เตรียมตัวรับมือกับ New High
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
เตรียมตัวรับมือกับ New High
โพสต์ที่ 1
ผมเริ่มต้นตั้งหัวข้อ เพราะได้แรงบันดาลใจจากสภาวะตลาดในช่วงนี้ กับหนังสือ "เก่งเทียมฟ้าหรือแค่โชค" หรือ Fooled by Randomness ของคุณ Nassim Nicholas Taleb รู้สึกอยากเตือนตัวเอง และอยากสะกิดเตือนเพื่อนๆ รวมไปถึงอยากจะให้เพื่อนๆ หากวันดีคืนดีเห็นพฤติกรรมการลงทุนของผมดูแล้วน่ากังขาช่วยสะกิดเตือนตัวผมกลับมาให้ด้วยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่เคยอ่าน รวมไปถึงเพื่อนๆ ที่เคยอ่านแล้ว แม้ว่าหนังสือจะเขียนด้วยถ้อยคำที่ไม่เสนาะหู มีอคติในหลายๆ เรื่อง และมองโลกในแง่ร้าย แต่ก็เป็นยาแก้ขนานเอกสำหรับสภาวะตลาดแบบนี้ ที่ทำให้อคติของเรามีความโน้มเอียงไปทาง overconfidence bias (มั่นใจตัวเองมากเกิน) และอาจทำให้มีผลต่อการลงทุนของเราเป็นอย่างมาก
ในหนังสือจะมีพูดถึงความสำเร็จของนักค้าหุ้นหลายๆ คนในแต่ละช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่อยู่ๆ แล้วพอถึงจังหวะหนึ่งก็กลับล้มเหลว ขาดทุนอย่างรุนแรง จนต้องออกจากตลาดไป และทำการวิเคราะห์ว่าความสามารถในการลงทุนนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ หรือว่าเป็นแค่เพียงโชคที่เข้ามามีผล เป็นเพียงแค่จังหวะของชีวิตที่มาอยู่ถูกที่ถูกทาง รวมไปถึงแนวทางที่พอจะช่วยให้เราคลายความยึดมั่นถือมั่นในความสามารถของตัวเราเองไปได้บ้าง สามารถใช้ประโยชน์จากความน่าจะเป็นของตลาดได้มากขึ้น โดยไม่ถูกอคติของเราครอบงำมากจนเกินไป
แม้ว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจะเกิดจากฝีมือของเราจริงๆ ไม่ใช่แค่โชคช่วย แต่การที่เราปล่อยให้ overconfidence bias มาครอบงำการตัดสินใจของเรา ผมว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เสี่ยง และอาจจะเป็นจุดตายของเรา ทำให้เราไม่สามารถแสดงศักยภาพที่แท้จริงจากความสามารถของเรา
การที่เราจะแสดงศักยภาพ แสดงความสามารถได้ออกมาอย่างเต็มที่ ถ้าดูอย่างในหนังจีนกำลังภายใน หรืออย่างปรัชญาเซ็น จะเกิดขึ้นได้ในจังหวะที่ใจนิ่ง จิตว่าง มีความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ทุกรูปแบบ แม้แต่วิกฤต ซึ่งหากเรามั่นใจในตัวเองมากเกินไป มองโลกในแง่ดีจนเกินไป เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นมาจริงๆ เราอาจจะแสดงศักยภาพของเราในการรับมือกับวิกฤตได้ไม่เต็มที่
ความเป็นจริงในโลกของการลงทุน ความแปรเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน เป็นสิ่งเดียวที่เราสามารถคาดหวังได้ อย่างไรก็ตามการที่เราอยู่ในตลาดมาไม่นานเพียงพอ อาจจะทำให้เราเห็นวัฎจักรการเปลี่ยนแปลงไม่ครบรอบ เห็นแต่ขึ้นยังไม่เห็นลง หรือเห็นขึ้น/ลงแล้ว แต่ยังไม่ได้เห็นขึ้น/ลงแบบรุนแรง หรือแม้ว่าจะเคยเห็นขึ้น/ลงแบบรุนแรงแล้ว แต่ยังไม่เห็นถึงขั้นตลาด ขึ้น/ลง แบบเอาให้ตายกันไปข้าง
ซึ่งการที่ยังไม่เห็น ไม่ได้แปลว่ามันไม่มี และถ้าตอนนี้เรามีความมั่งคั่งถึงระดับหนึ่งแล้ว ผมว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่าการสร้างความมั่งคั่งให้มีมากยิ่งขึ้น คือ การรักษาความมั่งคั่งในระยะยาว เพราะ ความเป็นจริงข้อหนึ่งที่เราควรตระหนักอยู่ตลอดเวลาในการลงทุน คือ มีคนจำนวนมากหมดเนื้อหมดตัวไปจากตลาดหุ้น ดังนั้นถ้าเรามีมากเพียงพอแล้ว เราจะทำอย่างไรถึงจะไม่เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น การได้ย้อนกลับไปศึกษาความล้มเหลว ความผิดพลาด หรือจุดตายของคนที่เคยลงทุนในอดีต จะเป็นเครื่องป้องกันภัยที่ดี ที่จะช่วยรักษาความมั่งคั่งของเราเอา
เครื่องมือในการรับมือความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดที่พระพุทธเจ้าแนะนำ คือ ความไม่ประมาท
หากเรามีความมั่งคั่งมากขนาดหนึ่งแล้ว การที่จะมีมากกว่านี้ มันก็แค่ข้าวของ อาหาร ที่พักอาศัย ที่ดีขึ้นกว่าเดิม แต่วิถีชีวิตก็เหมือนเดิม ในขณะที่หากวันใดวันหนึ่งเกิดวิกฤตขึ้น (โดยเฉพาะวิกฤตแบบที่ไม่มีใครคาดการณ์ unanticipated crisis ซึ่งเมื่อไหร่ที่มันเกิดมันจะรุนแรงมาก) เราจะจำกัดความสูญเสียของเราอย่างไร ไม่ให้วิถีชีวิตของเรามีผลกระทบอย่างรุนแรง ผมว่าศาสตร์หรือองค์ความรู้แบบนี้ เป็นความรู้ที่น่าจะหามาเสริม มาเพิ่มให้เป็นเครื่องมือ เป็นวิชาเอาไว้ติดตัวในช่วงนี้นะครับ
ที่ผมออกมาเขียนนี้ ผมไม่ได้ออกมาเขียนเพื่อที่จะบอกว่า ณ ตอนนี้หุ้นแพง ไม่ควรลงทุน ไม่ได้ออกมาบอกว่าลงทุนตอนนี้มันเสี่ยง แต่ผมกลัวตัวเองจะมั่นใจและยึดมั่นถือมั่นในสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป จนละเลยความปลอดภัย เผลอไปรับความเสี่ยงที่มากเกินกว่าที่เราจะรับได้จริงๆ เพราะ โอกาสอะไรบางอย่างที่มีใครบางคนมาวาดฝันให้เรารู้สึกมั่นใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่เคยอ่าน รวมไปถึงเพื่อนๆ ที่เคยอ่านแล้ว แม้ว่าหนังสือจะเขียนด้วยถ้อยคำที่ไม่เสนาะหู มีอคติในหลายๆ เรื่อง และมองโลกในแง่ร้าย แต่ก็เป็นยาแก้ขนานเอกสำหรับสภาวะตลาดแบบนี้ ที่ทำให้อคติของเรามีความโน้มเอียงไปทาง overconfidence bias (มั่นใจตัวเองมากเกิน) และอาจทำให้มีผลต่อการลงทุนของเราเป็นอย่างมาก
ในหนังสือจะมีพูดถึงความสำเร็จของนักค้าหุ้นหลายๆ คนในแต่ละช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่อยู่ๆ แล้วพอถึงจังหวะหนึ่งก็กลับล้มเหลว ขาดทุนอย่างรุนแรง จนต้องออกจากตลาดไป และทำการวิเคราะห์ว่าความสามารถในการลงทุนนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ หรือว่าเป็นแค่เพียงโชคที่เข้ามามีผล เป็นเพียงแค่จังหวะของชีวิตที่มาอยู่ถูกที่ถูกทาง รวมไปถึงแนวทางที่พอจะช่วยให้เราคลายความยึดมั่นถือมั่นในความสามารถของตัวเราเองไปได้บ้าง สามารถใช้ประโยชน์จากความน่าจะเป็นของตลาดได้มากขึ้น โดยไม่ถูกอคติของเราครอบงำมากจนเกินไป
แม้ว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจะเกิดจากฝีมือของเราจริงๆ ไม่ใช่แค่โชคช่วย แต่การที่เราปล่อยให้ overconfidence bias มาครอบงำการตัดสินใจของเรา ผมว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เสี่ยง และอาจจะเป็นจุดตายของเรา ทำให้เราไม่สามารถแสดงศักยภาพที่แท้จริงจากความสามารถของเรา
การที่เราจะแสดงศักยภาพ แสดงความสามารถได้ออกมาอย่างเต็มที่ ถ้าดูอย่างในหนังจีนกำลังภายใน หรืออย่างปรัชญาเซ็น จะเกิดขึ้นได้ในจังหวะที่ใจนิ่ง จิตว่าง มีความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ทุกรูปแบบ แม้แต่วิกฤต ซึ่งหากเรามั่นใจในตัวเองมากเกินไป มองโลกในแง่ดีจนเกินไป เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นมาจริงๆ เราอาจจะแสดงศักยภาพของเราในการรับมือกับวิกฤตได้ไม่เต็มที่
ความเป็นจริงในโลกของการลงทุน ความแปรเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน เป็นสิ่งเดียวที่เราสามารถคาดหวังได้ อย่างไรก็ตามการที่เราอยู่ในตลาดมาไม่นานเพียงพอ อาจจะทำให้เราเห็นวัฎจักรการเปลี่ยนแปลงไม่ครบรอบ เห็นแต่ขึ้นยังไม่เห็นลง หรือเห็นขึ้น/ลงแล้ว แต่ยังไม่ได้เห็นขึ้น/ลงแบบรุนแรง หรือแม้ว่าจะเคยเห็นขึ้น/ลงแบบรุนแรงแล้ว แต่ยังไม่เห็นถึงขั้นตลาด ขึ้น/ลง แบบเอาให้ตายกันไปข้าง
ซึ่งการที่ยังไม่เห็น ไม่ได้แปลว่ามันไม่มี และถ้าตอนนี้เรามีความมั่งคั่งถึงระดับหนึ่งแล้ว ผมว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่าการสร้างความมั่งคั่งให้มีมากยิ่งขึ้น คือ การรักษาความมั่งคั่งในระยะยาว เพราะ ความเป็นจริงข้อหนึ่งที่เราควรตระหนักอยู่ตลอดเวลาในการลงทุน คือ มีคนจำนวนมากหมดเนื้อหมดตัวไปจากตลาดหุ้น ดังนั้นถ้าเรามีมากเพียงพอแล้ว เราจะทำอย่างไรถึงจะไม่เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น การได้ย้อนกลับไปศึกษาความล้มเหลว ความผิดพลาด หรือจุดตายของคนที่เคยลงทุนในอดีต จะเป็นเครื่องป้องกันภัยที่ดี ที่จะช่วยรักษาความมั่งคั่งของเราเอา
เครื่องมือในการรับมือความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดที่พระพุทธเจ้าแนะนำ คือ ความไม่ประมาท
หากเรามีความมั่งคั่งมากขนาดหนึ่งแล้ว การที่จะมีมากกว่านี้ มันก็แค่ข้าวของ อาหาร ที่พักอาศัย ที่ดีขึ้นกว่าเดิม แต่วิถีชีวิตก็เหมือนเดิม ในขณะที่หากวันใดวันหนึ่งเกิดวิกฤตขึ้น (โดยเฉพาะวิกฤตแบบที่ไม่มีใครคาดการณ์ unanticipated crisis ซึ่งเมื่อไหร่ที่มันเกิดมันจะรุนแรงมาก) เราจะจำกัดความสูญเสียของเราอย่างไร ไม่ให้วิถีชีวิตของเรามีผลกระทบอย่างรุนแรง ผมว่าศาสตร์หรือองค์ความรู้แบบนี้ เป็นความรู้ที่น่าจะหามาเสริม มาเพิ่มให้เป็นเครื่องมือ เป็นวิชาเอาไว้ติดตัวในช่วงนี้นะครับ
ที่ผมออกมาเขียนนี้ ผมไม่ได้ออกมาเขียนเพื่อที่จะบอกว่า ณ ตอนนี้หุ้นแพง ไม่ควรลงทุน ไม่ได้ออกมาบอกว่าลงทุนตอนนี้มันเสี่ยง แต่ผมกลัวตัวเองจะมั่นใจและยึดมั่นถือมั่นในสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป จนละเลยความปลอดภัย เผลอไปรับความเสี่ยงที่มากเกินกว่าที่เราจะรับได้จริงๆ เพราะ โอกาสอะไรบางอย่างที่มีใครบางคนมาวาดฝันให้เรารู้สึกมั่นใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 1119
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เตรียมตัวรับมือกับ New High
โพสต์ที่ 2
เก่งหรือเฮง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 24 ธันวาคม 2551
เหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดและมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวง มักเกิดขึ้นอย่างไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว และโอกาสเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้น
มีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2544 หรือเกือบ 7 ปีที่แล้ว โดยนาซิม นิโคลัส ทาเล็บ (Nassim Nicholas Taleb) ในชื่อเรื่อง Fooled by Ramdomness แปลเป็นภาษาไทยชื่อ "เก่งเทียมฟ้าหรือว่าโชค" คาดว่าคงไม่มีวางจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไปแล้ว หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการประสบความสำเร็จในการลงทุนเป็นเวลาหลายๆ ปีติดต่อกันนั้น อาจทำให้นักลงทุนคิดว่าทั้งหมดเกิดจากความสามารถของตนเองล้วนๆ จนเกิดความมั่นใจในวิธีการลงทุนของตนเอง จึงทุ่มเงินจำนวนมากกับการลงทุนเพื่อทำกำไรเหมือนกับที่เคยทำได้มาก่อน แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น และเพียงแค่ขาดทุนครั้งเดียว อาจทำให้กำไรหรือเงินที่ได้มาสูญไปจนเกือบหมดสิ้น
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดและมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวง มักเกิดขึ้นอย่างไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว และโอกาสเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ จนหลายคนคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เหตุการณ์เช่นนี้นาซิมเรียกว่าปรากฏการณ์ "หงส์ดำ" (The Black Swan) ในสมัยโบราณก่อนที่จะมีการค้นพบทวีปออสเตรเลียนั้น ผู้คนสมัยนั้นเชื่อว่าหงส์ทุกตัวในโลกมีสีขาวเพียงสีเดียว และนักวิทยาศาสตร์รวมทั้งนักธรรมชาติวิทยาในสมัยนั้นต่างออกมาสนับสนุนความเชื่อนี้ แต่การค้นพบหงส์สีดำตัวแรกก็ทำให้นักธรรมชาติวิทยาเหล่านั้นแปลกใจไปตามๆ กัน
สิ่งสำคัญไม่ใช่การค้นพบหงส์ดำตัวนั้น แต่เป็นการแสดงให้เราเห็นว่ามนุษย์มีข้อจำกัดในการเรียนรู้จากข้อสังเกตและประสบการณ์ของเราเอง เพียงแค่ข้อพิสูจน์เพียงครั้งเดียวก็สามารถล้มล้าง "ความเชื่อ" ที่เรายึดถือมาเป็นเวลาหลายร้อยปี อย่างเรื่องของหงส์ขาว สิ่งที่เราต้องการก็เพียงแค่หงส์ดำตัวเดียวเท่านั้น
ปรากฏการณ์ "หงส์ดำ" ประกอบไปด้วยสามองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้
ข้อแรก มันไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ มันเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมาย และอยู่นอกเหนือจากเหตุการณ์ปกติ ข้อมูลต่างๆ ในอดีตไม่สามารถทำนายถึงโอกาสเกิดขึ้นของเหตุการณ์นั้นได้
ข้อสอง ผลกระทบของเหตุการณ์นั้นจะรุนแรงมาก
และข้อสาม เราคิดว่าเราสามารถอธิบายสาเหตุของเหตุการณ์นั้นได้ก็ต่อเมื่อมันผ่านไปแล้ว
นาซิมยกตัวอย่างเหตุการณ์ 9/11 ที่ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์ก เมื่อปี 2544 เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่มีใครคาดการณ์ว่ามันจะเกิดขึ้น ผลกระทบของเหตุการณ์นี้รุนแรงมาก ส่งผลกระทบต่อวิธีดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก รวมถึงการเกิดสงครามอัฟกานิสถานและสงครามอิรักในเวลาต่อมา เราไม่สามารถอธิบายสาเหตุของ 9/11 ได้จนเหตุการณ์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ดังนั้น 9/11 จึงเป็นปรากฏการณ์ "หงส์ดำ"
เช่นเดียวกันเหตุการณ์ "ซับไพร์ม" ที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกลดลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ และผลของมันรุนแรงมากจนทำให้เศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกได้รับผลกระทบ สหรัฐอเมริกา ยุโรปและเอเชียต่างเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยกันถ้วนหน้า เราสามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ "หงส์ดำ" เช่นเดียวกัน นักลงทุนที่ไม่ได้เตรียมตัวกับเหตุการณ์นอกเหนือความคาดหมายเช่นนี้ย่อมต้องได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นึกย้อนกลับมาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทยในช่วงเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา จะพบว่า ตลาดหุ้นไทยลดลงมากกว่า 50% ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ขาดทุนกับการลงทุนในตลาดหุ้น จำนวนไม่น้อยต้อง "คืนกำไร" ที่หาได้ในช่วงหลายปีกลับให้ตลาดหุ้น ทั้งๆ ที่นักลงทุนเหล่านั้นต่างทำกำไรได้เป็นจำนวนมากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จนทำให้คิดว่าที่ประสบความสำเร็จนั้นมาจาก "ฝีมือ" ของตนล้วนๆ แต่แล้วเหตุการณ์ซับไพร์มและความไม่มั่นคงทางการเมืองของไทย ก็ตอกย้ำให้นักลงทุนทั้งหลายรู้ว่า สิ่งที่ผ่านมานั้น เป็นเพราะความเก่งหรือเฮงของตนเองกันแน่ บางครั้งนาซิมอาจพูดถูกที่กล่าวเอาไว้ว่า บางครั้งการประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้น อาจมาจาก "โชค" ล้วนๆ ก็เป็นไปได้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 24 ธันวาคม 2551
เหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดและมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวง มักเกิดขึ้นอย่างไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว และโอกาสเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้น
มีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2544 หรือเกือบ 7 ปีที่แล้ว โดยนาซิม นิโคลัส ทาเล็บ (Nassim Nicholas Taleb) ในชื่อเรื่อง Fooled by Ramdomness แปลเป็นภาษาไทยชื่อ "เก่งเทียมฟ้าหรือว่าโชค" คาดว่าคงไม่มีวางจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไปแล้ว หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการประสบความสำเร็จในการลงทุนเป็นเวลาหลายๆ ปีติดต่อกันนั้น อาจทำให้นักลงทุนคิดว่าทั้งหมดเกิดจากความสามารถของตนเองล้วนๆ จนเกิดความมั่นใจในวิธีการลงทุนของตนเอง จึงทุ่มเงินจำนวนมากกับการลงทุนเพื่อทำกำไรเหมือนกับที่เคยทำได้มาก่อน แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น และเพียงแค่ขาดทุนครั้งเดียว อาจทำให้กำไรหรือเงินที่ได้มาสูญไปจนเกือบหมดสิ้น
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดและมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวง มักเกิดขึ้นอย่างไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว และโอกาสเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ จนหลายคนคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เหตุการณ์เช่นนี้นาซิมเรียกว่าปรากฏการณ์ "หงส์ดำ" (The Black Swan) ในสมัยโบราณก่อนที่จะมีการค้นพบทวีปออสเตรเลียนั้น ผู้คนสมัยนั้นเชื่อว่าหงส์ทุกตัวในโลกมีสีขาวเพียงสีเดียว และนักวิทยาศาสตร์รวมทั้งนักธรรมชาติวิทยาในสมัยนั้นต่างออกมาสนับสนุนความเชื่อนี้ แต่การค้นพบหงส์สีดำตัวแรกก็ทำให้นักธรรมชาติวิทยาเหล่านั้นแปลกใจไปตามๆ กัน
สิ่งสำคัญไม่ใช่การค้นพบหงส์ดำตัวนั้น แต่เป็นการแสดงให้เราเห็นว่ามนุษย์มีข้อจำกัดในการเรียนรู้จากข้อสังเกตและประสบการณ์ของเราเอง เพียงแค่ข้อพิสูจน์เพียงครั้งเดียวก็สามารถล้มล้าง "ความเชื่อ" ที่เรายึดถือมาเป็นเวลาหลายร้อยปี อย่างเรื่องของหงส์ขาว สิ่งที่เราต้องการก็เพียงแค่หงส์ดำตัวเดียวเท่านั้น
ปรากฏการณ์ "หงส์ดำ" ประกอบไปด้วยสามองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้
ข้อแรก มันไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ มันเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมาย และอยู่นอกเหนือจากเหตุการณ์ปกติ ข้อมูลต่างๆ ในอดีตไม่สามารถทำนายถึงโอกาสเกิดขึ้นของเหตุการณ์นั้นได้
ข้อสอง ผลกระทบของเหตุการณ์นั้นจะรุนแรงมาก
และข้อสาม เราคิดว่าเราสามารถอธิบายสาเหตุของเหตุการณ์นั้นได้ก็ต่อเมื่อมันผ่านไปแล้ว
นาซิมยกตัวอย่างเหตุการณ์ 9/11 ที่ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์ก เมื่อปี 2544 เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่มีใครคาดการณ์ว่ามันจะเกิดขึ้น ผลกระทบของเหตุการณ์นี้รุนแรงมาก ส่งผลกระทบต่อวิธีดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก รวมถึงการเกิดสงครามอัฟกานิสถานและสงครามอิรักในเวลาต่อมา เราไม่สามารถอธิบายสาเหตุของ 9/11 ได้จนเหตุการณ์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ดังนั้น 9/11 จึงเป็นปรากฏการณ์ "หงส์ดำ"
เช่นเดียวกันเหตุการณ์ "ซับไพร์ม" ที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกลดลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ และผลของมันรุนแรงมากจนทำให้เศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกได้รับผลกระทบ สหรัฐอเมริกา ยุโรปและเอเชียต่างเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยกันถ้วนหน้า เราสามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ "หงส์ดำ" เช่นเดียวกัน นักลงทุนที่ไม่ได้เตรียมตัวกับเหตุการณ์นอกเหนือความคาดหมายเช่นนี้ย่อมต้องได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นึกย้อนกลับมาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทยในช่วงเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา จะพบว่า ตลาดหุ้นไทยลดลงมากกว่า 50% ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ขาดทุนกับการลงทุนในตลาดหุ้น จำนวนไม่น้อยต้อง "คืนกำไร" ที่หาได้ในช่วงหลายปีกลับให้ตลาดหุ้น ทั้งๆ ที่นักลงทุนเหล่านั้นต่างทำกำไรได้เป็นจำนวนมากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จนทำให้คิดว่าที่ประสบความสำเร็จนั้นมาจาก "ฝีมือ" ของตนล้วนๆ แต่แล้วเหตุการณ์ซับไพร์มและความไม่มั่นคงทางการเมืองของไทย ก็ตอกย้ำให้นักลงทุนทั้งหลายรู้ว่า สิ่งที่ผ่านมานั้น เป็นเพราะความเก่งหรือเฮงของตนเองกันแน่ บางครั้งนาซิมอาจพูดถูกที่กล่าวเอาไว้ว่า บางครั้งการประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้น อาจมาจาก "โชค" ล้วนๆ ก็เป็นไปได้
- BeSmile
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1178
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เตรียมตัวรับมือกับ New High
โพสต์ที่ 4
Under Estimate ก็ไม่ดี หรือ Over Estimate ก็ไม่ดี
ทิฏฐิ มานะ โดยมองว่า เราเก่งกว่าผลตอบแทนรวมของตลาด
หรือ ว่าเราด้อยกว่า ตลาด ก็ไม่ดี
ยากเหมือนกันครับ ที่จะประเมินตัวเองแบบพอดี ว่ามีความรู้แค่ไหน ขาดตรงไหน จะได้พัฒนาต่อ
ผมเองก็โดนอัตตา กูเก่ง เล่นซะหง่อม เหมือนกัน ตอนที่คิดว่า เก่งกว่าตลาด
ตอนนี้ ต้องบอกว่า ไม่ประมาทแล้วครับ เผลอทีไร ต้องนึกว่า ตูเก่ง ตูเก่ง ทุกที
ขอบคุณครับคุณตี่ สำหรับหนังสือที่แนะนำ
ทิฏฐิ มานะ โดยมองว่า เราเก่งกว่าผลตอบแทนรวมของตลาด
หรือ ว่าเราด้อยกว่า ตลาด ก็ไม่ดี
ยากเหมือนกันครับ ที่จะประเมินตัวเองแบบพอดี ว่ามีความรู้แค่ไหน ขาดตรงไหน จะได้พัฒนาต่อ
ผมเองก็โดนอัตตา กูเก่ง เล่นซะหง่อม เหมือนกัน ตอนที่คิดว่า เก่งกว่าตลาด
ตอนนี้ ต้องบอกว่า ไม่ประมาทแล้วครับ เผลอทีไร ต้องนึกว่า ตูเก่ง ตูเก่ง ทุกที
ขอบคุณครับคุณตี่ สำหรับหนังสือที่แนะนำ
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เตรียมตัวรับมือกับ New High
โพสต์ที่ 5
การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 01:00
ฤๅสถานการณ์โลกแบบปี 97 กำลังจะกลับมา
โดย : ดร.บัณฑิต นิจถาวร
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... w.facebook
เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอเพราะทุกส่วนไม่ใช้จ่าย ภาคครัวเรือนไม่มีกำลังซื้อ เพราะไม่มีรายได้จากอัตราการว่างงานที่สูง
ขณะที่รัฐบาลเริ่มตระหนักว่าเศรษฐกิจโลกมีปัญหา และเศรษฐกิจไทยคงไม่ฟื้นตัวแบบตัววีหรือโตในอัตราที่หน่วยงานรัฐแถลงทั้งปีนี้และปีหน้า พร้อมกับกำลังหามาตรการมากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม ซึ่งหมายถึงการก่อหนี้ให้ประเทศมากขึ้น (เพราะการใช้จ่ายของรัฐ เช่น การลงทุนก็ต้องมาจากการกู้เงิน)
สิ่งที่ต้องตระหนักก็คือ เศรษฐกิจโลกขณะนี้อาจจะมีอะไรบางอย่างลึกกว่าที่เราเข้าใจในแง่ความอ่อนไหว ที่อาจนำไปสู่สถานการณ์หรือวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงได้อีกรอบ จำเป็นที่รัฐบาลต้องตระหนักในความเป็นไปได้นี้ และวางตำแหน่งเศรษฐกิจไม่ให้ล่อแหลมต่อการเกิดปัญหารุนแรงจากความเป็นหนี้ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สถานการณ์คับขันหรือเกิดวิกฤติ นี้คือประเด็นที่จะเขียนวันนี้
เศรษฐกิจโลกขณะนี้มีอย่างน้อยเจ็ดสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นพร้อมกัน หนึ่ง โลกกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างพร้อมเพรียง ยกเว้น อังกฤษ และสหรัฐ สอง ที่แย่สุดคือเศรษฐกิจยุโรปที่กำลังถดถอย และจะมีปัญหาเงินฝืด คือ ราคาสินค้าลดลงเพราะไม่มีการใช้จ่าย สาม ราคาน้ำมันปรับลดลง สี่ ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลง
ห้า เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น หก นโยบายการเงินของประเทศหลัก คือ สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ไม่ไปในทางเดียวกัน หลังสหรัฐประกาศยุติมาตรการคิวอีเมื่อวันพุธที่ผ่านมาเพื่อปูทางไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปและญี่ปุ่นต้องพึ่งการอัดฉีดสภาพคล่องโดยมาตรการแบบคิวอี เพราะเศรษฐกิจไม่ดี และเจ็ด ความผันผวนในตลาดการเงินโลกรุนแรงขึ้นจากที่ตลาดขาดทิศทาง
ทั้งเจ็ดประเด็นนี้เมื่อปะติดปะต่อเป็นภาพเศรษฐกิจโลก ก็ชี้ไปที่พัฒนาการที่ต้องติดตามในสามประเด็น
หนึ่ง เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอเพราะทุกส่วนไม่ใช้จ่าย ภาคครัวเรือนไม่มีกำลังซื้อ เพราะไม่มีรายได้จากอัตราการว่างงานที่สูง เฉพาะยุโรป ประมาณว่า มีคนไม่มีงานทำกว่า 45 ล้านคน ภาครัฐไม่ลงทุนเพราะปัญหาหนี้สาธารณะที่มีอยู่ และบริษัทเอกชนก็ชะลอการลงทุน ส่วนหนึ่งเพราะระดับหนี้ที่มีอยู่ และส่วนหนึ่งเพราะความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เมื่อเศรษฐกิจไม่ขยายตัวก็กดดันให้ราคาสินค้าต่างๆ รวมถึงราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลง ทำให้รายได้ยิ่งชะลอหรือติดลบ กดดันให้ประเทศที่มีหนี้สูงจะมีปัญหาในการชำระหนี้ ซึ่งปัญหาหนี้มักเป็นชนวนของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจตามมา
สอง ความแตกต่างในการฟื้นตัวและทิศทางนโยบายการเงิน ทำให้เงินทุนไหลกลับไปลงทุนในสินทรัพย์เงินดอลลาร์สหรัฐ เงินดอลลาร์สหรัฐจึงแข็งค่า ซึ่งแข็งค่าขึ้นมากในช่วงสองอาทิตย์ที่ผ่านมา และจากแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น หลังยุติมาตรการคิวอี แรงกดดันให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ก็ยิ่งมีมาก
สาม เงินดอลลาร์ที่แข็งค่ากับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่จะปรับสูงขึ้น จะสร้างแรงกดดันอย่างมากต่อเสถียรภาพของประเทศตลาดเกิดใหม่ในระยะต่อไป จากเงินทุนต่างประเทศที่จะไหลออก และต้นทุนการชำระหนี้ที่จะสูงขึ้น กระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจและความสามารถในการชำระหนี้ ในอดีตทุกครั้งที่วัฏจักรอัตราดอกเบี้ยสหรัฐเป็นขาขึ้น พร้อมกับเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ประเทศตลาดเกิดใหม่ก็จะล่อแหลมมากต่อการเกิดวิกฤติ
นี้คือความคุกรุ่นของสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินโลกขณะนี้ ที่เศรษฐกิจโลกที่ชะลอ และเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่า อาจจุดชนวนให้เกิดปัญหาชำระหนี้ในจุดใดจุดหนึ่งของโลก ที่สามารถพัฒนาเป็นวิกฤติที่รุนแรง เช่น กรณีวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดที่เม็กซิโกปี 1994 และเอเชียปี 1997 ก็มาจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกแบบนี้ที่เศรษฐกิจประเทศหลักอ่อนแอ (ตอนนั้นคือญี่ปุ่น) ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวดี ค่าเงินดอลลาร์แข็ง และราคาน้ำมันตลาดโลกลดลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น โอกาสที่สถานการณ์โลกปัจจุบันจะพัฒนาไปเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่นำไปสู่ปัญหารุนแรงจึงเป็นเรื่องที่เราประมาทไม่ได้
ในบริบทนี้สำหรับประเทศไทย ประเด็นที่เราต้องตระหนัก และต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในแง่การทำนโยบายก็คือ
ช่วงห้าปีก่อนที่ประเทศตลาดเกิดใหม่เติบโตได้ดี รวมถึงไทยก็มาจากการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศให้ขยายตัวแทนการส่งออกซึ่งเป็นการขยายตัวบนการสร้างหนี้ใหม่ โดยทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโต ประมาณว่าตั้งแต่ปี 2008 อัตราส่วนหนี้ต่อรายประชาชาติของประเทศตลาดเกิดใหม่ได้เพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 36 ซึ่งของประเทศไทยก็เช่นกัน หนี้ต่างประเทศของเราประมาณว่าจะเพิ่มเป็น 170 พันล้านดอลลาร์สหรัฐปีนี้จาก 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐปี 2010 คิดเป็นร้อยละ 40.2 ของรายได้ประชาชาติ หนี้ภาครัฐก็ประมาณร้อยละ 45.7 ของรายได้ประชาชาติ ขณะที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มเป็น 10 ล้านล้านบาทเมื่อไตรมาสสองปีนี้ หรือร้อยละ 84 ของรายได้ประชาชาติ หนี้เหล่านี้ต้องชำระทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น ซึ่งถ้าเศรษฐกิจขยายตัวต่ำปีนี้และปีหน้า แรงกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ของทั้งภาครัฐและเอกชนก็จะมีมาก
ขณะนี้ต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยชะลอลงจริง และอาจชะลอมากกว่าที่รัฐบาลเองตระหนัก ซึ่งจะกระทบความสามารถในการชำระหนี้ของทุกฝ่าย เพราะเครื่องยนต์เศรษฐกิจทุกตัวไม่แสดงการฟื้นตัว ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การลงทุน การส่งออก การท่องเที่ยว รายได้เกษตรกร และสินเชื่อ ทั้งหมดสะท้อนเศรษฐกิจที่ขาดกำลังซื้อ ดังนั้น ปีนี้เศรษฐกิจคงขยายตัวต่ำมากไม่ถึงร้อยละ 1.5 และถ้าเศรษฐกิจจะขยายตัวปีหน้าร้อยละ 4.5 อย่างที่หน่วยราชการไทยให้ความเห็น ในทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจก็ควรต้องฟื้นแล้วขณะนี้ เพื่อเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อได้ในปีหน้าในอัตราร้อยละ 4-5 แต่ขณะนี้การฟื้นตัวก็ยังไม่เกิด ดังนั้น ถ้ารัฐบาลจะกระตุ้นเศรษฐกิจอีก (ซึ่งหมายถึงการก่อหนี้ใหม่) การกระตุ้นก็คงมีผลเพียงชั่วคราวให้เศรษฐกิจดีขึ้นในระยะสั้น แต่เมื่อเงินที่กู้มาถูกใช้หมด เศรษฐกิจก็จะกลับมาชะลออีก เพราะโดยข้อเท็จจริงปัจจัยต่างประเทศขณะนี้และพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศไม่เอื้ออำนวย ตรงกันข้ามการก่อหนี้ใหม่จะทำให้ระดับหนี้ของประเทศยิ่งเพิ่มมากขึ้น และต้องมีการชำระคืนและจ่ายดอกเบี้ย ดังนั้น ถ้าเศรษฐกิจไม่ขยายตัวปีหน้า ความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศคงมีปัญหา
ดังนั้น ณ จุดนี้ที่เศรษฐกิจโลกล่อแหลมต่อการเกิดปัญหาหนี้ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศจึงไม่ควรสร้างความล่อแหลมมากขึ้นโดยทำให้ประเทศยิ่งมีหนี้มากจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ ระดับหนี้ที่มากจะทำให้ประเทศยิ่งล่อแหลมต่อการเกิดปัญหารุนแรงเมื่อเศรษฐกิจชะลอและมีเงินทุนไหลออก
ในภาวะเช่นนี้จึงเป็นประโยชน์กว่าในแง่นโยบายที่เราจะยอมรับความจริงว่าเศรษฐกิจคงต้องชะลอตามเศรษฐกิจโลก เพราะประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจเปิด และนโยบายหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวให้ได้กับเศรษฐกิจโลกที่แย่ลง โดยไม่ฝืนความเป็นจริงด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจ และก่อหนี้มากขึ้น แต่ควรหันมากระตุ้นโดยสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจว่า สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศจะควบคุมได้ และจะสามารถปรับตัวกับความเสี่ยงต่างๆ ได้โดยรัฐบาลจะมุ่งแก้ไขปัญหา โดยการปฏิรูป ระบบการเมือง ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ยกเลิกกฎอัยการศึก (ซึ่งกระทบการท่องเที่ยวและการจัดประชุมนานาชาติในประเทศไทยมาก เพราะบริษัทประกันไม่รับประกันการเดินทาง) และสำคัญที่สุดจะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันด้วยการกระทำตามที่สัญญาไว้
ทั้งหมดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนในทิศทางข้างหน้าของประเทศ ว่าจะมีฐานทางเศรษฐกิจและธรรมาภิบาลที่เข้มแข็งกว่าปัจจุบัน ที่จะหนุนให้เศรษฐกิจก้าวกระโดดได้เต็มที่ตามศักยภาพของประเทศ เมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาดีขึ้น
ผมอยากให้คิดเรื่องนี้จริงจัง เพราะไม่อยากให้ประเทศมีปัญหา
Tags : ดร.บัณฑิต นิจถาวร
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 01:00
ฤๅสถานการณ์โลกแบบปี 97 กำลังจะกลับมา
โดย : ดร.บัณฑิต นิจถาวร
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... w.facebook
เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอเพราะทุกส่วนไม่ใช้จ่าย ภาคครัวเรือนไม่มีกำลังซื้อ เพราะไม่มีรายได้จากอัตราการว่างงานที่สูง
ขณะที่รัฐบาลเริ่มตระหนักว่าเศรษฐกิจโลกมีปัญหา และเศรษฐกิจไทยคงไม่ฟื้นตัวแบบตัววีหรือโตในอัตราที่หน่วยงานรัฐแถลงทั้งปีนี้และปีหน้า พร้อมกับกำลังหามาตรการมากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม ซึ่งหมายถึงการก่อหนี้ให้ประเทศมากขึ้น (เพราะการใช้จ่ายของรัฐ เช่น การลงทุนก็ต้องมาจากการกู้เงิน)
สิ่งที่ต้องตระหนักก็คือ เศรษฐกิจโลกขณะนี้อาจจะมีอะไรบางอย่างลึกกว่าที่เราเข้าใจในแง่ความอ่อนไหว ที่อาจนำไปสู่สถานการณ์หรือวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงได้อีกรอบ จำเป็นที่รัฐบาลต้องตระหนักในความเป็นไปได้นี้ และวางตำแหน่งเศรษฐกิจไม่ให้ล่อแหลมต่อการเกิดปัญหารุนแรงจากความเป็นหนี้ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สถานการณ์คับขันหรือเกิดวิกฤติ นี้คือประเด็นที่จะเขียนวันนี้
เศรษฐกิจโลกขณะนี้มีอย่างน้อยเจ็ดสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นพร้อมกัน หนึ่ง โลกกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างพร้อมเพรียง ยกเว้น อังกฤษ และสหรัฐ สอง ที่แย่สุดคือเศรษฐกิจยุโรปที่กำลังถดถอย และจะมีปัญหาเงินฝืด คือ ราคาสินค้าลดลงเพราะไม่มีการใช้จ่าย สาม ราคาน้ำมันปรับลดลง สี่ ราคาสินค้าเกษตรและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลง
ห้า เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น หก นโยบายการเงินของประเทศหลัก คือ สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ไม่ไปในทางเดียวกัน หลังสหรัฐประกาศยุติมาตรการคิวอีเมื่อวันพุธที่ผ่านมาเพื่อปูทางไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปและญี่ปุ่นต้องพึ่งการอัดฉีดสภาพคล่องโดยมาตรการแบบคิวอี เพราะเศรษฐกิจไม่ดี และเจ็ด ความผันผวนในตลาดการเงินโลกรุนแรงขึ้นจากที่ตลาดขาดทิศทาง
ทั้งเจ็ดประเด็นนี้เมื่อปะติดปะต่อเป็นภาพเศรษฐกิจโลก ก็ชี้ไปที่พัฒนาการที่ต้องติดตามในสามประเด็น
หนึ่ง เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอเพราะทุกส่วนไม่ใช้จ่าย ภาคครัวเรือนไม่มีกำลังซื้อ เพราะไม่มีรายได้จากอัตราการว่างงานที่สูง เฉพาะยุโรป ประมาณว่า มีคนไม่มีงานทำกว่า 45 ล้านคน ภาครัฐไม่ลงทุนเพราะปัญหาหนี้สาธารณะที่มีอยู่ และบริษัทเอกชนก็ชะลอการลงทุน ส่วนหนึ่งเพราะระดับหนี้ที่มีอยู่ และส่วนหนึ่งเพราะความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เมื่อเศรษฐกิจไม่ขยายตัวก็กดดันให้ราคาสินค้าต่างๆ รวมถึงราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลง ทำให้รายได้ยิ่งชะลอหรือติดลบ กดดันให้ประเทศที่มีหนี้สูงจะมีปัญหาในการชำระหนี้ ซึ่งปัญหาหนี้มักเป็นชนวนของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจตามมา
สอง ความแตกต่างในการฟื้นตัวและทิศทางนโยบายการเงิน ทำให้เงินทุนไหลกลับไปลงทุนในสินทรัพย์เงินดอลลาร์สหรัฐ เงินดอลลาร์สหรัฐจึงแข็งค่า ซึ่งแข็งค่าขึ้นมากในช่วงสองอาทิตย์ที่ผ่านมา และจากแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น หลังยุติมาตรการคิวอี แรงกดดันให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ก็ยิ่งมีมาก
สาม เงินดอลลาร์ที่แข็งค่ากับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่จะปรับสูงขึ้น จะสร้างแรงกดดันอย่างมากต่อเสถียรภาพของประเทศตลาดเกิดใหม่ในระยะต่อไป จากเงินทุนต่างประเทศที่จะไหลออก และต้นทุนการชำระหนี้ที่จะสูงขึ้น กระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจและความสามารถในการชำระหนี้ ในอดีตทุกครั้งที่วัฏจักรอัตราดอกเบี้ยสหรัฐเป็นขาขึ้น พร้อมกับเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ประเทศตลาดเกิดใหม่ก็จะล่อแหลมมากต่อการเกิดวิกฤติ
นี้คือความคุกรุ่นของสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินโลกขณะนี้ ที่เศรษฐกิจโลกที่ชะลอ และเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่า อาจจุดชนวนให้เกิดปัญหาชำระหนี้ในจุดใดจุดหนึ่งของโลก ที่สามารถพัฒนาเป็นวิกฤติที่รุนแรง เช่น กรณีวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดที่เม็กซิโกปี 1994 และเอเชียปี 1997 ก็มาจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกแบบนี้ที่เศรษฐกิจประเทศหลักอ่อนแอ (ตอนนั้นคือญี่ปุ่น) ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวดี ค่าเงินดอลลาร์แข็ง และราคาน้ำมันตลาดโลกลดลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น โอกาสที่สถานการณ์โลกปัจจุบันจะพัฒนาไปเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่นำไปสู่ปัญหารุนแรงจึงเป็นเรื่องที่เราประมาทไม่ได้
ในบริบทนี้สำหรับประเทศไทย ประเด็นที่เราต้องตระหนัก และต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในแง่การทำนโยบายก็คือ
ช่วงห้าปีก่อนที่ประเทศตลาดเกิดใหม่เติบโตได้ดี รวมถึงไทยก็มาจากการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศให้ขยายตัวแทนการส่งออกซึ่งเป็นการขยายตัวบนการสร้างหนี้ใหม่ โดยทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโต ประมาณว่าตั้งแต่ปี 2008 อัตราส่วนหนี้ต่อรายประชาชาติของประเทศตลาดเกิดใหม่ได้เพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 36 ซึ่งของประเทศไทยก็เช่นกัน หนี้ต่างประเทศของเราประมาณว่าจะเพิ่มเป็น 170 พันล้านดอลลาร์สหรัฐปีนี้จาก 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐปี 2010 คิดเป็นร้อยละ 40.2 ของรายได้ประชาชาติ หนี้ภาครัฐก็ประมาณร้อยละ 45.7 ของรายได้ประชาชาติ ขณะที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มเป็น 10 ล้านล้านบาทเมื่อไตรมาสสองปีนี้ หรือร้อยละ 84 ของรายได้ประชาชาติ หนี้เหล่านี้ต้องชำระทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น ซึ่งถ้าเศรษฐกิจขยายตัวต่ำปีนี้และปีหน้า แรงกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ของทั้งภาครัฐและเอกชนก็จะมีมาก
ขณะนี้ต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยชะลอลงจริง และอาจชะลอมากกว่าที่รัฐบาลเองตระหนัก ซึ่งจะกระทบความสามารถในการชำระหนี้ของทุกฝ่าย เพราะเครื่องยนต์เศรษฐกิจทุกตัวไม่แสดงการฟื้นตัว ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การลงทุน การส่งออก การท่องเที่ยว รายได้เกษตรกร และสินเชื่อ ทั้งหมดสะท้อนเศรษฐกิจที่ขาดกำลังซื้อ ดังนั้น ปีนี้เศรษฐกิจคงขยายตัวต่ำมากไม่ถึงร้อยละ 1.5 และถ้าเศรษฐกิจจะขยายตัวปีหน้าร้อยละ 4.5 อย่างที่หน่วยราชการไทยให้ความเห็น ในทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจก็ควรต้องฟื้นแล้วขณะนี้ เพื่อเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อได้ในปีหน้าในอัตราร้อยละ 4-5 แต่ขณะนี้การฟื้นตัวก็ยังไม่เกิด ดังนั้น ถ้ารัฐบาลจะกระตุ้นเศรษฐกิจอีก (ซึ่งหมายถึงการก่อหนี้ใหม่) การกระตุ้นก็คงมีผลเพียงชั่วคราวให้เศรษฐกิจดีขึ้นในระยะสั้น แต่เมื่อเงินที่กู้มาถูกใช้หมด เศรษฐกิจก็จะกลับมาชะลออีก เพราะโดยข้อเท็จจริงปัจจัยต่างประเทศขณะนี้และพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศไม่เอื้ออำนวย ตรงกันข้ามการก่อหนี้ใหม่จะทำให้ระดับหนี้ของประเทศยิ่งเพิ่มมากขึ้น และต้องมีการชำระคืนและจ่ายดอกเบี้ย ดังนั้น ถ้าเศรษฐกิจไม่ขยายตัวปีหน้า ความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศคงมีปัญหา
ดังนั้น ณ จุดนี้ที่เศรษฐกิจโลกล่อแหลมต่อการเกิดปัญหาหนี้ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศจึงไม่ควรสร้างความล่อแหลมมากขึ้นโดยทำให้ประเทศยิ่งมีหนี้มากจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ ระดับหนี้ที่มากจะทำให้ประเทศยิ่งล่อแหลมต่อการเกิดปัญหารุนแรงเมื่อเศรษฐกิจชะลอและมีเงินทุนไหลออก
ในภาวะเช่นนี้จึงเป็นประโยชน์กว่าในแง่นโยบายที่เราจะยอมรับความจริงว่าเศรษฐกิจคงต้องชะลอตามเศรษฐกิจโลก เพราะประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจเปิด และนโยบายหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวให้ได้กับเศรษฐกิจโลกที่แย่ลง โดยไม่ฝืนความเป็นจริงด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจ และก่อหนี้มากขึ้น แต่ควรหันมากระตุ้นโดยสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจว่า สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศจะควบคุมได้ และจะสามารถปรับตัวกับความเสี่ยงต่างๆ ได้โดยรัฐบาลจะมุ่งแก้ไขปัญหา โดยการปฏิรูป ระบบการเมือง ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ยกเลิกกฎอัยการศึก (ซึ่งกระทบการท่องเที่ยวและการจัดประชุมนานาชาติในประเทศไทยมาก เพราะบริษัทประกันไม่รับประกันการเดินทาง) และสำคัญที่สุดจะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันด้วยการกระทำตามที่สัญญาไว้
ทั้งหมดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนในทิศทางข้างหน้าของประเทศ ว่าจะมีฐานทางเศรษฐกิจและธรรมาภิบาลที่เข้มแข็งกว่าปัจจุบัน ที่จะหนุนให้เศรษฐกิจก้าวกระโดดได้เต็มที่ตามศักยภาพของประเทศ เมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาดีขึ้น
ผมอยากให้คิดเรื่องนี้จริงจัง เพราะไม่อยากให้ประเทศมีปัญหา
Tags : ดร.บัณฑิต นิจถาวร
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เตรียมตัวรับมือกับ New High
โพสต์ที่ 6
ถ้าต้องการถือจนผ่านช่วงเอาเป็นเอาตายไปแล้ว ค่อยขาย น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีมากในเวลานี้ก็เป็นได้ครับ ในวันพุธที่ผ่านมาดร.วิศิษฐ์ ได้อธืบายเหตุผลทางด้านfundflowที่จะทำให้set new high ปีหน้าได้เห็นภาพค่อนข้างชัดเจนมากในรายการ hard topic ครับ
http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/p ... p?listid=5
ปล.จากประวัติดัชนีsetที่ผ่านมาหลังจากผ่านช่วงเอาเป็นเอาตายแล้ว set จะไซด์เวย์ทำรูปแบบสามเหลี่ยมชายธง เพราะฉะนั้นถ้าจะหาจุดออกก็รอหลุดกรอบสามเหลี่ยมด้านล่างเป็นจุด safety cut สุดท้ายก็ได้ครับ
http://www.moneychannel.co.th/0Live_0/p ... p?listid=5
ปล.จากประวัติดัชนีsetที่ผ่านมาหลังจากผ่านช่วงเอาเป็นเอาตายแล้ว set จะไซด์เวย์ทำรูปแบบสามเหลี่ยมชายธง เพราะฉะนั้นถ้าจะหาจุดออกก็รอหลุดกรอบสามเหลี่ยมด้านล่างเป็นจุด safety cut สุดท้ายก็ได้ครับ
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG