(หนังสือน่าอ่าน) โลกของยาง
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
(หนังสือน่าอ่าน) โลกของยาง
โพสต์ที่ 1
"โลกของยาง"
วัสดุมหัศจรรย์จากลุ่มน้ำอะเมซอน สู่ความต้องการที่ท้าทาย
ผู้เขียน ดร. บัญชา ชุณหสวัสดิกุล
หนังสือเล่มนี้ เมื่อครั้งแรกที่เห็น บอกเลยไม่น่าสนใจเท่าไร
แต่ทว่าเมื่อหยิบมาอ่าน ก็มีทั้งอ่านเพลินๆ สบายๆ มีทั้งภาพของหัวขโมย
ภาพของอำนาจ แรงงานทาส การเติบโตของเศรษฐกิจ สงคราม เทคโนโลยี่
นวัตกรรม อยู่ในเล่มนี้
ยางจริงๆแล้ว มนุษย์เรานั้นรู้จักยางมานานแล้วแต่เป็นยางจากต้นไม้ เช่น ไม้สน
ส่วนยางพารานั้นเป็นพืชที่อยู่ในประเทศบราซิล แต่ได้โดนอำนาจจากอังกฤษเอาออกนอกประเทศเพื่อขยายพันธุ์ทั้งที่รัฐบาลของบราซิลไม่ยอมให้พืชชนิดนี้ส่งออก แต่ทว่าคนจะลักลอบอย่างไงก็ทำให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ คงไม่มีต้นยางในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย ให้เห็นกันอยู่
น้ำยางพารานี้เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านเสื้อผ้า รองเท้า ยางรถยนต์ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ภายในบ้าน แต่ทว่าเรารู้หรือเปล่าว่า ยางนั้นมียางธรรมชาติและยางสังเคราะห์
ยางธรรมชาติก็มาจากยางพาราเป็นหลัก แต่ยางสังเคราะห์นี้สิ่งสำคัญกว่า เพราะเป็นยางที่มาจากน้ำมัน หรือ ยางที่มาจากน้ำทะเล (โดยส่วนใหญ่มาจากน้ำมัน เพราะเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน หรือกากจากการกลั่นน้ำมันนั้นเอง)
ลองอ่านดูครับ
รับรองว่า คุณเข้าใจยางมากเดิมแน่นอน
วัสดุมหัศจรรย์จากลุ่มน้ำอะเมซอน สู่ความต้องการที่ท้าทาย
ผู้เขียน ดร. บัญชา ชุณหสวัสดิกุล
หนังสือเล่มนี้ เมื่อครั้งแรกที่เห็น บอกเลยไม่น่าสนใจเท่าไร
แต่ทว่าเมื่อหยิบมาอ่าน ก็มีทั้งอ่านเพลินๆ สบายๆ มีทั้งภาพของหัวขโมย
ภาพของอำนาจ แรงงานทาส การเติบโตของเศรษฐกิจ สงคราม เทคโนโลยี่
นวัตกรรม อยู่ในเล่มนี้
ยางจริงๆแล้ว มนุษย์เรานั้นรู้จักยางมานานแล้วแต่เป็นยางจากต้นไม้ เช่น ไม้สน
ส่วนยางพารานั้นเป็นพืชที่อยู่ในประเทศบราซิล แต่ได้โดนอำนาจจากอังกฤษเอาออกนอกประเทศเพื่อขยายพันธุ์ทั้งที่รัฐบาลของบราซิลไม่ยอมให้พืชชนิดนี้ส่งออก แต่ทว่าคนจะลักลอบอย่างไงก็ทำให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ คงไม่มีต้นยางในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย ให้เห็นกันอยู่
น้ำยางพารานี้เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านเสื้อผ้า รองเท้า ยางรถยนต์ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ภายในบ้าน แต่ทว่าเรารู้หรือเปล่าว่า ยางนั้นมียางธรรมชาติและยางสังเคราะห์
ยางธรรมชาติก็มาจากยางพาราเป็นหลัก แต่ยางสังเคราะห์นี้สิ่งสำคัญกว่า เพราะเป็นยางที่มาจากน้ำมัน หรือ ยางที่มาจากน้ำทะเล (โดยส่วนใหญ่มาจากน้ำมัน เพราะเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน หรือกากจากการกลั่นน้ำมันนั้นเอง)
ลองอ่านดูครับ
รับรองว่า คุณเข้าใจยางมากเดิมแน่นอน
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: (หนังสือน่าอ่าน) โลกของยาง
โพสต์ที่ 3
สังเกตจากเล่มนี้คือ มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับ โพลีเมอร์ที่เป็นอนุพันธ์จากน้ำมันด้วย
ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนการใช้ยางธรรมชาติ/สินค้าบางชนิดนั้นใช้ทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ควบคู่กันเช่น ยางรถยนต์ เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าหากราคาน้ำมันดิบลดลง ราคายางสังเคราะห์ลดลงไปด้วย เมื่อราคายางสังเคราะห์กระทบไปยังยางธรรมชาติด้วย ในแง่มุมของสินค้าทดแทนกัน
ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนการใช้ยางธรรมชาติ/สินค้าบางชนิดนั้นใช้ทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ควบคู่กันเช่น ยางรถยนต์ เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าหากราคาน้ำมันดิบลดลง ราคายางสังเคราะห์ลดลงไปด้วย เมื่อราคายางสังเคราะห์กระทบไปยังยางธรรมชาติด้วย ในแง่มุมของสินค้าทดแทนกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 197
- ผู้ติดตาม: 0
Re: (หนังสือน่าอ่าน) โลกของยาง
โพสต์ที่ 4
อ่านจบแล้ว ผู้เขียนไม่ได้ให้ความเห็นเรื่องราคายางตกต่ำและแนวโน้ม
เราเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติ เราศึกษาวิจัยแต่ยางธรรมชาติ
โดยไม่คิดว่าโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว
เรารู้เราแต่ไม่รู้เขาเลย ไม่มีการส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาเรื่องยางสังเคราะห์ ที่ทำอยู่ก็ไม่ค่อยได้รับการส่งเสริม
ยางสังเคราะห์ทำได้สาระพัด ยางพาราใช้มากในอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นหลัก
ที่ยืนของยางธรรมชาติแคบลงทุกปี ยิ่งราคาปิโตรเลียมลงมากๆ ยางธรรมชาติจะยิ่งลำบาก
ผู้บริหารประเทศคิดแต่เรื่องประชานิยม พอยางแพง เร่งส่งเสริมปลูกยางพาราไปทั่วประเทศ ทั้งที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไม่เหมาะสม
และต่างชาติก็ส่งเสริมปลูกเช่นกัน
เมื่อยางทุกแห่งเติบโตพร้อมกรีดได้พร้อมกัน ปริมาณยางก็ต้องท่วมตลาดเป็นธรรมดา
ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันก็ยังไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
วิกฤติยางครั้งนี้ อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทยก็ได้
เพราะมันหมายถึงเศรษฐกิจภาคใต้ทั้งภาคเลยทีเดียว รวมทั้งสวนยาวทั่วประเทศด้วย
นักการเมืองมองแค่คะแนนเสียง รัฐบุรุษมองไปถึงอนาคตข้างหน้า
เราเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติ เราศึกษาวิจัยแต่ยางธรรมชาติ
โดยไม่คิดว่าโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว
เรารู้เราแต่ไม่รู้เขาเลย ไม่มีการส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาเรื่องยางสังเคราะห์ ที่ทำอยู่ก็ไม่ค่อยได้รับการส่งเสริม
ยางสังเคราะห์ทำได้สาระพัด ยางพาราใช้มากในอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นหลัก
ที่ยืนของยางธรรมชาติแคบลงทุกปี ยิ่งราคาปิโตรเลียมลงมากๆ ยางธรรมชาติจะยิ่งลำบาก
ผู้บริหารประเทศคิดแต่เรื่องประชานิยม พอยางแพง เร่งส่งเสริมปลูกยางพาราไปทั่วประเทศ ทั้งที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไม่เหมาะสม
และต่างชาติก็ส่งเสริมปลูกเช่นกัน
เมื่อยางทุกแห่งเติบโตพร้อมกรีดได้พร้อมกัน ปริมาณยางก็ต้องท่วมตลาดเป็นธรรมดา
ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันก็ยังไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
วิกฤติยางครั้งนี้ อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทยก็ได้
เพราะมันหมายถึงเศรษฐกิจภาคใต้ทั้งภาคเลยทีเดียว รวมทั้งสวนยาวทั่วประเทศด้วย
นักการเมืองมองแค่คะแนนเสียง รัฐบุรุษมองไปถึงอนาคตข้างหน้า