Dech เขียน:เราปฏิบัติกรรมฐาน เพื่ออะไรครับ
ในเมื่อก่อนปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านก็สอน ก็บอกไว้หมดแล้ว
คนในยุคนี้ก่อนทำ ก็รู้หมดแล้วว่าทำแล้วถ้าได้ผล สุดท้ายผลจะออกมายังไง
คำตอบสำหรับคำถามหรือผลจากการปฏิบัติก็มีเฉลยแล้วทั้งนั้น
เรามาพิจารณาผลเลยได้หรือเปล่าครับ
เป็นคำถามที่ดีมากเลยครับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตอบว่า ปฏิบัติเพื่อความถึงที่สุดแห่งทุกข์คับ
ทุกข์นั้นคืออะไร ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจทั้งหลาย ความประสบกันสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ
ที่นี้ทุกข์เอง ก็มีเหตุให้เกิดขึ้น มีเหตุให้ดับไป
และความที่เป็นเพราะมี เหตุให้เกิด และ เหตุให้ดับไป
จึงเป็นที่มาของลักษณะของทุกสิ่งคือ
เมื่อสิ่งนี้ “มี” สิ่งนี้ ย่อมมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
เมื่อสิ่งนี้ “ไม่มี” สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.
(จริงไหม? ลองพิจารณาดูได้ครับ ไม่ว่าในศาสตร์ด้านไหนๆ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์
เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เศรษฐกิจ การเมือง แม้แต่การลงทุน)
แล้วก็มีหนทางในการปฏิบัติเพื่อความดับไปของทุกข์ (ที่เรานำมาปฏิบัติกัน นั่นคือ มรรคมีองค์แปดนั้นแหละครับ)
ตัวเราประกอบด้วย ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เราเห็นขันธ์ทั้งห้าทำงานไหม
(ถ้าเปรียบกับทางการแพทย์ และทางจิตวิทยา ก็คือ ด้านร่างกาย และด้านความจำ ความรู้สึก ความคิด การรับรู้-ตีความ ในสมองนั่นเอง)
เราเห็นสัมผัสที่มากระทบทางประสาทสัมผัสทั้งหกไหม มองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส การรับรู้ในใจ
(พระผู้มีพระภาคท่านเรียกว่า อายตนะหก) ว่าพอมีสิ่งต่างๆเข้ามากระทบแล้วเกิดอะไรขึ้น
ผลที่เกิดคือ เราจะเห็นความไม่เที่ยง ความเกิดขึ้น-ดับไป ความที่มีการเกิดขึ้น-ดับไปนั้น เพราะมีเหตุปัจจัย นั่นคือความเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนถาวร
ก็ทำให้ละความยึดมั่นในความเป็นตัวเรา-ของเรา ละความเห็นผิดว่ามีสิ่งอื่นบันดาลให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือเกิดขึ้นได้เอง หรือด้วยความบังเอิญ
หรือแม้กระทั้ง เพราะตัวเราบันดาลให้เกิด
แต่เป็นเพราะสิ่งต่างๆเกิดขึ้นเป็นเพราะ กรรม หรือ สัมผัส ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จนเป็นความเคยชิน เป็นนิสัย
ในด้านต่างๆที่ส่งผลดี ผลเสีย ซึ่ง จะมีผลดี หรือ ผลเสียนั้นตามมา เหมือนกับการ คั้นเมล็ดงา ย่อมได้น้ำมันงา
(เป็นที่ให้ได้ทราบว่า ชีวิตเราไม่ได้ล่องลอยไปเรื่อยๆ แต่เพราะมี สัมผัส หรือ ผัสสะ เราก็ตอบสนองไปตามสิ่งนั้นๆ
โดยความเคยชิน ความเพลิน พอใจ ไม่พอใจ ในสิ่งนั้นๆ จนเผลอไผล ทำให้ตัวเองเดือนร้อนบ้าง ผู้อื่นเดือดร้อนบ้าง
เหมือนควบคุมตัวเองไม่ได้บ้าง ทำให้ชีวิตตกต่ำ หรือ ดีขึ้น วนเวียนกันไป แต่ถ้าผู้ใดได้ปฏิบัติ และ เข้าใจ
ในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าสอน ก็จะเห็นและเข้าใจ แต่ถ้าไม่ได้ฟัง หรือ ไม่เคยได้ปฏิบัติเลย ก็จะวนเวียนไป เหมือน
กับไร้สติ ไปตามสัมผัส ผัสสะต่างๆ ที่น่าพอใจ ไม่น่าพอใจ ยกตัวอย่าง ถ้าเราเป็นนักลงทุน จะเข้าใจได้ชัด
ถึงความกลัวและความโลภ และผลของปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้น ที่ทำให้เราตัดสินใจไปตามสิ่งนั้นๆ แน่นอนถ้าเป็นนักลงทุนที่ผ่านประสบการณ์มามาก
ก็จะเข้าใจ นี่แหละเป็นธรรมส่วนนึง เรารับรู้สิ่งเร้า จากตลาดหุ้น และ แยกมันออกมาได้ โดยไม่ทำตาม แต่เราใช้ เหตุผล ข้อมูล แยกแยะสิ่งต่างๆ
เพราะจิตใจเรา เข้าใจ ไม่ทำตามความกลัวและความโลภไป นี่แหล่ะ ตรงจุดนี้ ถ้าเราสังเกตุ จะเห็นว่า
ก่อนความกลัวและความโลภจะเกิด เรามีสัมผัสกระทบต่อเรื่องนั้นๆที่ก่อให้เกิดความกลัวและความโลภ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างนึงนะคับ
แต่ชีวิตของเรา นอกจากในเรื่องการลงทุน ก็มีเรื่องการดำรงชีวิตในด้านต่างๆ แต่พื้นฐานจะไม่ต่างกัน ลองสังเกตุกันดูในชีวิตประจำวัน
ทั้งของตัวเราเอง และของผู้อื่น แต่ลองสังเกตุเด็กๆดูจะเห็นได้ง่ายมาก หรือ คนแก่บางคน หรือ หัวหน้างาน 555)
ถ้าเราพิจารณาผลที่เราจะได้รับในการปฏิบัติ ก็คือ เรามีความทุกข์น้อยลงไหม มีความรู้สึกตัวมากขึ้นไหม
มีความทันต่ออารมณ์ต่างๆที่มากระทบไหม ไม่หลงไปตามอารมณ์ต่างๆที่มากระทบทางประสาทสัมผัสทั้งหกได้ไหม
แค่นี้ในฐานะมนุษย์-ปุถุชน ก็จะมีความสุข-ความเจริญมากขึ้นๆในการดำรงชีวิตแล้ว
ยิ่งปฏิบัติไปเรื่อยๆ และหาความรู้ในคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าสอน ก็จะเข้าใจยิ่งขึ้นๆได้เอง
ปล. สิ่งที่ผมอธิบายก็จะอยู่ในพระสูตรต่างๆนะคับ มิได้ยกคำขึ้นมาอธิบายเอง นอกจากตัวอย่างในการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ