พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 61
อดไม่ไหว ขอแจมครับ
ผมเห็นด้วยว่าไทยจะต้องหาแหล่งพลังงานที่มั่นคงและยั่งยืนกว่าปัจจุบันครับ เกือบทุกๆคนก็คงเข้าใจร่วมกันตรงนี้ พลังงานทางเลือกจึงเป็น megatrend อย่างไม่ต้องสงสัยเลย แต่พลังงานนั้นก็มีหลากหลายแหล่งมาก ทั้งก๊าซ น้ำมัน ถ่านหิน นิวเคลียร์ แสงอาทิตย์ ลม พลังงานชีวภาพ ฯลฯ
ประเด็นที่ถกเถียงกัน คงอยู่ที่ว่าแหล่งพลังงานชนิดใดนั้นเป็น megatrend ที่แท้จริง(ของเมืองไทย)?
ถ้ามองที่นิวเคลียร์ ประเทศที่ประสบความสำเร็จมากๆในนิวเคลียร์คือฝรั่งเศส (ไม่นับญี่ปุ่น เพราะพึ่งมีปัญหาไป) ถ้าพี่ไทยเราจะเอาอย่าง เราก็ต้องมาคิดว่าประเทศเราเหมาะกับพลังงานนี้แค่ไหน ประเด้นที่ต้องคิดหนักเลยคือไทยเราไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีบริษัทที่ชำนาญอย่าง Areva ไม่มีหน่วยงานอย่าง EDF ที่พร้อมจะลงทุนหนักๆเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ถ้าจะให้มาสร้างกันตอนนี้ก็เสียเปรียบฝรั่งเศสไปหลายขุมครับ
ถ้าจะไปด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ก็ต้องดูครับว่าซัพพลายเออร์ในไทยนั้นแข็งแค่ไหน ทุกวันนี้เราไม่ได้บังคับให้ใช้ซัพพลายเออร์ของไทย พอบริษัทจะทำโรงงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ทีนึง ก็มักจะไปซื้อสินค้าจากจีนบ้างยุโรปบ้าง ซื้อเทคโนโลยีเขามาใช้ สุดท้ายซัพพลายเออร์เราสู้เขาไม่ได้ พัฒนาแบบนี้ก็ไม่ยั่งยืนครับ
อาจจะเคยได้ยินว่าเยอรมนีนั้นมีแผนการสร้างไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศทางแอฟรีกาตอนเหนือ แล้วต่อสายส่งไฟฟ้าข้ามทวีปมาเยอรมัน (Desertec) โครงการนี้เป็นโครงการที่วัดแค่ตัวเงินเหมือนจะไม่คุ้ม แต่ผลที่ได้ทางอ้อมคือเทคโนโลยีทางพลังงานที่ล้ำหน้าขึ้น ด้วยการที่เยอรมนีมีบริษัทและมีเทคโนโลยีทางพลังงานแสงอาทิตย์มากอยู่แล้ว สุดท้ายประเทศเขาก็สามารถนำเทคโนโลยีที่ได้รับการต่อยอดนี้ไปขายประเทศอื่นๆได้ต่อ เพราะความได้เปรียบตรงนี้โครงการนี้จึงมีแววในระยะยาวครับ
พลังงานจากเชลล์ก๊าซ ในอเมริกาเขาได้เปรียบมากเพราะมีโครงสร้างท่อก๊าซที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เขาจึงลงสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีนี้ตั้งแต่อดีต ทั้งๆที่มีกระแสต่อต้านมากมายครับว่าจะเป็นอันตรายต่อแหล่งน้ำที่ใช้บริโภค พอมาถึงวันนี้เราก็เห้นกันแล้วครับว่าสำหรับอเมริกานั้น การลงทุนในเทคโนโลยีนี้ได้ผลมากๆ ขณะที่ในยุโรปที่เมืองใหญ่ๆอยู่ติดกันเป็นกระจุกๆ ไม่สามารถพัฒนาได้เร็ว กระแสต่อต้านมาก และสุดท้ายก็เหลวเป๋วจนถึงทุกวันนี้
เรากลับมามองที่เมืองไทย พลังงานไหนที่ไทยเราได้เปรียบ? อะไรที่จะเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่เรามีอยู่แล้วให้มีประโยชน์มากขึ้น?
ในความเห็นผม (ซึ่งน่าจะขัดกับหลายๆคน) ผมมองว่าพลังงานชีวภาพคืออะไรที่ไทยได้เปรียบครับ ทั้ง Biomass และ Biogas เพราะธุรกิจที่เราโดดเด่นคือธุรกิจเกษตรกรรม เช่นธุรกิจน้ำตาล เราสามารถนำกากน้ำตาล นำโมลาซ มาใช้เป้นเชื้อเพลิงพลังงานได้
ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์นั้น ทำให้เรามีขี้หมู ขี้ไก่ เพียงพอที่จะใช้หมักเพื่อเป็นเชื้อเพลิง อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศที่ร้อนชื้น การหมักจึงมีประสิทธิภาพมากกว่าประเทศแถบยุโรปเหนือมากครับ ซึ่งการหมักนี้ก็จะเกิดก๊าซชีวภาพขึ้นมา ใช้ในรถยนต์ก็ได้ ใช้เผาหรือแต่กับ FuelCell แยกเป็นไฟฟ้าก็ได้
การผลิตน้ำมันจากปาล์ม ก็เป็นหนึ่งในความเป็นไปได้ในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อราคายางตกต่ำอย่างนี้ เกษตรกรก็พร้อมที่จะเปลี่ยนไปปลูกปาล์มหากมีการสนับสนุนที่เพียงพอ เทียบกับประเทศอย่างเยอรมัน เราได้เปรียบเขาเยอะครับเพราะประเทศนั้นเขานำเข้าน้ำมันปาล์มไปใช้เป็นไบโอดีเซลสำหรับรถไฟ พอคิดเรื่องค่าขนส่งแล้วก็สุดแสนจะไม่คุ้มเลย ส่วน rapeseed ที่ปลูกได้ก็ใช้พื้นที่เกษตรกรรมเยอะเกินไป สู้เอาพื้นที่ไปปลูกอาหารคนอาจจะดีกว่า จนรัฐบาลเยอรมันต้องลดการสนับสนุนพลังงานไบโอดีเซลไปอีกสักพัก บางสำนักข่าวก็ยังวิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นจุดจบของไบโอดีเซลของเยอรมันครับ เค้าทำไม่คุ้มเท่าไทยหรือบราซิล
สรุป (แบบห้วนๆ) ผมคิดว่าพลังงานทางเลือกนั้นเป็น megatrend ครับ แต่ไม่ใช่ทางเลือกทุกทางนั้นจะถูกต้อง ต้องเลือกให้ดีว่าทางไหนนั้นเราจะไปได้ไกล โดยส่วนตัวผมเลือกทาง biogas/biomass เพราะโครงสร้างเราพร้อมที่สุด
ผมเห็นด้วยว่าไทยจะต้องหาแหล่งพลังงานที่มั่นคงและยั่งยืนกว่าปัจจุบันครับ เกือบทุกๆคนก็คงเข้าใจร่วมกันตรงนี้ พลังงานทางเลือกจึงเป็น megatrend อย่างไม่ต้องสงสัยเลย แต่พลังงานนั้นก็มีหลากหลายแหล่งมาก ทั้งก๊าซ น้ำมัน ถ่านหิน นิวเคลียร์ แสงอาทิตย์ ลม พลังงานชีวภาพ ฯลฯ
ประเด็นที่ถกเถียงกัน คงอยู่ที่ว่าแหล่งพลังงานชนิดใดนั้นเป็น megatrend ที่แท้จริง(ของเมืองไทย)?
ถ้ามองที่นิวเคลียร์ ประเทศที่ประสบความสำเร็จมากๆในนิวเคลียร์คือฝรั่งเศส (ไม่นับญี่ปุ่น เพราะพึ่งมีปัญหาไป) ถ้าพี่ไทยเราจะเอาอย่าง เราก็ต้องมาคิดว่าประเทศเราเหมาะกับพลังงานนี้แค่ไหน ประเด้นที่ต้องคิดหนักเลยคือไทยเราไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีบริษัทที่ชำนาญอย่าง Areva ไม่มีหน่วยงานอย่าง EDF ที่พร้อมจะลงทุนหนักๆเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ถ้าจะให้มาสร้างกันตอนนี้ก็เสียเปรียบฝรั่งเศสไปหลายขุมครับ
ถ้าจะไปด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ก็ต้องดูครับว่าซัพพลายเออร์ในไทยนั้นแข็งแค่ไหน ทุกวันนี้เราไม่ได้บังคับให้ใช้ซัพพลายเออร์ของไทย พอบริษัทจะทำโรงงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ทีนึง ก็มักจะไปซื้อสินค้าจากจีนบ้างยุโรปบ้าง ซื้อเทคโนโลยีเขามาใช้ สุดท้ายซัพพลายเออร์เราสู้เขาไม่ได้ พัฒนาแบบนี้ก็ไม่ยั่งยืนครับ
อาจจะเคยได้ยินว่าเยอรมนีนั้นมีแผนการสร้างไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศทางแอฟรีกาตอนเหนือ แล้วต่อสายส่งไฟฟ้าข้ามทวีปมาเยอรมัน (Desertec) โครงการนี้เป็นโครงการที่วัดแค่ตัวเงินเหมือนจะไม่คุ้ม แต่ผลที่ได้ทางอ้อมคือเทคโนโลยีทางพลังงานที่ล้ำหน้าขึ้น ด้วยการที่เยอรมนีมีบริษัทและมีเทคโนโลยีทางพลังงานแสงอาทิตย์มากอยู่แล้ว สุดท้ายประเทศเขาก็สามารถนำเทคโนโลยีที่ได้รับการต่อยอดนี้ไปขายประเทศอื่นๆได้ต่อ เพราะความได้เปรียบตรงนี้โครงการนี้จึงมีแววในระยะยาวครับ
พลังงานจากเชลล์ก๊าซ ในอเมริกาเขาได้เปรียบมากเพราะมีโครงสร้างท่อก๊าซที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เขาจึงลงสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีนี้ตั้งแต่อดีต ทั้งๆที่มีกระแสต่อต้านมากมายครับว่าจะเป็นอันตรายต่อแหล่งน้ำที่ใช้บริโภค พอมาถึงวันนี้เราก็เห้นกันแล้วครับว่าสำหรับอเมริกานั้น การลงทุนในเทคโนโลยีนี้ได้ผลมากๆ ขณะที่ในยุโรปที่เมืองใหญ่ๆอยู่ติดกันเป็นกระจุกๆ ไม่สามารถพัฒนาได้เร็ว กระแสต่อต้านมาก และสุดท้ายก็เหลวเป๋วจนถึงทุกวันนี้
เรากลับมามองที่เมืองไทย พลังงานไหนที่ไทยเราได้เปรียบ? อะไรที่จะเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่เรามีอยู่แล้วให้มีประโยชน์มากขึ้น?
ในความเห็นผม (ซึ่งน่าจะขัดกับหลายๆคน) ผมมองว่าพลังงานชีวภาพคืออะไรที่ไทยได้เปรียบครับ ทั้ง Biomass และ Biogas เพราะธุรกิจที่เราโดดเด่นคือธุรกิจเกษตรกรรม เช่นธุรกิจน้ำตาล เราสามารถนำกากน้ำตาล นำโมลาซ มาใช้เป้นเชื้อเพลิงพลังงานได้
ธุรกิจการเลี้ยงสัตว์นั้น ทำให้เรามีขี้หมู ขี้ไก่ เพียงพอที่จะใช้หมักเพื่อเป็นเชื้อเพลิง อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศที่ร้อนชื้น การหมักจึงมีประสิทธิภาพมากกว่าประเทศแถบยุโรปเหนือมากครับ ซึ่งการหมักนี้ก็จะเกิดก๊าซชีวภาพขึ้นมา ใช้ในรถยนต์ก็ได้ ใช้เผาหรือแต่กับ FuelCell แยกเป็นไฟฟ้าก็ได้
การผลิตน้ำมันจากปาล์ม ก็เป็นหนึ่งในความเป็นไปได้ในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อราคายางตกต่ำอย่างนี้ เกษตรกรก็พร้อมที่จะเปลี่ยนไปปลูกปาล์มหากมีการสนับสนุนที่เพียงพอ เทียบกับประเทศอย่างเยอรมัน เราได้เปรียบเขาเยอะครับเพราะประเทศนั้นเขานำเข้าน้ำมันปาล์มไปใช้เป็นไบโอดีเซลสำหรับรถไฟ พอคิดเรื่องค่าขนส่งแล้วก็สุดแสนจะไม่คุ้มเลย ส่วน rapeseed ที่ปลูกได้ก็ใช้พื้นที่เกษตรกรรมเยอะเกินไป สู้เอาพื้นที่ไปปลูกอาหารคนอาจจะดีกว่า จนรัฐบาลเยอรมันต้องลดการสนับสนุนพลังงานไบโอดีเซลไปอีกสักพัก บางสำนักข่าวก็ยังวิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นจุดจบของไบโอดีเซลของเยอรมันครับ เค้าทำไม่คุ้มเท่าไทยหรือบราซิล
สรุป (แบบห้วนๆ) ผมคิดว่าพลังงานทางเลือกนั้นเป็น megatrend ครับ แต่ไม่ใช่ทางเลือกทุกทางนั้นจะถูกต้อง ต้องเลือกให้ดีว่าทางไหนนั้นเราจะไปได้ไกล โดยส่วนตัวผมเลือกทาง biogas/biomass เพราะโครงสร้างเราพร้อมที่สุด
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 1837
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 62
อธิบายไปตั้งยืดตั้งยาวก็ยังมิวายมีคนคิดเปรียบเทียบไทยให้เหมือนกับเยอรมัน มันจะเป็นไปได้ไง- อยากให้ดูตัวอย่าง เยอรมัน เค้ามีความคิดว่าจะเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลีย์ให้หมด รัฐบาลกำหนดให้ ทุกคนทำ Solar roof ได้เสรี มีกฎหมายจัดลำดับความสำคัญ ว่าการไฟฟ้าต้องรับซื้อไฟฟ้า Solar roof จากชาวบ้านเป็นอันดับแรก ก่อนโรงไฟฟ้าอย่างอื่น
- พอถึงฤดูร้อนเค้าปลูกต้น rapeseed เอาเมล็ดมาสกัดน้ำมันพืชทำไบโอดีเซลกันเต็มทุ่งครับ (เมล็ดที่เหลือเอาไปทำอาหารสัตว์ได้)
- เรื่องไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ผลิตไม่ได้ตลอดวัน ทางเยอรมันเค้ากำลังวิจัยว่า จะเอาไฟฟ้าที่ได้ตอนกลางวัน ไปแยกน้ำออกเป็น ไฮโดรเจน กับออกซิเจน อัดเก็บไว้ พอช่วงมืด เอาก๊าซทั้งสองตัวมารวมกันได้น้ำกับไฟฟ้ามาใช้ (Fuel cell) ค่าไฟแพงขึ้นแน่ๆ แต่เค้ายอมเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน
ความเจริญ วุฒิภาวะ การศึกษา ฐานะ มันช่างต่างกันลิบลับ ยิ่งR&Dไม่ต้องพูดถึง ไม่เคยคิดลงทุนด้านนี้เลย
บ้านเราประชากรกว่าสิบล้านครัวเรือนยังใช้ไฟฟ้าฟรีกันอยู่เลย ภาษีก็ไม่เคยต้องเสีย แต่ยังแบมือรอเงินสนับสนุนจากราชการ แล้วชาตินี้ใครมันจะคิดที่จะประหยัด ใครมันจะแคร์ว่าต้นทุนพลังงานมันจะแพงแค่ไหน
สุดท้ายก็ต่างคนต่างฉวยโอกาสตักตวงผลประโยชน์จาก mega trend นี้กันทั้งนั้น อนาคตลูกหลานช่างมัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1154
- ผู้ติดตาม: 1
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 63
เบรกโซลาร์เซลล์ชุมชน 800MW ส่อขัดระเบียบ ก.คลัง
ข่าวเด่นอุตสาหกรรม - เมื่อเร็วๆ นี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ประกาศให้ผู้สนใจยื่นข้อเสนอเพื่อเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน รวมกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ ตามนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในระดับชุมชนเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตพลังงานในรูปแบบกระจายศูนย์ (Distributed Generation : DG) ซึ่งมีแนวโน้มว่าโครงการดังกล่าวอาจจะต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ชุดใหม่อีกครั้ง เนื่องจากเป็นโครงการที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดเก่า รวมถึงล่าสุดมีกระแสจากภาคเอกชนในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนว่า ควรทบทวนเงื่อนไขในโครงการดังกล่าวให้เหมาะสมมากขึ้น
โดยกำหนดรูปแบบการลงทุน เช่น ให้ชุมชนที่สนใจสามารถยื่นขอในแต่ละโครงการไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี มูลค่าลงทุน 58-60 ล้านบาท รวมเงินลงทุนจากโครงการนี้ 48,000 ล้านบาท และสามารถขอรับเงินกู้จากสถาบันการเงินของรัฐ คือ ธนาคารออมสิน หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในสัดส่วนร้อยละ 100 โดยให้กองทุนหมู่บ้าน หรือกองทุนชุมชนเมืองตาม พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 เป็นเจ้าของโครงการ รวมถึงให้ กฟภ.และธนาคารออมสินสนับสนุนและพัฒนาโครงการจนสามารถขายไฟเข้าระบบได้ การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการต้องอยู่ในพื้นที่เหมาะสม เทคโนโลยีต้องได้มาตรฐานตามที่กำหนด สำหรับอัตรารับซื้อไฟฟ้าเป็นรูปแบบ Feed in Tariff (FIT) แบ่งเป็นปีที่ 1-3 ที่ 9.75 บาท/หน่วย ปีที่ 4-10 ที่ 6.50 บาท และปีที่ 11-12 ที่ 4.50 บาท/หน่วย ผลตอบแทนการลงทุนที่ (Poject.IRR) ที่ 13.6%
แหล่งข่าวจากกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้หารือภายในเพื่อพิจารณาประกาศดังกล่าวของ กฟภ. และสรุปว่าควรให้มีการยกเลิกมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) รวมถึงขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการร่าง TOR ฉบับใหม่ และควรให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้รับผิดชอบเชิญทุกฝ่ายร่วมเป็นกรรมการพิจารณา รวมถึงควรมีตัวแทนจาก ส.อ.ท. สภาหอการค้าไทย และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากโครงการพบว่ามีข้อกังวลใน 7 ประเด็น คือ
(1) โครงการนี้ลงทุนกว่า 50,000 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณอีก 150,000 ล้านบาท ซึ่งอาจกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าในอนาคตหรือไม่
(2) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีลักษณะเป็นรัฐวิสาหกิจ ผู้ขายเป็นภาคเอกชน อาจเข้าข่ายจัดหาของภาครัฐ ดังนั้นควรปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังหรือไม่
(3) บริษัทที่กองทุนตั้งขึ้นใหม่มีฐานะเป็นบริษัทเอกชน การที่รัฐบาลให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้เงินกู้ 100% นั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังหรือไม่
(4) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น กองทุนหมู่บ้าน รับทราบข้อมูลทั่วถึงหรือไม่
(5) หากโครงการไม่ถูกต้องตามระเบียบกระทรวงการคลัง อาจถูกยกเลิกภายหลัง จะเกิดความเสียหายทั้งผู้จำหน่ายหรือผู้รับช่วงต่อโครงการหรือไม่
(6) ชุมชนในรายชื่อท้ายประกาศได้มีการเตรียมพื้นที่ และหากมีการใช้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วเกรงว่าจะได้รับความเสียหาย เนื่องจากมีผู้อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปให้ข้อมูล ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ
(7) อัตรา FIT (Feed in Tariff) ในโครงการนี้สูงกว่าโครงการโซลาร์รูฟท็อป โดยระบุผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ที่ 15-16% ซึ่งระดับที่เอกชนพอใจอยู่ที่ 12% ฉะนั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่ว่า IRR ส่วนต่าง 3% อาจจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้โครงการ คิดเป็นเงิน 15-20 ล้านบาท
เป็นโครงการที่ดี และเอกชนต้องการให้เกิดขึ้น แต่รายละเอียดโครงการต้องปรับให้สมเหตุสมผล เกิดการแข่งขัน กำลังผลิตสูงถึง 800 เมกะวัตต์ ก็ควรมีการจัดสรร เช่น แต่ละกลุ่มบริษัทไม่ควรเกิน 20 โครงการ และไม่ควรกำหนดว่าแต่ละโครงการต้องมีกำลังผลิต 1 เมกะวัตต์ ควรขึ้นอยู่ที่ความพร้อม เช่น 500 กิโลวัตต์ ก็สามารถทำโครงการได้ เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชนจริงๆ
ล่าสุด นายนำชัย หล่อวัฒนตระกูล ผู้ว่าการ กฟภ. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ระงับโครงการนี้ไปก่อน เนื่องจากต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่แต่งตั้งใหม่ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งว่าจะให้เดินหน้าโครงการต่อ หรือควรมีการปรับแก้ไขรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างไร สำหรับโครงการนี้เน้นการกระจายรายได้ให้ชุมชน จึงต้องกำหนดให้ผลตอบแทนการลงทุนที่สูงกว่าโครงการอื่นๆ ซึ่งชุมชนที่เสนอโครงการจะเป็นการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟภ. ไม่ใช่เอกชน ในระหว่างพัฒนาโครงการ กฟภ.ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาความเหมาะสมของเทคโนโลยีให้ด้วย ส่วนแต่ละชุมชนจะเลือกเทคโนโลยีจากบริษัทรายใด ขึ้นอยู่กับการเจรจาทางธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าโครงการนี้อาจจะต้องปรับใน 2 ประเด็น คือ แหล่งเงินทุน และเจ้าของโครงการที่เดิมนั้นมีเพียงชุมชนถือหุ้น 100% นั้นอาจจะไม่มีความคล่องตัวในการลงทุน โดยอาจจะปรับให้เอกชนรวมถึง กฟภ.เข้ามาร่วมในโครงการได้ด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2557 ที่ผ่านมา มีชุมชนสนใจเข้าร่วมรวม 200 ชุมชน
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
http://www.thewindustry.com/news/energy/1499
ข่าวเด่นอุตสาหกรรม - เมื่อเร็วๆ นี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ประกาศให้ผู้สนใจยื่นข้อเสนอเพื่อเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน รวมกำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ ตามนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในระดับชุมชนเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตพลังงานในรูปแบบกระจายศูนย์ (Distributed Generation : DG) ซึ่งมีแนวโน้มว่าโครงการดังกล่าวอาจจะต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ชุดใหม่อีกครั้ง เนื่องจากเป็นโครงการที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดเก่า รวมถึงล่าสุดมีกระแสจากภาคเอกชนในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนว่า ควรทบทวนเงื่อนไขในโครงการดังกล่าวให้เหมาะสมมากขึ้น
โดยกำหนดรูปแบบการลงทุน เช่น ให้ชุมชนที่สนใจสามารถยื่นขอในแต่ละโครงการไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี มูลค่าลงทุน 58-60 ล้านบาท รวมเงินลงทุนจากโครงการนี้ 48,000 ล้านบาท และสามารถขอรับเงินกู้จากสถาบันการเงินของรัฐ คือ ธนาคารออมสิน หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในสัดส่วนร้อยละ 100 โดยให้กองทุนหมู่บ้าน หรือกองทุนชุมชนเมืองตาม พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 เป็นเจ้าของโครงการ รวมถึงให้ กฟภ.และธนาคารออมสินสนับสนุนและพัฒนาโครงการจนสามารถขายไฟเข้าระบบได้ การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการต้องอยู่ในพื้นที่เหมาะสม เทคโนโลยีต้องได้มาตรฐานตามที่กำหนด สำหรับอัตรารับซื้อไฟฟ้าเป็นรูปแบบ Feed in Tariff (FIT) แบ่งเป็นปีที่ 1-3 ที่ 9.75 บาท/หน่วย ปีที่ 4-10 ที่ 6.50 บาท และปีที่ 11-12 ที่ 4.50 บาท/หน่วย ผลตอบแทนการลงทุนที่ (Poject.IRR) ที่ 13.6%
แหล่งข่าวจากกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้หารือภายในเพื่อพิจารณาประกาศดังกล่าวของ กฟภ. และสรุปว่าควรให้มีการยกเลิกมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) รวมถึงขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการร่าง TOR ฉบับใหม่ และควรให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้รับผิดชอบเชิญทุกฝ่ายร่วมเป็นกรรมการพิจารณา รวมถึงควรมีตัวแทนจาก ส.อ.ท. สภาหอการค้าไทย และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากโครงการพบว่ามีข้อกังวลใน 7 ประเด็น คือ
(1) โครงการนี้ลงทุนกว่า 50,000 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณอีก 150,000 ล้านบาท ซึ่งอาจกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าในอนาคตหรือไม่
(2) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีลักษณะเป็นรัฐวิสาหกิจ ผู้ขายเป็นภาคเอกชน อาจเข้าข่ายจัดหาของภาครัฐ ดังนั้นควรปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังหรือไม่
(3) บริษัทที่กองทุนตั้งขึ้นใหม่มีฐานะเป็นบริษัทเอกชน การที่รัฐบาลให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้เงินกู้ 100% นั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังหรือไม่
(4) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น กองทุนหมู่บ้าน รับทราบข้อมูลทั่วถึงหรือไม่
(5) หากโครงการไม่ถูกต้องตามระเบียบกระทรวงการคลัง อาจถูกยกเลิกภายหลัง จะเกิดความเสียหายทั้งผู้จำหน่ายหรือผู้รับช่วงต่อโครงการหรือไม่
(6) ชุมชนในรายชื่อท้ายประกาศได้มีการเตรียมพื้นที่ และหากมีการใช้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วเกรงว่าจะได้รับความเสียหาย เนื่องจากมีผู้อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปให้ข้อมูล ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ
(7) อัตรา FIT (Feed in Tariff) ในโครงการนี้สูงกว่าโครงการโซลาร์รูฟท็อป โดยระบุผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ที่ 15-16% ซึ่งระดับที่เอกชนพอใจอยู่ที่ 12% ฉะนั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่ว่า IRR ส่วนต่าง 3% อาจจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้โครงการ คิดเป็นเงิน 15-20 ล้านบาท
เป็นโครงการที่ดี และเอกชนต้องการให้เกิดขึ้น แต่รายละเอียดโครงการต้องปรับให้สมเหตุสมผล เกิดการแข่งขัน กำลังผลิตสูงถึง 800 เมกะวัตต์ ก็ควรมีการจัดสรร เช่น แต่ละกลุ่มบริษัทไม่ควรเกิน 20 โครงการ และไม่ควรกำหนดว่าแต่ละโครงการต้องมีกำลังผลิต 1 เมกะวัตต์ ควรขึ้นอยู่ที่ความพร้อม เช่น 500 กิโลวัตต์ ก็สามารถทำโครงการได้ เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชนจริงๆ
ล่าสุด นายนำชัย หล่อวัฒนตระกูล ผู้ว่าการ กฟภ. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ระงับโครงการนี้ไปก่อน เนื่องจากต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่แต่งตั้งใหม่ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้งว่าจะให้เดินหน้าโครงการต่อ หรือควรมีการปรับแก้ไขรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างไร สำหรับโครงการนี้เน้นการกระจายรายได้ให้ชุมชน จึงต้องกำหนดให้ผลตอบแทนการลงทุนที่สูงกว่าโครงการอื่นๆ ซึ่งชุมชนที่เสนอโครงการจะเป็นการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟภ. ไม่ใช่เอกชน ในระหว่างพัฒนาโครงการ กฟภ.ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาความเหมาะสมของเทคโนโลยีให้ด้วย ส่วนแต่ละชุมชนจะเลือกเทคโนโลยีจากบริษัทรายใด ขึ้นอยู่กับการเจรจาทางธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าโครงการนี้อาจจะต้องปรับใน 2 ประเด็น คือ แหล่งเงินทุน และเจ้าของโครงการที่เดิมนั้นมีเพียงชุมชนถือหุ้น 100% นั้นอาจจะไม่มีความคล่องตัวในการลงทุน โดยอาจจะปรับให้เอกชนรวมถึง กฟภ.เข้ามาร่วมในโครงการได้ด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2557 ที่ผ่านมา มีชุมชนสนใจเข้าร่วมรวม 200 ชุมชน
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
http://www.thewindustry.com/news/energy/1499
-
- Verified User
- โพสต์: 572
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 64
การจะพัฒนาประเทศไปทางไหนที่ผ่านมาเราก็ต้องมองประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นแบบอย่างมาปรับใช้ทั้งนั้น เยอรมันเค้ามีเหตุผลที่จะลดด้านนิวเคลียร์หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ก็ดีแล้วเพราะมันเปลี่ยนจากพลังงานที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและกากนิวเคลียร์ มาเป็นพลังงานสะอาดปลอดภัย แล้วประเทศเราจะเอาเหตุผลอะไรที่ไม่เอาพลังแสงอาทิตย์ล่ะครับ จะอ้างว่าเพราะประชาชนยังจนอยู่ต้องใช้แบบเก่าๆต่อไปผมว่ามันแปล่งๆนะ ปัญหาเดียวคือราคาแพงก็หาวิธีทำให้มันถูกสิครับ ผมว่าสร้างการแข่งขันและยืดระยะเวลารับซื้อให้ยาวๆคือทางแก้
-
- Verified User
- โพสต์: 1837
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 65
ก็น่าจะแก้ไม่ถูกทางอีกเช่นเคยนะครับ เพราะปัญหามันอยู่ที่ว่าพลังงานแสงอาทิตย์ ผลผลิตต่อว่ามันต่ำและไม่มีเสถียรภาพ ในขณะที่เราก็ไม่มีโรงไฟฟ้าแบบเก่ามารองรับ เหมือนที่ประเทศที่กำลังการผลิตเหลือใช้เขามีกัน รวมไปถึงการไม่มีเงินทำR&Dเพื่อหาทางแก้ไข ดังนั้นการสร้างการแข่งขันและยืดเวลารับซื้อให้ยาวๆจึงเป็นการเกาไม่ถูกจุดแล้วประเทศเราจะเอาเหตุผลอะไรที่ไม่เอาพลังแสงอาทิตย์ล่ะครับ จะอ้างว่าเพราะประชาชนยังจนอยู่ต้องใช้แบบเก่าๆต่อไปผมว่ามันแปล่งๆนะ ปัญหาเดียวคือราคาแพงก็หาวิธีทำให้มันถูกสิครับ ผมว่าสร้างการแข่งขันและยืดระยะเวลารับซื้อให้ยาวๆคือทางแก้
ถ้าจะแก้ต้องแก้ที่ปัญหาพื้นฐานก่อน ว่าประเทศเรายังมีกำลังการผลิตไฟฟ้าแบบถูกๆไม่เพียงพอ เพราะประชาชนขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ต่อต้านโรงไฟฟ้าแบบถ่านหินสะอาด โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และไม่มีการผลักดันการประหยัดพลังงานกันอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
ส่วนตัวแล้วผมอยากให้บ้านเราเจอblack outบ่อยๆ ถึงขนาดโดนบังคับดับไฟฟ้าเป็นช่วงเวลาหรือที่เรียกว่าrolling black outเลยยิ่งดี จะได้รู้ซึ้งถึงสัจธรรมของปัญหากันสักที แทนที่จะคันหัวแต่เกาตูดกันแบบทุกวันนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 66
ดูข้อมูลนี้สิครับ
แนบไฟล์
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 67
นี้อีกครับ ทำไมเขาถึงเสอนข้อมูลแบบนี้ะครับ ถ้าประเทศเราเหมาะกับไฟฟ้าชีวมวล
แนบไฟล์
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 68
แหล่งที่มา 56-1 ppp
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 69
. ขอบคุณครับPower Investor เขียน:โรงไฟฟ้าทุกประเภททื่กระบวนการผลิตมีการเผาไหม้ การเผาไหม้นื้จะทำให้เกิดแก๊สคาบอนหรือCO2 ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนพลังงาน biogas biomass นี้มันเป็นพลังงานที่ทำให้โลกร้อนรึเปล่าครับ
ดังนั้นนอกจากพลังงานจากน้ำแสงอาทิตย์และลม ก็จะมีพลังงานไฟฟ้าความร้อนจากใต้พี้นพิภพ (geothermal power) กับพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ (nuclear power) ที่ไม่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนเพราะไม่มีกระบวนการเผาไหม้เท่านั้นครับ แต่สองอย่างหลังนี่ไม่ได้เกิดในบ้านเราแน่นอนครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 70
ผมอ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจครับ ว่ามันเกี่ยวกับการไม่เหมาะสมของชีวมวลยังไงหรือครับ?cyber-shot เขียน:นี้อีกครับ ทำไมเขาถึงเสอนข้อมูลแบบนี้ะครับ ถ้าประเทศเราเหมาะกับไฟฟ้าชีวมวล
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 72
งั้นที่ผมเข้าใจนะ พลังงานที่มีปัญหาให้โรงร้อนนี้มาจากพลังงานฟอสซิล (fossil based energy ) ที่เกิดจากการถับถมของซากสัตว์ใช่มั้ยครับ. คือผมไม่ได้เรียนวิท มาครับ biomass biogas นี้ถือเป็น green energy ได้มั้ยครับ ยังไงผมก็มองว่าพลังงานสีเขียวคือ mega trendPaul Octopus เขียน:ต้องตอบว่าทำให้โลกร้อนน้อยมากcyber-shot เขียน:พลังงาน biogas biomass นี้มันเป็นพลังงานที่ทำให้โลกร้อนรึเปล่าครับ
สาเหตุที่โลกร้อนขึ้นมาจาก Gas ที่ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบของ Carbon เช่น CO หรือ CO2
ประเด็นมันอยู่ที่ว่า Biogas หรือ Biomass ได้จากพืชที่เราปลูกขึ้น ไม่ใช่ขุดจากใต้ดินขี้นมา
พืช เริ่มจากเม็ด อาศัยธาตุอาหารหลักๆ เพียง 3 ตัว คือ N, P, K
อาศัยพลังงานจากแสงแดดผ่านขบวนการทางเคมี (โคโรฟีล...เขียนไม่ถูกครับภาษาไทย ) เพื่อดึงเอา Carbon ในอากาศที่อยู่ในรูปของ CO หรือ CO2 ฯลฯ
พืชใช้ Carbon มาสร้างโครงสร้างให้กับตัวเอง ให้เติบโตขึ้น โตขึ้นๆ
เมื่อโตมากพอก็จะให้ผล เมล็ด ฯลฯ (ซี่งก็เป็นองประกอบของ Carbon เช่นกัน)
ดังนั้นการเอาพืชที่ปลูกขึ้นมาเผา หรือ หมัก (เพื่อให้เป็นพลังงาน) เป็นเพียงการทำให้ Carbon กลับไปในบรรยากาศอีกครั้งหนี่ง เป็นการกลับไปสู่จุดที่เหมือนตอนที่ต้นไม้ต้นนี้เป็นเพียงเมล็ด
แต่เราจะได้พลังงานจากการเผาใหม้ เป็นปฎิกริยาทางเคมี (ซี่งก็คือพลังงานแสงอาทิตย์ที่พืชเอามาใช้เพื่อดึงเอา Carbon ในอากาศมาสร้างเป็นโครงสร้างของตัวเองนั่นเอง)
ในทางเทคนิคเราถือว่า biomass เป็น "Zero Carbon Footprint" หรือ อีกนัยหนี่งไม่สร้าง กาซเรือนกระจก
แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราเอา Carbon จากพื้นโลกออกมาไม่ว่าจะเป็น จาก Shale Gas, Conventional Gas, Crude Oil, Coal หรือ แม้แต่ Methane Hydrate (ซี่ง BP อ้างไว้ว่าอีก 15 ปีจะมีเทคโนโลยี่เอาขึ้นมาใช้ได้แล้ว) เป็นการเพิ่มปริมาณ Carbon ในอากาศมากขึ้น ซี่งจะทำให้โลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาที่รุ่นลูกเราทุกคนต้องเผชิญ
สรุปก็คือ Biomass ในเชิงเทคนิค เป็นการเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้โดยให้พืชเป็นตัวกลางให้กับเรา และในทางเทคนิคอีกเช่นกัน Solar Cell ที่มนุษย์สร้างในปัจจุบัน ยังมีประสิทธิภาพห่างไกลจาก โคโรฟีล ของพืชมากมายนักในการเปลี่ยนจากแสงแดดเป็นพลังงาน......
ประเทศที่มีฝนแปดแดดสี่อย่างเราโชคดีมากที่สุดแล้ว อย่าพึ่งหลงไหล Solar หรือ Wind Turbine กันนัก เลย
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 73
ผมว่าเขาบอกโดยนัยครับ บวกกับข้อมูลในระยะยาวที่ว่าพลังงานแสง จะมีสัดส่วนมากสุดของพลังงานทดแทน เหมือนแผนแม่บทภาครัฐในระยะยาวเลยนะครับ ถ้าเข้าใจไม่ผิด ทำไมรัฐไม่ให้ biomass มีสัดส่วนเยอะสุดถ้ามันเหมาะกับประเทศvim เขียน:ผมอ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจครับ ว่ามันเกี่ยวกับการไม่เหมาะสมของชีวมวลยังไงหรือครับ?cyber-shot เขียน:นี้อีกครับ ทำไมเขาถึงเสอนข้อมูลแบบนี้ะครับ ถ้าประเทศเราเหมาะกับไฟฟ้าชีวมวล
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 75
นี้มันอะไรกันประเทศไทย ผมมองว่าแผนพวกนี้ไม่ใช่ใครอยากเขียนก็เขียนออกมา กว่า จะออกมาเป็นอยากงี้ น่าจะผ่านการศึกษาวิจัยจากหน่วยงานหรือองค์ต่างๆมาก่อนที่จะมาเป็นแผน ซึ่งองค์กรพวกนี้ก็น่าจะศึกษาโดยนักวิชาการที่หลาดหลายอาชืพ ทำเล่นๆไม่ได้เพราะนี้คือระดับประเทศ
แนบไฟล์
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 76
ไม่พูดเรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองดีกว่าครับ แต่อยากจะชี้ว่าแผนที่หยิบมามันเก่าแล้วครับ เข้าใจว่าสมัยนั้นยังมีให้แอดเดอร์อยู่เลย ตอนนี้มันเปลี่ยนไปมาก PDP2012 ที่เสนอกันก็ให้น้ำหนักกับชีวมวลมากขึ้นcyber-shot เขียน:นี้มันอะไรกันประเทศไทย ผมมองว่าแผนพวกนี้ไม่ใช่ใครอยากเขียนก็เขียนออกมา กว่า จะออกมาเป็นอยากงี้ น่าจะผ่านการศึกษาวิจัยจากหน่วยงานหรือองค์ต่างๆมาก่อนที่จะมาเป็นแผน ซึ่งองค์กรพวกนี้ก็น่าจะศึกษาโดยนักวิชาการที่หลาดหลายอาชืพ ทำเล่นๆไม่ได้เพราะนี้คือระดับประเทศ
อยากให้มองไปถึงภาคขนส่งด้วยครับ ซึ่งเป้นพลังงานอีกครึ่งนึงที่เราใช้กัน ซึ่งทางนั้นนี่เราพัฒนาไปเยอะแล้วครับ ยุโรป E10 ก็หรูแล้ว เราใช้ E25, E85
Vi IMrovised
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 77
แผนพวกนี้มันมาจากองค์กรอิสระที่ไหนหล่ะ
กฟผ.เขียนขึ้นมาเอง ซึ่งรัฐวิสาหกิจก็ขุมทรัพย์นักการเมืองผู้มีอิทธิพลทั้งนั้น
ไทยเหมาะกับอะไร ดูที่รัฐไม่ต้องชดเชยหรือบิดเบือนราคาสิครับ
ปล้นประชาชนผ่านนโยบายรัฐ ยังไม่รู้อีกเหรอครับ
กฟผ.เขียนขึ้นมาเอง ซึ่งรัฐวิสาหกิจก็ขุมทรัพย์นักการเมืองผู้มีอิทธิพลทั้งนั้น
ไทยเหมาะกับอะไร ดูที่รัฐไม่ต้องชดเชยหรือบิดเบือนราคาสิครับ
ปล้นประชาชนผ่านนโยบายรัฐ ยังไม่รู้อีกเหรอครับ
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 78
แต่รู้สึกว่าระยะยาวเราจะไปทาง solar นะครับ http://www.egat.co.th/en/images/about-e ... v3-Eng.pdf
แนบไฟล์
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 79
http://www.energysavingmedia.com/news/p ... 7&cno=2175. ต่างมุมมองครับ บ้างเว็บก็บอกว่าดี
แนบไฟล์
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 80
ครับ พลังงานแสงอาทิตย์ก็ยังอยู่ เหมือนกับที่พลังงานกําซธรรมชาติ หรือพลังงานถ่านหินที่ยังอยู่ครับ แผนเราเป้นแบบนั้น ถ้าบริษัทหยิบมาบอกว่าบริษัทยังไปได้ดีเพราะมันอยู่ในแผน PDP บริษัทก็พูดไม่ผิดครัcyber-shot เขียน:แต่รู้สึกว่าระยะยาวเราจะไปทาง solar นะครับ http://www.egat.co.th/en/images/about-e ... v3-Eng.pdf
แต่ความเห็นของผมคือแผน PDP มันจะช้ากว่าสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ ปีที่แล้วผมไปประชุมวิชาการเรื่องพลังงาน กลุ่มข้าราชการและรองปลัดกระทรวงที่บินมาจากไทยท่านยังไม่ทราบเรื่องสถานการณ์แผง PV เลยครับว่าบริษัทผลิตเดิมเค้าเจ๊งกันแล้ว การประเมินวางแผนงานช่วงนั้นยังยึดกับราคาประเมินก่อนบริษัทเจ๊งอยู่เลย ขณะที่เทคโนโลยีมันเปลี่ยนไปเยอะมาก แผนพวกนี้มันเลยต้องทำการ revise บ่อยๆให้เข้ากับสถานการณ์เทคโนโลยีปัจจุบันครับ
โดยส่วนตัวผมชอบพลังงานแสงอาทิตย์นะครับ พยายามสนับสนุนให้ทำตามแผนด้วย แต่กฎเกณฑ์ทางปฎิบัติมันต้องแก้ไขไม่ให้มีช่องว่าง และต้องระวังอย่าไปพึ่งซัพพลายเออร์ต่างประเทศจนเกินไป ไม่งั้นก็ต้องซื้อเทคโนโลยีเค้ามาเรื่อยๆ ราคาต่อหน่วยแพงมาก แทนที่จะพัฒนาใช้กันเองให้เงินหมุนเวียนครับ
ผมอยากยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ว่าเราเสียเปรียบต่างชาติแค่ไหน เช่น การใช้แผง pv นี่บริษัทในไทยหลายบริษัทก็ซื้อแผง pv มาตรงๆเลยจากผู้ผลิตต่างประเทศครับ ขณะที่บริษัทในบางประเทศเขาผลิตแผง pv เอง ถ้าเขามาทำเองต้นทุนจะถูกกว่า
บางเจ้าผลิตเครื่องเคลือบฟิลม์เอง พอเคลือบได้ถูก ก็ทำราคาแผงได้ถูก ต้นทุนก็จะต่ำกว่าเจ้าที่กล่าวๆมาอีก
บางเจ้ายิ่งกว่านั้น หลอมผลึกขึ้นมาเองเลย แล้วค่อยตัดและเคลือบฟิลม์ ทำเป็นโมดูล กลุ่มนี้ได้ต้นทุนถูกสุดๆ (และเป็นหุ้นพลังงานทางเลือกที่ต่างชาตินิยมซื้อกัน)
ถ้าแข่งขันกันด้านพลังงานจริงๆ กลุ่มสุดท้ายนี้จะได้เปรียบที่สุดครับ เป้นบริษัทต่างประเทศที่เขาทำราคาได้ถูกที่สุด ซึ่งเป็นความเศร้าใจของไทยที่โครงสร้างเราไม่มีธุรกิจกลุ่มนี้เป็นพื้นฐานเลย เราซื้อเป็นหลัก ตรงนี้เลยเป็นช่องว่างของการสนับสนุนพลังงานแสงอาทิตย์ที่เราเจอๆกันครับ
สรุปสั้นๆคือ ไทยนั้นมีแสงแดดเยอะ อาจจะผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ต่อแผงสูง แต่ต้นทุนแผงของเรานั้นก็สูงเป็นอันดับต้นๆ ถ้าลดต้นทุนไม่ได้ก็แข่งขันได้ยากครับ
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 81
ครับ ดังนั้นในระยะยาว ภาครัฐคงให้ความสำคัญกับ พลังงาน แสง และ ลม มากเป็นอันดับต้นๆ ดังนั้นบริษัทที่เกี่ยวกับธุรกิจพวกนี้ คงได้ประโยชน์จากการสนับสนุนของภาครัฐ วิเคราะจากข้อมูลที่มี ภาพคราวๆน่าจะเป็นอย่างงี้ครัย
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 82
คืองี้ครับ วันนี้ผมอ่าน 56-1 ppp เจอข้อมูลที่เกี่ยวกับกระทู้นี้เลยเอามาแชร์เฉยๆครับ เพื่อเป็นประโยชนฺการลงทุนของทุกท่านครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 83
ผมให้ข้อมูลในมุมของผมน่ะครับ เลยคุยไปเรื่อยไม่ค่อยมีประเด็น ผมไปเห็นต้นทุนผลิตสินค้าของต่างประเทศ พอมาขายให้บริษัทในไทยแล้วมันแพงขึ้นหลายเท่าตัว เห็นแล้วเลยกลัวๆว่ามันจะไปอย่างไม่ยั่งยืนครับ มองในฐานะวิศวกร บางทีก็เลยพลาดหุ้นบ่อยๆcyber-shot เขียน:คืองี้ครับ วันนี้ผมอ่าน 56-1 ppp เจอข้อมูลที่เกี่ยวกับกระทู้นี้เลยเอามาแชร์เฉยๆครับ เพื่อเป็นประโยชนฺการลงทุนของทุกท่านครับ
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 1217
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 84
ประเทศไทยมีพื้นที่ติดทะเลเป็นอันมาก และปัญหาที่ชายฝั่งถูกกัดเซาะยังมีมาก พลังงานทดแทนที่เรามีมากไม่แพ้ชีวมวลก็คือพลังงานนํ้า ลองคิดดูครับว่่าถ้าคลื่นซัดแต่ละครั้ง แล้วเราเอามอเตอร์เป็นทุ่นอยู่จำนวนมาก เราคงได้พลังงานมากมายและชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะก็ลดความรุนแรงลง เราคิดได้แต่ปฎิบัติไม่ได้ เพราะเราอยู่ในยุคการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเหมือน usa และ japan ในอดีต สุดท้ายเราจะดีขึ้นเหมือนหลายๆประเทศนะครับ ทนเอาหน่อยนะครับ มันเป็นตามกรรมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 86
ชีวมวลก็ดูเหมาะกับเรานะครับ ผมไม่มีพื้นทางวิทย์ ยังไงก็ต้องรออ่านงานวิจัย บทความเชิงวิชาการ มุมมองผู้รู้ แต่ในเมื่อแผนพลังงานของประเทศมาทางนี้ก็ตัองวิเคราะห์กันต่อว่าอุตไหนได้ประโยชน์ ไม่เห็นเป็นไรเลยถ้าจะเห็นต่าง เพราะธรรมชาติมนุษย์ก็เป็นอย่างงี้อยู่แล้วครับ
ลูกหิน เขียน:ต้องขอโทษด้วยนะตรับที่จุดประเด็นเรื่องชีวะมวล ทำให้เกิดข้อขัดแย้งขึ้น ต่อไปผมคงต้องระมัดระวังในการโพสมากขึ้นครับ ขอโทษเพื่อนด้วยนะครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 87
แต่ที่แน่ๆเมื่อเป็นงี้แล้ว อานาคต solar roof top มาแน่เลยครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 1837
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 88
จะเห็นได้ว่า คนที่ไม่เข้าใจ ก็ยังจะไม่เข้าใจอยู่ดี พูดมาตั้งยืดยาวว่าต้นทุนพลังงานทดแทนพวกนี้มันแพง ผลผลิตต่ำและไม่มีเสถียรภาพพอใช้กับความต้องการบ้านเรามากแค่ไหน นี่ยังไม่รวมถึงการเป็นแหล่งหากินของข้าราชการและนักการเมืองเลวๆนะ แต่ก็ยังเชื่อฝังใจว่าภาครัฐคงให้ความสำคัญมากเป็นอับดับต้นๆครับ ดังนั้นในระยะยาว ภาครัฐคงให้ความสำคัญกับ พลังงาน แสง และ ลม มากเป็นอันดับต้นๆ ดังนั้นบริษัทที่เกี่ยวกับธุรกิจพวกนี้ คงได้ประโยชน์จากการสนับสนุนของภาครัฐ วิเคราะจากข้อมูลที่มี ภาพคราวๆน่าจะเป็นอย่างงี้ครัย
ทั้งๆที่ความจริงแล้ว พลังงานที่รัฐจะให้ความสำคัญมากที่สุดคือพลังงานที่ราคาถูก มีปริมาณการผลิตและเสถียรภาพสูงและเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ และมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด นั่นก็คือพลังงานจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด ซึ่งจะเป็นอะไรที่ถูกบรรจุเข้ามาในPDPฉบับหน้าอย่างแน่นอน และในปริมาณที่ย่ิงทำได้เท่าไหร่ยิ่งต้องรับซื้อ เพราะมันสร้างได้ยาก
ดังนั้นสำหรับประเทศไทยที่ยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่ต่ำกว่าปีละ1,000MW พลังงานไฟฟ้าที่ยั่งยืนและจะเป็น mega trend ของไทยโดยแท้จริงคือ clean coal power เท่านั้นครับ ส่วนพลังงานทางเลือกอื่นๆคือแค่ไม้ประดับไว้ให้ปั่นหุ้นในตลาดเท่านั้นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 89
ในความเห็นของคุณ power investor มีมุมมองในเรื่องนี้อย่างไรครับPower Investor เขียน:จะเห็นได้ว่า คนที่ไม่เข้าใจ ก็ยังจะไม่เข้าใจอยู่ดี พูดมาตั้งยืดยาวว่าต้นทุนพลังงานทดแทนพวกนี้มันแพง ผลผลิตต่ำและไม่มีเสถียรภาพพอใช้กับความต้องการบ้านเรามากแค่ไหน นี่ยังไม่รวมถึงการเป็นแหล่งหากินของข้าราชการและนักการเมืองเลวๆนะ แต่ก็ยังเชื่อฝังใจว่าภาครัฐคงให้ความสำคัญมากเป็นอับดับต้นๆครับ ดังนั้นในระยะยาว ภาครัฐคงให้ความสำคัญกับ พลังงาน แสง และ ลม มากเป็นอันดับต้นๆ ดังนั้นบริษัทที่เกี่ยวกับธุรกิจพวกนี้ คงได้ประโยชน์จากการสนับสนุนของภาครัฐ วิเคราะจากข้อมูลที่มี ภาพคราวๆน่าจะเป็นอย่างงี้ครัย
ทั้งๆที่ความจริงแล้ว พลังงานที่รัฐจะให้ความสำคัญมากที่สุดคือพลังงานที่ราคาถูก มีปริมาณการผลิตและเสถียรภาพสูงและเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ และมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด นั่นก็คือพลังงานจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด ซึ่งจะเป็นอะไรที่ถูกบรรจุเข้ามาในPDPฉบับหน้าอย่างแน่นอน และในปริมาณที่ย่ิงทำได้เท่าไหร่ยิ่งต้องรับซื้อ เพราะมันสร้างได้ยาก
ดังนั้นสำหรับประเทศไทยที่ยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่ต่ำกว่าปีละ1,000MW พลังงานไฟฟ้าที่ยั่งยืนและจะเป็น mega trend ของไทยโดยแท้จริงคือ clean coal power เท่านั้นครับ ส่วนพลังงานทางเลือกอื่นๆคือแค่ไม้ประดับไว้ให้ปั่นหุ้นในตลาดเท่านั้นครับ
1. แม้พลังงานถ่านหินจะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะถ้าหากทำเป็นระบบแบบ green แต่ปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้น จะแก้ปัญหาอย่างไร
2. การต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าในเมืองไทยมากขึ้นไม่ว่าจะสร้างโรงไฟฟ้าแบบใด โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ในรอบหลายปีแทบสร้างเพิ่มไม่ได้เลย จนเราต้องหันไปพึ่งพลังงานหลักไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านมากขึ้น รวมถึงการใช้เชื้อเพลิงจากเพื่อนบ้านด้วย การทำพลังงานทดแทนปัจจุบันก็เป็นแค่การเสริมระบบพลังงานเท่านั้น แต่ไม่ใช่พลังงานหลักที่ราคาถูก มีเสถียร แล้วทางออกประเทศไทยจะเป็นอย่างไรที่เป็นไปได้ครับถ้าเราไม่เอาถ่านหินครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลังงานทางเลือก mega trend หรือ กระแสเพียงข้ามคืน?
โพสต์ที่ 90
ถ่านหินกับน้ำมันนี้มันราคาขึ้นลงตามกันมั้ยครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก