MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวีไอ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 293
ผู้ติดตาม: 0

MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวีไอ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Money talk at SET23May2015


หัวข้อ1 "เจาะลึกหุ้นเด่นโครงสร้างพื้นฐาน"
1. คุณสุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่สายการเงิน BTS
2. คุณวรพจน์ อุชุไพบูลย์วงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบัญชีและการเงิน CK
3. คุณชัยวัฒน์ ศรีวรรณวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ TASCO
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ. ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช ดำเนินรายการ

Intro
หมอเค บริษัทกำไรเติบโตขึ้นมาได้จากรายได้เติบโต,ได้ market share มากขึ้น, ทำกำไรได้มากขึ้น เช่น เพิ่มประสิทธิภาพ , อยู่ใน mega trend ex. aging society และตัวที่สำคัญคือ นโยบายรัฐบาล อย่างการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานล่าช้ามานาน ทางคสช ออกนโยบายมาแล้วว่าจะผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน จึงเชิญ 3 บริษัทวันนี้ได้แก่
• BTS ให้บริการรถไฟฟ้ากว่า 6 แสนเที่ยวต่อวัน ธุรกิจสื่อบนรถไฟฟ้า อสังหาฯ และบริการอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร เชฟแมน
• CK เป็น holding company มีงานรับเหมาถือเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ (อันดับ 1 ITD, 2 CK, 3 STEC) บริษัทยังถือสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เช่น รถไฟใต้ดิน,น้ำประปา,โรงไฟฟ้า,ทางด่วน
• TASCO เป็นผู้นำธุรกิจยางมะตอยระดับเอเชียแปซิฟิค


สรุปการประกอบกิจการและแผนการเติบโตในอนาคต
TASCO
• ผลิตและขายยางมะตอยใช้ในการซ่อมหรือก่อสร้างและสร้างถนน,runway สนามบิน
• TIPCO ถือหุ้น TASCO อยุ่ราว 30% เป็นกลุ่มเดียวกัน
• ปริมาณการขายปี 57 ราว 2 ล้านตัน เป็นต่างประเทศ 1.6 ล้านตันสัดส่วนการขายต่างประเทศ 80% ขายในประเทศ 20%
• ผลิตและขายในประเทศซื้อยางมะตอยจากโรงกลั่นในไทย เช่น จากไทยลู้บเบส, irpc, sprc ซื้อเป็นยางมะตอยขาย ส่งรถไปรับแล้วขายให้ผู้รับเหมาเพื่อใช้ในการผสม หรือซื้อเกรดปกติแล้วมาผลิตเป็นสินค้าเกรดพิเศษ(พรีเมียม) เช่นใส่โพลีเมอร์ เพื่อขายให้ผู้รับเหมาก่อสร้างถนนใช้ในแต่ละประเภทการก่อสร้าง
• การส่งออกขายในต่างประเทศ โดยซื้อยางจากโรงกลั่นทั่วไปในภูมิภาคและใช้เรือขนส่งเราเอง มี 9 ลำ ส่งออกในเอเชียแปซิฟิคปีละ 14-18 ประเทศ มีฐานจากโรงกลั่นเราเองในประเทศมาเลเซีย เป็นโรงกลั่นยางมะตอยโดยเฉพาะ มีหอกลั่นเหมือนโรงกลั่นน้ำมัน แต่สินค้าหลักของเราต้องการให้กลั่นได้ยางมะตอยเยอะที่สุด แตกต่างจากโรงกลั่นปกติที่ต้องการกลั่นให้ได้น้ำมันมากๆ วัตถุดิบต้องใช้น้ำมันดิบที่หนักที่สุด จากอเมริกาใต้ กลั่นได้ ยางมะตอยสูง 74% ได้น้ำมันที่มีกำมันถันสูง 26% เราจะขายออกไป ถ้าเป็นน้ำมันดิบตะวันออกกลาง ให้ยางมะตอยทั่วไป 6-10%
o การขนส่งยางมะตอยต้องเป็นของเหลว ถ้ายางมะตอยแข็งจะสูบถ่ายออกยากและค่าใช้จ่ายสูง เรือจึงต้องมีระบบให้ความร้อนตลอดเวลา (ราว 140 องศาเซลเซียส)
• ยางมะตอยอุตสาหกรรม เช่นที่ใช้เคลือบท่อ tasco ยังไม่ได้ทำส่วนนี้
• ยางมะตอย VS ยางพารา
o ไม่เกี่ยวกัน ยางพาราได้จากต้นยางให้คุณสมบัติความยืดหยุ่นสูง แต่ยางมะตอยดึงแล้วจะไม่ยืดหยุ่นตัว ราคายางพาราถูกลงไม่ได้กระทบกัน
o เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เอายางพาราไปผสมยางมะตอยได้ ทำให้มีคุณสมบัติคืนรูปได้ระดับหนึ่ง เปรียบเทียบหมากฝรั่ง ยืดเสร็จแล้วไม่คืนรูป ยางพาราเหมือนหนังสติ๊กยืดออกจะคืนตัว เวลารถวิ่งผ่านจะมีน้ำหนักกดจะทำให้ถนนคืนตัวได้
o ยางพาราราคา 40 บาท/kg ยางมะตอย 16 บาท/kg การนำมาผสมจะยิ่งทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งผสมสูงกว่า 8% ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรเพิ่มแล้วในเชิงวิศวกรรม
o TASCO เป็นผู้นำตลาด คู่แข่งในไทยมี 2 บริษัท market share ห่างกันมาก
 ชนิดที่หนึ่ง พาราสเลอรีซีลใช้ฉาบผิวถนน พวกที่ผิวชำรุด สึกหรอ ฉาบบางๆ 1 cm ผสมยางพารายางมะตอยผสมหิน และปูถนนเพื่อรักษาผิวถนนให้คงสภาพต้านทานลื่นไถล มี market share 60%
 ชนิดที่สอง พาราเอซี รัฐบาลเร่งให้ใช้งาน เอายางพาราผสมยางมะตอยร้อนแล้วปูถนน 3-5 cm มี market share 80%
• บริษัทก่อตั้งมากว่า 36 ปีเติบโตจากโรงงานที่ลาดกระบัง ด้วย business model ที่แตกต่างจากคนอื่น มีน้อยรายในโลกที่เรียกตัวเองว่าเป็นบริษัท ที่เป็นยางมะตอย ในขณะที่คู่แข่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทน้ำมัน เช่น shell,exxon,ptt,petronas ดังนั้นบริษัทที่เน้นยางมะตอย มีความรู้ลึกซึ้งมีน้อยมาก
• นโยบาย รัฐบาลระยะสั้นจะมีผลโดยตรง รัฐบาลให้ความสำคัญกระตุ้นเศรษฐกิจ ปลายปีลงทุนในเรื่องถนน จะไปเก็บเงินค้างท่อที่เหลือมาใช้ในปี 58 ทำให้งานก่อสร้างถนนมีมากขึ้น ผรม.ก่อสร้างจะได้ประโยชน์ ถัดมาคือ บ.จัดส่งวัสดุก่อสร้าง เช่น tasco เมื่อเร็วๆนี้รัฐบาลพูดถึง งบกระตุ้นเศรษฐกิจ 4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2.5 หมื่นล้าน ใช้สำหรับสร้างซ่อมถนนเพื่อรองรับ aec ของกรมทางหลวง และ 1.5 หมื่นล้านกรมทางหลวงชนบท ซึ่งคาดว่าจะเป็น 2 หน่วยงานที่ใช้งบได้ใกล้เคียงแผน
• เทคโนโลยีที่จะส่งผลให้เลิกใช้ยางมะตอยยังมองไม่เห็น ใช้ยางมะตอยมา 60 กว่าปีแล้ว ในอดีตสร้างถนนด้วยคอนกรีตซีเมนต์ ระยะหลังจะถูกปูด้วยยางมะตอยข้างบน ถนนในเมือง ควรเป็นคอนกรีต เพราะมีแรกกดตลอดเวลา ถนนระหว่างเมือง ควรเป็นยางมะตอย รถวิ่งไปจะมีแรงสั่นสะเทือน จะคงทนได้มากกว่าถนนคอนกรีต ถ้าออกแบบก่อสร้างไม่ดี จะเกิดการแตกได้
• โรงกลั่นที่มาเลเซียเริ่มผลิตยางมะตอยตั้งแต่ปลายปี 2008 และโตมาตลอด ปัจจุบันใช้กำลังการผลิตเกือบ 100% ทั้งที่ปีก่อนได้ขยายกำลังการผลิต 20% แล้วจาก 25,000 เป็น 30,000 บารเรลต่อวัน
• ตลาดต่างประเทศมีโอกาสโตอีกมา ซึ่ง market share ประเทศที่เราไปขายยังน้อยมาก อย่างเช่น จีนที่เป็นประเทศสัดส่วนขายสูงสุดของเรา มีmarket share 10 กว่า % หรืออินโดนีเซียมี market shareอยู่ 35%
• เรามีพันธมิตรคือ บริษัท SK Corporation เป็นโรงกลั่นใหญ่ของเกาหลี ตั้งบ.ร่วมทุนกันที่สิงคโปร์ เพื่อทำธุรกิจร่วมกัน เช่น การปรับปรุงโรงกลั่น ขยายกำลังการผลิต ซึ่งเรามีใบอนุญาตผลิตได้ถึง 50,000 บารเรลต่อวัน ยังขยายได้อีก 66%
• ทุกวันนี้ใช้ยางมะตอยแค่ 60% ของกำลังผลิตเรา อีก 40% ยังคงซื้อจากกบริษัทในภูมิภาคมาขาย(ไต้หวัน,จีน)
• ในประเทศก็มีการขาดแคลนยางมะตอย ซึ่งมีไม่กี่บริษัทที่จะนำเข้ามาชดเชยได้ อย่างเราเองมีคลังขนาดใหญ่สุดที่พระประแดง และมีเรือเดินสมทุรของเราเอง
• ปี 57 ขาย 2 ล้านตัน ปี 58 ทีแรกคาดโต 10% แต่ ณ ตอนนี้คาดว่าโต 15% แต่แนวโน้มราคาขายจะต่ำกว่าที่คิดไว้
o ราคา อิงน้ำมันโลก ปีก่อนอิง 100 เหรียญต่อบารเรล ปีนี้คุยที่ 60 เหรียญ
• ถ้าคู่แข่งจะเข้ามาคงต้องใช้เวลาราว 2 ปี ในประเทศมี 6-7 ราย คงไม่ง่ายที่จะเข้ามา อย่าง ปตท.มีขายบ้าง แต่ไม่มากเท่าไร ส่วนใหญ่ขายให้กับ tasco อยู่แล้ว
• ราคาหุ้นที่ขึ้นสูง ส่วนหนึ่งตลาดในประเทศ งบประมาณแผ่นดินจัดสรรให้มากกับการก่อสร้างซ่อมบำรุงถนนปีนี้และปีหน้า ยอดขายในต่างประเทศ มีความต้องการใช้ยางมะตอยสูงมาก หลายรัฐบาล เช่น อินโด,ออสเตรเลีย,เวียดนาม
• 5 ประเทศหลักที่เราส่งออก จีน,อินโด,มาเล, ออสเตรเลีย,เวียดนาม
• คาดว่ายอดขายตปท.จะโตไม่ต่ำกว่า 10%
• ผลประกอบการ q1 โต 300% จาก q ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบลดลง ต้นทุนผลิตยางมะตอยลดลงด้วย แต่ demand ยังคงดีอยู่ ซึ่งราคาขายซึ่งสัมพันธ์กับราคาน้ำมันดิบ จึงส่งผลดีทำให้กำไรสูงขึ้นมาเมื่อเทียบกับปี/ไตรมาสที่ผ่านมา

BTS
• ธุรกิจหลักคือรถไฟฟ้ากรุงเทพมหานคร ซึ่งจดทะเบียน BTS group เป็นholding company ถือ btsgif(อ่านบีทีเอสจิฟ), ถือ vgi 70กว่า% ทำเน้น มีเดียบนรถไฟฟ้า และ property (n-park) เปลี่ยนชื่อเป็นยูซิตี้ JV กับแสนสริริ และบัตรแรบบิท ใช้ขึ้นรถไฟฟ้า ซื้อโอปองแปง สตาร์บั๊คได้บัตรแรบบิต เปิดตัวไม่ถึง 3 ปี มี 3.8 ล้านใบ
• Mass transit
o สายสีเขียวเดินรถ 23.5 km เปิดปี 1999 ปัจจุบันขายให้ btsgif แล้ว btsc เป็นผู้เดินรถให้ และนำรายได้ส่งให้ btsgif
o Bts เป็นผู้รับสัมปทานในการเดินรถและเก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งตอนนี้ได้ขายรายได้ส่วนนี้ให้กองทุน btsgif แต่ยังถือหุ้นอยู่ใน 1 ใน 3
o เงินที่ขายได้มา 6.25 หมื่นล้าน บาท แบ่ง 2 หมื่นกว่าล้านไปลงทุน btsgif ใช้หนี้บางส่วน เหลืออยู่ 3 หมื่นกว่ากองไว้อยู่ที่ bts group ไว้ลงทุนเรื่อง mass transit ระบบราง ปกติ กม.หนึ่งก็ลงทุน 3 พันกว่าล้านบาท
o ได้ส่วนแบ่งกำไรจาก btsgif ปีล่าสุดราว 1 พันกว่าล้าน
o รับจ้างกทม.เดินรถสีเขียวส่งต่อขยาย 12 km จากสะพานตากสินไปบางหว้า 7 km เปิดบริการปีก่อน , 5 km อ่อนุข – แบริ่ง เปิดบริการราว 2 ปีก่อน จ้างระยะยาวถึงปี 2042 มูลค่าสัญญา 1.8 แสนล้านบาท
o สำหรับสัญญา 23.5 km เป็นสัมปทาน btsc เป็นผู้ลงทุนในรถไฟฟ้าทั้งหมด รายได้จึงเก็บและไม่ต้องแบ่งใคร แต่พวกส่วนต่อขยาย กทม.ลงทุน เราลงทุนนตัวรถจึงรับจ้างเดินรถ
• Media
o เน้น media บนรถไฟฟ้า เป็นเจ้าแรกในโลก เวลาไป road show ต่างประเทศก็จะไม่ค่อยเห็นมีสีสันแบบนี้ มีโฆษณาจอทีวี ตัวรถก็มีห่อโฆษณา (เป็นสติกเกอร์ที่เป็นเทคโนโลยี)
• Property
o JV Siri 50:50 ทำ condo รอบสถานีรถไฟฟ้าสายไหนก็ได้ที่อยุ่ในรัศมี 500 m จากสถานี มูลค่าโครงการ 3 พันล้านบาท
o Siri ทำคอนโดเก่ง bts มีที่ดินเปล่าหลายแปลงที่ใช้ได้จึงมาเป็น partner กัน
o โครงการแรกเพิ่งเปิดขาย The line อยู่ใกล้ bts หมอชิต
• บริการ
o บัตรแรบบิต ขึ้นรถไฟฟ้าได้ ใช้จ่ายตามห้าง ร้านอาหาร mini bigc ก็ใช้ได้
o ปลายปีตั้งเป้าหมาย 5 ล้านใบ
o ใน 18 เดือน ในการกำกับ สนข. ออกโครงสร้าง e payment ต้องใช้โครงสร้างเดียวกัน 7-11 ก็มีบัตรหนึ่ง , bts ก็มีบัตรหนึ่ง ตอนนี้ทุกเจ้าต้องมาคุยกัน ซึ่งเราก็ bid งานได้ ต่อไปก็จะมี natural architecture
o รายได้มากจาก การขายบัตร, transaction fee(เหมือนบัตรเครดิต) ถ้าไปฮ่องกงจะมีบัตร octopus, อังกฤษมีบัตร oster จะขึ้นได้หมด รถไฟฟ้า ทางด่วน taxi หลังจากมีตรงนี้รายได้ส่วนนี้น่าจะเติบโตหลายเท่าตัว
• ภัตตราคาร
o เชฟแมนมี 5 สาขา รายได้ดีหลายร้อยล้าน
• BRT
o รับค่าจ้างเดินรถให้ กทม.
• ในช่วง 12 เดือนข้างหน้าจะเห็นการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานต่างๆพอสมควร 6 เดือนแรกคงไปศึกษาทำแผนจะเห็นเยอะครึ่งปีหลัง
• สีเขียวส่วนต่อขยาย เหนือใต้ 12.3 km แบริ่งสมุทรปราการ เราจะเข้าไปให้บริการเดินรถ เป็นสิ่งที่จะเห็นในอนาคตอันใกล้ งาน civil 55% เดินรถ 2563
• สายสีเขียววิ่งไปสุดที่หมอชิต ต่อไปสะพานใหม่คูคต 17 km กว่า ให้สัญญาก่อสร้าง civil เมื่อเดือนก่อน กำลังเตรียมประมูลงานระบบและสัญญารถคาดว่าเห็นครึ่งปีหลัง
• สายสีชมพู วิ่งจากมีนบุรี – รามอินทรา – อนุเสาวรีย์หลักสี่ – แจ้งวัฒนะ เมืองทาง แคลาย 36 km คิดว่าน่าจะเกิดครึ่งปีหลังนี้
• เจ้าใหม่เข้ามา bid ได้ แต่ผู้เข้าแข่งขันโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ระบบรถเจ้าเก่าจะถูกกว่า
• ปัจจุบัน บริษัทเดินรถอยู่ 36 km อีก 100 km ที่กำลังจะเกิดถ้าเราได้ก็จะเห็น growth ได้ดีพอสมควร

CK
• บริษัทเน้นงาน infrastructure, สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน มีประสบการณ์กว่า 40 ปี พื้นฐานเดิมเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เคยทำงานหลากหลาย งานอาคารสะพานทางด่วนรถไฟฟ้าท่าเรือ มองเห็นโอกาสในการเติบโตสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และไม่ใช่แค่ในไทยแต่ไปถึงภูมิภาค เราจึงได้ลงทุนต่างๆ
• บริษัททางด่วน ลงทุนปี 1968 มีกูมาไกกูมิ แล้วเรา takeover มาบริหาร ทำทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วนต่อขยายไปบางปะอิน ไปมอเตอร์เวย์ ล่าสุดทำส่วนต่อขยายหมอชิต ไปกาญจนาภิเษกตะวันตกกรุงทพ ซึ่งเดี๋ยวนี้รถติดมากๆ ตอนนี้ ลงทุน becl มา 30 กว่าปีแล้ว เราถือหุ้นทั้งหมด 17% ที่เหลือเป็นธนาคารที่เป็นพันธมิตรกัน
• รถไฟฟ้ากรุงเทพ bmcl
o ส่วนแรก 20 km ขนส่งคนตั้งแต่ หัวลำโพงไปบางซื่อ
o 2 ปีก่อนเซ็นสัญญารฟม. ส่วนต่อขยายสายสีม่วง เตาปูน-บางใหญ่ ก่อสร้างแล้วเสร็จ รฟม.ว่าจ้าง bmcl เดินรถ
o ขบวนรถมาปลายปี ก.ย. ต.ค. ทดลองวิ่งต้นปีหน้า คาดว่า 12 ส.ค. จะเดินรถสายสีม่วง ผลประโยชน์โดยตรงรับจ้างเดินรถ ทางอ้อม ผู้โดยสารจะส่งมาสายปัจจุบัน อาจจะส่งไปสายสีน้ำเงิน รวมทั้งสายสีเขียวด้วย
• ต้นปีที่ผ่านมามีมติควบรวม becl กับ bmcl เนื่องจากอนาคตกรุงเทพจะไม่มีที่สร้างทางด่วนแล้ว ซึ่งที่มอง becl อาจจะขยายได้ไม่เยอะ ในขณะ bmcl ต่อไปจะมีรถไฟฟ้าอีก 10 สาย ยังขยายได้เยอะ สายสีม่วง 22 km สายสีน้ำเงิน 26 km กำลังเจรจาต่อไปสายสีส้ม สีเหลือง สีน้ำตาล ถ้าเอา 2 บริษัทนี้มารวมกันจะเป็นการต่อยอดธุรกิจที่ให้ความสะดวกผู้โดยสารทั้งใช้รถยนต์หรือรถไฟฟ้า จะทำให้แข็งแรงยิ่งขึ้น และคาดว่าจะอยู่ใน set 50 market cap ซัก 7 หมื่นกว่าล้าน ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนดำเนินการ จะใช้ชื่อใหม่เป็น bem คาดว่าแล้วเสร็จเดือน ก.ค. แล้ว และเทรดในเดือน ส.ค. อนาคตก็จะมีจ่ายปันผลที่สูงและเติบโดได้เยอะ รวมแล้ว Ck จะถือเกือบ 30%
• บริษัทยังเดินรถไฟฟ้าไม่ได้กำไรเพราะสายสีน้ำเงินไม่เป็นวงแหวนรอบกรุงเทพ ถ้าไปดูต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นโตเกียว สิงคโปร์ loop ที่เป็นวงในจะได้กำไรต่อเมื่อต่อครบ loop ซึ่งถ้าจะไปไหนก็ต้องขึ้นรถไฟฟ้าสายนี้ ซึ่งถ้าหากต่อครบ loop แล้วกำไรอาจจะใกล้เคียงหรือมากกว่าสายสีเขียว
• รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนยิ่งมีมากยิ่งเกื้อหนุนกัน สีม่วงจะต่อไปสายสีเขียวด้วย อนาคตก็ได้ประโยชน์ด้วย คนจะใช้ประโยชน์มากขึ้น ทั้งนี้แม้มีรถไฟฟ้า ทางด่วนก็ยังใช้อยู่ อย่างเช่นในฮ่องกงสิงโปร์ เพราะวัตถุประสงค์ในการใช้ต่างกัน รวมทั้ง กทม.ก็จะมีคนเข้ามาอีก
• โครงสร้างพื้นฐานธรรมดาเป็นเครือข่าย ถ้าเชื่อมต่อเยอะคนจะใช้เยอะ ยกตัวอย่าง อโศก ที่สีเขียวกับสีน้ำเงินต่อกัน ทำให้ผู้โดยสารเพิ่มทั้งสองสาย ประชาชนก็สะดวก
o การเดินทางทุก 100 เที่ยวในกทม. ใช้รถไฟฟ้า 6% ที่เหลือเป็นรถเมล์ รถตู้ ถ้าไปดูสัดส่วนใช้รถไฟฟ้าของ ฮ่องกง 44% สิงคโปร์ 42%
o ตอนออกแบบไม่ได้คำนึงถึงการเชื่อมต่อ แต่ของใหม่คำนึงถึงการเชื่อมต่อ อย่างสถานีเตาปูนที่สายสี ม่วง แดง น้ำเงิน มาเชื่อมต่อกันอนาคตจะปรับปรุงทำการเชื่อมต่อตรงนี้ให้ดีขึ้น
• ธุรกิจน้ำประปา
o เป็นน้ำประปาไม่เหมือน eastw ที่เป็นน้ำดิบ
o ที่รังสิต ปทุมธานี 4 แสนกว่าคิว รวมอ้อมน้อยอ้อมใหญ่ มหาชัย เป็น 8 แสนคิวต่อวัน
o จะขยายกำลังผลิตอีก 2 แสนคิวต่อวัน คาดปีหน้าจะเป็น 1 ล้านคิว ต่อวัน
• ธุรกิจพลังงาน
o CK power ถืออยู่ 29.87%
o 2 ปีก่อนมีบริษัทย่อยเป็นธุรกิจพลังงานหลายแห่ง เป็นโซลาร์ มี 3 โรง 24 MW, มี cogen บางปะอิน 120 mw และ น้ำงึม 2 ในลาว กำลังผลิต 615 MW เป็น hydro power เป็นเชื่อนที่ผลิตกระแสไฟฟ้า 100% รวมแล้วมี 700 mw
o มีอีกบริษัทในประเทศลาวคือทำไซยะบุรี พาวเวอร์ ck ถือ 30 กว่า % เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กำลังผลิต 285 mw สร้างแล้ว 50 กว่า % คาดแล้วเสร็จอีก 4 ปี 95% ขายประเทศไทยทางภาคอีสาน เวลามีปัญหาเรื่องท่อแก๊สก็จะติดต่อไปที่ลาว พวกพลังน้ำสามารถปิด-เปิดได้ใน 10 นาที และ กำลังผลิตไฟฟ้าตรงนี้ถูก เทียบกับแก๊สหน่วยละ 3 บาทกว่า ใช้น้ำ 2 บาทกว่า
o ปีนี้มีแผนเอาบริษัทไซยบุรีขายให้กับ ckpower ซึ่งเราตั้งเป็น flagship ด้านพลังงาน รวมแล้วจะเป็น 2 พันกว่า mw
• เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างที่ลงทุนใน infrastructure เรามองว่า ก่อสร้างอิงตามนโยบายรัฐบาลมีขึ้นลง จึงอาศัยศักยภาพเราลงทุนและได้ส่วนแบ่งกลับมาที่ ck รวมทั้งมีการโอนขายก็ได้ได้ capital gain รวมทั้งได้ปันผลเข้ามาด้วย
• ปัจจุบันมี Backlog 8.6 หมื่นล้าน ทั้งนี้รายได้เรามี 3 หมื่นกว่าล้านอยู่แล้ว โดยไม่ต้องรับงานใหม่อยู่แล้ว ถ้ามีงานที่เข้ามาใหม่ ทั้งรถไฟฟ้า ทางด่วน รางคู่ต่างๆ ซึ่งเราถนัดอยู่แล้ว ความรู้ความสามารถบุคลากรฐานะการเงินมีพร้อม ขอให้รัฐบาลออกมา งานก่อสร้างไม่มีปัญหา
• Q2’15 จะขาย ไซยะบุรี พาวเวอร์
• Q3’15 มีบ.ใหม่ ที่รวมกัน becl bmcl จะทำให้ share เพิ่มเป็น 30 กว่า %
• น้ำประปาไทย ขยายกำลังการผลิต ศึกษาอยู่ที่เมาะลำไย ที่พม่า เป็น จ.ที่ใหญ่ลำดับ 3 ของพม่า เป็น pilot project นอกจากนี้ ck power ก็ดูโครงการอื่นในลาวอยู่ ไซยะบุรี คาดปี 2018,2019 แล้วเสร็จ
• ภายในปีนี้คาดมีประกาศประมูลราคา หรือร่วมทุน ppp กับภาครัฐไม่ว่ารถไฟฟ้าสายสีต่างๆหรือรถไฟความเร็วสูง



หัวข้อ2 “หลากกลยุทธ์ของวีไอหลายอาชีพ”
1. คุณอนุรักษ์ บุญแสวง นายกสมาคมไทยวีไอ
2. นพ.พงษ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี นักลงทุนวีไอ อาชีพแพทย์
3. คุณทิวา ชินธาดาพงศ์ นักลงทุนเน้นคุณค่า อาชีพค้าขาย
4. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ. ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช ดำเนินรายการ

ประวัติความเป็นมา
คุณทิวา
• เกิดกรุงเทพ ที่บ้านเป็นคนค้าขาย ญาติขายโจ๊ค บะหมี่ ข้าวหมูแดง
• เริ่มลงทุนก่อน sub prime 7-8 เดือน
• หลังจบม. 3 ตอน 14 ปี เคยขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หน้าโรงเรียน
• หลังจากนั้นทำมาหลายอย่าง ทำธุรกิจที่คิดว่าได้เงินแต่ไม่สนใจหุ้น
• ก่อนเล่นหุ้น ขายหมูยอ ส่งที่เอสพลานาด เห็น อ.นิเวศน์กำลังโปรโมตหนังสืออยู่ สมัยนั้นไม่ค่อยมีคนฟัง ซึ่งไม่เหมือนกับสิ่งที่เรารับรู้มาก่อน การลงทุนเป็นเรื่องธุรกิจ จึงสนใจ ซึ่งมีเงินเก็บก้อนหนึ่งก็เริ่มลงทุนหุ้น จนถึงวันนี้ก็มีเงินอยู่ได้ พอลูกไปเที่ยวต่างประเทศปีละ 4 ครั้ง เพราะลูกบอกว่าไปเที่ยวกลับมาจะมีความสุขได้สัก 3 เดือน
• ภรรยาไม่ลงทุนหุ้น เป็นคนกลัวจะรู้สึกว่ามีความเสี่ยงสูง เวลาหุ้นลงก็อยากให้ถอนมาฝากบ้าง
หมอพงษ์ศักดิ์
• จบหมอจุฬา ช่วงนั้นดอกเบี้ยต่ำ มีเงินส่วนหนึ่งจึงสนใจลงทุน ผ่านมา 11 ปีแล้ว
• คลีนิคคงไม่เลิกกิจการ แต่คงหาคนช่วยจัดการให้ในอนาคต อาจจะช่วยจัดการหรือบริหารบางส่วน
• คลินิคคคุ้มในช่วงที่ demand มากกว่า supply แต่พอการแข่งขันสูงก็ทำให้ margin ลดลง คู่แข่งก็เข้ามาง่าย หลังจากนั้นการลงทุนหุ้นผลตอบแทนดีกว่า
• ปัจจุบันผลตอบแทนจากหุ้นดีกว่า จากคลินิคน้อยมาก ปัจจุบันมีอยู่ 10 สาขา

คุณโจ ลูกอีสาน
• เกิดจ.พังงา เรียนที่กรุงเทพ ตอนม.ปลาย จบม.ที่สงขลา อุตสาหกรรมเกาตร จบการเงินที่ม.ราม ไปอยู่เมืองนอก 2-3 ปี ไปทำงานตามภรรยาไปเรียนต่อ ซึ่งตอนนั้นอยุ่ระหว่างปี 40 ที่มีวิกฤติ ความรู้กับเงินไม่ค่อยมี จึงไปทำงานหาเงินล้างจานที่ร้านอาหารเกาหลี texas ได้เงินก้อนหนึ่งมาลงทุน รวมกับเงินภรรยาได้ราว 8 แสนบาท ไปลงทุนในหุ้นไทย แล้วก็ไม่เคยเติมเงินเข้าไปอีกเลย ก็เติบโตมาถึงทุกวันนี้
• ลงทุนมา 18 ปี หลังจาก ดร. 2-3 ปี แต่ลงทุนแนว vi มาจริงๆ ราว 15 ปี
• ตอนนี้เป็นประธานสมาคมนักลงทุนคุณค่าให้นักลงทุนมีความรู้ที่ถูกต้อง
ดร.นิเวศน์
• ชีวิตมาเรื่อยๆตามโชคชะตา มันเกิดขึ้นโดยที่ไม่คิดว่าควรเป็นอย่างนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการดิ้นรน
• จบปริญญาตรี ทำงานวิศวกรโรงงานน้ำตาล 6-7 ปี ไปเรียนต่อปริญญาโทนิด้า และปริญญาเอกตามอ.ไพบูลย์ กลับมาย้ายมาทำด้านการเงิน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นก็ไปนวธนกิจ จากนั้นไป scib พอปี 40 เศรษฐกิจล้มละลายจึงต้องออกจากงาน แล้วจึงหาอะไรทำให้ใช้ชีวิตอยู่ได้ในมาตรฐานเดิม จึงเริ่มลงทุน VI จากนั้นมา ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยลงทุนแต่ไม่ได้จริงจัง
หมอเค
• เริ่มลงทุนปี 2006 อยากมีเงิน ตอนที่กำลังเรียนแพทย์ใช้ทุนอยู่
• ได้อบรมหุ้นจากโครงการ nip จากนั้นก็ไปตามศึกษาคุณโยโย่
• สักพักได้ไปเจออ.นิเวศน์ที่งานสังสรรค์สมาคม และหลังจากนั้นอ.นิเวศน์ก็พาไปได้เจอกับภรรยาในปัจจุบัน

วิธีการเลือกหุ้น
• หมอพงษ์ศักดิ์
o ส่วนใหญ่เลือกหุ้นที่อยู่แนวโน้มเติบโตระยะยาว เทรนด์ระยะยาวจะไปทางไหน ถ้าเลือกหุ้นในเทรนด์โอกาสที่จะพลาดน่าจะน้อย แม้ว่าจะซื้อผิดราคาไปบ้าง หรือซื้อในขณะที่ valuation แพง ถ้าราคาผ่านไป valuation ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้เราแค่ผิดพลาดในระยะสั้น ซึ่งซื้อผิดราคามีบ้าง
o พยายามไม่ให้มี downside risk มาก จะพยายามคิดถึง worst case ก่อน ถ้าเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามที่คิดโอกาสเสียหายมีแค่ไหน
o Valuation ในการเติบโตไม่ได้ price in เข้าไปมาก ซึ่งถ้ามากแล้วก็เป็นความเสี่ยง
o บริษัทมีความสามารถในการแข่งขัน โอกาสเลียนแบบยาก ไม่ใช่ทุกคนก็เข้ามาได้ มีจุดเด่นเฉพาะตัว
o มี value driver ในอนาคต ต้องมีสิ่งที่ทำให้มูลค่ากิจการดีขึ้น ต่อไปมีโอกาสอะไรเกิดที่ทำให้ value บริษัทดีขึ้น มีโอกาสเกิดขนาดไหน
o ลำดับถัดไปคือราคา ต้องไม่แพงเกินไป แม้ทุกอย่างดี ก็ต้องระวังไว้ หุ้นดีๆขึ้นไปช่วงสั้นเราก็ไม่ควรตามไปซื้อ เพราะตอนที่นักลงทุนกำลังนิยม ราคาจะวิ่งเกินพื้นฐาน ซึ่งตามเข้าไปอาจจะขาดทุนในช่วงสั้นได้ พอคนเริ่มมีสติหรือตลาดไม่ดี ราคาก็จะปรับตัวลงมา บางตัวก็ตกเร็วมาก บางคนบอกเป็นตอร์ปิโต stock ก็ระวังบ้าง
ดูได้จากข่าวสาร ตามไลน์ตามเฟซบุ๊ค แล้วคิดมูลค่ายังไงก็แพง ก็ใจเย็นๆ
• ต้องจินตนาการโอกาสในอนาคตให้ออก ในอนาคตมี room ที่จะเติบโตมากมี ระดับ 1 คือโอกาสเห็น valuation ปัจจุบัน 2 แผนการในระยะสั้นๆ ระดับ 3 ศักยภาพของบริษัทที่จะไป จะได้กำไรมากๆต้องประเมินโอกาสในอนาคตให้ออก ถ้าเราคิดออกหรือมองเห็นออกจะได้กำไรดี ซึ่งเป็นความเสี่ยงโอกาสในอนาตอาจไม่เกิดขึ้น ซึ่งยากถ้าเราเลือกผิดอาจไม่ได้อะไร หรือขาดทุนได้ แต่ถ้าเลือกถูกจะได้กำไรดี
• ลอกหุ้นคนอื่นก็เคย แต่จะว่าลอกหุ้นแต่ละตัวก็มีคนพูดถึงทั้งนั้น ต้องไปทำการบ้านต่อ ประเด้นเขาพูดถึงเราสนใจก็ไปค้นข้อมูลต่อว่าน่าสนใจจริงไหม เรียกว่าลอกความคิดเริ่มต้น แล้วไปหาข้อมูลเพิ่ม บางครั้งเราไปศึกษาแล้วไม่เชื่อ ก็ไม่ซื้อ

คุณโจ ลูกอีสาน
• หลักการโดยรวมคล้ายหมอพงษ์ศักดิ์
• หุ้นที่ชอบมาก คือกำไรต่อหุ้นเติบโต บางตัวกำไรโตแต่ออกหุ้นใหม่เข้ามาราคาก็จะไม่ค่อยไป แต่ถ้าบริษัทไหน eps เติบโตจะชอบมาก ระยะยาว ปัจจัยขับดันราคาหุ้นคือกำไรต่อหุ้นของบริษัท อันนี้คือเจ้ามือตัวจริง มักจะท้าทายเสมอว่า มีบริษัทหนึ่งกำไรเติบโตทุกปี ปีละ 10-20% ทุกปีต่อกัน 5 ปี ถ้าเราเข้าซื้อในราคาไม่แพงเกินไป สมมติ pe 10 เท่า แล้วราคาไม่ขยับขึ้นเลย โทรมาบอก จะให้รางวัล ที่กล้าพูดเพราะไม่เชื่อ ถ้ากำไรโตคือเจ้ามือตัวจริง
• พวกกำไรพิเศษ เกิดครั้งเดียวไม่เอามานับ ต้องดูกำไรปกติ
• หัวใจที่ 2 ต้องไม่ซื้อราคาแพงเกินไป
• ในระยะยาวมูลค่ากับกำไรจะไปด้วยกัน แต่ระยะสั้นๆราคาอาจตกต่ำกว่ามูลค่าเยอะๆ เป็นโอกาสของ VI เราหาประโยชน์จากความไม่มีประสิทธิภาพของตลาด ซึ่งตลาดในไทยไม่มีประสิทธิภาพสูงจึงทำให้ vi ไทยทำกำไรได้เยอะ
• กับดักอันหนึ่งคือไล่ซื้อหุ้นที่แพงเกินไป ต่อให้หุ้นดีแค่ไหน ถ้าซื้อหุ้นแพงเกินไป ก็จะเป็นการลงทุนที่แพงเกินไป เช่น pe 40 เท่า คนทั่วไปถ้าราคาลงเยอะๆ จะกลัว ยิ่งลงคนยิ่งกลัว แต่ในมุมมอง vi ยิ่งราคาลงความเสี่ยงยิ่งลดลงเท่านั้น ถ้าของยังดี
• วอรเรน บอกว่า price is what you pay, value is what you get อันนี้คือหัวใจของ vi
• ราคาหุ้นลงบางครั้งมีเหตุผล เราอยู่ข้างนอกไม่รู้ แต่ insider ข้างในขายก็เป็นไปได้ หลายๆครั้งหุ้นลงมามีเหตุผล แต่เป็นเหตุผลชั่วคราวที่กระทบสั้นๆบริษัทก็กลับไปดีเหมือน นั่นคือโอกาสซื้อ

คุณทิวา
• หลังจากอ่านตีแตกจับหลักได้ว่า ตัวสำคัญคือ ROE กับ PE (ROE กำไรสุทธิ หารด้วย ส่วนผู้ถือหุ้น ยิ่งสูงยิ่งดี) (ราคา หาร กำไรต่อหุ้น ยิ่งต่ำยิ่งดี)
• ช่วงแรกไม่ได้คิดอะไรมาก พอลงทุนผ่านไปปีกว่า ก็พบว่างบไม่ออกมาตามที่คาด ROE, PE ไม่พอแล้ว
• ซึ่งระหว่างนั้นก็ตั้งเป้าหมายอ่านหนังสือสม่ำเสมอ ทั้งอ.นิเวศน์ ทั้งวอรเรนก็พูดให้ซื้อหุ้นเหมือนธุรกิจ จึงมาตีความว่าจริงๆหมายถึงอะไร เริ่มคิดตามว่าเราทำธุรกิจ เริ่มจาก demand มีความต้องการเกิดขึ้นใครได้ประโยชน์บ้าง ไปดูการแข่งขันไหวไหม ถ้าภาวะชะลอตัวจะสามารถรักษากำไรได้ไหม อย่างช่วงที่ภาวะน้ำมันโลกตกลงเยอะ ตอนนั้นก็ไปวิเคราะห์เปิดดูหุ้นที่โบรกเกอร์แนะนำ มีเรือคอนเทนเนอร์,เครื่องบิน,ยางมะตอย ไปดูความสามารถกับความต้องการตลาด ลองดูข้อมูลเรือคอนเทนเนอร์โตปีละ 2-3% แต่จำนวนขนต่อตู้ลดลงทุกปี จึงเก็บไว้หลังๆก่อน มาที่สายการบิน demand เติบโตดี แต่การแข่งขันสูง สุดท้ายผลประโยชน์ก็ตกที่ผู้บริโภค อาจจะดีแค่สั้นๆ แต่ยางมะตอย volume โตทุกปีปีละ 10% แต่กำไรแกว่ง ซึ่ง 70% ของต้นทุนคือน้ำมัน เริ่มมาเจาะมาหาว่าดีหรือเปล่า เริ่มเห็น เมกะโปรเจคอินโด 12 ล้านล้าน มาเลเซีย เวียดนามก็มี demand ซึ่งเห็นแบบนี้แล้วค่อยมาเจาะว่ากำไรเป็นเท่าไร รายได้เขาอ้างอิงอะไร ขายล้านกว่าตัน ราคาขายอยู่ที่เท่าไร หารเฉลี่ยต่อเดือนได้ไหม โครงสร้าง 70% กลั่นออกมาได้น้ำมันใส 30% ป้องกันความเสี่ยงทั้งจำนวน มีป้องกันความเสี่ยงครึ่งหนึ่ง แล้วไปคิดได้งบคร่าวๆ ใช้เวลาตัดสินใจราว 2 วัน พยายามคิดหาความเสี่ยงให้เราพลาดได้น้อยที่สุด ต้องมองมุมต่างๆให้ครบ คำนวณกำไรให้ได้คร่าวๆ เป็นข้อมูล public โทรถาม ir ก็ได้ให้ข้อมูลได้ ทำ model คร่าวๆ มาคิดกำไร แล้วไปเทียบว่าราคาแพงไปหรือยัง เทียบกับที่เราคิด

อ.นิเวศน์
• ลงทุนแบบขี้เกียจ ทุกวันนี้ไม่ค่อยดูอนาคต ไม่เชื่อความฝันอนาคต ถ้าไม่เห็นของจริงที่ผ่านมาผลงานเป็นอย่างไร จะไม่ค่อยสนใจ ไม่ค่อยอยากรู้มีโครงการอะไร ชอบดูอดีต กับปัจจุบัน ถ้าอดีตน้อยเกินไปก็ไม่เอา ชอบดูยาวๆ หุ้นที่ซื้อถ้าอยู่ตลาดต่ำกว่า 5 ปีแทบไม่สนใจ แต่ถ้าอยู่มา 20-30 ปีชอบ ชอบกิจการที่โดดเด่น เป็นผู้นำ เป็นผู้ชนะ คนอื่นแข่งขันยาก มีอาณาจักรของตัวเองที่คนอื่นเข้ามายุ่งยาก กำไรดี roe สูงหน่อย เพราะเก่งจึงกำไรดี ผลงานที่ผ่านมาสม่ำเสมอ 5 ปีที่ผ่านมาไม่เห็นขาดทุน ลดบ้างขึ้นบ้างยังโอเค โตกระโดดก็ไม่ชอบ เอาโตพอสมควร 10-20%
• หลังจากนั้นก็ไปวิเคราะห์ว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น ทำไมกำไรดี ทำไมกำไรสม่ำเสมอ
o อยู่มานาน
o โดดเด่นคนอื่นสู้ไม่ได้ ยิ่งชนะคู่แข่งเยอะยิ่งดี
o กำไรโตมาเรื่อยๆ สม่ำเสมอ
• ดูอนาคตของธุรกิจ จากวันนี้ไปจะเหมือนเดิมไหม ยังโตอย่างเดิม โดดเด่นอย่างเดิม แข่งยากเหมือนเดิม
• เป็นวิธีที่ปลอดภัย ได้กำไรพอใช้ได้ สามารถมีเวลาทำอย่างอื่น(ดูละคร)
• ถ้าเทียบละคร หุ้นแบบญาญ่า ณเดชน์ มีคุณสมบัติครบถือไว้ หุ้นแบบอีแย้มเก็งกำไร หุ้นแบบพี่เบิร์ด ต้องซื้อเมื่อ 20 ปีที่แล้ว อย่างคุณคริส อยู่ดีๆก็ขึ้นมา ทั้งที่มีปัจจัยไม่ครบ แต่มีบางอย่าง เป็นหมวย มีอายุเยอะหน่อย อยู่ดีๆได้แฟน ซึ่งเรามองว่าอยู่ไม่นาน
• ในจักรวาลของเราก็จะมีหุ้นในลิสต์เท่าที่มี ซึ่งถ้ามันซื้อได้ในราคายุติธรรมก็ถือกระดิกเท้าไป แต่ถ้ากิจการมันหง่อมแล้วก็ขายมันไปรอตัวใหม่ ถ้าณเดชน์ ญาญ่า แพงเกินไปก็ไม่ซื้อ ตัวใหม่ๆก็ไม่ได้มี
• สรุปคือไม่ต้องไปคิดเอาเอง บางอันได้โปรเจคทำไปแล้วขาดทุนเป็น อนาคต

หมอเคสรุปหลักการลงทุนของทั้ง 4 ท่าน
• บริษัทกำไรโต
• อยู่ในเทรนด์เติบโต
• มี demand มากกว่า supply
• กำไรสม่ำเสมอ คาดการณ์ได้
• ราคาต้องไม่แพงเกินไป

การบริหารจัดการพอร์ต
หมอพงษ์ศักดิ์
• มีเงินสดติดตัวระดับหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในครอบครัวที่ใช้ในปีหนึ่ง เก็บใน money market fund
• ช่วงนี้มีเงินสดเพิ่มขึ้นบ้าง เนื่องจากโอกาสลงทุนไม่ชัดเจน จึงมีเงินสด 7-8%
• ปรับพอร์ตดูตามโอกาส เช่น อยากซื้อหุ้นที่ดี แต่ไม่มีเงินต้องขายหุ้นออก โดยเฉลี่ย ปรับพอร์ตปีละ 1-2 ครั้ง
• จำนวนหุ้น คร่าวๆ 5-8 ตัว ไม่อยากถือเยอะมาก เพราะความใส่ใจความละเอียดไม่ได้ ตัวมากสุด 25% พอร์ต
• พลังงานทางเลือกมาว่า 3-5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยอาจจะเป็น low normal อาจจะ GDP โตต่ำ หุ้นที่ขึ้นกับเศรษฐกิจมากจะเติบโตน้อยลงจึงไปเลือกหุ้นที่ไม่ได้กระทบจากเศรษฐกิจมาก อย่างกลุ่ม utilities ซึ่งตัวเขาก็อาจไม่กระทบและอาจโตได้ ซึ่งได้ผลจากโลกร้อนหรือนโยบาย balance พลังงาน ซึ่งตอนนี้ยังมีสัดส่วนน้อย เทรนด์น่าจะมาทางนี้จึงเลือกลงทุนในธุรกิจทีภาวะแน่นอนและมีการเติบโตในตัวเองด้วย
• หุ้นกลุ่มอื่นยังมีในพอร์ตเยอะ ตัวที่ downside risk ไม่มากก็ซื้อ

คุณโจ ลูกอีสาน
• จำนวนหุ้น 36 ตัว ในพอร์ต
• ต่อให้ศึกษาดีแค่ไหนก็คงไม่รู้ทุกอย่าง ซึ่งบางทีก็มีความเสี่ยงที่เราคุมไม่ได้ หุ้นส่วนชีวิตเรามีได้คนเดียว แต่หุ้นกิจการก็มีข้อดีคนละอย่าง ถ้าดีก็ถือไป อย่างปีเตอร์ลินซ์ถือหุ้นเป็นพันตัว ก็ได้ผลตอบแทน 29%
• ถือหุ้นเยอะเหนื่อยหน่อย แต่ก็สนุก และยิ่งทำให้รู้มากอุตสาหกรรม ถ้าเรามีความรู้เพิ่มขึ้นทุกปีจุดหนึ่งก็สบาย สามารถดูกิจการได้ไม่ยาก
• การจะพัฒนาแบบนี้ได้ก็ต้องเดินทีละก้าว 10 กว่าปีที่แล้วรู้ 100 กว่าบริษัท
• ปกติถือหุ้น 100% ตลอด แต่ปีนี้ช่วงต้นปี ดัชนี 1600 หาหุ้นไม่ค่อยได้ ต้องทยอยขายถือเงินสดบางส่วนกว่า 20% แต่ช่วงที่ลงมาก็ได้ซื้อหุ้นถือได้ 98%
• ซื้อหุ้น 10 ตัวมักพลาด 2 ตัว เสมอ 2-3 ตัว และมี 3-4 ตัวขึ้นเยอะๆ มี 1-2 ตัววิ่งระเบิด ตัวอย่างเช่น tasco กำไรทีได้มากเลย ซึ่งถ้าขาดทุกครั้งหนึ่งไม่มาก รวมๆพอร์ตก็โตดีทุกปี
• ตัวไหนมั่นใจมากก็ซื้อมาก ตัวที่ถือเยอะสุด 8% ส่วนตัวถือแบบนี้แล้วกินได้นอนหลับ

คุณทิวา
• ถือเงินสด 40 กว่า % ช่วงมี.ค. มีขายหุ้นตัวหนึ่งไป ซึ่งคิดว่ากระทบภาวะเศรษฐกิจ แล้วยังไม่ได้ซื้ออะไร มาฝากแบงค์ซ้อกองทุน infra fund (ซึ่งมีผลตอบแทนสม่ำเสมอ) พร้อมขายเปลี่ยนเป็นหุ้นเสมอ ซึ่งถ้าตลาด crash น่าจะปรับตัวลงน้อยกว่าหุ้น
• มีกฏว่าไม่ซื้อเกิน 25% พอร์ต แต่ถ้าขึ้นไปเรื่อยๆก็ไปหาจังหวะเอาว่าจะขายตอนนั้น
• หลายครั้งพลาดตอนขาย จะไปจดไว้ว่าตอนแรกซื้อเพราะอะไร หวังตัวเลขเท่าไร แล้วจะดูผลที่ออกมาคลาดเคลื่อนจากที่คิดแค่ไหน ถ้าปล่อยตัวปล่อยใจจะเผลอกับอารมณ์ตลาด พอขึ้นก็เพลินกับมัน พองบออกไม่ดีก็จะบอกไม่เป็นไร ซึ่งต้องรีบไปหาสาเหตุอย่างคอนโด งบออกมาแย่กว่าคาดgross margin ไม่ดี ก็ไปหาสาเหตุเพราะปรับราคาขึ้นไม่ได้เหมือนอดีต ก็ต้องมาปรับ valuation ของเราใหม่

อ.นิเวศน์
• หุ้น 75% ในพอร์ตมี 5-7 ตัว ตัวเล็กๆน้อยๆรวมกันก็คงได้ 10 กว่าตัว
• มีเงินสด 20% เพราะมีแต่ขายไม่ซื้อ
• หุ้นต่างประเทศยังสัดส่วนไม่มีนัยสำคัญ ไม่เกิน 5% เพราะหุ้นเวียดนามตัวเล็กและยังไม่ได้สร้างความแตกต่างได้ ยังไม่ได้กำไร ได้แต่ปันผล
• เป็นการซื้อแบบเยอะๆไม่ได้เลือกหุ้นรายตัว เป็นตะแกรงร่อนกวาด roe สูง pe ต่ำ dividend สูง มีเป็น 50 กว่าตัว แต่ต่อไปอาจจะเริ่มเลือกหุ้น ซึ่งน่าจะยากเหมือนกัน

ช่วง Q&A
หมอพงษ์ศักดิ์ถาม ทุกคนกังวลอะไรที่สุดในภาวะตอนนี้?
• คุณทิวา เรารู้กันว่าดัชนีโดยรวมผลตอบแทนกับความเสี่ยงไม่สมดุล รู้สึกว่าเสี่ยงเยอะไปหน่อย ตั้งแต่ต้นปีปรับ gdp ไป 3 รอบ และตอนนี้ margin ก็ใช้ margin สูงสุด แล้วต่างประเทศมีอะไรที่กระทบในภาวะที่เศรษฐกิจเราอ่อนแอ
• คุณโจ ปกติคนลงทุนหุ้นก็กลัวหุ้นตก มองว่าเป็นปัญหาปกติ มองว่าต้องเกิดขึ้นแน่ หุ้นตกเยอะ มีแน่ ถ้าตก 40-50% ก็มีแน่นอน แต่เมื่อไรไม่รู้ ในชีวิต บัฟเฟตต์ มี 4-5 ครั้ง ที่ราคาหุ้น เบิร์กไชส์ ลดลงมากกว่า 50% อย่างในชีวิตเคยเห็น 2 ครั้ง ต้มยำกุ้ง กับ subprime แต่ถ้าจะไม่ซื้อหุ้น ก็ไม่เห็นตัว ในระยะยาววิกฤติไม่เกิดขึ้นบ่อยๆ ทุกวินาทีที่ถือเงินสด เราเสียเวลาสร้างผลตอบแทน วิธีคือต้องออกแบบพอร์ตให้รองรับความเสี่ยง กระจายความเสี่ยงให้มากพอ ถ้าเกิดไฟไหม้อะไรขึ้นก็ไม่เสียหายหนัก
• คำพูด เฮียคลายเครียด ปัจจัยภายนอกเราไม่ต้องกลัว แต่สิ่งที่ต้องกลัวคือจิตใจของเรา ความโลภ ที่ควบคุมไม่ได้น่ากลัว เช่น ซ้อหุ้นปั่น ไล่ซื้อหุ้นแพงๆ กู้เงินซื้อหุ้น เราโลภจนไม่สามารถควบคุมได้ หายนะแวดวงการเงินส่วนใหญ่ มักเกิดจากหนี้สิน
• Long term capital management ที่มีดร.โนเบลไพรซ์ก็เจ๊งเพราะกู้เงินมาลงทุน
• การถือหุ้นตัวเดียวก็ต้องระวัง โดยเฉพาะกู้เงินด้วย เห็นคนประสบความสำเร็จเราต้องมองว่าเขาใช้วิธีไหน ต้องรับความเสี่ยงแค่ไหน ถ้าเอาคน 10 คนเอาผ้าปิดตาวิ่งข้ามถนนวิภาวดี จะมีคนรอด 1-2 คน สำเร็จมาได้ ถามว่าน่ายกย่องไหม
• ดร.นิเวศน์
• ความเสี่ยงในหุ้นมันค่อยๆน้อยลงเรื่อยๆ ถ้าจะตกมาครึ่งหนึ่งก็ไม่ได้อะไร ชีวิตก็เหมือนเดิม แต่ถ้าตรวจเจอมะเร็งนี่หนัก
• ความเสี่ยงด้านสุขภาพสูงขึ้น ความเสี่ยงการเงินก็ไม่ได้อะไรมาก
• อ.ไพบูลย์เสริม เป็นเรื่องจริง คนเล่นหุ้นเป็นโอกาสมะเร็งมากกว่าคนไม่เล่นหุ้นเยอะ เพราะเครียด ขึ้นก็เครียดซื้อน้อย ลงก็เครียด
• คุณโจ บอกว่าคนเล่นหุ้นไม่เป็นอัลไซเมอร์ ต้องคิดตลอด

คำถามจากในห้องสัมมนา
1 ถ้าหากหุ้นลง ซื้อไปแล้ว หุ้นยังลงไปอีก จะมีวิธีซื้ออย่างไร?
• คุณโจ ต้องคิดก่อน ลงเพราะอะไร ถ้าเป็นปัญหาชั่วคราวทยอยซื้อไป บางทีคนบอกมีดตกอย่างเพิ่งรับ แต่บางครั้งต้องมีเลือดอาบบ้าง แต่ถัวไปต้องมี limit บางทีมีข่าวที่คนในรู้แต่เราไม่รู้ ต้องมีวินัยว่าถือได้ไม่เกินเท่าไร
• คุณทิวา สิ่งแรกหาข้อมูลว่าลงเพราะอะไร มีบทวิเคราะห์ออกมา มีข่าวออกมา ตลาดลงเพราะ panic ต้องหาข้อมูลจนแน่ใจก่อน
• หมอพงษ์ศักดิ์ ต้องเชคเหตุผลที่ทำให้หุ้นลง ถ้ากระทบระยะยาวจะไม่รีบซื้อ จนถึงจุดเปลี่ยน ทำให้มูลค่าหรือมุมมองนักลงทุนเปลี่ยนแปลง ค่อยเข้าไปซื้อ การรอหรือถัวเฉลี่ยนานๆจะทำให้เงินติดค้าง
• อ.นิเวศน์ ไม่ทำอะไร ถ้ายังดีอยู่ ซื้อพอแล้วก็ไม่ทำอะไร
2 ถ้าหุ้นที่ซื้อขึ้นไปถึง target price ที่คิดไว้ จะทยอยขาย อย่างไร?
• คุณโจ ไม่ต้องคิดมากเวลาขายถ้าขายหมูเป็นเรื่องน่ายินดี แต่ถ้าตึงๆก็ทยอยขายทำกำไร
• คุณมี่ ถ้าขึ้นมาถึง target price ต้องหาข้อมูลขึ้นเพราะอะไร เปลี่ยนไปจากสมมติฐานตอนต้น อาจมี valuation เพิ่มแล้ว เพราะปัจจัยเปลี่ยนแปลง
• อ.นิเวศน์ ไม่ทำอะไร


ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์,พิธีกร,วิทยากร, ทีมงาน money talk และผู้สนับสนุนทุกท่าน หากผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วยครับ

ประชาสัมพันธ์งาน
Money talk at SET ครั้งต่อไป 6 มิ.ย เปิดจองเสาร์ 30 พ.ค
• หัวข้อ 1 เจาะลึกหุ้นเด่น ครึ่งปีหลัง
• brr , auct, mtls ,big
• อ.ไพบูลย์,หมอเค ดำเนินรายการ
• หัวข้อ 2 ข้อคิดจากเซียนเดินดินบนเส้นทางสู่ความร่ำรวยด้วยหุ้น
• คุณศิริวัฒน์ , ดร.วีรณัฐ, ทันตแพทย์สม สุจีรา, ดร.นิเวศน์
• อ.ไพบูลย์,อ.เสน่ห์ ดำเนินรายการ
(ไม่มีจัด money talk ในเดือน ก.ค.)

Money talk at SET รอบพิเศษการกุศล จัดวันอาทิตย์ 9 ส.ค.
• 9.00 ข้อคิดจากกรลงทุนหุ้นต่างประเทศ คุณชาย
• 9.30 สัมภาษณ์พิเศษ อ.ไพบูลย์ หมอพงษ์ศักดิ์ โดยคุณวิบูลย์, คุณพรชัย
• 11.30 น. พักกินกาแฟ/ซาลาเปา
• ผู้ที่จองได้ต้องมีหลักฐานทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่งตามนี้
1) บริจาคร่างกาย/อวัยวะ ที่โรงเรียนแพทย์ เช่น รพ.จุฬา, รามา,ศิริราช,พระมงกุฎ,สภากาชาด เป็นต้น
2) บริจาคเลือด,เกล็ดเลือดหรือเสต็มเซลล
(พิเศษสำหรับ ผู้บริจาคเกล็ดเลือดหรือเสต็มเซลล์ให้สิทธิ์ฟัง money talk รายเดือนฟรีตลอดชีวิต)
3) จิตอาสาช่วยงานคุณพศิน
4) ทำบุญมูลนิธิไหนก็ได้ 500 บาทขึ้นไป (โควต้าพิจารณาอยากให้ทำ 3 อย่างแรกมากกว่า)
• มีหนังสือแจก 1 เล่ม กว่าจะเป็น VI (เขียนโดยนักลงทุน VI หลายท่าน)

• Money talk at SET ปกติ 9 ส.ค. (ช่วงบ่าย ) อาจจะประกาศรับจองหลังจากที่สรุปรายชื่อช่วงเช้าแล้ว
• ช่วงที่ 1 เจาะลึกหุ้นเด่น 4 บริษัท
• ช่วงที่ 2 หรือความร่ำรวยจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต?
• คุณชาย, ดร.สมจินต์,คุณวิวรรณ, ดร.นิเวศน์

งาน MAI พุธ 1 ก.ค.(วันหยุด) จัดที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ มีสัมมนา Money talk รอบพิเศษ 13.00 น. ห้องประชุมใหญ่ เดินเข้า walk in ได้
• ดร.วิศิษฐ์ , นักวิเคราะห์จาก asia plus และ ksec, ดร.นิเวศน์
• หมอเค กับ อ.เสน่ห์ ดำเนินรายการ
Go against and stay alive.
RnD-VI
Verified User
โพสต์: 5620
ผู้ติดตาม: 1

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับพี่
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
monsoon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 583
ผู้ติดตาม: 1

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
เรียนรู้และเข้าใจ คุณค่าที่แท้จริงของสรรพสิ่ง...
chakapun
Verified User
โพสต์: 266
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
crazyrisk
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4562
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับ



ละเอียดจริงๆ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
amornkowa
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2576
ผู้ติดตาม: 1

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบใจน้ำใจของบิ๊กให้กับพวกเราชาววีไอ
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณมากๆครับ
opengn
Verified User
โพสต์: 140
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณครับ
อ๊อด ณ กะลา
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 9
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณครับ
jupiterwin
Verified User
โพสต์: 176
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณครับ
สิปาดัน
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 310
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
"เมื่อผลลัพธ์ยังมาไม่ถึง เราจำเป็นต้องมีศรัทธา"
somkiatt
Verified User
โพสต์: 6
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณครับ...
bestberry
Verified User
โพสต์: 34
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอบคุณครับ
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1735
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ขอบคุณมากค่ะน้องบิ๊ก :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
shumbrotta
Verified User
โพสต์: 290
ผู้ติดตาม: 0

Re: MoneyTalk@SET23May2015หุ้นโครงสร้างพื้นฐาน&กลยุทธ์หลากวี

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณครับ
โพสต์โพสต์