายพอดี )
ที่ว่าเวลาตายเกิดเวทนาทางใจและทางกายจะทำให้เราลงอบาย เวทนาทางกายนี่ชั้นทาน เอาไม่อยู่นะครับ มันเกิดเวทนาแรงๆนี่เราลืมหมด เคยทำทานไว้ที่ไหน กี่บาทกี่สตางค์มันลืมหมด เพราะเวทนามันแรงมาก ลองนึกดูนะครับ เวลาเราเดินชนโต๊ะหรือมีดบาทมันเจ็บไหมครับ นิดเดียวยังเจ็บมาก ถ้ามันเจ็บจนตายนี่ลองคิดดูสิครับว่ามันจะแค่ไหน เช่นรถชนอะไรแบบนี้ มันเจ็บมากๆเจ็บจนต้องตาย ส่วนเวทนาทางใจ(เช่นรู้ว่าจะต้องพลัดพรากจากของรัก รู้ว่าจะต้องตาย)อันนี้วัดกันยากครับ ส่วนใหญ่ละไม่ได้ มันจะยึดใจจะดิ้นอันนี้ก็ทำให้เราลงอบาย พวกนี้ต้องแก้ด้วยการปฏิบัติภาวนา รักษาศีลขึ้นไป
สุดท้ายนี้ผมไม่มีอะไรจะพูดแล้วครับ (อย่าคิดว่าผมสอนอาจารย์เลยครับ เรียกว่าให้กำลังใจและแลกเปลี่ยนกันดีกว่า ผมก็ไม่ได้เก่งหรือฉลาดมาจากไหนอาศัยอึดครับ :D ) ก็ขอให้อาจารย์สู้ๆให้เร่งความเพียรให้เต็มที่เลยนะครับ (ผลจะเป็นอย่างไรอย่าไปคาดหวังนะครับ) ไม่รู้ว่าตรงประเด็นหรือป่าว ไม่ตรงก็ขออภัยด้วยนะครับ
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 432

โพสต์

cobain_vi เขียน:เพราะเวทนามันแรงมาก ลองนึกดูนะครับ เวลาเราเดินชนโต๊ะหรือมีดบาทมันเจ็บไหมครับ นิดเดียวยังเจ็บมาก ถ้ามันเจ็บจนตาย
พี่ cobain_vi พูดจาซะเห็นภาพเลยครับ ผมก็เคยเป็น เจ็บท้องเพราะอาหารเป็นพิษ
ภาวนาว่า เจ็บหนอๆๆๆ ปวดหนอๆๆๆ ก็แทบเอาไม่อยู่ ของเขาแรงจริงๆครับ

อ่านเจอเรื่องของท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านเป็นมะเร็งที่ลำคอ ท่านไม่เคยแสดงอาการเจ็บปวด
แม้มะเร็งนั้นจะแตกเป็นแผล สร้างทุกขเวทนาอย่างมาก ท่านก็ยังปฎิบัติกิจเป็นปรกติทุกวันไม่เคยขาด
(ท่านไม่ยอมให้ผ่าด้วย ท่านว่าเป็นเรื่องของกรรม)

ส่วนเรื่องอกุศลที่เคยทำในอดีตของผม ชอบผุดๆโผล่ๆขึ้นมาเป็นประจำครับ มดบ้าง ปลาบ้าง
มาเต็มไปหมด ได้แต่ปลงอนิจจัง เพราะอดีตไม่สามารถแก้ไขได้เลย ได้แต่ปล่อยให้ผ่านไป
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 433

โพสต์

ผมขอเล่าประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งอาจจะแตกต่างบ้าง ก็ขอให้เพื่อนๆ เปิดใจก่อนปราศจากการตัดสินถูกและผิด โดยส่วนตัวผมศึกษาเรื่องธรรมชาติมากกว่าการลงทุนแบบวีไอ ดังนั้นขอแบ่งปันเรื่องธรรมะหรือธรรมชาติที่ผ่านมามากกว่า หลายท่านหลายความเห็นผูกขาดอยู่ที่พุทธศาสตร์ทั้งหมด ส่วนตัวผมเห็นว่า ศาสนาพุทธที่อยู่ได้นานและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ อิสรภาพ ถ้าคุณยิ่งเข้าใจธรรมะแล้วยิ่งหมดอิสรภาพ ต้องย้อนกลับเข้ามาดูแล้วเกิดอะไรขึ้น ผลที่ได้บางครั้งไม่ต้องถามใครตัวผู้ปฏิบัติเองก็รู้อยู่แล้ว

ส่วนเรื่องตำราคำสอนก็ดีภาษาบาลีสันสกฤตหรือคำสอนครูบาอาจารย์ทั้งหลายนั้น ถ้าใช้เพื่อวางแผนที่ดีแต่ในระหว่างการเดินทางถ้ามัวพะวงอยู่กับแผนที่ ท่านไม่ได้รับประสบการณ์อะไรเลย และพลาดโอกาสอย่างน่าเสียดาย เพราะหัวใจจริงๆ แล้วคือ อยู่กับปัจจุบัน บางครั้งในชีวิตท่านอาจมีโอกาสเดินทางผ่านทางนี้ครั้งเดียว หรือหลายครั้ง แต่การเดินทางของท่านไม่ได้ตระหนักรู้หรือสามารถเห็นสิ่งที่เป็นตรงตามความเป็นจริงเลยก็น่าเสียดาย แต่ก็ง่าย ๆ เริ่มใหม่แล้วก็ตระหนักรู้มากขึ้น
การถึงจุดหมายปลายทางหรือการบรรลุถึงธรรมะ แท้จริงไม่ใช่สิ่งที่หวังแต่เป็นสิ่งที่ต้องทำแล้วจะรู้เองได้ผลเอง แล้วก็ทำจนชำนาญ ก็ไม่ต่างจากร้านอาหารที่มีสูตรเด็ดคนเข้าคิวรอนานๆ หรือ นักลงทุนวีไอที่ลงทุนแล้วได้ผลสำเร็จในทุกสภาวะของตลาด

สุดท้าย ผลที่ได้จากการเรียนธรรมชาติ คือ ความเปลี่ยนแปลงเป็นนิรันดร์ (ธรรมชาติเปลี่ยนแต่ใจมนุษย์ไม่เปลี่ยน), ความสมดุล (มีขึ้นมีลง, มีซ้ายมีขวา, มีหน้ามีหลัง สุดท้ายก็ต้องมาเริ่มใหม่ที่จุดสมดุล) ปัจจุบัน (อยู่กับสิ่งที่เป็นไม่ใช่สิ่งที่หวังหรือฝัน) อิสรภาพ (รู้จักตัวเอง,เข้าใจตัวเอง, เข้าใจคนอื่น ไม่ต้องเป็นเหมือนใคร) นับหนึ่งใหม่ (ถูกหรือผิดก็กลับมาทำใหม่จนชำนาญ) ไม่มีสูตรลับ (มีเหตุและมีผล แต่เลือกที่จะทำอะไรก็ต้องรับผลอันนั้น)

ง่ายกว่านั้นไปซื้อแผ่นดีวีดี กังฟูแพนด้าภาคแรก ถ้าคุณเปิดใจคุณก็จะเข้าใจหมดเลย แต่ที่ยากคือ ท่านต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 434

โพสต์

อันตรธานแห่งปริยัติ เป็นมูลแห่งอันตรธาน ๕
ฝ่ายภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล อ้างพระสูตรว่า "ดูก่อน สุภัททะ ก็ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ พึงเป็นอยู่โดยชอบ โลกก็ไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย"
อีกสูตรหนึ่งว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระศาสนาของพระศาสดามีการปฏิบัติเป็นมูล มีการปฏิบัติเป็นสาระ เมื่อทรงอยู่ในการปฏิบัติ ก็ชื่อว่ายังทรงอยู่.

ฝ่ายพระธรรมกถึก(ผู้ทรงพระอภิธรรมปิฏก)อ้างพระสูตรว่า พระสูตรยังดำรงอยู่ตราบใด พระวินัยยังรุ่งเรืองอยู่ตราบใด ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่าง(บรรลุธรรม)เหมือนพระอาทิตย์อุทัยอยู่ตราบนั้น

เมื่อพระสูตรไม่มี และพระวินัยก็หลงเลือนไป ในโลกก็จะมีแต่ความมืด(ไม่มีการบรรลุธรรม)เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต

เมื่อภิกษุยังรักษาพระสูตรอยู่ ย่อมเป็นอันรักษาปฏิบัติไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้ดำรงอยู่ในการปฏิบัติ ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ

เมื่อพระธรรมกถึกนำพระสูตรนี้มาอ้าง พระนาระผู้ทรงผ้าบังสุกุลทั้งหลาย คำของพระเถระผู้เป็นธรรมกถึกนั้นแล เชื่อถือได้ เหมือนอย่างว่าในระหว่างโคผู้ร้อยตัว หรือพันตัว เมื่อไม่มีแม่โคผู้จะรักษาเชื้อสายเลย วงศ์เชื้อสายก็ไม่สืบต่อกันฉันใด เมื่อภิกษุเริ่มวิปัสสนาตั้งร้อยตั้งพันรูปมีอยู่ แต่ปริยัติไม่มี ชื่อว่าการแทงตลอดอริยมรรคก็ไม่มี ฉันนั้น นั่นแล.

อนึ่ง(อีกอย่างหนึ่ง)เมื่อเขาจารึกอักษรไว้หลังแผ่นหิน เพื่อจะให้รู้ขุมทรัพย์ อักษรยังทรงอยู่เพียงใด ขุมทรัพย์ทั้งหลาย ชื่อว่ายังไม่เลือนหายไปเพียงนั้น ฉันใด. เมื่อปริยัติยังทรงอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่า ยังไม่อันตรธานไปฉันนั้นแล.
................................................
อันตรธาน ๕.

๑. อธิคมอันตรธาน ได้แก่ อันตรธานแห่งปฏิเวธสัทธรรม เพราะมรรค ๔ ผล ๔ เรียกว่าอธิคมก็ได้ เพราะเป็นสิ่งควรบรรลุ, และเรียกว่าปฏิเวธก็ได้ เพราะเป็นสิ่งควรแทงตลอด.
๒. ปฏิปัตติอันตรธาน ได้แก่ ข้อปฏิบัติสูญหายไป.
๓. ปริยัติอันตรธาน ได้แก่ พระพุทธพจน์(พระไตรปิฏก)สูญหายไป.
๔. พระธาตุอันตรธาน ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุสูญไปด้วยเตโชธาตุ.
๕. ลิงคะอันตรธาน ได้แก่ เครื่องหมายแสดงเพศว่าเป็นภิกขุ มีผ้ากาสาวพัสตร์ที่ครองอยู่สูญสิ้นไป.
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=475932
:arrow: :arrow: :arrow:

......................................................

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... =1&gblog=6
"กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์"

ข้างบนคือคำที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ ซึ่งคำว่า “พรหมจรรย์” หมายถึง การประพฤติธรรมอันประเสริฐ หรือ การครองชีวิตประเสริฐ ส่วน “กัลยาณมิตร” หมายถึง เพื่อนที่ดีมีคุณธรรม

เหตุที่ทรงตรัสเช่นนั้นก็เพราะการคบหาคลุกคลีกับผู้ใดย่อมส่งผลต่อเราอย่างมาก อย่างบางคนที่เคยมีความประพฤติดี แต่เมื่อไปคบหากับคนพาล นิสัยใจคอก็ค่อยเปลี่ยนไปในทางไม่ดีโดยไม่รู้ตัว เช่น จากที่ไม่เคยดูถูกคน ก็กลายเป็นคนเย่อหยิ่งถือตัว จากไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ก็เริ่มดื่มเหล้า เล่นการพนัน หรือเที่ยวกลางคืนเป็นต้น นอกจากนี้การคบคนพาลยังนำมาซึ่งความฉิบหาย ไม่ว่าจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เสียทรัพย์เพราะมั่วอบายมุข และที่สำคัญคือ ทำให้เรามีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งล้วนเป็นทางแห่งความเสื่อมทั้งสิ้น

ด้วยหนทางในสังสารวัฏนั้นยาวไกลนัก การมีเพื่อนที่ดีนอกจากจะคอยช่วยเหลือเกื้อกูลเราได้แล้ว ยังสามารถช่วยตักเตือน ให้กำลังใจ ชักนำหรือแนะนำเราได้เมื่อถึงเวลาที่จำเป็นอีกด้วย

ดังนั้นการคบเพื่อนที่ดีมีคุณธรรมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิต หน้าที่การงาน และที่สำคัญสุดคือการประพฤติธรรม เพราะจะช่วยทำให้เรามีความเห็นถูก เข้าใจถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง จนกระทั่งสามารถบรรลุมรรคผลได้

ทุกวันนี้กัลยาณมิตรอาจหาได้ยาก แต่ด้วยกุศลที่ได้ทำแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้เราพบมิตรแบบนี้ได้เมื่อถึงเวลา หากไม่สามารถหากัลยาณมิตรได้ ก็ไม่ควรไปคบคนพาล ไม่มีเพื่อนเสียเลยยังดีกว่า แต่ควรให้พระธรรมเป็นกัลยาณมิตรแทน เพราะพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ถือเป็นกัลยาณมิตรได้เช่นกัน

กัลยาณมิตรสมัยพุทธกาล

กัลยาณมิตร มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ดังเช่นในอดีตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเกิดมาแล้วเป็นผู้มีความเห็นผิด จนเกือบจะไม่ได้พบกับหนทางของพระนิพพาน แต่เนื่องจากพระองค์ได้คบหากับบุคคลอันเป็นกัลยาณมิตร พระองค์จึงได้ก้าวเข้ามาสู่หนทางของการสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้

พระองค์ทรงระลึกชาติในหนหลัง ตรัสเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า ในสมัยนั้นเป็นสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ณ ตำบล บ้านเวภฬิคะ มีชายหนุ่ม ๒ คนเป็นเพื่อนรักกัน คนหนึ่ง ชื่อ ฆฏิการะ อีกคนหนึ่ง ชื่อ โชติปาละ ทั้งสองคนนี้แม้จะเป็นเพื่อนที่รักกันมาก แต่กลับมีอุปนิสัยในทางธรรมที่แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน

ฆฏิการะนั้นเป็นผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก เขาได้ชื่อว่าเป็นอุปัฏฐากที่ดีเลิศของพระพุทธเจ้ากัสสปะ แต่โชติปาละเป็นผู้ที่ไม่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเลย เขาไม่เคยไปฟังธรรม ไม่เคยแม้แต่จะไปกราบพระพุทธเจ้า ฆฏิการะก็พยายามชักชวนอยู่เสมอ แม้ว่าความปรารถนาดีของเขาจะถูกปฏิเสธเสียทุกครั้งไป

จนกระทั่งวันหนึ่ง ฆฏิการะจึงออกอุบายชวนโชติปาละไปอาบน้ำยังท่าน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้กับพระอารามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พออาบน้ำชำระกายเป็นที่เย็นกายเย็นใจแล้ว ฆฏิการะก็กล่าวชวนโชติปาละว่า "โชติปาละไปเถอะ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากัน พระอารามของพระองค์ท่านอยู่ที่ตรงนี้เอง" โชติปาละกล่าวตอบว่า "อย่าเลย เราไม่เห็นประโยชน์อะไรกับการที่จะได้เห็นสมณะโล้น สู้ไปเที่ยวยังจะสนุกเสียกว่า" ฆฏิการะก็บอกว่า "มีประโยชน์สิ เพราะการเห็นสมณะนั้นเป็นมงคล ไปกันเถอะ" โชติปาละก็ปฏิเสธอีก ฆฏิการะจึงเดินเข้าไปจับมือของโชติปาละ โชติปาละสะบัดมือออก ฆฏิการะเปลี่ยนมาจับชายพกของโชติปาละ โชติปาละก็ดึงมือออกอีก ฆฏิการะไม่ละความพยายามหันมาดึงมวยผม พร้อมกับกล่าวชวนซ้ำอีก คราวนี้โชติปาละรู้สึกขัดใจขึ้นมาทันที
"เอ๊ะ! ทำไมต้องมาดึงมวยผมกันด้วยละ สมณะโล้นน่ะ มีดีอย่างไรหรือ ท่านจึงอยากให้ข้าพเจ้าไปเฝ้านัก"

และ ด้วยอานุภาพแห่งกัลยาณมิตร โชติปาละก็รำลึกได้ว่า โดยปกติแล้ว ฆฏิการะเป็นเพื่อนที่หวังดีกับเขาเสมอมา ไม่เคยเลยที่จะชักนำไปในทางที่เสียหาย เขาเริ่มคิดได้ว่า การที่ฆฏิการะชวนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่เสมอนี้ ก็คงจะเป็นการชักนำไปในทางที่ดีอีกเช่นเคย ดังนั้นโชติปาละจึงยอมไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

เมื่อไปถึงพระอาราม ทั้งสองกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็นั่งในที่อันควรข้างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงปฏิสันถารด้วยพระทัยที่เปี่ยมด้วยความเมตตา แล้วพระองค์ก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะ แสดงธรรมที่ไพเราะทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย หลั่งธรรมธาราให้รินไหลเข้าสู่กระแสใจของโชติปาละ โชติปาละได้ฟังธรรมแล้ว ใจของเขาก็ผ่องใส เหมือนคนที่เดินหลงทางอยู่ในทะเลทรายมาเป็นเวลานาน แล้วได้พบกับบ่อน้ำที่ให้ทั้งความเย็นกายเย็นใจ ใจของเขาดื่มด่ำในรสแห่งอมตธรรมยิ่งนัก แล้วด้วยใจที่ศรัทธาตั้งมั่นไม่คลอนแคลน โชติปาละจึงขอออกบวชอุทิศตนเป็นพุทธบูชาตลอดชีวิต

แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงกล่าวกับพระอานนท์สืบไปว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้พึงคิดเลยว่าเราคือ ฆฏิการะ บุรุษผู้มีความเห็นถูก แต่แท้ที่จริงแล้วเราคือ โชติปาละ บุรุษผู้มีความเห็นผิดคนนั้น แต่เนื่องจากเราได้คบหากับบุคคลอันเป็นยอดกัลยาณมิตร คือ ฆฏิการะ เราจึงได้กลับมาเป็นผู้มีความเห็นถูก ก้าวเข้ามาสู่หนทางแห่งการสร้างความดี มาสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ในที่สุด

อานนท์ แม้เราตถาคตก็ยังต้องการกัลยาณมิตร เป็นผู้ชี้หนทางแห่งความดีให้ ดังนั้น เราจึงได้กล่าวกับเธอว่า "กัลยาณมิตรนั้นเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์"

หมายเหตุ
ฆฏิการะในกาลนั้น ซึ่งเป็นพระอนาคามี ได้ไปบังเกิดในสุทธาวาสภูมิชั้นที่ 5 อกนิฏฐภูมิ

เมื่อครั้นพระมหาโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงเปลื้องฉลองพระองค์และผ้าโพกพระเศียร โยนขึ้นไปในอากาศ ท้าวฆฏิการพรหมก็ได้รับไว้ แล้วนำพระอัฏฐบริขาร มีบาตรและจีวรเป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์ และรับฉลองพระองค์และผ้าโพกพระเศียรไปประดิษฐานไว้ในทุสสะเจดีย์ ที่เนรมิตสร้างไว้ในชั้นอกนิฏฐภพ นี้เอง.
Pekko
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 676
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 435

โพสต์

พุทธศาสนา มี 3 ส่วน คือ ปริยัติ(ทฤษฎี) ปฏิบัติ(การกระทำ) และปฏิเวธ(ผลหรือความก้าวหน้า) ทั้ง 3 ส่วนต้องไปด้วยกันตามกำลังความรู้ความสามารถของตนให้เพียงพอ หรือพอดีตามทางสายกลางของแต่ละท่าน ดังนั้นแนวทางของท่านหนึ่งอาจจะเหมาะสมกับตน และแนวทางของอีกท่านหนึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับตน ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะผู้ปฏิบัติแต่ละท่านมีกำลังบุญ บารมี หรือมีกรรมติดตัวมาสั่งสมมาไม่เหมือนกัน

แต่แก่นของพุทธศาสน์นั้นเหมือนกัน คือ ต้องการให้ผู้คนพ้นทุกข์ หยุดกิเลสอาสวะ ปราศจากอวิชชาที่เป็นบ่อให้เกิดสังสารวัฎฎโดยเด็ดขาด โดยมีอริยสัจ 4 เป็นตัวลับปัญญา ทั้งปัญหาและการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอริยมรรค 8

"เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ" อาจจะปรับให้เหมาะสมในแต่ละท่าน เช่น ฐานะ ช่วงอายุ แต่ก็อยู่ในสัมมาทั้งแปดประการ ซึ่งสัมมาทั้ง 8 ประการ ก็มีระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงตามศีลและปัญญา แต่ที่จะเห็นได้เด่นชัดคือสัมมาอาชีโว (อาชีพชอบ) และสัมมากัมมันโต (เลี้ยงชีวิตชอบ) ซึ่งบริบทอีกทั้ง 6 อาจจะไม่สอดคล้องกับหัวข้อกระทู้นี้เท่าใด แต่ทุกท่านที่ Post มานั้นก็เป็นประโยชน์แก่ผู้แสดงเอง และผู้อ่านไม่มากก็น้อย

ผมมิเคยบวชเรียน แต่สนในด้านนี้ตั้งแต่เด็ก แล้วขาดช่วงไปในวัยรุ่น-วัยต้นทำงาน เมื่อประสบความทุกข์ยิ่งใหญ่ในชีวิต จึงหันกลับมาเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา อาศัยฝึกเอง มโนเอง ปริยัติเอง ปฏิบัติเองโดยความหลง จนเกือบเอาชีวิตไม่รอด 2 ครั้ง ติดวิปัสสนูกิเลสเป็นอาจิณโดยไม่รู้ตัว พฤติกรรมเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มทุกข์ซ้ำทุกข์ซ้อนอีกประมาณปีครึ่ง จนพระที่รู้จักทราบข่าวเข้า ท่านเมตตาต่อว่าแรงๆ จนได้สติ+ศึกษาธรรมะจากช่องวัดสังฆทานสมัยที่ท่านหลวงพ่อสนองยังมีชีวิตอยู่ จากนั้นก็ดีขึ้นตามลำดับครับ

ผมคิดว่าผมพอเข้าใจท่านอาจารย์เด็กใหม่บ้าง(แต่จะเข้าใจจริงหรือเปล่า ผมก็ไม่ทราบ) ถ้าไม่มีปริยัติเสียเลยนั้นก็ดำเนินต่อไม่ได้ แต่ถ้าปริยัติมากไปก็สับสนไม่รู้ความว่าแปลยังไง พระธรรม 84,000 ขันธ์ อาจจะมากจนเกินความจำเป็นของท่านอาจารย์ แต่ท่านอาจารย์เองต้องเลือกและกลั่นกรองในสิ่งที่ท่านทำได้ และไม่บีบรัด เคร่งครัดมากเกินไป เพื่อต่อยอดปฏิบัติ แล้วออกดอกออกผลปฏิเวธได้ก็พอแล้วครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 436

โพสต์

picatos เขียน: ถ้าย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้น และเป้าหมายของกระทู้นี้น่าจะเป็นประเด็นเรื่องการเอาธรรมะมาผนวกใช้ รวมไปถึงกับใช้ชีวิตที่มีการศึกษาธรรม ไปพร้อมๆ กับการลงทุนเสียมากกว่า
จริงของพี่ picatos รู้สึกว่าจะคุยเรื่องธรรมะกันซะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนผลของการปฎิบัติและนำมาใช้
กับการลงทุนไม่ค่อยได้กล่าวถึงกันซะเท่าไหร่

สำหรับผมสิ่งที่ได้จากหลักธรรมและมีผลต่อวิธีการในการลงทุนก็คือ เป้าหมายในการลงทุนเปลี่ยนไปครับ
เมื่อก่อนอยากเห็นเงินเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ร้อยล้าน ไปพันล้าน ไปไม่หยุด แต่ตอนนี้แค่อยากจะมีแค่พอใช้สำหรับตัวเองและครอบครัวครับ เป้าหมายในการลงทุนเลยเปลี่ยน เปลี่ยนจากอยากรวย กลายเป็นแค่พอเลี้ยงตัวเองและครอบครัว
ตอนนี้กลายเป็นอยากมีแค่หลับสิบ ส่วนที่เกินอยากนำไปทำบุญ ตามกำลังศรัทธา คิดเอาไว้ว่า หากเกินเป้าหมายก็จะบริจาคไปเรื่อยๆ เหลือไว้แค่จำนวนที่ตั้งเป้าไว้ แค่นี้ก็พอแล้วครับสำหรับผม

หลักธรรมของพระพุทธเจ้าทำให้เราอยากรวย แต่ไม่โลภ อยากรวยด้วยกำลังความสามารถและสติปัญญาของตัวเอง ประกอบสัมมาอาชีพ แม้จะรวยช้าหน่อยก็รู้สึกมีความสุข เพราะเกิดจากกำลังความสามารถของเราเองครับ

เมื่อก่อนหุ้นแต่ละตัวที่ถือไม่มีตัวไหนกำไรเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ช่วงหลังๆเริ่มโผล่ให้เห็นมากขึ้น(ไม่ได้หมายถึงพอร์ตรวมนะครับ) รู้สึกว่าตัวเองถือหุ้นได้นานขึ้นผิดปรกติ ถือหุ้นได้ตรงตามเป้าหมายราคาที่วางไว้ ซึ่งก็คือรู้จักคิดและพิจารณาโดยใช้หลักของเหตุและผลมากขึ้นครับ จะกล่าวว่าธรรมะของพระพุทธเจ้า ทำให้เป็นคนใจเย็นขึ้นมากกก เพื่อนๆที่อ๊อฟฟิตก็เคยบอกว่า ไม่น่าเชื่อว่าจะเปลี่ยนไปได้ขนาดนี้

แต่ทุกวันนี้ก็ยังจิ้มดูหุ้นอยู่บ่อยๆครับ รู้สึกมีความสุขที่ได้เห็น ยังปล่อยวางไม่ได้เต็มที่ซักเท่าไหร่ เวลาหุ้นตกก็ไม่ได้เครียดมากเหมือนเมื่อก่อน กลายเป็นมองอนาคตของหุ้นที่ถือมากกว่า รอเวลาที่จะถึงเป้าหมายราคาที่วางไว้

ตอนนี้ก็กำลังตามฝันไปเรื่อยๆครับ เหมือนๆทุกท่านที่ต้องการอิสรภาพทางการเงิน จะได้ทำเป้าหมายสุดท้ายของชีวิตต่อไปครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 437

โพสต์

ต่อ.
ประโยชน์ หลัก
เข้าใจ
จิต
มีประโยชน์มาก อ่านหลายรอบ..
เช่น
..."บารมีนั้นเป็นฝ่ายที่กำจัดอาสวะ"


สัมมัปปธาน ๔
...................
สัมมัปปธาน ความเพียรที่พึงกระทำก่อน

สัมมัปปธาน แปลกันเพื่อเข้าใจง่ายว่าความเพียรชอบ ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการ คือ

สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลมิให้เกิดขึ้น

ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

อนุรักขณาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมแต่ให้เจริญบริบูรณ์

อันคำว่า ปธานะ แปลกันง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ ว่าเพียร สัมมัป คือสัมมา ก็แปลว่าชอบ คำว่าปธานะนี้ก็แปลตามศัพท์ว่า ทรงไว้ข้างหน้า คือตั้งไว้ข้างหน้า อันหมายความว่าเป็นความเพียรที่พึงกระทำก่อน ไม่ใช่กระทำในภายหลัง และคำว่าปธานะนี้ก็มาใช้หมายถึงสิ่งที่เป็นประธาน เช่นพระพุทธรูปซึ่งตั้งอยู่เป็นหลักสำคัญในอุโบสถ หรือในโบสถ์ ก็เรียกว่าพระประธาน พระพุทธเจ้าเมื่อประทับอยู่ในหมู่สงฆ์ ก็เรียกว่าประทับอยู่เป็นประธานแห่งสงฆ์ บุคคลที่นั่งอยู่ข้างหน้าเป็นประธานของการประชุม ก็เรียกว่าประธานที่ประชุม ก็ตรงตามศัพท์ว่าดำรงอยู่ข้างหน้า หรือตั้งไว้ข้างหน้า
.....................



:arrow: :arrow: :arrow:

ตอน1
:idea: :idea: :idea:




http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sd-222.htm

สัมมัปปธาน ๔ (๑)

�����

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ


]

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นพึงตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

จะแสดงสัมมัปปธาน ๔ อันเป็นหมวดที่ ๒ แห่งโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ธรรมะที่เป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ อันประกอบด้วยธรรมะหลายหมวด

ข้อปฏิบัติในสติปัฏฐาน

เริ่มต้นด้วยหมวดสติปัฏฐานทั้ง ๔ ที่ได้แสดงมาโดยลำดับโดยสังเขป สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้เป็นหมวดหลักแห่งการปฏิบัติอบรมจิตใจ ซึ่งเป็นไปได้ทั้งทางสมาธิ และทางปัญญา

อันประกอบด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตั้งสติตามดูกาย พิจารณากาย

ซึ่งตรัสจำแนกไว้ในมหาสติปัฏฐาน เริ่มตั้งแต่หมวดกำหนดลมหายใจเข้าออก อันเรียกว่าอานาปานสติ กำหนดดูอิริยาบถทั้ง ๔ อันเรียกว่าหมวดอิริยาบถ ตั้งสติกำหนดดูอิริยาบถที่จำแนกออกให้ละเอียดออกไปอีก อันเรียกว่าสัมปชัญญะปัพพะ หมวดสัมปชัญญะความรู้ตัว ตั้งสติกำหนดดูกายว่าเป็นของไม่สะอาด ตั้งสติกำหนดดูธาตุ จำแนกออกไปเป็นธาตุ ๔ ตามกำหนดดูป่าช้าทั้ง ๙

ต่อจากนั้นก็ตรัสสอนให้ตั้งสติกำหนดดูเวทนา สุขทุกข์เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ทั้งที่มีอามิส คืออิงกิเลสอิงวัตถุเป็นเครื่องนำให้เกิด ทั้งที่เป็นนิรามิส คือไม่มีทั้งกิเลสและทั้งวัตถุเป็นเครื่องนำให้เกิด ต่อจากนั้นก็ตรัสสอนให้ตั้งสติกำหนดูจิตที่มีราคะ หรือปราศจากราคะ มีโทสะ หรือปราศจากโทสะ มีโมหะ หรือปราศจากโมหะ ที่หดหู่หรือฟุ้งซ่าน ที่จิตเป็นสมาธิคือกว้างขวาง หรือที่ไม่กว้างขวาง จิตที่ยังมีจิตอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า หรือที่ไม่มีจิตอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า จิตที่มีสมาธิหรือไม่มีสมาธิ จิตที่วิมุติหลุดพ้นหรือไม่วิมุติหลุดพ้น

ต่อจากนั้นก็ตรัสสอนให้ตั้งสติกำหนดดูธรรมะคือเรื่องในจิต ตั้งต้นแต่หมวดนิวรณ์ทั้ง ๕ ให้กำหนดดูให้รู้ว่ามีอยู่ก็รู้มีอยู่ ไม่มีก็รู้ไม่มี เกิดขึ้นด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น ดับไปด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น ดับคือละไปได้ไม่เกิดขึ้นอีกด้วยประการใดก็รู้ประการนั้น

ตรัสสอนให้กำหนดดูขันธ์ ๕ ว่าแต่ละข้อเกิดขึ้นอย่างนี้ ดับไปอย่างนี้ ตรัสสอนให้กำหนดดูอายตนะภายในภายนอกทั้ง ๖ ที่คู่กัน ตรัสสอนให้กำหนดดูสังโญชน์คือความที่ใจผูกยินดียินร้ายอยู่ในอารมณ์

คือเรื่องรูปเรื่องเสียงเรื่องกลิ่นเรื่องรสเรื่องโผฏฐัพพะ เรื่องที่ใจคิดใจรู้ ในเมื่ออายตนะภายในภายนอกนี้ประจวบกัน และให้รู้ว่าสังโญชน์มีก็ให้รู้ว่ามี ไม่มีก็ให้รู้ว่าไม่มี สังโญชน์จะเกิดขึ้นด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น ละได้ดับไปด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น ละหรือดับไปได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีกด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น

โพธิปักขิยธรรม

ได้แสดงสติปัฏฐานทั้ง ๔ มาถึงหมวดหลังนี้ ซึ่งในมหาสติปัฏฐานยังมีอีก ๒ หมวด คือหมวดโพชฌงค์ และหมวดมรรคมีองค์ ๘ แต่ว่า ๒ หมวดนี้ได้รวมอยู่ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนี้แล้ว เป็นหมวดสุดท้าย และรองสุดท้าย

เพราะว่าในโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรวมเอาหมวดธรรมต่างๆ ที่ได้ตรัสแสดงไว้มารวมเข้าเป็นหมวดใหญ่ ตรัสว่าเป็นโพธิปักขิยธรรม ธรรมะที่เป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ก็คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ เป็น ๗ หมวด โพชฌงค์ไปเป็นหมวดที่ ๖ มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นหมวดที่ ๗ อันเป็นหมวดสุดท้าย เพราะฉะนั้น เมื่อได้อธิบายสติปัฏฐาน ๔ ตามหลักมหาสติปัฏฐาน มาถึงหมวดอายตนะแล้ว จึงเว้นโพชฌงค์และมรรคไว้ ต่อเป็นหมวดที่ ๖ ที่ ๗ ของโพธิปักขิยธรรม จึงแสดงหมวดที่ ๒ ของโพธิปักขิยธรรมคือสัมมัปปธานทั้ง ๔

สัมมัปปธาน ความเพียรที่พึงกระทำก่อน

สัมมัปปธาน แปลกันเพื่อเข้าใจง่ายว่าความเพียรชอบ ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการ คือ

๑ สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลมิให้เกิดขึ้น

๒ ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

๓ ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

๔ อนุรักขณาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมแต่ให้เจริญบริบูรณ์

อันคำว่า ปธานะ แปลกันง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ ว่าเพียร สัมมัป คือสัมมา ก็แปลว่าชอบ คำว่าปธานะนี้ก็แปลตามศัพท์ว่า ทรงไว้ข้างหน้า คือตั้งไว้ข้างหน้า อันหมายความว่าเป็นความเพียรที่พึงกระทำก่อน ไม่ใช่กระทำในภายหลัง และคำว่าปธานะนี้ก็มาใช้หมายถึงสิ่งที่เป็นประธาน เช่นพระพุทธรูปซึ่งตั้งอยู่เป็นหลักสำคัญในอุโบสถ หรือในโบสถ์ ก็เรียกว่าพระประธาน พระพุทธเจ้าเมื่อประทับอยู่ในหมู่สงฆ์ ก็เรียกว่าประทับอยู่เป็นประธานแห่งสงฆ์ บุคคลที่นั่งอยู่ข้างหน้าเป็นประธานของการประชุม ก็เรียกว่าประธานที่ประชุม ก็ตรงตามศัพท์ว่าดำรงอยู่ข้างหน้า หรือตั้งไว้ข้างหน้า

และความเพียรที่มาเรียกว่าปธานนี้ จึงมีความหมายว่า เป็นความเพียรที่พึงตั้งขึ้นไว้เบื้องหน้า พึงกระทำก่อน เพราะว่าทุกคนนั้นย่อมมีสิ่งที่พึงทำหลายอย่าง ผู้ที่มีธุระมาก ก็ต้องมีความเพียรที่จะต้องกระทำมาก แต่ในบรรดาธุระที่กระทำนั้น จะทำเรื่องใดเป็นที่ ๑ เรื่องใดเป็นที่ ๒ เรื่องใดเป็นที่ ๓ หรือว่าในเวลาใดในเวลาหนึ่ง จะพึงทำเรื่องใดในเวลานั้น และเมื่อได้กำหนดไว้ดั่งนี้ ถ้ากำหนดไว้ว่าเป็นเรื่องที่พึงทำที่ ๑ ที่ ๒ เรื่องที่พึงทำเป็นที่ ๑ ก็เรียกว่าเป็นเรื่องที่เป็นประธาน ความเพียรที่พึงกระทำในเรื่องนั้นก็เรียกว่า ปธาน หรือว่าถ้ากำหนดเวลา ว่าในเวลาใดจะทำเรื่องใด ถึงเวลานั้นก็ทำเรื่องนั้น เรื่องนั้นก็เป็นประธานของเรื่องทั้งหลายในเวลานั้น คือจะต้องทำในเวลานั้น และความเพียรที่กระทำก็เรียกว่า ปธาน

ดั่งเช่นในเวลานี้เป็นเวลาที่ท่านผู้มุ่งปฏิบัติธรรม กำหนดไว้ว่าจะมาฟังธรรมมาปฏิบัติธรรม ในเวลานี้เรื่องการปฏิบัติธรรม เรื่องการฟังธรรมปฏิบัติธรรมจึงเป็นประธาน เรื่องอื่นก็งดไว้ก่อน และความเพียรที่พึงทำก็เรียกว่าเป็นประธาน

อุปการธรรมในการปฏิบัติสติปัฏฐาน

และในการปฏิบัติในสติปัฏฐานนี้ ก็ต้องอาศัยความเพียรปฏิบัติ เป็นประธานในการปฏิบัติสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเอาไว้ว่า อาตาปี มีความเพียร สัมปชาโน มีความรู้พร้อม คือมีสัมปชัญญะความรู้ตัว สติมา มีสติ วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ กำจัดอภิชฌาความยินดี โทมนัสความยินร้ายในโลกเสีย อันเป็นอุปการธรรมในการปฏิบัติสติปัฏฐาน นี้ก็คือมี สัมมัปปธานะ ความเพียรชอบนั้นเอง ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ อย่างที่ได้จำแนกไว้ข้างต้น

กาย จิต

และการตั้งสติกำหนดกาย เวทนา จิต ธรรม ดั่งที่ได้กล่าวมาแล้ว สำหรับในข้อที่เป็นกายเอง และเป็นเวทนาเอง ก็รวมอยู่ในขันธ์ ๕ กายก็เท่ากับรูป เวทนาก็เป็นเวทนา อันบุคคลผู้เกิดมาก็มีขันธ์ ๕ อันตั้งต้นด้วยรูปเวทนานี้เป็นภพเป็นชาติ เป็นที่ยึดถือว่าเป็นตัวเราของเรา

ตัวรูปตัวเวทนาเองนั้นเป็นอัพยากตธรรม ธรรมะที่เป็นกลางๆ ไม่พยากรณ์คือไม่กล่าวว่าเป็นดีหรือเป็นชั่ว เป็นธรรมะที่เป็นกลางๆ ที่ทุกคนก็ได้มาตั้งแต่กำเนิด เป็นวิบากขันธ์ คือเป็นขันธ์ที่เป็นวิบาก

คือผลของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม ฉะนั้น ตัวกายตัวเวทนาเองจึงไม่เป็นบาปไม่เป็นบุญ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล แต่เป็นสิ่งกลางๆ

บารมี อาสวะ

และมาถึงจิต จิตนี้เองที่เป็นตัววิญาณธาตุ ธาตุรู้ ก็เป็นธาตุอันหนึ่งซึ่งมีอยู่ เป็นธรรมชาติธรรมดา เป็นสิ่งที่อาศัยกับกายนี้ ดั่งที่เรียกว่ากายจิต และจิตนี้เองที่เป็นที่บังเกิดขึ้น เป็นที่เก็บไว้แห่งกุศลธรรม และอกุศลธรรมทั้งหลาย แห่งบุญและบาปทั้งหลาย แห่งบารมีและอาสวะทั้งหลาย ถ้าเก็บดีก็เป็นบารมี เก็บชั่วก็เป็นอาสวะ

และสิ่งที่เก็บไว้นี้ที่เป็นส่วนละเอียด ก็เก็บไว้ในจิตส่วนลึก เหมือนอย่างตะกอนที่นอนอยู่ก้นตุ่ม ดูที่ปากตุ่ม น้ำข้างบนก็ใสสะอาด แต่ที่ก้นตุ่มนั้นยังมีตะกอน (เริ่ม ๑๕๐/๑) ถ้าเป็นส่วนดีก็เรียกว่าบารมี คือทำดีๆ ไว้ ก็เก็บไว้ๆ ทำชั่วก็เก็บไว้ๆ เป็นอาสวะ อาสวะแปลว่านอนจมหรือหมักหมม อันนับว่าเป็นความดีความชั่วอย่างละเอียด ดังที่เรียกว่าเป็นนิสัยเป็นอุปนิสัย มีนิสัยดีก็แสดงออกมาดี มีนิสัยไม่ดีก็แสดงออกมาไม่ดี นิสัยนี้เป็นสิ่งที่ละเอียด เป็นที่อาศัยของทั้งฝ่ายดีทั้งฝ่ายชั่ว ที่แสดงออก

และเมื่อมีอารมณ์คือเรื่องเข้ามา ก็มากวนตะกอนที่นอนอยู่ก้นตุ่มนี้ให้ฟุ้งขึ้นมาปรากฏอยู่ในจิต เช่นว่ามีราคะก็รู้ว่ามีราคะ ไม่มีราคะก็รู้ว่าไม่มีราคะเป็นต้น และเมื่อสิ่งที่ฟุ้งขึ้นมาจนจิตรู้ได้ดังกล่าวแล้ว เมื่อแรงออกมาอีกก็เป็นอย่างหยาบ ก่อเจตนาคือความจงใจประกอบกรรม

ถ้าเป็นส่วนดีที่เป็นบารมีปรากฏขึ้นมา ก็นำให้เกิดเจตนากรรมคือความจงใจ ทำทานบ้าง สมาทานศีลบ้าง เจริญภาวนาบ้าง ถ้าเป็นส่วนชั่วที่เป็นอาสวะปรากฏหยาบขึ้นมา ก็ก่อเจตนาคือความจงใจให้กระทำ กรรมที่เป็นอกุศลเป็นบาปทุจริตต่างๆ เช่นให้ฆ่าเขาบ้าง ให้ลักของเขาบ้าง เป็นต้น

ธรรมปฏิบัติเสริมสร้างบารมี

จิตนี้จึงเป็นธรรมชาติอันสำคัญซึ่งทุกคนมีอยู่ด้วยกัน และก็ประกอบด้วยส่วนดีและส่วนชั่วเป็นพื้นสันดาน ส่วนดีก็เป็นบารมี ส่วน(ชั่ว)ก็เป็นอาสวะ และก็อาสวะนั้นก็เปรียบด้วยตะกอนนอนก้นตุ่ม ที่ฟุ้งขึ้นมาก็ทำให้จิตที่เคยใส ก็เป็นกลับกลายเป็นจิตขุ่น จนถึงกลับกลายเป็นจิตร้าย ในเมื่ออาสวะที่ฟุ้งขึ้นมาอันเป็นส่วนกิเลสนั้นแรงขึ้น จนถึงก่อกรรมที่ไม่ดีต่างๆ

อาสวะท่านเปรียบดั่งนั้น ส่วนบารมีนั้นไม่ได้เปรียบไว้ตะกอนนอนก้นตุ่ม เพราะเป็นฝ่ายดี แต่ก็มีนอนจมสั่งสมอยู่เป็นฝ่ายดี และก็เมื่อมีอารมณ์มากระทบ ก็กระตุ้นเตือนให้บารมีนี้ปรากฏขึ้นมาได้ และเมื่อแรงขึ้นก็ให้ทำดี เพิ่มเติมความดีเข้าในจิต อาสวะที่เป็นส่วนชั่วเมื่อฟุ้งขึ้นมา ทำชั่วก็เพิ่มเติมอาสวะให้มากขึ้นในจิต แต่ว่าบารมีนั้นเป็นฝ่ายที่กำจัดอาสวะ เป็นฝ่ายที่ชำระล้างอาสวะในจิต เมื่อทำดีเป็นบารมีตั้งอยู่ใจจิต จิตเก็บดีเอาไว้ ก็ชำระอาสวะที่เป็นส่วนชั่ว คือที่เป็นตะกอนนี้ให้ลดน้อยลงไป บารมีก็มากขึ้นทุกที จนถึงเมื่อบำเพ็ญบารมีได้เต็มที่ คือทำดีได้เต็มที่แล้ว กำจัดตะกอนก้นตุ่มคืออาสวะให้หมดสิ้นไปได้ ก็เหลือแต่น้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งแต่หน้าตุ่มลงไปจนถึงก้นตุ่มตลอดหมด

ดั่งนี้ก็เสร็จกิจอันเรียกว่าเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ที่บริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ ตลอดถึงกันหมด ทั้งส่วนตื้น ทั้งส่วนลึก

แต่ในขณะที่ยังมีอาสวะเป็นตะกอนก้นตุ่มอยู่ ก็ต้องทำความดี เพื่อชำระอาสวะ ที่เป็นตะกอนก้นตุ่มนี้ให้สิ้นไปโดยลำดับ ต้องเพิ่มเติมความดีอยู่เรื่อยๆ ไป การปฏิบัติธรรมก็คือการปฏิบัติความดีดังกล่าว

ธรรมะในจิต

และการปฏิบัติในสติปัฏฐานนั้นตรัสสอนให้ตั้งสติ กำหนดดูกาย กำหนดดูเวทนา และกำหนดดูจิต และกำหนดดูธรรมะในจิตซึ่งเนื่องเป็นอันเดียวกัน และธรรมะในจิตนั้นก็มีทั้งส่วนที่เป็นกุศล ทั้งส่วนที่เป็นอกุศล ทั้งส่วนที่เป็นอัพยากฤตคือเป็นกลางๆ

และธรรมะที่มีอยู่ในจิตนี้เองเป็นข้อสำคัญ ที่จะทำให้เกิดการปฏิบัติธรรม หรือไม่ปฏิบัติธรรม ถ้าหากว่าเป็นนิวรณ์ เป็นสัญโญชน์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสนิวรณ์ ไว้ในหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นอันดับแรก ก็เป็นอกุศลธรรมที่เป็นข้อสำคัญ ที่จะทำให้ไม่ตั้งสติกำหนดดูกายเวทนาจิตและธรรมเอง เพื่อทำจิตให้บริสุทธิ์ แต่ว่าจะชักนำให้ปฏิบัติเป็นบาปเป็นอกุศลต่างๆ ให้ข้องติดอยู่ในกามคุณารมณ์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัสเอานิวรณ์ไว้ นี่เป็นข้อแรก

และนิวรณ์นี้ก็เป็นสิ่งที่บังเกิดขึ้นในจิตนั้นเอง ไม่ใช่ที่ไหน แต่ว่าความบังเกิดขึ้นของนิวรณ์นั้น ก็เกิดขึ้นโดยอาศัยทางเกิด คือทางอายตนะภายในทั้ง ๖ อายตนะภายนอกทั้ง ๖ ที่มาประจวบกัน เมื่อเป็นสัญโญชน์คือความผูกพันยินดียินร้ายขึ้น ก็นำให้ติดพันอยู่ในกามคุณารมณ์ทั้งหลาย ในกามในภพทั้งหลาย ถ้าหากว่าไม่เป็นสัญโญชน์คือผูกใจให้ยินดียินร้าย ก็นำให้ปฏิบัติเสาะแสวงหาพรหมจรรย์ คือความประพฤติอันประเสริฐ อันเรียกว่าปฏิบัติธรรม

ขันธ์ อายตนะ สัญโญชน์

เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัสขันธ์ ๕ และตรัสหมวดอายตนะภายในภายนอกสืบต่อกันไป เพราะเหตุที่อันความบังเกิดขึ้นของนิวรณ์ หรือความดับไปของนิวรณ์นั้น ก็เกิดขึ้นที่ขันธ์ ๕ ดับไปที่ขันธ์ ๕ อันเริ่มด้วยกายเวทนา หรือรูปเวทนา และเมื่อมีรูปมีเวทนาแล้ว ก็มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ โดยที่ความประจวบกันของอายตนะดังกล่าวนั้น นำให้เกิดอารมณ์แก่จิตใจ อันเป็นธาตุรู้ที่สำคัญ และจิตใจนี้เองเป็นตัวที่ข้องติดอันเรียกว่าสัญโญชน์ ไม่ใช่อื่นคือจิตใจนี้เอง

ความสำคัญจึงอยู่ที่จิตใจ และสัญโญชน์ อันอาศัยอายตนะ และก็เกิดทางขันธ์ ๕ นั้นเอง ตัวขันธ์ ๕ นั้นเองนั้นเป็นวิบากขันธ์ซึ่งไม่ดีไม่ชั่วอะไร แต่เป็นกลางๆ แต่ว่าความบังเกิดขึ้นของทั้งดีทั้งชั่วนั้นก็ต้องอาศัยขันธ์ ๕ เหมือนอย่างเช่นว่ามือของเราทุกคนนี้ก็เป็นรูปขันธ์ เมื่อจิตประกอบด้วยกุศลธรรม ก็ใช้มือนี้เองทำบุญต่างๆ เช่นว่าใช้มือนี้ตักข้าวใส่บาตร ใช้มือนี้ทำกิจการที่เป็นประโยชน์ช่วยเหลือต่างๆ ตัวมือเองนั้นไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป แต่บุคคลผู้ทำก็ใช้มือทำบุญ บุคคลผู้ทำก็เป็นบุญ และบุคคลผู้ทำนั้นเมื่อพูดให้ลึกซึ้งเข้าไปก็คือจิตนี้เอง จิตเป็นบุญเมื่อใช้มือทำบุญ

แต่เมื่อจิตประกอบด้วยสัญโญชน์ อันเป็นเหตุทำให้จิตใจนี้ร้าย ก็ใช้มือนี้อีก ก็ใช้มือนี้เองทำร้าย เช่นว่าถือมีดถือไม้ประหัตประหารทำร้ายผู้อื่น ตัวมือเองที่ถือมีดถือไม้ทำร้ายนี้ก็ไม่เป็นบุญเป็นบาป แต่บุคคลผู้ที่ใช้มีดใช้มือนี้ประหัตประหารผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่น นั่นเองเป็นบาป โดยตรงก็คือจิตนี่เองเป็นบาป

นิวรณ์เมื่อเกิดขึ้นรู้ได้ที่จิต

เมื่อเกิดขึ้นทุกคนก็รู้ ว่านิวรณ์ข้อนี้บังเกิดขึ้น กามฉันท์เกิดขึ้นก็รู้ พยาบาทเกิดขึ้นก็รู้ อีก ๓ ข้อเป็นตัวโมหะบังเกิดขึ้นก็รู้ บุคคลย่อมรู้ได้ที่จิตนี้เอง และอาการที่รู้นั้นก็อาศัยขันธ์ ๕ นี้เองเป็นทางรู้ และขันธ์ ๕ นั้นก็ต้องอาศัยอายตนะภายในภายนอกนี้เองเป็นทาง เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าทวารทั้ง ๖ ประตูทั้ง ๖ ประตูตา ประตูหู ประตูจมูก ประตูลิ้น ประตูกาย ประตูใจ เปิดรับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ และธรรมะคือเรื่องราวทั้งหลาย จิตก็รับเป็นอารมณ์คือเป็นเรื่องที่จิตคิด จิตดำริ จิตหมกมุ่นถึง แล้วก็เกิดผูกพันขึ้นมาก็เป็นสัญโญชน์ ผูกพันยินดี ผูกพันยินร้าย ก็เป็นสัญโญชน์ เมื่อผูกขึ้นดั่งนี้แล้วจึงเป็นตัวนิวรณ์ คือเป็นกามฉันท์บ้าง เป็นพยาบาทบ้าง เป็นโมหะคือความหลง คืออีก ๓ ข้อข้างหลังนั้นบ้าง

เพราะฉะนั้นตัวผูกนี้จึงเป็นตัวสำคัญอันเรียกว่าสัญโญชน์ แต่จิตไม่ผูก จิตปล่อย เช่นเมื่อตากับรูปประจวบกัน ก็เป็นอารมณ์ เมื่อเกิดขึ้นจิตรู้ว่านี่รูป แล้วจิตก็ปล่อย ไม่ยินดียินร้ายในรูปนั้น ก็ไม่เป็นสัญโญชน์ เมื่อไม่เป็นสัญโญชน์ นิวรณ์ก็ไม่เกิด

เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้า จึงได้ตรัสแสดงหมวดนิวรณ์ หมวดขันธ์ ๕ แล้วก็หมวดอายตนะ เพื่อให้กำหนดรู้จัก เป็นตัวสติที่รู้จัก รู้จักแล้วก็ปฏิบัติในการที่จะดับสัญโญชน์ดับนิวรณ์ โดยอาศัยใช้สติกำหนดดูกายเวทนาจิตธรรม ให้เห็นเกิดให้เห็นดับ ซึ่งจะต้องใช้สัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้ในการปฏิบัติ ต่อไปนี้ก็ให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป..ไม่มีสวดหรือ?
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 438

โพสต์

ประโยชน์
ต.ย.
."อาศัยสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้ ดั่งกล่าวมานี้แล้ว จะทำกรรมฐานข้อไหนก็สำเร็จได้"..

:arrow: :arrow: :arrow:
ตอนที่2
:idea: :idea: :idea:


http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sd-223.htm
สัมมัปปธาน ๔ (๒)
�����
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

]

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

จะแสดงอธิบายสัมมัปปธาน ๔ ซึ่งได้เริ่มปรารภไว้แล้ว สัมมัปปธานนั้นแปลเพื่อเข้าใจง่ายว่าความเพียรชอบ และก็มีความหมายของการใช้คำว่า ปธานะ หรือ ปธาน ว่าตั้งความเพียรเข้าไว้ในเบื้องหน้า คือในอันดับหนึ่ง เหมือนอย่างประธานในที่ประชุม เป็นที่หนึ่งในที่ประชุม

ความเพียรที่จะเป็นปธานนั้น จึงเป็นความเพียรที่พึงเริ่มทำในทันที ไม่ผัดเพี้ยน และก็มีความหมายถึงด้วยว่า ตามกำหนดที่ได้ตั้งใจไว้ เช่นในขณะนี้ก็ได้ตั้งใจไว้ว่า จะมาทำความเพียรฟังและปฏิบัติธรรม เมื่อถึงเวลาที่กำหนดก็ต้องถือว่าเวลานี้ เป็นเวลาที่จะต้องมาฟังธรรม และปฏิบัติธรรมเป็นที่หนึ่ง จึงได้มากันได้

ถ้าหากว่าไม่ได้ถือว่าเป็นที่หนึ่งที่จะต้องทำในเวลานี้ ก็จะมีเรื่องอื่นที่จะทำเข้ามาแทรกแซง ดึงไปให้ทำในเรื่องนั้นๆ เมื่อเป็นดั่งนี้ก็เป็นอันว่ามาฟังธรรมและปฏิบัติธรรมในเวลานี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงใช้คำว่า ปธานะ หรือ ปธาน ตั้งความเพียรที่จะทำไว้ทันที ซึ่งเมื่อกล่าวโดยย่อแล้วก็มี ๔ สังวรปธาน เพียรระวังบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔ อนุรักขณาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไว้ และเพิ่มเติมให้มากยิ่งขึ้นจนบริบูรณ์ และพระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ทุกข้อว่าให้ ตั้งฉันทะ คือทำฉันทะความพอใจให้เกิด ทำความเริ่ม คือเริ่มทำความเพียร ยังความเพียรให้ตั้งขึ้น ตั้งจิต คือเอาจิตใจตั้งให้แน่วแน่เพื่อจะทำเพียร ตั้งความเพียรไว้ข้างหน้า คือเริ่มทำ และทำติดต่อกันไปจนบรรลุถึงผลที่ต้องการ

สติปัฏฐาน ๔ อาศัยสัมมัปธาน ๔

สัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้ตรัสแสดงไว้ในหมวดโพธิปักขิยธรรม ธรรมะที่เป็นฝ่ายแห่งความตรัสรู้ เป็นหมวดที่ ๒ คือต่อจากสติปัฏฐาน อันได้แก่สติปัฏฐาน ๔ แล้วก็ตรัสสัมมัปปธาน ๔ ต่อกันไป หากจะแสดงให้เนื่องกันก็พึงแสดงได้ว่าตั้งสติปัฏฐานทั้ง ๔ นั้นเป็นหลัก และในการปฏิบัติสติปัฏฐานทั้ง ๔ นั้น ก็จะต้องอาศัยสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้ คือตั้งความเพียรชอบนี้ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน

ยกตัวอย่างดังข้อที่ ๑ สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ก็คือในการปฏิบัติสติปัฏฐานทั้ง ๔ นั้น ยกตัวอย่างในปัพพะคือข้อที่ ๑ ในหมวดที่ ๑ คือหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ก็คือตั้งจิตให้กำหนดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ให้รู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ในการนี้ก็ต้องมีสังวรปธาน คือระวังนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น

เพราะถ้านิวรณ์ข้อใดข้อหนึ่งบังเกิดขึ้น ก็จะดึงจิตให้ตกจากสติปัฏฐานน้อมไปตามนิวรณ์ (เริ่ม ๑๕๐/๒) เช่นในขณะที่กำลังตั้งจิตกำหนดลมหายใจเข้าออกนั้น กามฉันท์ความพอใจรักใคร่ในกามผุดขึ้นมา ก็ดึงจิตออกไปสู่อารมณ์คือรูปเสียงเป็นต้น ที่รักใคร่ปรารถนาพอใจ จิตก็วิ่งตามนิวรณ์ไป ทิ้งสติปัฏฐาน

นิวรณ์เครื่องกั้นสมาธิ

เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีสติระวังมิให้บาปที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น คือไม่ให้นิวรณ์ที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น และหากว่านิวรณ์บังเกิดขึ้นดึงจิตให้ไป ก็ต้องมีปหานปธานเพียรละนิวรณ์นั้นเสีย มีสติรู้ว่าเป็นตัวนิวรณ์ ให้รู้จักว่ากามฉันท์นี้เป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของสมาธิ ไม่ให้กำหนดลมหายใจเข้าออก แต่ให้ไปกำหนดอยู่ที่รูปบ้างเสียงบ้าง ที่รักใคร่ปรารถนาพอใจ ก็ให้รู้จักว่านี่เป็นตัวนิวรณ์ เป็นเครื่องกั้นจิตไว้ทำให้ไม่ได้สมาธิ ละเสียด้วยปัญญาคือความรู้ ว่าเป็นตัวนิวรณ์ ไม่ใช่เป็นตัวที่น่ายินดีพอใจอะไร ก็นำกลับ นำจิตกลับมาตั้งไว้ที่ลมหายใจเข้าออกกำหนดไปใหม่

และเมื่อกำหนดนั้น การกำหนดทีแรก และการกำหนดต่อไป ก็ต้องอาศัยตัวสติ และอาศัยตัวปัญญาคู่กันไป ถ้าสติยังอ่อน ปัญญายังอ่อน ก็จะต้องถูกนิวรณ์ดึงไปบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจึงต้องเพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น คือเพียรทำตัวสตินี้ให้มั่นคงขึ้น เพียรทำปัญญาคือตัวความรู้ให้บังเกิดขึ้นและมั่นคงขึ้น และเมื่อทำสติทำปัญญาให้บังเกิดขึ้นได้แล้ว ก็ต้องเพียรรักษาสติ และปัญญาที่บังเกิดขึ้นนี้ ให้ตั้งอยู่ ไม่ให้เสื่อมไป

ถ้าสติตกไป ปัญญาตกไป นิวรณ์ก็เข้ามาดึงเอาจิตไป หากว่าสติยังตั้งอยู่ ปัญญายังตั้งอยู่ การกำหนดลมหายใจเข้าออก

ซึ่งเป็นตัวกรรมฐานก็ยังตั้งอยู่ เพราะฉะนั้นจึงต้องรักษาเอาไว้ แล้วก็เพิ่มพูนให้สติให้ปัญญาซึ่งเป็นตัวกุศลธรรมนี้มากขึ้น

ในทีแรกนั้นนิวรณ์ยังมีกำลังมากกว่า เพราะว่าจิตนั้นยังมีตัว นันทิ คือความเพลิดเพลิน ราคะ คือความติดอยู่ในตัวนิวรณ์ ในตัวนิวรณ์อันหมายถึงว่า ในอารมณ์อันเป็นที่ๆ ตั้งของนิวรณ์ทั้งหลาย อันเรียกว่า กามคุณารมณ์ อารมณ์คือกามคุณ และในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย จิตจึงน้อมออกไปบ่อยๆ

เหตุที่ต้องตั้งความเพียร

เพราะสติ เพราะและปัญญาที่กำหนดยังมีพลังน้อยกว่า จึงต้องมีปธานะคือความเพียร ที่จะทำกุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ทำสติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำปัญญาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องรักษาเอาไว้ อันเป็นข้อที่ ๔ เพียรรักษากุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว และเพิ่มเติมให้มากขึ้นจนบริบูรณ์ และเมื่อสติปัญญามีพลังตั้งอยู่ในจิตมั่นคงขึ้นกว่าพลังของนิวรณ์แล้ว ก็จะไม่ไป ก็จะไม่ตก ก็จะกำหนดอยู่ในลมหายใจเข้าออก จนสำเร็จเป็นอานาปานสติได้

ในข้ออื่นก็เช่นเดียวกัน เมื่ออาศัยสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้ ดั่งกล่าวมานี้แล้ว จะทำกรรมฐานข้อไหนก็สำเร็จได้ จะเป็นหมวดกายคตาสติ จะทำปัพพะไหนก็สำเร็จได้ จะทำจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานก็สำเร็จได้ จะทำเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานก็สำเร็จได้ จะทำจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานก็สำเร็จได้ จะทำธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็สำเร็จได้

เพราะฉะนั้น ในสติปัฏฐานทุกข้อจึงได้แสดงถึง อุปการะธรรม ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน

ว่า อาตาปี มีความเพียร ตามศัพท์ก็มีความเพียรแผดเผา ก็คือแผดเผากิเลส สัมปชาโน มีความรู้ตัวพร้อม สติมา มีสติ วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ กำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสีย ดั่งนี้ นี้ก็คือมี สัมมัปปธานะ ความเพียรชอบทั้ง ๔ ข้อนี้เอง เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสปธานะคือความเพียรชอบทั้ง ๔ นี้ไว้ สืบต่อจากข้อสติปัฏฐาน

ปัจจุบันธรรม สัญโญชน์

และมิใช่แต่เพียงนิวรณ์เท่านั้น ที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในข้อว่าด้วยนิวรณ์ ในธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ยังมีข้อที่เนื่องกันกับนิวรณ์ที่ตรัสแสดงไว้ ในข้อที่ว่าด้วยขันธ์ ๕ และในข้อที่ว่าด้วยอายตนะ ๖ ในข้อที่ว่าด้วยอายตนะ ๖ นี้เอง ก็ได้มีแสดงถึงว่า เมื่ออายตนะภายใน กับอายตนะภายนอกประจวบกัน คืออาศัยอายตนะภายในภายนอกทั้ง ๖ คู่นี้ เกิดสัญโญชน์คือความผูกใจ หรือว่าใจผูก

จึงมาถึงปัจจุบันธรรมที่ทุกคนมีสื่อของความรู้แห่งจิต อันได้แก่อายตนะภายในและภายนอกทั้ง ๖ คู่นี้ คือตากับรูปประจวบกัน หูกับเสียงประจวบกัน จมูกกับกลิ่นประจวบกัน ลิ้นกับรสประจวบกัน กายและสิ่งที่กายถูกต้อง อันเรียกว่าโผฏฐัพพะประจวบกัน มโนคือใจกับธรรมะคือเรื่องราวของรูปเป็นต้น เช่นที่ประสบพบผ่านมาแล้วประจวบกัน ก็เกิดสัญโญชน์คือความผูกใจ หรือว่าใจผูก

อันได้แก่จิตนี้เอง เมื่อมีความรู้ทางอายตนะเหล่านี้ โดยเป็น รูปารมณ์ อารมณ์คือรูปที่อาศัยตา อารมณ์คือเสียงที่อาศัยหู อารมณ์คือกลิ่นที่อาศัยจมูก อารมณ์คือรสที่อาศัยลิ้น อารมณ์คือกายที่อาศัยโผฏฐัพพะคือสิ่งถูกต้อง

อารมณ์คือธรรมะเรื่องราวของรูปเป็นต้นที่อาศัยมโนคือใจ จึงได้มีความผูกอยู่ในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะ และในธรรมะคือเรื่องราวนั้น เมื่อใจผูกอยู่ดั่งนี้ จึงเกิดความยินดีในอารมณ์เหล่านี้อันเป็นที่ตั้งของความยินดี เกิดความยินร้ายในอารมณ์ที่เป็นที่ตั้งของความยินร้าย เกิดความหลงคือไม่รู้ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง เป็นราคะเป็นโทสะเป็นโมหะขึ้น หรือเป็นอภิชฌาความยินดี โทมนัสความยินร้าย พร้อมทั้งโมหะคือความหลงขึ้น นี้เองคือนิวรณ์

นิวรณ์ทั้ง ๕ นั้น กามฉันท์ ก็เป็นราคะความติดใจยินดี พยาบาท ก็เป็นโทสะความยินร้าย ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้มคือถีนมิทธะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจคืออุทธัจจะกุกกุจจะ และความสงสัยลังเลไม่แน่นอนใจคือวิจิกิจฉา ทั้ง ๓ นี้ก็เป็นโมหะคือความหลง แต่พระอาจารย์ท่านแยกเอากุกกุจจะคือความรำคาญใจไปเป็นโทสะ แต่ส่วนใหญ่นั้นมักจะพูดรวมกันในกองโมหะคือความหลง

สติรักษาทวาร ๖

เพราะฉะนั้น ในการปฏิบัติทำสัมมัปปธานคือความเพียร ๔ เพื่อไม่ให้นิวรณ์เกิด และเพื่อละนิวรณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อทำสติปัญญาให้บังเกิด เพื่อรักษาสติปัญญาที่บังเกิดขึ้นไว้ และเพิ่มเติมให้มากขึ้น จึงต้องมีสัมมัปปธาน ๔ ในเรื่องของสัญโญชน์ดังกล่าวนี้ด้วย อันเป็นต้นทางของนิวรณ์ คือจะต้องมีสติคือความระลึกได้ เป็นเหมือนอย่างนายทวารบาญ คือผู้รักษาประตู มีสติพร้อมทั้งปัญญารักษาจักขุทวารคือประตูตา โสตะทวารคือประตูหู ฆานะทวารคือประตูจมูก ชิวหาทวารคือประตูลิ้น กายทวารคือประตูกาย และมโนทวารคือประตูใจ มีสติเป็นนายทวารบาญรักษาประตูทั้ง ๖ นี้

แต่เมื่อกล่าวโดยสรุปเข้าแล้ว ก็คือมีสติรักษาจิตนี้เอง

จิตที่น้อมออกรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ นี้ เมื่อมีสติพร้อมทั้งปัญญาคือความรู้รักษาจิต รักษาทวารทั่ง ๖ นี้ ก็จะรักษามิให้สัญโญชน์บังเกิดขึ้น จะเป็นเหตุละสัญโญชน์ที่บังเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้สติปัญญานี้บังเกิดขึ้นเป็นนายทวารบาญที่เข้มแข็ง และจะรักษาสติปัญญานี้ไว้ได้ เพิ่มพูนให้มากขึ้น

ดั่งนี้ต้องอาศัยสติและปัญญาที่เป็นปัจจุบันธรรมควบคุมทวารทั้ง ๖ หรือควบคุมจิตอยู่เป็นปัจจุบันธรรม จึงต้องอาศัย สังวรปธาน เพียรระวังมิให้สัญโญชน์บังเกิดขึ้นในขณะที่อายตนะทั้ง ๖ คู่นี้ประจวบกัน เช่นตาเห็นอะไรก็ต้องมีความเพียรระวัง มิให้เกิดสัญโญชน์คือความผูกใจขึ้นในสิ่งที่เห็นนั้น ในข้ออื่นก็เช่นเดียวกันก็คือ ระวังก็คือสตินั่นเอง เพียรทำสติพร้อมทั้งปัญญาเป็นเครื่องระวัง และหากสัญโญชน์ความผูกใจบังเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องเพียรละ ก็ต้อง คือเพียรทำสติทำปัญญาละเสีย

จิตปาละ ทวารปาละ

หากสติและปัญญานั้นยังไม่บังเกิดขึ้น ก็ต้องเพียรทำสติปัญญาให้บังเกิดขึ้น เพื่อระวังรักษา และเพื่อละ และก็รักษาสติปัญญาที่บังเกิดขึ้นไว้ไม่ให้ตกไป ไม่ให้เสื่อมไป และเพิ่มพูนให้มากยิ่งขึ้น ฉะนั้นเมื่อมีสติและปัญญาตั้งอยู่ในจิตเป็น จิตปาละ คือรักษาจิต เป็น ทวารปาละ คือนายทวารบาญรักษาประตูทั้ง ๖ ก็จะเป็นเครื่องระวัง มิให้สัญโญชน์บังเกิดขึ้น จะเป็นเครื่องละสัญโญชน์ที่บังเกิดขึ้นแล้ว จะเป็นเครื่องทำสติปัญญาให้บังเกิดขึ้น จะเป็นเครื่องรักษาสติปัญญาที่บังเกิดขึ้น และให้เจริญมากขึ้นจนสมบูรณ์ ที่กล่าวมาแล้วไม่ได้พูดถึงสมาธิ แต่ก็ต้องหมายถึงว่าจะต้องมีสมาธิประกอบกันไปกับสติและปัญญา รวมความว่าต้องมีทั้ง สติ สมาธิ และปัญญา จึงจะสำเร็จเป็นสติปัฏฐานข้อนั้นๆ

สัญโญชน์ต้นทางของนิวรณ์

เพราะฉะนั้นสัญโญชน์นี้เองเป็นต้นทางของนิวรณ์ จึงต้องมีสติมีปัญญาที่จะคอยรักษาจิตเป็นจิตปาละ จิตบาล หรือ จิตปาละ เป็นทวารบาญหรือ ทวารปาละ รักษาจิตรักษาทวาร ไม่ให้สัญโญชน์บังเกิดขึ้น เกิดขึ้นก็ละเสีย แล้วก็ทำสติปัญญาให้บังเกิดขึ้น รักษาสติปัญญาไว้ให้คงอยู่ไม่ให้ตก และเพิ่มพูนให้มากขึ้น คือพยายามทำสติปัญญาให้มากขึ้น รักษาไว้ไม่ให้ตก และพยายามทำให้มากขึ้น

และเมื่อได้ปฏิบัติอยู่ดั่งนี้ ใช้สัมมัปธานทั้ง ๔ ปฏิบัติอยู่ดั่งนี้ สัญโญชน์ก็จะไม่เกิด คือความผูกใจหรือใจผูกก็ไม่เกิด ที่เกิดขึ้นแล้วก็จะละได้ และจะทำให้สติ พร้อมทั้งสมาธิและปัญญาเจริญขึ้น มากขึ้น และเป็นอันว่าเมื่อตัดสัญโญชน์ได้ อันเป็นต้นทางนี้ได้แล้ว นิวรณ์ก็จะไม่เกิด เพราะฉะนั้นในการแก้นิวรณ์นั้น จึงต้องแก้ที่สัญโญชน์คือความผูกใจหรือใจผูก ตั้งแต่ระมัดระวังไม่ให้ใจผูกกับอะไรที่จะเป็นเหตุให้เกิดนิวรณ์ข้อใดข้อหนึ่ง เกิดขึ้นก็ละเสียให้ได้

และทำสติทำปัญญาที่เป็นเครื่องระวัง เป็นเครื่องละนี้ให้เกิดขึ้น รักษาไว้ และให้มากขึ้น และเมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็เป็นอันว่าได้ปฏิบัติในสัมมัปปธานทั้ง ๔ นี้ อันเป็นหมวดที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ สืบต่อจากหมวดสติปัฏฐาน

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 439

โพสต์

สามเณรผู้ได้สมาบัติ
"สามเณร บัดนี้เธอมีฤทธิ์มาก แต่ในกาลสุดท้ายที่
ฤทธิ์เห็นปานนี้พินาศไปแล้ว เธอจักดื่มน้ำข้าวอันช่างหูกตาบอดข้างหนึ่งเอามือ
ขยำแล้ว......"

http://www.palapanyo.org/files/tpd/fcon ... 780161.txt
1.

ก็ในคำว่า "กุศลธรรมของเราที่ยังไม่เกิดขึ้น" นี้ ได้แก่ สมถ-
002 วิปัสสนา และ มรรค.
003 สมถวิปัสสนานั่นแหละ ชื่อว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ส่วนมรรค
004 เกิดครั้งเดียวแล้วก็ดับไป ย่อมชื่อว่าไม่เป็นไปเพื่อความพินาศ เพราะว่ามรรค
005 นั้น ให้ความเป็นปัจจัยแก่ผลเท่านั้นแล้ว ก็ดับไป.
006 อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวไว้ว่า สมถวิปัสสนาในกุศลอันมีมาก่อนนั้น
007 แหละก็พึงถือเอา. แต่ข้อนั้นหาควรไม่ เพราะบรรดากุศลธรรมทั้งหลายมี
008 สมถวิปัสสนาและมรรคนั้น สมถวิปัสสนาอันเกิดขึ้นแล้ว เมื่อดับไปย่อม
009 เป็นไปเพื่อความพินาศ แล.
010 เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งเนื้อความ พึงทราบเรื่องต่อไปนี้
011 ได้ยินว่า พระเถระผู้ขีณาสพองค์หนึ่ง กับสามเณรผู้ได้สมาบัติเป็น
012 ผู้ถือภัณฑะ มาสู่มหาวิหารจากชนบท ท่านคิดว่า "เราจักไหว้พระเจดีย์ และ
013 มหาโพธิ์" ดังนี้ แล้วได้เข้าไปสู่ปิงครบริเวณ. เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ไหว้
014 พระเจดีย์อยู่ในเวลาเย็น ท่านมิได้ออกไปเพื่อจะไหว้พระเจดีย์. ถามว่า
015 เพราะเหตุใด. ตอบว่า เพราะพระขีณาสพทั้งหลายเป็นผู้เคารพในพระรัตนตรัย
016 มาก ฉะนั้น เมื่อภิกษุสงฆ์ไหว้แล้วหลีกไปแล้ว พระเถระจึงคิดว่า "ในเวลา
017 ที่มนุษย์ทั้งหลายกินถั่ว (ของกินหลังอาหาร) ตอนเย็น เราจักไม่ให้ใคร ๆ รู้
018 แม้แต่สามเณร แล้วจักไปไหว้พระเจดีย์" ดังนี้ เป็นผู้เดียวเท่านั้นออกไปแล้ว.
019 สามเณรคิดว่า "เหตุอะไรหนอ พระเถระจึงเป็นผู้เดียวไปในเวลาที่
020 ไม่สมควร เราจักทราบเหตุนั้น" จึงติดตามอุปัชฌาย์ของตนออกไป. พระเถระ
021 ไม่พิจารณา จึงไม่ทราบการมาของสามเณรนั้น ท่านได้ขึ้นไปสู่ลานของพระ-
022 มหาเจดีย์ทางประตูด้านทิศทักษิณ. แม้สามเณรก็ขึ้นไปตามทางนั้นเหมือนกัน.

180

001 พระมหาเถระแลดูพระมหาเจดีย์แล้วถือเอาปีติอันมีพุทธคุณเป็นอารมณ์ แล้วก็
002 ประมวลมาซึ่งพุทธคุณทั้งปวงด้วยใจ เป็นผู้ยินดีแล้ว ยินดียิ่งแล้วไหว้พระ-
003 มหาเจดีย์อยู่. แม้สามเณรเห็นอาการต่อกิริยาที่ไหว้ของพระเถระแล้ว จึงคิด
004 ว่า "อุปัชฌาย์ของเรา มีจิตเลื่อมใสอย่างยิ่งไหว้อยู่ ท่านได้ดอกไม้แล้วหรือ
005 จึงทำการบูชา" ดังนี้. เมื่อพระเถระไหว้แล้วลุกขึ้นแล้ว ก็ตั้งอัญชลีโดยเคารพ
006 ยืนแลดูพระมหาเจดีย์อยู่ สามเณรจึงกระแอมไอ ให้พระเถระทราบความที่
007 ตนมาแล้ว.
008 พระเถระหันมาดูแล้วถามว่า "เธอมาเมื่อไร" สามเณรจึงเรียนว่า
009 "ท่านขอรับในกาลที่ท่านไหว้พระเจดีย์ ท่านมีจิตเลื่อมใสอย่างยิ่งไหว้พระเจดีย์
010 ท่านได้ดอกไม้ทั้งหลายบูชาหรือ พระเถระกล่าวว่า "เออ สามเณร ชื่อว่า
011 การบรรจุพระธาตุมีประมาณเท่านี้ ในที่ใดที่หนึ่งเหมือนพระเจดีย์นี้มิได้มี
012 มหาสถูปเห็นปานนี้ไม่เป็นเช่นกับสถูปอื่น ใคร ๆ ได้ดอกไม้ทั้งหลายแล้วจะไม่
013 พึงบูชาเล่า"
014 สามเณรจึงเรียนว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอท่านจงรอ
015 กระผมจักนำดอกไม้มา" แล้วเข้าฌาน ในขณะนั้นนั่นแหละไปสู่หิมวันต์ด้วย
016 ฤทธิ์ ถือเอาดอกไม้ทั้งหลาย อันถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่น ให้เต็มธมกรก
017 (กระบอกกรองน้ำ)แล้ว เมื่อพระเถระไปจากมุขด้านทิศใต้ ยังไม่ทันถึงมุขด้าน
018 ทิศตะวันตก มาแล้ว เรียนท่านว่า "ท่านขอรับ ขอท่านวางธมกรกดอกไม้ที่มือ
019 แล้วบูชาเถิด" พระเถระกล่าวว่า "สามเณร ดอกไม้ของเราน้อยมาก" สาม-
020 เณรเรียนท่านว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงนึกถึงคุณทั้งหลายของพระผู้มี
021 พระภาคเจ้าแล้วบูชาเถิด".


....


2.


พระเถระก้าวขึ้นไปตามบันไดที่ติดมุขทางทิศตะวันตกแล้ว เริ่มกระทํา
002 การบูชาด้วยดอกไม่ ณ แท่นบูชา ซึ่งตั้งอยู่ภายในที่นั้นแล พื้นที่แห่งแท่น
003 บูชาก็เต็มไปด้วยดอกไม้ทั้งหลาย และตกลงไปยังพื้นชั้นล่าง ให้เต็มสูงขึ้นมี
004 ประมาณถึงหัวเข่า จากนั้น พระเถระก็หยั่งลงสู่ระเบียงเบื้องหลังบนฐาน
005 สำหรับบูชาแล้วบูชาอยู่ แม้ดอกไม้ก็เต็มรอบแล้ว พระเถระทราบความที่
006 ดอกไม้เหล่านั้นเต็มรอบแล้ว จึงเกลี่ยดอกไม้ไปในพื้นเบื้องต่ำแล้วจึงไป ลาน
007 แห่งพระเจดีย์ทั้งปวงก็มีดอกไม้เต็มรอบแล้ว เมื่อลานพระเจดีย์มีดอกไม้เต็ม
008 รอบแล้วจึงกล่าวว่า "สามเณร ดอกไม้ยังไม่หมด" สามเณรเรียนท่านว่า
009 ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงคว่ำธมกรก พระเถระจึงคว่ำปากธมกรกแล้ว
010 สะบัด ดอกไม้ทั้งหลายจึงสิ้นไปในกาลนั้น.
011 พระเถระให้ธมกรกคืนแก่สามเณรแล้วทำปทักษิณพระเจดีย์เดินไปตาม
012 กำแพงประมาณ ๖๐ ศอก แล้วไหว้ในทิศทั้ง ๔ ขณะที่กำลังเดินไปสู่บริเวณ
013 ก็คิดว่า "สามเณรนี้มีฤทธิ์มาก จักอาจเพื่อรักษาอิทธานุภาพนี้ได้ตลอดไปหรือ
014 ไม่หนอ"
ในลำดับนั้นก็ทราบว่า สามเณรนี้จักไม่อาจรักษาฤทธานุภาพไว้ได้
015 จึงได้กล่าวกะสามเณรว่า "สามเณร บัดนี้เธอมีฤทธิ์มาก แต่ในกาลสุดท้ายที่
016 ฤทธิ์เห็นปานนี้พินาศไปแล้ว เธอจักดื่มน้ำข้าวอันช่างหูกตาบอดข้างหนึ่งเอามือ
017 ขยำแล้ว"
ดังนี้. ก็ข้อที่ฤทธิ์เสื่อมไปนี้ เป็นข้อบกพร่องของความเป็นคนหนุ่ม
018 สามเณรนั้นสลดจิตด้วยคำของอุปัชฌาย์ ทั้งมิได้กล่าวขอกรรมฐานว่า " ข้าแต่
019 ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงบอกกรรมฐานแก่กระผม" ดังนี้ แต่คิดว่า "อุปัชฌาย์
020 ของเราพูดอะไร" ได้เดินไปแล้ว เหมือนบุคคลผู้ไม่ได้ยินถ้อยคำนั้น.
021 พระเถระครั้นไหว้มหาเจดีย์และมหาโพธิ์แล้ว ให้สามเณรถือบาตร
022 และจีวร ได้ไปสู่มหาวิหารชื่อว่า กุเฏฬิติสละโดยลำดับ. สามเณรผู้ติดตาม

182

001 อุปัชฌาย์ ไม่ปรารถนาจะเดินไปภิกขาจาร จึงถามท่านว่า ท่านขอรับ ท่าน
002 จะเข้าไปสู่บ้านไหน เมื่อทราบว่า บัดนี้ อุปัชฌาย์ของตนจักถึงประตูบ้านแล้ว จึง
003 ถือเอาบาตรและจีวรของตนและของอุปัชฌาย์มาทางอากาศ ถวายบาตรและจีวร
004 แก่พระเถระแล้วจึงเข้าไปเพื่อบิณฑบาต. พระเถระได้กล่าวตักเตือนสามเณร
005 ตลอดกาลทั้งปวงว่า "สามเณร เธออย่าได้กระทำอย่างนี้ ชื่อว่าฤทธิ์
006 ของปุถุชน เป็นสภาพหวั่นไหว ไม่แน่นอน ได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น
007 อันเป็นอสัปปายะแล้ว ย่อมแตกไปโดยเหตุ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
เมื่อ
008 สมาบัติอันมีอยู่เสื่อมไปแล้ว ปุถุชนทั้งหลายย่อมไม่อาจตั้งมั่นในการ
009 อยู่ประพฤติพรหมจรรย์"
ดังนี้. สามเณรคิดว่า อุปัชฌาย์ของเราพูดอะไร
010 มิได้ปรารถนาจะฟัง กระทำอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ.
พระเถระเมื่อทำการไหว้
011 พระเจดีย์โดยลำดับแล้วไปสู่วิหาร ชื่อกัมพุเปณฑวิหาร. เมื่อพระเถระแม้อยู่
012 ในวิหารนั้น สามเณรก็ยังกระทำอยู่อย่างนั้น.
013 ภายหลังวันหนึ่ง ธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่ง ซึ่งมีรูปงาม ดำรงอยู่
014 ในปฐมวัยออกจากบ้านที่อาศัยแล้ว ก้าวลงสู่สระบัวร้องเพลงขับเด็ดดอกบัวอยู่.

015 ก็ในสมัยนั้นสามเณรผู้ไปสู่สระบัวฟังเสียงแห่งเพลงขับของหญิงแล้ว
016 เป็นราวกะว่าแมลงตาบอดติดอยู่ในรสน้ำหวาน ในขณะนั้นทีเดียว
017 ฤทธิ์อันตรธานไปแล้ว
ได้เป็นราวกะนกกาปีกขาดฉะนั้น แต่ด้วยกำลัง
018 แห่งสมาบัติยังมีอยู่ สามเณรจึงมิได้ตกไปในพื้นน้ำมัน
ได้ยืนอยู่แล้วที่ฝั่งแห่ง
019 สระดอกบัว เป็นราวกะว่าปุยไม้งิ้วค่อย ๆ ลอยตกไป. สามเณรนั้นกลับมา
020 โดยเร็วแล้วถวายบาตรและจีวรแก่อุปัชฌาย์แล้วก็ไป. พระมหาเถระไม่กล่าว
021 คำอะไร ๆ ด้วยคิดว่า "เรื่องนั้นเราเห็นแล้ว แม้เราจะห้ามเธออยู่ก็จะไม่


183

001 กลับมา" ดังนี้ จึงไปบิณฑบาต. ฝ่ายสามเณรไปยืนอยู่ที่ฝั่งแห่งสระบัว คอย
002 ท่าธิดาช่างหูกนั้นขึ้นมาอยู่.
003 แต่ธิดานั้น ก็เห็นสามเณรผู้ไปทางอากาศและกลับมาอีก ก็ทราบได้
004 ว่า "สามเณรนี้อาศัยเราจึงมีความกระสัน" ดังนี้ จึงกล่าวว่า "สามเณร จง
005 หลีกไป"
สามเณรนั้นก็หลีกไป ธิดาช่างหูกขึ้นจากสระบัว นุ่งห่มผ้าแล้วเข้า
006 ไปหาสามเณรถามว่า "มีอะไรหรือ" สามเณรนั้นได้บอกเนื้อความนั้นแล้ว
007 ธิดานั้นแม้แสดงโทษในการอยู่ครองเรือนด้วยเหตุมากมาย และแสดงอานิสงส์
008 ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ตักเตือนอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อให้สามเณรนั้นบรรเทา
009 ความกระสันได้
จึงคิดว่า "สามเณรนี้เสื่อมจากฤทธิ์เห็นปานนี้เพราะเรา บัดนี้
010 เราไม่ควรจะทอดทิ้งเธอ" ดังนี้ จึงกล่าวว่า จงยืนอยู่ที่นี่ก่อน แล้วกลับไป
011 บ้าน ได้บอกเรื่องนั้นแก่มารดาและบิดาของเธอ.
012 มารดาและบิดาไปแล้วให้โอวาทแก่สามเณรมีประการต่าง ๆ ได้กล่าว
013 ถ้อยคำอันไม่ต้อนรับว่า "ท่านอย่าสำคัญว่าพวกเรามีตระกูลสูง เราทุกคนเป็น
014 ช่างหูก ท่านสามารถจะกระทำการงานของช่างหูกได้หรือ" สามเณรกล่าวว่า
015 "ดูก่อนอุบาสก ขึ้นชื่อว่าเป็นคฤหัสถ์ก็ต้องทำอะไร ๆ จะเป็นการงานของช่าง
016 หูกหรือจะเป็นการงานของคนมัดฟ่อนไม้ก็ตาม ขอท่านอย่าได้หวงผ้าสำหรับ
017 นุ่งด้วยเหตุนี้เลย" นายช่างหูกได้ให้ผ้าสาฎกอันพันไว้ที่เอว และนำไปสู่บ้าน
018 แล้วยกธิดาให้.
019 มาณพนั้น (สามเณรที่สึกแล้ว) เรียนการงานของช่างหูกแล้ว ก็กระ-
020 ทำการงานที่ศาลากับด้วยช่างหูกทั้งหลาย. หญิงทั้งหลายของครอบครัวอื่น
021 จัดแจงอาหารแล้วนำมาแต่เช้าตรู่ แต่ภรรยาของมาณพนั้นยังมิได้มา เมื่อชน
022 ทั้งหลายพักการงานบริโภคอาหารกัน มาณพนั้นยังนั่งกรอด้ายอยู่ ภริยาของ

184

001 เขามาในภายหลัง. ลำดับนั้น มาณพนั้นจึงคุกคามภริยาด้วยคำว่า "เธอมาช้า
002 เกินไป".
003 ก็ธรรมดามาตุคามทราบจิตอันใคร ๆ มีความรักในตนแล้ว
004 ย่อมสำคัญบุคคลทั้งหลาย แม้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชว่าเป็นราว
005 กะทาส.
006 เพราะฉะนั้น หญิงนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ในเรือนของชนอื่น เขามีคน
007 นำวัตถุ เครื่องใช้ มีฟืน ใบไม้ เกลือเป็นต้น จากภายนอกมาเก็บเตรียม
008 ไว้แล้ว ก็ดิฉันเป็นผู้เดียว แม้ท่านก็ไม่รู้ว่า ในบ้านของเรา สิ่งนี้มี สิ่งนี้ไม่มี
009 ถ้าท่านต้องการก็จงบริโภค ถ้าไม่ต้องการก็อย่าบริโภค มาณพนั้นโกรธ
010 แล้วโดยคิดว่า หญิงนี้ไม่ใช่แต่นำอาหารมาในเวลาสายเกินไปอย่างเดียว ยังเสียด
011 สีเราแม้ด้วยวาจาดังนี้
เมื่อไม่เห็นเครื่องประหารอื่น จึงถอดไม้กระสวยทอผ้า
012 นั้นนั่นแหละออกแล้วขว้างไป. เมื่อหญิงนั้นกำลังจะหลบอยู่ ปลายท่อนไม้
013 ของกระสวยก็เข้าไปกระทบที่ปลายแห่งลูกตา
หญิงนั้นได้เอามือทั้งสองกุมลูกตา
014 โดยเร็ว โลหิตไหลออกแล้วจากที่เป็นที่แตกแล้ว.
015 มาณพนั้น ระลึกถึงคำของอุปัชฌาย์ได้ในเวลานั้น จึงเริ่มร้องไห้
016 คร่ำครวญด้วยเสียงอันดังว่า "อุปัชฌาย์กล่าวกะเราหมายเอาเหตุนี้ว่า ในอนาคต
017 เธอจักดื่มกินน้ำข้าวที่ช่างหูกตาบอดข้างหนึ่งเอามือขยำ"
ดังนี้ เหตุอันนี้ จัก
018 เป็นอันพระเถระเห็นแล้ว โอ พระผู้เป็นเจ้าเห็นการณ์ไกลหนอ. ช่างหูกทั้ง
019 หลายเหล่าอื่นกล่าวตอบว่า "อย่าเลยเธอ อย่าร้องไห้ไปเลย ธรรมดาว่า
020 นัยน์ตาแตกแล้ว อันบุคคลผู้ร้องไห้ไม่อาจเพื่อกระทำนัยน์ตาให้เป็นปกติได้.
021 มาณพนั้นกล่าวว่า "กระผมมิได้ร้องไห้เพื่อเหตุนี้ แต่ว่ากระผมร้องไห้หมาย
022 เอาเรื่องนี้" แล้วจึงได้บอกความเป็นไปทั้งหมดโดยลำดับ แล.


3.
อีกเรื่องหนึ่ง

004 ภิกษุประมาณ ๓๐ รูป ไหว้พระมหาเจดีย์อันงดงามแล้วก็ก้าวไปสู่ทาง
005 ใหญ่ โดยหนทางอันเป็นป่าทึบ ในระหว่างทางได้พบมนุษย์คนหนึ่งผู้ทำการ
006 งานไร่อันไฟไหม้แล้วกำลังเดินทางมา ร่างกายของเขาแปดเปื้อนด้วยเขม่าไฟ
007 เมื่อใคร ๆ แลดูเขาผู้มีผ้านุ่งอันเปื้อนเขม่าไฟนั้นแหละด้วย ผ้านุ่งที่เขาหนีบ
008 ไว้ที่รักแร้ผืนหนึ่งด้วย ก็จะปรากฏเป็นราวกะว่าตอไม้อันไฟไหม้แล้ว. เขา
009 กระทำการงานในเวลากลางวันเสร็จแล้วจึงยกมัดฟืนซึ่งไฟไหม้แล้วครึ่งหนึ่งขึ้น
010 บนหลัง มีผมอันยุ่งเหยิงเดินมาผิดทาง ได้มาหยุดอยู่ตรงหน้าภิกษุทั้งหลาย.
011 พวกสามเณรเห็นแล้วก็แลดูซึ่งกันและกันแล้วพูดว่า "พ่อของเธอ
012 ปู่ของเธอ ลุงของเธอ." ดังนี้ หัวเราะกันอยู่แล้วถามว่า "ดูก่อนอุบาสก ท่าน
013 ชื่ออะไร ".
014 มนุษย์นั้นถูกถามถึงชื่อ ก็มีความเร่าร้อนใจ โยนมัดฟืนทิ้งแล้วจัดแจง
015 นุ่งห่มผ้า ไหว้พระมหาเถระแล้วเรียนว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงหยุด
016 ก่อน".
017 พระมหาเถระได้หยุดแล้ว พวกสามเณรหนุ่ม ๆ แม้มาแล้วต่อหน้า
018 พระมหาเถระทั้งหลายก็ยังกระทำความรื่นเริงกัน.
019 อุบาสกกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกท่านเห็นกระผมแล้วหัวเราะ
020 กันใหญ่เข้าใจว่า พวกเราถึงที่สุดแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ทีเดียว เมื่อ
021 ก่อนแม้กระผมก็ได้เป็นสมณะเช่นเดียวกับพวกท่านนั่นแหละ
ก็เหตุสักว่าความ
022 เป็นเอกัคคตาแห่งจิตของพวกท่านก็ยังไม่มี ส่วนกระผมได้เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มี

186

001 อานุภาพมากในพระศาสนานี้ กระทำอากาศให้เป็นดังแผ่นดิน กระทำแผ่นดิน
002 ให้เป็นดังอากาศ ถือเอาระยะทางที่ไกลกระทำให้ใกล้ ทำทางที่ใกล้ให้ไกล
003 ไปได้สู่พันแห่งจักรวาลโดยขณะเดียว
ท่านทั้งหลายจงดูมือของกระผม ก็แต่
004 ว่าบัดนี้เป็นเช่นกับมือลิง กระผมนั่งอยู่ในโลกนี้นั่นแหละเอามือทั้งสองลูบคลำ
005 ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ได้ กระผมนั่งแล้วกระทำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
006 ให้เป็นดุจพื้นที่สำหรับล้างเท้าก็ได้ ฤทธิ์ของกระผมเห็นปานนี้อันตรธาน
007 ไปแล้วด้วยความประมาท
ขอท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทเลย
008 เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายถึงความพินาศไปเช่นนี้เพราะความประมาท
009 ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่จะกระทำที่สุดแห่งชาติ ชรา และ
010 มรณะได้ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายกระทำผมให้เป็นอารมณ์แล้ว
จงเป็น
011 ผู้ไม่ประมาทเถิดขอรับ"
ครั้นคุกคามแล้วได้ให้แล้วซึ่งโอวาท.
012 เมื่อมนุษย์นั้นกล่าวอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ ภิกษุสามเณร ๓๐ เหล่านั้น
013 ถึงความสังเวชแล้ว เห็นแจ้งอยู่ ก็บรรลุพระอรหัต ในที่นั้นนั่นแล
.
014 สมถวิปัสสนาอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ เมื่อดับไป บัณฑิตพึงทราบว่า
015 ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ ดังพรรณนามาฉะนี้.
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 440

โพสต์

..
:evil: :evil: :evil:
cobain_vi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 441

โพสต์

หนังสือ มหาเศรษฐีที่แท้จริง
หลวงพ่อสุชาติ โหลดอ่านฟรีครับ
http://www.kammatthana.com/super%20rich.pdf
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 442

โพสต์

อนุโมทนาครับ
ก่อนนี้ไปวัดญาณฯ ก็หลายครั้ง ไม่เคยได้กราบได้เห็นหลวงพ่อสักครั้ง
เพราะก่อนนี้ไม่เคยรู้จักท่าน พอรู้จักท่านแล้วก็ยังไม่โอกาสได้ไปสักที

ส่วนหนึ่งจากหนังสือท่านครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
dr1
Verified User
โพสต์: 874
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 443

โพสต์

อนุโมทนาด้วยคนครับ
ทำให้ทราบประวัติของพระอาจารย์สุชาติขึ้นมากขึ้น
ทำให้อยากอ่านหนังสือของหลวงตาขึ้นมาอีกครับ

เพื่อนคนที่พาผมไปกราบพระอาจารย์ให้ข้อสังเกตุว่า
วัดนี้"ครบวงจร"ตั้งแต่ด้านนอกเข้าไปด้านใน ด้านล่างขึ้นไปด้านบน
ดูของโบราณ ซื้อวัตถุมงคล ฟังธรรม
ซึ่งดูด้วยตาแล้ว วัตถุจะน้อยลงไปเรื่อยๆไปจนดูเหมือน
"ไม่มีอะไร"ณ จุดที่อริยทรัพย์สูงสุดครับ
samatah
cobain_vi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 444

โพสต์

Dech เขียน:อนุโมทนาครับ
ก่อนนี้ไปวัดญาณฯ ก็หลายครั้ง ไม่เคยได้กราบได้เห็นหลวงพ่อสักครั้ง
เพราะก่อนนี้ไม่เคยรู้จักท่าน พอรู้จักท่านแล้วก็ยังไม่โอกาสได้ไปสักที

ส่วนหนึ่งจากหนังสือท่านครับ
aj_suchart_83.jpg

ผมอ่านแล้วขำตอนหลวงปู่เจี๊ยะถามว่า "มาทำไมวะ" มาถึงตอนนี้ผมขำกลิ้งเลย ขำมากๆหัวเราะท้องเเข็งเลย นึกภาพหลวงปู่ออก. แล้วก็อีกตอนที่พระยอมอดข้าวเพราะไม่อยากไปเจอเสือ(หลวงตา)ผมนึกภาพออกเลยเพราะเคยโดนหลวงตาตวาดเอาเหมือนกันเวลาอยู่กับหมู่เพื่อนที่เป็นฆราวาสรู้สึกว่าเราภาวนาเก่งเหนือคนอื่น เวลาไปกราบครูบาอาจารย์เหมือนเราไปเจอเสือจริงๆ รู้สึกว่าเรากระจอกมากๆ ฮา :D

ถ้าไปกราบหลวงพ่อแล้วเจอกันก็อย่าลืมทักทายกันบ้างนะครับ
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
cobain_vi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 358
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 445

โพสต์

dr1 เขียน:อนุโมทนาด้วยคนครับ
ทำให้ทราบประวัติของพระอาจารย์สุชาติขึ้นมากขึ้น
ทำให้อยากอ่านหนังสือของหลวงตาขึ้นมาอีกครับ

เพื่อนคนที่พาผมไปกราบพระอาจารย์ให้ข้อสังเกตุว่า
วัดนี้"ครบวงจร"ตั้งแต่ด้านนอกเข้าไปด้านใน ด้านล่างขึ้นไปด้านบน
ดูของโบราณ ซื้อวัตถุมงคล ฟังธรรม
ซึ่งดูด้วยตาแล้ว วัตถุจะน้อยลงไปเรื่อยๆไปจนดูเหมือน
"ไม่มีอะไร"ณ จุดที่อริยทรัพย์สูงสุดครับ
หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่อ่านแล้วสนุกมากๆ มีครบทุกรสชาติ ทั้งทางโลกและทางธรรม
หนังสือของหลวงตาก็อ่านสนุก ได้ครบทุกรสชาติเหมือนกัน มีทั้งประวัติครูบาอาจารย์ ประวัติหลวงตาเอง บรรยายธรรมขั้นพื้นๆจนไปถึงขั้นสูงสุด หนังสือของหลวงตาเยอะมากๆทุกวันนี้ผมยังหาอ่านได้ไม่ครบเลย ส่วนซีดีที่ท่านเทศน์มีเยอะมากๆผมก็ยังฟังไม่ครบเลยครับ :(
เมื่อวันก่อนได้อ่านหนังสือ"ท่านใหญ่ คือท่านบุญมี" มีอยู่หน้านึงที่เอารูปครูบาอาจารย์ที่เคยอยู่วัดป่าบ้านตาด ก็มีรูปหลวงพ่อสุชาติอยู่เป็นรูปสุดท้ายเลย (ขนาดท่านอายุเกือบ70ปีแล้ว ยังเป็นน้องเล็กสุดเลยครับ) :D
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
dr1
Verified User
โพสต์: 874
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 446

โพสต์

ใช่ครับท่านcobain เป็นหนังสือธรรมะที่อ่านสนุกมาก(คือฮาจริงๆ)
ผมอ่านรวดเดียวตอนเช้าวันที่ท่านมาลง จนไปทำงานสายเลยครับ
ทั้งๆที่ตอนไปฟังเทศน์ จะอีกอารมณ์นึงเลย คือเรียบง่าย(แปลว่าหลับง่อย ฮา)
ไม่นึกว่าพระอาจารย์จะเล่าเรื่องได้สนุก มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยแบบนี้
ถ้ามีหนังสือของหลวงตาแบบอีบุ๊คแบบนี้ มาแชร์อีกนะครับ สาธุ
samatah
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 447

โพสต์

ลองอ่านดูแล้ว ได้อรรถรสดีครับ
อยากให้มีหนังสือเกี่ยวกับปฎิปทาและชีวประวัติ ของพระกรรมฐานรุ่นหลังๆ
ออกมาเยอะๆหน่อยครับ หลังๆเกี่ยวกับพระลูกศิษย์มีข้อมูลน้อยมาก

ส่วนใหญ่ท่านมักเก็บตัว ทำให้มีหนังสือเกี่ยวกับประวัติน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
หากท่านใดมีโครงการพิมพ์ แจ้งผมด้วยนะครับ จะร่วมบุญด้วย
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
oatty
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2444
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 448

โพสต์

ได้คำตอบเรื่องความแตกต่างระหว่างฆราวาส กับ การบวช แล้วครับ อยู่หน้าที่ 71

ถ้าเป็นไปได้อยากอ่านหนังสือ ธรรมชุดเตรียมพร้อม และ ศาสนาอยู่ที่ไหน

หากใครมี คุณบุค ช่วยสงเคราะห์ด้วยนะครับ
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
ภาพประจำตัวสมาชิก
oatty
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2444
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 449

โพสต์

หลังจากหาในกูเกิ๊ลตามนี้ พบลายแทงเพียบเลย

https://www.google.co.th/search?q=หนังส ... 2&ie=UTF-8
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 450

โพสต์

กายเป็นวัด ใจเป็นพระ

เดืินทางกลับเข้ามาหาที่กายและใจ ก็จะค้นพบคำตอบเอง.