ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 31
ปีที่ 1 ไม่ขึ้นลงใหม่ครับ
[img]dekisugi.net/wp-content/uploads/2010/09/24sep20101-e1285334652320.gif
[/img]
[img]dekisugi.net/wp-content/uploads/2010/09/24sep20101-e1285334652320.gif
[/img]
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 32
คุณสุมาอี้ - นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ นี่ก็เป็นไอดอลของผมอีกคนหนึ่งเลยครับ
ส่วนหนึ่งที่เอามาทำพอร์ตทดลองนี้ ก็ได้ไอเดียจากคุณสุมาอี้นี่ละครับ
ผมสมัครสมาชิกไว้ตามอ่านอยู่ตลอด แนะนำให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกันเยอะๆครับ คนๆนี้เก่งจริง
ส่วนหนึ่งที่เอามาทำพอร์ตทดลองนี้ ก็ได้ไอเดียจากคุณสุมาอี้นี่ละครับ
ผมสมัครสมาชิกไว้ตามอ่านอยู่ตลอด แนะนำให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกันเยอะๆครับ คนๆนี้เก่งจริง
-
- Verified User
- โพสต์: 678
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 33
ผมคิดว่า ควรมีแผนออก จากหุ้นบางตัวด้วย เนื่องจากเราอาจผิดพลาดchaitorn เขียน:เอามาฝากเป็นกำลังใจคุณ Saran ครับ
ขอให้ถือเป็นข้อมูลหนึ่งในการศึกษาเพิ่มเติมและไปประยุกต์ใช้นะครับ
เอา Port ทดลองลงทุนจริงด้วย ของ คุณ สุมาอี้ หรือคุณ นรินทร์ โอฬารกิจอนันติน ขอให้เครดิตไว้ด้วยครับ
http://www.dekisugi.net/7thltg
เริ่ม ลงทุนเมื่อ 24/9/2010
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
ปีที่ 4
จาก Port นี้ จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่หุ้น เติบโตทุกตัว จะลงทุนแล้วจะมีกำไรทุกตัว
แม้มีหุ้นบางตัวใน Port เช่น BANPU ที่ขาดทุนมากระยะแรกของการลงทุนก็ตาม แต่ ด้วยการ Focus หุ้นตัวอื่น ๆ ที่ถูกต้อง
ก็ทำให้ Port รวมนั้นเดินหน้าต่อได้ และสร้างผลตอบแทนระยะยาวที่เหนือกว่าผลตอบแทนของตลาดโดยเฉลี่ยที่ 11-12% ทบต้นต่อปีได้
แนวคิดของคุณสุมาอี้ นี่แหละครับ ที่ท้าทายกับความเชื่อที่ว่า การลงทุนระยะยาวนั้นค่อนข้างเสี่ยงกว่าลงทุนระยะสั้น และหุ้นในประเทศไทยไม่สามารถลงทุนระยะยาวได้เพราะผันผวนมาก
แน่นอนผลตอบแทนระยะสั้นระหว่างปีนั้นเสี่ยงแน่ แต่ระยะยาวแม้ตลาดผันผวนมากก็ตาม แต่ท้ายสุดก็เดินต่อไปได้ด้วยดี
ระยะยาวมาก ที่ผมพูดถึง ต้องเข้าใจว่า Port นี้จะลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี ครับ ถึงเวลานั้นค่อยมาประเมินผลอีกครั้ง ตอนนี้เริ่มเข้ามาครึ่งทางแล้วหรือประมาณ 5 ปี 20/9/2014 คงได้เห็นความคืบหน้าของ Port เพิ่มเติมครับ
จะเห็นว่า NAV ของ Port รวม 4 ปีนั้น ก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ซึ่งสะท้อนกับตัวแทนของคนที่มีเงินเดือนประจำ ที่สามารถลงทุนแบบเต่าระยะยาวไปทุกเดือน ก็มีโอกาสสร้างความมั่งคั่งได้เช่นกัน ไม่ต่างกับพวกที่มีอาชีพลงทุนอาชีพอย่างเดียว
เพียงลงทุนไม่กี่ปี ก็ได้ผลเป็นเงินล้านได้เช่นกัน ด้วย 2 แรงบวก คือ
วินัยในการลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ทำให้เงินต้น Port เพิ่มมากขึ้น และ
ผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวที่สม่ำเสมอ เป็นตัวทบกับเงินต้นเพื่อสร้างผลตอบแทนทบต้นต่อเนื่องที่ดีต่อไป
เพียงแต่นักลงทุนต้องมีวินัยการลงทุนระยะยาว ไม่หวั่นไหวกับอารมณ์ของนายตลาดที่เข้ามากระทบเป็นระยะนั้นเองครับ
อันนี้เป็นทัศนคติการลงทุนประกอบ ที่จะตอบพี่ NB เรื่อง Runway ระยะยาวมากของการลงทุนในหุ้นเติบโตได้เช่นกันนะครับ 555
จากการเลือกหุ้นได้ และเนื่องจาก ปีที่ 3 หรือ 4 เราน่าจะมีความรู้และ ประสบการณ์
ในการคัดสรร หุ้นมากขึ้นแล้ว
สังเกตุเห็น cpall cpfหายไป แต่ banpu ไม่หาย
banpu นานวันยิ่งขาดทุนมากขึ้น
ในความเข้าใจของผม ถ้า 3 ปีหุ้นไม่สามารถทำ NAV กลับมาเสมอตัวหรือกำไรได้
น่าคิดมากครับ ว่าจะต้องรอถึงเมื่อไร เพราะกำไรทบต้นของหุ้นที่กำไร
นั้นคงดับเบิ้ลไปแล้ว
ส่วน PS ผมคิดว่าไม่ใช่หุ้นเติบโตครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 34
ผมนักคิดหาคำตอบที่คุณ sci ตั้งข้อสังเกตไว้ จะลองตอบดูนะครับผมคิดว่า ควรมีแผนออก จากหุ้นบางตัวด้วย เนื่องจากเราอาจผิดพลาด
จากการเลือกหุ้นได้ และเนื่องจาก ปีที่ 3 หรือ 4 เราน่าจะมีความรู้และ ประสบการณ์
ในการคัดสรร หุ้นมากขึ้นแล้ว
สังเกตุเห็น cpall cpfหายไป แต่ banpu ไม่หาย
banpu นานวันยิ่งขาดทุนมากขึ้น
ในความเข้าใจของผม ถ้า 3 ปีหุ้นไม่สามารถทำ NAV กลับมาเสมอตัวหรือกำไรได้
น่าคิดมากครับ ว่าจะต้องรอถึงเมื่อไร เพราะกำไรทบต้นของหุ้นที่กำไร
นั้นคงดับเบิ้ลไปแล้ว
ส่วน PS ผมคิดว่าไม่ใช่หุ้นเติบโตครับ
1. ผมว่า คุณสุมาอี้ ได้ตั้งกติกาการลงทุนเพื่อทดลองความเชื่อในเรื่องการลงทุนระยะยาวไม่ต่ำกว่า 10 ปี และเพื่อให้ port มีความยืดหยุ่นระดับหนึ่ง จึงได้ออกแบบเกณฑ์ในการคักเลือกหุ้น และการ exit หุ้นไว้ เพื่อให้เป็นไปตามสมมุติฐานการคิดที่ว่า ซื้อด้วยเหตุผลได เวลาจะนำหุ้นออกไป ก็มีเหตุผลที่ว่ามันไม่เป็นไปตามสมมุติฐานระยะยาวนั้นแล้ว ผมเชื่อว่าคุณสุมาอี้ได้แจ้งเหตุผลการปรับเปลี่ยนไว้ เพียงแต่เหตุผลนั้นอาจไม่สอดคล้องกับบางคน ซึ่งเราก็ต้องดูกันต่อไปครับ
2. Banpu ผมคิดว่า ในหลักใหญ่ ๆ มันยังอยู่ในเกณฑ์ เพียงแต่ระยะสั้นในความหมายของนักลงทุนอาจต่างกัน port นี้ภาพใหญ่ยังเดินทางถึง 10 ปี ด้วยความเชื่อที่ว่า ระยะสั้นหุ้นเติบโตก็ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยบางอย่าง จนกระทบกับราคาหุ้น แต่มูลค่าที่แท้จริงอาจยังดีอยู่ในระยะยาวเมื่อก้าวผ่านเหตุเลวร้ายไปได้ และผมคิดว่า ภาพใหญ่กว่านั้นคือ หุ้นที่จะโตแข็งแกร่งและต่อเนื่องระยะยาวได้ เมื่อเผชิญกับเหตุเลวร้ายของอุตสาหกรรม ก็ปรับตัวได้ดีกว่าคู่แข่งขันและอุตสาหกรรม ซึ่ง banpu ทำได้ค่อนข้างดี จนทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างต่ำ และยังมีการขยายงานต่อเนื่องทั้งในธุรกิจเดิม อละธุรกิจใหม่ มีรายได้โตต่อเนื่อง ระหว่างทางก็ยังมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องให้ด้วย ยังมี strory ที่จะดระตุ้นในอนาคตตามมา
ประกอบกับต้องการให้เป็นสัญญลักษณ์บางประการเพื่อลด bias ที่ว่า การ focus หุ้นที่่เติบโตที่ดี อาจมีบางตัวในกลุ่มที่ราคาไม่ perform ทำให้ nav ได้รับผลกระทบบ้าง แต่ ภาพใหญ่คือ nav ของใport ยังเดินหน้าต่อด้วยดี สะท้อนถึงการสร้างวินัยการลงทุน มีแดง ๆ และลงลึกบางตัว ให้เห็นชัด ๆ เป๋นการเตือนนักลงทุน vi ว่าอย่าประมาทกับหนทางการลงทุนระยะยาวแม้หุ้นที่เราคัดเลือกตัดสรรอย่างดีแล้ว จะเป็นหุ้นเติบโตระยะยาวที่ดีก็ตาม หลักการลงทุนfocus หุ้นมากกว่า 1 ตัวนั้นจะประคองการลงทุนระยะยาวได้ต่อเนื่ิงและได้ผลตอบแทนที่ดี เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดที่ 11-12% ที่เป็นเป้าหมายเปรียบเทียบครับ
3. Ps คือหุ้น ตัดมะเร็งร้ายครับ โตไปต่อเนื่องด้วยกลยุทธ์นี้ที่ทำได้ดีเหนือกว่าคู่แข่งขันที่จะลงมาแข่งขันใน segment เดียวกัน และพยามยามสร้างคูเมืองที่แข็งแกร่งมากขึ้น เมื่อเผชิญภัยน้ำท่วมใหญ่ ก็กลับมาได้ในระยะยาวครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 82
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 35
ผมเห็นว่าการลงทุนแบบ DCA ควรเป็นหุ้นเติบโตหรือแข็งแกร่งเท่านั้นครับ (port ตัวอย่างของคุณสุมาอี้ที่คัดมาแต่ละตัวดีมากครับยกเว้น BANPU) เพราะถ้าคุณลงทุนแบบdca คือทยอยซื้อเรื่อยๆโดยไม่ได้สนใจตลาด, ช่วงวัฏจักรของหุ้น แต่ไปซื้อหุ้นฟื้นตัวหรือหุ้นวัฏจักร จะอันตรายมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 36
เห็นด้วยมาก ๆ ครับrattypor เขียน:ผมเห็นว่าการลงทุนแบบ DCA ควรเป็นหุ้นเติบโตหรือแข็งแกร่งเท่านั้นครับ (port ตัวอย่างของคุณสุมาอี้ที่คัดมาแต่ละตัวดีมากครับยกเว้น BANPU) เพราะถ้าคุณลงทุนแบบdca คือทยอยซื้อเรื่อยๆโดยไม่ได้สนใจตลาด, ช่วงวัฏจักรของหุ้น แต่ไปซื้อหุ้นฟื้นตัวหรือหุ้นวัฏจักร จะอันตรายมาก
หุ้น วัฏจักร หรือ หุ้น turnaround จุดอ่อนที่สำคัญที่ต้องระวัง เหมือนที่ปีเตอร์ลินซ์ เตือน
ต้องรอให้มีดที่อยู่ที่สูง มันตกมาปักบนพื้นก่อน อย่าเอามือไปลองในช่วงมีดกำลังดิ่งปักพื้น
โดยเฉพาะหุ้นวัฏจักรที่ราคา commodity ขึ้นไปสูงสุดแล้ว รอราคา commodity ลงมา น่ากลัวมาก ๆ ถ้าจะไปลงทุนโดยคิดว่าเหมือนหุ้นประเภทอื่น
การถัวเฉลี่ยในช่วงขาลง คือนรกดี ๆ นี้เอง ซึ่งมีนักลงทุนหลายคนเข้าใจ วัฏจักรขาลง เป็นหุ้นที่มีปัญหาชั่วคราว แล้วเอามือไปลองรับมีด เพราะเชื่อในความถูกระยะสั้นของมัน
Pe ก็ต่ำ ปันผลก็ดี กระแสเงินสดสุดยอด roe roa สุดยอด การขยายงานดีมาก ๆ เป็นหุ้น vi ดี ๆ ที่ราคาถูกมาก เป็นต้น แต่ pe ต้องมองต่อว่า ราคาปัจจุบันจะสะท้อนไปที่ pe สูงขึ้นในอนาคต เพราะ earning มันลดลงนั้นเอง
ต่างกับ growth stock ที่ เราลงระยะยาวได้ แม้ pe ในวันนี้ดูเหมือนสูง แต่ระยะยาวราคาที่ซื้อปัจจุบันเทียบกับ earning ระยะยาวจะช่วยทำให้ pe ต้นทุนของเรามันจะต่ำลงมานั้นเอง และอาจต่ำลงมาก ๆ หากอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเติบโตที่เติบโตสูงมาก เป็นต้น key สำคัญจึงอยู่ที่ earning ในอนาคตต้องโตตามลักษณะประเภทของธุรกิจนี้
อย่างไรก็ตาม มีหุ้นหลายตัวพยายามปรับเปลี่ยน model เพื่อให้วัฏจักรยาวขึ้นกว่าเดิมในอดีต หรือเปลี่ยนกลุ่มธุรกิจเพื่อลดความปันผวนของวัฏจักรลง
ปิโตรเคมี ขยายไป downstream และ upstream หรือกำจัดคู่แข่งขันโดยการ takeover ทำให้วงจรยาวขึ้น เพราะธุรกิจครบวงจร และยังบริหาร supply chain หลักได้ดีขึ้น
กลุ่มเรือบางบริษัท หันไปเจาะ niche market ของเรือบางประเภท การขยายไปธุรกิจอื่น เพื่อกระจายความเสี่ยงแต่ต้องระวัง กระจายแล้วแย่ลง เช่น tta ไป takeover ums หุ้นถ่านหิน
Banpu เป็นตัวอย่าง ขยายไปธุรกิจผลิตไฟฟ้า ซึ่งทำได้ดีมากในอดีต ช่วยลดความผันผวนของธุรกิจถ่านหินลง จึงเจ็บตัวน้อยกว่าคู่แข่งขัน และมีกระแสเงินสดในช่วงรุ่งเรืองเก็บไว้ขยายงานค่อนข้างมากในเวลาต่อมา เป็นต้น
การเฝ้ามองจุด critical การเปลี่ยน model จึงต้องเฝ้าดูด้วยครับ
แต่หากเปลี่ยน model เปลี่ยนโครงสร้างไม่สำเร็จ ก็เป็นความเสี่ยงครับ
ขอบคุณสำหรับความเห็นนี้ด้วยครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 38
ขอบคุณ คุณ oatty ที่เป็นธุระจัดการให้สมบูรณ์ครับoatty เขียน:แก้ไขให้พี่ Chaitorn แล้วนะครับปีที่ 1
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 82
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 39
ขยายความได้เยี่ยมมากครับchaitorn เขียน:เห็นด้วยมาก ๆ ครับrattypor เขียน:ผมเห็นว่าการลงทุนแบบ DCA ควรเป็นหุ้นเติบโตหรือแข็งแกร่งเท่านั้นครับ (port ตัวอย่างของคุณสุมาอี้ที่คัดมาแต่ละตัวดีมากครับยกเว้น BANPU) เพราะถ้าคุณลงทุนแบบdca คือทยอยซื้อเรื่อยๆโดยไม่ได้สนใจตลาด, ช่วงวัฏจักรของหุ้น แต่ไปซื้อหุ้นฟื้นตัวหรือหุ้นวัฏจักร จะอันตรายมาก
หุ้น วัฏจักร หรือ หุ้น turnaround จุดอ่อนที่สำคัญที่ต้องระวัง เหมือนที่ปีเตอร์ลินซ์ เตือน
ต้องรอให้มีดที่อยู่ที่สูง มันตกมาปักบนพื้นก่อน อย่าเอามือไปลองในช่วงมีดกำลังดิ่งปักพื้น
โดยเฉพาะหุ้นวัฏจักรที่ราคา commodity ขึ้นไปสูงสุดแล้ว รอราคา commodity ลงมา น่ากลัวมาก ๆ ถ้าจะไปลงทุนโดยคิดว่าเหมือนหุ้นประเภทอื่น
การถัวเฉลี่ยในช่วงขาลง คือนรกดี ๆ นี้เอง ซึ่งมีนักลงทุนหลายคนเข้าใจ วัฏจักรขาลง เป็นหุ้นที่มีปัญหาชั่วคราว แล้วเอามือไปลองรับมีด เพราะเชื่อในความถูกระยะสั้นของมัน
Pe ก็ต่ำ ปันผลก็ดี กระแสเงินสดสุดยอด roe roa สุดยอด การขยายงานดีมาก ๆ เป็นหุ้น vi ดี ๆ ที่ราคาถูกมาก เป็นต้น แต่ pe ต้องมองต่อว่า ราคาปัจจุบันจะสะท้อนไปที่ pe สูงขึ้นในอนาคต เพราะ earning มันลดลงนั้นเอง
ต่างกับ growth stock ที่ เราลงระยะยาวได้ แม้ pe ในวันนี้ดูเหมือนสูง แต่ระยะยาวราคาที่ซื้อปัจจุบันเทียบกับ earning ระยะยาวจะช่วยทำให้ pe ต้นทุนของเรามันจะต่ำลงมานั้นเอง และอาจต่ำลงมาก ๆ หากอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเติบโตที่เติบโตสูงมาก เป็นต้น key สำคัญจึงอยู่ที่ earning ในอนาคตต้องโตตามลักษณะประเภทของธุรกิจนี้
อย่างไรก็ตาม มีหุ้นหลายตัวพยายามปรับเปลี่ยน model เพื่อให้วัฏจักรยาวขึ้นกว่าเดิมในอดีต หรือเปลี่ยนกลุ่มธุรกิจเพื่อลดความปันผวนของวัฏจักรลง
ปิโตรเคมี ขยายไป downstream และ upstream หรือกำจัดคู่แข่งขันโดยการ takeover ทำให้วงจรยาวขึ้น เพราะธุรกิจครบวงจร และยังบริหาร supply chain หลักได้ดีขึ้น
กลุ่มเรือบางบริษัท หันไปเจาะ niche market ของเรือบางประเภท การขยายไปธุรกิจอื่น เพื่อกระจายความเสี่ยงแต่ต้องระวัง กระจายแล้วแย่ลง เช่น tta ไป takeover ums หุ้นถ่านหิน
Banpu เป็นตัวอย่าง ขยายไปธุรกิจผลิตไฟฟ้า ซึ่งทำได้ดีมากในอดีต ช่วยลดความผันผวนของธุรกิจถ่านหินลง จึงเจ็บตัวน้อยกว่าคู่แข่งขัน และมีกระแสเงินสดในช่วงรุ่งเรืองเก็บไว้ขยายงานค่อนข้างมากในเวลาต่อมา เป็นต้น
การเฝ้ามองจุด critical การเปลี่ยน model จึงต้องเฝ้าดูด้วยครับ
แต่หากเปลี่ยน model เปลี่ยนโครงสร้างไม่สำเร็จ ก็เป็นความเสี่ยงครับ
ขอบคุณสำหรับความเห็นนี้ด้วยครับ
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 40
ขอบคุณสำหรับความเห็นอันยอดเยี่ยมครับพี่ chaitorn
ผมว่าปัจจัยหลักอีกอย่างของการลงทุนแบบ DCA คือเรื่องของจิตใจด้วยครับ
เท่าที่ผมดูจากเพื่อนหลายๆคนที่แนะนำใช้วิธีนี้ มักจะทำได้ไม่ต่อเนื่องเพราะมัวแต่เปิดดูพอร์ตบ่อยๆแล้วทำให้หวั่นไหวในหลักการลงทุนไป
(ช่วงตลาดตกหนักๆ-->พอร์ตติดลบ-->ไม่สบายใจ หรือ ช่วงตลาดหุ้นขึ้นแรงๆ-->พอร์ตขึ้นน้อยกว่าชาวบ้าน-->ไม่พอใจ)
เพราะผมเองยังคิดอยู่บ่อยๆเลยว่า
ถ้าหากเจอวิกฤตเศรษฐกิจแบบปี 40 เข้าสักวัน ผมจะยังแน่วแน่กับการลงทุน DCA ไปเรื่อยๆหรือป่าว หรือ
เกิดตลาดมันขึ้นไปเรื่อยๆจน PE เกิน 30 เท่า (เป็นจุดที่ผมกำหนดว่าตลาดเริ่มฟองสบู่ ควรจะล้างพอร์ต) ผมจะขายหุ้นทิ้งจริงๆไหม ^^
จิตใจนี่มันทำให้เราฟุ้งซ่านจริงๆครับ
ผมว่าปัจจัยหลักอีกอย่างของการลงทุนแบบ DCA คือเรื่องของจิตใจด้วยครับ
เท่าที่ผมดูจากเพื่อนหลายๆคนที่แนะนำใช้วิธีนี้ มักจะทำได้ไม่ต่อเนื่องเพราะมัวแต่เปิดดูพอร์ตบ่อยๆแล้วทำให้หวั่นไหวในหลักการลงทุนไป
(ช่วงตลาดตกหนักๆ-->พอร์ตติดลบ-->ไม่สบายใจ หรือ ช่วงตลาดหุ้นขึ้นแรงๆ-->พอร์ตขึ้นน้อยกว่าชาวบ้าน-->ไม่พอใจ)
เพราะผมเองยังคิดอยู่บ่อยๆเลยว่า
ถ้าหากเจอวิกฤตเศรษฐกิจแบบปี 40 เข้าสักวัน ผมจะยังแน่วแน่กับการลงทุน DCA ไปเรื่อยๆหรือป่าว หรือ
เกิดตลาดมันขึ้นไปเรื่อยๆจน PE เกิน 30 เท่า (เป็นจุดที่ผมกำหนดว่าตลาดเริ่มฟองสบู่ ควรจะล้างพอร์ต) ผมจะขายหุ้นทิ้งจริงๆไหม ^^
จิตใจนี่มันทำให้เราฟุ้งซ่านจริงๆครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 678
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 41
สบายใจได้ ครับ VI ก็มีคัทลอส นะครับ หมายถึงพื้นฐานเปลี่ยน กำไรของหุ้นลดลงแน่ชัดSaran เขียน:ขอบคุณสำหรับความเห็นอันยอดเยี่ยมครับพี่ chaitorn
ผมว่าปัจจัยหลักอีกอย่างของการลงทุนแบบ DCA คือเรื่องของจิตใจด้วยครับ
เท่าที่ผมดูจากเพื่อนหลายๆคนที่แนะนำใช้วิธีนี้ มักจะทำได้ไม่ต่อเนื่องเพราะมัวแต่เปิดดูพอร์ตบ่อยๆแล้วทำให้หวั่นไหวในหลักการลงทุนไป
(ช่วงตลาดตกหนักๆ-->พอร์ตติดลบ-->ไม่สบายใจ หรือ ช่วงตลาดหุ้นขึ้นแรงๆ-->พอร์ตขึ้นน้อยกว่าชาวบ้าน-->ไม่พอใจ)
เพราะผมเองยังคิดอยู่บ่อยๆเลยว่า
ถ้าหากเจอวิกฤตเศรษฐกิจแบบปี 40 เข้าสักวัน ผมจะยังแน่วแน่กับการลงทุน DCA ไปเรื่อยๆหรือป่าว หรือ
เกิดตลาดมันขึ้นไปเรื่อยๆจน PE เกิน 30 เท่า (เป็นจุดที่ผมกำหนดว่าตลาดเริ่มฟองสบู่ ควรจะล้างพอร์ต) ผมจะขายหุ้นทิ้งจริงๆไหม ^^
จิตใจนี่มันทำให้เราฟุ้งซ่านจริงๆครับ
ติดต่อกัน 3-4 Q แล้วแต่จะให้โอกาสหุ้น (ลดติดต่อ 3 q ผมก็ไม่ซื้อเพิ่มแล้ว ขายด้วยซ้ำ)
ราคาลงเท่าไรก็ต้องขาย
ที่สำคัญ ต้องรู้จักที่จะปกป้อง ทุนของเรา กฏข้อ 1. อะครับ
บางครั้งการทนถือหุ้นที่พื้นฐานเปลี่ยนไปแล้วดูจะเป็น อคติ กับการลงทุนมากกว่า
ถ้ามันไม่ใช่ ก็เรียนรู้และแก้ไข ก็เท่านั้นครับ
การลงทุนระยะยาว10ปี ไม่ใช่หมายถึงหุ้นตัวนั้น 10 ปี แต่หมายถึง ลงทุนในหุ้น
ต่อเนื่อง ทบต้น 10 ปีนะครับ ผมเข้าใจอย่างนั้น
ปล.ผมก็ว่าอยู่เห็นมี คนชอบแซวอยู่ที่บอร์ดแห่งหนึ่ง ว่า VI ซื้อบ้านปู 700 บาท อะไร
ประมาณนั้น ไม่รู้แอบเหน็บ คนที่นี้รึเปล่า แต่ท่าทางเค้า มีอคติกับ VI น่าดู
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 42
ขอบคุณสำหรับความเห็นดีๆครับพี่ sci
แน่นอนว่าหลักการลงทุน VI ก็ต้องมีขาดทุนในหุ้นบ้างตัวบ้างอยู่แล้วครับ แม้ว่าจะเป็นหลักการลงทุนใดๆก็ตามเถอะ
เรื่องนี้ผมเชื่อว่าอยู่ที่การเรียนรู้และการฝึกฝนครับ พอฝึกฝนบ่อยๆเข้าแล้วย้อนกลับไปดูข้อผิดพลาดในอดีตก็จะรู้ว่า เมื่อก่อนเคยทำพลาดอะไรมาบ้าง
เสียดายนะครับ เคยเห็นเพื่อนบางคนมาลงทุนแนววีไอ แล้วลงทุนพลาดครั้งสองครั้งก็ยอมแพ้ หันไปเล่นหุ้นแนวอื่นแทนหรือเลิกลงทุนไปเลย
กลายเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้มา สั่งสมประสบการณ์มาไม่ได้นำไปสานต่อ
ผมเชื่อว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการฝึกฝนครับ แต่ต้องอยู่ในหลักการและแนวทางที่ถูกต้องด้วยนะ
แน่นอนว่าหลักการลงทุน VI ก็ต้องมีขาดทุนในหุ้นบ้างตัวบ้างอยู่แล้วครับ แม้ว่าจะเป็นหลักการลงทุนใดๆก็ตามเถอะ
เรื่องนี้ผมเชื่อว่าอยู่ที่การเรียนรู้และการฝึกฝนครับ พอฝึกฝนบ่อยๆเข้าแล้วย้อนกลับไปดูข้อผิดพลาดในอดีตก็จะรู้ว่า เมื่อก่อนเคยทำพลาดอะไรมาบ้าง
เสียดายนะครับ เคยเห็นเพื่อนบางคนมาลงทุนแนววีไอ แล้วลงทุนพลาดครั้งสองครั้งก็ยอมแพ้ หันไปเล่นหุ้นแนวอื่นแทนหรือเลิกลงทุนไปเลย
กลายเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้มา สั่งสมประสบการณ์มาไม่ได้นำไปสานต่อ
ผมเชื่อว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการฝึกฝนครับ แต่ต้องอยู่ในหลักการและแนวทางที่ถูกต้องด้วยนะ
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 43
ดูจาก port ที่คุณ saran นำมาลงSaran เขียน:ขอบคุณสำหรับความเห็นดีๆครับพี่ sci
แน่นอนว่าหลักการลงทุน VI ก็ต้องมีขาดทุนในหุ้นบ้างตัวบ้างอยู่แล้วครับ แม้ว่าจะเป็นหลักการลงทุนใดๆก็ตามเถอะ
เรื่องนี้ผมเชื่อว่าอยู่ที่การเรียนรู้และการฝึกฝนครับ พอฝึกฝนบ่อยๆเข้าแล้วย้อนกลับไปดูข้อผิดพลาดในอดีตก็จะรู้ว่า เมื่อก่อนเคยทำพลาดอะไรมาบ้าง
เสียดายนะครับ เคยเห็นเพื่อนบางคนมาลงทุนแนววีไอ แล้วลงทุนพลาดครั้งสองครั้งก็ยอมแพ้ หันไปเล่นหุ้นแนวอื่นแทนหรือเลิกลงทุนไปเลย
กลายเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้มา สั่งสมประสบการณ์มาไม่ได้นำไปสานต่อ
ผมเชื่อว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการฝึกฝนครับ แต่ต้องอยู่ในหลักการและแนวทางที่ถูกต้องด้วยนะ
เป็นบทเรียนที่ดีมากครับ
จะเห็นว่าบางช่วงเวลาในแต่ละเดือน ก็มีเห็นการขาดทุนให้เห็นเป็นระยะ สะท้อนว่าไม่ใช่ vi จะขาดทุนระยะสั้นไม่เป็น
เหมือนชีวิตคนเรา ก็มีขึ้นและลง
แต่ระยะยาวก็ก้าวหน้าขึ้นไปตามลำดับ
Vi จุดสำคัญ ไม่ใช่ความรู้ที่เราเรียนมา เพราะเราเรียนได้เท่าทันกันหมด
ไม่ใช่ความฉลาดที่สามารถคำนวนสมการซับซ้อนและแก้โจทย์ได้อย่างชาญฉลาด เหมือนเซอร์ ไอแซคนิวตัน ก็ยังพลาดได้
จุดสำคัญคือ การปรับตัว ปรับใจกับอารมณ์ให้ได้
ไม่โลภ เกินความรู้ที่เรามีอยู่
ไม่ใช้อารมณ์โกรธอย่างไม่มีเหตุผลทำให้ตัดสินใจผิดพลาดไปหมด ควรขายแต่กลับไปซื้อ ควรซื้อแต่กลับไปขาย เป็นต้น
ไม่หลงตัวเองว่าเก่งกว่าเขา พยายามไปเปรียบเทียบกับคนอื่นทำให้กังวลใจเปล่า ๆ
ผมว่าความรู้ง่าย ๆ ที่เราเรียนรู้กัน ไม่ต้องคิดพิศดาลมากมาย ลงทุนในธุรกิจที่เรารู้ และในราคาที่มี mos เพียงพอ
ไม่ว่าอารมณ์ตลาดจะผันผวนอย่างไร
การควบคุมอารมณ์ให้มีวินัยเป็นเรื่องสำคัญมาก
วางแผนการลงทุน ติดตามการลงทุน ดูว่าเป็นไปในเส้นทางระยะยาวของผลงานที่เราคาดหวังหรือไม่
ซื้อด้วยเหตุผลใด ขายไปก็ด้วยไม่เป็นเหตุผลนั้น นั้นคือแผนการที่ต้องคิดตั้งแต่เริ่มการลงทุนในกิจการใด
บางครั้งคุณ saran ก็ต้องให้เพื่อนบางคนที่ต้องการเปลี่ยนแนวได้ไปเรียนรู้ในแนวอื่นบ้างก็ไม่เป็นไรครับ
ผมก็ศึกษามาหลายแนวเช่นกันครับ
บทเรียนที่ผ่านเข้ามาจะช่วยให้เขาได้เรียนรู้วิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะกับเขาเองในที่สุดครับ
การลงทุนก็มีหลายแนวที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่แนวเดียวเท่านั้น ให้เขาเลือกทำให้เหมาะกับเขาดีกว่า เขาประสบความสำเร็จด้วยแนวทางใด เราก็ชื่นชมและดีใจไปกับเขาครับ
ถนนทุกสายสุดท้ายก็มีเป้าหมายมุ่งไปสู่ความมั่งคั่ง ให้เขาได้เลือกทางเดินของเขาเองนะครับ
ส่วนเรื่องของเราคือการพัฒนาการเรียนรู้ของเราบนวิถีของ vi แบบเต่าที่ค่อย ๆ เดินช้า ๆ ให้ก้าวหน้าขึ้นทุกปี
ก้าวหน้าที่ความรู้เพื่อไปลงทุนให้มากขึ้น
พัฒนาความอดทนจาก ระดับเริ่มต้นอดทนเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส ราย 6 เดือน รายปี หลายปี เป็นต้น
นี่ก็เป็นระดับการพัฒนาอารมณ์ของเราครับ พัฒนาไปจนถึง
สุดท้ายกระบี่อยู่ที่ใจ ไม่หวั่นไหวในทุกสถานการณ์ที่จะมากระทบกับอารมณ์ของเราครับ
ใครจะเหน็บ ใครจะต่อว่า ก็เรื่องเขา หากเราไม่เอามาใส่ใจเรา แค่ปล่อยวางบ้าง
วิถีการลงทุนของเราชาว vi ก็มีความสุขอันเกิดจากการกระทำของเรานั้นเอง
พอใจในบทเรียนที่สำเร็จ และล้มเหลวบ้าง ทำให้เราลงทุนโดยไม่ประมาท ไม่หลงไปกับความรู้ของเรามากเกินพอดี แต่ยืดหยุ่นในการเรียนรู้ตลอดเวลาไม่เป็นน้ำที่เต็มแก้วครับ
เป็นกำลังใจให้คุณ saran เดินทางในวิถี vi นี้ต่อไปครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 44
ขอบคุณ คุณชัยธร มากครับ
คุณศรัณย์ครับ
เดินทางไกล มีเพื่อนเดินทางคอเดียวกัน ก็จะช่วยได้ครับ
จะหยุดบ้างไรบ้าง ตั้งแคมป์ ส่องนก บ้าง ก็ได้ครับ
คุณศรัณย์ครับ
เดินทางไกล มีเพื่อนเดินทางคอเดียวกัน ก็จะช่วยได้ครับ
จะหยุดบ้างไรบ้าง ตั้งแคมป์ ส่องนก บ้าง ก็ได้ครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 45
ถ้าเป็นคนอื่นผมคงอ่านผ่าน ๆ แต่ เป็นคุณศรัณย์ผมต้องตอบครับSaran เขียน:ขอบคุณสำหรับความเห็นอันยอดเยี่ยมครับพี่ chaitorn
ผมว่าปัจจัยหลักอีกอย่างของการลงทุนแบบ DCA คือเรื่องของจิตใจด้วยครับ
เท่าที่ผมดูจากเพื่อนหลายๆคนที่แนะนำใช้วิธีนี้ มักจะทำได้ไม่ต่อเนื่องเพราะมัวแต่เปิดดูพอร์ตบ่อยๆแล้วทำให้หวั่นไหวในหลักการลงทุนไป
(ช่วงตลาดตกหนักๆ-->พอร์ตติดลบ-->ไม่สบายใจ หรือ ช่วงตลาดหุ้นขึ้นแรงๆ-->พอร์ตขึ้นน้อยกว่าชาวบ้าน-->ไม่พอใจ)
เพราะผมเองยังคิดอยู่บ่อยๆเลยว่า
ถ้าหากเจอวิกฤตเศรษฐกิจแบบปี 40 เข้าสักวัน ผมจะยังแน่วแน่กับการลงทุน DCA ไปเรื่อยๆหรือป่าว หรือ
เกิดตลาดมันขึ้นไปเรื่อยๆจน PE เกิน 30 เท่า (เป็นจุดที่ผมกำหนดว่าตลาดเริ่มฟองสบู่ ควรจะล้างพอร์ต) ผมจะขายหุ้นทิ้งจริงๆไหม ^^
จิตใจนี่มันทำให้เราฟุ้งซ่านจริงๆครับ
เอามาจากไหนครับ พีอีสูงแล้วต้องขาย ความจริงหรือความเชื่อครับ? ผมขาดทุนมากครับกับการขายหุ้นพีอีสูง และผมจะไม่ทำแล้วครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 46
ทุกครั้งที่ได้อ่านที่พี่ chaitorn และพี่ NB โพส
เหมือนได้ผู้ใหญ่ผู้มากประสบการณ์มาคอยเตือนสติทุกๆครั้งเลยครับ ได้ทั้งข้อคิด มุมมองดีๆ และกำลังใจต่างๆ ขอบคุณจริงๆครับ
เรื่องการปรับอารมณ์นี่สำคัญมากๆครับ ผมเองก็ได้ประสบการณ์ตรงนี้มาโดยตรง
อย่างสมัยตอนลงทุกช่วงแรกก่อน subprime นึกว่าแน่ หุ้นตัวไหนก็มีข่าวดีเต็มไปหมด กล้าไล่ราคา ของที่(คิดว่า)ดีต้องรีบซื้อ อย่าต่อราคาเดี๋ยวตกรถ
แต่หลัง subprime ผมกลายเป็นคนระมัดระวังเป็นพิเศษไปเลย จะซื้อหุ้นที่กลัวแล้วกลัวอีก ไม่ค่อยการซื้อ ทั้งๆที่ตอนนั้นหุ้นราคาถูกมีให้เลือกมากมาย
จากสองเหตุการณ์นี้ ผมกลับมาดูเห็นได้ชัดเลยครับ จำนวนเงินที่ใช้ซื้อหุ้นในแต่ละครั้งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สะท้อนจากความมั่นใจในที่จะซื้อหุ้น
ซึ่งหลังจากเกิด subprime จังหวะนั้นหุ้นมีราคาถูก แต่ผมกลับใช้จำนวนเงินซื้อหุ้นเก็บได้จำนวนน้อยกว่าก่อนเกิด subprime ซะอีก ทั้งๆที่เป็นจุดที่ควรจะหวดให้หนักๆมากกว่า ><
เหมือนได้ผู้ใหญ่ผู้มากประสบการณ์มาคอยเตือนสติทุกๆครั้งเลยครับ ได้ทั้งข้อคิด มุมมองดีๆ และกำลังใจต่างๆ ขอบคุณจริงๆครับ
เรื่องการปรับอารมณ์นี่สำคัญมากๆครับ ผมเองก็ได้ประสบการณ์ตรงนี้มาโดยตรง
อย่างสมัยตอนลงทุกช่วงแรกก่อน subprime นึกว่าแน่ หุ้นตัวไหนก็มีข่าวดีเต็มไปหมด กล้าไล่ราคา ของที่(คิดว่า)ดีต้องรีบซื้อ อย่าต่อราคาเดี๋ยวตกรถ
แต่หลัง subprime ผมกลายเป็นคนระมัดระวังเป็นพิเศษไปเลย จะซื้อหุ้นที่กลัวแล้วกลัวอีก ไม่ค่อยการซื้อ ทั้งๆที่ตอนนั้นหุ้นราคาถูกมีให้เลือกมากมาย
จากสองเหตุการณ์นี้ ผมกลับมาดูเห็นได้ชัดเลยครับ จำนวนเงินที่ใช้ซื้อหุ้นในแต่ละครั้งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สะท้อนจากความมั่นใจในที่จะซื้อหุ้น
ซึ่งหลังจากเกิด subprime จังหวะนั้นหุ้นมีราคาถูก แต่ผมกลับใช้จำนวนเงินซื้อหุ้นเก็บได้จำนวนน้อยกว่าก่อนเกิด subprime ซะอีก ทั้งๆที่เป็นจุดที่ควรจะหวดให้หนักๆมากกว่า ><
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 47
นัยยะที่พี่ nb กล่าวถึงในเรื่อง pe เพื่อวิเคราะห์ความถูกแพงของหุ้นเป็นเรื่องสำคัญ และบางครั้งก็เป็นความเชื่อผิด ๆ จนไปสู่ความเสียหายการลงทุนได้Nevercry.boy เขียน:Saran เขียน:ขอบคุณสำหรับความเห็นอันยอดเยี่ยมครับพี่ chaitorn
ผมว่าปัจจัยหลักอีกอย่างของการลงทุนแบบ DCA คือเรื่องของจิตใจด้วยครับ
เท่าที่ผมดูจากเพื่อนหลายๆคนที่แนะนำใช้วิธีนี้ มักจะทำได้ไม่ต่อเนื่องเพราะมัวแต่เปิดดูพอร์ตบ่อยๆแล้วทำให้หวั่นไหวในหลักการลงทุนไป
(ช่วงตลาดตกหนักๆ-->พอร์ตติดลบ-->ไม่สบายใจ หรือ ช่วงตลาดหุ้นขึ้นแรงๆ-->พอร์ตขึ้นน้อยกว่าชาวบ้าน-->ไม่พอใจ)
เพราะผมเองยังคิดอยู่บ่อยๆเลยว่า
ถ้าหากเจอวิกฤตเศรษฐกิจแบบปี 40 เข้าสักวัน ผมจะยังแน่วแน่กับการลงทุน DCA ไปเรื่อยๆหรือป่าว หรือ
เกิดตลาดมันขึ้นไปเรื่อยๆจน PE เกิน 30 เท่า (เป็นจุดที่ผมกำหนดว่าตลาดเริ่มฟองสบู่ ควรจะล้างพอร์ต) ผมจะขายหุ้นทิ้งจริงๆไหม ^^
จิตใจนี่มันทำให้เราฟุ้งซ่านจริงๆครับถ้าเป็นคนอื่นผมคงอ่านผ่าน ๆ แต่ เป็นคุณศรัณย์ผมต้องตอบครับ
เอามาจากไหนครับ พีอีสูงแล้วต้องขาย ความจริงหรือความเชื่อครับ? ผมขาดทุนมากครับกับการขายหุ้นพีอีสูง และผมจะไม่ทำแล้วครับ
ขออ้างข้อความของท่านนายกสมาคมของเราคุณลูกอีสานจากข้อความนี้
ที่มา https://th-th.facebook.com/notes/thaila ... 7246300763
สรุป Pe เป็นเครื่องมือหนึ่งเท่านั้นในการดูความถูกแพง แต่การใช้ต้องดูรายละเอียดเพิ่มเติมความเชื่อ : หุ้น VI ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของผลกำไรต่ำแต่มั่นคง
ความเห็น : หลักการของการลงทุนแบบ VI คือการซื้อหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นไม่ว่าหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นเติบโตสูง (Growth Stock) หุ้นวัฏจักร(Cyclical Sstock) หุ้นสินทรัพย์มาก (Asset play) หรือหุ้นมั่นคง (Defensive Stock) ควรจะได้รับการพิจารณาเหมือนๆกันในแง่ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่นักลงทุนจะจ่าย แต่สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนควรเข้าใจคือหุ้นที่แตกต่างกัน ไม่สามารถที่จะวัดความถูกหรือแพงโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินตัวเดียวกัน เช่นการใช้อัตราส่วน ราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น (PE Ratio) หุ้นทั่วๆไป ค่าพีอีที่ต่ำแสดงว่าหุ้นตัวนั้นราคาถูก แต่หากเป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูง ค่าพีอีที่ไม่สูงกว่าการอัตราการเติบโตของผลกำไร ก็ถือว่าหุ้นราคาถูกเช่นกัน ในขณะที่การใช้ค่าพีอีกับหุ้นที่เป็นวัฏจักรจะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม คือค่าพีอีที่สูงแสดงว่าหุ้นอาจจะกำลังอยู่ในภาวะที่ควรลงทุน เป็นต้น
1. ต้องดู pe อนาคตเป็นหลัก
2. ต้องดูเทียบกับ growth หรือที่เราเรียกว่า peg
3. ต้องดูคู่กับประเภทของหุ้นที่อาจจัดกลุ่มตามอาจารย์ปีเตอร์ ลินซ์ ทั้ง 6 กลุ่มด้วย และเลือกใช้ pe ตามกลุ่มให้เหมาะสม
4. บางอุตสาหกรรม หากลักษณะหุ้นคล้ายกันเปรียบเทียบกันได้ เราอาจดูเปรียบเทียบกับ pe อุตสาหกรรมของหุ้นในกลุ่มประกอบความถูกแพงได้
5. หุ้น pe ต่ำหลาย ๆ ปี ควรดูคู่กับคุณภาพของธุรกิจประกอบ เช่น หุ้นสิ่งทอในอดีตมักจะอยู่ในอุตสาหกรรมตกดิน หุ้นบางตัวมีผลกำไรที่ผันผวนขึ้นลงเอาแน่เอานอนไม่ได้ หุ้นบางตัวมีปัญหา cg เป็นต้น พวกกลุ่มเหล่านี้บางครั้งจะเป็นหุ้นที่ถูกเรื้อรังได้เพราะคุณภาพของธุรกิจนั้นครับ
การใช้เครื่องมือการเงินมันจึงเป็นทั้งศาสตร์ และศิลปในการทำความเข้าใจด้วยครับ ไม่มีสูตรคำนวนสูตรเดียวที่จะทำให้เราลงทุนด้วยความสำเร็จแน่นอน ทำให้เราจึงต้องศึกษาทำความเข้าใจในธุรกิจให้ถ่องแท้ตามระดับความรู้และคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจอยู่ตลอดเวลาเพื่อความไม่ประมาท
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 48
ขอบคุณคุณชัยธรและคุณศรัณย์มากครับ
ขอเล่าไว้เป็นอุทธาหรณ์ครับ ว่าอย่าผิดพลาดแบบผม
ผมเคยทำ Mint หลุดมือไป กว่าจะซื้อคืนมาแทบแย่ แถมยังได้มาในราคาไม่ครบอีก นี่คือความผิดพลาดที่ทำให้ขาดทุนไปมาก
และอีกอันนึงที่ขาดทุนเรียกว่ามาก ๆ และเป็นบทเรียนคือผมขาย Makro ไปทั้งหมดด้วยกำไรแค่ 7x.xx% แต่หลังจากนั้น Makro ขึ้นจนถึงปัจจุบัน ณ ขณะนี้ผมกำลังวางแผนในการซื้อคืนอยู่เช่นเดียวกัน ยังไงก็คงต้องขาดทุนบ้างเพราะจะต่อราคาให้เป็นราคาเดิมคงเป็นไปไม่ได้แล้ว แต่ต้องรอบคอบขึ้นกว่าเดิม ประเมินกันอีกรอบและหา MOS รอบใหม่กัน
ปัจจุบันผมเข้าใจว่า Makro PE น่าจะ 4x.xx% ไม่แน่ใจนะครับ จะเห็นได้ว่าหากใช้ตรรกะที่เกือบสมบูรณ์ในการวิเคราะห์กิจการที่ยิ่งใหญ่ แล้วเสียหาย ต้นทุนในการตัดสินใจพลาดนั้นสูงมากครับ
เอาข้อผิดพลาดมาฝาก
ฝากไว้เป็นข้อเตือนใจครับ
ขอเล่าไว้เป็นอุทธาหรณ์ครับ ว่าอย่าผิดพลาดแบบผม
ผมเคยทำ Mint หลุดมือไป กว่าจะซื้อคืนมาแทบแย่ แถมยังได้มาในราคาไม่ครบอีก นี่คือความผิดพลาดที่ทำให้ขาดทุนไปมาก
และอีกอันนึงที่ขาดทุนเรียกว่ามาก ๆ และเป็นบทเรียนคือผมขาย Makro ไปทั้งหมดด้วยกำไรแค่ 7x.xx% แต่หลังจากนั้น Makro ขึ้นจนถึงปัจจุบัน ณ ขณะนี้ผมกำลังวางแผนในการซื้อคืนอยู่เช่นเดียวกัน ยังไงก็คงต้องขาดทุนบ้างเพราะจะต่อราคาให้เป็นราคาเดิมคงเป็นไปไม่ได้แล้ว แต่ต้องรอบคอบขึ้นกว่าเดิม ประเมินกันอีกรอบและหา MOS รอบใหม่กัน
ปัจจุบันผมเข้าใจว่า Makro PE น่าจะ 4x.xx% ไม่แน่ใจนะครับ จะเห็นได้ว่าหากใช้ตรรกะที่เกือบสมบูรณ์ในการวิเคราะห์กิจการที่ยิ่งใหญ่ แล้วเสียหาย ต้นทุนในการตัดสินใจพลาดนั้นสูงมากครับ
เอาข้อผิดพลาดมาฝาก
ฝากไว้เป็นข้อเตือนใจครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 49
ปล. ไม่ได้มีเจตนาชี้นำหุ้นนะครับ ณ ราคาปัจจุบัน Mint และ Makro ดีหรือไม่ดี ทุกท่านที่อ่านไปตัดสินใจเอง
ผมไม่ได้ชี้นำครับ
ผมไม่ได้ชี้นำครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 50
PE เกิน 30 เท่า เป็น PE ของตลาด SET นะครับพี่ NBNevercry.boy เขียน:ถ้าเป็นคนอื่นผมคงอ่านผ่าน ๆ แต่ เป็นคุณศรัณย์ผมต้องตอบครับSaran เขียน:ขอบคุณสำหรับความเห็นอันยอดเยี่ยมครับพี่ chaitorn
ผมว่าปัจจัยหลักอีกอย่างของการลงทุนแบบ DCA คือเรื่องของจิตใจด้วยครับ
เท่าที่ผมดูจากเพื่อนหลายๆคนที่แนะนำใช้วิธีนี้ มักจะทำได้ไม่ต่อเนื่องเพราะมัวแต่เปิดดูพอร์ตบ่อยๆแล้วทำให้หวั่นไหวในหลักการลงทุนไป
(ช่วงตลาดตกหนักๆ-->พอร์ตติดลบ-->ไม่สบายใจ หรือ ช่วงตลาดหุ้นขึ้นแรงๆ-->พอร์ตขึ้นน้อยกว่าชาวบ้าน-->ไม่พอใจ)
เพราะผมเองยังคิดอยู่บ่อยๆเลยว่า
ถ้าหากเจอวิกฤตเศรษฐกิจแบบปี 40 เข้าสักวัน ผมจะยังแน่วแน่กับการลงทุน DCA ไปเรื่อยๆหรือป่าว หรือ
เกิดตลาดมันขึ้นไปเรื่อยๆจน PE เกิน 30 เท่า (เป็นจุดที่ผมกำหนดว่าตลาดเริ่มฟองสบู่ ควรจะล้างพอร์ต) ผมจะขายหุ้นทิ้งจริงๆไหม ^^
จิตใจนี่มันทำให้เราฟุ้งซ่านจริงๆครับ
เอามาจากไหนครับ พีอีสูงแล้วต้องขาย ความจริงหรือความเชื่อครับ? ผมขาดทุนมากครับกับการขายหุ้นพีอีสูง และผมจะไม่ทำแล้วครับ
ไม่ใช่ PE ของหุ้นแต่ละตัวนะครับ ตัวเลขนี้ผมจำไม่ได้ว่าคุณสุมาอี้ หรือ ดร.นิเวศน์ บอกตอนก่อนวิกฤตปี 40 ที่ตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะฟองสบู่สุดๆนะครับ
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 51
เอามาให้ดู 3 ปีเลยครับ 96-97-98
Dec-98 10.04
Nov-98 9.76
Oct-98 10.38
Sep-98 9.53
Aug-98 8.03
Jul-98 10.5
Jun-98 10.72
May-98 12.66
Apr-98 15.49
Mar-98 13.31
Feb-98 8.94
Jan-98 8.94
Dec-97 6.59
Nov-97 6.79
Oct-97 8.12
Sep-97 9.74
Aug-97 8.39
Jul-97 11.04
Jun-97 8.57
May-97 9.18
Apr-97 10.1
Mar-97 10.59
Feb-97 10.5
Jan-97 11.36
Dec-96 11.97
Nov-96 13.33
Oct-96 13.83
Sep-96 16.61
Aug-96 16.71
Jul-96 15.98
Jun-96 18.42
May-96 19.35
Apr-96 19.66
Mar-96 19.59
Feb-96 20.27
Jan-96 21.65
Source: http://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html
Dec-98 10.04
Nov-98 9.76
Oct-98 10.38
Sep-98 9.53
Aug-98 8.03
Jul-98 10.5
Jun-98 10.72
May-98 12.66
Apr-98 15.49
Mar-98 13.31
Feb-98 8.94
Jan-98 8.94
Dec-97 6.59
Nov-97 6.79
Oct-97 8.12
Sep-97 9.74
Aug-97 8.39
Jul-97 11.04
Jun-97 8.57
May-97 9.18
Apr-97 10.1
Mar-97 10.59
Feb-97 10.5
Jan-97 11.36
Dec-96 11.97
Nov-96 13.33
Oct-96 13.83
Sep-96 16.61
Aug-96 16.71
Jul-96 15.98
Jun-96 18.42
May-96 19.35
Apr-96 19.66
Mar-96 19.59
Feb-96 20.27
Jan-96 21.65
Source: http://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 52
ว้าว ขอบคุณที่ช่วยชี้แนะครับพี่ NB ทำให้กระจ่างมากขึ้นเลยครับ ท่าทางผมจะจำข้อมูลจากความเชื่อมั่วๆมาอีกแล้ว ><
งั้นขอความเห็นพี่หน่อยครับ
เราควรมี exit strategy ที่จะออกจากตลาดหุ้นด้วยไหมครับ หรือใช้วิธีไหนเป็นเกณฑ์อื่นดี อย่างอัตราดอกเบี้ย สัดส่วนหนี้สินของประเทศ บลาๆๆ
หรือผมไปให้ความสนใจกับความผันผวนของตลาดหุ้นมากเกินไปเนี่ย
งั้นขอความเห็นพี่หน่อยครับ
เราควรมี exit strategy ที่จะออกจากตลาดหุ้นด้วยไหมครับ หรือใช้วิธีไหนเป็นเกณฑ์อื่นดี อย่างอัตราดอกเบี้ย สัดส่วนหนี้สินของประเทศ บลาๆๆ
หรือผมไปให้ความสนใจกับความผันผวนของตลาดหุ้นมากเกินไปเนี่ย
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 53
ยอมครับ แต่ถ้ามีใครรู้จริง ผมอยากไปเรียนด้วยครับSaran เขียน:ว้าว ขอบคุณที่ช่วยชี้แนะครับพี่ NB ทำให้กระจ่างมากขึ้นเลยครับ ท่าทางผมจะจำข้อมูลจากความเชื่อมั่วๆมาอีกแล้ว ><
งั้นขอความเห็นพี่หน่อยครับ
เราควรมี exit strategy ที่จะออกจากตลาดหุ้นด้วยไหมครับ หรือใช้วิธีไหนเป็นเกณฑ์อื่นดี อย่างอัตราดอกเบี้ย สัดส่วนหนี้สินของประเทศ บลาๆๆ
หรือผมไปให้ความสนใจกับความผันผวนของตลาดหุ้นมากเกินไปเนี่ย
ทุกวันนี้พยายามอยู่คือ เก็บเงิน -> มองให้ออกว่าธุรกิจอะไรแกร่ง ->รอให้นายตลาดจัดให้ -> ถือ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 55
นึกถึงคำพูดนานมาแล้วครับ
ศาสตร์ในการค้นหาการเคลื่อนไหวของตลาด
ถ้ามีจริง
จะต้องมีคนรู้ และอาจจะเป็นใครสักคนหรือเป็นทีมของใครสักทีม
ที่เก่งกว่าเรามาก ๆ
และมันจะไม่เป็นความลับอีกต่อไปทุก ๆ คนจะรู้กันหมด
เมื่อนั้น ตลาดจะปั่นป่วนอีกครั้งนึง จนกระทั่ง ลอจิกส์นั้นมันใช้ไม่ได้
และจะวนเวียนเป็นวัฏจักร
ศาสตร์ในการค้นหาการเคลื่อนไหวของตลาด
ถ้ามีจริง
จะต้องมีคนรู้ และอาจจะเป็นใครสักคนหรือเป็นทีมของใครสักทีม
ที่เก่งกว่าเรามาก ๆ
และมันจะไม่เป็นความลับอีกต่อไปทุก ๆ คนจะรู้กันหมด
เมื่อนั้น ตลาดจะปั่นป่วนอีกครั้งนึง จนกระทั่ง ลอจิกส์นั้นมันใช้ไม่ได้
และจะวนเวียนเป็นวัฏจักร
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 56
ศาสตร์ในการคาดเดาตลาดนั้น เป็นเรื่องการวิเคราะห์ pattern ความน่าจะเป็น ไม่มีอะไรถูกต้อง 100%Nevercry.boy เขียน:นึกถึงคำพูดนานมาแล้วครับ
ศาสตร์ในการค้นหาการเคลื่อนไหวของตลาด
ถ้ามีจริง
จะต้องมีคนรู้ และอาจจะเป็นใครสักคนหรือเป็นทีมของใครสักทีม
ที่เก่งกว่าเรามาก ๆ
และมันจะไม่เป็นความลับอีกต่อไปทุก ๆ คนจะรู้กันหมด
เมื่อนั้น ตลาดจะปั่นป่วนอีกครั้งนึง จนกระทั่ง ลอจิกส์นั้นมันใช้ไม่ได้
และจะวนเวียนเป็นวัฏจักร
มี error เกิดขึ้นเป็นระยะ และมีการแปลความกันไม่ตรงกันก็เยอะ แม้จะใช้ตำราเล่มเดียวกันก็ตาม
แต่ปัญหาส่วนใหญ่คือ เวลาเราใช้ศาสตร์ใด เรามักไม่ทำด้วยความต่อเนื่อง
ที่ร้ายกว่านั้นคือ บางครั้งเรายัง bias อีกด้วย
คนคาดเดาตลาดเก่ง ๆ เช่น เจสสี่ ลีเวอร์มอร์ ที่คาดเดาเก่งมาก ก็ไม่วายพลาด เพราะสุดท้ายก็เชื่อ bias ของตนเองจนหมดตัวตอนท้ายชีวิต ทั้งที่คาดเดาได้ถูกมากกว่าผิด แต่เดิมพันครั้งสำคัญผิดพลาดหนัก ก็ไปไม่รอดในที่สุด
เลห์แมน ก็พังมโหฬาร ทั้งที่มีนักวิเคราะห์ที่เก่งมาก ๆ
แต่ที่สำเร็จก็มี โซลอส ที่ยังประสบความสำเร็จอยู่
การใช้ศาสตร์ใด ต้องเข้าใจข้อจำกัด ข้อผิดพลาดในการบริหารความเสี่ยง และต้องไม่ใช้อาวุธหลายท่ามาก จนกระทั่งแตกซ่านสับสนไปหมดครับ
และต้องมีวินัยตามศาสตร์ที่่เรายึดไว้
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอเสริมบทความของ ดร.นิเวศน์ ครับ
โพสต์ที่ 60
SARAN นอกจากใจดี และ มีความสามารถลงทุนไม่แพ้ใคร
หน้าตายังหล่ออันดับต้นๆของเวป
คนอะไรครบเครื่องไปหมดเลย...
หน้าตายังหล่ออันดับต้นๆของเวป
คนอะไรครบเครื่องไปหมดเลย...
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.